ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุไปเสียแล้ว


                   ประเทศไทยได้กลายเป็น...
มีต่อ

สวัสดีค่ะ

 คุณพี่คะ ในชุมชนที่น้องดูแลอยู่ ก็มีแนวโน้ม เช่นนี้เหมือนกัน และได้จัดแผนเตรียมรับมือเหมือนกัน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ ถูกทอดทิ้ง หรือช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จะมี อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้สูงอายุที่แข็งแรง และคนหนุ่มสาวที่มีใจเสียสละ เพิ่งจะเริ่มอบรมไปรุ่นเดียว และเริ่มเยี่ยมบ้านกันบ้างแล้ว ถ้าอย่างไร จะรายงานผลให้ทราบค่ะ

สวัสดีค่ะ

รายงานที่อ้างอิงนี้เสร็จหมาดๆเลยค่ะ

จะทะยอยนำมาลง เท่าที่เกี่ยวข้องค่ะ

ขออนุญาตคณะผู้จัดทำแล้วค่ะ จะเป็นปัญหาใหญ่ต่อไปในไม่ช้านี้ค่ะ เพราะอัตราส่วนของผู้สูงอายุของเรา ก้าวกระโดดมากค่ะ มากกว่าประเทศอีกหลายประเทศเลย และจะมีคนสูงอายุถูกทอดทิ้งเยอะด้วย คนวัยแรงงานก็จะหนักมากค่ะ

สวัสดีค่ะ ข้าราชการไทยมีบำนาญใช่ไหมคะ ก็สบายอยู่แล้วนะคะ คนที่ไม่ได้เป็นข้าราชการก็ลำบากหน่อย พวกรัฐวิสาหกิจ ก็มีบำเหน็จ ถ้าประหยัดก็น่าจะพอนะ พวกบริษัท แย่หน่อย แต่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่หักไว้ใช่ไหมคะ

ไม่ค่อยทราบ เพราะทำงานบริษัท มีประกันสังคมค่ะ

แต่ไม่มีบำเหน็จ บำนาญ

สวัสดีค่ะ

ดูอย่างนี้ ก็น่าหนักใจสำหรับรัฐบาลเลย เพราะประชากรนอกจากจะอายุเยอะแล้ว ยังอายุยืนด้วย

จะมีปัญหาตรงเรื่องการจัดการเรื่องสุขภาพด้วย

สวัสดีค่ะคุณกฤษณา


ค่ะ ทางราชการมีบำนาญให้ สำหรับผู้ที่เกษียณอายุ

ส่วนรัฐวิสาหกิจก็มีบำเหน็จ

พวกที่ทำงานบริษัท มีเงินสำรองเลี้ยงชีพ แต่จะได้เงินขนาดไหน ขึ้นกับผลประกอบการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนั้นๆค่ะ

รู้สึกว่า 90%ของกองทุนจะนำไปลงทุนในตราสารหนี้ อีก10%นำไปลงทุนในหุ้น

ปกติ น่าจะอยู่ในตราสารหนี้ 20%อยู่ในหุ้น 70 %และอื่นๆอีก 10 แต่พอดี ตลาดหลักทรัพย์เราผันผวนรุนแรง จึงไปลงในหุ้นน้อย

เรื่องประกันสังคม เป็นการประกันสุขภาพค่ะ ไม่ได้เกี่ยวกับเงินที่จะได้หลังเกษียณ

ต่อไปนี้ เราจะเห็นโปรแกรมการตลาด ของหลายๆผลิตภัณฑ์ทะยอยเปิดคัวมาเรื่อยๆค่ะ เพื่อรับกลุ่มลูกค้าใหม่วัยทอง  หรือวัยทวงฝัน  อาทิเช่น....

เคทีซีจับมือการบินไทยมอบสิทธิพิเศษผ่อนชำระดอกเบี้ย 0% สำหรับโปรแกรม“บินทวงฝันกับการบินไทย” ชวนผู้สูงวัยเที่ยวยุโรป และเอเชีย

 เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนชีวิตหลังวัยทำงาน ด้วยสีสันประสบการณ์ท่องเที่ยวในดินแดนทวงฝัน

กลุ่มลูกค้าทวงฝัน

ซึ่งได้แก่ นักเดินทางที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป และเป็นกลุ่มที่เติบโตเพิ่มขึ้นทุกปี มีจำนวนสูงถึง 14 ล้านคน หรือคิดเป็น 20% ของประชากรทั้งหมด 66 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเดินทาง และมีความพร้อมที่จะให้รางวัลกับชีวิต

ในโปรแกรม  ล้วนเป็นประเทศที่มีสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญและมีกิจกรรมที่น่าสนใจ

ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวชมทัศนียภาพที่สวยงาม การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การท่องเที่ยวตามเส้นทางศาสนสถานที่สำคัญของโลก หรือกิจกรรมที่เข้ากับยุคสมัยและความชื่นชอบของกลุ่มทวงฝัน

 จึงเหมาะอย่างยิ่งแก่การเก็บเกี่ยวความสุขในชีวิตกับเพื่อนๆ หรือสมาชิกครอบครัว”

สังเกตว่า จะเน้น คำว่า ทวงฝัน บ่อยมากค่ะ


สวัสดีค่ะคุณดาราวรรณ

ค่ะ ปัญหานี้ น่าหนักใจสำหรับรัฐบาลแน่

ซึ่งดิฉันเองก็คิดเหมือนหลายๆคนว่า น่าจะเลื่อนกำหนดการเกษียณอายุออกไปอีก 5 ปีค่ะ

เพราะคนอายุ 60 ปี เดี๋ยวนี้ สุขภาพยังดีป็นส่วนใหญ่ ความคิด ความอ่านก็ยังแจ่มแจ๋วอยู่ค่ะ  และยังกระตือรือล้นที่จะทำงานต่อไปด้วย ไม่ค่อยมีใครอยากจะออกจากราชการมากนักค่ะ

 

ข้างบนนี้เป็นตัวอย่างของผู้ประกอบการที่มาเสนองานบริการให้ลูกค้าถึงบ้าน

บริษัทนี้ ตั้งอยู่ที่มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ที่มีคนสูงอายุเป็นจำนวนมาก และอยู่ที่บ้านของตนเอง ไม่ได้ไปอยู่บ้านพักคนสูงวัย

ปัญหาสำหรับบริษัทนี้ คือ ปัญหา ทำงานกับผู้สูงวัย เพราะผู้สูงวัย มักไม่คิดว่า ตัวเองกำลังต้องการความช่วยเหลือ คิดว่า ตัวเอง ยังทำทุกอย่างได้เอง

จึงต้องมีการอบรมพิเศษให้พนักงาน ก่อนออกไปบริการ

ต่อไป ประเทศไทย ก็คงจะมี การบริการลักษณะนี้ เพิ่มมากขึ้นแน่นอน

สวัสดีค่ะ

เข้ามาเยี่ยมตอนดึกค่ะ

คุณพ่อกำลังจะเกษียณปีหน้า คงได้บำนาญ แต่ยังไม่ทราบจะทำอะไรหลังเกษียณเลย ท่าทางคงเหงาน่าดู คงหาเรื่องปลูกสวนครัวกินกันเองในครอบครัวค่ะ

แต่เราอยู่อย่างพอเพียง คงอยู่ได้ แต่รายได้คงลดลงมากเลยละ

แค่มาเล่าให้ฟังค่ะ

 

สวัสดีครับ

เรื่องค่าเข้าชมฟรี ที่โบราณสถาน มีรายละเอียดหน่อยไหม จะให้คุณแม่ไปชมฮะ

สวัสดีค่ะคุณดาวเรือง

ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ ยังไม่นอนนะคะ

ปีหน้า  ครอบครัวจะได้อยู่กันพร้อมหน้ากันมากยิ่งขึ้น   และมีความสุขค่ะ

ความสุข เป็นคำที่ วัดปริมาณไม่ได้ แต่เรารู้ได้ด้วยใจค่ะ

รู้สึกคุณดาวเรืองจะอยู่ที่พิจิตร ใช่ไหมคะ ที่นั่น ไม่ค่อยมีมลภาวะ ไม่ค่อยมีธุรกิจข้ามชาติที่รุกเข้าไป คุกคามวิถีชีวิตดั้งเดิม  มีชีวิตอยู่อย่างพอเพียง  มีเงินใช้สอย ไม่ฟุ่มเฟือย  แต่ก็ ไม่ลำบาก  เป็นความสุขที่เราน่าจะพอใจแล้วค่ะ

สวัสดีค่ะคุณดอน

P

เท่าที่ทราบ พวกพิพิธภัณฑ์แห่งชาติและสถานที่ๆมีโบราณสถานต่างๆที่ขึ้นบัญชีไว้กับกระทรวงวัฒนธรรม ผู้สูงอายุจะได้รับการยกเว้นค่าเข้าชมค่ะ

  • สวัสดีครับ
  • ถ้าย้อนเวลาได้น่าจะดีนะครับ
  • อยากจะให้สังคมไทยเหมือนเมื่อ30-50 ปีที่แล้วครับ ดูจะมีความสุขมากกว่าตอนนี้ครับ

น่าสนใจนะคะ กับธุรกิจการดูแลผู้สูงอายุ

ถ้าใครจับธุรกิจ การดูแลผู้สูงอายุที่บ้านได้ น่าจะได้บุญและได้เงินด้วยค่ะ

       ขอเพิ่มเติม งานการให้บริการแก่ผู้สูงอายุในต่างประเทศ ซึ่งกำลังเป็นธุรกิจที่ไปได้ดีมาก

ในหัวข้อดังกล่าวข้างล่างนี้ ในประเทศเรา ก็มีอยู่แล้ว แต่เป็นการให้บริการทั่วๆไป ไม่ได้เน้นที่ผู้สูงอายุค่ะ

การบริการผู้สูงอายุ ผู้ให้บริการอาจต้องผ่านการอบรมพิเศษ ให้ใจเย็น และอธิบายงานได้อย่างดี เรียกว่า รู้งานจริง

 เพราะผู้สูงอายุ จะมีประสบการณ์มาก บางที จะมีความถามเจาะลึก หรือ ซักไซ้ไล่เรียงในประเด็นต่างๆ มากกว่า คนอายุน้อยกว่า


   •  Maid Service
   •  Cleaning Services
   •  Residential Cleaning Service
   •  Home Cleaning
   •  Carpet Cleaning
   •  Maid Service Houston
   •  Cleaning Company
   •  Office Cleaning
   •  Housekeeping Services
   •  Janitorial Services
   •  Window Cleaning
   •  Carpet Cleaning Services

in trend มากเลยครับ

2 เดือนที่ผ่านมานี้ ที่สิงคโปร์ที talk of the town ก็คือเรื่องขยายอายุการทำงานของคนที่นี่เป็น 65 ปี มีทั้งตอบรับและขัดแย้ง

เหตุผลหลักก็คือ ผู้สูงอายุมีอายุยืนยาวขึ้นมาก เทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถยืดอายุคนได้อย่างน่าประทับใจ

ส่วนตัวผมตั้งใจจะมีอายุให้ถึง 90 ปีครับ เพราะอยากดูดาวหางฮัลเล่ย์ ตอนที่มันผ่านมาเมื่อ 10 กว่าปีก่อนนั้น ขี้เกียจตื่นขึ้นไปดู มานั่งเสียใจจนถึงทุกวันนี้

มีคนบอกว่าตอนนั้นตาอาจจะฟางจนมองอะไรไม่เห็นแล้ว หรือว่าเดินไม่ไหว ก้แก้ตัวไปว่า นอนฟังข่าวก็ยังดีครับ

สังขารเอ่ยไม่เคยเที่ยง ก็ไม่เถียงเป็นอย่างนั้น

เกิดแก่มีเห็นทุกวัน     ว่ามีวันต้องร่วงโรย

มีชีวิตที่เป็นสุข    ไม่มีทุกข์ไม่หิวโหย

กาลเวลาเหมือนลมโชย พัดโบกโบยล่วงผ่านไป

พ่อสอนให้แบ่งปัน  แม่แข็งขันร่วมฝันใฝ่

ลูกเติบโตขึ้นด้วยใจ ช่วยกันให้สังคมงาม

สังขารเอยไม่เคยเที่ยง หมดสิ้นเสียงคนก็หาม

เคยรวยและเคยงาม ยามสิ้นลมก็เท่ากัน

สวัสดีครับ

ในสังคมเรา ตอนนี้ คุณศศินันท์ว่า ยังจะมี ลูกกตัญญูเหลืออยู่มากไหมครับ ผมว่า สังคม เปลี่ยนไปนะ ตอนนี้ ผมก็อยู่กัน 2 คน ตายาย เพิ่งเกษียณปีนี้

ลูกคนโต ทำงานต่างจังหวัด เป็นอาจารย์สอนหนังสือ ไม่ค่อยได้กลับมาบ่อย กลับมา 2 เดือน/ครั้ง

ตอนนี้ ออกเหงาๆ  ยังไม่มีหลานเลยครับ บางที คิดว่า อยากไปเยี่ยมลูกเสียเองดีกว่า

 ลูกอีกคนหนึ่ง ก็ไปเรียนที่เชียงใหม่ ผมอยู่กรุงเทพฯครับ

 

สวัสดีอีกทีค่ะ

ขอบคุณ ในคำตอบของคุณศศินันท์ค่ะ

ถูกใจมากค่ะ ที่บ้านอบอุ่น และลูกๆก็เป็นลูกกตัญญูกันทุกคน ผลัดๆกันมาเยี่ยมพ่อแม่ กันทุกอาทิตย์ ทำให้ท่านไม่เหงา และมาช่วยมาดูแลคุณตาด้วย คณตา เป็นโรคชรา+อัลไซเมอร์ แต่เราดุแลกันเอง ไม่เคยพาไปค้างโรงพยาบาลค่ะ

ยังดีใจ  ที่ๆบ้านยังยึดติดกับประเพณีวัฒนธรรมเก่าๆของคนไทยดั้งเดิมอยู่ค่ะ

สวัสดีครับพี่ sasinanda

           ข้อมูลเยอะดีครับ ขออนุญาตนำไปอ้างอิงด้วยครับ

           ในวงการสุขภาพที่ผมทำงานอยู่ในปัจจุบัน  ก็ตื่นตัวกับสังคมผู้สูงอายุครับ  แล้วปัญหาก็คือการขาดผู้ดูแล  จึงต้องตั้งกลุ่มหรือชมรมผู้สูงอายุมาดูแลกันเองด้วย  ให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในเรื่อง การดูแลตนเอง การดูแลเรื่องสิทธิของผู้สูงอายุตามกฎหมาย และก็ให้มีบทบาทในสังคมที่อยู่

           การดูแลผู้สูงอายุ  ส่วนสำคัญอีกประการน่าจะเป็นเรื่องของจิตใจน่ะครับ  ในทางสุขภาพเองก็ยังไม่มีการเตรียมพร้อมกันนักสำหรับจิตวิทยาผู้สูงอายุ

             ในทางธุรกิจ หากเป็นธุรกิจท่องเที่ยวธรรมมะ หรือธรรมชาติ  น่าจะดีนะครับ   แล้วเรื่องการจัดหาอุปกรณ์หรือพาหนะเดินทางที่เหมาะสมและปลอดภัยก็คงจะมีการพัฒนา

              เรื่องสถานออกกำลังกายหรือการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุก็น่าจะดีนะครับ

สวัสดีครับ

  • ขอเสริมด้วยข้อมูลครับ 
  • ไม่นานมานี้ มีผู้สำรวจว่า ประมาณ 2 ใน 3 ของครัวเรือนในประเทศไทยเป็นหนี้
  • บทความใน กรุงเทพธุรกิจฉบับวันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ใช้ข้อมูลของ ศ.ดร.ปราโมท  ประสาทกุล  ซึ่งผมสรุปจาก นสพ อีกต่อ ดังนี้

  •  ผลการสำรวจทัศนคติที่มีต่อการช่วยเหลือญาติมิตรที่ชราและยากไร้ แม้คำตอบน่าเบาใจ (ว่าอยากช่วย) แต่เมื่อพิจารณาจากศักยภาพทางการเงินแล้ว คนเหล่านี้ส่วนใหญ่นอกจากจะไม่มีเงินออมแล้ว ยังแบกภาระหนี้สินไว้รุงรัง ทำให้น่าห่วงถึงคุณภาพชีวิตของคนชรา โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อยและไม่มีเงินออม
  • ระบบประกันสังคมของเรามีไม่มาก และไม่ได้ครอบคลุมมากนัก จากจุบันมีแรงงานอยู่ในระบบประกันสังคมประมาณ 8 ล้านคน ได้รับสวัสดิการในด้านต่างๆ รวมทั้งกรณีชราภาพ ด้วยเงินหน้าตักของกองทุนฯ กว่า 200,000 ล้านบาท แต่ตัวเลขที่มากกว่ากลับอยู่นอกระบบ ในจำนวนนี้มีแรงงานถึง 15 ล้านคนที่ไม่ได้รับการดูแล และแม้ว่าจะมีความพยายามที่จะขยายให้ครอบคลุมมากขึ้น ก็ยังไม่สามารถเป็นหลักประกันได้ว่าคนที่กำลังก้าวเข้าสู่วัยชราในอีก 20-30 ปีจะได้รับการดูแลอย่างทั่วถึง ประกันสังคมครอบคลุมแค่ 20% คนในภาคเกษตรหรือรับจ้างไม่อยู่ในโครงการนี้อีกเป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อประชากรส่วนนี้เข้าสู่วัยชรามากขึ้นคงลำบาก ถ้าเขาไม่มีรายได้เกื้อหนุน
  • คนแต่ละคนต้องเตรียมตัวว่าตัวเองจะเป็นผู้สูงอายุในอนาคต ทั้งด้านรายได้ หาทางเก็บออม ใช้จ่ายอย่างพอเพียง เก็บไว้ใช้จ่ายในยามแก่เฒ่า ในด้านสุขภาพ รักษาสุขภาพตัวเอง อย่าปล่อยเนื้อปล่อยตัว เพื่อให้สุขภาพดี ไม่เป็นคนแก่ที่พิการ ช่วยตัวเองไม่ได้ รวมไปถึงส่งเสริมทัศนคติของคนทั่วๆ ไปให้รู้ถึงการกตัญญูรู้คุณ ให้คนรุ่นหลังช่วยดูแลคนชรา ส่งเสริมองค์กรท้องถิ่นชุมชนให้ดูแลคนแก่ คนอ่อนกว่าดูแลคนแก่กว่า

  • ประเด็นสุดท้ายนี่ คนมักประมาท ว่าตัวเองไม่มีวันแก่ ไม่มีวันพิการ ไม่มีวันเกิดปัญหาช่วยตัวเองไม่ได้ คนที่คิดแบบนี้ มีมากในสัดส่วนที่น่าตกใจ เช่น ไม่ยอมออกกำลังกาย ไม่ยอมวางแผนสุขภาพ ไม่ยอมวางแผนทางการเงิน ไม่ยอมเอื้อเฟื้อคนอื่น (แต่คาดหวังว่าจะมีคนอื่นมาเอื้อเฟื้อตัวเองตอนแก่ !)
  • การหยิบมาพูดถึง เป็นกุศลเชิงนโยบายรูปแบบหนึ่งครับ :)

 

สวัสดีครับ

        ผมได้เรียนรู้ข้อมูลเชิงลึกแล้วทั้งดีใจและเสียใจครับ ดีใจเพราะมีความพยายามที่จะดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุก็มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการดำรงอยู่ในชีวิตบั้นปลาย   ที่เสียใจ ก็คือ  สังคมไทยเปลี่ยนไป วัฒนธรรมที่ลูกหลานมาดูแลสุขภาพพ่อแม่ปู่ย่าตายายกำลังสื่อมถอยน้อยลงไป  การให้ความเคารพนับถือ ให้เกียรติก็น้อยไปทุกที  มีการทอดทิ้งมากขึ้น ผมก็ได้แต่ห่วงสังคมแต่ก็ไม่รู้ว่า ต่อไปตัวเองจะต้องเป็นภาระให้ใครห่วงต่อไป 

สวัสดีค่ะ..

  • ข้อมูลที่บ้านแพรกก็คล้ายๆ กันค่ะ...จน รพ.เองก็ต้องมองอนาคตในด้านสุขภาพทั้งเชิงรับและเชิงรุกกับชุมชน และใน รพ.
  • ส่วนแหววเอง ก็ต้องเตรียมแผนรองรับสำหรับคุณพ่อ-คุณแม่ รวมทั้งตัวเองในอนาคต โดยมีลูกสาวเป็นผู้เรียนรู้ ด้วยการทำความดีให้ลูกเห็นและยึดเป็นแบบอย่างได้บ้าง (หลายๆครั้งที่ชอบเห็นภาพตนเองเวลาแก่ค่ะ...ไม่อยากมีสภาพเหมือนใครหลายๆ คนที่เห็นในชุมชนและที่ รพ.  อันแสดงถึงความล้มเหลวของชีวิตและครอบครัวอย่างมาก
  • ขอบคุณกับเรื่องราวดีๆที่มีมามอบให้เครือข่ายสม่ำเสมอนะคะ

 

    สวัสดีครับ..

    ชีวิตหลังเกษียณเป็นเรื่องที่น่าขบคิดเป็นอย่างยิ่ง  แต่บรรดาผู้มากมีบารมีทั้งหลายก็ล้วนเตรียมตัสตบเท้าเข้าสู่สังคมการเมืองราวกับเป็น "วัฒนธรรม"  ไปแล้ว  พร้อมคำอธิบายว่า  นั่นคือ  หนทางหนึ่งของการรับใช้ประเทศชาติ

    สหรับผมแล้ว... ผมสนใจเรื่องนี้มาก  เคยตั้งคำถามเล่น ๆ กับตัวเองเหมือนกัน  แต่ก็ไม่ลังเลที่จะตอบตอนนี้ว่า  หลังการเกษียณนั้น  ผมจะเป็นคนแก่ที่อยู่บ้าน  หล่อเลี้ยงความฝันที่เหลืออยู่ของตนเอง และฟูมฟักความฝันของบรรดาลูก ๆ หลาน ๆ  ให้มีชีวิต ...แต่นั่นมันก็อีกยาวนานมาก..

    .....

    เป็นธรรมดาใช่ไหมครับที่คนเราต้องโตทางความคิดตามวันและวันที่เหมาะสม... ถ้าเป็นเป็นนั้นจริง  เราก็ควรที่จะบอกได้ว่าจุดหนึ่งของชีวิตที่ต้องพักวางนั้นอยู่ที่ใดกันแน่

    ....

    แต่สำหรับและแม่ที่อายุล่วงเลยวัยแห่งการเกษียณนั้น  ท่านยังไม่หยุดการทำงาน  นอนหัวค่ำและตื่นเช้า  รวมทั้งกลางวันก็หยิบโน่นทำนี่อยู่อย่างไม่รู้จบ  

    และนั่นอาจจะหมายถึงการบอกกับตัวเองและสังคมว่า  ตัวตนของท่านยังมีคุณค่าและมีศักยภาพที่จะหยัดยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง...  หรือแม้แต่การเคยชินกับการทำงานมาตลอดชีวิตที่ไม่รู้ฝั่งฟากว่าการงานเหล่านี้จะยุติลงเมื่อใด   หรือแม้แต่การทำงานเพื่อเป็นการออกกำลังกาย.... สิ่งเหล่านี้ท่านก็เคยอธิบายให้ได้รับรู้อยู่อย่างไม่รู้เบื่อ

    ....

    เมื่อเดือนที่แล้ว   ผมมีโอกาสได้บรรยายให้นิสิตฟัง... ผมพูดในทำนองว่า   คนสูงอายุหลายคนไม่มีโอกาสได้เกษียณชีวิต (ตาย)  ภายใต้บริบทของลูกหลาน  เพราะบางคนยังอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชรา   ไม่มีลูกเต้าเข้าไปเยี่ยมเยียน

    ดังนั้น, ... ในทุกปี   เราจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้นสิตเข้าไปจัดกิจกรรมในสถานสงเคราะห์ฯ อย่างต่อเนื่อง...

    ....

    ขอบพระคุณครับ

    สวัสดีค่ะ

    P

    ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ

    สังคมของประเทศเรา เป็นสังคมที่มีความเอื้ออาทรกันสูงมาแต่โบราณค่ะ มีอะไรก็ช่วยกัน ลูกๆมีความกตัญญูรู้คุณกับพ่อแม่

    แต่เนื่องจากความจำเป็นในด้านเศรษฐกิจ ทำให้ลูกหลานต้องไปทำงานต่างถิ่น ความสัมพันธ์เริ่มห่างเหินไป บางทีไปมีครอบครัวที่ถิ่นใหม่ ก็ยิ่งห่างไปอีก

    ความจำเป็นในด้านค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นๆ บางที ก็ไม่พอส่งให้พ่อแม่ หรือนานๆส่งที ไม่พอกับค่าใช้จ่าย

    จึงทำให้พ่อแม่ต้องพึ่งพาตัวเอง หางานทำด้วย  ในช่วงเวลาที่ควรพักผ่อน

    ในประเทศทางตะวันตก เห็นเป็นเรื่องธรรมดา ที่คนอายุ 60 ปีแล้ว ยังต้องหารายได้ให้ตัวเองอยู่

    ดิฉันก็อยาก จะให้สังคมเรา ถอยกลับไปเหมือนเดิม ลูกหลานดูแลพ่อแม่ปู่ย่าตายาย ยามแก่ตัว ไม่ให้เดือดร้อน  ไม่อยากให้มีคนสูงอายุโดนทอดทิ้งค่ะ

    ขออนุญาตเชื่อมโยงไปยังบันทึกของคุณหมอนนทลี (เพื่อนร่วมทาง กรมอนามัย สธ.) รวบรวมจากการสัมนาวิชาการของคณะกรรมาธิการการสาธารณสุข สนช. เมื่อเดือน เม.ย. และข้อมูลซึ่งผมรวบรวมไว้ใน Thailand Forum เมื่อต้นปีครับ

    สวัสดีค่ะ

    P

    ขอบคุณที่มาเยี่ยม ดีใจมากค่ะ

    จากการรายงานของสภาพัฒน์ฯ เรื่องภาวะของผู้สูงอายุในสังคมไทย ปี 2549  พบว่า

    ผู้สูงอายุไทย 48%  มีโรคเรื้อรัง

    ป่วยด้วยโรคหัวใจมากที่สุดถึง 47.8 %

    สาเหตุจากการใช้ชีวิตที่มีพฤติกรรมเสี่ยงตอนหนุ่มสาว เช่น สูบบุหรี่  และดื่มแอลกอฮอลล์

    ดังนั้น ธุรกิจดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน จึงน่าจะเป็นธุรกิจที่ไปได้สวยค่ะ

    เพราะลูกหลาน คงต้องจ้าง มาดูแลบิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ค่ะ เพราะตัวเอง คงจะไม่มีเวลา มาเฝ้าดูแลเอง

    สวัสดีค่ะคุณหมอคะ

    P

     

    มีข่าวมา เมื่อวันที่ 5 ก.พ.2007 

     รัฐลบาลเกาหลีใต้ ตัดสินใจประกาศใช้มาตรการต่างๆ ได้แก่ การขยายระยะเวลาสำหรับการเกษียณอายุ และลดเวลา ในการเข้ารับราชการทหาร เพื่อเพิ่มจำนวนแรงงานในตลาด หลังจากได้เผชิญปัญหา จำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศ

    สำนักข่าวซินหัวไฟแนนซ์ รายงานว่า อัตราการเกิดของเกาหลีใต้ ตกลงมาที่ 1.08 % ในปี 2548 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในโลก ซึ่งรัฐบาลประกาศว่า จะเพิ่มระยะเวลาสำหรับการเกษียณอายุออกไปอีก 5 ปี และจะทบทวนระบบการศึกษา เพื่อลดกำหนดอายุของประชากร ที่ต้องการเข้าทำงานลง 2 ปี จากปัจจุบันที่ จะต้องมีอายุ 25 ปี

    ทั้งนี้ เกณฑ์เกษียณอายุโดยเฉลี่ย ขณะนี้อยู่ที่ 57 ปีค่ะ

    คุณหมอคะ  trend นี้ก็คงกำลังเกิดขึ้นในหลายๆประเทศค่ะ มิใช่มีแต่ประเทศเรา ดิฉันคิดว่า ต่อไป รัฐบาลคงต้องมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอะไรหลายๆอย่างแน่นอน เกี่ยวกับเรื่องนี้  ที่กำลังจะเป็นปัญหาส่วนหนึ่งของรัฐบาลค่ะ

    คุณหมอก็เหมือนกับคนส่วนใหญ่ค่ะ ที่อยากมีอายุยืนถึง 80-90 ปี แต่ต้องมีสุขภาพดี และชีวิตมีความสุข  ด้วยนะคะ

    อายุยืนอย่างมีคุณภาพดีแน่ค่ะ

    • ได้ทำงานเกี่ยวกับการดูแลผุ้สูงอายุ ส่วนมากผู้สุงอายุจะมีกิจกรรมมากมาย  ไม่เหงา เข้าชมรมสูงอายุของแต่ละตำบล  ส่วนมากมีกิจกรรมเรื่องการออกกำลังกาย  การทำดอกไม้จันท์  และจะน่ารักมากๆ  บางที่พบผู้สูงอายุมารพ. .อายุมากกว่า80ปี เิดินได้ปร๋อเชียว และมีการทำกลุ่มที่รพ เกี่ยวกับเรื่องของสุขภาพ  เรื่องโรคของสูงอายุที่พบบ่อย สนใจเข้าไปที่www.nmkhospital.com ทำโครงการบวรสุขสร้างเสริมสุขภาพสูงวัย

    สวัสดีค่ะคุณเดช

    คุณเดช มีความกังวลเรื่อง จะมีลูกกตัญญูเหลืออยู่อีกมากไหม ในสังคม

    ตามความเห็นของดิฉัน สังคมไทยในภาพรวม ยังดีอยู่นะคะ ความเอื้อาทรกัน การช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ความมีน้ำใจกัน เรายังดีอยู่มากค่ะ

    แต่การที่ สังคมไทย เริ่ม มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น  ทำให้การอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวขยายน้อยลงๆ ผู้สูงอายุ ต้องอยู่กันตามลำพังมากขึ้น

    สำนักงานสถิติแห่งชาติ รายงานว่า ผู้สูงอายุที่อยู่คนเดียว มีส้ดส่วน เพิ่มขึ้น 2 เท่า ในรอบ 10 ปี อยู่ที่ 7.1 % ในปี 2548

    หลักประกัน ของผู้สูงอายุ จะมีแต่บำนาญ กรณี เป็นข้าราชการเก่า เป็นประกันสังคม ถ้าส่งตัวเองต่อ หลังจาก ถึงกำหนดออกจากงานแล้ว หรือ ประกันสุขภาพแบบบัตรทอง

    ดังนั้น การเก็บเงินออม ตั้งแต่ ยังไม่เกษียณ จะมีความสำคุญมากๆค่ะ ทั้งนี้ ภาครัฐก็ควรจะสร้างหลักประกัน แก่ประชาชนทุกกลุ่มอาชีพอย่างทั่วถึง

    ปัจจุบัน การคุ้มครองด้านสุขภาพ ยังไม่ทั่วถึงค่ะ

    ญาติของคนเลี้ยงหลาน เพิ่งเสียไป โดย ไม่สามารถ ทำบัตรสุขภาพอะไรได้เลย เพราะตกสำรวจ ไม่มีบัตรประชาชน เขาอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี จนสุดท้าย ทางโรงพยาบาล ที่อุบลฯ ยอมให้เป็นคนไข้อนาถา ภาระก็ไปตกหนักที่โรงพยาบาลด้วย

    น่าจะมีการ ประกาศ ให้คนตกสำรวจมาขึ้นทะเบียนอีกค่ะ แล้วแต่จะเห็นเหมาะสม

    ส่วนเรื่องลูกกตัญญู ยังมีมากๆค่ะ ไม่ต้องกังวลค่ะ ถ้าพ่อแม่ เลี้ยงดูเขามาอย่างดี ด้วยความรัก ความเอาใจใส่ ส่งเสียให้เล่าเรียนทุกอย่าง ลูกๆต้องรู้สำนึกในบุญคุณอยู่แล้วค่ะ

    Product ใหม่ๆของทางบริษัทประกันและเครดิตการ์ดก็ขายได้ดี เพราะเขาพุ่งเป้าลูกค้ากลุ่มลูกกตัญญูค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    ไม่ทราบว่า ประชากรสูงอายุจะเป็นสัดส่วนที่มากอย่างนี้ทุกประเทศหรือคะ

    สวัสดีค่ะอีกทีค่ะคุณดาวเรือง

    ดีใจที่คุณพอใจในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับดิฉัน

    อ่านที่เล่าแล้ว ครอบครัวอบอุ่นอย่างน่าชื่นชมมากค่ะ ทุกคนในครอบครัวใกล้ชิดสนิทสนมกัน และยังเฝ้าดุแลคุณตาที่ป่วยอยู่อย่างไม่ได้มีความรู้สึกเบื่อหน่ายรังเกียจแต่อย่างใด

    ความสุขที่แท้จริง ดูจะไม่มีส่วนสัมพันธ์กับความเจริญทางเศรษฐกิจแต่อย่างใดนะคะ

    สวัสดีค่ะ

    ผ่านมาอ่านพบเข้า น่าสนใจค่ะ

    ดิฉันทำงานบริษัท และได้ถุกหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือน ทำงานที่นี่มา 3 ปี แล้ว ถ้าจะออกนี่ ไม่ทราบจะได้เงินเท่าใด เห็นบอกว่า กองทุนแบบนี้ ขึ้นอยู่กับผลประกอยการของกองทุนนั้นๆด้วย

    พออธิบายได้ไหมคะ ไม่กล้าถามที่บริษัท เพราะเขายังไม่ทราบว่าจะออกค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณสุมิตรชัยคะ

    P

    ถ้าบันทึกนี้จะเป็นประโยชน์ก็ยินดีค่ะ

    เรื่อง ประเทศไทยได้กลายเป็นสังคมผู้สูงอายุไปเสียแล้ว  ในปี 2549  มีผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไปถึง 10.64% หรือประมาณ 6.5 ล้านคน  

     เป็นเรื่องที่พูดกันมากในเวลานี้ เพราะ มันคือความจริงค่ะ

    และเนื่องจากการแพทย์ก้าวหน้าขึ้นมาก คนก็มีอายุยืนขึ้นด้วย ถ้าอายุยืนแล้ว สุขภาพดี ก็โชคดี แต่ถ้าเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะ คงไม่ค่อยดีเท่าไร

    คุณอาดิฉันเองอายุ 70 กว่าปี ป่วยหลายโรค ตอนนี้ ขาหักทั้งสองข้าง ต้องค่อยๆหัดเดิน คุณอาผู้หญิง ต้องดุแลตลอด ซึ่งมาหนักที่ค่ารักษาพยาบาล 

    ยังดีที่มีลูกกตัญญูอยู่ 2 คน สามารถช่วยได้

    อีกคนหนึ่งที่สนิทมาก สามีเป็นอัลไซเมอร์ ก็โชคดีได้ลูกดีเหมือนกัน

    อ้างถึงOpenCARE Network ของคุณConductor

    การเกื้อกูลกันในครอบครัว เป็นเสาหลักสุดท้าย เป็นการเกื้อหนุนกันในครอบครัว ซึ่งรวมถึงเงินและสิ่งที่ไม่ใช่เงินด้วย เช่นลูกเลี้ยงดูพ่อแม่ ดูแลในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ที่อยู่อาศัย คนดูแล

    คิดว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีการรณรงค์ในด้านการดูแลสุขภาพให้คนสูงอายุ ให้รู้จักดุแลตัวเองให้มากๆ เพื่อการมีชีวิตอยู่ที่มีคุณภาพ

    จริงๆแล้ว ก็ต้องให้ความรู้กันตั้งแต่เด็กๆไปเรื่อยๆตลอดชีวิต   เพราะสุขภาพไม่ดีตอนอายุมาก มักมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตตอนเด็กถึงหนุ่มสาว พออายุมาก ก็เริ่มจะมีอาการปรากฏ บางโรคก็สายเกินแก้ค่ะ

    ผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน 691,547คนที่กล่าวถึงนี้  จะมีปัญหาด้านสุขภาพ 35 %สาเหตุมาจากการพลัดตกหกล้มมากที่สุด 35 %เหมือนกัน

    สังคมคนสูงอายุ  ตามต่างจังหวัด บางที มักจะมีโดดเดี่ยว เพราะลูกๆ จากบ้านมาทำงานต่างถิ่นกันหมดค่ะ

    เจ็บป่วย ไม่มีใครดุแล ต้องพาไปโรงพยาบาลอย่างเดียว พอกลับมาบ้าน ก็ต้องเรียกลูกหลานให้ลางานมาดูแล ลูกหลานบางคนก็ไม่มา ต้องช่วยตัวเองไป หาคนมารับจ้างดูแล ไม่ค่อยจะได้

    ดิฉันเองประสบมากับตัวเองหลายราย แม่บ้าน/ รปภ./ คนเลี้ยงหลาน   พบปัญหาเดียวกันหมด คือ ไม่อยากทอดทิ้ง พ่อแม่ ก็เหมือนทิ้ง เพราะความจำเป็นบังคับค่ะ

     ลูกหลานที่ยอมมาดูแลก็มี แต่ตัวเขาเองก็เขาดรายได้ด้วย

    สรุป ปัญหานี้ เป็นปัญหาใหญ่ของรัฐบาลเลยค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    P

    ดีใจและขอบคุณค่ะ  ที่มาให้ข้อมูลเพิ่มเติมอย่างมีประโยชน์ยิ่ง คุณวิบุลบอกว่า.....

    คนเหล่านี้ส่วนใหญ่นอกจากจะไม่มีเงินออมแล้ว ยังแบกภาระหนี้สินไว้รุงรัง ทำให้น่าห่วงถึงคุณภาพชีวิตของคนชรา โดยเฉพาะกลุ่มที่มีรายได้น้อยและไม่มีเงินออม

    • ระบบประกันสังคมของเรามีไม่มาก และไม่ได้ครอบคลุมมากนัก

    ข้อนี้ ใช่เลยค่ะ เพราะคนที่จะเข้าระบบนี้ได้ ต้องทำงานในสถานประกอบการเท่านั้น  

    ดังนั้น  คนในภาคเกษตรหรือรับจ้างไม่อยู่ในโครงการนี้อีกเป็นจำนวนมาก   แต่ถ้าออกจากงาน และจะส่งเงินต่อก็ได้นะคะ อย่าให้ออกเกินเลย 6 เดือนไปนะคะ ก็ยังได้หลักประกันในระบบนี้อยู่ มีคนทำอย่างนี้ มากมายค่ะ

    พนักงานของดิฉันที่บริษัทฯ และเด็กที่บ้าน ทั้งบ้านตัวเอง และบ้านลูกชาย   ไม่ว่า จะหน้าที่อะไร จะให้เขาสังกัดอยู่ในบริษัทหมด เพราะจะได้มีหลักประกันสุขภาพ  ไม่อยากให้เขา กังวลใจเรื่องหลักประกันในชีวิตค่ะ

    บางทีคนเรา เวลาหนุ่มสาว ก็ตกอยู่ในความประมาท มีเท่าไรใช้หมด ไม่รู้จักใช้เงิน เวลาแก่ตัวก็ลำบาก ไม่มีเงินออม

    • ข้อที่สำคัญมากที่คุณวิบุลหยิบยกมาคือ........

    การส่งเสริมทัศนคติของคนทั่วๆ ไปให้รู้ถึงการกตัญญูรู้คุณ ให้คนรุ่นหลังช่วยดูแลคนชรา ส่งเสริมองค์กรท้องถิ่นชุมชนให้ดูแลคนแก่ คนอ่อนกว่าดูแลคนแก่กว่า

    คนไทย โดยภาพรวม มีความกตัญญู อยู่ในจิตใจ เป็นพื้นฐานอยู่แล้วค่ะ

    แต่ตอนนี้ ดูเหมือนน้อยลง เพราะ ความสัมพันธ์ในครอบครัวเหินห่างไป ต้องจากบ้านมาอยู่ต่างถิ่น เพื่อทำมาหากิน แยกครอบครัวออกมาต่างหาก มีภาระต้องเลี้ยงดูครอบครัวของตน ทำให้ต้องละเลยพ่อแม่ไป

     ซึ่งเรื่องนี้ คิดว่า เราต้องรณรงค์ให้คุณธรรมความกตัญญูข้อนี้ ของเรา ไม่เลือนหายไปค่ะ

     ถูกใจมากค่ะ เป็นบันทึกรวมข้อมูลอ้างอิงที่ต้อง bookmark ไว้เลยค่ะ : )

    สวัสดีครับ

    เข้ามาอ่านครับ

    คุณพ่อผมจะเกษียณปีหน้าเหมือนกัน ผมเองก็มีลูก 2คน และกำลังจะต้องต่อเติมบ้าน  ค่าใช้จ่ายมารอคิวแล้ว คุณพ่อมีบำนาญ แต่อาจไม่พอ ถ้ามีรายการพิเศษ เลยคุยกันว่า อยากจะทำอะไรเพื่อหารายได้เพิ่ม พอดี บ้านเราอยู่ในชุมชนหนาแน่น แถวลำลูกกา

    พอจะแนะนำว่าจะทำอะไรดีครับ ตอนนี้ คิดไม่ออก

    สวัสดีค่ะ

    ประชากรโลกมีมากหลายพันล้าน   และที่อยู่ก็อยู่ นานขึ้นๆ อย่างนี้ ทรัพยากรคงต้องมีการใช้กันอย่างประหยัดแล้วนะคะ จะใช้ทิ้งๆขว้างๆไม่ได้

    สวัสดีค่ะ

    P

    อาจารย์บอกว่า.....

     อ่านแล้ว.....ดีใจเพราะมีความพยายามที่จะดูแลผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุก็มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการดำรงอยู่ในชีวิตบั้นปลาย   ที่เสียใจ ก็คือ  สังคมไทยเปลี่ยนไป วัฒนธรรมที่ลูกหลานมาดูแลสุขภาพพ่อแม่ปู่ย่าตายายกำลังสื่อมถอยน้อยลงไป....

    ค่ะ สังคมเรากำลังเปลี่ยนไป ด้วยความจำเป็นทางด้านเศรษฐกิจ และด้วยกระแสการบริโภคนิยมที่ไหลบ่าเข้าไป ทำลายสิ่งดีๆ วัฒนธรรมดีๆเก่าแก่ ของเราให้ถดถอยไป

    ในฐานะของความเป็นอาจารย์ๆก็สามารถที่จะสอดแทรก เรื่องคุณธรรมและจริยธรรมได้อยู่ตลอดเวลาเลยนะคะ

    สิ่งดีๆในสังคมจะได้คงอยู่ต่อไป ตราบนานเท่านานค่ะ

    ส่วนตัวอาจารยืเอง ไม่ต้องเป็นห่วงค่ะ ความรู้ความสามารถมากมาย ชาตินี้ คิดทำอะไรต่ออะไร ยังได้ไม่หมดเลยค่ะ มีอะไรให้ทำมากมาย ไม่ต้องห่วง ไม่มีใครดูแลหรอกค่ะ ยังไง เราก็ดูแลตัวเองได้แน่ๆอยู่แล้ว

    • สวัสดีค่ะพี่
    • ผู้สูงอายุที่มีการเตรียมการอย่างดีชีวิตจะมีความสุข
    • แต่ยังมีอีกมุมมองที่ผู้สูงอายุอยู่ด้วยความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจที่ลูกหลานไม่ดูแล
    • น่าสงสารมากค่ะ

    สวัสดีค่ะ P

     

     

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

    คุณแหววบอกว่า...

    ได้เตรียมแผนรองรับสำหรับคุณพ่อ-คุณแม่

    รวมทั้งตัวเองในอนาคต โดยมีลูกสาวเป็นผู้เรียนรู้ ด้วยการทำความดีให้ลูกเห็นและยึดเป็นแบบอย่างได้บ้างแล้ว

    ยินดีด้วยค่ะ ที่มีการวางแผนชีวิตไว้แต่เนิ่นๆล่วงหน้าเพื่อความไม่ประมาท เพราะคุณแหววทำงานด้านสุขภาพ พบเห็นมามากเรื่องความเจ็บป่วย ความเหงา ความว้าเหว่ของคนสูงอายุ ไร้ญาติขาดมิตร ซึ่งทำให้เราสะท้อนใจ และนึกถึงตัวเองบ้างเหมือนกัน

    ถ้าเรามีความกตัญญูกับบิดามารดา ปูย่าตายายของเรา ลูกเราก็จะ มีความกตัญญูต่อเราค่ะ ทุกอย่างอยู่ที่ต้นแบบของครอบครัวค่ะ รับรองได้

    สำหรับพี่เอง พี่ดูแลลูกมาอย่างดี ทำหน้าที่ดีที่สุดเท่าที่ แม่จะทำให้ลูกได้ตลอดระยะเวลานานมาก จนบัดนี้ พี่คิดว่า ลูกซาบซึ้งใจ และ ได้ทำอะไรหลายๆอย่างให้พี่ โดยที่ พี่ไม่เคยต้องแนะอะไรเลย มันเป็นความปลื้มใจนะคะ   ที่เราเห็นลูกกตัญญูรู้คุณเรา เป็นกำลังใจให้เรามากๆค่ะ

    และไม่ได้มีพี่เท่านั้น  ญาติๆ เพื่อนๆ หรือคนรู้จักมากมาย   เขาก็มีลูกๆดูแลเขาเหมือนกัน พี่ถึงว่า สังคมเรายังดีอยู่ ถ้ามีคนทำดีๆมากขึ้น สังคมโดยรวมก็จะดีขึ้นค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณพนัส
    P

    คุณพนัสเป็นอีกตัวอย่างที่พี่ชื่นชมนะคะ ความเป็นครอบครัวที่อบอุ่น ไม่เฉพาะ ภรรยาและลูกๆ

    แต่กับคุณปู่คุณย่าของเด็กๆ ก็มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก เด็กๆรักคุณปู่คุณย่ามาก ดังที่คุณพนัส เขียนไว้ว่า......

    แม่ที่อายุล่วงเลยวัยแห่งการเกษียณนั้น  ท่านยังไม่หยุดการทำงาน  นอนหัวค่ำและตื่นเช้า  รวมทั้งกลางวันก็หยิบโน่นทำนี่อยู่อย่างไม่รู้จบ  

    นั่นแสดงว่า ตัวตนของท่านยังมีคุณค่าและมีศักยภาพที่จะหยัดยืนอยู่ได้ด้วยตนเอง...  หรือแม้แต่การเคยชินกับการทำงานมาตลอดชีวิตที่ไม่รู้ฝั่งฟากว่าการงานเหล่านี้จะยุติลงเมื่อใด   หรือแม้แต่การทำงานเพื่อเป็นการออกกำลังกาย....

    คนสูงอายุทุกคน จะภาคภูมิใจที่ได้ยืนหยัดอยู่ได้ด้วยตัวเอง แม้ลูกๆจะมาช่วยเหลือจุนเจือ แต่ก็เป็นบางส่วน ตัวเองก็สามารถช่วยตัวเองอยู่ได้ในระดับหนึ่งอยู่แล้ว

    การที่ครอบครัวใกล้ชิดกัน แม้จะไม่ได้อยู่บ้านเดียวกัน ก็จะมีความอบอุ่นมากและยังช่วยป้องกัน ไม่ให้ลูกหลาน มีพฤติกรรมนอกลู่ นอกทางๆปอีกด้วย

    และเห็นด้วยอย่างมากที่ ......คุณพนัส บอกว่า...

    ในทุกปี   เราจึงส่งเสริมและสนับสนุนให้นิสิตเข้าไปจัดกิจกรรมในสถานสงเคราะห์ฯคนชรา  อย่างต่อเนื่อง...

    ต่อไปเด็กๆต้องเป็นคนกตัญญู ไม่ทอดทิ้งพ่อแม่ปู่ย่าตายายนะคะ

    • สวัสดีครับคุณพี่ศศินันท์
    • แว็บมาตามลิงค์ทีหนึ่งแล้วล่ะครับ  แต่ยังหาจังหวะตอบคุณพี่ยังไม่ได้  เพราะ 2-3 วันมานี้มีภารกิจให้ความช่วยเหลือพี่น้องเพื่อนครูทางเทคนิคนอกบ้านอยู่ 2-3 ราย  ก็เลยหาจังหวะเข้าบล้อกแทบไม่มี
    • ขอบพระคุณคุณพี่มากครับที่ให้กำลังใจที่บล้อก ผมเองก็เพียงทำหน้าที่ไปตามสภาพเท่าที่พอจะทำได้เท่านั้นแหละครับ   
    • แนวโน้มทุกด้านของสังคมชนบทที่นี่ มีสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงเพิ่มขึ้นทุกวันๆ  ยิ่งเมื่ออ่านบันทึกเรื่องนี้ของคุณพี่  แล้วมองลึกเข้าไปในชุมชน  ภาพความเดียวดายของผู้สูงอายุก็ยิ่งเกลื่อนตามากขึ้น  การวางแผนเพื่อรองรับวันเวลาบ่ายคล้อยและพลบค่ำของชีวิตของผู้คนที่นี่แทบไม่มีเลย  ส่วนใหญ่ฝากความหวังไว้กับลูกหลาน  ในขณะที่ลูกหลานก็แทบเอาตัวไม่รอด  ทั้งๆที่มีปัจจัยเอื้อเพื่อการสร้างฐานะได้อย่างค่อนข้างเหลือเฟือซะด้วยซ้ำ  แต่กลับมองไม่เห็น  (และจงใจไม่มองด้วย)  เพราะมีค่านิยมที่น่าตกใจว่า "ไม่อยากให้ลูกต้องมาตกระกำลำบากเป็นชาวนาเหมือนตัวเอง"
    • 2 ปีที่ผ่านมา  ที่นี่ (2 หมู่บ้าน ร่วมๆ 100 หลังคาเรือน  มีเด็กเกิดใหม่ปีละ 1 คน  แล้วจะรับเลี้ยงดูคนชรา ณ วันนั้นไหวไหมหนอ....
    • แล้วจะแวะมาเรื่อยๆครับ
    • สวัสดีครับ
    • สวัสดีอีกครั้งครับ 
    • มีข้อมูลอีกรายการหนึ่ง ที่คิดว่าสำคัญ
    • ใน Science, Vol 296, Issue 5570, 1029-1031 ฉบับ 10 May 2002 เรื่อง Broken Limits to Life Expectancy ๋โดย Jim Oeppen และ James W. Vaupel ได้เก็บข้อมูลคนในประเทศต่าง ๆ ที่อายุยืนที่สุดในแต่ละช่วงเวลา (โดยเปลี่ยนประเทศไปเรื่อย ๆ เลือกแต่ประเทศที่ทำสถิติดีที่สุด) ย้อนไป 160 ปี พบว่า อายุเฉลี่ยของคนในประเทศที่อายุยืนที่สุด เพิ่มขึ้นถึง 40 ปี คือ จากเฉลี่ย 45 ปี ในปี 1840 มาเป็นเฉลี่ย 85 ปี ในปี 2000 โดยไม่มีทีท่าว่าจะหยุด
    • ตัวเลขนี้ ชี้ให้เห็นว่า อายุคาดหมายของมนุษย์ เขยิบเพิ่มขึ้นปีละ 3 เดือน ทุกปี ซึ่งหลัก ๆ คงมาจากวิทยาการแพทย์ดีขึ้นเรื่อย ๆ
    • แปลว่า "คนอายุ 40 ปี ที่มีลูกเป็นเพศเดียวกันในวันนี้ ลูกจะมีอายุขัยคาดหวัง ยาวกว่าคนรุ่นพ่อแม่ถึง 10 ปี"
    • ส่วนนี้ เป็นส่วนเสริมว่า นอกจากจะมีคนชรามากขึ้นแล้ว ยังจะมีการชราภาพนานขึ้นด้วย
    • ไม่เตรียมพร้อมเรื่องเงิน ยังหวังเรื่องดวงดีเป็นพิเศษได้ (เรื่องคนอื่นมาดูแล)
    • แต่เรื่องสุขภาพนี่สิ โกงกันไม่ได้
    • ลองนึกถึงคนที่ไม่เตรียมพร้อมเรื่องสุขภาพ ใช้สุขภาพตนเองซื้อเงิน (=ทำงานแบบไม่ถนอมสุขภาพ) หรือแย่กว่านั้น ใช้สุขภาพตนเองใช้เงิน (=เสเพลแบบไม่ถนอมสุขภาพ) มีโอกาสสูงที่จะเดี้ยงแบบช่วยตัวเองไม่ได้อย่างสิ้นเชิง
    • ได้ "กิน ๆ นอน ๆ หลายสิบปี" บนเตียงจนตาย นี่ ไม่อยากนึก - สยองครับ 

     

    สวัสดีค่ะ

    P

    ดีใจที่คุณConductor..เข้าอ่านค่ะ และถ้าเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ก็เชิญใช้ประโยชน์ได้ค่ะ

    เรื่องแนวโน้มสังคมผู้สูงอายุ มีการกล่าวถึงกันมาพอควร ทั้งจากภาคราชการและภาคเอกชน  แต่ตอนนี้ ปรากฏชัดขึ้นๆแล้วค่ะ จากตัวเลข ของสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง

    ทำการเปรียบเทียบโครงสร้างประชากรของปี 2549 และแนวโน้มของโครงสร้างประชากรปี 2570

    โดยแบ่งเป็น 3 ช่วงอายุ ได้แก่วัยเด็ก 0-20ปี  วัยทำงาน 20-59 ปี  และผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป

    พบว่า ประชากรวัยเด็กและวัยทำงานมีสัดส่วนลดลง ขณะที่กลุ่มที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป มีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็นเท่าตัว

    พศ.2549   สัดส่วน   พ.ศ. 2570   สัดส่วน  
    ประชากรรวม 62,828,706   100   69,763,095   100  
    อายุ 0-20  ปี 18,665,174      29   16,088,480      23  
    อายุ 20-59 ปี 37,251,695    59.29   37,651,295      53  
    อายุ60ปีขึ้นไป  6,533,470    10  

    16,054,020

         23  
    • เข้ามาขออนุญาตหยิบข้อมูลไปสอนเด็กๆ ค่ะ
    • มองกลับไปในชุมชนตอนนี้ เกือบทั้งหมดจะเป็นผู้สูงอายุค่ะ....(ดูได้จากการเรียกประชุม/ทำกิจกรรมในชุมชน)...ส่วนที่เหลือก็จะเป็นเด็กวัยเรียนซึ่งเป็นรุ่นลูกหลาน....วัยแรงงานเข้าไปทำงานในตัวเมืองกันหมด
    • ถ้าสังเกตร้านค้าในเมืองจะเห็น...กาแฟโบราณ...เพิ่มมากขึ้นค่ะ....คงต้องการดึงลูกค้าวัยนี้กระมังคะ..(นอกเหนือจากผ้าอ้อมผู้ใหญ่หรือสินค้าอื่นๆ)

    ขอบคุณค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    P

    ดีใจที่ร.พ.หนองม่วงไข่ เป็นตัวอย่างที่ดีในการดุแลผู้สูงอายุค่ะ

    ส่วนมากผู้สุงอายุจะมีกิจกรรมมากมาย  ไม่เหงา เข้าชมรมสูงอายุของแต่ละตำบล  ส่วนมากมีกิจกรรมเรื่องการออกกำลังกาย  การทำดอกไม้จันท์  และจะน่ารักมากๆ  บางที่พบผู้สูงอายุมารพ. .อายุมากกว่า80ปี เิดินได้ปร๋อเชียว

    โรคที่ผู้สูงอายุ เป็นกันมาก เช่น

    -โรคหัวใจและหลอดเลือด
    -โรคมะเร็งในผู้สูงอายุ
    -โรคกระดูกพรุน
    -โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุ
    -การติดเชื้อในผู้สูงอายุ
    โรคสมองเสื่อม
    -โรคซึมเศร้า
    -ความผิดปกติทางการนอนหลับในผู้สูงอายุ
    -การหกล้มในผู้สูงอายุ

    ดูข้อมูลรายละเอียดได้ที่นี่ค่ะ


    http://www.agingthai.org/file/content/mul3.pdf

     

    สวัสดีค่ะ

    อ่านแล้วสงสารผู้สูงอายุที่ถุกทอดทิ้งนะคะ

    แต่น่าจะมีเป็นบางกลุ่มเท่านั้น ที่มักถุกทอดทิ้ง น่าจะเป็นกลุ่มไม่กว้างนัก

    ทราบไหมคะ ว่าเป็นกลุ่มไหนบ้างค่ะที่เสี่ยงจะถูกทอดทิ้ง

    ธนาคารโลกแนะนำให้ใช้ห้าแนวทางประกอบกันครับ

    ธนาคารโลกได้เสนอระบบเงินสงเคราะห์ ซึ่งประกอบไปด้วยเสาหลัก 5 เสา ใช้ประกอบกัน เนื่องจากการพึ่งพาระบบใดระบบหนึ่งเพียงอันเดียว มักจะไม่เพียงพอ
    1. ระบบสังคมสงเคราะห์พื้นฐาน เรียกว่า "zero pillar" เป็นระบบพื้นฐานสำหรับผู้ที่ไม่สามารถจะช่วยเหลือตัวเองได้เลย ผู้สูงอายุที่ขอรับความช่วยเหลือ ไม่มีพันธะที่จะต้องจ่ายเงินสมทบใดๆเข้ากองทุนในขณะที่ยังทำงานอยู่ เป็นความช่วยเหลือพื้นฐานแบบให้เปล่าจากรัฐแก่ประชาชน
    2. ระบบประกันสังคม เรียกว่า "first-pillar" ผู้ประกันตนต้องแบ่งรายได้ส่วนหนึ่ง สมทบเข้ากับกองทุนประกันสังคม ซึ่งจะนำเงินไปหาผลประโยชน์ และนำดอกผลมาดูแลผู้ประกันตน ตามเงื่อนไข ทั้งในระยะที่ยังทำงาน หรือเกษียณอายุไปแล้ว
    3. ระบบการออมส่วนตัว เรียกเป็น "second pillar" ซึ่งแต่ละคนทำการออม และ/หรือ ลงทุน (ในตราสารหนี้/ตราสารทุน/กองทุน) จำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละคนจะต้องออมเงินไว้ใช้ในเวลาจำเป็น ในเวลาฉุกเฉิน หรือไม่มีเรี่ยวแรงที่จะหามาเพิ่มได้อีกแล้ว เป็นการออมที่มีผู้จัดการเงินมืออาชีพนำเงินออมไปออกดอกออกผลให้; ในภาครัฐมีการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ในภาคเอกชน มีความพยายามจะจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.) มานาน แต่ก็ยังไม่สำเร็จ; กบข. และ กบช. ทำหน้าที่อย่างเดียวกัน แต่ผู้เขียนมั่นใจว่าไม่ควรรวมกันเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอาจจะมีขนาดใหญ่ยักษ์เช่นเดียวกับ Calpers (กองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งมลรัฐคาลิฟอร์เนีย) และในที่สุดจะตกเป็นเครื่องมือทางการเมือง; จะโยกการลงทุนเข้า/ออกครั้งใด ก็จะเกิดความปั่นป่วนในระบบเศรษฐกิจ; จำเป็นต้องออกกฏหมายป้องกันการแทรกแทรงทางการเมืองอย่างรัดกุม; กบข.มีสมาชิกเป็นข้าราชการ ซึ่งข้าราชการมีประมาณสองล้านคน ส่วน กบช.หากจัดตั้งขึ้นมา จะมีสมาชิกเป็นแรงงานในระบบเป็นพนักงานเอกชนจำนวนถึง 13 ล้านคน (ข้อมูลปี 2547)
    4. ระบบเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพ เป็น "third-pillar" ซึ่งทั้งนี้พนักงานกันเงินได้ส่วนหนึ่งไปลงทุน เพื่อเก็บเป็นเงินก้อนเมื่อคราวเกษียณอายุ นายจ้างสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง รัฐลดภาษีให้ด้วยอีกส่วนหนึ่งโดยให้หักเป็นค่าใช้จ่าย
    5. การเกื้อกูลกันในครอบครัว เป็นเสาหลักสุดท้าย เป็นการเกื้อหนุนกันในครอบครัว ซึ่งรวมถึงเงินและสิ่งที่ไม่ใช่เงินด้วย เช่นลูกเลี้ยงดูพ่อแม่ ดูแลในเวลาเจ็บไข้ได้ป่วย ที่อยู่อาศัย คนดูแล

    การดูแลผู้สูงอายุเป็นเรื่องที่ต้องเตรียมการล่วงหน้าครับ

    สวัสดีค่ะ

    P

    P

    ขอบคุณค่ะ ที่เข้ามาเยี่ยม

    ตัวเองก็จัดอยู่ในกลุ่มวัยนี้เหมือนกันค่ะ เลยสนใจเป็นพิเศษด้วย

    แต่โชคดีหน่อยที่เป็นคนแข็งแรง ไม่มีโรคภัยประจำตัว และยังทำธุรกิจอยู่ค่ะ  แต่ไม่หนักอย่างเมื่อก่อนแล้ว เพราะถึงเวลาที่เราจะต้องๆ enjoy life บ้าง

    แต่ก่อนนี้ เดินทางบ่อยจริง แต่จะไปเรื่องงาน ส่วนใหญ่ ไม่มีเวลาเที่ยวเลย ชีวิตกระหืดกระหอบมากค่ะ

    แม้แต่ไปโรงงานที่กาญจนบุรี บางที ต้องขับรถไปเอง เพราะให้คนขับไปช่วยกันส่ง ของที่super market  ต้องใช้ 2-3 คันพร้อมกัน เพราะ super market เขามีเวลารับของนะคะ ถ้าหมดเวลา เขาก็ปิดรับค่ะ ทำงานแข่งกับเวลา

    แต่ถามว่า ทำงานมาก ชอบไหม ต้องบอกว่า ชอบมากๆค่ะ ที่เรียนๆมา เป็นแค่ส่วนประกอบ ความรู้ ความชำนาญ ได้จากการทำงานจริงๆค่ะ

    มาถึงตอนนี้ ต้องบอกว่าสบายขึ้นมากๆค่ะ ถึงได้มีเวลา มาเขียนบันทึกค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณพาณี

    คุณพาณีจะออกจากงานบริษัท แต่ไม่แน่ใจเรื่องเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

    ดิฉันทำงานบริษัท และได้ถุกหักเงินเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพทุกเดือน ทำงานที่นี่มา 3 ปี แล้ว ถ้าจะออกนี่ ไม่ทราบจะได้เงินเท่าใด เห็นบอกว่า กองทุนแบบนี้ ขึ้นอยู่กับผลประกอยการของกองทุนนั้นๆด้วย

    ข้อนี้พอมีประสบการณ์คร่าวๆดังนี้ค่ะ

    • บริษัทหักเงินพนักงานส่วนหนึ่ง บริษัทสมทบให้อีกส่วนหนึ่ง
    •  และมีการนำเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ไปลงทุนเพื่อให้ออกดอกออกผล ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
    • เวลาคุณพาณีจะออก ก็จะได้เงินต้นของตัวเอง+กับที่บริษัทจ่ายสมทบให้แน่นอนอยู่แล้วค่ะ
    •  แต่ผลประโยชน์เพิ่มเติม ก็แล้วแต่ผลประกอบการของการลงทุนในกองทุนนั้นๆ  ปกติทรัพย์สินของกองทุน จะถุกนำไปลงทุนในแบบต่างๆ ที่มีความเสี่ยงต่ำ เช่น ตราสารหนี้ และในหุ้นดีๆ และอื่นๆบ้าง
    • ทีนี้ กรณี ที่ทำงานไม่ถึง 5 ปี ไม่ทราบบริษัทที่คุณทำงานอยู่ เขาจะสมทบให้ 100 % ไหม  เรื่องนี้ ก็แล้วแต่เงื่อนไขที่ตกลงกัน ตั้งแต่แรกเข้าค่ะ
    • และเงินสำรองเลี้ยงชีพ รัฐก็ยังลดภาษีให้ด้วย โดยให้หักเป็นค่าใช้จ่ายค่ะ 
    • คุณพาณี คงต้องไปคำนวณในรายละเอียดอีกทีนะคะ
    • ช่วยอ่านข้อมูลที่ 50  จากคุณConductor ที่บันทึกนี้ด้วยค่ะ
      P

    • แวะมาเยี่ยมคะ...เป็นเรื่องน่าห่วงคะ...
    • ถ้าดูรายการวงเวียนชีวิตบ่อยๆ..จะพบว่าผู้สูงอายุในปัจจุบันอยู่อย่างลำบากนะคะ..โดยเฉพาะชาวบ้าน...
    • นอกจากสังคมเปลี่ยนเป็นสังคมเดี่ยวมากขึ้นแล้วยังมีปัญหาครอบครัวแตกแยกด้วยคะ
    • ผู้สูงอายุบางส่วนต้องรับภาระเลี้ยงดูหลานๆ..ที่พ่อ หรือ แม่นำมาทิ้งไว้..โดยไม่ส่งเสียเลี้ยงดู
    • น่าสงสารคะ..ลำพัง..อยู่กัน 2 คนตายาย ก็แย่แล้วนะคะ
    • เงินสวัสดิการผู้สูงอายุ..ยังไม่เห็นคืบหน้าเลยนะคะ...แถมเงินที่ได้รับ ณ วันนี้ก็ไม่พอกับค่าครองชีพคะ
    • หากไม่รู้จักการออมตั้งแต่วันนี้จะลำบากในภายหน้านะคะ

    สวัสดีค่ะคุณพิเชษฐ์

    คุณมาปรึกษาเรื่องคุณพ่ออยากหาหารายได้หลังเกษียณปีหน้า

    เป็นเรื่องที่ดีค่ะ เพราะ ท่านคงไม่อยากอยู่เฉยๆ และไม่อยากให้เป็นภาระกับลูกหลานมากไป จริงๆแล้ว ท่านก็มีเงินบำนาญส่วนหนึ่งแล้วด้วยนะคะ   แต่การทำงาน ทำให้ชีวิตสนุกขึ้นค่ะ ไม่เฉา

    คุณพิเชษฐ์ บอกว่า อยู่แถวลำลูกกา คนอยู่หนาแน่น

    ดิฉันว่า เปิดบ้านด้านล่างเป็นร้านขายของใช้จำเป็นรวมขายพวกไอสครีมก็ได้ค่ะ  คุณแม่ของพนักงานที่บริษัท ดิฉันคนหนึ่ง ก็ขายของอยู่กับบ้าน คนไม่อยากออกไปไกลๆ ก็ซื้อใกล้ๆ แต่ต้องแน่ใจว่า ไม่มีร้านที่เขาเปิดอยู่แล้วนะคะ  ดีกว่าเปิดร้านขายอาหาร เพราะ ขายไม่หมดก็เสีย

    ดิฉันไม่ทราบว่าคุณพ่อ มีความชำนาญอะไร ถ้า ท่านเป็นช่าง ก็สามารถเปิดร้าน จำพวกซ่อมๆอะไรก็ได้ค่ะ

    บางคนเคยอยู่หน่วยงานบำรุงรักษาบริเวณและอาคารมาก่อน ก็สามารถเปิดบริการด้าน รับตัดหญ้า บำรุงรักษาบริเวณบ้านได้

    ในความคิดของดิฉัน มีช่องทางมากมายค่ะ เพียงแต่ เราอาจจำกัดอยู่ในงานที่ไม่หนักไป ใช้เงินลงทุนไม่มาก และไม่มีความกดดันเรื่องเวลามาก เพราะ จะทำให้คุณพ่อเครียดค่ะ

    ยังมีเวลาค่ะ

    ค่อยๆปรึกษากันไปก็ได้

     

    สวัสดีค่ะคุณดาราวดี

    คุณบอกว่า......

    ประชากรโลกมีมากหลายพันล้าน   และที่อยู่ก็อยู่ นานขึ้นๆ อย่างนี้ ทรัพยากรคงต้องมีการใช้กันอย่างประหยัดแล้วนะคะ จะใช้ทิ้งๆขว้างๆไม่ได้

    ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ และเห็นด้วยกับคุณดาราวดีค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    อ่านบันทึกแล้วนึกถึงตนเองในอนาคต.....สักวันหากเราอายุยืนก็คงอยู่ในสถิติเหมือนกัน.........

    สังคมชนบท....จะเห็นปัญหาหลายด้าน    บางครอบครัวไปทำงานทิ้งผู้สูงอายุไว้ที่บ้านกับเด็กๆ  ก็โชคดีที่มีเด็กๆ ไว้ใกล้ชิดไม่เหงา  แต่บางคนอยู่เดียวดาย น่าสงสาร 

     ผู้สูงอายุในชนบทบางคนได้รับการดูแลจาก องค์กรท้องถิ่น  เพียงเล็กน้อย  เดือนละ  500  บาท   แต่ต้องผ่านการประชามติของหมู่บ้านนั้นๆ  หลายๆคนก็ผิดหวัง   เงินน้อยคนมาก  จึงต้องมีวิธีการจัดสรร   ดูจำนวนเงินอาจจะน้อยแต่สำหรับผู้สูงอายุในชนบท ก็เป็นการช่วยเหลือที่มีค่าสำหรับพวกเขาค่ะ

    ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆที่นำมาให้เรียนรู้ค่ะ

     

     สวัสดีค่ะ

    P

     

    • ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนค่ะ
    •  คุณ RAK-NA
      บอกว่า....
      ผู้สูงอายุที่มีการเตรียมการอย่างดีชีวิตจะมีความสุข
    • แต่ยังมีอีกมุมมองที่ผู้สูงอายุอยู่ด้วยความทรมานทั้งร่างกายและจิตใจที่ลูกหลานไม่ดูแล

     สำหรับเรื่องนี้ พอดีดิฉันได้อ่านข้อมูล.......

    ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับบที10( 2550-2554 )

    ว่า.......ได้มีการได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์หลักของแผนมุ่งสู่ สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน พร้อมกับน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางพัฒนาประเทศ

     เพื่อให้การพัฒนาและบริหารประเทศเป็นไปในทางสายกลาง ภายใต้หลักการที่ยึดความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน มีการมุ่งเน้นเพื่อสร้างรายได้และให้บริการสวัสดิการสังคมแก่ประชาชน

    สำหรับรูปแบบของหมวดสวัสดิการที่น่าสนใจคือ

    สวัสดิการฐานประกัน ตั้งอยู่บนหลักการๆประกัน คือ การสร้างระบบการออมเพื่อสวัสดิการและการประกันการมีรายได้เมื่อเกษียณอายุการทำงานหรือชราภาพ

    ในสังคมเกษตรกรรม จัดให้มีกองทุนภาคประชาชน ให้สมาชิกสมทบเงินออมวันละ 1 บาท เป็นต้น

    ดังนั้น ในระยะ ไม่นานเกินรอ เราคงได้เห็นผลที่ภาครัฐ พยายามจะแก้ไขปัญหาสังคมในเรื่องของความยากไร้ และปรับปรุงเรื่องสวัสดิการสังคมให้มีคุณภาพดีขึ้นค่ะ

    สวัสดีครับ

    ตรงนี้สะท้อนอะไรบางอย่างนะครับ...ด้วยขนาดครอบครัวที่เล็กลง   สายสัมพันธ์ครอบครัวที่เบาบางลง   การเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ของลูกๆหลานๆ 

    • เป็นไปได้ไหมครับที่ความสัมพันธ์ครอบครัวจะเขม็งเกลียวขึ้นภายใต้เงื่อนไขของครอบครัวขนาดเล็ก ?
    • เมื่อไหร่ที่เจ้านกน้อยจะบินกลับคืนสู่รัง และสำนึกรักบ้านเกิด พัฒนาบ้านเกิด ค้นพบคำว่า พอเพียง และเพียงพอ ?
    • คำถามนี้ผมก็ถามตัวเองเช่นกันครับ

    แทบไม่น่าเชื่อว่า ...วันนี้ตอนสาย  คุณพ่อโทรมาว่า  ญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเสียชีวิตแล้ว...  ผมกำลังเผชิญกับภาวะทางสังคมที่ต้องรับผิดชอบ...

    แต่ยังไงก็กำลังเคลียร์......  เพื่อกลับบ้าน ...

     

    อาจารย์ขานกว่านะในปัจจุบันนี้พอเรามีครอบครัวเราก็จะมุ่งแต่หารายได้เลี้ยงครอบครัวจนลืมนึกถึง รายได้สำหรับตัวเองหลังจากที่ทำงานไม่ได้ หนึ่งในนั้นก็มีนกด้วยคะ  บ้านนกที่ต่างจังหวัดนะคะเหลือแต่ผู้สูงอายุคะกับไร่ นา ที่ไม่ค่อยจะมีคนทำแล้วคะ

    สวัสดีค่ะ คุณsasinanda 

          อ่านบันทึกของคุณแล้วอยากจะให้ลูกหลานดูแลเอาใจใส่ผู้สูงอายุ  โดยเฉพาะคุณปู่คุณย่าคุณตาคุณยายของเรา ( เล่าเรื่องอดีตอีกแล้วค่ะ ) ตอนเด็ก ๆ คุณยายของดิฉันมีหลาน ๆ หลายคนคุณยายจะชอบเล่านิทานให้ฟังและหลาน ๆ จะชอบแย่งกันอยู่ใกล้คุณยายค่ะ  คุณยายมีเรื่องเล่ามากมายเลยค่ะ 

    สวัสดีค่ะคุณชีวิน

    P

    คุณชีวินสงสัยว่าสัดส่วนประชากรผู้สูงอายุ จะเป็นอย่างนี้ ทุกประเทศหรือเปล่า

    ประชากรโลกมีประมาณ 6605 กว่าล้านคน 60.6%เป็นชาวเอเซีย เฉพาะอินเดียประเทศเดียว ก็มีประชากรมากกว่าประชากรของประเทศในแถบทวีปยุโรปทั้งทวีป...ไม่รวมรัสเซีย +กับประเทศอุตสาหกรรมทั้งหมดรวมกัน

    สำหรับประเทศไทย อยู่ในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่ง มีทั้งหมด 10 ประเทศ มีประชากรรวมกัน 500 ล้านคน เป็น 8 %เพื่ออเทียบกับทั้งโลก

    ประเทศไทยมีประชากร 65.1ล้านคน เป็นที่ 19 ของโลก

    อินเดียมีโครงสร้างประชากรวัยเด็กสูงถึงร้อยละ 31.8 ขณะที่ประชากร สูงอายุน้อยมาก แค่ ร้อยละ 5.1 ประชากรจึงมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากกว่าประเทศอื่นๆ และจะเป็นประเทศที่มีประชากรสูงที่สุดในโลกแทนจีน

    ประชากรยุโรปมีคนสูงอายุมากกว่าคนในวัยเด็ก และเป็นแบบจำลองของประชากรไทยในอนาคต

    ประเทศที่มีคนสูงอายุมากๆ มักจะเป็นประเทศที่เกิดเก่าๆ  ยกเว้นอินเดีย  แต่ถ้าเป็นประเทศเกิดใหม่ มักจะยังไม่มีปรากฏการณ์นี้ค่ะ

    ขอแถมเรื่องความรู้เกี่ยวกับผู้สูงอายุเพิ่มนะคะ จากสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข 

    http://www.agingthai.org/?p=content&id=63

    สวัสดีค่ะครูวุฒิ

     

    ครูวุฒิเล่าว่า.....

    ภาพความเดียวดายของผู้สูงอายุก็ยิ่งเกลื่อนตามากขึ้น  การวางแผนเพื่อรองรับวันเวลาบ่ายคล้อยและพลบค่ำของชีวิตของผู้คนที่นี่แทบไม่มีเลย  ส่วนใหญ่ฝากความหวังไว้กับลูกหลาน  ในขณะที่ลูกหลานก็แทบเอาตัวไม่รอด 

    สถานการณ์ดังกล่าวของสังคมชาวนาในชนบท  ท่านผู้รู้ระดับปราชญ์ชาวบ้านหลายท่าน  ได้แสดงความเป็นห่วงและได้เคยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการวางแผนชีวิตรองรับวันเวลาความสูงวัยด้วยภูมิปัญญาและปัจจัยพื้นฐานของชีวิตอย่างง่ายๆ  ที่ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถทำได้ทุกคนโดยไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากภายนอก 

    ให้รีบปลูกต้นไม้ยืนต้นเชิงเศรษฐกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว ไว้เป็นบำเหน็จบำนาญสำหรับตัวเองและต่อไปยังบุตรหลานเมื่อชราภาพ

    ดิฉันคิดว่า....นี่คือ วิธีการช่วยเหลือตัวเองง่ายๆ ที่ตอนหนุ่มสาว เลี้ยงต้นไม้ไว้มากๆ    เมื่อแก่ตัว ให้ต้นไม้เลี้ยงเรา

    ดิฉันชื่นชมมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

    และนี่คือการพึ่งพาตนเอง แบบเศรษฐกิจพอเพียงค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    P

    คุณวิบุล ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า.....

    นอกจากจะมีคนชรามากขึ้นแล้ว ยังจะมีการชราภาพนานขึ้นด้วย
  • ตัวเลขนี้ ชี้ให้เห็นว่า อายุคาดหมายของมนุษย์ เขยิบเพิ่มขึ้นปีละ 3 เดือน ทุกปี ซึ่งหลัก ๆ คงมาจากวิทยาการแพทย์ดีขึ้นเรื่อย ๆ
  •  ค่ะ  ดังนั้น คนส่วนใหญ่ที่หวังว่า จะมีอายุยืนถึง 80ปีขึ้นไป มีความเป็นไปได้สูงแน่นอนนะคะ แต่ถ้าอยากอายุยืนมากๆ ต้องวางแผนแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะ การดูแลตัวเอง ในด้านสุขภาพ

    เพราะ ถ้าไม่เตรียมตัวในด้านสุขภาพแล้ว  อาจจะอายุยืนจริง แต่ไม่มีความสุขเลย แถมยังต้องเป็นภาระแก่ลูกหลาน สังคม และประเทศชาติด้วยค่ะ

     

    สวัสดีค่ะ

     

    ขอบคุณ  คุณConductor .ที่ช่วยนำข้อมูลที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างยิ่งมา เพิ่มเติมนะคะ
     เรื่องหลักประกันในชีวิตคนเราทั้งทางด้านสุขภาพและเรื่องการเงิน เป็นเรื่องที่สำคัญมาก และต้องมีการวางแผนระยะยาวด้วยที่ประเทศเรา ก็มีระบบ ประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือประชาชนทั่วไป
     ระบบ ประกันสังคม สำหรับพนักงานของสถานประกอบการต่างๆที่เป็นเอกชน ซึ่งทั้ง 2 ระบบนี้  เคยมีข่าวจากทางการเมืองว่า  จะรวม กองทุนเงินประกันสังคมกับกองทุน เงินประกันสุขภาพถ้วนหน้า(บัตรทอง) เข้าด้วยกัน แต่โดนคัดค้านมาก จากพนักงานระบบประกันสังคม ว่าไม่เป็นธรรม เลยหยุดไป
     ไม่อยากให้การเมือง เข้ามาแทรกแซงค่ะ 
    ส่วนระบบเงินทุนสำรองเลี้ยงชีพนี้ ก็ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่ดอกผลที่จะได้เพิ่มเติมจากทรัพย์สินของกองทุน อาจมีขึ้นลงบ้าง แล้วแต่ว่า ไปลงทุนอะไร สัดส่วนเท่าใดมีคนพูดว่า ไปลงทุนในตราสารหนี้ตั้ง 90% ผลตอบแทน จะได้น้อยไป แต่ดิฉันว่า ดีแล้ว ดีกว่า ไปลงทุนในหุ้นมากๆ เพราะ ความผันผวนมีมาก ดีไม่ดี จะขาดทุนได้ แต่มีข่าวว่า อาจแบ่งไปลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งถ้าแหล่งลงทุน นั้นมั่นคง ก็อาจจะได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้น
     เสาหลักสุดท้าย    คือการเกื้อกูลกันในครอบครัว เป็นเรื่องของวัฒนธรรมที่ดีงามของเรา ที่ควรจะมีการรณรงค์ให้มีความเข้มแข็งตลอดไปค่ะ

    สวัสดีดีค่ะ

            เข้ามาอ่านค่ะ

            ดิฉัน มีญาติผู้ใหญ่หลายคน ญาติดิฉันชอบพบปะสังสรรค์กัน  ชวนกันเข้าวัด  พอได้เข้าวัดจะมีจิตใจร่าเริงแจ่มใส  บางทีรวมตัวกันหลายคนไปทำกิจกรรมรวมกัน    ออกกำลังกายร่วมกัน   ฟังเทศน์  ประเพณีต่างๆ ที่วัดจัดขึ้น  พบปะสังสรรค์กัน พูดคุยกันตามวัยผู้สูงอายุ ได้เข้าสังคมในวัยเดียวกันจะทำให้รู้สึกดีขึ้น  จิตใจแจ่มใส 

            ดิฉันคิดว่า  ในวัยผู้สูงอายุไม่ควรจะปล่อยให้อยู่บ้านคนเดียว หรือ อยู่เป็นประจำ จะทำให้เหงา และเป็นโรคซึมเศร้า ได้ง่าย

    • อย่าห่วงเลยครับว่าแก่(คำเพราะๆคือผู้สูงอายุ)แล้วเราจะทำตัวอย่างไร
    • ไม่ต้องห่วงประการแรกเป็นเทรนด์ของวิถีชีวิต คนยังไงก็ต้องแก่
    • เป็นกรรมของชีวิตคนเพราะเขารณณรงค์ให้คุมกำเนิดเราก็มีลูกคนละคนสองคน  แต่เราก็ไม่มีเวลาไปดูลูก  ผูกอยู่แต่งาน  ใจกับกายลูกจึงไม่อยู่กับเรา
    • สุดท้ายชีวิตเราหวังลูกดูแลตามวิถีคนไทย  ครอบครัวขยาย  แต่ลูกก็จะไม่เอาใจใส่เพราะใครๆไปสปอยกันหมด  ลูกก็ไม่อยู่
    • ชีวิตบั้นปลายเราจะไปอยู่ที่บ้านพักคนชรา  น่าสนุกออกมีคนไปอยู่เยอะ
    • ไดโอกาสไปเขียนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยแห่งชาติให้กระทรวงพัฒนาสังคมฯ  จึงได้ข้อมูลนี้มา  จึงเสนอให้สร้างที่อยู่อาศัยสำหรับคนสูงอายุไว้มากๆ เพราะนอกจากคนไทยอยู่แล้ว  เราจะมีชาวต่างชาติมาอยู่อีกกลายเป็นเมืองคนชรานานาชาติไป  ตอนนี้อิสานก็เริ่มเป็นแล้ว

    สวัสดีครับ คนเฒ่าคนแก่ที่อยู่ชนบท S4020708 ส่วนมากที่เหมือนกันทุกหมู่บ้านก็คือการเข้าวัด "จำศีล ปฏิบัติธรรม" ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจสำหรับผู้สูงอายุในชนบท สวัสดีครับ

    สวัสดีค่ะ

    P

    คุณสุดารัตน์ คุณครูคนเก่งร.ร.บ้านจันรม จังหวัดสุรินทร์   มีแนวทางการสอนเด็กๆให้มีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองอย่างน่าประทับใจ  อาทิเช่น

    การจัดการเรียนรู้วิชาน้ำหมักชีวภาพเพื่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม...ซึ่งกิจกรรมส่วนใหญ่เป็นกระบวนการเรียนรู้โดยการผลิตน้ำหมักชีวภาพสูตรต่างๆ ตามที่นักเรียนคิดค้นและการแปรรูปผลิตภัณฑ์...และยังให้นักเรียนไปขายได้อีก...

     ถ้าเด็กๆของเรา ได้รับการปลูกฝังให้มีการเรียนรู้   ลงไปถึงระดับปฏิบัติจริงๆ จนกระทั่ง ต่อไป อาจมีการพัฒนาเป็นทักษะที่สามารถต่อยอดไปได้อีกมากมาย สังคมของการเรียนรู้ในชุมชนก็จะเกิดขึ้น และขยายเป็นวงกว้างขึ้นๆ เป็นชุมชนเข้มแข็ง เศรษฐกิจเข้มแข็ง คนในชุมชนก็จะมีความสุข มีความอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกันค่ะ

    ดิฉันฝันไว้.....และอยากให้ความฝันเป็นจริงค่ะ

    และถึงชุมชนที่คุณสุดารัตน์กล่าวถึง  จะเป็นผู้สูงอายุเสียเป็นจำนวนมาก แต่ถ้า  ชุมชนนี้ อยู่กันอย่างพอเพียง  อยู่เย็นเป็นสุข   คนในชุมชนก็จะไม่ทอดทิ้งกัน จะช่วยเหลือเกื้อกูลกันค่ะ 

     เอารูปกาแฟโบราณที่คุณสุดารัตน์กล่าวถึง มาให้ชิมค่ะ ของโบราณๆอร่อยนะคะ 

    กาแฟโบราณ.....ชงด้วยถุงชงแบบเก่า และอาจไม่ใช้กาแฟ 100 % แต่จะมี คาราเมล ข้าวโพด ข้าว งา ผสมอยู่ด้วย

     สันนิษฐานว่า มาจากสูตรของเวียดนาม ซึ่ง อาจมาจากสูตรของชาวฝรั่งเศสอีกที  (เคยอ่านพบ ไม่ยืนยันค่ะ)

     

     

    • สวัสดีค่ะ  คุณพี่ศศินันท์..

    อ่านแล้วก็อดคิดถึงตัวเองในวันข้างหน้าไม่ได้ค่ะ    คงต้องเตรียมทำอะไรเพื่อรองรับตัวเองในวันนั้น

    โดยส่วนตัวแล้ว  ต้อมชอบคุยกับคนวัยมากกว่า  ต้อมเชื่อว่าพวกเขาเป็นทรัพยากรบุคคลที่ทรงคุณค่า   อีกทั้งยังผ่านร้อน  ผ่านหนาว  ผ่านประสบการณ์ต่าง ๆ มามากมาย

    ^_^ 

    สวัสดีค่ะคุณพจนา

    คุณพจนา คิดว่า ในสังคมเรา ไม่น่าทอดทิ้งผู้สูงอายุ จึงสงสัยว่า คนสูงอายุที่ถูกทอดทิ้ง เป็นกลุ่มไหนบ้าง

    ดิฉันก็อยากทราบเหมือนกัน จึงไปค้นข้อมูลจาก

     รายงาน โครงการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร การเรียนรู้ต่อเนื่องสำหรับผู้สูงวัย::ศาสตร์แห่งชีวิต เพื่อการสูงวัยอย่างมีคุณภาพ โดยศูนย์จริยธรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2550

    สรุปว่า:: ผู้สูงอายุที่มีแนวโน้ม จะถูกทอดทิ้งมากที่สุดคือ::

    1. กลุ่มบุคคล ที่บุตรหลานมีพฤติกรรมเบี่ยงเบน และประพฤติออกนอกลู่นอกทาง เช่น หนีโรงเรียน เรียนไม่จบ ติดยาเสพติด ติดการพนัน มั่วสุมทางเพศ
    2.  กลุ่มบุคคลที่ไม่ได้แต่งงาน หรือแต่งงานแต่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรน้อย หรือบุตรน้อย อันมีเหตุจากการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร......กลุ่มนี้เป็นกลุ่มใหญ่ จากการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 600ตัวอย่าง อายุ 30 -65 ปี  มีคนที่เป็นโสด มีถึง 30%ที่ยังไม่ได้แต่งงาน   รวมถึงคนที่แต่งงานแล้ว แต่ไม่มีบุตรอีก 8%   และที่มีบุตรไม่เกิน 2 คนอีก 66%

    ทำสัดส่วนให้ผู้สูงวัยกับคนวัยทำงานใกล้เคียงกัน เมื่อบุตรแยกไปมีครอบครัว ของตัวเอง ก็ไม่มีเวลามาดุแลเลี้ยงดูผู้สูงอายุเหล่านี้

       3.กลุ่มบุคคลที่ไม่มีอาชีพเป็นหลัก  เร่ร่อนปัจจุบันอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมัก เก็บของเก่าหรือเศษขยะขาย  ขายอาหารเครื่องดื่มแบบรถเข็น ซึ่งต่อไป หลัง พ.ศ. 2570 กลุ่มนี้  จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่ด้อยโอกาสและด้อยการศึกษา ไม่มีที่อยู่อาศัย มักมองว่า จะไปพักอาศัยในวัด ถ้าหารายได้เองไม่ได้

       4. กลุ่มเพศทางเลือก....น่าจะเป็นเพศที่ 3

       5.กลุ่มนักโทษในเรือนจำที่จะพ้นโทษในขณะที่เป็นผู้สูงอายุ

      6.กลุ่มที่ป่วยเรื้อรัง จนญาติไม่อาจรับภาระได้ และถูกนำไปทิ้งที่ บ้านไร้ที่พึ่งธัญญบุรี จังหวัดปทุมธานี

    ส่วนผู้สูงอายุนอกเหนือจากกลุ่มเหล่านี้ ก็ยังมีโอกาสถูกทอดทิ้ง ถ้าโครงสร้างสภาพสังคม ยังไม่ได้รับการแก้ไข

    สวัสดีค่ะ

    P
    คุณให้ความเห็นว่า...ถ้าดูรายการวงเวียนชีวิตบ่อยๆ..จะพบว่าผู้สูงอายุในปัจจุบันอยู่อย่างลำบากนะคะ..โดยเฉพาะชาวบ้าน...
    และ.....หากไม่รู้จักการออมตั้งแต่วันนี้จะลำบากในภายหน้านะคะ

     

    นี่ก็แสดงถึง ความล้มเหลวในการพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งเน้น การสร้างความเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก โดยหวังว่า การเติบโตทางเศรษฐกิจ จะสามารถกระจายไปสู่ประชาชนส่วนใหญ่ได้

    แต่ในความเป็นจริง ผลการพัฒนา ไม่ได้กระจายไปสู่ทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม

    ดังนั้น การที่รัฐฯจะน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ดิฉันจึงคิดว่า เป็นการดีที่สุดค่ะ

    ส่วนเรื่องการออมส่วนบุคคล  นี่เป็นวินัยการเงินที่สำคัญมากค่ะ  เพราะจะทำให้สามารถพึ่งพาตัวเองได้

    ทราบว่ารัฐบาลเองก็พยายามรณรงค์อยู่มาก เช่น ในชุมชนเกษตรกรรม ก็ จัดให้มีกองทุนสวัสดิการภาคประชาชน ให้สมาชิกสมทบออมเงินกัน วันละ 1 บาทเป็นต้นค่ะ

    คุณแม่ก็อายุใกล้เกษียณแล้ว ลูกๆ บอกให้เลิกทำงานเพราะดูแลแทนได้แล้ว แม่ก็ตั้งใจไว้ว่าจะใช้เวลามาดูแลหลาน และจะหาเรียนหนังสือเพิ่มเติมในด้านที่ชอบ หนูและน้องชายก็สนับสนุน ไม่มีใครแก่เกินเรียนอยู่แล้ว ที่บ้านจะได้มีนักเรียนเพิ่มอีกคน 555 เรียนเป็นเพื่อนหลานไงคะ จะได้มีสถานภาพเดียวกัน ที่สำคัญจะได้ไม่รู้สึกว่าว่างจนเกินไป

    สวัสดีค่ะคุณบัวเงิน

    P

    ดีใจที่แวะมาเยี่ยมนะคะ และได้แลกเปลี่ยนข้อมูลว่า.....

    ผู้สูงอายุในชนบทบางคนได้รับการดูแลจาก องค์กรท้องถิ่น  เพียงเล็กน้อย  เดือนละ  500  บาท   แต่ต้องผ่านการประชามติของหมู่บ้านนั้นๆ  หลายๆคนก็ผิดหวัง   เงินน้อยคนมาก  จึงต้องมีวิธีการจัดสรร   ดูจำนวนเงินอาจจะน้อยแต่สำหรับผู้สูงอายุในชนบท ก็เป็นการช่วยเหลือที่มีค่าสำหรับพวกเขาค่ะ

    เท่าที่ทราบ ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการจัดสวัดิการเพื่อการกินดี อยู่ดีด้วย

    แต่จริงๆแล้ว ทางองค์กรที่ว่า นี้ จะสามารถเลือกได้ว่า จะจัดสรรงบประมาณ เพื่อดำเนินการทางด้านไหน ส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญทางสาธารณูปโภคมากกว่า

    ดังนั้น การจัดสวัสดิการจึงมักมีเพียงการจ่ายเงินสงเคราะห์ให้ผู้สูงอายุและคนพิการ และให้เป็นไปตามดุลพินิจผู้บริหารค่ะ

    แต่รู้สึกเรื่องนี้ อาจจะมีการปรับปรุงค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณสาธิต

    P

    ดีใจจังที่เข้ามาอ่าน และแถมคำปรารภว่า.....

    เป็นไปได้ไหมครับที่ความสัมพันธ์ครอบครัวจะเขม็งเกลียวขึ้นภายใต้เงื่อนไขของครอบครัวขนาดเล็ก ?

    สำหรับพี่นะคะ

    พี่คิดว่า คงต้องแล้วแต่ว่า ความสัมพันธ์ของพ่อแม่ลูกและปู่ย่าตายาย ลึกซึ้งแนบแน่นแค่ไหนค่ะ

    แม้ว่าแยกบ้านออกมาแล้ว ยังจะมีการติดต่อไปมาหาสู่กันไหม หรือ ตัวใคร ตัวมัน

    จริงๆแล้ว ต้องดูให้ลึกลงไปถึง วัฒนธรรมประเพณีประจำครอบครัวด้วย ว่า ผู้ใหญ่ๆของครอบครัว ได้มีคุณธรรมที่ดีงามเป็นต้นแบบให้ลูกหลานหรือเปล่า

      มีการสืบทอดประเพณีดีๆไหม เช่น การมารดน้ำขอพรผู้ใหญ่ทุกวันสงกรานต์ การกลับมาหาพ่อแม่ในวัน.....

    การต้องมาทานข้าวพร้อมกันทุกวันอาทิตย์ เป็นต้นค่ะ

    ถ้าลูกๆเกิดมาในครอบครัวอบอุ่น ก็ไม่มีปัญหาค่ะ แต่ถ้าอยู่ในครอบครัว ที่สมาชิกห่างเหินกันมาก่อน  พอแยกครอบครัวย่อยออกไป ก็ยิ่งห่างกันไปใหญ๋ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณพนัส

    P

    ญาติผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเสียชีวิตแล้ว...  ผมกำลังเผชิญกับภาวะทางสังคมที่ต้องรับผิดชอบ...

    แต่ยังไงก็กำลังเคลียร์......  เพื่อกลับบ้าน ...

    เสียใจด้วยนะคะที่ญาติผู้ใหญ่เสีย คงต้องไปทำหน้าที่อีกหลายวัน เป็นโอกาสที่จะทำหน้าที่ลูกหลานที่ดีแล้วค่ะ เป็นตัวอย่างที่ดี ของน้องแผ่นดิน แดนไท ด้วยค่ะ

    ครอบครัวคุณพนัส มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาก น่าชื่นชมจริงๆค่ะ

    สวัสดีค่ะอาจารย์รัตน์ชนก

    P

    ปัญหาเรื่องโทรศัพท์คงคลี่คลายแล้วนะคะ คุณนกบอกว่า.....

    ปัจจุบันนี้พอเรามีครอบครัวเราก็จะมุ่งแต่หารายได้เลี้ยงครอบครัวจนลืมนึกถึง รายได้สำหรับตัวเองหลังจากที่ทำงานไม่ได้ หนึ่งในนั้นก็มีนกด้วยคะ  บ้านนกที่ต่างจังหวัดนะคะเหลือแต่ผู้สูงอายุคะกับไร่ นา ที่ไม่ค่อยจะมีคนทำแล้วคะ

    นี่คือลักษณะที่ลูกๆแยกครอบครัว มามีครอบครัวของตัวเองค่ะ

    บางที ก็รู้อยู่ว่า ที่บ้านเดิม มีแต่คนสูงอายุ แต่เราก็มีภาระเหมือนกัน และคนสูงอายุเอง ก็ไม่อยากจากบ้าน มาอยู่กับเราด้วย

    ทางที่ดี ต้องมีการติดต่อกันสม่ำเสมอค่ะ การสื่อสารเดี๋ยวนี้ สบายมาก การใช้โทรศัพท์ทั้งบ้านและมือถือก็สะดวกจริงๆค่ะ บางทีอยู่ไกลก็เหมือนใกล้นะคะ

    ส่วนเรื่องการออมเงิน คิดว่า เรื่องนี้ สำคัญจริงๆค่ะ ไม่ว่า จะออมลักษณะใด ก็ต้องมีออมนะคะ

     สวัสดีค่ะคุณปริญากรณ์

    P

    ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ และเล่าถึงความหลังฝังใจอันสดชื่นว่า

    ตอนเด็ก ๆ คุณยายของดิฉันมีหลาน ๆ หลายคนคุณยายจะชอบเล่านิทานให้ฟังและหลาน ๆ จะชอบแย่งกันอยู่ใกล้คุณยายค่ะ  คุณยายมีเรื่องเล่ามากมายเลยค่ะ 

    แสดงว่า คุณปริญญา มีสายใยครอบครัวที่เหนียวแน่น และอบอุ่นนะคะ ภาพในอดีตที่อบอุ่นนี้จะตราตรึงอยู่ในใจเรา ไม่มีวันลืมเลยค่ะ

    ผู้สูงวัย ควรได้มีส่วนในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้เด็กๆ แทนที่จะปล่อยคนเลี้ยง ให้เลี้ยงไปวันๆ และให้ลูกหลานได้ทราบถึงความเป็นมาและภูมิใจในอดีตของชุมชน  ของจังหวัดหรือถิ่นเกิดของตนเอง ผ่านการเล่าของปู่ย่า ตายาย

    ลูกชายดิฉันเอง มีความจำที่งดงาม จากการบอกเล่าของคุณตาค่ะ และยังประทับใจจนบัดนี้ค่ะ ครอบครัวที่อบอุ่น  เป็นรากฐานชีวิตที่สำคัญมากสำหรับเด็กๆค่ะ

     สวัสดีค่ะคุณสุชาดา

    คุณสุชาดาเล่าและให้ข้อคิดว่า.....

    ญาติดิฉันชอบพบปะสังสรรค์กัน  ชวนกันเข้าวัด  พอได้เข้าวัดจะมีจิตใจร่าเริงแจ่มใส   

            ดิฉันคิดว่า  ในวัยผู้สูงอายุไม่ควรจะปล่อยให้อยู่บ้านคนเดียว หรือ อยู่เป็นประจำ จะทำให้เหงา และเป็นโรคซึมเศร้า ได้ง่าย

    ผู้สุงอายุ เมื่อมีการสมาคมพบปะสังสรรค์กัน จิตใจก็จะร่าเริงแจ่มใส และมักจะคิดสร้างสรรค์กิจกรรมที่เป็นประโยชน์แก่สังคมได้อีกไม่น้อยค่ะ

    อ้างถึงสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แถลงข่าวงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปี 2550

     นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี แถลงข่าวงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปี 2550 ว่า คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ(กผส.) มีฉันทานุมัติยกย่องให้พระพรหมมังคลาจารย์(ปัญญานันทภิกขุ) เป็นผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปี 2550 เป็นคนแรกของประเทศไทย

    โดยปกติบุคคลอายุ 60 ปีขึ้นไป เมื่อเกษียรอายุก็จะไม่ทำงานอีก เป็นการเข้าใจผิด เพราะเมื่อเกิดมาเป็นคนมีเพียงการเกษียณอายุราชการ ไม่มีการเกษียณอายุการทำงาน ต้องทำจนตายจึงจะเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี อยากเสนอให้มีการขยายอายุในการเกษียณอายุราชการ ให้เป็นไปตามศักยภาพการทำงานของแต่ละบุคคลมากกว่าการยึดที่ช่วงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการแพทย์ เนื่องจากบางคนแม้อายุมากแต่ยังทำงานได้ดีกว่าคนรุ่นใหม่

    สวัสดีค่ะคุณกลุ่มเม็กดำ

    P

    คนเฒ่าคนแก่ที่อยู่ชนบท  ส่วนมากที่เหมือนกันทุกหมู่บ้านก็คือการเข้าวัด "จำศีล ปฏิบัติธรรม" ซึ่งเป็นที่พึ่งทางใจสำหรับผู้สูงอายุในชนบท

     ค่ะ  วัด เป็นที่ทำให้คนสูงอายุ มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้น สุขภาพกายก้จะดีขึ้นด้วยเป้นเงาตามตัว ตอนนี้ บางวัดจะจัดกิจกรรมผู้สูงอายุ มีเจ้าหน้าที่มสบริการตรวจสุขภาพฟรี นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมด้านพัฒนาอาชีพ เช่น จักสาน เย็บปักเสื้อ  ซึ่งจะเป็นการรวมกลุ่มผู้สูงอายุที่มีศักยภาพขึ้น บางคน นำไปประกอบอาชีพเสริมได้ด้วย

    ในวันสำคัญทางศาสนา สมควรที่สมาชิกทุกคนในครอบครัว ควรมาทำบุญด้วยกัน รักษาประเพณีที่ดีงามดั้งเดิมของเราไว้ค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณต้อม

    P

    น้องบอกว่า...

    อ่านแล้วก็อดคิดถึงตัวเองในวันข้างหน้าไม่ได้ค่ะ    คงต้องเตรียมทำอะไรเพื่อรองรับตัวเองในวันนั้น

    ได้อ่านบันทึกของคุณต้อมเรื่องเห็ดแล้ว แสดงว่า อยู่กับคุณแม่ใช่ไหมคะ

    ตอนนี้ท่านคงมีอายุพอควร เข้าใจว่าคุณต้อมคงดูแลท่านเป็นอย่างดี ตอนนี้ท่านยังทำอะไรเองได้ทุกอย่าง แต่ถ้าเราทำอะไรให้ท่านแม้แต่น้อยนิด ท่านจะภูมิใจมากค่ะ ต่อให้ดูแลท่านวิเศษอย่างไร ก็ยังไม่ได้ชื่อว่า ได้แทนคุณท่านอย่างดีแล้ว

    ส่วนตัวของเราเอง ถ้าเราเป็นคนดี ไม่ทำชั่วด้วยกายวาจาใจ ใช้ชีวิตอย่างพอเพียง มีเงินออมไว้ ไม่ให้ลำบากเมื่ออายุมาก ก็ไม่น่าจะกังวลอะไรเลยนะคะ คุณต้อม นำรูปดอกโป้ยเซียนที่บ้านมาฝากค่ะ

     

     สวัสดีค่ะน้องซูซาน

    P

    ดีใจที่มาเล่าเรื่องคุณแม่ทันสมัยว่า.......

    แม่ก็ตั้งใจไว้ว่าจะใช้เวลามาดูแลหลาน และจะหาเรียนหนังสือเพิ่มเติมในด้านที่ชอบ หนูและน้องชายก็สนับสนุน ไม่มีใครแก่เกินเรียนอยู่แล้ว

    ที่บ้านนี้ คงเป็นบ้านนักศึกษากันทั้งบ้าน ก็ดีนะคะ เป็นต้นแบบให้หลาน

    ลองอ่านที่คุณหมอบรรลุฯ ท่านให้สัมภาษณ์ไว้ค่ะ

    นพ.บรรลุ ศิริพานิช ประธานสมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

     แถลงข่าวงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ประจำปี 2550 ผู้สูงอายุอย่าทำตัวเป็นกาฝากเกาะต้นไม้และถูกตัดทิ้งในที่สุด เพราะไม่มีประโยชน์ ผู้สูงอายุต้องรุกขึ้นมาทำประโยชน์ให้สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการชี้ทางออกให้กับสังคมในเรื่องต่างๆ เนื่องจากเป็นผู้ที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมีประสบการณ์มามาก

     ซึ่งในฐานะผู้สูงอายุคนหนึ่ง ที่เป็นห่วงตอนนี้คือคนรุ่นใหม่ที่ค่อนข้างสุรุ่ยสุร่าย ไม่รู้จักคุณค่าเวลาและเงิน เอาแต่ความสะดวกสบายของตนเอง ตรงนี้จึงเป็นหน้าที่ของผู้สูงอายุที่จะต้องคอยชี้แนะทางที่ถูกต้อง”นพ.บรรลุ กล่าว

    ใช่ครับยุทธศาสตร์นี้เอาเข้าครม.ประกาศตั้งคณะกรรมการที่อยู่อาศัยแห่งชาติแล้วครับ

    คิดว่าอนาคตต่อไปเมืองไทยโดยเฉพาะภาคอิสานระบบการดูแลรักษาและบริการจะอยู่ในระดับที่ดีขึ้นมากๆตามมาตราฐานชาวต่างชาติที่มาอยู่

    สวัสดีค่ะ

    P
    ขอบคุณที่มาเยี่ยม และ เล่าว่า ได้ไปร่วมเขียน ให้กระทรวงพัฒนาสังคมฯ เรื่องยทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ผู้สูงอายุ  มาฝากด้วยค่ะ เพราะจะมีชาวต่างชาติสูงอายุมาอยู่ด้วยค่ะ ตอนนี้เริ่มมีที่อิสาณแล้ว

     

    เรื่องนี้  เป็นเรื่องเดียวกับ   ยุทธศาสตร์ชาติเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย  ไหมคะ 

     เรื่องแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่จะเน้นผู้อยู่อาศัย เน้นความเป็นชุมชนให้มากขึ้น ตลอดจนการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยเชื่อมโยงไปถึงแผนพัฒนาชุมชนแออัดที่ได้มีการพิจารณาไปบ้าง 

     และดิฉัน ก็มีข้อมูลที่เกี่ยวกับ……ตลาดนักท่องเที่ยวในวัยสูงอายุหรือวัยเกษียณ นับเป็นตลาดสำคัญที่หลายฝ่ายกำลังสนใจศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดญี่ปุ่นที่มีแนวโน้มว่าจะมีโอกาสเดินทางมาใช้ชีวิตบั้นปลายในประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่
    จึงทำให้รัฐบาลและการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พยายามผลักดันและส่งเสริมให้มีการลงทุนสร้างที่พัก
    รองรับกลุ่มนี้หรือที่เรียกว่าธุรกิจลองสเตย์ เพื่อรองรับตลาดผู้สูงอายุชาวญี่ปุ่นวัยทอง มากขึ้น 

    ทั้งนี้คาดว่าในปี 2550-2553 หรืออีก 3 ปีข้างหน้า จะมีชาวญี่ปุ่นเกษียณอายุสูงถึง 7,000,000- 8,000,000
    คน ซึ่งส่วนใหญ่นิยมเดินทางไปใช้ชีวิตในต่างแดน โดยเฉพาะ จ.เชียงใหม่ นับเป็นอีกแหล่งหนึ่งที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบ เพราะสภาพอากาศและสภาพภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกัน แต่ก็มีอีกหลายประเทศที่ชาวญี่ปุ่นให้ความสนใจไม่
    แพ้กัน อาทิเช่น หมู่เกาะฮาวาย สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลียและมาเลเซีย ฯลฯ

    ปัญหาสำคัญที่ประเทศไทย ต้องเร่งแก้ไข เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการพำนักของชาวญี่ปุ่น คือระบบการรักษาพยาบาล ความปลอดภัย การเข้าถึงบริการของภาครัฐ การติดต่อสื่อสารด้านภาษา และการอยู่ร่วมกับชุมชน

    คุณเอกคะ

    P


    พอดีบันทึกแรก ดิฉันใส่ linkผิด เลยขอลบ และนำขึ้นใหม่ค่ะ
    linkข้างล่างนี้ เป็นมติ คณะรัฐมนตรีที่น่าสนใจเกี่ยวกับ แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี สร้างสวัสดิการสังคมไทยฉบับที่  1 .... 2550-2554 ค่ะ

    • สวัสดีค่ะ
    •          สำหรับผู้สูงอายุจำนวนมาก  ที่ต้องเกษียณอายุไปในปีนี้  มีความรู้สึกว่า อายุเป็นเพียงตัวเลข  อายุไม่ได้เป็นอุปสรรคในด้านการใช้ชีวิตปกติหรือการทำงานเลย   โดยเฉพาะผู้ที่มีประสบการณ์สูงและมีความสามารถหลายด้าน    ยังสามารถที่จะทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่นได้อีกมากมาย
    • เห็นด้วยค่ะ....เพราะคนสูงอายุบางคนที่เกษียณอายุราชการแล้ว  ยังมีประโยชน์ต่อสังคมอีกมาก  โดยเฉพาะความรู้ความสามารถ และไฟของการทำงานที่ยังไม่มอดไหม้...ผิดกับคนที่ยังมีอายุการทำงานเหลืออีกเยอะ...แต่กับหมดไฟเสียแต่เนิ่น ๆ...น่าเสียดายนะค่ะ
    • ขอบคุณค่ะ ที่นำเสนอ
    • ตามมา 
    • ผู้สูงอายุบ้านเราถ้าอยู่กับลูกหลาน
    • น่าจะมีความสุขมากกว่าชาวต่างประเทศนะครับ
    • ฝนตกเป็นอย่างไรบ้าง
    • ที่กรุงเทพฯ
    • ฝนตกหนักไหมครับ
    ปริมาณน้ำฝนทั่วประเทศตามที่วัดได้ แสดงอยู่ในรูปล่างสุดของ tab น้ำ ใน {ลมฟ้าอากาศ} ของ GotoKnow Monitor ครับ

    สวัสดีค่ะคุณขจิตคะ

     ที่กรุงเทพฯมืดครึ้ม ฝนตกปรอยๆนิดหน่อย ขณะเขียน มีฟ้าร้องเบาๆค่ะ

    ตอนเช้า อากาศที่บ้านที่ปทุมธานี ดีมากๆค่ะ ลมฝนชื้นๆ พัดเย็นฉ่ำๆโปรยปรายมา แต่ยังไม่ตกค่ะ

    อากาศแบบนี้ พี่ชอบค่ะ เพราะเย็นชื้นๆนิดหน่อย พอสบาย ต้นไม้ที่บ้านเขียวขจีมากๆ จนต้องตัดเล็มออกบ้าง ขณะเขียน จิตใจแช่มชื่นเบิกบานค่ะ ประกอบกับ ธุระที่คั่งค้าง ก็เสร็จพอดี

    ดอกไม้แข่งกันบานหลายต้น หลายสีค่ะ

    นำรูปกล้วยไม้ที่จตุจักรมาฝาก ไปมาตั้งแต่อาทิตย์ที่แล้วค่ะ สัญญลักษณ์ของผู้สูงอายุค่ะ บานสะพรั่งเต็มที่ แต่ยังไม่โรยนะคะ ขอบอก!!

     

    สวัสดีค่ะ

    ดิฉันมีคุณยายอายุ 75 ปีอยู่ด้วยแถวสี่พระยา  ปัญหาที่พบคือ พื้นที่ในกรุงแออัดไป ไม่ค่อยสะดวกจะพาท่านไปไหน จะพาไปสวนใกล้ที่สุด คือสวนลุมค่ะ คนก้เยอะมากๆ อยากให้มีสวนสาธารณะให้มากขึ้นค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณอ้อยควั้น

    P

    ขอบคุณที่ให้ความเห็นว่า....

    เพราะคนสูงอายุบางคนที่เกษียณอายุราชการแล้ว  ยังมีประโยชน์ต่อสังคมอีกมาก  โดยเฉพาะความรู้ความสามารถ และไฟของการทำงานที่ยังไม่มอดไหม้...ผิดกับคนที่ยังมีอายุการทำงานเหลืออีกเยอะ...แต่กับหมดไฟเสียแต่เนิ่น ๆ...น่าเสียดายนะค่ะ

    จำได้ไหมคะว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ท่านพระราชทานแนวคิดในเรื่อง ธนาคารสมองของคนไทย

    และทางคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เชิญชวนผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เกษียณอายุงานแล้ว  ที่มีความพร้อม และมีความสนใจ สมัคร เข้ามาเป็น วุฒิอาสา ธนาคารสมอง เพื่อช่วยพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ ซึ่งก็มีท่านที่ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ สมัครมาช่วยเหลือสังคมอยู่พอสมควรค่ะ และได้มีการรวบรวมองค์ความรู้ทีได้จากท่านต่างๆนี้ ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมาย อย่างกว้างขวางค่ะ

    ได้เคยมีการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ทั้ง FM /AM  ทุกวันอังคาร พุธ พฤหัสค่ะ

    คลื่น 92.5 และ 891 ทางFM/ AM เวลา  06.50-07.00 และ 13.00-13.10 ตามลำดับค่ะ

    ลองเปิดดูนะคะ......

     
    P
    ขอบคุณๆConductorมากๆค่ะ ช่วงนี้ เราน่า จะเช็คข่าวปริมาณน้ำฝนกันหน่อยดีกว่าค่ะ

     

    สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์ มาช้าอีกแล้วค่ะ เพิ่งเสร็จจากธุระญาติผู้ใหญ่จากไป พิธีการที่ลูกหลานช่วยกันทำให้ด้วยความรัก ระลึกถึงความดี ลุล่วงไปด้วยดี พวกเราไม่ได้เศร้าโศกร่ำไรเพราะการปฏิบัติธรรมช่วยทำให้เข้าใจสัจจธรรมของชีวิตเป็นอย่างดีค่ะ

    สังคมที่จะมีผู้สูงอายุมากขึ้นเป็นโอกาสพอๆกับเป็นปัญหา น่าเป็นห่วงคือผู้สูงอายุที่ยากจน ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อย่างสถิติที่คุณพี่นำมาแสดง

    ตอนที่ตัวเองเรียนปริญญาโทที่อเมริกากว่าสิบเจ็ดปีมาแล้ว ได้เขียนรายงานเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการสื่อสารในสังคมที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นของอเมริกา เท่าที่จำได้ ได้กล่าวถึงการที่ผู้สูงอายุได้รับการมองอย่างไรในสื่อละครและภาพยนตร์ การโฆษณา เช่นมองด้วยความขบขัน สังเวช หรือด้วยความเคารพ เนื้อหาที่สื่อไปทำให้ผู้สูงอายุมีความมั่นใจที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคมหรือไม่ หนังสือ นิตยสารสำหรับผู้สูงอายุควรมีลักษณะอย่างไร เรียนกับอาจารย์ที่หินมากแต่ได้คะแนนรายงานนี้ถึง93 เต็ม 100 เสียดายทีย้ายที่อยู่หลายครั้ง ไม่เช่นนั้นคงน่านำโครงมาเขียนในบริบทของเมืองไทย

    ประทับใจมากค่ะที่คุณพี่นำเสนอเรื่องที่น่าให้ความใส่ใจ และมีข้อมูลครบ ลงลึกเช่นนี้

     

    สวัสดีค่ะคุณ

    P

    - ผู้สูงอายุจะเพิ่มมากแค่ไหน...สักวันหนึ่งเราเองก็จะต้องอยู่ในสภาวะนั้นเช่นกัน....

    - ตอนนี้มีความสุขกับการได้ดูแลคุณแม่อายุ 89 ปี...

    - ดีใจที่เมืองไทยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ.....หวังว่าอนาคต...ผู้สูงอายุคงมีความสุขมากกว่านี้

    สวัสดีค่ะคุณน้อยหน่า

    แถวสี่พระยาที่คุณน้อยหน่าอยู่เป็นเมืองเก่า ไม่เคยมีผังเมืองมาก่อน ทำให้เป็นย่านที่ค่อนข้างแออัด และมีฝุ่นหรือมลภาวะค่อนข้างสูง

    สิ่งที่เรา ประชาชนจะช่วยได้คือ เราต้องมีความรู้สึกเป็นเจ้าของ ต่อสาธารณะสมบัติต่างๆ เช่น เสาไฟ สายไฟ ถนนหนทาง เราควรช่วยกันทำความสะอาดหน้าบ้าน รอบบ้าน กำจัดขยะ ไม่ขีดเขียนตามผนัง เป็นต้น ให้กรุงเทพฯสวยด้วยมือเรา

    ความรู้สึกอึดอัดต่อสภาพแวดล้อมก็จะน้อยลงค่ะ คุณยายจะมีความรู้สึกสบายตา สบายใจขึ้น เมื่ออยู่ที่บ้าน ส่วนที่จะพาไปสวนสาธารณะก็ดีค่ะ  สวนลุมใกล้ที่สุด พาไปหน่อยก็ดีค่ะ สวนที่อื่นก็มีอีกหลายแห่งค่ะในกทม.ค่ะ แต่ละแห่งก็ได้รับการดูแลปรับปรุงให้ดีขึ้นมากค่ะ เช่น สวนหลวงร.9  อุทยานเบญจสิริ สวนเบญจกิติ เป็นต้น เชิญอ่านรายละเอียดที่ลิงค์นี้ค่ะ

    แหมเหมือนกันเลยตอนนี้นอนห้องเดีนวกับคุณแม่ภรรยา อายุ 90  ส่วนคุณแม่ตัวเอง 86 ครับ

    นึกถึงเวลานั้นทำไงดี  คงแล้วแต่กรรมดีกรรมชั่วของเราดีกว่า

    สวัสดีค่ะอาจารย์คะ

    P

    ดีใจมากที่อาจารย์มาเยี่ยม

    ตอบอาจารย์ช้านิดนึง ไม่ค่อยสบาย เป็นหวัดหน่อยค่ะเลยนอนพักเสียมาก ตอนนี้ดีแล้วค่ะ

    ขอบคุณที่อาจารย์เห็นว่า เป็นเรื่องที่ดีค่ะ

    เพราะตัวพี่เองก็เข้าข่ายเหมือนกัน จึงสนใจเป็นพิเศษ

    ตอนนี้ มีการศึกษาวิจัยทั้งทางด้านต่างๆที่เกี่ยวกับผู้สูงวัย    กันมากค่ะ เพราะจะกลายเป็นกลุ่มประชาชนกลุ่มใหญ่ในเร็วๆนี้ ในหลายๆประเทศ

    ทางมาสเตอร์การ์ด เวิลด์ไวด์ ก็มีการศึกษามาว่า สำหรับการใช้จ่ายภาคครัวเรือนในภาพรวมทั้งหมด 13 ประเทศ แถบเอเซียแปซิฟิก รวมทั้งไทย 

     ผู้บริโภครุ่นใหม่และผู้บริโภคสูงวัย จะเป็นกลุ่มขับเคลื่อนตลาดสินค้าฟุ่มเฟือยให้ขยายตัวค่ะ

    และที่สำคัญในประเทศไทย  อีก 10ปี ผู้บริโภคชั้นกลางสูงวัยของไทย  จะบริโภคของใช้ฟุ่มเฟือยมากกว่าคนรุ่นใหม่เสียอีกค่ะ โดยเฉพาะในเขตเมือง

    ผู้สูงวัยชั้นกลางของไทย จะเพิ่มจำนวนมากขึ้น ในอัตราที่ค่อนข้างเร็วค่ะ และประมาณการกันว่า อาจจะจับจ่ายซื้อของแพงๆกันเพิ่มเป็น 2.75 เท่า ก่อนสิ้นปี 2559 เทียบกับปี 2549ด้วย

     ส่วนคนไทยรุ่นใหม่ อายุน้อยกว่า กลับจะจ่ายเพิ่มขึ้น เพียง 1.8 เท่าในปี2559 เท่านั้น

    แสดงว่า คนสูงอายุ จะมีการให้รางวัลตัวเองกันค่อนข้างมาก ในช่วงเวลา ตั้งแต่ 2549 เป็นต้นไป

    เมื่อเห็นแนวโน้มอย่างนี้ เราคงเห็นสินค้าเอาใจคนวัยสูงอายุออกมาเป็นระลอกๆเลยค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณเอก

    P

    ขอบคุณค่ะ

    สำหรับข้อมูล ยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัยแห่งชาติ จะได้เป็นประโยชน์แก่ท่านอื่นๆด้วยในเรื่องการอ้างอิง

    แต่ที่คุณเอกว่า มีการไปดุแลเรื่องที่อยู่ ทีภาคอิสานให้มีระบบการดูแลรักษาและบริการจะอยู่ในระดับที่ดีขึ้นมากๆตามมาตราฐานชาวต่างชาติที่มาอยู่

    ไม่ทราบว่าที่จังหวัดไหนคะ เห็นได้ข่าว ว่ามีคนญี่ปุ่น ไปอยู่ที่เชียงใหม่

    สวัสดีค่ะครูหล้า

    P

    คุณครูบอกว่า....

    ดีใจที่เมืองไทยให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุ.....หวังว่าอนาคต...ผู้สูงอายุคงมีความสุขมากกว่านี้

    ดิฉันว่า ผู้สูงอายุในเมืองใหญ่ๆ หรือที่มีเงินออมเพียงพอ หรือที่อยู่กับลูกหลานอบอุ่น คงมีความสุขพอควรค่ะ

    ที่น่าห่วง คือผู้สูงอายุในชนบทมากกว่าค่ะ อาจเผชิญภาวะที่ต้องอยู่คนเดียว หรือ ขาดแคลน เพราะลูกหลานมาทำงานต่างถิ่นกันหมดค่ะ

    สวัสดีค่ะ

    P

    คุณเอกบอกว่า...

    คุณแม่ภรรยา อายุ 90  ส่วนคุณแม่ตัวเอง 86 ครับ

    นึกถึงเวลานั้นเราทำไงดี  คงแล้วแต่กรรมดีกรรมชั่วของเราดีกว่า

    ถ้าเราเตรียมตัวของเรามาอย่างดี คงไม่น่ามีปัญหาค่ะ

    ส่วนเรื่องโรคภัยไข้เจ็บ คงหลีกเลี่ยงยาก ถ้า บังเอิญจะเป็น แม้จะดูแลตัวเองเป็นอย่างดีแล้ว

    คงต้องเตรียมตัวเรื่องหลักประกันสุขภาพ แต่คุณอกมีบำนาญและมีสวัสดิการใชไหมคะ ไม่ต้องกังวลหรอกค่ะ

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท