ชีวิตที่พอเพียง 3662. ทำงานเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (๓๙) เยี่ยมสองโรงเรียนใน “โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง” ที่เชียงใหม่


บันทึกที่ ๑

บันทึกที่ ๒

บันทึกที่ ๓

บันทึกที่ ๔

บันทึกที่ ๕

บันทึกที่ ๖

บันทึกที่ ๗

บันทึกที่ ๘

บันทึกที่ ๙

บันทึกที่ ๑๐

บันทึกที่ ๑๑

บันทึกที่ ๑๒

บันทึกที่ ๑๓

บันทึกที่ ๑๔

บันทึกที่ ๑๕

บันทึกที่ ๑๖

บันทึกที่ ๑๗

บันทึกที่ ๑๘

บันทึกที่ ๑๙

บันทึกที่ ๒๐

บันทึกที่ ๒๑

บันทึกที่ ๒๒

บันทึกที่ ๒๓

บันทึกที่ ๒๔

บันทึกที่ ๒๕

บันทึกที่ ๒๖

บันทึกที่ ๒๗

บันทึกที่ ๒๘

บันทึกที่ ๒๙

บันทึกที่ ๓๐

บันทึกที่ ๓๑

บันทึกที่ ๓๒

บันทึกที่ ๓๓

บันทึกที่ ๓๔

บันทึกที่ ๓๕

บันทึกที่ ๓๖

บันทึกที่ ๓๗

บันทึกที่ ๓๘

วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ ผมร่วมกับคณะของ กสศ. ในโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง ไปเยี่ยมสองโรงเรียนในโครงการในจังหวัดเชียงใหม่    คือโรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย อำเภอเมือง    กับโรงเรียนแม่คือวิทยา อำเภอดอยสะเก็ด    ซึ่งมีจุดเด่นคนละแบบ    แต่เมื่อได้เห็นกิจกรรมการเรียนของนักเรียนทั้งสองโรงเรียน    และได้เสวนากับผู้อำนวยการและครูในโรงเรียนแล้ว    ได้ความรู้เชิงลึก ในการสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นตัวของตัวเองมาก

โรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย

เมื่อไปถึงผมก็ตกใจในความใหญ่โตกว้างขวางของอาคารโรงเรียน    ทั้งๆ ที่เป็นโรงเรียนประถมขยายโอกาส ที่อยู่ชานเมือง ครึ่งหนึ่งของนักเรียนเป็นลูกของแรงงานต่างด้าว มาจากรัฐฉานของพม่า มีนักเรียน ๔๘๐ คน สอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึง ม. ๓    และยังมีห้องเรียนเคลื่อนที่วัดป่าเป้า สอนนักเรียนลูกแรงงานต่างด้าวล้วนๆ ๑๗๔ คน ตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึง ป. ๖   โดยได้รับการสนับสนุนจาก UNICEF     

มีการจัดห้องเรียน MEP (Mini English Program) จ้างครูที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่มาสอน ๔ วิชาคือ คณิตศาสตร์  วิทยาศาสตร์  พลศึกษาและสุขศึกษา    และภาษาอังกฤษ    โดยผู้ปกครองต้องข่ายเงินเพิ่มเทอมละ ๘,๕๐๐ บาท    ท่าน ผอ. บอกว่า ราคาต่ำสุดแล้ว บางโรงเรียนเก็บเพิ่มใน English Program เทอมละ ๓ หมื่นบาทก็มี

โรงเรียนนี้มีสารพัดโครงการพิเศษมาลง    เป็นโรงเรียนที่ผลการเรียนของนักเรียนเด่นมาก   

หนึ่งในโครงการพิเศษคือโครงการสอนวิชาคณิตศาสตร์แนว OA & LS ที่เผยแพร่โดย รศ. ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ ทำมา ๑๑ ปี    และเมื่อเกิดโครงการโรงเรียนพัฒนาตนเอง โรงเรียนนี้ก็เข้าโครงการ โดยมีทีม ดร. ไมตรีเป็นพี่เลี้ยง ดำเนินการขยายการใช้เครื่องมือ OA & LS (Open Approach & Lesson Study) ไปยังทุกวิชา เพื่อให้เป็นโรงเรียนที่พัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน   

เราได้เข้าสังเกตชั้นเรียนของนักเรียนชั้น ป. ๑  ในชั่วโมงวิชาคณิตศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้เรื่อง บวกหรือลบเอ่ย    กิจกรรมเรื่อง บ้านลมแสนสนุก    ซึ่งก็คือการเรียนบวกลบเลขแนวใหม่ที่เอามาจากญี่ปุ่น    ที่เน้นเรียนกระบวนการคิดมากกว่าเรียนหาคำตอบ   กิจกรรมแบบนี้ทำในนักเรียนชั้นประถมทุกชั้น           

จากการเข้าสังเกตการณ์ชั้นเรียน ตามด้วยการเสวนากับผู้อำนวยการ ดำรง มาตี๋    ทำให้เราเข้าใจข้อจำกัดของการพัฒนาเป็นโรงเรียนพัฒนาตนเอง    จากการที่มีโครงการพิเศษมาจากส่วนกลางมากมาย    รวมทั้งครูใหม่หากจะฝึกให้มีทักษะสอนแบบ OA & LS ต้องฝึกถึง ๓ ปี (คำของท่านผู้อำนวยการ)    รวมทั้งแนวทาง OA & LS ค่อนข้างมีรูปแบบตายตัว     ผมมีข้อสังเกตว่า ทางโรงเรียนมุ่งดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายของสำนัก ดร. ไมตรี มากกว่ามุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของตนอย่างต่อเนื่อง   

โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการชำนาญสนองนโยบายของหน่วยเหนือ  มากกว่าคิดสร้างนวัตกรรมด้านการเรียนรู้ขึ้นเอง  

โรงเรียนแม่คือวิทยา

เป็นโรงเรียนประถมขยายโอกาสในชนบท    สอนชั้นประถมและมัธยมต้น    มีนักเรียน ๓๓๘ คน    สภาพของโรงเรียนดีกว่าที่ผมคาด คือมีสิ่งอำนวยความสะดวกพรักพร้อม    ไม่ขาดแคลน

เราได้ฟังท่านผู้อำนวยการโรงเรียน นายสุริยน สุริโยดร เล่า MKW Learning Platform (MKW = แม่คือวิทยา)    ไปชมห้องเรียนที่เด็กกำลังทำกิจกรรม Maker Space   ตั้งแต่ห้อง ป. ๑, ป. ๒, ป. ๓   และเด็กมัธยมแสดงผลงานแรงบันดาลใจในอาชีพ    แล้วกลับมา AAR กัน    ผมก็ได้ข้อสรุปว่า โรงเรียนแม่คือวิทยาเป็นต้นแบบของโรงเรียนที่โครงการโรงเรียนพัฒนาตนเองควรเข้าไปสนับสนุน

โรงเรียนนี้มูลนิธิสตาร์ฟิชเป็นพี่เลี้ยง    โดยทางมูลนิธิเป็นฝ่ายโทรศัพท์มาชักชวน    และท่าน ผอ. โรงเรียนรับเข้าโครงการด้วยความดีใจ    เพราะทางโรงเรียนมีแนวทางพัฒนาตนเองอยู่แล้ว    และต้องการตัวช่วย    แนวทางของสตาร์ฟิชเหมาะสมมากต่อเส้นทางการพัฒนาโรงเรียนแม่คือวิทยาที่ทางผู้อำนวยการและครูร่วมกันกำหนดอย่างเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน    คือพัฒนาเด็กด้วย ๓ เป้าหมาย  ใน ๓ ช่วงชั้น    คือ ป. ๑ - ๓ เน้นอ่านออก เขียนได้ คิดเลขเป็น     ป. ๔ - ๖ ค้นพบความถนัด (พหุปัญญา)     และ ม. ๑ - ๓ เกิดแรงบันดาลใจในอาชีพ    

ท่าน ผอ. ย้ำแล้วย้ำอีก ว่า เป้าหมายของโรงเรียนต้องร่วมกันกำหนดโดยครูทุกคนเห็นพ้องกัน    และในการดำเนินการครูต้องไม่มีภาระเพิ่ม   มิฉะนั้นจะทำไม่สำเร็จ    นี่คือสุดยอดยุทธศาสตร์ของโรงเรียนพัฒนาตนเอง     

MKW Learning Platforms ประกอบด้วย 4 platform คือ

  1. 1. Classroom Learning(กิจกรรมการเรียนรู้ภายในห้องเรียน)    ป. ๑ - ๓ บูรณาการ (รวมสาระให้เหลือน้อยที่สุด)     ป. ๔ - ๖ พหุปัญญา (๔๑ รายวิชา)    ม. ๑ - ๓ สัมมาชีพ (๓๓ รายวิชา)
  2. 2. Challenging camp (กิจกรรมค่ายทักษะ)    ป. ๑ – ๓ 3R Camp (ค่ายอ่านเขียนคำนวณ)     ป. ๔ – ๖ MI Camp (ค่ายพหุปัญญา)     ม. ๑ – ๓ Career Camp (ค่ายอาชีพ)
  3. 3. Reality (กิจกรรมสัมผัสประสบการณ์จริง)    ป. ๑ – ๓ พบโลกอ่านเขียน       ป. ๔ – ๖ พบโลกที่ถนัดของตนเอง (passion)     ม. ๑ – ๓ ฝึกอาชีพที่สนใจกับผู้ประกอบการจริง (๖๐ ชั่วโมง)   
  4. 4.  Open My Abilities (กิจกรรม “เด็กปล่อยของ”)     กิจกรรม “กาดละอ่อน” พื้นที่ค้าขายและแสดงออกของนักเรียน    กิจกรรมวันเปิดบ้าน (open house)    ที่จริงการไปเยี่ยมของคณะจาก กสศ. ก็เป็นโอกาสให้เด็กปล่อยของ    โดยจัดการแสดง  ฟ้อน  และจัดแสดงการฝีมือ  รวมทั้งน้ำหวาน  ชาตำลึง   และขนมพื้นเมือง     แถมยังมี QR Code ให้แขกให้คะแนนด้วย    เพื่อเอาข้อคิดเห็นไปปรับปรุง    รู้สึกว่าการทำแล้ววัดผลนำไปปรับปรุงจะเป็นวัฒนธรรมที่ติดตัวเด็ก เป็นทักษะชีวิตต่อไปในอนาคต    น่าชื่นชมมาก  

ทางมูลนิธิสตาร์ฟิช เข้าไปเพิ่ม Platform ที่ ๕ ให้แก่โรงเรียนแม่คือวิทยา     เรียกว่า Great idea!     คือ STEAM Design Process   เป็นกระบวนการของระบบคิด  เริ่มด้วยการตั้งปัญหา  ตามด้วย    การออกแบบคิดค้นคว้าหาคำตอบ    การวางแผนการทำงาน    การลงมือปฏิบัติ    และ การทบทวนปรับปรุงพัฒนา    อย่างเป็นขั้นตอน    ผ่านพื้นที่กิจกรรม Maker space   ให้นักเรียนได้ฝึกเป็นนักสร้างสรรค์  นักคิด  นักแก้ปัญหา 

นอกจากนั้น มูลนิธิสตาร์ฟิชยังนำเครื่องมือด้านการบริหาร ๒ ตัวไปให้ใช้  ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานได้ดีมาก   คือ Class DOJO ช่วยการติดตามชั้นเรียนของผู้อำนวยการ    และ Plicker ช่วยการสอบและประเมินผลสอบ  

ทั้งหมดนั้น ผมคัดลอกมาจากเอกสารแผ่นพับ ที่ได้รับแจกจากโรงเรียนแม่คือวิทยา    ที่สรุปสั้นๆ ได้สาระชัดเจน       

วิจารณ์ พานิช  

๒๕ ก.พ. ๖๓

1 โรงเรียนชุมชนบ้านบวกครกน้อย

2 บรรยากาศภายในโรงเรียน

3 วัสดุประกอบการเรียน

4 หนังสือประกอบการสอน และเอกสารแผนการสอน

5 นักเรียนกำลังร่วมกันหาวิธีคิดตอบโจทย์ 13-9+6

6 ครูกำลังชวนนักเรียนสรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้

7 นายสุริยน สุริโยดร ผอ. รร. แม่คือวิทยา

8 MKW Learning Platform หน้า ๑

9 MKW Learning Platform หน้ากลาง

10 MKW Learning Platform หน้าหลัง

11 เด็กโรงเรียนแม่คือวิทยากำลังปล่อยของ

12 ผลงานของ talent ด้านศิลปะ

หมายเลขบันทึก: 676440เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2020 17:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2020 17:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท