วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๒๑. วิจัยและพัฒนาระบบบริการสุขภาพฉุกเฉิน (๓)


 

ตอนที่ ๘๑ ตอนที่ ๘๒ ตอนที่ ๘๓ ตอนที่ ๘๔ ตอนที่ ๘๕
ตอนที่ ๘๖ ตอนที่ ๘๗ ตอนที่ ๘๘ ตอนที่ ๘๙ ตอนที่ ๙๐
ตอนที่ ๙๑ ตอนที่ ๙๒ ตอนที่ ๙๓ ตอนที่ ๙๔ ตอนที่ ๙๕
ตอนที่ ๙๖ ตอนที่ ๙๗ ตอนที่ ๙๘ ตอนที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๐๐
ตอนที่ ๑๐๑ ตอนที่ ๑๐๒ ตอนที่ ๑๐๓ ตอนที่ ๑๐๔ ตอนที่ ๑๐๕
ตอนที่ ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๑๐๘ ตอนที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑๐
ตอนที่ ๑๑๑ ตอนที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑๕
ตอนที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๑๑๗ ตอนที่ ๑๑๘ ตอนที่ ๑๑๙ ตอนที่ ๑๒๐

 

 

ผมเขียนบันทึกเรื่องโครงการ Spearhead ด้านการวิจัยและพัฒนาระบบบริการสุขภาพฉุกเฉินไว้ที่ (๑)  (๒)  

วันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการแผนงานยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead) ด้านสังคม แผนงานระบบบริการสุขภาพ ครั้งที่ 3/2564    ซึ่งก็คือโครงการการวิจัยและพัฒนาระบบบริการสุขภาพฉุกเฉิน (พบฉ.) ที่มี ศ. ดร. นพ. สุวัฒน์ จริยาเลิศศักดิ์ เป็นประธานบริหารแผนงาน     ซึ่งถือได้ว่า เป็นความสำเร็จของ สวช. ในการสนับสนุนแผนงานนี้   

ชื่อโครงการที่ใช้ในการประชุมคือ โครงการพัฒนาระบบบริการเพื่อการดูแลภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์ และสาธารณสุขอย่างครบวงจร (พบฉ.)  

 

ผมได้สะท้อนคิดไว้ในบันทึกสองตอนก่อน ที่ (๑) และ (๒) ว่า ศ. นพ. สุวัฒน์ ได้ใช้ภาวะผู้นำของท่าน เปลี่ยนแผนงานระบบบริการสุขภาพ ให้กลายเป็นงานวิจัยเพื่อพัฒนาระบบ คือระบบสุขภาพฉุกเฉิน    เป็นเป้าหมายที่ทรงคุณค่าและท้าทายมาก    โดยมีลักษณะที่จำเพาะคือ เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบที่เน้นการริเริ่มสร้างสรรค์แบบ bottom-up   พัฒนาจากหน้างานระดับปฏิบัติเป็นหลัก    แล้วหาทางให้กลไกระบบในภาพใหญ่เข้าไปสนับสนุน และเชื่อมโยงสู่ระบบใหญ่    ผ่านกลไกของคณะกรรมการอำนวยการแผนงาน   

  กรอบแนวคิดของแผนงานวิจัยนี้ชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ดังนี้ 

 

เนื่องจากมีผู้แทนจากสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มาร่วมเป็นกรรมการอำนวยการ    ผมจึงเสนอให้ สพฉ. หาทางเชื่อมการวิจัยและพัฒนาแบบ top-down ที่ สพฉ. สนับสนุน เข้ากับโครงการวิจัยแบบ bottom-up นี้    และเสนอให้ สวช. ร่วมกับ สวรส. พิจารณาสนับสนุนการวิจัยเชิงระบบแบบ top-down ด้านระบบสุขภาพฉุกเฉินของประเทศ   

งานนี้มีปัจจัยซับซ้อนมาก  หัวใจคือระบบข้อมูลภายในโรงพยาบาล และเชื่อมโยงระหว่างสถานบริการระดับต่างๆ และเชื่อมโยงไปยังบ้าน  รวมทั้งเชื่อมโยงไปยังกลไกป้องกันและรับรู้ปัญหาฉุกเฉินและแจ้งข่าวและขนส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาล           

 ผมฟังการอภิปรายแลกเปลี่ยนในการประชุมแล้ว ได้ทราบว่าการเชื่อมต่อของระบบข้อมูลมีความสำคัญมาก    ในเมืองเชียงใหม่ดำเนินการได้ และช่วยให้การป้องกันและต่อสู้โควิด ๑๙ เกิดผลดีมาก     โดยโครงการ พบฉ. ได้สนับสนุนการพัฒนาระบบข้อมูล CMC-19 ขึ้นใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล    ในขณะที่ กทม. มีหลากหลายระบบข้อมูล เชื่อมต่อกันยาก (หรือไม่ได้)   การใช้ระบบข้อมูลในการอำนวยความสะดวกต่อการรับมือภาวะฉุกเฉินใหญ่ของสังคมไทยในปัจจุบัน คือ โควิด ๑๙ ในกรุงเทพ อย่างครบวงจร     จึงไร้ประสิทธิผล     

ภาวะฉุกเฉินที่โครงการ พบฉ. เน้นในเบื้องต้น คือเรื่องโรคหลอดเลือดสมองแตกหรือตัน และอุบัติเหตุทางสมองและไขสันหลัง   แต่เวลานี้ภาวะฉุกเฉินใหญ่ของประเทศคือ การระบาดของโควิด ๑๙    ระบบข้อมูลที่พัฒนาขึ้นที่เชียงใหม่จึงได้ทดลองใช้เพื่อการนี้    และพบว่า ช่วยให้การระบาดระลอกแรกและระลอกสองอยู่ภายใต้การควบคุมได้อย่างน่าชื่นชม   

ในปีที่ ๒  ในส่วนของภาคเหนือมีโครงการวิจัย ๑๑ โครงการ    ภาคตะวันออกฉียงเหนือที่ขอนแก่น (นพ. ธวัชชัย  มี ๑๑ โครงการ    และภาคใต้ (รศ. ประณีต ส่งวัฒนา) มี ๖ ชุดโครงการ  ครอบคลุมทั่วภาคใค้ และมีเรื่องการพัฒนาระบบเวชศาสตร์ฉุกเฉินทางทะเลร่วมกับ สพฉ.    

วิจารณ์ พานิช

๒๐ ก.ค. ๖๔                                                                                                        

 

      



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท