วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๑๔. หลักสูตรพัฒนานโยบาย ววน. ๓


ตอนที่ ๘๑

ตอนที่ ๘๒

ตอนที่ ๘๓

ตอนที่ ๘๔

ตอนที่ ๘๕

ตอนที่ ๘๖

ตอนที่ ๘๗

ตอนที่ ๘๘

ตอนที่ ๘๙

ตอนที่ ๙๐

ตอนที่ ๙๑

ตอนที่ ๙๒

ตอนที่ ๙๓

ตอนที่ ๙๔

ตอนที่ ๙๕

ตอนที่ ๙๖

ตอนที่ ๙๗

ตอนที่ ๙๘

ตอนที่ ๙๙

ตอนที่ ๑๐๐

ตอนที่ ๑๐๑

ตอนที่ ๑๐๒

ตอนที่ ๑๐๓

ตอนที่ ๑๐๔

ตอนที่ ๑๐๕

ตอนที่ ๑๐๖

ตอนที่ ๑๐๗

ตอนที่ ๑๐๘

ตอนที่ ๑๐๙

ตอนที่ ๑๑๐

ตอนที่ ๑๑๑

ตอนที่ ๑๑๒

ตอนที่ ๑๑๓

หลักสูตรการออกแบบนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม รุ่นที่ 3 (๑)   จัดโดย สอวช.,  มจธ.  และสถาบันคลังสมองฯ    มีผู้สมัครเข้าเรียน ๕๘ คนจาก ๙ หน่วยงานในระบบ ววน.    ผมสอนวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๕.๓๐ - ๑๗.๐๐ น. ผ่านซูม    เพราะเป็นช่วงวิกฤติโควิดระลอกสาม โดยได้รับมอบหมายให้สอนในหัวข้อ กระบวนการพัฒนาและผลักดันนโยบาย : นโยบายด้านการบริหารงานวิจัย    ได้ฟังการอภิปรายของผู้เข้ารับการอบรมแล้ว    รู้สึกใจชื้นว่า คนรุ่นใหม่ในวงการนี้น่าจะรับลูกพัฒนาระบบ ววน. ของประเทศได้ดี   

ผมใช้ PowerPoint () (ลิ้งค์ไปยังไฟล์ STIP 3) นำการอภิปราย    โดยบอกไปล่วงหน้าให้อ่านเอกสารที่แนะนำมาก่อน    ในช่วงของการเรียนจะไม่เน้นบรรยาย แต่จะเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้    เมื่อเริ่มการเรียน ผมกล่าวนำสั้นๆ ว่า ช่วงที่ ๓ ของหลักสูตรเป็นช่วงบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ    เพื่อให้ผู้มาเข้ารับการอบรมได้แชร์ข้อมูลและข้อคิดเห็น ทั้งจากที่ตีความจากทฤษฎีที่ได้เรียนมาจากวิทยากรท่านก่อนๆ    และจากเอกสาร    โดยต้องตระหนักว่าเรื่องนโยบายนั้น เป็นเรื่องซับซ้อน เชื่อมโยงกับโครงสร้าง และพฤติกรรมของคนในระบบ ววน.   ที่เป็นระบบที่ซับซ้อน    โดยที่ผู้เข้ารับการอบรมมาจากหลากหลายหน่วยงานในระบบ ววน.    การได้แชร์และรับฟังมุมมองที่หลากหลาย    และได้ทำงานพัฒนาโครงการร่วมกัน ได้สนิทสนมกัน    ต่อไปก็จะทำงานร่วมมือช่วยเหลือกันได้    ทำให้ระบบ ววน. เป็นระบบที่ไม่ทำงานแยกส่วนเป็นไซโล    และไม่ทำงานเป็น hierarchy  ไม่มีท่าที่ต่อกันเชิง authoritative     

  เป้าหมายของการอภิปรายแชร์ข้อมูลและข้อคิดเห็น คือให้กลุ่มผู้เข้าหลักสูตรได้ฟังและรับรู้ข้อคิดเห็นที่แตกต่างหลากหลาย    ได้เข้าใจความซับซ้อนของระบบ ววน.   ในวงนี้เราจะไม่เน้นคำตอบถูกผิด เราต้องการเน้นคำตอบที่มีข้อมูลและวิธีคิดเพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน    สร้างความสัมพันธ์เชิงร่วมมือกัน    เพื่อประโยชน์ในการทำงานต่อไปภายหน้า

ผมบอกที่ประชุมว่า PowerPoint ที่นำมาเสนอไม่ได้พยายามทำให้ถูกต้องและครบถ้วน     ตั้งใจเอามาให้ช่วยกันแก้ไขต่อเติม   

เทคนิคนี้สร้างบรรยากาศ    ของการเสนอข้อคิดเห็นกันอย่างไฟแลบ     ผ่าน Ppt ไปไม่ถึงครึ่งของที่เตรียมมา ก็เกือบหมดเวลา    จุดสำคัญที่เกิดการย้ำคือ governance ของระบบ ววน. ของประเทศไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ที่คนทาง supply-side ยึดกุมอำนาจการกำหนดทิศทางอยู่ในปัจจุบัน    จะไม่ทำให้ประเทศไทยมีระบบ ววน. ที่เข้มแข็งจริง    ควรหาทางให้ฝ่าย demand-side เข้ามามีบทบาทนำ    นำไปสู่การออกความเห็นที่เชื่อมโยงสู่สภาพจริงในปัจจุบัน  และมีสมดุลของความคิดหลากหลายด้าน   รวมทั้งมิติเชิงสังคม       

วิจารณ์ พานิช        

๓๐ เม.ย. ๖๔ 

                                                                                                                                                                                                                  

Stip 3 from Pattie Pattie
หมายเลขบันทึก: 690804เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2021 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2021 16:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท