ว่านแสงอาทิตย์...งาม


  เช้าวันหนึ่งที่เสียงแม่บ่งบอกถึงความตื้นเต้น ปรากฎว่า มีดอกว่านแสงอาทิตย์บานซ่อนอยู่ในพุ่มไม้ทางทิศตะวันออก นับเป็นความงามที่ซ่อนเร้นอย่างแท้จริง  ครูนก"เองลืมไปเลยว่าบ้านเรามีว่านแสงอาทิตย์อาจจะเป็นไม้ล้มลุกที่มักจะเก็บต้วในรูปหัว ในหนึ่งปีช่วงเดือนพฤษภาคมจะเบ่งบาน ทำให้บางพื้นที่เรียก "ดอกพฤษภาคม"

ว่านแสงอาทิตย์


        “ว่านแสงอาทิตย์”
 (Blood lily) อาจเรียกว่า “ว่านกุมารทอง” นับเป็นไม้มงคลตระกูลเดียวกับ “ว่านนางคุ้ม”  หรือ “ว่านนกคุ้ม” สมัยโบราณมีความเชื่อว่าช่วยคุ้มภัย มีอำนาจคุ้มภัยป้องกัน  และเมตตามหานิยม ป้องกันภัยอันตรายต่างๆ  เสริมอำนาจวาสนา ทำให้การค้าขายรวยๆเฮงๆ ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์คือ
           เป็นไม้ล้มลุก  มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาเขตร้อน ขึ้นทุกสภาพของดิน ปลูกง่าย มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า  : Haemanthus multiflorus Martyn.จัดอยู่ในวงศ์  AMARYLLIDACEAE  ลักษณะต้นมีหัวหรือเหง้าใต้ดิน ชูในส่วนของใบและดอกเท่านั้นสูงราว 30-60 เซนติเมตร  หัวแตกเป็เหง้าคล้ายหัวข่า  
          ดอกนิยมนำมาผสมกับน้ำมันหอมระเหยของสมุนไพร สำหรับใช้ทานวดลำตัวเพื่อบรรเทาอาการเมื่อยล้า แต่ก็มีอันตรายแอบแฝงคือทั้งหัว ใบ และดอก มีพิษ ถ้ารับประทานอาจทำให้ท้องเดิน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ จึงห้ามรับประทานโดยเด็ดขาด
          วันนี้ขอมองว่านแสงอาทิตย์ผ่านบทกลอนไฮขุ อีกเช่นเคยนะคะ

ดอกพฤกษภาคม

             

คำสำคัญ (Tags): #ไฮขุ#ไม้ดอก
หมายเลขบันทึก: 690801เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2021 15:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2021 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท