วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๑๙. ลงทุนเพื่ออนาคต


 

ตอนที่ ๘๑ ตอนที่ ๘๒ ตอนที่ ๘๓ ตอนที่ ๘๔ ตอนที่ ๘๕
ตอนที่ ๘๖ ตอนที่ ๘๗ ตอนที่ ๘๘ ตอนที่ ๘๙ ตอนที่ ๙๐
ตอนที่ ๙๑ ตอนที่ ๙๒ ตอนที่ ๙๓ ตอนที่ ๙๔ ตอนที่ ๙๕
ตอนที่ ๙๖ ตอนที่ ๙๗ ตอนที่ ๙๘ ตอนที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๐๐
ตอนที่ ๑๐๑ ตอนที่ ๑๐๒ ตอนที่ ๑๐๓ ตอนที่ ๑๐๔ ตอนที่ ๑๐๕
ตอนที่ ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๑๐๘ ตอนที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑๐
ตอนที่ ๑๑๑ ตอนที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑๕
ตอนที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๑๑๗ ตอนที่ ๑๑๘    

เช้าวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ มีการประชุม คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2/2564    ผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมด้วย (ไม่ได้เป็นกรรมการ)   โดยผมมุ่งเข้าฟัง สังเกตการณ์ และเรียนรู้   

ฝ่ายเลขานุการเสนอความก้าวหน้าของกระบวนการงบประมาณของประเทศ ปีงบประมาณ ๒๕๖๕    ที่งบประมาณด้าน ววน. ในปี ๒๕๖๔  ได้รับ ๑๙,๙๑๖ ล้านบาท    แต่ของปี ๒๕๖๕ ในขั้นตอนรองสุดท้าย ถูกตัดเหลือ ๑๔,๑๗๖ ล้านบาท   ลดลงในสัดส่วนที่มากกว่าการตัดลดงบประมาณของประเทศในภาพรวม   

คณะกรรมการตกใจต่อสภาพนี้มาก    มีการอภิปรายแสดงความห่วงใยบ้านเมือง     โดยท่านประธาน (นายกานต์ ตระกูลฮุน) บอกว่า เงินนี้เป็นงบประมาณสำหรับอนาคต   โดยที่ภาคเอกชนขนาดใหญ่จะไม่ตัดงบประมาณก้อนนี้ เพราะมุ่งลงทุนสร้างความเข้มแข็งในอนาคต   

ผมเรียนรู้เรื่องนี้มากว่า ๓๐ ปี   ว่าคนทั่วไปมองงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาเป็น “ค่าใช้จ่าย”  ไม่มองเป็น “การลงทุน”    มาคราวนี้ท่านประธานในที่ประชุมตอกย้ำว่า เป็นการลงทุนเพื่ออนาคต   

ศ. ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์ เล่าให้ที่ประชุมฟังว่า   เคยเกิดเหตุทำนองนี้ที่ญี่ปุ่น   รัฐบาลลดงบประมษณด้านการวิจัยและพัฒนาของรัฐลงไป    เมื่อประชาชนทราบ ก็เกิดกระแสคัดค้านรุนแรง    จนรัฐบาลต้องพิจารณาใหม่ และเพิ่มงบประมาณ   เข้าใจว่าเป็นเพราะประชาชนญี่ปุ่นเขารู้ว่า    การลงทุนวิจัยและพัฒนาเป็นการลงทุนเพื่ออนาคต

ผมเคยได้ยินว่า เรื่องทำนองเดียวกันเคยเกิดในประเทศเกาหลีใต้    น่าจะถือได้ว่า เป็นดัชนีบอกความก้าวหน้าทางสังคมของประเทศ       

ผมสะท้อนคิดกับตัวเองว่า เจตคติของประชาชน ในเรื่องการลงทุนของประเทศด้าน ววน. น่าจะถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานอย่างหนึ่ง ของ ววน. ของประเทศ    จึงน่าจะเป็นหน้าที่ของ สกสว. ในการดำเนินการพัฒนาเจตคติของประชาชนในเรื่องนี้    ... หน้าที่พัฒนาคุณค่าของ ววน. ในระบบคุณค่าของประชาชน    ให้เห็นว่า เป็นกลไกเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในอนาคต     

 การทำหน้าที่นี้เป็นคล้ายเส้นผมบังภูเขา    เพราะหน่วยราชการมักใช้วิธีโฆษณาประชาสัมพันธ์ คล้ายๆ โฆษณาชวนเชื่อ    ซึ่งผมคิดว่าไม่ได้ผล   

ผมคิดว่า จะให้ได้ผล ต้องเอาผลงานออกเสนอต่อสาธารณชน   ชี้ให้เห็นผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสังคมในระยะยาว (อย่างมีข้อมูลหลักฐาน น่าเชื่อถือ)    และชี้ว่า มาจากการลงทุนลงแรงของฝ่ายต่างๆ อย่างไร   ให้เห็นว่าต้องใช้เวลายาวนาน   และร่วมมือกันหลายฝ่ายหลายระดับ    และต้องฟันฝ่าความล้มเหลวความยากลำบากมากมายในระหว่างทาง     แต่เมื่อประสบความสำเร็จ ผลกระทบก็มากมายและยืนยาว   

เราต้องช่วยกันสื่อสารสังคม ให้เห็นว่าเส้นทางสู่การเป็นประเทศรายได้สูงสังคมดีมีความเหลื่อมล้ำน้อยนั้น เราช่วยกันทำให้เกิดได้   แต่ต้องไม่ใช่ใช้กระบวนทัศน์และแนวทางเดิมๆ    ต้องใช้แนวทางใหม่ ที่ใช้การวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม ยกระดับการผลิตและการดำรงชีวิตอย่างก้าวกระโดด   ประเทศต้องลงทุนและลงแรงในการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม เพื่อใช้สติปัญญาเป็นพลังขับเคลื่อน   ไม่ใช่ใช้แรงงานเป็นพลังขับเคลื่อนอย่างที่เป็นอยู่   

การลงทุนเพื่ออนาคตต้องเป็นเจตจำนงร่วมของคนในสังคม    ไม่ใช่แค่เจตจำนงของนักวิชาการ   

ต้องพัฒนา beneficiary-led RDI System    ไม่ใช่ supply-led system อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน    

ตราบใดที่นักวิชาการ ไม่เคารพเสียงประชาชน    ระบบ RDI ที่แข็งแรง ขับเคลื่อน Thailand 4.0 ได้ จะไม่มีวันเกิด      

๙ ก.ค. ๖๔                                                                                                            

 

                                                                                                                                                                                                                                                            

หมายเลขบันทึก: 691761เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2021 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2021 17:08 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท