ชีวิตที่พอเพียง ๔๐๑๓. มหาอำนาจพิพิธภัณฑ์


 

การเป็นประเทศพัฒนาแล้วมีหลายมิติ   ไม่ใช่แค่ด้านเศรษฐกิจและการทหารเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของประเทศเท่านั้น   ยังต้องสร้างกลไกเพื่อความมั่นคงภายในประเทศ    และความมั่นคงภายในใจคน   

บทความเรื่อง China says it will be a “museum power” in 2035 ในนิตยสาร The Economist สะท้อนความรอบคอบของผู้บริหารประเทศจีน   

ในฐานะนักเที่ยวชมพิพิธภัณฑ์ ผมชื่นชมประเทศจีนตามข่าวนี้มาก    แต่ข่าวในสื่อฝรั่งย่อมต้องกระแนะกระแหนจีน    เพราะพัฒนาขึ้นมาล้ำหน้าเขา    จึงใส่ subtitle ว่า Build big, show little   คือสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ใหญ่โต  แต่มีสิ่งของจัดแสดงน้อย   

ตามในข่าวบอกว่าจีนสร้างพิพิธภัณฑ์เพิ่มสัปดาห์ละ ๕ แห่ง    บทความบอกว่าในปี ค.ศ. 2000 จีนมีพิพิธภัณฑ์ ๑,๒๐๐ แห่ง   สิ้นปี 2020 มีเกือบ ๖ พันแห่ง    เขาบอกว่าแม้ส่วนใหญ่เป็นพิพิธภัณฑ์ของรัฐ  โดยรัฐแถลงนโยบายการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ชัดเจน เช่นบอกว่า ถึงปี 2035 เน้นพิพิธภัณฑ์ Belt and Road Initiatives, Great Wall, Grand Canal ซึ่งสะท้อนเป้าหมายโปรปะกันดาทางการเมือง    แต่ก็มีพิพิธภัณฑ์เอกชนออกมาท้าทายสังคมด้วย เช่น พิพิธภัณฑ์ internet violence จัดโดยกลุ่มผู้หญิง    ที่สะท้อนภาพการรังแกผู้หญิงผ่านทางอินเทอร์เน็ต     ในฮ่องกงมีพิพิธภัณฑ์แล็กๆ จัดแสดงการปราบปรามการต่อต้านรัฐบาลที่จตุรัสเทียนอันเหมิน เมื่อวันที่ ๔ มิถุนายน ๒๕๓๒   ซึ่งตั้งได้ไม่นานก็ถูกปิด   

เป็นบทความที่บอกว่า จีนใช้พิพิธภัณฑ์เป็นที่แสดงแสนยานุภาพ   หรือแสดงผลงานของรัฐบาล   ซึ่งไม่ว่ารัฐบาลหรือผู้มีอำนาจประเทศไหนๆ ก็ทำกันทั้งนั้น    คือไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่    แต่ผมก็พบว่าในประเทศตะวันตก เขาใช้พิพิธภัณฑ์เป็นที่เรียนรู้สำหรับคนทุกวัย   และพิพิธภัณฑ์สมัยใหม่เน้นกระตุ้นความคิดคน  ให้มองโลกมองสังคมในมุมมองใหม่ๆ        

วิจารณ์ พานิช

๒๘ พ.ค. ๖๔ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 691760เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2021 17:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2021 17:04 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท