วิพากษ์ยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙) ๑๒๐. หน่วยงานในระบบ ววน.


 

ตอนที่ ๘๑ ตอนที่ ๘๒ ตอนที่ ๘๓ ตอนที่ ๘๔ ตอนที่ ๘๕
ตอนที่ ๘๖ ตอนที่ ๘๗ ตอนที่ ๘๘ ตอนที่ ๘๙ ตอนที่ ๙๐
ตอนที่ ๙๑ ตอนที่ ๙๒ ตอนที่ ๙๓ ตอนที่ ๙๔ ตอนที่ ๙๕
ตอนที่ ๙๖ ตอนที่ ๙๗ ตอนที่ ๙๘ ตอนที่ ๙๙ ตอนที่ ๑๐๐
ตอนที่ ๑๐๑ ตอนที่ ๑๐๒ ตอนที่ ๑๐๓ ตอนที่ ๑๐๔ ตอนที่ ๑๐๕
ตอนที่ ๑๐๖ ตอนที่ ๑๐๗ ตอนที่ ๑๐๘ ตอนที่ ๑๐๙ ตอนที่ ๑๑๐
ตอนที่ ๑๑๑ ตอนที่ ๑๑๒ ตอนที่ ๑๑๓ ตอนที่ ๑๑๔ ตอนที่ ๑๑๕
ตอนที่ ๑๑๖ ตอนที่ ๑๑๗ ตอนที่ ๑๑๘ ตอนที่ ๑๑๙  

 

 

เหตุการณ์เดียวกันกับบันทึกที่ ๑๑๙   ในเช้าวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔    การประชุม คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการสนับสนุนวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม ครั้งที่ 2/2564    ทำให้ผมสะท้อนคิดเรื่องนี้

เพราะมีวาระเรื่อง “(ร่าง) กรอบ นโยบาย ยุทธศาสตร์ อววน. ประจำปี พ.ศ. 2566-2570”    และวาระ “หลักการการประเมินผลผลิตของหน่วยงานในระบบ ววน.”    รวมทั้งในวาระอื่นๆ ก็มีการเอ่ยถึง “ระบบ ววน.”   ทำให้ผมฉุกคิดว่า   เพื่อการขับเคลื่อนระบบ ววน. ของประเทศให้เป็นกำลังฉุดประเทศสู่ ประเทศไทย ๔.๐ เราควรนิยาม “ระบบ ววน.” ของประเทศอย่างไร   

ในวงประชุม เขาหมายถึง ระบบ ววน. ภายใต้กระทรวง อว. และหน่วยจัดการทุนวิจัยที่รับเงินไปจากกองทุน ววน.    ซึ่งเป็นนิยามที่แคบ สำหรับใช้ทำงานจัดการทุนวิจัย    ซึ่งหากเน้นระบบจัดการทุนวิจัยจากงบประมาณแผ่นดิน นิยามดังกล่าวก็ถูกต้อง

แต่ผมสนใจนิยามที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากกิจกรรม ววน. อย่างแท้จริง    ซึ่งหากเน้นเป้าหมายนี้ต้องรวมเอากิจกรรมววน. ของภาคเอกชนเข้าไปด้วย   เพราะในขณะนี้กว่าร้อยละ ๘๐ ของการลงทุนด้าน ววน. ของประเทศ ลงทุนโดยภาคธุรกิจเอกชน   โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจรายใหญ่       

ผมสนใจว่า หากนิยามให้กว้างและครอบคลุม   เราจะมีลู่ทางจัดการให้องค์ประกอบที่หลากหลายของ ววน. ของประเทศ ทำงานเกิด synergy กัน    เกิดพลังยิ่งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดมาในสังคมไทย   ได้หรือไม่ 

ผมเชื่อว่าได้   แต่เนื่องจากผมไม่ได้ทำงานอยู่ในความซับซ้อนดังกล่าว    ผมจึงบอกไม่ได้ว่าควรลองอย่างไร    ความคิดข้างต้นของผมจึงเป็นแค่ความฝัน    โดยฝันว่า ภายใต้สถานการณ์ที่ซับซ้อนและเป็นพลวัต    “การผุดบังเกิด (emergence)”  ของสิ่งที่ยิ่งใหญ่กำลังรออยู่   โดยผู้เกี่ยวข้องต้องจัดการระบบนิเวศให้เอื้อต่อการผุดบังเกิดนั้น   

เพราะตีความ “หน่วยงานในระบบ ววน.” เป็น linear system    ประตูของการผุดบังเกิดจึงปิด    และสภาพในปัจจุบันน่าจะอยู่ในลักษณะ “ปิดสนิท”   

ผมอยากเห็นวิธีจัดการ ระบบ ววน. แบบ complex-adaptive systems   และ inclusive  เพื่อสร้าง ecosystems ให้ innovation ที่มีความหมายต่อการสร้าง disruptive changes ของระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ของไทย           

มีคนตั้งข้อสังเกตว่า ภายใต้รัฐบาลนี้    การบริหารบ้านเมืองอยู่ในสภาพ command and control   และ centralized ยิ่งขึ้น    เป็นระบบที่ linear ยิ่งกว่าสมัยก่อน    ดังนั้น วิธีคิดของผมตามที่เสนอมา จึงน่าจะเป็นความคิดฝันลมๆ แล้งๆ   ไร้ความหมาย สำหรับนิเวศการเมืองในปัจจุบัน        

๙ ก.ค. ๖๔                                                                                                            

 

                       

หมายเลขบันทึก: 691844เขียนเมื่อ 8 สิงหาคม 2021 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 สิงหาคม 2021 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท