กายภาพบำบัดชุมชน


แลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรียนทุกท่าน

ดิฉันได้จัดทำ blog นี้ ขึ้นเพื่อให้เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพ ได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ และถือเป็นแหล่งรับฟังความคิดเห็นจากนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศ  เกี่ยวกับการพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ครอบคลุมไปยังประชาชนทั่วทั้งประเทศ เพื่อความเป็นธรรมในสังคมเราต้องพยายามกระจายโอกาสให้แก่ประชาชนในการเข้าถึงการบริการทางกายภาพบำบัด โดยในปัจจุบันทางสภากายภาพบำบัดได้แต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายมาตรฐานงานกายภาพบำบัดชุมชนขึ้น โดยมีดิฉันเป็นประธาน จึงขอเชิญทุกท่านได้เข้ามาร่วมกันแสดงความคิดเห็นนะคะ

ปนดา

หมายเลขบันทึก: 218336เขียนเมื่อ 23 ตุลาคม 2008 13:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1,054)

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อย  มาแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับกายภาพบำบัดค่ะ
  • ครูอ้อย เคยเป็นคนไข้ เมื่อ สิบปีที่แล้ว  ขาข้างขวา  ชา และเดินไม่ได้ชั่วขณะค่ะ  ครูอ้อยรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่ง  บำบัดทุกวัน สักห้าวันเองก็หายค่ะ
  • และเมื่อสามปีที่แล้ว  ครูอ้อยปวดหลังมากๆ  ไปหาหมอ อีกโรงพยาบาลหนึ่ง ใกล้ๆโรงเรียน  มีการรักษาที่ต่อเนื่อง  ครูอ้อยหายจนเป็นปลิดทิ้ง  ไม่เป็นอะไรเลย
  • มาปีนี้  ครูอ้อยรู้เลยว่า  ทำไมจึงปวดขาและเจ็บหลัง  ครูอ้อยก็หลีกการประทำนั้นๆ  จึงไม่มีอาการปวดและเจ็บค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ  คราวนี้  คนไข้อย่างครูอ้อย มาขอเรียนถามอาการปวดเจ็บจากบล็อกนี้ด้วยไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

กายภาพบำบัดสำหรับทุกคน ดิฉันเชื่อว่า blog นี้ เป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับทุกคนได้ค่ะ โดยเฉพาะประชาชนทั่วไป นอกจากประชาชนจะได้ความรู้ โดยนักกายภาพบำบัดทั่วประเทศจะช่วยกันตอบข้อซักถามแล้ว ยังเปิดโอกาสให้ประชาชนได้รับทราบสถานการณ์และปัญหาในการเข้าถึงบริการสุขภาพทางด้านกายภาพบำบัดของประชาชน จะได้มีส่วนร่วมในการผลักดันให้เกิดความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการสุขภาพทางด้านกายภาพบำบัดมากขึ้น กายภาพบำบัดสำหรับประชาชนทุกคน ไม่ไว่จะเป็น เด็ก วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ซึ่งมีอยู่ทุกหนแห่งในประเทศไทย ขอเชิญนักกายภาพบำบัดทุกท่านเข้ามาร่วมกันตอบข้อซักถามนะคะ หวังว่าเราจะมีเครือข่ายกายภาพบำบัดชุมชนในแต่ละภูมิภาคในเร็วๆนี้ค่ะ

ศุภรัตน์ มาสภัสร์

ดีมากๆนะคะที่ มีโอกาสใช้ blog นี้ ดิฉันเป็นPT ใน โรงพยาบาลจังหวัด แต่ก็อยู่ใน

ใกล้ ชุมชน และใกล้ชิด กับ น้องๆPT ในชุมชนด้วย หาก blog นี้ จะเป็นเวทีของ PT ในโรงพยาบาลชุมชน ด้วย ก็จะดีไม่น้อย ต้อง ให้ ประชาสัมพันธ์ กับน้องๆ PT เราด้วย

ส่วนภาคประชาชน ยิ่งเป็นประโยชน์มากใหญ่ เพราะเวลาที่เราได้มีโอกาสทีพบกับ ประชาชน เขาอยากแสวงหาความรู้ หรือ อยาก ไปรับ บริการ กายภาพบำบัดกับเรา เขาไม่รู้ว่าจะหาความรู้ ที่ไหน ผู้มีศักยภาพ มากหน่อย ก็ไปsearch จาก physical therapy in the world แต่ความเป็นจริง เขาอยู่ในประเทศไทย มันก็รู้สึกว่า ความรู้นั้นยังนำไปใช้ ได้ ไม่ชัดซะทีเดียว ขณะที่อยากจะเจอ นักกายภาพบำบัด หรือ"หมอกายภาพบำบัด"มากกว่า (ในที่นี้ไม่ได้รวมความไปถึงแพทย์...สาขาอื่น นะคะ ) "หมอ" ในความหมายที่ดิฉันกล่าวถึง หมายถึง"ผู้เชี่ยวชาญ"ในทางใดทางหนึ่งเช่น หมองู, หมอตำแย หมอกายภาพบำบัด จึงมีความหมายถึง " ผู้มีความเชี่ยวชาญทางการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด"

ขอเสนอให้น้อง PTใน รพช.รวมตัวกัน โดยใช้เวทีนี้ก็ได้ ตั้งเป็นชมรม เกาะกันไว้ มีอะไร ส่งถึงกัน โทรฯหากัน และด่วนที่สุด ตอนนีเรากำลังจะต้อง แสดงความคิดเห็น ของวิชาชีพเรา กับนโยบายระดับ ประเทศเชียวนะ พูดง่ายๆก็คือ วิชาชีพของเรามีที่ยืน อยู่ในระบบ สาธารณสุขแล้ว รัฐบาล ฟังเราแล้ว(หากเรามีข้อเสนอ) ซึ่งเป็นโอกาสดีเป็นที่สุด

หากตั้งเป็นชมรมได้แล้ว รีบส่งตัวแทน แสดงตน เข้าร่วมความคิดเห็น หรือเสนอแนะได้ ลองดูใน web สภาฯก็ได้ www.pt.or.th

ขอสนับสนุน อ.ปนดา ขอบคุณที่ทำเพื่อส่วนรวมค่ะ

ขณะนี้สภาฯ กำลังจะพัฒนามาตรฐานงานกายภาพบำบัดชุมชน ใครอยากให้มีการพัฒนางานด้านใดเกี่ยวกับกายภาพบำบัดชุมชน ก็เสนอผ่าน blog นี้ได้นะคะ

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยม blog นี้นะคะ

ปนดา

กายภาพบำบัดยังขาดแคลนในชุมชน

การบริการทางกายภาพบำบัดยังเป็นเรื่องที่ยังต้องพัฒนาอีกมาก  ทั้งในด้านการให้ความรู้กับประชาชนและองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการจัดหาการบริการทางกายภาพบำบัด เพื่อช่วยดูแลปัญหาสุขภาพประชาชนในด้านการส่งเสริมป้องกันโรค และการรักษาและฟื้นฟูสภาพประชาชนในชุมชน ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ  อย่างเช่น การปวดหลังในชาวนาไทย ชาวบ้านแก้ปัญหาโดยการซื้อยาทานเอง บางครั้งโชคดีก็เจอยาดี บางครั้งโชคร้ายก็ไปเจอยาที่มี steroid ผสมอยู่ ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ชาวบ้านไม่มีโอกาสได้รับบริการทางกายภาพบำบัด เพราะไม่มีนักกายภาพบำบัดในพื้นที่  ยังมีปัญหาสุขภาพอื่นๆ อีกมากมายที่ประชาชนในชนบทไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการทางกายภาพบำบัด ปัญหาหนึ่งคือไม่มีตำแหน่งงานกายภาพบำบัดในรพ.ชุมชน หรือศูนย์แพทย์ฯ  ทำอย่างไรเราจะแก้ปัญหานี้ได้!!

แผนยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550-2559

ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างและพัฒนากลไกในการกำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาติที่สอดคล้องกับระบบสุขภาพของประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 2

ปรับเปลี่ยนระบบการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพเพื่อให้ได้กำลังคนที่เพียงพอ สามารถตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพประชาชน มีความสอดคล้องกับระบบบริการสุขภาพและระบบอื่นๆที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การสร้างความเสมอภาคในระบบสุขภาพ

ยุทธศาสตร์ที่ 3

ปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ เพื่อให้มีการกระจายบุคลากรอย่างเป็นธรรม สามารถคงอยู่ในระบบและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความสุข

ยุทธศาสตร์ที่ 4

สร้างและจัดการความรู้เพื่อไปสู่การพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับบริบทของระบบสุขภาพของประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 5

ส่งเสริมและพัฒนาภูมิปัญญาไทยและผู้ที่ดูแลสุขภาพในชุมชนให้มีบทบาทในการดูแลปัญหาสุขภาพของประชาชนในระดับพื้นที่และส่งเสริมสุขภาพของชุมชน

(แผนยุทธศาสตร์นี้ จัดทำโดย คณะทำงานจัดทำแผนยุทธศาสตร์ทษวรรษกำลังคนด้านสุขภาพแห่งชาิติ)

เผด็จชัย (พีที ร.พ.พระปกเกล้า)

ผมทำงานด้านกายภาพบำบัดชุมชนมาหลายปี ถึงแม้ว่าอยู่ร.พ.ศูนย์ครับ ลักษณะงานมีการจัดอบรมอาสาสมัคร การออกเยี่ยมเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพให้กับผู้ป่วยทุกอำเภอในจังหวัด (ยกเว้นอำเภอที่มีนักกายภาพ) โดยคัดกรองจากผู้ป่วยที่จำหน่ายจากร.พ.และจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างต่อเนื่องและมีปัญหาในการมารับการรักษา

ตอนนี้ผมกำลังเตรียมทำวิทยานิพนธ์เรื่องการพัฒนาตัวชี้วัดการฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชนครับ ไม่ทราบว่าคณะทำงานมาตรฐานกายภาพบำบัดชุมชนดำเนินการไปถึงไหนแล้วครับ เพราะผมอาจรบกวนอาจารย์เรื่องข้อมูลครับ

เรียนคุณเผด็จชัย

ดีใจมาก นะคะ ที่คุณได้มีส่วนร่วมเข้ามากะทู้ใน blog กายภาพบำบัดชุมชน จริงๆแล้วทางสภาได้รวบรวมตัวชี้วัดไว้บ้างแล้ว ไม่ทราบว่าคุณสนใจตัวชี้วัดแบบไหน ของสภามีใว้ที่ส่วนท้ายของมาตรฐานกายภาพบำบัดคุณสามารถหาได้จากบน website ของสภากายภาพบำบัดค่ะ เมื่อได้มาตรฐานกายภาพบำบัด ซึ่งก็จะมีเครื่องมือสำหรับวัด outcomes ของการฟื้นฟูสภาพหลายตัว บางทีคุณอาจจะไม่ต้องไปสร้างใหม่ก็ได้ค่ะ

แล้วเข้ามาเขียนอีกนะคะ ถ้ามีอะไรอยากจะ share ก็เขียนได้เลยนะคะ อีกไม่นานจะพยายามนำ blog ขึ้น wed สภาค่ะ

ปนดา

ได้ยินน้อง ๆ PT จบใหม่หลายคนที่จะไปอยู่รพช.ได้สอบถามและเล่าเกี่ยวกับลักษณะงานในรพช. ส่วนมากมักจะเจอคำถามว่าจะทำอะไรบ้างในบริบทที่อยู่รพช.ซึ่งน้องหลายคนก็ไม่เข้าใจ ก็ตอบในลักษณะงาน PT ทำอะไรบ้างซึ่งไม่ตรงกับงานของรพช.เท่าไรนัก รบกวนอาจารย์ช่วยบอกรูปแบบการทำงานของPT ในรพช.ให้กับน้อง ๆ PT หลาย ๆ คนจะได้เข้ามาดูเป็นแนวทางค่ะ

เรียนทุกท่าน

นักกายภาพบำบัดในรพช.มีบทบาทได้ทั้งในเชิงรุกและรับ ขึ้นอยู่กับว่าจะทำงานเน้นไปทางด้านใด โดยทั่วไปถ้ารพช.มีนักกายภาพบำบัดเพียงคนเดียว แค่งานเชิงรับ คือให้บริการอยู่ในแผนกกายภาพบำบัด และในหอผู้ป่วย งานก็คงจะหนักมากอยู่แล้ว แต่ถ้ายังพอมีแรงทำอีกก็ควรทำงานร่วมกับทีมของโรงพยาบาลค่ะ เพื่อทำงานในเชิงรุก เดี๋ยวนี้เขามักเรียกการทำงานเป็นทีมนี้ว่า ทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น ทีมให้สุขศึกษาในผู้ป่วยเบาหวาน ทีมเยี่ยมบ้านในผู้ป่วยเรื้อรัง หรือ กลุ่มอัมพาต เป็นต้น

ถ้าเป็นงานส่งเสริมสุขภาพ เราคงต้องหาข้อมูลบริบทของรพช.ก่อนว่าเราจะส่งเสริมสุขภาพในกลุ่มไหน ทำไมเราถึงต้องทำ ถ้าไม่ทำจะเกิดอะไรขึ้น และถ้าจะทำจะทำอย่างไร เรามีใครเป็นแนวร่วมกับเราบ้าง เราจะนำเสนอโครงการนี้ให้ผู้บริหารเขาให้การสนับสนุนเราอย่างไร ถ้าเราทำแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน จะพัฒนาต่ออย่างไร คำถามเหล่านี้ คือสิ่งที่เราควรต้องหาคำตอบ เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานค่ะ

ปนดา

ลืมบอกไปว่า เราควรเป็น 1 ในทีมสหสาขาวิชาชีพ เราต้องมีการประสานงานเพื่อให้เขาเข้าใจบทบาทของเราในทีม และเราต้องมีความรับผิดชอบ ถ้าเข้าไปร่วมแล้วต้องทำอย่างต่อเนื่อง ไม่ใช่จะเลิกเมื่อไหร่ก็เลิก เพราะเมื่อเราเข้าไปแล้ว เราก็ต้องไปเรียนรู้ด้วยว่าบทบาทของคนอื่นเขาทำอะไรกันบ้าง อย่างไร เราจะเข้าไปช่วยเสริมทางด้านใด เราต้องมีความรู้อะไรเพิ่มบ้าง

ที่สำคัญงานส่งเสริมป้องกัน เราจะให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับเราได้อย่างไร ใครเป็นคนในชุมชนที่เราจะเข้าไปประสานงานได้

งานเชิงรับ เนื่องจากรพช.มีทรัพยากรจำกัด เรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ เราจะมีแนวทางพัฒนาภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาใช้ในงานของเราอย่างไรก็คงต้องคิด มันอาจจะเป็นนวัตกรรมขึ้นมาได้เหมือนกัน

ปนดา

นักกายภาพบำบัด รพช.

เป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนคนหนึ่ง...ทำงานกับโรงพยาบาลชุมชนมา 3 ปี (ยังเป็นพนักงานราชการ) ปัจจุบันมีนักกายภาพบำบัด 3 คน เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่มีจำนวนประชาชนในเขตความรับผิดชอบค่อนข้างมาก (UC ประมาณ120,000คน)

ตอนนี้ทำงานทั้งเชิงรุกและรับร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพราะกายภาพบำบัดจะก้าวหน้าและเป็นที่รู้จักในชุมชนได้ เราไม่สามารถทำงานคนเดียว ต้องร่วมมือกันกับหลายๆวิชาชีพ ในระดับโรงพยาบาลชุมชน ถึงแม้เราจะเป็นเพียงหน่วยงานเล็กๆที่คนส่วนใหญ่อาจไม่ทราบว่าทำอะไรได้บ้าง ก็อยากให้พวกเรานักกายภาพบำบัดสร้างหน่วยงานของเราให้เป็นหน่วยงานเล็กๆที่มีความสามารถไม่ด้อยไปกว่าหน่วยงานใหญ่ๆในโรงพยาบาล

ทุกวันนี้ที่เราต้องเหนื่อยต้องอดทนก็เพื่อให้วิชาชีพของเราเป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น...อยากให้เพื่อนๆพี่ๆน้องๆนักกายภาพบำบัดทุกคนร่วมมือร่วมใจกันให้มากกว่านี้ แล้วเราจะมีสิทธิ์มีเสียงเรียกร้องที่ดังขึ้นกว่าก่อนอีกมาก...

ขอบคุณที่เข้ามาให้ข้อมูล และให้กำลังใจซึ่งกันและกันนะคะ อยากรู้จังเลยว่าทำงานอยู่ที่รพช.ไหนคะ มีเรื่องอะไร หรือปัญหาอะไร ก็เล่าให้ฟังได้นะคะ เผื่อว่าจะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันได้ ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยได้ไหมคะว่างานเชิงรุกที่ทำอยู่คืออะไร และเป็นอย่างไรบ้าง

ปนดา

น้อมจิตต์ นวลเนตร์

ชาว PT ที่ทำงาน รพช. ไม่ค่อยได้เข้ามา blog นี้ มักจะคุยกันใน webboard สภาฯ มากกว่า จริง ๆ ตอนนี้มีน้อง ๆ ที่ทำงานเก่ง ๆ อยู่ตาม รพช. เยอะมาก และบางจังหวัดมีการพบปะกันอย่างสม่ำเสมอ อย่างทางอีสาน เด็กที่จบใหม่ หากช่วงเรียนได้มีโอกาสฝึกงานตาม รพช. ก็น่าจะเห็นภาพของงาน PT ในระดับ primary & secondary care บ้าง ที่แทบจะต่างจากงานใน รพ. ใหญ่ ๆ อย่างสิ้นเชิง และต้องใช้ศาสตร์ที่สอนกันได้ยากหากเพียงผ่านแค่ตำรา ในฐานะที่เป็นฝ่ายผลิต ก็พยายามส่งเสริมให้ นศ. ได้เรียนรู้และมีประสบการณ์ในเรื่องนี้มากเท่าที่จะทำได้ แต่ที่สำคัญคือ ตอนนี้มีอาจารย์ไม่มากนักที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับงาน community PT จริง ๆ อยากให้อาจารย์แต่ละแห่งเปิดโลกทัศน์ในเรื่องนี้มากขึ้น อยากให้ นศ.ปริญญาโท-เอกสนใจที่จะทำ thesis ด้านนี้มากขึ้น ซึ่งที่สำคัญคือ อาจารย์ต้องพาเขาทำ นั่นคือ อาจารย์ต้องมีประสบการณ์ก่อน

ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์น้อมจิตต์ ที่ได้ให้ข้อคิดดีๆ นะคะ เห็นด้วยกับอาจารย์อย่างยิ่งว่า เรายังมีอาจารย์ไม่มากนักที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับงาน community ซึ่งในจุดอ่อนนี้ต้องได้รับการพัฒนา เนื่องจากการผลิตนักกายภาพบำบัด ต้องสอดคล้องกับความต้องการของสังคม ปัจจุบันนี้สังคมไทยต้องการความเสมอภาคในการเข้าถึงบริการสุขภาพ โดยเฉพาะในชุมชน สปสช.กำลังสนับสนุนงานกายภาพบำบัดในชุมชนเป็นอย่างมาก และต้องการนักกายภาพบำบัดที่มีความรู้ในการทำงานร่วมกับชุมชน เราจะผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ในการทำงานชุมชนได้ดี อาจารย์ก็ต้องมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานกับชุมชนด้วย ปัจจุบันบุคลากรทางการแพทย์สาขาอื่น เขาได้รับการพัฒนาทางด้านนี้ไปมากแล้ว เราต้องปรับตัวและพัฒนาตัวเองกันอย่างมาก เพื่อการขับเคลื่อนงานทางด้านนี้ให้ก้าวหน้าต่อไป

กายภาพบำบัด คือสามารถเป็นแพทย็กายภาพบำบัดได้ใช้หรื่อไม่เป็นแบบเดี่ยวกับสหเวชศาสตร์กายภาพบำบัด และเทคนิคกานแพทย์กายภาพบำบัดไหม

เรียนคุณธนิตา

กายภาพบำบัดไม่ใช่แพทย์ค่ะ แต่เป็นหนึ่งในทีมสุขภาพที่มีบทบาทในด้านการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสภาพ โดยใช้วิธีการทางกายภาพ เช่น ความร้อน แสง เสียง การออกกำลังกาย การรักษาด้วยมือวิธีการต่างๆ โดยที่ไม่ใช้ยา ค่ะ กายภาพบำบัดก็ไม่ใช่เทคนิคการแพทย์ค่ะ เทคนิคการแพทย์ก็เป็นอีกวิชาชีพหนึ่งค่ะ โดยมากจะมีบทบาทในการตรวจ วินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการ จากสิ่งส่งตรวจต่างๆ เช่น เลือด ปัสสาวะ อุจาระ เสมหะ เป็นต้น ส่วนสหเวชศาสตร์ ส่วนใหญ่เราจะได้ยินเป็นคณะสหเวชศาสร์ คือเป็นคณะวิชาที่มีหลักสูตรในการผลิตบุคลากรข้างเคียงแพทย์ เช่น เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด รังสีเทคนิค เป็นต้นค่ะ แต่ไม่ใช่ผลิตแพทย์

สรุปคือ กายภาพบำบัด ไม่ใช่แพทย์ค่ะ สนใจเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ website ของสภากายภาพบำบัด www.pt.or.th

ปนดา

ปนดา

ผมเปงนักศึกษาจบใหม่ทำงานเปงนักกายภาพบำบัดชุมชน ต้องว่างแผนงานและโครงสร้างงานต่างๆมากมาย ตอนนี้เครียดมากเลยพราะอยากให้วิชาชีพเปงที่รู้จักเท่าที่จะทำได้

น้องเปงคะ ดีใจที่เปงเข้ามาเขียนใน blog นี้ อาจารย์ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ สู้ ๆ การทำงานในชุมชนต้องทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นเป็นทีม เราต้องผูกสัมพันธภาพที่ดีกับทุกวิชาชีพ ยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง เราทำดีไปเรื่อยๆ คนอื่นเขาก็จะเห็นเองว่าวิชาชีพเราดี สำคัญ มีอะไรเขาก็จะคิดถึงเรา ชวนเราเข้าร่วม ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน นะคะ การจะทำให้ผู้อื่นยอมรับเราต้องใช้เวลา อาจารย์ขอเป็นกำลังใจให้เปงนะคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ อาจารย์ดา ที่เคารพ

เพิ่งเจอ blog ของอาจารย์ ค่ะ เป็นลูกศิษย์เก่าของอาจารย์ จาก PT CMU รหัส 40 ค่ะ

อยากได้แนวทางการทำเชิงรุก งานกายภาพบำบัด ใน PCU ตามสถานีอนามัย หรือการทำโครงการร่วมกับองค์กรท้องถิ่น ค่ะ ขอช่วยตอบด้วยนะคะ จะรอค่ะ ขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนอีกคนหนึ่ง ซึ่งโรงพยาบาลแห่งนี้ค่อนข้างขาดแคลนบุคคลากรทางการแพทย์เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร ดังนั้นผู้บริหารส่วนใหญ่เป็นพยาบาลเค้าก็จะพิทักษ์เฉพาะผลประโยชน์ของตนมองยังไม่รอบด้านทำงานค่อนข้างลำบาก ขออัตรากำลังเพิ่มค่อนข้างยาก จึงอยากขอให้อาจารย์ช่วยผลักดันให้มีกรอบกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนด้วยค่ะ

การทำงานกับชุมชน เราต้องหาโอกาสออกไปพดคุยกับชาวบ้านบ้าง เพื่อดูวิถีชีวิตของเขาว่าเป็นอย่างไร อาจออกไปร่วมกับพยาบาลเยียมบ้าน หรือ พยาบาลเวชปฏิบัติก็ได้ หรือออกไปเยี่ยมพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ไปพูดคุยเกี่ยวกับระบบงานบ้าง เพื่อสร้างความสนิทสนม ไปเยี่ยมชาวบ้านบ้างเพื่อแสดงถึงความจริงใจที่เราอยากเข้าไปช่วยพัฒนาชุมชนขอเขา เรียนรู้ร่วมกันไปกับเขา ไปคุยกับอสม.บ้าง ดูว่าปัญหาสุขภาพเขามีอะไรบ้าง เขาอยากให้เราไปช่วยเรื่องอะไรบ้าง บางที่ถ้าเราไม่ออกไปยกับเขา คิดเอาเองอาจไม่สอดคล้องกับควาต้องการของชาวบ้นก็ได้

ดีใจที่เรามีช่องทางติดต่อกันทางนี้นะ

ปนดา

เรื่อกำลังคน และตำแหน่ง ทางคณะทำงานกำลังคน ของสภาฯกำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่อย่างจริงจัง ใจเย็นๆนะคะ ทำงานไปเรื่อยๆ พิสูจน์ให้ผอ.รู้ว่าเราก็ทำงานได้เยอะ มีผลงานเยอะ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ทำงานกับชาวบ้านได้ เข้าหาชาวบ้านมากๆ และเน้นการทำงานเป็นทีม ร่วมกับวิชาชีพอื่น โดยยึดประโยชน์ของผู้ป่วยและชาวบ้านเป็นสำคัญ อีกไม่นานเขาจะเห็นผลงนเราค่ะ

ปนดา

ขออภัยพิมพ์ผิดไปหน่อย พิมพ์อยู่ที่สนามบินค่ะ รีบร้อนไปหน่อยขอโทษนะคะ ต้องขึ้นเครื่องแล้วค่ะ

ปนดา

เด็กชุมชนอันไกลโพ้น

หนูเป็นนักศึกษาจบใหม่..ตอนนี้ได้งานแล้วที่ รพ.ชุมชน เป็นรพ.ที่ใฝ่ฝันด้วยค่ะ

แต่มีปัญหาตรงที่ว่าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง...ไม่เคยฝึกงาน รพ.ชุมชนเหมือนเพื่อนบางมหาวิทยาลัย..แต่ต้องเปิดแผนก จะเริ่มงานแล้ว..ยังงงกับชีวิตอยู่เลยค่ะ

ถามพี่ๆ เค้าก็บอกว่าต้องเขียนโครงการขอเปิดแผนกหลอคะ แล้วไอ้โครงการที่ว่าเนี่ยะ...ดูตามแบบฟอร์มโครงการอื่นๆได้หรือเปล่า แล้วหนูจะปรึกษาใครได้บ้าง...เพราะก็ไม่เคยเขียนโครงการอะไรมาก่อน

แต่เรื่องการเข้าหาคนในชุมชนนี่หนูทุ่มสุดตัวแน่นอน หนูมีปัญหาคือ..ไม่รู้จะเริ่มยังไงน่ะค่ะ แล้วจะไปในทิศทางยังไง แต่พออ่านๆคอมเม้นพี่ๆคนอื่นๆก็พอช่วยได้บ้างแต่ไม่กระจ่างเท่าที่ควร น่ะค่ะ ยังไง รบกวรให้คำปรึกษาหนูทีนะคะ เดี๋ยวจะเริ่มงานแล้ว..ต้องยุ่งแล้วก็หนักกว่านี้แน่นอน ตอนนี้หนูก็พยายามรวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดอยู่ค่ะ รบกวนปรึกษาด้วยคนนะคะ^ ^

น้อมจิตต์ นวลเนตร์

พอจะบอกได้ไหมคะว่าอยู่ที่ไหน หากไม่ไกลจะได้แวะไปหา หรือแนะให้คุยกับใครต่อไป ติดต่อกับพี่ทางนี้ก็ได้ หรือที่ [email protected] และ 08-1683-4018 อาจจะเร็วกว่า เพราะพี่ไม่ค่อยเข้า blog นี้บ่อยนัก ตอนนี้พี่ก็ปลีกเวลาจากงานประจำใน มข. ไปเป็นอาสาสมัคร PT ที่ PCU แห่งหนึ่งอยู่ พอจะมีอะไรแลกเปลี่ยนกันได้อยู่ในแง่ของการเริ่มงาน

จริง ๆ อยากขอแนะนำว่า พวกเราที่ post กันในนี้ บอกชื่อเสียงเรียงนามจริงกันเลยน่าจะดีกว่านะคะ เราไม่มีประเด็นอะไรคอขาดบาดตาย มีแต่เรื่องน่าคุยกันทั้งนั้น จะได้สื่อสารกันได้เร็วด้วย

เรียน อาจารย์น้อมจิตต์

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูมีปัญหาอยากจะเรียนปรึกษาอาจารย์เรื่องรถเข็นผู้พิการพอจะมีทางขอได้จากที่ไหนบ้างคะ เพราะว่าตอนนี้ผู้พิการในพื้นที่ที่ต้องการใช้มีปริมาณมากและงบประมาณที่มีไม่เพียงพอค่ะ ขอบพระคุณมากถ้าหากอาจารย์มรหนทางช่วยเหลือ

เท่าที่รู้คือ ต้องติดต่อศูนย์สิรินธรฯ และ สปสช.ค่ะ

แจ็ค...ตอนนี้หนูทำงานอยู่ที่ไหนคะ ถ้าอยู่ในขอนแก่น เรามีเครือข่าย PT ของจังหวัดเรานะ มีพี่นุ้ยที่ รพ.ขอนแก่น เป็นศูนย์กลาง จะมีการแบ่งปันข้อมูลและประสบการณ์อะไรกันเป็นระยะ ๆ เลย

หากมีอะไร post เข้าทาง webboard สภาฯ จะได้คำตอบเร็วและกว้างกว่าทางนี้ค่ะ พี่มักเข้าทางนู้นมากกว่า

เรียนคุณสุธาสิณี

เรื่องรถเข็น สปสช เขาน่าจะช่วยได้ ไม่ทราบว่าผู้พิการได้ขึ้นทะเบียนผู้พิการหรือยัง ถ้ายังควรต้องไปขึ้นทะเบียนก่อน นักสังคมสงเคราะห์ของรพ.ก็น่าจะช่วยประสานงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้ แต่ถ้าที่รพ.ที่ทำเกี่ยวกับเรื่องรถเข็น นอกจากศูนย์สิรินทรแล้ว เท่าที่อาจารย์ทราบก็มีที่รพ.จังหวัดแพร่ เขาก็ทำเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นจริงเป็นจัง รพ.สรรพสิทธิประสงค์ก็เช่นกัน และที่ขอนแก่นตามที่อาจารย์น้อมจิตต์แนะนำ ไม่ทราบว่าคุณทำงานที่ไหน ควรพยายามทำงานเชื่อมโยงภายในเครือข่ายจะได้เกิดการเชื่อมโยงงานกัน มากขึ้น แต่ถ้าจะหา best practice ก็ลองพิจารณาจากที่เขามีประสบการณ์ทำงานด้านนี้เยอะๆ ไม่เป็นต้องอยู่ในเครือข่าย ขอไปดูงานเขาก็ได้ จะได้นำมาประยุกต์กับระบบของเรา

ปนดา

สำหรับเด็กชุมชนอันไกลโพ้น

ไม่ทราบว่าทำอะไรไปถึงไหนแล้ว สิ่งที่จะแนะนำคือเราต้องคุญกับผู้อำนวยการด้วยว่าเขาคาดหวังเราอย่างไร ต้องการให้เราทำงานเชิงรุกหรือเชิงรับ มากน้อยแค่ไหน เน้นเรื่องไหน เราจะได้ลุยงานเราได้ถูกทิศทางตามนโยบายของรพ. ถ้าเขายังไม่เน้นเรื่องงานเชิงรุก เราก็เซ็ทแผนกไปก่อน พอลงตัวดีแล้วค่อยเปิดงานเชิงรุกมากขึ้นก็ได้ เพราะทำอะไรเราต้องทำต่อเนื่อง ถ้าทำๆหยุดๆ ก็อาจขาดความต่อเนื่อง ทำให้ไม่ได้ประสิทธิผลเท่าที่ควร ไม่ทราบว่าอยู่จังหวัดอะไร รพ.อะไรคะ อย่าลืมว่างานของเราควรทำงานเป็นทีม ถ้าว่างๆ ก็ไปคุยกับพยาบาลบ้าง จะได้ผูกสัมพันธ์กันไว้ก่อน เราจะได้เรียนรู้ระบบงานกับเขาด้วย

ปนดา

ตอนนี้ทางคณะทำงานมาตรฐานวิชาชีพฝ่ายมาตรฐาน  รพ  ชุมชนกำลังดำเนินการปรับปรุงและค้นทหาข้อมูลเพื่อน้องๆจะได้ทำงานได้คล่องตัวขึ้นกว่าเดิม

แต่ขอความร่วมมือกับทางน้องๆที่อยู่ชุมชนให้ความร่วมมือด้วยในกรณีที่มีการสอบถามข้อมูลไปครับ

ขอขอบคุณ

เด็กชุมชนอันไกลโพ้น

ก่อนอื่นก็ต้องขอบคุณ..อ.น้อมจิตต์และอ.ปนดา อย่างสูงค่ะ

รู้สึกอบอุ่นมากๆ สำหรับการมาโพสต์ข้อสงสัยต่างๆและได้รับคำตอบอย่างกระจ่าง...หนูรู้สึกอบอุ่นมากๆจริงๆค่ะ และพอที่จะจับทางได้แล้วว่าควรจะเริ่มยังไง หนูเก็บอีเมลล์ของอ.น้อมจิตต์และเบอร์โทรศัพท์ติดต่อของอาจารย์ไว้แล้วนะคะ ขอบพระคุณมากๆค่ะ...อย่างน้อยหนูก็ยังมีที่ปรึกษาอีกหลายๆคน

รวมถึงพี่ๆคนอื่นๆที่คอยให้คำปรึกษาอยู่ตลอด ตอนนี้หนูรวบรวมข้อมูลได้พอที่จะเผยแพร่งานกายภาพของเราได้แล้ว ให้ทุกคนได้รู้ว่าเราก็มีความสำคัญในทีม...

แต่หนูยอมรับว่ารู้สึกน้อยใจมาก...เวลาที่ไปเห็นบางเวบที่เค้าโพสต์ว่าเราว่าเราไม่มีความสำคัญในทีมเลย...(อาจจะเป็นเพราะเค้าไม่รู้จักบทบาทของเราหรือป่าว?)

คือตาม google นี่แล่ะค่ะ ซึ่งมันอาจจะทำให้บุคคลอื่นๆ เข้าใจเราผิดๆ แต่ตอนนี้ก็พยายามที่จะสู้เพื่องานของเราจะได้มีบทบาทมากขึ้น (คือหนูเห็นเพราะว่าหนูหาข้อมูล รพช.นี่แล่ะค่ะ บังเอิญเจอข้อความอันน่าสลด แต่ก็มาเจอบอร์ดนี้ด้วย ก็เลยรู้สึกดีใจ )

และอีกอย่างคือ...หนูไม่เข้าใจว่า รพช.ที่มีแพทย์แผนไทยนี่เค้าขึ้นตรงกับเราหรือป่าว(ตามภาษาหนูคือเราเป็นหัวหน้าเค้าอีกทีหนึ่งรึป่าว) พอดีเพื่อนหนูก็ไปเริ่มงานที่รพช.แห่งหนึ่งเค้ามีแผนกแพทย์แผนไทยด้วย แล้วฝ่ายทางนั้นเค้าก็มีเยอะกว่า..คือเพื่อนหนูไปหัวโด่อยู่คนเดียวน่ะค่ะ เลยรู้สึกว่าโดดเดี่ยวยังไงก็ไม่รู้ เป็นห่วงเพื่อนด้วย

เพราะว่าตอนแรกวันไปดู รพ.ก็เริ่มรู้สึกไม่ค่อยเป็นมิตรกันซักเท่าไหร่ แต่นั่นคงยังไม่ได้รู้จักกันแล้วเพื่อนหนูก็ใหม่กับที่นั่นด้วย จึงอยากขอคำแนะนำเรื่องนี้ด้วยน่ะค่ะ

อย่าถือสาหนูในเรื่องที่หนูถามตรงๆด้วยความไม่รู้และอยากทราบจากผู้ที่รู้จริงๆน่ะค่ะ เพราะหนูก็จะได้บอกต่อคนอื่นๆได้ เพราะ มีคนที่ยังไม่รู้อีกเยอะเลยล่ะค่ะ

หนูจะเข้ามาคุยด้วยบ่อยๆนะคะ PT ชุมชนจงเจริญค่า

เรียนพี่น้องชาวกายภาพบำบัดชุมชน

ดีใจค่ะ ที่ blog นี้ เป็นแหล่งเชื่อมโยงสัมพันธ์ในกลุ่ม PT ชุมชน ตาวัตถุประสงค์ ที่ได้ขออนุมัติจากสภาฯ ให้ทำ link บน web ของสภาฯ คณะทำงานกายภาพบำบัดชุมชนกำลังจัดทำร่างคูมือกายภาพบำบัดชุมชนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางแก่นักกายภาพบำบัด ที่กำลังจะเปิดงานกายภาพบำบัดในชุมชน น้องๆ อยากให้ในคู่มือมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไรบ้างก็เสนอมาได้ ผ่านช่องทางนี้นะคะ

สำหรับงานแพทย์แผนไทย เดี๋ยวนี้แพทย์แผนไทยเขาก็ต้องจบหลักสูตรปริญญาตรีแล้ว เขาคงไม่ได้ขึ้นตรงกับเรา แต่ก็ยังมีอีกมากที่ไม่ได้จบปริญญาตรี ซึ่งในแต่ละโรงพยาบาลก็มีการจัดการที่แตกต่างกัน แล้วแต่บริบทของแต่ละที่ บางแห่งนักกายภาพบำบัดก็ไปเรียนเรื่องแพทย์แผนไทยด้วยเขาก็ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในแผนกแพทย์แผนไทยด้วย บางแห่งก็มีส่วนเชื่อมโยงกันเสมือนเป็นหนึ่งในทีมสหสาขาฯ อย่างไรก็ตาม เราเข้าไปทำงานใหม่ๆ ศึกษาบริบทของรพ. และวัฒนธรมขององค์กรนั้นก่อน อย่าทำงานแบบลูบหน้าปาดจมูกคนอื่นเขา เพราะคงไม่มีใครชอบ (ตรงนี้คงต้องใช้วิจารณญาณ และสติ เพราะบางคนก็ทำโดยไม่รู้ตัว งานก็เลยมีปัญหาไปหมด) ทำงานตามระบบงานจะดีที่สุด ถ้าระบบมันไม่ดี ไม่มีประสิทธิภาพดีพอ ก็ค่อยๆ ทบทวนและปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของทีม และโดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ต้องใจเย็นๆ แล้วเราจะได้รู้ว่าเราควรจะวางตัวอย่างไร อย่างน้อยที่สุดเขาอาจจะยังไม่เห็นความสำคัญของเรา แต่อย่างน้อยเราก็มีสัมพันธภาพที่ดีกับเขา ทำงานไปเรื่อยๆ ให้เขาเห็นผลงาน เคารพในศักดิ์ศรีของกันและกัน เชื่อว่าเขาต้องเห็นบทบาทและความสำคัญของเราแน่นอน และเราก็คงจะเห็นบทบาทและความสำคัญของเขา เช่นกัน และเมื่อมีความเชื่อมโยงและการประสานงานที่ดี ประโยชน์สูงสุดก็จะตกอยู่กับ ผู้ป่วยและผู้รับบริการ

ปนดา

เด็กชุมชนอันไกลโพ้น

อยากให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับ

- รพช. ตั้งแต่ความหมายเลยก็ดีค่ะ แล้วก็ บทบาทหน้าที่ของกายภาพบำบัดในชุมชนทั้งต่อชุมชน ต่อ รพ.จังหวัด รวมถึง รพ.ศูนย์

- การร่วมทีมกับบุคลากรทางการแพทย์คนอื่นๆ (เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชน)

- แนวทางในการเขียน โครงการ ขอเปิดแผนกและจัดซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการรักษา

- อักษรย่อต่างๆ ที่เกี่ยวกับงานในชุมชนที่ควรจะรู้ เช่น CUP ,DHCC ฯลฯ

- ตัวอย่างงานกายภาพบำบัดในชุมชน

และที่ยังนึกไม่ออกอีกน่ะค่ะ

การที่มีคู่มือออกมาเป็นสิ่งที่ดีมากๆค่ะ

เป็นการดีที่ทำให้นอกจากเราจะได้เข้าใจงานได้ตรงกันเป็นความหมายเดียวกันมากขึ้น และเพื่อให้ประชาชนเข้าใจงานเรามากขึ้นด้วยค่ะ

แล้วหนูจะรออ่านคู่มือเล่มนี้นะคะ ขอขอบพระคุณผู้จัดทำคู่มือและร่างมาตรฐานวิชาชีพมากๆเลยค่ะ รวมทั้งสภากายภาพบำบัดด้วย

และก็ขอบพระคุณอ.ปนดา ที่ คอยแนะนำเรื่องราวต่างๆ มากมายค่ะ ดีจังเลย

PT จงเจริญ

ขอบคุณที่ให้ข้อมูลนะคะ อาจารย์จะนำข้อเสนอแนะไปพิจารณาในที่ประชุมคณะทำงานในอีก 2 วันข้างหน้าค่ะ และจะรีบจัดทำคู่มือนะคะ

ปนดา

เรียนอาจารย์ปนดา

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดที่เพิ่งจบแล้วตอนนี้ยังไม่มีงานทำ

หนูอยากทราบว่าบทบาทของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลศูนย์และบทบาทของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนมากเลยค่ะ

เนื่องจากหนูยังลังเลกับโรงพยาบาลที่จะสมัครนะค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยตอบหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

นักกายภาพ รพ. ชุมชน ทำงาน contact กับ สหสาขาวิชาชีพ โคกันหลายฝ่าย

ขึ้นกับนโยบายของ รพ. ส่วนมากจะทำงานเชิงรุก เข้าหาชุมชนเป็นหลัก

ชุมชนเป็นศูนย์กลาง ออกเยี่ยมชุมชน รพ.ชุมชนแบ่งออกเป็นหลายขนาด

สามสิบเตียง หกสิบเตียง เก้าสิบเตียง รักษาผู้ป่วยทั้งIPD OPD ฯลฯ รวมถึงการ ส่งเสริมป้องกันการรักษาฟื้นฟู ตามconcept ของงานเราน่ะนะ อย่างที่เรารู้ๆกันมา

กิจกรรมร่วมกับชุมชนจะเยอะหน่อย ทั้งนี้เป็นที่ตัวบุคคลด้วยว่าจะมีpowerแค่ไหน ถึงจะทำงาน รพ.ชุมชน เราก็ไม่ใช่ว่าจะไม่มีอะไรทำนะ มันอยู่ที่ว่าเราจะหาอะไรทำรึป่าว

งานของเราจะเป็นที่รู้จักมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับตัวเราเองว่าจะทำให้สาขาวิชาชีพอื่นๆเห็นศักยภาพและความสำคัญเราขนาดไหน ถ้าเราไม่ทำให้เค้าเห็น จะอยู่รพ.ใหญ่แค่ไหนก็ไม่มีความหมายค่ะ

ขอเพิ่มเติม ข้อมูลให้น้อง เรื่องนักกายภาพบำบัดรพ.ศูนย์ฯ จริงๆแล้วบทบาทของนักกายภาพบำบัดรพ.ศูนย์จะเน้นเรื่องการรักษา ฟื้นฟู โรคเฉพาะทาง เช่น Ortho Neuro Chest ฯ นักกายภาพบำบัดรพ.ศูนย์ฯ ถือว่าเป็นที่พึ่งพาสำหรับรพ.ลูกข่ายในเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยกับรพ.ทั่วไป และรพ.ชุมชน ในเครือข่ายเดียวกัน อาจมีการส่งต่อผู้ป่วยเพื่อรับการรักษาต่อได้ หรือช่วยในเรื่องอบรมวิชาการต่างๆ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารพ.ศูนย์จะไม่ทำงานส่งเสริมป้องกันหรืองานชุมชนนะคะ เขาก็ทำเหมือนกัน แต่อยู่ในเขตชุมชนที่รพ.ศูนย์นั้นรับผิดชอบ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชมชนเมือง

ปนดา

เรียนทุกท่าน

สำหรับคณะทำงานมาตรฐานวิชาชีพเขาได้ประชุมกัน เมื่อวันที่ 13-15 มีนาคม และมีมติให้มีการปรับปรุงร่างมาตรฐานวิชาชีพกายภาพบำบัด ซึ่งหมายกำหนดการคาดว่าจะเสร็จพร้อมประกาศใช้ภายในกลางปีหน้า เพราะร่างฉบับปี 2549 บางส่วนไม่ update แล้วแต่ถ้าใครจะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนามาตรฐานก็ใช้ร่างปี 49 ไปกอนได้ค่ะ ที่น่ายินดีสำหรับการปรับปรุงมาตรฐานกายภาพบำบัด คือคณะฯที่จะเข้ามาปรับปรุงร่างมาตรฐานชุดใหม่ได้เลือกนักกายภาพบำบัดจากทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นรพ.รัฐทุกระดับ เอกชน กทม ฯ ทั้งนี้เพื่อให้มาตรฐานนี้เป็นที่ยอมรับและใช้ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ

นอกจากนี้คณะฯยังไปซ้อมตรวจเยี่ยมรพ.อีก 2 แห่ง ด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ในการตรวเยี่ยม และเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงร่างมาตรฐานต่อไป

ปนดา

ขอบคุณอาจารย์ปนดาและพี่ PT รพช มากนะค่ะ

ที่ช่วยตอบข้อสงสัย

หวังว่าคราวหน้าหากหนูมีข้อสงสัยอะไรเพิ่มเติม

หรือมีข่าวสารเกี่ยวกับวิชาชีพของเราเพิ่มเติม

ก็จะนำมาแลกเปลี่ยนอีกนะค่ะ

ตอนนี้ เราอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับตำแหน่งกายภาพบำบัดในอบต. บทบาท PT ในอบต. ใครมีประสบการณ์ในการทำงานเป็นPT ในสังกัด อบต. ช่วยเล่าประสบการณ์ให้ฟังด้วย ถ้ามีปัญหา อุปสรรคอะไรจะเล่าด้วยก็ดีนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

มีเพื่อนทำที่ PCU ค่ะ ใช้ได้รึป่าว เด๋วหนูจะถามๆมาให้ค่ะ

คือ จะถามว่า ถ้าเราใช้อักษรย่อ ของเราเป็น กภ.ญ. (ใน ผู้หญิง) แล้ว กภ.บ.(ในผู้ชาย) นำหน้าชื่อนี้ได้หรือป่าวคะ เพื่อนๆฝากถามมาค่ะ อีกอย่างค้นในเว๊บก็เจอ

http://74.125.45.132/search?q=cache:pm3gsYaNFcEJ:writer.dek-d.com/MFLU/story/viewlongc.php%3Fid%3D469915%26chapter%3D18+%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%9A%E0%B8%B3%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%94&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th

ช่วยดูให้ด้วยนะคะ อาจารย์ ขอบคุณมากค่ะ อยากมีอักษรย่อนำหน้าชื่อบ้างน่ะค่ะ

ตอนนี้เชียงรายมีนักกายภาพบำบัดครบเกือบทุกอำเภอแล้วครับมี 15 อำเภอจาก 17 อำเภอครับ.....

นายแพทย์สสจ.และผู้อำนวยการแทบทุกโรงพยาบาลมองเห็นความสำคัญของพีทีครับ

ตอนนี้เรากำลังจะรวมกลุ่มกันจัดตั้งชมรมนักกายภาพบำบัดในจังหวัดกันครับ

เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความเข้มแข็งให้วิชาชีพกันครับ.....

ตอบ post ที่ 43 นะคะ

ได้ถามกรรมการสภากายภาพฯ ท่านหนึ่งเกี่ยวกับคำนำหน้าชื่อนักกายภาพบำบัดให้แล้วนะคะ เรื่องคำนำหน้า กภ.ญ. และ กภ.ช. เป็นเรื่องที่ทางสภาฯ เคยพิจารณากันอยู่ แต่ยังไม่สามารถนำมาใช้ได้ เพราะยังไม่ได้ออกเป็นกฎหมาย น้องเขียนถามเข้ามาก็ดีแล้ว อาจารย์ก็ได้ส่งข้อมูลเข้าไปแล้ว กรรมการท่านนี้จะนำเรื่องนี้เข้าหารือในสภาฯอีกครั้งค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

ยินดีกับนักกายภาพบำบัดในเชียงรายด้วยนะคะ ที่สามารถเข้าไปมีบทบาทในรพ.ชุมชนได้เกือบทุกแห่งแล้ว และยังจะจัดเป็นชมรมนักกายภาพบำบัดของจังหวัดอีก เห็นด้วยอย่างยิ่งเลยนะคะ เพราะจะได้มีการประสานงานที่ดี ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ เพราะเชื่อว่าคงมีนักกายภาพบำบัดจากรพ.ศูนย์หรือรพ.ทั่วไป รวมถึงรพ.เอกชน เข้าร่วมด้วย มีอะไรอยากให้ช่วยก็บอกนะคะ ยินดีด้วยค่ะ

ปนดา

ได้อ่านข้อความที่เพื่อนๆเขียนแล้วรู้สึกมีกำลังใจขึ้นมากเลยค่ะ ที่จะทำงานให้ได้ต่อไป เพราะบ้างครั้งก็รู้สึกท้อ เนื่องจากเป็น PT คนเดียวในโรงพยาบาลจิตเวช (เอกชน)ตอนนี้ยังไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไงดี ใครช่วยแนะนำหรือมีประสบการณ์ยินดีรับฟัง และขอบคุณมากเลยค่ะ

หนูเคยสอบถามไปยังราชบัณฑิตยสถาน พี่เค้าบอกว่าการมีคำนำหน้าชื่อไม่มีการตราเป็นกฏหมาย ซึ่งวิชาชีพอื่นก้สามารถใช้ได้เลยเพียงประกาศให้ประชาชนทราบด้วย หากพีทีมีคำนำหน้าชื่อก็ดีนะค่ะ

ได้ส่งข้อมูลเรื่องนี้คำนำหน้านี้ ไปให้กรรมการสภาฯ แล้วค่ะ

ปนดา

เรียนน้องพนิตา

ตอนนี้พี่ทำงานที่ รพศ พระนครศรีอยุธยา จากที่พี่ทราบมาน้องเป็นนักกายภาพบำบัดคนเดียวใน รพ ซึ่งข้อแตกต่างของน้องคือเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางจิตเวช แต่ในที่นี้เราไม่ได้หมายความว่าการทำกายภาพบำบัดทำเฉพาะ case ที่มีปัญหาทาง mental disorder เท่านั้น แต่เราต้องมองภาพในวงกว้างทำให้เป็นรูปแบบของการรักษาแบบholistic แต่พี่กลับมองว่านี่เป็นจุดเด่นที่น้องมีคือการที่เราเป็นนักกายภาพบำบัดคนเดียวเราต้องแสดงศักยภาพของเราที่มีให้ทางทีมงานและทีมของผู้บริหารได้เห็นว่าเราสามารถทำได้เขาจะได้มองเห็นคุณค่าของตัวเรา

ตั้งใจทำงานและสู้ๆปัญหาเหล่านี้พี่เคยเผชิญมาก่อนพี่เห็นใจคนที่เริ่มทำงานใหม่ถ้ามีปัญหาอะไรให้ช่วยเหลือโทรหาพี่ได้ที่ 087-0873940

ขอบคุณ คุณอมรที่ช่วยให้ข้อเสนอแนะ และยังให้เบอร์โทรศัพท์น้องพนิดา ด้วยเผื่อมีข้อสงสัย พี่อมรเขาใจดีมาก น้องปรึกษาพี่เขาได้นะคะ

ปนดา

กายภาพบำบัดน่าจะเรียนห้าปีนะครับ เพราะเนื้อหาวิชาแน่นมากเกินไปในระยะเวลาเพียงสี่ปี และทราบมาว่าเภสัชจะปรับเปงหกปีนะครับ อย่าผมนะครับผมแค่เสนอความคิดเหน

เรื่องการปรับหลักสูตรปริญญาตรีจาก 4 ปี เป็น 5 ปี เป็นเรื่องที่น่าจะเคยมีการพูดคุยกันในหมู่ผู้ผลิต แต่คิดว่าแนวทางนี้คงเป็นไปได้ยาก เพราะถ้าจะเปลี่ยนต้องเป็นการลงความเห็นร่วมกันระหว่างสภาฯและสถาบันผู้ผลิตอีก 15 แห่ง จริงๆ เนื้อหาที่เราต้องเรียนมันเยอะมากจริงๆ แต่ถ้าเราปรับเป็น 5 ปี คงไม่ค่อยทันใช้งาน ไม่สอดคล้องกับความต้องการของชาติ ประเทศเรายังต้องการนักกายภาพบำบัดจำนวนมาก และเรามีการสูญเสียนักกายภาพบำบัดออกจากภาครัฐบริการไปมากพอสมควร (ไม่ใช่ว่าทุกคนจบแล้วจะเป็นนักกายภาพฯ)ดังนั้นเราจึงต้องมีหลักสูตรหลังปริญญา เช่น Postgrad Diploma, Master degree, PhD เพื่อศึกษาต่อเพิ่มเติมความรู้ และนักกายภาพบำบัดยังสามารถความรู้จากการอบรมระยะสั้น ซึ่งมีจัดอยู่อย่างสม่ำเสมอในประเทศ จริงๆ เมื่อเทียบต่างประเทศเราก็ไม่ได้เรียนน้อยหรือมากไปกว่าเขา และบางประเทศยังใช้เวลาเรียนน้อยปีกว่าเราอีก บางประเทศเรียน 3 ปีด้วยซ้ำ แต่ต่างประเทศระบบการศึกษาเขายืดหยุ่นกว่าเรา บางประเทศอย่างอเมริกา นักศึกษาต้องทยอยเก็บรายวิชาพื้นฐาน (Basic sciences) ก่อนโดยที่ยังไม่เข้าหลักสูตร พอเข้าหลักสูตรจริงๆเขาก็เรียนเนื้อหาทางกายภาพฯได้เลย แต่ของเรารวม basic sciences และ general education เข้าไปอีก จึงดูว่าราไม่ค่อยมีเวลาพอที่จะเรียนเนื้อหาทาง PT

ปดา

นักกายภาพบำบัดภูธร

เรียนอาจารน์ปนดา และพี่ๆกายภาพบำบัดทุกคน ผมเพิ่งเปิดแผนกใหม่ในโรงพยาบาลชุมชน แต่มีขอสังสัยเรื่องอัตราค่ารักษาทางกายภาพบำบัดเพื่อใช้ในการอ้างอิง เนื่องจากมีรุ่นพี่บ้างท่านแนะนำให้ใช้ประกาศกระทรวงปี 47 โดยให้เหตุผลว่าได้รับการรับรองจากกรมบัญชีกลาง ในขณะที่รุ่นพี่บางคนแนะนำให้ใช้ประกาศปี 49 เพราะเป็นของสภาแต่กรมบัญชีกลางไม่อนุมติ ผมควรจะยึดประกาศใดเป็นที่อ้างอิงครับ หากท่านใดมีเอกสารที่เกี่ยวข้องกรุณณาส่งให้ด้วยจะขอบพระคุณล่วงหน้า [email protected] ขอบคุนครับ

เรียนทุกท่านและน้องพนิดา

ในเรื่องของการรักษาผู้ป่วยทางจิตเวชนะครับ ขอเสนอความคิดเห็น คือการใช้หลัก Holistic approach ร่วมกับทีม และใช้alternative rehabilitation อาทิ ใช้ sport ,music or rhythmic, recreations ต่างๆ การใช้ circuits exs , functional exs... mirror exs,,,เป็นต้น

เรียนน้องกายภาพบำบัดภูธร

อาจารย์ได้ forward คำถามไปให้พี่จิตรา นักกายภาพบำบัดที่มีประสบการณ์ทำงานทางด้านการคิดค่ารักษาทาง PT แล้ว คิดว่าอีกไม่นาน พี่เขาจะให้คำตอบนะคะ

ขอบคุณที่เข้ามาพูดคุยกันนะคะ มีปัญหาอะไรก็ถามมาได้อีกนะคะ อาจารย์เข้าใจว่าเปิดแผนกใหม่งานคงจะยุ่งพอสมควร อาจารย์คงไม่รู้ทุกเรื่อง แต่พอจะเชื่อมไปหาผู้รู้ได้บ้างค่ะ

ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ ในฐานะที่น้องจะเปิดแผนกกายภาพบำบัด นอกเหนือจากเรื่องค่ารักษาทางกายภาพฯแล้ว น้องอยากทราบข้อมูลเรื่องอะไรอีก เพราะคณะทำงานพัฒนามาตรฐานรพ.ชุมชน จะได้นำไปจัดทำคู่มือให้ค่ะ

ปนดา

ข้อเสนอและพิจารณา เรื่องการต่อใบประกอบวิชาชีพอยากให้ทางสภากายภาพบำบัดพิจารณาเปิดศูนย์วิทยบริการตามต่างหวัดในแต่ละภูมิภาค เช่น ภาคอิสานอาจจะเป็นขอนแก่น หรือนครราชสีมา เป็นต้น เนื่องจากมีนักกายภาพบำบัดจำนวนไม่น้อยที่ทำงานต่างจังหวัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนไม่มีความสะดวกในเรื่องการเดินทาง ที่พัก และต้องเดินทางไปประกอบนิติกรรมดังกล่าวที่กรุงเทพฯ

 

นักกายภาพบำบัดภูธร

ขอบคุณอาจารย์ปนดาเป็งอย่างสูงที่ช่วยให้คำแนะนำในเรื่องอัตราค่าบริการ

เรียนน้องเอโดคาว่า

การเปดศูนย์วิทยบิการตามต่างจังหวัดในแต่ละภูมิภาค เป็นความคิดที่ดี และเป็นแนวทางในอนาคตที่สภาฯน่าจะรับไว้พิจารณา แต่ตอนนี้เท่าที่ทราบสภาฯกำลังเร่งพัฒนาเรื่องศูนย์การศึกษาต่อเนื่องทางกายภาพบำบัดอยู่ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อตรงนี้ settle ดีแล้ว การเปิดศูนย์วิทยบริการในต่างจังหวัดตามภูมิภาคต่างๆ น่าจะเป็น step ต่อไปค่ะ

ปนดา

เรียนน้องกายภาพบำบัดภูธร

ยินดีค่ะ พี่หวังว่าคุณจิตราจะตอบคำถามของน้องในเร็ววัน ได้ข้อมูลแล้วเข้ามาเล่าให้ฟังบ้างนะคะ

ปนดา

กายภาพโขงเจียมค่ะ

รบกวนด้วยอีกแรงนะคะ หนูกำลังต้องการค่ารักษา รหัส หัตถการต่างๆ พร้อมแหล่งอ้างอิงด้วยค่ะ จะคีย์ข้อมูลลงระบบ LAN ค่ะ และขออนุมัติค่ารักษาจากท่านผอ.รพ. ตอนนี้วางแผนเตรียมจะรับcase OPD พี่คนไหนพอจะมีไฟล์แผ่นพับเรื่อง การดูแลผู้ป่วย TB lung ,COPD ในทางวิชาชีพเราขอความกรุณาช่วยส่งไฟล์ให้หนูด้วยนะค๊า คือหนูก็พอมีข้อมูลอยู่บ้างแต่อยากได้หลายๆไอเดียค่ะ เพื่องานจะได้ออกมาดี เพราะที่นี่นอกจากเทรนด์เบาหวานแล้วยังมี TB lung และ COPD เทรนด์นี้มาแรงมากค่ะ ที่โขงเจียม

และอยากจะบอกว่าที่อุบลพี่ๆดูแลดีมากๆค่ะ ไม่เกี่ยงว่าจะมาจากสถาบันไหนจริงๆ เราช่วยๆกันเพื่อพัฒนาวิชาชีพค่ะ กายภาพบำบัดสู้ๆค่า^ ^

หนูรักกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ ^ ^เย้ๆ(ใครพอมีไฟล์แผ่นพับเหลือๆช่วยส่งต่อให้หนูด้วยนะคะ ....... e-mail--> [email protected] ขอบพระคุณอย่างสูงล่วงหน้าค่ะ)

เรียนคุณกายภาพโขงเจียม

เดี๋ยวขอเวลาผมก่อนนะครับ

สำหรับfileแผ่นพับรู้สึกว่ามีแต่ขอเวลาในการค้นหาก่อนนะครับไม่ทราบว่าเก็บไว้ที่Folderไหนครับ

รับรองว่าถ้าเจอแล้วเดี๋ยวส่งให้ครับ

นักกายภาพบำบัดภูธร

ที่จังหวัดอุบลราชธานีพีทีเปิดแผนกใหม่จะได้รับการฝึกงานด้านการบริหารงานทางกายภาพบำบัด ได้เจอเพื่อนๆจบใหม่เปิดแผนกเปงสิบกว่าคนบรรยากาศดีมากดูมีพลังและความสามาคคีแม้จะมาจากหลายสภาบันแต่เรามีเลือดสีชมพูเหมือนกาน ตอนนี้ครายทำงานอารายไปก้อจะส่งเมลล์ถึงเพื่อนอีกสิบกว่าคนเปงอารายที่ดีมาก แต่บ้างแห่งเพื่อนโดดรังแกจากวิชาชีพที่มีการรักษาทางคล้ายคลึงกันก้อมีเนื่องจากอยู่มานานกว่า ดังนั้นจึงอยากเรียนถามว่าโครงสร้างองค์ที่ถูกต้องของงานกายภาพบำบัด เราควรจะยืนนะจุดไหนของโรงพยาบาลเพระที่ละที่แตกต่างกันเสียเลยเกิน เปงกะลังใจให้เพื่อนๆทุกคนนะ(ตอนนี้ยังไม่ได้รับขอมูลค่ารักษาเลยเพื่อนทุกคนก้อเราคำตอบอยู่นะครับพี่ๆ)

เป็นคนหนึ่งที่ทำงานในชุมชน มารายงานตัวครับผม

กายภาพโขงเจียมค่ะ

ขอบพระคุณพี่อมรล่วงหน้าค่ะ หนูจะได้ส่งไฟล์ให้เพื่อนคนอื่นๆต่อด้วยค่ะ อย่างที่นักกายภาพบำบัดภูธรเค้าว่าไว้ เราอยู่ทีมเดียวกันค่ะ^ ^

แลดูอบอุ่นดีจังเลยนะคะ

กายภาพโขงเจียมค่ะ

อ้อ สำหรับเรื่องค่ารักษา เรียบร้อยแล้วค่ะ ด้วยความอนุเคราะห์จากพี่ๆและเพื่อน ๆ ตอนนี้กำลังยื่นอนุมัติจากท่าน ผอ.ของรพ.ค่ะ เหลือแค่ไฟล์แผ่นพับ ค่ะ(เพิ่มอีกอันคือ สตรีมีครรภ์ด้วยนะคะ ใครมีพอจะบริจาคได้ ก็ ขอความอนุเคราะห์)

นักกายภาพบำบัดภูธร

ตอนนี้กะลังทำ service profile ถึงหัวข้ออัตรากำลังของงานกายภาพบำบัด อยากทราบว่ากระทรวงสาสุขได้มีการกำหนดอัตรากำลังนักกายภาพบำบัดในรพ.ชุมชนหรือป่าวจะได้เอาข้อมูลมาอ้างอิงในการเขียนได้ ขอบคุนพีทีที่ท่านที่มีความเปงหนึ่งเดียวกัน (กายภาพบำบัดต้องเป็นหนึ่งเดียวกัน เหมือนดวงตะวันที่มีดวงเดียว)

โดยส่วนตัวเห็นว่า กายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากและขอเป็นกำลังใจให้นักกายภาพบำบัดที่ปฏิบัติงานในชุมชนด้วยค่ะ แต่อยากจะขอเพิ่มเติมเล็กน้อยเกี่ยวกับนักศึกษากายภาพบำบัดที่ฝึกงาน อยากจะขอให้สถาบันการศึกษาเพิ่ม/เน้นการฝึกงานในโรงพยาบาลชุมชนหรือมีวิชาที่เรียนในชุมชนให้มากขึ้น เพราะถ้าได้ทำงานโรงพยาบาลชุมชนจริง จะได้เข้าใจและทราบบทบาทของกายภาพบำบัดที่แท้จริงค่ะ

เรียนพี่น้องชาว PT

เรื่องอัตรากำลังของงานกายภาพบำบัด เท่าที่ทราบ กระทรวงได้วางมาตรฐาน ด้านอัตรากำลังไว้ ดังนี้

นักกายภาพบำบัด 1 คน สามารถดูแลผู้ป่วยโดยเฉลี่ยได้ประมาณ 15 คน แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยเฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด สามารถดูแลผู้ป่วยได้ดังนี้

ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 15 คน

ผู้ป่วยโรคระบบประสาท 10 คน

ผู้ป่วยโรคระบบางเดินหายใจและหัวใจ 12 คน

ผู้ป่วยทางด้านฟื้นฟูสภาพ 10 คน

ปนดา

เรื่องการส่งนิสิตหรือนักศึกษากายภาพบำบัดไปฝึกงานที่รพ.ชุมชน เขื่อว่าสถาบันผู้ผลิตส่วนใหญ่ก็มีนโยบายที่จะส่งไปฝึกอยู่แล้ว แต่เขาก็มีเกณฑ์ในการพิจารณาแหล่งฝึกที่เหมาะสำหรับส่งนิสิตไปฝึกงานด้วย 1ในเกณฑ์นั้นก็คือ ประสบการณ์การทำงานของนักกายภาพบำบัดที่จะเป็น clinical instrutor หรือครูคลินิก นอกจากนั้นเขาก็ต้องไปเยี่ยมแหล่งฝึก เพื่อสำรวจความพร้อมของแหล่งฝึกด้วย ปัจจุบันก็มีการส่งไปฝึกงานในรพ.ชุมชนมากขึ้น

ปนดา

สวัสดีค่ะ ตอนนี้เป็นนักกายภาพบำบัดอยู่ที่ร.พ.ศูนย์วิจัยศึกษาและบำบัดโรคมะเร็ง สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ โดยอยู่ในส่วนของศูนย์ส่งเสริมคุณภาพชีวิตค่ะ โดยจะมีหน้าที่ในการออกเยี่ยมผู้ป่วยในชุมชน ซึ่งคิดว่ายังมีประสบการณ์น้อยอยู่มาก ถ้าหากมีพี่ กายภาพ ท่านใดมีข้อแนะนำในเรื่องบทบาทหน้าที่ช่วยกรุณาแนะนำด้วยค่ะ ที่ [email protected] ค่ะ หรือหากมีความเคลื่อนไหวในการอบรมด้านนี้กรุณาแนะนำด้วยค่ะ

พี่จิตราฝากตอบคำถามเรื่องค่าบริการทางกายภาพบำบัด

ขอตอบคำถาม โดยเล่าความเป็นมาดังนี้ นะคะ

1. ในอดีต กระทรวงสาธารณสุข ได้เคยกำหนดอัตราค่าบริการไว้ เท่าที่ทราบ 2 ครั้ง คือ

A. อัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2537 (เล่มสีน้ำเงิน)

B. อัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2547 (เล่มสีชมภู บางคนก็ว่าเล่มแดง)

2. กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ให้บริการ (Provider) แต่กรมบัญชีกลางเป็นผู้ซื้อบริการ (purchaser) ให้กับข้าราชการ/ลูกจ้างประจำของหน่วยราชการและครอบครัว

ในอดีต โดยเฉพาะ การตั้งอัตราค่ารักษาตาม A. กรมบัญชีกลางยอมจ่ายให้ทั้งหมดตามที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ

แต่พอสถานบริการตั้งอัตราค่ารักษาตาม B. กรมบัญชีกลางไม่ยอมจ่ายตามที่สถานพยาบาลเรียกเก็บ

3. ดังนั้น กรมบัญชีกลาง จึงไปทำ

C. อัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ ตามประกาศกระทรวงการคลัง ลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549 โดยประกาศใช้บังคับตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2549

แต่สถานพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ยอมใช้อัตราของกรมบัญชีกลาง ......

ในเดือน กรกฎาคม 2549 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายพินิจ จารุสมบัติ ได้เชิญอธิบดีกรมบัญชีกลางและผู้อำนวยการสถานพยาบาลต่าง ๆ ทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งอธิบดีกรมการแพทย์ (นายแพทย์ชาตรี บานชื่น) เข้าประชุมหารือเพื่อหาข้อสรุป ได้ข้อสรุปว่า

ให้อธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธานคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับสำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ในสถานพยาบาลของทางราชการ เฉพาะแพทย์แผนปัจจุบัน และให้น.พ.วิชัย โชควิวัฒน์ อธิบดีกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

เป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาหาข้อสรุปอัตราค่าบริการสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับสำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ในสถานพยาบาลของทางราชการ เฉพาะแพทย์แผนไทย ทั้งนี้ ให้แล้วเสร็จ ก่อนวันที่ 1 ธันวาคม 2549

ในส่วนของอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัด ตามประกาศของกรมบัญชีกลาง จะอยู่ในหมวด 14 ซึ่งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาหาข้อสรุปอัตราค่าบริการ

สาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับสำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ แพทย์แผนปัจจุบัน ได้ประสานให้สภากายภาพบำบัดทำการ

ศึกษาต้นทุนกิจกรรม แล้วส่งให้กรมบัญชีกลางพิจารณา แต่ปรากฎว่า

ในการประกาศกระทรวงการคลัง ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 เรื่อง อัตราค่าบริการสาสาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล

ในสถานพยาบาลของทางราชการ (D.) ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2549 ไม่ประกาศหมวด 14 แต่ได้เขียนข้อความในข้อ 5 หน้า จ.

ว่า "สำหรับค่าใช้จ่ายในหมวดที่ 8 ด้านค่าบริการรังสีรักษา หมวดที่ 14 และ 15 จะประกาศ อัตราและหลักเกณฑ์ที่กำหนดให้ทราบต่อไป....."

และมีข้อความในข้อ 2 หน้า ง. ว่า ".......สำหรับค่าบริการรายการใดที่มีความจำเป็นต้องใช้ในการบำบัดรักษาแต่ไม่อยู่ในรายการที่กระทรวงการคลัง

กำหนด ให้เบิกจ่าย ดังนี้

2.1 รายการใดที่สามารถเทียบเคียงกับรายการที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ให้เบิกในอัตราค่าบริการรายการที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน

2.2 รายการใดที่ไม่สามารถเทียบรายการที่มีลักษระใกล้เคียงได้ ให้เบิกตามอัตราที่สถานพยาบาลเรียกเก็บในปี 2548 และดำเนินการตามที่

กระทรวงการคลังกำหนด"

ดังนั้น ในส่วนของอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัด ซึ่งยังไม่ได้ประกาศใช้ ก็อนุโลมเข้าข้อ 2.2 ได้

ในส่วนของรพ. ซึ่งเพิ่งเปิดแผนกใหม่ ก็ควรปรึกษาผู้อำนวยการ รพ. หรือสอบถามอัตราที่ PT ในรพ. ศูนย์ รพ.ทั่วไป ของจังหวัดนั้นใช้อยู่

แล้วรพ. ชุมชน ก็ใช้อัตราตามนั้น เนื่องจากขณะนี้ ยังไม่มีประกาศของกรมบัญชีกลางในหมวด 14 อัตราเบิกจ่ายค่ารักษาทางกายภาพบำบัดที่กรมบัญชีกลาง

จ่ายจึงมีมากกว่าหนึ่งอัตรา

จึงเรียนมาเพื่อทราบ

จิตรา

นักกายภาพบำบัดภูธร

ขอบคุนพี่จิตรามากนะครับที่กรุณาให้ข้อมูลค่ารักษาทางพีที

ขอเสนอความคิดเห็นครับ ทุกวันนี้ในชุมชนยังขาดนักกายภาพบำบัดอีกมาก จึงอยากให้สถาบันมีการปลูกฝังทัศนคติน้องๆในเรื่องการทำงานเชิงรุกในชุมชน/ชนบท ให้มากๆ เพราะคนพิการในชนบทยังรอความช่วยเหลืออยู่อีกมาก  

จะพยายามรวบรวม ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสถาบันผู้ผลิต ส่งให้ผู้กเยวข้องให้ค่ะ ใครมีความคิดเห็น ความห่วงใย ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ไหมคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ

ขอแนะนำตัวก่อนนะค่ะ เป็นนักกายภาพบำบัดในศูนย์การศึกษาพิเศษค่ะ ก็ฟื้นฟูเด็กพิการเป็นหลัก ทั้งในแล้วก็นอกสถานที่ ก็เลยน่าจะมีส่วนของชุมชนด้วย พอดีเพื่อนชักจูงมาเข้าบล๊อกนี้ เข้าทางเลย วันนี้ขอแนะนำตัวก่อน วันหลังจะเข้ามาปรึกษานะค่ะอาจารย์

ขอบคุณค่า

เป็นกายภาพบำบัด รพช. อีกหนึ่งคนค่ะ วันนี้เข้ามาแนะนำตัวค่ะ

ยินดีต้อนรับ น้องหนึ่ง กับ PT บ้านแพ

ดีใจที่เข้ามาแนะนำตัวนะคะ ก่อนอื่นขอประชาสัมพันธ์หน่อย คือ ถ้าใครต้องการเอกสาร ข้อมูลและสื่อเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ขอมาได้นะคะ จะยินดีส่งไปให้ มี CD สื่อ power point เรื่องพิษภัยบุหรี่ และวิธีการลดละเลิกบุหรี่, วิดิทัศน์ เรื่องชาวชนบทงดบุหรี่, CD เป็น สปอตเพลง,วิทยุ อื่นๆ

และอาจารย์ผกาวลีกำลังรับสมัครผู้สนใจเข้าอบรม เรื่องการลดละเลิกบุหรี่ และมีวิชาการทาง PT ด้วย ในช่วงเดือนกรกฎาคม ที่ม.เช็นหลุยส์ ไม่เสียค่าลงทะเบียน สนใจก็บอกกันนะคะ

ปนดา

หมอกายภาพบำบัดผู้น่ารัก

ผมมีความสนใจอยากได้สื่อและเทคนิคการเลิกบุหรี่ทางกายภาพบำบัดมากเลยครับ ขอความกรุณาจัดส่งถึง คุณกิตติ สมบรรดา หัวหน้างานกายภาพบำบัดและแพทย์แผนไทย กลุ่มงานเวชปฎิบัติครอบครัวและชุมชน 86 ถนนแจ้งสนิท ตำบลเขื่องใน โรงพยาบาลเขื่องใน จังหวัดอุบลาชธานี ขอขอบพระคุนครับ

อยากเรียนถามเรื่องโครงสร้างองค์กรว่างานกายภาพบำบัด รพชฬควรขึ้นตรงต่อฝ่ายงานใดตอนนี้หลายที่ต่างกานและบ้างที่กะลังมีปัญหา จิงๆนะครับ

แล้วจะรีบจัดส่งให้นะคะ เรื่องโครงสร้างองค์กร กำลังถามผู้รู้ให้อยู่ค่ะ

ปนดา

นักกายภาพบำบัดภูธร

จากการสอบถามจากหลายๆโรงพยาบาลชุมชนพบว่า งานกายภาพบำบัดขึ้นตรงต่อหน่วยงานดังต่อไปนี้

1.องค์กรแพทย์(ผอ.)

2.กลุ่มงานบริการทางการแพทย์

3.กลุ่มงานเทคนิคบริการ

4.กลุ่มงานชันสูตร

5.กลุ่มการพยาบาล

6.กลุ่มงานเวชปฏิบัติครอบครัวและชุมชน

7.กลุ่มงานเภสัชกรรมและคุมครองผู้บริโภค

บ้างแห่งสามารถทำงานได้อย่างราบเรียบ แต่หลายแห่งมีปัญหาด้านการบริหารจัดการและความคล่องตัวในการปฏิบัติงานเป็นอย่างมาก ดังนั้นจึงอยากให้คณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับงานกกายถาพบำบัดชุมชนได้มีการกำนหดโครงสร้างดังกล่าวให้มีความชัดเจนเป็นแนวทางเดียวกันด้วยครับ ขอขอบพระคุณ และจะรอฟังข่าวดีนะครับ

กายภาพโขงเจียมค่ะ

รบกวนจัดส่งเผื่อมาทางนี้ด้วยนะคะ

กำลังแพลนเรื่องจัดทำโครงการ จัดรายการวิทยุชุมชน ในส่วนของกายภาพร่วมกับ รพช.ใกล้เคียงค่ะ น่าจะเป็นการดีหากมีเรื่องเลิกบุหรี่มาเผยแพร่

รบกวนจัดส่งมาที่

นางสาวธนพร แก้วบริบัตร นักกายภาพบำบัด

277 หมู่ที่ 2 ถ.พิบูล-โขงเจียม ต.โขงเจียม

อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี 34220

ขอบพระคุณอย่างสูง(ล่วงหน้า)

เรีนคุณธนพร และคุณกิตติ

พรุ่งนี้จะรีบจัดเอกสารและ CD ไปให้นะคะ รอรับได้เลยค่ะ ไม่ทราบว่ามีใครอยากได้สื่อเกี่ยวกับบุหรี่อีกไหมค่ะ ยังมีโอกาสนะคะสำหรับการจัดส่งรอบแรกจะเป็นวันที่ 9 มิ.ย.นี้ ถ้าใครอยากได้ ส่งชื่อที่อยู่มาด่วนค่ะ จะได้ทันใช้งาน

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

ณัฐญาดา ชาติประเสริฐ

รบกวนขอแนวทางการจัดทำขออัตรากำลังเพิ่มด้วยค่ะ

เพราะทางหน่วยงานต้องการทราบแบบที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

รบกวนขอเสนอแนะเรื่องอัตรากำลังที่ทางสภาได้จัดทำไว้ค่ะ เพราะว่าอยู่โรงพยาบาลชุมชนเครื่องมือไม่ได้มีเยอะแยะเหมือนโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลศูนย์การดูคนไข้ในปริมาณดังกล่าวเป็นงานที่หนักมาก ไม่มีเวลาประชุมหรือทำงานเอกสาร หรือแม้กระทั่งไม่มีเวลาอบรมทักษะพัฒนาวิชาชีพเลย อยากจะให้ทำการสำรวจจัดทำใหม่อีกรอบ อาจจะยึดที่ว่ามีเครื่องมือเท่าไหนทำได้แค่ไหนก็ได้ค่ะ เพราะตอนนี้ที่โรงพยาบาลมีเครื่องดึงหลัง อัลตราซาวด์ กระตุ้นกล้ามเนื้อ แผ่นร้อน คนไข้ราววันล่ะ 15 คน ผู้ช่วยหนึ่งคน เหนื่อยมากค่ะ

เรื่องมาตรฐานอัตรากำลังที่ได้ให้ข้อมูลไว้ที่ post ที่ 69 เป็นมาตรฐานของกระทรวงที่อาจารย์มีล่าสุด ซึ่งจะถามผศ.ดร.ประภาส อีกทีว่าข้อมูลนี้ update สุดหรือยัง แต่ถ้าถามข้อมูลที่ระบุไว้ใน(ร่าง)มาตรฐานกายภาพบำบัด ณ ขณะนี้ซึ่ง

ยังสามารถปรับเปลี่ยนได้อยู่ เพราะยังเป็นแค่เพียงร่าง เป็นดังนี้

นักกายภาพบำบัด 1 คน สามารถดูแลผู้ป่วยโดยเฉลี่ยได้ 10-15 คน แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยเฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด สามารถดูแลผู้ป่วยได้ดังนี้

ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ 12-15 คน

ผู้ป่วยโรคระบบประสาท 6-10 คน

ผู้ป่วยโรคระบบางเดินหายใจและหัวใจ 10-12 คน

ซึ่งกรรมการบางคนก็มีความเห็นว่าจำนวนผู้ป่วยยังมากไปต่อ PT 1 คน ซึ่งก็ต้องมีการทบทวนกันอีกที แต่การจะบอกว่าควรเป็นเท่าไร ก็คงต้องพิจารณาจากข้อมูลจากหลายๆแหล่ง อยากให้พี่น้องชาว PT ช่วยกันเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วยก็จะดีค่ะ

นักกายภาพบำบัดภูธร

ตอนนี้ผมได้รับสื่อการสอนเรื่องเลิกบุหรี่แล้วครับขอบคุนอาจารย์มากนะครับ

สวัสดี PT ชุมชนทุกท่าน

เป็นอีกคนหนึ่งที่ทำงานชุมชนเหมือนกันนะคะ ทำงานมา 7 ปีแล้วค่ะ รู้สึกว่าเราเป็นวิชาชีพที่กรรมเยอะมากนะคะ (กรรม คือ การกระทำ) พวกเราจงทำกรรมเยอะๆนะคะ (กรรมที่ดี) เราจะมีความสุขเองค่ะ สู้ๆนะคะทุกคน จาก คนภาษาเดียวกัน

เรียนทุกท่าน

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2552 อาจารย์ได้ไปประชุมร่วมกับสปสช.เกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัดในระบบบริการปฐมภูมิ เพื่อหาแนวทางในการสร้าง needs ในรพ.ชุมชน เพื่อเขาจะได้จ้างนักกายภาพบำบัดในรพ.ชุมชนมากขึ้น ปัจจุบันนักกายภาพบำบัดในรพ.ชุมชนมีมากเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน แต่ยังมีรพ.ชุมชนอีกจำนวนมากในภาคตะวันตก ภาคใต้ ภาคตะวันออก ที่ยังไม่มีนักกายภาพบำบัด ในรพ.ชุมชนที่มีนักกายภาพบำบัดอยู่แล้วก็คงยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องการเพิ่มขึ้นอีก แต่ก็ไม่น่าห่วงเท่าที่ๆไม่มีนักกายภาพบำบัดเลย เพราะถ้าเขาเริ่มมีการจ้างนักกายภาพบำบัด เชื่อว่าเขาจะอยากจ้างเพิ่ม แต่ในที่ๆไม่มีนักกายภาพบำบัดทำอย่างไรจะให้เขาเริ่มจ้าง สปสช.เขารับว่าจะเข้าไปช่วยผลักดันให้เกิดการจ้างงาน PT มากขึ้น อย่างไรก็ตามเราก็ต้องแสดงให้เขา(สปสช., รพ.ชุมชน, อบต. รวมถึงวิชาชีพอื่น)เห็นบทบาทเราให้มากขึ้น ชัดเจนขึ้น โดยพยายามจัดรูปแบบบริการ (Practice model)ทางกายภาพบำบัดที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชน ยิ่งถ้าเป็นรูปแบบบริการที่ชุมชนมีส่วนร่วมด้วยยิ่งดี จึงขอประชาสัมพันธ์มา ณ โอกาสนี้ให้พวกเราชาวกายภาพบำบัดชุมชน ช่วยกันพัฒนารูปแบบบริการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีการประเมินผล และมีการพัฒนาต่อเนื่อง ในปีหน้าทางสภาฯร่วมกับสมาคมฯ และสปสช.คงได้ร่วมกันจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดรูปแบบบริการทางกายภาพบำบัด เพื่อให้ผอ.รพ.และวิชาชีพอื่นเขาเห็นบทบาทของงานกายภาพบำบัดที่ชัดเจน จึงได้นำเรื่องมาเล่าให้ฟังค่ะ

ปนดา

ถึง PT ชุมชนทุกท่าน

วันนี้ คนภาษาเดียวกันได้ไปร่วมจัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มข้าราชการ เราจะมีบทบาทด้านการส่งเสริมสุขภาพหลัง ตรวจร่างกายหลัง สอนสาธิต การออกกำลังกายเพื่อลดปวด พวกเราควรหาแนวร่วมให้ได้ค่ะ นำโครงการไปปรับเปลี่ยนดูนะคะ ถ้าสนใจโครงการ คนภาษาเดียวกันมีให้ค่ะ เพื่อวิชาชีพเราค่ะ ประชาสัมพันธ์วิชาชีพให้มากๆ เดี๋ยวคนอื่นรู้เองค่ะ จาก คนภาษาเดียวกัน

ดีใจที่คนภาษาเดียวกัน เข้ามาร่วมแชร์ประสบการณ์ในการทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพหลังนะคะ ถ้ามีข้อมูลเก็บไว้เยอะๆ ก็นำมาวิเคราะหดูบ้างก็ดีนะคะ เผื่อจะได้องค์ควมรู้ใหม่ๆ ที่จะไดนำไปพัฒนางานได้ค่ะ ถ้ามีอะไรอยากให้อาจารย์ช่วย ก็ยินดีนะคะ ถือว่าเป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์นะคะ

ปนดา

ไม่ทราบว่ากายภาพบำบัดโขงเจียมได้รับสื่อ CD เกี่ยวกับเรื่องเลิกบุหรี่ ที่อาจารย์ส่งไปให้หรือยังคะ

มีใครอยากได้สื่อเกี่ยวกับการลด ละ เลิก บุหรี่ อีก ก็ขอมาได้นะคะ

ปนดา

ขอประชาสัมพันธ์หน่อยนะคะ

"สภากายภาพบำบัดร่วมกับ สปสช." ขอเชิญนักกายภาพบำบัดและผู้ที่สนใจงานกายภาพบำบัดภายในโรงพยาบาลชุมชน เข้าร่วมประชุมสัมมนาเกี่ยวกับลักษณะงานและโรงพยาบาลชุมชนที่มีความสนใจจะเปิดตำแหน่งงานทางกายภาพบำบัด ในวันอาทิตย์ที่ 28 มิถุนายน 2552 เวลา 13.00 -16.00 น. ที่คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยรังสิต ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมประชุมสัมมนา”

ขอให้พี่น้องช่วยกันส่งข่าวบอกนักกายภาพบำบัดที่กำลังอยากไปบุกเบิกงานในรพ.ชุมชนที่ยังไม่มีนักกายภาพบำบัด ไปเข้าร่วมนะคะ เพราะทางสปสช.ทำหนังสือเชิญรพ.ชุมชนมาช้อปปิ้งตลาดแรงงานกายภาพบำบัดเลยในงานนี้ นักกายภาพบำบัดคนไหนยังไม่เข้าใจว่างานกายภาพบำบัดชุมชน ต้องทำอะไร อย่างไรบ้าง ก็จะได้ฟังรุ่นพี่ๆ ที่เขามีประสบการณ์ดีๆ มาเล่าให้ฟังด้วย

โครงการนี้เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนากำลังคนนักกายภาพบำบัดในระบบบริการปฐมภูมิด้วยค่ะ

ปนดา

ไชโย!!พี่สมใจตอบคำถามนักกายภาพบำบัดภูธรแล้วค่ะ เกี่ยวกับโครงสร้างงานกายภาพฯในรพช.

เรียนอจ.ดา

โครงสร้างในรพช.งานกายภาพบำบัดขึ้นตรงต่อฝ่ายบริการทางการแพทย์ซึ่งในแท่งเดียวกันมีเภสัช เทคนิคการแพทย์ รังสี ปัญหาคือน้องในรพช.ส่วนใหญ๋เป็นลูกจ้างชั่วคราวไม่สามารถเป็นหัวหน้างานำได้เพราะเซ็นหนังสือไม่ได้ ทางโรงพยาบาลจึงไปฝากไว้กับฝ่ายต่างๆซึ่งไม่เหมือนกันเช่น ฝากไว้กับฝ่ายการพยาบาล เภสัช เทคนิคการแพทย์ บางแห่งขึ้นตรงต่อผอก.หรือรองฝ่ายการแพทย์

ขออภัยที่ตอบช้า

พี่สมใจ

ได้รับเรียบร้อยแล้วค่ะ อาจารย์ ขอบพระคุณมากๆๆๆๆๆๆๆ

เป็นสปอตทีวีรณรงค์ สปอตวิทยุรณรงค์ เพลงรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ ชาวชนบท...งดบุหรี่ สื่อการสอนหรับเด็กประถม พิษภัยของบุหรี่และวิธีเลิกสูบบุหรี่ฯ ทั้งหมด หกแผ่นค่ะ ขอบพระคุณอย่างแรง!!!! เด๋วจะช่วยประชาสัมพันธ์ รพ.อื่นด้วยค่ะ

นักกายภาพบำบัดภูธร

จากการประชุมเครือข่ายนักกายภาพบำบัดชุมชน จังหวัดอุบลราชธานี ได้มีการตกลงกันจัดทำเสื้อกราวน์ประจำรุ่นและเพื่อให้เกิดความพร้อมเพรียงและกำลังใจระหว่างพวกเราชาวพีทีเอง โดยมีการลงความเหนว่าโลโก้ของสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทยน่าจะนำมาใช้ จึงอยากเรียนถามอาจารย์ว่าพวกผมสามารถใช้ได้เลยหรือต้องสมัครเปงสมาชิกสมาควก่อนหรือว่าจะเปงกฎหมายอารายหรือป่าว แต่พวกเรารักและอย่างให้คนรู้จักวิชาชีพของเราจิงๆนะครับ ขอให้อาจารย์เสนอข้อคิดเหนหรือให้คำตอบด้วยนะครับ ขอบคุนครับ

นักกายภาพบำบัดภูธร

วันนี้ผมได้ไปประชุมเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ (พี่พยาบาลชวน)มีการพูดถึงงานกายภาพบำบัดในสาขานี้อยู่บ้างเล็กน้อย อยากให้เรามีการรณรงค์และเผยแพร่งานกายภาพบำบัดในผู้สูงอายุให้มากๆ เพราะแนวโน้วจะมีมากขึ้น

อาจารย์ได้ส่งต่อคำถามไปยังสมาคมกายภาพให้แล้ว คิดว่าคงได้คำตอบเร็วนี้ค่ะ

เรื่องเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ เป็นเรื่องที่เราควรให้ความสำคัญมากในการดูแล เพราะเราจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมากในอีก 10 ปี ข้างหน้าค่ะ

ปนดา

สวัสดีคับ

เมื่อไรจะได้เรียนกับอาจารย์อีกคับ

เรียนแล้วสนุกดีคับ

แต่อยากให้เน้นรายละเอียดในบางหัวข้อนิดนึงคับ

*-*

คืออยากจะแสดงความคิดเห็นต่อ กายภาพบำบัดดังนี้ครับ งานกายภาพบำบัดในไทยนั้นก็มีมานานพอสมควร และผมเป็นคนหนึ่งที่อยู่ในระบบงานนั้น และระบบงานอื่นด้วย กายภาพบำบัด จัดอยู่ในกลุ่มงาน conservative ปลายเส้น เมื่อเทียบกับวิชาชีพอื่น ที่สามารถ ทำ invasive ได้นั้น ความจำเป็นของตัวบุคคลจึงดูน้อยไปทั้งๆที่เราศึกษา cover ทั้ง ตรวจและรักษา แต่ที่ทำให้ความสำคัญของเราตกไปคือวิชาชีพเราสามารถเป็นตัวแทนได้ง่าย ยกตัวอย่างเราสามารถสอนญาติผู้ป่วยอัมพาตให้ทำแทนได้ในการแพสซิฟหรือแม้แต่การฝึก ฟังชันฝึกควอลิตี้ หลังจากเราสอนเสร็จ ญาติก็สามารถทำแทนเราได้ สวนหนึ่ง แต่เทียบกับวิชาชีพที่ invasive ได้ เช่นการเปลี่ยนสาย NG การเปลี่ยน สายปัสวะ การเจาะเลือด การ อินวาซิฟต่างๆ ซึ่งไม่สามารถใช้ตัวแทนได้ บุคลากรด้านอินวาซิฟจึงดูเหมือนจำเป็น กว่า ในแง่ของตัวแทน เมื่อดูเหมือนจำเป็นกว่า ตำแหน่งงานที่ผู้มีอำนาจจะจัดให้ก็จะน้อยตามไป และนักกายภาพส่วนใหญ่ก็จะ ให้เหตุผลต่อผู้บริหารว่ายังไม่รู้จักวิชาชีพเรา แต่หลักในการบริหารงาน เค้าไม่ได้ฟังจากผู้ให้เค้าฟังจากผู้รับ จึงเป็นเหตุให้งานกายภาพบำบัดเกือบส่วนใหญ่ เป็นลูกจ้างชั่วคราว เพราะไม่มีก็ไม่ได้ ใครจะทำ ละครับ สาเหตุประการที่ 2 ที่ทำให้เราได้รับการยอมรับไม่ดีเท่าที่ควรคือ ผลการรักษาของเรามักจะช้าเสมอ ที่ผมพูดแบบนี้ไม่ได้แปลว่าเร็วไม่มี มันก็มีแต่น้อย การบำบัดเกือบทุกชนิด ต้องใช้ององประกอบด้านเวลาเสมอซึ่งเมื่อผลการรักษามันช้า ก็ทำให้ ความสำคัญของเราที่น้อยน้อยลงไปอีก ต่างจากการรักษาแบบอินวาซิฟที่ให้ผลแบบฉับไว ปัญหาทั้งหลายเหล่านี้ทำให้เราไปไกลไม่ได้แม้มีการบุกเบิกขึ้นมาเป็นวิชาชีพแม้มีการจัดสรรคองประกอบขององกรที่ดี แม้มีโครงการต่างๆออกมา แต่ก็ดูเหมือนการออกโครงการต่างๆนั้นไม่เข้ากับกายภาพบำบัดสักเท่าไหร่ เช่น โครงการเลิกบุหรี่ ในมุมมองหนึ่ง การเลิกบุหรี่มีสองอย่างหลักๆ ที่ทำให้เลิกได้ คือองประกอบด้านจิตใจเกี่ยวกับจิตวิทยา ถ้าส่วนนี้ไม่ได้ผล ก็มาถึงในเรื่องของยาซึ่งถ้ามองตามเนื่องานกายภาพบำบัดนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องก็แค่ตอนทรีทด้านเชส แต่เราเอาโครงการนี้มาออกหน้าออกตา ซึ่งผมคิดเองว่าคงเป็นความเข้าใจผิดอะไรสักอย่างของฝ่ายบริหาร ทั้งหมดทั้งปวงของปัญหาเหล่านี้ ดูเหมือนต้องการการปรับการจูนแต่ คนที่ต้องปรับต้องจูนปัญหาเหล่านี้ บ้างก็เป็นลูกจ้างชั่วคราวทำนานชั่วโครต บ้างก็เป็นลูกจ้างรายวัน มีแต่หน้าที่ขาด สิทและและและโอกาศ ในการแก้ไข ปัญหาเหล่านี้ บางท่านก้หาทางแก้ปัญหานี้ได้ โดยการเรียนต่อเปลี่ยนสายวิชาชีพไป ผมคิดว่า ต่อให้อีกสิบปี มีผู้สูงอายุมากขึ้นอย่างที่มีท่านด้านบนเขียนบอก เราก็ไม่ได้ต่างไปจากตอนนี้มากนักหรอกครับ ตอนนี้ มีเทคโนโลยี่ใหม่ๆอย่า stem cell หรือ ที่ใหม่กว่าอย่าง cell therapy เมล็ดพันธุ์เทคโนโลยี่เหล่านี้จะเติบโตเร็วกว่า งานกายภาพบำบัดในอีกสิบปีแน่นอน ถึงวันนี้ถ้าเราไม่ช่วยกันคิด อินโนเวชั่น ขึ้นมา วิชาชีพเรา ในประเทศไทย คงเป็นดังคำต่อไปนี้ 'คนรู้จักเรามากขึ้น แต่บทบาทเราลดลง' ส่วนเรื่องแนวคิดการพัฒนาเทคโนโลยี่ของกายภาพ ผมขออนุญาตินำมาลงในครั้งหน้า ขอบคุณมากครับ ที่อ่าน จนจบ ปม.

ท่านนายกสมาคมกายภาพตอบคำถามนักกายภาพบำบัดภูธรเกี่ยวกับเรื่องการใช้ตราสมาคมค่ะ

เรื่องนี้เคยมีสมาชิกถามมาเหมือนกันค่ะ โดยกรรมการสมาคมมีมติว่าไม่ควรใช้ตราสมาคมไปปักบนเสื้อ gown ค่ะ เนื่องจากว่าเราไม่สามารถทราบหรือควบคุมได้ว่าผู้ใส่เสื้อนั้นเป็นนักกายภาพบำบัดที่เป็นสมาชิกสมาคมจริงหรือไม่ และหากเป็นสมาคมก็ไม่สามารถรับผิดชอบหากเกิดการกระทำที่ไม่ถูกต้องได้

ขอเสนอให้ปักคำว่านักกายภาพบำบัดเป็นภาษาไทยแล้วใส่โลโก้โรงพยาบาลของท่านดีกว่า หรืออาจทำโลโก้ของนักกายภาพบำบัดชุมชนขึ้นมาก็ได้ค่ะ

บางเอินเข้ามาได้อ่านกระทู้ส่วนที่พูดถึงการดูแลผู้สูงอายุค่ะ แล้วตนเองมีความคิดว่าหากถ้าเราเข้าไปแสดงศักยภาพให้พยาบาลเห็นว่าสามารถดูแลคนไข้กลุ่มนี้ได้ดีมานก็คงจะทำให้บริบทงานเรากว้างขึ้น แต่พูดก็พูดเถอะว่า กายภาพทุกวันนี้ไม่ค่อยวิ่งเข้าหางานรอให้งานวิ่งเข้ามาเพราะวิชาชีพอื่นๆไม่ค่อยจะรู้บทบาทของเราเท่ารัยค่ะ พยายามเข้าไปเสนอตัวที่จะทำ แค่ยากทำและมีความสุขกับมันนะคะ สู้ๆๆๆ รักในวิชาชีพค่ะ

เป็นกำลังใจให้นะครับ

น้องกอล์ฟ

อาจารย์คะ

ตอนนี้หนูทำงานอยู่ที่โรงพยาบาลศูนย์คะ แต่อยากกลับไปทำงานในดรงพยาบาลชุมชนแถวๆ บ้าน แต่ยังไม่เปิดรับนักกายภาพบำบัดเลยคะ จะมีวิธีที่จะขอให้โรงพยาบาลชุมชนเปิดรับนักกายภาพบำบัดบ้างรึเปล่าคะ

ขณะนี้ทางสปสช.เขาพยายามกระตุ้นให้รพ.ชุมชน เปิดรับนักกายภาพบำบัดให้มากขึ้น โดยเฉพาะรพ.ที่ยังไม่มีนักกายภาพบำบัด โดยใช้กลไกทางการเงินเข้าไปช่วย เมื่อเริ่มมีการจ้าง ก็คาดหวังว่านักกายภาพบำบัดจะสามารถขยายงาน และสร้าง need ให้เกิดการจ้างเพิ่มมากขึ้นได้ เช่น จาก 1 เป็น 2 และ 3 ต่อไป

น้องคงต้องหมั่นติดต่อ หรือขอยื่นใบสมัครทิ้งเอาไว้ให้เขา โดยแสดงความจำนงค์ว่าต้องการกลับมาทำงานที่บ้านเกิด เชื่อว่าเขาคงต้องการคนในพื้นที่มากกว่าอยู่แล้วค่ะ

น้องทราบใช่ไหมคะว่าทางสภากายภาพบำบัดร่วมกับสปสช.เขาเชิญรพ.ชุมชนเข้าร่วมโครงการพัฒนากำลังคนด้านกายภาพบำบัดที่ม.รังสิต วันอาทิตย์ที่ 28 มิ.ย.นี้ เวลา 13.00 น 16.30 น. เป็นการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำงานในรพ.ชุมชน และเป็นตลาดนัดแรงงาน PT ให้แก่รพ.ชุมชนเลยทีเดียว ได้ข่าวจากสปสช.ว่ามีรพ.ชุมชน เข้าร่วมมากกว่า 30 แห่งแล้ว เชื่อว่าคงมีการจ้างงาน PT ในรพ.ชุมชนมากขึ้น อาจารย์ไม่ทราบว่ารพ.ชุมชนที่น้องอยากทำงานเข้าร่วมหรือเปล่านะคะ ถ้าน้องสนใจเข้าร่วมก็ยินดีนะคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะอาจารย์ทั้งสองท่าน ได้อ่านข้อความแล้วได้รับความรู้มากขึ้นค่ะ มองงานกายภาพบำบัดในรพช.ได้กว้างขึ้น แต่หนูเพิ่งมาทำงานค่ะได้ 2 เดือนเอง ยังงงๆอยู่เลยค่ะ แต่หนูกำลังดำเนินการเชิงรุกอยู่ค่ะ โดยออกเยี่ยมบ้านและเข้าไปดูแลผู้พิการในชุมชนค่ะ หนูเริ่มต้นถูกหรือยังคะ? และหนูมีคำถามเพิ่มค่ะ คือว่า ทำอย่างไรคะถึงจะทำให้คนในชุมชนและพี่ๆในโรงพยาบาลเข้าใจในวิชาชีพของเรามากกว่านี้ค่ะ? และหนูอยากให้อาจารย์บอกสิ่งพื้นฐานงานกายภาพบำบัดชุมชนที่ต้องมีและต้องพึงกระทำอย่างยิ่งค่ะ? ขอบพระคุณมากค่ะ

ช่วยตอบนะ...พยายามโปรโมทวิชาชีพเราโดยเฉพาะมีประชุมแต่ละเดือนของ แต่ละ รพ. พยายามเข้าร่วมกับโครงการ ของฝ่ายต่างๆ ถ้ามีเวลาว่าง และก็ทำโครงการเองด้วย....มีส่วนร่วมกับทีม PCT ของโรงพยาบาล จริงๆแล้ว งานเราเข้าได้ทุกหน่วยงาน แต่ก็ต้องมีจุดยืนของตัวเอง ในฐานะที่เราไปเปิดแผนก(รึป่าว)...ต้องขยายงานให้ได้มากที่สุดเพื่องานจะได้เกิด และวิชาชีพอื่นจะได้เห็นศักยภาพของเราเพราะเค้าไม่รู้จักเลยว่าเราทำอะไรได้บ้าง คิดว่านวดกับรักษาผู้ป่วยอัมพาต เท่านั้น แล้วเค้าจะได้ส่งปรึกษาเรา เรามีศักยภาพเพียงพอเค้าก็จะเห็นเอง...บางทีไม่ต้องพูดไรมากมายเลย บางที งาน รพช.ตั้งรับก็เยอะเหมือนกันนะ ส่วนงานเชิงรุก ส่วนมากจะดูในเรื่องผู้พิการ และบางรพ.ก็มีโครงการก็มีออกเยี่ยมผู้ป่วยที่ D/C ออกจาก ward เราก็ตามในส่วนที่เป็นคนไข้เรา....ส่วนOPD อาจจะมี คลินิก เบาหวาน แล้วเดี๋ยวนี้เค้าก็มีโรงพยาบาลสายใยรัก นั่นก็เราก็มีส่วนร่วมได้ โดยดูแลในเรื่องการ exs.หญิงมีครรภ์ ไปให้ความรู้มารดาก่อนคลอด หลังคลอด ,คลินิก COPD /asthma ,โครงการฟื้นฟูผู้ป่วย CVA อาจจะให้ญาติหรือผู้ดูแลมาอบรมการฝึก passive , ambulation ฯลฯ ,หรือจะเป็นผู้สูงอายุอย่างที่เค้าว่ากันมาข้างต้น , หรือก็ต้องดูนโยบาย ของ รพ.ด้วยว่าเค้าเน้นอะไร ช่วงนี้ บางที่เล่นผู้สูงอายุ ,บางที่เล่นเบาหวาน,บางที่เล่นบุหรี่,บางที่เล่น COPD นะ งานเยอะมาก ถ้าเราจะทำ

อีกอย่างทางที่จะเผยแพร่.....นะ มี อบต. ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน คือเค้าจะมีการประชุมกันอยู่แล้วค่ะ ...ต้องรู้ว่าเค้าประชุมกันช่วงไหน เราต้องทำงานร่วมกับชุมชน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมนะ....อสม.ไรงี้ สสอ.ด้วยค่ะอย่าลืมเค้าล่ะ ถ้าเรามีเวลาก็ประชาสัมพันธ์ซะหน่อย ว่ามีเรามาอยู่ในชุมชนแล้วนะ เราทำไรได้บ้างขอบเขตงานคร่าวๆ ไม่ต้องหลักการมาก ชาวบ้านเค้าจะไม่เข้าใจ เอาแบบเข้าใจง่ายๆ ...ศึกษาชุมชนตัวเอง...เป็นโรคอะไรกันเยอะ ...หาแนวทางป้องกัน ด้วย (ถ้าว่างจากที่กล่าวมาข้างต้นนะ)

โอ้ เยี่ยมเลย นี่พี่เขาเล่าจากประสบการณ์ตรงเลยนะเนี้ย

ขอบคุณที่เข้ามาช่วยตอบ และแชร์ประสบการณ์นะคะ

ปนดา

เมื่อวันที่1กรกฎาคม2552

ทางโรงพยาบาลได้เดิทางไปที่กระทรวงเพื่อรียกร้องความเท่าเทียมและความยุติธรรมในการจ่ายเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายที่มีการจ่ายให้แค่ รพช เท่านั้น ซึ่งทาง รพศ/รพท ไม่มีการได้รับค่าตอบแทนดังกล่าวจึงมีการรวมตัวกันเพื่อไปเรียกร้องที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขโดยมีการนัดกันแบบรวมตัวทุกวิชาชีพมีหลายโรงพยาบาลเหมือนกันแต่ตอนนี้เรื่องอยู่ในระหว่างดำเนินการ

ถ้าหากว่าท่านใดมีข้อเสนอหรืออยากทราบรายละเอียดโทรมาสอบถามได้ที่

087-0873940 คุณอมร

" บางที่เล่นผู้สูงอายุ ,บางที่เล่นเบาหวาน,บางที่เล่นบุหรี่,บางที่เล่น COPD นะ "

ทำไมใช้คำว่าเล่นละครับ มันดูเหมือนเรื่องเล่นๆ ไงก็ได้แบบนั้นเหรอครับ

สวัสดีค่ะ ดีใจนะคะ ที่ได้ทราบว่ามีคณะทำงานฝ่ายมาตรฐานโรงพยาบาลชุมชนทางกายภาพแล้ว

เพราะดิชั้นเป็นคนนึงที่ทำงานโรงพยาบาลชุมชน และเคยมีปัญหามากมาย แต่ไม่ทราบจะปรึกษา หรือร้องเรียนที่ใดดี

อย่างที่ทราบกันในคนที่ทำงานรพ.ชุมชนว่า อาชีพนักกายภาพบำบัด เป็นอาชีพที่มีน้อยคนนักที่รู้จัก และทำให้ตอนนี้ ผู้บริหารของโรงพยาบาล ต้องมีการเปลี่ยนแปลง ถึงขนาดที่ว่า เคยมีการเปิดคลีนิคนอกเวลาของแผนกมาเป็นสิบปี ก็ต้องปิดตัวลงเนืองด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ไม่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่กายภาพเลย

ค่าเบี้ยเลี้ยงโรงพยาบาลชุมชน ทีรัฐจัดสรรให้ ก็ไม่ได้

เนื่องด้วย ค่าครองชีพที่นี่สูงมาก ประกอบกับ เป็นพื้นที่ท่องเที่ยว

นักกายภาพทั้งหมด จึงตัดสินใจลาออก

ผลลัพธ์ที่ได้คือ รพ.รับนักกายใหม่ โดยยังไม่เซ็นใบลาออกให้นักกายเก่า

ให้ค่าเบี้ยเลี้ยงกับนักกายที่ประกาศรับใหม่ ทั้ง ๆ ที่นักกายเก่าทำงานมาคนละ ปี สองปี

มีการปรับขึ้นค่า โอที ทั้ง ๆ ที่แผนกกายภาพฯโดนปิดไป

อยากถาม หา ความยุติธรรม หรือ สามารถ ร้องเรียนได้ที่ไหนบ้าง

เพราะตอนนี้ กำลังจะตกงาน และเจ็บใจมาก

ขอบคุณนะคะ .....

อาจารย์ครับ ผม รณรงค์ PT CMU รุ่น 15

อาจารย์สบายดีหรือเปล่าครับ

ดูแลคนอื่นมามากมาย อย่าลืมห่วงใยตัวเองและคนใกล้ตัวนะครับ

ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงครับ

..........ลูกช้างกายภาพบำบัด.

ใช้คำว่าเล่น ไม่ได้แปลว่าทำเล่นค่ะ เหมือนว่าเทรนด์แต่ละที่(คำว่าเล่นในที่นั้นแปลว่า เน้นพัฒนาบริการการรักษาผู้ป่วยในด้านนั้นเป็นพิเศษ กล่าวคือกำลังรณรงค์โครงการ นั้นๆอยู่ รพ.ไหนมีโครงการอะไร ประมาณนั้น ) ใช้ศัพท์วัยรุ่นน้องจะได้เข้าใจง่าย ไม่ได้ให้อคติต่อกันแค่ศัพท์บางคำ แต่ถ้าทำให้เข้าใจผิดคิดว่าทำเล่นก็ขออภัยค่ะ ไม่ได้ตั้งใจให้เข้าใจอย่างนั้น

หนูมีความสนใจอยากได้สื่อและเทคนิคการเลิกบุหรี่ทางกายภาพบำบัดมากเลยค่ะ ขอความกรุณา จัดส่งถึง

นางสาวปวีณา หวลจิตร

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบึงโขงหลง

428 ม.11 ต.บึงโขงหลง อ.บึงโขงหลง จ.หนองคาย 43220

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

หนูสนใจและอยากได้สื่อ CD เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ค่ะ เพื่อนำไปแนะนำผู้ป่วยและคนใกล้ชิดค่ะ รบกวนช่วยจัดส่งมาที่

นางสาว ภาวิณี สุดสงวน

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลโกรกพระ

ต.โกรกพระ อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ 60170

ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะคะ

ขอบคุณคุณรณรงค์ที่เป็นห่วงนะคะ จะพยายามดูแลตนเองค่ะ และคนใกล้ชิดด้วยค่ะ ตอนนี้ก็มีคุณแม่ที่ต้องดูแลอยู่ค่ะ

อยากให้กำลังใจคนที่กำลังจะตกงานนะคะ ชีวิตมีขึ้นมีลง บางทีสิ่งที่คิดว่าเลวร้ายที่เกิดขึ้นอาจเป็นการเริ่มต้นขอสิ่งใหม่ที่ดีกว่าก็ได้นะคะ ขอให้เราพยายามคิดดี พูดดี ทำดี อาจารย์ได้ไปอ่านหนังสืออยู่เล่มหนึ่งชื่อ The Law of Attraction ในช่วงหยุดหลายวัน เขาบอกว่าถ้าเราคิดดี จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำสิ่งที่ดี ๆ เข้ามาหาเรา ดังนั้น พยายามคิดแต่สิ่งดี ๆ สร้างพลังเชิงบวกมากๆ หวังว่าคงมีเรื่องดี ๆ เกิดขึ้นกับน้อง PT ชุมชนเร็วๆ นี้นะคะ จำไว้เสมอให้คิดแต่สิ่งดีๆค่ะ ถ้าเริ่มคิดไม่ดีให้พยายามเตือนตนเอง เรายังอวยพรให้คนอื่นบ่อย ๆ เขาบอกว่าเราต้องอวยพรให้ตนเองด้วยค่ะ

ส่วนเรื่องสื่อสำหรับเรื่องบุหรี่ จะรีบจัดส่งให้นะคะ

ปนดา

นักกายภาพบำบัดภูธร

ไม่มีอารายมาถามหรือเสนอแนะหรอกครับ แค่จะบอกว่าตอนนี้แผนกกายภาพบำบัดที่ผมสร้างกะมือมีเครื่องมือและงานกะลังไปได้โอเค อิอิ ครบรอบสามเดือนของการเปงพีทีชุมชน คิดไม่ออกให้ออกจากความคิด ทำจิตให้สงบแล้วจะพบทางออก ปิ๊ง....แล้วพบกานใหม่นะครับผม

ตอนนี้ได้ติดต่อกับทางสภาการพยาบาลในเรื่องของค่าตอบแทนค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย

ทางสภาการพยาบาลได้ดำเนินโดยการที่ทางสภาการพยาบาลเรียกหัวหน้าฝ่ายการพยาลของโรงพยาบาลทั่วไปและโรงพยาบาลศูนย์เข้าไปชี้แจงรายละเอียดและเข้าพบปลัดกระทรวงสาธารณสุขในวันที่ 3 กรกฎาคม 2552 ที่ผ่านมา

ผลสรุปก็คือว่าทางฝ่ายการพยาบาลเขาได้รับอนุมัติที่ 1,200 และ1,800 บาท แต่ว่าในการที่อนุมัตินั้นได้คิดคำนวนค่า k เพื่อมาประกอบในการอนุมัติเพิ่ม เช่น ถ้าหน่วยไหนค่า k เพิ่มเป็น 1.5 แล้วเอามา x กับ 1,200 และ1,800 ค่าที่ได้คือค่าของเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย ในขณะเดียวกันทางวิชาชีพของเนาเองก็ไม่ได้อยู่นิ่งตอนนี้เราเกาะกระแสของการเรียกร้องของทางพยาบาลให้ได้รับที่เท่ากัน ดังนั้นผมจึงอยากให้ทุกท่าได้เตรียมหาค่า k เตรียมไว้ล่วงหน้าด้วยนะครับ

อมร

นักกายภาพบำบัดภูธร

ค่าKมานคืออียั่งเน้อ กิโลเมตรหรือป่าวน่า

นักกายภาพบำบัดภูธร

ผมได้ข่าวมาว่าทางสภากายภาพบำบัดจะมีการออกหนังสือเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลจิงหรือป่าวครับ

คุณเชื่อหรือไม่ว่าบาง รพ.มีแพทย์แผนไทยเปงหัวหน้า

ช่วยไขข้อข้องใจ เรื่อง โครงสร้างองค์กรจะมีขึ้นในเร็ววันนี้จริงจ้า เพราะพี่เองเคยเห็นแต่แบบร่าง แต่ที่ผ่านตา ใน รพ.ชุมชนนะ เราไม่ได้ขึ้นกับ พยาบาล หรือ แพทย์แผนไทยจ้า ต่อไปขอเสริมแง่คิดนะ เรื่องใครจะเป็นหัวหน้าไม่สำคัญค่ะ ขอให้เราเต็มที่กับการรักษาผู้ป่วยด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด ทำดีรับรองมีคนเห็นค่ะ เรื่องช้าๆ ได้พร้าเล่มงามมักจะเข้ากันกับวิชาชีพเราจริงๆนะ สู้ๆนะทุกคน

เห็นด้วยกับความเห็นข้างบนค่ะ

ใครเป็นหัวหน้าไม่สำคัญ

เราต่างหากที่ต้องดึงเอาศักยภาพของPT.ออกมาใช้ให้สุดเหวี่ยง

ผลดีตกอยู่กับคนไข้และตัวเราเองค่ะ สู้ๆนะคะ

ตั้งใจเข้ามาให้กำลังใจพี่น้องชาวPT.

ถึงแม้ว่างานที่ดิฉันทำเป็นงานIT.แต่ก็เป็นIT.ในMedical service

จบPT.

ทำงานIT.

ชอบทั้งสองอย่าง อยากเก็บเธอไว้ทั้งสองคน อิอิอิ ไปริ ฟริ้ววววววววว

ทำงานดีจริง ใครๆเค้าก็เห็นค้าบบบบ

ใครจะเป็นหัวหน้าก็ไม่เห็นจะต้องตื่นเต้นเลย...ทำงานของเราให้ดีก็พอแล้วสู้โว้ย!!

ปลายฟ้า..คนเดียวกัน

อีกประการที่ควรให้ความสำคัญ คือเรื่องของรายได้ ค่าตอบแทน

ซึ่งถ้ามองดีดีแล้วจะเห็นว่าน้อยมากกสำหรับนักกายภาพบำบัด

คือสำหรับผมเอง ผมขึ้นตรงต่อเภสัชนะครับ

เรื่องศักยภาพที่เรามีอ่ะครับ ผมเดินหน้าเต็มที่แน่ๆครับ

แต่ปัญหาที่พบก็คือว่า เมื่อเราเอางานๆหนึ่งไปเสนอต่อหัวหน้างานแล้ว เค้าไม่ส่งไปยัง ผอ.ต่อหน่ะสิครับ ถ้าผมเข้าผ่านทาง ผอ.ก็จะกลายเป็นผมข้ามหน้าข้ามหัวเขา สิ่งที่ขอไปยังถูกเบรคเลยครับ ขนาดขอแค่มีใบนัดผู้ป่วยยังไม่ได้เลย คือจริงๆไม่ได้ว่าอะไรนะครับถ้าผมได้ขึ้นตรงต่อเค้าแล้วเค้าก็เป็นผู้ใหญ่ที่ดี ถ้าผมขึ้นกับพยาบาลที่ รพ.ของผม ยังดีซะยิ่งกว่าอีกนะครับ เพราะพี่เค้าใจดีกว่า มีปัญหาก็ปรึกษาได้ อย่างนี้ต่อให้อยู่ใต้พี่พยาบาลผมก็ยังโอเคนะครับ

ดิฉันทำงานโรงพยาบาลชุมชน แถบชายแดนแดนอีสาน ที่อุบลค่ะพวกเรามากันเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งหมดน้องใหม่ 13 คน จากความช่วยเหลือของพี่น้อย ที่คอยช่วยเหลือให้คำแนะนำทำให้เด็กจบใหม่อย่างพวกเราได้มีงานทำมีรายได้และยังได้แสดงความสามารถออกมา ดิฉันมาบุกเบิกงานกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลนี้อยุ่มาจะเข้าเดือนที่สามแล้ว ทุกอย่างลงตัว ดีใจมากรายได้ก็ดีค่ะตอนนี้ยังไม่มีโอทีก็พอใช้เพราะเขามีที่พักให้ฟรี ค่านำค่าไฟก็ฟรี ที่เลือกมาที่นี่ที่ๆใครต่างก็คิดว่าไม่กล้ามาเพราะมันไกล แต่เราก็เลือกมาได้ทั้งมิตรภาพความช่วยเหลือจากทุกฝ่ายในโรงพยาบาลทั้งความเอ็นดู ทำให้ดิฉันมีกำลังใจทำงานมาก ตอนนี้ก็เริ่มงานไปได้มากแล้วค่ะ ดิฉันขึ้นตรงกับผอ. คืออยู่งานกายภาพบำบัด กลุ่มงานบริการทางการแพทย์ ซึ่งทำให้อะไรก็เลยง่ายทุกอย่างอยู่ที่ผอ. แต่ปีหน้าจะเปลี่ยนผอ.แล้วไม่รู้จะได้อย่างงี้มั๊ยไม่รุ้ค่ะ ตอนนี้ขออนุมัติห้องกับเครื่องมือแล้วได้แล้วค่ะและจะทำงานกายภาพบำบัดให้ดีที่สุดค่ะจะทำให้คนรู้จักกายภาพบำบัดมากขึ้น และขอบคุณพี่ๆๆที่ทำงานกายภาพบำบัดมาก่อนพี่ทำดีน้องๆๆก็อยากเก่งๆเหมือนพี่ด้วย ขอบคุณงานกายภาพบำบัดที่ยังขาดแคลนทำให้เรามีสิ่งๆๆดีๆๆ

ดีใจที่เห็นน้องๆ เข้ามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างต่อเนื่อง และยินดีกับน้องๆ PTชุมชนที่ได้งานดีๆ นะคะ ขอส่งกำลังใจไปให้ด้วยนะคะ คงต้องเหนื่อยหน่อยเพราะเราต้องไปบุกเบิกงานใหม่ พยายามติดต่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันทั้งในระหว่างเพื่อนร่วมวิชาชีพ และต่างวิชาชีพ เพื่อเปิดโลกทัศน์ของเราให้กว้างขึ้น จะได้ทำให้เรามี idea ใหม่ๆ มีความคิดสร้างสรรในการทำงาน

สำหรับน้องที่ยังมีปัญหาเกี่ยวกับผู้บังคับบัญชาที่ไม่ตอบสนองต่องานที่เสนอไป อาจารย์คิดว่าถ้าเรามั่นใจว่าสิ่งที่เราเสนอจะมีประโยชน์ต่อการพัฒนางาน เราควรไปติดตามอีกทีว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว ถ้ามีการติดขัดอะไร อย่างไร จะได้ทราบ และทำความเข้าใจกัน เรื่องบางอย่างเราก็ต้องหาโอกาสพูดคุยสื่อสารกันบ้าง ก็จะดีนะคะ "การประสานงาน" เป็นเรื่องสำคัญสำหรับการทำงานให้ราบรื่น และมีประสิทธิภาพ สำหรับคำคำนี้ นอหนู สำคัญมากห้ามเขียนตกเด็ดขาด สำหรับ นอหนู ตัวนี้สำหรับอาจารย์อาจมีความหมายได้หลายอย่าง คือ น้ำใจ (มีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันทั้งในเรื่องงาน และไม่ใช่เรื่องงานบ้าง) น้ำคำ(พูดจาดี มีหางเสียงหน่อยก็จะดีนะคะ และที่สำคัญรักษาคำพูด) น้ำมือ(คือการปฏิบัติดี มีฝีมือ โดยต้องหมั่นพัฒนาตนเอง ค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ)

ปนดา

ขอบคุณครับ อาจารย์ปนดา ผมก็จะพยายามรักษา "นอหนู" ให้ติดตัวอยู่เสมอๆครับ

สวัสดีค่ะ เป็นนักกายภาพบำบัด รพ.ไทรน้อย เป็น รพ.ชุมชน มีคนไข้ ประมาณเฉลี่ย 30 คน ต่อวัน มีPT 2 คน ฃว่าจะขอ PT เพิ่มอีก ดีไหมคะ

สวัสดีครับอาจารย์ปนดา อาจารย์ครับ ผมได้เงินเดือน 7580 ผมควรลาออกดีไหมครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ปนดา อาจารย์ค่ะหนูขอสมัครเป็นสมาชิกของอาจารย์ด้วย ถึงแม้ว่าจบ PT แต่ยังไม่มีโอกาสทำงานสายงานนี้เลย เพราะสอบใบประกอบยังผ่านไม่หมด ผ่าน2 วิชา ยังติดวิชาเทคนิคและวิธีการทางกายภาพบำบัด สำหรับวิชากายภาพบำบัดในโรคและภาวะต่างๆ พึ่งจะสอบผ่าน ประกาศเมื่อ 22 ก.ค 52 หนูอยากจะขอคำแนะนำ/ปรึกษา จากอาจารย์ ทำอย่างไรจะสอบผ่านเสียที จะได้เป็นใบเบิกทางของการทำงาน เพราะทุกครั้งที่ไปสมัครงาน จะต้องประกอบด้วยใบประกอบวิชาชีพ....เหมือนกับตัวเองเรียนจบแต่ยังไม่จบ.....กราบขอบคุณอาจารย์มากๆค่ะ

ผมก็สอบไม่ผ่าน 1 วิชาครับ คือวิชา 02

จริงๆ เรื่องนี้ผมเคยคิดนะครับ ว่ามันเป็นการเสียโอกาสแก่นักศึกษา ที่จบมาแล้วที่ต่างๆ เค้าใช้ใบประกอบโรคศิลป์ในการสมัครเข้าทำงาน อย่างเช่นผมที่เรียนไม่เก่ง เอาตัวอย่างง่ายๆ ครับ ผมไปสมัครที่ไหนๆ เขาก็ไม่รับเพราะไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ ที่ล่าสุดที่รับ ก็ให้เงินเดือนผมต่ำ (ขนาดแผนไทย เค้ามาใหม่ เรียน 3 ปี ยังไม่ได้สอบใบประกอบ เค้ายังได้ตั้ง 8 พันกว่าๆ เลยครับ) เหตุที่เป็นเพราะอย่างนี้ เพราะผมสอบใบประกอบโรคศิลป์ไม่ผ่านครับ แล้วถ้าเกิดว่าถ้าโรงพยาบาลนี้ไม่รับ ผมมิต้องสอบแล้วสอบอีก จนกว่าจะผ่านถึงจะได้ทำงานหรือครับ

ผมอยากจะขอข้อเสนอแนะเรื่องการสอบใบประกอบโรคศิลป์ โดยอยากให้มีการจัดสอบได้ตั้งแต่อยู่ปี 4 ครับ เนื่องมาจากว่าในระหว่างนั้น พวกผมจะได้สอบเก็บคะแนนรายวิชาต่างๆไป ถ้าสอบผ่านก็มีรายชื่อเก็บไว้ที่สภา แล้วเมื่อเรียนจนจบหลักสูตร ค่อยเอาหลักฐานใบจบมาส่งให้ สภาจึงออกใบปรกอบโรคศิลป์ให้อีกที วิธีนี้จะเป็นการทำให้นักศึกษาที่จบมาใหม่ๆ สามารถมีหลักฐานที่มั่นคงในการสมัครงานครับ ไม่ต้องกลายเป็นสภาพครึ่งผีครึ่งคนเหมือนอย่างผม และใครอีกหลายๆคนครับ ที่บางคนยังหางานทำไม่ได้เพราะจบมาแล้วแต่ไม่มีใบประกอบ เผลอๆอาจจะต้องรออีกเป็นปีกว่าจะได้ทำงานครับ

จริงด้วยค่ะ กับเรื่องใบประกอบวิชาชีพ เหมือนกับเป็นการตัดอนาคตของการเข้าทำงาน เมื่อคุณสอบยังไม่ผ่านคุณก็ไม่มีสิทธิ์ที่จะก้าวเข้ามาในสายงานนี้ บอกตามตรงกดดันมากๆ เพื่อนทำงานกันแล้วแต่ตัวเองจบมาเหมือนกับคนไร้ค่า รักษาใครก็ไม่ได้ ขนาดตัวเองยังช่วยเหลือตัวเองไม่ได้(เพราะสอบยังผ่านไม่หมดแล้วจะไปรักษาใครได้) ท้อใจจริงๆ...กับใบประกอบใบเดียวเหมือนกับใบส่องทางชีวิตทั้งชีวิตของการทำงาน

นักกายภาพบำบัดภูธร

ที่ประชุมคณะกรรมการสภากายภาบำบัด 4/2552 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 มีมติให้ใช้อักษรย่อว่า "กภ."เป็นคำนำหน้าชื่อผู้ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด

อยากเรียนถามว่าผู้หญิงใช้เหมือนกานหรือว่า กภญ. ????

ขออภัยครับ ใช้คำผิดจนติดปาก คือคำว่า "ใบประกอบโรคศิลป์" จริงๆควรจะพิมพ์ว่า "ใบประกอบวิชาชีพ" ครับผม ขออภัยที่ใช้คำผิดครับ

ก่อนอื่นขอแจ้งว่าได้ส่งสื่อ CD ให้ความรู้เกี่ยวกับการอดบุหรี่ พร้อมสติ๊กเกอร์ ไปให้นักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลโขงหลง และโรงพยาบาลโกรกพระ แล้วนะคะ คงจะได้รับเร็วๆนี้ ถ้าใครต้องการสื่อ CD เพิ่มเติมก็ขอมาได้นะคะ

สำหรับน้อง PT ไทรน้อย มีคนไข้เฉลี่ยวันละ 30 คนต่อนักกายภาพบำบัด 2 คน ก็คงจะงานหนักพอสมควร ถ้าถามว่าควรขอตำแหน่งนักกายภาพบำบัดเพิ่มไหม คิดว่าเราคงต้องไปดูด้วยว่าจำนวนผู้ป่วยที่ทำอยู่เป็นผู้ป่วยประเภทไหน ถ้าส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยทาง neuro ก็คงหนักมาก เพราะมาตรฐานกำหนดว่านักกายภาพบำบัด 1 คนดูแลผู้ป่วยทาง neuro ได้ 6-10 คนต่อวัน แต่ถ้าผู้ป่วยเป็นแบบคละกันทั่วไปตามที่มาตรฐานกำหนด นักกายภาพบำบัด 1 คนสามารถดูแลผู้ป่วยเฉลี่ย 10-15 คนต่อวัน (ซึ่งตัวเลขนี้อาจมีการปรับอีกนะคะ) แสดงว่าจำนวนผู้ป่วยยังไม่เกิน แต่ถ้ามีจำนวนผู้ป่วยมากขนาดนี้ ไม่ทราบว่ามีเวลาออกไปทำงานเชิงรุกบ้างไหมคะ เช่น เยี่ยมบ้าน หรือทำงานด้านส่งเสริมสุขภาพ ถ้ายังไม่ได้ทำ และอยากจะทำเราก็สามารถเสนอผู้อำนวยการทำงานในเชิงรุกแบบนี้บ้าง โดยเราอาจต้องออกไปประสานงานกับสหวิชาชีพอื่นว่าเราจะเข้าไปมีบทบาทอย่างไรบ้าง ปัญหาสุขภาพของชุมชนที่รพ.เราดูแลอยู่คืออะไร ถ้ามี load งานทางด้านนี้เพิ่มขึ้น อาจารย์เชื่อว่า ผอ.ต้องสนใจจ้าง PT เพิ่มมากขึ้นแน่นอนค่ะ

สำหรับน้องที่ยังเงินเดือนไม่ถึงมาตรฐานเกณฑ์ขั้นต่ำตามระเบียบราชการ เราก็ต้องดูด้วยว่ามันติดปัญหาอยู่ที่ตรงไหน ถ้าปัญหาอยู่ที่ตัวเรา เช่น ยังสอบใบประกอบวิชาชีพไม่ผ่าน มันก็เป็นข้อจำกัดที่ตัวเรา เราก็ต้องพยายามสอบให้ผ่านก่อน แต่ถ้าปัญหาอยู่ที่รพ. เราก็คงต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย เช่น เรามีความสุขกับการทำงานที่นี้ไหม มีสวัสดิการด้านอื่นๆ อะไรที่เขาให้เราชดเชยกับตรงนี้ไหม แนวโน้มเขาจะขึ้นให้เราไหม แต่จริงๆ ถ้าเราไม่มีข้อจำกัดใด ๆ เขาน่าจะจ้างเราตามที่ กพ.กำหนดนะคะ ถ้าถามอาจารย์ว่าควรลาออกไหม อาจารย์คงตอบไม่ได้ น้องคงต้องตัดสินใจเอง โดยพิจารณาให้รอบครอบก่อนนะคะ ถ้าเราคิดว่าที่นี่เหมาะสำหรับเรา เรารักที่ทำงานนี้ ก็ทำต่อไป พิสูจน์ให้เขาเห็นความสามารถของเรา คงต้องใช้เวลา เมื่อสมัยก่อนอาจารย์ทำงานอยู่ที่อเมริกากว่าจะทำให้ฝรั่งยอมรับเราได้ (หมายถึงไว้วางใจในความสามารถของเรา) ก็ใช้เวลาเกือบ 3 ปี ตอนนั้นก็ได้เงินเดือนน้อยกว่าเกณฑ์ แต่ตอนหลังเขามั่นใจ เขาก็ให้เราตาม rate ที่เราสมควรจะได้ค่ะ

ปนดา

สำหรับข้อเสนอแนะที่อยากให้มีการสอบใบประกอบวิชาชีพในระหว่างเรียนปี 4 นั้น อาจารย์ขอตอบแทนสภาฯเลยว่าคงเป็นไปได้ยากมาก เพราะการสอบใบประกอบวิชาชีพเปรียบเสมือนการสอบความรู้รวบยอดหลังจากเรียนจบ และเป็นการสอบเพื่อกำหนดมาตรฐานความรู้ขั้นต่ำที่นักกายภาพบำบัดพึงมีก่อนที่จะไปประกอบวิชาชีพ การสอบที่สามารถทำได้ในปี 4 คือการสอบความรู้รวบยอดที่สถานศึกษาน่าจะเป็นผู้จัดสอบให้แก่นิสิตนักศึกษาของตนเองมากกว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับสอบใบประกอบวิชาชีพที่สภาจัดสอบ ซึ่งหลายๆ สถาบันก็ทำกันแล้ว ทำให้นิสิตนักศึกษาตื่นตัวกันมาก

ก็รู้สึกเห็นใจน้องๆ ที่ยังสอบใบประกอบวชาชีพไม่ผ่านนะคะ มันเป็นเหมือนใบตัดสินอนาคตไหม คงไม่ถึงขนาดนั้น จริงๆ แล้วหลายคนก็ยังได้มีโอกาสทำงานทั้งๆ ที่ยังสอบไม่ผ่าน แสดงว่าสังคมยังให้โอกาส แต่ก็แน่นอนการจ้างงานในลักษณะนี้มันก็ต้องมีเงื่อนไข เพราะนายจ้างเขาก็มีมาตรฐานของเขาเหมือนกัน

ทีนี้เรามาพูดถึงว่าเราจะสอบผ่านได้อย่างไร อาจารย์ก็จะเล่าประสบการณ์สมัยที่อาจารย์ไปทำงานที่อเมริกาให้ฟังก็แล้วกันนะคะ ในประเทศอเมริกา ทุกคนต้องสอบใบประกอบวิชาชีพค่ะ ไม่ว่าจะเป็นคนอเมริกันหรือคนต่างชาติ เช่นเดียวกับในประเทศไทยปัจจุบัน ตอนนั้นอาจารย์ก็ต้องวางแผนการอ่านหนังสือค่ะ คือเราต้องทราบว่าหัวข้อที่เขาจัดสอบมีเรื่องอะไรบ้าง เชื่อว่าสภาฯก็คงจะมีให้เราเหมือนกัน เราก็ต้องไปหา เอกสารประกอบการสอนต่างๆ lecture note ของเราบ้าง copy จากเพื่อนบ้าง และหนังสือที่เกี่ยวข้องมาวางไว้ แล้วก็เริ่มอ่าน อ่านไป short note ไปด้วย ถ้าเราเห็นว่าตรงไหนสำคัญ น่านำมาออกข้อสอบ ก็ noteไว้ในสมุดของเรา เพื่อใช้ทบทวนสิ่งที่อ่าน เราต้องอ่านหนังสือด้วยไม่ใช่แต่ในเอกสารประกอบการสอน เพราะบางทีเราจะได้ความรู้ใหม่ๆ ด้วย (บางทีอาจจะใหม่สำหับเรา แต่เก่าสำหรับคนอื่นก็ไม่เป็นไร ดีกว่าไม่รู้) พยายามอ่านให้ครอบคลุมเรื่องที่เขาจะออกข้อสอบให้ได้มากที่สุด เพื่อความมั่นใจ ถ้าเราไม่เข้าใจเรื่องอะไรก็ถามเพื่อนบ้าง หรือโทรถามอาจารย์บ้าง เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น เราต้องพยายามทำอย่างสม่ำเสมอ ไม่ใช่ทำเฉพาะก่อนหน้าที่จะสอบไม่กี่วัน การทำบันทึกย่อช่วยจำได้มาก ช่วงก่อนหน้าที่จะสอบ 3-4 วัน เราจะลุยอ่านบันทึกย่อ แล้วเราจะพอระลึกได้ว่าเราอ่านมาจากไหนอย่างไร เราจะจำได้ดี เพราะเราทำของเราเองและก็ทำด้วยความเข้าใจ อาจารย์ก็ทำอย่างนี้ก็สอบผ่านใบประกอบวิชาชีพที่อเมริกาได้เพียง 1 ครั้ง นอกจากความรู้แล้ว เวลาทำข้อสอบก็ต้องมีทักษะในการเดาด้วย เพราะถ้าข้อสอบออกมาแล้วเราไม่รู้ทุก choice เราก็ต้องเดาอย่างมีหลักการ เพื่อตัดข้อที่ไม่น่าถูกออก ตรงนี้ก็อาจจะพอช่วยให้การเดาของเราดีขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง พยายามวางแผนการทำข้อสอบให้ดีๆ ถ้าทำข้อสอบไม่ทันนั่นคือหายนะ เพราะถ้าเราจะต้องเดาโดยไม่มีโอกาสอ่านโจทย์ โอกาสถูกจะน้อยมาก

ก็ขอเป็นกำลังใจให้สู้ต่อไปนะคะ เพื่อนๆ อาจารย์เคยสอบตั้งหลายหนกว่าจะสอบผ่าน บางทีเขาตกแค่คะแนนเดียว เขาก็รู้สึกแย่เหมือนกัน แต่เขาก็ไม่ละความพยายาม จนในที่สุดเขาก็สอบผ่าน ปัจจุบันเขามีความสุขมาก แต่เขาขยันมากนะ อาจารย์ก็ขยันเหมือนกัน คือถ้ามีเวลาว่างก็ต้องเอาตำรามาทบทวน เพื่อให้สอบให้ผ่านให้ได้ เราจบออกมาได้แล้วเราต้องทำให้สำเร็จ อนาคตเราเป็นผู้กำหนด ความสำเร็จไม่ใช่จะได้มาได้โดยง่าย แต่ถ้าเราทำได้มั่นก็เป็นการเติมเต็มให้กับชีวิตและความมั่นใจให้กับตนเองนะคะ เราต้องบอกตัวเองทุกวันให้ขยันค่ะ เราต้องทำให้ได้ และต้องทำอย่างมีความหวัง มีเป้าหมาย และทันต่อการใช้งานด้วยค่ะ

ปนดา

ยังไงก็ต้องสอบให้ผ่าน และยังไงก็ต้องผ่านๆๆๆๆๆๆให้ได้

ดิฉันก็สอบไม่ผ่านเหมือนกันในรอบแรก แต่รอบสองดิฉันก็ตั้งใจอ่านหนังสืออย่างแน่วแน่ หมั่นทำข้อสอบเก่าๆของพี่ๆที่ช่วยกันคิดขึ้นมา จากเพื่อนๆมหาลัยอื่นๆ แล้วก็ผ่าน เพราะฉะนั้นดิฉันเข้าใจในสภาวะที่กดดันนะคะ แต่ก็ยังสามารถหางานทำได้ แล้วก็ยอมรับว่า ได้เงินเดือนน้อย (ก็ตอนนั้นมันยังไม่ผ่าน) มันก็จริง!! แต่ตอนนี้ก็กำลังขอขึ้นทะเบียนแล้วค่ะ มันก็มีหลายที่ที่เค้าให้โอกาสเรา ในการทำงานนะ แต่มันอยู่ที่เราว่าจะทำหรือเปล่า บางคนมีใบประกอบขึ้นทะเบียนแล้ว หางานทำไม่ได้ก็มีเหมือนกัน ทุกอย่างมันอยู่ที่เราค่ะ แล้วดิฉันก็คิดว่ามันไม่แปลก ที่นักกายภาพจำเป็นต้องมีใบประกอบฯ แพทย์ ทันต เภสัชฯ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล เค้าก็สอบเหมือนเรา เค้าก็เครียดเหมือนกันค่ะ เค้ายิ่งสอบหลายวิชากว่าเรา บางวิชาชีพเค้าไม่มีการเก็บวิชาที่เราผ่านแล้วซะอีก กดดันกว่าเราอีกนะ ถ้าไม่ผ่านก็ต้องสอบใหม่หมด ดังนั้น ก็ควรจะพยายาม ทำให้ตัวเองผ่านให้ได้

ทำไม ค่าใบประกอบได้น้อยจัง... น้อยกว่าพยาบาลอีก ใช้เกณฑ์อะไรแบ่งหรือครับสงสัย????ครับ ขณะที่แพทย์ เภสัช ฯลฯ เขาได้เยอะจัง

สำหรับเรื่องการใช้คำนำหน้า พี่สมใจ ตอบมาดังนี้ค่ะ

เรียนอจ.ดา

ผู้หญิงผู้ชายใช้ตัวเดียวกัน คือกภ. สมาชิกไม่ชอบ 3 พยางค์ ถ้าใช้ทางการให้ใช้นาง นาย นางสาว

สมใจ

ขอบคุณครับอาจารย์ปนดา ผมยอมรับครับว่าที่อยู่ที่ทำงาน ผมทำแล้วไม่มีความสุข ถูกภาวะกดดันหลายอย่าง ทั้งหลายๆ เรื่องเข้ามาครับ ผมยอมรับว่าท้อมาก แต่ก็ยังดีที่มีโรงพยาบาลของเพื่อนที่อยู่ใกล้ๆ คอยให้กำลังใจ ตอนนี้ผมตัดสินใจแล้วล่ะครับอาจารย์ ว่าผมจะลาออก พรุ่งนี้ผมจะไปลาออกกับ ผอ.ครับผม ผมได้ตัดสินใจแล้วครับว่าผมจะไปตายเอาดาบหน้า ผมจะไปออสเตรเลียครับ

ตอนนี้ผมขออนุญาตถามอาจารย์ได้ไหมครับ ว่าอาจารย์สอบใบประกอบที่อเมริกามีกี่วิชาอ่ะครับ คือผมไม่รู้ว่าที่ออสเตรเลียเค้าจะติดต่อเรื่องสอบใบประกอบได้อย่างไร แล้วถ้าผมจะสอบของเค้า ผมจะต้องผ่านของไทยก่อนหรือเปล่าครับ เพราะที่มหาวิทยาลัยที่ผมเรียนก็เคยมีนักศึกษาจากเมลเบิร์นมาแลกเปลี่ยนด้วยครับ แต่ตอนนั้นผมเองก็ไม่ได้ถามเค้าหน่ะครับเนื่องด้วยไม่คาดคิดว่าจะได้ไปที่อื่นครับ ทีนี้เหตุการณ์มันเปลี่ยนไป ผมเลยคิดว่าบางที ผมอาจจะไปลองทำกายภาพบำบัดที่ออสเตรเลียดูหน่ะครับ แต่ตอนนี้แพลนว่าจะไปในนามไปเรียนก่อนอ่ะครับ(ภาษาอังกฤษยังไม่แข็งแรง) ขอบคุณอาจารย์มากๆนะครับ

สวัสดีครับอาจารย์

พึ่งเห็นบล๊อคนี้ครับ อาจารย์สบายดีนะครับ อยากร่วมเป็นสมาชิกด้วยคน

ตอนนี้อยากให้ทางสภาฯจัดสัมนาเรื่อง "มาตรฐานงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน" เพราะหลายโรงพยาบาลตอนนี้กำลังทำเรื่องคุณภาพการให้บริการ (บางแห่งก็ทำ ISO บางแห่งก็ทำ HA) จึงอยากจะให้นักกายภาพบำบัดในชุมชนมาช่วยกันระดมสมองในการกำหนดมาตรฐานงานกายภาพบำบัดในชุมชนตามมาตรฐานกายภาพบำบัด ของสภาฉบับ พ.ศ. 2549 เพื่อที่จะได้เป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้เป็นมาตรฐาน/หรือแหล่งอ้างอิง ของตัวเองในแต่ล่ะโรงพยาบาลในการทำคุณภาพระดับหน่วยงาน เผื่อน้องที่เปิดแผนกใหม่จะได้มีแนวทางในการจัดทำมาตรฐานระดับหน่วยงาน ของตัวเองต่อไป

และท้ายนี้ก็ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆที่เริ่มทำงานใหม่กันด้วยนะครับ อยากบอกน้องๆว่าแต่ก่อนนี้การทำงานในโรงพยาบาลชุมชนแย่กว่านี้เยอะครับ อยากขอให้อดทนและแสดงศักยภาพของตัวเองออกมาให้เค้ายอมรับ เพราะถ้างานของเราออกมาดีมีผลงาน อย่างไรเสียเค้าต้องเห็นคุณค่าของเราบ้าง

สวัสดีครับ

สวัสดีค่ะได้อ่านที่ทุกคนเขียนแล้วทำให้รู้

สึกดีและมีกำลังใจทำงานต่อไปค่ะ อยากถามเพื่อนๆว่าทำไมถึงเข้ากระดานนักกายภาพไม่ได้ค่ะ ช่วยบอกหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์คะ

อาจารย์พอทราบไหมคะว่าโรงพยาบาลชุมชนแถวแถวภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบน (ตาก กำแพงเพชร พิจิตร นครสวรรค์ สุโขทัย) มีโรงพยาบาลอะไรบ้างที่มีแนวโน้มจะเปิดรับนักกายภาพบำบัดบ้างคะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆ เลยคะ

ที่เข้ากระดานไม่ได้เพราะ

1.ไม่ได้เป็นสมาชิกสภาครับ

2.ได้ยินว่ามีปัญหา ทำให้สมาชิกบางท่านไม่สามารถเข้าได้ครับ

ตอนนี้ ผมเองที่ว่าจะไปลาออก ปรากฎว่า ท่าน ผอ.ไม่ให้ออกครับ แต่ก็ได้เรียกบริหารมาปรับเงินเดือนให้ผมแล้ว (เหมือนผมเห็นแก่เงินเลยครับ แต่ผมก็ไม่อยากเถียงเท่าไร เงินน้อยผมก็อยู่ยาก) ท่านบอกว่า ถ้าผมไปเมื่อไร ค่อยมาลาออก อย่างนี้อาจารย์ว่า ผมจะลาออกในช่วงเดือนที่จะไปต่างประเทศ จะยังทำได้อยู่หรือไม่ครับ เพราะตอนนี้แผนกก็กำลังจะถูกจัดตั้งขึ้นครับ แต่ท่าน ผอ.ก็ได้รับพนักงานเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด เมื่อเร็วๆนี้เข้ามาด้วยครับ เหตุการณ์เลยประมาณว่า ท่าน ผอ.ได้จัดหาผู้ช่วยให้ผม ทั้งๆที่แผนกยังไม่เกิดขึ้น และให้ผมพัฒนางานกายภาพบำบัดต่อไป ซึ่งเรื่องที่ผมจะไปต่างประเทศก็ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว หากเวลานั้นมาถึง ถ้า ผอ. ไม่ให้ผมลาออก ผมจะออกได้อยู่หรือไม่ครับ แล้วจะทำอย่างไรครับ

แด่น้องผู้กำลังจะไปออสเตรเลีย

ลาออกแล้วจะไปออสเตรเลีย คงต้องศึกษาอะไรต่อมิอะไรก่อนไป ถ้ามีเพื่อนหรือคนรู้จักที่อยู่ที่นั่นก็ควรถามข้อมูลจากเขาก่อน เท่าที่อาจารย์เคยไปสอบที่อเมริกา การสมัครสอบ license หรือใบประกอบฯ เราต้องมีการเทียบเนื้อหาหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่เราจบ กับของที่สภาฯของเขาต้องการ และคิดว่าเขาคงต้องให้เราสอบความรู้ภาษาอังกฤษด้วย บางคนอย่าว่าแต่สอบให้ได้เลย แค่ให้ได้สอบก็ลำบากเพราะต้องผ่านขั้นตอนหลายอย่าง ประเทศออสเตรเลียคิดว่าเขาไม่ขาดแคลน PT เท่าไหร่นะ ก็ลองเปิดเขาไปใน google และหา Australia physiotherapy council ดูนะ แต่ถ้าจะลาออกจริงๆ มีเวลาอ่านหนังสือเต็มที่ก็น่าจะลองสอบในประเทศไทย เอาไว้ให้ได้ใบประกอบฯไว้อุ่นใจก่อนก็จะดีนะ เพราะไม่ใช่ทุกคนที่ไปต่างประเทศแล้วได้งาน PT ทำ บางคนก็ไม่ได้ ต้องไปทำงานอย่างอื่น

ปนดา

รพ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย, รพ.อุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อาจสนใจรับ PT เพราะว่าเขามีโครงการร่วมกับสปสช.อยู่ ส่วนที่อื่นๆ จะลองหาข้อมูลให้

ปนดา

พี่สมใจ มีคำตอบสำหรับเงินค่าใบประกอบฯ ดังนี้ค่ะ

คิดตามจำนวนปีที่เรียนแพทย์ เภสัช เรียน 6ปี 5 ปี ส่วนพยาบาลเค้ามีหลักสูตร 4 เดือนที่กระทรวงรับรองจบหลักสูตรICU ต้องทำงานที่ห้องICU จึงจะได้ 2000 ส่วนพยาบาลทั่วไปได้เท่ากายภาพกับเทคนิคคือ 1000 บาท ( แต่ความจริงไม่ได้เกี่ยวกับหลักสูตรเท่าใดนักผู้บริหารคิดว่าพยาบาลขาดแคลนมากมีตัวเลขว่าพยาบาลลาออกมาก มีผลกระทบในการบริการมาก) นักกายภาพบำบัดมีลาออกบ้างแต่ผลกระทบไม่มากนัก เราเห็นว่าวิชาชีพเราสำคํญแต่คนอื่นคงคิดว่าไม่สำคัญนัก เราก็ต้องพัฒนาวิชาชีพให้เค้าเห็นความสำคัญให้ได้ซึ่งก็ต้องช่วยๆกัน

พี่สมใจ

ขอบคุณครับอาจารย์ ผมก็จะพยายามเต็มที่ครับ หวังไว้รอบ 3 นี้ จะให้ผ่านให้ได้ครับ

นักกายภาพบำบัดภูธร

กะลังจะเปิดงานกายภาพบำบัดในผู้ป่วยเบาหวานอ่ะครับ ตอนนี้ตรวจเท้าเบาหวาน ให้คำแนะนำการดูแลเท้าและการออกกำลังกายตามคอมพลิเคชัน อยากขูดแคลัส กะตัดรองเท้าได้อ่ะครับ ไม่ทราบว่า รพ.ไหนทำแล้วบ้างอยากไปดูงานอ่ะครับ

เอ็มครับ...ถ้าได้ผ่านมาทางขอนแก่น ช่วยแวะไปหากันหน่อยสิคะ หรือ e-mail คุยกันก็ได้...Cheers!

สวัสดีค่ะ อ.หนูอยากได้หนังสือเกี่ยวกับเทคนิคการรักษาระบบกระดูกและกล้ามเนื้อใหม่ๆ ไม่ทราบว่ามีอ.ท่านใดเขียน และซื้อได้ที่ไหนบ้างค่ะ จะได้นำมาทบทวนและพัฒนาตัวเองให้มากยิ่งขึ้นค่ะ

ไปเยี่ยมบ้านมา สนุกมาก ลำบากๆนี่แล่ะ ชอบ ภูมิใจมากที่เป็น PT รพช. ไม่เสียแรงที่เลือกลงชุมชน โอ้ว!!! ฉันเกิดมาเพื่อสิ่งนี้ ผู้พิการรอเราอยู่ สู้ๆนะคะทุกคนนน

สวัสดีคะอาจารย์ถ้ามีงานให้รับใช้ก็บอกนะคะ ตอนนี้ทำงานที่เดียวกับ อมร คะ หนูเรียน มช รุ่นเดียวกับโต้ง ผึ้ง คะ

คิดถึงอาจารย์นะคะ

หนังสือ Orthopedic Physical Assessment ของ David J. Magee น่าจะดีนะคะ มีเนื้อหาครอบคลุมทุก region เลย

ปนดา

อยากทราบเกี่ยวกับขอบเขตของผู้ช่วยนักกายภาพบำบัดครับ อาจารยืหรือพี่ๆท่านใดทราบพอจะแบ่งปั่นให้ผมบ้างไหมครับ

ทำไมเข้าเวบบอร์ดของสภาฯไม่ได้เลยครับ

ช่วยหามาตอบคำถามที่ 157 ตามลิ้งนี้มาเลยครับ http://pt.or.th/download/poror/00118011.pdf

ขอบคุณ พี่ กภ.นพดล มากนะครับ

เหมือนคำถาม158 อยากทราบว่าทำไมเข้าเวบบอร์ดของสภาไม่ได้ค่ะ ใครทราบกรุณาช่วยตอบด้วยค่ะ ขอบคุณมากน่ะค่ะ

เข้าเวบบอร์ดของสภา โดยใช้เลขใบอนุญาต (เฉพาะตัวเลข เช่น123) ช่องถัดไปใช้ชื่อของตัวเองค่ะโดยไม่ต้องมีคำนำหน้า

หากว่ายังไม่มีเลขใบอนุญาต(เนื่องจากสอบใบประกอบวิชาชีพติดอยู่อีก1 วิชา คือยังไม่มีใบประกอบ) จะทำอย่างไรค่ะถึงจะเข้าได้ ซึ่งก่อนนี้ไม่มีปัญหาใช้รหัสผ่านเข้าได้แต่เมื่อไม่นานมานี้เองเข้าไม่ได้เลยค่ะ ก็เลยทำให้ติดตามข่าวสารในเวบบอร์ดของสภาไม่ได้ ดีที่ว่ามีเวบบอร์ดของสภากายภาพชุมชนของอาจารย์ ทำให้รับรู้เรื่องราวของเพื่อนในวงการบ้าง

เพิ่งย้ายที่ทำงานค่ะจาก รพ.ชุมชน 60 เตียง มาอยู่ รพ.ชุมชน30เตียง มาอยู่รพ.ใหม่ไม่มีอะไรสักอย่างแม้แต่แผนกค่ะ แต่ตอนนี้กำลังก่อร่างสร้างแผนกค่ะ(รอต่อไป) คงอีกนานกว่าอะไรจะลงตัว ถ้ามีปัญหาอะไรเดี๋ยวจะเข้ามาขอความช่วยเหลือจากเพื่อนๆพี่ๆชาวPTนะค่ะ

ถ้าเข้าไม่ได้จริงๆ ลองโทรไปถามที่สภากายภาพค่ะ

สาหวัดดีครับนักกายภาพบำบัดทุกท่าน เป็นที่ทราบกันดีว่าขณะนี้สภาได้ประกาศใช้คำนำหน้าชื่อ กภ./กภญ. อยากเชิญชวนทุกท่านใช้คำดังกล่าว เพื่อให้เปงที่รู้จักในวงการสุขภาพและประชาชนทั่วไป ไม่อยากให้คิดเพียงว่าใช้แล้วจะไม่มีคนรู้จัก แต่อยากให้นี้เปงจุดเริ่มต้นที่คนจะรู้จักเรามาขึ้น เพราะถือเปงสัญญาณของความรุ่งเรืองของวิชาชีพเรา ...รักวิชาชีพนี้ที่สุดในโลก

เรียน รศ.กภญ.ปนดา และพี่ๆกายภาพบำบัดทุกท่าน ผมทราบมาว่าที่จังหวัดนครราชสีมาได้มีโครงการนำร่องโดยสรับสมัครกายภาพประจำสถานีอนามัยหลายแห่ง แต่การออกเยี่ยมผู้พิการต้องเสียค่าใช้จ่ายเองและไม่สามารถเบิกคืนได้ ทำให้กายภาพบำบัดรุ่นแรกลาออกเป็นจำนวนหนึ่ง โดยความคิดเห็นส่วนตัวแล้วโครงการดังกล่าวน่าจะเหมาะกับคนในพื้นที่มากกว่า ดังนั้นหากต้องการขยายงานกายภาพบำบัดสู่ชุมชนให้มากขึ้น สปสช หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรแก้ไขปัญหาดังกล่าว เช่น นักเรียนทุนกายภาพบำบัด เฉกเช่นนักเรียนทุนในวิชาชีพอื่น หรือเพิ่มแรงจูงใจในการเข้าไปปฏิบัติงานมากกว่านี้ ขอเชิญอาจารย์และนักกายภาพบำบัดร่วมแสดงความคิดเหนนะครับ

ได้มีโอกาสเปิดแผนกงานกายภาพบำบัดที่ รพช.สามเงา จ.ตาก

เปิดมา 2 ปีแล้ว ตอนนี้คนไข้มากขึ้น เครื่องมือเพิ่มขึ้น มี PT 2 คนแล้ว

ดีใจ ภูมิใจมากที่ได้ช่วยคนในชุมชน จะพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ดียิ่งๆขึ้นไป

เรียนทุกท่าน

ล่าสุดที่ได้ยินจากพี่น้อย (สมใจ)จากรพ.สรรพสิทธิประสงค์ ซึ่งเป็นกรรมการสภา บอกว่าให้ใช้ คำนำหน้าเป็น กภ. อย่างเดียวทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ไม่มี กภญ.นะคะ

ส่วนเรื่องโครงการรับนักกายภาพบำบัดประจำสถานีอนามัย ที่นักกายภาพบำบัดภูธรได้เสนอประเด็น 2 ประเด็นคือ

1.โครงการรับนักกายภาพประจำสถานีอนามัย ทำไมสปสชไม่ส่งเสริมให้ทุนคนในพื้นที่ไปเรียน PT ดังเช่นวิชาชีพอื่น เช่นพยาบาล เป็นต้น

2.การออกเยี่ยมบ้านผู้พิการต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง ไม่สามารถเบิกคืนได้

ขอแชร์ประสบการณ์ ในประเด็นที่ 1 ก่อนนะคะ เคยได้คุยกับสปสช.แล้ว เขาคิดว่าวิธีการดังกล่าว มันไม่ทันใช้ เขาต้องการดึงดูดนักกายภาพบำบัดที่กำลังจะจบ หรือใกล้จบมากกว่า โดยเขาจะส่งเสริมสนับสนุนให้รพ.ชุมชน ที่มีพันธะสัญญากับเขา (โดยเฉพาะในที่ๆยังไม่มี PT) ให้จ้าง PT เขาไม่สนใจว่าต้องเป็นคนในพื้นที่ แต่ถ้า PT ที่เป็นคนในพื้นที่สนใจจะกลับไปทำงานที่บ้านเกิด ก็ยิ่งดี จริงๆ เขาเห็นความสำคัญของงาน PT นะ เขาอยากให้มีการเริ่มจ้างงาน PT ให้ได้ก่อน โดยเขาจะสนับสนุนให้ในการจ้างคนแรก และก็หวังว่า PT คนแรกที่จ้างนั้นจะทำให้รพช.ติดใจ อยากจ้างเพิ่มอีก รพช.บางแห่งมีนโยบายเข้มแข็งมากในการทำงานเป็นเครือข่ายกับสอ. เขาเลยต้องพัฒนาศักยภาพของสอ.ให้สามารถแก้ปัญหาสุขภาพได้มากขึ้น ปชช.จะได้ไม่ต้องเข้ามารับการรักษาที่รพช.ซึ่งแออัดมาก เขาก็เลยสนับสนุนให้มี PT ที่สอ.ด้วย

ประเด็นที่ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายในการออกเยี่ยมบ้านเอง นั้นเท่าที่อาจารย์เคยสัมภาษณ์พยาบาล ที่ทำงานอยู่ในสอ.หรือศูนย์สุขภาพชุมชน เขาก็เล่าว่า เขาไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายได้ เช่น ค่าน้ำมัน เพราะว่าส่วนใหญ่เขาใช้รถมอเตอร์ไซด์เข้าไปในหมู่บ้านซึ่งก็ใช้น้ำมันไม่มาก บางทีที่สอ.เขามีมอเตอร์ไซด์ก็ใช้ของสอ. แต่ส่วนใหญ่เขาก็ไปรถของตัวเองกัน และเขาก็ออกกันบ่อยแทบจะทุกบ่ายเลย เพราะเขาต้องเยี่ยมเกือบทุกบ้านใน 1 ปี โดยเขาจะมีเกณฑ์ว่าบ้านไหนมีสุขภาพอยู่ในระดับดี ปานกลาง แย่ ถ้าบ้านไหนแย่ก็จะไปเยี่ยมนานหน่อย บ่อยหน่อย ถ้าบ้านไหนสุขภาพดี ก็ไปปีละ 1 ครั้ง แต่มีการแบ่งบ้านกันเยี่ยมเป็นโซนๆ เพราะสอ.หนึ่งมีอาจพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารฯหลายคน ส่วนนักกายภาพบำบัดถ้ายังไม่สามารถเยี่ยมได้มากขนาดนั้นก็คงต้องดูตามความเหมาะสม บางทีอาจเยี่ยมในรายที่มี refer มาก่อนก็ได้ แล้วค่อยๆ ขยายงานออกไป

แต่ถ้าเราทำงานอยู่ในรพ.ชุมชน หรือในสอ. เราน่าจะได้เงินค่าวิชาชีพ ใช่ไหมคะ ไม่ทราบว่าจะเหมือน PT ในรพ.ศูนย์หรือทั่วไปหรือไม่ ถ้ามีใบประกอบวิชาชีพจะได้เงินค่าวิชาชีพ 1,200 บาทต่อเดือน ถ้าทำงานครบ 4 ปีจะได้เพิ่มป็นเดือนละ 1,800 บาท

ไม่ทราบว่าพี่ๆ ที่อยู่รพช.มีข้อมูลเล่าให้ฟังบ้างไหมคะว่าได้อย่างไรบ้าง

ปนดา

เรียน รศ.กภ.ปนดา ที่ รพช.ที่ผมทำอยู่ขณะนี้มีการตอบแทนเหมาจ่ายผู้ที่ปฏิบัติงาน 1200 บาท แต่วิชาชีพอื่นก้อได้ลดลันกันไปตามจำนวนปีที่ศึกษาเช่น จพ.เภสัช ได้600 บาท ส่วน นักวิชาการ(นว)ผมไม่ทราบว่าเค้ามีสอบใบประกอบไหมแต่ก้อได้ 1200 เนื่องจากเรียนสี่ปี ส่วนข้อมูลจะถูกต้องเพียงใดเด่วจะกลับมาตอบนะครับ ไม่ทราบว่าที่อื่นเปงอย่างไรบ้างครับ

เรียนอาจารย์และนักกายภาพที่เคารพทุกท่าน

ค่าใบประกอบวิชาชีพนะเป็นค่า พตส ครับได้รับท่านละ1000บาทครับ

ส่วน 1200 สำหรับคนที่ทำงาน1-3ปี และ 1800 สำหรับคนที่ทำงาน 4 ปีขึ้นไป เป็นค่าตอบแทนหรือที่เรียกว่าค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายแต่ตอนนี้ที่จากที่เราไปเรียกร้องสิทธิ์ที่กระทรวงเมื่อวันที่1กรกฎาคม ที่ผ่านมา รพศ และ รพท ยังไม่ได้รับ คำสั่งออกมาเมื่อวันที่1กรกฎาคม 2552 แต่ยังไม่มีตัวเงินในการจ่ายจริงมีเพียงแต่คำสั่งเท่านั้นเองครับ

จึงเรียนมาเพื่อทราบกันทุกๆท่าน

สวัสดีครับอาจารย์ ตอนนี้ผมกำลังทำงานที่เกี่ยวกับผู็ป่วยเบาหวาน โดยเฉพาะแผลที่เท้า

และการรักษา ตอนนี้ทำงานอยู่แถวอีสาน คิดถึงอาจารย์มากครับ

ขอบคุณ กภ.อมร และ กภ.ภูธร ที่ช่วยเข้ามาให้ความกระจ่างในเรื่องค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย คงจะมีความชัดเจนมากขึ้น ส่วนเรื่องค่าตอบแทนพิเศษของกภ.รพศ. และรพท.คงต้องรอไปอีกหน่อย เพราะคำสั่งเขาสั่งให้เริ่มจ่ายตั้งแต่ กรกฎาคม 2552 อาจารย์มีคำสั่งนี้อยู่ มีใครอยากได้บ้าง ส่ง e-mail มาจะส่ง file ไปให้ โดยเฉพาะนักกายภาพฯรพท. รพศ. ควรได้รับคำสั่งนี้ทุกคนนะคะ จะได้ไปดำเนินการให้ฝ่ายบริหารเขาตั้งงบให้เรา

ปนดา

ไผ่

คิดถึงไผ่เหมือนกัน เป็นอย่างไรบ้าง สบายดีไหม เขียน mail มาคุยกันบ้างซิ

ปนดา

เท่าที่ทราบ สิ่งที่เกิดขึ้นที่โคราชไม่ใช่เรื่องราวปกติที่จะเกิดกับทุก ๆ ที่ ความเป็นมาของเรื่องนี้คือ ทาง รพ.มหาราชนครราชสีมามีความตั้งใจดีที่อยากให้มี PT ประจำอยู่ที่แต่ละสถานีอนามัย/PCU ใน CUP ของ รพ. โดยในช่วงแรกเน้นงานเยี่ยมบ้านกลุ่ม chronic cases เขาจึงจัดทำโครงการนี้ขึ้น โดยในปีแรกรับ PT 1 คนก่อน ให้รับผิดชอบ สอ. เท่าที่จะทำได้ โดยมีค่าตอบแทนต่อเดือนเป็นเงินจำนวนหนึ่ง ไม่มีค่าอื่น ๆ เช่น พตส. ค่าล่วงเวลา ค่าเดินทาง ค่าที่พัก เป็นต้น ซึ่งในการเยียมบ้าน PT จะใช้รถ (รถยนต์/มอเตอร์ไซด์) ของ สอ. ก็ได้ แต่หากจะใช้รถส่วนตัวก็ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง ทั้งหมดนี้เป็นข้อตกลงที่รับรู้กันตั้งแต่ต้นเลย เพราะนี่เป็นเพียงโครงการนำร่อง หากได้ผลดีก็จะดำเนินการต่อ ๆ ไป ซึ่ง PT คนแรกก็ทำผลงานได้ดีมาก เขาจึงเปิดรับ PT เพิ่มอีก 4 คน ภายใต้เงื่อนไข/ข้อตกลงเดิม

ในมุมมองของพี่ พีว่าแพทย์เจ้าของโครงการเขาคงจะเห็นความสำคัญของ PT เราล่ะ ถึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา แต่ตอนเขียนโครงการเสนอแหล่งทุนของเขา คุณหมอคงไม่ทราบว่าในลักษณะงานอย่างนี้ ค่าตอบแทนที่ PT ควรได้น่าจะเป็นเท่าไร จึงกำหนดไปตามเงื่อนไขข้างต้น น้อง 4 คนที่เข้าไปทำงานจึงไม่ค่อย happy ภายใต้เงื่อนไขนี้ ซึ่งก็อย่างที่บอกข้างต้น นี่เป็นโครงการนำร่อง คนที่เข้าไปทำงานก็เป็นลูกจ้างโครงการ ไม่ใช่ลูกจ้างหรือพนักงานของ รพ.มหาราชฯ ดังนั้น ค่าตอบแทนที่ได้รับจึงไม่ได้อิงเกณฑ์ใด ๆ ทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ก็มีน้อง 2 คนเข้าไปเสริมงานแทนแล้ว และเขายังต้องการอีก 2 คนนะคะ ใครที่ยอมรับได้กับเงื่อนไขการจ้างอย่างนี้ก็ขอชวนมาสมัครกันค่ะ เท่าที่พี่ได้เข้าไปสัมผัสกับทั้งคุณหมอและ PT คนแรก นี่เป็นโครงการที่จะทำให้เราได้มีโอกาสเปิดงานชุมชนเพิ่มขึ้นนะคะ จากเดิมที่มี PT ประจำอยู่เพียงระดับ รพช. ตอนนี้ก็มีโอกาสที่จะขยายลงมาให้มีเราในระดับ สอ. แล้ว เป็นเรื่องที่น่ายินดีนะคะ เราน่าจะช่วยกันทำผลงานให้ออกมาดี ๆ กัน และจากเหตุการณ์ครั้งนี้ พี่ว่าเขาคงนำบทเรียนนี้ไปแก้ไขไม่ให้เกิดอะไรอย่างนี้ซ้ำอีกแน่

นักกายภาพบำบัด รพช.

ตอนนี้ทำงานโรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดสุพรรณบุรีค่ะ

เป็นโรงพยาบาลชุมชนที่ขนาดค่อนข้างใหญ่ 120-150 เตียง

ทำงานมาแล้ว 3 ปี ค่ะ(เพิ่งบรรจุเป็นพนักงานราชการได้ครึ่งปีเท่านั้น)

ปัจจุบันมี PT 4 คนแล้วค่ะ ผู้ช่วย 1 คน

(ผอ.ค่อนข้างทราบบทบาท PT ค่ะ เลยรับ PT เยอะมากๆ เลยไม่กล้าขอผู้ช่วยเลย แฮะๆ)

เป็นฝ่ายที่ขึ้นตรงกับผู้อำนวยการค่ะ

เป็น รพช.ที่รับฝึกงานน้องๆ กายภาพบำบัดจากมหาลัยด้วยค่ะ

ผอ.ท่านจะพัฒนาเป็นศูนย์ฝึกในอนาคตค่ะ)

คนไข้ต่อวันผู้ป่วยนอก 20-30 ราย ผู้ป่วยใน 10-15 ราย

ทำงานทั้งเชิงรุกและรับร่วมกับทีมสหวิชาชีพ (แพทย์/พยาบาล/เภสัชกร/โภชนากร/กายภาพบำบัด) เช่น การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง(เบาหวาน/ความดันโลหิตสูง)

โครงการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โครงการเยี่ยมบ้านวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัญหา การออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์(โรงเรียนพ่อแม่)อบรมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อสม.และญาติผู้พิการในการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในชุมชน อบรมการป้องกันโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในกลุ่มประชากรเสี่ยงและสุขภาพดี การให้ความรู้ผู้ป่วยเตรียมตัวผ่าตัดมะเร็งเต้านม(PCT ศัลยกรรม) ออกกำลังกายในหอผู้ป่วย แนะนำการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจและทางกายในป่วยกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (MI)(PCT อายุรกรรม)เป็นต้นค่ะ

ปัจจุบันกำลังวางแผนร่วมกับฝ่ายการพยาบาลจัดอบรมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยของเจ้าหน้าที่เปลและพยาบาลในปีงบประมาณ 2553 นี้ค่ะ

อยากบอกเราชาว PT รพช. ว่า กายภาพบำบัดในชุมชนมีอะไรให้ทำเยอะเลยค่ะ ยิ่งโรงพยาบาลเรามีบริบทใหญ่ งานก็ยิ่งมากขึ้นตาม ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเอาตัวเราและงานของเราเข้าไปนำเสนอให้กับวิชาชีพอื่นๆทราบได้อย่างไร การเข้าประชุม การมีส่วนร่วมกับทีมสำคัญมาก เพราะถ้าเขารู้จักบทบาทของเราดีแล้ว เมื่อมีประเด็นการทำงานใดที่เกี่ยวข้องกับเราขึ้นมา ทีมก็จะนึกถึงเราเองค่ะ (ตอนนี้บางงานจะทำไม่ทันแล้ว)งานบางงานไม่จำเป็นต้องเหมือนกับที่ไหนๆ อย่างบางท้องที่มีกลุ่มโรคที่เป็น 5 อันดับโรคสำคัญ(เช่น COPD หรือ TB)ของโรงพยาบาลแล้วเรามองเห็นแล้วว่าเราสามารถเข้าไปทำอะไรกับผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ก็เข้าไปปรึกษากับผู้ที่ทำงานกับผู้ป่วยกลุ่มนั้นเลยค่ะ บางทีเขาอาจจะรอเราอยู่ก็ได้

อยากแนะนำน้องๆที่เข้าไปบุกเบิกโรงพยาบาลชุมชนว่า เราไม่สามารถทำอะไรให้ยิ่งใหญ่ไปได้ด้วยกำลังของเราคนเดียว การทำงานบางอย่างก็ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันหลายๆวิชาชีพ ให้นึกว่าทำอย่างไรจึงจะเกิดงานที่ก้าวหน้า สมเด็จพระเทพฯท่านสอนพวกเราว่าอยากจะกินก๋วยเตี๋ยวไม่จำเป็นต้องทำลูกชิ้นเอง ดังนั้นจะทำงานใหญ่อย่าทำคนเดียว ตลอดมาโครงการต่างๆที่ทำจะเกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าขาดความร่วมมือจากทีมสหวิชาชีพ และอยากให้พวกเรา PT รพช. มุ่งมั่นทำเพื่อประชาชนและวิชาชีพของเราต่อไป....ถึงบางครั้งจะเหนื่อย...ถึงบางครั้งจะท้อ...แต่ความสำเร็จที่ได้มันน่าภาคภูมิใจเสมอนะคะ...

เรียนทุกท่าน

วันศุกร์ที่ 21 สค. นี้ อาจารย์จะไปประชุมกับสปสช. เรื่องการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัด ในงานบริการระดับปฐมภูมิ มีใครอยากฝากข้อเสนอแนะอะไร ก็ฝากไปได้นะคะ

ยินดีกับน้องกภ.ชุมชน จ.สุพรรณบุรีด้วย ที่สามารถบุกเบิกงาน PT ในรพช.จนเป็นที่ยอมรับของทีมสหวิชาชีพ อยากให้เข้ามาเล่าหรือแชร์ประสบการณ์ให้น้องๆ อีกนะคะ

ไม่ทราบว่าอยู่รพช.ชื่ออะไร บอกได้ไหมคะ ขอจองส่งนิสิตไปฝึกงานไว้ล่วงหน้านะคะ

ปนดา

นักกายภาพบำบัด รพช

ตอนนี้อยู่ ร.พ.อู่ทองค่ะ

ล่าสุดมหาวิทยาลัยนเรศวรติดต่อขอส่งนิสิตมาฝึกงานแล้วค่ะ

พอดีว่าน้องนักกายภาพที่ได้มาคนที่ 4 เป็นน้องจากม.นเรศวร

ก่อนหน้านี้ที่รับเป็นน้องจาก มศว กับมหิดลค่ะ

หวัดดีครับ รศ.กภญ.ปนดา เตชทรัพย์อมร ผมเปงนักกายภาพบำบัด รพช.ครับเพิ่งมาเปิดแผนกอยากอธิบายความต้องการจากประสบการณ์การทำงานจิงใน รพช.หวังว่าอาจจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนางานกายภาพบำบัดต่อไป ดังนี้ครับ

๑.อยากให้มีการกำหนดอัตากำลัง กภ.ใน รพช.ให้มีความชัดเจนเพื่อให้มีตำแหน่งงานที่แน่นอนมากขึ้นครับ

๒.อยากให้ สปสช.สนับสนุนงบประมาณเกี่ยวกับการจัดซื้อเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่มีความจำเป็น ตามมาตรฐานครับ

๓.อยากให้กระทรวงกำหนดโครงสร้างองค์กรกายภาพบำบัดใน รพช.ที่เหมือนกันทั่วประเทศครับ

๔.อยากให้อนาคตมีโครงการนักเรียนทุน หรือโครงการผลิตนักกายภาพบำบัดเพิ่มเพื่อชาวชนบทครับ

๕.อยากให้ สปสช.พลักดันให้มีการจ้างงานกายภาพบำบัดใน รพช.100%และในสถานีอนามัย เพื่อให้เครื่อข่ายการทำงานทางกายภาพบำบัดมีความสะดวก รวดเร็วและมีประสิทธิภาพครับ

ขอบคุณสำหรับข้อเสนอแนะดีๆ นะคะ ถ้ามีโอกาสจะนำเสนอให้สปสช.ทราบค่ะ แต่ที่แน่ๆ จะให้นายกสภาฯอ่านด้วย ท่านจะได้เป็นแรงหนุนที่สำคัญอีกแรงนะคะ แล้วจะมาเล่าให้ทราบนะคะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ไปประชุมที่ สปสช.เปงไงบ้างน้อ อยากรู้จังเลยครับ

ต้องขอขอบคุณที่คุณกิตติ สมบรรดา ได้ส่งข้อเสนอแนะในการพัฒนากำลังคนกายภาพบำบัดชุมชน อาจารย์ไปร่วมประชุมกับสปสชมาแล้ว จริงๆ รอบนี้เป็นรอบที่เราหารือกันในกลุ่มคณะทำงานพัฒนากำลังคนกันมากกว่า โดยมีเป้าหมายว่าจะต้องพยายามให้เกิดการจ้างงานในรพช.ให้ครบทุกโรง ตอนนี้ยังมีรพช.อีกไม่ตำกว่า 200 โรง ที่ยังไม่มี PT สปสช.ได้สำรวจว่ารพช.ไหนบ้างที่ต้องการจ้างนักกายภาพบำบัด ซึ่งได้ข้อมูลมาแล้วคาดว่าสภาฯน่าจะได้ upload ข้อมูลขึ้น web เร็วๆ นี้ แต่ก็ยังมีอีกไม่น้อยที่ไม่ต้องการจ้าง PT เนื่องจากสาเหตุการไม่มีตำแหน่งงานเป็นหลัก ซึ่งหลายรพช.อาจจะยังขาดความรู้ความเข้าใจในการจ้างงาน PT และอาจจะไม่เข้าใจงานและบทบาทของ PT ขณะเดียวกันนักกายภาพบำบัดที่จบใหม่ส่วนมากก็ยังไม่สนใจทำงาน PT ชุมชน หรือบางคนสนใจแต่ก็ยังขาดความรู้และทักษะในการทำงานในชุมชน เนื่องจากการเรียนการสอนในหลักสูตรหลายสถาบันอาจจะยังไม่ได้เน้นการสอนด้านนี้ เห็นหรือยังว่าการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัด เราต้องพัฒนาหลายๆ อย่างไปพร้อมๆ กัน สปสช.เขาต้องการซื้อบริการทางกายภาพบำบัด เขาก็เลยอยากสนับสนุนให้เราพัฒนาหลายๆ อย่างดังกล่าวไปหร้อมๆ กัน เพื่อให้เกิดการจ้งงงาน PT ในชุมชนมากขึ้น วันที่ 9 ส.ค.นี้จะมีประชุมอีกครั้งหนึ่งซึ่งครั้งนี้จะเป็นการประชุมกับผู้บริหารระดับนโยบายของสปสช.โดยตรง ใครมีความคิดเห็นอย่างไร อยากให้พัฒนาอะไร อยากให้ช่วยเรื่องอะไรก็เสนอผ่านช่องทางนี้ได้ อาจารย์จะพยายามรวบรวมข้อมูลให้มาก ๆ อย่าคิดว่าคนอื่นเสนอแล้ว เราไม่ต้องเสนอ เพราะอยากฟังความคิดเห็นจากหลายๆ คน ยิ่งมากยิ่งดี จะได้ใช้เป็นข้อมูลในการนำไปพัฒนางาน PT ชุมชนต่อไป ถ้าไม่ทราบว่าจะเขียนอะไร ก็แสดงความคิดเห็นก็ได้ว่าเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับที่คนอื่นเสนอมา

ยกตัวอย่างข้อเสนแนะของคุณกิตติดีมาก อาจารย์ได้มีโอกาสอ่านข้อเสนอของคุณให้ที่ประชุมฟัง รวมถึงให้สปสช.ทราบข้อเสนอนี้ด้วย ก็ทำให้เขามั่นใจมากขึ้นว่าที่เขาวางเป้าหมายไว้มันถูกทาง เพราะข้อเสนอของคุณก็อยู่ในแนวทางที่เรากำลังอยากจะทำอยู่แล้ว เช่น เรื่องการจ้างงาน PT ในรพช.100% และอาจจะขยายต่อไปในรพต. หรือสอ.ด้วย เรื่องโครงการนักเรียนทุน เป็นต้น

ก็อยากให้ช่วยกันให้ข้อเสนอแนะมาอีก และช่วยบอก PT ชุมชนคนอื่นๆ ที่ยังไม่ได้เข้ามาเยี่ยม blog นี้ให้เข้ามาพูดคุยกันให้มากขึ้น คณะทำงานทุกคนรวมถึงนายกสภาฯก็รู้สึกว่าสิ่งที่เสนอมามีประโยชน์ และเป็นข้อมูลที่มีน้ำหนักมากสำหรับช่วยในการตัดสินใจในระดับนโยบายเลยทีเดียว

วันนี้เล่าเท่านี้ก่อนนะ และต้องขออภัยนะเขียนยาวไปหน่อย

ปนดา

นักกายภาพบำบัด รพช.

เห็นด้วยกับการขยายให้มีนักกายภาพบำบัดใน รพต.หรือ สอ.

ดิฉันอยู่โรงพยาบาลชุมชนที่มีอนามัยในเขตอำเภออยู่ 22 สถานีอนามัย

ลงสำรวจพบผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ประมาณ 300 ราย

รวมถึงผู้ป่วยโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่ไม่สามารถเดินทางมาโรงพยาบาลได้

ซึ่งส่วนใหญ่สมควรได้รับการรักษาฟื้นฟู

ถ้าผู้พิการได้รับการฟื้นฟูต่อเนื่องจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้ดีขึ้น

แต่ผู้พิการส่วนใหญ่เช่นกันที่ติดปัญหาด้านการเดินทางมารับการฟื้นฟูที่โรงพยาบาล

แม้จะให้โปรแกรมการฟื้นฟูที่บ้าน แต่ก็ไม่สามารถฟื้นฟูได้อย่างต่อเนื่อง

ทำให้ผู้พิการรู้สึกท้อ...นักกายภาพบำบัดก็ไม่เพียงพอจะลงไปดูแลผู้พิการได้ทุกราย

จัดอบรมญาติและเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย ก็ไม่ค่อยเห็นผลมากนัก

เนื่องจากเขาไม่ใช่วิชาชีพ ทำให้ปรับหรือกระตุ้นพัฒนาการในการฟื้นฟูไม่ได้

ได้แต่เพียงการฟื้นฟูขั้นพื้นฐานเท่านั้น

หากมีนักกายภาพบำบัดประจำตามสถานีอนามัย

ก็จะทำให้เป็นโอกาสที่ผู้ป่วยและผู้พิการเหล่านี้จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นค่ะ

งานในโรงพยาบาลตอนนี้ก็ล้นมือ เข้าไปดูแลได้แต่เพียงผู้ป่วยผู้พิการที่สาหัสจริงๆ

แต่ผู้ป่วยผู้พิการอีกส่วนใหญ่..."ไม่อยากให้เขาต้องทนกับความเจ็บป่วย

แล้วเฝ้าคิดว่าระบบสาธารณสุขไม่เอื้ออำนวยต่อคนยากจนอย่างเขา"

ทั้งๆที่มนุษย์ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

เรียน รศ.กภญ.ปนดา เตชทรัพย์อมร ผมกิตติเองครับ ข้อเสนอขอผมอาจจะมีประโยชน์บ้างไม่มากก้อน้อยแต่คิดว่า กภ. ท่านอื่นๆก้อคงมีข้อเสนออื่นๆที่แตกต่างกันออกไปอยากให้ทุกคนร่วมกันเสนอนะครับ

เรียนทุกท่าน

ช่วยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ก่อนที่อาจารย์จะไปประชุมอีกรอบนะคะ ตอนนี้รพ.กิฉินารายณ์ จะมีโอกาสนำเสนอผลงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลด้วย(รพสต)ให้นายกอภิวิทธิ์ และรมว.สาธารณสุขฯ เพื่อสนับสนุนให้มีงานกายภาพบำบัดในรพสตให้มากขึ้น ใครอยากเล่าอะไร เสนออะไรอีกไหม

ปนดา

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

ดิฉันเป็นนักกายภาพบำบัดต้องการทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ดิฉันได้เขียนโครงการเสนอผู้อำนวยการเพื่อขอเปิดแผนกกายภาพบำบัด ทางท่านผอ.ก็สนใจที่จะเปิด แต่ก็มีปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน ทั้งเรื่องสถานที่ อุปกรณ์ งบประมาณ ตำแหน่งงาน ที่ทำให้รพ.ชุมชนยังไม่สามารถเปิดแผนกได้ อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยว่าควรทำอย่างไร ดิฉันได้ดูประกาศของสภาเรื่องรายชื่อร.พ.ที่ต้องการนักกายภาพบำบัด ถ้าต้องการทำงานตรงนั้นต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

ดิฉันอยากทราบว่ามีคลีนิคกายภาพบำบัดที่ไหนบ้างในกรุงเทพฯ จะได้ไปหา เพราะมีอาการปวดแขนมาไม่อยากหาหมอทานยาตามโรงพยาบาล

เรียนอาจารย์ปนดา และกภ.ทุกท่าน

ดิฉันเป็นนิสิตจบใหม่ทำงานที่โรงพยาบาลชุมชน ได้ออกหน่วยเยี่ยมบ้าน เห็นสภาพผู้ป่วยแล้วเป็นคนพิการแน่ แต่เขาไม่ได้สิทธิคนพิการ อยากทราบว่าใครจะให้ผู้ป่วยเป็นสิทธิคนพิการ ดิฉันเป็นเด็กจบใหม่ ก็ไม่กล้าจะแสดงความคิดเห็นกับทีมที่ทำงานด้วย แต่เคยถามพี่พยาบาลบอกว่าต้องให้แพทย์เป็นคนตัดสิน แต่ว่าดิฉันไปออกเยี่ยมบ้าน แพทย์ก็ไม่ค่อยได้ออกไปเยี่ยมด้วย บางครั้งอยากให้เวลาฟื้นฟูผู้ป่วยนานๆ ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากต้องไปอีกหลายบ้าน แต่ดิฉันเคยไปฝึกงาน เห็นพี่ๆ CI เวลาออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย เห็นพี่ๆ CI เค้าก็ทำเรื่องให้สิทธิคนพิการ ให้แก่ผู้ป่วยได้

รบกวนช่วยตอบด้วยนะคะ ดิฉันเป็นเด็กพึ่งจบใหม่ เป็นนักกายภาพบำบัดคนเดียวด้วย และดูเหมือนบุคลากรที่นี่ยังไม่เข้าใจบทบาทกายภาพบำบัดอีกด้วย

ถึง น้องศิษย์เก่ามน.PT6

พี่เองก็เป็น PT ชุมชนนะคะ พี่ได้อ่านปัญหาที่น้องเจอ ขอร่วมแสดงความคิดเห็นนะ เรื่องการดูแลผู้พิการนั้น น้องควรดูแลให้เต็มที่เต็มเวลา เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการรักษานะ เพราะการเปลี่ยนแปลงผู้ป่วยที่เห็นเด่นชัดหลังจากที่เราฟื้นฟู จะเป็นตัวช่วยบอกบทบาทของ PT ได้ดีมาก เมื่อคนไข้ดีขึ้นจากเรา วิชาชีพอื่นจะรู้บทบาทเรามากขึ้นค่ะ ส่วนเรื่องสิทธิของคนไข้นั้น เราเป็นนักกายภาพบำบัด สามารถประเมินเบื้องต้นได้ค่ะ โดยใช้เอกสารประเมินความพิการซึ่งต้องเซนต์โดยแพทย์ น้องควรรุกเข้าไปหาแพทย์เรื่องการประเมินความพิการ ปัจจุบันมีหลายโรงพยาบาลเขาบริการจดทะเบียนผู้พิการแบบ one stop service แล้วนะ ลองบอกเจตนาการทำงานเราให้แพทย์ทราบค่ะ บอกให้ทราบว่าเราต้องการช่วยให้คนพิการได้รับการจดทะเบียนให้ทั่วถึง เพื่องบผู้พิการใน CUP ของเราจะได้เพิ่มขึ้น เน้นเรื่องการหางบเข้า รพ.เยอะๆ (ไม่ทราบว่า clear บ้างรึเปล่า ) สู้ๆ นะคะน้อง

เรียนนักกายภาพบำบัด post ที่ 186

ไม่ทราบว่าปัจจุบันทงานในรพช.อยู่หรือยัง ถ้าทำอยู่แล้วจะเปิดแผนกก็คงต้องคุยกับผอ.ว่าพอมีงบสนับนุนเท่าไร คงต้องหาอุปกรณ์ที่จำเป็นก่อน แต่ถ้าไม่มีจริงๆ ก็ต้อง 1 สมอง 2 มือ ไปก่อน จริงไม่มีแผนกก็ดีเหมือนกันเดินไปหาผู้ป่วยทำก็ได้ ขอให้มีการประสานงานกับแพทย์ ว่าผู้ป่วยแบบไหนที่เราช่วยดูแลได้ และเรายังสามารถทำงานร่วมกับทีมสหสาขาในการออกเยี่ยมบ้าน หรือจะออกสำรวจปัญหาของผู้ป่วยในชุมชนเพื่อนำมาเขียนโครงการในการทำงานก็ได้ ทั้งนี้แล้วแต่ว่าจะชอบแบบไหน แบบที่ออกไปสำรวจปัญหาเราคงต้องเข้าไปในชุมชน ไปทำความรู้จักกับ PCU ผู้นำชุมชนด้วยก็จะดี ทำให้เขารู้จักเรา เขาจะได้ให้ความสะดวกกับเราเวลาเขาหม่บ้าน ทำแผนที่เดินดิน เราจะรู้ว่ามีผู้ป่วยอยู่ตรงไหนบ้าง บ้านไหนมีคนป่วยก็คน ทำไปทีละหมู่ก็ได้ เมื่อได้ปัญหาของผู้ป่วย เราก็มาทำเป็นโครงการในการแก้ปัญหา โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมคิดร่วมทำจะได้ยั่งยืน ต้องแนะนำให้พวกเขาช่วยกันดูแลกันเองด้วย

ส่วนเรื่องรพช.มีมีประกาศรับ PT นั้นถ้าใครต้องการสมัครก็ส่งใบสมัครไปถึงผอ.ได้เลย หรือจะไปสมัครด้วยตนเองก็ได้ บอกเขาว่าได้รับข้อมูลความต้องการจ้างนักกายภาพบำบัดจกสปสช. เขาจะเข้าใจเพราะเขามีพันธสัญญาในการสนับสนุนการจ้าง PT กันอยู่ค่ะ

ปนดา

ตอบ คุณอุบล post ที่ 187

คลินิกของคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหว ของม.มหิดล ตรงตีนสะพานปิ่นเกล้าฝั่งธนฯ มีทั้งในเวลา นอกเวลา เป็นราชการเบิกได้ค่ะ ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหนของกทม.คะ จริงๆ แล้วเกือบทุกรพ.ของรัฐและเอกชนก็มีแผนกกายภาพบำบัดค่ะ เพียงแต่ต้องไปพบแพทย์ในรพ.นั้นๆ ก่อนให้เขาส่งเราไปปรึกษานักกายภาพบำบัด แต่ถ้าไปที่คลินิกก็สามารถไปปรึกษาได้เลยโดยตรงค่ะ

ปนดา

ขอบคุณนักกายภาพบำบัดคนภาษาเดียวกันที่ช่วยตอบและแนะนำน้อง กภ.ชุมชน จริงๆ แล้วอยากให้ช่วยกันแนะนำค่ะ เพราะพวกเรามีประสบการณ์โดยตรงอยู่แล้ว มใครที่พอจะแนะนำน้องได้อีกไหม จริงๆ พี่อากแนะนำน้องให้คุยกับพี่จีรวรรณ นักายภาพบำบัดรพ.ศูนย์ขอนแก่น เขาจะรูเรื่องทะเบียนผู้พิการ และสิทธิของผู้พิการด๊ หรอพี่ๆ PTที่รพ.สรรพสิทธิประสงค์ เขาทำทะเบียนผู้พิการได้ค่อนข้างสมบูรณ์มีการทำงานเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายด้วย ถ้ามีโอกาสลองไปคุยกับเขาดู หรือโทรไปที่รพ.ก็ได้ อยากรู้อะไรจะได้ถามได้เต็มที่

ปนดา

ถึง กภ. ทุกท่านตอนนี้ผมออกเยี่ยมผู้พิการมีปัญหาจดทะเบียนความพิการเช่นกัน เพราะกฎหมายยังไม่รับรองนอกจากแพทย์ แล้วเราตรวจประเมินให้แล้วมาขอลายเซนต์ทีหลังหรือยังไงดีครับขอทราบประสบการณืจาก รพชฬอื่นกรณีที่แพทย์ไม่ได้ออกเยี่ยมด้วย (แนะนำคนไข้มาจดที่ รพ.แล้วแต่มาไม่ได้จิงๆ)

กายภาพบำบัด รพ.โขงเจียม

จากที่ออกเยี่ยมชุมชนมา พบปัญหาเรื่องสิทธิ์ไม่ตรงจริงๆค่ะ มากๆด้วย ทั้งๆที่บางรายก็มีสมุดประจำตัวผู้พิการแล้วแต่ยังเป็นสิทธ์อื่นๆที่ไม่ใช่ผู้พิการดังนั้น ก็เลยคุยกับพี่ที่สิทธิบัตร ประเด็นคือ ต้องมีหลักฐานในการเปลี่ยนสิทธิ์ ที่สำคัญคือ เอกสารเช่นสำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน(ถ้าผู้พิการมีสมุดประจำตัวผู้พิการแล้วก็สำเนาสมุดนี้มาด้วย)และสำเนาบัตรทองเดิมที่มิใช่สิทธิ์ผู้พิการค่ะ (รับรองสำเนาด้วยนะคะ)(หรือให้พกบัตรทองมาดูด้วยในวันที่เราคัดกรองถ้าเป็นสิทธิ์ ท74 แล้วก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่ใช่ก็พิจารณาเปลี่ยนสิทธิ์ เราก็อาจจะลงข้อมูลเลขบัตรไว้ เช่น ท89.....หรืออะไรก็ตามที่ไม่ใช่สิทธิ์ผู้พิการ /และที่ไม่ใช่สิทธิ์ย่อยผู้พิการ)ที่บอกให้สำเนามาคือส่วนมากเวลาที่เราลงคัดกรองนั้นจะพบปัญหาเรื่องนำเอกสารหลักฐานมาไม่ครบ ลืมบ้าง เพื่อการไม่เสียเที่ยวและได้ประโยชน์สูงสุดในการสำรวจคัดกรองแต่ละครั้งควรนัดแนะประสานงานกับอนามัยและอสม.ให้เน้นย้ำและเช็คหลักฐานก่อนวันเราออกเยี่ยมจริง (คือจะได้ไม่ต้องวิ่งร่อนถ่ายเอกสารตามมาให้ทีหลัง)แล้วเราก็รวมเอกสารเลย

ในกรณีการสำรวจที่พบว่าที่เป็นผู้พิการรายใหม่ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการเปลี่ยนสิทธิ์ของเรา ผู้พิการเค้าจะยังไม่มีสมุดผู้พิการค่ะ ถ้าเราสามารถช่วยตรงนี้ได้จะเร็วมากเราต้องดำเนินการคือ อาจจะให้แพทย์ลงคัดกรองร่วมกับเรา เพื่อออกเอกสารรับรองความพิการค่ะ แล้วเราก็ดำเนินการรวบรวมหลักฐาน คือ รูปถ่าย 1 นิ้ว 2 ใบ ,สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารรับรองความพิการ และสำเนาบัตรทองมาด้วย เพื่อจะได้เปลี่ยนสิทธิ์ต่อเลย ทั้งนี้ทั้งนั้น การทำสมุดผู้พิการเราจะต้องประสานดำเนินงานกับ พมจ ค่ะ แต่การเปลี่ยนสิทธิ์สามารถดำเนินการที่ รพ.ของเราได้เลย (หมายถึงในอำเภอเรานะคะ)...พอจะช่วยตอบคำถามได้หรือป่าวคะ เราก็จบใหม่เหมือนกัน

คราวนี้อยากจะเรียนปรึกษา อ.ปนดาเรื่อง ขอเจ้าหน้าที่ วฟ ค่ะ ทางผอ.ท่านเล็งเห็นความสำคัญงานเรา เลยอยากปรึกษาเรื่องการที่จะเพิ่มตำแหน่ง วฟ นั้นต้องทำอย่างไรบ้าง ติดต่อที่ไหนกับใคร แนวทางการรับสมัคร เกณฑ์ต่างๆ อัตราจ้าง อัตรากำลังใน รพช. และผู้ช่วย ด้วยค่ะ จะได้เปรียบเทียบให้ผอ.ทราบได้ว่า การมีผู้ช่วย กับ การมี วฟ จะมีอะไรที่แตกต่างกันมากน้อยเพียงใด ( เกณฑ์ว่าจะจ้างPT เพิ่มยังไม่มีค่ะ )

เรียน รศ.กภญ.ปนดา เตชทรัพย์อมร และพี่นักกายภาพบำบัดทุกท่าน ผมอยากจะขอสอบถามเกี่ยวกับการเคลมการให้บริการผู้พิการให้ทาง สปสช.ซึ่งการออกหน่วยไม่ได้เพียงแต่ดูแลด้านการเคลื่อนไหวหรือสติปัญญาเท่านั้น เช่น ในกรณีผู้พิการทางการมองเหน หรือการได้ยิน แล้วเราไปแนะนำสิทธฺหรือเปลี่ยนสิทธฺบัตรทองให้ จัดหาไม้เท้าขาว หรือแนะนำช่องทางการรับหูฟัง หรือประสานงานด้านอาชีพการศึกษา เป็นต้น จัดเปงการให้บริการทางกายภาพบำบัดได้หรือไม่ หรือในบ้าง รพ.ที่ไม่มีนักกายภาพบำบัดพยาบาลสามารถ เคลม สปสช.เปงค่าบริการทางพีทีได้หรือไม่อย่างไร ขอให้ผู้รู้แนะนำด้วยครับ

อยากทราบว่าที่ลงประกาศค่ารักษาทางกายภาพ ในหมวดที่14ซึ่งแต่ก่อนยังไม่มีแต่เดี๋ยวนี้เห็นอยู่ในเน็ตซึ่งจากโพสต์ที่สังเกตได้ upload จากกรมบัญชีกลาง ไม่ทราบว่าจริงเท็จแค่ไหนคะ ใช้ได้หรือยัง เพราะกำลัง งงๆ กับผอ.อยู่น่ะค่ะ ที่ของหมวดของเราจะอยู่หน้า126 ค่ะ รบกวนชี้แจงเพื่อความกระจ่างแจ้งด้วยค่ะ ขอบพระคุณอย่างสูง

ตอนนี้กระจ่างแล้วค่ะ ยังไม่ได้ update ของค่ารักษาทางกายภาพค่ะ ยังไม่มีประกาศออกมาล่าสุด โทรถามกรมบัญชีกลางมาแล้ว วันนี้เลยย

สวัสดีครับ

พึ่งกำลังจะก่อร่างสร้างตัวเปิดแผนกที่ รพ.ชุมชน ครับ

ใครมีอะไรแนะนำผมด้วยนะครับ

โครงการ ค่าบริการ ฯลฯ ที่พอจะทำให้เงินเข้าโรงพยาบาล หรือทำให้คนรู้จักกายภาพบำบัดมากขึ้น

^ ^

อยากให้มีการอบรมหรือพัฒนานักกายภาพบำบัดใน รพ.ชุมชน หรือมาแลกเปลี่ยนความรู้ก็ดีครับ

ปล.รพ.ผมก็ไม่มีตำแหน่ง ไม่มีงบ แต่พอดีคุยกับ ผอ.แล้วเค้าตัดสินใจรับนักกายภาพบำบัดมาลองสักตั้ง

เหอ ๆๆ

เรียนพี่น้องชาวกายาภาพบำดทุกท่าน ผมขออนุญาติใช้บล็อกนี้เปงที่ระบายความคับข้องใจที่มันเคยเกิดขึ้นมาเลย จนต่อมาก้อปรับตัวดีขึ้นมาก จนมาวันนี้ความรู้สึกน้อยเนื้อตำใจก้อเกิดอีกครั้ง เล่าเลยละกานครับ:ผมมาเปิดแผนกที่ รพช.เปงเดกจบใหม่ไม่มีประสบการณ์อารายเลยด้านงานบริหาร ตอนแรกขึ้นตรงกะเภสัชได้สองอาทิตย์ก้อได้โยกโครงสร้างมาขึ้นตรงกะฝ่ายเวชปฏิบัติได้มาจนถึงทุกวันนี้ พี่ กภ.หลายคนตำนิผมที่ขอให้แยกงานกายภาพบำบัดออก บอกว่าเปงการก้าวร้าว จะอยู่กับครายก้อไม่สำคัญ พี่ กภ.หรือเพื่อนเปิดใหม่บางคนที่ขึ้นกะ ผอ.ก้อให้กำลังใจและให้ทดทนต่อไป หากตัดเรื่องศักดิ์ของวิชาชีพออกไปผมก้อพอทนไปได้ แต่งานเดินช้ามาก ทำงานมาห้าเดือนมีโอกาสพบ ผอ.เพียง 1ครั้ง นอกนั้นหากมีปัยหาให้ปรึกษาพี่ หน.แล้วเค้าจะไปแจ้งหรือติดตามให้ ซึ่งปัญหาด้านระบบการจัดการให้บริการก้อยังคงไม่ได้รับการแก้ไข เพราะผมไม่ได้เปงคณะกรรมการ รพ.ที่ขอคำปรึกษาหรือให้ หน.ฝ่ายอื่นช่วยคิดทำได้เพียงคุยเปงรายๆ เช่น หมอ หรือฝ่ายต่างๆ จนสุดท้ายก้อเรื่องเงินๆทองๆ ของแบบนี้ไม่เค้าครายออกครายๆก้ออยากมีเงินเก็บ ผลก้อคือค่าตอบแทนการออกหน่วยของเราจะต้องแบ่งเข้าฝ่ายด้วยทั้งๆที่งานเราทำเองทั้งหมด ผมควรจะทำยังไงดี ศักดิ์ของวิชาชีพเรามีมากน้อยแค่ไหน แค่คนหาว่าผมเปงหมดนวดก้อปวดใจจะแย่อยู่แล้ว สุดท้ายนี้ผมขออุทิศกำลังกายและใจเพื่อกายภาพบำบัด.....ขอโทดนะครับที่เลือดพีทีมานแรง

ยินดีด้วยสำหรับนักกายภาพที่กำลังเปิดแผนกใหม่ในรพช. จริงๆ แล้วก็อยากรู้เหมือนกันว่า ในเรื่องของงานบริหารจัดการ PT น้องใหม่ในชุมช ต้องการรู้เรื่องอะไร ช่วยเขียนมาเล่าให้ฟังหน่อย ส่วนเรื่องความรู้ทางวิชาการล่ะ อยากพัฒนาด้านไหน จะได้จัดหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการ

ปนดา

ตอบ กภ.กิตติ

อยากมาระบายความในใจใน blog นี้ก็ยินดีนะคะ เผื่อว่าจะได้แลกเปลี่ยนมุมมองกันบ้าง ก็อาจทำให้เรารู้สึกดีขึ้น การที่เราได้ย้ายสายงานมาอยู่กับฝ่ายเวชปฏิบัติก็น่าจะเหมาะสมกว่า อยู่กับเภสัชฯ แต่อย่างไรก็ตาม การทำงานร่วมกับผู้อื่นเราก็ต้องมีศิลปะบ้าง บางครั้งเราก็ต้องยอมเสียประโยชน์บ้างเพื่อรักษาน้ำใจกันไว้ หลายครั้งเรายอมเพื่อเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน เพื่อ spirit หลายครั้งเรายอมทำตามความเหมาะสมแต่อาจจะไม่ถูกต้องนัก แต่บางเรื่องเราต้องเลือกทำในสิ่งที่ถูกต้องแต่ไม่ถูกใจคนอื่นบางคน บางครั้งถ้าเราได้มีเวลาหยุดพิจารณาไตร่ตรองโดยไม่ยึดมั่นในความคิดของเราฝ่ายเดียว ลองมองไปในมุมมองของคนอื่นบ้าง เมื่อเราได้เห็นในหลายๆ มุมมองหลายๆด้าน เราจะเกิดความคิดอะไรดี ๆ ขึ้นมา เป็นความคิดที่เกิดจากการพิจารณารอบด้าน เมื่อเราคิดได้ คิดดี เราก็จะทำอะไรๆได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้น สรุปคือ เห็นให้รอบด้าน คิดให้รอบครอบ ทำอย่างมีสติทั้งกาย วาจา และใจ

ขอฝากข้อคิดไว้แค่นี้ก่อนนะคะ

ปนดา

ขอบคุนครับสำหรับข้อคิดดีของอาจารย์ ก่อนหน้านี้เพราะผมได้มองหลายมุมทำให้ผมรู้สึกดี และคิดว่าจะตั้งใจทำงานอย่างเดียว แต่พอมานมีอีกก้ออดคิดมากไม่ได้ ซึ่งเผงอุปนิสัยส่วนตัวอยู่แล้ว แต่ที่คิดในใจเสมอคือผมต้องทำให้คนยอมรับกายภาพ กายภาพต้องมีศักดิ์ศรี แต่ก้อใช้วิธีแบบ ร๕ เพื่อสักวันเราจะได้กลายเปงไทอย่างเต็มตัว (พี่ รพช.ที่อื่นก้อมีปัญหาแบบนี้เหมือนกานครับ อยากมองมาดูน้องๆแล้วจะรู้ครับว่ามีทั้งคนที่ทำงานได้สะดวก และบางคนที่ติดขัด)

มี PT หลายคนที่เป็นกูรูเกี่ยวกับประเด็นต่าง ๆ ของคนพิการ เช่น การขึ้นทะเบียน การ claim ค่าตอบแทนจาก สปสช. เป็นต้น อย่างพี่ตั๊กที่โกสุมฯ ([email protected]) พีก้อยที่ท่าบ่อ ([email protected]) staff ที่ภูกระดึง น้อง ๆ อาจติดต่อไปหาเขาได้ทาง e-mail อย่างไรก็ตาม พี่จะบอกเขาให้เข้ามาตอบให้น้อง ๆ ใน blog นี้ค่ะ

เรียนปรึกษา ขอเจ้าหน้าที่ วฟ ค่ะ มีแนวทางยังไงบ้าง...ยังบ่ได้ตอบเยย ^ ^

พี่สมใจตอบข้อซักถามมาแล้วค่ะ เกี่ยวกับการจดทะเบียนผู้พิการ

การจดทะเบียนคนพิการ เจ้าหน้าที่พัฒนาสังคมและมนุษย์ของจังหวัด( พมจ.) จดทะเบียนได้เลยถ้าพิการเห็นเป็นประจักษ์ ( พิการชัดเจน) ถ้าไม่ชัดเจนต้องให้แพทย์ออกใบรับรองความพิการให้ก่อนจึงจะออกสมุดคนพิการได้

ผู้พิการอีกกลุ่มเป็นกลุ่มที่ยังไม่สิ้นสุดการรักษาแต่แพทย์ทายว่าอาจจะพิการกลุ่มนี้โรงพยาบาลเค้าจะทำบัตรผู้พิการท.74 ให้กลุ่มนี้บางคนอาจดีขึ้นจนไม่สามารถขอสมุดคนพิการได้

นักกายภาพบำบัดที่ทำงานฟื้นฟูเก่งๆหลายคน สามารถประเมินได้ว่าคนนี้พิการแน่ แต่กฎหมายกำหนดผู้ออกใบรับรองความพิการคือแพทย์ ออกสมุดพิการคือจนท.พมจ.โรงพยาบาลออกบัตรทองคนพิการ ท.74 ส่วนนักกายภาพบำบัดแนะนำ รักษา ฟื้นฟู และบริหารจัดการ รวบรวมหลักฐานให้ครบและดำเนินการต่อให้

แนะนำให้น้องศึกษาสิทธิของคนพิการให้ตัวเองมีความมั่นใจ และรู้จริง อาจพูดคุยกับพี่ๆนักกายภาพ เพื่อนๆ เวลาออกเยี่ยมผู้ป่วยเราก็เสนอแนะทีมได้ ค่อยๆเรียนรู้ไป

ตัวอย่าง Hemiplegia เดินไปมาได้สบาย ตาบอดข้างเดียว หูหนวกข้างเดียว นิ้วก้อยขาด นิ้วเท้าขาด ไม่ถือว่าเป็นผู้พิการ

ขั้นตอนการจดทะเบี่ยนผู้พิการ

กรณีผู้พิการมาจดด้วยตัวเอง

1.สำเนาบัตรประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

3.ใบรับรองความพิการที่แพยท์ออกให้ รุปถ่ายขนาด 1 นิ่ว 2 รูป หรือมาถ่ายที่ศูนย์ผู้พิการก็ได้

กรณีผู้มาจดแทน โดยที่ผู้พิการไม่ต้องมาเอง ให้นำ สำเนาของผู้แทนมาด้วย

1.สำเนาบัตรประชาชน

2.สำเนาทะเบียนบ้าน

แล้วนำมาจดที่งานสิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ไม่เกิน 15 นาทีเสร็จ

กรณี พิการโดยประจักษ์

ไม่ต้องมีหนังสือรับรองความพิการจากแพทย์ เช่น แขนขาด ขาดขาด

เด็กกลุ่มอาการดาวน์ หรือแขนขาผิดรูป นำหลักฐานมาจดได้ไม่ต้องมีใบรับรองความพิการ จดทะเบียนได้ที่รพ.รัฐทั่วประเทศ พมจ.

ต้องขอขอบคุณพี่สมใจมากๆ ค่ะ

ปนดา

จีรวรรณ ดนัยตั้งตระกูล

เรียนคุณกิตติและกายภาพโชงเจียม

(196)การเคลมค่าให้บริการกายภาพบำบัดเป้นการเคลมในกรณีที่มีการให้หัตถการหรือมีการฝึก ดังนั้นน่าจะเป็นกรณีที่ต้องฝึกผู้ป่วยผู้พิการ แต่ถ้าให้คำแนะนำ ประสานงานไม่น่าเข้าข่ายคะที่เบิกได้คะ

ปัจจุบันที่มีการพูดคุยกับ สปสชเรี่องการดูแลผู้พิการในระดับ รพช.ที่อยากให้ PT ช่วยดูดังนั้นในเรื่องค่าตอบแทนอาจมีการพูดคุยอีกรอบนะคะ

(205)การจะจ้าง วฟ ในปัจจุบันไม่มีที่ไหนที่ผลิต วฟ.แล้วคะดังนั้นไม่น่าจะหาได้ ถ้ามีคงเป้นการย้ายมาจากที่อื่น (และถ้ามีการผลิตวฟ.จะเป้นนักเรียนทุนเมื่อมาบรรจุจะได้เป็นข้าราชการเลยขณะที่น้องPTยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่นะคะ)ถ้าต้องการจ้างผู้ช่วยกายภาพอาจเป้นการจ้างลูกจ้างชั่วคราวแล้วมาสอนเองและเมื่อมีสภานศึกษาจัดสอนก็ส่งไปอบรมเพิ่มเติมมากกว่า  แต่ถ้าให้ดีคุยกับ ผอกจ้างPTดีกว่าเพราะได้ประโยชน์มากกว่าคะ

เรียนคุณกิตติ สมบรรดา

อยากทราบว่าน้องทำงานอยูที่รพช.ไหนคะ รบกวนให้ข้อมูลด่วนค่ะ เพราะกำลังมีการพิจารณาเชิญPTเข้าร่วมประชุมเครือข่ายค่ะ

จริงๆ อยากให้ทุกท่านที่เข้ามาใน blog นี้แนะนำตัวก่อนว่าชื่ออะไร ทำงานที่ไหน จังหวัดอะไร จะได้มีประวัติไว้ เผื่อมีอะไรที่เป็นประโยชน์จะได้ติดต่อได้สะดวก

ปนดา

ตอนนี้จะเริ่มต้นปีงบประมาณใหม่แล้วครับ

ผมเสนอไปห้าโครงการไม่รู้จะผ่านหรือเปล่า(เป็นโครงการที่ยืมมาจากเพื่อน ๆ นะครับ ออกแนวคล้าย ๆ กันบ้าง คิดเองบ้าง)

เครื่องมือที่ขอไปได้ข่าวแว่ว ๆ ว่าอาจจะได้สองสามชิ้น(จากเกือบสิบชิ้น)

อาจจะได้คอมบายด์หนึ่ง Spiro แบงค์หนึ่ง

= ="

เรื่องที่อยากรู้มีมากมายเหลือเกินครับ...

เช่น ข้อมูลแผ่นพับความรู้เนี่ย พวก เบาหวาน ความดัน COPD เยอะเหลือเกินครับ ในตามแต่ละ รพ.ชุมชน

ซึ่งสิ่งที่เรียนมาก็ไม่ใช่ตัวหลักที่เราเรียน

แต่เคสพวกนี้ หมอ พยาบาลเค้า Consult เราเยอะทีเดียวครับ

เทียบกับพวก นิวโร ออโธ เด็ก หรือว่าเชสด้านอื่น ๆ มีน้อยนิดครับ

อยากได้เนื้อหารายละเอียดพวกนี้เยอะ ๆ ครับ บทบาท PT ที่เด่น ๆ

เช่นอย่างตอนนี้ผมมีหน้าที่นำออกกำลังกาย แนะนำท่าทาง การใ้ช้ชีวิตประจำวัน แล้วก็รักษาตามแต่ปัญหาที่เค้ามีครับ เช่นข้อหลวม ข้อติด ปวดข้อ ฯลฯ

อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเบาหวาน เช่น อยากไปอบรมเรื่องสุขภาพเท้า ตรวจเท้่า ฯลฯ

อยากได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับความดัน บทบาทที่เด่น ๆ ของเราในด้านอื่นๆ

อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ COPD อีกหน่อยนะครับ(เพราะ Chest นี่ผมเรียนได้แย่สุดเลย) พวกกลไก หรือการใช้อุปกรณ์เครื่องมือที่ไฮเทค ๆ การตรวจความจุปอดที่สมัยนี้เค้าใช้ สไปโรแบงค์ สไปโรแท๊งกัน = ="

ส่วนเทคนิคใหม่ ๆ นะครับ ก็อยากไปอบรม แต่ตอนนี้ผมยังไม่ได้เริ่มงานออโธหรือนิวโรเลย ได้ข่าวว่าเค้าจะให้ผมตั้งหนึ่งเตียง(T0T) จากที่ขอไปห้าเตียง

เหอ ๆๆๆ

พวกสิทธิคนไข้ งบประมาณ ฯลฯ ก็อยากรู้แบบคร่าว ๆ ครับ เพราะตอนนี้ก็ช่วย ๆ งานพี่ ๆ ห้องแผนงานอยู่บ้างครับ

แล้วก็อยากฝึกพวกการออกกำลังกายทางเลือก เช่น โยคะ ไทเก็ก บลาบลาบลา

ที่จะทำให้เราเป็นโปรฯ จนสามารถจัดอบรมหรือสอนบุคลากรในโรงพยาบาลได้เองนะครับ(ปล.ความจริงก็พอได้นะครับ แต่ไม่มั่นใจเลยกลัวสอนผิด เลยอยากไปอบรมเป็นคอร์ส ๆ อีกรอบ)

ช่วยประกาศกันด้วยนะครับ

ตอนนี้ที่ รพ นราธิวาสราชนครินทร์ ประกาศรับนักกายภาพบำบัด ในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว สนใจติดต่อที่งานกายภาพบำบัด รพ นราธิวาสราชนครินทร์

ขอบพระคุณค่ะที่ช่วยไขความกระจ่าง...ตอนนี้ขอ PT ยังยากอยู่ค่ะ ขอผู้ช่วยไปก่อนละกัน (ดีกว่าไม่มีคนช่วย)55+

สวัสดีค่ะทุกคน

เป็นอย่างไรกันบ้างหายเงียบกันไปหลายคน คงยุ่งๆ กันละซินะคะ ช่วยนี้ไปไหนก็มีแต่งานเกษียณอายุ ก็น่ายินดีกับเขานะ ทำงานมาทั้งชีวิต ถึงเวลาพักบ้าง พวกเรายังอยู่ในอายุวัว ก็คงต้องทำงานก็ต่อไป

จะขอเล่าคร่าวๆ ก่อนนะเกี่ยวกับการไปประชุมเรื่องการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัดชุมชน สปสช.เขาก็ยินดีให้การสนับสนุนงาน PT เป็นอย่างดี เรามีแผนว่าจะกระตุ้นให้นักกายภาพบำบัดไปทำงานในรพช.มากขึ้นโดย อาจจะไปจัดค่ายตามมหาวิทยาลัยเพื่อให้นักศึกษาปี 3 ได้มีความเข้าใจงานกายภาพบำบัดชุมชน โดยเราจะพานิสิตไปดูงานที่รพช.ที่มี PTทำงานอยู่ โดยสปสช เขาจะสนับสนุนงบประมาณ พอปี 4 เราอาจให้ทุนนิสิตที่อยากไปทำงานในรพช. โดยต้องมีการทำข้อตกลงบางประการ เช่น ต้องทำงานอย่างน้อย 3 ปี อะไรอย่างนี้ แต่เรื่องนี้สปสช เขาคงต้องไปคุยกับผอ.รพช.ก่อนว่าจะมีความคิดเห็นอย่างไร เร็วๆนี้คงทราบ

เล่าให้ฟังแค่นี้ก่อนนะ

ปนดา

ดีจัง...ขอให้ทำได้นะคะ จะเอาใจช่วย...อิจฉาน้องแล้ววววว

โอ้ววว ดีจังเลยนะครับ ^ ^

ขอบคุณครับอาจารย์

อ่า แล้วผมมีข้อสงสัยนะครับ คือว่า

แล้วยังงี้

กายภาพบำบัดชุมชน มีโอกาสได้บรรจุเหมือนกับโรงพยาบาลศูนย์บ้างหรือเปล่าครับ

เรื่องบรรจุเป็นข้าราชการ หรือพนักงานราชการ ยังไม่มีวี่แวว เพราะเรื่องนี้มันเกี่ยวข้องกับนโยบาย ถ้าฝ่ายการเมืองเขาไม่เห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ ก็คงยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ขึ้นยู่กับอนาคตว่าประเทศเรามีเงินรายได้มากพอทำรัฐสวัสดิการหรือเปล่า ถ้ารัฐมีเงินให้สวัสดิการประชาชนดีๆ โดยไม่จำเป็นต้องเป็นข้าราชการ ก็อย่าไปติดกับมันเลยนะ ก็ขอให้ประเทศชาติเรารักษาทรัพยากรอันเป็นประโยชน์ได้เยอะ ๆ อย่าให้ต่างชาติมาแย่งชิงไป โอกาสที่ประเทศไทยจะจัดรัฐสวัสดิการให้ประชาชนทุกคนได้ก็มีมากขึ้น ตอนนี้รัฐบาลอภิสิทธิ์ก็เริ่มทำงาน เห็นเขาอนุติให้ลูกจ้างประจำได้บำเหน็จ บำนาญ แล้วนี่คะ คงค่อยๆ ดีขึ้น ใจเย็นๆ ตอนนี้เราก็เกบเงินเองไปก่อน

ปนดา

เรียน รศ.ปนดา เตชทรัพย์อมร ผมชื่อ นายกิตติ สมบรรดา หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี ศิษย์เก่ากายภาพบำบัดจากสายวิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะรับปริญญาบัตรธันวาคมนี้ครับ ตอนนี้เปิดแผนกที่ รพช. มาได้ 5 เดือนแล้วครับ คนไข้ผมเยอะขึ้นเรื่อยๆเฉลี่ยวันละ8-12คน ส่วนใหญ่มักจะทำไม่ทัน อิอิ โดยเฉพาะบ่ายวันอังคารและพฤหัสเพราะออกหน่วยผู้พิการครับ มีเครื่อง US ,ES, Hot pack รอ traction ซึ่ง สสจ.จะซื้อให้ ละก้อรอ paraffin เพราะบริษัทยังไม่มาส่งครับ ตอนนี้อาศัยตึกแพทย์แผนไทยครับ รอย้ายไปห้องของต้นเองต้นเดือนตุลาคมนี้ครับ มีเตียสูงมาตรฐาน2ตัวและเตียงเตี้ย1ตัวครับแต่ยังย้ายเข้าห้องไม่ได้เพราะห้องปัจจุบันเล็กมากรอย้ายครั้งเดียวต้นเดือนนี้ครับ โครงการในปีงบหน้าที่วางแผนไว้คือ โครงการรขูดcallusและทำรองเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กะ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูขอายุครับ นอกจากงานรักษาและฟื้นฟูแล้วก้อจะไปสอนและนำออกกำลังกายในสตรีตั้งครรค์ด้วยครับ (ปีหน้ารับพีทีเพิ่มแน่นอครับ)

ยินดีกับคุณกิตติสำหรับผลงาน 5 เดือนแรก และขอบคุณที่ช่วยแนะนำตัวได้ละเอียดดีมากนะคะ อยากให้ทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมได้ช่วยแนะนำตัวแบบนี้ด้วย เผื่อมีเรื่องอะไรจะได้ติดต่อได้สะดวกค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ สู้ สู้ ค่ะ

ปนดา

อยากได้ข้อมูลแผ่นผับหรือว่าแผ่นซีดี เกี่ยวกับออกกำลังกายเบาหวานนะครับ (เรื่องอื่น ๆ ด้วยก็ดีครับ)

ต้องไปหาซื้อที่ไหน หรือว่าใครพอมีข้อมูล

ส่งมาที่ [email protected] ทีนะครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดี PT ชุมชนทุกท่านค่ะและก็ PT ทุกๆๆคน และคุณกิตติ สมบรรดา และ PT โขงเจียมด้วยจ้า อย่าลืมมาโครงการที่เราจัดนะจ๊ะ โขงเจียม ดิฉันเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ เป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนนาจะหลวย จังหวัดอุบลราชธานีเป็นโรงพยาบาลขนาด 30 เตียง เป็นโรงพยาบาลที่มีความมุ่งมั่นในการจะผ่าน HA ขั้นที่สาม ค่ะ ผู้อำนวยการเข้มแข็งและเป้นนักพัฒนาชอบให้โอกาสเราซึ่งเป็นเด็กจบใหม่ทำงานแค่สี่เดือนได้มีโอกาสได้ลุยงานต่างๆมากมาย ทั้งงานผู้พิการ วิทยากรโครงการต่างๆมากมาย และงานผู้ป่วยเบาหวาน เข้าทีมศูนย์คุณภาพและรู้สึกตื่นเต้นและดีใจที่ทีมอาจารย์ที่เค้ามาประเมินให้เกียรติมาประเมินงานกายภาพบำบัดของเรา และทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี ได้รับคำชมจากทุกฝ่ายและผู้อำนวยการ จนได้เข้าทีมคุณภาพ(งานเข้าซวยเลย) แต่ก็ดีค่ะทำให้เราต้องพัฒนาตัวเองตลอดเวลาทำให้เราได้เรียนรู้งาน ตอนนี้ก็รอเครื่องดึงหลังเหมือนกิตติค่ะของอุบลเราจะได้พร้อมๆกัน 13 โรงพยาบาล และตุลาจะได้เครื่องมือ US Com.และก็ Hydroc ซะที ได้อุปกรณ์+ห้องใหม่มีฟิตเนสด้วย ต้องขอบคุณท่านผู้อำนวยการที่ให้การสนับสนุนงานกายภาพบำบัดและขอบคุณหัวหน้าฝ่ายบริหาร (พ่อบ้าน) ที่คอยช่วยเหลือทุกอย่าง(ของ่าย) พี่แพทย์แผนไทยที่ให้ความช่วยเหลือให้ที่อาศ้ย หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลที่แสนจะใจดีดูแลตั้งแต่วันแรกจนวันนี้ ทุกๆๆฝ่ายที่คอยให้คำแนะนำเสมอๆและอาจารย์ทุกๆๆท่านที่คอยสอนให้เรามีรอยยิ้มให้ผู้ป่วยและคนอื่นๆเสมอๆ และที่ต้องกราบขอบพระคุณคือ พี่น้อย สมใจ ลือวิเศษไพบูลย์ ถ้าไม่มีพี่น้อยคงไม่มีพวกเรา

พอดีเพิ่งอ่านเจอค่ะเพราะตอนนี้ทำงานผู้พิการเต็มตัวคือ ทางโรงพยาบาลเราจะะตรวจประเมินความพิการก็มีหลักเกณฑ์หลายอย่างค่ะปัจจุบันแพทย์จะให้นักกายภาพบำบัดเป็นผู้ตรวจประเมินเนื่องจากแพทย์มีคนไข้เยอะ แต่ผู้ที่จะออกเอกสารให้ได้ก็คือแพทย์ซึ่งถ้าพิการจริงแพทย์ก็น่าจะทำให้อยู่แล้วค่ะ และก็เราดำเนินการเหมือนที่อาจารย์ รศ.ปนดาบอกมาเพราะตอนนี้โรงพยาบาลนาจะหลวยดำเนินการงานผู้พิการแบบ one stop serviceค่ะ ดูแลทุกอย่างของงานผู้พิการการประเมินเบื้อต้นเพื่อเป็นการ screen ก่อนถึงแพทย์และเคสใหนเข้าข่ายก็ให้มาขอเอกสารกับแพทย์และดำเนินการไปจดทะเบียนผู้พิการกับพมจ.เลยที่เดียวค่ะ เพราะนาจะหลวยห่างจากตังจังหวัด 117 กิโลเมตรและการเดินทางลำบาก ทางงานกายภาพดำเนินการตั้งแต่จดทะเบียนผู้พิการให้และก็ต่ออายุสมุดผู้พิการและดูแลสิทธิ์ในบัตรทองโดยประสานกับพมจ.ว่าเราจะเป็นผู้มาทำให้โดยในจังหวัดอุบลได้ดำเนินการนี้หลายโรงพยาบาลแล้ว และการเปลี่ยนสิทธิ์มาเป้น ท.74 โดยประสานกับฝ่ายสิทธิบัตรเรานำสมุดผู้พิการมาแลละนำบัตรทองมาเปลี่ยนที่โรงพยาบาลและก็นำส่งกลับให้ผู้พิการโดยฝาก พขร.หรือผู้ที่ออกหน่วยในตำบลนั้นๆๆค่ะ และปัจจุบันที่จังหวัดอุบลได้มีโครงการคาราวานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการแบบไปถึงที่ดำเนินการให้ทุกอย่างเป็นโครงการที่ดีมากๆ เป็นโครงการของสสจ.ร่วมกับสปสช.ร่วมกับเครือข่ายกายภาพบำบัดและที่สำคัญผู้เขียนโครงการคือพี่นักกายภาพโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์

มีข่าวประกาศค่ะ ใครอยากได้แผ่นพับเกี่ยวกับ 5 โรคนี้ก็ขอกันเองตามจำนวนที่ต้องการนะคะ เขาส่งให้ฟรีค่ะ

ศูนย์ข่าว มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

วันที่ 11 กันยายน 2552

วันที่ข่าวตีพิมพ์ : สามารถเผยแพร่ได้ทันที

แผ่นพับช่วยผู้ป่วยโรคเรื้อรังเลิกบุหรี่

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค ร่วมกับ มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ เผยแพร่เอกสารแผ่นพับอันตรายร้ายแรงของการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 5 โรค อันได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหืดและโรคภูมิแพ้ และโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ผู้ป่วยและครอบครัวทราบ เพื่อเป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ป่วยเหล่านี้เลิกสูบบุหรี่ให้ได้

นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ ผู้อำนวยการสำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า จากรายงานของสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข มีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่เข้ารับบริการในสถานบริการสุขภาพ ปี พ.ศ. 2551 ดังนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 388,551 คน โรคความดันโลหิตสูง 498,809 คน ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 1,108,026 คน ผู้ป่วยโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 124,532 คน และผู้ป่วยโรคหืด 113,530 คน รวมผู้ป่วยโรคเรื้อรังทั้ง 5 โรค 2,229,448 คน หากอัตราการสูบบุหรี่ของผู้ป่วยเหล่านี้เท่ากับของประชากรทั่วไปคือ ประมาณร้อยละ 20 จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่สูบบุหรี่ประมาณ 445,890 คน

นพ.ภานุวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ถ้าพิจารณาจากรายงานผลการสำรวจพฤติกรรมเสี่ยง โรคไม่ติดต่อและการบาดเจ็บปี 2550 ซึ่งดำเนินการโดยสำนักโรคไม่ติดต่อเอง จะพบว่า ประเทศไทยมีประชากรอายุ 15 – 74 ปี ที่บุคลากรสาธารณสุขเคยบอกว่าเป็นโรคเรื้อรังโดยประมาณ ดังนี้ โรคเบาหวาน 1.8 ล้านคน โรคความดันโลหิตสูง 4.3 ล้านคน โรคหัวใจขาดเลือด 0.7 ล้านคน โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต 0.5 ล้านคน และโรคหืด 0.6 ล้านคน รวม 7.9 ล้านคน เพราะฉะนั้น จะมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ที่สูบบุหรี่ประมาณ 1.6 ล้านคน ซึ่งการสูบบุหรี่ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วจะทำให้โรคทรุดลงเร็วขึ้น เกิดโรคแทรกซ้อนรุนแรงและเร็วขึ้น เช่น ไตวายเร็วขึ้นในผู้ป่วยโรคเบาหวาน หัวใจวายเพิ่มขึ้น 3 เท่า ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น และทำให้ต้องใช้ยาในการรักษาเพิ่มมากขึ้น จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทุกฝ่ายทั้งผู้ป่วย ญาติ และ ทีมผู้ให้บริการผู้ป่วยในการชี้แจงให้ผู้ป่วยเข้าใจและพยายามช่วยให้ผู้ป่วยเลิกสูบบุหรี่ให้ได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้ แต่ละคนอาการดีขึ้น รักษาง่ายขึ้นและเกิดโรคแทรกซ้อนช้า

ด้าน ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวว่า แพทย์และทีมงานควรจะใช้โอกาสที่ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเหล่านี้มาติดตามรับการรักษา ย้ำเตือนและแนะนำวิธีการเลิกสูบบุหรี่ทุกครั้งที่ผู้ป่วยมารับการรักษา เพราะผู้ป่วยเหล่านี้ล้วนต้องการให้โรคของตัวเองดีขึ้น ซึ่งการเลิกสูบบุหรี่มีความสำคัญไม่น้อยกว่ายาอื่น ๆ ที่เขาใช้รักษาโรคประจำตัวของเขา

กรมควบคุมโรคจะได้แจกจ่ายแผ่นพับอันตรายของการสูบบุหรี่ในโรคเรื้อรัง 5 โรค ดังกล่าว แก่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อส่งต่อให้คลินิคโรคเรื้อรังเหล่านี้ที่มีอยู่ตามโรงพยาบาลต่างๆ ทั้งนี้แผ่นพับที่ผลิตขึ้นยังได้มีข้อแนะนำสำหรับการเลิกสูบบุหรี่พิมพ์อยู่ด้วย ผู้สนใจขอแผ่นพับเพิ่มขอได้ที่ สำนักโรคไม่ติดต่อ หมายเลขโทรศัพท์ 02-5903981-2 / มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ 02-278-1828

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อ นพ.ภานุวัฒน์ ปานเกตุ โทร.081-785-8599

/ ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ โทร.0-81-8229799

หรือ

Chawala Pawaputanont na Mahasarakham

Head of Media Officer & Project Coordinator of Tobacco Control Clearing House

Action on Smoking and Health Foundation

36/2 Padipat Soi 10, Padipat Road,

Samsannai,Phayathai,

Bangkok,10400,Thailand

Tel.(662)2781828 Mobile (661)4585877

Fax.(662)2781830

www.ashthailand.or.th

www.smokefreezone.or.th

ขอบคุณมากเลยครับ อาจารย์

ตอนผมอ่านข้อความของอาจารย์

ผมเริ่มเห็นแสงเลยครับ

เพราะตอนนี้ผมอยู่ในคณะกรรมการในโีครงการเลิกบุหรี่ด้วยครับ

= ="

คิดไม่ค่อยออกเลยว่ากายภาพบำบัดจะช่ีวยได้อย่างไร

เพราะตอนเรียนนั้นแอบรู้มาแค่ว่าสอนหายใจ Deepbreathing มันเป็นลักษณะคล้ายการสูบบุหรี่ ก็เลยกะจะสอนหายใจให้ผู้ติดบุหรี่ แต่กำลังคิดอยู่ว่ามันจะได้ผลไหม๊เนี่ย

หึหึ = ="

เพราะแค่สอนนี้สอนBreathing พวก diaphamatic คนไข้ยังทำได้บ้างไม่ได้บ้างเลยครับ = ="

กภ.โชคุง คะ

ช่วยบอกชื่อที่อยู่ที่ทำงานมาให้ชัดเจน จะส่งชุดความรู้เกี่ยวกับการละ ลดลเลิก บุหรี่ และกายภาพบำบัดกับพิษภัยบุหรี่ไปให้ค่ะ จะได้เห็นแสงจ้ากว่านี้อีก

ปนดา

ชื่อ พิชิตชัย ชูวัฒนกูล ครับ จบพีทีมหิดลปีนี้ครับ ทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนดอยเต่า อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ครับพ้มม...

ที่อยู่โรงพยาบาลนะครับ รพช.ดอยเต่า 105 ม.3 ต.ท่าเดื่อ อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ 50260

ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงเลยครับ

^ ^

อาจารย์ครับ

ตอนนี้อยากทราบว่า รพ ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล หรือ รพ ประจำตำบล

กับ รพ.ชุมชน บทบาทของนักกายภาพบำบัดต่างกันตรงไหน ยังไงเหรอครับ?

จริงๆ แล้วโรงพยาบาลประจำตำบล หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ก็คือสถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพชุมชนเดิมนั้นเองค่ะ เปลี่ยนชื่อไปตามยุคสมัยทางการเมือง พรรคการเมืองหนึ่งเขาไม่ยอมใช้ซ้ำชื่อที่ตั้งจากพรรคการเมืองหนึ่ง อย่างไรก็ตามก็อาจจะมีความแตกต่างจากสถานีอนามัยเมื่อก่อนอยู่บ้าง เช่น รพ.ตำบล ตั้งเป้าว่าต้องมีพยาบาลเวชปฏิบัติอยู่ด้วย ซึ่งสามารถตรวจรักษาแทนแพทย์ได้หลายอย่าง เพื่อจะได้ไม่ต้องให้ประชาชนเข้าไปแออัดกันในรพช.แม่ข่าย เขามีนโยบายพัฒนาสถานีอนามัยให้ดูเป็นที่น่าเชื่อถือแก่ประชาชนในพื้นที่มากขึ้น (เพราะเมื่อก่อนจะมีแค่เจ้าหน้าที่สาธารณสุข) ถ้ามีผู้ป่วยที่มีปัญหามากก็จะใช้ระบบการส่งต่อเข้าไปในรพช.อีกที หลายๆ รพช.เขาใช้วิธี refer ได้หลายแบบ เช่น แบบมีใบส่งตัว แบบส่งต่อสายด่วนโดยใช้ skype คือใช้ internet ถ้าผู้ป่วยเข้าไปรักษาที่รพช.โดยไม่มีใบส่งต่ออาจไม่ได้รับการบริการทีรวดเร็วเท่าที่ควร ก็เป็นเทคนิคของแต่ละรพ.ว่าเขาจะมีวิธีอย่างไรให้ผู้ป่วยไม่วิ่งเข้ามาออกันที่รพช. เนื่องจากว่ารพช.ก็มีแพทย์จำกัด ตรวจไม่ทัน หรือถ้าตรวจทันก็แทบไม่ได้ซักถามอาการผู้ป่วยมากนัก เพราะไม่มีเวลา ทำให้ประสิทธิผลการรักษาไม่ดีเท่าที่ควร เขาจึงมีนโยบายพัฒนา รพ.ตำบล ขึ้นมา นโยบายที่จะทำให้รพ.ตำบลประสบความสำเร็จ คือต้องพยายามทำให้ประชาชนในพื้นที่มีความเชื่อมั่น มั่นใจในคุณภาพการบริการในรพ.ตำบล สิ่งหนึ่งที่รพ.ตำบลไม่มีคือแทพย์ประจำ เขาก็เลยต้องมีพยาบาลเวชปฏิบัติ (ต้องส่งพยาบาลไป train)

งานกายภาพบำบัดก็เป็นงานหนึ่งที่หลายรพช.เขาต้องการให้มีการขยายงานไปสู่รพ.ตำบลด้วย บางแห่งให้นักกายภาพบาบัดไป rotate คือเวียนไปช่วยดูผู้ป่วย บางแห่งเริ่มจ้างPT ประจำแล้วค่ะ เพราะเราช่วยให้คุณภาพรพ.ตำบลดีขึ้น เรามีการเข้าไปดูแลผู้ป่วยตามบ้านได้ด้วย ออกไปสำรวจปัญหาของชุมชนได้ด้วย และยังสามารถเขียนโครงการในการสร้างเสริมสุขภาพได้อีก

ปนดา

อาจารย์ครับ การจะเขียนโครงการขอเครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดนี้ ส่วนใหญ่ควรเขียนขอกับองค์กร หรือห้างร้าน บริษัทใดถึงจะไม่น่าเกลียดครับ(ผมเคยคิดไปถึงการจัดผ้าป่าเลยนะครับ = =')

อีกอย่าง....

ตอนนี้ผมยังไม่เข้าใจในเรื่องของการของบของ สปสช(งบประมาณกองทุนฟื้นฟูผู้พิการ) สสส(งบประมาณส่งเสริมสุขภาพ)ฯลฯ

ซึ่งถ้าผมจะจัดตั้งชมรม หรือกลุ่มคนพิการอะไรยังงี้ก็ต้องมีการของบประมาณใช่ไหมครับ แล้วเราจะทำยังไงให้ได้งบประมาณ

ตอนนี้ที่พอรู้บ้างคือของบโดยตรง หรือจัำดทำโครงการโดยส่ง รพ.โดยตรง แล้ว รพ.ก็จะส่งของบ สาธารณสุขจังหวัดอีกที(คงเป็นงบ UC ไม่ก็งบอื่น ๆ นะครับ ซึ่งได้อยู่น้อยนิด เนื่องจาก ประชากรน้อย และห่างไกลความเจริญ)

รพช.ที่ผมทำอยู่ค่อนข้างกันดารนะครับ(ได้เบี้ยกันดารด้วย = =")

การเข้าหาผู้พิการทำได้ค่อนข้างลำบาก(บางหมู่บ้านทางเข้าหมู่้บ้านวิบากมากกก = =" ผมไปออกหน่วยมา หัวฟูหมดเลย)

ตอนนี้ที่ รพ.ทำก็คือแบ่งเขตรับผิดชอบ กับสถานีอนามัยนะครับ(ยังอยากไปเยี่ยมคนพิการทั้งอำเภอนะครับ แต่ยังไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง) ตอนนี้ทาง รพ.ยังไม่มีใครรับผิดชอบทางฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ผมก็เขียนโครงการไปแล้ว ส่งที่ รพ.แต่ไม่รู้ว่าทาง รพ.จะมีงบประมาณหรือเปล่า เนื่องจากว่า ยังมีหลายหน่วยงายที่สำคัญที่ต้องปรับปรุงเร่งด่วนมากกว่า(ตามความเห็นของฝ่ายอื่น ๆ) มีหลายโครงการที่สำคัญกว่า(ช่วงนี้ก็ไข้หวัดใหญ่ กับไข้เลือดออก ฯลฯ)

ตอนนี้งานหลักของผมคือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยเรื้อรังซะมากกว่า = ="

ผมเข้าไปเห็นในเวป สปสช นะครับ เกี่ยวกับ

การโอนเงินงบประมาณกองทุนฟื้นฟูผู้พิการ แล้วเห็นหลาย ๆ รพ.ได้งบประมาณ ซึ่งผมก็อยากได้บ้าง ต้องจัดทำโครงการเขียนส่งยังไง ช่วงไหนเหรอครับ เพราะผมพยายามหาปฏิทินในช่วงการส่งของบประมาณของ สปสช แล้วยังหาไม่เจอ = ="

แต่ทาง รพ. กับ ผอ. ก็ดีมากเลยครับ ผอ. เป็นคนหางบเก่ง ช่วยผมหางบประมาณให้การจัดซื้ออุปกรณ์ = =" แต่ผมก็อยากช่วยทาง รพ. บ้าง อยากพัฒนา รพช. แห่งนี้นะครับ อยากหางบเข้า รพ. (อย่างค่ารักษาทางกายภาพบำบัด เราจะต้องลงอะไรยังไง อันนี้ผมก็ยังไม่ทราบเลยครับ = =")

เห็น รพช. อื่น ๆ ประเมิน HA ผ่านแล้วก็อดชื่นชมกับเค้าไม่ได้

ปล.ผมพึ่งมาทำได้เดือนเดียวครับ ยังไม่มีข้อมูลอะไรเลย กำลังว่าจะไปศึกษาดูงาน รพช.อื่น ๆ นะครับ ยังไงก็ขอรบกวน อนุเคราะห์ ข้อมูล ด้วยนะครับ

จักเป็นพระคุณอย่างสูง

ด้วยความเคารพ

ขอบคุณครับ

เรียน กภ.โชคุง

ก่อนอื่น ขอแจ้งว่าได้ส่งสื่อเกี่ยวกับเรื่องบุหรี่ไปให้ทางไปรษณ๊ย์แล้วนะคะ

อยากให้โชคุง click ไปอ่าน post ที่ 72 เกี่ยวกับเรื่องค่าบริการทางกายภาพบำบัด พี่จิตราเขาได้ให้คำแนะนำไว้ และ post ที่ 206 เรื่องการขึ้นทะเบียนคนพิการ พี่สมใจได้ตอบไว้ อาจารย์เชื่อว่าคงพอมีคำตอบอยู่บ้าง

ส่วนเรื่องของบ สปสช.และสสส. สามารถทำได้โดยสปสช.เขตเขาก็มีงบให้เราเขียนขอโครงการดยตรงเหมือนกัน สสส.ก็สามารถเขียนได้ เพราะเขาสนับสนุนงานด้านสร้างเสริมสุขภาพอยู่แล้ว แต่ก่อนจะเขียนโครงการอะไร เราต้องศึกษาบริบทของปัญหาสุขภาพที่เราต้องการแก้ไขให้ชัดเจน ควรมีการประสานงานหรือมีความร่วมมือกับคนในพื้นที่ที่ต้องการจะเข้าไปพัฒนาด้วย เพื่อให้เขาเห็นว่าเรามีความเข้าใจกับสิ่งที่เรากำลังจะทำ มีแนวทางที่น่าจะทำแล้วสำเร็จในช่วงเวลาที่ของบ ทำแล้วมีแนวทางการสานต่อเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ลองปรึกษาพี่ๆ PT ที่เขาเคยขอดูด้วยก็ดีนะ

ปนดา

เรียนคุณโชคุง

การเขียนโครงการของบสปสช.ไม่ยากค่ะ ต้องขึ้นอยู่ว่าเวลาที่เค้าจัดประชุมในเรื่องงานผู้พิการเราจะได้เข้าไปประชุมไหม หัวหน้าเราเห็นความสำคัญของงานเราไหม ถ้าขึ้นตรงกับผอ.หนังสือเข้าต่างๆจะมาที่เรา จะมีโครงการเรื่องฟื้นฟูสมรรถภาพ โครงการขาเทียม โครงการซ่อมรถเข็น โครงการทำรองเท้าในผู้ป่วยเบาหวานล่าสุดนี้สปสชให้คู่ละสี่พันบาทในผู้ป่วยเบาหวานที่มีปัญหาเท้า รองโทรไปสอบถามที่สปสชเขตดูนะคะ

ตอนนี้กำลังมีเรื่อง สับสน ว้าวุ่น ท้อแทใจยังไงไม่ทราบครับอาจารย์

อาจเป็นเรื่องที่กลืนไม่เข้าคายไม่ออก

ระบบผู้อาวุโส และ ระบบอิทธิพลในโรงพยาบาล ค่อนข้างมีปํญหาสำหรับผมเลยทีเดียว

= ="

บางคนก็ยอมรับ บางคนก็ไม่ค่อยยอมรับ

อยากอธิบาย แต่ก็กลัวว่าจะกลายเป็นเราไปชวนเขาทะเลาะ ก็ได้แต่นิ่งเงียบ

อยากสู้ในบางเรื่อง แต่รู้่สึกว่า ถ้าพูดไปต้องไปผิดกับคนอีกเยอะ(ที่เราต้องร่วมงานด้วยในอนาคต)

ก็เลยได้แต่พยายามยอมรับสิ่งที่มันจะเป็นไป อะไรที่แซม ๆ ได้ผมคงแซม ๆ ไปนะครับ

ตอนนี้ปัญหามันอาจจะอยู่ที่ตัวผมเองก็ได้ที่ไม่ยอมมาเปิดใจพูดกับพี่ๆ ในแผนกนี้ เห้ออออ~ (ความจริงก็คุยกันแล้วล่ะครับ แต่เหมือนจะพูดกันคนละเรื่องเลย สุดขั้ว!!)

ปัญหาหนักใจเช่นนี้ ผมควรทำเช่นไรดี?

T0T

อ๋อ

ผมได้เอกสารแล้วนะครับ

ต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงเลยนะครับ

-/\-

ถ้าอาจารย์มีเรื่องไรให้ผมช่วยบอกได้ตลอดเลยค๊าบบ

^ ^

เรียนอาจารย์ดา หนูชื่ออรวรรณ เป็นศิษย์ ม.นเรศวร รหัส 46 ได้มาเปิดแผนกที่ รพ.สามเงา จ.ตาก

ตอนนี้เปิดมาได้ 2 ปีแล้ว ดีใจมากที่หนูสามารถทำได้ ตอนนี้มีเครื่องมือมากขึ้น HP,US,traction และกำลังจะได้ SWD

เพิ่งรับน้อง PT เพิ่มมาอีกคน ตอนนี้จึงมีน้องมาช่วยกันทำให้เค้ารู้จักนักกายภาพบำบัดมากขึ้น คนไข้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

หนูทำงานรักษาเชิงรับที่แผนก เชิงรุกออกชุมชนทุกวันอังคาร พฤหัส และมีงานส่งเสริมสุขภาพ สอนออกกำลังกายต่างๆ

คนไข้เบาหวานก้ทำด้วยค่ะ ทั้งออกกำลังกาย สปาเท้า และม.ค. นี้ก็จะมีน้อง ม.น. มาฝึกงานด้วยค่ะ

ขอบคุณมากที่อาจารย์ทุกท่านได้อบรมสั่งสอน ให้ความรู้ จนเราสามารถนำความรู้มาช่วยเหลือคนได้อีกมาก

โชคุงครับ

ตอนนี้อาจารย์ยังไม่เข้าใจปัญหาของคุณหรอกนะ เพราะที่เล่ามายังไม่ชัดเจน แต่เชื่อว่าทุกอย่างแก้ได้ด้วยปัญญา จะมีปัญญาได้เราก็ต้องมีสมาธิ ที่ทางพุทธท่านว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ลองทำใจให้ว่างๆ ทำสมาธิบ้าง บางทีปัญญาจะเกิด และทำให้เราแก้ปัญหาต่างๆ ได้อย่างมีสิตและปัญญานะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้ ถ้ามีอะไรจะเล่าก็เล่าได้นะ

ปนดา

ยินดีกับอรวรรณด้วยนะ ที่ทำได้สำเร็จ สามารถขยายงานและทำให้เกิดการจ้างงงานเพิ่มได้ อยากให้มีการพบปะกันระหว่างนักกายภาพบำบัดในจ.ตากอย่างน้อย 1-2 เดือนพอได้ไหมคะ จะได้มีอะไรช่วยเหลือกันได้บ้าง จะได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้

ขอบคุณที่จะรับน้อง PT มน.ไปฝึกงานนะคะ ฝากน้องๆด้วยนะ แล้วเข้ามาคุยกันบ่อยๆ นะ มีอะไรอยากให้ช่วยก็บอกได้

ปนดา

เรียน อ.ปนดาค่ะ ก่อนอื่นขอแนะนำตัวก่อนนะคะ ชื่อ กัญญามาศ นะคะ จบกายภาพบำบัดจาก ม.หัวเฉียวค่ะ รหัส 48

ตอนนนี้มาเปิดแผนกที่ รพ.นาเชือก จ.มหาสารคาม ค่ะ หนูอยากเรียนปรึกษาอาจารย์และเพื่อนๆพี่ๆร่วมอุดมการณ์ทุกคนค่ะ

คือหนูมาทำงานได้เดือนกว่าแล้วค่ะ กำลังจะเข้าเดือนที่ 2 แล้วหนูเริ่มที่จะมีคนไข้แล้วค่ะอาจารย์ แต่หนูกำลังจะทำเรื่องขออนุมัติอัตราค่ารักษาพยาบาล หนูอยากจะรบกวนถามอาจารย์ค่ะว่าหนูควรจะเริ่มต้นอย่างไรดีคะ

อาทิตยา ชมภูนิมิตร

สวัสดีค่ะ

เป็นนักกายภาพบำบัด รพ.อุบลรัตน์ จขอนแก่นค่ะ

เห็นท่านอาจารย์น้อมจิตต์พูดถึง blog กายภาพบำบัดชุมชน

วันนี้ได้เข้ามาอ่านกระทู้ เห็นชาวกายภาพร่วมแลกเปลี่ยนกัน ให้กำลังใจกัน ก็ดีใจค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ผู้จัดทำ blog ด้วยนะค่ะ

น้องกัญญามาศ

ลองเปิดไป post ที่ 72 อ่านเรื่องค่ารักษาพยาบาลดูไปก่อนนะ พี่จิตราเขามีแนะนำไว้ ระหว่างนี้อาจารย์ได้นำคำถามไปให้ผู้รู้ช่วยตอบให้อยู่นะคะ รออีกนิดค่ะ

ขอบคุณน้องอาทิตยา ที่เข้ามาให้กำลังใจนะคะ เข้ามาทักทายกันบ่อยๆ หน่อยนะคะ

ปนดา

หนูต้องขอขอบคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งเลยค่ะ หนูอ่าน post ที่ 72 พอจะเข้าใจค่ะ พอดีหนูได้ข้อมูลจากพี่ PT รพ.จังหวัด และ รพ.ชุมชนหลายๆแห่งมาค่ะ อัตราค่ารักษาที่ตั้งขึ้นมาบางตัวก็เท่ากันแต่บางตัวก็ราคาแตกต่างกันมากเลยค่ะอาจารย์ เช่น Tapping รพ.ก ราคา 50 บาท แต่ รพ.ข 70 บาท รพ.ค 100 บาท

และก็ Chest PT ค่ะ รพ.ก คิดราคารวม 100 บาท ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น

- Percussion

-Vibration

-Suction

แต่ รพ.ข คิดราคาแยกเลยค่ะ

- Percussion 100 บาท

-Vibration 100 บาท

-Suction 100 บาท

รวม 300 บาท

ประมาณนี้ค่ะ หนูเลยอยากจะรบกวนถามอาจารย์เพิ่มเติมค่ะ คือว่าราคาไหนที่เป็นราคากลางตาม ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดคะ เพราะหนูลองค้นในเน็ทแล้วไม่เจอเลยค่ะ

ถึงน้องนักกายภาพบำบัดนาเชือก พี่แนะนำว่าการคิดค่ารักษาให้คิดตามราคาของกรมบัญชีกลางฉบับล่าสุด ถ้าไม่รู้จะไปหาที่ไหนลองไปถามหัวหน้ากลุ่มการพยาบาลดูนะคะ

พี่จิตรา ส่งคำตอบเกี่ยวกับการคิดค่ารักษาทางกายภาพบำบัดมาให้แล้วนะคะ คิดว่าคงชัดเจนมากขึ้น ดังนี้ค่ะ

1. ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า "อัตราค่าบริการของสถานบริการสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2547"

(เล่มแดง) เป็นราคาขายของสถานบริการในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข แต่กรมบัญชีกลางซึ่งเป็นผู้ซื้อบริการให้กับข้าราชการ/

ลูกจ้างประจำและครอบครัว ไม่จ่ายตามราคาขายที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

กรมบัญชีกลางจ่ายตามที่กรมบัญชีกลางกำหนดเอง ล่าสุดกรมบัญชีกลางจ่ายตาม "อัตราตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องอัตราค่าบริการ

สาธารณสุขเพื่อใช้สำหรับการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลในสถานพยาบาลของทางราชการ" ที่ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549

ซึ่งไม่ได้กำหนดอัตราค่าบริการของกายภาพบำบัด ทั้งนี้รายการที่ไม่ได้กำหนด กรมบัญชีกลางอนุโลมให้จ่ายในอัตราที่สถานบริการเรียกเก็บในปี

2548

2. ทีนี้ การตั้งอัตราค่ารักษา แต่ละที่ตั้งไม่เหมือนกัน บางแห่งตามเล่มแดงของกระทรวง บางแห่งตามกรมบัญชีกลาง ซึ่งถ้าตามกรมบัญชีกลาง

ต้องใช้ที่ประกาศ ณ วันที่ 24 พฤศจิกายน 2549 แต่เนื่องจากประกาศนี้ไม่มีค่าบริการทางกายภาพบำบัด บางแห่งก็ใช้ของกรมบัญชีกลาง

ที่ประกาศ ณ วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2549 แทน

3. ขอให้เข้าใจว่า อัตราที่จะแจ้งต่อไปนี้ ถ้ามี "(สธ)" อยู่ท้ายหมายถึงอัตราของกระทรวงสาธารณสุขตามเล่มแดงปี 2547

ถ้ามี (กบก21) อยู่ท้าย หมายถึงอัตราที่กรมบัญชีกลางกำหนดตามประกาศลงวันที่ 21 มิถุนายน 2549

3.1 Chest PT 150 บาท (สธ)

การรักษาผู้ป่วยทางเดินหายใจ (Chest Therapy) 100 บาท/ครั้ง (กบก21)

อันนี้ ก็อยู่ที่จะตีความว่า จะคิดว่า ทำ Postural Drainage ครั้งละ 150 หรือ 100 บาท

ทำ Percussion ครั้งละ 150 หรือ 100 บาท

หรือว่า ทั้ง Postural Drainage และ Percussion รวมกันเป็นครั้งละ 150 หรือ 100 บาท

แต่โดยความเห็นส่วนตัว เข้าใจว่า ในการทำ Chest PT 1 ครั้ง ไม่ว่าจะทำอย่างไร คิด 150 หรือ 100 บาท/ครั้ง

ไม่แยกรายการย่อย

3.2 การพันเทป (Taping) (กบก21) 50 บาท/ครั้ง ของ สธ ไม่มีรายการพันเทป

จิตรา

เรียนอาจารย์ดา เมื่อ 16-17 ก.ย. 52 ได้ไปสัมนาเครือข่ายกายภาพบำบัด ที่สปสช.เขต 2 พิษณุโลกจัดขึ้น ได้มีการพบปะกัน

และจะร่วมมือกันพัฒนางานกายภาพ โดยเค้าเน้นให้ทำงานเป็นทีมภายในจังหวัดเดียวกัน ต่อไปมีปัญหาอะไรก็จะปรึกษากันค่ะ

มีน้อง เพิ่งไปเปิดแผนกที่พบพระ แม่ระมาด ก็มีการสื่อสารกันดี มาดูงานที่ รพ.สามเงา รพ.บ้านตาก คิดว่าต่อไปงานกายภาพน่าจะพัฒนามากขึ้นค่ะ

ผมทำงานงบ สปสช.ปีที่ 3 ของโคราช มีความยินที่จะขยายโอกาสต่อไป โทร.086-904-2962

เรียน กภ.นาเชือก และผู้ที่สนใจทุกท่าน

มีเอกสารเกี่ยวกับค่ารักษาบริการ ของรพ.ขอนแก่น ใครอยากได้ไปดูเป็นตัวอย่างก็บอกได้เด้อพีน้อง บอก email มาจะส่งให้เด้อค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.กภญ.ปนดา เตชทรัพย์อมร

- วันนี้มีการประชุมสอนการเขียนแผนยุทธศาสตร์งงมากมายเลยครับ

- พี่ รพช.สองท่านแนะนำให้ทางสภาทำหนังสือเวียนแจ้งคำนำหน้าชื่อ เพราะบ้างแห่งยังไม่ทราบและให้งานบุคลลากรได้เปลี่ยนแปลงฐานข้อมูล

- ขอเวลาอีกสักสองปี แล้วอาจารย์อย่าลืมส่งน้องมาฝึกงานกะผมและเพื่อนจบใหม่นะครับ อุบลเด้อพี่น้อง

- เมื่อวันศุกร์ได้จัดโครงการนำร่องการทดสอบสมรรถภาพผูสูงอายุ โดยพี่ๆจาก รพ.สปส อุบล มาช่วย สนุกมากเลยครับผู้เฒ่าผู้แกก้อเฮฮาดี

- การเบิกจ่ายกายอุปกรณ์นอกจากผู้พิการแล้วUCในเราสามารถเบิกจ่ายให้ได้หรือป่าวครับ

การเบิกจ่ายกายอุปกรณ์ UCในเราสามารถเบิกจ่ายให้ได้ ตามระเบียบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าปีงบ 2552

หมวด 8 วัสดุ/อุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

นักกายภาพบำบัด รพ.นาเชือก

ขอบคุณพี่ PT ขอนแก่นนะคะ และขอบคุณอาจารย์ค่ะ

รบกวนอาจารย์ส่งข้อมูลให้หนูที่ [email protected]

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ขอบคุณ กภ.บ้านหมี่มากนะครับที่ช่วยไขข้อสังสัย

เรียน อ. ปนดา ค่ะ

หนูชื่อ หฤทัย นาเมืองรักษ์ ค่ะพึ่งจบการศึกษาPT จาก

มหาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราชค่ะ ที่ผ่านมานี่เองค่ะ

ตอนนี้ทำงานเป็น PT อยู่ รพช.ไทยเจริญ จ.ยโสธร รบกวนอาจารย์ช่วยส่ง

"PT ในผู้ป่วยสูบบุหรี่และราคากลางรักษาPT

ของพี่ รพ.ขอนแก่นให้ด้วยค่ะที่ [email protected]

หรือที่ โรงพยาบาลไทยเจริญ ตำบลไทยเจริญ อำเภอไทยเจริญ

จังหวัดยโสธร 35120

***ขอบพระคุณมากค่ะ****

สวัสดีครับอาจารย์ปนดา และก็สวัสดีพี่ๆกายภาพบำบัดทุกคนนะครับ ผมชื่อไตรทศนะครับ เป็นนักศึกษากายภาพบำบัด ชั้นปีที่4

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ ผมรู้สึกยินดีมากๆ ที่มีโอกาสเข้ามาที่เว็บนี้ ตอนแรกผมลองนั่งพิมพ์คำว่า กายภาพบำบัดชุมชนในกูเกิล

ก็เลยเจอเว็บบล๊อกนี้ ลองอ่านดู โอ้โห พี่ๆทุกคนดูรักกับงานชุมชนมากๆ อาจารย์ปนดาก็น่ารักมากๆตอบคำถามตลอดเลย ถึงแม้ว่าจะ

ตอบไม่ได้ก็ยังกรุณาถามผู้อื่นให้ อาจารย์ใจดีมากครับ ผมเป็นคนหนึ่งที่ไฝ่ฝันว่าจบมาจะอุทิศตนทำงานเพื่อชุมชน

ครับ เพราะเวลาผมไปออกค่ายอาสาต่างๆ ผมเห็นว่าชาวบ้านที่อยู่อำเภอนอกๆ นี้เวลาเจ็บป่วยทีลำบากมากเลยครับ ต้องเดินทางไกล

มากๆ เก็บเงินเยอะมากๆกว่าจะมาใช้บริการสาธารณสุขได้ บางคนหลังจากออกโรงพยาบาลไปแล้วก็ขาดการติดตามอย่างต่อเนื่อง

บางคนกลับไปก็นอนอยู่เฉยๆจนช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ เกิดภาวะต่างๆตามมามากมายโดยเฉพาะคุณภาพชีวิต ผมเคยไปเจอในเว็บมี

คนให้คำนิยามของกายภาพบำบัดว่า นิยามว่า "วิชาชีพแพทย์นั้นทำงานเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของมนุษย์ แต่วิชาชีพ

กายภาพบำบัดเราไม่ได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับความเป็นความตายของเขา แต่เราทำงานเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของคน โรคบางอย่าง

หมออาจช่วยให้คนไข้รอดตายแต่คุณภาพชีวิตหลังจากนั้นอยู่ในกำมือ ของเรา ถ้าเราทำงานพลาดนั้นหมายถึงคนไข้จะต้องทนทุกข์

ทรมานกับความผิดปกตินั้นไป" ข้อความนี้เองทำให้ผมเชื่อมั่นในตัวเองและศรัทธาในวิชาชีพมากๆครับ อีกไม่กี่เดือนผมก็จะเรียนจบ

แล้ว ผมต้องไปอยู่โรงพยาบาลชุมชนให้ได้แน่นอนครับ

สวัสดีครับ รศ.ปนดา และเพื่อนๆ กายภาพบำบัดชุมชนทุกท่านนะครับ

ไม่ได้เข้ามานานเลย เพราะช่วงนี้ผมไปอบรมบ่อย งานก็เริ่มยุ่ง ๆ

เริ่มมีเคสเข้ามาบ้าง(วันละสี่เคส-สิบเคส)

^ ^

อาจารย์ครับ

ผมมีข้อสงสัยเรื่องหนึ่งจะมาถามครับ

เรื่องตรวจเท้า และแนะนำรองเท้า สรุปว่า เป็นหน้าที่ของเราหรือพยาบาลครับ

เพราะเพื่อนบอกว่าเป็นหน้าที่ของพยาบาลผมเลยไม่กล้าไปล่วงเกินตรงนี้

คนพิการผมก็ยังไม่สามารถดึงโครงการมาได้เพราะพยาบาลกำลังทำอยู่

ตอนนี้ที่ทำก็มี COPD วอร์ดใน วอร์ดนอก แล้วก็งานอื่นๆ บ้าง

สุดท้ายนี้ก็ใกล้ปลายฝนต้นหนาวแล้วนะครับ

ก็อยากให้ทุกท่านดูแลสุขภาพกัน ขอให้สุขภาพแข็งแรงน๊าค๊าบ

สวัสดีค่ะทุกคน

ดีใจมากที่มีสมาชิกใหม่ๆ เข้ามาแนะนำตัวใน blog นี้มากขึ้น คิดว่า blog นี้น่าจะพอเป็นแหล่งเรียนรู้ของพวกเราชาว PT ชุมชนได้มาก เพราะอยากรู้อะไรก็หาอ่านได้ หรือ ถ้าไม่มีใน blog ก็ขอได้ จะพยายามจัดหาให้ หรือ ติดต่อ เชื่อมโยงผ่าน experts ให้

สำหรับ ราคาค่าบริการทาง PT ก็มีผู้สนใจขอเข้ามาเยอะ กำลังคิดว่าจะจัดไว้ให้ download บน web สภาฯ ใครอยากได้จะได้ไป download ได้เลย แต่ณ ตอนนี้ก็ส่งโดยตรงถึง e-mail ไปก่อน

เรื่องเอกสารบุหรี่มีใครอยากได้อีกไหม จะส่งไปให้ เพราะอาจารย์รอให้มีหลายๆ คนก่อนค่อยไปไปรษณีย์เสียที จะได้คุ้มกับการเดินทางหน่อย

ดีใจกับน้องไตรทศด้วยนะคะ ที่เห็นการทำงานในชุมชนเป็นงานที่น่าสนใจ เข้ามาเยี่ยมใน blog นี้บ่อยๆ นะคะ จะได้เรียนรู้จากพี่ๆ เขาไปล่วงหน้า อนาคตสดใสแน่นอน

มีเรื่องประชาสัมพันธ์ ในวันที่ 16ต.ค.นี้ ทางสภาฯจะนัดคณะทำงานเพื่อหาผลงานทางกายภาพบำบัดไปนำเสนอที่งาน HA Forum ครั้งที่ 11 ในเดือนมีนาคม 2010 แต่เราต้องการเรื่องภายในเดือนพ.ย.นี้ ใครมีเรื่องที่แสดงให้เห็นผลสำเร็จของงานพัฒนาคุณภาพบริการกายภาพบำบัด โดย concept ในปีนี้ คือ การพัฒนาที่ยืดหยุ่นและยั่งยืน (flexible & sustainable development) ใครมีอะไรดีๆ ที่อยากไปนำเสนอก็ส่งผ่านมายังอาจารย์ เล่าคร่าวๆใน blog นี้ก่อนก็ได้ แล้วจะช่วยนำเสนอสภาฯให้

สำหรับคำตอบของโชคุง เกี่ยวกับเรื่องบทบาทของพยาบาลกับกายภาพบำบัดในการดูแลเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ในความเห็นของอาจารย์ คิดว่าการดูแลเท้าในผู้ป่วยเบาหวานควรเป็นแบบสหสาขาวิชาชีพ เราช่วยกันดูแลได้ โดยแต่ละวิชาชีพอาจเน้นการดูแลที่สอดคล้องกับบทบาทของตนเอง เช่น พยาบาลเขาอาจจะตรวจเท้า เพื่อดูทางด้าน hygeine ดูว่ามีแผลหรือมีการติดเชื้อหรือไม่ บางทีไม่มีแผลแต่ติดเชื้อได้ เช่นเชื้อราตามซอกนิ้วเท้า มีบริเวณใดที่เสี่ยงต่อการเกิดแผล หรือปัญหาเรื่อง poor circulation หรือไม่ แต่ทางกายภาพบำบัด เราก็ต้องตรวจเท้าด้วย แต่การตรวจและการดูแลเราอาจไปเน้นการแก้ปัญหาโดยใช้หลักทาง biomechanic มาช่วยในการวิเคราะหฺปัญหาและแก้ไขปัญหาของผู้ป่วย ร่วมกับพยาบาล ซึ่งเขาอาจจะไม่ค่อยเน้นในเรื่องนี้ การ design รองเท้า เราก็ต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยทางด้าน pathobiomechanic ด้วยว่าผป.มีปัญหาอย่างไร จะแก้ไขได้อย่างไร ทางด้านการออกกำลังกายเพื่อลดปัญหาเรื่องเท้าของผป.เบาหวาน จะทำอะไรเพื่อเป้าหมายอะไร เราก็ต้องตรวจก่อนเราจึงจะให้การดูแลได้ เช่นเดียวกับพยาบาลนั่นแหล่ะ ไม่ทราบว่าตอบคำถามของโชคุงไหม อาจารย์คิดว่าเราต้องเอาผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางแล้วคิดว่าเราจะมีส่วนช่วยกันทำให้การดูแลเขาดีขึ้นได้อย่างไร ถ้าพยาบาลเขาทำอยู่แล้ว แล้วเขาทำอะไรบ้าง ทำอย่างไร เราจะช่วยเพิ่มเติมในส่วนไหน อย่างไร ก็น่าจะไม่ซ้ำซ้อน และเสริมสร้างการทำงานให้มีคุณภาพมากขึ้นได้นะ

ปนดา

สวัสดีครับ อาจารย์และก็พี่ๆทุกคนนะครับ คือผมมีเรื่องสงสัยจะถามครับ คือว่าผมเคยฟังคุณหมอคนนึงมาบรรยายเรื่องกายภาพบำบัดในชุมชน ซึ่งตอนนั้นผมอยู่ปีสอง เขาบอกว่าวิชาชีพเราเป็นวิชาชีพที่ดีมากๆ มีความรู้กว้างขวาง สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้มาก แต่คนไม่ค่อยรู้จัก ซึ่งคุณหมอคนนั้นได้บอกว่าสาเหตุที่ทำให้วิชาชีพกายภาพบำบัดนั้นไม่ค่อยมีคนรู้จักเท่าที่ควร แม้แต่บุคลาการในวงการแพทย์เอง เขาบอกว่าวิชาชีพเราไม่ค่อยจะแสดงตนว่าตนเองสามารถทำอะไรได้บ้าง มีข้อดีอย่างไรถ้าทำกายภาพบำบัด เป็นต้น ผมเลยอยากถามอาจารย์และพี่ๆว่า วิชาชีพเราไม่เป็นที่รู้จัก เพราะเราไม่แสดงบทบาทหรือศักยภาพที่ชัดเจนจริงหรือไม่ครับ แล้วถ้าจริง ทางผู้ใหญ่ของสภา หรือตัวนักกายภาพบำบัดเองเขาได้แก้ปัญหาเรื่องนี้หรือไม่ครับ

อีกคำถามนึงนะครับ ว่าถ้าวิชาชีพเราตอนก่อนเรียนมีการทำสัญญา(ใช้ทุนหลังเรียนจบ) เหมือนกับคณะอื่นๆทางสายสุขภาพ จะช่วยแก้ปัญหาจำนวนนักกายภาพบำบัดไม่เพียงพอได้หรือไม่ครับ

ขอบคุณมากๆนะครับ

ปล. ตอนนี้ในหลวงกำลังทรงพระประชวร และข่าวออกว่ามีทำกายภาพบำบัดทางทรวงอกด้วย มีพี่ๆคนไหนพอจะทราบไหมครับว่านักกายภาพบำบัดคนไหนมีบุญวาสนาได้ทำกายภาพบำบัดถวายในหลวงครับ +_+

ขอแลกเปลี่ยนความคิดการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน แม้จะรู้จักกับคนโซคุงเปงการส่วนตัวแล้ว แต่การโพสจะช่วยให้ กภ.ท่านอื่นได้อ่านไปหลายๆคน ตอนนี้กะลังอยู่ในช่วงเขียนแผนปีงบประมาณ ผมจะทำโครงการรองเท้าในคนไข้เบาหวานด้วย ซึ่งน่าจะได้รับการตอบรับเปงอยากดีและทำให้ กภ.แสดงจุดเด่นได้อีกงานหนึ่ง ขอเพิ่มเติมการตรวจเท้าจาก อ.กภญ.ปนดา ว่ามีเครื่องที่เรียกว่า phodoscope เปงกระจกส่องเท้าหลักการทำง่ายๆ จะช่วยตรวจการลงนำหนักเท้าที่ผิดปกติ เพื่อช่วยในการวางแผนการออกแบบรองเท้าช่วยลดแรงกดได้ ปีงบหน้าไม่น่าจะเกินเดือน พย.นี้จะจัดประชุมวิชาการกายภาพบำบัดในเบาหวาน ที่รพ.เขื่องใน จากวิทยาการที่เชี่ยวชาญด้านนี้ ท่านใดสนใจก้อแสดงความจำนงได้ แล้วจะแจ้งอีกครั้งหากทราบวันและเวลาที่แน่นอน

ขอเล่าโครงการสร้างสเริมสมรรถภาพในผู้สูงอายุครับ

เปงโครงการได้ได้รับความช่วยเหลือจากเครือข่ายกายภาพบำบัดอุบลราชธานี โดยมีการทดสอบสมรรถภาพการทำกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุ และให้โปรแกรมการเพิ่มสมรรถภาพในด้านที่คนๆนั้นๆมีปัญหา เปงการทดสอบง่ายๆสามารถฝึก อสม.ช่วยได้แต่การแปลผลควรเปงน่าที่ กภ. ซึ่งการจัดครั้งนี้เปงเพียงนำร่องมีผู้เข้าทดสอบ 96 พบว่าคนที่ เขื่องใน มีปัญหาความทนทานมากที่สุด และรองคือความคล่องตัว ส่วนด้านอื่นๆปกติเปงส่วนมากแต่ก้อมีกลุ่มที่ผิดติเช่นกันแต่ไม่มากเท่าสองด้านแรก ผู้สูงอายุชอบใจมากร้อยละความพึงพอใจ95 พี่น้อยชมด้วยว่าสุดยอด ปลื้มและมีกำลังใจทำงานสุดๆ ไม่ทราบว่าโครงการนนี้จะได้ไหมเพราะไม่มีการทำ post เพียงแต่ทำให้ ผอ.เหนว่าเราทำได้และมีประโยชน์ และเปงโครงการที่ รพ.สปส.คิดให้อีกที เล่าให้ทรายโดยทั่วกัน ครายอยากได้แนวคิด แบบทดสอบ การแปลผล ภาพกิจกรรม ตัวอย่างโครงการ ติดต่อได้นะครับ ฝากเมลล์ไว้

สวัสดีคะ แวะมาอ่านหาความรู้คะ

สวัสดีคะ

เป็น PT บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ลงชุมชนมาได้ระยะหนึ่งแล้ว แต่ยังไม่เคยเขียนโครงการด้านลงชุมชนจริงจังซักที สนใจโครงการสร้างเสริมสมรรถภาพผู้สูงอายุมาก รบกวนส่งมา ที่ [email protected]

ขอบคุณคะ

ตอบน้องไตรทศ

ถ้าพูดถึงปัญหาเรื่องคนไม่รู้จักกายภาพบำบัดเมื่อ 20 ปีที่แล้ว อาจจะใช่ แต่ณ ปัจจุบัน ประชาชนทั่วไปรู้จักกายภาพบำบัดผมากขึ้น แต่อาจจะยังไม่เข้าใจบทบาทงานกายภาพบำบัดได้อย่างครอบคลุมเท่าที่เราอยากให้เป็น โดยเฉพาะในชนบท ทั้งนี้อาจเป็นเพราะจำนวนนักกายภาพบำบัดที่มีอยู่ในปัจจุบันยังน้อยมากเมื่อเทียบสัดส่วนกับประชากรทั้งประเทศ ไม่เหมือนพยาบาลที่มีอยู่มากกว่ามาก ในชุมชนชนบทยิ่งมีจำนวนนักกายภาพบำบัดน้อยมาก เรายังขาดแคลนนักกายภาพบำบัดอยู่มาก ผลิตไม่ทันความต้องการ เรื่องการให้ทุนนักศึกษากายภาพก็กำลังจะมีความเป็นไปได้ เพราะสภากายภาพฯกำลังทำงานเรื่องนี้ร่วมกับ สปสช.อยู่ค่ะ

เราอย่าไปกังวลเรื่องไม่มีใครรู้จักวิชาชีพเรา แค่เท่าที่ทำอยู่นี้เราก็ทำงานกันหนักมากแล้ว ผู้ป่วยมีเยอะมาก ทั้งเชิงรุกและรับ นี้ขนาดเขายังไม่ค่อยรู้จักเรา ยิ่งตอนนี้กายภาพบำบัดถูกประกาศในทีวีทุกวัน คนคงรู้จักกายภาพบำบัดมากขึ้นมาก

ปนดา

ยินดีกับคุณกิตติด้วยนะ และขอชื่นชมในผลงานค่ะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ อ. ดา กมลทิพย์นะคะ ทำงานอยู่น้ำพองขอนแก่นค่ะ ได้อ่านข้อความแล้วอยากจะแลกเปลี่ยนนิดนึงค่ะ ที่ขอนแก่นตอนนี้กำลังมีการสนใจเรื่อง เท้าผู้ป่วยเบาหวานอย่างมาก รพ น้ำพองเอง ก็มีการใช้เครื่องมือ phodoscope มาช่วยในการตรวจเท้าผู้ป่วย และหน่วยงานกายภาพบำบัดเป็นส่วนที่สั่งจ่ายรองเท้าเอง โดยการคัดกรองจนถึงการจ่ายรองเท้า งานกายภาพบำบัดเป็นคนดูแลทั้งหมด และมีการทำงานในชุมชน โดยออกไปเยื่ยมชุมชน ทั้ง ผู้ป่วย CVA และผู้ป่วยเบาหวานไปพร้อมกัน ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ป่วยและญาติเอง มีเรื่องจะสอบถาม อ. ค่ะ กำลังขึ้นปีงบใหม่มีเพื่อนถามหาแผนยุทธศาสตร์ในหน่วยงานค่ะ อ. พอจะมีตัวอย่าง ตัวชี้วัดบ้างไหมค่ะ จะได้นำมาศึกษาน่ะคะ

ขอบคุณค่ะ

กมลทิพย์

ไม่เกี่ยวกับกายภาพชุมชนนะคะ

แต่ขอเรียนปรึกษาอ. ดา คะ

เข้าเวปสภาไม่ได้นานแล้ว

ทราบว่าหลายๆคนมีปัญหาในการเข้าเวปสภา

(ทำตามคำแนะนำแล้วคะ)

ส่งโฌครงการไปให้ กภ.บ้านหมี่แล้วนะครับ

สวัสดีค่ะ นักกายภาพบำบัด รพช.ทุกท่าน

นักกายภาพบำบัด รพ.นาเชือก

สวัสดีค่ะ อ.ปนดา หนูได้รับเมลล์อัตราค่ารักษาเรียบร้อยแล้วค่ะ

หนูอยากได้เอกสารบุหรี่ค่ะ

รบกวรอาจารย์ส่งให้หนูที่ รพ.นาเชือก ต.นาเชือก อ.นาเชือก จ.มหาสารคาม 44170 ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

และอยากรบกวนขอตัวอย่างโครงการของคุณ กภ.กิตติ ด้วยค่ะ จะได้นำไปเป็นแนวทางการเขียน

e-mail นะคะ [email protected]

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ อ. ปนดา

หนูเพิ่งเป็น PT ที่โรงพยาบาลชุมชนได้ 6 เดือนค่ะ

ตอนนี้พี่เค้าให้ร่วมทีมดูแลผู้ป่วยหลายกลุ่มทั้ง DM,HT,สตรีตั้งครรภ์ และในผู้ป่วยที่เลิกเหล้าและบุหรี่ด้วยค่ะ

สนใจเอกสารเกี่ยวกับกายภาพบำบัดในผู้สูบบุหรี่ รบกวนอาจารย์ ส่งให้หนูด้วยอีกคนนะคะ

ที่ รพ. ไทรงาม อ.ไทรงาม จ.กำแพงเพชร 62150 ค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

และรบกวนคุณ กภ.กิตติ

เรื่อง โครงการในผู้ป่วยเบาหวาน และโครงการในผู้สูงอายุ ต้องขอคำแนะนำด้วยนะคะ และถ้าหากได้ตัวอย่างมาเป็นแนวทางในการเขียน จักเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

e-mail นะคะ [email protected]

ยินดีค่ะ จะส่งไปให้ภายในสัปดาห์นี้ ยังจะมีใครอยากได้อีกไหมคะ ช่วยรีบบอกมาในช่วงนี้นะ ถ้าเลยสัปดาห์นี้ไป ก็ต้องรอส่งงวดหน้า อาจารย์จะส่งหนังสือกายภาพบำบัดกับพิษภัยบุหรี่ให้ด้วย มีสติ๊กเกอร์ของกายภาพบำบัดกับบการลดบุหรี่ด้วย พร้อม CD power point

ปนดา

เรียนคุณกิตติ

ช่วยส่งโครงการให้อาจารย์ด้วยได้ไหม ที่ [email protected]

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.กภญ.ปนดา

กภญ.ปัทมา และ กภ.นาเชือก

ผมได้จัดส่งโครงการผู้สูงอายุให้แล้วนะครับ ส่วนเบาหวานอยู่ระวังการเสนอแผนครับ อดใจรออีกนิดนะครับ อีกกึดเดียว

ขอบคุณคุณกิตติมากนะคะ รวดเร็วทันใจดีจริงๆ

การเขียนโครงการเป็นทักษะที่สำคัญของชาว PT ชุมชนนะคะ ถ้ามีตัวอย่างดี ๆ จะช่วยเป็นแนวทางให้คนอื่นได้เป็นอย่างดีค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.กภญ.ปนดา

ดิฉันได้สนอโครงการให้ผู้อำนวยการขอเปิดแผนก และตอนนี้ทางโรงพยาบาลได้สนใจที่จะเปิดแผนกกายภาพบำบัด อยากให้อาจารย์ช่วยแนะนำแนวทางการดำเดินงานในหน่อย และอยากจะของอัตราค่าบริการ โครงการในผู้ป่วยเบาหวาน และโครงการในผู้สูงอายุ ส่งมาที่ [email protected]

เรียน รศ.กภญ.ปนดา ผมเคยได้รับสื่อเปงสปอตวิทยุเกี่ยวกับบุหรี่แต่ยังไม่ได้ พาเวอร์พอย ซีดีและหนังสือเลยครับ

รบกวนอาจารย์ส่งให้หน่อยครับ

กภ.กิตติ สมบรรดา

งานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน

83 ถนนแจ้งสนิท ต.เขื่องใน 34150

(จิงหรือป่าวที่ยังมีคนเข้าใจว่ากายภาพบำบัดไปนวดให้ในหลวง)

เรียนคุณ กภ. กิตติ

ดิฉันได้รับโครงการผู้สูงอายุแล้ว ขอบคุณมากค่ะ

เสนอยุทธศาสตร์สร้างความเข้มเข้มและศักยภาพของกายภาพบำบัดชุมชน

๑.สร้างความภาคภูมิในวิชาชีพตั้งแต่เริ่มรับเข้าสู่ระบบการศึกษา โดยการใช้คำนำหน้าชื่อ และการใช้คำดังกล่าวแทนตัวนักกายภาพบำบัด

๒. ผลักดันทางกระทรวงศึกษาธิการให้จัดให้มีคำว่า กายภาพบำบัด ในหนังสือเรียนหลักศูตรภาคบังคับ เพื่อเด็กไทยจะได้รู้จักและคุ้นเคยคำว่ากายภาพบำบัด รวมทั้งเข้าใจและความสำคัญบทบาทของวิชาชีพนี้

๓. ร่วมกันวางแนวทางและวิธีการ กำหนดเกณฑ์มาตรฐานขั้นตำในการดูแลผู้ป่วยแต่ละโรค สิ่งที่นักกายภาพบำบัดทุกคนต้องทำได้ ความรู้และสิ่งที่ผู้ป่ยควรได้รับจากนักกายภาพบำบัด

๔. ควรเปิดเวทีนำความรู้ ทักษะและประสบการณ์ จากการทำงานแต่ละแห่งมาเผยแพร่กับผู้ร่วมวิชาชีพซึ่งจะทำให้ความรู้เกี่ยวกับกายภาพบำบัดชุมชนก้าวหน้ารวดเร็วขึ้น

๕.สร้างแผนกกายภาพบำบัดให้มีมาตรฐานเดียวกัน โดยนำสิ่งที่ปฏิบัติและความรู้มาทบทวนร่วมกันพร้อมกับว่างมาตรฐาน ทั้งนี้อาจมีการอบรมแบบ workshop ให้ความรู้เริ่มจากพื้นฐานแล้วก้าวสู่การประยุกต์ เพื่อพัฒนาเปงแผล่งฝึกที่ได้มาตรฐานที่เท่าเทียมกันสำหรับรองรับนิศิตนักศึกษา การนำความรู้มาร่วมเสวนากันจะทำให้นักกายภาพบำบัดที่สนใจเข้ามาทำงานด้านกายภาพบำบัดชุมชน เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

นักกายภาพบำบัด นาเชือก

ขอบคุณนะคะคุณกิตติ ดิฉันได้รับโครงการแล้วค่ะ

พึ่งทราบว่าคุณกิตติอยู่ที่ รพ.เขื่องใน พอดีดิฉันก็มีเพื่อนเป็น PT ที่อยู่ จ.อุบลเหมือนกัน

คาดว่าคุณกิตติน่าจะรู้จัก กภ.นาจหลวย กภ.โขงเจียม

เรียน กภญ.นาเชือก

ยังมี กภญ.สุกัญญา รพ.พิบูรณ์ และ กภญ.ชุลีพร รพ.โพธิ์ไทร ต่างก้อเปงเดกมอหัวเฉียวนะ

ขอบคุณครับอาจารย์

ผมจะตั้งใจเรียนและออกมาเป็นนักกายภาพบำบัดที่ดีครับ

วันที่19 ตุลานี้ ผมก็จะไปฝึกงานที่ รพ แม่สอดแล้วครับ ตื่นเต้นๆ

เรียน คุณ กิตติ

พอดีว่าเราก็ ได้มารับผิดชอบงานผู้สูงอายุเหมือนกัน เป็นลักษณะงานคลินิกนะและ

ก็เคยเข้าร่วมโครงการทดสอบสมรรถภาพผู้สูงอายุโรงพยาบาลยโสธรด้วยโดยมี

พี่ กภ.จาก รพ.สปส.อุบล มาให้คำแนะนำ กิจกรรมสนุกสนาน ผู้สูงอายุก็สนใจให้ความร่วมมือดีมาก

น่าสนใจมากเลย งั้นรบกวนช่วยส่งตัวอย่างโครงการให้หน่อยได้มั้ยคะ

รบกวน อ. ดา

ขอหนังสือหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องกายภาพบำบัดกับพิษภัยบุหรี่ [email protected]

เพราะไม่เคยเข้าอบรมหรือประชุมเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย

นักกายภาพบำบัดนาเชือก

ตอบคุณกิตตินะคะ ใช่แล้วค่ะ สุกัญญา กับชุลีพรก็เป็นเพื่อนกันค่ะ

โครงการของคุณกิตติมีประโยชน์มากเลยค่ะ

ใช้เป็นตัวอย่างและแนวทางในการเขียนโครงการ

ขอบคุณมากเลยนะคะ

เรียนกภ[email protected]

ช่วยกรุณาให้เป็นที่อยู่ทางไปรษรีย์นะคะ ทาง email ส่งหนังสือให้ไม่ได้ค่ะ ถ้าจะส่งที่อยู่ให้ทาง mail ของอาจารย์ก็ได้ค่ะ [email protected]

สำหรับท่านที่ขอมาก่อนหน้านี้ แล้วยังไม่ได้รับ ต้องขอโทษด้วยนะคะที่ยังไม่ได้ส่งให้ แต่สัญญาว่าจะส่งให้แน่นอนค่ะ แต่ช้าหน่อยนะคะ เพราะช่วงนี้อาจารย์ยุ่งมากคุณแม่ไม่ค่อยสบาย แล้วก็กำลังเตรียมตัวสอบอยู่ค่ะ ขอให้ผ่านช่วงวุ่นๆนี้ไปอีกนิดนะคะ

ปนดา

เรียน ทุกท่าน

ดิฉันได้รับมอบหมายให้สอนออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์ การเตรียมตัวคลอด การหายใจในขณะคลอดและออกกำลังกายในสตรีหลังคลอดของโรงพยาบาลชุมชนขนาด 30 เตียง แต่ยังขาดประสบการณ์ในการกำหนดโปรแกรมออกกำลังกายให้เหมาะสม อยากขอรบกวน หากท่านใดมีประสบการณ์เกี่ยวกับการอบรมหรือทำโครงการเกี่ยวกับกายภาพบำบัดในสตรีตั้งครรภ์ หรือมีสื่อประกอบการสอนที่น่าสนใจ รบกวนแนะนำดิฉันบ้างนะคะ จะเป็นพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

e-mail: [email protected]

ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

เรียน อ. ปนดา

หนูส่งแรงใจช่วยเต็มที่ค่ะ ขออำนาจพระรัตนตรัยคุ้มครอง อำนวยพรให้อ.และครอบครัวมีความสุข สุขภาพแข็งแรงนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

เรียน กภญ.หฤทัย กรุณาฝาก e-mail ไว้ให้หน่อยนะครับ หรือแอดมาขอโครงการต่างๆได้ที่ [email protected]

ดิฉันเป็นนักกายภาพบำบัดที่รพ.จุฬาภรณ์ สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ค่ะ ปัจจุบันโรงพยาบาลเป็นโรงพยาบาลเฉพาะทางด้านมะเร็ง จำนวน 100 เตียง ปัจจุบันโรงพยาบาลเริ่มเปิดรับมีผู้ป่วยเข้ามาใช้บริการในระดับหนึ่งค่ะ มีนักกายภาพคนเดียว และในช่วงนี้รพ.จะเริ่มมีการทำงานด้านคุณภาพ (HA) ซึ่งดิฉันมีประสบการณ์น้อยมากค่ะ และต้องมีการกำหนดตัวชี้วัดด้านกายภาพบำบัด (KPI) ซึ่งดิฉันยังไม่มีความรู้ทางด้านนี้ อยากขอความกรุณาพี่ ๆ ร่วมวิชาชีพแนะนำความรู้ด้านนี้ด้วยค่ะ ดิฉันอยากทราบว่าควรต้องเริ่มอย่างไรคะ กรุณาติดต่อทาง email ด้วยค่ะ [email protected] ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ปนดาเป็นอย่างสูงค่ะ

เอกสารที่อาจารย์ส่งให้หนูได้รับเรียบร้อยแล้วค่ะ

หนูจะนำเอกสารที่อาจารย์ส่งให้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับคนไข้ให้มากที่สุดเลยค่ะ

ขอโทษนะครับ ผมขอแวะมาปรึกษาครับ เนื่องจากที่บ้าน คุณพ่อป่วยด้วยอาการแขนขาข้างขวามีอาการอ่อนแรงครึ่งซีก โดยแพทย์ได้แจ้งว่า เกิดมาจากสมองซีกซ้ายขาดเลือด ขณะนี้อยู่ในช่วงกายภาพบำบัด จึงอยากขอ

สอบถามครับ มีนักกายภาพผู้ป่วยอาการลักษณะนี้มั๊ยครับ ซึ่งสามารถที่จะเดินทางมากายภาพให้ที่บ้านมั๊ยครับ / ขอบคุณครับ 089-7723484 บ้านผมอยู่ที่ ต.หนองขอน จ.อุบลฯ (ทางไป จ.ยโสธร)

เรียนคุณ ปริญญา

นักกายภาพบำบัดสามารถให้การรักษาและฟื้นฟูโรคทั่วไป ซึ่งผู้ป่วยอัมพาฒสามารถรับการฟื้นฟูจากนักกายภาพบำบัดทุกท่าน หากสนใจทำงานกายภาพบำบัดสามารถมารับบริการที่ รพ.เขื่องใน จ.อุบล ทางไปยโสธรครับ

เรียน รศ.กภญ.ปนดา

ผมได้รับสื่อเรื่องบุหรี่แล้วนะครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากนะครับ

เรียน กภ.ปัทมา

ที่รพ. เราก็สอนออกกำลังกายของหญิงทั้งก่อนคลอดและหลังคลอด

ไม่ทราบว่ามีใครแจกสื่อหรือแนวทางการออกกำลังกายในสตรีมีครรภ์ไปบ้างหรือยัง

พอดีเรามีสื่อแต่เป็น power point ติดต่อทางอีเมลล์นะคะ

[email protected]

เรียน อ. ปนดา

หนูได้รับเอกสารเกี่ยวกับกายภาพบำบัด & บุหรี่ที่อ.ส่งมาให้แล้วนะคะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

และขอขอบคุณมากนะคะ คุณ กภ.โขงเจียม สำหรับสื่อการออกกำลังกายในสตรีตั้งครรภ์

ดิฉันได้รับอีเมลจากคุณเป็นที่แรกน่ะค่ะ

ตอนนี้ยังดาวน์โหลดอยู่เลย

แล้วจะนำมาศึกษาแล้วเอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไปค่ะ

ขอขอบคุณอีกครั้งนะคะ

ปัทมา..

สวัสดีคะ อ.ดาหนูเป็นศิษย์เก่ามน.รุ่น 5 นะคะไม่แน่ใจว่าอ.จำได้ไหม ตอนนี้ทำงานรพช.ในจังหวัดบ้านเกิดค่ะ

ขณะนี้เริ่มออกชุมชนบ้างแล้ว ส่วนใหญ่เป็นในเขตตำบลที่รพช.รับผิดชอบ

แล้วอยากที่จะออกต่างตำบลด้วยในอนาคตอันใกล้นี้ จึงอยากเรียนถามอ. และผู้ทราบข้อมูลว่าเราจำเป็นต้องเสนอโครงการก่อนมั้ย

และถ้าต้องเสนอโครงการอยากขอตัวอย่างดูบ้างนะค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ[email protected]

ยินดีค่ะ ถ้าสามารถช่วยอะไรได้ จะช่วยๆกันนะคะ เพื่อ PT ชุมชนค่ะ สู้ๆ

สวัสดีค่ะ PT ชุมชนทุกท่าน ทุกท่านคงได้เข้าร่วมประชุมเกี่ยวกับงบฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการซึ่งปี2553 เปลี่ยนเป็นงบฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แล้วนั้น ดิฉันต้องการทราบว่ามีโรงพยาบาลใหนที่ยังไม่ทราบเรื่องงบนี้บ้าง เราต้องรักษาสิทธิ์นี้นะคะเพราะสปสช.ให้งบเหมาจ่ายแบบมีเงื่อนไขซึ่งในเงื่อนไขนั้นระบุชัดเจนว่าโรงพยาบาลใหนไม่มีนักกายภาพหรือแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูหรือนักกิจกรรมบำบัดอยุ่จะไม่ได้งบส่วนนี้ ใครยังไม่ทราบเรื่องงบให้ไปดูกับฝ่ายประกันของโรงพยาบาลนะคะจะมีหนังสือเล่นใหญ่ๆของสปสช.ไปศึกษาดูนะคะ สำหรับท่านที่ทราบแล้วดิฉันอยากทราบว่าเสนอโครงการไรกันบ้าง หรือถูกคนอื่นกีดกันหรือไม่ประการใด ส่วนของจังหวัดอุบลเราทำโครงการเป็นที่เรียบร้อยแล้วท่านใดสนใจก็ขอมาได้ค่ะ นักกายภาพบำบัดอุบลช่วยกันเขียน

ขอบคุณกภ.นาจะหลวยมากนะคะ ที่มีความห่วงใยเพื่อน PT ในชุมชนด้วยกัน ทางสปสช เขาต้องการกระตุ้นให้ รพช.มีการจ้างงาน PT มากขึ้น ขณะเดียวกันก็ต้องการให้รพช.ที่มีนักกายภาพบำบัดทำงานเชิงรุกมากขึ้น

ตอนนี้อาจารย์ไม่ค่อยห่วงทางอีสานเท่าไหร่ เพราะทำงานกันแบบเป็นเครือข่าย แต่ภาคอื่นๆ ไม่ทราบว่ามีการทำงานเป็นเครือข่ายกันมากแค่ไหน อยากให้เขาใช้เวทีนี้เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากกว่านี้

ปนดา

สวัสดีคะ PT จาก ร.พ. บ้านหมี่คะ

คือว่าสนใจตัวอย่างโครงการที่ว่าทาง ร.พ. จังหวัดอุบลเขียนเรียบร้อยแล้วคะ อยากได้เป็นแนวทางในการเขียนบ้าง

รบกวนส่งมาที่ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ปีนี้ไม่ทราบข่าวประชุมเกี่ยวกับงบฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการซึ่งปี2553 เลยไม่มีใครแจ้ง เข้ามาเวปนี้ทีไรได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ทุกที

ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาโพสข้อมูลนะคะ

ช่วงนี้คนไข้น้อย ไปเกี่ยวข้าวกานหมดเลย

ถึง คุณ PT นาจะหลวยค่ะ

รบกวนขอตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการด้วยคนค่ะ จะได้เป็นแนวทางในการเขียนบ้าง

บอกตรงๆว่าตอนนี้งงกะชีวิตมาก พึ่งเข้ามาทำ รพช.ได้ 3 เดือนค่ะ ไม่ถูกกีดกันแต่ก็ไม่มีคำแนะนำใดๆเช่นเดียวกัน เพราะที่ รพ. บอกว่าไม่เคยมี PT มาก่อนก็ไม่รู้ว่าต้องทำอะไรยังไงเหมือนกัน แล้วพอมามั่วเขียนเองคนเดียวมันก็รู้สึกไม่เซลฟ์พิกล

ขอความช่วยเหลือส่งมาที่ [email protected] ด่วนๆเลยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียน กภ.ทุกท่าน

วันนี้อาจารย์ไปร่วมประชุมอนุกรรมการมาตรฐานงานกายภาพบำบัดมา พอสรุปได้ดังนี้

- ได้มีการปรับปรุงร่างมาตรฐานงานกายภาพบำบัด โดยในนำร่างมาตรฐาน ปี 2549 และมาตรฐาน PT ของออสเตรเลีย และของพรพ.มาดูประกอบด้วย ก็ได้ร่างมาตรฐานฉบับปรับปรุงเป็นที่น่าพอใจ และมาตรฐานนี้สามารถนำไปใช้ได้กับรพ.และสถานประกอบการทุกระดับ

- ขั้นตอนต่อไปจะนำร่างมาตรฐานเสนอต่อสภาฯ หลังจากนั้นจะของบสภาฯ นำร่างมาตรฐานไปทำประชาพิจารณ์ในแต่ละภาค 4 ภาค เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แล้วนำมาปรับปรุงอีกครั้ง จากนั้นจึงเสนอต่อสภาฯอีกครั้งเพื่อประกาศเป็นมาตรฐานงานกายภาพบำบัด คิดว่าภายในปี 2010 คงเสร็จ

- ส่วนคู่มือกายภาพบำบัด รพ.ขุมชน ตอนนี้เรากำลังรวบรมข้อมูลอยู่ ส่วนใหญ่ นักกายภาพบำบัดรพช.มักมีปัญหาเรื่องการเขียนโครงการ และเรื่องการคิดค่าบริการ จึงอยากรวบรวมตัวอย่างการเขียนโครงการไว้ โดยในช่วงแรกจะขอนำไปใส่บน web ของสภาฯก่อนเพื่อให้สามารถ download ได้ง่าย (อาจารย์ขอโครงการฟื้นฟูสภาพของนาจะหลวยด้วยนะคะ ส่งมาที่ [email protected])

ขอแจ้งให้ทราบแค่นี้ก่อนนะ

ปนดา

ฝากเว็บไว้ด้วยครับเผื่้อเป็นประโยชน์ http://ptcareforyou.igetweb.com/ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ [email protected]

ผมขอข้อมูลงานวิจัยการดูแลผู้ป่วยสูงอายุที่มีภาวะเบาหวานและความดันโลหิตสูงเรื่อรังครับ ถ้าเป็นflie word ได้ก็ีดีนะครับ พอดีจะวิจัยต่อครับ แต่ถ้าไม่ได้ก็เป็น pdf ก็ได้แต่ขอตัวเต็มนะครับ ส่งไห้ผมได้ที่ [email protected] ภัทรพล โรงพยาบาลสงฆ์ ไม่ทราบว่าอาจารย์มีงานวิจัยเกี่ยวกับเบาหวานอีกไหมครับ ถ้ามีรบกวนอาจารย์ด้วยครับ พอดีจะทำวิจัยเกียวกับพฤติกรรมการออกกำลังกายในคนไข้เบ้าหวานครับ

เรียน PT นาจะหลวย

รบกวนขอตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการด้วยคนนะคะ ยังไม่มีประสบการณ์เรื่องการเขียนโครงการฯเลย เช่นกัน

e-mail: [email protected] ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

และเรียน กภ. ทุกท่าน

ดิฉันเพิ่งเรียนจบมาทำงานรพช.ขนาด 30 เตียง ได้ 7 เดือน ที่รพ.เรามีบริการออกสมุดประจำตัวคนพิการด้วย เป็น one stop service โดยนักกายภาพบำบัดได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าหน้าที่ออกสมุดให้คนพิการโดยประสานงานทุกอย่างที่เกี่ยวข้อง กับแพทย์ผู้ออกเอกสารรับรองความพิการและสำนักงานพัฒนาสังคมฯจังหวัดรวมทั้งกลุ่มสถานีอนามัยในเขตที่รับผิดชอบด้วย

และเมื่อไม่กี่วันมานี้มีหนังสือแจ้งมา ว่ามีการปรับเปลี่ยนเอกสารหลักเกณฑ์พิจารณาความพิการใหม่ ให้ผู้พิการสามารถออกสมุดได้ง่ายขึ้น (ไม่ถูกจำกัดด้วยระดับความพิการเหมือนก่อนที่ระดับความพิการไม่เข้าเกณฑ์ก็ออกสมุดไม่ได้) เริ่มใช้ 3 ธันวานี้

ไม่ทราบว่าทุกท่านทราบหรือยังเหมือนกัน พอมีโอกาสเข้ามาจึงบอกกล่าวทุกท่าน

แต่ว่าดิฉันก็ไม่ได้มีประสบการณ์อะไรมากมายหรอกนะคะ มาเรียนรู้ใหม่หมดเลย ที่รพ. มีนักกายภาพคนเดียว ในแผนกยังไม่มีใครช่วยเลย ทำอยู่คนเดียว หลายงานมาก ช่วงนี้งานเข้าด้วย เครื่องมือก็ยังไม่เพียงพอ เหนื่อยเหมือนกันค่ะ แต่พยายามยื่นขอผู้ช่วยและขอ us กับ hydroc ไปแล้ว ระบบงาน.. การทำหนังสือ.. บันทึกข้อความ...ก็ไม่รู้เลยค่ะ ช้าหน่อย ไม่ค่อยมีเวลาบริหารงานด้วย

ดิฉันรู้สึกดีใจมากที่ได้มาพบทุกท่านที่นี่ และขอขอบคุณหลายๆท่านที่ให้ความกรุณาส่งตัวอย่างงานต่างๆ ข้อมูลข่าวสารและคำปรึกษาต่างๆ

ขอบคุณที่มีพี่ๆ มีเพื่อนๆ PT ค่ะ

หากมีอะไรที่ดิฉันพอจะช่วยได้ ก็ยินดีเสมอนะคะ

เรียนคุณภัทรพล

ที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการออกกำลังกายในผป.เบาหวาน จะทำเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพหรือปริมาณคะ

ปนดา

ไม่เป็นไรนะ คุณ กภ.ปัทมา PT รพช.อุบลก็เจอสถานการณ์คล้ายๆกัน มาคนเดียว แผนกก็ไม่มีปัญหาเยอะ แต่ก็ช่วยๆกันปรึกษาและแก้ปัญหามีอะไรก็บอกข่าวสารกัน งานก็จะได้พัฒนาไปพร้อมๆกัน ตอนนี้ก็เริ่มลงตัวกันแล้วค่ะ สู้ๆนะคะ (บางคนเก้าอี้นั่งยังไม่มีเรยวันแรกน่ะ หมายถึงเรานี่แล่ะ แต่ตอนนี้ก็กำลังรอห้องใหม่อยู่ )ตอนนี้เครื่องมือเราก็ยังไม่มี ใช้มือหมดเลย แล้วก็ออกหน่วยฟื้นฟูผู้พิการมนชุมชน แล้วก็เรื่องงานส่งเสริมทั้งหลาย มีอีกหลายคนที่เจอสถานการณ์ปัญหาเช่นเดียวกัน ใครมีอะไรที่เราพิช่วยได้ก็จะช่วยๆกัน เพราะเข้าใจหัวอกเดียวกานค่ะ เดี๋ยวทิ้งเมลล์ไว้ [email protected]

เรียน PT นาจะหลวย

รบกวนขอตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการด้วยคนนะคะ พึ่งเข้ามาทำงาน รพช. ได้ไม่นานนี้เอง ทั้งแผนกก็มีคนเดียว ยังไม่มีประสบการณ์เรื่องการเขียนโครงการฯเลย ค่ะ

e-mail: [email protected] ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียน อาจารย์ปนดา

ดีใจมากเลยที่อาจารย์ปนดาเปิด blog นี้ วันนี้เพื่อนแนะนำให้มาอ่าน blog นี้ พออ่านแล้วรู้สึกอบอุ่นมากเลยค่ะ

หนูจบมน.รุ่น 6 ค่ะ วันที่ 17 ธ.ค.52 รับปริญญาแล้ว สงสัยต้องรบกวนอาจารย์มาถ่ายรูปกับหนูๆหน่อยนะคะ คิดถึงอาจารย์มากเลยค่ะ

ดีใจที่มีสมาชิกใหม่ๆชาว PT ชุมชน เข้ามาทักทายกันและแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างต่อเนื่อง ตอนนี้มีคณะทำงานจัดทำคู่มือกายภาพบำบัดชุมชนขึ้น อยากให้พี่น้องเราช่วยกันออกความคิดเห็นใน blog นี้ ว่าอยากให้ในคู่มือมีเนื้อหาอะไรบ้าง เพื่อน้อง PT ชุมชน ที่เริ่มงานใหม่ๆ จะได้มีแนวทางในการทำงานบ้าง ณ ตอนนี้ที่คิดได้ก็มีไม่กี่อย่างตามข้างล่างนี้ ช่วยให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมด้วย

- ระเบียบการคิดค่าบริการ พร้อมตัวอย่าง

- การเขียนโครงการ พร้อมตัวอย่าง

- มาตรฐานงานกายภาพบำบัด

- ระบบการจัดทำฐานข้อมูลผู้ป่วย

ปนดา

สวัสดีคะ ขอแชร์ข้อมูลรถเข็น หากผู้ป่วยเป็นผู้ประกันตนทุพพลภาพจะต้องใช้สิทธิ์ขอรถเข็นของประกันสังคมก่อนค่ะ ทางศูนย์สิรินธรจะไม่ให้สิทธิแก่ผู้ป่วยเหล่านี้คะ ส่วนผุ้ป่วยที่ไม่ใช่ผู้ประกันตนทุพพลภาพสามารถใช้บัตรคนพิการขอจากโรงพยาบาลของรัฐและศูนย์สิรินธรได้ (ระดับความพิการ 4-5 )นอกจากนี้แล้วน้องยังสามารถประสานไปยังสำนักงานพัฒนาความมั่นคงของมนุษย์ประจำจังหวัดได้คะ(สังคมสงเคราะห์จังหวัด)และชมรมคนพิการประจำจังหวัดหรือ อบต ได้ค่ะ

แวะมาทักทายหลังจากที่ขาดการติดต่อมานานพอสมควร

ขอเสนอเนื้อหาที่ควรมีในคู่มือกายภาพบำบัดชุมชน

1. โครงสร้างองค์กรกายภาพบำบัดในชุมชน

2. หลักการกำหนดนโยบาย พันธกิจ วิสัยทัศ และเป้าหมายขององค์กร

3. การจัดการเครื่องมือและอุปกรณ์

4. การเขียนคู่มือการปฏิบัติงาน

5. แผนผังแผนกกายภาพบำบัดชุมชน

6. การเขียน service profile ของหน่วยงาน

7. การจัดการความเสี่ยงในหน่วยงาน

8. กฎหมายเกี่ยวกับการเบิกค่าตอบแทน สิทธิผู้พิการ ฯลฯ

9. HA

10. หลักการนำเสนอผลงาน

คิดได้เท่านี้ละครับ เพิ่งเปิดแผนกใหม่เหมือนกานครับ แต่เครื่องมือก้อพอมีแล้วครับ กะจะซื้อ SWD กะ paraffin อิจฉาไหมครับเพื่อนๆ

เรียน PT.นาจะหลวยและเพื่อนๆPT. ทุกท่าน

ทำงานอยู่ รพช.ค่ะ ในเขตภาคกลาง ทางหน่วยงานได้ทราบเรื่องโครงการในปี 2553 ของสปสช.แล้ว

กำลังดำเนินการเรื่องโครงการอยู่แต่เรื่องอยู่ในระหว่างการพิจารณา จึงรบกวนขอตัวอย่างโครงการ

เพื่อเป็นตัวอย่างในการเขียนโครงการในครั้งต่อๆไป เพราะแผนยุทธศาสตร์ของรพ.กำลังเน้นงานเชิงรุก

ด้านชุมชน ส่งข้อมูลที่ mail นี้นะค่ะ [email protected]

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ช่วงนี้รณรงค์จดทะเบียนคนพิการ กำลังยุ่งเลยค่ะ พอดีเห็นข้อความคุณ PT .tana ก็เลยฝากโครงการไว้ให้ดู เผื่อจะช่วยเป็นแนวทางการเขียนโครงการอื่นๆ ต่อไปค่ะ สู้ๆนะคะ..............สวัสดีปีใหม่ล่วงหน้าทุกๆคนค่ะ

สวัสดีค่ะ

เพิ่งย้ายมาทำงานในโรงพยาบาลชุมชนค่ะ ตอนนี้กำลังเขียนโครงการจัดตั้งงานกายภาพบำบัด เพื่อขออนุมัติซื้อเครื่องมือทางกายภาพบำบัด รบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

น้องทองดีช่วยให้เบอร์ e-mail address ด้วยนะคะ

จะได้ส่งตัวอย่างไปให้

ปนดา

สวัสดีค่าพี่ๆๆและเพื่อนๆๆ ชาวptทุกคนคือว่า อาจารย์ปนดาค่า คือว่าน้องเพิ่งเคยมาทำงานโรงพยาบาลชุมชนครั้งแรก

เลยยังไม่ค่อยรู้กับระบบต่างๆๆอยากรบกวนเรื่องตัวอย่างการเขียนโครงการต่างๆเช่นการฟื้นฟูผู้พิการหรือการเยี่ยมบ้านชุมชน

ของผู้สูงอายุค่า รบกวนช่วยส่งข้อมุลโครงการต่างๆ หลายๆตัวอย่างมาให้ด้วยนะคร้า [email protected]

ขอบคุณล่วงหน้านะค่า

สวัสดีคะ

ตอนนี้กำลังทำวิจัยเรื่องการควบคุมการใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด อยากจะขอคำชี้แนะเกี่ยวกับประเด็นปัญหากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ในมุมมองของนักกายภาพบำบัด

ไอด้าคะ

อาจารย์ส่งตัวอย่างโครวการของคุณกิตติ ไปให้ศึกษาตามที่ขอแล้วนะคะ

ปนดา

เรียนกายภาพบ้านหมี่

ไม่ทราบว่า อยากได้คำชี้แนะประเด็นปัญหากฏหมายเกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางกายภาพบำบัดในด้านใดคะ ถ้ามีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน อาจทำให้มีคนช่วยให้ข้อเสนอแนะได้มากกว่านี้ค่ะ

ปนดา

ต้องขออภัยทุกท่านด้วยนะคะที่เข้ามาดูช้า เพิ่งว่างจริงๆค่ะยุ่งกับงานขึ้นทะเบียนผู้พิการรายใหม่ ห้องที่กำลังสร้างแต่ไม่ได้ตามที่อยากได้เลยยุ่งกับการปรับเปลี่ยนนิดหน่อยและก็ทำ KPI ตอนนี้เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะแต่เป็นรายบุคคล จะจัดส่งให้ทุกคนที่ฝากเมลล์ไว้นะคะทั้งตัวโครงการซึ่งของอุบลสปสช.ให้งบมารพช.ละ200,000 เดี๋ยวดูเองละกันนะคะว่าเป็นแบบใหนมีการปรับเปลี่ยนกันเล็กน้อย อ้อส่วน KPI หน่วยงานก็จะส่งให้เหมือนกันค่ะเพราะเพิ่งได้มาจากการเข้าประชุมเครือข่ายอาทิตย์ที่แล้วของโรงพยาบาลเดชอุดม ขอยืมพี่โอ๋ซึ่งพี่โอ๋ไม่หวงไปปรับแต่งตามแต่ละโรงพยาบาลแล้วกันนะคะ หรือใครมีปัญหาหรือยังไม่เข้าใจการทำงานที่ต้องเริ่มต้นใหม่ก็โทรมาปรึกษาได้ค่ะ 0806121368 ยินดีแลกเปลี่ยนค่ะเพราะเราจะเริ่มต้นไปด้วยกัน

กภญ.อรวรรณ ค่ะ เปิดแผนกที่โรงพยาบาลสามเงาได้ 2 ปี แล้วค่ะ ตอนนี้มี PT 2 คน

เคยเขียนโครงการผู้พิการ สปสช. ปี 52 และ 53

- ปี 52 โครงการอบรม อสม. และเจ้าหน้าที่อนามัย

- ปี 53 โครงการกายภาพบำบัดสัญจร นำผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกและญาติมาให้ความรู้

อยากทราบว่า PT หลายๆโรงพยาบาลเขียนโครงการอะไรกันบ้าง อยากแชร์ประสบการณ์กับทุกท่าน

ขอติดต่อที่ email : [email protected] นะค่ะ

ประเด็นแรก คนที่ซื้อเครื่องมือทางกายภาพบำบัดไปใช้เองจากโฆษณาทางทีวี หรือขายตรง ควรต้องมีการรับรองจากนักกายภาพบำบัดหรือไม่ โดยเปรียบเทียบกับของต่างประเทศ (เช่น ต่างประเทศต้องมีใบสั่งจากแพทย์จึงจะซื้อยาจากร้านขายยาได้)

ประเด็นที่สอง การสาธิตแนะนำสินค้าโดยกระทำกับผู้ป่วยโดยผู้ที่ไม่มีใบประกอบวิชาชีพจะมีวิธีควบคุมอย่างไร

ประเด็นที่สาม องค์กรที่เข้ามาดูแลตรวจสอบในเรื่องนี้มีความเหมาะสมหรือไม่

หมายเหตุ ในมุมมองของนักกายภาพบำบัด

เรียน PT นาจะหลวย

เป็น PT บ้านหมี่นะคะ อยากได้ KPI รายบุคคลของตำแหน่งนักกายภาพบำบัดมาเป็นแนวทางในการจัดทำที่หน่วยงาน

รบกวนส่งมาที่ [email protected]

ขอบคุณคะ

เรียนทุกท่าน

ทราบว่าน้องๆมีปัญหาเกี่ยวกับการเขียนโครงการ และพัฒนาโครงการ จึงอยากประชาสัมพันธ์ให้นักกายภาพบำบัดชุมชน เข้าร่วมอบรมเกี่ยวกับกายภาพบำบัดชุมชนที่จะจัดขึ้นในงานการประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ประมาณปลายเดือนเมษายน นี้ จะมีการนำเสนอโครงการกายภาพบำบัดชุมชนหลายโครงการและมีผู้เชี่ยวชาญมากให้ข้อเสนอแนะ และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมยังมีส่วนช่วยพัฒนาคู่มือกายภาพบำบัดชุมชนด้วย ค่าลงทะเบียนถูกมากเพียงแค่ 1,000 บาทเท่านั้น 3 วัน ถูกมาก ครั้งนี้สมาคมฯยอมขาดทุน ดูรายละเอียดที่ www.thaipt.org ค่ะ

ปนดา

งานนี้ตั้งใจไปมากๆค่ะ ^ ^ คิดว่าจะได้เจอพีทีหัวอกเดียวกันเยอะๆนะคะ

เรียน อ.ปนดา

ถ้าเป็นไปได้อยากให้แยกหมวดเล็กลง เพราะขณะนี้ 319 post แล้ว เวลานานๆเข้ามาอ่านครั้ง ต้องไล่เปิดทุกหน้า เวลาหาข้อความเก่าก็หาค่อนข้างยาก ขอเสนอตั้งสารบัญใหม่ให้พิจารณาดังนี้ค่ะ

1. เครือข่ายนักกายภาพบำบัด มีรายละเอียด ชื่อ โรงพยาบาล และe-mail address เผื่อใครสนใจที่จะขอข้อมูลกันโดยตรง ไม่ต้องมาผ่านกระดานให้เสียเวลา และเป็นการสร้างเครือข่ายที่เร็ว

2. การรักษาและฟื้นฟูทางกายภาพบำบัด งานวิจัย R2R นวัตกรรม KM SHA

3. การบริหารงานในแผนก งานเอกสาร แบบฟอร์มเก็บข้อมูล การเขียนโครงการ การของบประมาณ

4. การประเมินผลงาน ทั้งในส่วน competency และ performance

เท่าที่นึกได้มีเท่านี้ค่ะ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำนะคะ แล้วจะลองคุยกับผู้จัดการ Web Master ดูค่ะว่าจะช่วยกันได้อย่างไร ตอนนี้อาศัย gotoknow ก็มีขีดจำกัดอยู่ค่ะ แต่ขอบคุณที่ให้ข้อเสนอแนะดีๆนะคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ปนดา หนูเป็นอีกคนหนึ่งที่มาทำงานโรงพยาบาลชุมชนเป็นเดือนแรก ยังไม่มีแม้แต่โต๊ะทำงานเลย อยากรบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะแนวทางเกี่ยวกับการเขียนโครงการต่าง ๆ อ่ะค่ะ เพราะหนูยังไม่เคยมีประสบการณ์ด้าน โรงพยาบาลมาก่อนเลย เคยทำแต่คลินิก มาอ่ะค่ะ ร้อนใจมากเลยค่ะ ไม่รู้จะปรึกษาใครดีอ่ะค่ะ ขอบคุณอาจารย์ ล่วงหน้านะคะ เมล์หนูค่ะ [email protected]

เพิ่งมาทำงานในโรงพยาบาลชุมชนเหมือนกันค่ะ ตอนนี้กำลังเขียนโครงการจัดตั้งงานกายภาพบำบัด เพื่อขออนุมัติซื้อเครื่องมือทางกายภาพบำบัด รบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการด้วยนะคะ [email protected]

รพช.เขื่องใน อุบล รับสมัครพีที 1 อัตรา

ประกาศรับสมัครตั้งแต่ 1-26กพ.53 เงินเดือน 11530 พตส 1000 เหมาจ่าย 1200 ยังไม่ร่วมโอที เน้นงานเชิงรุก มีบ้านพักให้ ต้องทำสัญญาทำงาน 1 ปี รายละเอียดเพิ่มเติมที่เวปไซด์ของ รพ. หรือ 045-203-004 ต่อ 191 งานกายภาพบำบัด กภ.กิตติ สมบบรรดา (ไม่มีใบประกอบก้อสมัครได้แต่ไม่ได้รับ พตส.)

Post by กิตติ สมบรรดา 6 กุมภาพันธ์ 2553 00:10:44

ยินดีกับคุณกิตติกชด้วยนะคะ ที่จะจ้าง PT เพิ่มขึ้น จะช่วยปชส.ให้ค่ะ

ปนดา

รบกวนขอตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการด้วยคนนะคะ พึ่งเข้ามาทำงาน รพช. ได้ไม่นานนี้เอง ทั้งแผนกก็มีคนเดียว ยังไม่มีประสบการณ์เรื่องการเขียนโครงการฯเลย ค่ะ

e-mail: [email protected] ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ทำเป็นเชิงปริมาณ ผสมคุณภาพครับ

อยากทราบชื่อและ e-mail address ของ PT รพ.แวงน้อย จ.ขอนแก่น มีใครพอจะช่วยให้ข้อมูลได้ไหมคะ ขอบคุณค่ะ

เรียน พี่ เพื่อน ๆ กายภาพบำบัดชุมชนทุกท่าน

ดิฉันเพิ่งจะเข้ามาทำงานในโรงพยาบาลชุมชนเดือนแรก และยังไม่เคยมีประสบการณ์การเขียนโครงการค่ะ

เลยอยากรบกวนใครที่เคยเขียนโครงการเปิดแผนกกายภาพบำบัด ช่วยส่งตัวอย่างโครงการให้ดิฉันได้มั้ยค่ะ

จะเป็นพระคุณอย่างสูง เลยค่ะ เป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลแก่งหางแมว จ.จันทบุรี ค่ะ e-mail นะคะ

[email protected]

เวลานำเสนองานกายภาพบำบัดแก่รพช.ต้องทำไงบ้างค่ะ

อยากจะขอข้อมูลเอกสารที่ว่าเรามีศักยภาพทำประโยชน์แก่ผู้ป่วยและโรงพยาบาลได้อย่างไร(หมายถึงงานที่เกี่ยวข้องกับนักกายภาพและรพช.น่ะค่ะ)

น้องลินดาคะ อยู่เมืองจันท์ ขอแนะนำให้ contact กับพี่เผด็จชัย เนียมอ่ำ PT รพ.ปกเกล้าฯ ไว้นะคะ น่าจะช่วยอะไรน้องได้เยอะเลยค่ะ

เรียน อ.ปนดา

ตามความเห็นที่ #320 ผมสามารถ จัดทำ แบบที่ท่านกล่าวได้ ยินดีเขียน โคดให้ พร้อมดูแลระบบให้

หาก อ. สนใจ กรุณาติดต่อเว็บมาสเตอของสภา ขอ พื้นที่ ผมจะจัดการเขียน โค็ดต่างๆ ให้ พร้อมยินดีให้คำปรึกษา

หรือจะให้ดูแลระบบให้ ก็ได้ครับ

สอบถามได้ทางอีเมลนะครับ [email protected]

ด้วยความปราถนาดี

กภ.นันทพล ทวิชสังข์

สวัสดีค่ะดิฉันเป็นกายภาพบำบัดจบใหม่ตอนนี้ทำงานรพ.ปาดังเบซาร์ จ.สงขลาพอดีมีปัญหาค่ะเลยจะถามอาจารย์หน่อยค่ะว่าสาขากายภาพบำบัดเรามี KPIมัยค่ะ ถ้ามีอาจารย์ช่วยกรุณาส่งให้ดิฉันหน่อยได้มัยค่ะ พอดีจะนำเข้าที่ประชุมวันที่ 28/2/53 ดิฉันว่าไม่เจอเลยค่ะ ส่งให้ที่เมล์นี้ได้มัยค่ะ [email protected]

ขอรบกวนหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เรียนกภจิราวรรณ

การประเมินผลงาน ทั้งในส่วน competency และ performance, KPI ทั้งรายบุคคลและหน่วยงาน (นักกายภาพบำบัดรพ.นาจะหลวย เขาบอกว่าเขาทำแล้ว ยินดีแชร์ค่ะ โทร 0806121368)

ลองโทรติดต่อดูนะคะ

ปนดา

ขอบคุณ อ.น้อมจิตต์ มากนะคะ หนูจะทำตามค่ะ

สวัสดีนักกายภาพบำบัดชุมชนทุกท่าน

อยากประชาสัมพันธ์และเชิญชวนนักกายภาพบำบัดชุมชน เข้าร่วมประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ครั้งที่ 2 "การเข้าถึงการบริการกายภาพบำบัดที่มีคุณภาพ" มีห้องกายภาพบำบัดชุมชนด้วย ใครที่มีปัญหาเรื่องการเขียนโครงการ ขอแนะนำให้เข้าประชุมมากๆ จะได้ประโยชน์มาก ตอนนี้ยังไม่เต็ม ค่าลงทะเบียนเพียง 1,000 บาทเท่านั้น ถูกมากๆ

สนใจเข้าไปดูรายละเอียดได้ที่ http://www.thaipt.org/th/index.php/component/content/article/3-newsflash/176-the-2nd-national-physical-therapy-conference.html

ถ้าคุณได้เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ คุณจะมีสวนร่วมพัฒนางานกายภาพบำบัดชุมชนอย่างมากค่ะ ช่วยปชส.กันให้มากๆ ตามเครือข่ายต่างๆนะคะ

ปนดา

ขอกลับมาทักทายอีกครั้งนะคะ หายจากการพูดคุยกันนาน ขอชื่นชมกลุ่ม PT ชุมชน ที่มีความความเคลื่อนไหวเร็วมาก ขอให้เข้มแข็งต่อไปนะคะ วันนี้มาแจ้งข่าวฝากประชาสัมพันธ์ค่ะ รพ.สมเด็จพระยุพราชสว่างแดนดิน จะรับนักกายภาพบำบัด 1 ตำแหน่ง (เป็นคนที่ 4 ของแผนก) เงินเดือน 12400 บาท (ไม่รวม พตส. เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย) ฝากประชาสัมพันธ์ต่อๆ กันด้วยนะคะ เบอร์โทร 042 721111 ต่อ 1304 ขอบคุณทุกท่านมาก

วี วราห์

อาจารย์ค่ะคือว่าที่ไปเชียงใหม่มาได้รับขอมูลจาก สปสช ว่าเขตพิษณุโลกมีรับนักกายภาพบำบัดเพิ่ม หนูโทรไปติดต่อทุกที่แล้วเขาบอกว่ายังไม่มีโครงการที่รับเพิ่ม หนูเลยอยากให้อาจารย์แนะนำว่าเราควรจะติดต่อหรือเข้าไปในส่วนไหนเราถึงจะได้รับข้อมูลที่ตรงค่ะว่าเขามีการเปิดรับเพิ่มจริงหรือป่าวค่ะ

น้อง นสก.วิลาวรรณ

น้องลองโทรถามคุณรุ่งโรจน์ เจศรีชัย พี่ผู้ชายที่มาคู่กับพี่ขัวญเขาเป็นตัวแทนสปสชเขตพิษณุโลก เขาน่าจะตอบคำถามนี้ได้ หรือช่วยหาข้อมูลให้น้องได้นะคะ เบอร์โทรเขา คือ (055) 245-111 หรือ มือถือ 089-856-8334

ปนดา

สวัสดีครับ อาจาร์ยปนดา

เมื่อวันอังคารที่ 2 มีนาคม ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างสูงเลยครับ ที่ชี้ทางสว่างให้กับผม และงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลดอยเต่า

ตอนนี้กระผมก็กำลังเขียนโครงการส่งนะครับ

^ ^

แต่ปัญหาช่วงนี้ที่เป็นงานเข้าคือ HA กำลังจะมาตรวจ รพ. เดือนหน้า ต้องทำข้อมูลให้สมบูรณ์ที่สุดนะครับ

ใครที่มีข้อมูลเกี่ยวกับ HA ช่วยแชร์หน่อยนะครับ

ใครต้องการ service profile คือเราจุะส่งให้อาจารย์ พรพ.ที่เข้ามาตรวจ HA จากประสบการณ์ตอนนั้นเพิ่งทำงานได้ 4เดือนก็ได้เข้าร่วมงาน HA ทำให้ดิฉันได้โอกาสมากมายได้ห้องได้อุปกรณ์เพราะโรงพยาบาลต้องผ่านคุณภาพ ถ้าลองดูservice profile แล้วจะเข้าใจขึ้นค่ะ แต่ที่ส่งให้อาจจะยังไม่สมบูรณ์มากนัก ตอนแรกเตรียมเอกสารให้เค้าดูเยอะแยะแต่พอเค้ามาจริงเค้าสนใจเรื่องความเสี่ยงและแนวทางป้องกันความเสี่ยงว่าเราทำอะไรบ้างซึ่งมันอยุ่ในสายเลือด PT อยู่แล้วการทำอย่างไรให้ผู้มารับบริการประทับใจที่สุด และเราเชื่อมโยงงานกับสหวิชาชีพอย่างไรบ้างเค้าเน้นมาก มีงานส่งเสริมสุขภาพอะไรบ้าง รอบแรกดิฉันได้รับคำชมแต่ต้องพัฒนางานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อประเมินรอบต่อไปค่ะก็น่าจะประมาณเดือนหน้าเหมือนกัน เอกสารเค้าไม่ค่อยดูเค้าสนใจคนไข้ค่ะยังไงก็ขอให้ผ่านนะคะ

สวัสดีค่ะ

หนูเพิ่งเรียนจบและจะทำงานในโรงพยาบาลชุมชนค่ะ ตอนนี้กำลังเขียนโครงการจัดตั้งงานกายภาพบำบัด เพื่อขออนุมัติซื้อเครื่องมือทางกายภาพบำบัด รบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการด้วยนะคะ e-mail : [email protected] ขอบคุณมากๆค่ะ

ขอบคุณมากๆเลยค่ะ

แล้วจะเข้ามาคุยใหม่นะค่ะ

อาจารย์ครับ ผมไตรทศนะครับ ตอนนี้ผมได้งานที่ รพ เสริมงาม ลำปางแล้วครับ

เขาให้ลองเขียนแผนจัดตั้งแผนกและขอซื้อเครื่องมือครับ

ผมรบกวนอาจารย์ส่งให้หน่อยได้ไหมครับ

[email protected]

ปล. วันนั้นที่ตลาดนัดแรงงานกายภาพ ที่ มช ผมเจออาจารย์ด้วย ในลิฟท์อะครับ แต่เหมือนอาจารย์จำผมไม่ได้^_^

หวัดดีค่ะไตรทศ

ยินดีด้วยนะที่ได้งานที่เสริมงาม ไม่ทราบเวลาเรียน PT in community เขาสอนให้เขียนแผนงานไหม พอดีอาจารย์ไม่มีตัวอย่างการเขียนแผนตั้งแผนก แต่พอแนะนำได้ว่า การเขียนแผนงาน เราควรต้องทราบว่างบประมาณที่เราจะได้รับมีประมาณเท่าไร เพื่อที่เราจะได้วางแผนให้เหมาะกับงบประมาณที่ได้ ในแผนก็ควรจะบอกได้ว่า เราจะทำอะไรหรือกิจกรรมอะไรหรือโครงการอะไร มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอะไร ทำที่ไหน เมื่อไร ใช้งบประมาณเท่าไรในแต่ละกิจกรรมหรือโครงการ ดังนั้นคุณอาจต้องประมาณการค่าใช้จ่ายให้เหมาะสมกับกิจกรรม โดยคุณควรไปหาข้อมูลว่าต้องใช้อะไร ราคาเท่าไรบ้าง เพื่อจะได้ประมาณการได้อย่างเหมาะสม คุณอาจจะต้องเข้าไปคุยกับฝ่ายแผนงานของรพ.เสริมงาม ขอตัวอย่างการเขียนแผนของเขามาพิจารณารูปแบบการเขียนประกอบ จะได้ทราบว่าเขาต้องการข้อมูลจากเราประมาณไหน

ส่วนเรื่องครุภัณฑ์นั้นก็คงต้องพิจารณาตามความจำเป็นจริง ต้องดูงบด้วย แล้วเลือกบริษัทที่เขามีฝ่ายช่างมาช่วยดูแลเราประจำ สม่ำเสมอหน่อย ถ้าการ maintainence ไม่ดีก็อย่างไปซื้อ บางทีราคาถูกกว่าแต่ใช้ไม่นานก็เสีย และไม่มีใครมาดูแล ส่งซ่อมก็ช้า ข้อมูลพวกนี้ต้องลองคุยกับนักกายภาพในเขตเดียวกันเขาจะรู้

อาจารย์มีตัวอย่างการเขียนโครงการ กับการคิดค่าบริการ แล้วจะส่งไปให้ทาง e-mail นะคะ

อยากแนะนำให้คุณอ่าน(ร่าง)มาตรฐานงานกายภาพบำบัดด้วย จะได้ใช้เป็นแนวทางในการทำงานด้วย แล้วจะส่งไปให้ทาง mail

ขอบคุณที่เข้ามาส่งข่าว แล้วเข้ามคุยกันอีกนะจ๊ะ

ปนดา

สวัสดีครับอาจารย์ปนดา ผมได้รับe mailแล้วนะครับ ขอบพระคุณมากๆครับ

ตอนเรียนไม่เคยได้เขียนเลยครับ

ได้เรียนนิดหน่อยตอนเรียนadminครับ

ตอนนี้ผมก็ลองปรึกษารุ่นพี่ที่เปิดแผนกเมื่อปีที่แล้วอะครับ เขาก็ให้ตัวอย่างมาแต่ไม่เยอะ ต้องปรับอีกเยอะเลยครับ

แล้วพี่เขาก็บอกผมว่าอย่าพึ่งรีบเรื่องแผนกหรือเครื่องมือเลย เขาบอกว่าให้เรียนรู้งานไปก่อน ทำงานอื่นๆที่ไม่ต้องใช้ห้องพอลงตัวแล้วค่อยว่ากันเรื่องแผนก อาจารย์เห็นด้วยไหมครับ

เห็นด้วยค่ะ

เราควรทำงานเชิงรุกมากกว่าค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.ปนดา

รบกวนขอ KPI แผนยุทธศาสตร์ของการบริหารแบบบูรณาการเพื่อรองรับการประเมินรายบุคคลปี 53

พอดีตอนนี้หนูมาทำงาน รพ.ชุมชน ได้ไม่นานก้อเลยไม่ค่อยมีความรู้เท่าไหร่ค่ะ

ตอนนี้เปิดแผนกใหม่ค่ะ กำลังต้องการค่ารักษาทางกายภาพบำบัด รหัสหัตถการและก็อยากทราบว่าเราสามารถเบิกค่าเบี้ยเลี้ยงในการออกชุมชนในเวลาราชการได้ไหมค่ะ ถ้าได้เบิกยังงัย อัตราเท่าไหร่ค่ะ ถ้ามีหลักฐานหรือระเบียบอ้างอิงก็จะดีค่ะ รบกวนพี่ๆทุกท่านให้คำแนะนำด้วยค่ะ ถ้ามี่ File ก็จะดีมากค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูเพิ่งจบมาทำงานได้ 1 ปี

ก่อนหน้านี้เคยเข้ามาในเว็บนี้และได้รับความช่วยเหลือจากอาจารย์และพี่ๆมาตลอด

แต่ห่างหายไปนาน ยุ่งๆน่ะค่ะ

ตอนนี้หนูกำลังเขียนโครงการเยี่ยมบ้านครั้งแรกค่ะ

ไปหาดูตัวอย่างการเขียนมาจากพี่ๆและเพื่อนๆแต่ก็

ไม่ทราบว่าแบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน

หรือแบบประเมินอื่นๆที่ใช้ชี้วัดผลสำเร็จของโครงการมีอะไรบ้าง

หนูรบกวนขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์และพี่ๆนักกายภาพบำบัดทุกท่านเรื่องตัวอย่างโครงการและแบบประเมินด้วยนะคะ

e-mail:[email protected]

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

หนูเป็นนักศึกษาจบใหม่..ตอนนี้ไปสมัครงานที่ รพ.ชุมชน จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่มีปัญหาตรงที่ว่าไม่รู้จะเริ่มต้นยังไง หนูไม่เคยฝึกงาน รพ.ชุมชนเลย

ทางโรงพยาบาลใหเหนูหาข้อมูฃเกี่ยวกับขอบเขตงานกายภาพบำบัดชุมชน หาอุปกรณ์ที่ต้องใช้+แหล่งจัดซื้ออุปกรณ์ หนูเลยไม่รู้จะเริ่มยังไง ตอนนี้พยายามหาข้อมูลของกายภาพบำบัดชุมชน แต่ยังไม่คืบหน้า หนูจึงรบกวนปรึกษา อ.ปนดา หน่อยค่ะ ว่าหนูควรจะเริ่มต้นยังไงและจะหาข้อมูลจากที่ไหนได้บ้าง ขอบคุณมากค่ะ

น่าจะมี ดาวน์โหลด ตัวอย่างการเขียนโครงการต่างๆนะค่ะ

จะดีมากเลย

ขอบคุณค่ะ

หนูไหม อาจารย์ของ e-mail adress ด้วยค่ะ จะได้ส่งเอกสารให้ค่ะ

คุณปลาคะกำลังให้สภาจัดการให้อยู่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

ตอนนี้กำลังต้องทำ

service profile ,

KPI

ผังกำกับงาน

การจัดการความเสี่ยงในหน่วยงาน

เพราะก่อนจะมาทำง่ร ที่นี่ เป็นพี่ พยาบาลห้องผ่าตัด พี่เขา เป็นคน กำหนดขึ้น มา ค่ะ ทีนี้ในบางครั้งรูปแบบ จะเป็น พยาบาล

เลยอยากได้แนวทาง ที่เป็นกายภาพค่ะ ที่ไหน ทำแล้วบ้าง รบกวน ขอเป็นแนวทางบ้างนะคะ

ถึง PT ฃุมฃนที่ต้องการแบบบันทึกการเยี่ยมบ้านและแบบประเมินความพิการนะคะ พอดีว่าที่จังหวัดอุบลเราจะใช้แบบประเมินเดียวกันและเราก็ลงโปรแกรม PT soft. ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ทางโรงพยาบาลสรรพสิทธิ์ประสงค์คิดค้นขึ้นเพื่อประมวลผลการดำเนงานออกมาได้ง่ายมาก ส่วนแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านและก็ไฟล์แบบบประเมินความพิการมีตัวอย่างให้ดูนะคะถ้าต้องการก็โทรมาขอได้นะคะเดี๋ยวส่งเข้าเมลล์ให้ ของโรงพยาบาลนาจะหลวยดิฉันจะมีแบบบันทึกให้ทั้งของกายภาพและอสมช.ผู้พิการในการส่งรายงานประจำเดือนในการออกเยี่ยมผู้พิการ ไม่ค่อยได้เปิดเข้าเวบเพราะช่วงนี้ยุ่งมากจริงๆๆค่ะเดินสายไปเป็นวิทยากร เป็นประสบการณ์และก็เป็นรายได้อีกทางด้วยอ้อและสำหรับPT ที่ต้องการเรื่องการเบิกจ่ายเงินโทรมาปรึกษาได้ค่ะเรื่องนี้ให้คำปรึกษาได้มีแหล่ะอ้างอิงต้องการเบิกแบบใหนทำอย่างไรก็โทรมาได้หรือไม่ก็ทิ้งเมลล์ไว้ถ้ามีเวลาจะส่งเมลล์ไปให้ค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วงส่งเอกสารมาที่ e-mail ของไหมน่ะค่ะ

[email protected]

ขอบคุณมากน่ะค่ะอาจารย์

อาจารย์ คะ ปกติถ้าทำนอกเวลา เราจะได้ ชม. ละ 80 ใช่ไหมคะ แปด ชม. ได้ 640 บาท

แต่ตอนนี้ ทำนอกเวลา 8 ชม. ได้ 600 ซึ่งเขา คิดเท่ากับ พยาบาล

เลยรบกวน ถ้าใคร มีเอกสาร ชี้แจ้ง เรื่อง ค่าล่วงเวลา รบกวนช่วยส่ง เมล์ ให้ด้วยนะคะ ขอบคุณ มากๆค่ะ

[email protected]

ได้เท่ากันค่ะถ้าเป็นวิชาชีพที่จบพยาบาล เค้าให้เท่านี้ค่ะ 600 บาทถูกต้องแล้ว ถ้าเป็นจพ.ก้จะ 480 บาท ลงมากว่านั้นก็จะเป้น 300 มีหนังสือยืนยันค่ะ ถ้าต้องการหนังสือก้หาในเวบก็มีค่ะพิมพ์ว่าค่าตอบแทนนอกเวลาค่ะ PT บางแพรอแป๊ปนะคะกำลังพยายาม zip file แล้วส่งให้เพราะที่จะส่งให้มันเยอะ

เรียน PT นาจะหลวย

รบกวนขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้าน ไฟล์แบบประเมินความพิการ

และรบกวนปรึกษาเรื่องการเบิกจ่ายเงิน

..ทั้งหมดเลยน่ะค่ะ

^^

หากพี่พอจะมีเวลา

รบกวนกรุณาติดต่อน้องทางเมลด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

e-mail: [email protected]

สวัสดีค่ะ อ.ปนัดดา

หนูเพิ่งเรียนจบปีนี้และมีโอกาสได้ฟังเรื่องกายบำบัดในชุมชนในงานตลาดนัดแรงงานที่ มวล.

จึงสนใจที่จะเขียนโครงการเปิดแผนกกายภาพบำบัด

ขอรบกวนอาจารย์ช่วยส่ง แบบเขียนโครงการเปิดแผนก ให้หน่อยนะคะ

ถ้าท่านอื่น ๆ พอมี ก็ช่วยส่งให้หน่อยนะคะ

ถ้าได้หากเปิดจะได้มีเครือข่ายกายภาพบำบัดชุมชนน้องใหม่เพิ่มอีก 1 คนนะคะ

ขอบคุณมากค่ะ

[email protected]

สวัสดีค่าพี่ๆและเพื่อนๆ PT ทุกคน และ อาจารย์ปนดา คือหนูเพิ่งได้งานโรงพยาบาลชุมชนค่ะ

เลยยังไม่ค่อยรู้ กับระบบต่างๆ อยากรบกวนเรื่องตัวอย่างการเขียนโครงการต่างๆ เช่น การขอเครื่องมือทางกายภาพ การฟื้นฟูผู้พิการหรือการเยี่ยมบ้านชุมชนค่ะ รบกวนช่วยส่งข้อมูลโครงการต่างๆ หลายๆตัวอย่างอ่ะค่ะ Email : [email protected]

ขอบคุณล้วงหน้าเป็นอย่างมากเลยนะค้า

ขอบพระคุณ อาจารย์มากนะคะ

ได้รับแบบเขียนโครงการแล้วค่ะ

จะส่งต่อให้เพื่อน ๆ คนอื่น ๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไปนะคะ

สู้ๆนะคะ^ ^

เรียน PT นาจะหลวย

รบกวนขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้าน ไฟล์แบบประเมินความพิการ

และรบกวนปรึกษาเรื่องการเบิกจ่ายเงิน

ตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูทั้งผู้พิการและโครงการขอเปิดแผนกค่ะ

^^

หากพี่พอจะมีเวลา

รบกวนกรุณาติดต่อน้องทางเมลด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

[email protected]

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูมีเรื่องขอรบกวนอีกแล้วค่ะ ขอรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูผู้พิการ แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านค่ะ ถ้าอาจารย์หรือพี่ๆเพื่อนๆคนไหนพอจะมีช่วยรบกวนส่งให้หนูหน่อยนะค่ะ เมลล์หนูนะคะ [email protected]

ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

ตอนนี้หนูก็สนใจกายภาพบำบัดในชุมชนเหมือนกันค่ะ จึงอยากได้แบบเขียนโครงการเปิดแผนก การขอเครื่องมือทางกายภาพ การฟื้นฟูผู้พิการหรือการเยี่ยมบ้านชุมชนค่ะ เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดแผนก รบกวนอาจารย์หรือท่านอื่นๆที่พอจะมีข้อมูลหรือคำแนะนำช่วยส่งข้อมูลและคำแนะนำให้หน่อยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

[email protected]

ดีใจจังกับความก้าวหน้าของงานกายภาพบำบัดชุมชน

น้อง PT นาจะหลวยคะ

พี่รบกวนขอแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ทาง PT อุบลฯ ใช้ในการเยี่ยมบ้านและประเมินคนพิการได้ไหมคะ จะเอาไว้สอนนักศึกษาค่ะ ตอนนี้พี่กำลังรวบรวมของหลาย ๆ ที่เพื่อเอามาประยุกต์ใช้ร่วมกันค่ะ e-mail พี่คือ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

น้องPTนาจะหลวยครับ

พี่รบกวนขอแบบฟอร์มต่าง ๆ ที่ทาง PT อุบลฯ ใช้ในการเยี่ยมบ้านและประเมินคนพิการด้วยครับ ๆ e-mail พี่คือ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้าครับ

เรียนอาจารย์น้อมจิตและนักกายภาพบำบัดชุมชนทุกท่านค่ะ

ตอนนี้กำลังส่งเอกสารให้ทุกท่านค่ะ ส่งเป็นZip file ค่ะมีข้อมูลมากมายคัดเลือกกันดูนะคะอันใหนที่พอจะเป็นประโยชน์ได้บ้าง แต่เรื่องการเบิกจ่ายเงินเนี่ยระเบียบมีหนังสืออ้างอิงนะคะว่าเวลาที่จะออกชุมชนเวลาราชการแล้วจะเบิกเป็นคล้ายโอทีได้มั๊ย คือของอุบลเราเบิกได้ค่ะ เพราะเรากำหนดในKPIเลยว่านักกายภาพออกเยี่ยมชั่วโมงละ 80 บาท ตามหนังสือการปฏิบัตงานนอกเวลาราชการ ข้อที่ 8.4 อ่านดูนะคะแต่ในหนังสือจะบอกว่าต้องเป็นเรื่องที่เป็นประมาณว่าเรื่องที่ต้องทำเร่งด่วน เป็นนโยบายต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้อำนวยการ โครงการนี่แล้วแต่จะปรับปรุงนะคะแต่ละโรงบาลก็จะไม่เหมือนกัน

ในไฟล์ที่ส่งไปจะแบ่งแยกงานหลายงานมั้งงานเบาหวาน ผู้สูงอายุ งานคลินิค งานผู้พิการ งานคุณภาพ งานเอกสารการเขียนขออนุมัติต่างๆๆจะมีไว้หมด สำหรับนักกายภาพที่มาเปิดแผนกใหม่ เพราะดิฉันก็เป็นนักกายภาพเปิดแผนกใหม่จบใหม่แล้วมาทำงานที่นี่เลย 12 เมษาก็จะครบ 11 เดือนแล้ว ดิฉันเป็นบัญฑิตจากรั้วมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ การทำงานไม่ได้ขึ้นกับอะไรเลยนอกจากความมุ่งมั่นและตั้งใจ และมนุษยสัมพันธ์การทำงานเป็นสหวิชาชีพจะทำให้เราทำงานได้ดีที่สุดค่ะ ดิฉันมาทำงานที่นี่ได้รับอะไรมากมายทุกฝ่ายให้เกียรติให้ความเคารพ ให้ความช่วยเหลือเมื่อไปปรึกษา อย่ากลัวที่จะถามใครถ้าเราไม่รุ้ต้องถาม เกี่ยวกับเอกสารต้องถามบริหารอยากได้หนังสืออะไรเค้ามีให้เราหมดค่ะ แต่ถ้าขอแล้วไม่ได้ PT ชุมชนก็เป็นที่พึ่งที่ช่วยเราได้เสมอ และงานที่เป็นรายได้และประชาสัมพันธ์งานก็คือการไปเป็นวิทยากรค่ะสนุกมากกกได้เงินด้วย ลองดูนะคะสำหรับนักกายภาพใหม่ขอให้รักในงานและสุ้เพื่อชุมชนต่อไปนะคะ

อาจารย์ปนดาข๋าการส่งมีปัญหาค่ะ เดี๋ยวนู๋จะลงข้อมูลใส่ในแผ่นซีดีนะคะแล้วส่งให้อาจารย์ส่งทางเมลล์ไฟล์มันใหญ่อ่ะค่ะไม่สามารถส่งได้ ขอที่อยู่อาจารย์ด้วยนะคะ

อาจารย์ค่ะ หนูขอรบกวนอาจารย์ส่งแบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

และแบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้านด้วยนะค่ะ

[email protected] ขอบคุณค่ะ

เรียน PT นาจะหลวย

ตอนนี้กำลังต้องเปิดงานกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาลชุมชน 60 เตียง

ซึ่งยังไม่มีงานกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่ หรือเครื่องมือกายภาพบำบัดเลย

ขอคำแนะนำ รวมถึงแนวทางการเขียนโครงการเปิดแผนกกายภาพบำบัด และอื่นๆ

ที่มีความเกี่ยวข้อง ตามที่น้องPT นาจะหลวย จะให้คำแนะนำนะคะ

ขอบคุณมากมายจริงๆ

PT นครราชสีมา

[email protected]

เรียน PT นาจะหลวย

พี่เพิ่งลาออกจากคลินิกกายภาพบำบัดเอกชนมาเปิดแผนกใหม่ที่ รพ.ชุมชนที่บ้านเกิด พี่อยากได้ไฟล์โครงการเยี่ยมบ้าน ประเมินผู้พิการ และอื่นๆที่น้องทำ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางาน จริงๆที่ รพ.ก็มีการเยี่ยมบ้านและการสำรวจผู้ิพิการอยุ่บ้านแ้ล้ว แต่พี่เห็นว่าแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลยังไม่ครอบคลุม อยากได้เอกสารของน้องมาเป็นแนวทางค่ะ

รบกวนด้วยนะคะ

ขอบพระคุณมาค่ะ

[email protected]

เรียน กภ.นาจะหลวย

ที่อยู่ของอาจารย์ คือตามนี้นะคะ

รศ.ปนดา เตชทรัพย์อมร

100/7 หมู่ 7 มน.นิเวศ 5 ห้อง 509

ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง

จ.พิษณุโลก 65000

ขอบคุณมากค่ะ

ปนดา

เรียนทุกท่าน

ต้องขอชื่นชม นักกายภาพบำบัดรพ.นาจะหลวย มากนะคะ เพราะช่าง Active อะไรเช่นนี้ ไม่น่าเชื่อว่าทำงานได้แค่ 11 เดือน แล้วยังมีน้ำใจช่วยเหลือเผื่อแผ่ไปยังเพื่อนร่วมวิชาชีพอีกมากมาย ต้องขอขอบคุณมากๆ สำหรับน้ำใจที่มีให้กันและกัน

ข้อมูลที่คุณจะส่งมา ทางคณะทำงานกำลังคนกายภาพบำบัดจะนำไปรวบรวม เพื่อจัดทำเป็นคูมือนักกายภาพบำบัดชุมชน และจัดไว้ให้นักกายภาพได้สามารถ download บน web นะคะ เพื่อจะได้ไม่ต้องให้คุณส่งให้ทาง mail บ่อยๆ

ปนดา

ตอนนี้ทำงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนได้ 1 เดือนแล้วค่ะ ไม่มีแผนกกายภาพบำบัดนะค่ะ ก็ทำงานผู้พิการ งานเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีทำกายภาพบำบัดบนตึกผู้ป่วย เคาะปอด ออกกำลังกาย และฝึกหายใจ ภูมิใจในงานที่ทำ ตอนนี้ว่าจะเขียนโครงการขอเปิดแผนกกายภาพ ทำรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน และลงชุมชนฟื้นฟูผู้พิการ แต่ไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ต้องเขียนโครงการขออะไรบ้าง รบกวนขอข้อมูลเพื่อนๆ พี่ๆ นักกายภาพบำบัดที่ได้ดำเนินงานในลักษณะนี้ส่งข้อมูลให้ด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

[email protected]

อาจารย์ค่ะรบกวนอาจารย์เรื่องตัวชี้วัดทางกายภาพบำบัดค่ะ คือเพิ่งเปิดแผนกเลยอยากทราบตัวชี้วัดทั้งหมดค่ะ รบกวนอาจารย์ด้วยน่ะค่ะ

PT รพ.ชุมชนจากแดนใต้รบกวนขอรายละเอียดเกี่ยวกับแบบประเมินต่างๆที่นำมาใช้โดยเฉพาะในผู้พิการด้วยได้ไหมค่ะ รวมถึงตัวโครงการต่างๆ และการเยี่ยมบ้าน ขอบพระคุณค่ะ

ตอนนี้กำลังต้องเปิดงานกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาลชุมชน 60 เตียง

ซึ่งยังไม่มีงานกายภาพบำบัด เจ้าหน้าที่ หรือเครื่องมือกายภาพบำบัดเลย

ขอคำแนะนำ รวมถึงแนวทางการเขียนโครงการเปิดแผนกกายภาพบำบัด และอื่นๆ

ขอรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูผู้พิการ

แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านค่ะ

ถ้าอาจารย์หรือพี่ๆเพื่อนๆคนไหนพอจะมีช่วยรบกวนส่งให้

ขอบคุณนะค่ะ [email protected]

รบกวน ช่วยให้ e-mail address ด้วยค่ะสำหรับคนที่ยังไม่ได้ให้ เพราะจะได้ส่งข้อมูลให้ได้

ปนดา

เรียนอาจารย์ที่เคารพยิ่งครับ

ผมไม่ทราบมาก่อนเลยว่ามี blog ของงานกายภาพบำบัดชุมชน ขอชื่นชมและยินดีที่มีอาจารย์

ค่อยช่วยพวกผมอยู่ (ดีใจมากเลยครับ)

เห็นทางสมาคมจัดอบรมในหัวข้อที่เกี่ยวกับกายภาพบำบัดชุมชน ค่าลงทะเบียนถูกมากคับ เป็นโอกาสที่ดีของนักกายภาพบำบัด

อย่างพวกผมที่จะได้ไปอบรม ขอบคุณมาทางผู้จัดด้วยนะคับ

อาจารย์คับประเด็นที่ผมสนใจคือ การวัดผลของโครงการที่เราได้ลงมือจัดขึ้น บางครั้งผมเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันนะคับว่าจะสร้างตัวชี้วัดอะไร หรือสร้างยังไง หรือกำหนดตัวชี้วัดอะไร ที่จะแสดงให้เห็นว่าโครงการที่เราจัดขึ้นมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย และองค์กร เช่นที่ผมทำงานอยู่ผมจะออกเยี่ยม สำรวจ และฟื้นฟูผู้พิการทางการเคลื่อนไหวทั้งอำเภอ ซึ่งแต่ละที่อยู่ห่างไกลมากๆ และอยู่บนเขา เดินทางไปลำบากมากคับ โดยออกเยี่ยมทุกวันอังคารและพฤหัสบดี ของทุกสัปดาห์ ทำแบบนี้มาได้ประมาณ 3 เดือนกว่าคับ ก็มีคนถามขึ้นมาว่าสิ่งที่เราทำนั้นมันเป็นการเพิ่มภาระเรื่องค่าใช้จ่ายให้กับโรงพยาบาลไหม เพราะเราไม่สามารถคิดค่าบริการกับผู้ป่วยที่เราไปเยี่ยมได้ทุกราย เพราะเค้าไม่มีสมุดผู้พิการ บ้างครั้งผู้ป่วยไม่มีบัตรประชาชน และที่ผมออกไปแต่ละครั้งได้ยอดผู้ป่วย 2-6 รายต่อวัน ผมเองก็จนปัญญาที่จะตอบคำถามนี้ ในการออกเยี่ยมผู้ป่วยกลุ่มนี้ผมจะออกกับพี่ที่ทำงานในหน่วยงานแพทย์แผนไทย 2 คนคับ เราไปทั้งวัน บางวันกลับมาถึงรพ. บ่าย3 บ่าย 4 หรือบ้างที่ก็มาถึงเย็นเลย ที่โรงพยาบาลผมมีนักกายภาพบำบัด 1คน คือผมเอง ช่วงที่ออกไปเยี่ยมผู้ป่วย ก็ยังคงให้บริการที่หน่วยงานกายภาพบำบัดอยู่นะคับ(ขอเรียนปรึกษาด้วยครับ) โดยให้แพทย์ส่งผู้ป่วยมาทำกายภาพบำบัดได้โดยต้องมี order มาด้วยคับ แล้วผู้ช่วยนักกายภาพเค้าจะทำตามที่แพทย์สั่ง ครั้งต่อไปให้ผู้ป่วยพบนักกายภาพบำบัดเพื่อตรวจประเมินทางกายภาพบำบัด และเพิ่มการรักษา ช่วงแรกผมคิดที่จะปิดบริการเลยในวันอังคารและพฤสับดี แต่ก้ทำไม่ได้คับเพราะคนไข้เราจำเป็นต้องทำกายภาพบำบัดอย่างต่อเนื่อง เลยหาทางออกแบบนี้ ไม่ทราบอาจารย์มีความคิดเห็นยังไงคับ กับการบริหารจัดการงานในหน่วยงานกายภาพบำบัดแบบนี้เพราะที่โรงพยาบาลเค้าต้องการให้ผมทำงานทั้งเชิงรับ และเชิงรุก

ที่ผ่านมาการทำงานก็มีปัญหาเรื่องกำลังคนนะคับ อยากได้คนเพิ่มแต่ก็เห็นใจโรงพยาบาลที่ไม่มีเงินจะจ้างนักกายภาพบำบัดอีกคน เราเลยแก้ปัญหาโดยช่วยกันทำงานเท่าที่เรามีอยู่ แต่ยอมรับว่าเหนื่อยมากหน่อย แต่ตอนนี้ก้ไม่ใช่ปัญหาแล้วคับทุกอย่างทำจนเคยชินแล้ว ตอนนี้ก็อยู่ตัวแล้วคับ บ้างครั้งก็ขอความช่วยเหลือจากพี่นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลในจังหวัด และอำเภอข้างเคียง พี่เค้าจะคอยช่วยเหลือผมเสมอ เพราะเรามีกันไม่กี่คนทั้งจังหวัด ผมรบกวนขอให้อาจารย์ช่วยตอบผมด้วยนะคับ

ด้วยความเคารพอาจารย์ยิ่ง

นอท

น้องนอท ทำงานอยู่ที่ไหน น่าจะเปิดเผยกันหน่อย

น้องจะไปงานสมาคมฯ ไหมคะ ขอแนะนำให้หาโอกาสคุยกับพี่อัญชลี สาครขันธ์ วิทยากรคนหนึ่งของห้องชุมชน น่าจะได้ idea อะไรบ้าง

พี่เองก็จะอยู่ห้องนั้นค่ะ

อ.ปนดา ขา หนูเพิ่งทำงานชุมชน

ขอตัวอย่างการเขียนโครงการขอออกชุมชนไ

ด้ป่ะค่ะ [email protected]

ขอบคุณค่ะ

ขอบพระคุณมากนะค่ะสำหรับความช่วยเหลือที่มีให้กันตลอดมา

ขอรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูผู้พิการ

แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านค่ะ

ถ้าอาจารย์หรือพี่ๆเพื่อนๆคนไหนพอจะมีช่วยรบกวนส่งให้

ขอบคุณนะค่ะ [email protected]

แจ้งข่าวด่วนค่ะ การดำเนินงานขอให้ รพ.ชุมชน ในจังหวัดสกลนคร (ที่ยังไม่มี PT) เปิดรับPT ล่าสุด ณ วันนี้ มี รพ. อากาศฯ รพ.พระอาจารย์ฝั้นฯ รพ.บ้านม่วง รพ.ส่องดาว รพ.วาริช รพ.พระอาจารย์แบนฯ จะรับนักกายภาพบำบัดนะคะ พี่น้อง ถ้าใครสนใจติดต่อที่ พี่วี วราห์ภรณ์ PT รพร.สว่างแดนดินได้ค่ะ 042 -721111 ต่อ 1304 และ รพ.พี่วี(รพร.สว่างแดนดิน ) เปิดรับเหมือนกันค่ะ เพิ่มอีก 2 คน เป็น 5 คน เงินเดือน 12440 บาท ไม่รวม พตส เปิดรับสมัคร 7 -27 เมย. 53

เรียน อาจารย์ ปนดา ช่วยลง web สภา ให้วีด้วยนะคะ เนื่องจาก พยายามเข้าแล้วแต่ post ไม่ได้เลยค่ะ

ขอบคุณพี่น้องทุกๆท่านที่ช่วยเหลือ

เรียน อ.ปนดา

หนูพึ่งเปิดแผนกใหม่ ที่ ยโสธร ยังไม่รู้เกี่ยวกับการเขียนโครงการต่างๆ

ขอรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูผู้พิการ

-แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านค่ะ

-แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

-แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ

[email protected]

ขอบคุณค่ะ

เรียน อ.ปนดา หนูพึงเปิดแผนกใหม่ที่ ยโสธร

ไม่ค่อยรู้ กับระบบต่างๆ อยากรบกวนเรื่องตัวอย่างการเขียนโครงการต่างๆ เช่น การขอเครื่องมือทางกายภาพ การฟื้นฟูผู้พิการ

เรียนน้อง ๆ ทุกคน

อาจารย์กำลังรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำคู่มือกายภาพบำบัดชุมชน และแบบฟอร์มต่างๆ เพื่อนำไปใส่ไว้ใน wedsite ของสภากายภาพฯ แต่ยังไม่เสร็จ ณ ขณะนี้เรื่องแบบฟอร์มการจดทะเบียนผู้พิการและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ของผู้พิการ รบกวนให้เข้าไป download บน wed ที่ให้นี้ไปก่อนนะคะ มีอะไรๆ ดีๆ เยอะ

http://www.chainat.m-society.go.th/the%20disabled%20persons.htm

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

สวัสดีค่ะพี่ๆน้องๆชาวPTทุกท่าน ตอนนี้ก็ทำงาน รพ.ชุมชนเหมือนกันค่ะและรับผิดชอบงานผู้พิการด้วยค่ะ

เผอิญวันนี้ท่องอินเตอร์เน็ตเพื่อมาแอบสูบความรู้ใหม่ๆจากพี่ๆ น้องๆ PTทุกท่าน เลยมาเจอเวปนี้พอดี

และเห็นว่ามีคนที่สนใจงานด้านนี้เยอะมากๆ ดีใจแทนผู้พิการจริงๆ เลยค่ะเพราะหากไม่ลงเยี่ยมถึงบ้าน

เราจะไม่มีทางรู้ปัญหาที่แท้จริง ..พล่ามมาเยอะแล้วขอเข้าเรื่องที่ต้องการจริงๆ นะคะ

เนื่องจากตอนนี้ทาง สปสช.ได้เปลี่ยนชื่อจากงบฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ เป็น งบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

และในส่วนงบตัวใหม่นี้มีความพิเศษขึ้นมาก็คือ กลุ่มเป้าหมายที่แต่เดิม สปสช. จะจ่ายให้เฉพาะผู้พิการที่ใช้สิทธิ์ ท74

แต่สำหรับตัวใหม่จะเพิ่มผู้ป่วยเรื้อรังหรือผู้สูงอายุ รวมเข้ามาด้วย ซึ่งค่าบริการในการออกเยี่ยมแต่ละครั้งที่เราคีย์เบิก

กับ สปสช. คือ 150 บาท/คน/ครั้ง ซึ่งการลงเบิกของบตัวนี้ถ้าหาก PT ท่านใดไม่มี username และ password

ก็ลองถามกับงานประกันดูนะคะ ส่วนตัวดิฉันเองมีแล้วจึงต้องคีย์เอง(หางานเพิ่มให้ตัวเองซะงั้น.ฮ่าๆ...)

และในการขอใช้งบตัวนี้ทางโรงพยาบาลต้องมีเงื่อนไขครบ 6 ข้อจึงจะสามารถของบมาใช้งานได้แต่ รพช.นั้นๆ จะต้องมี PT

อยู่เท่านั้นนะคะ หากไม่มีก็เรียนท่านผู้อำนวยการถึงเรื่องงบตัวนี้ได้ค่ะ เพราะสามารถใช้เงินตัวนี้จ้าง PT ได้

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้่นอยู่กับ สปสช.ในเขตของท่านนะคะ เพราะบางที่ก็ให้เขียนเป็นโครงการส่งแต่ของเขต 7 ไม่ต้องค่ะแต่ รพ.เองต้องมีให้ครบทั้ง6 เงื่อนไขนะคะแต่วันนี้หาเอกสารนั้นไม่เจอค่ะต้องขอโทษด้วย ถ้าหาเจอจะเข้ามาแจ้งอีกทีนะคะ

ต้องขอขอบคุณนักกายภาพบำบัดชนบทที่เข้ามาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากๆ เกี่ยวกับเรื่องงบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ที่ขยายไปถึงผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ที่สปสชเขาสนับสนุน จะเห็นได้ว่างาน PT ชุมชนยังทำอะไรๆ ได้อีกมากมาย

ถ้ามีข้อมูลเงื่อนไขของสปสช 6 ข้อ ก็ช่วยเข้ามาให้ข้อมูลด้วยนะคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ ดีใจน่ะค่ะ ที่มีช่องทางที่PT ชุมชนสามารถติดต่อแลกเปลี่ยน ข้อมูลกันได้ ต้องขอบคุณอาจารย์มากๆน่ะค่ะ อาจารย์ค่ะมี

e_mail ของPT นาจะหลวย ไหมค่ะ หนูอยากได้ตัวอย่าง แบบฟอร์มการออกชุมชน การประเมินผลงาน แบบประเมินความพิการ หรือื่นๆ เพื่อที่จะได้ทำงานเป็นระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันน่ะค่ะ ขอบคุณ มากๆเลยน่ะค่ะ

อยากจะรบกวนสอบถามอัตราเงินนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนหน่อยคะ

เพราะว่าเห็นแต่ละโรงพยาบาลที่รับสมัครแต่อัตราเงินเดือนไม่เท่ากัน

เลยอยากจะถามมีเกณฑ์มาตรฐานเงินเดือนหรือป่าวคะ ขอบคุณค่ะ ^^

สวัสดีค่ะวันนี้เข้ามาตอบเรื่องเงื่อนไขในการขอใช้งบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

1.มีการกำหนดนโยบายสนับสนุนการพัฒนางานฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์

2.มีโครงสร้างและงานบริการฟื้นฟูสมรรถภาพที่ชัดเจน

3.มีแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือนักกายภาพบำบัด หรือนักกิจกรรมบำบัด

4.มีคณะกรรมการบริหารงบและพัฒนางานฟื้นฟูสมรรถภาพที่มีผู้แทนคนพิการเป็นคณะกรรมการและมี จนท. รับผิดชอบงานฟื้นฟู เป็นคณะกรรมการและเลขา

5.มีผลงานให้บริการฟื้นฟูและกายอุปกรณ์แก่คนพิการทั้งในหน่วยบริการและชุมชนอย่างต่อเนื่อง

6.มีการจัดทำข้อมูลคนพิการ และรายงานผลการให้บริการผ่านระบบไอทีตามที่กำหนด

หนูมีความสนใจกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนค่ะ จึงอยากได้แบบเขียนโครงการเปิดแผนก การขอเครื่องมือทางกายภาพ แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด การฟื้นฟูผู้พิการหรือการเยี่ยมบ้านชุมชนค่ะ เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดแผนก รบกวนอาจารย์หรือท่านอื่นๆที่พอจะมีข้อมูลหรือคำแนะนำช่วยส่งข้อมูลและคำแนะ นำให้หน่อยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

แล้วรบกวนถามอีกนิดนึงนะคะ ไม่ทราบว่าตอนนี้มีโรงพยาบาลชุมชนที่ไหนรับสมัครนักกายภาพบำบัดบ้างคะ ขอบคุณค่ะ

อีเมล์ค่ะ [email protected]

ขอบคุณล่วงหน้าเลยนะคะ

อยากจะรบกวนสอบถามอัตราเงินนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนเหมือนกันคะ

แต่ละโรงพยาบาลที่รับสมัครแต่อัตราเงินเดือนไม่เท่ากัน

อยากจะถามว่ามีเกณฑ์มาตรฐานเงินเดือนหรือป่าวคะ แล้วถ้ายังไม่มีใบประกอบโรคศิลปะจะมีอัตราจ้างอยู่ที่เท่าไหร่ค่ะ

ตอนนี้งงมากค่ะ เพราะทางโรงพยาบาลบอกว่าถ้ายังไม่มีใบประกอบ จะจ้างเป็นรายวัน วันละ 466 บาทค่ะ ^^

ในบางเขตพื้นที่ได้เริ่มต้นที่ 12500 บาทและยังไม่รวม พตสและค่าเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย

และค่าวิชาชีพขาดแคลน ไม่ทราบว่าทำไมไม่ใช่มาตรฐานเดียวกันหรือใกล้เคียงกันบางรพ.ค่าพตส.ก็ยังไม่ได้ ก็ รพช.เหมือนกันนะค่ะเพราะสาเหตุอะไรคะ รบกวนผู้รู้กรุณาชี้เเจงด้วยค่ะว่ามีหนังสือหรือหลักการใดที่จะสามารถนำไปอ้างอิงกับ รพ.หรือ สสจ.ได้บ้างคะ....ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ.......

สวัสดีครับอาจารย์ ผมพึ่งมาเปิดแผนกใหม่ขอรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูผู้พิการ แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านหน่อยนะครับ [email protected]

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูอยากจะถามว่าถ้าโรงพยาบาลแถวบ้านหนูยังไม่มีแผนกกายภาพบำบัด และหนูสนใจที่ไปเปิดแผนก

หนูจะต้องทำยังงัยบ้างคะ จะต้องเริ่มจากตรงไหนคะ

รบกวนขอคำแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ ^^

เรียนทุกท่าน

ถ้าโรงพยาบาลใกล้บ้านของคุณเป็นโรงพยาบาลชุมชน คุณก็อาจจะไปติดต่อไปที่สปสชเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบรพ.ที่คุณอยากไปสมัครงาน เพื่อให้เขาช่วยแนะนำผอ.รพ.เกี่ยวกับโครงการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง และผู้สูงอายุ ซิคะ เพราะทางสปสชเขาจะมีงบประมาณช่วยในการเริ่มต้นเปิดแผนก PT โดยทางรพ.ก็คงต้องจ้างนักกายภาพบำบัด โดยอาจใช้งบนี้ ให้เขาช่วยเชียร์ผอ.หน่อยก็จะดีค่ะ เพราะผอ.บางรพ.ยังไม่ทราบเกี่ยวกับเรื่องนี้ หรืออาจจะยังไม่เข้าใจบทบาทนักกายภาพบำบัด ว่าจ้างไปแล้วจะช่วยงานอะไรได้บ้าง จะคุ้มไหม อะไรทำนองนี้

หรืออีกวิธีหนึ่งคุณอาจจะลองไปคุยกับฝ่ายบุคคลของทางรพ.ก่อนก็ได้ว่าเขามีทีท่าว่าอย่างไร ถ้าเขาทราบเกี่ยวกับโครงการนี้แล้วกำลังหานักกายภาพฯอยู่พอดีก็อาจจะไม่ต้องไปพึงสปสชเขต แต่ถ้าเขายังไม่มีความต้องการ หรือไม่ทราบเรื่องอะไรเลย ก็อาจจะลองใช้วิธีแรกที่แนะนำไปค่ะ

ปนดา

เรียน อาจารย์ที่เคารพ

ผมขอตัวอย่างการเขียนโครงการในการออกชุมชนด้วยครับ ถ้าได้เอกสารเกี่ยวกับเปิดแผนกด้วยก็ดีมากเลยครับ

ผมเปิดแผนกใหม่เหมือนกันครับที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งครับ

[email protected]

ขอบคุณอาจารย์มากนะครับ

สวัสดีค่ะ ขอร่วมแชร์ประสบการณ์นะค่ะ

เห็น PT แต่ละท่านที่กำลังอยากเปิดแผนกใหม่คืออยากขอเสริมกับสิ่งที่อาจารย์ได้แนะนำไปน่ะค่ะว่าลองไปเสนอกับทาง ผอ.ที่ทุกท่านต้องการเปิดแผนกดูนะคะว่าทาง สปสช. มีงบสนับสนุนให้ รพ. ละ 200,000 บาท ซึ่งเงื่อนไขต่างๆ นั้นดิฉันเคยแจ้งเอาไว้แล้ว ซึ่งงบจำนวนนี้ทาง สปสช. จะให้มาเมื่อทาง รพ. มีงานไปแลกมานะคะซึ่งหมายความว่าทาง รพ. ต้อง จ้าง PT ค่ะ ถึงจะได้มา ซึ่งงบนี้จะพอดีกับค่าจ้าง PT ต่อปี รวมไปถึงค่าโอที เงิน พตส. (เพราะว่าเงินพตส. รพ.บางที่ต้องใช้งบบำรุงค่ะ) งบมันจะพอจ้างพอดีปีต่อปี ขอให้สนุกกับการทำงานนะคะ

ปล.เอกสารเรื่องงบฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ ลองเข้าไปดูในเวป สปสช. นะคะ จะได้เอาไปยืนยันกับ ผอ.ได้

และอีกอย่างคือถ้าหากไปคุยกับผอ.แล้วท่านยังไม่แน่ใจให้ลองแจ้งท่านว่าเรื่องงบตัวนี้งานที่รับผิดชอบเรื่องผู้พิการจะรู้เรื่องดีที่สุดให้ท่านเรียก จนท. ที่รับผิดชอบมาถามได้เลยค่ะง่ายดีไม่ต้องรอ สปสช.

เรียน น้อง ๆ ที่รักทุกคน

- อย่างที่น้องหลายคนกล่าวในข้อความข้างต้นว่า ตอนนี้ สปสช. สนับสนุนให้ รพช. ทุกแห่งมี PT เป้าหมายของเขาคือ 100 แห่ง/ปี โดยสนับสนุน 200,000 บาท/แห่ง ต่อเนื่อง 3 ปี โดยเน้น รพช. ที่ยังไม่มี PT ก่อน และ รพช. ที่จะขอรับเงินก้อนนี้ต้องเอางานไปแลกและต้องมีเงื่อนไข 6 ข้อ (ตามใน message 396) อย่างไรก็ตาม แม้ทาง สปสช. จะบอกว่า รพช. ที่จะขอรับเงิน 2 แสนนี้ได้ต้องครบเงื่อนไข 6 ข้อ แต่เอาจริง ๆ เขาก็เน้นข้อ 3 ค่ะ (คือ ต้องมี PMR, PT or OT) เพราะเขาเชื่อว่าหากมีข้อ 3 แล้ว ข้ออื่น ๆ ก็จะเกิดตามมาเอง

- เป็นไปได้ไหมคะว่า เวลา post ข้อความกันนี้ หากจะใช้นามปากกาก็ไม่ว่ากันค่ะ แต่ขอให้ช่วยบอกที่ทำงาน หรืออำเภอ/จังหวัดที่อยากไปทำงานกันหน่อยได้ไหมคะ ที่เรียกร้องเช่นนี้ (และจำได้ว่าขอกันมาหลายครั้งแล้ว) ก็เพราะว่า ปัญหาที่เกิดอยู่ตอนนี้คือ รพช. ที่รู้เรื่องนี้และต้องการ PT มาก กลับไม่มีใครไปสมัคร โดยเฉพาะในเขตอีสาน แม้จะจัดตลาดนัดแรงงานกันแล้ว ในขณะที่ ผอ.รพช. หลายแห่งก็ไม่รู้เรื่องนี้ โดยเฉพาะในเขตภาคกลาง แม้แต่เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานคนพิการ/ผู้สูงอายุก็ไม่รู้เรื่องเหมือนกัน พี่จึงคิดว่า หากลำพังให้น้อง ๆ หน้าละอ่อนทั้งหลายลุยกันเองก็อาจจะต้องเหนื่อยกันมาก แต่หากได้แรงช่วยจาก สปสช. เขตนั้น ๆ ช่วยก็น่าจะทำให้อะไรต่ออะไรง่ายขึ้น พี่จึงอยากทราบว่าน้อง ๆ อยู่/อยากไปอยู่ที่ไหนกันบ้าง พี่จะได้ช่วยประสานกับพรรคพวกในที่นั้น ๆ ให้ได้บ้าง แม้พี่จะไม่ได้กว้างขวางอะไรมาก แต่ก็พอรู้จักกับคนของ สปสช. ที่ deal กับงานเราอยู่บ้าง โดยเฉพาะในเขตอีสานทั้งหมด และภาคอื่น ๆ บางเขต แม้เขตที่ไม่รู้จักเป็นการส่วนตัว ก็คิดว่าจะส่งลูกต่อ ๆ กันได้

- อยากให้ช่วยกันกระจายข้อมูลเหล่านี้ให้เด็กที่จบใหม่ปีนี้ และกระตุ้นให้น้อง ๆ เข้าสู่ตลาดแรงงานในช่องทางนี้กันบ้าง เวลาเจอทาง สปสช. พี่ก็พูดไม่ออกเลยเมื่อโดนเขาบ่นมาว่า "อุตส่าห์จัดตลาดนัดแรงงานฯ ให้แล้ว วันงานก็ดูดี แต่เอาเข้าจริงไม่เห็นมีลูกศิษย์อาจารย์ไปสมัครเลย"

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณค่ะ คุณน้อมจิตต์ หนูเปงคนหนึ่งที่อยากทำงานโรงพยาบาลชุมชน

ตอนแรกทำงานคลินิกแต่ตอนนี้ลาออกมาแล้ว กำลังหางานโรงพยาบาลชุมชนอยู่ค่ะ

หนูสนใจโรงพยาบาลชุมชนแถวประจวบ เพชรบุรี ราชบุรี อ่ะค่ะ ไม่ทราบว่าพอจะแนะนำที่ไหนได้บ้างคะ

ขอบคุณค่ะ ^^

ตอบ 407: ถามไปทาง สปสช. ให้แล้วค่ะ หากได้ข้อมูลจะรีบบอกนะคะ หรือใครพอจะรู้บ้างว่า รพช. แถวประจวบฯ เพชรบุรี ราชบุรี แห่งใดยังไม่มี PT บ้างไหมคะ

เรียน อ.ปนดา

ข้อมูลที่อาจารย์ให้ลองเปิดดูเรื่องการขอขึ้นทะเบียนผู้พิการ ของเวป ชัยนาท เป็นข้อมูลเก่า

ปัจจุบันเปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่เป็นเพียงแค่ บกพร่องหรือไม่บกพร่อง ซึ่งง่ายขึ้น

ถ้าสนใจลองเข้า

- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดลพบุรี

- มองหาข่าวประชาสัมพันธ์ เข้าที่หัวข้อ *ขอส่งแนวทางการจดทะเบียนคนพิการปี 2552 ใหม่ up load ข้อมูลดูนะคะ*

เรียน อ. ปนดา

เป็น PT รพช. ที่ จ. ราขบุรีค่ะ

นี่เป็นรายละเอียด เท่าที่ทราบ ใน รพช. จ. ราชบุรี นะคะ

รพช. ที่ยังไม่มีนักกายภาพ และต้องการนักกายภาพ คือ รพ. เจ็ดเสมียน ( มี วฟ. อยู่ก่อนแล้วค่ะ 1 คน )

รพช. ที่ยังไม่มีนักกายภาพ แต่ไม่แน่ใจว่า รับนักกายภาพหรือเปล่า คือ รพ. วัดเพลง , ปากท่อ ( ต้องโทรไปสอบถามนะคะ )

รพช. ที่ยังมีนักกายภาพ แล้ว และต้องการนักกายภาพ เพิ่ม คือ รพ.บางแพ

หากสนใจ รพ. บางแพ ติดต่อได้ ที่ สน : 089-7468981 / [email protected]

เรียน อ. ปนดา

รบกวนขอ file ของ PT นาจะหลวย ด้วยค่ะ

หรือ สามารถ down load ได้ที่ไหนคะ เพราะตอนนี้ พยามจะทำ งานด้านผู้พิการ ในพื้นที่ ให้ชัดเจน ขึ้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มีข้อสงสัยค่ะ เกี่ยวกับ อุปกรณืช่วยเดิน ค่ะว่า...

"ไท้เท้า ชนิด 3 หรือ 4 ปุ่ม" รหัส 8704 ราคา 600 กับ...

"ไม้เท้าอลูมิเนียมแบบ สามขา " รหัส 8707 ราคา 360 2 อย่างนี้ ต่างกันยังไงคะ

รบกวนผู้รู้ด้วยค่ะ

message 410 น่าจะเป็นประโยชน์แก่น้อง bow_PT นะคะ

เรียนทุกท่าน

มีข่าวดี ขณะนี้อาจารย์ได้ทำเอกสารเรื่องการเขียนโครงการกายภาพบำบัด เสร็จแล้ว และได้ทำตัวอย่างประกอบก็ขอความอนุเคราะห์โครงการของนาจะหลวย มาปรับเพิ่มเติม ซึ่งจะนำไปบรรจุในคู่มือกายภาพบำบัดชุมชนด้วยค่ะ แล้วจะจัดส่งให้ตามที่อยู่ที่บอกมานะคะ คิดว่าอีกไม่นานก็คงจะ download จาก web สภาได้ค่ะ

ปนดา

PT บางแพ คะ อาจารย์ขอ e-mail address ด้วยค่ะ

ปนดา

ตอบน้อง bow_PT

พรรคพวกที่ สปสช. ส่งข้อมูลมาให้พี่ตามที่น้องต้องการแล้วค่ะ

รายชื่อ รพช. ที่มีนักกายภาพบำบัดและต้องการจ้างนักกายภาพบำบัดเพิ่มเติม

........ ..... ......... ............ ........................ ...............

อำเภอ รพ. จังหวัด โทรศัพท์ มีนักกายภาพบำบัด ต้องการจ้าง

........ ..... ......... ............ ........................ ...............

สวนผึ้ง สวนผึ้ง ราชบุรี 032-364496-8 มี ต้องการ

สมเด็จพระยุพราชจอมบึง จอมบึง ราชบุรี 032-362662 มี ต้องการ

บางแพ บางแพ ราชบุรี 085-51904882 มี ต้องการ

หัวหิน หัวหิน ประจวบฯ - มี ต้องการ

วิเชียรบุรี วิเชียรบุรี เพชรบุรี 056-928170 มี ต้องการ

นภาลัย บางคนที สมุทรสงคราม 034-761478 มี ต้องการ

พุทธมณฑล พุทธมณฑล นครปฐม 02-441-0330 ต่อ 32 มี ต้องการ

ห้วยพลู นครชัยศรี นครปฐม 034-389500 มี ต้องการ

ด่านช้าง ด่านช้าง สุพรรณบุรี 035-595032 มี ต้องการ

ศรีประจัน ศรีประจัน สุพรรณบุรี 081-986-7506 มี ต้องการ

กระทุ่มแบน กระทุ่มแบน สมุทรสาคร 034-844430 มี ต้องการ

บ้านแพ้ว บ้านแพ้ว สมุทรสาคร 034-419555 มี ต้องการ

ขอบคุณมากนะคะ อาจารย์น้อมจิตต์

แล้วไม่ทราบว่าโรงพยาบาลไหนที่ยังไม่มีนักกายภาพบำบัด แล้วต้องการจ้างนักกายภาพบำบัดบ้างคะ

เรียน อ. ปนดา

รบกวนขอ file งานกายภาพบำบัดทุก file ของ PT นาจะหลวย ด้วยค่ะ คือตอนนี้กำลังต้องการเอกสารอย่างเร่งด่วนค่ะ กำลังเริ่มวางแผนงานทั้งงานเบาหวาน ผู้พิการ การเขียนโครงการของบ สปสช เป็นต้นค่ะ ขอถามอาจารย์ค่ะว่าการเบิกค่าตอบแทนเชิงรุกมีเอกสารอ้างอิงหรือมีให้ดาวน์โหลดจากที่ไหนบ้างค่ะ หรือถ้าอาจารย์มีรบกวนส่งให้หนูด้วยค่ะ กำลังบันทึกข้อความถึงผอ.เรื่องการเยี่ยมบ้านฟื้นฟูผู้พิการ ต้องการเอกสารอ้างอิงการเบิกค่าตอบแทนเชิงรุกค่ะ

ส่งมาที่ [email protected]

ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

รบกวนอาจารย์ด้วยคะ

เรื่องการเบิกค่าตอบแทนเชิงรุกมีเอกสารอ้างอิงหรือมีให้ดาวน์โหลดจากที่ไหนบ้างคะ

เคยเข้าไปถาม สปสช เขตได้คำตอบว่าสามารถเบิกได้ แต่ไม่เคยเขียนคือไม่ทราบแนวทางการเขียนเบิก ขอปรึกษาทางอาจารย์ว่าพอมีเอกสารอ้างอิงการเบิกค่าตอบแทนเชิงรุกไหมคะ ปัจจุบันลงเชิงรุกและทำเชิงรับควบคู่กัน

เรียน อ. ปนดา

รบกวนขอ file ของ PT นาจะหลวย ด้วยครับ

หรือ สามารถ down load ได้ที่ไหนครับ เพราะตอนนี้ พยามจะทำ งานด้านผู้พิการ ในพื้นที่ ให้ชัดเจน ขึ้นครับ

ขอบคุณครับ

[email protected]

เรียน อ. ปนดา

รบกวนขอ file ของ PT นาจะหลวย ด้วยค่ะ

จากโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จ. นครศรีธรรมราช

เรียน PT นาจะหลวย

เนื่องจากตอนนี้โรงพยาบาลหัวหินได้รับนโยบายให้ดำเนินงานเชิงรุกมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ และผู้พิการ ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน รบกวนส่งโปรแกรม มาให้ได้ไหมคะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ "[email protected]"

น้อมจิตต์ นวลเนตร์

ตอบ #419

รายชื่อ รพช. ที่ไม่มีนักกายภาพบำบัด แต่ต้องการจ้างนักกายภาพบำบัด

........ ..... ......... ............

อำเภอ รพ. จังหวัด โทรศัพท์

........ ..... ......... ............

วัดเพลง วัดเพลง ราชบุรี 032-399290-1

ด่านมะขามเตี้ย ด่านมะขามเตี้ย กาญจนบุรี 034-642102

สมเด็จพระปิยะฯ ไทรโยค กาญจนบุรี 034-686027

ทองผาภูมิ ทองผาภูมิ กาญจนบุรี 034-599601-6

ห้วยกระเจาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา ห้วยกระเจา กาญจนบุรี 034-650051

บางสะพานน้อย บางสะพานน้อย ประจวบฯ 081-1935517

สามร้อยยอด สามร้อยยอด ประจวบฯ 032-688558

กุยบุรี กุยบุรี ประจวบฯ

ชะอำ ชะอำ เพชรบุรี 032-471007

บ้านลาด บ้านลาด เพชรบุรี 081-9421866

บ้านแหลม บ้านแหลม เพชรบุรี 032-481144-6

หนองหญ้าไซ หนองหญ้าไซ สุพรรณบุรี 035-577068-9

ดอนเจดีย์ ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี 035-591032

จากข้อความของน้อง PT ชนบท PT ชนบท [IP: 125.26.199.233] เมื่อ ศ. 09 เม.ย. 2553 @ 14:31 #1946296 [ ลบ ] งบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และในส่วนงบตัวใหม่นี้มีความพิเศษขึ้นมาก็คือ กลุ่มเป้าหมายที่แต่เดิม สปสช. จะจ่ายให้เฉพาะผู้พิการที่ใช้สิทธิ์ ท74แต่สำหรับตัวใหม่จะเพิ่มผู้ป่วยเรื้อรังหรือผู้สูงอายุ รวมเข้ามาด้วย ซึ่งค่าบริการในการออกเยี่ยมแต่ละครั้งที่เราคีย์เบิกกับ สปสช. คือ 150 บาท/คน/ครั้ง

ไม่ทราบว่าน้องบันทึกข้อมูลการรักษาที่ไหนค่ะ เพิ่มจากเว็บ สปสช. หรือว่า การบันทึกใช้ อันเดียวกับ การบันทีกผู้พิการค่ะ

ขอขอบคุณทางสมาคมที่จัดการประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ครั้งที่ 2 ที่โดยมีการประชุมงาน กายภาพบำบัดชุมชน โดยเฉพาะ ขอบคุณ อาจารย์ ที่ริเริ่มให้มีการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพื่อความเป้นหนึ่งมาตรฐานของงานกายภาพบำบัด

เรียน อ. ปนดา

รบกวนขอ file ของ PT นาจะหลวย ด้วยค่ะ

จากโรงพยาบาลร่อนพิบูลย์ จ. นครศรีธรรมราช

เรียน อาจารย์ ปนดา ที่เคารพอย่างสูง

หนู ขอขอบคุณอาจารย์มาก ๆ ที่ได้ให้มีการจัดการประชุมกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน และสนับสนุนในเรื่องนี้ ขอขอบพระคุณมาก ๆ ค่ะ

เรียน อาจารย์ปนดา ที่เคารพ

หนูรบกวนขอ file specific functional competency ของอาจารย์ เพื่อเป็นแนวทางในการจัดทำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ (e-mail : [email protected]

มีคนมาโพสต์เยอะมาก อ่านไม่ทันเลย ตาลาย T T อิอิอิ บล๊อกอาจารย์ดาท๊อปฮิตมากๆค่ะ

อยากจะบอกว่า อบรมห้อง PT com. ไม่ง่วงนอนเลยแม้แต่นิด สนุกมากค่ะ

ตอนแรกก็ไม่ค่อยสนใจทำวิจัยเท่าไหร่ แต่ได้มาอบรมแล้ว อยากทำวิจัยขึ้นเยอะเลยค่ะ ^ ^

คุณณิชาภัทร ศรีเทพ ช่วยกรุณาแจ้ง e-mail address ด้วยค่ะ จะได้ส่งตังอย่างไปให้

คุณโสภิตา คะ อาจารย์ส่ง competency ให้แล้วนะคะ

ปนดา

เรียนทุกท่าน

ดีใจมากที่ได้เห็นตัวจริงเสียงจริงของหลายคนที่งานกายภาพบำบัดชุมชนในการประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติครั้งที่ 2 อาจารย์ได้แลกเปลี่ยนมุมมอง และความรู้ประสบการณ์กับพวกเรา และได้เรียนรู้จากการอบรมในครั้งนี้มากมาย ขอขอบคุณทุกคนด้วยนะคะ

การถอดบทเรียนจากนักกายภาพบำบัดที่ประสบความสำเร็จ อาจารย์อยากสรุปได้ว่า งานกายภาพบำบัดจะสำเร็จได้พวกเราต้องมี HEART

H = Humanizing care หรือ Holistic care คือการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ดูแบบเป็นองค์รวม ไม่ใช่แค่กายเท่านั้น ต้องรวมถึงใจ และจิตวิญญาณด้วย นอกจากนี้ H ตัวนี้ยังหมายถึงหัวใจของนักกายภาพบำบัดด้วย ถ้ายังไม่มีใจโอกาสสำเร็จยากค่ะ

E = Education นักกายภาพบำบัดต้องศึกษา เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรู้จากศาสตร์ต่างๆ เช่น เวชศาสตร์ครอบครัว การฟื้นฟูโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBR) จิตวิทยา หรือศาสตร์อื่นๆ หรือเป็นความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน ภูมิปัญญาต่างๆ ในชุมชน นอกจากนี้แล้วนักกายภาพบำบัดควรสามารถประยุกต์ความรู้ให้เข้ากับบริบทของชุมชนได้

A = Administor งานกายภาพบำบัดจะรุ่งโรจน์ถ้าผู้บริหารรพ.โดยเฉพาะผอ.เข้าใจบทบาทงานกายภาพบำบัด เปิดโอกาสและสนับสนุนงบให้เราได้แสดงฝีมืออย่างเต็มที่ ถ้าผู้บริหารยังไม่สนับสนุนและเราได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ก็อย่าไป(ขออภัยนะต้องขอใช้คำพูดที่รุนแรงหน่อย)อย่าไปดักดานอยู่กับเขาเลย เรายังมีที่ๆเขาต้องการและเห็นคุณค่าของงานเราอีกมาก

R = Reward เมื่อเราทำงานหนักแล้ว ควรได้รับรางวัลตอบแทนบ้างเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ รางวัลที่ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินเสมอไป อาจเป็นสิทธิ์ต่างๆอันพึงมีพึงได้ให้เสมอภาคเท่าเทียมกับวิชาชีพอื่นๆข้างเคียงเช่นพยาบาล สิทธิ์ในการได้ค่าตอบแทนในการออกเยี่ยมบ้านในเวลาราชการ หรือรางวัลอาจจะเป็นตำแหน่งข้าราชการเพื่อความมั่นคงของชีวิต หรือรางวัลสำหรับบางคนอาจเป็นอัตรากำลังของนักกายภาพบำบัดที่เพิ่มขึ้น ก็ได้ เหล่านี้เป็นขัวญและกำลังใจได้ทั้งสิ้น

T = Team เราคงทำงานคนเดียวไม่ได้แล้วในโลกปัจจุบัน เราต้องยอมรับว่าการทำงานเป็นทีมจะทำให้เรามีพลัง ทีมนี้จะหมายถึง 3 แบบ แบบแรกคือทีมนักกายภาพบำบัดและเจ้าหน้าที่ในแผนก แบบที่สองคือทีมยังหมายถึงการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพและร่วมกับชุมชนด้วย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการประสานงานที่ดี มีการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก (Patient center) แบบสุดท้ายทีมยังหมายถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างนักกายภาพบำบัดทั้งในระดับพื้นที่และระดับที่สูงขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และหาแนวร่วมในการทำงาน

ด้วยความรักและปรารถนาดี

ปนดา

ชฎารัตน์ เกิดเนตร

เรียน อ. ปนดาที่เคารพ

หนูรบกวนขอ file ของ PT นาจะหลวย ด้วยนะค่ะ

e-mail ของหนูค่ะ [email protected]

จากโรงพยาบาลพะโต๊ะ จ. ชุมพรค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

รบกวนขอ competency ด้วยคนค่ะ

e-mail: [email protected]

ขอบคุณค่ะ ถึง มน. ปลอดภัยดีมั้ยค่ะ ดีนะแทกซี่ที่นั่งกลับวันนั้นไม่ใช่เสื้อแดง

เรียน อ. ปนดา

หนูรบกวนขอ file ของ PT นาจะหลวย ด้วยค่ะ

e-mail ค่ะ [email protected]

หนูมีความสนใจกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนค่ะ จึงอยากได้แบบเขียนโครงการเปิดแผนก การขอเครื่องมือทางกายภาพ แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด การฟื้นฟูผู้พิการหรือการเยี่ยมบ้านชุมชนค่ะ เพื่อเป็นแนวทางในการเปิดแผนก รบกวนอาจารย์หรือท่านอื่นๆที่พอจะมีข้อมูลหรือคำแนะนำช่วยส่งข้อมูลและคำแนะ นำให้หน่อยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

อีเมล์ค่ะ [email protected]

หนูเปงคนหนึ่งที่อยากทำงานโรงพยาบาลชุมชน

กำลังหางานโรงพยาบาลชุมชนอยู่ค่ะ

หนูสนใจโรงพยาบาลชุมชนแถวๆ สุราษฎร์ธานี อ่ะค่ะ ไม่ทราบว่าพอจะแนะนำที่ไหนได้บ้างคะ

ขอบคุณมากๆค่ะ

PT โพนทราย ร้อยเอ็ด

เรียน อ. ปนดาที่เคารพ

รบกวนขอ file ของ PT นาจะหลวย ด้วยนะครับ

e-mail ของผม[email protected]

ตอบ #439

รายชื่อ รพช. ที่ไม่มีนักกายภาพบำบัด แต่ต้องการจ้างนักกายภาพบำบัด

........ ..... ......... ............

อำเภอ รพ. จังหวัด โทรศัพท์

........ ..... ......... ............

ดอนสัก ดอนสัก สุราษฎร์ธานี 077-371179

บ้านตาขุน บ้านตาขุน สุราษฎร์ธานี 083-5214400

บ้านนาเดิม บ้านนาเดิม สุราษฎร์ธานี 077-359018

เคียนชา เคียนชา สุราษฎร์ธานี 081-8950072

ท่าชนะ ท่าชนะ สุราษฎร์ธานี 077-381167

เกาะพะงัน เกาะพะงัน สุราษฎร์ธานี 077-377014

ส่วน รพช. ที่มีนักกายภาพบำบัดแล้ว แต่ต้องการจ้างเพิ่ม คือ รพช.กาญจนดิษฐ์ สุราษฎร์ธานี โทร. 077-244518

ขอตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องการขอเครื่องมือทางกายภาพ การฟื้นฟูผู้พิการ หรือการออกเยี่ยมบ้านชุมชนพร้อมขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านด้วย หากอาจารย์ พี่ๆ และเพื่อนๆ พอมี ช่วยรบกวนส่งให้หนูด้วย น่ะค่ะทางEmail [email protected] ......... ขอบคุณมากค่ะ

ตอนนี้ทีมเยี่ยมบ้านเริ่มการฟอร์มตัวกันขึ้นใหม่โดยมี ทันตแพทย์ใหญ่ของรพ.เป็นผู้แนะนำแนวทางดำเนินการค่ะ ช่วงที่มาบรรจุใหม่ๆเมื่อปีก่อน จนถึงปีนี้ ก็ได้เยี่ยมบ้านตลอด แต่ยังขาดตรง สหสาขาร่วมเยี่ยมแต่ยังไม่ได้รวมจุดและตั้งเป้าหมายรว่มกัน ไม่มีการประเมินปัญหาผู้ป่วย และผู้พิการ จากความต้องการของเค้า ครั้งนี้รู้สึกว่าดีใจค่ะที่ท่านให้ความสนใจและเปิดโอกาสให้กับเราได้แสดงหน้าที่ของเราเต็มที่ ขอกำลังใจจากอาจารย์และเพื่อนๆน่ะค่ะ และขอข้อมูล แบบฟอร์มเยี่ยมบ้าน ได้ไหม๊ค่ะ ขอบคุณค่ะ

เบอร์ E-mail ค่ะ : [email protected]

ขอแบบฟอร์มการเยี่ยมบ้านด้วยนะค่ะ E-mail [email protected]

เป็นแนวคิดที่ถูกต้องที่สุดค่ะ PT เวียงแก่น การทำงานเป็นสหสาขาเป็นการทำงานที่ถูกต้องที่สุด แต่อาจจะยากตรงที่เวลาไม่ตรงกันแต่อยากให้ทุกคนอย่ามองข้ามนักการเมืองอย่าง ผู้ใหญ่บ้าน อบต.ด้วยนะคะ ถ้าเราได้เค้ามาร่วมทีม พยายามจีบเค้าไว้ เพราะงานของเราก็เป็นฐานเสียงให้เค้าได้ เวลาเราออกเยี่ยมเคสใหนปัญหาหนักๆๆก็ให้เค้าออกเยี่ยมกับเราด้วย บางอย่างคนพวกนี้จะช่วยเราได้ และเงินสนับสนุนก็จะตามมาด้วย และที่ขาดไม่ได้ก็คือแขนขาอย่างอบต. ซึ่งตอนนี้สปสช.ก็ได้ให้งบสนับสนุนจังหวัดอุบลราชธานีในการผลิตอสมช.ผู้พิการ ซึ่งในโซน ที่ดิฉันทำงานอยุ่นั้นเนื่องจากความเข้มแข็งของพี่ใหญ่โรงพยาบาลเดชอุดมและความร่วมมือร่วมใจกันของแต่ละโรงพยาบาลทำให้เราได้รับงบสนับสนุนอบรมเพิ่มเป็นครั้งที่ 2 ซึ่งทำให้งานของเรามีเครือข่ายมากขึ้น เหนื่อยน้อยลง เพราะอสม.คือผู้ที่อยุ่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด และถ้าโรงพยาบาลมีพยาบาลจิตเวชก็เชิญเค้าออกเยี่ยมกับเราเลยจะดีมากค่ะ การทำงานร่วมกันจะทำให้พบปัญหาอย่างที่PT เวียงแก่นบอก ของนาจะหลวยก็ยังไม่เป็นรุปร่างมากเพราะบุคลากรน้อยแต่ก็ได้เครือข่ายจากสสอ. สอ. และก็ผู้ใหญ่บ่าน อบต. นายกอบต.ในการช่วยงานทำให้ทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น สู้ต่อไปนะคะ PTชุมชน

เรียน PT นาจะหลวย

อาจารย์ได้รับ CD ที่คุณ write ส่งมาให้แล้ว เมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ก่อนงานประชุมวิชาการ 2-3 วัน จึงได้นำไปลองเปิดดู พบว่าไม่สามารถเปิด file ได้เลย ลองใช้หลายเครื่องเปิดแล้ว พอ copy file ไปเกือบสำเร็จ computer มันบอกว่า fail ไม่ทราบว่าเกิดปัญหาตรงไหน แต่เข้าใจว่า file มันใหญ่มาก ต้องขอขอบคุณที่อุตสาห์ส่งมาให้ แต่ก็เสียใจที่ไม่สามารถเปิดได้ ตอนนี้น้องๆพี่ๆ เขาเขียนมาขอแบบฟอร์มเยี่ยมบ้าน และตัวอย่างการเขียนโครงการเพื่อของบประมาณสำหรับตั้งแผนก PTมากที่สุด ไม่ทราบว่าน้องช่วยส่งมาให้อาจารย์ทาง mail หน่อยได้ไหมคะ ที่ [email protected] จะได้จัดส่งให้น้องๆ ต่อไป

แบบฟอร์มอื่นๆ น้องค่อยๆ ทะยอยส่งมาให้อาขารย์ทาง mail ก็ได้ค่ะ

ขอบคุณมากๆ

ปนดา

งบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์และในส่วนงบตัวใหม่นี้มีความพิเศษขึ้นมาก็คือ กลุ่มเป้าหมายที่แต่เดิม สปสช. จะจ่ายให้เฉพาะผู้พิการที่ใช้สิทธิ์ ท74แต่สำหรับตัวใหม่จะเพิ่มผู้ป่วยเรื้อรังหรือผู้สูงอายุ รวมเข้ามาด้วย ซึ่งค่าบริการในการออกเยี่ยมแต่ละครั้งที่เราคีย์เบิกกับ สปสช. คือ 150 บาท/คน/ครั้ง

จากด้านบน อยากจะเรียนถามอาจารย์ว่าเราต้องทำอย่างไรเกี่ยวกับการเบิกงบคะ

ตอนนี้กำลังจะเขียนโครงการคะ

จากเด็กหัดขับ

ไม่แน่ใจว่าน้องนุชราภรณ์จะถามว่าจะเบิกงบจากสปสชสำหรับออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วยสูงอายุหรือเรื้อรัง หรือจะถามว่าจะเบิกเงินค่ตอบแทนในเวลาสำหรับนักกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตามจะขอตอบใน 2 ประเด็นนะคะ ถ้าผิดน้องคนอื่นช่วยแย้งด้วยนะคะ

สำหรับการจะได้ค่าเยี่ยมบ้านแต่ละครั้งขากสปสช. เราสามารถคีย์เบิกได้เหมือนกับการเยี่ยมบ้านผู้พิการ แต่ ถ้าจะเบิกเงินค่าตอบแทนการเยี่ยมบ้านสำหรับตตัวนักกายภาพบำบัดต้องขอเบิกจากทางรพ. ซึ่งต้องทำเป็นโครงการหรือแผนปฏิบัติการ ซึ่งต้องเขียนให้ชัดเจนว่าเยี่ยมใครเป็นผู้ป่วยแบบไหน จะไปเยี่ยมเมื่อไร เพื่อขอเสนออนุมัติเบิกเงินค่าตอบแทนในเวลาทำการจากทางรพ. ซึ่งถ้าออกเยี่ยมเต็มวันก็สามารถเบิกได้ 1 เวร (600 บาทต่อวัน) ถ้าออกเยี่ยมครึ่งวันก็เบิกได้ครึ่งเวร คือ 300บาท ค่ะ

ปนดา

น่าเสียดายจังเลยค่ะ จะพยายามส่งให้นะคะอาจารย์ คงต้องส่งไฟล์ให้ก่อน อ้อการเบิกจ่ายที่อาจารย์กล่าวนั้นถูกต้องค่ะ ทางสปสช.โอนงบให้แล้วของอุบลโรงพยาบาลละ 200000 บาท ก็เขียนโครงการขึ้นค่ะเพื่อเบิกจ่ายเงินก้อนนี้ ซึ่งหนังสือการเบิกจ่ายต้องอิงจากหนังสือค่าตอบแทนทุกโรงพยาบาลจะมีอยุ่แล้วข้อ 8.4 ซึ่งจะอิงตามข้อ 1 ชั่วโมงละ 80 บาท เราก็เขียนโครงการว่าเราจะออกกี่วัน ใครออกบ้าง คูณจำนวณวันตามที่เราออก ถ้า 8 ชั่วโมง ก็ 8*80= 640 /วัน แต่ต้องเห็นชอบจากผู้อำนวยการก่อนนะคะ อ้องบ200000 นี้รวมการจัดซื้อกายอุปกรร์สำหรับผู้พิการแล้วค่ะ เป็นการดอนเงินมาล่วงหน้า เราก็ต้องไปคีย์ผลงานเราในเวบ สปสช.ซึ่งจะได้ 150/คน/ครั้ง ถ้าเป็นไปได้ใน 1 วันเราควรออกเยี่ยมได้ประมาณ 5-10 รายเพราะจะได้คุ้มกับวันละ 640 บาทค่ะ

น่าเสียดายจังเลยค่ะ จะพยายามส่งให้นะคะอาจารย์ คงต้องส่งไฟล์ให้ก่อน อ้อการเบิกจ่ายที่อาจารย์กล่าวนั้นถูกต้องค่ะ ทางสปสช.โอนงบให้แล้วของอุบลโรงพยาบาลละ 200000 บาท ก็เขียนโครงการขึ้นค่ะเพื่อเบิกจ่ายเงินก้อนนี้ ซึ่งหนังสือการเบิกจ่ายต้องอิงจากหนังสือค่าตอบแทนทุกโรงพยาบาลจะมีอยุ่แล้วข้อ 8.4 ซึ่งจะอิงตามข้อ 1 ชั่วโมงละ 80 บาท เราก็เขียนโครงการว่าเราจะออกกี่วัน ใครออกบ้าง คูณจำนวณวันตามที่เราออก ถ้า 8 ชั่วโมง ก็ 8*80= 640 /วัน แต่ต้องเห็นชอบจากผู้อำนวยการก่อนนะคะ อ้องบ200000 นี้รวมการจัดซื้อกายอุปกรร์สำหรับผู้พิการแล้วค่ะ เป็นการดอนเงินมาล่วงหน้า เราก็ต้องไปคีย์ผลงานเราในเวบ สปสช.ซึ่งจะได้ 150/คน/ครั้ง ถ้าเป็นไปได้ใน 1 วันเราควรออกเยี่ยมได้ประมาณ 5-10 รายเพราะจะได้คุ้มกับวันละ 640 บาทค่ะ

ขอบคุณมากเลยค่ะ ที่ช่วยเข้ามาแสดงความคิดเห็น อาจารย์ได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์นักกายภาพบำบัดชุมชน ถ้าได้ข้อมูลจากผู้ปฏิบัติโดยตรงก็ต้องถูกต้องแน่นอนกว่า ถ้ามีตัวอย่างการเขียนโครงการการออกเยี่ยมบ้านส่งมาให้อาจารย์หน่อยได้ไหมคะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

นักกายภาพบำบัด รพช

สวัสดีค่ะ...อยากทราบว่าขณะนี้รพ.ในเขตจ.ชัยนาทมีที่ใดบ้างที่เปิดรับสมัครPT อยากกลับไปทำงานใกล้บ้านค่ะ....ขอบคุณค่ะ

ที่ชัยนาท ที่ไม่มี PT และต้องการแจ้งมี 2 แห่งค่ะ คือ

วัดสิงห์ วัดสิงห์ ชัยนาท 056-461344

หันคา หันคา ชัยนาท 056-451385

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเป็นนักกายภาพเพิ่งเริ่มทำงานโรงพยาบาลสะบ้าย้อย เป็นโรงพยาบาลชุทชนค่ะ

พอดีว่าพี่เค้าต้องการสั่งซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบบำบัด หนูอยากทราบเรื่องของยี่ห้อและราคานะค่ะ

อาจารย์พอมีให้หนูไหมค่ะ หนูต้องการด่วนมากค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ช่วยบอก e-mail หรือเบอร์โทรที่ติดต่อได้ด้วยค่ะ

ปนดา

สวัสดีครับอาจารย์ปนดา ผมไตรทศครับ ตอนนี้มาทำงานที่ รพ เสริมงาม จ ลำปางได้ห้าวันแล้วครับ แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ลงชุมชนเลย กำลังวุ่นอยู่กับการจัดห้องครับ พอดีได้ห้องแล้ว แต่เป็นห้องเล็กๆ แต๋ก็ดูดีครับ มีสองเตียงเอง เตียงtractionกำลังจะมา(ผอ ต้องการมาก) มีตู้hot pack อยู่แล้ว เพราะเมื่อหลายปีก่อนได้งบสนับสนุนและได้เครื่องออกกำลังกายและตู้hot packมา เลยโชคดีผม ไม่ต้องซื้อhot pack

อาทิตย์หน้าจะลงชุมชน แต่ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเกี่ยวกับงบฟื้นฟู ของสปสช ครับ หัวหน้างาน(พยาบาลเวช)ก็ยังไม่รู้ อาจารย์หรือ พี่ๆเพื่อนๆคนไหนพอจะมีข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับงบนี้บ้างครับ ผมอยากได้มาศึกษาเพื่อจะได้เป็นแนวทางในการทำโครงการในอนาคตครับ

ปล โรงพยาบาลนี้เขาทำงานฟื้นฟู ผู้พิการกันจริงจังมากมีการเก็บข้อมูลแจกเครื่องช่วยเยอะมาก แต่เขายังไม่เข้าใจงบนี้ เลยทำให้ไม่ได้เงินเข้า รพ ครับ

รบกวน ส่งมาที่เมล [email protected]นะครับ ขอบคุณครับ

เรียนอาจารย์ปนดาและพี่ๆกายภาพบำบัดอยากได้ตัวอย่าง

service profile ,

KPI แผนยุทธศาสตร์ของการบริหารแบบบูรณาการเพื่อรองรับการประเมินรายบุคคลปี 53

ผังกำกับงาน

การจัดการความเสี่ยงในหน่วยงาน

แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน

และก็อื่นๆที่คิดว่าน่าจะมีประโยชน์ในการน้ำมาประยุกต์ใช้ในงานชุมชนของผมครับ ขอบคุณคราฟฟฟ

[email protected]

เรียน อ. ปนดา

รบกวนขอ file ของ PT นาจะหลวย และส่วนๆอื่นที่จะนำมาปรับใช้กับทางรพ.ด้วยนะครับ

รักและเคารพ อาจารย์เสมอครับ

PT 5 AHS NU

โรงพยาบาลพรหมพิราม

เรียน อาจารย์ปนดา

พอดีโรงพยาบาลอยากได้บริบทงานกายภาพบำบัด ไม่ทราบว่าอาจารย์พอจะมีไฟล์ไหมคะ เนื่องจากที่ได้ไปประชุมของสมาคมกายภาพบำบัดครั้งที่2 เลยได้ไอเดียและกลับมาประยุกต์ใช้ในงานกายภาพของเรา เนื่องจากโรงพยาบาลที่อยู่เป็นโรงพยาบาลชุมชน ขนาด 30 เตียง แล้วก็มีนักกายภาพบำบัดเพียงคนเดียว ตอนนี้ขอแยกตัวมาจากกลุ่มงานการพยาบาล เค้าเลยให้อยู่เป็นฝ่ายกายภาพบำบัด ยังไม่สามารถตั้งเป็นกลุ่มงานได้ ดังนั้นจึงอยากได้รายละเอียดและผังงานกายภาพบำบัดที่สามารถจะพัฒนา

งานกายภาพบำบัดเพื่อนเสนอต่อผอ รพต่อไป เนื่องจากทางรพ ต้องทำคำสั่งแยกฝ่ายงานให้คะ จึงขอรบกวนเวลาของอาจารย์สักนิด

ช่วยส่งมาที่เมล์ [email protected] ขอขอบพระคุณมา ณ ที่นี้ หรือถ้าอาจารย์มีตัวอย่างเกี่ยวกับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ และคนไข้เบาหวาน อยากได้โปสเตอร์ด้วยคะ จะกรุณาส่งมาที่ รพ พรหมพิราม เลขที่ 479 หมู่ 1 ต.พรหมพิราม อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก 65150

สวัสดีค่ะ

พี่ๆค่ะ อยากรู้ว่ามีรพ.ไหนในเขตภาคเหนือตอนล่างเปิดรับนักกายภาพบ้างค่ะ

อยากทำงานใกล้บ้านจริงๆค่ะ

ขอบคุณมากๆนะค่ะ

ลองสอบถาม รพ. เหล่านี้ดูค่ะ

ศรีเทพ ศรีเทพ เพชรบูรณ์ 056-799498

ศรีนคร ศรีนคร สุโขทัย 055-652725

กงไกรลาศ กงไกรลาศ สุโขทัย 055-625248-9

ฟากท่า ฟากท่า อุตรดิตถ์ 084-597251

พยุหะคีรี พยุหะคีรี นครสวรรค์ 056-341755

ตากฟ้า ตากฟ้า นครสวรรค์ 056-241027

ท่าตะโก ท่าตะโก นครสวรรค์ 056-249036

เก้าเลี้ยว เก้าเลี้ยว นครสวรรค์ 056-983562

บึงสามัคคี บึงสามัคคี กำแพงเพชร 055-733333

สมเด็จพระยุพราชนครไทย นครไทย พิษณุโลก 055-389060-1

พรหมพิราม พรหมพิราม พิษณุโลก 055-369034

ชาติตระการ ชาติตระการ พิษณุโลก 055-381020

แม่ระมาด แม่ระมาด ตาก 055-581229,581136

อุ้มผาง อุ้มผาง ตาก 055-561270-2

ชนแดน ชนแดน เพชรบูรณ์ 056-761302

วังโป่ง วังโป่ง เพชรบูรณ์ 056-752224

คีรีมาศ คีรีมาศ สุโขทัย 081-3795935

ศรีสัชนาลัย ศรีสัชนาลัย สุโขทัย 055-673137-8 ต่อ 164

ท่าปลา ท่าปลา อุตรดิตถ์ 081-8870045

ลาดยาว ลาดยาว นครสวรรค์ 056-385012

บรรพตพิสัย บรรพตพิสัย นครสวรรค์ -

สมเด็จพระยุพราชตะพานหิน ตะพานหิน พิจิตร 056-621355

วชิรบารมี วชิรบารมี พิจิตร 056-900126

สวัสดีค่ะ.................... พี่ค่ะอยากทราบโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลทางใต้ที่รับนักกายภาพบำบัด มีที่ไหนบ้างค่ะ

เรียน อ. ปนัดดา

ต้องขอโทษ ด้วยค่ะ ที่ส่ง คู่มือปฏิบัติงาน ทางกายภาพ ให้ อ. ช้าไปหน่อยค่ะ เพราะช่วงที่ผ่านมายังไม่ได้เข้า net ค่ะ ( ส่งให้ อ. ทางเมล์ อ . แล้วค่ะ )

เรื่อง รถเข็น ของ คุณสุธาธิณี

ตอนนี้ เรื่องรถเข็น ทาง สปสช. เขามีงบ สนับสนุนแล้วค่ะ แต่ก่อน จะเป็นศูนย์ ศิรินธร แต่ตอนนี้ สปสช .ต้องการให้แต่ละ รพ. มีศักยภาพในการจัดหารถเข็นค่ะ

สปสช. จะโอนงบก้อนนึง ให้ทุก รพ. อยู่ แล้ว เป็นงบฟื้นฟู สมรรถภาพทางการแพทย์ แล้วแต่ ว่า แต่ละ รพ. จะได้เท่าไหร่ ( เช็ค จาก สปสช. ของเขต ที่เราอยู่ค่ะ )

แต่ก่อน แต่ละ รพ. ต้อง ออกเงินไปก่อน แล้ว ค่อยแคลม ทีหลัง ซึ่งจะมีปัญหาว่า บาง รพ. ไม่ค่อยมรเงิน แต่ตอนนี้ สปสช. โอนเงิน ก้อนนี้มาให้ แล้ว ค่ะ ถามจากการเงิน รพ.ก็ได้ค่ะ ส่วนใหญ่ รพ. จะเอาไปรวมกับ งบ UC ค่ะ

ทีนี้ เราสามารถทำบันทึก ข้อความให้ ผอ. อนุมัติซื้อ รถเข็นได้เลย เมื่อให้ผู้พิการแล้ว ก็ คีย์ ชื่อผู้พิการ และ อุปกรณ์ ที่ให้ ใน เวบ สปสช. ได้เลยค่ะ ซึ่งการเข้าเวบ ต้องมี password ซึ่ง ส่วนใหญ่ ศูนย์ ประกัน ของ รพ. จะมีค่ะ

ให้เขาคีย์ หรือ เราจะคีย์ เองก็ได้ แต่ผู้ป่วยที่เราสามารถ คีย์ เพื่อเอาเงินเข้า รพ. ต้อง เป็นสิทธิ์ ท74 นะคะ

เช็คด้วย เพราะผู้พิการ บางราย มีสมุดผู้พิการ เล่มสีน้ำเงิน แต่ อาจยังไม่ได้เปลี่ยนสิทธิ์ เป็น ท74 เราก็ต้อง ให้เขาเปลี่ยนเป็น ท74 ด้วยค่ะ

ถึงความเห็น 463 เด็กใต้

กลับไปดู ความเห็น ที่ 441 ของ อ.น้อมจิตร์ ค่ะ

เรียน กภ.ฝน รพ.สะบ้าน้อย

อาจารย์ได้ List รายชื่อบริษัทขายเครื่องมือ PT แล้ว แต่คุณไม่ได้แจ้ง e-mail address มา เลยไม่ทราบจะส่งให้คุณอย่างไร ช่วยแจ้งด้วยค่ะ

ปนดา

ขอบคุณนักกายภาพบำบัดรพ.บางแพ และอาจารย์น้อมจิตมากๆนะคะที่ช่วยเข้ามาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาก ๆ ตอนนี้กำลังเร่งให้สภาจัดหน้า web ให้เราสามารถ upload ข้อมูลให้ PT ชุมชน ทางสภาเขาก็มีระบบของเขาที่ต้องผ่านคณะกรรมการปชส. ซึ่งกำลัง set ระบบอยู่ค่ะ ตอนนี้อาจารย์ก็เป็นตัวกลางส่งเอกสารไปก่อน

สำหรับเอกสารที่ขอๆกันมาก็พยายามส่งให้ทาง mail แล้วนะคะ

ปนดา

ตอบ #463

ทางใต้ที่ว่าจะเอาตอนบนหรือล่างคะ แต่จริง ๆ แล้ว รพช. ทางใต้ขาด PT มากๆๆๆๆ อยากไปจังหวัดไหน ก็คงมีสัก รพช. หนึ่งให้ลงแน่ค่ะ

อาจารย์ค่ะ หนูเคยถามอาจารย์เรื่องอุปกรณืสำหรับโรงพยาบาลชุมชนไปครั้งหนึ่ง

แต่หนูลืมฝากเมล์ไว้ค่ะ ขอโทษจริง ๆ ค่ะ

แต่หนูมีเรื่องจะถามอาจารย์ใหม่แล้วค่ะ

คือ พอดีอาทิตย์หน้าหนูจะอออกเป็นวิทยากรอบรมการฟื้นฟูผู้ป่วยที่กลับไปพักฟื้นที่บ้าน

อยากให้อาจารย์ช่วยแนะแนวทางเรื่องที่จะอบรมให้หน่อยนะค่ะ

เพื่อที่หนูจะได้นำแนวทางมาปรับใช้ด้วย

ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะค่ะ

อีเมล์หนูนะค่ะ [email protected]

เบอร์โทรค่ะ 0878996487

นักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลสะบ้าย้อยค่ะ

เรียน อ.ปนดา

หนูเพิ่งเปิดแผนก ยังไม่มีความรู้ในการเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด รบกวนขอแบบฟอร์มด้วยค่ะ

-แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านค่ะ

-แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

-แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ

เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน

อีเมล:[email protected]

แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพจะไม่มีนะคะ จะเป็นการจัดทำแผนกับทางโรงพยาบาลซึ่งต้องประชุมกับผู้อำนวยการและหัวหน้าบริหารในการวางแผนการใช้เงิน เช่นอุปกรณืที่เราจะซื้อเนี่ยจะใช้งบประมาณจากส่วนใหน แต่ถ้าไม่ได้จัดทำแผนต้องการจะขออนุมัติซื้อล่ะก็เป็นการขออนุมัตินอกแผน ก็เขียนในแบบฟอร์มการจัดซื้อ-จัดจ้าง ซึ่งแต่ละโรงพยาบาลน่าจะมีนะคะอันนี้ต้องถามที่ธุรการไม่ก็บริหารซึ่งเค้าก็อยุ่ที่เดียวกันนะคะ ก็เขียนบันทึกข้อความขออนุมัติจัดซื้อ-จัดจ้าง และก็แนบใบเสนอราคาด้วย ถ้าไม่ถึงแสนก็ง่าย ถ้าเกินแสนก็ยาก แต่ถ้าไม่เข้าใจต้องถามหัวหน้าฝ่ายบริหารนะคะเค้าจะอธิบายได้ง่ายกว่านะคะ

สำหรับแบบฟอร์มเยี่ยมบ้านมันไม่ใช่รูปแบบตายตัว ประยุกต์เอาได้ค่ะ ขอให้มีลำดับที่ ชื่อ-สกุล ประเภทความพิการ ที่อยู่ วันที่ให้บริการ ลายเซ็นผู้พิการ/ญาติ ซึ่งสำคัญมาก และก็ลายเซ็นทีมเยี่ยมบ้าน ทำง่ายๆๆค่ะแค่ทำตาราง แล้วเวลาออกเยี่ยมก็บันทึกได้เลย อาจจะทำเป็นแฟ้มหรือทำเป็นสมุดเลยก็ได้ค่ะ หน้าปกก็ใส่สัญลักษณ์โรงพยาบาล สัญลักษณ์ สปสช. ชื่อโรงพยาบาล วันนี้ต้องไปสรุปผลการดำเนินงานผู้พิการตาม KPI ที่ 3.4.2 การฟื้นฟูผู้พิการ และเตรียมแผนงานเพื่อให้ถึงเป้าหมาย และที่ควรให้ความสำคัญคือแผนการเยี่ยมบ้านซึ่งแต่ละคนได้จัดทำกันหรือยังคะ

เรียน อาจารย์ที่เคารพ

กระผมรบกวนอาจารย์ขอแบบฟอร์มการเยี่ยมผุ้พิการ และคำแนะนำในการคีย์เบิก 150 ต่อ case และที่เป็นค่าตอบแทน PT ชั่วโมงละ 80 ครับ เนื่องจากจะนำไปเสนอ ผอ ครับ รบกวนอีกนิดนะครับ คือตอนนี้ต้องการรายละเอียดเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ต้องใช้ในโรงพยาบาลชุมชน ขอด้วยนะครับอาจารย์

ด้วยความเคารพอย่างสูง

สมศักดิ์ งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนเนียง จังหวัดสงขลา

[email protected]

และก็การไปเป็นวิทยากรก็พูดตามที่เราเรียนค่ะ เหมือนที่อาจารย์สอนเราเลย แต่ต้องให้เค้าเข้าใจได้ง่าย พยายามให้เค้าสามารถไปประยุกต์ได้เอง ประยุกต์อุปกรณ์ที่มีอยู่ที่บ้าน ยิ่งเป็นผู้ป่วยที่จะไปฟื้นฟูยิ่งง่าย เบื้องต้นก็ Passive General exercise การฝึก ADL การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ถูกต้อง แต่ต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายของผู้ป่วยที่ไปพักฟื้นที่บ้านคือกลุ่มใหนผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้พิการ หรือใคร วันนี้ขอแวะมาทักทายแค่นี้ก่อนนะคะ

สำหรับการอบรมการออกกำลังกายให้กับผู้ป่วยหรือญาติ หรือ อสม. ไม่ควรสอนให้เขาทำหลายท่ามากเกินไป เพราะเขาจะทำไม่ได้ จำไม่ได้ ทำไม่ถูกต้อง สอนไม่เกิน

จากประสบการณ์ของคุณสมคิด จากรพ.กุฉินารายณ์ เขาอบรมผูดูแลผู้พิการ 2 อย่าง คือ สอนจัดท่า 3 ท่า กับสอนออกกำลังกาย 5 ท่า

การจัดท่า สอนเฉพาะ ท่านอนหงาย นอนตะแคง และท่านั่ง

การออกกำลังกาย คือ ท่ายืด TA Tendon, ท่า flex hip flex knee, ท่า shoulder flexion/ abduction, ท่า hand exercise และ ท่า bridging

แค่นี้ก็สะเทือนไปทั้งจังหวัด ทำให้ผู้ดูแล อสม.เขาช่วยผู้ป่วยได้เยอะเลย ไม่สงวนลิขสิทธิ์นะคะ

ปนดา

เรียน PT นาจะหลวย

รบกวนขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้าน ไฟล์แบบประเมินความพิการ

และรบกวนปรึกษาเรื่องการเบิกจ่ายเงิน และตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

..ทั้งหมดเลยน่ะค่ะ

^^

หากพี่พอจะมีเวลา

รบกวนกรุณาติดต่อน้องทางเมลด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

e-mail: [email protected]

ชื่นชมมากครับ เยี่ยมจริงๆ..

สวัสดีค่ะ หนูเพิ่งได้งานที่โรงพยาบาลชุมชนค่ะ ซึ่งต้องเปิดแผนกกายภาพบำบัด ขอรบกวนอาจารย์ปนัดดา และเพื่อนๆช่วยแนะนำแบบฟอร์มการเปิดแผนก และแบบฟอร์มต่างๆที่ต้องใช้ในการเปิดแผนกใหม่ด้วยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

[email protected]

เรียน รศ.ปนดา เตชทรัพย์อมร หนูชื่อขวัญนภา เป็นนักกายภาพอยู่โรงพยาบาลชุมชนในจังหวัดร้อยเอ็ด จบจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช บ้านอยู่สงขลาแต่มาทำงานที่ร้อยเอ็ด เคยทำงานอยู่รพ.พระราม2 แต่อยากทำงานรพ.ชุมชนเลยมาที่นี้ ตอนนี้ทำงานได้เกือบ2 เดือนแล้ว แต่ยังไม่มีอุปกรณ์ใดๆเลย มีแต่ผู้ป่วย เขียนโครงการของบจัดแผนกก็ไม่ได้สักที ผู้ป่วยมาก็ไม้รู้จะรักษายังไง ขออะไรก็ไม่ได้ตอนนี้เริ่มท้อแล้วไม่รู้จะทำไงดี รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยนะคะเผื่อมีช่องทาง จะได้ให้บริการทางกายภาพแก่ประชาชนได้ทั่วถึง อยากรักษาแต่ไม่มีอะไรให้ การทำงานเลยลำบาก มากๆ

หนูได้รับแบบเปิดแผนกแล้วค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์มากๆค่ะ

สวัสดีค่ะ อาจารย์ปนดา หนูอยากได้สเป็กเครื่อง US และบริษัทที่น่าเชื่อถือค่ะ และยังมี พวกแผนยุทธศาสตร์ KPI

แวะมาเยี่ยมน่ะค่ะ

ตอนนี้งานก็ยังเรื่อยๆ แต่ก็ยังพอมีแรงสู้อยู่นะคะ

ทำอย่างไรให้งานเรามีความสำคัญ

แล้วทำให้เขาสนับสนุนเรา

ช่วยเป็นกำลังใจให้ด้วยนะคะ ทุกท่าน

อยากให้ add รูปภาพได้จัง

เผื่อใครมีรูปน่าสนใจ อยากแลกเปลี่ยนกัน เช่น case ที่น่าสนใจ (แต่คงต้องทำเบลอตรงหน้า) เพื่อรักษาสิทธิผู้ป่วย

หรือใครมีนวัตกรรมอะไร จะได้ลงให้ดูเป็นตัวอย่างค่ะ

เรียนอาจารย์ ปนดา และ พี่ ๆ เพื่อน ๆ นักกายภาพบำบัดทุกท่าน

ตอนนี้กำลังจะออกเยี่ยมผู้พิการที่บ้าน แต่ยังไม่มีแนวทางในการทำแผนการออกเยี่ยมบ้าน และ แบบฟอร์มบันทึกการออกเยี่ยมบ้านนะค่ะ ถ้าอาจารย์หรือนักกายภาพฯ ท่านไหนดำเนินการเรื่องนี้แล้วรบกวนส่งไฟล์เอกสารให้หน่อยนะคะ ขอบคุณ มาก ๆ เลยค่ะ เมล์ นะคะ [email protected]

กายภาพบำบัดชุมชนทุกคนสู้ๆๆนะค่ะ เป็นกำลังใจให้

ตอบ #479

น้องขวัญนภาอยู่ รพช.ไหนของร้อยเอ็ดคะ อยู่ใน สปสช. เขต 7 "ร้อยแก่นมหากาฬ" ด้วยกันไม่น่าโดดเดี่ยวขนาดนี้เลย ลอง approch PT รพช.ข้างเคียงสิคะ หรือไม่ก็ลองคุยกับพี่อัญชลี (ตั๊ก) รพ.โกสุมพิสัย มหาสารคาม จะได้คำแนะนำดี ๆ แน่ค่ะ ทาง [email protected] หรือ 08-7226-9889 บอกว่าพี่แนะนำให้ติดต่อมาหา

ขอเถอะค่ะน้อง ๆ ทั้งหลาย ช่วยบอกที่ทำงานกันหน่อยได้ไหมคะว่า post message นี่

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเป็นนักกายภาพทำงานอยู่โรงพยาบาลพะโต๊ะ จ.ชุมพรค่ะ ทำงานได้เกือบสองเดือนแล้ว ลุยกับงานชุมชนอย่างเดียวเลยค่ะ พอดีว่าผอ.ต้องการให้เขียนรายการเพื่อสั่งซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด หนูจึงอยากทราบเรื่องของยี่ห้อและราคาค่ะ อาจารย์พอมีให้หนูบ้างไหมค่ะ ถ้าอาจารย์พอจะมีรบกวนส่งให่หนูหน่อยนะคะ [email protected]

และอีกเรื่องนึงค่ะหนูอยากได้ตัวอย่าง service profile , KPI แผนยุทธศาสตร์ของการบริหารแบบบูรณาการเพื่อรองรับการประเมินรายบุคคลปี 53 ผังกำกับงาน การจัดการความเสี่ยงในหน่วยงาน ค่ะถ้าอาจารย์หรือพี่ๆเพื่อนๆคนไหนพอจะมีช่วยรบกวนส่งให้หนูหน่อยนะค่ะ ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

ตอบน้องขัวญนภา

การเป็นนักกายภาพบำบัดชุมชนอาจจะยากตอนเริ่มต้น เพราะยังไม่ค่อยมีคนรู้จักบทบาทของนักกายภาพบำบัดว่าสามารถทำอะไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นงานด้านรักษา ฟื้นฟู หรืองานส่งเสริมป้องกัน มีพี่กภ.ชุมชนหลายคนที่ปัจจุบันประสบความสำเร็จเล่าว่า ถ้าไม่มีคนไข้ส่งมาปรึกษาที่แผนก ก็ต้องไปหาคนไข้ใน ward ว่าพอจะมี case ไหนที่เราพอจะคุยกับพยาบาลและหมอว่าเราช่วย ... ได้นะ บางทีแพทย์ยังไม่ทราบด้วยซ้ำว่าจะเขียนใบ consult เราอย่างไร ถ้ายังไม่มีคนไข้ที่ ward ให้ทำ ก็อาจไปขอพยาบาลทำ group exercise ใน ward ก็ได้ ขณะเดียวกันก็พยายาม set ระบบงานของเรา ลองสังเกตดูรอบๆตัวเราว่าเราพอจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อให้คนอื่นเขารู้จักบทบาทของเรา งานบางอย่างเราควรทำเป็นโครงการด้วยนะคะ เช่น ถ้าเราจะจัดอบรมเวรเปล เกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ก็ควรทำเป็นโครงการ ถ้าเขาเห็นว่าเรามีความมุ่งมั่น และเริ่มเห็นความสำคัญของเรา คิดว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้น คือเขาจะส่งคนไข้มาให้เรามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นที่ ward หรือที่แผนก อย่าเพิ่งไปเรียกร้องเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือ เรามีความรู้ทาง manual skills, exercise therapy, และอื่นๆ อีกมากที่ไม่ต้องใช้เครื่องมือราคาแพงๆ เราควรที่จะประยุกต์ใช้สิ่งที่หาได้ง่ายๆ ในชุมชนมากกว่าด้วยซ้ำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนไข้ cervical spondylosis with radiculopathy ซึ่งการรักษานอกจาก exercises แล้ว น้องอาจคิดถึงเครื่องดึงคอ พอในแผนกเราไม่มีก็เราคิดว่าทำไม่ได้ แต่ถ้าเราประยุกต์ใช้สิ่งที่หาได้ในบริเวณรพ. หรือในชุมชน เราก็สามารถดึงคอคนไข้รายดังกล่าว ได้ด้วยผ้าขนหนูผืนหนึ่งกับเชือกเส้นหนึ่งก็ย่อมได้ เช่น การใช้ Autotraction หรือถ้าเราจะทำ static traction ที่รพ. ก็อาจทำ หารอกมาอีกสักตัว ตามร้านขายก่อสร้างก็มี ใช้ผ้าเย็บเป็นผ้าดึงคอตามเลียนแบบของจริง ใช้ถุงทรายหรือถุงใส่น้ำถ่วงก็ได้ อะไรทำนองนี้ ที่สำคัญคือเราต้องสอนผู้ป่วยให้สามารถกลับไปทำที่บ้านได้ด้วย ให้ความรู้กับผู้ป่วยมากๆ ถ้าเราทำผู้ป่วยได้ผลโดยไม่ต้องใช้เครื่องมือ มีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น เราจะมีผลงานไปขอเครื่องมือหรือนักกายภาพบำบัดเพิ่ม ก็คงไม่น่าจะมีปัญหานะคะ

ปนดา

เรียนกภ.ชุมชนทุกท่าน

อยากแนะนำว่า blog ของอาจารย์ยังมี blog คลินิกปวดหลังปวดคอ ด้วยนะคะเขียนไว้เพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนทั่วไป และให้คำปรึกษาฟรีค่ะ ลองเข้าไปเยี่ยม อ่านเล่นๆ ก็ได้นะคะ เผื่อเป็นประโยชน์สำหรับไว้สอนผู้ป่วยค่ะ เพราะส่วนใหญ่อาจารย์จะสอนประชาชนที่เข้ามาปรึกษาให้เขาสามารถนำไปปฏิบัติตัว ดูแลตนเองได้มากกว่า

วิธีเข้าก็ง่ายมากนะคะ ไปคลิกที่คำว่า บล็อก อยู่ในเมนูด้านบนนะคะ พอคลิ๊กเข้าไปแล้ว จะเห็นว่ามีคลินิกปวดหลังปวดคออยู่ก็คลิกเข้าไปเลือก่อานได้ค่ะ

ปนดา

ส่งงานไปให้หลายๆคนไม่รู้ว่าจะเป็นประโยชน์ได้บ้างหรือป่าว จริงๆแล้ว การเริ่มต้นก็คล้ายๆกันหมดน่ะค่ะ อยู่คนเดียวก่อน สำคัญคือก็ต้องใจเย็นๆด้วย ตอนนี้ก็หนึ่งปีเต็มกับการบุกเบิกงานคิดว่าก็ลุล่วงไปได้ประมาณ80%ของที่หวังไว้ แล้วถือว่าตอนนี้ก็รู้สึกยินดีกับการตั้งใจบุกเบิกงานและทำให้คนที่นี่รู้จักงานเราเพิ่มขึ้น ห้อง+เครื่องมือ+ผู้ช่วยกับหนึ่งปีที่ผ่านมาคิดว่าสำเร็จไปได้ระดับนึงค่ะ แรกๆก็ใจร้อนเหมือนคนอื่นๆ ทำงานไปอะไรก็ไม่พร้อม ก็ทำอะไรไปเท่าที่ทำได้ไปก่อนค่ะ เริ่มจากติดลบจริงๆ แต่ว่าเข้าประมาณเดือนที่ 7-เดือนที่ 9 ความฝันก็เริ่มเป็นจริงขึ้นมา

น้องชฎารัตน์ พี่ส่งรายการเครื่องมือกายภาพให้แล้วคับ

รบกวนอาจารย์ช่วยส่งแบบฟอร์มการเขียนขอเปิดแผนกกายภายบำบัดโรงพยาบาลชุมชน และตัวอย่างด้วยนะคะ ขอบคุณนะคะ

รบกวนส่งมาที่ e-mail [email protected] ขอขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้าเลยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

เรียน รศ.ปนดา หนูเพิ่งมาทำงานกายภาพบำบัดในชุมชน ต้องเปิดแผนกใหม่

ยังไม่มีความรู้ในการเปิดแผนกและการเขียนโครงการออกชุมชน

ไม่ทราบว่าการเปิดแผนกต้องมีข้อมูลใดบ้าง...และการทำงานร่วมกับสหวิชาชีพ

อื่นในรพ.ต้องมีแบบฟอร์มใดหรือไม่

รบกวนอาจารย์...... เพื่อนๆ.....พี่ๆ...ช่วยแนะนำเพื่อเป็นประโยชน์ในการการทำงาน

mail:[email protected]

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ เวปเราน่าจะทำเป็นหัวข้อคุยกันแต่ละกระทู้น่าจะดีนะค่ะ เพราะหัวข้อที่คุยกันมันข้ามไปมาแล้วแต่คนจะเข้ามาคุย

ยังไงรบกวนพี่ master ช่วยปรับปรุงให้ท่าจะดี

--อีกเรื่องคือ มีน้องที่ใช้ชื้อ "เด็กน้อย" ถามมาเกี่ยวกับรับ PT ภาคเหนือ ขอแก้ไขนิดนึงว่า ร.พ.ท่าปลามี PT แล้วค่ะ เป็นน้อง มน. นี้เอง ส่วนที่ ร.พ.ฟากท่า ยังต้องการอยู่ แต่อีก 2 เดือนนะพี่โทรไปถามมาเขายังไม่ได้ประกาศ ถ้าน้องสนใจก้อลองติดต่อ 055 489-339 ต่อ 115 แต่ขอบอกว่าไกลจากตัวเมืองมาก----ลักษณะงานจะเน้นลงชุมชนนะ

-----อ.ปนดาค่ะ หนูเข้าไปดูเวบ มน. อยากให้พี่ที่คณะส่งหนังสือ งานวันสถาปนาคณะ รบกวนส่งมา ร.พ.ให้ด้วยค่ะ สนใจอยากไปร่วมงาน

----- งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลพิชัย อ.พิชัย จ.อต 53120 หรือ [email protected] ขอบคุณค่ะ

เรียนทุกท่าน

วันที่ 31 พ.ค.นี้ เป็นวันงดสูบบุหรี่โรค มีใครอยากได้ เอกสาร CD เกี่ยวกับ การเลิกบุหรี่ เพื่อไปจัดกิจกรรมบ้าง แจ้งความจำนงค์มาได้ อาจารย์มี Kit ความรู้สำหรับนักกายภาพบำบัด จะจัดส่งไปให้ มีกระเป๋าสวย ๆ แจกด้วย รีบแจ้งความจำนงค์มาด่วนนะคะ เราอาจจัดกิจกรรมหรือนิทรรศการก่อนหรือหลังวันงดสูบบุหรี่โลก 1 สัปดาห์ได้ คิดว่าน่าจะยังทัน ส่วนคนที่ขอเอกสารมาเกี่ยวกับการเปิดแผนกก็จะจัดส่งให้นะคะ soon

 ปนดา

สนใจเอกสาร cd เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ค่ะ รบกวนอาจารย์ส่งมาที่ E-mail. [email protected] หรือ ที่ทำงาน โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ แผนกกายภาพบำบัด ต.พลูตาหลวง อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี 20180 ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ปนดา

หนูสนใจเอกสาร CD เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่คะ รบกวนอาจารย์ส่งมาที่ e-mail:[email protected] ที่อยู่คือ ศูนย์แพทย์ชุมชนเทศบาลตำบลลำนารายณ์ หมู่ 6 ต.ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี 15130

อาจารย์พอจะมีข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดแผนกใหม่ไหมคะ หากมีหนูขอด้วยได้ไหมคะ ส่งมาตามที่อยู่ด้านบนคะ

ขอบคุณอาจารย์มากๆๆคะ

อาจารย์ครับบรบกวนส่งมาให้ผมด้วยนะครับ

นิรันดร์ พุกยอด

รพ.วชิรบารมี อ.วชิรบารมี จ.พิจิตร 66140ครับบบบ

มีอารายใหม่ๆๆรบกวนอาจารย์ส่งให้ผมด้วยนะคราฟฟ

รักและเคารพอาจารย์เสมออ

สวัสดีค่ะอาจารย์ เป็นครั้งแระที่หนูมีโอกาศเข้ามาในblog นี้ค่ะ หนูจบมา2-3ปีแล้วแต่ทำงานที่คลินิคกายภาพ และ รพ.เอกชนตลอดมา ตอนนี้หนูเริ่มสนใจอยากทำงานชุมชนค่ะ(เป็นความหวังเล็กๆตอนเป็น นศ.ฝึกงาน) เลยไปสมัครในรพ.ชุมชนมา ทางรพ.ต้องการหานักกายภาพที่ออกชุมชนค่ะ ก็เลยอยากปรึกษาอาจารย์น่ะคะว่าการหนูควรเริ่มต้นจากตรงไหนดี (มึนๆค่ะ) แล้วอาจารย์หรือพี่ๆพอมีขอมูลหรือเอกสารให้หนูศึกษาบ้างไหมคะ แอบดีใจเล็กๆที่ยังมี blog ดีๆแบบนี้ให้หนูได้มีที่ปรึกษาบ้างค่ะ ถ้าอาจารย์หรือพี่ๆมีข้อแนะนำหรือมีเอกสารให้หนูศึกษาก็รบกวนด้วยนะคะที่ [email protected]

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ~

หวังให้ชุมชนไทยเข้มแข็งขึ้นค่ะ

จัดกิจกรรมเลิกบุหรี่คับ แต่ส่งเมลไปให้อาจารย์แล้ว ไม่รู้ได้ที่อยู่หรือยัง ขอบอกอีกครั้งนะคับ เพื่อความแน่นอน

ทวีพล แสนภักดี

โรงพยาบาลท่าศาลา

ต.ท่าศาลา

อ.ท่าศาลา

จ.นครศรีธรรมราช

80160

ทวีพล อาจารย์ส่ง EMS ไปตั้งแต่วันพฤหัสแล้ว คิดว่าน่าจะถึงแล้ว แต่ไม่ทราบว่าเอกสารที่ส่งไปจะช่วยอะไรคุณได้หรือไม่

ปนดา

สวัสดีค่ะอาจารย์

ขอบคุณนะคะสำหรับข้อมูลทุกๆอย่างที่อาจารย์ส่งมาให้คะ หนูอยากทราบว่าอาจารย์จะมีอบรมเกี่ยวกับการทำงานเกี่ยวกับกายภาพบำบัดชุมชนบ้างไหมคะ หนูเพิ่งมาทำงานที่ศูนย์แพทย์ชุมชนค่ะ ซึ่งที่นี่เน้นให้ทำกายภาพบำบัดในชุมชน หนูเลยอยากมีความรู้เยอะๆ จาได้ทำงานได้ตรงจุดแล้วประสบผลสำเร็จกับคนในชุมชน แล้วตอนนี้หนูอยากทำนวัฒกรรม(ศูนย์แพทย์เค้าอยากให้ทำคะ) ทำอะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับคนพิการในชุมชน หนูคิดไม่ออกเลยคะอาจารย์ พยายามมองหาปัญหาจากการรักษาแต่ก็คิดอะไรไม่ออก ไม่รู้เหมือนกันคะว่าเป็นเพราะอะไร พี่ๆพยาบาลบอกว่าไม่อยากให้ทำงานลงชุมชนไปวันๆมันไม่ค่อยน่าสนใจเลยอยากให้หนูคิดทำไรสักอย่างที่น่าสนใจ....หนูคิดทีไรปวดหัวทุกทีเลยคะ เพราะหนูทำงานมาก็เข้าเดือนที่ 2 แล้ว แต่ดูเหมือนว่างานจะเดิมๆ ออกชุมชน เยี่ยมคนไข้ ทำกายภาพในชุมชน ฯลฯ ประมาณนี้คะ หนูก็เลยอยากปรึกษาอาจารย์จังคะ อยากทำงานของเราให้เต็มที่ ออกมาให้สมศักดิ์ศรีกับที่เราเรียนมา อยากให้คนอื่นรู้ว่าเรามีศักยภาพคะ

รักและเคารพอาจารย์เสมอคะ

รัตติกาล ศรีชุมพล

ศูนย์แพทย์ชุมชนเทศบาลตำบลลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี

ตอบกภ.รัตติกาล

สำหรับการอบรมกายภาพบำบัดชุมชน ถ้ามีจะแจ้งให้ทราบนะคะ เพราะจริงๆแล้วเพิ่งจะจัดไปเมื่อวันที่ 26-28 เมษายน ที่ผ่านมา แต่ก็ไม่เป็นไรค่ะ เราก็ยังสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้ทาง blog นี้ เรื่องการทำงานกายภาพบำบัดชุมชน หนูก็มาถูกทิศทางแล้วที่เราไปทำงานในชุมชน แต่หนูก็เพิ่งทำได้แค่ 2 เดือนเอง พยายามวางระบบงาน และทำความรู้จักกับชุมชนให้มากๆ ถ้าคิดอะไรไม่ออกก็หาหนังสืออ่าน เช่น วิถีชุมชน ของคุณหมอโกมาตร หาซื้อได้ไม่ยาก บางทีห้องสมดรพ.หรือศูนย์ก็อาจจะมี

เข้าใจว่าทางศูนย์ฯ เขาก็อยากใหหนูมีการพัฒนางานไปใช้ในชุมชนเลยกระตุ้นให้สร้างนวัตกรรม นวัตกรรมก็ต้องทำขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชน เราจะทราบปัญหาของชุมชนเราก็ต้องเข้าไปศึกษาพูดคุยกับผู้ป่วยหรือญาติ หรือชาวบ้าน และที่สำคัญเราต้องลงมือทำด้วย ถ้าเบื่อทำงานฟื้นฟูก็แบ่งไปทำงานในบทบาทอื่นบ้าง แบ่งเวลาดีๆ อย่าลืมว่าบทบาทเราทำได้ทั้งงานส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู ยกตัวอย่างนวัตกรรมการออกกำลังกายชิ้นหนึ่งคือ ฮูลาฮูป ที่ทำจากสายยางแข็งๆทำเป็นวงแล้วเอามาให้ชาวบ้านออกกำลังกาย ก็เป็นนวัตกรรมงานส่งเสริมสุขภาพที่ได้ถกเผยแพร่ไปทั่ว

เราต้องหมั่นเป็นคนช่างสังเกต และเรียนรู้ถึงสภาพความเป็นจริงของชาวบ้านด้วย ว่าเขามีปัญหาอะไร เขาแก้ปัญหาของเขาอย่างไร ทำไมเขาจึงตัดสินใจทำเช่นนั้น และถ้าเราจะประยุกต์ความรู้ของเราในการช่วยแก้ปัญหาให้เขามันจะทำให้เขาแก้ปัญหาได้ดีขึ้นหรือไม่ มันจะไปขัดแย้งกับวัฒนธรรมความเป็นอยู่อะไรของเขาหรือไม่ อะไรทำนองนี้ ซึ่งเราต้องไวกับสิ่งเหล่านี้นะคะ ไม่อย่างนั้นชาวบ้านเขาไม่ร่วมด้วย ก็จะไม่ได้ผล

อาจารย์คงมีข้อแนะนำแค่นี้ก่อนนะคะ แล้วค่อยคุยกันใหม่ค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.ปนดา

ขอบคุณอาจารย์ที่กรุณาส่งข้อมูลที่มีปประโยชน์มาให้ค่ะ

ถ้าอาจารย์หรือพี่ๆๆเพื่อนๆๆมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับการเปิดแผนกกายภาพบำบัด......ช่วยแนะนำหรือส่งข้อมูลมาให้ด้วยน่ะค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าน่ะค่ะ

ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ ข้อมูลที่ได้เป็นประโยชน์กับหนูมากและขออนุญาติอาจารย์นำข้อมูลที่ได้ไป

แผยแพร่ให้กับเพื่อนๆที่ต้องการนะคะ

ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

ปราณี

อาจารย์ปนดาคะ

อยากสอบถามเรื่อง งบของสปสช.ค่ะ คือว่าไปสมัครงานที่ร.พ.ชุมชนค่ะ แล้วทางโรงพยาบาลเขาบอกว่า จะจ้างก็ต่อเมื่อมีงบของสปสช.อ่ะค่ะ แต่ถ้าเป็นงบของโรงพยาบาลไม่มีให้ คือว่าเคยไปลงทะเบียนตลาดนัดแรงงานกายภาพค่ะ พี่กายภาพเขาก็เลยสงสัยว่า ตอนนี้สปสช.ยังsupportเรื่องงบประมาณอยู่รึเปล่าคะ คือถ้ายังsupportทางโรงพยาบาลจะพิจารณาค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยตอบหน่อยนะคะ

ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

เรียนคุณอิสรยา วัตถุสิน

สปสช.ยังสนับสนุนให้งบรพ.ชุมชนอยู่ค่ะ โดยทางรพ.ต้องทำโครงการส่งไปของบ ติดต่อสปสช.เขตจะทราบดี เป็นงบฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อภาะวะ disability และผู้ป่วยเรื้อรัง รายละเอียดลองเข้าไปที่เวปไซด์ของสปสช.ได้ค่ะ หรือติดต่อกับสปสชเขตได้เลยค่ะ งบที่ให้มากพอจ้างนักกายภาพบำบัดแน่นอนค่ะ ยังเหลือไปโครงการอื่นด้วย (2-3 แสนบาท)

ปนดา

ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆค่ะ

ได้รับแล้วคับอาจารย์ ขอบคุณคับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ...ได้รับเอกสารที่อาจารย์ส่งมาให้แล้ว

ขอบคุณอาจารย์ที่เป็นที่ปรึกษางานกายภาพชุมชนครับ เป็นกำลังใจให้ทุกคนเช่นกัน

อาจารย์ดูแลสุขภาพด้วยนะครับ รักและเคารพอาจารย์เสมอ งานครบรอบ 14 ปี คณะคงได้เจออาจารย์นะครับบ

เรียนอาจารย์ ปนดา และ พี่ ๆ เพื่อน ๆ นักกายภาพบำบัดทุกท่าน

ตอนนี้กำลังจะออกเยี่ยมผู้พิการที่บ้าน และกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ แต่ยังไม่มีแนวทางในการทำแผนการออกเยี่ยมบ้าน และ แบบฟอร์มบันทึกการออกเยี่ยมบ้านนะค่ะ ถ้าอาจารย์หรือนักกายภาพฯ ท่านไหนดำเนินการเรื่องนี้แล้วรบกวนส่งไฟล์เอกสารให้หน่อยนะคะ ขอบคุณ มาก ๆ เลยค่ะ เมล์ นะคะ [email protected]

เรียน อาจารย์ปนดา

หนูชื่อ อนุสรา(ออมสิน) กายภาพบำบัด ม.นเรศวร รุ่นที่ 5 นะคะ ไม่ทราบว่าอาจารย์จำได้หรือเปล่า^^

ตอนนี้ หนูทำงานที่ รพ.ศรีเพท จ.เพชรบูรณ์ค่ะ

งานที่ได้ ก็เป็นผลจากงานตลาดนัดแรงงานที่จัดที่ มช. ที่ผ่านมาค่ะ เป็นประโยชน์มากๆเลยค่ะ

ตอนนี้ งานของหนูเป็นงานเปิดแผนก(มี PT มาเปิดแผนก 2 คน ค่ะ)

จึงขอความอนุเคราะห์อาจารย์ ขอเอกสาร หรือ เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัดในชุมชนด้วยนะคะ

และ หนูได้กำเนินการทำ กลุ่มออกกำลังกายใน asthma and COPD ค่ะ จึงอยากได้เอกสาร CD ไปจัดกิจกรรมค่ะ

อนุสรา อินทร์โฉม

แผนกกายภาพบำบัด รพ.ศรีเทพ

อ.ศรีเทพ จ. เพชรบูรณ์ 67170

[email protected]

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูสนใจเอกสาร CD เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่คะ รบกวนอาจารย์ส่งมาที่ e-mail:[email protected]

ที่อยู่หนูนะค่ะคือ โรงพยาบาลพะโต๊ะ 138 หมู่ 8 ต.พะโต๊ะ อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร 86180

ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะค่ะ

เรียนทุกท่าน

เรื่อง CD KIt ความรู้สำหรับนักกายภาพบำบัดเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบยังมีนะคะ และยังมี CGP หรือ Clinical practice guideline สำหรับการทำงานเรื่องการเลิกบุหรี่สำหรับนักกายภาพบำบัดด้วย ใครอยากได้ขอมาได้ตลอดนะคะ กรุณาแจ้งที่อยู่ที่จะให้ส่งไปให้ชัดเจนด้วยนะคะ อาจารย์ไม่สามารถส่งให้ทาง e-mail ค่ะ แต่จะส่งไปรณีย์ให้ มีกระเป๋าใส่เอกสารสำหรับการเริ่มงานด้านการเลิกบุหรี่แจกให้ด้วยนะคะ วันที่ 31 พ.ค.เป็นวันเลิกสูบบุหรี่โลก เรามารณรงค์เพื่อการเลิกบุหรี่กันดีไหมคะ ฟังจากข่าวทีวีปัจจุบันวัยรุ่นเพศหญิงเป็นกลุ่มเสี่ยงสูงมากสำหรับการสูบบุหรี่หน้าใหม่ เราคงต้องช่วยกันรณรงค์เพื่อป้องกันวัยรุ่นของเรากันให้มากๆนะคะ

สำหรับผู้ที่ให้ที่อยู่มาแล้วนั้น จะพยายามจัดส่งไปให้ท่านให้เร็วที่สุดนะคะ

ปนดา

เรียน อาจารย์ปนดา

กภ.นัยนา หมันเทศ รบกวนส่งให้ด้วยค่ะ CD KIt

ที่อยู่ 543 หมู่ที่ 3 ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง 93130

ขอบคุณค่ะ

สำหรับน้องที่ต้องการทราบข้อมูลความต้องการ PT ของ รพช. ภาคตะวันออกค่ะ

ยังไม่มีนักกายภาพบำบัด และต้องการจ้าง

บ้านค่าย ระยอง 038-641005

แหลมสิงห์ จันทบุรี 035-363760-3

ขลุง จันทบุรี 039-441644

ท่าตะเกียบ ฉะเชิงเทรา 081-9185879

เกาะช้าง ตราด 081-6525852

พระประแดง สมุทรปราการ 02-4643002-3 (อยู่อำเภอบางจาก)

วังน้ำเย็น สระแก้ว 037-251108-9

ตาพระยา สระแก้ว 037-269009 ต่อ 101

มีนักกายภาพบำบัดแล้ว แต่ต้องการจ้างเพิ่ม

บ้านฉาง ระยอง 038-603838

สอยดาว จันทบุรี 039-381376-7

นายายอาม จันทบุรี 039-358266

โป่งน้ำร้อน จันทบุรี -

ท่าใหม่ จันทบุรี 086-3386651

สนามชัยเขต ฉะเชิงเทรา 038-597129

บางปะกง ฉะเชิงเทรา 038-531286

บางน้ำเปรี้ยว ฉะเชิงเทรา 038-581285

บางละมุง ชลบุรี 081-9405215

พานทอง ชลบุรี 038-932500-2

บ่อไร่ ตราด -

บางพลี สมุทรปราการ 02-3122992-3

สนใจเอกสาร cd เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ครับ รบกวนอาจารย์ส่งมาที่ที่ทำงาน งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลโพนทราย ต.โพนทราย อ.โพนทราย จ.ร้อยเอ็ด 45240 ขอบคุณอาจารย์มากนะครับ

พอดี ที่ รพ. เขาอยาก ให้ งานกายภาพ ทำ R2R ค่ะ

1. อ. พอมีแนวทางไหมคะ ว่า มีหัวข้อ อะไรบ้างค่ะ ที่ต้องเขียนอ่ะค่ะ

2. อยากทราบ วิธีการวัด flexibility ของ spine ค่ะ ไม่แน่ใจ ว่า ต้อง วัด จากไหน ไปไหนค่ะ แล้ว ตอนที่มีการก้ม ต้องวัดซ้ำ กี่ครั้งคะ

กายภาพ บางแพ ค่ะ

ถ้าใคร ทราบ รบกวน ขอความรู้ ในการทำ R2R ด้วย นะคะ

กภ.สมศักดิ์ บุญขวัญ

เรียน อาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

กระผมขอบพระคุณอาจารย์มากเลยนะครับที่อาจารย์ส่งไฟล์งานมาให้ทางE-mail ครับ และตอนนี้ก็มีเรื่องรบกวนอาจารย์อีกครับ เรื่อง CD KIt ความรู้สำหรับนักกายภาพบำบัดเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบยังมีนะคะ และยังมี CGP หรือ Clinical practice guideline สำหรับการทำงานเรื่องการเลิกบุหรี่สำหรับนักกายภาพบำบัดด้วย กระผมสนใจมากเลยครับ ที่อยู่นะครับ กภ.สมศักดิ์ บุญขวัญ 20/2 หมู่ที่ 4 ตำบลบางกล่ำ อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา 90110 (งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนเนียง) ต้องใช้ที่อยู่ที่บ้านครับ เนื่องจากทางโรงพยาบาลยังไม่มีล็อกเกอร์จดหมายของกายภาพบำบัดครับ ขอขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าครับ

เรียน ท่านอาจารย์ปนดา

หนูอยากทราบว่า รพ.ทางภาคเหนือไม่มีเปิดรับนักกายภาพบำบัดบ้างหรอค่ะ แล้วงบประมาณของ สปสช. จะมาเมื่อไหร่ค่ะ

คือหนูอยากทำงานใกล้บ้านค่ะ ที่สำรวจมามีที่โรงพยาบาลท่าปลา แต่ตอนนี้ที่โรงพยาบาลยังไม่รับค่ะ น่าจะรองบประมาณ

ขอบคุณค่ะ

เรียนอาจารย์

สวัสดีคะหนูเพิ่งจบคะ พอดีได้งานทำที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง พอดีหนูอยากได้ตัวอย่างการเขียนแผนงานเปิดแผนก และเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องคะ ตอนนี้หนูเพิ่งเริ่มทำงานแล้วยังไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันในรพ.เลยคะ หนูเลยอยากรบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

อีเมลล์ [email protected]

เรียน อาจารย์

หนูได้ทำงานที่ รพช. ตะโหมด จังหวัดพัทลุง ต้องเปิดแผนกใหม่ ตอนนี้ โดยทั่วไปแล้ว บุคลากรในทีม สหวิชาชีพอื่น ไม่ค่อยทราบบทบาท หน้าที่ของนักกายภาพ บำบัดเท่าที่ควร และตัวหนูเองก็ไม่ทราบว่าควรเริ่มต้นตรงไหนก่อนดี

รบกวนขอคำแนะนำจากอาจารย์ และขอเอกสารมาเกี่ยวกับการเปิดแผนก เช่น เรื่องเครื่องมือกายภาพที่เหมาะสมกับ รพช. หรือ การเขียนโครงการต่างๆ

เรื่องที่ 2 คือ หนูคิดว่าหนูได้ ค่าตอบแทนที่ไม่เหมาะสม คือ ให้ แค่ 7,940 บาท (ไม่มีใบประกอบในวันที่จ้าง) แต่ตอนนี้หนูได้ประกาศรายชื่อเป็นผู้มีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนแล้ว ทางฝ่ายบริหารบอกว่าจะปรับเป็น 10,030 เมื่อมีใบประกอบฉบับจริง หนูอยากได้ช่องทางติดต่อ สปสช. เขตสงขลา เกี่ยวกับผู้ที่รับผิดชอบในเรื่องนี้ รบกวนอาจารย์ตอบกลับด้วยนะค่ะ หรือ แจ้งข้อมูล หรือ ส่งเอกสารทาง อีเมลล์ [email protected]

ขอบพระคุณมากค่ะ

เรียนทุกท่านที่ขอ CD Kit ๕วามรู้สำหรับนักกายภาพบำบัด

วันนี้ได้ส่ง CD Kit ความรู้และ CPG สำหรับนักกายภาพบำบัดเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ ไปให้ทุกท่านแล้วนะคะ ส่งลงทะเบียนแต่ไม่ใช่ EMS คงต้องรอกันหน่อยไม่น่าเกิน 1 สัปดาห์คงถึงค่ะ

อาจารย์เป็นตัวแทนเครือข่ายกายภาพบำบัดเพื่อสังคมไทยปลอดบุหรี่ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่สนใจอยากทำงานด้านการลด ละ เลิกบุหรี่ ไม่ว่าจะเป็นกับผู้ป่วย สถานที่ทำงาน หรือบุคลในครอบครัว ก็ถือว่าเป็นประโยชน์ทั้งสิ้น เพราะการสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคร้ายหลายอย่าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานกายภาพบำบัดโดยตรง

ถ้าใครสนใจอยาก CD และ CPG ได้ก็ขอมาได้นะคะ จะจัดส่งไปให้ และมีกระเป๋าใส่เอกสารแจกให้ด้วยค่ะ

ปนดา

ตอบผู้ไม่แสดงตน post ที่ 519 การวัด flexibility ของ Spine มีวิธีวัดหลายวิธี ขึ้นอยู่กับระดับของกระดูกสันหลังด้วย เช่น ถ้าเป็น cervical spine ก็ใช้เครื่อง CROM วัดช่วงการเคลื่อนไหวได้ทุกทิศทาง ถ้าเป็น Lumbar spine ใช้สายวัดวัดช่วงการเคลื่อนไหวได้ เรียกว่า Schober'test ถ้าอยากทราบว่าวัดอย่างไร ให้เข้าไปค้นใน google โดยพิมพ์คำว่า Schober's test จะได้คำตอบชัดเจนค่ะ

ปนดา

สำหรับคำถามของคุณคัคนางค์ post ที่ 523

ที่ถามเกี่ยวกับเงินเดือน คุณควรโทรไปถามที่สสจ.จังหวัดพัทลุง ว่าควรติดต่อใครในสปสช.เขตสงขลา แต่ถ้าต้องการเบอร์โทรของสปสช.เขตสงขลาโดยตรงก็โทรถาม 1133 ได้นะคะ เพราะอาจารย์ก็ไม่ทราบแน่นอนว่าใครรับผิดชอบเรื่องนี้ในสปสช. แต่ถ้าเป็นเขตพิษณุโลกพอจะทราบค่ะ

ปนดา

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูสนใจ CD KIt ความรู้สำหรับนักกายภาพบำบัดเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบ และ CGP หรือ Clinical practice guideline สำหรับการทำงานเรื่องการเลิกบุหรี่สำหรับนักกายภาพบำบัดเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่คะ รบกวนอาจารย์ส่งมาที่ กภ.อังคณา ปาวัล 131 หมู่ 1 ต.เขาขาว อ.ละงู จ.สตูล 91110

ขอขอบพระคุณล่วงหน้านะค่ะ

เรียน อ.รศ ปนดา

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูอยากเตรียมงานก่อนเข้าทำงานค่ะ หนูกำลังจะเข้าเริ่มงานที่ รพช.ใน จ.สุราษฎร์ธานี เป็นรพช.ที่ต้องเปิดแผนกใหม่ค่ะ หนูไม่ทราบว่าควรจะเริ่มงานตรงไหนก่อนและบุคลากรในทีม สหวิชาชีพอื่น ไม่ค่อยทราบบทบาท หน้าที่ของนักกายภาพ บำบัดเท่าที่ควร รบกวนขอคำแนะนำจากอาจารย์ และขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก ตัวอย่างการเขียนแผนงานเปิดแผนก เช่น เรื่องเครื่องมือกายภาพที่เหมาะสมกับ รพช. หรือ การเขียนโครงการต่างๆ ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

ส่ง e-mail [email protected]

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ ได้รับเอกสาสรแล้วคะ จะพยายามทำงานให้ดีที่สุดคะ

เรียน ท่านอาจารย์และพี่ๆPT เรื่อง ตอนนี้มีปัญหาการเขียนโครงการขอเปิดแผนกค่ะ อยากรบกวนอาจารย์ส่งข้อมูลการเขียนโครงกาาร แบบฟอร์มการออกชุมชนเยี่ยมบ้านและแบบประเมินผู้ป่วยค่ะ ช่วยส่ง Email ; [email protected] ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียนทุกท่าน

การทำให้บุคลากรอื่นๆ รู้จักบทบาทของงงานกายภาพบำบัดทำได้หลายวิธี มีทั้งแบบเชิงรุกและเชิงรับ แบบเชิงรุกน่าจะได้ผลเร็วกว่านะคะ คือเราต้องเดินไปหางานทำเพื่อให้บุคลากรอื่นเขาทราบบทบาทของเรา การนำตัวเราเข้าไปมีส่วนร่วมกับระบบบริการผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับกายภาพบำบัดทั้งผู้ป่วยในและนอกก็สามารถทำได้ การนั่งรอผู้ป่วยในที่แผนก และให้ผู้ป่วยเป็นผู้ประชาสัมพันธ์งานให้เราแบบปากต่อปากเป็นวิธีเชิงรับที่ได้ผลช้ามาก เราต้องทำการประชาสัมพันธ์งานและบทบาทของเราด้วยวิธีเชิงรุกมากขึ้น การเขียน Service Profile เพื่อแสดงให้ผู้อื่นทราบว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างก็เป็นการปชส.ที่ดีอีกทางหนึ่ง แล้วจะส่งตัวอย่างไปให้นะคะ

ปนดา

ขอบคุณสำหรับเอกสาร และคำแนะนำคะอาจารย์

เอกสารที่อาจารย์ส่งมา ได้รับแล้วค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

ตอนนี้กำลังลงคลีนิกเรื้อรัง DM COPD รอกวนอาจารย์ชี้แนะด้วยค่ะ

หนูขอขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ หนูไดรับเอกสารที่อาจารย์ส่งมาให้แล้วค่ะ

เรียน อ.ปนดา

พอจะมีเอกสารยืนยันได้ไหมค่ะเกี่ยวกับการเบิกค่าตอบแทนนักายภาพบำบัดที่ออกปฏิบัติงานในชุมชน เพราะตอนนี้โรงพยาบาลที่หนูทำอยู่เค้าให้แค่ 150 บาทค่ะ

พี่ค่ะข้อมูลที่ 517 กายภาพชุมชนที่พี่ให้มาเขาบอกว่าไม่ได้เปิดรับนะค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชน ตอนนี้ทำงานมาได้หลายเดือนแล้ว หนูยังไม่เข้าใจเรื่องงบเหมาจ่ายสำหรับหน่วยบริการที่ทาง สปสช. จัดมาให้ในงานฟื้นฟูคนพิการนะค่ะ ทางสปสช.โอนเงินมาให้แล้ว แล้วทางนักกายภาพต้องออกชุมชนไปฟื้นฟูเลยรึป่าวค่ะหรือว่าต้องเขียนโครงการเสนอให้ผู้อำนวยการอีกว่าจะทำอย่างไรบ้าง ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ก่อนอื่นหนูขอระบายความในใจบางอย่างที่ทำงานโรงพยาบาลชุมชนก่อนนะค่ะ ว่าทำไมถึงได้ไม่มีคัยมาทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนเลย

หนูพบเจอมากับตัวเองแล้วค่ะ ว่ามันยุ่งยากแค่ไหน อาจารย์ค่ะหนูมีเรื่องจะรบกวนถามอาจารย์หน่อยค่ะ ว่านักกกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนมีสิทธิมากน้อยแค่ไหนค่ะ ที่จะได้รับตำแหน่งข้าราชการและมีสวัสดิการเหมือนอาชีพอื่นนะค่ะ และอีกเรื่องที่หนูจะรบกวนนะค่ะอาจารย์คือหนูอยากจะให้อาจารย์จัดส่ง cd เรื่องการเลิกยาสูบให้หน่อยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าสำหรับทุกเรื่องนะค่ะอาจารย์

[email protected] โทร 0878996487

ที่อยู่ โรงพยาบาลสะบ้าย้อย ( นักกายภาพบำบัด ) นางสาววนิดา จังกินา อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา 90210

อาจารย์เป็ฯที่พึ่งสำหรับหนูเลยค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

ขอตอบของ ความเห็น 537 นะคะ

พี่ไม่รู้ว่า น้องอยู่โซน เขต อะไรนะ แต่คิดว่าทุกที่ น่าจะเหมือนกัน คือ

งบเหมาจ่ายสำหรับหน่วยบริการที่ทาง สปสช. จัดมาให้ในงานฟื้นฟูคนพิการ นั้น

1. เป็น งบเกี่ยวกับ อุปกรณ์ และการให้บริการ กลุ่ม ท74 และ sub acute ค่ะ ดังนั้น รพ. สามารถ นำเงินตรงนี้ มาจัดซื้อ อุปกรณ์ช่วยความพิการ ตามที่ สปสช กำหนด ให้กับผู้พิการจ้า โดยเมื่อให้ผู้พิการแล้ว เราก็ นำชื่อ ผู้ป่วย คีย์ เข้า เวบ สปสช. เพื่อ ขอเคลมเงินได้ค่ะ

2. ส่วนการออกฟื้นฟู ผู้ป่วย เราสามารถออกได้เลย ไม่จำเป็นต้องเขียนโครงการ แต่ อาจ ต้อง ชี้แจง ให้ ผอ. ทราบ ถึง รายละเอียดก่อนค่ะ เพราะ การที่ออกไป กายภาพ ผู้พิการ ที่บ้าน 1 ครั้ง เรา จะได้เงิน เข้า รพ. 150 บาท ต่อ เคส ต อ วัน โดย นำชื่อผู้ป่วย มาคีย์ ใน เวบ สปสช. ค่ะ เพื่อ นะเงิน เข้า รพ. ค่ะ

งบเหมาจ่ายสำหรับหน่วยบริการที่ทาง สปสช. จัดมาให้ในงานฟื้นฟูคนพิการ นั้น

หนูอยากทรบว่าที่รายได้เข้า รพ. 150 บาทต่อ เคส ต อ วัน โดย นำชื่อผู้ป่วย มาคีย์ ใน เวบ สปสช. ค่ะ เพื่อ นะเงิน เข้า รพ. นั้น เปนแค่ตัวชี้ววัดที่นักกายภาพบำบัดทำเงินเข้า รพ. ใช่ไหมค่ะ นักกายภาพบำบัดไม่มีส่วนได้เสียกับเงินตรงนี้ใช่ไหมค่ะ แล้วอีกเรื่องคือ หนูอยากรู้ว่างบตรงนี้นะค่ว่า เราจะทำเรื่องขอ สปสช. อย่างไรค่ะ ขอบคุณค่ที่ตอบ

อาจารย์ดาคะ

หนูได้รับชุด CD แล้วนะคะ ขอบคุณมากเลยค่ะ ^^

เรียนอาจารย์ปนดา

หนูได้รับชุด CD แล้วนะคะ ขอบคุณมากเลยค่ะ ^^

sub acute นี่ได้ทุกประเภทเลยใช่มั๊ยค่ะ ถึงไม่เป็นผู้สูงอายุก้อได้ใช่มั๊ยค่ะ

อยากสมัครงานในเขตกาญจนบุรี ราชรี ประจวบ ชุมพร โทรไปกี่ที่ก็บอกไม่เปิดช่วยหน่อยค่ะ

กภ.สมศักดิ์ บุญขวัญ

เรียน อาจารย์ที่เคารพอย่างสูง

กระผมได้รับ CD Kit จากอาจารย์แล้วนะครับ ขอขอบพระคุณมากเลยครับ และขอประชาสัมพันธ์ถึงเพื่อนๆเกี่ยวกับค่าบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่ว่า เคสละ 150 นะครับ ก่อนอื่น PT ต้องขอ USERNAME and PASSWORD ก่อนโดยเขียนเป็นหนังสือให้ผู้อำนวยการเซ็นต์อนุมัติว่าให้ท่านเป็นผู้รับผิดชอบ และส่ง สปสช เคสของตน จากนั้นเมื่อได้รับ USERNAME and PASSWORD แล้วในการให้บริการแก่ผู้พิการ ท 74 ให้ลงข้อมูลผ่านเว็บไซด์ สปสช เพื่อเบิกเงิน 150 ต่อครั้งต่อเคสในแต่ละวันที่ให้บริการ ส่วนการเบิกจ่ายอุปกรณ์ก็สามารถลงได้เพื่อเบิกค่าอุปกรณ์กลับที่ให้คนไข้ไป ต่อมา ผู้ป่วย Sub acute และผู้สูงอายุ ให้มาลงใน Excel จากนั้นก็ส่งไฟล์ไปให้ สปสช เคสเพื่อขอเบิกเงิน ทราบมาว่าจะเป็นรายไตรมาสนะ ส่วนไฟล์ตัวอย่างหรือแบบฟอร์มการขอ USERNAME and PASSWORD ถ้าใครต้องการขอทิ้งเมลล์ไว้นะ เราจะส่งให้

เดี๋ยวนี้ผู้สูงอายุหรือ sub acute สามารถลงว่านเว็บได้แล้วไม่ใช่เหรอค่ะ

กภ.สมศักดิ์ บุญขวัญ

เรียน ข้อความที่ 546 จากการสอบถามไปที่ สปสช เขต 12 สงขลา เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้พิการ ท 74 ให้ลงในเว็บ สปสช แต่ถ้าเป็น sub acute และผู้สูงอายุ อื่นที่ไม่ใช่ ท 74 ให้ลงในเว็บไซต์ ครับ

กภ.สมศักดิ์ บุญขวัญ

เรียน ข้อความที่ 546 จากการสอบถามไปที่ สปสช เขต 12 สงขลา เจ้าหน้าที่แจ้งว่า ผู้พิการ ท 74 ให้ลงในเว็บ สปสช แต่ถ้าเป็น sub acute และผู้สูงอายุ อื่นที่ไม่ใช่ ท 74 ให้ลงใน excel ครับ (ขออภัยด้วยข้อความที่ 547 พิมพ์ผิดครับ)

ช่วยหน่อยนะคะยังไม่มีงานทำเลย อยากได้งานแถบนนทบุรี ประจวบ เพชรบุรี ราชบุรี ที่เปิดรับกายภาพหน่อยค่ะ เอาที่อัพเดตล่าสุด ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

ตอบ 540 ค่ะ

ใช่ค่ะ เราไม่ได้มีส่วนได้เสียกับเงินตรงนี้โดยตรง แต่มันมีผลกับนักกายภาพ ที่เป็นลูกจ้างชั่วคราวนะคะ

1. เพราะลูกจ้างชั่วคราว จะใช้เงิน บำรุง รพ.จ้าง ดังนั้น ถ้าเราออกเยี่ยมบ้าน แล้วมีการ คีย(ื ข้อมูล มากเท่าไหร่ รพ. ก็จะได้เงิน ตรงนี้เพิ่ม เข้า มา ทำให้ รพ. เห็นความสำคัญ ของงานกายภาพ ทำให้ จ้าง นักกายภาพ ต่อ หรือ อาจ ทำให้ เราสามารถ มีนักายภาพ เพิ่มขึ้น ค่ะ

2. งบตรงนี้ เวลาเราออกเยี่ยมบ้าน ให้ บันทึก การทำกายภาพ ลงใน family folder , OPD card และควรมีสมุดบันทึก เยี่ยมบ้าน ให้ ผู้ป่วย หรือ ญาติเซ็นต์ เป็นหลักฐาน เผื่อ สตง มาตรวจ

แต่เวลาเยี่ยม แล้ว เอาชื่อ เลข 13 หลัก ไป คีย์ ในเวบ สปสช. ได้เลย รพ. บางที่ อาจเป็น นักกายภาพ คีย์ เอง บางที่ จะเป็น เจ้าหน้าที่ศูนย์ ประกัน ที่เขามี password คีย์ได้

น้องๆ ลองอ่านคำแนะนำของพี่ที่ทำงานในเครือข่ายภาคอีสานที่จังหวัดอุบลดูนะคะ ข้างล่างนี้ค่ะ

ทางสปสช.โอนงบให้แล้วของอุบลโรงพยาบาลละ 200000 บาท ก็เขียนโครงการขึ้นค่ะเพื่อเบิกจ่ายเงินก้อนนี้ ซึ่งหนังสือการเบิกจ่ายต้องอิงจากหนังสือค่าตอบแทนทุกโรงพยาบาลจะมีอยุ่แล้วข้อ 8.4 ซึ่งจะอิงตามข้อ 1 ชั่วโมงละ 80 บาท เราก็เขียนโครงการว่าเราจะออกกี่วัน ใครออกบ้าง คูณจำนวณวันตามที่เราออก ถ้า 8 ชั่วโมง ก็ 8*80= 640 /วัน แต่ต้องเห็นชอบจากผู้อำนวยการก่อนนะคะ อ้องบ200000 นี้รวมการจัดซื้อกายอุปกรร์สำหรับผู้พิการแล้วค่ะ เป็นการดอนเงินมาล่วงหน้า เราก็ต้องไปคีย์ผลงานเราในเวบ สปสช.ซึ่งจะได้ 150/คน/ครั้ง ถ้าเป็นไปได้ใน 1 วันเราควรออกเยี่ยมได้ประมาณ 5-10 รายเพราะจะได้คุ้มกับวันละ 640 บาทค่ะ

ถ้าต้องการทราบว่าเขาเขียนโครงการกันอย่างไร ก็ให้ e-mail มาได้ จะส่งไปให้ดู

ลองไปเช็คระเบียบการเบิกค่าตอบแทน ข้อ 8.4 ดูนะคะ

สำหรับน้องที่ทำงานในให้กับเทศบาล หรืออบต ซึ่งอาจจะยังไม่มีระเบียบรองรับ แต่ก็น่าจะใช้ระเบียบราชากรแทนไปก่อนได้ ลองคุยกับผู้บริหารดูค่ะ

ปนดา

สำหรับผู้ที่อยากได้ตำแหน่งราชการ ถามว่าปัจจุบันยังมีตำแหน่งราชการหรือไม่ ตอบว่ามี แต่น้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนบุคลากรที่อยากได้ ถ้าใครได้ก็ถือว่าเป็นโชคดีที่ได้ตำแหน่งที่มีความมั่นคง แต่สำหรับคนที่ไม่ได้ ก็อย่าไปคิดมากเพราะไม่ใช่เป็นเราคนเดียว แต่เราก็ต้องพยายามทำหน้าที่เราให้ดีที่สุด ถ้ามีตำแหน่งมา ผอ.เห็นความสำคัญของเรา อาจให้รางวัลเป็นตำแหน่งข้าราชการก็ได้ ซึ่งพี่ๆหลายคนที่ได้ เขาก็ทำงานหนักทุ่มเทให้กับรพ.จนผอ.ซาบซึ้งใจยกตำแหน่งข้าราชการให้ก็หลายคนแล้ว

ถ้าจะให้มีตำแหน่งราชการมากๆ ก็คงต้องเปลี่ยนนโยบายระดับประเทศ ซึ่งก็แล้วแต่ว่านักการเมืองจะใช้ประเด็นนี้ในการหาเสียงหรือเปล่า เพราะเป็นนโยบายใหญ่ ต้องใช้เงินมหาศาล เขาจะทำหรือเปล่าล่ะ

ปนดา

เรียนทุกท่าน

เนื่องจากข้อความนี้เคย post มาแล้วครั้งหนึ่ง และอยู่ลึกมากแล้ว จึงอยากนำมาแชร์ให้น้อง PT ชุมชนหน้าใหม่ได้อ่านและตระหนักอีกครั้งค่ะ

การถอดบทเรียนจากนักกายภาพบำบัดที่ประสบความสำเร็จ อาจารย์อยากสรุปได้ว่า งานกายภาพบำบัดจะสำเร็จได้พวกเราต้องมี HEART

H = Humanizing care หรือ Holistic care คือการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ดูแบบเป็นองค์รวม ไม่ใช่แค่กายเท่านั้น ต้องรวมถึงใจ และจิตวิญญาณด้วย นอกจากนี้ H ตัวนี้ยังหมายถึงหัวใจของนักกายภาพบำบัดด้วย ถ้ายังไม่มีใจโอกาสสำเร็จยากค่ะ

E = Education นักกายภาพบำบัดต้องศึกษา เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความรู้จากศาสตร์ต่างๆ เช่น เวชศาสตร์ครอบครัว การฟื้นฟูโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (CBR) จิตวิทยา หรือศาสตร์อื่นๆ หรือเป็นความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน ภูมิปัญญาต่างๆ ในชุมชน นอกจากนี้แล้วนักกายภาพบำบัดควรสามารถประยุกต์ความรู้ให้เข้ากับบริบทของชุมชนได้

A = Administor งานกายภาพบำบัดจะรุ่งโรจน์ถ้าผู้บริหารรพ.โดยเฉพาะผอ.เข้าใจบทบาทงานกายภาพบำบัด เปิดโอกาสและสนับสนุนงบให้เราได้แสดงฝีมืออย่างเต็มที่ ถ้าผู้บริหารยังไม่สนับสนุนและเราได้พยายามอย่างเต็มที่แล้ว ก็อย่าไป(ขออภัยนะต้องขอใช้คำพูดที่รุนแรงหน่อย)อย่าไปดักดานอยู่กับเขาเลย เรายังมีที่ๆเขาต้องการและเห็นคุณค่าของงานเราอีกมาก

R = หมายถึง Reward เมื่อเราทำงานหนักแล้ว ควรได้รับรางวัลตอบแทนบ้างเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจ รางวัลที่ได้ไม่จำเป็นต้องเป็นเงินเสมอไป อาจเป็นสิทธิ์ต่างๆอันพึงมีพึงได้ให้เสมอภาคเท่าเทียมกับวิชาชีพอื่นๆข้างเคียงเช่นพยาบาล สิทธิ์ในการได้ค่าตอบแทนในการออกเยี่ยมบ้านในเวลาราชการ หรือรางวัลอาจจะเป็นตำแหน่งข้าราชการเพื่อความมั่นคงของชีวิต หรือรางวัลสำหรับบางคนอาจเป็นอัตรากำลังของนักกายภาพบำบัดที่เพิ่มขึ้น ก็ได้ เหล่านี้เป็นขัวญและกำลังใจได้ทั้งสิ้น R ยังอาจถึง research ซึ่งถ้านักกายภาพบำบัดชุมชนสามารถทำวิจัยเพื่อแก้ปัญหาชุมชนได้ก็ยิ่งเป็นสิ่งที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จได้มาก

T = Team เราคงทำงานคนเดียวไม่ได้แล้วในโลกปัจจุบัน เราต้องยอมรับว่าการทำงานเป็นทีมจะทำให้เรามีพลัง ทีมนี้จะหมายถึง 3 แบบ แบบแรกคือทีมนักกายภาพบำบัดและเจ้าหน้าที่ในแผนก แบบที่สองคือทีมยังหมายถึงการทำงานร่วมกับสหสาขาวิชาชีพและร่วมกับชุมชนด้วย มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีการประสานงานที่ดี มีการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก (Patient center) แบบสุดท้ายทีมยังหมายถึงการสร้างเครือข่ายระหว่างนักกายภาพบำบัดทั้งในระดับพื้นที่และระดับที่สูงขึ้น เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และหาแนวร่วมในการทำงาน

ด้วยความรักและปรารถนาดี

ปนดา

สำหรับข้อมูลที่อาจารย์น้อมจิตต์เคยแจ้งไว้ว่าต้องการ PT แล้วทางรพ.บอกว่ายังไม่ได้เปิดรับ ถ้าสนใจทำงานที่นั่นจริง ๆ ติดต่อไปที่ สปสช เขตที่รับผิดชอบโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ได้เลย เพื่อให้เขาช่วยให้ข้อมูลกับผอ.รพ. เกี่ยวกับโครงการดังกล่าว เพราะบางรพ.ชุมชนก็ยังไม่ทราบเกี่ยวกับโครงการนี้เลย (บางที่ทราบแต่ยังไม่สนใจ คือยังไม่ปิ้ง ต้องมีคนไปช่วยจุดประกายก่อน อะไรทำนองนี้)

ปนดา

ใครอยากได้เอกสารการอบรมเรื่องการลด ละ เลิกบุหรี่ เพิ่มเติมได้ที่

http://www.nhso.go.th/NHSOFront/SelectViewItemAction.do?folder_id=000000000000519&item_id=000000000030772

ปนดา

กภ.ไตรทศ ชรพช.เสริมงาม

เรียนอาจารย์ปนัดดาครับ

ตอนนี้งานที่แผนกของผมเริ่มลงตัวแล้วครับอาจารย์ดีใจมากๆ คนเริ่มเห็นความสำคัญ เดือนที่แล้วผมรับคนไข้ไป 43 คน ผอ.เห็นตัวเลขแล้วตกใจ มีแววว่าปีหน้าอาจจะรับเพิ่ม ดีใจจังครับ ส่วนเดือนนี้ ผมจะลงไปวางระบบกายภาพบำบัดที่ รพสต. และออกเยี่ยมบ้านครับ

อืม ผมสนใจ CD Kit พอดีว่าจะนำไปใช้อบรมผู้ป่วยครับ ไม่ทราบว่าอาจารย์ยังพอมีเหลือไหมครับ รบกวนช่วยส่งมาที่ นายไตรทศ ช่างชุบ 119 ม.1 ต.ทุ่งงาม อ.เสริมงาม จ.ลำปาง 52210

ผมขอเรียนปรึกษาเรื่องกายภาพบำบัดในผู้ป่วยจิตเภท กับผู้ป่วยเอดส์ครับ ว่าเราสามารถทำได้ในรูปแบบไหนนอกจากการออกกำลังกายครับ พอดีที่ รพ.ฝ่ายจิตเวช อยากให้ผมเข้าไปช่วยในเรื่องนี้ แต่ผมยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไงดีเลยครับอาจารย์

ขอบพระคุณอาจารย์มากๆครับ

เรียนอาจารย์ปนดา

หนูเพิ่งเรียนจบ และกำลังจะเปิดแผนกในรพ.ชุมชนที่บ้าน แต่หนูยังไม่มีข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดแผนกเลยค่ะ ขอรบกวนขอตัวอย่างการขอเปิดแผนกกายภาพบำบัดในชุมชน และเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวกับการทำงานในรพ.ชุมชนด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์

e-mail: [email protected]

อยากเปิดแผนกทีร.พ.ใกล้บ้านแต่ร.พ.ยังไม่มีโครงการเปิดจะทำอย่างไรดีคะ แล้งงบ สปสชได้ทุกร.พ.ชุมชนหรือเปล่าคะ

หนูได้รับ CD แล้วนะคะ...

ขอขอบพระคุณมากๆเลยค่ะ.....

PT น้องใหม่ค่ะอาจารย์ อยากทรายรายละเอียดการเขียนโครงการเสนอของบประมาณทำอย่างไรค่ะ แล้วค่าตอบแทนอะไร ได้อย่างไร ส่วนใหนที่จะเข้าเป็นรายได้ของโรงพยาบาล สว่นใหนของนักกายภาพ อยากทราบอย่างละเอียคค่ะ เพื่อเป็นข้อมูลในการเขียนโครงการ และใช้ในการพูดคุยกับ ผอ.จะได้ตอบได้ทุกคำถาม E [email protected] ขอบพระคุณค่ะ

ผมได้รับซีดีแล้วนะครับ ขอบคุณมากๆครับอาจารย์

อาจารย์ค่ะ หนูเป็นนักกายภาพบำบัดจากโรงพยาบาลสะบ้าย้อยค่ะ อยากทราบว่า CD ที่ขออาจารย์ไปไอจารย์ได้จัดส่งให้หนูมาแล้วหรือยังค่ะ ขอบคุณนะค่ะถ้าจัดส่งมาแล้ว ขอให้อาจารย์ช่วยตอบด้วยนะค่ะ [email protected]

อ้างถึงกระทู้ 551 ของอาจารย์ปนดา

รบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการออกเยี่ยมบ้านผู้พิการและตัวอย่างแบบประเมินด้วยค่ะ ตอนนี้ทางแผนกต้องการจะออกเยี่ยมบ้านผู้พิการร่วมกับหน่วยทันตกรรม ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงค่ะ รบกวนอาจารย์ส่งเข้าเมลล์ด้วยนะคะ [email protected]

ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

กภ.ดรุณี กายภาพโรงพยาบาลแม่สาย

PT6 AHS9, NU

เรียนอาจารย์ปนดา

จากข้อความที่ 551

ตัวอย่างการเขียนโครงการ รบกวนอาจารญืช่วยส่งให้ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

กภ.นัยนา งานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลเขาชัยสน

เรียน กภ.รพ.สะบ้าย้อย

ส่ง CD KIt ความรู้เรื่องการเลิกบุหรี่ให้แล้วนะคะ

ปนดา

เรียนคุณไตรทศ รพ.เสริมงาม

รอนิดนะคะยังไม่ได้ส่ง CD ให้ รอให้มีหลายๆคนอีกนิด จะไปส่งให้ทีเดียวค่ะ

ปนดา

สำหรับเอกสารเปิดแผนก การเยี่ยมบ้านที่ขอมาส่งให้ทาง mail แล้ว นะคะ

ปนดา

เรียน ท่านอาจารย์ปนดา

หนูเป็น PT ที่เพิ่งจบใหม่ค่ะ แล้วยังไม่ค่อยรู้เรื่องเกี่ยวกับการเขียนโครงการออกชุมชนนัก จึงอยากรบกวนอาจารย์ได้ส่งรายละเอียดเกี่ยวกับการเขียนโครงการดูแลผู้พิการในชุมชน ร่วมทั้งเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่จะพอเป็นแนวทางในการเขียนโครงต่อไป

นี่คิอเมลล์ของหนูนะค่ะ [email protected]

กราบขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

หวัดดีค่ะอ.ปนดา ตอนนี้หนูได้มาทำงานแล้วได้เปิดแผนกใหม่ค่ะ หนูอยากได้แนวทางการบริหารงานการเปิดแผนกค่ะ ขอความกรุณาหน่อยนะคะ

อ.ดาค่ะ หนูอยากได้การเขียนโครงการของ สปสช.หน่อยได้ไหมค่ะ ขอขอบคุณล่วงหน้านะคะ

[email protected]

เรียน อาจรย์ปนดา

หนูเป็นนิสิตกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษา 2553 นี้ ได้ศึกษาในรายวิชา การบริหารและวิธีการปฏิบัติทางวิชาชีพ

หนูอยากขอคำแนะนำเกี่ยวเรื่อง การจัดการระบบเบิกเงิน โครงการขออนุมัติงบประมาณจาก สปสช. เพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง ร่วมทั้งเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่จะพอเป็นแนวทางในการจัดระบบเบิกเงินต่อไปค่ะ

ขอความกรุณาอารจารย์ส่งข้อมูลทาง e-mail : [email protected], [email protected]

กราบขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

เรียน อาจรย์ปนดา

หนูเป็นนิสิตกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษา 2553 นี้ ได้ศึกษาในรายวิชา การบริหารและวิธีการปฏิบัติทางวิชาชีพ

หนูอยากขอคำแนะนำเกี่ยวเรื่อง การบริหารการจัดการและการบริหารความเสี่ยง ในคนไข้กรณี burn ทั้งที่เกิดจากที่บ้านและสาเหตุที่เกิดจากการได้รับการรักษาภายในแผนก ร่วมทั้งเนื้อหาอื่นๆที่เกี่ยวข้องที่จะพอเป็นแนวทางในการจัดการ

ขอความกรุณาอารจารย์ส่งข้อมูลทาง e-mail : [email protected]

กราบขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ อาจารย์สบายดีหรือเปล่าค่ะ ฝากความคิดถึงอาจารย์ทุกท่านด้วยน่ะค่ะ.....เลยขอแนะนำตัวค่ะ ชื่อรัตติพร พาเจริญ ค่ะ PT.มอนอรหัส 47 ค่ะ อยู่รพ.ท่าตูม อ.ท่าตูม จ.สุรินทร์ค่ะ เป็นโรงพยาบาลขนาด90 เตียง กำลังขยายเพิ่มค่ะ มีเครื่องมือพื้นฐานครบแล้วค่ะ และก้อมี caes ทุกฟิวเลยค่ะ ตอนนี้มีนักกาย 2 คนแล้วค่ะ

ทำชุมชนด้วยค่ะ พอดีเห็นบล็อกอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเลยแว๊บเข้ามาอ่านบ้างค่ะ ก้อขอให้อาจารย์เป็นที่ปรึกษาให้กับน้องๆพีทีตลอดไปน่ะค่ะ.....อ้อ คือแบบว่าน้องมาฝึกงานที่รพ.สุรินทร์ก้อได้ไปเยี่ยมน้องบ้างค่ะ..นิดๆค่ะรู้สึกผิดยังไงไม่รู้ อยู่นอกเมืองไปหน่อย พี่ รพ. สุรินทร์ชมน้องมอนอขยันดีค่ะ

เรียน อาจารย์ปนดา และพี่ๆเพื่อนๆกายภาพบำบัด

ไม่ทราบว่าพอจะมีตัวอย่างการเขียน service profile หรือเปล่ารบกวนส่งให้ด้วยค่ะเพื่อเป็นตัวอย่างในการเขียน

ขอบคุณค่ะ

นัยนา หมันเทศ

นักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลเขาชัยสน

จังหวัดพัทลุง

เรียน รศ.ปนดา และขออนุญาติให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเบิกเงิน สปสช.

เป็นที่ทราบกันดีว่า รพ หลายแห่งมีปัญหาการเบิกค่าตอบแทนการออกหน่วยฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์(เดิมการฟื้นฟูสภาพคนพิการ)เนื่องจากงานบริหารเกรงการตรวจสอบจาก สตง. ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างการดำเนินงานของ รพ.เขื่องใน และ รพ.หลายๆแห่งใน จ. อุบลราชธานี คืออาศัยการอ้างอิงระเบียบการกำหนดค่าตอบแทน ตามหนังสือจากกระทรวง สธ. เลขที่ ว388 ซึ่งอาจต้องรบกวนให้งานบริหารค้นให้อีกทีเพราะนาน2-3ปี แล้ว โดยข้อ 8.2 อธิบายว่าค่าตอบแทนนักกายภาพบำบัด กรณีออกปกิบัติการนอกหน่วยบริการ (นอก รพ.) คิดอัตรา 80 ต่อ 1 ซม. ให้ใช้ข้อนี้อ้างอิง เนื่องจากเงิน สปสช เมื่อโอนเข้า รพ เปงเงินบำรุงเราจึงต้องเบิกเงินให้ถูกต้องตามระเบียบ หากน้องๆมีข้อสังสัยเพิ่มเติมก้อติดต่อพี่ได้โดยตรงครับ

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353 [email protected] lateralspinothalamic.hi5.com

น้อมจิตต์ นวลเนตร์

น้องใหม่ PT รพช.เขตอีสานที่เพิ่งเข้าทำงานไป set แผนก PT ใหม่ในปีนี้ โปรดเตรียมตัวไว้นะคะ จะมีการจัดปฐมนิเทศให้น้อง ๆ ที่ มข. หากเป็นไปตามแผนที่พี่วางไว้ ก็จะเป็นวันที่ 10-11 สค. นี้ และอยากรู้เรื่องอะไรบ้างก็แจ้งพี่ได้ทาง blog นี้ แล้วจะบอกความคืบหน้าเป็นระยะ ๆ ค่ะ

สวัสดีค่ะทุกคน

เมื่อ 2 วันก่อนได้คุยกับคุณขวัญ พี่จากสปสช.ส่วนกลาง ได้ถามเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นข้อข้องใจของน้องๆ ว่าทำไมบางโรงพยาบาลที่อาจารย์น้อมจิตต์เคยให้ชื่อไว้ว่ายังมีตำแหน่ง PT ว่าง แต่ทำไมเวลาโทรไปสมัครงาน ทางรพ.ตอบปฏิเสธว่ายังไม่รับนักกายภาพบำบัด พี่ขัวญเขาให้คำตอบว่าเกิดจากปัจจัยดังนี้นะคะ

1. รพ.นั้นๆ ยังไม่มีงบประมาณมากพอที่จะมาสมทบกับสปสช.ในการเปิดงานทางกายภาพบำบัด เพราะถึงแม้ว่าสปสช.จะสนับสนุนงบประมาณให้แต่ละรพ. แต่ถ้าไม่มีงบของรพ.สมทบเลยก็จะยังไม่เข้าเงือนไข

2. ในบางพื้นที่มีนักกายภาพบำบัดไปสมัครเยอะมาก สปสช.เขาก็มีงบประมาณในการสนับสนุนการจ้างงานในแต่ละเขตและในแต่ละปีจำกัดเหมือนกัน ในขณะนี้ใช้งบปี 53อยู่ซึ่งบางพื้นที่ที่มี PT ไปสมัครเยอะๆ เขาก็หมดงบได้เหมือนกัน แต่บางพื้นที่หรือบางเขตยังพอมีงบเหลือ ซึ่งพี่ขัวญเขาพอจะทราบว่ามีที่ไหนบ้าง ถ้าใครสนใจโทรหาพี่ขัวญได้โดยตรงที่ 084-3878038 (พี่ขัวญเขาใจดีมาก) เขาบอกว่าเป็นที่น่ายินดีที่ในปี 53 ได้มีนักกายภาพบำบัดเขาสู่ระบบรพ.ชุมชน 100 กว่าตำแหน่งแล้ว และนายแพทย์ประทีป เลขาฯสปสช.เขาเห็นความสำคัญของงาน PT และยินดีให้งบสนับสนุนงานกายภาพบำบัดเพิ่มขึ้นในปีหน้า (ปี 54)

3.เป็นไปได้ว่ารพ.นั้นๆ อาจจะยังไม่ทราบโครงการของสปสช.ชัดเจน และยังไม่เข้าใจงานและบทบาทของ PT ซึ่งเราคงต้องช่วยกันปชส.กันต่อๆไป

อาจารย์ว่าเราโทรหาพี่ขัวญเขาเยอะ ๆหน่อยก็ดีนะ พี่เขาจะได้ให้ข้อมูลกับหมอประทีปได้ว่า มี PT ต้องการเข้าระบบมากขึ้น และจะได้ทราบปัญหาต่างๆ มากขึ้นด้วย

ปนดา

คุณปิยาภณณ์ post ที่ 569 ไม่ได้ให้ e-mail address มา กรุณาแจ้งให้ด้วยค่ะ

ปนดา

เกี่ยวกับเรื่องการเบิกเงินค่าออกเยี่ยมบ้าน จากข้อมูลใน post ที่ 551 และจากของคุณกิตติ สมบรรดา post ที่575 ที่ให้ข้อมูล อ้างอิงระเบียบการกำหนดค่าตอบแทน ตามหนังสือจากกระทรวง สธ. เลขที่ ว388 ข้อ 8.2 อธิบายว่าค่าตอบแทนนักกายภาพบำบัด กรณีออกปกิบัติการนอกหน่วยบริการ (นอก รพ.) คิดอัตรา 80 ต่อ 1 ซม.

คิดว่าตรงนี้คงพอจะนำไปใช้อ้างอิงในการเบิกค่าตอบแทนให้เหมือนๆกันได้ทุกแห่งนะคะ ขอบคุณคุณกิตติที่มาให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมค่ะ เชื่อว่าฝ่ายการเงินหรือธุรการของรพ.คงมีระเบียบนี้

ปนดา

สำหรับน้องที่ถามมาเกี่ยวกับการบริหารความเสี่ยง คิดว่าน้องคงหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จาก website และพูดคุยกับพี่ๆในรพ.ใกล้เคียงเกี่ยงกับขั้นตอนการจัดการความเสี่ยงต่อไปนี้ได้นะคะ

1. การกำหนดวัตถุประสงค์ (Objective Establishment)

2. การระบุความเสี่ยง (Risk Identification)

3. การประเมินความเสี่ยง(Risk Assessment)

4. การสร้างแผนจัดการ(Risk Management Planning)

5. การติดตามสอบทาน (Monitoring & Review)

ปนดา

จากความเห็น 578 mail ของปิยาภรณ์นะค่ะ [email protected]

อ. ดาค่ะ ตอนนี้หนูได้รับแนวทางโครงการของ สปสช. เรียบร้อยแล้วนะค่ะ ขอบคุณอ.ดา มากๆ ค่ะ

เรียน รศ.ปนดา และ รศ.น้อมจิต

ขออนุญาติให้แนวทางการจัดการความเสี่ยง

1. list riak ที่สามารถเกิดขึ้นภายในหน่วยงานก่อนว่ามีอารายได้บ้าง ตาม top down flow chart

2. ให้ระดับความถี่และความรุนแรงของแต่ละความเสี่ยงว่าต่ำ-สูง จนกลายเปง risk profile

3. เลือกนำเอาความเสี่ยงที่เจอบ่อยหรือมีความเสี่ยงสูงมาเป็น monitor risk

4. จัดทำมาตรการป้องกันความเสี่ยง

5. เมื่อเกิดอุบัติการณ์ขึ้นต้องมีระบบรายงายที่มีประสิทธภาพ

น้องๆจำเป็นต้องศึกษา 12 กิจกรรม ว่ามีอารายบ้าง CQI และอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เข้าใจการจัดทำมากยิ่งขึ้น

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353 [email protected] lateralspinothalamic.hi5.com

ขอแก้ไข การเบิกเงิน สปสช ล่าสุดให้ใช้หนังสือ กระทรวง สธ. 5 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ สธ.0201.042.1/ว100 ข้อ 1.7 อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ ที่ให้บริการตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอก

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353 [email protected] lateralspinothalamic.hi5.com

เรียน...อาจารย์ และพี่ทุกท่านค่ะ

หนูรบกวนขออัตราค่ารักษาทางกายภาพบำบัด เพื่อนำไปใช้กำหนดราคา ค่าบริการ

และขอตัวอย่างการเขียน service profile ด้วยนะค่ะ

รบกวนส่งมายัง อีเมลล์ [email protected]

ขอบคุณค่ะ

คัคนางค์ รพ.ตะโหมด จ.พัทลุง

สวัสดีคับ อ.ปนดา

พอดีผมจะไปคุยกับผอ.โรงพยาบาลมาบตาพุดคับ เรื่องเปิดแผนก รบกวนขอคำแนะนำจากอาจารย์ และขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก ตัวอย่างการเขียนโครงการเปิดแผนกกายภาพบำบัดว่าต้องทำอย่างไรบ้าง

ขอบคุณครับ

สวัสดีคับ อ.ปนดา

พอดีผมจะไปคุยกับผอ.โรงพยาบาลมาบตาพุดคับ เรื่องเปิดแผนก รบกวนขอคำแนะนำจากอาจารย์ และขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก ตัวอย่างการเขียนโครงการเปิดแผนกกายภาพบำบัดว่าต้องทำอย่างไรบ้าง ขอความกรุณาอาจารย์ด้วยนะคับ

[email protected]

ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ อ.ปนดา

หนูนิสิตกายภาพบำบัด รหัส 48 ค่ะ ตอนนี้ทำงานอยู่จังหวัดตากค่ะ ซึ่งเป็น รพช. ขนาด 30 เตียง มีนักกายภาพบำบัด 2 คน จำนวนคนไข้โดยเฉลี่ย วันละ 25 -30 ราย มีกิจกรรมร่วมกับคลินิกเบาหวาน คลินิกผู้สูงอายุ ออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์และมารดาหลังคลอด และออกชุมชนทุกวันอังคารและพฤหัสบดีค่ะ

ตอนนี้รู้สึกเหนื่อยมากแต่ในขณะเดียวกันก็สนุก และเริ่มรู้จักงานของกายภาพบำบัดมากขึ้น (ซึ่งจบมาใหม่ๆ ยังไม่ค่อยรู้งานค่ะ)

พอมีโอกาสได้มาอ่านกระทู้ของอาจารย์ รู้สึกว่ายังมีอีกหลายงานที่เราสามารถเข้าไปทำได้ แต่ขณะเดียวกันงานเดิมก็ต้องดำเนินต่อไป บางครั้งรู้สึกว่ามันเยอะเกินไป (ความรู้สึกนี้แค่อยากเล่าให้ฟังเฉยๆ ค่ะ) อีกอย่างที่อยากถามอาจารย์ค่ะ...คือเท่าที่ทราบมา การออกชุมชนเนี่ยจะมีเงินสนับสนุน ชม. ละ 80 บาท แต่ทาง รพ. ของหนูไม่เห็นมีเลยค่ะ แล้วหนูได้ลองถามพี่หัวหน้าแผนกแล้ว พี่บอกว่า ทาง สปสช. ที่คุมของ จังหวัดตากเนี่ย ไม่มีเงินสนับสนุนตรงนี้ อันนี้คือความจริงหรือคะ หรือว่าการจัดการบริหารของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกาน รบกวนอาจารย์ปนดาตอบด้วยนะคะ.......ขอบคุณมากค่ะ

หวัดดีค่ะ Aoy

เรื่องการเบิกเงินในการออกเยี่ยมบ้านนั้น ในภาคอีสานนักกายภาพบำบัดทำงานกันเป็นเครือข่าย โดยเฉพาะที่จ.อุบลราชธานี มีพี่เลี้ยงเป็น PT ชื่อพี่สมใจ หรือพี่น้อย จากรพ.สรรพสิทธิประสงค์ (รพ.ศูนย์) เขาก็เลยสามารถที่จะคุยกับผอ.รพช.เกี่ยวกับการเบิกเงิน ในโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ของผู้พิการที่มีบัตร ท74 ผู้สูงอายุและผู้ป่วยเรื้อรังที่มีความเสี่ยงต่อ disability ได้ โดยอ้างระเบียบการเบิกจ่าย ตามที่คุณกิตติ ได้ให้ข้อมูลไว้ใน post ที่ 584 และทุกแห่งที่อยู่ในเครือข่ายก็ทำอย่างเดียวกัน นอกเหนือจากระเบียบการเบิกจ่ายซึ่งเรามีสิทธิ์ในการเบิกจ่าย เพราะกิจกรรมที่เราทำมันเข้าเงื่อนไขกับระเบียบแล้ว การออกไปทำงานนอกสถานที่ให้รพ. เราสามารถคีย์ข้อมูลผู้ป่วยที่เราไปเยี่ยมเข้าไปในระบบของสปสช. รพ.จะมีรายได้จากการออกเยี่ยมผู้ป่วย 150 บาทต่อคน ซึ่งถ้าเราทำโครงการออกเยี่ยมผู้ป่วยวันหนึ่ง 8 ราย รพ.จะได้ 1,200 บาท ถ้าดู 10 ราย ได้ 1500 บาท นักกายภาพบำบัดได้ค่าตอบแทน 640 บาท ทางรพ.นอกจากจะได้ลดความเสี่ยงสำหรับผู้ป่วยที่ต้องเข้ามานอนรพ.โดยไม่จำเป็น ยังมีผลกำไรจากการออกเยี่ยมบ้านของ PT เป็นรายได้เข้ารพ.ด้วย

ที่นี้สำหรับรพ.ของคุณ ไม่ทราบว่าเวลาออกเยี่ยมบ้านต้องทำเป็นโครงการใหม่ ถ้าไมได้ทำก็ควรต้องทำ พร้อมทำกำหนดการออกเยี่ยมบ้าน และจำนวนและรายชื่อของกลุ่มเป้าหมายที่แน่นอนแนบโครงการด้วย ถ้าต้องการตัวอย่างการเขียนโครงการและกำหนดการ ก็ให้ที่อยู่มาได้นะคะ จะได้มีอะไรไปคุยกับผอ. อาจารย์ก็อยากให้ทุกพื้นที่ได้รับค่าตอบแทนเป็นมาตรฐานเดียวกันค่ะ เราเหนื่อยแล้วก็ควรได้ค่าตอบแทนคุ้มค่า ไม่เช่นนั้นเราก็ต้องดิ้นรนทำงานอื่นเพื่อหารายได้มา support ตนเองมากขึ้น เหนื่อยซ้ำซ้อน แทนที่จะได้มีเวลามาคิดพัฒนาอะไรๆให้รพ.มากขึ้น

นอกจากนี้ การทำงานที่ดี เราควรประเมินผลงานที่เราทำเป็นระยะๆ เช่นทุก 6 เดือน เพื่อรายงานผลการดำเนินงานให้ผู้บังคับบัญชาหรือผอ.ทราบบ้าง มีปัญหาอุปสรรคอะไร หรือมีผลงานอะไรดีๆ จะได้มีโอกาสได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม หรือช่วยกันแก้ไขปัญหา เช่น ถ้างานมันงอก งานมันขยายก็ต้องขอเพิ่มคน เพิ่ม PT

ปนดา

ปนดา

ขอตอบคำถามคุณพ่อมดน้อย

การเปิดแผนกไม่ได้เขียนเป็นโครงการครับ ขอให้คุนพ่อมดพีที ลองคุยกับ ผอ. หรือหัวหน้าว่าเค้าให้งบเราได้เท่าไร แล้วเสนอว่าเราต้องการเครื่องมืออารายบ้าง จากนั้นค่อยบันทึกข้อความเสนอจัดซื้อ เนื องจากการทำแผนต้องเราเวลานานซึ่งขณะนี้แผนปี53 ได้อนุมัติไปแล้ว ให้ใช้เงินบำรุงซื้อเพราะว่าเร่งด่วน รูปแบบการเขียนบันทึกแต่ละแห่งอาจต่างกันบ้างแต่จะส่งให้ดูเปงตัวอย่างนะครับ

ขอบคุณ กภ.กิตติ มากคับสำหรับคำแนะนำ รบกวนส่งรูปแบบการเขียนบันทึกให้ด้วยนะครับ

ขอบคุณคับ

หากติดตามข่าวคราวกันมาตลอด จะเห็นได้ว่าหากแต่ละจังหวัด แต่ละภาค pack กันเป็นทีม เป็นเครือข่ายกัน จะช่วยให้เราทำงานง่ายขึ้น เป็นสุขขึ้น เลยอยาก cheer ให้น้อง ๆ แต่ละโซนสร้างเครือข่ายกันค่ะ อาจศึกษาตัวอย่างจากทางอีสานก็ได้ ขอเป็นกำลังใจให้น้อง ๆ ค่ะ

อาจารย์เรื่องเบิกค่าตอบแทนของสปสชนะค่ะ หนูยังไม่ค่อยเข้าใจการแยกท74 กับผู้ป่วยอย่างอื่นเลย

ว่าจะดูได้จากที่ไหน อะไรอย่างไรบ้าง อาจารย์ช่วยเมล์ชี้แจงให้หน่อยได้ไหมค่ะ ขอบคุณค่ะ [email protected]

ขอบคุณอาจารย์ปนดา มากๆ ค่ะ แล้วจะนำไปทำค่ะ

เรียนคุณฝนและน้องใหม่PT

ของอ้างถึงคำแนะนำจากคุณสมศักดิ์ บุญขัวญ เกี่ยวกับเรื่องการคีย์ข้อมูล สำหรับผู้ป่วยที่ไม่ใช้ ท74 (post 545) ดังนี้

เกี่ยวกับค่าบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่ว่า เคสละ 150 นะครับ ก่อนอื่น PT ต้องขอ USERNAME and PASSWORD ก่อนโดยเขียนเป็นหนังสือให้ผู้อำนวยการเซ็นต์อนุมัติว่าให้ท่านเป็นผู้รับผิดชอบ และส่ง สปสช เคสของตน จากนั้นเมื่อได้รับ USERNAME and PASSWORD แล้วในการให้บริการแก่ผู้พิการ ท 74 ให้ลงข้อมูลผ่านเว็บไซด์ สปสช เพื่อเบิกเงิน 150 ต่อครั้งต่อเคสในแต่ละวันที่ให้บริการ ส่วนการเบิกจ่ายอุปกรณ์ก็สามารถลงได้เพื่อเบิกค่าอุปกรณ์กลับที่ให้คนไข้ไป ต่อมา ผู้ป่วย Sub acute และผู้สูงอายุ ให้มาลงใน Excel จากนั้นก็ส่งไฟล์ไปให้ สปสช เคสเพื่อขอเบิกเงิน ทราบมาว่าจะเป็นรายไตรมาสนะ ส่วนไฟล์ตัวอย่างหรือแบบฟอร์มการขอ USERNAME and PASSWORD ถ้าใครต้องการขอทิ้งเมลล์ไว้นะ เราจะส่งให้

งบตรงนี้ เวลาเราออกเยี่ยมบ้าน ให้ บันทึก การทำกายภาพ ลงใน family folder , OPD card และควรมีสมุดบันทึก เยี่ยมบ้าน ให้ ผู้ป่วย หรือ ญาติเซ็นต์ เป็นหลักฐาน เผื่อ สตง มาตรวจ

เวลาเยี่ยม แล้ว เอาชื่อ เลข 13 หลัก ไป คีย์ ในเวบ สปสช. ได้เลย รพ. บางที่ อาจเป็น นักกายภาพ คีย์ เอง บางที่ จะเป็น เจ้าหน้าที่ศูนย์ ประกัน ที่เขามี password คีย์ได้

หวังว่าคงตอบคำถามนะคะ

ปนดา

อนุญาติตอบคำถามคุณฝน

ประชาชนคนไทยจะมีการถือสิทธิบัตรเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่แตกต่างกัน แบ่งออกได้หลายประเภทมาก เช่น บัตรประกันสุขภาพ บัตรประกันสังคม บัตรข้าราชการ ซึ่งบัตรประกันสุขภาพใช้มากที่สุด (แบ่งออกเป็น UCในเขตอำเภอนั้นๆและนอกเขต) แล้วบัตรประกันสุขภาพเองก็ยังสามารถแบ่งย่อยได้อีกมากมาย เช่น ผู้นำชุมชน พระภิษุ นักเรียน 12-59ปี 0-12ปี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ (ซึ่งผู้พิการแบบใหม่จะมีเลขที่บัตรขึ้นต้นด้วย ท.74 ตามด้วยเลขอื่นตามท้ายอีก) ดังนั้นการแยกสิทธิคนพิการเพียงสังเกตุที่อักษรและตัวเลขดังกว่า หากคุณออกหน่วยเยี่ยมหรือมีคนพิการถือบัตรทอง ที่มีคำว่าผู้การ หรือผู้พิการตลอดชีพ แต่เลขบัตรไม่ใช่ ท74 ก็ต้องแนะนำให้เค้าไปเปลี่ยนที่ห้องบัตรครับ โดยนำสมุดคนพิการ บัตรทองที่ผิด และสำเนาทะเบียนบ้านหรือปชช ไปด้วย ขอยกตัวอย่างการดูแลด้านสิทธิคนพิการที่ งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน ดำเนินการอยู่ขณะนี้คือ งานประกันสุขภาพเค้าให้เครดิตกายภาพบำบัดที่ออกหน่วยหากพบว่าคนไข้มีสมุดคนพิการแล้วแต่บัตรทองไม่ถูกต้องก้อให้คนไข้สำเนาบัตร ปปชหรือทะเบียนบ้าน นักกายภาพบำบัดเองก้อจะดำเนินการประสานให้งานประกันสุขภาพเปลี่ยนให้ โดยบันทึกข้อความและแนบรายชื่อคนไข้ที่ต้องการเปลี่ยนไปด้วย ซึ่งจะเปลี่ยนทุกๆวัน 15 วันของเดือน งานประกันจะส่งกลับไปทางไปรษณีย์ใคนไข้รอรับที่บ้าน หากขณะที่เปลี่ยนบัตรก็ให้ใช้บัตรเดิมไปก่อนเมื่อได้บัตรใหม่ก้อทำลายหรือทิ้งใช้บัตรใหม่ครับ ซึ่งนำวิธินี้ไปใช้ได้ครับ แต่ต้องคุยกับงานประกันก่อนเพราะบริบทแต่ละ รพ ไม่เหมือนกานครับ หากคุณฝนต้องการข้อมูลด้านสิทธิไปคุยกะพี่ห้องบัตรเลยครับ ช่วงแรกที่เปิดแผนกให้เปงช่างถามเข้าไว้แกล้งไม่รู้บ้างเราจะได้รับความรู้ใหม่ๆมากขึ้น บายๆครับ

เมื่อไหร่จะมีการจัดปฐมนิเทศให้PT น้องใหม่ รพช.เขตภาคใต้ที่เพิ่งเข้าทำงานบ้างล่ะคะ อีกอย่างบางคนก็ยังงงๆกับการเบิกเงินในการลงชุมชน ที่คิดชั่วโมงละ 80 ค่ะ เพราะยังไม่ได้รับเงินในส่วนนี้เลย ขอบคุณมากๆนะคะ

สวัสดีค่ะ รศ.ปนดา และเพื่อนๆ พี่ทุกคนค่ะ หนูเพิ่งเข้าทำงานกายภาพที่โรงพยาบาลชุมชน อยากขอรบกวนอาจารย์ เพื่อนๆ และพี่ที่พอจะมีข้อมูลเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาทางกายภาพบำบัด ช่วยส่งให้หนูหน่อยนะคะ

รบกวนช่วยส่งให้หน่อยนะคะ ขอบคุณมากๆค่ะ

[email protected]

น้องฝนคะ ท74 ที่โรงพยาบาลที่ฝ่ายสิทธิบัตรเค้าจะมีรายชื่อผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนอยุ่นะคะ ไปขอข้อมูลจากเค้าได้เลย และจะสังเกตตรงใหนได้ ให้น้องดูที่บัตรทองมันจะมีตัวเลขอยู่มี่มุมขวาบน เป็นเลข 74 ถ้า 77 ก้หมายถึงสิทธผู้สุงอายุ 89 ก็ทั่วๆๆไป มันจะเป็นตัวเลขที่บอกสิทธิดูได้เลยนะจี แต่มีผู้พิการหลายรายไม่ขึ้นทะเบียน

เมื่อวานได้เข้าร่วมประชุมที่โรงพยาบาลอำนาจเจริญมีหลายเรื่องที่อยากเล่าแต่เอาเท่าที่สำคัญนะคะเพราะประชุมมีสปสช.มาตอบคำถามโดยตรง ยำนะคะว่าการให้บริการที่จะลงรายงานในเวปสปสช.ไม่ใช่การเคลมแต่เป็นการรายงานข้อมูลเพื่อผลของงบประมาณปีต่อไป ซึ่งงบประมาณปีหน้าจะเพิ่มเป็น 12 บาท/ประชากร วึ่งเพิ่มขึ้นเยอะมากจาก 8 บาท จึงอยากให้ทุกคนรีบดำเนินงานและรายงานให้สปสช.ด้วย และการรายงานต้องให้บริการที่เรียกว่าการฟื้นฟูนะคะ ไม่ใช่ต่อสมุดให้ก็มาลงรายงานอันนี้ไม่ได้ จดทะเบียนให้อย่างงี้ก็ไม่ได้ ดังนั้นเราต้องเน้นประเภท 3 การเคลื่อนไหวมากขึ้นนะคะแต่งานอย่างอื่นเป็นการให้บริการเสริมค่ะ และการเบิกจ่ายกายอุปกรณ์ อย่างรถโยก ที่ไมมีในโปรแรกมให้ลงข้อมูลเค้าบอกว่าให้ลงข้อมูลที่ Excel ไว้ก่อน ค่อยส่งเมลล์ให้เค้า นะคะ และตอนนี้ดิฉันกำลังดำเนินงานเรื่องรองเท้าเบาหวาน ซึ่งเป็นผลดีต่อผู้พิการด้วยเพราะดิฉันนำเอามารวมกันกับผู้พิการทำรองเท้าดัดแปลงไปด้วยโดยใช้งบโรงบาลแต่เรารายงานให้สปสช.เพื่อปีหน้าจะได้งบมาเพิ่ม เพราะรองเท้าหนึ่งคู่ก็ราคาแพง ซึ่งผู้พิการที่มีปัญหาขาสั้นยาวไม่เท่ากันเคยมาความช่วยเหลือไม่รุ้จะส่งไปใหน ตอนนี้ก็เลยให้ทำรองเท้าดัดแปลงกับทีมรองเท้าเบาหวานตอนนี้คนไข้เดินได้ดีมากขึ้น และก็ลงรายงานได้ด้วย ได้สองต่อ วันนี้ฝากไว้เท่านี้ก่อนนะคะ

สวัสดีครับอาจารย์

ผมได้รับเอกสารบุหรี่แล้วนะครับ เนื้อหาหน้าสนใจ กระเป๋าสวยดีคับ

ผมขอขอบพระคุณอาจารย์มากๆนะครับที่กรุณาส่งมาให้ผม

อาทิตย์หน้าผมจะไปเป็นวิทยากรจิตอาสา เกี่ยวกับcopd ตื่นเต้นจังคับ

ตอนนี้งานชุมชนเริ่มเป็นรูปเป็นร่างละครับ ส่วนงานที่แผนกก็เหนื่อยแต่สนุกดีครับ คนไข้วันละ15 คนตามมาตรฐานเลยครับ เครื่องมือก็ยังไม่มามีแต่hot pack เลยได้ใช้แต่manualล้วนๆเลยครับ ^^ ผอ. บอกว่าปีหน้า มีโอกาสรับเพิ่มแน่นอน

สอบถามเรื่องอัตรากำลังในนักกายภาพบำบัดค่ะ ว่าทำผู้ป่วยกี่คนในแต่ละระบบ

ขออ้างอิงด้วยนะค่ะ ดิฉันกำลังทำวิจัยเกี่ยวกับความเหนื่อยหน่ายในงานของนักกายภาพ

ถ้ามีเรื่อง ตัวเลข ชี้วัด ให้เห็น น่าจะมีประโยชน์ต่อการเอางานไปอ้างอิงต่างๆต่อไปได้ค่ะ

ดาริกา

มาตรฐานวิชาชีพกำหนดไว้ 8-12 คนต่อวันขึ้นอยู่กับแต่ละระบบ ดาวน์โหลดรายละเอียดที่เวปสภากายภาพบำบัด

เพิ่มเติม เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ได้เข้าร่วมประชุมเครื่อข่ายกายภาพบำบัดอิสานใต้ และได้เรียนถาม นพ.ประธีป เกี่ยวกับแนวทางการพลักดันให้มีกายภาพบำบัดชุมชนเพิ่มขึ้น ท่านกล่าวว่าขณะนี้ได้มีการพูดคุยกับ อปท. ให้มีการลงทุนส่งนักเรียนในพื้นที่เข้าเรียนสาขากายภาพบำบัด หากเกิดขึ้นได้จิงก้อจะส่งผลดีต่อวิชาชีพเราอย่างมาก เพราะส่วนมากมักจะอยู่ในพื้นที่ได้ไม่นานทำให้งานไม่ต่อเนื่องไม่ค่อยมีการเพิ่มอัตรากำลังแต่จะทดแทนกันมากกว่า อัพเดทให้ทราบโดยทั่วกันมานเปงเรื่องของอนาคตนะ

ผู้เชี่ยวชาญเตือนผู้บริโภค เลือกรักษาไคโรแพรคติกที่มีใบประกอบโรคศิลป์ หากพบไคโรแพรคติกเถื่อน เสี่ยงรักษาอาจอันตรายถึงชีวิต

ดร. มนต์ทณัฐ (รุจน์) โรจนาศรีรัตน์ โฆษกสมาคมการแพทย์ไคโรแพรคติกแห่งประเทศไทย (Thailand Chiropractic Association : TCA) เปิดเผยว่า ‘ไคโรแพรคติก’ เป็นศาสตร์ทางการแพทย์ที่ได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลายมาเป็นเวลานาน เพราะ ‘ไคโรแพรคติก’ คือศาสตร์ทางการแพทย์ที่คำนึงถึงความสมดุลของกระดูกสันหลังโดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและระบบของร่างกายที่เชื่อมโยงกัน ไปจนถึงการรักษาฟื้นฟูโครงสร้างที่นำไปสู่สุขภาพที่ดีโดยรวม ตามแนวคิดพื้นฐานที่เชื่อว่าลักษณะโครงสร้างกระดูกสันหลัง หรือการเคลื่อนไหวของกระดูกสันหลังนั้น มีผลกระทบต่อระบบการทำงานและความสมดุลในส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือพูดง่ายๆ ว่าหากโครงสร้างดังกล่าวมีภาวะสมดุลระบบต่างๆ ในร่างกาย ก็จะสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด สุขภาพร่างกายของเราก็จะอยู่ในสภาพดี

จากการวิจัยทั้งในระดับสากลขององค์การอนามัยโลก และกระทรวงสาธารณสุขของไทย พบว่าการบำบัดด้วยวิธีการไคโรแพรคติกมีความปลอดภัยสูงและเชื่อถือได้ เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์มานาน แต่ต้องกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไคโรแพรคติกจริงๆ เท่านั้น เพราะเทคนิคการปรับกระดูกจะสามารถรักษาผู้ป่วยได้จริงก็ต่อเมื่อแพทย์มีความรู้ความเชี่ยวชาญอย่างแท้จริงเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม หากผู้ทำการรักษาไม่มีความรู้หรือความชำนาญเฉพาะทางอย่างเพียงพอ ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยพิการได้เช่นกัน

สำหรับในประเทศไทยนั้น ไคโรแพรคติกนั้นถือว่าเป็นศาสตร์การแพทย์แขนงใหม่ เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีการจัดการการเรียนการสอนแพทย์ศาสตร์นี้มาก่อน ถึงแม้ว่าในต่างประเทศจะมีมาอย่างยาวนานนับร้อยปีแล้วก็ตาม โดยส่วนใหญ่นิยมสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมักถ่ายทอดในลักษณะของครอบครัว จนกระทั่งปัจจุบัน มีการจัดการเรียนการสอนเหมือนแพทย์สาขาทั่วไป ที่มีการศึกษาในประเทศไทย สำหรับประเทศ ที่ศาสตร์ไคโรแพรคติกเป็นที่ยอมรับนั้น จะมีการจัดตั้งเป็นแพทยสภาด้านศาสตร์ไคโรแพรคติก ซึ่งมีองค์ประกอบบทบาทหน้าที่เหมือนแพทยสภาโดยทั่วไป

“ทั้งนี้ ด้วยความที่ศาสตร์ดังกล่าวถือว่าเป็นศาสตร์แขนงใหม่ในประเทศไทย ดังนั้น ในสมัยก่อนแพทย์ด้านไคโรแพรคติกที่เปิดคลีนิกเพื่อทำการรักษาในประเทศไทยส่วนใหญ่ จึงเป็นแพทย์ชาวต่างประเทศ และบางคลีนิกผู้ที่รักษาไม่ได้จบมาทางด้านไคโรแพรคติก แต่กลับแอบอ้างใช้ชื่อของศาสตร์นี้ อย่างที่เห็นโฆษณาทั่วไปว่ารักษาด้วยวิธีการจัดกระดูก ซึ่งไม่ได้หมายความว่าเป็นศาสตร์ไคโรแพรคติก

ปัจจุบัน ทางสมาคมฯ ได้ประสานงานกับสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข โดยจัดทำใบประกอบโรคศิลปะสำหรับศาสตร์ ไคโรแพรคติก ทั้งนี้ ผู้ที่ประสงค์จะเปิดรักษาด้านไคโรแพรคติกต้องทำการสอบเพื่อขอใบอนุญาตดังกล่าว และต้องต่ออายุทุก 2 ปี โดยตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ที่สอบผ่านเพียง 20 ราย

ดังนั้น สิ่งที่น่าเป็นกังวลต่อการพัฒนาศาสตร์ไคโรแพรคติกในประเทศไทย มี 2 ประเด็นหลัก คือ

ประเด็นแรก ภาพลักษณ์ของการรักษาด้วยศาสตร์ไคโรแพรคติก ซึ่งผู้ที่เข้าใจผิดจะทำให้สูญเสียความเชื่อมั่นต่อศาสตร์การแพทย์ไคโรแพรคติกโดยรวม อย่างเช่น รักษาด้วยวิธีการจัดกระดูกแล้วไม่หายปวด ก็จะบอกว่าไม่เห็นหายเลย เป็นต้น ซึ่งผู้ที่รักษาบางคนอาจจะจบมาทางด้านของกายภาพบำบัด ซึ่งนักกายภาพบำบัดที่ศึกษาจบปริญญาโทจะสามารถจัดกระดูกได้

ประเด็นที่สอง คือ ไคโรแพรคติกที่ไม่มีใบประกอบโรคศิลป์ ซึ่งเปิดคลีนิกรักษาขึ้นตามสถานที่ต่าง ๆ อาทิ สุขุมวิท พัทยา ซึ่งการรักษาดังกล่าวไม่สามารถรับประกันได้ว่าผู้ที่รักษานั้น เป็นผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการจัดกระดูก และโครงสร้างของร่างกายมนุษย์ ดังนั้น หากรักษาผิดวิธีการจึงเสี่ยงที่จะเป็นอันตราย อาจจะพิการ เป็นอัมพาต หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้” ดร.มนต์ทณัฐ กล่าว

นอกจากนี้ ดร.มนต์ทณัฐ ยังกล่าวถึงอนาคตในการพัฒนาศาสตร์ไคโรแพรคติกว่า ปัจจุบันทางสมาคมฯ ได้วางแนวทางในการก่อตั้งโรงเรียนการแพทย์ไคโรแพรคติกขึ้น โดยขณะนี้ได้เจรจากับโรงเรียนแพทย์ 2 – 3 แห่ง เพื่อเปิดหลักสูตรอย่างเป็นทางการ โดยวางกรอบโดยคร่าวว่าหลักสูตรการเรียนการสอนว่า หากนักเรียนจบการศึกษาระดับมัธยมการศึกษาปีที่ 6 จะต้องเรียนหลักสูตรนี้ 6 ปี แต่หากจบปริญญาตรีแล้ว สามารถเรียนหลักสูตรนี้ต่อเนื่องอีก 4 ปี คือ 4 + 4 ปี ซึ่งมาตรฐานของหลักสูตรดังกล่าว ได้รับการยอมรับจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านไคโรแพรคติกจากทั่วโลกซึ่งภายหลังจากที่มีการเปิดสอนอย่างเป็นทางการแล้ว สมาคมฯ คาดว่าศาสตร์ไคโรแพรคติกจะได้รับการยอมรับมากยิ่งขึ้น และสร้างความเข้าใจให้แก่สังคมมากขึ้นด้วย

เรียน อาจารย์ปนดาที่เคารพ

หนูอยากขอคำแนะนำเกี่ยว ขั้นตอนการเบิกเงินจากโรงพยาบาลค่ะ ว่าจะต้องมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

และมีระบบการเบิกอย่างไรค่ะ จะต้องยื่นรื่องไปให้ใครบ้าง และมีแบบฟอร์มการเบิกเป็นอย่างไร แล้วจะสามารถนำเงินมาใช้ได้อย่างไรบ้าง สมมุตินะค่ะว่าตอนนี้ไปงบจาก สปสช.มาที่โรงพยาบาลแล้ว จะต้องทำอย่างไรต่อค่ะ รบกวนอาจารย์ด้วยนะค่ะ

ส่งมาที่ [email protected] ข้อมูลที่หนูจะนำมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาบริหารค่ะ

นิสิตกายภาพบำบัด ปี4

เรียนคุณกิตติ สมบรรดา

ไม่ทราบว่าข้อความที่คุณนำมาเผยแพร่ในหัวข้อ 603 นำมาจากหนังสือพิมพ์ชื่ออะไร ฉบับที่เท่าไร หัวข้ออะไร ช่วยให้รายละเอียดด้วยค่ะ จะขอบคุณมาก

ปนดา

ขอรบกวนอาจารย์ค่ะ หนูทำงานในรพ.ชุมชน แล้วทำงานผู้พิการมา 8 เดือน แต่ความรู้สึกของหนูมันยังไม่เป็นระบบแบบแผนเท่าไรนะค่ะ หนูอยากรบกวนของ file ของ PT นาจะหลวยหรือของที่อื่นๆที่เป็นระบบแล้วนะคะ หนูอยากทำงานด้านผู้พิการให้เข้มแข็ง และอยากรบกวนขอแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับการออกเยี่ยมผู้พิการค่ะ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมงด้วยค่ะ

รบกวนส่งมาที่ [email protected]

ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

นอกจากโครงการฟื้นฟูสภาพด้านการแพทย์ ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ เราจะรักษ์เท้ายิ่งกว่าใบหน้า (รองเท้าดัดแปลงเบาหวาน) ยังมีโครงการใน รร. เป็นโครงการร่วมของแพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด เภสัช ควบคุมโรค ทันตะเพื่อผลักด้านให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพใน รร และเข้าประกวดโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรต่อไป ซึ่งปีที่แล้ว รร เขื่องในวิทยคารได้ระดับทองมาแล้ว โดยการจัดอบรมแก่นนำนักเรียนเพื่อไปขยายกิจกรรมและดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียน โดยมี จนท จากทางโรงพยาบาลเปงพี่เลี้ยงค่อยให้คำแนะนำต่างๆ เช่น แพทย์แผนไทยจะจัดอบรมการนวดไทยและสวนสมุนไพร เภสัชทำเรื่อง อย.น้อย โดยให้ นร แก่นนำสุ่มตรวจความปลอดภัยของอาหารที่จำหน่ายใน รร. ควบคุมโรคจะมีการกำจัดลูกน้ำยุงลายและผลิตสิ้นค้าไล่ยุงจำหน่าย ฝ่ายทันตะจะให้ นร.แก่นนำตรวจสุขภาพช่องปาก แล้วส่งห้องทันตะกรรมเพื่อรักษาทุกเสาร์-อาทิตย์ สุดท้ายก้อเปงบทบาทของงานกายภาพบำบัดโดยได้รับผิดชอบโครงการ To Be Number One ซึ่งจะมีการจัดกิจกรรมต่างๆใน รร เช่น ประกวดร้องเพลง วงดนตรี แข่งขันกีฬาระหว่างชั้นเรียน โดยแก่นนำ นร.จะได้รับการอบรมการให้ความรู้โทษของสาเสพติด โดยเฉพาะบุหรี่ การเปงเพือ่นใจวัยรุ่นคอยให้คำปรึกษาเพื่อนที่มีปัญหา การทดสอบสมถภาพทางกายในเยาวชน การเปงกายกาพบำบัดน้อยประจำสนามกีฬา โดยตัวชี้วัดของโครงการที่จังหวัดกำหนดคือสมรรถภาพ นร.ที่ปกติ ซึ่งเราจะตรวจให้กับสมาชิกชมรมและนักกีฬา รร. ที่อธิบายได้เยอะเพราะเปงงานของผมเองของคนอื่นก้อจับประเด็นได้คร่าวๆเท่านั้น อนาคตคาดว่าจะเพิ่มการส่งเสริมสุขภาพเช่น ตรวจคัดกรองภาวะกระดูกสันหลังคดใน รร. หากงานกายภาพบำบัดที่อื่นจะนำไปทำบ้างก้อไม่ได้สงวนลิขสิทธิ์แต่ประการใด เพราะนี้คือการทำงานร่วมกับวิชาชีพอื่นและทำให้ปชช.โดยเฉพาะ นร. เข้าใจบทบาทของเรามากขึ้นและอยากเปนกายภาพบำบัดมากขึ้นเพื่อให้มีคนในเขตชนบทกลับมาทำงานที่บ้านเกิดมากขึ้น เท่านี้ก่อนนะครับ บายๆ เพิ่งได้งาน เอดส์และทีบี อีกเริ่มเหนื่อยแล้วอ่ะ

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน

จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353

สวัสดีค่ะ อาจารย์ ตอนนี้แผนกกายภาพของรพ.หนูกำลังทำHA ขั้นที่3 อยากรบกวนขอตย. profile แผนกแบบใหม่หน่อยค่ะ หาข้อมูลยากมาก และการจัดทำ competency ของแผนกด้วยนะค่ะ

ขอบคุณอ. ปนดามากค่ะ

เมลหนู [email protected]

นางสาวเทพศิรินทร์ อึ้งบรรจง

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเป็นนักกายภาพเพิ่งเริ่มทำงานโรงพยาบาลกุสุมาลย์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนค่ะ

ต้องการรายละเอียดเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ต้องใช้ในโรงพยาบาลชุมชน และสั่งซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบบำบัด หนูอยากทราบเรื่องของยี่ห้อและราคานะค่ะ

อาจารย์พอมีให้หนูไหมค่ะ หนูต้องการด่วนมากค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

หนูเพิ่งเปิดแผนก ยังไม่มีความรู้ในการเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด รบกวนขอแบบฟอร์มด้วยค่ะ

-แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านค่ะ

-แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

-แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ

เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน

อีเมล:[email protected]

รบกวนอาจารย์หน่อยนะค่ะ หนูทำงานที่อนามัยของอำเภอ งานที่ทำจะเน้นงานผู้พิการซึ่งหนูยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้ หนูรบกวนขอแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับการออกเยี่ยมผู้พิการค่ะ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง การเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินความพิการ แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ

รบกวนส่งมาที่ [email protected]

ขอบคุณนะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉันต้องการรายละเอียดเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ต้องใช้ในโรงพยาบาลชุมชน และสั่งซื้อเครื่องมืออุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด ดิฉันอยากทราบเรื่องของยี่ห้อและราคานะค่ะ

รบกวนขอข้อมูล การเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด ขอแบบฟอร์ม

-แบบประเมินความพิการ การคิดค่าบริการและแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้าน

-แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

-แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ

เพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน

อีเมล:[email protected]

เรียนอาจารย์ปนดา

งานออกชุมชนของโรงพยาบาลสามเงาได้เริ่มดำเนินการแล้ว และได้คีย์ข้อมุลในเว็บของ สปสช.

แล้ว เงินก็เข้าเงินบำรุงแล้ว แต่ไม่เคยเขียนโครงการขอค่าตอบแทนในเวลาราชการเลย เคยเขียนแต่ของบจาก

อบต. ซึ่งทางโรงพยาบาลก็บอกให้เยี่ยมนอกเวลาถึงจะได้ค่าตอบแทน ขอรบกวนอ.ปนดา ส่งตัวอย่างโครงการ

เยี่ยมบ้านในเวลาให้เป็นตัวอย่างหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ

email : [email protected]

ขอเป็นกำลังใจให้นักกายภาพทุกคนนะคะ

ขอเป็นกำลังใจให้นักกายภาพบำบัดทุกคนนะค่ะ

อาจารย์คะ หนูรบกวนขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านหน่อยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

[email protected]

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเป็นนักกายภาพเพิ่งเริ่มทำงานโรงพยาบาลกุสุมาลย์ เป็นโรงพยาบาลชุมชนค่ะ

ขอแบบฟรอมการส่งข้อมลูผู้ป่วยให้กับสปสช.ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ ตอนนี้เป็นนักกายภาพบำบัดที่ศูนย์บริการสุขภาพ คณะวิทยาการสุขภาพและการกัฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดพัทลุง ค่ะ ตอนนี้กำลังจัดทำโครงการกายภาพบำบัดเพื่อชุมชน จึงรบกวนขอข้อมูลงานกายภาพบำบัดกับชุมชน และโครงการเยี่ยมบ้านประเมินผู้ป่วยพิการ และไฟล์งานกายภาพบำบัดสำหรับโรงพยาบาลชุมชน รบกวนพี่ ๆ ช่วยส่งข้อมูล แบบสอบถามปัญหากายภาพบำบัดและการเก็บข้อมูล ต่าง ๆ มาที่ [email protected] ด้วยนะค่ะ ขอบคุณมากค่ะ

เรียนทุกท่าน

สำหรับผู้ที่ขอ spec เครื่อมือ PT อาจารย์ไม่มีนะคะ แต่มีที่อยู่ของบริษัทขายเครื่องมือ PT หลายแห่ง จะส่งไปให้ ถ้าติดต่อขอ spec เขา เขาก็จะส่งให้เราได้ค่ะ อยากให้ขอจากหลายๆบริษัทจะได้เปรียบเทียบราคาได้ และที่สำคัญควรสอบถามเรื่องการบริการหลังการขายด้วยค่ะ ไม่เช่นนั้นเวลาเสียหรือมีปัญหา อาจต้องเสียค่าใช้จ่าย และเสียเวลารอซ่อมนานค่ะ

ปนดา

เรียน อาจารย์ ปนดา

กระผมเพิ่งได้เข้าทำงานที่โรงพยาบาลจิตเวช เป็นวันที่สามคับ พอดีกระผมอยากทำโครงการเกี่ยวกับผู้ป่วยจิตเภท ครับ

ผมขอเรียนปรึกษาเรื่องกายภาพบำบัดในผู้ป่วยจิตเภท ว่าเราสามารถทำได้ในรูปแบบไหนนอกจากการออกกำลังกายครับ พอดีที่ รพ.ฝ่ายจิตเวช อยากให้ผมเข้าไปช่วยในเรื่องนี้ และกระผมอยากให้ทาง ร พ เห็นความสำคัญกับวิชาชีพของเราครับ แต่ผมยังไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไงดีเลยครับอาจารย์ และตอนนี้ร พ จิตเวชก็สังกัดกรมสุขภาพจิตด้วยคับ ไม่ใช่กรมการแพทย์เหมือนเมื่อก่อน และค่าตอบแทนที่ได้ ก็ค่อนข้างน้อย การเสนอของบประมาณอะไรก็ค่อนข้างยากลำบากหน่อยครับ เพราะเป็นโรงพยาบาลฝ่ายใจมากกว่า ผมจึงอยากเรียนปรึกษาอาจารย์ เรื่องดังกล่าว หรืออาจารย์พอจะมีแหล่งข้อมูลที่สามารถนำมาเป็นประโยชน์ได้หรือเปล่าครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ

สวัสดีคะอ.ดา หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชน เพิ่งเข้ามาทำงานในงบ สปสช. ค่ะ หนูอยากทราบเรื่องเงื่อนไขในการรายงานการทำงานให้กับ สปสช. ว่าเราต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ รบกวนหน่อยนะคะ

[email protected]

ดีค่ะ อ.ปนดา

หนูทำงานอยู่โรงพยาบาลชุมชน 3 เดือนแล้วแต่ยังไม่ได้รายงาน สปสช เลยค่ะ หนูรบกวนขอ

แบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้าน

แบบประเมินผู้พิการ

และตอนนี้แผนกกายภาพของรพ.หนูกำลังทำHA อยากรบกวนขอตัวอย่าง profile แผนกแบบใหม่หน่อยค่ะ หาข้อมูลยากมาก และการจัดทำ competency ของแผนก และ การทำCQI ค่ะ คือหนูต้องพรีเซ็นวันที่ 20 ก.ค นี้ค่ะรบกวนอาจารย์ช่วยหนูหน่อยนะค่ะ

ขอบคุณมากมากค่ะ

ส่งมาที่ [email protected]

สวัสดีค่ะ อาจารย์ปนดา

หนูรบกวนขอแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับการออกเยี่ยมผู้พิการค่ะ

- แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ

- แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง

ส่งมาที่ [email protected]

ขอบคุณมากค่ะ

อาจารย์คะ หนูเพิ่งเริ่มทำงาน PT ในชุมชนโดยงบ สปสช แต่หนูยังไม่ทราบว่า เรื่องเงื่อนไขที่ต้องรายงานการทำงานให้กับ สปสช. ว่าเราต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ มีส่วนประกอบอะไรบ้าง โรงพยาบาลที่หนูทำอยู่ตอนนี้ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดเลย หนูควรเริ่มดำเนินการอย่างไรคะ สุดท้ายหนูรบกวนขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านด้วยค่ะ (ยอมรับว่าตอนนี้เคว้งมากไม่รู้จะเริ่มต้นตรงไหนดี เพราะมีแค่ 2 มือกับความรู้และใจเท่านั้น) ขอบคุณค่ะ

จากหัวข้อ 624 รบกวนอาจารย์ส่งข้อมูลให้หนูที่ [email protected]

เรียนน้องๆ ที่ขอเอกสารเข้ามาตั้งแต่ post ที่ 620-625

อาจารย์จะส่งเอกสารเป็นข้อมูลให้น้องๆสำหรับเริ่มงาน พร้อมตัวอย่างประกอบ แต่อย่างไรก็ตาม อยากแนะนำให้น้องๆ click เข้าไปอ่านใน post ที่ 539, 584, 589, 595, 596 น้องๆจะได้เข้าใจเกี่ยวกับวิธีคีย์ข้อมูลให้สปสช. และวิธีการเบิกค่าตอบแทนในการออกเยี่ยมบ้าน ว่าจะอ้างระเบียบอะไร คุณกิตติ สมบรรดา เขาแนะนำไว้ดีมาก และมีเบอร์โทร และ e-mail ติดต่อเขาเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้เลย แต่ในเบื้องต้นอาจารย์จะจัดส่งเอกสารไปให้พวกคุณก่อนทาง e-mail ที่ให้ไว้ค่ะ

ปนดา

เรียนอาจารย์ปนดาที่เคารพค่ะ ตอนนี้โรงพยาบาลนาจะหลวยรับการ Accreditation หรือการประเมิน HA รอบ 3 ผ่านแล้วค่ะ นู๋ดีใจมากค่ะที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ได้นำเสนอผลงาน และทำให้ผลงานงานกายภาพเป้นผลงานเด่นของโรงพยาบาลด้วย จากสิ่งที่อาจารย์คณะผู้ตรวจกล่าวไว้ว่า สิ่งที่น่าชื่นชม

การพัฒนาระดับหน่วยงานที่โดเด่น ได้แก่ 1 ทันตกรรม 2การแพทย์แผนไทย 3 งานกายภาพบำบัด มีความเข้าใจในบทบาทหน้าที่ สามารถดูแลครอบคลุมในกลุ่มที่ยากต่อการเข้าถึงบริการ เช่นผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส ส่งผลให้ผู้ป่วยในกลุ่มนี้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องและผู้ดูแลยอมรับ/มีส่วนร่วมในการฟื้นฟุสภาพผู้ป่วย รวมทั้งชุมชนได้มีส่วนร่วมมากขึ้น และยังมีในหัวข้อว่าโรงพยาบาลให้ความสำคัญในการทำงานการดูแลผู้พิการแบบองคืรวม ทั้งค้นหาในการดูแล ปรับสิ่งแวดล้อมที่บ้าน สิทธิผู้พิการ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และวางแผนการสร้างเครือข่ายในการดูแลร่วมกัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเป็นลำดับ สิ่งนี้คือสิ่งที่อาจารย์สรุป ทำให้งานกายภาพบบำบัดมีบทบาทมากยิ่งๆๆขึ้นไปค่ะ และส่งผลให้นู๋ต้องทำห้องให้ได้ตามมาตรฐานให้ได้ อยากมีห้องกายภาพบำบัดสวยๆๆ เรามีผลงานโรงพยาบาลก็พร้อมจะทำให้ ตอนนี้เลยหายเหนื่อยเลยค่ะกับสิ่งที่ทำมา และก็จะทำ CQI ให้มากขึ้นด้วยค่ะ เพื่อจะได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไปค่ะ

ขอแสดงความยินดีกับ PT นาจะหลวย ด้วยนะคะ และขอชื่นชมกับความสำเร็จของ นาจะหลวย เพราะน้องเพิ่งเริ่มงานใหม่ได้ประมาณแค่ 1 ปี แต่มีส่วนช่วยทำให้รพ.ผ่าน HA รอบ 3 ได้ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายของรพช. ดังนั้นเป็นเรื่องที่น่ายินดีและน่าชื่นชมมาก ขอให้น้องพยายามต่อไปนะคะ อาจารย์และเพื่อนๆ PT ชุมชน จะคอยเป็นกำลังใจให้นะคะ

ปนดา

สวัสดีครับผมอาจารย์

ผมเป้นนักกายภาพบำบัด ผมจบ HCU รุ่น 7 ซึ่งตอนนี้ผมขอความกรุณาอาจารย์เพราะผมกำลังจะเซตระบบทางแผนกกายภาพบำบัดให้มีความสมบูรณ์ เพื่อเตรียมพร้อมการตรวจจาก HA ขั้น 3 แต่ยังไม่เป็นระบบเลย ไม่ทราบ่ว่าผมต้องมีข้อมูลด้านไหนบ้างครับผม และอาจารย์พอมีข้อมูลหรือหนังสอื หรือแบบฟอร์ม ไหมครับผม ผมขอความอนุเคราะห์จากอาจารย์ด้วยนะครับผม

หวัดดีครับผม เพื่อนๆ ร่วมวิชาชีพทุกคน

ใครพอมีแบบฟอร์มการตรวจจาก HA บ้างครับผม และใครพอมี competency ของนักกายภาพบ้าง ..... ใครมีโครงการดีๆ พอจะแบ่งปันว่า การเพิ่มรายได้ให้กับแผนกได้บ้างครับผม รบกวนด้วยนะครับผม

ขอบพระคุณอาจารย์ปนดาเป้นอย่างสูงค่ะ จะพยายามพัมนางานกายภาพบำบัดต่อไปให้ดียิ่งๆๆขึ้นและประชาสัมพันธ์งานให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นค่ะ และPT HCU แนะนำตัวเพิ่มหน่อยนะคะ อ้อมก็ PT HCU เหมือนกันค่ะ รหัส 48

เรียนสอบถามค่ะ สปสช เขต 5 มีนโยบายให้มีการเขียนโครงการสำหรับทำงานในชุมชน อยากทราบว่าเขตอื่น จะมีโครงการแบบนี้หรือเปล่่าค่ะ

พี่ PT ที่นาจะหลวยผ่านการประเมินHA แล้วดีจัยด้วยค่ะ แล้วหนูจะทำให้โรงพยาบาลหนูผ่านมั้ยหน้อ พี่ๆขาหนุรบกวนขอตัวอย่างที่พี่ทำ CQI หน่อยนะค่ะ เพื่อเป็นตัวอย่างดีๆให้กับน้องๆค่ะ ส่งมาที่ [email protected] ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าเด้อคร้า

เรียน อ. ปนดา ที่เคารพค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพบำบัด รพ.ชุมพลบุรี จ. สุรินทร์ค่ะ

พอดีได้มีโอกาส เข้าอบรมการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ ของ สรพ.

เลยอยากทำงานวิจัยเชิงคุณภาพบ้างค่ะ  แต่ไม่รู้ว่าจะทำเรื่องอะไรดี เนื่องจากคิดได้แต่งานวิจัยเชิงปริมาณ 55

หนูเลยอยากขอตัวอย่างหรือ คำแนะนำจากอาจารย์ว่า จะทำเรื่องอะไรได้บ้างนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์ปนดา

สิริกานต์  ทาหนองเภา งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลชุมพลบุรี จ. สุรินทร์

[email protected]

CQI มันต้องเอางานที่เราทำน่ะจ่ะ ว่ามันเกิดปัญหาอะไรแล้วเราแก้ไขอย่างไร ปรับปรุงยังไง หรือพัฒนาอย่างไร ตอนนี้พี่มีนวัตกรรมใหม่ อุปกรณ์ฝึกผู้ป่วยเหมือนจักรยานที่ใช้มือปั่น แต่เป็นแนวคิดของอสมช.ฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่พี่อบรมไป เราเสนอแนวทางแต่เค้าเอาไปต่อยอด นำเอาอุปกรณ์ของคนโบราณมาประยุกต์ใช้แล้วใช้ได้ผลดีมากๆๆเลย เป็นการอนุรักษ์ของเก่าด้วยเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน กำลังจะให้ช่างนำมาปรับแต่งให้สวยงานเผื่อจะได้นำเสนอกะเค้ามั่ง คือมันถูกและทำให้ผู้ป่วยสนุกกับการออกกำลังกายด้วย

เรียน อาจารย์ปนดาและสวัสดีพี่น้องชาวกายภาพบำบัดชุมชนทุกท่าน

วันนี้ผมได้เข้าร่วมประชุมการติดตามผลการดำเนินงานฟื้นฟูสภาพด้านการแพทย์ (คนพิการ สูงอายุ sub acute) สสจ.อุบลราชธานี เค้าโอเคกับผลงานของเรามากๆ ซึ่งกำลังจะมีการประชุมวางแผนการดำเนินงานให้ปี 54 วันที่ 15-16 นี้ ซึ่งผมเองได้เป็นตัวแทนของเครือข่ายกายภาพบำบัดอุบลราชธานี สปสช เขต 10 เข้าร่วมรับฟังและเปงตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จิง (เนื่งจากพี่น้อย เจ๊ดันคนเก่งของเราติดประชุมที่ กทม. เลยให้กระผมทำหน้าที่นี้แทน) จึงอยากให้ทุกคนได้ให้เสนอแนะ ว่าปีงบประมาณหน้าอยากให้โครงการนี้มีทิศทางในแนวทางใด โดยเฉพาะสมาชิค สปสช เขตเดียวกัน และทุกท่านเพราะงานด้านนี้เป็นงานใหม่ยังต้องการรูปแบบที่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อนำไปปรับใช้กันทั้งประเทศ และยังส่งผลต่องานกายภาพบำบัดที่จะมีงานและงบประมาณสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจาก สปสช. เฉกเช่นงาน ทีบี เอสด์ เบาหวาน และอื่นๆที่มีมาก่อนเรา

ประเด็นที่สองจากการประชุมวันนี้เช่นงานผมยังได้รับมอบหมายให้เป็นสถานที่ดูงานของ นักกายภาพบำบัด น้องใหม่ที่กำลังจะเซตแผนกอีกสองแห่ง แต่ไม่ทราบว่าจะต้องเตียมเอกสารอะไรให้น้องบ้างเพราะมันเยอะมากจริงๆ ซึ่งผมเองก้อเพิ่งเปิดแผนกได้ 1 ปีกว่าเท่านั้น จึงอยากจะถามทุกท่านที่เพิ่งเปิดแผนกว่าถ้าเป็นท่ามาดูงานท่านอยากได้ข้อมูลอะไรบ้าง ซึ่งผมก้อเตรียมไว้บ้างแล้วแต่หากได้ทุกคนช่วยคิดก้อจะเป็นการดีเป็นอย่างยิ่ง

เรื่องที่สามอยากถามพีทีห่อมดน้อยว่าเอกสารที่ขอ ผมได้จัดส่งทางเมลล์ให้แล้วไม่ทราบว่าได้รับหรือไม่ กรุณาแจ้งด้วย

เรื่องที่สามอยากทราบว่า มี สปสช.เขต 10 ในบล็อกนี้หรือป่าวเผื่อว่าต้องการประสานหรือขอคำแนะนำจะได้โฟกัสได้ดีขึ้น ส่วนผมเป๋น KKU PT รุ่น 23 รหัส 483090094-5 เง้อยังจามได้อีกเหะครับ

สุดท้ายอยากจะเรียนถามว่า ถ้าผมอยากให้มีรูปตัวเองแสดงบนบล็อกของ รศ.ปนดา บ้างต้องทำยังไงครับ 5555555555 นอกเรื่องได้อีก อิอิ

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353 [email protected]

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนค่ะ เพิ่งทำงานได้ไม่กี่เดือน อยากสอบถามพี่ๆว่าในกรณีคนไข้ที่ใช้สิทธิเบิกได้ เวลาคนไข้ไปจ่ายเงินเพื่อที่จะนำไปเบิกจากทางต้นสังกัดคนไข้ต้องขอใบรับรองแพทย์ไปเบิกด้วยมั๊ยค่ะ เพราะทางฝ่ายการเงินเค้ามาถามหนูว่าพี่ไม่แน่ใจนะว่าคนไข้จะนำไปเบิกได้รึป่าวเพราะแพทย์แผนไทยเค้ามีใบรับรองแพทย์แนบไปด้วยทุกครั้ง แล้วทางกายภาพเค้าไม่มีกันเหรอ

เรียนคุณณัฐพัชร์

กรุณาแจ้ง e-mail address ด้วย จะได้ส่งเอกสารไปให้ค่ะ

ปนดา

เรียนกภ.สิริกานต์

ดีใจกับน้องด้วยที่ได้เข้าอบรมเรื่องงานวิจัยเชิงคุณภาพ ส่วนจะทำวิจัยเรื่องอะไร ก็คงต้องถามตัวเองว่าสนใจจะแก้ปัญหาเรื่องอะไร เพราะงานวิจัยเชิงคุณภาพส่วนใหญ่จะตอบคำถามเกี่ยวกับ How? และ Why? ไม่เน้นเรื่องปริมาณ ซึ่งจะทำให้เราเข้าใจปัญหา และสามารถมองเห็นความเป็นทั้งหมดของปัญหา(จากหลากหลายมุมมอง) ทำให้เราสามารถที่จะหาแนวทางที่เหมาะสมในการแก้ปัญหาได้มากกว่าไม่รู้อะไรแล้วไปแก้ ค่ะ

ปนดา

ตอบคำถามโพส 639

ผู้ป่วยที่มารับบริการทางกายภาพบำบัด พี่เคยถามปัญหานี้กับ หน งานประกันสุขภาพแล้ว เค้าบอกว่านกรณีสิทธิเบิกได้แต่ต้องไปเบิกจากต้นสังกัด ไม่ต้องแนบใบรับรองการรักษาหรือสำเนารับรองใบอนุญาติประกอบวิชาชีพ เนื่องจากเรามีสภารับรองการทำงานแล้วและตาม พรบ มาตรา 27 นักกายภาพบำบัดสามารถตรวจ วินิจฉัย และรักษาได้โดยไม่ต้องผ่านคำสั่งแพทย์ แต่น้องๆต้องสอบใบประกอบผ่านแล้วเท่านั้น

ขอบคุณพี่กภ.กิตติ สมบรรดา มากนะค่ะ

หนูมีอีกเรื่องค่ะ มีคนไข้ในเป็น asthma แล้วพี่พยาบาลถามว่าหนูสามารถไปทำ chest therapy ได้มั๊ย

แต่ประเด็นคือว่าหมอยังไม่ consult นะค่ะ หนูก้อเลยบอกว่าต้องให้หมอ consult ก่อน

หนูจะถามว่าจริงจริงแล้วเราสามารถเข้าไปรักษาคนไข้เลยได้มั๊ยค่ะ โดยที่หมอยังไม่ consult

ณัฐพัชร์ ธนะปานสวัสดิ์

ขอบพระคุณอย่างสูงครับผม [email protected] ครับผม อาจารย์

ณัฐพัชร์ ธนะปานสวัสดิ์

อีเมล์ของผมครับผม อาจารย์ [email protected] ขอขอบพระคคุณเป็นอย่างสูงครบผม

ไปฟัง การบรรยาย ของ น้องโอ เรื่องการเยี่ยมบ้าน

ของนักกายภาพบำบัด ทีมไม้เลื้อย รพ.กุฉินารายณ์ สุดยอดมากๆ

ตอบคำถามโพส 643

ตามความเห็นส่วนตัวของพี่คิดว่าเราควรผ่านแพทย์ให้เค้า consult ก่อน เพื่อ save ตัวเราเองด้วย แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่ว่าเราต้องการว่างระบบอย่างไรโดยส่วนมาก รพช มักผ่านแพทย์เพื่อลดปริมาณคนไข้ที่จะ walk in มาหาเราโดยตรง น้องควรจัดทำรายชื่อกลุ่มโรคให้หมอดูว่าเคสแบบไหนที่จะส่งปรึกษานักกายภาพบำบัดได้บ้าง ต้องพูดบ่อยๆกระตุ้นเยอะๆเด่วพอเค้าเริ่มรู้งานเราๆเองอาจจะมานั่งบ่นว่าทำไมส่ง consult เยอะจังเลยทำไม่ไหวแบบที่พี่กะลังเจออยู่ในขณะนี้ก้อเปงได้

ตอบ post ที่ 643 กรณีผู้ป่วย Asthma ในความเห็นของอาจารย์ คิดว่ายังไม่ควรเข้าไปทำPTถ้าแพทย์ยังไม่ consult โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยใน เพราะระบบบริการสุขภาพที่ดีควรมีการทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ ระบบก็คือเราต้องสร้างขึ้น และเราก็ควรทำงานอย่างเป็นระบบ ไม่เช่นนั้นอาจทำให้เกิดความขัดแย้งหรือความข้าใจที่ไม่ตรงกันได้ อาจารย์มีความคิดเห็นว่าสำหรับระบบการส่งปรึกษาผู้ป่วยใน น่าจะต้องเป็นแพทย์ที่ต้องส่งปรึกษา PT ก่อน ส่วนปัญหาคือถ้าแพทย์ไม่ส่งใน case ที่สมควรส่ง เราจะทำอย่างไรเพื่อให้แพทย์ส่ง ก็อาจจะมีหลายวิธี การทำ service profile ก็น่าจะเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยปชส.งานเราได้ การพูดคุยกับแพทย์หรือถ้าเริ่มคุยกับพยาบาลง่ายกว่า ก็อาจคุยกับพยาบาลเพื่อให้เขาช่วยคุยกับแพทย์อีกทางหนึ่งด้วย หลายคนก็ทำอย่างนั้น เพราะส่วนใหญ่พยาบาลอยากให้เราเข้าไปช่วยที่ ward อยู่แล้ว แต่ไม่ควรเข้าไปทำโดยไม่มี consult เพราะเราจำเป็นที่ต้องสื่อสารกับแพทย์และบุคลากรในทีม

ปนดา

ถึงอาจารย์ปนดาและนักกายภาพบำบัดทุกท่าน

ดิฉันนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลนาจะหลวย กำลังดำเนินตกแต่งห้องกายภาพบำบัด และต้องการที่จะตกแต่งประตูทางเข้าห้องเป็นกระจกอ่ะค่ะ ให้เป็นไวนิลแบบสติ๊กเกอร์แต่ยังคิดลายไม่ออกว่าจะทำลายอะไรดี เพื่อจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วย เป็นการประชาสัมพันธ์งานด้านส่งเสริม ใครมีหัวด้านศิลปะช่วยอ้อมหน่อยนะคะ แบบภาพส่งเสริมเลิกบุหรี่งี้ก็ได้ หรือจะเป็นการส่งเสริมสุขภาพก็ได้ค่ะ แบบน่ารักๆๆ อ่ะค่ะ ช่วยหน่อยนะคะ

เรียน รศ.ปนดา

เนื่องจากได้รับหนังสือสำรวจขอเป็นสภานที่ฝึกงานกายภาพบำบัดชุมชน ซึ่งตอนนี้ รพช.เขื่องใน มี เครื่อง ES US traction Hydrocallator Paraffin อย่างละหนึ่งเครื่อง จำนวนคนไข้15-20 ต่อวัน และกิจกรรมเยี่ยมคนพิการ ทดสอบสมรรถภาพสูงอายุ ตรวจและดัแปลงรองเท้าเบาหวาน วิทยุชุมชน เสียงตามสาย อื่นๆ แต่เพิ่งเปิดแผนกได้ไม่นานไม่ทราบว่าจะสามารถเป็นสถานที่ฝึกได้หรือเปล่าครับ

ลืมไปครับมี SWD ด้วยครับ เพิ่งมาใหม่

ได้และเหมาะสมแล้วจ่ะคุณเพื่อน สิ้นเดือนเจอกัน ของเราคงยังไม่รับอ่ะไว้ให้ห้องเสร็จก่อนค่อยรับปีหน้า

ผมอยู่โครงการไร้ความแออัด นครราชสีมา ลงเยี่ยมบ้านและรักษาที่สถานีอนามัยในเขตอำเภอเมือง อยากถาม อ. มีโอกาสที่ รพ.สต.จะมีกรอบ PT ได้เมื่อไร

เป็นนักกายภาพโรงพยาบาลไทรน้อย โรงพยาบาลชุมชน อยากทราบวิธีการ ลงข้อมูลผู้พิการให้กับ สปสช ค่ะ มีช่วงหนึ่งให้นักกายภาพสมัครไปลงทะเบียน เพื่อลงข้อมูล ออนไลน์ เเต่ตอนนี้ยังไม่ได้ทำยังไม่เข้าใจค่ะ และ วิธีการขอรถเข็นจาก สปสช ให้กับผู้พิการค่ะ mail ค่ะ [email protected]

ตอบคำถาม กภ.สุพรรณษา

วิธีการลงข้อมูลรายงานการให้บริการฟื้นฟูและเบิกกายอุปกรณ์

1.เข้าเวปไซด์ของ สปสช> www.nhso.go.th

2.เลือกเมนูการให้บริการออนไลน์

3.เลือกข้อหัวที่ 12.การให้บริการฟื้นฟูและเบิกกายอุปกรณ์

4.ใส่ชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน

5.เลือกหัวข้อการให้บริการฟื้นฟูหรือเบิกกายอุปกรณ์

6.ใส่เลขที่บัตร ปชช ผู้ป่วย เลือกประเภทผู้ป่วยให้ถูกต้องระหว่างคนพิการหรือระยะฟื้นฟู

7.เลือกบริการ>กายภาพบำบัด (หากเป็นพิการด้านอื่นในลงเอ็กเซลล์ส่งไปทางเมลล์อีกทีต่อผู้ที่ดูแลงานคนพิการเขตนั้นๆ)

8.เลือกวันที่ให้บริการ ลง HN

9.บันทึกข้อมูล ตกลง

วิธีการขอรถเข็นจาก สปสช. นั้นไม่มีหรอกนะ

คุณจะต้องบริหารเงินจัดซื้อจากกองทุนที่ สปสช. โอนมาให้ในเงินบำรุงเพื่อซื้อกายอุปกรณ์ให้แก่คนพิการจากวงเงิน 200000 หรือ

มากว่านั้นในบาง รพ. ขึ้นอยู่กับว่าปีที่แล้ว รพ มีการให้บริการด้านนี้เพียงใด้หากใช้เงินมากกว่างบ ปีถัดไปจะได้รับเงินมากขึ้น โดยรายงานการเบิกคล้ายๆกับการฟื้นฟู อุปกรณ์ใดที่ไม่มีในรายงานสำหรับคนพิการให้รายงานเป็นเอ็กเซลล์ส่งทางเมลล์ แต่ถ้ามีข้อมูลการขอจริงกรุณาโพสอธิบายรายละเอียดด้วยนะครับ จักเป็นพระคุนยิ่ง

กภ.กิตติ สมบรรดา

หน.งานกายภาพบำบัด รพช.เขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353 [email protected]

ขอบคุณคุณกิตติที่ได้ช่วยตอบเรื่องการลงข้อมูลให้สปสช. และขอแสดงความยินดีที่คุณจะได้เป็น clinical instructor เร็วนี้ อาจารย์เชื่อว่าคุณทำได้และจะทำได้ดีด้วยค่ะ

ปนดา

อยากการเปิดกรอบ PT ใน รพ.สต. จะเริ่มเมื่อไร

ขอขอบคุณกำลังใจจาก รศ.ปนดา เป็นอย่างยิ่งผมจะพยายามพัฒนางานกายภาพบำบัดให้กว้างเพิ่มขึ้นครับ

และขอตอบคำถาม กภ.วโรตนม์ ปาลิกา เกี่ยวกับกรอบอัตรากำลังกายภาพบำบัดใน รพ.สต. ยังไม่มีครับไม่สามารถบอกได้ว่าเมื่อไรด้วย เพราะ รพช.เองก้อยังไม่มีการกำหนดกรอบที่ชัดเจนเช่นกาน ปัจจุบัน รพช ใช้ปริมาณงานและอัตราส่วนต่อหัวประชากรเป็นการกำหนดขอคนเพิ่ม ซึ่ง นักกายภาพบำบัด 1 คนต่อ 15000 ประชากร ครับ

เรียนสมาชิก กภ. รพช

อยากทราบว่าเกณฑ์การออกใบรับรองแพทย์ให้คนพิการต้องพิการมาแล้ว 6 เดือนใช่ไหมคะ

ใครทราบรบกวนอธิบายการออกใบรับรองให้ฟังหน่อยคะ

เรียน พี่ๆ กายภาพฯ ทุกคนนะคะ

หนูอยากจะขอความรู้เกี่ยวกับเรื่องการทำ HA,

การเตรียมแผนกเพื่อขอรับการประเมินการประกันคุณภาพและรับรองมาตราฐาน จากผู้ตรวจเยี่ยม หน่อยค่ะ

ถ้าพี่คนไหนที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ หรือพอจะทราบแหล่งที่จะหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

รบกวนติดต่อกลับมาที่ [email protected] นะคะ

จากความเห็น 545 พี่คะหนูเป็นนักกายภาพที่เพิ่งจบมา ตอนนี้เริ่มออกชุมชนดูผู้พิการบ้างแล้ว แต่ยังไม่มี PASSWORD AND USERNAME ในการคีย์ข้อมูลให้ สปสช ค่ะ ขอความกรุณากับ PTน้อยหน่อยนะคะ

ที่ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียนอาจารย์ปนดาและพี่ๆกายภาพบำบัดทุกคนนะค่ะ

ดิฉันมีเรื่องที่จะขอคำแนะนำค่ะ

คืออยากรู้วิธีการบริหารความเสี่ยงเกี่ยวกับกระดูกหักค่ะ

ว่าจะมีวิธีบริหารความเสี่ยงนี้อย่างไรค่ะ

ขอคำแนะนำหน่อยนะค่ะ

รบกวนส่งเข้ามาที่เมล์นี้นะค่ะ [email protected]

ขอบคุณมากๆค่ะ

จากความคิดเห็นที่ 620 อาจารย์ค่ะหนูยังไม่ได้เอกสารค่ะ ขอรบกวนอาจารย์หน่อยนะคะ ขอบพระคุณอย่างสูง

[email protected]

ตอบ post ที่ 661

การบริหารความเสี่ยงผู้ป่วยกระดูกหัก ควรตอบคำถามก่อนว่าจะทำในผู้ป่วยกระดูกหักที่ไหน กระดูกในรพ.ของน้องมีอุบัติการณ์การหักซ้ำ หรือหักผิดรูปหรือไม่ ถ้ามีควรวิเคราะห์หรือหาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่าเกิดจากสาเหตุใดบ้าง สาเหตุอาจเกิดได้จากหลายอย่าง ทั้งจากการดูแลของเราเองและจากผู้ป่วยเอง เมื่อได้ปัญหาและสาเหตุแล้วจึงค่อยมาวางแผนการบริหารหรือจัดการกับความเสี่ยงต่างๆได้ค่ะ แต่ควรเข้าถึงความจริงของสาเหตุก่อนค่ะ จึงจะสามารถออกแบบการจัดการความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และควรมีการประเมินผลด้วยว่าได้ผลในการลดอุบัติการณ์ไหม ถ้าไม่ลดลงเพราะอะไร ควรทำให้เป็นระบบ ครบวงจรก็จะดีมากๆค่ะ

ปนดา

พอดีมีน้องปรึกษาคำถามมาคิดว่าน่าจะเปงประโยชน์ต่อคนอื่นๆด้วยจึงขออนุญาติคำคำถามน้องมาเผยแพร่

เท่าที่พี่ทราบมาว่า สปสช ร่วมกับสภากายภาพบำบัดจัดตลาดนัดรับสมัครงานกายภาพบำบัดในสี่สถาบัน ซึ่ง ผอ บ้าง รพ มีความเข้าใจว่าจะใช้เงิน 200000แสนจ้างนักกายภาพบำบัด ซึ่งไม่เหมาะสมนักเนื่องจากน้องเองจะไม่มีความมั่นคงในการทำงาน หากไม่มีงบนี้น้องอาจถูกลอยแพได้ และเงินจำนวนดังกล่าวหากนำมาใช้บริการงานฟื้นฟูแล้วไม่พอเลยด้วย ดังนั้นคุนน้องต้องอธิบายให้ ผอ เข้าใจ และจ้างโดยเงินบำรุงของ รพ.แทนครับ

ขณะนี้ สปสช ได้ปลดล็อกการรายงานผลการฟื้นฟูทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจากเดิมเพียงผู้พิการ ท 74 แต่ปัจจุบันน้องสามารถดูแล ผู้สูงอายุ และ sub acute ที่ยังไม่จดทะเบียนร่วมด้วยได้ ค่าตอบแทนที่ได้แยกต่างหากจากเงินเดือนแน่นอน และสามารถให้ครายก้อได้ที่ออกหน่วยเพื่องานฟื้นฟูนี้ เช่น แพทย์ พยาบาลจิตเวช นักกายภาพบำบัด แต่คนเหล่านี้ต้องให้บริการคนไข้นะไม่ใช่ไปเชียร์เราฝึก หากน้องจะเซทออกเป็นทีมก้อได้ แต่ความเหนส่วนตัวพี่ไม่ออกไปพร้อมกันเพราะเราทำงานช้าเพิ่มขึ้นหากเจอเคสจะคอนเซาให้คนที่เกี่ยวข้องไปดูภายหลัง อันนี้ก้อแล้วแต่งน้องจะกำหนดเองเพราะเราเปง หน.งานจะดีไม่ดีก้อเรากำหนด ส่วนวิธีการลงข้อมูล สปสช ให้อ่านจากบล็อกของ รศ.ปนดา พิมพ์ www.google.com ค้นหา กายภาพบำบัดชุมชน โพสประมาณ 600 กว่า

กภ.กิตติ สมบรรดา

หน.งานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน

จ.อุบลราชธานี 34150

ขอข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับการเปิดแผนก ด้วยค่ะ อาจารย์

[email protected]

เรียนอ.ปนดา

อยากทราบว่า โรงพยาบาลชุมชนในเขตจังหวัด ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี มีที่ไหนเปิดรับบ้างคะ..

อ.พอจะทราบบ้างรึป่าวคะ

เรียนทุกท่าน

เมื่อวันที่ 21 ก.ค.53 อาจารย์ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมกับสปสช.ส่วนกลาง จึงได้มีโอกาสนำเสนอปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหางานกายภาพบำบัดชุมชนที่ได้จากการสัมมนาในการประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ในห้องกายภาพบำบัดชุมชน ในวันที่ 26-28 เมษายน 2553 ซึ่งมีนักกายภาพบำบัดเข้าร่วมสัมมนาประมาณ 90 คน ทำให้คนในสปสช.เขาเข้าใจปัญหาในการพัฒนางานกายภาพบำบัดชุมชนมากขึ้น สปสช.ยืนยันการสนับสนุนงบประมาณในกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ต่อเนื่องแน่นอน และยังยืนยันการขยายกรอบบริการคนอบคลุมผู้ป่วย subacute ตามที่คุณกิตติได้พูดถึงใน post ที่ 664 นอกจากนี้ อาจารย์ยังเสนอปัญหาเรื่องการคีย์ข้อมูลลงในฐานข้อมูลของสปสช.ด้วย ว่าไม่สามารถคีย์ข้อมูลในส่วนของผู้ป่วย subacute ได้ คีย์ได้แต่ผู้พิการที่ขึ้นทะเบียนแล้วเท่านั้น ซึ่งบางแห่งก็แก้ปัญหาด้วยการคีย์ลงใน excel ส่งไปให้ แต่ก็ยังไม่เป็นที่รู้กันในวงกว้าง อาจารย์ก็เสนอให้เขาไปปรับระบบการคีย์ข้อมูลให้สามารถคีญืข้อมูลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้ด้วย ซึ่งสปสชเขาก็รับทราบปัญหาและคงจะดำเนินการปก้ไขต่อไป ซึ่งเขาคงจะไปพิจารณาอีกที่ว่ากรณีผู้ป่วย subacute จะเป็นผู้ป่วยภาวะอะไรบ้าง

อีกวาระหนึ่งที่ได้ประชุมหารือคือแผนในการทำงานในปี 53-54 ว่าคณะทำงานกำลังคนกายภาพบำบัดระบบปฐมภูมิจะทำอะไรบ้าง ก็ขอสรุปสั้นๆ ดังนี้นะคะ

1. สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายกายภาพบำบัดชุมชนในแต่ละเขต โดยจะสนับสนุนให้เกิดชมรมกายภาพบำบัดชุมชนในแต่ละจังหวัดก่อน และพัฒนาต่อเป็นเขต โดยวัตถุประสงค์ของชมรมฯต้องเน้นไปในเรื่องการพัฒนาระบบบริการกายภาพบำบัดชุมชน การพัฒนาให้เกิดทีมการดูแลผู้ป่วยในชุมชน เช่น การพัฒนากลไก การพัฒนาระบบส่งต่อ การพัฒนาศักยภาพ เป็นต้น

2. การจัดตลาดนัดแรงงานกายภาพบำบัดชุมชน ที่ดำเนินการไปแล้วในปีที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นว่ายังเป็นประโยชน์ จึงให้ดำเนินการต่อไป โดยจะทำภาคละ 1 ครั้ง

3. การจัดปฐมนิเทศนักกายภาพบำบัดชุมชนที่เพิ่งเข้าทำงาน หรือเป็นนักกายภาพบำบัดใหม่ ซึ่งจะจัดโดยสถาบันการศึกษาเกือบทุกแห่ง เพื่อให้นักกายภาพบำบัดใหม่มีความรู้ในการ set หน่วยงานและระบบงาน

4. ในเดือน เมษายน 2554 จะมีการจัดเวทีนำเสนอผลงานของนักกายภาพบำบัดชุมชน ในงานประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ โดยอาจเป็นผลงาน R2R หรือเป็นโครงการกายภาพบำบัดชุมชนต่างๆ ที่นักกายภาพบำบัดทำแล้วมีตัวชี้วัดที่ดี มีการประเมินผลชัดเจน ดังนั้นจึงขอประชาสัมพันธ์ให้ทราบทั่วกันนะคะ อยากให้พวกเรามีผลงานไปนำเสนอให้มากๆ

5. การจัดทำคู่มือกายภาพบำบัดชุมชน สำหรับนักกายภาพบำบัดใหม่ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้มีข้อมูลพอสมควรแล้ว กำลังเรียบเรียงอยู่

6. จัดทำหนังสือ "กายภาพบำบัดชุมชน" ซึ่งคนของสปสช.เขาจะเป็นผู้ประสานงาน คณะทำงานฯช่วยเป็นกองบรรณาธิการให้ โดยหนังสือจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นเรื่อง กายภาพบำบัดสำคัญอย่างไรในระบบปฐมภูมิ ส่วนที่สองจะเป็นกรณ๊ศึกษาการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนโดยกายภาพบำบัด ซึ่งจะเป็นการนำเสนอกรณ๊ศึกษาจากนักกายภาพบำบัดชุมชนที่เด่นๆ อาจารย์เสนอให้เขาจัดทำเป็นสื่อวิดิทัศน์เผยแพร่ด้วย ซึ่งเขาก็รับไปพิจารณาว่าจะพอมีงบไหม ทั้งหนังสือและวิดิทัศน์คงจะช่วยปชส.งานกายภาพบำบัดชุมชนได้มากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริหาร ผอ. จะได้เข้าใจบทบาทงาน PT มากขึ้น

7. การทำแนวทางการพัฒนาเนื้อหาในกระบวนวิชากายภาพบำบัดชุมชน ในหลักสูตรกายภาพบำบัดปริญญาตรี ซึ่งงานนี้อาจารย์รับมาเป็นผู้ประสานงานให้

ทั้งหมดทั้งสิ้นนี้ก็คงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจกันของเราชาวกายภาพบำบัดชุมชนนะคะ

ปนดา

รบกวนอาจารย์ปนดาค่ะ ดิฉันอยากจะทราบการสำรวจอัตรากำลังที่สำรวจล่าสุด ว่าประชากรเท่าไหร่ต่อนักกายภาพบำบัดค่ะ

พอจะทราบได้ที่ไหนค่ะเพราะฐานข้อมูลที่มีอยู่เป็นปี 2546 ค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

ดาริกา

สวัสดีค่ะอาจารย์ปนดา หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนค่ะ คือตอนนี้ที่โรงพยาบาลที่หนูทำอยู่เพิ่งเปิดแผนกใหม่แต่ยังไม่มีห้องสำหรับกายภาพ จึงรบกวนถามเกี่ยวกับขนาดของห้องกายภาพค่ะว่า มาตรฐานขนาดห้องที่ใช้ในการตรวจ ประเมิน รักษาต้องมีขนาดเท่าไหร่ คะ

ขออนุญาติตอบคำถาม กภ.ดาริกา เท่าที่ผมได้ศึกษามาทราบมาว่านักายภาพบำบัด 1 คนต่อประชากร 15000 คนครับ

ตอบคำถามคุณ กภ.วชิราภรณ์ ขนาดห้องตามมาตรฐานถูกกำหนดโดยกระทรวงซึ่งมีแผนผังห้องต่างๆอย่างชัดเจน และหากใช้ตามมาตรฐานดังกล่าวแผนกกายภาพบำบัดสามารถเปง รพช. ได้หนึ่งแห่งเลยทีเดียว ดังนั้นจึงไม่มีการกำหนดสัดส่วนห้องกายภาพบำบัดเปงตัวชี้วัดเพราะถ้าเปงอย่างนั้นทุก รพ.จะสอบตกกันหมด ที่ยอมรับกันได้ใน รพช ควรมีขนาด 4x8 เมตรครับ (หมายถึงพื้นที่ทั้งหมด)

แต่หาก รศ.กภ.ปนดา มีรายละเอียดอื่นกรุณาโพสด้วยนะครับเพื่อเปงประโยชน์ต่อไป

สวัสดีครับ พอดีมีโอกาสได้ทำงานชุมชน แต่มีปัญหาเรื่องเอกสารครับ

ขอรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูผู้พิการ

แบบประเมินความพิการ

แบบประเมินการตวจเท้าเบาหวาน

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ พอดีมีโอกาสได้ทำงานชุมชน แต่มีปัญหาเรื่องเอกสารครับ

ขอรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูผู้พิการ

แบบประเมินความพิการ

แบบประเมินการตวจเท้าเบาหวาน

รบกวนส่งที่ อีเมล [email protected] นะครับ

ขอบคุณครับ

เรียนน้องกายภาพบำบัดชุมชน

สำหรับจำนวนนักกายภาพบำบัดต่อหัวประชากร 1 ต่อ 15,000 คน นั้น คงเป็นการประมาณการกำลังคนในช่วงแรกที่ยังมีนักกายภาพบำบัดไม่มาก แต่ปัจจุบันรัฐบาลมีนโยบายที่เปลี่ยนไป ในเบื้องต้นรัฐต้องการให้มีนักกายภาพบำบัดประจำรพช.ทุกโรงก่อน แต่ต่อมามีนโยบายให้มีรพสต. ซึ่งมีหลายพันแห่ง ถ้ารพช.มีนักกายภาพบำบัดเพียงพอแล้ว ต่อไปก็จะให้มีนักกายภาพบำบัดประจำรพสต.ด้วย ซึ่งถ้าเป็นเข่นนั้น อัตราส่วน 1 ต่อ 15,000 คนคงจะไม่ใช่แล้ว

ถ้าพูดในด้านของมาตรฐานงานกายภาพบำบัด เราก็มีการกำหนดกรอบเอาไว้ตามจำนวนผู้ป่วย โดยนักกายภาพบำบัด 1 คนดูแลผู้ป่วยไม่เกิน 10 คน ถ้านักกายภาพบำบัดถูกมอบหมายให้ดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด 1 คนดูแลผู้ป่วยไม่เกิน 6 คน และถ้าเป็นการออกเยี่ยมบ้าน นักกายภาพบำบัด 1 คนดูแลผู้ป่วยไม่เกิน 5 คนต่อวัน และถ้าเป็นการส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มละไม่เกิน 15 คน

สำหรับเรื่องขนาดของห้องรักษา ไม่น้อยกว่าห้องละ 6 ตารางเมตร และมีระยะห่างระหว่างเตียงไม่น้อยกว่า 80 ซม. ซึ่งในรพช.อาจใช้ตรงนี้ไม่ได้ในระยะแรก แต่ถ้าต่อไปถ้าสามารถขยายงานได้หรือได้งบประมาณมาพัฒนาในส่วนนี้ ก็น่าจะยึดมาตรฐานวิชาชีพในการออกแบบแผนกได้

ปนดา

เรียน รศ.ปนดา

คือว่าตอนนี้กำลังทำงานเกี่ยวกับกลุ่มออกกำลังกายใน asthma and COPD ค่ะ จึงอยากได้เอกสาร CD ไปจัดกิจกรรมค่ะ

อยากได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยและการให้ความรู้เพิ่มเติมที่พวกเค้าสามารถปฎิบัติได้ ในกลุ่มดังกล่าวมีทั้งเด็กเล็กและผู้ใหญ่

ร่วมกันมีจำนวนมาก เวลาให้ความรู้ต้องแบ่งเป็นกลุ่มไม่สามารถให้ความรู้ทีเดียวหมดและสถานที่ก้อไม่เอื้ออำนวยเท่าไหร่

แต่อยากให้อะไรที่พวกเค้าสามารถปฎิบัติได้และเข้าใจพร้อมกับสนุกด้วย

ขอบคุณค่ะ

[email protected]

แสงดาว จินดาศักดิ์

โรงพยาบาลปากท่อ ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี 70140

เรียนกภ.ปากท่อ

อาจารย์คิดว่าจะส่ง Kit ความรู้สำหรับนักกายภาพบำบัดเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบไปให้นะคะ จะมี ppt ที่เป็นประโยชน์ นะคะ

คงต้องส่งทางไปรษณีย์ค่ะ

ถ้าใครต้องการเอกสารหรือ CD เกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ ก็ขอมาได้นะคะ จะส่งไปให้ค่ะ

ปนดา

อยากเป็นกายภาพชุมชน

อ ปนดาคะ ขอ ข้อมูล ทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเปิดแผนก กายภาพด้วยนะคะ

การเขียนโครการต่างๆด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ [email protected]

อ ปนดาคะ ขอข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวกับการเปิดแผนกกายภาพด้วยนะคะ

และการเขียนโครการต่างๆด้วยค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

[email protected]

น้อมจิตต์ นวลเนตร์

มีหนังสือใหม่ของพี่ ชื่อ "ศาสตร์น่ารู้สำหรับงานกายภาพบำบัดชุมชน" หากสนใจสามารถหาซื้อ/สั่งซื้อได้ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ ทุกสาขาค่ะ

เรียนอาจารย์ ปนดา พอดีผมทราบจากพี่ รพช นาจะหลวย บอกว่าอาจารย์พยายามติดต่อผมแต่ผมไม่ได้รับเมลล์จากอาจารย์ ไม่ทราบว่าเปงความจิงหรือไม่ หากจิงก้อต้องขออภัยที่ติต่อกลับช้านะครับ

เรียนพี่ กภ.กิตติ สมบบรดา

หนูเป็นนักกายภาพบำบัด ซึ่งกำลังทำโครงการการเยี่มบ้านและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ

ซึ่งต้องออกแบบฟอร์มการเยี่ยมบ้านผู้พิการให้แก่ อสม หนูไม่แน่ใจนะค่ะว่าจะทำขอบเขตแบบไหนที่ง่ายต่อการเข้าใจ และอสม.สามารถบันทึกได้ง่าย ขอบคุณมากค่ะ

ถึงน้องออม นู๋จะให้เค้าทำบันทึกเยี่ยมบ้านหรือแบบประเมินผู้พิการจ๊ะ แต่ถ้าเป็นบันทึกเยี่ยมเฉยๆๆสำหรับอสม.นั้น ทำให้ง่ายที่สุด เพราะทำเยอะเค้าไม่เข้าใจแล้วเค้าจะไม่อยากทำ ฟอร์มนู๋ต้องให้มีข้อมูล ชื่อผู้ป่วย ประเภทความพิการซึ่งเค้าไม่เข้าใจแต่ละประเภทหรอก อย่างของพี่จะทำช่องให้เค้าเลือกเลยประเภท 1-6 ง่ายๆๆ ตา หุ กาย จิต สติ การเรียนรุ้ และต้องมีที่อยู่ ลายเซ็นต์ผู้พิการ/ญาติ จะได้เป้นหลักฐาน และสุดท้ายก็ลายเซ็นต์ของอสม. ซึ่งขึ้นหัวข้อด้านบนว่าลายเซ็นต์ทีมเยี่ยมบ้าน ซึ่งถ้าวันใหนเราไปร่วมกับเค้าหรือ เค้าไปร่วมกับเราเราก้ต้องเซ็นต์ด้วย จะได้รุ้ว่าเราออกร่วมกับเค้าจริงๆๆ และจะให้ดีมีอีกช่องคือกิจกรรม/ปัญหา เค้าก็จะลงเองออกกำลังกาย ผู้ป่วยมีแผล ขาอ่อนแรง ซึ่งเราต้องสอนเค้าให้ดีๆๆ ของพี่พูด 10 รอบก้ยังทำผิดต้องใจเย็นๆๆ (ขออนุญาตแสดงความคิดเห็น) กิตติ ที่จ่ะไม่ใช่พี่อย่ามาพิมพ์ผิดนะ

ขอให้ข้อเสนอแนะน้องออมครับ

ขอบเขตที่ควรจะมีในแบบฟอร์มเยี่ยมบ้านควรมีหัวข้อดังต่อไปนี้

1. ชื่อหน่วยบริการ

2. ชื่อ-สกุล เลขที่บัตรปชช เบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่

3. สถานภาพ

4. เรื่องบุตร จำนวน คงเหลือ

5. ระดับการศึกษา

6. อาชีพ

7. สิทธิบัตร

8. สมุดผู้พิการ มี ไม่มี หมดอายุ

9. เบี้ยยังชีพ มี ไม่มี

10. ประเภทความพิการ

11. สาเหตุความพิการ

12. โรคประจำตัว

13. ระยะเวลที่เจ็บป่วย

14. การรักษาที่ผ่านมา

15. ภาวะแทรกซ้อน

16. ความต้องการช่วยเหลือ

17. อุปกรณ์คนพิการที่ต้องการ

18. อุปกรณ์คนพิการที่ได้รับ

19. วันที่ได้รับอุปกรณ์คนพิการ

20. ผู้ดูแล ชื่อ ที่อยู่

21. ปัญหาที่พบ

22. บริการที่ให้

23. ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง (บาร์เทลอินเดก)

24. ความพึงพอใจ

25. ผู้ดูแลสามารถดูแลได้อย่างถูกต้อง มาก น้อย

26. ชื่อผู้บันทึก วันที่บันทึก

เปงแนวคิดและแบบฟอร์ที่พี่ทำอยู่น้องเอาไปปรับตามความเหมาะสมได้เลยคับ

ปล.งงประโยคสุดท้ายของคุน กภ.นาจะหลวย

เรียน รศ.กภ.ปนดา

รพช.เขื่องใน อุบลราชธานี ได้รับเลือกจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นให้เป็นสถานที่ฝึกงานของ นศก. ปี 4 อยากจะเรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับเนื้อหาที่ควรให้น้องๆได้รับว่ามีอะไรบ้าง แล้วผมต้องเพรียมตัวอบ่างไรบ้าง ขอคำนำแนด้วยครับ ขอยคุนครับ

เรียน อ.ปนดา

หนูอยากได้เอกสารเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่ค่ะ เพื่อไปแนะนำกับผู้อื่น

นางสาวอรวรรณ นครอินทร์ นักกายภาพบำบัด

ที่อยู่ โรงพยาบาลสามเงา 371 ม. 4 ต.สามเงา อ.สามเงา จ.ตาก 63130

ขอบคุณค่ะ

เรียนคุณกิตติ สมบรรดา

เรื่องการเป็นครูคลินิก (IC) นั้น อาจารย์ขอแนะนำว่าให้ศึกษาคู่มือการฝึกงานของนิสิตของสถาบันที่ส่งนิสิตมาฝึกงานค่ะ ว่าเขามีวัตถุประสงค์ในการส่งนิสิตมาฝึกงานอย่างไรบ้าง เราจะได้จัดเนื้อหาหรือกิจกรรมให้นิสิตสามารถเรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์ของการฝึกงานนั้นๆได้ โดยอาจจะต้องทำแผนการสอนด้วยก็จะดีมาก ว่าในช่วงเวลาที่นิสิตอยู่กับคุณจะมีกิจกรรมอะไรบ้าง คุณต้องเตรียมอะไรบ้าง นิสิตต้องทำงานอะไรส่งเราบ้าง เพื่อให้แน่ใจว่าเขาทำได้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการฝึกงาน นอกจากนี้ คงต้องศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานของนิสิตด้วยว่า เราต้องประเมินนิสิตในด้านใดบ้าง

ปนดา

สำหรับผู้ที่ขอเอกสารเกี่ยวกับการเลิกบุหรี่มา จะจัดส่งให้เร็วๆนี้นะคะ

ปนดา

ขอบคุนอาจารย์มากครับสำหรับคำแนะนำดีดี

เข้ามาเป็นกำลังใจให้น้อง ฉมาพัฒน์

อ. ดาค่ะหนูขอ ความรู้สำหรับนักกายภาพบำบัดเพื่อการควบคุมการบริโภคยาสูบด้วยคนนะคะ

ที่อยู่ โรงพยาบาลสว่างอารมณ์ อ.สว่างอารมณ์ จ.อุทัยธานี 61150

เรียน อ.ปนดา

นะอยากได้แนวทางการทำงานกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ อยากทราบถึงลักษณะงานในชุมชนว่า PTมีบทบาทอย่างไร มากน้อยแค่ไหน ทำอะไรให้กับชุมชนได้บ้าง ฯลฯ เพราะตั้งแต่จบมาไม่เคยทำงานด้านนี้มาก่อน และอีกอย่างก็ห่างงานPTมาเกือบ 3ปีแล้วเนื่องจากต้องช่วยงานทางบ้าน แต่ตอนนี้สนใจอยากทำงานPTใน รพช.เป็นอย่างมาก อยากได้แนวทางในการทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเริ่มงานPTค่ะ ช่วยหน่อยนะค่ะ

[email protected]

ขอบคุณค่ะ

เรียนอาจารย์ปนดา

ดิฉันเป็นนิสิตกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยนเรศวรปีสี่ ค่ะ

ขอความกรุณาให้อารย์ช่วยแนะนำและอธิบายเกี่ยวกับการจัดตั้งและบริหารงานกายภาพบำบัดในหน่วยงาน รพ ชุมชน และขอทราบแนวทางการบริหาร งานของแผนกด้วยค่ะ

ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยแนะนำและส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อการจัดตั้งและบริหารงานกายภาพบำบัดในหน่วยงาน รพ ชุมชน และแนวทางการบริหารงาน แนบมาให้ด้วยนะค่ะ ([email protected])

จึงขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

เรียน กภ.กิตติ สมบบรดา และนักกายภาพบำบัดท่านอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือมี

จากงานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลควนเนียงนะครับ ทางแผนกของพี่พอจะมีคำสั่งหรือหนังสือ เพื่อที่จะส่งขออนุมัติในการจ่ายค่าตอบแทนการออกชุมชน ที่เค้าได้กันันละ 600 หรือ 640 บาท หรือชัวโมงละ 80 บาทไหมครับ เนื่องจาก หมอเค้าต้องการตัวอย่างคำสั่ง การจ่ายของที่อื่นว่าเป็นอย่างไรเพื่อประกอบการพิจารณาครับ รบกวนส่งเอกสารมาที่ [email protected] ขอบพระคุณล่วงหน้านะครับ

เรียน อ.ปนดา กภ.กิตติ

หนูเป็นนนักกายภาพบำบัดที่เพิ่งไปทำงานด้านผู้พิการในโรงพยาบาลชุมชน หนูอยากทราบว่าผู้พิการมี 5 หรือ 6 ประเภทค่ะ

เพราะที่เปิดดูในหนังสือและเซิสในอินเตอร์เน็ตมีแค่ 5 ประเภท แต่พี่ที่ทำงานมาถามหนูว่าตอนนี้เค้าเพิ่มเป็น 6 ประเภทแล้วไม่ใช่เหรอ แต่พี่เค้าก้อจำไม่ได้ว่าที่เพิ่มขึ้นมามีอะไรบ้าง รบกวนอาจารย์และพี่ๆช่วยบอกหน่อยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ตอบคำถาม กภ.สมศักดิ์

ขอแนะนำให้น้องขอหนังสือจากฝ่ายบริหาร กระทรวง สธ. ฉบับวันที่ 5 กุมภาพัรธ์ 2552 ที่ สะ.0201.042.1/ว100 เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไขการจ่ายเงินค่าตอบแทนแนบท้ายข้อบังคับกระทรวง สธ. ว่าด้วยการจ่ายเงินค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานให้กับหน่วยบริการในสังกัดกระทรวง สธ. (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2552 (พี่ไม่มีไฟด์ครับ)

ตอบคำถาม กภ.น้อง

ประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ เดิมความพิการ 5 ประเภท เป็นความพิการ 6 ประเภท ดังนี้

1. ความพิการทาวการมองเห็น

2. ความพิการทางการได้ยินหรือสื่อความหมาย

3. ความพิการทางการเคลื่อนไหวหรือทางร่างกาย

4. ความพิการทางจิตใจหรือพฤติกรรมหรือออทิสติก

5. ความพิการทางสติปัญญา

6. ความพิการทางการเรียนรู้ (แยกจากสติปัญญาและการเรียนรู้เดิม)

เรียน อ.ปนดา กภ.กิตติ

พอจะมีคำจำกัดความของความพิการทางสติปัญญาและความพิการทางการเรียนรู้ มั๊ยค่ะ

ที่หนูเซิสหาในอินเตอร์เน็ต คำจำกัดความยังรวมกันอยู่เลยค่ะ

ตอบคำถาม กภ.น้อง

ความพิการทางการเรียนรู้ คือบุคคลที่ความบกพร่องเกี่ยวกับกระบวน

การทางจิตวิทยา ความบกพร่องเกี่ยวกับการใช้ภาษาของเด็ก ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน

บุคคล เหล่านี้อาจมีปัญหาทางด้านการฟัง การคิด การพูดคุยกับผู้อื่น การอ่าน การสะกดคำ

หรือการเรียนวิชาคณิตศาสตร รวมไปถึงผู้ที่มีความบกพร่องทางการรับรู้การได้รับบาดเจ็บ

ทางสมอง ดิสเล็กเซีย (Dyslexsia) , ดิสกราเซีย (Dysgraphia) และ อะฟาเซีย (Aphasia)

แต่ไม่รวมถึงความบกพร่องทางการได้ยิน ทางการเคลื่อนไหว ทางสติปัญญา ปัญหาทาง

อารมณ์ และความเสียเปรียบทางสังคม ”ซึ่งมีผลมาจากความผิดปกติ

ของการทำงานของสมองที่ทำให้เด็กไม่สามารถเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพ ทั้ง ๆ ที่เด็กกลุ่มนี้ไม่

ได้เป็นปัญญาอ่อน ไม่ได้มีความพิการ และไม่ได้เป็นเด็กที่อยู่ในวัฒนธรรม หรือสิ่งแวดล้อม

ที่มีลักษณะด้อยโอกาสในการเรียนรู้แต่อย่างใด โดยส่วนใหญ่จะเป็นเด็กที่มีสติปัญญาปกติ

หรือบางคนอาจฉลาดกว่าปกติด้วยซ้ำไป แต่เพราะ ความผิดปกติในการทำงานของสมอง

ทำให้ความสามารถในการรับรู้ การเรียบเรียง การแปลความข้อมูลที่ได้รับ และการ

ประมวลผลข้อมูลเพื่อส่งออก หรือโต้ตอบของเขาเสียไป จึงแสดงออกมาให้เห็นเป็น

ความบกพร่องของความสามารถด้านภาษา ซึ่งอาจเป็นด้านการพูดการสื่อสาร(Aphasia) และ/

หรือด้านการอ่าน (Dyslexsia) และ/หรือด้านการเขียน (Dysgraphia) รวมถึงมีปัญหาใน

การคิดคำนวณทางคณิตศาสตร์ (Mathematics disorder) และการสับสนในเรื่องทิศทาง

(Directions disorder) ปัญหาและความบกพร่องของเด็กกลุ่มนี้จะเริ่มสังเกตเห็นได้ชัดเจนตอนเริ่มเข้าเรียน

แต่ภาวะปัญหาทางการเรียนรู้ของเด็กแต่ละคนจะแตกต่างกันไป บางคนก็เพียงแต่มีปัญหา

เกี่ยวกับการเรียนรู้เพียงเล็กๆ น้อยๆ เช่น เขียนตัวหนังสือโย้ไปเย้มา อ่านคำตก ๆ หล่น ๆ

มีความสับสนระหว่าง “ภ กับ ถ” “ b กับ d ” แต่บางคนก็มีปัญหามากมายจนส่ง

ผลให้เกิดความยุ่งยากลำบากต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและกระทบไปถึงผู้คนรอบข้างด้วย

น่าจะมีผลมาจากสาเหตุดังนี้ คือ

1. การได้รับบาดเจ็บทางสมอง (Brain damage or Brain injury ) โดยสมองได้รับการ

กระทบ กระเทือนจากการติดเชื้อจากอุบัติเหตุ หรือได้รับสารพิษ ซึ่งอาจเกิดได้ทั้งก่อน

คลอดระหว่างคลอด หรือหลังคลอด แต่ในบางรายก็เป็นแค่เพียงความผิดปกติเล็กน้อย

ในการทำงานของสมอง (Minimal brain dysfunction) บางส่วนเท่านั้นเอง

2. กรรมพันธุ์ จากรายงานการศึกษาและการวิจัยทำให้เชื่อได้ว่า ความบกพร่องใน

การเรียนรู้บางอย่างสามารถถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์ได้ และยังพบได้เพิ่มขึ้นในครอบครัวที่มี

คนเป็น LD ด้วย

ลักษณะบางอย่างที่พอสังเกตได้

1. ดูฉลาดหรือปกติในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการเรียน

2. สะกดคำไม่ได้หรือไม่ถูก

3. อ่านช้า อ่านข้าม หรืออ่านเพิ่มคำ

4. สับสนกับตัวอักษร เช่น ค - ด , ถ – ภ , ม – น , พ – ผ , b – d , p – q , 6 - 9 ฯลฯ

5. ไม่เข้าใจค่าของจำนวน เช่น หน่วย สิบ ร้อย พัน ....

6. มีความบกพร่องในการรับรู้ การจับใจความ

7. ผลการเรียนไม่คงเส้นคงวา

8. มีอารมณ์ไม่คงที่ แสดงพฤติกรรมแปลก ๆ

ความต้องการพิเศษ

- ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องของผู้คนรอบข้างในภาวะ LD

- ศิลปะบำบัดและดนตรีบำบัด

- สื่อสิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือนิทาน หนังสือการ์ตูน ฯลฯ

- สื่ออุปกรณ์ เช่น ของเล่นพัฒนาทักษะ หุ่นจำลอง ของจริง ฯลฯ

- สื่ออิเลคทรอนิกส์ เช่น เทปเพลง วีดิทัศน์ ฯลฯ

เอกสารอ้างอิง

กระทรวงศึกษาธิการ. คณะกรรมการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อคนพิการ. (2544). การประเมินผล การจัดการศึกษาเพื่อคนพิการปีการศึกษาเพื่อคนพิการ รายงาน.

กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. กรมสามัญศึกษา. (2544). การจัดการศึกษาสำหรับบุคคลที่มีปัญหา

ทางการเรียนรู้. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.

ศรีเรือน แก้วกังวาล. (2544). จิตวิทยาเด็กที่มีลักษณะพิเศษ. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ :

สำนักพิมพ์ หมอชาวบ้าน.

ขออนุญาตท่านอาจารย์นำเสนอราคาอุปกรณ์ช่วยฝึกผู้พิการค่ะ

ผึ้งทำโครงการฟื้นฟูสภาพผู้พิการในชุมชนโดยใช้งบสปสช.ปี52 โดยในโครงการเขียนออกสอนผู้พิการและญาติ พร้อมสั่งทำอุปกรณ์ช่วยออกกำลังไว้ให้ผู้พิการได้ยืมใช้เมือ่ฟื้นสภkพได้ก็เวียนมาให้คนอื่นใช้ต่อไป ตอนที่เช็คราคาจากเซลค่ะ ของพวกนี้ราคาแพงมาก งบเราไม่พอ เราก็เลยสั่งจ้างช่างทำค่ะ ใครที่สนใจจะสั่งซื้อ สามารถโทรสอบถามได้นะคะ 0869899284 ค่ะ หรือที่เมล์ [email protected] มีใบเสร็จออกเป็นร้านที่มีทะเบียนการค้า ใช้ตั้งเบิกได้ค่ะ (ร้านทำไม้ ไม่ใช่ร้านอุปกรณ์การแพทย์นะคะ)

1. push up board ใช้ยันพื้นยกตัวในการเคลื่อนตัวของผู้ป่วยอัมพฤกษ์ครึ่งท่อนล่าง ราคา 900 บาท / คู่

2. ค่ารอกชักแขน กรณีอัมพฤกษ์ครึ่งซีก / ไหล่ติด ราคา 500 บาท / ชุด

3. เข็มขัดรัดเอว ใช้พยุงตัวฝึกยืน ราคา 450 บาท / อัน

4. hand grip ฝึกกำลังมือเปลี่ยนความหนืดได้ ราคา 250 บาท / อัน

5. quadriceps board ฝึกกำลังกล้ามเนื้อขา ราคา 1,400 บาท / อัน

6. arm skateboard ฝึกเพิ่มกำลังกล้ามเนื้อแขน ราคา 700 บาท / อัน

ขอบคุณค่ะ

เรียน รศ.กภ.ปนดา

ขอเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำคู่มือในส่วนที่ 2 องค์ความรู้และการนำไปใช้ประโยชน์

1>งานบริหาร

การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนยุทธศาสตร์ขององค์กรกายภาพบำบัด

แบบสำรวจความต้องการของลูกค้าภายนอกภายใน

ตัวอย่างคำบรรยายลักษณะงาน

แนวทางดำเนินการกรณีอัตรากำลังขาด

ตัวอย่างการทำข้อตกลงระหว่างหน่วยงาน

Flow chart การปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน

แฟ้มประวัติฝึกอบรมและดูงานเจ้าหน้าที่

แบบประเมินตนเองของหน่วยงาน

กิจกรรม 5ส

2>งานบริการ

แผนการดูแลผู้ป่วยล่วงหน้า (Care Map)

การทบทวนกิจกรรมคุณภาพ 12 เรื่อง (บันได 12 ขั้น)

แบบฟอร์มการส่งปรึกษา

แบบฟอร์มทะเบียนแรกรับ

กภ.กิตติ สมบรรดา

หน.งานกายภาพบำบัดโรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

เรียนอาจารย์ปนดา

ดิฉันเป็นนิสิตกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยนเรศวรปีสี่ ค่ะ

ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยส่งเอกสารแบบฟอร์มขอเปิดแผนกกายภาพบำบัดในร.พ.ชุมชนหน่อยค่ะ

e-mail: [email protected]

จึงขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

เรียนอาจารย์ปณดา

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนและเปิดแผนกใหม่นะคะ

เลยอยากรบกวนสอบถามเรื่องการเขียน service profile ของงานกายภาพบำบัดนะคะ

รบกวรขอแนวการเขียนและถ้ามีตัวอย่างก็จะดีมากเลยคะ

ขอบคุณล่วงหน้าคะ

เรียนท่านที่มีความรู้ทุกท่าน

ตอนนี้อยากขอความรู้หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการขอกำลังบุคคลเพิ่ม ไม่สามารถระบุได้ว่าทาง โรงพยาบาลของตัวดิฉัน

เค้าจาจัด PTให้หรือผู้ช่วย เค้าให้เขียนเสนอทางบริหาร ตอนนี้คนไข้มีประมาณต่อวัน17 คน ต่อนักกายภาพ1คน อุปกรณ์ทาง

กายภาพบำบัดมีแต่ แผ่นเจล HOT - COLD PACK และเครื่องUltrasound เ่ท่านั้นนอกนั้นก้อตัวดิฉันล้วนๆๆ

มีคนไข้ใน 3คน/นอก15 คนขึ้นไป ฝึกเด็กและฝึกเคส cva ซึ่งวันนึ่งกว่าจาทำงานเสร็จก้อ 5.30-6.00 น.เย็นเกือบทุกวัน

OTไม่มีนะให้ แถมคอมการลงข้อมูลต้องลงในคอมพิวเตอร์และใบopdการ์ด จาต้องเดินไปทำ ณ.หน่วยงานอื่นๆ

รู้สึกท้อมาก ที่ทางฝ่ายบริหารไม่เข้าใจไม้เคยเข้ามาดูเลย รวมทั้ง ผอ.ทางรพ กลัวแต่การลงทุนและขาดทุน

ห้องที่ทำอยู่คนไ้เข้าได้2คนอย่างมาก เลยอยากถามและขอความรู้และความคิดเห็นทุกท่านค่ะ ถ้ามีเอกสารหรือสิ่งดีรบกวนส่ง

[email protected]

หรือแผนกกายภาพบำบัด โรงพยาบาลปากท่อ ต.ปากท่อ อ.ปากท่อ จ.ราชบรี 70140

เรียน PT post ที่ 700

กรุณาแจ้ง e-mail address ด้วยค่ะ

ปนดา

เรียน PT ปากท่อ

เรื่องนี้ อาจารย์มีเรื่องอยากจะแชร์ เรื่องงานที่หนักเป็นเรื่องที่น่าเห็นใจ ก็ขอให้อดทนไว้นะคะ ระยะทางพิสูจน์ม้า กาลเวลาพิสูจน์คน ปัญหาเรื่องที่ผู้ใหญ่เขาไม่ค่อยให้ความสนใจนั้นเราอาจต้องอาศัยความเมตตา การเข้าหาท่านแต่ก่อนทำเช่นนั้นได้ เราต้องรู้จักคำว่าให้อภัยเสียก่อน บ้างครั้งเมื่อคิดถึงงานที่หนัก ความไม่ได้รับการยอมรับ เราจะมีโมหะ โทสะ เกิดขึ้น เราต้องพยายามปล่อยวางในส่วนนี้ คิดเสียว่าเราพยายามทำวันนี้ของเราให้ดีที่สุด เมื่อเราไม่ปล่อยกระแสกรรมที่มีโมหะและโทสะออกไป ธรรมชาติจะให้โอกาสเรา บรรยายกาศที่อบอุ่น เต็มไปด้วยความรักความเมตตาก็จะเกิดขึ้นรอบๆตัวเรา สิ่งต่างๆ ที่เคยเป็นปัญหาอุปสรรคต่างๆก็จะดีขึ้น ถ้าคุณเชื่อในการปฏิบัติ เช่นนี้ลองทำดู เพียงแค่เริ่มทำก็จะรู้สึกถึงความเบิกบานที่อยู่ข้างใน

ส่วนเรื่องการนำเสนอผลงานและปัญหาอุปสรรคให้ผอ.ทราบ เราต้องทำการบ้านดีๆ มีสถิติตัวเลขให้ท่านเห็น นอกจากนั้นผลงานที่ไม่ใช่ตัวเลข เช่นความพึงพอใจของคนไข้ ผู้รับบริการ ต่างๆ ผลงานในการเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นแบบฟอร์มวัดคุณภาพชีวิต แต่ถ้ามีภาพประกอบก็อาจช่วยให้เห็นผลงานเราได้ (ควรนำเสนอทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ) การนำเสนอความมุ่งเน้นไปที่ประโยชน์ของผู้รับบริการ ซึ่งส่งผลต่อการลดภาระของโรงพยาบาล การแสดงให้เห็นว่างานเรา overload อาจแสดงตัวเลขของมาตรฐานวิชาชีพประกอบด้วยได้ เช่น การดูแลผู้ป่วย นักกายภาพบำบัด ๑ คน ดูแลผู้ป่วยไม่เกิน ๑๐ คนต่อวัน แต่ถ้ามีการมอบหมายหน้าที่ให้ดูแลผู้ป่วยเฉพาะทาง นักกายภาพบำบัด ๑ คน ให้การดูแลผู้ป่วย ๖ คนต่อวัน การออกเยี่ยมบ้าน ไม่เกิน ๕ คนต่อวัน การส่งเสริมสุขภาพ กลุ่มละไม่เกิน ๑๕ คน

ขอให้พระธรรมเมตตา

ปนดา

post ที่ 700 คะ

email: [email protected]

ขอบคุณล่วงหน้าอีกครั้งคะ

เรียน อ.ปนดาและนักกายภาพบำบัดทุกท่าน

อยากทราบว่าคนไข้ที่หมอส่งทำกายภาพส่วนใหญ่แล้วนั้น ทางเราจะให้การรักษากี่ครั้งค่ะถึงจะส่งกลับไปพบหมออีก

ถ้าคนไข้อาการดีขึ้น progess ดีขึ้นมาเรื่อยๆ ทางกายภาพจะต้องส่งกลับไปให้หมอดูอีกครั้งมั๊ยค่ะ หรือว่าทำต่อเนื่องไปได้เลย

เช่น คนไข้ Hemi คนไข้ frozen

post 700

ได้รับข้อมูลแล้วคะ ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ

ตอบ post ที่ 705

ระยะเวลาในการติดตามผลการรักษาของแพทย์ของแต่ละรพ.อาจแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตกลงกันระหว่างแพทย์และนักกายภาพบำบัด โดยมากมักเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่แพทย์นัดผูป่วย เราก็จะมีใบสรุปผลการรักษาเพื่อติดไว้กับ OPD card ของผู้ป่วย หรือในกรณีที่แพทย์กับนักกายภาพฯอยู่คนละสถาบันกันก็ให้ผู้ป่วยนำไปยื่นให้กับแพทย์ ทังนี้นักกายภาพบำบัดควรสรุป Subjective exam, Objective exam, Treatment (ควรบอกด้วยว่าผู้ป่วยมารับการรักษากี่ครั้ง), Assessment (การประเมินผลว่าผู้ป่วยดีขึ้นหรือแย่ลงอย่างไร), และ Planการรักษาในอนาคต รวมถึงความคิดเห็นของนักกายภาพบำบัดว่าผู้ป่วยยังจำเป็นต้องรับการรักษากายภาพบำบัดต่ออีกก็สัปดาห์ สัปดาห์ละกี่ครั้ง ทั้งนี้เพื่อให้แพทย์ได้ทราบข้อมูลของผู้ป่วย และผลการรักษาทางกายภาพบำบัด ถ้าได้ผลดีแพทย์อาจส่งผู้ป่วยมาปรึกษาเรามากขึ้น แต่ถ้าผู้ป่วยไม่ดีขึ้นควรวิเคราะห์ถึงปัญหา อุปสรรคด้วย เช่น ผู้ป่วยบางรายส่ง PT แต่อาการไม่ค่อยดีขึ้น แต่เกิดจากผู้ป่วยได้รับการบาดเจ็บเพิ่มเติม แพทย์จะได้เข้าใจ และให้การรักษาทางการแพทย์ต่อได้ดีขึ้นด้วย

อาจารย์คิดว่าการเขียน progress report ให้แพทย์น่าจะเป็นเรื่องดีที่ควรทำนะคะ ไม่ว่าผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นหรือแย่ลงก็ตาม เป็นกาสร้างระบบที่ดีในการทำงาน เราอาจจะต้องใช้เวลาในการเขียนหน่อย แต่ถ้ามีแบบฟอร์มที่ดี มีช่องให้กรอก ก็จะช่วยให้สะดวกขึ้น

ปนดา

รู้สึกอบอุ่นใจ ดีใจที่เรารักกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ทำให้ผู้อื่นมองเห็นคุณค่าของวิชาชีพของเรา ทำให้อยากไปเป็นส่วนหนึ่งของกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ แต่ที่จันทบุรีเค้ายังไม่เปิดรับเลยค่ะ

รอบกวนขอเอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนครับ รวมทั้งเอกสารการเปิดแผนก ขอบขอบคุณมากครับ

อีเมลล์ครับ [email protected] ขอบคุณมากๆครับ

ขอเอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนครับ รวมทั้งเอกสารการเปิดแผนก ขอบคุณมากครับ

ส่งข้อมูลให้สยามทาง [email protected] ขอบคุณมากๆครับ

เรียน รศ.กภ.ปนดา

ผมได้จัดส่งตัวอย่างเอกสารที่จำเป็นให้อาจารย์ทางอีเมลล์หากได้รับแล้วกรุณาแจ้งให้ทราบด้วยครับ

ได้รับแล้วค่ะ ทั้งของคุณกิตติและของคุณณัฐาภรณ์ค่ะ ขอบคุณมากนะคะ กำลังรวบรวมจัดหมวดหมู่อยู่ค่ะ

ปนดา

เรียนอ.ปนดา และพี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคน

รบกวนขอเอกสาร service profile ของงานกายภาพบำบัด และเอกสารที่จำเป็นสำหรับการเปิดแผนกใหม่ด้วยนะค่ะ

ช่วยส่งมาที่ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

เรียนอาจารย์ปนดาค่ะ

เรื่องการพัฒนากำลังคนทางกายภาพบำบัด ในงานบริการระดับปฐมภูมิ อาจารย์บอกว่าไปประชุมมาน่ะค่ะ หนูอยากทราบเรื่องว่าเป็นอย่างไรบ้าง เท่าที่หนูเข้าใจตอนนี้ เราไม่สามารถเข้าทำงานสถานที่บริการระดังปฐมภูมิได้ใช่มั้ยคะ เพราะหนูได้เคยสอบถามทางศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชนไปแล้ว เค้าบอกไม่สามารถเปิดได้ หนูค่อนข้างสนใจเรื่องนี้น่ะค่ะ รบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะทีนะคะ

ขออีกหนึ่งคำถามค่ะ เราจะทราบได้อย่างไรคะ ว่าโรงพยาบาลชุมชนแห่งไหนยังไม่มีกายภาพบำบัด หาข้อมูลด้วยตนเองอยู่นานแสนนานค่ะ แต่ไม่คืบหน้า รบกวนอาจารย์ด้วยนะคะ ตอนนี้หนูว่างงานน่ะค่ะ......

อาจารย์ค่ะ ตอนนี้มีโรงพยาบาลชุมชนไหนบ้างคะ ที่ยังไม่มีกายภาพบำบัด หรือหนูสามารถหาดูข้อมูลได้จากที่ไหน รบกวนอาจารย์ตอบด้วยนะคะ

ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

ขออีกนะคะ โรงพยาบาลชุมชนที่ไม่มีกายภาพบำบัด ในจังหวัด นครปฐม นนทบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร อยุธยา น่ะค่ะ

ขอบคุณอีกครั้งนะคะอาจารย์ปนดา

เรียนอาจารย์ปนัดดา

รบกวนอาจารย์ส่งแบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด

และแบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้านด้วยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สุรินทร์ยา จันทร์ภิรมย์

ตอบกระทู้ 479 เป็นนักกายภาพบำบัดที่ รพช.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ค่ะ ทำงานสองเดือนยังไม่มีเครื่องมือ ไม่น่าแปลกหรอกค่ะ ต้องใจเย็นหน่อย รพช. ไม่เหมือน รพ.เอกชน งบน้อย ต้องรอสอบราคาอีกมากมาย รพช. ที่หนูอยู่ ผอ. สนับสนุนงาน อนุมัติซื้อเครื่องมือ ตั้งแต่เริ่มทำงานได้ 2-3 อาทิตย์ แต่กว่าจะได้จริง ก็ประมาณ 6เดือน ค่อยๆทำไปค่ะ แนะนำว่าให้ทำแผนงานรอเลย ไม่ว่าจะเป็น คู่มือปฏิบัติงาน อย่างง่ายที่เราเข้าใจก่อน และเก็บข้อมูลคนพิการในชุมชนไว้เลย เพราะยังไงเราก็ต้องทำแน่ๆ ตอนนี้อยู่ที่นี่มา 1 ปีกว่าๆ หลายอย่างก็เริ่มลงตัวค่ะ ทั้งที่เริ่มแรกก็ไม่รู้อะไรเลยเหมือนกัน มีเซ็งนะคะ เพราะไม่ชอบงานออกชุมชน คนพิการเลย แต่ก็เลี่ยงไม่ได้มันเป็นหน้าที่ไปแล้ว แต่พอเราทำผลงานให้ทุกคนเห็นว่าบทบาทกายภาพคืออะไร ก็ดีใจคะ

ขอเป็นกำลังใจให้กับน้องๆหรือเพื่อนๆที่กะลังเปิดแผนกใหม่กันทุกท่านนะครับ อยากให้ทุกคนอดทน แม้ว่าจะเครียดบ้าง จับต้นชนปลายไม่ถูกว่าจะเริ่มทำอะไรก่อนดี แต่เชื่อว่าทุกคนมีความตั้งใจจริงที่จะทำผลงานให้ปรากฏและเป็นที่ยอมรับของฝ่าย/งานอื่นๆ ไม่มีสิ่งใดที่คนเราตั้งใจทำแล้ว จะไม่สำเร็จ ตรงกันข้าม หากไม่มีเป้าหมาย ไม่ว่าจะทำอะไร ก้อไม่มีวันเจริญ นี้เปงคติประจำใจในการทำงานของผมมาโดยตลอด ซึ่งเมื่อวันจันทร์ที่ 3 กันายายน ที่ผ่านมาผมได้สรุปผลการดำเนินงานปีงบ 53 ทุกคนตั้งใจฟังมาก หลังจบการนำเสนอมีแต่คำชมและเสียงปรบมือ ขนาดลงมายังแผนกแล้วหัวงานหัวหน้าฝ่ายหลายคนยังตามมาแสดงความชื่นชมต่อที่แผนก ผลงานนี้ทำให้ทุกคนเหนภาพงานกายภาพบำบัดทั้งสี่ด้านคือ ส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู อย่างชัดเจน ดังนั้นขอให้ทุกคนสู้ๆนะครับ

เรียนถามผู้รู้ช่วยตอบค่ะ..เรื่องการรับเงินค่าตอบแทนใบประกอบโรคศิลป์(ค่าวิชาชีพ)ที่นักกายภาพได้รับ 1000บาท พยาบาลได้รับ1500บาท เหตุใดต่างกันนักทั้งที่พวกเราก็เรียน4ปีเท่ากันให้บริการด้านสุขภาพเช่นเดียวกัน แถมอัตราการลาออกหรือสมองไหลก็เช่นเดียวกันอีก ขณะนี้นักกายภาพตามรพช.พากันลาออกเป็นแถวๆไม่มีใครอยากอยู่ทำงานในชุมชนกันแล้วล่ะค่ะ ไม่รุ้ว่าคนกำหนดเขาเอาอะไรมาเป็นเกณฑ์นะ

น้องแสงดาว.. เป็น PT ใหม่ที่ปากท้อใช่ไหมคะ

มีอะไร ติดต่อ หาพี่ได้นะ เป็น PT บางแพ ค่ะ เป็น รพช. ในราชบุรีเหมือนกัน

อาจมีประสบการณืไม่มาก แต่ยินดีช่วยเหลือจ้า.

PT บางแพ วรัสยาพร

[email protected]

ตอบความเห็นที่ 717 -719 ค่ะ

ตอนนี้ งานกายภาพในระดับศูนย์บริการสาธารณสุขชุมชน นั้น ยังไม่ค่อยเปิดค่ะ เนื่องจากเขายังไม่ค่อยเข้าใจในเนื้องานของเรา

แต่ช่วงนี้ที่กำลังเปิดคือ รพ.อำเภอค่ะ

จะทราบได้อย่างไร ว่าโรงพยาบาลชุมชนแห่งไหนยังไม่มีกายภาพบำบัด ... น้องต้องลองหาข้อมูลง่า แต่ละ จ. ที่เราสนใจลง นั้น มี รพ. อะไรบ้าง แล้วลองโทรถามดูค่ะ

ส่วนราชบุรี นั้น ถ้าเป็น รพช. ที่ยังไม่มีนักกายภาพ คือ รพ.เจ็ดเสมียน กับ รพ. วัดเพลง ค่ะ

ตอบความเห็นที่ 723.

ในส่วนของเกณฑ์นั้น เราคงไม่รู้ว่า เขาใช้อะไรเป็นตัววัด และยังไง ซะเราก็คงไปเปลี่ยนอะไรไม่ได้ ( ณ ตอนนี้ )

แต่ ยังไง ช่วงนี้ รพ. ชุมชน เขาก็มี ค่า พตส. 1000 + เบี้ยเลี้ยง 1200 ให้เพิ่มขึ้นมา จากเดิม อยากให้ ลองมองส่วนที่ดี ดีกว่า จะได้เป็นกำลังใจให้เราทำงานต่อไป

อีกอย่างวิชาชีพกายภาพเรา เป็น วิชาชีพ ที่มีคุณค่า สามารถสร้าง Quality of life ให้กับผู้ป่วยได้ และ งานกายภาพของเรา นั้นกว้างขวาง สามารถทำได้หลายหน้า

หากเรา มีความตั้งใจในงานที่ทำ และพัฒนา สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี ให้คนในชุมชน เมื่อนั้น งานของเรา ก็จะเป็นที่ยอมรับ และ ชัดเจน ต่อ หลายๆ หน่วยงาน เหมือนอย่างๆที่ พี่พี่ ที่ทำในชุมชน เขาพยามทำกันอยู่ นะคะ

แล้วตอนนี้ หลายๆฝ่ายก้อพยามสนับ สนุน ผลักดัน ในงานกายภาพบำบัด ชุมชน นั้นเกิด และ เติบโต อย่างยั่งยืนค่ะ ใจเย็นๆ นะคะ

ตอบ ธัญดา [IP: 125.27.119.163]

ความเห็นที่ 723

พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับเงิน พตส.1500 เนื่องจากเค้าทำงานในห้อง ER , WARD, LR เป็นต้น ซึ่งภาระงานและความเสี่ยงจะมาก ส่วนพยาบาล OPD ได้รับ 1000 บาทเหมือนกัน เริ่มแรกเราก็สงสัยเหมือนกัน เราเลยไปวีน จึงได้รายละเอียดมา ซึ่งมันจะแบ่งกลุ่มประเภทของพยาบาลอีก

สปสช.เขตสงขลาแจ้งว่า รพ.ป่าพะยอม ต้องการรับสมัครนักกายภาพบำบัด จำนวน 1 คน

รบกวนช่วยแจ้งประชาสัมพันธ์ด้วยค่ะ

เบอร์ รพ. 074-626163-4 , 074-624449

เรียน อ.ปนดา อยากทราบเกี่ยวกับความคืบหน้าการจัดทำชุดความรุ้กายภาพบำบัดชุมชน ไม่ทราบว่ามีอะไรที่ผมพอจะช่วยได้อีกบ้างครับ

สวัสดีคะอาจารย์ ปนดา

เรียนขอคำแนะนำจากอาจารย์นะคะ

โรงพยาบาลชุมชนส่วนมาเป็นโรงพยาบาลที่ยังไม่ค่อยมีนักกายภาพบำบัดอยู่ประจำ หนูมีโอกาสได้เข้าทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง แต่ว่าหนูยังไม่มีประสบการณ์การทำงานในโรงพยาบาลชุมชนมาก่อน หนูอยากขอคำแนะนำจากอาจารย์เกี่ยวกับการทำงานในโรงพยาบาลชุมชนนะคะ ว่าควรจะทำอย่างไร เริ่มต้นจากส่วนไหน และในเรื่องการเริ่มเปิดแผนกกายภาพบำบัดควรจะทำอย่างไรบ้างคะ หนูขอรบกวนอาจารย์ช่วยให้ข้อมูลแนะนำหนูหน่อยนะคะ รวมทั้งหนูรบกวนขอเอกสารหรือแบบฟอร์มต่างๆที่ใช้ในโรงพยาบาลชุมชนเพื่อเป็นแนวทางในการทำงานกายภาพบำบัดชุมชน

E-mail นะคะ : [email protected]

ขอบพระคุณมากนะคะอาจารย์ปนดา

อาจารย์ว่าคุณเริ่มจากการ set แผนกกายภาพบำบัดก่อนก็ได้ค่ะ คงจะมีอะไรต้องทำมากมาย จะส่งเอกสารไปให้ดูเป็นแนวทางนะคะ

ปนดา

เรียนทุกท่าน

วันนี้อาจารย์ไปเข้าร่วมประชุมคณะทำงานพัฒนาเนื้อหารายวิชากายภาพบำบัดชุมชน เป็นครั้งที่ 2 ทางคณะทำงานฯได้ขอบเขตและเนื้อหารายวิชากายภาพบำบัดชุมชนแล้วค่ะ กำลังพยายามลงรายละเอียดเนื้อหาให้มากขึ้น ก่อนที่จะส่งไปให้นักกายภาพบำบัดชุมชนได้ร่วมให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ เพื่อนำมาปรับปรุง และส่งร่างให้คณะอนุกรรมการวิชาการของสภาพิจารณา เพื่อเสนอต่อสภาฯ เพื่อรับรอง ก่อนส่งไปให้สถาบันผู้ผลิตใช้เป็นแนวทางในการสอนรายวิชากายภาพบำบัดชุมชนค่ะ

ปนดา

สวัสดีท่านอ. รศ.ปนดา ค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพของโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ค่ะ ตอนนี้ทางโรงพยาบาลเริ่มมีแผนกกายภาพบำบัด ซึ่งรวมอยู่ในส่วนของคลิิ

นิกการแพทย์ผสมผสานเพื่อผู้ป่วยมะเร็งและครอบครัวค่ะ ทางผอ.ต้องการให้เปิดแผนกอยากเต็มรูปแบบ ขณะนี้ไม่มีเครื่องมือทางกายภเลย มีนักกายภาพอยู่ 1 คน งานส่วนใหญ่เป็น manual หมดค่ะ อยากรบกวนท่านอ.ช่วยแนะนำว่าเราควรเริ่มต้นการเขียนแผนของบการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็นให้ด้วยค่ะ ([email protected]) ขอบพระคุณท่านอ.ค่ะ

เรียน กภ.นิดา

จะส่งแนวทางการขอซื้อเครื่องมือไปให้ค่ะทาง e-mail

ปนดา

เรียนรบกวนอาจารย์ค่ะ

อยากรบกวนขอรหัสการรักษาทางกายภาพบำบัดและอัตราค่ารักษาค่ะ ไม่ทราบว่าจะหาได้ที่ไหนคะ รบกวนอาจารย์ตอบให้ทางเมลล์ด้วยสะดวกไหมคะ ขอบพระคุณค่ะ [email protected]

<p>สวัสดีคะอาจารย์ ปนดา

เรียนขอความช่วยเหลือคำแนะนำจากอาจารย์นะคะ ตอนนี้ทำโครงการเสนอ สปสช ผ่านแล้วกำลังจะออกเยี่ยมผู้พิการที่บ้าน และกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ แต่ยังไม่มีแนวทางในการกายภาพฯ ท่านไหนดำเนินการเรื่องนี้แล้วรบกวนส่งไฟล์เอกสารให้หน่อยนะ โครงการแบบคร่าวๆทำใน รพสต.

วัตถุประสงค์

สนับสนุนเรื่องการให้ความรู้และทักษะการดูแลคนพิการ

สนับสนุนให้ประชาชนเข้มแข็งสามารถดูแลกันเองได้

สนับให้ผู้พิการสามารกแลตัวเองได้โดยมีญาติเป็นผู้ดูแล

สนับสนุนให้คนพิการกลับมามีคุณค่าในสังคม

กิจกรรมที่ให้

1.จัดอบรมเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย อสม.และผู้ดูแลคนพิการออกเยี่ยมโดย อสม.ในพื้นที่

2.เจ้าหน้าที่อนามัย อสม.ออกเยี่ยมบ้านและให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและญาติตามสถานที่

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1.เจ้าหน้าที่ได้รับความรู้และทักษะการดูแลคนพิการโดยมีการติดตามประเมินผล 1 ครั้ง / เดือน สามารถดูแลผู้พิการได้ 80%

2.ผู้ป่วยและญาติสามารถดูแลตนเองตามคำแนะนำ 80%

ผอ.เค้าต้องการให้เราสอนให้ประชาชนหรือ อสม เค้าสามารถดูแลผู้พิการในพื้นที่ที่รับผิดชอบโดยมีนักกายภาพบำบัดเป็นพี่เลี้ยงค่ะและมีการตรวจเยี่ยมว่าที่เราสอนหรือให้คำแนะนำเค้านำไปใช้ได้ถูกต้องหรือป่าว แต่หนู่ไม่มีแบบฟร์อมในการบันทึกการเยี่ยมบ้านของ อสม. หรือแบบฟร์อมPT และแผนในการเยี่ยมบ้าน อาจารย์หรือ PT ท่านใดมีแบบฟร์อมรบกวนช่วยส่งให้หน่อยค่ะ E-mail นะคะ : [email protected]

ขอบพระคุณมากนะคะอาจารย์ปนดา

สอบถาม อาจารย์ และพี่ๆ เพื่อนๆ กายภาพค่ะ

ว่าทำไมอัตราจ้างนักกายภาพ ใน รพ ชุมชน แต่ละที่ไม่เท่ากันคะ

บางที่ 1030 บาท บางที่ 12000-13000 บาท

อยากทราบเหตุผลค่ะ

เรียน น้องๆ กภ.ชุมชน

อาจารย์ได้ส่งเอกสารสำหรับเป็นแนวทางการเริ่มงานกายภาพบำบัดในระบบปฐมภูมิไปให้แล้วนะคะ ตั้งแต่ post 733-737

ปนดา

ขอบคุณ อาจารย์ มากๆๆค่ะ

อ.ค่ะหนูเป็นPT เพิ่งจบใหม่ ตอนนี้ทำงานรพ.ชุมชน อยากทราบว่า ถ้าไปรักษาptที่ ward,OPD หรือออกชุมชน แต่pt ไม่ได้ลงทะเบียนทร74 แล้วหนูจะเข้าไปคีย์ของ สปสช.ได้มั้ยค่ะ ยังงงอยู่ ตอนนี้หนูก็ไม่ได้เขียนโครงการเลย อ.ช่วยส่งรายละเอียดให้หนูหน่อยนะค่ะ [email protected]

กราบสวัสดีค่ะอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคนนะค่ะ

อยากรบกวนท่านอ.ขอเหมือนคนอื่นๆ ด้วยนะค่ะ

ขอเอกสารการเขียนแผนของบการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็นทางกายภาพ

ขอเอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

ขอเอกสารที่จำเป็นสำหรับการเปิดแผนกใหม่

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

และขอเอกสาร service profile ของงานกายภาพบำบัด

ขอเยอะไปไหมหนอ

แต่ขอรบกวนจิงๆนะค่ะ มีความจำเป็นอย่างแรง เพราะเพิ่งเปิดแผนกใหม่ ทำอะไรไม่ค่อยเป็นเลยค่ะ

กราบขอบพระคุณทุกท่านล่วงหน้าอย่างสูงส่งค่ะ

[email protected]

สวัสดีคะอาจารย์ปนดา

อาจารย์คะตอนนี้เรื่องอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัดในสถานบริการสาธารณสุข ได้มีการกำหนดราคากลางไว้เป็นมาตรฐานไหมคะ?? แล้วสามารถหาข้อมูลเรื่องอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัดที่สามารถจะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการทำเรื่องขออนุมัติการกำหนดค่าบริการการรักษาทางกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล ได้จากที่ไหนบ้างคะ ?? รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ e-mail : [email protected] ขอบพระคุณมากคะอาจารย์

PT ฟากท่า อุตรดิตถ์

สวัสดีค่ะอาจารย์ปนดาและพี่ๆ PT ชุมชนทุกคน

หนูจบ PT มาปีกว่าๆ แต่เพิ่งมีโอกาสได้ทำงานชุมชน

เปิดแผนกใหม่ พอดีผอ.รพ.ให้เขียนแผนเกี่ยวกับการเยี่ยมบ้านแต่หนูไม่รู้จะเริ่มยังไง

รบกวนขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านและรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับการออกเยี่ยมบ้าน

ไฟล์แบบประเมินความพิการ และรบกวนปรึกษาเรื่องการเบิกจ่ายเงิน

ตัวอย่างการเขียนโครงการของบฟื้นฟูทั้งผู้พิการ

ส่งมาที่ [email protected]

ขอบคุณมากๆ นะค่ะ

อ.ค่ะหนูอยากขอเอกสารการเขียนแผนของบการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็นทางกายภาพ

ขอเอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

ขอเอกสารที่จำเป็นสำหรับการเปิดแผนกใหม่

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

และขอเอกสาร service profile ของงานกายภาพบำบัด

เหมือนข้างบนเค้าขอกัน ขอบคุณมากกกค่ะ [email protected]

ตอบ post ที่ 740 - 744

เรื่องการคีย์ข้อมูลผู้ป่วยที่ไม่มี ท 74 แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือผู้ป่วยเรื้อรังต่างๆ เช่น COPD เบาหวาน เป็นต้น เมื่อเราเยี่ยมแล้วสามารถคีย์ข้อมูลลงใน Excel ก็ได้ค่ะ แล้วส่งให้สปสช. อีกที ปัญหานี้เกิดขึ้นค่ะ เพราะ สปสชยังไม่มีระบบสารสนเทศที่รองรับในเรื่องนี้ ก็อยู่ในระหว่างพัฒนาค่ะ

ส่วนเรื่องตัวอย่างการเขียนโครงการ การคิดค่าบริการ แบบฟอร์มต่างๆ จะส่งให้ทาง e-mail นะคะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ อ.ปนดา

ขอแบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้านของ PT และของ อสม. และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ ด้วยนะค่ะ

ขอบคุณ อ. ล่วงหน้านะค่ะ

ชฎาพร [email protected]

เรียน อาจารย์

หนูได้ทำงานที่ รพช. บ้่านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ตอนนี้มีแผนกอยู่แล้วค่ะ และต้องไปรับช่วงต่อ โดยทั่วไปแล้ว บุคลากรในทีม สหวิชาชีพอื่น ไม่ค่อยทราบบทบาท หน้าที่ของนักกายภาพ บำบัดเท่าที่ควร และตัวหนูเองก็ไม่ทราบว่าควรเริ่มต้นตรงไหนก่อนดี เนื่องจากไม่เคยผ่านงาน โรงพยาบาลมาก่อนเลยค่ะ

รบกวนขอคำแนะนำจาก อาจารย์ และขอเอกสารมาเกี่ยวกับการเปิดแผนก เช่น เรื่องเครื่องมือกายภาพที่เหมาะสมกับ รพช. หรือ การเขียนโครงการต่างๆ

เรียนคุณสุรัตน์

ขอ e-mail address ด้วยค่ะ จะได้ส่งเอกสารให้ค่ะ

ปนดา

เรียน อาจารย์

ผมทำงานที่อนามัย นครราชสีมา อยากขอแบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่นมบ้านของ PT และของ อสม. และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ ,เอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน และเอกสาร SERVICE PROFILE ของงานกายภาพบำบัด

ส่งที่ วโรตนม์ [email protected] ขอขอบคุณมาล่วงหน้า

กภ. จิราภรณ์ ธูปมงคล

สวัสดีค่ะอาจาร ตอนนี้หนูเครียดมากอยากรบกวนถามอาจารว่าถ้ารพสต จ้างนักกายภาพบำบัดเน้นออกชุมชนเป็นหลัก ถ้าไปอยู่แล้วที่รพสต จะมั่นคงเหมือนรพชมั้ยค่ะ รพสตจะเลิกจ้างมั้ย

ถ้าเราไปทำงานที่ไหน ๆ เราก็ต้องทำงานให้เขาเห็นว่า เรามีความตั้งใจ มีความสามารถ มีความสำคัญ ทำงานด้วยความซื่อสัตย์ เขาก็คงจะจ้างเราต่อไปเรื่อยๆ นั่นคือหลักทั่วไป แต่ที่รพสต. เราก็คงต้องทราบก่อนว่าเราขึ้นอยู่กับใคร รพสต.บางแห่งที่อาจารย์ทราบเขาก็มีผู้อำนวยการเหมือนกัน แต่เจ้าหน้าที่ที่รพสต.เคยเล่าให้อาจารย์ฟังว่าบางคนกินเงินเดือนและขึ้นตรงกับสาธารณสุขอำเภอ แต่บางคนก็กินเงินเดือนจากอบต.แต่อยู่ภายใต้บังคับบัญชาจากสาธารณสุขอำเภอ อะไรทำนองนี้ ซึ่งแต่ละที่คงมีความแตกต่างกันอยู่บ้าง คงต้องศึกษาโครงสร้างองค์กรด้วยว่าเขาวางเราอยู่ตรงไหน อาจารย์ว่าเราอย่าไปกังวลเรื่องความมั่นคงมากนัก ถ้าเราทำให้เกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ เขาคงจ้างเราต่อแน่นอนค่ะ

ปนดา

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ หนุมีเรื่องจะปรึกษาค่ะ ( ทำรพ ชุมชน จ.สงขลา) ก็คือการเข้าไปทำเคสในwardเราควรทำโดยมีหมอconsult ถูกไหมค่ะ ซึ่งเคสในward ส่วนใหญ่เป็นchest จะเป็นการเคาะปอด ซะมากกว่า ทีีนี้ ถ้าเป็นวันเเรกพยาบาลในตึกจะโทรบอกเคส ซึ่งในวันเเรกที่เข้าไปดู เราก็ต้องสอนผู้ปกครอง คือให้เป็นเสมือนพยาบาลคนที่2 เคาะปอดได้เอง และประเมินญาติ หรือว่าเราควรที่จะเข้าไปเคาะปอดต่อเนื่อง ทุกๆวัน แม้ว่าแพทย์ไม่เขียนorder contineuในวันนั้นก็ตาม เข้าไปทำจนกว่าคนไข้จะD/C

สวัสดีค่ะอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคนนะค่ะ

อยากรบกวนขอเอกสารบางส่วนหน่อยค่ะ ก็คือ

ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัดค่ะ

อย่างหลังนี่รบกวนอย่างมากเลยค่ะ งงและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้วค่ะ

ขอบคุณมากๆนะคะ

[email protected]

ขอขอบคุณอาจารย์มาก ผมได้รับเอกสารแล้ว ผมทำงานกับอนามัย อยากได้เพื่อน PT ที่ทำงานอนามัยมาแลกเปลี่ยนกัน ที่[email protected] ได้

ร้อยตรีสงกรานต์ ทองภักดี

กราบเรียนอาจารย์ดาที่เคารพ อยากรบกวนขอเอกสาร ก็คือ

- ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

- แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

- service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัดค่ะ

- powerpoint ด้วยครับ ( ถ้าอาจารย์มี ) รบกวนส่งที่ [email protected] ครับ เดือน พ.ย. จะอบรม อสม. ในเขตพื้นที่

ขอขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่าสูง ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรงๆๆๆ นะครับ

ร.ต.สงกรานต์ ทองภักดี รพ.ค่ายกาวิละ

ตอบคุณ nurah

ในกรณีที่แพทย์ ส่งผู้ป่วยปรึกษา PT ทาง chest โดยมากเขาจะทำต่อเนื่องจนกว่าแพทย์จะสั่ง D/C นะคะ การรักษาทางกายภาพฯในผู้ป่วย chest คงจะไม่ใช่แต่เคาะปอดเท่านั้น เราสามารถทำอย่างอื่นได้อีกขึ้นอยู่กับสภาพและปัญหาของผู้ป่วย เราควรสอนเรื่อง home program ด้วย การให้ญาติเข้ามามีส่วนร่วมในการรักษาตั้งแต่แรก ๆ เป็นการดี แต่ไม่ใช่ให้ญาติทำอย่างเดียว ถ้าผู้ป่วย admit ในรพ. ผู้ป่วยอยู่ในความดูแลของเรา เราควรเป็นผู้ให้การรักษา เพราะการรักษาของเราต้องประเมินจากผู้ป่วยด้วยว่าตอบสนองต่อการรักษาหรือไม่ อย่างไร ควรมีการปรับเปลี่ยนวิธีการรักษา หรือไม่ ซึ่งญาติผู้ป่วยจะทำตรงนี้แทนเราไม่ได้ค่ะ

ปนดา

สวัสดีครับอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคน

คือตอนนี้ผมเพิ่งเริ่มเข้ามาทำงานกายภาพบำบัดชุมชน ซึ่งตัวผมเองไม่ถนัดเลยเรื่องงานเอกสาร

หรือการร่างหนังสือต่างๆ ไม่รู้จะเริ่มอย่างไร

จึงอยากรบกวนอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคนช่วยเอกสารเหล่านี้

เพื่อเป็นแนวทางในการทำงานหน่อยครับ ก็คือ

ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัด

powerpoint ด้วยครับ ( ถ้าอาจารย์มี )

ขอขอบพระคุณเป็นอย่าสูงครับ [email protected]

เรียน อาจารย์ ปนดา

ผมรบกวนขอเอกสารเกี่ยวกับโครงการฟื้นฟูคนพิการเพื่อนำมาศึกษาเป็นแนวทางในการทำงานในชุมชนครับ

ขอบคุณครับ

เมล์ [email protected]

ขอบพระคุณครับ

ขอเชิญชุมชนออนไลน์ เข้ามาชมโครงการพุทธศาสตร์สงเคราะห์ช่วยเหลือเด็กที่ด้อยโอกาสได้ที่

www.phnc.6t.net

เพื่อให้พัฒนาการเรียนรู้ ให้แก่เยาวชนที่ห่างไกลความเจริญ และควรให้เขามีโอกาสได้แสดงความสามารถให้เหมิอนบุคคลทั่วไป

กรุณาเข้ามาเยี่ยมด้วยนะครับ

ต้องขอโทษด้วยนะคะ ที่ไม่ได้เข้ามาทักทายกันนาน ช่วงนี้อาจารย์งานยุ่งมากค่ะ อย่างไรก็ตามได้ส่งเอกสารให้กับผู้ที่ขอข้อมูลและเอกสารไปยัง e-mail ที่ให้ไว้แล้วนะคะ

Bye-bye

Panada

เรียนอาจารย์ปนดา อยากทราบว่ามาตรฐานห้องกายภาพบำบัดเปงอย่างไรบ้างครับ พอดีกำลังออกแบบแปลนตึกกายภาพครับ

เรียนคุณกิตติ

เรื่องมาตรฐานห้องกายภาพบำบัด ได้มีการระบุไว้ในมาตรฐานบริการกายภาพบำบัด ที่สภากายภาพบำบัดได้จัดทำขึ้น อยู่ในมาตรฐานที่ 3 การจัดสภาพแวดล้อมและความปลอดภัย ขอแนะนำให้คุณกิตติเข้าไปดูรายละเอียดใน web สภาฯ www.pt.or.th และไปคลิกที่มาตรฐานกายภาพบำบัดทางซ้ายมือนะคะ

ปนดา

ขอพระคุณอาจารย์มากครับ เดียวจะส่งเมลล์แปลนห้องให้ช่วยพิจารณานะครับ

อ.ค่ะตอนนี้ รพ.กำลังสร้างแผนก อีก3เดือนคาดว่าเสร็จ หนูจะทำอย่างไรต่ออ่ะค่ะ ไม่รู้จะเริ่มยังไงค่ะ

ขอปรึกษาหน่อย นะคะคิดว่าถามกรุทู้นี้น่าจะได้คำตอบจากผู้ทีความรู้แน่นอนเลยค่ะ พอดีคุณพ่อเส้นเลือดที่สมองตีบขยับตัวไม่ได้ครึ่งซีกค่ะ ตอนนี้ไปโรงพยาบาล คุณหมอจะมียาให้ฉีด 1 ชุด 10 เข็มแกบอกว่าถ้ายาหมดจะดีขึ้น แต่หนูไม่แน่ใจว่ายาหมดแล้วคุณพ่อจะกลับมาเดินได้หรือป่าวแต่ช่วงที่รอฉีดยา หนู่อยากให้คุณพ่อทำกายภาพบำบัด เพราะเหลือยาฉีดอีกตั้ง 5 วันซึ่งนำกลับมาฉีดที่บ้าน เลยอยากจะถามว่าถ้าให้คุณพ่อฝึกเองที่บ้านจะได้มั้ยค่ะ ซึ่งคุณหมอก็บอกวิธีมาแต่ได้แค่บางท่ายังไม่ได้ฝึกท่ายืน เดิน อีกอย่างกลัวว่าถ้าฝึกเอง ทั้งข้อ ทั้งกล้ามเนื้อ มันจะมีปัญหาหรือป่าว บางครั้งคุณพ่อก็ใช้ผ้าผูกกับราวบันไดแล้วยืนขึ้นเอง แต่กลัวว่าถ้าไปฟื้นฟูที่โรงพยาบาลมันหลายวันแล้วค่าใช้จ่ายจะแพงมาก อีกอย่างเรื่องคนเฝ้าไข้ด้วย พอแนะนำได้มั้ยค่ะว่าจะอย่างไรดี คุณพ่อเพิงเป็นเมื่อวันอังคารที่2 พ.ย.2553 ยังสามารถควบคุมการขับถ่ายได้จำอะไรได้หมด แต่แกจะชอบเครียดนอนไม่หลับ ถ้าจะไปโรงพยาบาลมีที่ไหนแนะนำที่ถูกและบริการดีมั้ยค่ะ รบกวนขอคำตอบหน่อยนะคะ ตอนนี้หนูเครียดมากอยากให้คุณพ่อกลับมาเดินได้เหมือนเดิม

kasa..ขอบคุณค่ะ

เรียนคุณKasa

สำหรับปัญหาของคุณพ่อคุณ คงต้องทำตามที่แพทย์แนะนำเรื่องการฉีดยาให้ครบ แต่สำหรับกายภาพบำบัดนั้น ญาติและผู้ดูแลมีส่วนช่วยได้มากค่ะ ไม่ทราบว่าคุณและคุณพ่ออยู่ด้วยกันหรือไม่ และอยู่จังหวัดอะไร นักกายภาพบำบัดในรพ.ใกล้บ้านน่าจะเป็นที่ๆควรไปปรึกษาเพราะน่าจะประหยัดค่าใช้จ่ายที่สุด ต้องรักษาสภาพจิตใจของผู้ป่วยด้วย หวังว่าคุณคงพอมีเวลาดูแลท่านนะคะ หรือถ้ามีคนช่วยดูแลก็คงจะเบาแรงขึ้นบ้าง แต่ก็ต้องไปดูแลท่านอยู่ดี และเป็นกำลังใจให้ท่านด้วย เท่าที่ฟังจากอาการ คุณพ่อของคุณน่าจะมีโอกาสเดินได้นะคะ

ปนดา

http://www.nhso.go.th/NHSOFront/SelectViewFolderAction.do?folder_id=000000000000129

คู่มือบริหารงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติปีงบประมาณ 2554 เล่มที่ 1

5.2 งบพัฒนาระบบบริการร้อยละ 20 (114.72 ลบ.) จัดสรรดังนี้

สปสช.เขต จำนวนร้อยละ 80 จำนวนเงิน 91.78 ลบ.(ปี 2553 จำนวน 53.4 ลบ.)

6.2.1 แนวทางการสนับสนุนงบพัฒนาระบบบริการฯของ สปสช.เขต

ให้ สปสช.เขต ดำเนินการสนับสนุนงบประมาณให้กับหน่วยบริการ องค์กรคนพิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อการพัฒนาระบบบริการฟื้นฟูสมรรถภาพด้านการแพทย์ ดังนี้

1) จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการของหน่วยบริการตามแนวคิดการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยชุมชน เป็นฐาน (CBR /Community Based Rehabilitation) โดยบูรณาการการดำเนินงานและงบประมาณร่วมกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยกำหนดเป้าหมายอย่างน้อยเขตละ 1 พื้นที่ เพื่อเป็นต้นแบบหรือศูนย์เรียนรู้ในการขยายงานในพื้นที่อื่นต่อไป

2) จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบบริการของหน่วยบริการตามความพร้อม โดยเน้นความต่อเนื่องและพัฒนาต่อยอดจากฐานงานเดิมรวมทั้ง การสนับสนุนการขยายขอบเขตงานบริการฟื้นฟูฯรูปแบบใหม่ ที่ไม่มีในระบบบริการเดิม เช่น การพัฒนาระบบบริการจิตเวชชุมชน การฟื้นฟูกลุ่มคนพิการด้านสติปัญญาการเรียนรู้และออทิสติก และนวัตรกรรมบริการอื่นๆ

โดยกำหนดการสนับสนุนในรูปแบบการเสนอโครงการพัฒนาระบบบริการเพื่อพิจารณาสนับสนุน ตามแนวทางที่กำหนด (ภาคผนวก 2.4)

3) จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพขององค์กรคนพิการ คนพิการและผู้ดูแลคนพิการและอาสาสมัคร ในรูปแบบการเสนอโครงการพัฒนาศักยภาพเพื่อพิจารณาสนับสนุนตามแนวทางที่กำหนด (ภาคผนวก 2.5)

4) จัดสรรงบประมาณ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของหน่วยบริการด้านงานฟื้นฟู โดยการสนับสนุนงบประมาณเพื่อพัฒนากำลังคนด้านงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน ตามเป้าหมายการขยายบริการกายภาพบำบัดและตามแนวทางการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ รวมทั้งการสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพผู้ให้บริการด้านงานฟื้นฟูฯอื่น ที่จำเป็น

ไม่แน่ใจว่าใน ข้อ 4) ใครมีแนวทางหรือโครงการอะไรที่กำลังจะนำเสนอบ้าง อยากให้แลกเปลี่ยนกันค่ะ

เรียนอาจารย์ครับ

ผมอัฏฐพร ทีมไม้เลื้อยครับ ผมเข้ามาเพื่อแสดงความขอบคุณในการทำ web กายภาพบำบัดชุมชนครับ ท่านอาจารย์ได้เล็งเห็นความสำคัญของนักกายภาพบำบัดชุมชน และแนวน้มต่อไป การรับนักกายภาพบำบัดใน รพ.ชุมชน ก็จะเพิ่มมากขึ้น วิชาชีพกายภาพบำบัดก็กำลังเป็นที่ต้องการเป็นจำนวนมากครับ หลังจากที่ผมได้มีโอกาสเป็นอาจรย์ CI ก็ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับน้องนักศึกษามาหลายรุ่น พบว่ายังต้องเพิ่มความรู้ในงานชุมชนให้มากขึ้น ซึ่งก็คือ mixed skill ครับ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะคนไข้ที่เราทำที่คลินิคและชุมชนมีปัญหาหลากหลาย ไม่ได้มีแค่ปัญหาเดียวครับ

และผมจะเรียนสอบถามอาจารย์ การประเมินมาตรฐานกายภาพบำบัดชุมชน นักกายภาพบำบัดจะต้องมีคุณสมบัติอย่างไร และได้อะไรเพิ่มเติมจากการประเมินครับ

ขอขอบพระคุณอาจารย์ครับ

อัฏฐพร ทีมไม้เลื้อย

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนที่เพิ่มมาทำงานได้ประมาณ 5 เดือนแล้วค่ะ ตอนนี้หนูต้องคีย์ข้อมูลใน Web สปสช ด้วยเกี่ยวกับการให้บริการ แต่ยังไม่เข้าใจการลงทะเบียนค่ะว่าต้องทำอย่างไรบ้าง แล้วเราลงเฉพาะคนไข้ ท74 หรือเปล่า เห็นเหมือนว่าปีนี้เขาให้คีย์ได้คนไข้สามกลุ่มใช่หรือเปล่า ถ้าพี่ๆหรือเพื่อนคนไข้มีข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้รบกวนหน่อยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูเป็นนักกายภาพบำบัดใหม่ที่เพิ่งมาทำงานที่โรงพยาบาลชุมชน ตอนนี้หนูได้รับหน้าที่คีย์ข้อมูลการให้บริการกายภาพใน สปสช แต่ยังไม่มีข้อมูลการทำเลยว่าเราสามารถ คีย์ได้เฉพาะคนไข้ ท74 หรือเปล่า แล้วที่ปีนี้เขาเปิดให้เราคีย์ได้ในคนไข้สามกลุ่มด้วยกัน เราต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ รบกวนพี่ๆและเพื่อนที่รู้หน่อยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

แจ้งข่าวร้ายสำหรับนักกายภาพบำบัดงบ สปสช.

ในงบปี 2554 นี้ สปสช ทำการลอยแพ เรียบร้อยแล้ว โดยโรงพยาบาลที่เขียนขอจ้างนักกายภาพบำบัดในปีงบ 2553 ไม่สามารถเขียนขอจ้างต่อได้ ให้เฉพาะโรงพยาบาลชุมชนที่ยังไม่มี เขาบอกว่าให้โรงพยาบาลบริหารจัดการเอง ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับนักกายภาพบำบัดแต่ละที่ จะไปดำเนินการกับผู้บริหารโรงพยาบาลว่า จะจ้างต่อหรือไม่ เขาคิดว่าถ้าเรา key รายละ 150 บาทแล้ว จะได้ส่วนนั้นมาจ้าง แต่ในความเป็นจริงเงินส่วนนี้มีจำกัด(มีอยู่ก้อนหนึ่งคงที่) เมื่อทุกคน key กันมากขึ้น ก็ต้องเกินงบที่ตั้งไว้ ทำให้ในที่สุดก็จะได้รายละไม่ถึง 150 บาท

ดังนั้น จึงอยากให้น้องๆ นักกายภาพบำบัดที่จ้างโดยงบ สปสช ในปีงบ 2553 ต้องรวบรวมข้อมูลให้ดี เพื่อที่มีหลักฐานในการทำเรื่องกับโรงพยาบาล ซึ่งทุกคนต้องช่วยเหลือตนเองแล้ว

สปสช เขต 3 นครสวรรค์ ค่ะ

ไม่ทราบว่าเขตอื่น เป็นแบบนี้หรือไม่

ตอบน้องอัฏฐพร ทีมไม้เลื้อย

เกี่ยวกับเรื้องการประเมินมาตรฐานกายภาพบำบัดนั้น เราแบ่งการประเมินออกเป็น 2 ส่วน คือ 1. การประเมินมาตรฐานบริการกายภาพบำบัด ซึ่งทางคณะอนุกรรมการได้ทำร่างมาตรฐานการบริการกายภาพบำบัดเสร็จแล้ว และส่งให้สภากายภาพบำบัดประกาศใช้ ขณะนี้คณะอนุกรรมการมาตรฐานฯกำลังอยู่ในระหว่างการสร้างเกณฑ์การประเมินมาตรฐาน เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่ได้จัดทำขึ้น ซึ่งในวันที่ 19-20 เดือนนี้ก็จะมีการนัดประชุมเพื่อจัดทำเกณฑ์นี้ให้เสร็จ จากนั้นคงคงจะนำเกณฑ์นี้ไปทดลองประเมิน

2. คือการประเมินมาตรฐานนักกายภาพบำบัด ซึ่งการประเมินนี้คงยังไม่สามารถประเมินได้ เพราะทางอนุกรรมการยังไม่ได้จัดทำร่างมาตรฐานนักกายภาพบำบัดเลย จริงๆก็ตั้งใจจะทำแต่เนื่องจากมาตรฐานนักกายภาพบำบัดต้องมีการระบุขีดความสามารถของนักกายภาพบำบัดด้วย (competency) ซึ่งทางอนุกรรมการฝ่ายวิชาการกำลังปรับปรุง competency ของนักกายภาพบำบัดอยู่ จึงต้องรอไปอีกระยะหนึ่ง

สำหรับที่น้องอัฎฐพรถามมานั้นน่าจะเป็นมาตรฐานบริการกายภาพบำบัดมากกว่า ซึ่งทางอนุกรรมการฝ่ายมาตรฐานก็ได้ตระหนักดีเกี่ยวกับความแตกต่างของรพ.ชุมชนและกายภาพบำบัดชุมชน การประเมินรพ.ชุมชน ก็คงใช้การประเมินมาตรฐานการบริการกายภาพบำบัด เหมือนรพ.ทั่วไป แต่ถ้ารพ.นั้นมีงานกายภาพบำบัดชุมชนด้วย เราก็จะเข้าไปประเมินในส่วนนั้นด้วยค่ะ

ขอบคุณที่เข้ามาเขียนแสดงความคิดเห็นนะคะ

ปนดา

สำหรับเรื่องการคีย์ข้อมูลให้สปสช.นั้น เราก็ไม่ทราบว่าเขาพัฒนาระบบไปถึงไหนแล้ว ล่าสุดที่ทราบคือฐานข้อมูลของเขา support แค่ผู้ป่วยที่มี ทร74 แต่ถ้าเป็นข้อมูลผู้ป่วยอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยเรื้อรัง หรือผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงจะคีย์ไว้ในโปรแกรม Excel อย่างไรก็ดี เขาอาจจะพัฒนามาเป็นระบบที่สามารถคีย์ข้อมูลคนไข้สามกลุ่มนี้แล้วก็ได้ อาจารย์กำลังขอให้คุณกิตติช่วยเข้ามาแชร์ข้อมูลในส่วนนี้ด้วยค่ะ

ส่วนเรื่องที่สปสชเขาไม่ให้งบปี 2554 นั้น จะพยายามหาข้อมูลมาแชร์นะคะ ณ ตอนนี้ข้อมูลของสปสช.แต่ละเขตยังรู้ไม่ค่อยเหมือนกันเลย ซึ่งเป็นปัญหาการประชาสัมพันธ์ของสปสช.เอง เขาก็กำลังจะจัดชี้แจงในแต่ละเขตอยู่ค่ะ ลองโทรถามสปสช.เขตให้ชัดเจนอีกทีนะคะว่าจะจัดเมื่อไร จะได้ซักถามโดยตรงเลย

ปนดา

ตอบคำถามเรื่องการคีร์ข้อมูล สปสช.

ลำดับแรกท่านจะต้องมีpass word จากสปสช.โดยติดต่อกับทางสปสช.โดยตรงเพื่อขอรับรหัสผ่าน การลงข้อมูลการจะประกอบด้วยสองส่วนคือ 1 การให้บริการฟื้นฟูสภาพ 2 การเบิกจ่ายกายอุปกรณ์ จะขออธิบายแยกดังต่อไปนี้

กรณีการรายงานการให้บริการฟื้นฟู ปัจจุบัน สปชส.ได้พัฒนาโปรแกรมการลงข้อมูลโดยปลดล็อกให้สามารถลงรายงานผู้ป่วยระยะ subacute และผู้สูงอายุที่มีแนวโน้วจะพิการในอนาคต ตามพันธกิจที่เพิ่มมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม สปชส.จะย่อมรับการลงรายงานฟื้นฟูในส่วนของนักกายภาพบำบัดเพียงด้านการเคลื่อนไหวเท่านั้น สำหรับผู้พิการที่ใช้สิทธิ ท74 ให้ลงข้อมูลได้เลย ส่วน subactue ให้คลิกเลยในช่องผู้ป่วยระยะฟื้นฟูหรือกำลังอยู่ในระหว่างการเปลี่ยนสิทธิ ความพิการด้านอื่นๆให้ลงข้อมูลส่งเป็นไฟด์เอ็กเซลล์เพื่อเป็นการรายงานให้ทราบว่าเราได้ให้บริการด้านอื่นๆด้วย สำหรับรูปแบบเอกเซลล์ควรประกอบด้วย รหัสหน่วยบริการ ชื่อหน่วยบริการ ชื่อผู้พิการ นามสกุล HN AN(กรณีผู้ป่วยใน) เลขประจำตัวประชาชน ประเภทความพิการ(แยกร่างกาย การมองเห็น การได้ยิน สติปัญญา จิต) หน่วยบริการประจำ จังหวัดหน่วยบริการประจำ ลำดับการให้บริการฟื้นฟู จำนวนครั้ง ว.ด.ปที่ให้บริการ

กรณีการเบิกจ่ายกายอุปกรณ์ ให้ทำในลักษณะเดียวกันกับการลงรายงานการฟื้นฟู แต่ในกรณีผู้พิการต้องการกายอุปกรณ์ที่นอกเหนือจากที่ สปสช.กำหนดให้จ่ายได้เฉพาะคนพิการ หากเป็นเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยาที่เป็น high coach ให้ทำระบบการส่งเคลมผ่านทางระบบ E clem โดยต้องไปศึกษาดูว่ามีรายการอะไรบ้าง เพราะเป็น วทมย.ที่จ่ายให้คนไข้สิทธิ UC ปกติ ซึ่งสิทธิคนพิการก็จัดเป็น UC เช่นกันแล้วรายงานกายอุปกรณ์หรืออุปกรณ์เพื่อการบำบัดโรคทางกายภาพบำบัดที่ สปสช.ไม่ได้กำหนดลงเอ๊กเซลล์เช่นกัน โดยควรมีข้อมูลในเอ๊กเซลล์คล้ายการฟื้นฟู แต่เปลี่ยนใหม่ตุ้งแต่หัวข้อจังหวัดหน่วยบิการประจำเป็นต่อไปเป็น รหัสรายการอุปกรณ์ที่จ่าย จำนวนชิ้น ราคา(จำนวนเงิน) ว.ด.ป.ที่จ่ายอุปกรณ์ หากทำได้ดังนี้แล้ว รพ.จะสามารถเพิ่มรายรับเพิ่มขึ้น โดยต้องมีระบบติดตามว่าจำนวนที่รายงานกับการตอบรับเคลมคืน100%หรือไม่

หากมีข้อสังสัยขอให้ปรึกษา สปสช.ผู้ที่รับผิดชอบโดยตรง

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

มือถือ: 0860559353

e-mail:[email protected]

คู่มือแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน Home health care

http://cid-639662d1e29425ae.office.live.com/documents.aspx

ใช้ copy แล้ว paste ถ้าเข้าได้แล้ว click ที่สาธารณะ แล้ว download

เรื่องการลงข้อมูลใน ท.74 ให้ปรึกษากับฝ่ายประกันฯ หรือ เวชระเบียน ในหน่วยงานที่ท่านสังกัด ซึ่งต้องทราบข้อมูลอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นช่องทางหนึ่งของรายได้ที่จะเข้ามา

ระบบฐานข้อมูลของ รพช./รพท./รพศ. แต่ละแห่งจะค่อนข้างมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าเขาใช้อะไร

เช่น HosXp ทั้งนี้ทั้งนั้น ท่านจะต้องพูดคุยกับผู้บริหารว่าจะมีการ key ข้อมูลอะไร ซึ่งที่สำคัญก็คือ หัตถการทางกายภาพบำบัด

ทั้งนี้ทั้งนั้น โรงพยาบาลจะเรียกเก็บไปยัง สปสช. สำหรับ รพท./รพศ.หลายแห่งมีระบบการใส่ข้อมูลที่แตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ ทำให้รายได้ที่จะเข้าโรงพยาบาลก็แตกต่างกันไปด้วย

การขาดระบบเช่นนี้ทำให้เกิดความพยายามนำเข้ารายได้สู่งานมากขึ้น เช่น การลงข้อมูลสองบริการ ซึ่งท่านสามารถสอบถามจากนักกายภาพบำบัด ใน รพช. ที่เชี่ยวชาญ ได้ว่าควรทำอย่างไเร

การขาดระบบทำให้เกิดการดึงเงิน ซึ่งอาจมีงบประมาณในจังหวัดอยู่น้อยอยู่แล้วเกลี่ยให้กับ รพช. ที่มี PT ดำเนินการ ตามที่ PT5 อ้างถึง แต่ในความเป็นจริง สสจ. อาจเข้ามาบริหารจัดการเกลี่ยเงิน ซึ่งมีความแตกต่างกันในแต่ละจังหวัด และพื้นที่

ปัญหาของงบประมาณ จึงเป็นเรื่องที่ PT ใน รพช. แต่ละแห่ง พยายาม ระดมทรัพยากร ในพื้นที่ของตัวเอง ไม่ว่าจะ มาจาก การทำโครงการฯ ระหว่าง อบต. ผ่าน สปสช. การจัดทำ รพสต. และเสนองบประมาณเตรียมเครื่องมือไปแล้ว ในรอบปีที่ผ่านมา การจัดซื้อจัดจ้างเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับคนพิการร่วมกันทั้งจังหวัด หรือต่างคนต่างแยกย้ายกันทำ ใครไม่ได้ทำก็ได้รับเงินน้อยหน่อย การจัดหาเครื่องช่วยผ่านมูลนิธิ องค์กร ต่างๆ ทำให้ได้รับของเร็วกว่าระบบ ที่ สปสช ทำอยู่ในปัจจุบัน การจัดทำงบประมาณที่ดึงเงินจากส่วน ส่งเสริมป้องกัน (หรือเรียกสั้นๆ ว่า งบ PP) ฯลฯ อีกมากมาย

การขาดความเข้าใจเรื่องงบประมาณ ขาดการเผยแพร่ สื่อสารข้อมูล ขาดเครือข่ายระหว่างผู้รู้-ผู้ไม่รู้ ผู้มาก่อน-ผู้มาหลัง ผู้มีประสบการณ์-ผู้ด้อยประสบการณ์ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ใกล้ๆกัน ในจังหวัดเดียวกัน ในอำเภอเดียวกัน หรืออำเภอใกล้กัน รุ่นพี่ เพื่อนในวิชาชีพ ทำให้ไม่เท่าทัน

สำหรับเรื่องระบบข้อมูลข่าวสาร เท่าที่ทราบ ก็คงมีความพยายามผลักดันให้เกิดระบบที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น และเป็นมาตรฐานเดียวกัน ไม่ว่า จะเป็นความพยามสอดแทรกงานกายภาพบำบัดเข้าไปในระบบรายงาน ของ สนย. 18 แฟ้ม หรือ การจัดทำ coding ของ ระบบฐานข้อมูล HosXp หรือการเผยแพร่วิธีการ coding ระหว่าง เวชระเบียนที่ใช้ระบบเดียวกัน ข้ามจังหวัด ข้ามอำเภอบ้าง ซึ่งท่านสามารถ search ได้ทางเว็บไซด์

เรื่องเช่นนี้เคยมีการทำงานกันมาบ้างแล้ว เช่น ความพยายามในการจัดทำระบบข้อมูลข่าวสารในปี พ.ศ.2536 แต่ก็ถูกล้มเลิกไปด้วยปัจจัยของผู้บริหารใน สธ. ทุกวันนี้สิ่งที่ทำได้จึงมักจะต้องเริ่มที่ส่วนปลาย หรือ ปฏิบัติการของ PT ตัวเล็กๆ ที่ทำงานให้กับ รัฐท้องถิ่น แล้วช่วยกันแพร่กระจายไป แต่ไม่ใช่มาจากรัฐส่วนกลาง เพราะรัฐส่วนกลาง ละเลย มานานมาก จนทุกวันนี้ ความต้องการของตลาดงานกายภาพบำบัด (need) บังคับให้รัฐท้องถิ่น ต้องจ้างเอง

ส่วนเรื่องของระบบงบประมาณ ที่ว่า จะถูกตัดไป ใน ปี พ.ศ.2553 หรือ 2554 นั้น เราเป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า การจ้างนักกายภาพบบำบัดในปัจจุบัน ไม่ได้อ้างอิงบนเงินก้อนนั้นก้อนเดียว รัฐส่วนท้องถิ่น หลายแห่ง พยายามจ้างด้วยเงินจากระบบอื่นๆ รวมทั้ง สปสช. ได้กระตุ้นตลาด ให้เปิดงาน ใน อบต. (โดยการทำโครงการฯ) ในทางหนึ่ง สปสช. ก็กระอักกระอ่วน ที่จะไปบังคับ ให้รัฐส่วนท้องถิ่น จ้าง PT ใน รพช. ให้ครบทุกแห่ง หรือกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ แต่ก็พยายามผลักเงินลงไป หากมีความกังวลในเรื่องงบประมาณ คงต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันว่า เขาหาเงินจากส่วนไหนมาจ้างดี เรื่องนี้ คุณอัฏฐพร รพร.กุฉิฯ หรือ คุณอรอุมา รพร.ด่านซ้าย น่าจะมีข้อมูล หรือ PT อื่นๆ ที่ทำงาน ใน รพช. มีประสบการณ์ เป็นอย่างดี

สำหรับ ความกังวลของการจ้างงาน ใน รพท./รพศ. นั้น คงจะเป็นเรื่องที่อาจจะห่วงมากกว่า เพราะทุกวันนี้ ลชค. ในรพท./รพศ. น่าจะเป็นครึ่งหนึ่งของข้าราชการแล้ว (ในปีพ.ศ.2550 รพท./รพศ. มี ลชค. 71 คน ขรก. 312 คน) การจ้างเพิ่ม ต้องไปยุ่งเกี่ยวกับ สภาวะเงินสวัสดิการ หรือเงินรายได้ ของ รพ. ในขณะเดียวกัน รพช.ในจังหวัด ก็เติบโต และจ้าง PT การมีบทบาทของ รพช.ในการเปิด CMU หรือ รพสต. ก็เพื่อต้องการไปดูแล และสร้างงาน และนั่นคือ หาเงินเพิ่ม ดังนั้น รพช. ทำงานตั้งรับในท้องถิ่นมากก็เพื่อต้องการลดรายจ่ายที่จะไปจ่ายให้กับ ระบบทุติยภูมิ/ตติยภูมิ (รพท./รพศ.) รวมทั้งความพยายามในการทำงานกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มากขึ้น ทำให้เงินหมุนเวียนในการจ้าง บุคลากรมาได้หลายทางมากขึ้น

เรียน คุณ คห.753, 755, 757

ผมได้ส่ง แบบบันทึกเพื่อตรวจประเมินความพิการ ตาม พรบ.2550 และ พรบ.2534 ไปแล้ว ไม่แน่ใจว่าเป็นสิ่งที่ตรงใจหรือไม่

แบบบันทึก และทะเบียน นี้มีรหัส สำหรับลงใน file excel ซึ่งทางชมรมนักกายภาพบำบัดจังหวัดเชียงใหม่ ได้จัดทำขึ้นในโครงการ "พัฒนารูปแบบบริการทางกายภาพบำบัดแก่ผู้ป่วยผู้พิการ ใน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ" ในช่วงเดือน กย.2552 - เมย.2553 โดยความร่วมมือกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ และ รพ.อมก๋อย โดยระดมนักกายภาพบำบัดทั้งจังหวัด สำหรับพื้นที่เป้าหมายต่อไป ที่ได้วางแผนร่วมกับ สสจ.ชม. คือ ในเขตอำเภอเมือง (ย้ำว่า อ.เมือง จ.เชียงใหม่) ที่บริการกายภาพบำบัดเข้าไม่ถึง

สำหรับ PT ในจังหวัดเชียงใหม่ หากต้องการสมัครสมาชิก ชมรมฯ โปรดติดต่อ ที่คุณชาติวุฒิ อินทวงศ์ รพช.ฝาง ([email protected]) ซึ่งเป็นประธานชมรมฯ หรือ คุณบุญรุ่ง อริยชัยกุล รพท.นครพิงค์ ([email protected]) รองประธานชมรมฯ

การจัดทำโครงการฯ ต่างๆ โปรดติดต่อที่ ประธาน/รองประธาน ชมรมฯ เพื่อที่จะได้แนะนำได้ว่า จะให้ติดต่อกับใคร ที่มีข้อมูล หรือให้ข้อคิดเห็นได้

เรียน คุณ คห.753, 755, 757

ผมลืมไป ในเรื่องของคู่มือการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียน ผมไม่แน่ใจว่า คุณต้องการสิ่งนี้หรือไม่ หรือ ตรวจประเมินเพื่อเป็น patient folder ถ้าต้องการตรวจประเมินเพื่อขึ้นทะเบียน ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับ คู่มือการตรวจประเมินฯ ซึ่งทาง พมจ. จะเป็นผู้จัดพิมพ์ และมีการจัดอบรมฯ ให้แล้วเมื่อปลายปีที่แล้ว สำหรับการขึ้นทะเบียน ตาม พรบ.50 ซึ่งผมคิดว่า ตรงนี้น่าจะรู้กันแล้ว แต่แบบตรวจประเมิน ของกายภาพบำบัด ก็คงทำแบบไหนก็ได้ หรือจะเอาของ สถาบันการศึกษา มาดัดแปลง คงไม่มีสูตรสำเร็จ (ยกเว้น แต่คุณไม่อยากคิดมาก) แล้วให้รับรองว่าเป็นเอกสารคุณภาพ ไปเลย เพื่อเข้าสู่ระบบประกันคุณภาพ ของสถานพยาบาล

เรียนคุณดาริกา (คห.668)

ข้อมูลใน ปีพ.ศ.2546 ระบุว่ามี PT 1,566 คน หรือคิดเป็นอัตราส่วน PT:ประชากร = 1:40,831 โดยใช้ฐานข้อมูลประชากรจากการทำสำมะโนประชากร 2543

สภากายภาพบำบัดได้ทำการสำรวจในปี พ.ศ.2552 ระบุว่ามี PT 2,854 คน หรือคิดเป็นอัตราส่วน PT:ประชากร = 1:23,441 โดยใช้ข้อมูลประชากรจากการคาดประมาณโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อปี พ.ศ.2550 ด้วยข้อสมมติภาวะเจริญพันธุ์ระดับปานกลาง และเทคนิควิธีองค์ประกอบ ได้แก่ การเกิด การตาย และการย้ายถิ่น

จะเห็นได้ว่า นี่คืออัตราส่วนนักกายภาพบำบัดต่อประชากร (ไม่ใช่สัดส่วน เพราะไม่มีค่าเป็นร้อยละ) ที่เป็นจริงในขณะเวลานั้น และจะเห็นว่า มีนักกายภาพบำบัดเพิ่มขึ้นประมาณเฉลี่ย ปีละ 200+ คน สำหรับอัตราส่วนที่กล่าวถึงคือ 1:15,000 นั้น คงเป็นการคาดประมาณอัตราส่วนที่ทางสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ (สนย.) ได้ทำร่วมกับสภาฯ ไว้เมื่อหลายปีก่อน ปัจจุบันนี้เราไม่ค่อยสนใจตัวเลขการคาดประมาณอัตราส่วนต่อประชากร เท่าไร เพราะไม่สามารถสื่อถึงอะไรได้เท่าที่ควร การคาดการณ์นักกายภาพบำบัดในอดีตมีหลายตำรามาก แต่มีการคาดประมาณ 2 แนวทางที่ค่อนข้างจะทันสมัยคือ

การศึกษาของ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ (2549) ได้ประเมินขนาดของเตียงจากระยะทางและเวลาในการเข้าถึงบริการ และได้คาดประมาณกำลังคนสาขาต่างๆ จากการวางขอบเขตเครือข่ายบริการของโรงพยาบาลระดับต่างๆ ตามระบบ GIS สำหรับการคาดประมาณจำนวนนักกายภาพบำบัดต่อจำนวนประชากรที่รับผิดชอบในสถานพยาบาล มีดังนี้ ทุติยภูมิระดับต้น 1: 20,000 (นักกายภาพบำบัด 1 คน ต่อประชากรรับผิดชอบ 20,000 คน) ทุติยภูมิระดับกลาง 1:150,000 ทุติยภูมิระดับสูง 1:250,000 ตติยภูมิระดับต้น 1:300,000 คน

การคาดการณ์ของ นพ.เกรียงศักดิ์ (อดีต ผอ.รพช.ภูกระดึง และประธานชมรมแพทย์ชนบท) ใช้การเข้าถึงบริการเป็นเกณฑ์ แต่น่าเสียดายที่ประเมินงานกายภาพบำบัดเฉพาะงานในระดับทุติยภูมิ ซึ่งในปัจจุบันพบว่า มีนักกายภาพบำบัดปฏิบัติงาน ในงานปฐมภูมิ เช่น ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU), อบต./เทศบาล (เช่น อบต.ปากพูน นครศรีฯ, อบต.เมืองแกน เชียงใหม่) หลายแห่ง

การคาดประมาณของสภากายภาพบำบัด (2553) ไม่ได้ระบุอัตราส่วน แต่คาดประมาณไปข้างหน้า พบว่า เฉพาะ 4 โรคเรื้อรัง ได้แก่ หลอดเลือดสมอง (CVA), ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD), เบาหวาน (DM), และ โรคระบบกล้ามเนื้อร่วมโครงร่าง ต้องการนักกายภาพบำบัดให้บริการทั้งส่งเสริมป้องกัน รักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ ในปี พ.ศ.2550 ต่ำสุด 25,028 คน และสูงสุด 33,940 คน ใน ปีพ.ศ.2560 ต่ำสุด 33,134 คน และสูงสุด 46,585 คน

หากต้องการรายละเอียดที่มาที่ไป กรุณาติดต่อ สภากายภาพบำบัด ทั้งนี้สภากายภาพบำบัด ได้จัดทำเป็นเอกสารรูปเล่ม แจกให้กับสถาบันการศึกษาต่างๆ แล้ว

เรียนอ. ปนดา

หนูขอเรียนถามอาจารย์ ในกรณีที่มีการ consult จากแพทย์ให้ดู case cva on trecheostomy tube ใน ward ผู้ป่วยมีปัญหาปอดอักเสบและมีเสมหะมาก หลังจากเคาะปอดแล้วมีเสมหะออกมามาก นักกายภาพบอกว่าเคาะปอดอย่างเดียวไม่ได้มีหน้าที่ในการดูดเสมหะ ฟังแล้วงง!! จึงอยากขอคำอธิบายจากอาจารย์เพื่อความเข้าใจว่ากิจกรรมนี้ในบทบาทของนักกายภาพบำบัดแยกส่วนกันใช่มั๊ย..ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกๆคนนะค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดใหม่ ในรพ. ชุมชน ตอนนี้เปิดแผนกได้ประมาณ1 ปีแล้วและอยากเปิดนอกเวลา หนูต้องมีเอกสารแสดงค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้างคะ เพื่อเสนอให้ผอ. และตอนนี้เริ่มมารับงานผู้พิการ ซึ่งไม่รู้จะต้องดำเนินการอย่างไร

จึงรบกวนขอเอกสารบางส่วนหน่อยค่ะ ก็คือ

แบบเสนอขอเปิดนอกเวลา รายละเอียดต่างๆ

ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัดค่ะ

อย่างหลังนี่รบกวนอย่างมากเลยค่ะ งงและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้วค่ะ

ขอบคุณมากๆนะคะ

[email protected]

ตอบคำถามคุณจรัสรัศมิ์

เรื่องบทบาทการดูดเสมหะของนักกายภาพบำบัด

การดูแลรักษาผู้ป่วยทางกายภาพบำบัดไม่ใช่การดูแลแยกส่วน แต่เราควรมองปัญหาของผู้ป่วยให้ครอบคลุมทุกด้านแล้วจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลัง Chest physical therapy จัดเป็นสาขาเดียวของกายภาพบำบัดที่มีบทบาทในการรักษาผู้ป่วยตั้งแต่ผู้ป่วยอยู่ในระยะวิกฤต การ suction เป็นหัตการที่นักกายภาพบำบัดสามารถให้การรักษาแก่ผู้ได้และจำเป็นที่จะต้องทำได้เป็นอย่างดี เนื่องจากพื้นฐานความรู้ทางกายวิภาคศาสตร์ ทำให้เราทราบตำแหน่งของ lesion ได้ดีกว่าและหลังจากการ suctionแล้วเรายังจำเป็นต้องฟังlung sound ซ้ำเพื่อประเมินอาการของคนไข้ว่ามีการตอบสนองต่อการรักษาอย่างไรด้วย หรือเราอาจจำเป็นต้อง suction ตั้งแต่เริ่มแรกเพื่อให้ทราบตำแหน่ง lesion ที่ชัดเจนขึ้น การรักษาทางกายภาพบำบัดทรวงอกไม่ใช่เพียงแค่การเคาะปอด suction เท่านั้นการให้การรักษาอื่นๆ ยังจำเป็นต้องให้แก่ผู้ป่วยขึ้นอยู่กับปัญหาเพื่อแก้ไขให้เหมาะสม ดังนั้นขอสรุปว่าการ suction เป็นบทบาทของนักกายภาพด้วยเช่นกัน

สวัสดีค่ะอาจารย์ จาก ปล็อกที่ 782. นะคะ พอดีหนูเขียนเมล์ผิดนะนคะ

เมลที่ถูกนะคะ [email protected]

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดใหม่ ในรพ. ชุมชน ตอนนี้เปิดแผนกได้ประมาณ1 ปีแล้วและอยากเปิดนอกเวลา หนูต้องมีเอกสารแสดงค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้างคะ เพื่อเสนอให้ผอ. และตอนนี้เริ่มมารับงานผู้พิการ ซึ่งไม่รู้จะต้องดำเนินการอย่างไร

จึงรบกวนขอเอกสารบางส่วนหน่อยค่ะ ก็คือ

แบบเสนอขอเปิดนอกเวลา รายละเอียดต่างๆ

ตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

service profile และ Unit profile ของงานกายภาพบำบัดค่ะ

อย่างหลังนี่รบกวนอย่างมากเลยค่ะ งงและไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรแล้วค่ะ

ขอบคุณมากๆนะคะ

ตอบคำถามคุณ กภ.หน้าใหม่

เรื่องการขอเปิดนอกเวลา มีแนวทางปฏิบัติดังนี้คือ เก็บสถิติผู้ป่วยที่มารับบริการทางกายภาพบำบัดต่อวันควรมากเกินกว่าเกณฑ์ที่มาตรฐานสภากำหนดคือ 8-15 คน โดยปกติการขอเปิดนอกเวลาจะให้บริการเฉพาะสิทธิเบิกได้ (ข้าราชการ จ่ายตรง ประกันสังคม) ต้องมีปริมาณมากพอ ซึ่งไม่มีแบบฟอร์มในการเสนอขอแต่อย่างใด ควรนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการบริหาร เพื่อพิจารณาหากในที่ประชุมอนุมัติก้อสามารถเปิดให้บริการได้เลย

ส่วนแบบฟอร์ม Unit proflie หรือ service proflie อันเดียวกัน รพ.น่าจะมีแบบฟอร์มการเขียนให้ ควรปรึกษาศูนย์พัฒนาคุณภาพของ รพ. หากต้องการรูปแบบที่เป็นของกายภาพจิงๆก็สามารถขอจากรุ่นพี่ได้คับ

เรียน อาจารย์

สอบถาม ผมเป็น PTทำงานที่อนามัย ให้ตำแหน่ง คือ พนักงานกายภาพบำบัด จะมีผลต่อวิชาชีพไหม และอนาคตจะเป็นอย่างไร

พนักงาน หมายถึง ลูกจ้างตามกฏหมายแรงงาน ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ทำงานกับหน่วยงานที่ว่าจ้าง โดยได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมาย

พนักกายภาพบำบัด จึงไม่น่าจะมีความหมายในเชิงบวกมากนัก อย่างไรก้อตามควรให้กำหนดให้เป็นตำแหน่งนักกายภาพบำบัดจะถูกต้องมากกว่า และก้อไม่เคยเห็นพยาบาลเวชปฏิบัติใช้คำว่าพนักงานแต่อย่างไร

ขณะนี้อาจารย์ยังไม่สามารถส่งเอกสารให้ได้นะคะ เพราะมาทำงานให้สภาฯอยู่กทม. จะพยายามส่งให้ทันที่ที่กลับถึงบ้านนะคะ ส่วนเรื่อง การ suction เห็นด้วยกับคุณกิตติค่ะ แต่ถ้าเรายังไม่มั่นใจในการ suction ก็ควรศึกษาเพิ่มเติมนะคะ ไม่นานมานี้ทางภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ได้จัดอบรมเรื่องการดูแลฟื้นฟูผู้ป่วยทาง chest ดีมากเลยค่ะ เห็นอาจารย์เขาจะจัดอีก ลองติดตามดูนะคะ

ปนดา

อาจารค่ะหนูเปนพีทีทำงานที่รพสต หรืออนามัยเก่า อยากรบกวนให้อาจารตอบคำถามหน่อยค่ะว่า แบบฟอร์มชุดฟ้าขาวที่อนามัยใส่กันนักกายภาพบำบัดใส่ได้มั้ยค่ะ พอดีว่าที่นี่มี ทันตาภิบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขชุมชน พยาบาล นักวิชาการสาธารณสุข นักกายภาพบำบัด ทุกคนใส่ฟ้าขาวหมด แล้วหัวหน้าอนามัยจะให้ใส่ด้วยกายภาพจะใส่ได้มั้ย แล้วชุดฟ้าเปนของสาธารณสุขทุกคนหรือของพยาบาลค่ะ รบกวนอาจารช่วยตอบหน่อยนะค่ะว่าจะใส่ได้มั้ย ขอบคุณมากค่ะ

อาจารครับ ผมทำงานอนามัย มีโอกาสใส่เสื้อสีฟ้าได้ รบกวนช่วยตอบหน่อยครับ ผมอยากรวบรวม PT ที่ทำงานอนามัย ส่งมาที่ [email protected] ได้

สวัสดีค่ะอาจารย์ปนัดดา หนูเป็นนักกายภาพบำบัดที่มาเปิดแผนกใหม่ มีโครงการที่จะออกเยี่ยมบ้าน จึงรบกวนขอเอกสารตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนค่ะ รวมทั้งเอกสารการเปิดแผนก ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

เมล์ : [email protected]

สวัสดีครับ ผมเคยรบกวนแล้ว

คราวนี้อยากขอรบกวนผู้ที่มีข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการเซ็ทแผนกแรกเริ่ม อุปกรณที่ รพช.ควรมี

อะไรทำนองนี้น่ะครับ

ต้องการมากเลย ขอขอบคุณล่วงหน้ามากๆเลยครับ

[email protected]

สวัสดีค่ะ อาจารย์ปนดา ตอนนี้หนูกำลังเปิดแผนกกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่ง ที่เข้าร่วมโครงการกับ สปสช

อยากขอคำแนะนำ เรื่องการเปิดแผนก การเตรียมเอกสาร เอกสารตัวอย่างโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชนค่ะ และแนวทางการทำงานค่ะ ขอบคุณนะค่ะ

อ.น้อมจิตต์ ม.ขอนแก่น

เรียน น้อง ๆ PT ชุมชนเขตอีสานทุกท่าน

ทาง มข. ได้รับมอบหมายจากทาง สปสช. ให้จัดการประชุม "จัดการความรู้" การทำงาน PT ชุมชนของพวกเรา ซึ่งคาดว่าจะจัดราวปลายกุมภาพันธ์ 54 ค่ะ ไม่ทราบว่าพวกเราอยากจะจัดการความรู้ในประเด็นใดดีคะ มากกว่า 1 ประเด็นก็ได้ค่ะ ช่วยกันเสนอขึ้นมาให้พี่ได้ไหมคะ

และที่สำคัญ หากเลือกประเด็นใด น้อง ๆ ต้องมีเรื่องราวมานำเสนอแลกเปลี่ยนกันนะคะ ไม่เช่นนั้นทางทีมวิทยากรกระบวนการก็จะไม่มีข้อมูลอะไรที่จะนำไปจัดการเป็นความรู้ได้ค่ะ

น้อง ๆ ภูมิภาคอื่นร่วมเสนอความเห็นได้นะคะ แต่สำหรับการเข้าร่วมประชุม สถาบันผู้ผลิตฯ ของแต่ละภาคก็จะจัดทำนองเดียวกันนี้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

น้อมจิตต์

ตอบ 789, 790

สำหรับอาจารย์มีความเห็นว่า ถ้าเขาให้ใส่เสื้อสีฟ้าก็อาจจะเป็นเพราะดูเป็นทีมเดียวกันดี เหมือนเป็นหมออนามัย แต่ถ้าเขาไม่ให้ใส่ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย เรามสีประจำของวิชาชีพเราอยู่แล้วคือสีชมพู เราน่าจะมีเสื้อสีชมพูของเราก็ดีนะ ไม่ใช่เราจะไม่อยากเป็นทีมเดียวกับเขา แต่เราน่าจะให้ผู้รับบริการทราบว่าเราเป็นใครมากกว่า เหมือนเวลาเขาเห็นเสื้อสีฟ้าก็หมายถึงพยาบาลหรือหมออนามัย แล้วถ้าเห็นเราก็น่าจะมีอะไรบอกได้ว่าเราเป็น PT นะ อะไรทำนองนี้ อีกหน่อยพอมีรพสต.คงมีนักกายภาพบำบัดไป fill มากขึ้นกว่านี้

ปนดา

คุณอรุณวรรณ ไม่ได้ให้ e-mail address มาจะให้อาจารย์ส่งไปให้ที่ไหนดีคะ

ปนดา

คุณศราวุธค่ะ เรื่อง set แผนกนอกเหนือจากเครื่องมือแล้วยังมีอีกหลายอย่างที่ควรคำนึงถึง ลองเข้าไปที่ Web ของสภากายภาพบำบัด แล้ว download ข้อมูลมาตรฐานกายภาพบำบัด (คลิกทางขวามือ) มาอ่าน ถ้าทำได้ตามมาตรฐานทั่วไปที่ระบุไว้ตั้งแต่แรกก็จะดีมากเลยค่ะ ส่วนเครื่องมือในรพ.ชุมชน ถ้ามีเครื่องอัลตร้าซาวนด์ เครื่องดึงหลัง เครื่องhydrocollator และอุปกรณ์ออกกำลังกาย ก็หรูแล้วค่ะ

ปนดา

เรียน อ.น้อมจิต นวลเนตรที่เคารพ

กระผม กภ.กิตติ สมบรรดา หน.งานกายภาพบำบัด รพ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ศิษย์เก่ากายภาพบำบัด ม.ขอนแก่น รุ่น 23 อยากจะขอเสนอแนะประเด็นการจัดการความรู้ จากประสบการณ์ที่เคยเซทแผนกและได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนข้อมูลกับเพื่อนๆน้องๆที่กำลังเซทแผนกใหม่ พบว่าส่วนใหญ่น้องๆบ้างคนยังไม่รู้จะจับต้นชนปลายทำอะไรก่อนเพื่อให้สามารถวางระบบงานต่างๆทั้งในและนอก รพ.ได้ ดังนั้นผมอยากให้เป็นลักษณะการแลกเปลี่ยนและเล่าประสบการณ์การทำงานจากรุ่นพี่ที่เพิ่งเซทแผนกใหม่เหมือนกัน ว่ามีลำดับขั้นตอน 1 2 3 อย่างไรบ้าง ปัญหาและอุปสรรคที่พบจากการทำงานและแนวทางการแก้ไข เช่น การประสานบริการกับหน่วยงานอื่นๆ ระบบการส่งปรึกษา กระบวนการดูแลผู้ป่วย ตัวอย่างการทำงานด้านส่งเสริม ป้องกัน รักษา ฟื้นฟู การจัดการเกี่ยวกับเครื่องมือ งานด้านบริหารองค์การ กาพัฒนาคน การบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวกับกายภาพบำบัด การติดเชื้อและความปลอดภัย งานการเงิน สถิติ การดูแลเกี่ยวกับสิทธิผูป้วย อ่านๆเหมือนเน้นงานคุณภาพมากไปหรือป่าวครับ แต่ผมคิดว่าถ้าน้องได้มีแนวทางหรือได้เรียนรู้ก็จะทำให้สามารถทำงานได้ดีและมีคุณภาพครับ

รุ้งกานต์ พลายแก้ว

เรียน อ. ปนดา

ดิฉัน นางสาวรุ้งกานต์ พลายแก้ว กำลังศึกษาปริญญาโท สาขาการพยาบาลอาชีวอนามัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กำลังทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง ท่าทางการทำงานและกลุ่มอาการผิดปกติของโครงร่างและกล้ามเนื้อในผู้ประกอบอาชีพผลิตยางพารา

เนื่องอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ อาจารย์ ดร.ธานี แก้วธรรมานุกูล แนะนำให้ติดต่ออาจารย์เป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการตรวจสอบเครื่องมือวิจัย แต่ยังไม่มีเบอร์โทรติดต่ออาจารย์ค่ะ

จึงใคร่ขอรบกวน ขอเบอร์ติดต่ออาจารย์ด้วยนะคะ

ขอขอบพระคุณมากค่ะ

รุ้งกานต์ พลายแก้ว

เรียน อ.ปนดา

รบกวนขอไฟล์งานเกี่ยวกับงานเรื่องเบาหวาน ผู้สูงอายุ เรื่องความดันโลหิต งานคลินิค งานผู้พิการ งานคุณภาพ งานเอกสารการเขียนขออนุมัติต่างๆๆ สำหรับนักกายภาพที่มาเปิดแผนกใหม่และเรื่องความเสี่ยงด้วยค่ะ และรบกวนเรื่องการฟื้นฟูการออกเยี่ยมบ้านและการอบรม อสม

ของผู้พิการหน่อยค่ะ sangdaw_jds@hotmailcom ขอบคุณล่วงหน้า

เรียนถามอ. เกี่ยวกับเรื่อง อัตราการมาตามนัด ในกลุ่ม ภาวะfrozen sh 2 ภาวะปวดจากm . , tendon 3 อัมพาตครึ่งซีก

ระยะเวลาเท่าไร ที่จะบอกว่าการที่ผู้ป่วยขาดนัด ไม่มาตามนัดกี่วัน จึงจะส่งผลทำให้อาการฟื้นตัว อาการของโรคผู้ป่วยหายช้าลง ขอข้อมูลอย่างละเอียดค่ะอาจา่รย์ ขอบพระคุณอาจารย์ค่ะ

เรียน อ.ปนดา และผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน

หนูอยากทราบเกี่ยวกับการทำกายภาพบำให้แก่ผู้พิการ ในกรณีที่แอดมิทในโรงพยาบาล เราสามารถคีย์การให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพในเว็บ สปสช.ได้มั๊ยค่ะ ซึ่งตอนนี้หนูงงมากว่าจะไปเกี่ยวข้องกับค่า DRG ด้วยมั๊ย อีกอย่างหนูยังไม่เข้าใจค่า DRG เลยค่ะ

อยากได้ตัวอย่างการสรุปผลงานกายภาพบำบัดที่ต้องส่งให้ สปสช. รบกวนส่งให้ที่ เมลล์ [email protected] จะขอบพระคุณมากค่ะ

เรียน อ.ปนดา และพี่ ๆ เพื่อน ๆ นักกายภาพบำบัดค่ะ

หนูขออนุญาตเรียนปรึกษาอาจารย์ เรื่องการเขียน service profile ค่ะ จากที่หนูได้ลองศึกษาการเขียนของหลาย ๆ รพ. นะคะ รพ.ส่วนใหญ่จะเขียนในรูปแบบที่เขาเซ็ตแผนกเรียบร้อยแล้ว แต่สำหรับ รพ.ชุมชนที่หนูอยู่ ตอนนี้ยังไม่มีแผนก ไม่มีห้อง ไม่มีเครื่องมือใด ๆ ทั้งสิ้น ตอนนี้หนูก็ดูแลคนไข้ผู้พิการ, stroke ตามบ้าน (ออกชุมชน) เป็นหลัก เนื่องจากในรพ.หมอไม่ค่อยส่ง consult (เนื่องจากยังไม่มีอุปกรณ์ด้วยค่ะ) หนูก็เลยอยากขอแนวทางในการเขียน service profile ให้เหมาะสมกับงานของหนูน่ะค่ะ

ขอบคุณ อาจารย์ล่วงหน้ามาก ๆค่ะ (หนูทราบว่างานอาจารย์เยอะมาก คงไม่ค่อยมีเวลา แต่หนูไม่รู้จะปรึกษาใคร จริง ๆค่ะ )

e-mail : [email protected] ค่ะ

เรียน อ.ปนดา

หนูเปงนักกายภาพบำบัด รพ.หนองกี่ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งหนูมาเปิดแผนกใหม่ที่นี่ค่ะอาจารย์

หนูมีเรื่องสงสัย

1. การคีข้อมุลลงเกี่ยวกับค่าบริการการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ที่ว่า เคสละ 150 นะครับ ก่อนอื่น PT ต้องขอ USERNAME and PASSWORD เห็นว่าต้องทำหนังสือให้ ผอ. เซ็นต์นี่ต้องทำแบบไหนค่ะ

2. หนูอยากขอหนังสือเกี่ยวกับเรื่อง ค่าตอบแทนการออกชุมชน ค่ะ แล้วเราต้องทำเป็นโครงการไหมคะ คือตอนนี้หนูออกชุมชนร่วมกับกลุ่มเวชปฎิบัติค่ะ

3. ถ้าที่ รพ. ดูแลเรื่องการทำรองเท้าเบาหวานให้กับผู้ป่วยมีค่าตอบแทนอาไรให้บางคะ

ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ตอบกลับที่เมล [email protected]

ด้วยความเคารพอย่างสูง

กัลยา

เรียนอาจารย์ปนดาครับ ผมมีปัญหาเกี่ยวกับระบบข้อต่ออ่ะครับ มีปัญหาหนักที่สุดบริเวณกาม จะมีเสียงดังกึกๆเวลาอ้าปากโดยเฉพาะเวลาทานอาหารอ่ะครับ ปรึกษาเพื่อนที่เค้าเรียนสหเวชเค้าให้ลองมาปรึกษาอาจารย์ดูอ่ะครับ ไม่ทราบว่าคลินิคอาจารย์อยู่ที่ไหนครับและเปิดเวลากี่โมงครับ

ขอขอบคุณไว้ล่วงหน้าครับ

e-mail : [email protected]

เรียนคุณรุ้งกานต์ พลายแก้ว

คุณสามารถติดต่ออาจารย์ได้ที่ e-mail : [email protected] ค่ะ

ปนดา

ตอบ post ที่ 801

เรื่องที่จะตอบว่าการรักษาโรค ควรให้ผู้ป่วยมาพบกี่ครั้งต่อสัปดาห์ จึงจะได้ผล ถ้าขาดไปกี่ครั้งแล้วไม่ได้ผลนั้น มันตอบยาก เพราะมันก็ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง คือ 1.เราได้ให้โปรแกรมการรักษาทีบ้านได้อย่างเหมาะสมหรือไม่

2.ผู้ป่วยทำตามคำแนะนำหรือไม่ 3. มีเหตุการณ์อะไรที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการที่แย่ลงหรือไม่ 4. ชนิดของพยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในเนื้อเยื่ออ่อนนั้นๆ เป็นชนิดใด 5. ผู้ป่วยมีอาการมานานแค่ไหนแล้ว

สรุปคือขึ้นอยู่กับ 3 อย่างคือ ผู้ป่วย นักกายภาพ และพยาธิสภาพ

แต่ถ้าจะอิงหลักฐานงานวิจัย ก็พอจะเป็นหลักฐานได้เหมือนกัน แต่ก็ต้องทำการทบทวนวรรณกรรมนะคะ ว่าจากหลักฐานเชิงประจักษ์ เขาแนะนำว่าผู้ป่วยโรคนั้น โรคนี้ เขาควรจะใช้โปรแกรมอะไรรักษาดี และควรดูแลรักษาสัปดาห์ละกี่ครั้ง เป็ฯเวลากี่สัปดาห์

เท่าที่อาจารย์เคยได้ร่วมทำ CPG ของปํญหา Frozen shoulder น่าจะมีบอกไว้นะคะ กรุณาเข้าไป download CPG ของ frozen shoulder ที่หน้า web สภากายภาพบำบัดได้ค่ะ ถ้าไม่ได้ก็บอก e-mail มาจะส่งไปให้ค่ะ

ปนดา

สำหรับท่านที่มีปัญหา เรื่องการคีย์ข้อมูลผ่านระบบของสปสช. ขอให้สอบถามโดยตรงไปยังคุณกิตติ สมบรรดา ตามที่อยู่และเบอร์โทรข้างล่างนี้โดยตรงเลยนะคะ

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

มือถือ: 0860559353

e-mail:[email protected]

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

สำหรับคุณธวัชชัย post 806

คุณสามารถเข้าไปศึกษาและปฏิบัติตามคำแนะนำได้จาก web ที่อาจารย์เผยแพร๋ ที่ http://gotoknow.org/blog/spinal-clinic/129447?page=16

ช่วงนี้อาจารย์ยุ่งมากๆ เพราะกำลังเตรียมสอบวิทยานิพนธ์ ขอให้น้องศึกษาด้วยตนเองไปก่อนนะ เพราะมีคนจำนวนมากที่เป็นแบบน้อง อาจารย์ได้เคยให้คำแนะนำไปแล้ว อาจารย์ยังไม่ได้กลับไปทำงานทางคลินิก คิดว่าจะกลับไปประมาณ ต้นเดือนกุมภาพันธ์ คิดว่าถึงเวลานั้นน้องคงจะมีอาการดีขึ้นมากแล้วล่ะค่ะ

ปนดา

ตอบ post 804 สำหรับน้องที่ปรึษาเรื่อง service profile ก็ดูตัวอย่างขอพี่ๆ แล้วก็เขียนไปตาม format แต่เนื้อหาก็ควรเขียนตามงานที่เราทำจริง จะดีกว่า ลองโทรไปปรึกษาพี่กิตติ ดูไหม

ส่วนอาจารย์จะส่งตัวอย่างไปให้อีกแบบหนึ่งนะ

ปนดา

อาจารย์ค่ะอยากให้อาจารย์ช่วยเขียนjobงานบทบาทของพีที ที่อยู่รพสตหรืออนามัยให้หน่อยค่ะพอดีหัวหน้าอนามัยต้องการแต่หนูไม่ทราบว่างานกายภาพในรพสตที่เด่นชัดทำไรได้บ้างรบกวนอาจารเขียนร่างให้หนูหน่อยนะค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

CPG ของปํญหา Frozen shoulder , (hemi , ภาวะpain)เข้าไป ที่หน้า web สภากายภาพบำบัดไม่เจอค่ะ หนูคงต้องรบกวนให้อาจรย์ส่งแล้วล่ะค่ะ

e-mail [email protected] ขอบพระคุณค่ะอาจารย์

น.ส.จริยา สมุหเสนีโต

สวัสดีค่ะอาจารย์

ดิฉัน จริยา สมุหเสนีโต เป็นPTรพช. รพ.กงหรา จ.พัทลุง เริ่มทำงานได้ประมาณ 4 เดือนแล้วค่ะ เรื่องงาน/หน้าที่ค่อนข้างลงตัว

ค่ะแต่ที่มีปัญหาคือ เรื่องการทำService Profile ของงานกายภาพบำบัด, CPG การออกเยี่ยมบ้านผู้ป่วย, CPG อื่นๆๆที่เกี่ยวกับงาน/โรคทางกายภาพ, งานควบคุมภายใน และงานความเสี่ยงทางกายภาพบำบัด หนูยังไม่มีแนวทางเลยค่ะ จึงอยากจะรบกวนอาจารย์ชี้แนะ

หากมีเอกสาร/ไฟล์ที่เกี่ยวข้องรบกวนอาจารย์ส่งมายัง [email protected] หรือ กภ.จริยา สมุหเสนีโต (รพ.กงหรา164 ม.8 ต.คลองทรายขาว จ.พัทลุง 93180) และหนูได้อ่านโพสต์ด้านบนพบว่ามีCPGเรื่องการงดยาสูบ ซึ่งหนูกำลังมีส่วนเกี่ยวด้วยในโครงการนี้ที่รพ. รบกวนอาจารย์อีกด้วยน่ะค่ะ

ขอขอบคุณล่วงหน้ามากเลยค่ะ อาจารย์เป็นที่พึ่งของเราชาวPTจริงๆ

เคารพอย่างยิ่ง

กภ.จริยา สมุหเสนีโต

ตอบคุณจิราภรณ์

สำหรับเรื่องบทบาทของงาน PT ในชุมชน อาจารย์คงจะยังไม่สามารถเขียนให้คุณได้แต่จะรับไว้พิจารณาในคณะทำงานกำลังคนระบบปฐมภูมินะคะ แต่ในเบื้องต้น อาจารย์อยากให้คุณพยายามเขียนด้วยตนเองก่อน โดยคิดถึงบทบาทของงานเราในด้าน การส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู และงานของเราก็ครอบคลุมหลาย field ไม่ว่าจะเป็นทาง ortho neuro chest pedriatic sport และถ้าพูดถึง กลุ่ม population งานเราก็ทำได้เกือบทุกวัยตั้งแต่เด็กอยู่ในท้อง คลอดออกมา วัยรุ่น วัยทำงาน ผู้สูงอายุ น้องก็ลองคิดดูว่าน้องอยากทำอะไร อย่างไรแค่ไหน โดยดูจากความต้องการของชุมชนเป็นหลักด้วย ถ้าเขียนเป็นกรอบกว้างๆ ก็คงจะมีประมาณนี้

ปนดา

สำหรับ CPG เรื่องการงดบุหรี่ สามารถ download ได้ที่ http://www.pt.or.th/download_center.php

ส่วน CD Kit ความรู้จะส่งไปให้ทางไปรษณีย์นะคะ มีใครยากได้อีกไหมจะได้ไปทีเดียวค่ะ

ส่วนเอกสารอื่นๆที่ขอมาจะจัดให้ทาง e-mail ค่ะ

ปนดา

CPG ของทาง hemi ขอไปที่รพ.ประสาทนะคะ

เขามีแน่นอน

ปนดา

เรียน อ. ปนดาและผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน

หนูได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเรื่องงานผู้พิการทั้งเรื่องการฟื้นฟูและรวมไปถึงสั่งซื้อกายอุปกรณ์ผู้พิการ จะสอบถามเรื่องบริษัทที่จัดจำหน่ายกายอุปกรณ์ให้แก่ผู้พิการ และอยากทราบว่าโดยส่วนใหญ่แล้วผู้พิการ paraplegia ใช้รถเข็นแบบไหน เนื่องจากเขตหนูยังไม่มีราคากลางของ wheelchair และสอบถามไปทางเขตแล้ว เค้าบอกว่าตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการประชุมดำเนินการเรื่องราคากลาง ถ้าจะสั่งซื้อ wheelchair ก้อให้สอบถามราคาจากหลายๆบริษัท แล้วก้อเทียบให้เป็นราคากลางไปก่อน

อ. ค่ะ ขอรวบกาวนให้ทางสภาช่วยตรวจสอบข้อสอบอีกที และช่วยดูว่ามีความผิดพลาดอะไรเกิดขึ้น หนูเป้นคนหนึ่งทีสอบไม่ผ่าน ผลออกมาอย่างนี้ หนูรู้สึกแย่จริงๆ หนูมั่นใจว่าหนูทำข้อสอบได้และต้องสอบผ่านแน่นอน นับตั้งแต่รู้ผลหนูไม่สามารถทำอะไรต่อได้เลย

เรียนอาจารย์ปนดา

เมื่อวานนี้ รพ.ของผมรับการประเมินเอชเอ ขั้นสาม จาก สรพ. อาจารย์เข้าประเมินงานกายภาพบำบัดด้วยครับ บรรยากาศเป็นไปอย่างสนุกสนาน เน้าclinal population และการตามรอย RCA กระบวนการดูแลให้การรักษาทางกายภาพบำบัด การเชื่อมโยงกับทีมนำด้านอื่นๆ การส่งเสริมสุขภาพสูงอายุ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และการป้องกันงานเบาหวาน จากการประเมินภาพรวมอาจารย์พึงพอใจกับงานกายภาพบำบัดมากครับ หลังจบการประเมิน จนท รพ ที่ตามอาจารย์ต่างก้อยกนิ้วให้ผมทิ้งท้ายก่อนเดินจากห้องไป แล้วอาจารย์ยังไปชมงานของเราในที่ประชุมว่าที่นี้งานกายภาพบำบัดทำได้ดี ซึ่งเป็นงานเดียวและเป็นเรื่องยากมากที่อาจารย์จะออกปากชม ทำให้คนทั้ง รพ หันมามองงานของเราและสนใจอยากรู้วิธีการตอบคำถามอาจารย์อย่างมาก ซึ่งทำให้ผมมีกำลังใจที่จะงานเพิ่มมากขึ้ยนด้วยเช่นกันครับ แล้วจะพยายามพัฒนางานให้ดีขึ้นไปเรื่อยๆครับ เพราะยังต้องเรียนรู้งานบริหารอีกมาก ปีใหม่นี้ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง เป็นที่พึงที่ปรึกษาให้แก่นักกายภาพบำบัดชุมชนตลอดไป

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี 34150

ตอบคุณนิดหน่อย 819

เรื่องราคา wheelchair ไม่ทราบว่าหนูทำงานอยู่เขตไหน ถ้าอยู่แถวอีสาน ก็โทรถามพี่กิตติ ได้ แต่ถ้าอยู่ภาคเหนือก็ถามรพ.พุทธชินราช หรือรพ.แพร่ก็ได้เขาทำเรื่องเครื่องช่วยคนพิการและ wheel chair มาก ราคาของ wheel chair ก็ขึ้นอยู่กับ spec ด้วย แต่ถ้าเป็นราคาที่ขายกันตามท้องตลาดก็อยู่ที่ราคา 3 พันกว่าบาท ส่วนรถโยกสำหรับผู้พิการราคาเท่าไรไม่ทราบแน่ชัด แต่ที่รพ.แพร่ทราบแน่เขาผลิตขายด้วยซ้ำไป แพทย์ทางเวชศาสตร์ฟื้นฟู ชื่อคุณหมอวัชระ เขามีลูกสาวเรียน PT ด้วย น่ารักมาก เขารับผิดชอบเรื่องนี้อยูนะ

ปนดา

ตอบ post 820

เรื่องให้อาจารย์ไปขอการตรวจข้อสอบสภาฯ นั้นคงไม่ได้ที่อยู่ๆจะไปตรวจเขา แต่อาจารย์ก็เข้าใจหนูนะ คงต้องตั้งสติให้ดีๆ อย่าวิตกจนเกินไป เรื่องสอบไม่ผ่านหลายคนก็เคยมีประสบการณ์แบบเดียวกับหนู บางทีหนูอาจจะขาดไปแค่คะแนนเดียวก็ตกแล้ว เพื่อนอาจารย์ที่อยู่ที่อเมริกายังสอบตั้ง 3 ครั้ง แต่ละครั้งตกไปแค่ 1 คะแนนเท่านั้น แต่ในที่สุดเขาก็สอบผ่าน ปัจจุบันมีชิวิตที่มีความสุขไปแล้ว มันคงเป็นแค่ช่วงหนึ่งของชีวต ตอนนี้เราคงต้องแข่งกับตัวเอง ข้อสอบใบประกอบวิชาชีพเราไม่ได้ไปแข่งขันกับใคร เพราะอิงเกณฑ์ เราต้องพยายามแปรสภาพความผิดหวัง ให้กลับมาเป็นกำลังใจในการต่อสู้ต่อไป นะคะ ตั้งใจดูหนังสือให้มากขึ้น ถือเป็นการทบทวน ความรู้จะได้แน่นๆ ได้ประโยชน์ทั้งตัวเราและผู้ป่วยด้วย อย่าไปคิดว่ามันคือความอัปยศอะไรทำนองนั้น ถือว่าเป็นประสบการณ์ชีวิต เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งเหล่านี้จะมีคุณค่า เล่าให้ลูกหลานฟังได้ว่า เราเคยผ่านอุปสรรคต่างๆ มาได้อย่างไร สามารถเป็นกำลังใจให้คนรุ่นหลังๆได้อีกเยอะนะคะ อุปสรรคทำให้ชีวิตเราแกร่งขึ้นเข้มแข็งขึ้นต่างหากล่ะคะ อ่อนแอได้ค่ะ แต่อย่านานและอย่ายอมแพ้ อาจารย์ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่สอบไม่ผ่านนะคะ สู้ต่อไปค่ะ

ปนดา

ยินดีกับคุณกิตติด้วยนะคะ อาจารย์ได้แนะนำให้น้องๆ ไปขอคำแนะนำจากคุณเยอะมาก ต่อไปคงรับโทรศัพท์ไม่ไหว เรื่องการทำคู่มือ PT อาจารย์ขอให้สอบผ่านวิทยานิพนธ์ในวันที่ 25 ม.ค. 54 ไปก่อนนะ แล้วค่อยมาเว้ากันใหม่เน้อะค่ะ

Merry Christmas และสุขสันต์วันปีใหม่นะคะ

ปนดา

เรียนอาจารย์ปนดาและขออนุญาติตอบคำถามคุณแป้ง

เกี่ยวกัย IPD case สามารถลงเวป สปสช ได้หรือไม่นั้น ผมได้รับข้อมูลจากพี่น้อยสมใจ หน.กายภาพ รพ.สปส บอกว่าสามารถลงข้อมูลได้ครับเพราะตอนนี้ รพ.สปส มีปัญหาว่าลงข้อมูลได้น้อยเพราะไม่นำคนไข้ในมาลงด้วย และผมได้คอนเฟิร์มอีกครั้งโดยการโทรไปสอบถามผู้รับผิดชอบงานฟื้นฟู สปสช เขต 10 ให้คำตอบว่าสามารถลงในเวปได้เหมือนกานออกเยี่ยมบ้าน เนื่องจาก IPD case ไม่มีโปรมการเคลมแล้ว และวิธีปฏิบัตินี้ใช้กันทั่วประเทศ

กภ.กิตติ สมบรรดา

ตอบคำถามคุณนิดหน่อย

เรื่องคนพิการ paraplegia ควรใช้ wheel chฟรr แบบใดนั้น โดยปกติแบบปรับแขนได้จะสะดวกให้การเคลื่อนย้ายมากกว่าแต่มักจะราคาแพงกว่าชนิดปรับไม่ได้ โดยความเห็นส่วนตัวคิดว่าแบบปรับแขนไม่ได้ก้อสามารถเบิกจ่ายให้คนไข้ได้แต่อาจต้องมีการแนะนำการปรับสิ่งแวดล้อมเช่น เตียง ที่มีลักษณะสามารถเข็นรถเข้าไปใต้เตียงได้เล็กน้อยเพื่อให้คนไข้เคลื่อยย้ายขึ้นและลงเตียงจากท่าหันหลังให้รถ (ไม่ทราบว่าคิดภาพออกหรือป่าว) ส่วนราคากลางนั้นยังไม่มีกำหนด แต่ต้องเข้าใจหลักการบริหารงบฟื้นฟูว่าไม่ใช่การให้บริการแล้วไปเคลมดึงเงินค่าชดเชยแต่จะเป็นการจัดสรรคให้เป็นก้อนเค้ก รพ ต้องบริหารจัดการเองทั้งค่าบริการฟื้นฟูและค่ากายอุปกรณ์ ราคาจึงไม่ควรสูงหรือต่ำเกินไปแต่ต้องมีคุณภาพ เงินทั้งสองส่วนบริการถั๋วเฉลี่ยได้ แต่ทุกอย่างต้องมีหลักฐานรายงานให้ สปสช

เป็นอีกคนที่มีปัญหาเรื่องการทำService Profile Unit Profile ของงานกายภาพบำบัด, , CPG อื่นๆๆที่เกี่ยวกับงาน/โรคทางกายภาพ, งานควบคุมภายใน และงานความเสี่ยงทางกายภาพบำบัด จึงอยากจะรบกวนอาจารย์ชี้แนะ

หากมีเอกสาร/ไฟล์ที่เกี่ยวข้องรบกวนอาจารย์ส่งมายัง [email protected] นะคะ

ขอบคุนเป็นอย่างสูงค่ะ

สอบถามผู้เกี่ยวข้องทุกท่านนะค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดชุมชน เพิ่งทำงานได้ 3 เดือน ซึ่งได้รับผิดชอบงานผู้พิการ ซึ่งมีการเบิกจ่ายกายอุปกรณ์ให้แก่ผู้พิการ ทาง ผอ. เห็นว่าควรจะมีการเชิญผู้นำชุมชนมาเป็นพยานในการมอบกายอุปกรณ์ด้วย ทางอาจารย์ พี่ๆ เพื่อนๆ พอจะแนะนำขั้นตอนการดำเนินงานในการมอบกายอุปกรณ์ได้มั๊ยค่ะ ว่ามีลำดับขั้นตอนการพูดอย่างไรบ้าง

ผมมาทำงานในโรงพยาบาลชุมชนได้ 2 อาทิตย์แล้วครับ ตอนนี้ทำเคส ward กับเยี่ยมบ้าน

อยากเปิดแผนกต้องทำไงบ้างครับ

อยากมีแผนกจัง ตอนนี้มีแต่โต๊ะทำงานก็ทำงานเอกสารจำพวกแบบฟอร์มต่างๆ และก็พวกราคากายภาพ

อยากได้แบบฟอร์ม และขั้นตอนการเขียนหนังสือขอเปิดแผนก และขอซื้อเครื่องมือครับ

รบกวนอาจารย์ หรือท่านใดพอมีบ้างมั้ยครับ ช่วยส่งให้หน่อยครับ

[email protected]

อ.น้อมจิตต์ ม.ขอนแก่น

ที่เคย post ไปเมื่อต้นเดือน ธค. ว่า ทาง มข. จะจัดการประชุม "จัดการความรู้" การทำงาน PT ชุมชน ขอขอบคุณกิตติที่ให้ความเห็นมา (พี่จำหนูได้ดีค่ะ)

ตกลงการสัมมนาดังกล่าวจะจัดวันที่ 9-10 มีค. 54 ที่คณะเทคนิคฯ มข. นะคะ กำลังจะส่งจดหมายเชิญออกไปภายใน 1-2 สัปดาห์นี้ค่ะ โดยจะส่งถึงผู้อำนวยการฯ ของ รพจ. และ รพช. ทุกแห่งในอีสาน (จะมี รพ.สต. ไหนจะให้ส่งจดหมายถึงไหมคะ) ไม่มีค่าลงทะเบียน ฟรีค่าเดินทางและที่พัก (หากพักที่อาคารขวัญมอ) มาเข้าร่วมกันเยอะ ๆ นะคะ งานนี้ของน้อง ๆ จัดเพื่อน้อง ๆ ค่ะ

กำหนดการคร่าว ๆ มีดังนี้ค่ะ

กำหนดการสัมมนา เรื่อง “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน”

วันที่ 8-10 มีนาคม 2554

ณ ห้องประชุมชั้น 8 อาคาร 2 คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

**************************

วันที่ 8 มีนาคม 2554

16.00 น. เข้าที่พัก ณ อาคารขวัญมอ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วันที่ 9 มีนาคม 2554

8.00-8.45 น. ลงทะเบียน

8.45-9.00 น. พิธีเปิด โดย คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กล่าวต้อนรับ โดย หัวหน้าสายวิชากายภาพบำบัด

9.00-9.15 น. วัตถุประสงค์และความคาดหวังของการสัมมนา

โดย รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์

9.15-10.30 น. อภิปราย เรื่อง “นโยบายและการสนับสนุนงานกายภาพบำบัดชุมชน”

โดย นพ.สุพรรณ ศรีธรรมมา หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข

นพ.พิเชฏฐ ลีละพันธ์เมธา ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น

อ.กล้วยไม้ พรหมดี หัวหน้าสายวิชากายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยขอนแก่น และกรรมการสภากายภาพบำบัด

ดำเนินรายการโดย ผศ.ยอดชาย บุญประกอบ

10.30-10.45 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.45-12.00 น. สปสช. เขตพื้นที่กับงานกายภาพบำบัดชุมชน

โดย ผู้แทน สปสช. เขต 7, 8, 9 และ 10

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-16.00 น. แลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน

กลุ่มที่ 1 “การจัดตั้งและพัฒนาหน่วยกายภาพบำบัด”

กลุ่มที่ 2 “เทคนิคการทำงานชุมชน”

กลุ่มที่ 3 “การปรับสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมสำหรับคนพิการ”

ดำเนินรายการโดย อ.วนิดา วิระกุล รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 7 ขอนแก่น

รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์ และคณะ

(บริการอาหารว่างในห้อง เวลา 14.30 น.)

16.00-17.00 น. สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน

โดย ผู้แทนห้องย่อยที่ 1-3

ดำเนินรายการโดย อ.วนิดา วิระกุล และ รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์

วันที่ 10 มีนาคม 2554

8.30-10.00 น. การดำเนินงานเครือข่ายนักกายภาพบำบัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

โดย กภ.จีราวรรณ ดนัยตั้งตระกูล หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลขอนแก่น

10.00-10.15 น. พักรับประทานอาหารว่าง

10.15-12.00 น. การสื่อสารด้วยความกรุณา

โดย รศ.บุญศรี ปราบ ณ ศักดิ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-14.45 น. อภิปราย เรื่อง “ความคาดหวังของประชาชนต่อนักกายภาพบำบัดชุมชน”

โดย พ่อบุญเต็ม ชัยลา บ้านดงบัง อำเภอแวงใหญ่ จังหวัดขอนแก่น

คุณมาร์ติน วีลเลอร์ บ้านคำปลาหลาย อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

ดำเนินรายการโดย อ.อัครานี ทิมินกุล

14.45-15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง

15.00-16.00 น. อภิปราย ซักถาม สรุปข้อเรียนรู้จากการสัมมนา

ดำเนินรายการโดย อ.วนิดา วิระกุล และ รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์

16.00-16.15 น. ประเมินผลการสัมมนา

โดย รศ.น้อมจิตต์ นวลเนตร์

16.15-16.30 น. พิธีปิด

โดย หัวหน้าสายวิชากายภาพบำบัด

เรียน อาจารย์ ปนดา ผมทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนได้เพียงเดือนกว่า แต่โรงพยาบาลจะต้องได้รับการประเมินHAขั้น3ครับ ยังไม่มีแผนก ไร้จะเริ่มต้นงานอะไรก่อนดี อ.ช่วยแนะนำให้หน่อยนะครับ ผมอยากได้Service Profile ของกายภาพบำบัดครับ ไม่ทราบว่าอาจารย์พอจะมีแบบหรือวิธีเขียนบ้างหรือป่าวครับ รบกวนอาจารย์ช่วยส่งมาให้หน่อยนะครับ ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ ตามอีเมลล์นี้นะครับ [email protected]

เรียน อาจารย์ ปนดา หนูเป็นนักกายที่เพิ่งหันตัวเองมาทำงาน กายภาพในชุมชนค่ะได้ 2อาทิดแล้ว ก่อนหน้านี้ทำรพ เอกชนค่ะ ตอนนี้มืดไปหมด ไม่รู้จะต้องเริ่มยังไงดีกับงานรพช ที่ต้องมาเปิดแผนกเองด้วย(ก่อนนี้มีนักกายมาทำ แต่ตอนนี้ย้ายไปแล้ว ) แล้วหนูต้องควรรู้และทำอะไรบ้างค่ะ

ถ้ามีข้อมูล หรือไฟด์ ที่พอเป็ฯประโยชน์ ขอความกรุณาส่ง [email protected] ขอขอบพระคุณ ล่วงหน้าค่ะ

เรียนทุกท่าน

แล้วจะส่งข้อมูลไปให้นะคะ ถ้าอยู่ใกล้ขอนแก่น ก็ไปร่วมการจัดการความรู้ที่มข.ที่อาจารย์น้อมจิตจัด ก็จะดีมากเลยนะคะ

ปนดา

เรียนอาจารย์น้อมจิต และอาจาร์ปนดา วันครูที่ผ่านมาขอให้คุณพระศรีตรัยดลบรรดาลให้ทั้งสองท่านมีแต่ความสุขครับ

ปล.อาจารย์น้อมจิตคับ ถ้าหากได้เจอผมอีกอาจารย์อาจจำไม่ได้แล้วก็ได้นะคับ เพราะผมหล่อขึ้นมากครับ อิอิ

งานกายภาพบำบัด รพ.เขื่องในมีแผนรับสมัครนักกายภาพบำบัดเพิ่ม แต่รอประกาศอย่างเป็นทางการภายในอาทิตย์ก่อนนะคับ

กิตติครับ

หนูต้องมาช่วยพี่ในกลุ่มที่ 1 "การจัดตั้งและพัฒนาหน่วยกายภาพบำบัด" นะคะ เพราะพี่ตั้งหัวข้อนี้ตามที่คำเสนอของหนูเลยนะ

พี่จะได้เห็นหน้าหล่อ ๆ ของหนูด้วย

เรียน อ.ปนดา

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเพิ่งเป็น PT ชุมชนใหม่ มาทำงานได้ 2อาทิตย์ ยังไม่รู้ว่าจะดำเนิการเปิดแผนกอย่างไร และตอนนี้ยังไม่มีที่อยู่เป็นของตัวเอง จึงเข้าร่วมทำงานกับคลีนิกต่างๆๆของโรงพยาบาลก่อน และลงพื้นที่กับสอ. จึงรบกวนขอไฟล์งานที่จำเป็นในการเขียนขอเปิดแผนก เครื่องมือ แบบฟอร์มแรกรับกายภาพบำบัด แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการหรือผู้ที่ต้องฟื้นฟู คลีนิกเบาหวาน ผู้สูงอายุ เรื่องความดันโลหิต งานคลินิค COPD งานผู้พิการ งานคุณภาพ งานเอกสารการเขียนขออนุมัติต่างๆ สำหรับนักกายภาพที่มาเปิดแผนกใหม่และเรื่องความเสี่ยงด้วยค่ะ และรบกวนเรื่องการฟื้นฟูการออกเยี่ยมบ้านและการอบรม อสม แกนนำผู้พิการ

email : [email protected] ขอบคุณล่วงหน้า

เป็นกำลังใจให้หนูด้วยนะคะ สำหรับการเริ่มต้นทำงานในชุมชน

ได้เลยค่ะน้อง พี่จะส่งให้เดี๋ยวนี้ ถ้าไม่ได้รับก็บอกด้วยนะ ขอเป็นกำลังใจให้เต็มที่นะคะ เอกสารที่จะส่งไปให้คงจะทำให้งานน้องง่ายขึ้นนะคะ แต่อย่ายึดเป็นสรณะนะคะ เพราะอาจมีการเปลี่ยนแปลงปรัปรุงไปกว่านี้บ้างแล้ว

ปนดา

ขอขอบพระคุณอ.ปนดามากครับผมได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้วครับ รบกวนถามอ.ปนดาเรื่องเบี้ยเลี้ยงเหม่าจ่ายตอนนี้เค้ายังได้กันอยู่ป่าวครับ ถ้าได้พอจะมีเอกสารหรือหนังไหมครับ พอดี ผอ.เค้าอยากได้ครับ

ขอขอบพระคุณครับ

กภ.นิคม กาหลง

กราบเรียนอาจารย์ที่เคารพ หนูรบกวนขอความคิดเห็น หนู เจอปัญหาอยากขอให้อ.ไขความกระจ่างประเด็นนี้(ทำงานรพ.ชุมชน)

หาว่า PT เสมือนไม่สามารถตรวจเองได้ ต้องพบแพทย์ก่อนลงไปเจอPT โดยเฉพาะเคส ที่หายไป3เดือน แล้วกลับมาหาเราใหม่

มาตรฐานนี้ก็ทำมาตั้งนานแล้ว สมัย ผอ.ท่านเก่า ท่านเห็นด้วย แต่ผอ.ปัจจุบันดูจะมีปัญหา กับกายภาพ หนูต้องทำยังไงดีค่ะ หรือเอาหลักฐานตัวบท กฎหมายอ้างอิงด้วยดีค่ะ จากกระบวนการทีทำมา ไม่เคยเจอปัญหาระหว่างการรักษาน่ะค่ะ และจากการสำรวจผู้ป่วยก็พึงพอใจกับตรงนี้น่ะค่ะเพราะยืนบัตรสามารถลงมารับบริการที่แผนกได้เลย เนื่องด้วยรพ.แห่งนี้มีคนไข้ปริมาณมากบวกกับมีแพทย์ตรวจเพียงท่านเดียวทำให้ระยะเวลารอคอยนานและนานมาก รพ.แห่งนี้มีงานนวดแผนไทยด้วยซึ่งมีมาก่อน กระบวนการของงานนวด เขาจะต้องพบแพทย์ก่อนทุกรายที่เป็นคนไข้ใหม่ หมอเห็นว่าของงานนวดพบแพทย์ก่อนแล้วทำไมของกายภาพไปเป็นกระบวนการเดียวกัน และหนุก็ทรามาว่าจากที่HAเคยมาเยี่ยมเคยตั้งประเด็นเรื่องนี้ค่ะ คือ ถ้าคนไข้หายนาน 3หรือ6 เดือน น่าจะให้ไปพบเเพทย์ก่อน เป็นคำถามที่อาจารย์ถามงานนวดแผนไทย แต่ประเด็นเรื่องดังกล่าวงานกายภาพบำบัดไม่เคยเจอค่ะ ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ จำได้ทำงานด้วยความสบายใจ เราไม่ผิด

[email protected]

ตอบ กภ.นิคม

อาจารย์ไปค้นใน blog นี้มาให้อยู่ค่อนข้างลึก เป็นคำแนะนำของพี่กิตติเขาเขียนไว้ คิดว่าน่าจะยังไม่ล่าสมัย ถ้ามีอะไรเปลี่ยนแปลงกภ.กิตติก็เข้ามาช่วยแก้ไขด้วยล่ะกัน ตามนี้นะคะ ถ้าไม่ชัดเจนอย่างไรโทรคุยหรือ e-mail ถึงกภ.กิตติโดยตรงเลยก็ได้นะคะตามที่อยู่ข้างล่างเจ้าค่ะ

ปนดา

เรียน รศ.ปนดา และขออนุญาติให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเบิกเงิน

เป็นที่ทราบกันดีว่า รพ หลายแห่งมีปัญหาการเบิกค่าตอบแทนการออกหน่วยฟื้นฟูสภาพทางการแพทย์(เดิมการฟื้นฟูสภาพคนพิการ)เนื่องจากงานบริหารเกรงการตรวจสอบจาก สตง.

ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างการดำเนินงานของ รพ.เขื่องใน และ รพ.หลายๆแห่งใน จ. อุบลราชธานี คืออาศัยการอ้างอิงระเบียบการกำหนดค่าตอบแทน ตามหนังสือ กระทรวง สธ. 5 กุมภาพันธ์ 2552 ที่ สธ.0201.042.1/ว100 ข้อ 1.7 อัตราค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ ที่ให้บริการตรวจรักษาแบบผู้ป่วยนอก ซึ่งอาจต้องรบกวนให้งานบริหารค้นให้อีกทีเพราะนานแล้ว

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

086-0559353 [email protected] lateralspinothalamic.hi5.com

ขอขอบพระคุณอ.ปนดา มากคะ

หนูได้รับแล้วคะ จะได้เป็นแนวทางการทำงานกายภาพบำบัดในชุมชนต่อไปคะ

mobilization คะ

ส่วนเรื่องปัญหาของน้องที่มีเกี่ยวกับการรับผู้ป่วยโดยตรง

เราคงต้องมาวิเคราะห์แล้วล่ะค่ะว่า การที่ผอ.ไม่อยากให้ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาโดยตรงกับ PT เกิดจากอะไรได้บ้าง เราจึงจะแก้ปัญหาได้ถูกต้อง

เหตุผลที่น่าจะเป็นไปได้คือ

1. เกรงว่าจะเสียระบบ ด้วยความคิดแบบเดิมๆ ที่ผู้ป่วยเข้ามาต้องพบแพทย์ก่อนเท่านั้น

2. เกรงว่าจะไม่มีการทำงานเป็นทีม ไม่มีการติดต่อประสานงานกันระหว่างแพทย์กับ PT

3. เกรงว่าผู้ป่วยจะเกิดอันตราย ถ้าไม่มีการ screen จากแพทย์ก่อน เช่นถ้าผู้ป่วยมีปัญหาทาง medical อื่นๆแล้วเราอาจจะไม่ทราบ ก็จะเป็นผลเสียกับผู้ป่วยได้ เพราะบางทีผู้ป่วยหายไปนานอาจมาด้วยอาการใหม่ หรืออาการแทรกซ้อนอย่างอื่นได้

4. ผอ.ไม่ทราบว่า PT สามารถตรวจและวินิจทางกายภาพบำบัดให้กับผู้ป่วยได้ตามกฎหมาย

5. มีทัศนคติไม่ดีกับ PT เพราะมีประสบการณ์เก่าที่ไม่ดีกับ PT มาก่อน

6. ผอ.ยังไม่เชื่อมั่นในฝีมือ PT

อาจจะมีเหตผลอื่นๆ อีก คิดยังไม่ออก จะเห็นได้ว่าเหตุผลหลายอย่างอาจต้องอาศัยเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ เช่น ข้อ 5 และข้อ 6 ส่วนปัญหาข้อ 4 ถ้าเราเอากฎระเบียบไปอ้าง แต่ถ้าเขายังมีปัญหาข้อ 5 และ 6 อยู่เขาก็จะไม่ยอมรับอยู่ดี และอาจยิ่งมีทัศนคติที่ไม่ดียิ่งไปกว่าเดิม

ส่วนถ้าเป็นเหตุผลข้อ 1, 2, 3, ก็เป็นอะไรที่น่าเห็นใจผอ.เหมือนกัน เพราะท่านเป็นผู้บริหาร อาจอยากทำงานให้เป็นระบบและส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และไม่อยากให้เกิดความเสี่ยงต่อมีการผิดพลาดจากการให้การรักษาโดยไม่มีแพทย์ดูแล เพราะท่านก็ต้องเป็นผู้รับผิดชอบด้วย ถ้าท่านกังวลอย่างนี้ เราก็ต้องช่วยท่านพัฒนาระบบงานให้สามารถเชื่อมโยง ทำงานเป็นทีม และเกิดความปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นว่าการให้บริการของเรามีแนวปฏิบัติที่ดีในโรคต่างๆ ที่พบได้บ่อย มีระบบการส่งต่อ มีระบบการ screening ที่สามารถคัดกรองผู้ป่วยที่สงสัยว่าจะมีปัญหา ทาง medical อืนๆได้อย่างปลอดภัย มีระบบบริหารความเสี่ยงต่างๆที่อาจเกิดขึ้นในแผนกและสามารถจัดการได้ในกรณ๊ฉุกเฉินต่างๆ มีสัมพันธภาพท่ดีกับบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ เช่น แพทย์ พยาบาล และทำให้เขาเข้าใจบทบาทของเรา เป็นต้น เพราะถ้าเขาเข้าใจบทบาทงานเราดี เขาก็คงจะส่งผู้ป่วยมาให้เราอยู่แล้ว ถ้าทั้งหมดนี้ทำอยู่แล้วก็คงต้องให้เวลาท่านผอ.ปรับตัวและรู้จักเรามากขึ้นอีกหน่อยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

สวัสดีค่ะ อ.ดา

ขออนุญาติเข้ามาทักทายอาจารย์นะคะ และถือโอกาสสวัสดีปีใหม่ 2554 กับอาจารย์ด้วยนะคะ

เรียนอาจารย์น้อมจิต นวลเนตร

เรื่องที่ให้ช่วยฐานพัฒนาระบบงานกายภาพบำบัด ผมเกรงว่าผมยังมีประสบการณ์ในการทำงานยังไม่มากพอนะครับ

"การจัดตั้งและพัฒนาหน่วยกายภาพบำบัด" ครับ กิตติ ไม่ใช่พัฒนาระบบงานฯ

I believe you can do. Please don't be too serious.

สวัสดีครับอาจารย์ ผมเป็นนิสิตจากมหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ (มศว) ผมมีความประสงค์อยากได้ตัวอย่างการจัดตั้งโครงการกายภาพบำบัดครับ เนื่องด้วยผมจะเอาไปเป็นตัวอย่างการเขียนโครงการในรายวิชาที่ต้องเรียนครับ เลยต้องมารบกวนอาจารย์ส่งตัวอย่างการเขียนให้ผมหน่อยนะครับ ส่งมาได้ที่ [email protected]

ขอบพระคุณล่วงหน้า

โรงพยาบาลเขื่องใน จ.อุบล ประกาศรับสมัครนักกายภาพบำบัด 1 อัตรา

(รับเพิ่ม มีนักกายภาพบำบัดแล้ว 2 คน และผช.กายภาพบำบัด 1 คน)

เพื่อขยายงานบริการทางกายภาพบำบัดชุมชน

วุฒิ วทบ.(กายภาพบำบัด) หรือ กายภาพบำบัดบัณฑิต (กภบ.)

อัตราเงินเดือน 1,1530 บาท + พตส.1,000 บาท + ค่าตอบแทนหมาจ่าย 1,200 บาท (ไม่มีใบประกอบจะยังไม่ได้รับ พตส.)

โอทีนอกเวลาราชการ 2,000-2,400 บาท+ค่าตอบแทนออกปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ 2,000-2,560 บาทต่อเดือน

มีบ้านพักฟรี

ประกาศlสมัคร 1-28 กุมภาพันธ์ 2554

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ 4 มีนาคม 2554

สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์ 17 มีนาคม 2554

ประกาศผล 22 มีนาคม 2554

เริ่มทดลองปฏิบัติงาน 1 เมษายน 2554

สอบถามเพิ่มเติม งานบริหารทั่วไป 045-203004 ต่อ 119

งานกายภาพบำบัด 045-203004 ต่อ 105

โทรสาร 045-203004 ต่อ 119

ประชาสัมพันธฺโดย กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

จังหวัดอุบลราชธานี 34150

ยินดีกับคุณกิตติด้วยนะคะ ที่จะได้นักกายภาพบำบัดเพิ่มอีก 1 คน แล้ว น่าชื่นชมจริงๆค่ะ

ปนดา

ครับอาจารย์ ผอ.โอเคกับงานกายภาพบำบัดพอสมควร ดีเฟนจัดซื้อเครื่องมือเพิ่มเติมผ่านหมดเลยครับ

ขอสอบถามหน่อยนะคะ มีความคิดที่จะไปทำงานชุมชนแต่ที่รพ.ไม่เคยเปิดแผนกเลย งานส่วนใหญ่จะเน้นเชิงรุกออกชุมชนน่ะค่ะ ถ้าเราจะต้องออกชุมชนร่วมกับสหวิชาชีพของรพ.เราต้องเขียนโครงการอะไรไหมคะถึงจะสามารถเบิกเงินจากสปสช.ได้อ่ะคะ ไม่มีความรู้เรื่องนี้เลยค่ะ

เพิ่งเริ่งงานรพ.ชุมชนค่ะยังไม่มีแผนกเลย และต้องออกชุมชนด้วย ไม่รู้จะเริ่มยังไงดีจึงรบกวนขอ

เอกสารที่จำเป็นสำหรับการเปิดแผนกใหม่

เอกสารการเขียนแผนของบการจัดซื้อเครื่องมือที่จำเป็นทางกายภาพ

เอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

ตัวอย่างการเข๊ยนโครงการออกเยี่ยมบ้าน

แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้าน และแบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ

และขอเอกสาร service profile ของงานกายภาพบำบัด

หรือว่ามีเอกสารที่อาจารย์เห็นสมควรว่าจะต้องใช้ก็เพิ่มเติมมาให้ก็ได้นะคะ

เพิ่งเปิดแผนกใหม่ ทำอะไรไม่ค่อยเป็นเลยค่ะ

e-mail : [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

สวัสดีค่ะน้องๆ

อยากบอกน้องๆ ที่เพิ่งเริ่มงาน PT in community ว่า blog นี้เป็น blog สำหรับให้น้องๆได้ค้นหาและศึกษาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่างๆ สำหรับตัวน้องเองและสำหรับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่น้องควรได้รับด้วย อย่างเช่น ที่พี่กิตติเขเขียนเรื่องเงินเดือน และค่าอะไรต่างๆที่ PT ควรจะได้รับ (อัตราเงินเดือน 1,1530 บาท + พตส.1,000 บาท + ค่าตอบแทนหมาจ่าย 1,200 บาท (ไม่มีใบประกอบจะยังไม่ได้รับ พตส.) +ค่าตอบแทนออกปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ 2,000-2,560 บาทต่อเดือน มีบ้านพักฟรี) และยังมีเรื่องอื่นๆอีก เช่น การเบิกจ่ายอุปกรณ์เครื่องช่วยคนพิการ เรื่องการเสนองบประมาณ ซื้อเครื่องมือ เรื่องการเซ็ทแผนก เรื่องการของบสปสช. เรื่องการบริหารความเสี่ยง และอื่น ๆ น้องๆ ควรหาเวลาเข้ามาค้นอ่านใน blog นี้ จะได้ความรู้เพิ่มเติม นะคะ (คลิกเข้าไปอ่านหน้าก่อนหน้านี้หลายๆหน้านะคะ)

ส่วนเรื่องเอกสารจะส่งไปให้ค่ะ

ปนดา

หนูได้รับเอกสารแล้วนะคะ ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ ส่วนเรื่องเงินเดือนยังมีบางรพ.ที่จ้าง 10,030 บาทอยู่ มันเป็นเรื่องที่ปกติหรือเปล่าคะ หรือว่าเป็นเรื่องที่เราต้องคุยให้รพ.เค้าปรับขึ้นให้ หรือกรณีที่เพิ่งไปสมัครใหม่ว่าตอนนี้เค้าจ้างกัน 11,530 บาทแล้ว ส่วนค่าตอบแทนออกปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ 2,000-2,560 บาทต่อเดือน เป็นยังไงคะ ช่วยยกตัวอย่างให้ดูหน่อยได้ไหมคะ ขอบคุณมากค่ะ

ขอตอบคำถามโพส28 มกราคม 2554 12:00

เรื่องค่าตอบแทนการออกปฏิบัติงานต่างหน่วยบริการ 2,000-2,560 เกิดจากการคำนวณอัตราชั่วโมงของการออกให้บริการ ชม.ละ 80 บาท ส่วนค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ 2,000-2,400 บาทเกิดจากการคำนวณ 4 ชม.ละ 300 บาท (ครึ่งเวร) ค่าตอบแทนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภาระงาน แต่ไม่อยากให้น้องๆใช้เงินเป็นตัวตั้งในการทำงานมากหนัก เพราะเราทำงานก็ได้รับเงินเดือนอยู่แล้ว โอทีให้ถือว่าเป็นผลพลอยได้จะดีกว่านะครับ

ปล.อยากให้น้องๆเพื่อนๆหรือพี่ๆที่มาโพสใหม่ควรแสดงตนเองให้เพื่อนๆหรืออาจารย์ได้รู้จักด้วยนะคับ

กภ.กิตติ สมบรรดา

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเขื่องใน

อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

ออกเยี่ยมบ้านได้ค่าตอบแทนด้วยเหรอคะ

ออกเยี่ยมบ้านได้ค่าตอบแทนด้วยเหรอคะ

สิทธิต่างๆในการรับสิทธิประโยชน์ เงินเดือน เเละค่าตอบเเทนต่างๆ มีเอกสารระบุชัดเจนหรือไม่คะ หรือเป็นกฎหมายเลยคะ  จะได้มีเอกสารชัดเจนในการยื่นพิจารณาต่อโรงพยาบาลค่ะ

ลองเลื่อนกลับไปอ่านโพสก่อนๆดูนะครับเคยตอบเอาไว้แล้วครับ

สวัสดีครับอาจารย์ และพี่น้อง PT ทุกท่าน

ผมกำลังจะเปิดแผนกกายภาพบำบัดใหม่ ของรพช.ในจังหวัดสุรินทร์ รบกวนขอตัวอย่างโครงการเปิดแผนก ตัวอย่างตัวชี้วัด และแบบการเขียนขอเครื่องมือด้วยนะครับ รบกวนส่งมาที่เมล์ [email protected] ขอบพระคุณมาก ๆ ครับ

น้องมนตรีอยู่ รพช. ไหนของ จ.สุรินทร์คะ ทางสุรินทร์เขามีเครือข่าย PT ดูแลกันอยู่ ผู้ประสานงานเครือข่ายฯ คือ คุณนันทนิตย์ จิตหนักแน่น รพ.สนม [email protected] ลองคุยกันดูค่ะ

เรียนนักกายภาพบำบัดชุมชนทุกท่าน

ทางสปสช. เขาขอให้อาจารย์ช่วยประชาสัมพันธ์ ตามข้อความข้างล่างนี้นะคะ ถ้าใครทราบแล้ว กรุณาส่งข้อมูลให้ตามที่เขาขอมาด้วยนะคะ จะได้เป็นฐานข้อมูลให้สปสช. เพื่อจะได้ให้การสนับสนุนต่อไปค่ะ

ขอบคุณ

ปนดา

ขอให้นักกายภาพบำบัดที่อยู่โรงพยาบาลชุมชน ช่วยแจ้งชื่อ-นามสกุล ชื่อโรงพยาบาล
จังหวัด อีเมล์ และโทรศัพท์ เพื่อเป็นข้อมูลเสนอให้ สปสช
สนับสนุนโครงการพัฒนาบุคคลากรในปีนี้และปีต่อๆไปค่ะ
โดยส่งมาทางอีเมล์ที่ [email protected]

สวัสดี อ.ปนัดดาค่ะ

รบกวนอาจารย์ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับ รพ.สต. กับการรับนักกายภาพบำบัดค่ะ

เรียน ผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน

โรงพยาบาลของหนูกำลังทำ HA ขั้นสองนะค่ะ แล้วคราวนี้มีเกณฑ์คุณภาพงานบริการและแนวทางประเมินหัวข้อหนึ่งของงานกายภาพบำบัดค่ะ ว่าด้วย ผู้ป่วย stroke ได้รับการฟื้นฟูกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล แล้วคราวนี้ท่านผู้อำนวยการเลยตั้งตัวชี้วัดว่า คนไข้ stroke ในโรงพยาบาลได้รับการทำกายภาพบำบัดทุกราย หนูมีคำถามว่า หนูจะต้องตามตัวชี้วัดอย่างไรเหรอค่ะ (ตอนนี้เมื่อมีคนไข้ stroke พี่พยาบาลที่ word ก็จะประสานมาที่หนู)

ในอนาคต ทางสปสช.เขาก็อยากให้รพ.สต.มีนักกายภาพบำบัดให้มากขึ้น อาจจะไม่ทุกรพ.สต. ในปัจจุบันมีรพ.สต.บางแห่งที่มีความต้องการจ้างนักกายภาพบำบัดเขาก็ประกาศรับ แต่ก็ยังมีไม่มาก ตอนนี้สปสช.ตั้งเป้าว่าทุกรพช.ให้มีการจ้างนักกายภาบำบัด ก็ยังทำไม่ได้ครบทุกโรง ไม่ทราบว่าคุณมณีรัตน์อยากไปทำงานในรพ.สต.หรือคะ

ปนดา

เรื่องการตั้งตัวชี้วัดว่าผู้ป่วย stroke ทุกรายต้องได้รับการบริการทางกายภาพบำบัดนั้น น่าจะมีฝ่ายสถิติเก็บข้อมูลของรพ. นะคะ ว่าเดือนหนึ่งมีผู้ป่วย stroke กี่คนชื่ออะไรบ้าง รายชื่อตรงกับที่ท่านมีหรือไม่ อาจารย์ก็คิดไม่ออกว่าจะทราบได้อย่างไร นอกจากจะ set ระบบเลยว่าเมื่อทราบว่ามีผป. stroke เข้ารับการรักษาในรพ.ต้องส่วปรึกษา PT

ปนดา

ตอบคำถามตัวชี้วัดกรณีเคสที่ได้รับคำวินิจฉัยหลักว่าเป็นstrokeจะต้องได้รับการทำกายภาพบำบัดนั้น เป็นการสุ่มAuditของงานประกันสุขภาพ(สิทธบัตร)ร่วมกับ สปสช.โดยนักกายภาพบำบัดต้องลงข้อมูลหัตการเป็นหลักฐานทุกครั้ง (ในชาร์ท) แต่ก็มียกเว้นบางหัตถการที่จะไม่ได้รับการคิดคะแนน ได้แก่ 9303-08 9315 9326 9337 9382-83 9395-98 ซึ่งผลจะการรายงานทุกสิ้นปี ดังนั้นจึงเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่นักกายภาพบำบัดต้องวางระบบการดำเนินงานเพื่อทำให้สำเร็จตามเป้าหมาย 100% และสามารถนำเสนอ ผอ.ทีมกกบ.เมื่อสรุปผลงานประจำปีด้วย หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่งานประกันสุขภาพของทุก รพ.

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี

34150 โทร 045-203004 ต่อ 105

ขอเพิ่มเติม เรื่องตัวชี้วัดค่ะ เพื่อป้องกันการ miss บริการ คนไข้ stroke ใน ward นักกายภาพบำบบัด รพร.สว่างแดนดิน round ward ทุกวันค่ะ เพิ่มเติมจากการรอพยาบาลแจ้งมาที่ PT

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์ อยากกลับไปทำงานที่บ้านค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ดา หนูเป็นนักกายภาพจบจากม.น.ค่ะตอนนี้ทำงานอยู่ที่รพ.ฟากท่าค่ะ พอดีอยากสอบถามอาจารย์เกี่ยวกับเรื่องอัตราค่ารักษาทางกายภาพค่ะว่ามีการกำหนดมาตรฐานรึเปล่า ยังไงรบกวนขอเอกสารเกี่ยวกับอัตราค่ารักษาทางกายภาพด้วยนะค่ะ

e-mail : [email protected] ขอบคุณค่ะ

แจ้งการเปลี่ยนวันเวลาการสอบข้อเขียน/สัมภาษณ์รับกายภาพบำบัดของรพ.เขื่องใน อย่างไม่มีกำหนดเนื่องจากทางทีมนำ รพ.ติดภาระกิจ หากทราบวันแน่ชัดจะประกาศให้ทราบ (แต่ยังคงส่งใบสมัครมาได้) ต้องขออภัยมายังทุกท่าน ณ ที่นี้ด้วย

เรียน ทุกท่าน

ขอปชส.ตำแหน่งงานกายภาพบำบัด ดังนี้นะคะ (มี PT ฝากให้ปชส.ให้ค่ะ)

รพ.น้ำหนาว และรพ.บึงสามพัน เป็นรพช.ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ใกล้ๆ พิษณุโลก รับสมัครนักกายภาพบำบัด นะคะ สนใจติดต่อไปยังรพ.โดยตรง หรือติดต่อผ่านคุณรุ่งโรจน์ สปสช.เขตได้ที่ e-mail : [email protected]

ปนดา

เนื่องด้วยทางโรงพยาบาลมีการดูแลผู้ป่วย stroke ในผู้ป่วยใน แต่ยังสงสัยรหัสหัถตการ จากโพสที่ 235885

เรียนถามอ.ปนดาครับ ผมอยากทราบว่า ICD10 กับ ICD9 ของกายภาพบำบัด ที่เป็นมาตรฐานขอได้ที่ไหนครับ เนื่องจากทางไอทีให้ผมกำหนดเอง โดยคีย์ลง HOSxp ครับ ซึ่งมันน่าจะไม่ครอบคลุมครับ

โรงพยาบาลเขื่องในรับสมัครตำแหน่งนักกายภาพบำบัด (ลูกจ้างชั่วคราว)

สมัครด้วยตนเองตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ ถึง 4 มีนาคม 2554

สมัครทางไปรษณีย์ไม่เกินวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2554 (ยึดวันประทับตรา)

ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบวันที่ 7 มีนาคม 2554

สอบข้อเขียนและสัมภาษณ์วันที่ 8 มีนาคม 2554

ประกาศชื่อผู้สอบผ่านวันที่ 9 มีนาคม 2554

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป โรงพยาบาลเขื่องใน 83 ม.6 ต.เขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150 โทร 045-203004 ต่อ 119

เรียนน้องกภ นิคม

อยากให้น้อง key คำว่า ICD 10 ใน google แล้วจะได้ความรู้อะไรๆ อีกมากมายเกี่ยวกับ ICD 10 นะคะ นพ.ประวิน มีทำ ppt ในรูปแบบ pdf file อธิบายให้เราเข้าใจเกี่ยวกับ ICD 10 ด้วย ลองเข้าไปศึกษาเพิ่มเติมนะคะ

ปนดา

เรียนน้องกภ.นัยนา

ถ้าสงสัยเกี่ยวกับรหัสหัตถการเกี่ยวกับ stroke ก็โทรไปถามพี่กิตติ โดยตรงเลยค่ะ ที่

กภ.กิตติ สมบรรดา

หัวหน้างานกายภาพบำบัด

โรงพยาบาลเขื่องใน อ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี 34150

โทร 045-203004 ต่อ 105

ปนดา

นักกายภาพบำบัดรพ.ชุมชนจ.ยะลา

เรียนอ.ปนดา ที่เคารพ

พอดีหนูพึ่งทำงานที่รพ.ชุมชนมา8เดือนเเล้ว เห็นเพื่อนจากรพ.ชุมชนเขาคีย์ข้อมูลคนไข้เวลาทำคนไข้ลงเว็ปสปสชได้เงินเข้ารพ.เป็นจำนวนมาก หนูเลยมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการคีย์ข้อมูลผู้ป่วยลงเว็บสปสชคะ

1.เวลาคีย์ข้อมูลผู้ป่วยลงเว็บสปสช คีย์ได้เฉพาะคนไข้นอกเท่านั้นหรือคะหรือว่าผู้ป่วยในก็สามารถคีย์ได้ด้วย

2.กลุ่มโรคของผู้ป่วยที่เรารักษาเเล้วที่สามารถคีย์ลงเว็ปสปสชมีกลุ่มโรคอะไรบ้างคะ

3.ผู้ป่วยที่เรารักษาเเต่ไม่ใช่สิทธิผู้พิการเราสามารถคีย์ลงเว็ปสปสชได้หรือเปล่าคะ

หนูขอพระคุณอ.ปนดาเป็นอย่างสูงนะคะสำหรับคำตอบ

อาจารย์ปนดาครับ ผมคิดว่าเราน่าจะมีชมรมกายภาพบำบัดชุมชนแห่งประเทศไทย เพื่อให้เกิดเครือข่ายในการติดต่อประสานงานตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันระหว่างสมาชิกหรือสร้างพลังอำนาจให้การต่อรองหรือขับเคลื่อนในลักษณะของทีมที่มีขนาดใหญ่และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

เรียนคุณกิตติ

อาจารย์เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งสำหรับการจัดตั้งชมรมกายภาพบำบัดชุมชน คิดมานานแล้วเหมือนกัน เราจะได้ทำกิจกรรมในการพัฒนานักกายภาพบำบัดชุมชนได้ เพราะถ้ารอสมาคมกายภาพบำบัดอาจจะช้าไป เพราะสมาคมมีเรื่องอื่นๆที่ต้องจัดการเยอะนะ ส่วนสภาฯก็ยิ่งมีเรื่องอื่นๆที่ต้องดูแลมากไปกว่านั้นอีก เราน่าจะมีองค์กรหนึ่งที่ดูแลเรื่องการพัฒนานักกายภาพบำบัดชุมชนโดยเฉพาะ ถ้านักกายภาพบำบัดชุมชนมีความเข้มแข็ง เครือข่ายเราเข้มแข็ง งานกายภาพบำบัดชุมชนย่อมพัฒนาไปอย่างรวดเร็วแน่นอน อาจารย์เคยทำงานกับชมรมพยาบาลชุมชนมาก่อน เห็นประโยชน์ของการจัดตั้งชมรมเป็นอย่างมาก แต่อยากให้นักกายภาพบำบัดชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดตั้งในครั้งนี้ ถ้าที่อุบลฯพร้อมก็ให้อุบลฯเป็นผู้จัดตั้งได้ งบประมาณถ้าเขียนเป็นโครงการจัดตั้งชมรมฯ ทางสมาคมกายภาพบำบัดเขาจะสนับสนุนโครงการละ 20,000 บาท น่าจะ OK ไหมคะสำหรับเริ่มต้น เขามีแบบฟอร์มให้กรอก คงต้องเข้าไปดูใน web สมาคมฯค่ะ ส่วนงบประมาณก้อนต่อๆไปเราคงหาได้ทางใดทางหนึ่ง คุณกิตติช่วยเป็นแกนนำในเรื่องนี้เลยดีไหมคะ

ปนดา

เรียนน้องกภ.ยะลา

อาจารย์ทราบว่าคำตอบสำหรับคำถามของน้องมีใน blog นี้แน่ พี่กิตติเขาเคยอธิบายเอาไว้น้องช่วย click เข้าไปอ่านหน้าก่อนหน้านี้สัก 4-5 หน้า น้องน่าจะได้คำตอบนะคะ

ปนดา

วันที่ 8-10 มีนาคมนี้ จะมีการสัมนาเรื่องการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน ณ ห้องประชุมชั้น 6 อาคาร 2 คณะเทคนิคการแพทย์ ขอนแก่น  ขอให้การสัมนาประสบความสำเร็จนะคะ

ปนดา

สวัสดีคะ อ.ปนดา

หนู NU 48 เพิ่งย้ายงานมาเปิดแผนกเอง เลยไม่รู้จะเริ่มตรงไหนก่อนดีคะ เนื่องจากเคยทามงานมาแล้ว พอมาที่ใหม่ก็ได้รับงานเชิงรุกหลายๆ อย่าง แล้วไหนจะต้อง set แผนกอีก เลยมึนคะอาจาน เพราะไม่เคย set เอง เอกสารก็ไม่ค่อยได้แตะ

หนูเลยอยากขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนกคะ อยากได้มาปรับใช้ เพราะถ้าจะsetใหม่คิดว่าจะใช้เวลามากเกินไปคะ แล้วเชิงรุกหนูก็ต้องทำ ขอบคุณคะ

[email protected]

น้อง ๆ ที่จะเข้ากลุ่มย่อยเรื่อง “การปรับสภาพแวดล้อมและนวัตกรรมสำหรับคนพิการ” ในการสัมมนา “การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำงานกายภาพบำบัดชุมชน” ที่ขอนแก่นสัปดาห์หน้า ช่วยนำตัวอย่างการปรับสภาพแวดล้อม+สิ่งประดิษฐ์สำหรับคนพิการมา show ในกลุ่มย่อย 9 มีนา ด้วยค่ะ เป็น powerpooint/ของจริงก็ได้ค่ะ ขอบคุณค่ะ

เรียนอาจารย์

คือตอนนี้หนูอยากขอแบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้านและแบบฟอร์มการตรวจประเมินคนพิการ เอกสารฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ และservice profile และหนูขอดูตัวอย่างการเขียน SPA ของงานกายภาพบำบัด ด้วยนะค่ะ

[email protected]

กภ.อรุณี ชนาภิสิทธิ

สวัสดีคะ อาจารย์ หนูได้รับให้ดูแลนักกีฬาสโมสรฟุตบอล เวลาที่แข่งขันและฝึกซ้อม อยากสอบถามอาจารย์คะว่า อัตราในการดูแลนักกีฬาที่เรากายภาพบำบัดเข้าไปดูแลจัดการคิดชม.เท่าไรคะ  

ตอนนี้หนูกำลังได้แผกและเครื่องมือใหม่ อาคารเสร็จเรียบร้อย เหลือแค่รอเครื่องมือ แต่หนูไม่รู้จะทำอะไรเป็นอันดับแรก รบกวนอาจารย์แนะนำหนูด้วยนะค่ะ และขอ service profile, CPGงานทางกายภาพ,โรคทางกายภาพ ,งานความเสี่ยงทางกายภาพ,งานบริหารภายใน ส่งมาที่ au-zapaju@hotmail (คราวก่อนเคยขอแต่ยังไม่ได้อะไรเลยค่ะ)

รู้สึกมีกำลังใจที่จะทำงานต่อไป สู้เพื่อPTของเรา

ตอบ กภ.อรุณี

เรื่องอัตราต่อชั่วโมงในการดูแลนักกีฬา อาจารย์ไม่ทราบจริงๆว่าเขาคิดเท่าไร อาจารย์เคยแต่ทำให้ฟรีหรือได้เป็นค่าวัสดุ แต่มันคนละบริบทกับกรณีของคุณ คิดว่าลองถามนักกายภาพบำบัดที่ทำงานกับ กกท. ดีไหม ว่าเขาคิดเท่าไร

ปนดา

ตอบคุณกมลทิพย์และคุณgift

จะรีบส่งไปให้นะคะ  ดีใจที่คุณได้เข้ามา share ใน blog ค่ะ

ปนดา

สวัสดีค่ะอาจารย์และพี่น้องโรงพยาบาลชุมชน

คือว่า ดิฉันเป็นนักกายภาพบำบัดอยู่ที่โรงพยาบาลพิจิตร มีความสนใจที่จะทำวิทยานิพนธ์เรื่อง "การพัฒนาสมรรถนะการสอนทางคลินิกของนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชน" กำลังจะทำ concept paper จึงอยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพการสอนทางคลินิกของนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลชุมชนในปัจจุบัน (โรงพยาบาลชุมชนที่รับนักศึกษากายภาพบำบัดฝึกงาน) ท่านใดสะดวกที่จะพูดคุยได้ทางโทรศัพท์ (ประมาณ 15-30 นาที ) รบกวนช่วยส่ง เบอร์โทรศัพท์ทาง email [email protected]   และถ้าพี่น้องท่านใดสนใจที่จะเป็นผู้เข้าร่วมการทดลอง (เมื่อได้รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะแล้ว) อาจจะอีก 1 ปี กว่า (แต่อ. ให้ระบุในตอนนี้เลยว่ามีที่ไหนบ้าง) รบกวนช่วยส่ง email ให้ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ชฎาพร

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเพิ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานเกี่ยวกับชุมชน ยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน ยังไม่รู้ว่าจะดำเนินการเกี่ยวกับงานชุมชน และลงพื้นที่กับสอ. จึงรบกวนขอไฟล์งานที่จำเป็น เช่นแบบฟอร์มแรกรับกายภาพบำบัด แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการหรือผู้ที่ต้องฟื้นฟู คลีนิกเบาหวาน ผู้สูงอายุ เรื่องความดันโลหิต งานคลินิค COPD งานผู้พิการ งานคุณภาพ งานเอกสารการเขียนขออนุมัติต่างๆ  และรบกวนเรื่องการฟื้นฟูการออกเยี่ยมบ้านและการอบรม อสม แกนนำผู้พิการ

email :[email protected] ขอบคุณล่วงหน้า

 

เรียน อาจรย์ รศ.ปนดา,

 

ต้องการฝากข่าวประชาสัมพันธ์รับสมัครบุคคลากรของบริษัท โดยต้องการบุคคลซึ่งจบการศึกษาด้าน กายภาพบำบัด, พยายามและดานยา ไม่สามารถว่าจะติดต่อได้อย่างไรคะ?

เรียน อ.ปนดา

อาจารย์หนูเพิ่งย้ายมาทำงานชุมชนที่ใหม่และการ key ข้อมูลของที่นี่ใช้ระบบ GII ซึ่งที่เก่าใช้ hosXP จึงอยากเรียนถามอาจารย์ว่าหนูต้องทำอย่างไรบ้างเพราะตอนนี้หนูมีคนไข้เยอะแต่ยังไม่ลงข้อมูลในระบบเลย หนูรบกวนด้วยนะค่ะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

อาจารย์ตอบคำถามของคุณไม่ได้ แต่ติดต่อให้คุณกิตติเข้ามาตอบแล้วนะคะ

 

ปนดา

กายภาพบำบัดรพ.ฟากท่า

ฝากประชาสัมพันธ์หน่อยนะค่ะ

สาธารณสุขจังหวัดอุตรดิตถ์จะทำการรับสมัครเพื่อสอบคัดเลือกบุคคลบรรจุเป็นพนักงานราชการตำแหน่งนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบ้านโคก จังหวัดอตรดิตถ์ สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่งานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุจังหวัดอุตรดิตถ์ค่ะ

เรียน อ.ปนดา

ชื่อ วิราศิณี ศรีโง๊ะ ดิฉันเป็นนักกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ จากทีมไม้เลื้อย ขอสนับสนุนในการสร้างเครืิอข่ายกายภาำพบำบัดชุมชนค่ะ จะได้มีพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเพิ่มขึ้นค่ะ สิ่งสำคัญตอนนี้นักกายภาพบำบัดชุมชน เยอะเพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็ว รู้สึกเป็นห่วงน้องๆที่ยังขาดประสบการณ์ การที่ได้รวมพลังกันก็จะเป็นประโยชน์ อย่างน้อยจัดตั้งแผนกควรมีอย่างต่ำน่าจะ 2 คน ถ้า 1 คนก็ต้องใจรักและมีความขยันมากๆ และที่สำคัญองค์ความรู้ที่เราต้องมีค่ะ

เรียน กภ.บุณฑริก ใช่จอยป่ะคับ ระบบ GII ไม่แน่ใจว่าใช่ระบบเดียวกับรพ.เราหรือป่าวแต่ รพ.เราเรียก HI ซึ่งต้องยอมรับว่าอุบลมีโปรมแกรมหลายสำนัก ลองปรึกษาพี่น้อยสมใจดูนะ

ขอบคุณคะ กภ.กิตติ จะขอรบกวนคุณกิตติเรื่องเบิก โอทีนะคะว่าเอกสารที่ใช้ประกอบในการเบิกมีอะไรบ้างเพราะย้ายที่ทำงานใหม่และที่เก่าก็มีคนทำให้ก็เลยไม่ค่อยทราบเรื่องพวกนี้เท่าไหร่ รบกวนขอเอกสารตัวอย่างด้วยนะคะ ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

[email protected]

เรียน อ.ปนดา หนูขอแนวทางการซื้อเครื่องมือและคู่มือปฏิบัติงานหน่อยนะคะ รบกวนอาจารย์ส่งให้ด้วยนะคะ

[email protected]

ตอนนี้ดิฉันได้งานทำที่รพ.ชุมชน แล้วต้องเป็นผู้เปิดแผนกกายภาพบำบัด ร่วมกับกลุ่มงานอื่นๆ จึงอยากได้ข้อแนะนำ การเขียนโครงการต่างๆ และ การทำงานร่วมกับผู้พิการในชุมชนค่ะ ขอรบกวนช่วยส่งมาให้ดิฉันด้วยนะคะ ขอบพระคุณค่ะ [email protected]

ได้รับเอกสารแล้วคะอาจารย์ ขอบคุณมากคะ

อาจารย์ค่ะหนูย้ายมาทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนและยังไม่รู้ต้องเริ่มจากตรงไหนดี โดยเฉพาะเรื่องเอกสาร จึงอยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องเอกสารที่จำเป็นในงานกายภาพบำบัดชุมชนและขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก พร้อมแผนงานด้วยนะคะ ขอบคุณอาจารย์มากคะ [email protected]

ตกลงน้องกภ.บุณฑริกาได้รับเอกสารแล้ว แต่ต้องการเพิ่มเติมอีก หรืออย่างไรค่ะ ทำไมบอกว่าได้รับแล้ว แต่ยังขอมาอีกคะ ตอนนี้ที่อาจารย์มีอยู่ก็มีเท่าที่ส่งไปให้แล้วค่ะ (ไม่ได้โกรธนะคะ เพียงแต่ งง ๆ เนื่องจาก post ที่ส่งมาค่ะ)

ปนดา

ขอแบบการเขียนโครงการจัดตั้งแผนกกายภาพบำบัดในชุมชน

สวัสดีค่ะเพื่อนๆพี่ๆชาวPTชุมชน

คือmcเพิ่งเข้ามาทำงานโรงพยาบาลชุมชน ได้ประมาณ1เดือน ไม่ค่อยรู้เรื่องการบริหารจัดการแผนกเคยทำงานโรงพยาบาลเอกชนอยากรบกวนพี่ๆๆน้องๆที่ผ่านการเขียนโครงการมาแล้วส่งแบบการจัดตั้งแผนกกายภาพให้

ส่งมาตามe-mail นี้นะค่ะ [email protected] ขอบคุณล่วงหน้านะค่ะ

ขอโทษคะอาจารย์ที่ทำให้สับสน ที่บอกว่าได้รับเอกสารคือเอกสารที่ขอไปในรอบแรกคะ

ส่วนที่โพสต์รอบสองคือเอกสารที่ขอเพิ่มคะ ขอโทษอาจารย์อีกคั้งเป็นอย่างมากคะ

หวังว่าจะได้รับความกรุณาจากอาจารย์อีกครั้ง ขอบคุณคะ

[email protected]

เรียนกภ.บุณฑริกา

สิ่งที่ขอมาทั้ง 2 ครั้ง น่าจะมีอยู่แล้วในเอกสารที่ส่งไปให้ แต่เอกสารที่ส่งไปให้ยังไม่ได้รับการกลั่นกรองจากคณะทำงานจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ ดังนั้นอาจจะไม่ค่อยชัดเจนเท่าไร ขณะนี้เรากำลังเร่งจัดทำคู่มือการปฏิบัติงานฯอยู่ค่ะ เมื่อเสร็จแล้วจะจัดส่งให้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

ได้รับเอกสารแล้วค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ขอบคุณคะอาจารย์

อาจารย์คะขอรายละเอียด เกี่ยวกับ การเบิกจ่ายค่าตอบแทน นักกายภาพบำบัด และผุ้ช่วยนักกายภาพบำบัด ในโครงการออกเยี่ยมผู้พิการด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

รบกวน ผมขอเองสาร ค่าตอบแทนในเชิงรุกของนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนอะครับ อีเมลนะครับ [email protected]

อาจารย์ค่ะหนูย้ายมาทำงานที่โรงพยาบาลชุมชน จึงอยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องเอกสารที่จำเป็นในงานกายภาพบำบัดชุมชนและขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก พร้อมแผนงาน

[email protected]

กภ.ภัคดีชุมพล

PT_NU7

ขอบคุณคjะอาจารย์

เรียนทุกท่าน

เนื่องจากช่วงนี้อาจารย์กำลังเตรียมจัดการประชุมเพื่อพัฒนาเครือข่ายกายภาพบำบัดชุมชนในงานประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ซึ่งจะดำเนินการในวันที่ 3 พ.ค. 2554 เวลา 17.00 -19.00 น. โดยจะมีนักกายภาพบำบัดชุมชนเข้าร่วม 100 กว่าคน ในงานนี้จะมีการจัดตั้งชมรมกายภาพบำบัดชุมชนขึ้น ซึ่งจะมีการเสนอชื่อกรรมการชมรมซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกเขต รวมทั้ง กทม.ด้วย และมีการสมัครสมาชิกชมรมด้วย จึงขอประชาสัมพันธ์ มา ณ ที่นี้ ส่วนเรื่องเอกสารที่ขอมาจะส่งให้ แต่อาจจะช้าหน่อยนะคะ เพราะยุ่งมาก ในงานสมาชิกจะได้รับ CD เอกสารสำหรับเริ่มต้นงานแจกด้วยค่ะ

ปนดา

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเพิ่งจบค่ะ แล้วเข้ามาทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ต้องเปิดแผนกใหม่ค่ะ จึงอยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องเอกสารที่จำเป็นในงานกายภาพบำบัดชุมชนและขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก พร้อมแผนงานค่ะ

[email protected]

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเพิ่งเข้ามาทำงานในโรงพยาบาลชุมชนเป็นวันแรกค่ะ ต้องเปิดแผนกใหม่ อยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องการขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก แลอยากขอเอกสารเกี่ยวกับงานกายภาพบำบัดชุมชนอื่นด้วยนะคะ

[email protected]

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเพิ่งจบค่ะ แล้วเข้ามาทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ต้องเปิดแผนกใหม่ค่ะ จึงอยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องเอกสารที่จำเป็นในงานกายภาพบำบัดชุมชนและขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก พร้อมแผนงานค่ะ

[email protected]

ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเพิ่งจบค่ะ แล้วเข้ามาทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ต้องเปิดแผนกใหม่ค่ะ จึงอยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องเอกสารที่จำเป็นในงานกายภาพบำบัดชุมชนและขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก พร้อมแผนงานค่ะ

[email protected]

ขอบคุณมากค่ะ

เรียน อ.ปนดา

อ.ค่ะตอนนี้หนูได้งานที่โรงพยาบาลชุมชนในอุดรค่ะ คือหนูอยากเรียนถามอาจารย์เกี่ยวกับ แบบประเมิน KPI และ CQI คืออะไรค่ะอ. แล้วพอมีตัวอย่างให้เห็นมั้ยค่ะ ถ้ามีรบกวนอ.ช่วยกรุณาส่งเข้าที่ e-mail ของหนูด้วนค่ะ

รักและเคารพอ.ทุกท่านค่ะ

ศรัญญา สุขบัญชา

PT8 NU

ขอ อ. ช่วยประชาสัมพันธ์ ชมรมกายภาพบำบัดชุมชน ด้วย ผมจะสมัครสมาชิกต้องดำเนินการอย่างไร

ใครสนใจเป็นสมาชิกให้ e-mail มาจะส่งใบสมัครไปให้ค่ะ

สำหรับเอกสารส่งไปให้ทุกคนที่ขอแล้วนะคะ

ปนดา

งานประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ซึ่งจะดำเนินการในวันที่ 3 พ.ค. 2554 เวลา 17.00 -19.00 น. โดยจะมีนักกายภาพบำบัดชุมชนเข้าร่วม 100 กว่าคน ในงานนี้จะมีการจัดตั้งชมรมกายภาพบำบัดชุมชนขึ้น ซึ่งจะมีการเสนอชื่อกรรมการชมรมซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกเขต รวมทั้ง กทม.ด้วย และมีการสมัครสมาชิกชมรมด้วย

จากที่อาจารย์ประชุม ผลเป็นอย่างไรบ้างครับ กรรมการมีใครบ้าง และมีการดำเนินงานอย่างไรบ้างครับ ช่องทางเว็บของอาจารย์น่าจะเป็นช่องทางการประกาศข่าวสารต่างๆได้นะครับ

ก่อนอื่น กราบสวัสดีอาจารย์ที่เคารพของหนูค่ะ

พอดีหนูอยากรบกวนอาจารย์เรื่องเอกสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการออกชุมชนและค่าตอบแทนในการเยี่ยมบ้านผู้พิการ

หน่อยนะค่ะ รบกวนอาจารย์ ส่งมาที่เมล์ [email protected] ค่ะ

PTNU 7..

ขอบพระคุณอาจารย์ดามากนะคะ หนูได้รับเอกสารแล้วค่ะ ถ้ามีข้อสงสัยเพิ่ม อาจต้องรบกวนอาจารย์เรื่อยๆนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ดา

หนู ออมสิน PT NU รุ่น 5 นะคะ

ตอนนี้ หนูเปิดแผนกได้ 1 ปีแล้วค่ะ และวันนี้ได้รับเครื่องมือกายภาพบำบัดมาแล้ว 3 อย่าง

ได้แก่ Traction / US combine ES / Hot Pack ค่ะ

หนูอยากเรียนถามอาจารย์ว่า

1. ปกติที่รพ. จะคีย์ข้อมูลใส่โปรแกรมเวชระเบียน รพ. (รพ.จัดทำขึ้นมาเอง) หัวหน้าฝ่ายการพยาบาลบอกว่า เคลมค่าใช้จ่ายไม่ได้ และเหมือนว่าที่อื่น จะคีย์ใส่โปรแกรมของ สปสช. เพื่อเคลมเงินค่ารักษาเข้า รพ. ค่ะ อาจารย์พอจะทราบลายละเอียดตรงนี้บ้างมั้ยคะ

2.หนูอยากได้ เอกสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการออกชุมชนและค่าตอบแทนในการเยี่ยมบ้านผู้พิการ เพราะตอนนี้ ออกเยี่ยม HHC แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนเยี่ยมบ้านค่ะ

3.หากต้องการเปิดแผนกแบบล่วงเวลา (OT) หนูจะต้องเริ่มเก็บสถิติข้อมูลตัวไหนที่จำเป็นบ้างคะ เพื่อเสนอกับผอ. รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยนะคะ

**หากเพื่อนสมาชิกท่านใด มีประสบการ์เกี่ยวกับคำถามของดิฉัน ขอความอนุเคราะห์ตอบคำถามให้ด้วยนะคะ**

ขอแสดงความนับถือ

อนุสรา อินทร์โฉม

อ.หนูได้รับ e-mail แล้วนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ดา.....

อาจารย์คะ....หนูขอแบบฟอร์มการเขียนรายงานผู้ป่วยในชุมชนหน่อยนะคะ รบกวนอาจารย์ส่งเมลล์มาที่ [email protected]ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะคะ

สุมาลัย คล้ายเนียม

สวัสดีค่ะ อ. ปนดา ตอนนี้หนูได้งานแล้วนะคะเป็นโรงพยาบาลชุมชน วิหารแดง จ.สระบุรีคร่า พอดีหนูอยากรบกวนอาจารย์เรื่อง

1เอกสาร/รายละเอียดเกี่ยวกับการออกชุมชนและการเบิกค่าตอบแทนในการเยี่ยมบ้านผู้พิการค่ะ

2 หนูอยากทราบว่าถ้าต้องการสมัครเป็นสมาชิกชมรมกายภาพบำบัดชุมชน ต้องทำอย่างไรบ้างคะ แล้วสมัครได้ที่ไหนอย่างไรคะ([email protected])

3การคีย์ข้อมูลการรักษาทางกายภาพบำบัด เข้าระบบรายงานอุปกรณ์กายอุปกรณ์และการบริการทางกายภาพบำบัดของสปสช เค้าทำกันอย่างไร จะสามารถคีย์ได้ในกรณีไหนบ้างคะ และรายการใดบ้างที่สามรถคีย์ได้

รบกวนอาจารย์ ส่งมาที่เมล์

[email protected]

**หากเพื่อนสมาชิกท่านใด มีประสบการณ์เกี่ยวกับคำถามของดิฉัน ขอความอนุเคราะห์ตอบคำถามให้ด้วยนะคะ**

ขอแสดงความนับถือ

สุมาลัย PT NU 8

เรียนอาจารย์ปนดาและสวัสดีพี่ๆนักกายภาพบำบัดทุกคนค่ะ

หนูเป็นนักกายภาพจบใหม่ค่ะ เพิ่งทำงานที่โรงพยาบาลสหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ มาได้สามสัปดาห์ งานตอนนี้คือ ขึ้นward ในตอนเช้า ส่วนตอนบ่ายเป็นการออกกำลังกายในหญิงหลังคลอดค่ะ พองานเริ่มลงตัวหนูจึงลองกลับมาทบทวนปัญหาในตอนนี้พบว่า

1. มีพี่พยาบาลมาแนะนำว่าให้หนูเป็นคนสั่งตัดรองเท้าเบาหวาน โดยคนไข้เบาหวานที่จะส่งมาให้เป็นคนไข้ที่มีความเสี่ยงสูง หนูคิดว่าจะสั่งจากบริษัทตามที่หลายๆ รพ ได้ทำกัน โดยงบที่ได้นั้นได้มาจาก สปสช ค่ะ แต่ตอนนี้ยังไม่แน่ใจว่าจะเริ่มงานยังงัยดี งงนิดหน่อยเพราะว่าตอนเรียนไม่ได้เรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ หนูเลยอยากสอบถามอาจารย์ว่ามีข้อแนะนำดีๆในการเริ่มต้นงานครั้งนี้ไหมคะ

2. อิกเรื่องหนึ่งคือทาง รพ เพิ่งรับนักกายภาพมาเปิดแผนกคนแรก แล้วงานของหนูอยู่ฝ่ายงานเทคนิคบริการ ซึ่งมีเภสัชเป็นหัวหน้าค่ะ ตอนนี้ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพเลย และแพทย์ก็ยังไม่ส่งเคส OPD มาให้ค่ะ ส่วนเรื่องสถานที่ ได้ตึกเล็กๆทียื่นออกมาจาก รพ เนื้อที่ค่อนข้างน้อย เนื่องจากต้องอยู่รวมกับแพทย์แผนไทย จึงอยากขอคำแนะนำจากอาจารย์ว่าเรามีวิธีที่จะขอเบิกอุปกรณ์ทางกายภาพได้อยา่งไรบ้างคะ เนื่องจากคิดว่าตัวเรามาใหม่เลยไม่กล้าขอค่ะ

3.เรื่องออกชุมชนค่ะ ตอนนี้มีโครงการของพยาบาลที่ทำเกี่ยวกับ stroke เราสามารถเข้าไปช่วยได้ใช่มั้ยคะ โดยหลังจากที่เราเข้าไปเยี่ยมแล้วสามารถคีย์ข้อมูลให้ สปสช ได้ด้วยใช่มั้ยคะ หรือว่าเราจะเขียนโครงการใหม่เป็นของเราเลยแล้วเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายตามที่เราอยากทำ

ตอนนี้หนูคิดว่ามีปมปัญหาอยู่ 3 ข้อที่คิดว่าใหญ่ที่สุด จึงได้นำมาปรึกษาอาจารย์ค่ะ ขอขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้านะคะที่ให้คำแนะนำค่ะ

สวัสดีค่ะอ.ปนดา และทุกๆท่าน

คือตอนนี้หนูย้ายมาทำงานโรงพยาบาลชุมชนที่หนึ่งค่ะ แต่ทำไม่ถึง 1 ปี ฝ่ายการเงินที่นี่เค้าจะตัดค่าชุมชนออก โดยให้เหตุผลว่าทำงานไม่ถึง 1 ปี ไม่ได้เงินค่าชุมชน (เงินพตส.) จะให้ต่อเมื่อทำ 1 ปีขึ้นไป แต่ที่ทำงานที่เก่า(โรงพยาบาลชุมชนเหมือนกัน)เค้ามีค่าพตส. และค่าใบประกอบให้

จึงอยากเรียนถามอ.ปนดา และทุกๆท่านค่ะ ว่าพอจะทราบมั๊ยคะว่าจริงๆแล้วนักกายภาพโรงพยาบาลชุมชนต้องมีค่าตอบแทนอะไรบ้าง และท่านใดพอจะมีเอกสารหลักฐานเงินเดือน และค่าตอบแทน รบกวนกรุณาส่งให้หนูหน่อยนะคะ

ขอบพระคุณมากๆค่ะ

E-mail : [email protected]

อาจารย์คะ....หนูขอแบบฟอร์มการสมัครของ สปสช. และแบบฟอร์มการเขียนรายงานผู้ป่วยในชุมชนหน่อยนะคะ รบกวนอาจารย์ส่งเมลล์มาที่ [email protected] ขอบคุณอาจารย์ล่วงหน้านะคะ

อาจารย์ค่ะหนูมีเรื่องรบกวนค่ะ

คือตอนนี้หนูมาทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนและยังไม่ทราบว่าหนูจะต้องคุยกับหมอหรือเริ่มต้นจากส่วนไหนก่อน

โดยเฉพาะเรื่องเอกสาร จึงอยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องเอกสารที่จำเป็นในงานกายภาพบำบัดชุมชนและขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก พร้อมแผนงานด้วยนะคะ ขอบคุณอาจารย์มากคะ

และการคียืข้อมูล ICD10 งานกายภาพบำบัด

และตัวอย่างใบแรกรับงานกายภาพบำบัดด้วยนะคะ

[email protected]

ขอบพระคุณล่วงหน้าคะอาจารย์

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

สวัสดีค่ะอาจารย์ เป็นนักศึกษาพึ่งจบใหม่ค่ะ กำลังไปเปิดแผนก รพช. เริ่มงานวันที่ 1 มิย 2554 นี้ อยากขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเปิดแผนก การจัดการ ควรจะเริ่มต้นทำอะไร อย่างไร ตอนนี้เครียดมากๆค่ะ รบกวนอาจารย์กรุณาช่วยส่งไฟลล์ตัวอย่างการเปิดแผนก ให้ด้วยค่ะ ....ขอบคุณมากค่ะ [email protected]

อยากได้ใบสมัครชมรมกายภาพบำบัดชุมชน ส่งที่ [email protected] ขอขอบคุณครับ

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

ตอนนี้หนูทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนและยังไม่ทราบว่าหนูจะต้องเริ่มต้นจากส่วนไหนก่อน

โดยเฉพาะเรื่องเอกสาร จึงอยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องเอกสารที่จำเป็นในงานกายภาพบำบัดชุมชนและขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก พร้อมแผนงานด้วยนะคะ ขอบคุณอาจารย์มากคะ

ถ้าอาจารย์มีตัวอย่างแบบฟร์อมบันทึกผู้ป่วยก็รบกวนขอดูตัวอย่างด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ [email protected]

เรียนทุกท่าน

เอกสารที่ท่านต้องการได้ถูกส่งไปให้ตามที่อยู่ที่ท่านให้มาแล้วนะคะ หวังว่าคงจะเป็นประโยชน์ และเป็นแนวทางในการเริ่มต้นทำงานกายภาพบำบัดชุมชนได้ สำหรับงบสปสช. ก็มีตัวอย่างการเขียนโครงการของสปส.ให้ดู แต่ก็อย่าไปยึดตรงนั้นนะคะ ควรเข้าไปดข้อมูลขอ สปสช ด้วย เพราะเงื่อนไขของการสนุบสนุนของเขาเปลี่ยนแปลงบ่อยมากค่ะ

สำหรับน้องที่ต้องการสมัครเป็นสมาชิกกายภาพบำบัดชุมชนก็ขอใบสมัครได้ที่คุณวิโรจน์ ตามที่อยู่ที่คุณวิโรตนม์ให้ไว้นะคะ [email protected] มีค่าสมาชิก 200 บาทเท่านั้นค่ะ

ปนดา

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

หนูกำลังเปิดแผนก รพช. แต่ตอนนี้ยังไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นตรงไหนดี อยากขอคำแนะนำเกี่ยวกับการเปิดแผนก การจัดการ การคิดค่าบริการ รบกวนอาจารย์กรุณาช่วยส่งไฟลล์ตัวอย่างให้ด้วยค่ะ ....ขอบคุณมากค่ะ [email protected]

หนูมาเปิดแผนก รพช ผอ.ต้องการคำแนะนำจากหนูในการเปิดเเผนกค่ะ

หนูจึงอยากขอคำแนะนำกับอาจารย์เกี่ยวกับการเปิดแผนก รบกวนอาจารย์กรุณาช่วยส่งไฟลล์ตัวอย่างให้ด้วยค่ะ

ที่ [email protected] ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ

กำลัง ย้ายมาทำงานโรงพยาบาลชุมชน อยากได้ข้อมูลเกี่ยวกับ เริ่มต้นเปิดแผนก และการ การkey ICD 10

การบันทึกแรกรับผู้ป่วย และเอกสารแผนงาน เพราะมาทำที่นี่มันต่างจากที่เดิมมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ ส่งมาที่ [email protected] ค่ะ

รบกวนอาจารย์หน่อยนะค่ะ

หนูกำลังจะเริ่มทำงานรพชุมชน ด้วยงบของ สปสช คะ และจะต้องเปิด แผนกใหม่ หนูขอเรียนถามเงื่อนไขที่ต้องรายงานการทำงานให้กับ สปสช. โรงพยาบาลที่หนูทำอยู่ตอนนี้ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด หนูควรเริ่มต้นอย่างไรดีคะ สุดท้ายหนูรบกวนขอแบบฟอร์มที่จำเป็นต้องใช้การออกเยี่ยมบ้านผู้พิการงาน เพราะทาง รพ เน้นงานผู้พิการซึ่งหนูยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้ หนูจึงขอรบกวนขอแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับการออกเยี่ยมผู้พิการค่ะ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง การเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินความพิการ แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ ขอบพระคุณมากๆ นะคะ

รบกวนอาจารย์นะค่ะ

หนูกำลังจะเริ่มทำงานรพชุมชน ด้วยงบของ สปสช คะ และจะต้องเปิด แผนกใหม่ หนูขอเรียนถามเงื่อนไขที่ต้องรายงานการทำงานให้กับ สปสช. โรงพยาบาลที่หนูทำอยู่ตอนนี้ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด หนูควรเริ่มต้นอย่างไรดีคะ สุดท้ายหนูรบกวนขอแบบฟอร์มที่จำเป็นต้องใช้การออกเยี่ยมบ้านผู้พิการงาน เพราะทาง รพ เน้นงานผู้พิการซึ่งหนูยังไม่มีประสบการณ์ในด้านนี้ หนูจึงขอรบกวนขอแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับการออกเยี่ยมผู้พิการค่ะ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง การเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินความพิการ แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ ขอบพระคุณมากๆ นะคะ [email protected]

สวัสดีค่ะอาจารย์

หนูเพิ่งเริ่มงานกายภาพบำบัดค่ะแล้วยังไม่มีแผนก แล้วพอดีต้องใช้โปรแกรมHOS ExP จึงรบกวนอาจารย์พอจะมีรหัสการทำหัตถการทางกายภาพบำบัดเพื่อนำมาลงโปรแกรมมั้ยคะ รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ [email protected]

งานประชุมวิชาการกายภาพบำบัดแห่งชาติ ซึ่งจะดำเนินการในวันที่ 3 พ.ค. 2554 เวลา 17.00 -19.00 น. โดยจะมีนักกายภาพบำบัดชุมชนเข้าร่วม 100 กว่าคน ในงานนี้จะมีการจัดตั้งชมรมกายภาพบำบัดชุมชนขึ้น ซึ่งจะมีการเสนอชื่อกรรมการชมรมซึ่งเป็นตัวแทนจากทุกเขต รวมทั้ง กทม.ด้วย และมีการสมัครสมาชิกชมรมด้วย

จากที่อาจารย์ประชุม ผลเป็นอย่างไรบ้างครับ กรรมการมีใครบ้าง และมีการดำเนินงานอย่างไรบ้างครับ ช่องทางเว็บของอาจารย์น่าจะเป็นช่องทางการประกาศข่าวสารต่างๆได้นะครับ

เรียนถามอาจารย์อีกคนครับ คืบหน้าไปถึงไหนแล้ว ใครเป็นประธานหรือเลขานุการชมรม แล้วมีการดำเนินกิจกรรมอะไรไปบ้างแล้ว

เรียน อ. ปนดา หนูกำลังเปิดแผนกใหม่ที่ หนองคาย เป็นรพ.ชุมชน หนูรบกวนขอแแบบฟอร์มโครงการจัดตั้งแผนก แบบประเมินตัวชี้วัดของแผนก และแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านด้วยนะคะ

[email protected]

ขอบคุณค่ะ

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

ตอนนี้หนูเพิ่งเริ่มทำงานกับมูลนิธิคริสเตียนเพื่อเด็กพิการ และทางมูลนิธิได้มีการจัดกลุ่มลงพื้นที่ในชุมชนเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจและการดูแลเด็กพิเศษให้กับผู้ปกครองของเด็ก พร้อมทั้งตรวจ ประเมินและรักษาทางกายภาพบำบัด ร่วมกับอนามัย (ไม่แน่ใจนะค่ะว่ากี่อนามัยที่เข้าร่วม)ของจ.นนทบุรี หนูอยากทราบว่า จะสามารถของบประมาณจาก สปสช.ในเรื่องใดได้บ้าง ถ้าได้ต้องทำอย่างไร หรืออาจารย์มีแนวทางอื่นแนะนำว่าควรดำเนินงานอย่างไร เพื่อเป็นประโยชน์ในงานชุมชนมากที่สุด ร่วมทั้งรบกวนขอเอกสารที่เกี่ยวข้องและมีความจำเป็น ในการทำงานชุมชน ขอบคุณค่ะ [email protected]

สุมาลัย คล้ายเนียม

อาจารย์คะ หนูได้รับเอกสารเรียบร้อยแล้วนะคะ ..ขอบพระคุณอ.ปนดามากค่ะ..

หวัดดีค่ะน้องๆ ชาวกายภาพบำบัดชุมชน

วันที่ 25-26 มิ.ย.2554 อาจารย์จะไปประชุมเพื่อจัดทำคู่มือกายภาพบำบัดชุมชนให้สมบูรณ์ คงได้ไปพบกับประธานชมรมกายภาพบำบัดชุมชน พี่สมคิด หรือพี่โอ และทีมงาน น้องๆ มีอะไรจะฝากไปถึงพี่โอไหมคะ

สำหรับการพัฒนาความรู้ของน้องนักกายภาพบำบัดชุม อาจารย์อยากให้พวกเราได้มีโอกาสพัฒนาความรู้ และมีโอกาสได้มาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กันบ้าง อาจารย์ก็เลยจัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้นที่โรงแรมท็อปแลนด์ จังหวัดพิษณูโลก เรื่อง Clinical Practice Guideline for Low BAck Pain จากหลักฐานเชิงประจักษ์สู่การนำไปปฏิบัติ มีหัวข้อที่หน้าสนใจหลายเรื่องเกี่ยวกับการปวดหลังส่วนล่าง โดยเสียค่าลงทะเบียน 2,000 บาท ระยเวลาการอบรม 2 วัน วันที่ 10-11 สิงหาคม 2554 น้องๆสามารถ download ใบสมัครได้ที่ www.ahs.nu.ac.th หรือถ้าอยากให้อาจารย์ส่งจ้นเรื่องไปให้ก็ให้ที่อยู่มานะคะจะส่งข้อมูลไปให้ค่ะ

สำหรับน้องๆที่ส่ง e-mail ขอเอกสารมาอาจารย์จะส่งเอกสารไปให้หลังจากเขียนบันทึกนี้เสร็จนะคะ

ปนดา

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

สวัสดีค่ะ ตอนนี้หนูกำลังทำงานรพช. ของงบ สปสช ค่ะ ซึ่งต้องเปิดแผนกใหม่และที่รพ.ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด จะต้องเริ่มต้นอย่างไรดีค่ะ รบกวนอ.ช่วยส่งแบบฟอร์มที่จำเป็นต้องมีและต้องใช้ในการเปิดแผนกใหม่และรายงานการทำงานให้กับ สปสช. รวมทั้งเอกสารที่เกี่ยวกับผู้พิการเพราะที่รพ.เน้นงานเกี่ยวกับผู้พิการเป็นหลักซึ่งหนูยังไม่มีประสบการณ์ด้านนี้ ทางเมล์ [email protected]

ขอบพระคุณมากๆค่ะ

เรียนน้องนักกายภาพบำบัดชุมชนทุกท่าน

อาจารย์ขอประชาสัมพันธ์งานประชุมวิชาการวันสหเว๙ศาสตร์ ม.นเรศวร ครบรอบ 15 ปี ซึ่งเป็นการประชุมหลายสาขาวิชา ทางด้านกายภาพบำบัดเราจัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง Evidence Based Clinical Practice Guidelines (CPG) for Low Back Pain กำหนดการอบรม วันที่ 10-11 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ โรงแรมท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก ค่าลงทะเบียน 2,000 บาทถ้วน แนวคิดในการสร้าง course นี้ขึ้นมา เพื่อกระตุ้นให้นักกายภาพบำบัดสามารถนำ CPG ในการดูแลผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างมาประยุกต์และนำสู่การนำไปปฏิบัติตามแนวทางการรักษาผู้ป่วยปวดหลังให้มากขึ้น นอกจากนี้ยังมีคู่มือการป้องกันการปวดหลังในชาวนามานำเสนอเพื่อให้นักกายภาพบำบัดชุมชนนำไปใช้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อป้องกันและรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างให้ได้ประสิทธิภาพมากขึ้น จึงขอเชิญน้องนักกายภาพบำบัดที่ต้องการเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยปวดหลัง และต้องการขยายงานบริการทางด้านนี้เข้าร่วมอบรมค่ะ ดูรายละเอียดได้ที่หน้า web ของคณะสหเวชศาสตร์ ดังนี้ http://www.ahs.nu.ac.th (ท่านสามารถ print โครงการและหนังสือเชิญถึงผอ.รพ.ได้) หรือต้องการให้อาจารย์ส่งให้ก็แจ้ง e-mail มาได้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

ได้รับข้อมูลแล้วมีประโยชน์มากๆเลยค่ะ ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ปนดาค่ะ หนูขอความช่วยเหลือค่ะขณะนี้ รพ หนูกำลังจะได้รับการประเมิน โรงพยาบาลสายใยรักระดับทอง(ซ้ำ)หนูอยากรบกวนเรื่องแนวทางการดูแลผู้ป่วยเ็ด็ก(พัฒนาการช้า)ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์ค่ะรบกวนส่งทางเมล์ [email protected] ค่ะ

อาจารย์ค่ะรบกวนส่งทางเมล์ [email protected] ค่ะ

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเพิ่งเริ่มทำงานกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ เพิ่งเปิดแผนกค่ะ ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด

อยากขอคำแนะนำและเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก แผนงาน การจัดการ การเขียนโครงการลงชุมชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ แบบฟอร์มที่จำเป็นต้องใช้ในการออกเยี่ยมบ้านผู้พิการ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง แบบประเมินความพิการ รบกวนด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

รวกวนอาจารย์ส่งเอกสารทางเมลล์ [email protected] ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

อาจารย์คะ หนูเป็นนักกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ ตอนนี้กำลังเล่นงานผู้พิการอยู่ค่ะ ออกชุมชนเกือบทุกวันแต่ที่หนูขาดคือแบบฟอร์มที่ใช้ออกเยี่ยมบ้านค่ะ หนูใช้เป็นสมุดบันทึกอยู่เวลาไปเยี่ยมซ้ำหายากมากค่ะ เลยอยากได้เป็นรายบุคคล อาจารย์คิดว่าหนูควรหาแฟ้มมาใส่เอกสารของผู้พิการแต่ละรายไหมคะ และมีการออกร่วมกับทีม แต่ตอนนี้ไม่มีฟอร์มเก็บให้ทีมเลยค่ะ อาศัยเขียนแฝงของคนอื่นตลอด และเขียนบันทึกใสสมุดงานHHC ของแผนกด้วย และหนูอยากได้ตัวอย่าง KPI ด้วยค่ะ เพื่อพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ดียิ่งขึ้นค่ะ ส่งมาที่ [email protected] ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

เรียนคุณรุจิรา

เรื่องที่น้องรุจิราปรึกษามา อาจารย์ได้นำเสนอให้อาจารย์มัทนา (อาจารย์กายภาพทางเด็ก) ช่วยให้ข้อเสนอแนะแก่คุณแล้วนะคะ รอรับคำแนะนำได้ทาง e-mail ค่ะ

ปนดา

เรียนน้องๆนักกายภาพบำบัดที่ขอเอกสารมา

อาจารย์กำลงดำเนินการให้ค่ะ หวังว่าทุกคนคงได้รับประโยชน์นะคะ

ปนดา

ธารทิพย์ หริกจันทร์

ตอนนี้หางานกายภาพบำบัดค่ะที่ไหนพอจะมีเปิดรับกรุณาบอกหน่อยนะคะ 080-2872358 ขอบคุณมากๆค่ะ

อาจารย์คะขอรบกวนขอแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับการออกเยี่ยมบ้านหรือผู้พิการ ขอแบบฟอร์มที่จำเป็นต้องใช้การออกเยี่ยมบ้านผู้พิการ เงื่อนไขที่ต้องรายงานการทำงานให้กับ สปสช. ตัวอย่างการเขียนโครงการของสปสช. ขอบพระคุณค่ะ

เรียนอาจารย์ ปนดา ที่เคารพ

หนูเป็นนักศึกษาจบใหม่ และได้เริ่มทำงานใน โรงพยาบาลชุมชน ซึ่งตอนนี้หนูได้รับมอบหมายให้เขียนโครงการเปิดแผนก และ อุปกรณืที่จะเป็นต้องใช้ และเอกสา บันทึกสถิต แบบเยี่ยมบ้าน ใบconsult ใบบันทึกคนไข้ใน ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร และไม่แน่ใจว่า ข้อมูลต่าง ถูกต้องหรือไม่ ไคร่ขอความกรุณาจากอาจาร์ยเพื่อเป็นแนวทางคะ ขอบพระคุณมากๆ คะ [email protected]

อาจารย์ค่ะตอนนี้หนูได้เปิดแผนกใหม่ในโรงพยาบาลชุมชนค่ะแต่ไม่ทราบว่าแบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด จะเหมือนกับโรงพยาบาลทั่วไปหรือไม่ จึงรบกวนอาจารย์ช่วยส่งเอกสารดังกล่าวมาเพื่อเป็นแนวทางค่ะและขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านหรือผู้พิการด้วยค่ะ [email protected] หรือ [email protected] ขอบพระคุณค่ะ

เรียนคุณธารทิพย์

อยากทราบว่าอยากได้งาน zone ไหนของประเทศไทย หรือบอกเป็นจังหวัดมาก็ได้ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมหน่อยก็จะดีนะคะ

ปนดา

เรียนทุกท่าน

เอกสารจะรีบส่งไปให้นะคะ อีกไม่นานเราก็จะมีคู่มือการปฏิบัติงานนักกายภาพบำบัดชุมชนแล้วนะคะ อดใจรอไปอีกนิดนะคะ

ปนดา

เพิ่งเริ่มงาน pt ชุมชนค่ะ ตอนนี้จึงไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก่อนดีค่ะ จึงรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องการขอเครื่องมือทางกายภาพ การฟื้นฟูผู้พิการ หรือการออกเยี่ยมบ้านชุมชนพร้อมขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านด้วยค่ะ หากอาจารย์ พี่ๆ และเพื่อนๆ พอมี ช่วยรบกวนส่งให้หนูด้วย น่ะค่ะทาง

Email [email protected] ......... ขอบคุณมากค่ะ

เรียนเรียนอาจารย์ ปนดา ที่เคารพ

ขอเพิ่มเติมนะคะ ตอนนี้หนูเพิ่งเริ่มทำงานชุมชนค่ะตามที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว จึงยังไม่ร็ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดีเกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ได้แก่ บันทึกข้อมูลผู้ป่วยใน ใบ consult และเอกสารที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว รบกวนอาจารย์ส่งเอกสารดังกล่าวมาเพื่อเป็นแนวทางค่ะ Email [email protected] ......... ขอบคุณมากค่ะ

เรียนทุกท่าน

มีข่าวจากอ.กานดา ชัยภิญโญ ค่ะ

ขอให้นักกายภาพบำบัดที่เริ่มเข้าทำงานใน

โรงพยาบาลชุมชนในปีนี้รายงานตัวที่ อ.กานดา Email: [email protected]

โดยด่วนภายในวันที่ 5 กค 54 นี้

เพื่อจะได้ส่งหนังสือเชิญเข้าร่วมโครงการปฐมนิเทศน์นักกายภาพบำบัดชุมชนใหม่

ขอชื่อสกุล โทรศัพท์ และอีเมล์

ชื่อโรงพยาบาล+ที่อยู่ทางไปรษณีย์ของโรงพยาบาล วันที่เริ่มเข้าทำงาน

เพื่อจะได้นักกายภาพบำบัดใหม่ครบทุกคนเข้าร่วมงานค่ะ

ปนดา

เรียน อ.ปณดา ที่เคารพ

ตอนนี้ได้เปิดแผนกใหม่ในโรงพยาบาลชุมชนขนาด 10 เตียงค่ะและอยากเขียนโครงการเปิดแผนก และ อุปกรณืที่จำเป็นจะเป็นต้องใช้ และขอโครงการออกเยี่ยมคนพิการเชิงรุกค่ะ จึงรบกวนอาจารย์ช่วยส่งเอกสารดังกล่าวมาเพื่อเป็นแนวทางค่ะ มาทาง e-mail นี้นะคะ [email protected].... ขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าค่ะ

อยากทราบข้อมูลการ จ่าย Support ให้กับคนไข้ค่ะ ว่าคนไข้ UC มีสิทธิ์ได้รับSupport ชนิดใดบ้าง โดยไม่ต้องจ่ายเงินเอง แล้วถ้าทางโรงพยาบาลจ่าย สามารถคีย์เงินคืนจาก สปสช ได้หรือเปล่าค่ะ ใครมีข้อมูลรบกวนหน่อยนะค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

เรียนอาจารย์ ปณดา

เนื่องจากตอนนี้หนูได้รับหมอบหมายให้ไปประจำที่ รพสต. แต่หนูยังสอบใบประกอบโรคศิลป์ไม่ผ่าน หนูอยากทราบขอบเขตงานและแนวทางงานกายภาพบำบัดในชุมชนที่หนูสามารถปฎิบัติได้ และแนวทางการเขียนขอเครื่องมือต่างๆค่ะจึงรบกวนอาจารย์ช่วยส่งเอกสารดังกล่าวมาเพื่อเป็นแนวทางค่ะ มาทาง e-mail นี้[email protected]

ขอขอบพระคุณอาจารย์ล่วงหน้าด้วยนะค่ะ

หนูอยากเขียนโครงการเปิดแผนก และ อุปกรณ์ที่จำเป็นจะเป็นต้องใช้ และขอโครงการออกเยี่ยมคนพิการเชิงรุกค่ะ จึงรบกวนอาจารย์ เพื่อนๆ หรือพี่ๆ ช่วยส่งเอกสารดังกล่าวมาเพื่อเป็นแนวทางค่ะ มาทาง e-mail นี้นะคะ [email protected] ขอบคุณค่ะ

เราจะทราบได้อย่างไรค่ะว่า รพ.ชุมชนไหนต้องการเปิดแผนกกายภาพบำบัด

ต้องติดต่ออย่างไร เพราะเห็นบางรพ.ในจ.กาญจน์ ผู้ป่วยด้านนี้แยะ แต่ยังไม่มีกายภาพแผ่หลาย

และมีรพ.สต.หลายแห่ง ptแยะเหมือนกันที่มีปัญหาด้านorth. แต่ก็ได้ยามากินเท่านั้น

อาจารย์คะตอนนี้เรื่องอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัดในสถานบริการสาธารณสุข ได้มีการกำหนดราคากลางไว้เป็นมาตรฐานไหมคะ? แล้วสามารถหาข้อมูลเรื่องอัตราค่าบริการทางกายภาพบำบัดที่สามารถจะใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในการทำเรื่องขออนุมัติการกำหนดค่าบริการการรักษาทางกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล ได้จากที่ไหนบ้างคะ ? รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำหน่อยนะคะ e-mail : [email protected]

ขอบพระคุณมากคะอาจารย์

เรียน อาจารย์ ปนดา เตชทรัพย์อมร

หนูเป็นนักศึกษาจบใหม่ ขณะนี้มาเปิดแผนกที่ รพช. ขนาด 30 เตียง มีปัญหาไม่รู้ว่าจะเริ่มทำโครงการต่างๆอย่างไร อันได้แก่ งานออกเยี่ยมบ้าน ต้องมีเอกสารหรืออุปกรณ์อะไรบ้างที่จำเป็น งานสั่งจ่ายอุปกรณ์เสริม อยากขอตัวอย่างโครงการสั่งซื้อ และขอคำแนะนำเกี่ยวกับการทำงานด้วยค่ะ รบกวนช่วยส่งข้อมูลที่จำเป็นและคำปรึกษาที่ e-mail : [email protected] ขอขอบคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงค่ะ

คู่มือการปฏิบัติงานนักกายภาพบำบัดชุมชน ดีจังค่ะ จะได้เมื่อไหร่คะ แล้ว วันที่จัด อบรม 7-9 กย นี้ ถ้าไปไม่ได้ อ่ะคะ อาจารย์

ขอรบกวนอาจารย์ อีกเร่องด้วยค่ะ ขอเอกสาร การเบิกเงิน กรณี ลงชุมชนด้วยค่ะ

อาจารย์ค่ะ พอดีหนูเพิ่งทราบข่าวเรื่องการแจ้งการทำงานเป็นนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชน ไม่ทราบว่าหนูจะรบกวนขอเอสารคู่มือการปฏิบัติงานในชุมชน ได้หรือไม่ค่ะ และถ้ารับเอกสารได้หนูต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ

ขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

เรียนอาจารย์ ปนดา ที่เคารพ

และสวัสดีค่ะพี่น้องกายภาพบำบัดชุมชนทุกท่าน

เรียนขอความช่วยเหลือ คำแนะนำจากอาจารย์ค่ะ ตอนนี้พึ่งเข้าทำงานเป็นนักกายภาพบำบัด ใน รพสต.

พอดีผอ.รพ.ให้เขียนแผนเกี่ยวกับการเยี่ยมบ้าน แต่หนูยังขาดประสบการณ์ในการทำงานกายภาพบำบัดด้านชุมชนอยู่

รบกวนอาจารย์ และ พี่น้อง PT ทุกท่าน แนะแนวทาง และขอเอกสาร แบบฟอร์มที่ใช้ในการเยี่ยมบ้านของ PT และ ของ อสม. แบบฟอร์มในการตรวจประเมินคนพิการ เอกสารโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการในชุมชน

และเอกสาร SERVICE PROFILE ของงานกายภาพบำบัด [email protected]

ขอขอบพระคุณท่านอาจารย์ ปนดา

ขอบพระคุณมากนะคะอาจารย์ปนดา

สวัสดีค่ะ พอดีแวะเข้ามาอ่านข้อมูล เห็นว่ามีความน่าสนใจมาก เนื่องจากตัวเองก็เป็นนักกายภาพบำบัดชุมชนเช่นกันแต่ยังทำงานในชุมชนไม่เต็มตัว ตอนนี้อยากทำงานในชุมชนอย่างเต็มที่ และต้องการความช่วยเหลือในเรื่องแบบฟอร์มการสำรวจผู้พิการและการทำโครงการเยี่ยมบ้าน ถ้าเพี่อนๆ พี่ๆ และน้องๆคนไหนพอมีเอกสารช่วยส่งมาให้ด้วยนะค่ะ จะขอบคุณมากค่ะ

ส่งมาที่ [email protected] งานกายภาพบำบัด

เพื่อทุกชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อโลกของเรา

หนูเพิ่งเริ่มงานกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ ตอนนี้จึงไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก่อนดีค่ะ จึงรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องการขอเครื่องมือทางกายภาพ การฟื้นฟูผู้พิการ หรือการออกเยี่ยมบ้านชุมชนพร้อมขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านด้วยค่ะ หากอาจารย์ พี่ๆ และเพื่อนๆ พอมี ช่วยรบกวนส่งให้หนูด้วยนะคะที่

Email [email protected] ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ดา หนูเป็นนัำกกายภาพบำบัดชุมชนที่เพิ่งมาเปิดแผนก ได้เข้ามาปฐมนิเทศกายภาพบำบัดชุมชนปี 54 ค่ะ หนูรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่ดีมาก และอยากจะให้จัดโครงการดีๆแบบนี้ทุกปีค่ะ เพราะหนูเข้าใจว่าน้องๆที่เพิ่งจบใหม่มาทำงานกายภาพบำบัดชุมชน ต้องมาเปิดแผนกนั้นจะมีความกลัวแล้วก็ความกังวลมากค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์ทุกคน สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย และ สปสช ผู้สนับสนุนโครงการให้เกิดขึ้นนะค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูกำลังจะเริ่มงานกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก่อนดีค่ะ ขอความกรุณาจากอาจารย์ พี่ๆ น้องๆ เกี่ยวกับตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและการขอเครื่องมือทางกายภาพ การชี้วัดผลของการทำงาน การฟื้นฟูผู้พิการ หรือการออกเยี่ยมบ้าน หากอาจารย์ พี่ๆ และเพื่อนๆ พอมี ช่วยรบกวนส่งให้หนูด้วยนะคะที่

Email [email protected] ขอบคุณมากค่ะ

เสนอรองเท้าผู้ป่วยเบาหวาน

เราได้เป็นผู้ผลิตรองเท้าผู้ป่วยโรคเบาหวานให้หลายโรงพยาบาลเช่น โรงพยาบาลภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ

สนใจสอบถามรายละเอียดได้ค่ะ

คุณคำไมล์ 0823376735

ปิยพร กภ. สหัสขันธ์ กาฬสินธุ์

อยู่ดีๆ จะสิ้นปีงบ PCT เค้าก็ให้เขียนแผนปฏิบัติการอ่ะค่ะ เลยงงว่าต้องเริ่มตรงไหนอยากสอบถามผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ค่ะ

พอจะมีแบบฟอร์มบ้างมั้ยคะ เดี๋ยวจะพยายามคิดเองค่ะ

ขอบคุณค่ะ

กราบเรียนอ. ขอเรียนถามอ.ค่ะคือแนวทางการsceen caseเพื่อมิให้เกิดความเสี่ยงต่อคนไข้ ขอแนวทางการsceen เเล้วการรับผู้ป่วยโดยตรงไม่ผ่านจุดscreen มารับบริการที่แผนกเลย อ. คิดว่าไงค่ะ คือระบบตอนนี้ ผู้ป่วยเดินมาหาเราโดยตรงได้เลย ไม่ผ่านOPD + Dr. อีกประเด็น case ที่ไม่มีประวัติการรักษาไม่เคยมารับบริการ รพ. และประสงค์แค่ต้องการกายภาพบำบัด เช่นนี้เราสามารถรับผู้ป่วยได้เลย อ. คิดว่าอย่างไรค่ะ ระบบที่ทำไม่ดี้เท่าไหร่หรือค่ะ ขอทางออกค่ะ อ. เเต่จากการปกิบัติงานยังไม่มีอุบัติการณ์ที่ผู้ป่วยมามีปัญหาที่เรา

สวัสดีคะอาจารย์

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดโรงพยาบาลสามโคก จ.ปทุมธานี เป็นรพช. ขนาด 30 เตียง

มีความสนใจอยากได้สื่อและเทคนิคการเลิกบุหรี่ทางกายภาพบำบัดมากเลยค่ะ ขอความกรุณา จัดส่งถึง

นางสาวสุภาวดี ศรีชุม

งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลสามโคก

83 ม.6 ต.บ้านปทุม อ.สามโคก จ.ปทุมธานี 12160

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

เรียนอาจารย์ ปนดา ที่เคารพ

หนูเป็นนักกายภาพบำบัดและพึ่งได้ได้เริ่มทำงานในโรงพยาบาลชุมชน ซึ่งตอนนี้หนูได้รับมอบหมายงานให้เขียนโครงการเปิดแผนกกายภาพบำบัดในโรงพยาบาล และ อุปกรณ์ที่จะเป็นต้องใช้และอยากทร่าบว่าการเปิดแผนกในโรงพยาบาลกับคลินิกระเบียบการเหมือนกันไหมค่ะตามกฎกระทรวงสาธารณะสุข และเอกสาร แบบเยี่ยมบ้าน ใบconsult ใบบันทึกคนไข้ใน ตอนนี้ไม่รู้ว่าจะเริ่มอย่างไร และไม่แน่ใจว่า ว่าต้องเริมอะไรก่อนจึงขอความกรุณาจากอาจารย์เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติค่ะ ขอบพระคุณมากๆอาจารย์มากกค่ะ [email protected]

เรียนอ.ดา

หนูเป็น ศิษย์เก่า กายภาพบำบัด มน.รุ่น5 ค่ะ อยากรบกวนขอความคิดเห็นเคส ให้หน่อยค่ะ

....ชายไทยยกขอหนักในลักษณะบิดไปทางซ้าย ปวดหลังร้าวลงหน้าขาขวาถึงน่องขวาร่วมกับมีอาการชา นอนหงายและนอนคว่ำไม่ได้ ทำกายภาพมา 10 ครั้งอาการปวดหลังดีขึ้นปวดร้าวและชาลดลง

จนเมื่อ3วันที่ผ่านมาหลังทำกายภาพก็กลับไปทำงานปกติ ปวดร้าวน้อยลง แต่พอตอนนอนมีอาการปวดร้าวมากขึ้น นอนไม่หลับ ผู้ป่วยยังทำงานทุกวันในลักษณะนั่งเอื้อมซ้ายขวาสุดแขนตลอดทั้งวัน

Agg. ยืนนานๆ เดินนานๆ Ease. นั่งพัก

พบ tender point at Rt.L3/4-L4/5

Limit ROM trunk E>F with refer pain ton Rt.leg เอียงตัวไม่มีปัญหา

SLR test + 35 degree

ได้รับการรักษาโดย US, PTR 30 Kg.(นน.ตัว65 kg.) และ Hot pack

ตอนแรกก็ตอบสนองการรักษาดีนะ แต่พอครั้งที่ 6-7 เริ่มอาการคงที่ และพอครั้งที่9-10 เริ่มมีอาการปวดร้าวมากเมื่อตอนนอน

แพทย์ Ortho ให้ทำกายภาพต่อ

รบกานอาจารย์ตอบหน่อยค่ะ ทางเมลก็ได้ค่ะ [email protected]

สวัสดีค่ะ หนูต้องการความช่วยเหลือค่ะ คือว่าตอนนี้หนูเพิ่งเริ่มงานกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ จึงไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก่อนดีค่ะ จึงรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องการขอเครื่องมือทางกายภาพ การฟื้นฟูผู้พิการ หรือการออกเยี่ยมบ้านชุมชนพร้อมขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านด้วยค่ะ หากอาจารย์ พี่ๆ และเพื่อนๆ พอมี ช่วยรบกวนส่งให้หนูด้วยนะคะที่

Email [email protected] ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูต้องการความช่วยเหลือค่ะ คือว่าตอนนี้หนูเพิ่งเริ่มงานกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ จึงไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก่อนดีค่ะ จึงรบกวนขอตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและโครงการต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องการขอเครื่องมือทางกายภาพ การฟื้นฟูผู้พิการ หรือการออกเยี่ยมบ้านชุมชนพร้อมขอแบบฟอร์มการออกเยี่ยมบ้านด้วยค่ะ หากอาจารย์ พี่ๆ และเพื่อนๆ พอมี ช่วยรบกวนส่งให้หนูด้วยนะคะที่

Email [email protected] ขอบคุณมากค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเป็นนักกายภาพบำบัดและได้รับมอบหมายให้ดูแลคนไข้เบาหวานและการให้ออกกำลังกายในผู้ป่วยกลุ่มนี้  แต่มีปัญหาว่าหนู่จะประเมินได้อย่าไรว่าคนไข้หนูมีสุภาพที่ดีขึ้น หนูจึงอยากปรึกษาว่ามีใครทำบ้าง มีข้อมูลอะไรบ้างที่เราต้องเก็บคะ

อยากได้ข้อมูลต่างๆ คะ มีใครทราบบ้างคะว่ามีตัวชี้วัดอะไรบ้าง ช่าวส่งข้อมูลให้หน่อยนะคะ ขอบคุณคะ

e mail :[email protected]

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเป็นนักกายภาพบำบัดและได้รับมอบหมายให้ดูแลคนไข้เบาหวานและการให้ออกกำลังกายในผู้ป่วยกลุ่มนี้  แต่มีปัญหาว่าหนู่จะประเมินได้อย่าไรว่าคนไข้หนูมีสุภาพที่ดีขึ้น หนูจึงอยากปรึกษาว่ามีใครทำบ้าง มีข้อมูลอะไรบ้างที่เราต้องเก็บคะ

อยากได้ข้อมูลต่างๆ คะ มีใครทราบบ้างคะว่ามีตัวชี้วัดอะไรบ้าง ช่าวส่งข้อมูลให้หน่อยนะคะ ขอบคุณคะ

e mail :[email protected]

สวัสดีคะอาจารย์ หนูเป็นนักกายภาพบำบัดและได้รับมอบหมายให้ดูแลคนไข้เบาหวานและการให้ออกกำลังกายในผู้ป่วยกลุ่มนี้  แต่มีปัญหาว่าหนู่จะประเมินได้อย่าไรว่าคนไข้หนูมีสุภาพที่ดีขึ้น หนูจึงอยากปรึกษาว่ามีใครทำบ้าง มีข้อมูลอะไรบ้างที่เราต้องเก็บคะ

อยากได้ข้อมูลต่างๆ คะ มีใครทราบบ้างคะว่ามีตัวชี้วัดอะไรบ้าง ช่าวส่งข้อมูลให้หน่อยนะคะ ขอบคุณคะ

e mail :[email protected]

อยากได้บันทึกข้อความขอเปิดแผนกนอกเวลาราชการหรือเสาร์อาทิตย์ครับ

เรียนอ.ปณดา

ผมได้ติดตามความคิดเห็นของ blog อาจารย์ มานานครับ ดีใจครับที่ตรงนี้ทำให้กายภาพบำบัดชุมชนได้มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน ผมเป็นรุ่นบุกเบิกของทีมไม้เลื้อยกับ อ.สมคิด ซึ่งร่วมทำงานกายภาพบำบัดชุมชนมาด้วยกันครับ การที่วิชาชีพเราเติบโตมาได้เร็วเป็นเพราะรูปแบบการทำงานของเราและการปลูกฝั่งหัวใจของความเป็นมนุษย์ตั้งแต่อยู่ในมหาวิทยาลัยครับ และที่สำคัญคือ การที่สมาคมและสภาช่วยกันผลักดันให้เกิด ผมมีข้อเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้นะครับ

1.เราจะต้องมีมาตรฐานกายภาพบำบัดใน รพช. เช่น ต้องมี PT 2 คน แล้วแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 งาน คืองานคลิกนิคและงานชุมชน เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการทำงาน ส่วนที่ใดจะมีมากกว่านี้ก็ขึ้นอยู่กับบริบทของ รพ.ครับ แต่มาตรฐานคือ 2 คน ตรงนี้ต้องผลักดันเป็นอย่างมากครับ

2. มาตรฐานของเครื่องมือ คือ รพช.ต้องมีเครื่องมือทางกายภาพบำบัดอย่างน้อย 3 เครื่องมือ ได้แก่ US (combine) hot pack และ traction ส่วนเครื่องมืออื่นๆ เช่น EB Support ต่างๆ ก็แล้วแต่บริบทเช่นกัน ซึ่งผมก็เคยเห็นมาตรฐานของกายภาพบำบัดไม่แน่ใจว่าเป็นของสภาหรือสมาคมหรือเปล่าครับ

3.สปสช.สนับสนุนให้เกิดการกระจาย PT ไปยัง รพช.มากขึ้น ฉะนั้นทางมหาวิทยาลัยจำเป็นที่จะต้องผลิต PT ให้สอดคล้องกับงานชุมชนเพิ่มมากขึ้น และผมเสนอให้เกิดการเรียนหลักสูตรระยะสั้นก่อนการทำงานที่ รพช.โดยถ้าเป็นไปได้ก็อยากให้มีศูนย์การเรียนรู้จังหวัดละ 1 แห่งโดยให้พี่ PT เป็นพี่เลี้ยง ซึ่งผมก็คิดว่าหลายจังหวัดได้เริ่มทำไปแล้ว และน่าจะมีใบรับรองจากสภาว่าได้ผ่านการอบรมมาแล้วครับ ซึ่งเป็นใบเบิกทางที่ดีสำหรับน้องๆจบใหม่ ตรงนี้ทางสภาหรือสมาคมต้องให้การสนับสนุนครับ

4.ผลักดันให้มี อาจารย์พิเศษกายภาพบำบัดชุมชน นั้นก็คือ PT ที่อยู่ใน รพช.โดยการอบรมและพัฒนาศักยภาพขึ้นมา เพราะ PT ชุมชนเขามีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว ซึ่งตรงนี้ก็จะนำไปสู่การเป็นศูนย์การเรียนหลักสูตรระยะสั้นต่อไป โดยการรับรองจากสภาว่าเป็นอาจารย์พิเศษทางกายภาพบำบัดชุมชน

ตรงนี้เป็นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นครับอาจารย์ ยังไงก็ต้องช่วยกันผลักดันกันต่อไปครับ ขอบคุญครับ

กภ.จินตหรา บุญน้อย

เรียน อาจารย์ ตอนนี้หนูทำงานที่ รพช. แห่งหนึ่งได้ จะ 10 เดือนแล้ว เป็นลุยงานเปิดแผนกใหม่ เครื่องมือทางกายภาพบำบัดยังไม่มี แต่ก็สามารถรักษาคนไข้ OPD IPD จนจำหน่ายได้หลายราย และลุยงานชุมชนไปด้วย ยอมรับว่าทำงาน PT คนเดียวเหนื่อยมากค่ะ เช้าไปชุมชนบ่าย มีเคส IPD หรือ OPD งานคลิกพิเศษอื่นบ้าง แต่ก็พยายามอดทนและทำให้งานกายภาพบำบัดเป้นที่รู้จักและยอมรับสำหรับพื้นที่แห่งนี้ จนคนไข้ให้ความนับถือ แต่เหตุผลด้วยการจัดการบริหารเรื่องงบของผู้ใหญ่ และเป็น รพช ที่กันดารห่างไกลความจเริญมากๆของจังหวัด จึงเข้าใจว่ามีงบสนับสนุนน้อย และขณะนี้ หนูกำลังจะทำโครงการสร้างกายอุปกรณ์ที่สามารถฝึกผู้ป่วยได้ ที่กล่าวมาทั้งหมด หนูขอปรึกษาอาจารย์ค่ะว่า

1. สามารถผลิตกายอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัดที่ทำจากไม้ชนิดใดได้บ้างค่ะ

2. ขอ Clinical Practice Guideline for Low BAck Pain ด้วยนะค่ะอาจารย์

[email protected] ขอขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

อ.ค่ะหนูเป็นนักายภาพอยู่แถวภาคใต้ค่ะหนูอยากได้ เอกสารและรายละเอียดเกี่ยวกับการออกชุมชนและค่าตอบแทนในการเยี่ยมบ้านผู้พิการ เพราะตอนนี้ ออกเยี่ยม HHC แต่ไม่ได้รับค่าตอบแทนเยี่ยมบ้านค่ะ ขอบคุณอ.มากค่ะ

สำหรับผู้ที่ขอเอกสารมา อยากให้แจ้งที่อยู่ด้วยได้ไหมคะ เพราะจะส่ง CD คู่มือการปฏิบัติงานนักกายภาพบำบัดชุมชนไปให้ จริง ๆ แล้วคู่มือนี้ทำเสร็จแล้ว แต่กำลังอยู่ในระหว่างการเผยแพร่ แต่ถ้าน้อง ๆ ต้องการด่วนต้องให้ที่อยู่ที่จะจัดส่งเป็น CD ให้ค่ะ ให้ e-mail ไว้ด้วยก็ยิ่งดีค่ะ จะรีบจัดส่งไปให้นะคะ

ปนดา

ขอแลกเปลี่ยนกับคุณอัฏฐพร นะคะ ขอบคุณที่คุณคอยติดตามเข้ามาแลกเปลี่ยนใน blog นี้นะคะ สิ่งที่คุณเสนอแนะมาเป็นเรื่องดี ๆทั้งนั้น และตรงกับสิ่งที่สภาฯ และสมาคมกำลังจะทำ ขอเล่าว่า เมื่อวันที่ 17-18 มีนาคม ที่ผ่านมา สภาจัดอบรมผู้ตรวจเยี่ยมหน่วยงานกายภาพบำบัด ในโรงพยาบาล ตามเกณฑ์มาตรฐานการบริการกายภาพบำบัด ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งประกาศเป็นราชกิจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว เราเชื่อว่ากระบวนการตรวจเยี่ยมจะเป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้ข้อมูลข้อเสนอแนะแก่ผู้บริหารโรงพยาบาลในการพัฒนางานกายภาพบำบัดให้ได้มาตรฐาน เช่น เรื่องมาตรฐานทั่วไปซึ่งจะครอบคลุมเรื่องพื้นที่ในการทำงาน เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ระบบการให้บริการกายภาพบำบัด ความเพียงพอของนักกายภาพบำบัดเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วย เป็นต้น

การเตรียมความพร้อมของโรงพยาบาลในการขอรับการตรวจเยี่ยม อาจจะต้องมีโค้ชหรือผู้ที่เข้าใจเกณฑ์มาตรฐานในเขตของตนเองเป็นผู้ให้คำแนะนำ (ส่วนใหญ่จะเป็นพี่ๆที่ทำงานในรพ.แม่ข่าย)

ส่วนเรื่องหลักสูตรระยะสั้นในการเตรียมความพร้อมนักกายภาพบำบัด ทางสมาคมจะมีโครงการปฐมนิเทศให้อยู่แล้ว น้อง ๆ คงต้องรอว่าเขาจะจัดเมื่อไร จะได้สมัครเข้ารับข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ในการเริ่มต้นงานค่ะ

ส่วนหลักสูตรระยะสั้นอื่น ๆ และหลักสูตรผู้เชี่ยวชาญทางด้านกายภาพบำบัดชุมชน เราจะเริ่มมีการประชุมกันในวันที่ 20 เมษายน 2555 หากน้อง ๆ มีข้อเสนอแนะอะไรดี ๆ ก็เขียนบอกกันได้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

ปนดา

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูกำลังจะเริ่มงานกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก่อนดีค่ะ ขอความกรุณาจากอาจารย์ เกี่ยวกับตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและการขอเครื่องมือทางกายภาพ การชี้วัดผลของการทำงาน การฟื้นฟูผู้พิการ หรือการออกเยี่ยมบ้าน หรือเอกสารที่ต่างๆ ช่วยรบกวนส่งให้หนูด้วยนะคะที่

Email [email protected] ที่อยู่ 121 ม.3 ต.โคกภู อ ภูพาน จ สกลนคร 47180 ขอบพระคุณมากค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูทำงานกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงค่ะ รบกวนอาจารย์ขอเอกสารที่จำเป็นต่างๆและตัวชึ้วัด ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

[email protected]

ที่อยู่ :

กาญจนา อาแว รพ.เกาะยาวชัยพัฒน์ ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา 82160

สวัสดีค่ะ หนูทำงานกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงค่ะ รบกวนอาจารย์ขอเอกสารที่จำเป็นต่างๆและตัวชึ้วัด ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

[email protected]

ที่อยู่ :

กาญจนา อาแว รพ.เกาะยาวชัยพัฒน์

53/2 หมู่ 2 ต.เกาะยาวน้อย อ.เกาะยาว จ.พังงา 82160

รบกวนขอ คู่มือการปฏิบัติงานนักกายภาพบำบัดชุมชน ด้วยนะคะ งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลศรีบรรพต ต.เขาย่า อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง 93190

e-mail : [email protected]

เรียนกภ.วารุณี, กภ.กาญจนา อาแว, กภ.นงลักษณ์ อาจารย์ส่งคู่มือการปฏิบัติงานกายภาพบำบัดชุมชนให้คุณแล้ว กรุณารอรับทางไปรษณีย์ค่ะ

ขอบคุณที่เข้าเยี่ยม blog นี้นะคะ

ถ้ามีเรื่องอะไรก็เข้ามา post ข้อมูลนะคะ ปนดา

เรียนนักกายภาพบำบัดท่านอื่น ๆที่ไม่ได้ให้ชื่อขสกุล และที่อยู่ในการจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ อาจารย์ได้ส่งข้อความขอที่อยู่ไปยัง e-mail address ที่คุณให้ไว้แล้ว กรุณาแจ้งชื่อขที่อยู่มาให้อาจารย์ทาง e-mail ของอาจารย์ด้วยค่ะ จะได้รีบจัดส่งคู่มือไปให้ และสำหรับน้องนักกายภาพบำบัดที่กำลังเริ่มงานกายภาพบำบัดในรพช. ถ้าต้องการขอข้อมูลต่างๆ กรุณาให้ e-mail address, ที่อยู่ทางไปรษณ๊ย์ อ้อ อย่าลืมแจ้งชื่อและนามสกุล ด้วยค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ ปนดา

กภ.ธนิน พงศ์ถนอมศักดิ์

สวัสดีครับอาจารย์ ผมกำลังจะเริ่มงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนครับ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรก่อนดี ขอความกรุณาจากอาจารย์ เกี่ยวกับตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและการขอเครื่องมือทางกายภาพ การชี้วัดผลของการทำงาน การฟื้นฟูผู้พิการ หรือการออกเยี่ยมบ้าน หรือเอกสารที่ต่างๆ ขอความกรุณาช่วยส่งมาที่

Email [email protected] ที่อยู่ 203 ม.4 ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี 84130 ขอบพระคุณมากครับ

กภ.ธนิน พงศ์ถนอมศักดิ์

อาจารย์ครับ คือว่า ผมไม่มีแบบฟอร์มที่ใช้ในการประเมินคนไข้ในโรงพยาบาลและในชุมชนหนะครับ ผมนึกภาพไม่ออกเลยครับ ไม่รู้จะออกแบบแบบฟอร์มยังไงดี ผมขอรบกวนช่วยส่งตัวอย่างแบบฟอร์มให้ผมหน่อยจะได้ไหมครับ หรือถ้ามีเป็นคู่มือการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องจะขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ

E-mail [email protected] ถ้าเป็นเอกสารส่งมาที่ นายธนิน พงศ์ถนอมศักดิ์ 203 ม.4 ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี 84130

จะรีบส่งให้ภายในสัปดาห็หน้านะคะ ขอให้สนุกกับการทำงานนะคะ

ปนดา

กภ.ธนิน พงศ์ถนอมศักดิ์

ผมได้รับแล้วนะครับอาจารย์

ขอบพระคุณอย่างสูงครับ

กภ. วรัสยาพร พงศธรไชยภัทร์

ขอความคิดเห็น จาก นักกายภาพบำบัด ในระดับ ปฐมภูมิ และ ระดับ ทุติยภูมิ ทุกท่าน ค่ะ...

ตอนนี้ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้ ให้ วิชาชีพเรา ทำ service plan  

ร่วมกัน ปรับปรุง จัดทำ ร่างแนวทางการพัฒนาระบบบริการงานกายภาพบำบัด  และ มาตราฐานระบบงาน ในทุก ระดับ ตั้งแต่ ทุติยภูมิ ขึ้นไป   แต่เราทำเผื่อ ปฐม๓ฒิ ด้วยค่ะ


 ในส่วน  ที่สน ทำ คือ  รวบรวม ข้อมูลในส่วน ระดับ ทุติยภูมิค่ะ

  1. อยากได้ ความคิดเห็น จากนักกายภาพบำบัด ที่ทำงาน รพช. และ จาด อ. ปนดา ด้วย ค่ะ ถ้า ในส่วน งาน กายภาพบำบัดชุมชน ควรมีมาตราฐานอะไรบ้าง ที่ ...... โดยดูอ้างอิง จากมาตราฐานกายภาพ ฉบับเดิม ค่ะ
 1.1  มีความแตกต่างจาก ระดับ ตติยภูมิ
 1.2  มีความแตกต่าง หรือ จำเพาะ ที่เป็นงานของเรา ที่ต่างจากวิชาชีพอื่น 

ถ้าใครสนใจ ข้อมูล ติดต่อกลับ มาได้ค่ะ จะได้ส่ง file ตัวอย่างให้ดูค่ะ

ช่วยๆกันนะคะ เพราะ นี่จะเป็น มาตราฐาน ของวิชาชีพ ในส่วน ของ รพช. ค่ะ

[email protected]

ขอบคุณ อ. ปนดา มากค่ะ สำหรับ CD ข้อมูลที่ส่งมาได้รับเรียบร้อยแล้วนะคะ มีประโยชน์ต่อแนวทางในการทำงานชุมชนมากค่ะ

อ.ปนดา คะ

รบกวนขอ cd ที่มีมีเนื้อหาเกี่ยวกับงานกายภาพบำบัดชุมชน ด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

รบกวนคุณวรัสยาพร ช่วยส่งที่อยู่ทางไปรษณีย์ให้ด้วยค่ะ

ปนดา

แผนกกายภาพบำบัด รพ.บางแพ 124 ม. 8 ต. วังเย็น อ.บางแพ จ. ราชบุรี 70160

ขอบคุณมากๆค่ะ อ. ปนดา

เรียนสอบถาม อ.ปนดา ครับ ขออนุญาติถามนอกเรื่องนะครับ (ไม่เกี่ยวกับกายภาพบำบัดชุมชน) อยากทราบครับว่า แผนการเปิดการเรียนกายภาพบำบัด หลักสูตรปริญญาโท จะเปิดรับสมัครในปีการศึกษา 2556 ไหมครับ

ขอบคุณครับ

เรียน อ.ปนดา และนักกายภาพบำบัดทุกท่าน ต้องการสอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการเบิกจ่ายอุปกรณ์จำพวก support และเครื่องช่วยเดินต่างๆค่ะ ไม่ทราบว่าอะไรที่เราสามารถจ่ายให้ผู้ป่วยได้บ้าง และทาง รพ.จะสามารถคีย์ข้อมูลในการเบิกจ่ายเพื่อรับเงินคืนได้จากหน่วยงานใด โดยทางไหนบ้างค่ะ ขอบคุณค่ะ

เรียนคุณธรรมรัฐ ภาควิชากายภาพบำบัด คณะสหเวชศาสตร์ ม.นเรศวร จ.พิษณุโลก จะเปิดหลักสูตรกายภาพบำบัด ป.โท ในปี 2556 นี้ค่ะ และคาดว่าน่าจะเป็นการเรียนการสอนวันเสาร์ขอาทิตย์ด้วย

ขอบคุณค่ะ ปนดา

เรียนคูณWarunee เรื่องการเบิกจ่ายอุปกรณ์ support เครื่องช่วยเดิน นักกายภาพบำบัดสามารถเข้าไปคีย์ข้อมูลเบิกกับสปสช. ได้ ลองสอบถามคนที่ดูแลการคีย์ข้อมูลของรพ. หรือถ้าจะให้ดี โทรไปถามพี่กิตติ สมบรรดา ที่รพ.เขื่องใน จ.อุบลราชธานี ได้นะคะ

ขอบคุณค่ะ ปนดา

ได้รับ CD จาก อ. แล้วค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ อ.

ตอนนี้หนูเพิ่มเริ่มทำงานศูนย์บริการสาธารณสุขและรับผิดชอบงานส่วนใหญ่ด้านการเยี่ยมบ้าน ออกชุมชน จึงอยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องเอกสารที่จำเป็นในงานกายภาพบำบัดชุมชน พร้อมแผนงานด้วยนะคะ ขอบคุณอาจารย์มากคะ

ถ้าอาจารย์มีตัวอย่างแบบฟร์อมบันทึกผู้ป่วยก็รบกวนขอดูตัวอย่างด้วยค่ะ

ขอบคุณค่ะ [email protected]

หนูขอสมัครเป็นสมาชิกกายภาพบำบัดชุมชนด้วยนะคะ รบกวนขอใบสมัครด้วยค่ะ

ตอนนี้หนูมาทำงานที่โรงพยาบาลชุมชนและยังไม่ทราบว่าหนูจะต้องเริ่มต้นจากส่วนไหนก่อน

โดยเฉพาะเรื่องเอกสาร จึงอยากจะขอรบกวนอาจารย์ในเรื่องเอกสารที่จำเป็นในงานกายภาพบำบัดชุมชนและขอเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก พร้อมแผนงานด้วยนะคะ ขอบคุณอาจารย์มากคะ

-การคีย์ข้อมูล ICD10 งานกายภาพบำบัด (Hos XP)

-ตัวอย่างการคีย์ข้อมูลใน สปสช (ในส่วนฟื้นฟู,ทะเบียนผู้พิการ และ COPD) ด้วยนะคะ

รบกวนขอ คู่มือการปฏิบัติงานนักกายภาพบำบัดชุมชน ด้วยนะคะ งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลบุ่งคล้า หมู่ 2 ถนนบึงกาฬ-บ้านแพง ต.บุ่งคล้า อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ 38000 e-mail : [email protected]

เรียนอาจารย์ปนดา หนูรบกวนช่วยส่งแบบฟอร์มต่างๆเกี่ยวกับกายภาพบำบัดชุมชนค่ะ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง(ไม่แน่ใจว่าจริงๆแล้ว สามารถเบิกค่าตอบแทนเยี่ยมบ้านผู้พิการนอกเหนือจากเงินเดือนด้วยหรือเปล่าคะ) การเขียนโครงการชุนชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินความพิการ แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ คู่มือการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนหรือเอกสารอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในโรงพยาบาลชุมชนนั่นเองค่ะ ยังไงรบกวนส่งมาทาง e-mail [email protected] ด้วยนะคะ กราบขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

เรียนอาจารย์ปนดา หนูอยากทราบว่าโรงพยาบาลชุนชนในเขตภาคใต้มีโรงพยาบาลไหนที่ยังต้องการนักกายภาพบำบัดอีกค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ตอนนี้หนูเพิ่งได้เริ่มออกชุมชนค่ะ จึงจะรบกวนขอตัวอย่างแบบฟร์อมบันทึกผู้ป่วยค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากๆนะคะ [email protected]

สวัสดีน้องนักกายภาพบำบัดชุมชนทุกท่าน อาจารย์ขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่กำลังเริ่มงานใหม่ในรพ.ชุมชน นะคะ ขณะนีงานกายภาพบำบัดชุมชนขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก ทางสภาเองก็กำลังเปิดบทบาทงานกายภาพบำบัดในรพสต. ซึ่งขณะนี้มีทีมงานกำลังดำเนินการจัดทำคู่มือนักกายภาพบำบัดในรพสต.อยู่นะคะ สำหรับนักกายภาพบำบัดในรพช. อาจารย์ยังมี CD คู่มือการปฏิบัติงานอยู่บ้าง จะส่งไปให้ สำหรับผู้ที่ส่งที่อยู่ทางไปรษณีย์นะคะ แต่สำหรับผู้ที่ให้เบอร์ e-mail มาอย่างเดียว อยากรบกวนให้ส่งที่อยู่มาด้วย เพราะเนื้อหามีมาก ต้อง attached file หลาย file มาก จึงขอส่งเป็น CD ดีกว่านะคะ

คงอีกไม่นานทางสมาคมคงจะจัดพิมพ์คู่มือนักกายภาพบำบัดชุมชนเสร็จ คิดว่าสมาคมฯกับสปสช คงช่วยส่งข้อมูลนี้ให้นักกายภาพบำบัดทุกคนอีกครั้งค่ะ

ปนดา

ขอบคุณอาจารย์ปนดา เตชทรัพย์อมร มากค่ะ หนูได้รับ CD จากอาจารย์แล้วค่ะ รพ.บุ่งคล้า

เรียนอาจารย์ปนดา เนื่องจากหนูได้มาเปิดแผนกกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลขนาด30เตียง อยากจะขอรบกวนขอเอกสารการเปิดแผนก เอกสารการจัดซื้ออุปกรณ์จากงบบริจาค เอากสารที่ใช้ในงานชุมชนงานเนี่ยมบ้าน แผนงานและตัวชี้วัดที่ต้องจัดทำทั้งของแผนกและการประเมินประสิทธิภาพของลูกจ้างชั่วคราว ตอนนี้งงไปหมดเลยคะ หยิบจับอะไรไม่ถูกเลย ขอความกรุณาจากอาจารย์ด้วยนะคะ email: [email protected] ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ

เรียนน้องนักกายภาพทุกท่าน ถ้าต้องการให้ส่งข้อมูลให้ขอความกรุณาให้ที่อยู่ที่รพ.ที่ทำงานอยู่มาด้วยได้ไหมคะ เพราะไม่สามารถส่งเอกสารให้ทาง e-mail ค่ะ มันเยอะมา อาจารย์ไม่สามารถ attached files ให้ได้ แต่มี CD ซึ่งสามารถจัดส่งให้ได้ จะสะดวกกับอาจารย์มากกว่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ ปนดา

เรื่องสำคัญ มาก!!! อยากให้ PT รพช. ทุกคน ช่วยกันดู นะคะ เพื่อวิชาชีพของเรา ถ้า อยากให้เขาเห็นคุณค่า และ เนื้องานที่เราทำอยู่ โปรดช่วยกันอ่าน และ เพิ่มเติม ด้วยค่ะ

สืบเนือง จาก ตอนนี้กระทรวง ให้ แต่ละ วิชาชีพ ทำ service plan ซึ่งวิชาชีพของเราก็ต้อง ทำ โดย มีการกำหนด เป้าหมาย แผนใน 5 ปีข้างหน้าว่า วิชาชีพ เราจะทำอะไร และเขียน ขีดความสามารถ และ เนื้องาน ของกายภาพบำบัด ในแต่ละระดับ ทั้ง ระดับปฐมภูมิ ทุติยภูมิ ตติยภูมิ ค่ะ

ในวันที่ 27 ส.ค. นี้ กระทรวงจะมีเชิญ นักกายภาพ ทั้งหมด 100 คน มาช่วย พิจารณา มาตรฐานบริการงานกายภาพบำบัด ฉบับต้นแบบนี้คะ ซึ่งในวันนั้น จะมีโควต้า ของ PT รพช. จำนวน 40 คน เขตละ 3 คน ค่ะ

ถ้าใครสนใจ อยากมาร่วมแสดงความคิดเห็น และร่วมพิจารณา มาตรฐานบริการงานกายภาพบำบัด ในส่วนระดับ รพ.สต. และ รพช. ( พอดีรับผิดชอบในส่วน ปฐมภูมิ กับ ทุติยภูมิค่ะ ) และมั่นใจว่า หากมีหนังสือจากกระทรวงไปที่รพ. แล้ว สามารถมาได้แน่นอน ( เนื่องจาก ทาง รพ. ต้องออกค่าเดินทาง ที่พัก เอง ) แจ้งชื่อมาที่พี่ได้เลยค่ะ พี่สน [email protected] 089-7468981 ก่อนวันที่ 10 สค ค่ะ เพราะต้องรวบรวมรายชื่อ เพื่อส่งให้พี่ สุชัย เพื่อจะส่งเข้ากระทรวง ให้ทำการออกหนังสือ ไปที่ รพ. ค่ะ

PT รพช อาจไม่สมารถ มาทุกคน แต่ อยากให้ ทุกๆคน ที่ได้อ่านข้อความนี้ ช่วยเปิดอ่าน เนื้อหาของ service planอันนี้ โดยเฉพาะส่วน ที่เป็น ขีดความสามารถ และเนื้องาน เพราะ อยากให้ทุกคนช่วยแสดงความคิดนะคะ ใคร ที่ทำอะไร และ อยากเพิ่มเติม อะไร ในส่วนที่เราทำอยู่ หรือ อนาคต จะทำ กรุณา ใส่มาได้เลย ( ใส่รายละเอียด ช่วยเปลี่ยนสี ข้อความ ไม่ให้ซ้ำกับ ของเดิมด้วยนะคะ หากเราอยากให้ กระทรวง และ ทุกคนเห็น เนื้องานว่า PT ในระดับ ปฐมภูมิ และ ทุติยภูมิ ทำอะไรกันบ้าง ช่วยกันหน่อยนะคะ เพราะ ฉบับนี้ เมื่อเสร็จสมบูรณ์ จะกลายเป็น มาตรฐานวิชาชีพของเรา

ใครสนใจดูเนื้อหา ติดต่อกลับมาที่ สน หรือ เมล์ มาก็ได้ค่ะ 089-7468981 [email protected]

อยากให้ทุกๆคนได้ช่วยกันดูนะคะ เพื่อวิชาชีพของเราค่ะ

เรียน คุณวรัสยาพร อาจารย์ได้ทราบว่าสภากายภาพบำบัด ได้มอบให้คุณพิชัย หัวหน้าแผนกกายภาพบำบัดรพ.แม่ริม ดำเนินการจัดทำคู่มือกายภาพบำบัดในรพ.สต.ซึ่งได้จากการสัมมนากลุ่มจากสหวิชาชีพ ซึ่งน่าจะใกล้เสร็จแล้ว ไม่ทราบว่าข้อมูลเหล่านี้จะได้นำไปเสนอในที่ประชุมนี้ได้หรือไม่

ขอบคุณค่ะ ปนดา

เรียน อาจารย์ปนดา ครับ อาจารย์ครับ ผมสวง ครับ advisee ของอาจารย์ที่ มช. รหัส 38 ว่าจะเข้ามาสวัสดีอาจารย์หลายครั้งแล้วครับ แต่ก็พลาดทุกที่ อาจารยืสบายดีคะรับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉันกำลังจะเริ่มงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนค่ะ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ขอความกรุณาอาจารย์ ช่วยส่งตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและการขอเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ตัวชี้วัดผลการทำงาน การออกเยี่ยมบ้าน หรือเอกสารต่างๆ ขอความกรุณาช่วยส่งมาที่

e-mail: [email protected] ที่อยู่: งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลยะรัง 106 ม.1 ต.ปิตูมุดี อ.ยะรัง จ.ปัตตานี 94160 ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ดิฉันกำลังจะเริ่มงานกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลชุมชนค่ะ แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี ขอความกรุณาอาจารย์ ช่วยส่งตัวอย่าง การเขียนโครงการขอเปิดแผนกและการขอเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ตัวชี้วัดผลการทำงาน การออกเยี่ยมบ้าน หรือเอกสารต่างๆ ขอความกรุณาช่วยส่งมาที่

e-mail: [email protected] ที่อยู่: งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลเจาะไอร้อง 348 ม.1 ต.จวบ อ.เจาะไอร้อง จ.นราธิวาส 96130 ขอบพระคุณอย่างสูงค่ะ

เรียนอ.ปนดา ดิฉันกำลังจะเริ่มงานในรพสต.เดือนตุลาคม ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยส่งข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานในรพสต.หน่อยนะคะ เห็นอาจารย์บอกว่ากำลังจัดทำคู่มือนักกายภาพบำบัดในรพสต. ไม่ทราบว่าเสร็จหรือยังคะ สนใจคู่มือเล่มนี้มากๆค่ะ ถ้ายังไงรบกวนอาจารน์ช่วยกรุณาด้วยนะคะ [email protected]

เรียนอาจารย์ปนดา เนื่องจากดิฉันได้มาเปิดแผนกกายภาพบำบัดของโรงพยาบาลขนาด30เตียง อยากจะขอรบกวนขอเอกสารการเปิดแผนก ตัวอย่างการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและการขอเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ตัวชี้วัดผลการทำงาน การออกเยี่ยมบ้าน หรือเอกสารต่างๆ ขอความกรุณาช่วยส่งมาที่เอากสารที่ใช้ในออกเยี่ยมบ้าน แผนงานและตัวชี้วัด หรือเอกสารอื่นๆที่นำมาใช้ได้ค่ะ ขอความกรุณาจากอาจารย์ด้วยนะคะ ขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะ

e-mail: [email protected] ที่อยู่ : งานกายภาพบำบัด โรงพยาบาลธารโต 104 ต.ธารโต อ.ธารโต จังหวัดยะลา 95150

เรียนอาจารย์ปนดา

เนื่องจากโรงพยาบาลที่หนูทำงาน เพิ่งเปิดแผนก และเค้าให้เขียนแผนงานของปีงบนี้ กำหนด KPI กำหนดเป้าหมายการทำงาน หนูยังไม่เข้าใจในส่วนตรงนี้ จึงขอรบกวนอาจารย์ให้คำแนะนำ หรือถ้าอาจารย์มีตัวอย่างแผน รบกวนอาจารย์ช่วยส่งมาเพื่อเป็นแนวทางหน่อยได้มั๊ยคะ [email protected] เมลล์หนูนะคะ

หวัดดีค่ะ น้อง ๆ PT ชุมชนทุกท่าน จะจัดส่งให้ตามที่ขอมานะคะ อย่าลืมใส่ที่อยู่ไปรษณีย์ค่ะ ดีใจที่มีน้อง ๆ ไปอยู่ทางใต้กันบ้างแล้ว ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะคะ

อาจารย์มีข่าวจะประชาสัมพันธ์ อาจจะเก่าไปหน่อย แต่ก็จะยังบอกให้ทราบอยู่ดี คือ รพ.สามเงา จ.ตาก จะรับนักกายภาพบำบัด ตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว

                ไม่มีใบประกอบวิชาชีพ      มีใบประกอบวิชาชีพ

เงินเดือน 11,030 บาท 12,000 บาท พตส. - 1,000 บาท ค่าตอบแทนรพช 1,200 บาท 1,200 บาท

ใครสนใจติดต่อไปยังคุณนิลุบล เจือจันทร์ 055-549257-8 ต่อ 116, 117 โชคดีค่ะ ปนดา

ดีใจที่ได้ยินข่าวจากสวง จงสิริ อาจารย์ยังจำคุณได้ดี ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ไหนคะ

อาจารย์ก็สบายดี ตามอัตภาพ ตอนนี้สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ถ้าผ่านมาพิษณุโลก ก็แวะมาเยี่ยมเยียนกันได้นะคะ

ปนดา (ธนวัลย์)

น้อง ๆ ที่ต้องการเอกสารคู่มือกายภาพบำบัดชุมชน ตอนนี้ทางสมาคมและสปสช.ได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม พร้อม CD แล้ว คิดว่าทางสปสช.จัดส่งไปให้ที่รพช.ทุกโรง ลองไปถ้าที่ห้องสมุดโรงพยาบาล หรืองานธุรการว่ามีส่งไปให้หรือไม่นะคะ ถ้าไม่มีจะขอมาทาง blog นี้ ต้องให้ที่อยู่ไปรษณ๊ย์ด้วยนะคะ อย่าลืม ปนดา

เรียน อ.ปนดา 

เนื่องจากหนูได้มาเปิดแผนกกายภาพบำบัดใหม่ของโรงพยาบาล อยากจะรบกวนขอตัวอย่างเอกสารการเปิดแผนก การเขียนโครงการขอเปิดแผนก การขอเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ตัวชี้วัดผลการทำงาน การออกเยี่ยมบ้านและแบบฟอร์มการบันทึกการออกเยี่ยมบ้านค่ะ ขอความกรุณาอาจารย์ด้วยนะค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ 

e-mail: [email protected]

เรียน อ.ปนดา  เตชทรัพย์อมร

เนื่องจากหนูได้มาเปิดแผนกกายภาพบำบัดใหม่ของโรงพยาบาล อยากรบกวนขอตัวอย่างเอกสารการเปิดแผนก การเขียนโครงการขอเปิดแผนก การเขียนโครงการขอเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ตัวชี้วัดผลการทำงาน การออกเยี่ยมบ้านและแบบฟอร์มการบันทึกการออกเยี่ยมบ้านค่ะ  ขอความกรุณาอาจารย์ด้วยนะค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์เป็นอย่างยิ่งค่ะ 

E-mail : [email protected] 

เรียน อ.ปนดา

เนื่องจากหนูได้มาทำงานที่รพช. แล้วเริ่มมีงานเอกสารแล้ว จึงอยากรบกวนอาจารย์ให้ช่วยส่งตัวอย่าง

แผนงบประมาณ แบบฟอร์มสรุปแต้ม WP การออกเยี่ยมบ้านและแบบฟอร์มการบันทึกการออกเยี่ยมบ้าน

รวมทั้งการพิมพ์ข้อมูลลงสปสช.ด้วยค่ะ

ขอความกรุณาด้วยน่ะค่ะ ขอบพระคุณอาจารย์มากค่ะ

เรียนคุณกมลพรรณ

จะให้อาจารย์ส่งให้ได้ที่ไหนคะ

 

ปนดา

ผ่าตัดดามเหล็กกระดูกต้นขา มาได้ สองเดือนแล้วแต่ยังพับไม่ได้อยากไปทำกายภาพ ...แนะนำที่ไหนบ้างคะ จ. ยโสธร

อาจารย์คะ คือจะต้องไปเปิดแผนก ใหม่ในโรงพยาบาลชุมชนอะคะ  รบกวน แนะนำหรือส่งเอกสาร ว่าจะต้องเริ่มทำอย่างไรบ้าง ขอบคุณค่ะ 

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเพิ่งเริ่มทำงานกายภาพบำบัดในชุมชนคะ เพิ่งเปิดแผนกคะ ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด

อยากขอคำแนะนำและเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก แผนงาน การจัดการ การเขียนโครงการลงชุมชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ แบบฟอร์มที่จำเป็นต้องใช้ในการออกเยี่ยมบ้านผู้พิการ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง แบบประเมินความพิการ รบกวนด้วยนะคะ

รบกวนส่งมาที่ [email protected]  คะ

ขอบคุณค่ะ

มีเคส เด็กพัฒนาการล่าช้าค่ะ ตามไคทีเรีย เข้าในกลุ่ม ออฯ ไม่สบตา ไมาพาที ไม่ชี้นิ้ว

ไม่พูด 1.8 ขวบค่ะ น้องไม่หลุดแม้แต่1คำ เดินแขย่งเท้า ร้องไห้ข้วางปาข้าวของ อารมณ์รุนแรง ไม่อยู่นิ่งค่ะ

พ่อเป็นคนเลี้ยงค่ะ เปิดทีวีให้ดูทั้งวัน พ่อติดเหล้า แพทย์ส่งกระตุ้นพัฒนาการค่ะ เรื่องพูด แต่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรให้น้องนิ่งอยู่กับที่  แล้วจะเริ่มอย่างไรกับเรื่อง พูด เท่าที่จำได้ครั้งอบรมที่ศูนย์สิริธน เค้าให้สอนจากภาพที่ละคำ แต่น้องไม่นิ่งเลยค่ะ ขอคำปรึกษานะค่ะ

มีการเปิดสอนกายภาพบำบัดสำหรับบุคคลทั่วไปไม๊ค่ะ

เนื่องจากที่บ้านมีคนป่วย ผ่าตัดทางสมองมาหลายปีแล้ว ตอนนี้มีการเกร็งตามมือขามากขึ้น สมัยก่อนเคยจ้างนักกายภาพมาทำให้ที่บ้าน แต่เค้าก็มาบ้างไม่มาบ้าง เวลามาทำคนไข้ก็จะเจ็บตามเนื้อตัว ทำครั้งละ 15 นาที

หลังจากนั้นก็เลยยกเลิกกันไป นวดกันเอง แต่สุดท้ายก็รู้สึกว่าไม่ค่อยดีสำหรับคนไข้ เลยอยากทราบว่ามีการเปิดสอนสำหรับบุคคลทั่้วไปไม๊ค่ะ จะจ้างนักกายภาพใหม่ แต่ละคนก็คิดราคาแพงมาก ทุกอย่างเป็นเิงินหมด เลยตัดสินใจที่เรียนเอง ค่ะ ช่วยแนะนำด้วยนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ปนดา พอดีหนูเริ่มทำกายภาพบำบัดชุมชน อยากจะขอรบกวนอาจารย์ช่วยแนะแนวทางในการทำงานส่วนนี้ด้วยนะค่ะ ตอนนี้หนูเริ่มลงพื้นที่ ในชุมชนและเชื่อมโยงกับรพสต แต่แบบประเมินผู้ป่วยหนูยังมีข้อผิดพลาดอยู่ค่ะ หนูรบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำแนวทางการลงชุมชนด้วยนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ อาจารย์

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูเพิ่งเริ่มทำงานกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ เพิ่งเปิดแผนกค่ะ ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด

อยากขอคำแนะนำและเอกสารการเขียนโครงการของบประมาณเพื่อใช้ในการสร้างห้องกายภาพบำบัดพร้อมเครื่องมือทางกายภาพบำบัดที่ต้องใช้ทั้งหมดต้องการเปิดเป็นศูนย์กายภาพบำบัดขนาดใหญ่ในชุมชน
รวมทั้งแผนงาน การจัดการ
การเขียนโครงการลงชุมชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง
แบบฟอร์มที่จำเป็นต้องใช้ในการออกเยี่ยมบ้านผู้พิการ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบประเมินความพิการ
เอกสารเกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุ
เอกสารเกี่ยวกับการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย
รบกวนด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

เรียน รศ. ปนดา เตชทรัพย์อมร

สวัสดีค่ะ พอดีหนูกำลังเริ่มทำงานกายภาพบำบัดในชุมชนค่ะ ต้องมีการเปิดแผนกใหม่ ยังไม่มีอุปกรณ์ทางกายภาพบำบัด อยากขอคำแนะนำและเอกสารตัวอย่างแบบฟอร์มการเขียนโครงการขอเปิดแผนกและการขอเครื่องมือทางกายภาพบำบัด ตัวชี้วัดผลการทำงาน การออกเยี่ยมบ้าน หรือเอกสารต่างๆ แผนงานและตัวชี้วัด หรือเอกสารอื่นๆที่นำมาใช้ได้ค่ะ การเขียนแผนงาน การจัดการ การเขียนโครงการลงชุมชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการเบิกค่าตอบแทนแบบเป็นรายชั่วโมง แบบประเมินความพิการ รบกวนด้วยนะคะ ขอบพระคุณคะ

รบกวนส่งมาที่เมล [email protected]


ขอรบกวนอาจารย์ หนูขอแบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีคะอาจารย์ นู๋เป็นนักกายภาพบำบัดที่อนามัยคะ พอดีนู๋ต้องมาเปิดแผนกใหม่ที่อนามัย นู๋ไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นอย่างไร

อยากขอคำแนะนำและเอกสารเกี่ยวกับการเปิดแผนก แผนงาน การจัดการ การเขียนโครงการลงชุมชน การประเมินผล ตัวชี้วัด แบบประเมินตัวชี้วัดงานกายภาพบำบัด แบบฟอร์มการขอเครื่องมือทางกายภาพ แบบฟอร์มที่จำเป็นต้องใช้ในการออกเยี่ยมบ้านผู้พิการ เช่น แบบบันทึกการออกเยี่ยมผู้พิการ แบบประเมินความพิการ แบบประเมินพัฒนาการเด็ก และวิธีการกรอกข้อมูลการให้การรักษาขอ สปสช. รบกวนอาจารย์ส่งข้อมูลให้นู๋ที่เมล์หน่อยนะคะ ([email protected])

ขอบคุณค่ะ

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/218336

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท