การได้สนทนากับผู้รู้เฉพาะทาง จะทำให้เราได้ความรู้ใหม่เสมอ
บ่ายแก่ ๆของวันที่ 21 ก.ค. 2549 นิสิต ป. เอก ( วัฒนธรรมศึกษา ) 2 ท่าน ของมหาวิทยาล้ยทักษิณ เชิญผมร่วมหารือ
ทิศทางทำดุษฎีนิพนธ์ นายท้ายเรือถือหางเสือวันนั้นคือ
ศาสตราจารย์ นพ. วีระศ้กดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หัวหน้าหน่วย
ระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ท่านเป็นผู้อำนวย
การสถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้ ( วพส . )ท่าน อ.
มองสิ่งที่คุยกันอยู่บนฐานของวิทยาศาสตร์ ไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ
นิสิตท่าน 1 เป็นพระในพุทธศาสนา มีคัมภีร์พระไตรปิฎก
เป็นฐานคิด ท่าน อ. ให้แง่คิดว่า การแปลภาษาบาลีเป็นภาษา
ไทย อาจมีความหมายไม่ตรงกัน เพราะสิ่งที่มนุษย์ทำนั้น
มันมีผิดได้ และสิ่งที่คุยกันเมื่อ 2500 กว่าปีมาแล้วกับสิ่งที่
คุยกันในเรื่องเดียวกัน อาจแตกต่างกันได้ เช่น คุยกันเรื่องโลก
เราพูดถึงโลกกลม ๆ ใบนี้ แต่เขาคุยกัน อาจหมายถึงชีวะ
ทั้งหลายก็คือโลกเหมือนกัน
นิสิตท่าน 1 เป็นโต๊ะอิหม่ามในศาสนาอิสลาม มีคัมภีร์
อ้ลกุรอานเป็นฐานคิด ท่าน อ. ให้แง่คิดว่า การวิจัยที่น่าสนใจ
ไม่ควรศึกษากลุ่มคนที่มีฐานคิดเหมือนกัน ท่านเสนอแนะว่า
เรื่องวิถีชุมชนมุสลิม ควรศึกษากลุ่ม 3 จ.ชายแดนใต้ , กลุ่ม
จ. สตูล และกลุ่ม จ. กระบี่ , พังงา , ภูเก็ต เป็นต้น
นิสิต 2 ท่านนี้ ไปไหนมักเดินทางร่วมกัน เป็นที่น่าสนใจ
ต่อผู้พบเห็นเสมอ คือเป็นภาพแห่งความสงบ สวยงาม
เหมื่อนครั้งอดีตที่บรรพบุรุษของเราได้ร่วมสร้างสรรไว้...ครับ.
หรือท่านมีความคิดเห็นอย่างไร...?
ด้วยไมตรีจิตมิตรภาพ
umi
น่าสนใจครับ...
ที่หมู่บ้านผมก็เป็นสังคมที่มีไทยพุทธกับมุสลิมอยู่รวมกันครับ สลับกันบ้านต่อบ้านเลยครับ...
ทุกครอบครัวก็เป็นเพื่อนบ้านที่ดีต่อกันครับ...