การจัดการความรู้ขององค์กร


ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลย่อมสูญสลายไปกับบุคคล การจัดการความรู้จากบุคคลไปสู่องค์กรและบันทึกเอาไว้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังตรึงอยู่กับองค์กร หน่วยงาน หรือสังคม เป็นมรดกความรู้ของคนรุ่นหลัง นำองค์กรเพื่อการเรียนรู้ และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

การจัดการความรู้ คือ การดึงเอาความรู้ที่กระจัดกระจาย ฝังอยู่ทั่วไปภายในองค์กร ออกมารวบรวม และแบ่งกลุ่ม จัดเก็บให้เป็นองค์ความรู้ขององค์กร เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาสู่ องค์กรแห่งการเรียนรู้ต่อไป

Tacit Knowledge: คือ ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลที่ได้มาจากประสบการณ์และความสามารถส่วนตัว ยากที่จะเขียนหรืออธิบายออกมาได้ เช่น ให้บอกวิธีในการว่ายน้ำ,วิธีการวาดรูปให้สวย, วิธีการตอบสนองต่อปัญหาเฉพาะหน้าใดๆ ที่เกิดขึ้น
Embedded Knowledge: คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ภายในองค์กร
Explicit Knowledge: คือ ความรู้ที่สามารถอธิบายหรือเขียนออกมาได้โดยง่าย เช่น คู่มือการปฏิบัติงาน หรือ วิธีการใช้เครื่องมือต่างๆ

วงจรการบริหารจัดการความรู้
Sharing คือ การสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคคล ทั้งเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการเช่น การพบปะ พูดคุยกับเพื่อนพนักงาน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ซึ่งจะสามารถสื่อความรู้และประสบการณ์ที่แฝงอยู่ภายในบุคคล(Tacit)ได้
Capture คือ การรวบรวมความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมา(Collaboration)แล้วแปลความให้กลายมาเป็นความรู้ใหม่ของตนเองและสามารถเขียนหรืออธิบายออกมาได้
Classification คือ การนำความรู้ที่ได้มาเขียนอธิบาย(Explicit)เพื่อเผยแพร่สู่องค์กร โดยแบ่งกลุ่มความรู้อย่างชัดเจน และกระจายความรู้ถูกกลุ่มเป้าหมาย(From Individual to Organization Knowledge)
Understanding คือ การที่สมาชิกในองค์กรได้รับความรู้ที่เผยแพร่มา แล้วนำไปปฏิบัติจนเข้าใจเป็นความรู้ของตนเอง(From Organization to Individual Knowledge) และนำไปสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้(Sharing)เพื่อนำไปสู่การเกิดความรู้ใหม่ต่อไป


สำหรับองค์กร  การจัดการความรู้ คือกระบวนการรวบรวม จัดเก็บ แบ่งปัน และใช้ประโยชน์จากความรู้และประสบการณ์ของพนักงาน และกระบวนการต่างๆ ในการปฏิบัติงานขององค์กร  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  รวมถึงการส่งเสริมให้พนักงานได้คิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือนวัตกรรมให้เกิดขึ้นเพื่อประโยชน์ต่อธุรกิจในอนาคต

ทุกท่านเป็นผู้มีประสบการณ์  ถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จในชีวิตของท่าน  เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์  เสนอเรื่องที่ท่านประสบความสำเร็จ ประทับและภาคภูมิใจในสิ่งที่ทำบันทึกเอาไว้เพื่อถ่ายทอดสู่คนรุ่นหลัง

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 22074เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2006 09:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

        ในการทำงาน 10 ปีที่ผ่านมามีเรื่องที่ประสบความสำเร็จ ประทับใจและภาคภูมิใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของงาน HA  การดูแลผู้ป่วยที่จะนำเครื่องช่วยหายใจออก  การดูแลผู้ป่วยและญาติที่ต้องเผชิญกับวาระสุดท้ายของชีวิต   เป็นต้น  สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ ข้าพเจ้า เป็นที่รู้จัก และยอมรับในคณะของผู้บริหารโรงพยาบาลทั้งรัฐบาลและเอกชนในจังหวัดสมุทรสาคร เป็นอย่างดี 

      ในด้านของงาน HA  ได้มีการทำงานกันเป็นทีม  และข้าพเจ้าเองได้มีโอกาสเป็นผู้นำทีม ในการคิดรูปแบบการจัดการด้านการบริหารความเสี่ยง (Risk  Management)  และการบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์  ในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว  โดยได้ใช้  Tacit Knowledge  ของตนเองที่ได้ทำการวิเคราะห์และศึกษารูปแบบการทำงานของโรงพยาบาลทั้งหมด แล้วนำมาคิดรูปแบบการจัดการความเสี่ยงเป็นของโรงพยาบาล และได้ทดลองปฏิบัติ ซึ่งในช่วงแรก พบว่ามีปัญหามากมาย จึงได้  Sharing สื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้โดยการพบปะ พูดคุยกับเพื่อนพนักงาน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับโรงพยาบาลต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการ HA ผ่านแล้ว  หลังจากนั้นได้มีการประชุมทีมงานเพื่อ  แลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น และได้รวบรวมความรู้ต่างๆ ที่ได้รับมา(Capture) แล้วนำมาจัดทำรูปแบบการบริหารความเสียงที่เหมาะสมกับโรงพยาบาลของตนเอง (Collaboration)   และได้เขียนเป็นคู่มือปฏิบัติ (Classification) และได้อบรมชี้แจงจนบุคลากรสามารถเข้าใจและยึดถือปฏิบัติมาจนทุกวันนี้  ถึงแม้ว่าตัวของข้าพเจ้าจะไม่ได้ทำงานในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)  แล้วก็ตาม 

          ส่วนในเรื่องของการดูแลผู้ป่วยที่กำลังจะนำเครื่องช่วยหายใจออกแต่ไม่สามารถเอาออกได้จากสาเหตุต่าง เช่น ความกลัว  หรือเป็นจากตัวโรค  หรือเทคนิคของผู้ดูแลเอง  เนื่องจากข้าพเจ้ามีความสนใจในเรื่องการดูแลผู้ป่วยประเภทนี้อยู่แล้ว ประกอบกับชอบศึกษาในเรื่องของจิตวิทยา  จึงได้ใช้ Tacit Knowledge  ของตนเอง  มาใช้ในการดูแลผู้ป่วย  โดยยึดหลักของการสร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วยจนผู้ป่วยรู้สึกว่าเราเป็นคนที่เขาไว้ใจได้  จากนั้นจะพูดอธิบายวิธีการที่จะฝึกให้ผู้ป่วยหายใจเองและจะให้กำลังใจผู้ป่วยโดยการสร้างความเชื่อมั่นว่าผู้ป่วยจะสามารถหายใจเองได้ด้วยตนเอง  พร้อมทั้งจะอยู่กับผู้ป่วยในช่วง 2 ชั่วโมงแรกเสมอ  (ถ้าจะต้องไปทำกิจกรรมอื่นจะต้องบอกผู้ป่วยก่อนและกิจกรรมที่ทำนั้นจะต้องทำในระยะที่ผู้ป่วยมองเห็นเราได้)  เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกว่ามีเราอยู่ใกล็ ๆ ตลอดเวลาที่เขาจะสามารถขอความช่วยเหลือได้ทันที ที่เขาไม่สามารถหายใจด้วยตนเองได้  และในการทำแบบนี้จนกลายเป็นรูปแบบเฉพาะตัวของตนเอง  สามารถนำเครื่องช่วยหายใจออกให้ผู้ป่วยได้สำเร็จทุกราย  จนกลายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  และได้พยายามที่จะถ่ายทอดให้กับรุ่นน้องได้ปฏิบัติ  แต่น่าเสียดายที่ไม่สามารถมีใครปฏิบัติได้เลย  (เนื่องจากในช่วงที่อยู่โรงพยาบาลบ้านแพ้ว  ไม่ได้คิดว่านี่ คือ ความสามารถที่มีอยู่ในตัว  จึงไม่ได้พยายามที่จะถ่ายทอดให้กับคนอื่น จนกระทั่งออกจากโรงพยาบาลแล้วมี พี่จากโรงพยาบาลมหาชัย ซึ่งไม่เคยรู้จักกันมาก่อนเลย โทรศัพท์มาขอให้ไปช่วยพูดกับพ่อซึ่งป่วยต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ และไม่สามารถนำเครื่องช่วยหายใจออกได้  โดยพี่ให้เหตุผลว่า มีบุคลากรในโรงพยาบาลบอกว่า ข้าพเจ้ามีความสามารถในการพูดกับผู้ป่วยได้  และนี่คือสิ่งที่ตนเองภาคภูมิใจ

         จะเห็นว่าทักษะหรือความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลนั้น  ถ้าเราไม่มีการจัดการกับความรู้นั้นอย่างเป็นระบบ เป็นขั้นเป็นตอนแล้ว  มันก็จะไม่เกิดประโยชน์กับบุคคลอื่นเลย  และยิ่งถ้าเราไม่ได้มีโอกาสทำงานนะที่ดังกล่าวแล้ว  ความรู้ที่เป็นประโยชน์ที่น่าจะเผยแพร่มันก็จะตายไปพร้อมกับเราทันที  ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย 

ความประทับใจและภาคภูมิใจในประสบการณ์ทำงานถ่ายทอดได้เพื่อแบ่งปันความรู้ไปใช้ประโยชน์ในองค์กร VISIONในองค์กรผมกำหนดให้หาITมาเชื่อมโยงใช้งานเป็นกระบวนการเพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าการทำงานขององค์กรให้ทันสมัย CO Psชุมชนผู้ปฏิบัติงานจากตัวแทนของหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน เช่น ด้านงบประมาณ ด้านบ/ช ด้านจัดซื้อจัดทำ ด้านUSER(หน่วยงาน/สาขาทั่วประเทศ) มาร่วมกันปรึกษาหารือโดยมีKV  KS  KAดำเนินไปอย่างสร้างสรรค์เพื่อหาวิธีการจัดการทรัพย์สินที่ได้มาเริ่มแรกเกิด จนถึงทรัพย์สินนั้นเลิกใช้งานไปหรือตัดออกไปจากองค์กรเป็นแบบบูรณา KAจากตัวแทนต่างๆมีTACIT KNOWLEDGEแสดงออกมาเป็นEXPLICIT KNOWLEDGE เพื่อหาวิธีการเก็บข้อมูล รวบรวม การจัดระบบ และหาวิธีการด้านITมาเชื่อมโยงการทำงานของหน่วยงานต่างๆเป็นแบบบูรณะเพื่อให้สะดวก รวดเร็ว และถูกต้อง การปรึกษาด้วยความสมัครใจทำกันอยู่หลายรอบ มีการเพิ่มรายละเอียด การเลือกสรรระบบที่จะนำมาใช้งาน มีการทดลองก่อนใช้งานจริง มีการออกระเบียบวิธีปฏิบัติ หลักเกณฑ์การใช้งานจนเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน KAมีความถนัดเฉพาะด้านช่วยKNOWLEDGE SHARINGในองค์กรจนเป็นพฤติกรรมและวัฒนธรรมขององค์กรไปในที่สุด

     กรอบของระบบงานนี้มีDENITITYกำหนดงานเน้นเรื่องIT กระบวนการ และคน(ผู้ปฏิบัติงานและUSER) งานเป็นลักษณะการทำงานที่เชื่อมถึงกันโดยใช้ITมาช่วยผลักดันให้กระบวนการเป็นไปอย่างราบรื่น ผู้ปฏิบัติงานทำงานได้ถูกต้องและรวดเร็ว USERได้รับความพึงพอใจ  CAPTUREได้จากแหล่งความรู้ในองค์กรและภายนอก(บริษัทตัวแทนจำหน่ายระบบ)  SHAREมีการกระจายความรู้ไปยังผู้ใช้ในองค์กรและนอกองค์กร(องค์กรอื่นที่สนใจ)  APPLYมีการนำไปใช้การตัดสินใจ แก้ปัญหาช่วยในการทำงานได้มากและกว้างขวางขึ้น  CREATEมีการสร้างโดยมีการลงทุนสร้างระบบให้มีความเร็วสูงและรองรับฐานข้อมูลที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งต้องใช้งบประมาณและวิจัยประสิทธิภาพของระบบอย่างคุ้มค่า LINKINGมีการเชื่อมโยงได้โดยตรงกับความต้องการภายในองค์กรและภายนอก(SUPPLIER)

     ความภาคภูมิใจในความสำเร็จเพราะในปัจจุบันองค์กรได้ใช้ระบบนี้ซึ่งได้รับการชมเชยและยอมรับว่ามีประสิทธิภาพและมีผู้เข้ามามีส่วนร่วมในระบบนี้มากขึ้น และจากภายนอกองค์กรมีการติดต่อสอบถามข้อมูลต่างๆเพื่อจำนำไปใช้ในองค์กรตนเอง ส่วนในมุมมองของตนเองคิดว่ามีความสามารถถ่ายทอดความรู้ให้พนักงานและต่อยอดหาวิธีการใหม่ซึ่งได้จากการเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่อย่างต่อเนื่อง อุปสรรคคือลงทุนสูงและใช้ระยะเวลามาก(2-4ปี) และเพื่อทำให้พนักงานในองค์กรBEST PRACTIC มีการจัดการเป็นระบบและนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีในยุคใหม่นี้ที่มุ่งเน้นINTELLECTUAL CAPITALซึ่งจะส่งผลต่อFINANCIAL RESULT

การจัดทำ  KM ในโรงเรียนที่เห็นได้ชัดเจนคือ  การจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาตาม พ.ร.บ.การศึกษาขั้นพื้นฐาน

ทุกคนร่วมระดมความคิดด้วยความสามัคคีทั้งในและต่างโรงเรียน  มีการแลกเปลี่ยน และ ปรับเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ได้ให้เหมาะสมกับสถานศึกษาของตนเอง   โดยใช้  KM Model “ ปลาทู ผู้อำนวยการเป็นคุณเกื้อ  รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการเป็นคุณอำนวย  และคณะครูทุกคนเป็นคุณกิจ    ส่วนคุณลิขิตเป็นเจ้าหน้าที่จัดทำเอกสารหลักสตูรและครูผู้ได้รับมอบหมาย   โรงเรียนทุกโรงมีหลักสตูรสถานศึกษาใช้  ในฐานะที่เป็นครูคนหนึ่งที่มีส่วนร่วมก็มีความภาคภูมิใจ   

                                                   KM ในระบบราชการ
                                                                    
            การจัดการความรู้ในระบบราชการ เป็นแนวความคิดใหม่ เพราะบุคลากรในระบบราชการได้ถูกสร้างและสั่งสม แนวทางการปฏิบัติงานตามคำสั่ง หรือนโยบาย โดยไม่จำต้องสอบถามถึงที่มา หรือสาเหตุแห่งแนวทางดังกล่าว
                ระบบการทำงานที่แตกต่างจากภาคเอกชนดังกล่าว เป็นอุปสรรคต่อการจัดการความรู้(KM) เป็นอย่างยิ่ง ดังจะเห็นได้จากความคิดริเริ่มในการพัฒนาระบบงานของราชการ หรือการรวบรวมองค์ความรู้ของบุคลากรภาครัฐ มีน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
                ถึงแม้ว่าบุคลากรทั้งภาครัฐและเอกชน จะเริ่มต้นและมีพื้นฐานความรู้จากแหล่งเดียวกัน แต่สภาพแวดล้อมของระบบและหลักการทำงานที่ต่างกัน ก่อให้เกิดการพัฒนาที่แตกต่างกันไป อย่างเห็นได้ชัด
                การรวมรวม การจัดระเบียบ รวมทั้งการถ่ายทอด องค์ความรู้ในระบบราชการ มีข้อจำกัดอันเนื่องมาจากการแข่งขันเพื่อความก้าวหน้าของข้าราชการ และระบบการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ที่ไม่เป็นธรรม
                บุคคลากรภาครัฐ ไม่จำต้องพัฒนางาน หรือองค์ความรู้ ต่างๆ เพราะไม่สามารถใช้เป็นผล เพื่อความก้าวหน้าของตน  ในขณะที่ผู้ที่มาใหม่จะไม่ยอมรับความรู้ของคนเก่าไม่ว่าจะเป็น Tacit Knowledge หรือ Explicit Knowledge เพราะถือว่ามิใช่ความคิดริเริ่มของตน จึงไม่สามารถ สร้างความแตกต่างเพื่อความก้าวหน้าต่อไปได้
                ในปัจจุบันความคิดของบุคลากรในระบบราชการเริ่มมี การพัฒนาเปลี่ยนแปลงมากขึ้น การยอมรับการทำงานที่ออกนอกกรอบของระบบราชการเป็น สิ่งที่ยอมรับได้ และได้รับการส่งเสริม อันเนื่องมาจากฝ่ายบริหารระดับสูงมาจากภาคเอกชนและเป็นนักวิชาการมากขึ้น 
                ดังเช่นในระบบการบริการของภาครัฐ เริ่มมีการนำระบบใหม่ๆมาใช้ เช่นการจองเวลาการติดต่อราชการ การจัดส่งเอกสารทางทะเบียนโดย Delivery   การจัดระบบการบริการแบบเบ็ดเสร็จ   การเปิดศูนย์บริการย่อยที่ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น (เริ่มต้นแห่งแรกที่ อำเภอเมืองนครปฐม :ได้รับรางวัลการพัฒนาระบบงานยอดเยี่ยม จาก สำนักงาน กพร. สำนักนายกรัฐมนตรี)  
                ทั้งนี้ การพัฒนางานดังกล่าวเริ่มต้นมาจากการระดมความรู้ และประสพการณ์ของผู้ปฏิบัติงานจริง ผนวกกับความรู้ภาคทฤษฏี และคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญที่ เกี่ยวข้องทุกด้าน
                เมื่อเริ่มทดลองปฏิบัติจริง ความผิดพลาดและความสำเร็จที่เกิดขึ้นได้ ได้สั่งสมเป็นความรู้ นำไปสู่การพัฒนาระบบงาน รวมทั้งข้อแนะนำจากผู้ที่มาศึกษาดูงาน ได้แลกเปลี่ยนความเห็นซึ่งกันและกัน ก่อให้เกิดระบบงานที่ดียิ่งขึ้น และสามารถเป็นต้นแบบการบริการของภาครัฐได้อย่างเต็มภาคภูมิ
                การจัดการองค์ความรู้ในภาครัฐ จะเริ่มมีการพัฒนามากขึ้นในอนาคตซึ่งหมายถึงองค์ประกอบและสภาพแวดล้อมต่างๆต้องเอื้ออำนวยต่อไป และหากการพัฒนายังคงเป็นไปอย่างไม่สะดุดหยุดแล้ว คาดว่าความได้เปรียบของเครื่องมือและอำนาจที่มีอยู่ จะสามารถส่งผลให้มีการพัฒนาองค์ความรู้อย่างก้าวกระโดด และจะเทียบได้กับภาคเอกชนในไม่นานวัน
นายณัฐพล เนียมประดิษฐ์

จากการที่ได้เรียนในเรื่องของ KM หรือการจัดการความรู้ทำให้ข้าพเจ้านึกถึงการจัดการความรู้ในอดีตซึ่งเป็นไปโดยไม่ได้เรียนรู้ระบบในการจัดการนี้มาก่อนแต่เมื่อเทียบกับวิธีการที่ได้เรียนมาในการใช้ KM Model "ปลาทู" ทำให้นึกถึงเรื่องการทำงานเป็นกลุ่มและรวบรวมความคิดเพื่อแก้ปัญหาหรือหาหนทางในการจัดการสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องทำ เมื่อหลายปีที่แล้วในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังเป็นนักศึกษา MBA ในเทอมสุดท้ายก่อนจบต้องมีการทำกิจกรรมที่เรียกว่า Business Game คือกิจกรรมที่ทำธุรกิจจำลองที่มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นบริษัทที่แข่งขันกันในตลาดโดยใช้สินค้าชนิดเดียวกัน เงินลงทุนเท่ากัน และกำหนดให้ทุกบริษัทเป็นบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ในแต่ละกลุ่มก็จะมีนักศึกษาเป็นผู้บริหารและแบ่งหน้าที่กันในการวางแผนและการประชุมร่วมกันในการจัดการในการทำกิจกรรมนี้ต้องใช้เวลาอยู่ร่วมกัน ถึง 3 วัน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยก็นำนักศึกษาไปทำกิจกรรมนี้ที่จังหวัดชลบุรี การตัดสินผลของการดำเนินงานของแต่ละบริษัทที่แข่งขันกัน จะใช้ Program Computer และกลุ่มอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นผู้ประมวลผลในทุกด้าน ตั้งแต่ Production planning การกำหนด Price strategic และ Place และที่สำคัญอีกประการคือการกำหนด Promotion และมีการวางแผนในการเพิ่มมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์อีกด้วย ซึ่งในแต่ละกลุ่มจะกำหนดแผนของตนเอง โดยใช้การรวบรวมความรู้ และขอข้อคิดเห็นต่างจากทุกคนในกลุ่มและหาผลสรุปที่คาดว่าจะได้ผลดีที่สุดในการจัดการ และสรุปแผนในทุกด้านส่งให้อาจารย์นำไปประมวลผลเทียบกับแผนของคู่แข่ง และแปรผลการดำเนินงานเป็นไตรมาส

ในกลุ่มของข้าพเจ้าในขณะนั้นข้าพเจ้าได้เป็น CEO ของบริษัท (บังเอิญ) ข้าพเจ้าได้เห็นความร่วมมือในการทำงานและในการออกความคิดเห็นอย่างไม่มีการทะเลาะถกเถียงกันเนื่องจากเวลาเรามีจำกัดต้องวางแผนสี่ไตรมาสหรือหนึ่งปีต่อวัน ทุกคนร่วมมือระดมความคิดแก้ไขปัญหาและกำหนดกลยุทธ์ใหม่ๆ และเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุดที่มีคนเสนอเพื่อแข่งกับบริษัทอื่น แล้วแต่สถานการณ์ในขณะนั้น ทำให้เห็นว่าการใช้ KM เมื่อมีสถานการณ์คับขันทุกคนก็จะมีความสมานฉันท์เพื่อเป้าหมายที่ต้องการได้ และสิ่งที่ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิใจมากคือเมื่อการแข่งขัน Business Game จบลงในวันที่สาม กลุ่มของข้าพเจ้าได้เป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเทียบจากส่วนแบ่งตลาดของสินค้า, กำไรของกิจการ และมูลค่าหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งสูงกว่าราคา parถึงสี่เท่ากว่า เนื่องจากผลของการร่วมมือและรวบรวมความรู้ของผู้บริหารในการจัดการ     

ณัฐพล เนียมประดิษฐ์

การทำงานในโรงพยาบาลราชบุรีของข้าพเจ้าที่ทำมาประมาณยี่สิบแปดปีต้องพบผู้ป่วย และเจ้าหน้าที่มากมาย   เช่น   แพทย์    พยาบาลเจ้าหน้าที่อื่น       เมื่อเรียนจบพยาบาลก็ได้มาปฏิบัติงานห้องผ่าตัดโดยไม่ได้ย้ายไปไหนทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลง   ความเจริญก้าวหน้าของหน่วยงาน            การนำเครื่องมือทันสมัยเข้ามาใช้ในการช่วยผ่าตัดใช้  IT เข้ามาสื่อสารกันในแต่ละหน่วยงาน                                                                                               ด้านการบริหารผู้อำนวยการใช้ KM มาให้ความรู้แก่เจ้าหน้าทื่ทุกระดับเชิญวิทยากรมาให้ความรู้ด้วยในเวลานี้โรงพยาบาลกำลังทำ    HA  เพื่อให้ผ่านการตรวจสอบ                                                                                ดังนั้นข้าพเจ้าจึงภูมิใจในการทำงาน  ของหน่วยงานที่มีการผ่าตัดใหญ่ เกิดขึ้น   เช่น   มีผ่าตัดสมอง  ผ่าตัดเปลี่ยนไต    ผ่าตัดโดยใช้กล้องที่รวดเร็วทันสมัย                                                                                                               สิ่งที่อยากจะแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับทุกท่านได้มีการเรียนรู้ร่วมกัน คือ การใช้กล้องผ่าตัดเนื้องอกต่าง ๆ ในช่องท้อง  โดยใช้กล้องคอมพิวเตอร์ผ่านเลนส์ส่องเข้าไปในช่องท้องผู้ป่วย  โดยเปิดแผลทางหน้าท้องประมาณ 2-3 แผล  แผลละประมาณ 1-2 cms  เพื่อนำกล้องผ่านเข้าไปทางหน้าท้อง  เมื่อพบบริเวณที่ต้องการจะตัดออก  ก็จะนำเครื่องมือใส่เข้าไปในกล้อง  เพื่อทำการตัดชิ้นเนื้อของเนื้องอกที่ต้องการ  ผ่านออกมาทางรูเปิดที่เหลือที่เปิดไว้  และจะมีเครื่องมือสำหรับรองรับชิ้นเนื้อออกมาทางหน้าท้อง  โดยจะมองผ่านจอคอมพิวเตอร์ขณะที่ทำการผ่าตัด  โดยพยาบาลเป็นผู้ช่วยในการดูแลเครื่องมือ  และตรวจสอบ Monitor ต่าง ๆ  ซึ่งจัดว่าเป็นโรงพยาบาลแห่งแรกในเขต ที่สามารถทำการผ่าตัดในลักษณะเช่นนี้ได้  และข้าพเจ้าได้เป็นผู้รับผิดชอบในการฝึกทีมงานและรับผิดชอบร่วมกับแพทย์ในการทำผ่าตัด  จึงทำให้ข้าพเจ้ารู้สึกภาคภูมิกับงานที่ข้าพเจ้าได้ทำ และอยากร่วมแชร์ความรู้กับทุกท่าน
บัณฑิต หมั้นทรัพย์

เรียนท่านอาจารย์ที่เคารพ

การทำงานในองค์กรของผมเองมักจะมีการจัด work shop สำหรับการทำงานให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ โดยในส่วนงานของฝ่ายขายจะมีการจัดงาน S & M จะเป็นการให้คนที่ประสบความสำเร็จในองค์กร ได้ทำการ share ของมูลข่าวสาร รวมถึงกลยุทธ์ต่าง ๆ ในการทำงาน ให้ประสบความสำเร็จ โดยตนเองมักจะได้ให้ความร่วมมืออย่างสมำเสมอ ในด้านการขาย solution และ customer satisfaction รวมถึงการบริหารจัดการทีมงานขายอย่างมีประสิทธิภาพ ในส่วนประสบการณ์ของตนเองในอดีตที่ผ่าน เกิดขึ้นในขณะที่เริ่มทำงานใหม่ เมื่อ 7 ปีที่ผ่านในขณะที่ระบบ Local area network เริ่มมีบทบาทมากขึ้น มี solution ใหม่ เกิดขึ้นมากมาย ในขณะนั้น โรงพยาบาล saint louis มีการสร้าง อาคาร 100 ปี บารมีบูญ มีทั้งสิ้น 24 ชั้น และเชื่อมต่อกับอาคารเก่า จำนวน 7 อาคาร โดยผมได้เป็นคนนำเสนอโครงการนี้จำนวน 2000 port lan ซึ่งถึงว่าเป็นโครงการที่ใหญ่มาก และมีคู่แข่งขันมากราย ในสุดท้ายผมได้ชนะโครงการนี้มา ซึ่งในขณะนั้นเป็นคู่แข่งขันที่อายุน้อยที่สุด และสามารถเอาชนะผู้ใหญ่ หลาย ๆ คนที่อยู่ในวงการมากกว่า 20 ปี ทำให้เกิดความภูมิใจมาก และยังคงสร้างผลงานในการชนะงานเรื่อยมาก ปัจจุบันก็ยังคงเป็นคนจัดการระบบ internet ของ บริษัท True ซึ่งกว่า 90 % เป็นผลิตภัณฑ์ภายใต้การดูและของผม และยังนำเข้าผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างต่อเนื่อง เพราะสิ่งที่ผมมักจะยึดถือ และบอกกับตนเองเสมอในการทำงานเพื่อให้ประสบความสำเร็จ คือ ความไม่ย่อท้อ เพราะผมยังเชื่อว่าพระอาทิตย์ยังขึ้นทุกวัน ถ้าวันนี้ไม่ได้ พรุ่งนี้ก็ต้องได้ ขอให้ตั้งใจทำให้ดีที่สุด ซึ้งในปัจจุบันนี้ผลงานของผมเองก็ได้เป็นที่ยอมรับในตลาด IT ประเทศไทย ได้สัมผัสก้บผู้บริหารระดับสูงขององค์กร Telecom อย่างสมำเสมอ และ มีทีมงานที่แข็งแกร่งในการทำงาน เพราะเราจะได้อย่างมั่นคง เราก็จำเป็นที่จะต้องมีแขนขาที่แข็งแกร่ง นั่นคือทีมงานที่ดี และสามารถที่จะไว้ใจกัน งานใดก็ตามไม่สามารถทำได้ลุล่วง โดยปราศจากความร่วมมือ ของผู้ใต้บังคับบัญชาที่แข็งแกร่งเช่นเดียวกัน

ขอบคุณมากครับ

 

ร.ต.อ.หญิง ศิริพร ลือวิภาสกุล

เรียน ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ที่เคารพ

              การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ของโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้ถูกนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กร (Organization Development) เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งหลักสำคัญของการจัดการความรู้ของ รร.นรต. มีลักษณะคล้ายกับการระดมสมอง (Brain Storming) คือการให้ผู้ที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ หลาย ๆ คน มาร่วมกันแสดงความคิดเห็น เพื่อนำความรู้เหล่านั้นมารวบรวมจัดกลุ่มให้เป็นระเบียบ แล้วจึงนำความรู้เหล่านั้นไปใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กร
                สำหรับประสบการณ์ความสำเร็จของดิฉัน ที่ได้นำการจัดการความรู้ (Knowledge Management) มาใช้ในการทำงาน คือ เมื่อครั้งที่ได้ไปสอนพิเศษให้กับหลักสูตรของ ป.ป.ช. ในเรื่องการยิงปืน ดิฉันได้นำความรู้จากการผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เช่น หลักสูตรครูฝึกยุทธวิธีตำรวจในเมือง, หลักสูตรครูฝึกยิงปืนในระบบต่อสู้แบบตำรวจ ฯลฯ รวมทั้งความรู้ที่ได้จากการบอกเล่าของอาจารย์ในกลุ่มวิชาการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม มาประกอบกันในการใช้สอนให้กับ ป.ป.ช. ซึ่งก่อนการสอนในแต่ละครั้ง จะมีการแบ่งปันความรู้ (Sharing) ในกลุ่มอาจารย์ แล้วจึงนำความรู้เหล่านั้นมาประยุกต์ให้เป็นความรู้ใหม่ของตนเอง (Capture) ก่อนนำไปใช้ในการสอน เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง ซึ่งความรู้ที่นำไปสอนนั้น    ส่วนหนึ่งเป็นความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์และความสามารถส่วนตัว (Tacit Knowledge) อีกส่วนหนึ่งเป็นความรู้ที่ฝังแน่นอยู่ในองค์กร (Embeded Knowledge) คือ ความรู้ในเรื่องเนื้อหาของการฝึกยิงปืน ซึ่งในการยิงปืนระบบต่าง ๆ จะมีรายละเอียดกำหนดไว้ในหลักสูตรการฝึก เช่น การยิงปืนระบบ P.P.C. จะมีท่ายิง 10 ท่า แต่ละท่าจะใช้กระสุนยิงครั้งละ 6 นัด รวม 60 นัด, การยิงปืนระบบ N.R.A. จะมีท่ายิง 4 ท่า คือ ท่ายิงช้า, ท่ายิงเร่ง, ท่ายิงเร็ว และท่ายิงเป้าหุ่นคน แต่ละท่าจะใช้กระสุนท่าละ 10 นัด  รวม 40 นัด  โดยใช้ปืนพกลูกโม่ (Revolver Pistol) ขนาด .38 หรือ .357 ความยาว    ลำกล้องไม่เกิน 4 นิ้ว นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดในเรื่องอื่น ๆ เช่น กฎแห่งความปลอดภัยของการใช้อาวุธปืนพก (Safety Ruler Shooting) ได้แก่
1.       เมื่อจับปืนทุกครั้ง ให้พึงระลึกเสมอว่าปืนทุกกระบอกมีกระสุนปืนบรรจุอยู่
2.       ตรวจปืนทุกครั้งที่จับ ว่ามีกระสุนปืนบรรจุอยู่ หรือมีวัตถุอื่นใดติดค้างอยู่ในลำกล้องปืนหรือไม่
3.       อย่าเล็งปืนไปที่บุคคล สิ่งมีชีวิต หรือสิ่งของมีค่า ถ้าผู้ยิงไม่ต้องการยิง
4.       อย่ายิงปืนไปทางวัตถุอื่นใดที่อาจทำให้หัวกระสุนปืนสะท้อนกลับหรือแฉลบได้ เช่น วัสดุที่มีผิวแบนแข็ง หรือผิวน้ำ
5.       อย่าพูดคุยหรือหยอกล้อเล่นกับผู้อื่นในขณะยิงปืน
6.       อย่าทิ้งปืนที่บรรจุกระสุนปืนไว้ในที่ซึ่งบุคคลอื่น โดยเฉพาะเด็กอาจหยิบฉวยเอาไปเล่นได้ง่าย
7.       อย่าหันปากกระบอกปืนไปทางด้านข้างหรือด้านหลัง ขณะจับปืนอยู่ในแนวยิง
8.       เมื่ออยู่ในห้องฝึกหรือสนามยิงปืน ต้องเชื่อฟัง และปฏิบัติตามผู้ควบคุมการฝึกอย่างเคร่งครัด
9.       ถ้าไม่เก็บปืนไว้ในซอง ต้องจับถือปืนในลักษณะเปิดลูกโม่ หรือให้โครงเลื่อนปืนอยู่ในลักษณะค้างโครงเลื่อนปืนไว้ การส่งปืนให้กับผู้อื่นก็ต้องส่งปืนในลักษณะดังกล่าวนี้เช่นกัน
          เนื่องจากความรู้ที่ฝังอยู่ในองค์กร (Embeded Knowledge) เป็นความรู้ที่มีประโยชน์ต่อ
องค์กรและมีประโยชน์ต่อผู้ที่นำความรู้ไปใช้ จึงควรนำความรู้เหล่านี้ออกมาใช้ให้คุ้มค่า โดยการเขียนอธิบาย (Explicit) เพื่อเผยแพร่สู่องค์กรและกระจายความรู้สู่กลุ่มเป้าหมาย (Classification) ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป

 

นายรังสรรค์ อ้วนวิจิตร

       การจัดการความรู้ในองค์การเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งเพราะทุกองค์การจะใช้ความรู้ในการตัดสินใจในการปฎิบัติงาน รวมทั้งใช้ในการปรับปรุงพัฒนางานและคนในองค์การให้มีประสิทธิภาพและคุณภาพดียิ่งขึ้น

       ความรู้ต่าง ๆ ในแต่ละองค์การมีอยู่อย่างกระจัดกระจายทั้งในรูปของเอกสาร(กระดาษและอิเลคทรอนิคส์) ฐานข้อมูล IT และอยู่ในตัวผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกองค์การจะต้องจัดการองค์ความรู้ต่าง ๆ เหล่านี้ให้เป็นระบบ เป็นหมวดหมู่ ตรงตามภารกิจและที่จำเป็นต้องใช้ประโยชน์ ทุกคนในองค์การสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติตามภารกิจได้อย่างสะดวก รวดเร็วและถูกต้อง

       ในองค์การของข้าพเจ้าได้ดำเนินการจัดการความรู้ในองค์การเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการของสำนกงานและโรงเรียนในสังกัดหลาย ๆ เรื่องด้วยกัน โดยมีการทำงานเป็นทีม ข่วยกันระดมพลังสมองเพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่มาใช้ในการบริหารจัดการและให้บริการต่าง ๆ เช่น การจัดวางระบบควบคุมภายในสำนักงานเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ มีการบริหารจัดการโรงเรียนแบบโซนคุณภาพ เพื่อให้โรงเรียนต่าง ๆ ภายในโซนได้ข่วยกันบริหารจัดการ มีการใช้ทรัพยากรร่วมกัน  หรือหาวิธีการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครู เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีการให้บริการ ณ จุดเดียว (One-Stop Service) ในหลาย ๆ เรื่อง เช่น   

     1. การออกบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ (5 นาที)

         - ยืื่่นคำร้องขอมีบัตรตามแบบที่กำหนด

         - เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูลพร้อมพิมพ์รายละเอียดใน    บัตรและประทับตรา 

         - ผู้ขอ ฯ รับบัตรและลงรายมือชื่อในบัตร

      2. การขอหนังสือรับรองการเป็นข้าราชการ (5 นาที)    

         - ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรอง ฯ

         - เจ้าหน้าที่ตรวจสอบข้อมูล พร้อมพิมพ์รายละเอียดในแบบหนังสือรับรองที่ผู้มีอำนาจลงนามไว้แล้ว

         - ผู้ขอ ฯ รับหนังสือรับรอง

        รวมทั้งยังมีเรื่องการเบิกค่ารักษาพยาบาล 10 นาที (ได้เงินสด) การเบิกค่าการศึกษาบุตร 10 นาที (ได้เงินสด) การออกหนังสือรับรองการมีสิทธิ์รับเงินค่ารักษาพยาบาล 10 นาที  การให้คำปรึกษาด้านกฏหมาย กฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติต่าง ๆ 10 - 30 นาที เป็นต้น

        จะเห็นได้ว่า การจัดการความรู้ในองค์การ เพื่อให้เกิดขึ้นเป็นองค์ความรู้ใหม่นั้นเป็นเรื่องของทุกคนในองค์การจะต้องช่วยกันคิดช่วยกันทำอย่างเต็มตามศักยภาพ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่ถูกต้องและสามารถนำไปสู่การปฏิบัตรได้จริง ผู้เขียนเชื่อว่าถ้าทุกองค์การได้ดำเนินการแล้วก็จะมีองค์ความรู้ใหม่ ๆ เกิดขึ้นในองค์การอย่างมากมายและย่อมส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในองค์การนั้น ฯ อย่างแน่นอน

   

เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกรู

จากประสบการณ์การทำงานของข้าพเจ้าตลอดระยะเวลา 12 ปี ในมหาวิทยาลัยคริสเตียน ข้าพเจ้าเรียนรู้งานต่าง ๆ มากมายได้รับทั้งประสบการณ์ตรงและโดยอ้อมที่มีการจัดการความรู้โดยที่ไม่รู้ตัว มหาวิทยาลัยคริสเตียนเป็นองค์กรที่มีการจัดการความรู้อยู่ตลอดเวลา ผู้บริหารและบุคลากรที่สังกัดส่วนงานวิชาการเป็นผู้ที่ต้องศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตนเอง พัฒนางานและพัฒนาองค์กร  ส่วนบุคลากรที่สังกัดส่วนงานสนับสนุนเป็นส่วนประกอบที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน    มหาวิทยาลัยมีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและเน้นให้ผู้บริหารทุกระดับและบุคลากรทุกคนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และเน้นการทำงานเป็นทีม

ข้าพเจ้าได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิหลายท่าน ผู้บังคับบัญชาและผู้บริหารหลายระดับ รวมทั้งได้มีโอกาสไปศึกษาค้นคว้าความรู้ต่างๆ เพื่อนำมาแบ่งปันให้กับผู้ร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาและนักศึกษา องค์ความรู้เหล่านั้นได้แก่ ความรู้เชิงวิชาชีพ ที่แต่ละคนสำเร็จการศึกษามาโดยตรง และวิชาการทางด้านการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้ที่จะต้องดำรงตำแหน่งผู้บริหารและบุคลากรทุกคน การวางแผนและกำหนดนโยบายหลายเรื่องเป็นการร่วมกันคิด ระดมความรู้สติปัญญาและมีข้อสรุปร่วมกัน

ประสบการณ์การทำงานที่ข้าพเจ้าภาคภูมิใจมากที่สุดที่ได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จ คือการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยคริสเตียนที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2541 ซึ่งในขณะนั้นยังไม่มีสถาบันใดการเริ่มดำเนินงานด้านนี้  ข้าพเจ้าได้ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย  การดำเนินงานดังกล่าวมีผู้บริหารสูงสุดซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในต่างประเทศมามากมายและเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ เป็นผู้นำและเป็นกำลังสำคัญในการดำเนินงาน ผู้บริหารและบุคลากรได้มีส่วนร่วมในการค้นคว้าหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องการประกันคุณภาพการศึกษาในสถาบันการศึกษาในต่างประเทศ เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาให้เป็นระบบการประกันคุณภาพที่เหมาะสมกับมหาวิทยาลัยฯ  ผู้บริหารทุกระดับ ผู้บริหารทุกคนร่วมกันทำงานอย่างหนักเพื่อให้เกิดความสำเร็จในการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยจนสำเร็จมีระบบและกลไกที่ดี เป็นที่ยอมรับในสังคมอุดมศึกษารวมทั้งได้รับการรับรองคุณภาพการศึกษาจากสมศ. ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึงคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ

มหาวิทยาลัยคริสเตียนยังมุ่งมั่นที่จะพัฒนาคุณภาพให้มีคุณภาพยิ่ง ๆขึ้นและสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ คุณภาพไม่ใช่การได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาเท่านั้น แต่จะต้องทำให้เกิดคุณภาพในทุกๆงาน อย่างแท้จริง 

 

นายทัศพร ชูศักดิ์

ความภูมิใจของข้าพเจ้าในครั้งแรกเป็นเรื่องของการสอบผ่านการคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งขณะนั้นจังหวัดนครสวรรค์ได้รับโควต้าจากกระทรวงสาธารณสุขในการดำเนินการคัดเลือกนักเรียนที่จบสายวิทย์ – คณิต ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 คนเพื่อไปศึกษาในสาขาสาธารณสุขชุมชน ที่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลกซึ่งเป็นวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชนก กระทรวงสาธารณสุขที่มีหน้าที่ในการดูแลวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข  ทั้งหมด  33  แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดต่างๆ ความภาคภูมิใจเรื่องต่อไปเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากความภูมิใจครั้งแรก ก็คือ หลังจากจบการศึกษา ข้าพเจ้าก็ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 องค์ปัจจุบัน ในวันที่ 1 มิถุนายน  2534 ในขณะนั้นข้าพเจ้าทำงานครั้งแรกที่สถานีอนามัยแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเป็นองค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล การป้องกันควบคุมโรค และการฟื้นฟูสภาพ ในช่วงที่ข้าพเจ้าปฏิบัติงานข้าพเจ้ามีประสบการณ์
ในการทำงานหลายองค์กรทั้งที่สถานีอนามัย โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ การทำงานแต่ละองค์กรมีความแตกต่างของประสบการณ์หลากหลายที่ได้รับ ในการปฏิบัติงานข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานเป็นอย่างดี และในปี 2537 ข้าพเจ้าไดรับการคัดเลือกเป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่นของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเหตุการณ์นี้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ข้าพเจ้าเป็นอย่างมากรวมทั้งพ่อแม่และญาติพี่น้องต่างก็มีความยินดีเช่นเดียวกัน ความสำเร็จของเหตุการณ์ทั้ง 3 เหตุการณ์ คือ การสอบคัดเลือกได้ การได้บรรจุเป็นข้าราชการ และการได้เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกันที่สร้างความภูมิใจและความประทับใจให้แก่ข้าพเจ้าเป็นอย่างดียิ่ง แต่การประสบความสำเร็จหรือมีประสบการณ์ที่น่าประทับใจเหล่านี้คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่ประพฤติหรือปฏิบัติ ซึ่งมีบางคนมีความคิดว่าเหตุการณ์เหล่านี้โชคชะตาเป็นผู้กำหนด
ข้าพเจ้าคิดว่าเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่สร้างความประทับใจให้แก่เรานั้น เกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งคือเราได้จัดการในเรื่องของความรู้ ( Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และการปฏิบัติ (Practice) ในเหตุการณ์หรือประสบการณ์นั้นๆ อย่างมีระบบและมีทิศทาง จึงก่อให้เกิดความสำเร็จ และสร้างความภูมิใจ ความประทับใจแก่เราได้ นอกจากการจัดการกับ KAP แล้ว  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ก็เป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จในเรื่องต่างๆ ไม่ว่า การศึกษา อาชีพการงาน ฐานะความร่ำรวย  ดังนั้นท่านควรสำรวจตัวท่านว่าความสำเร็จหรือเหตุการณ์
ที่น่าภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นกับตัวท่านนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับ      การจัดการ KAP และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์หรือไม่

นายทัศพร ชูศักดิ์
ความภูมิใจของข้าพเจ้าในครั้งแรกเป็นเรื่องของการสอบผ่านการคัดเลือกนักเรียนทุนของกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งขณะนั้นจังหวัดนครสวรรค์ได้รับโควต้าจากกระทรวงสาธารณสุขในการดำเนินการคัดเลือกนักเรียนที่จบสายวิทย์ คณิต ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 12 คน
เพื่อไปศึกษาในสาขาสาธารณสุขชุมชน ที่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดพิษณุโลก
ซึ่งเป็นวิทยาลัยในสังกัดสถาบันพระบรมราชนก กระทรวงสาธารณสุขที่มีหน้าที่ในการดูแลวิทยาลัยพยาบาลและวิทยาลัยการสาธารณสุข  ทั้งหมด  33  แห่ง ที่กระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดต่างๆ
ความภาคภูมิใจเรื่องต่อไปเป็นเรื่องที่ต่อเนื่องจากความภูมิใจครั้งแรก ก็คือ หลังจาก
จบการศึกษา ข้าพเจ้าก็ได้รับการบรรจุเป็นข้าราชการในองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาล
ที่ 9 องค์ปัจจุบัน ในวันที่ 1 มิถุนายน  2534 ในขณะนั้นข้าพเจ้าทำงานครั้งแรกที่สถานีอนามัย
แห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ การรักษาพยาบาล
การป้องกันควบคุมโรค และการฟื้นฟูสภาพ ในช่วงที่ข้าพเจ้าปฏิบัติงานข้าพเจ้ามีประสบการณ์
ในการทำงานหลายองค์กรทั้งที่สถานีอนามัย โรงพยาบาล สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ การทำงานแต่ละองค์กรมีความแตกต่างของประสบการณ์หลากหลายที่ได้รับ ในการปฏิบัติงานข้าพเจ้ามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานเป็นอย่างดี และในปี 2537 ข้าพเจ้าไดรับการคัดเลือกเป็นข้าราชการ
พลเรือนดีเด่นของจังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งเหตุการณ์นี้สร้างความภาคภูมิใจให้แก่ข้าพเจ้าเป็น
อย่างมากรวมทั้งพ่อแม่และญาติพี่น้องต่างก็มีความยินดีเช่นเดียวกัน
ความสำเร็จของเหตุการณ์ทั้ง 3 เหตุการณ์ คือ การสอบคัดเลือกได้ การได้บรรจุเป็น
ข้าราชการ และการได้เป็นข้าราชการพลเรือนดีเด่น เป็นเหตุการณ์ต่อเนื่องกันที่สร้างความภูมิใจและความประทับใจให้แก่ข้าพเจ้าเป็นอย่างดียิ่ง แต่การประสบความสำเร็จหรือมีประสบการณ์
ที่น่าประทับใจเหล่านี้คงจะเกิดขึ้นไม่ได้ ถ้าเราไม่ประพฤติหรือปฏิบัติ ซึ่งมีบางคนมีความคิดว่า
เหตุการณ์เหล่านี้โชคชะตาเป็นผู้กำหนด
ข้าพเจ้าคิดว่าเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่สร้างความประทับใจให้แก่เรานั้น เกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งคือเราได้จัดการในเรื่องของความรู้ ( Knowledge) ทัศนคติ (Attitude) และการปฏิบัติ (Practice) ในเหตุการณ์หรือประสบการณ์นั้นๆ อย่างมีระบบและมีทิศทาง จึงก่อให้เกิดความสำเร็จ และสร้างความภูมิใจ ความประทับใจแก่เราได้ นอกจากการจัดการกับ KAP แล้ว  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ก็เป็นตัวสำคัญในการขับเคลื่อนให้เกิดความสำเร็จในเรื่องต่างๆ ไม่ว่า การศึกษา
อาชีพการงาน ฐานะความร่ำรวย ดังนั้นท่านควรสำรวจตัวท่านว่าความสำเร็จหรือเหตุการณ์
ที่น่าภาคภูมิใจที่เกิดขึ้นกับตัวท่านนั้น มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการ KAP และแรงจูงใจให้สัมฤทธิ์หรือไม่

     KA ในส่วนของผมจะเป็นการเน้นที่จะทำกำไรสูงสุด ส่วนในการทำ KS ส่วนใหญ่จะสืบเนื่องมาจากการที่เรามีปัญหา ในประเด็นที่จะมาหาหรือมาทำ KM โดยตรงนั้นมีน้อยมาก แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มี โดยพวกเราทุกคนที่เป็น KA มาร่วมกันถ่ายทอดประสบการณ์กัน ถ่ายเทความรู้กัน ในประเด็นของการทำเสื้อให้ลูกค้าที่สวยที่สุด สร้างความพึงพอใจสูงสุด โดยมีส่วนร่วมในการคิด ในการออกความคิดเห็น และที่สำคัญมาด้วยความสมัครใจ มาบอกในสิ่งที่อยากจะบอก มาชี้แนะในสิ่งที่เคยประสบมา มีการเข้าร่วมตั้งแต่เจ้าของกิจการ ผู้บริหาร หัวหน้างาน และพนักงานที่ปฏิบัติงานอยู่ พูดในเรื่องเสื้อเหมือนกัน แต่หลายมุมมอง หลายประสบการณ์ หลายความรู้ หลายความคิด

        โดยเริ่มจากสิ่งที่เคยประสบมาจากประสบการณ์ตรง เช่นกรณีจะทำการซักเสื้อจะทำการซักอย่างไรให้เสื้อออกมานุ่มนวล น่าสัมผัส และน่าสวมใส่ ซักด้วยเวลาเท่าใด ใช้น้ำยาชนิดไหน ส่วนผสมเท่าไร จะมีการเสนอให้ซักด้วยน้ำร้อน หรือน้ำเย็นถ้าเป็นเสื้อขนสัตว์ก็ต้องซักด้วยน้ำร้อนนะเพื่อละลายไขมันที่มากับขนสัตว์ เป็นต้น เสื้อที่ซักออกมาขนาดใหญ่เกินกว่าที่กำหนด จะต้องนำไปซักใหม่เพื่อให้มันหดตัวมากขึ้น ถ้าซักออกมาแล้วขนาดเล็กเกินไปต้องหาเฟรมรีดให้ใหญ่เพื่อขยายขนาดออก เวลาอบเสื้อแล้วนำออกมาจากตู้อบใหม่ๆจะร้อนแต่ใช่ว่าจะแห้งสิ่งที่จะใช้พิสูจน์คือการดม ไม่ใช่ดมความสะอาดแต่ดมความชื้น หรือการรีดเสื้อบางอย่างไม่ควรรีดให้เตารีดสัมผัสกับตัวเสื้อ โดยตรงเพราะจะทำให้เสื้อขึ้นมันเงาดูไม่สวย แล้วจะต้องรีดเสื้อเพื่อกันการหดตัวของเสื้อกี่นิ้วเพื่อกันการคืนตัวของเสื้อ เพราะเมื่อถึงมือลูกค้าจะได้ขนาดอยู่ในเกณท์พอดี

         แม้กระทั่งขนถ่ายสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์ที่มีอุณหภูมิสูงมากจะทำให้เสื้อหดตัวมากขึ้นอีกเพียงใด โดยเฉพาะถ้าตู้สินค้านั้นอยู่ในตำแหน่งที่ดาดฟ้าเรือด้วยแล้วอุณหภูมิจะยิ่งสูงมากขึ้นไปอีก ถ้าเป็นเสื้อสีขาวเมือได้รับอุณหภูมิที่สูงมากขณะขนถ่ายก็สามารถที่จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อนได้เลย ทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของหลายๆความคิด และประสบการณ์ที่เกิดจริงและถูกถ่ายทอดส่งต่อกันมาเรื่อยๆ และได้มีการทดลองใช้จริงมาแล้ว และก็มารวมอยู่ที่ผม สิ่งเหล่านี้ไม่มีจดในตำราเป็นความรู้ฝังแน่น แต่หลังจากนี้ไปมันจะถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ที่ชัดแจ้งอยู่คู่กับองค์กรผม เพราะเมื่อถึงเวลาผลัดใบคนรู่นใหม่สามารถที่จะรุ้ สามารถเผยแพร่ได้ทั่วไป และทำต่อเนื่องได้ในทันที......

 

 

 

 

 

อบต.เป็นองค์กรของรัฐอีกองค์กรหนึ่งที่ความจำเป็นอย่างยิ่งเพราะเป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับปัญหาของชุมชน ใกล้ลชิดกับความต้องการของปชช. ใกล้ชิดกับอิทธิพลท้องถิ่น และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคืออำนาจและผลประโยชน์ที่ไม่พึงประสงค์ ฉะนั้นการที่จะทำให้ปัญหาเหล่านี้เบาบางลงไป จึงจำเป็นสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สิ่งหนึ่งที่ผมใช้ในการจัดการในเรื่องดังกล่าวคือการจัดประชุมเป็นนิจ การจัดประชุมของผมนั้นผมได้ร่วมกับผู้บริหารท้องถิ่นและผู้บริหารในระดับกองในการทำความตกลงร่วมกัน และได้กำหนดการประชุมให้มีขึ้นในทุกระดับดังนี้คือ การประชุมสภาฯอบต.ประจำเดือน การประชุมพนักงานส่วนตำบลประจำเดือน  การประชุมหัวหน้ากองประจำสัปดาห์ และการประชุมทุกวันของแต่ละกอง การดำเนินการดังกล่าวได้ดำเนินการมาเป็นเวลา 9 ปี ส่งผลให้สมาชิกสภาอบต.รู้ถึงบทบาทในการอาสาเข้ามาทำงานทางการเมืองมิใช่เข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ พนังงานของอบต.มีความตระหนักในการเป็นข้าราชการ มีความภาคภูมิใจในการเป็นข้าราชการและเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร และอีกอยย่างที่เห็นเด่นชัดขึ้นคือทุก ๆ คนกล้าที่จะคิด กล้าที่จะแสดงความคิดเห็น และกล้าที่จะร่วมกันตัดสินใจในการทำงานร่วมกันซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรที่มีการแลกเปลี่ยนความรุ้ร่วมกัน และสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วและรัดกุมยิ่งขึ้น  ผลงานที่น่าภูมิใจที่ผ่านมาคืออบต.ไร่ขิงได้เป็น 1 ใน 500 ในการคัดเลือกของโครงการวิถีใหม่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศไทย คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  และได้รับรางวัลชนะเลิศโครงการประกวดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทีมีการจัดการที่ดีประจำปีพ.ศ.2547-2548

จากความสำเร็จดังกล่าวย่อมปฏิเสธไม่ได้เลยว่าเป็นความสำเร็จของทุกฝ่ายที่ได้ร่วมมือร่วมใจกันปฏิบัติงานกันด้วยความมานะอุตสาห และเป็นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกันและกัน อบต.ไร่ขิงจึงเป็นองค์กรที่น่าอยู่ น่าทำงาน และสามารถเป็นที่พึ่งให้กับปชช.ได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

สำหรับศูนย์บริการและศูนย์ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ สิ่งที่ลูกค้าคาดหวังคือ สิ่งที่ลูกค้าต้องการที่จะได้รับจากเรา ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญทั้งในด้านการบริการ และด้านการขายในการทำให้ลูกค้าพึงพอใจ และกลับมาใช้บริการอีก ดังนั้นการสร้างความพึงพอใจลูกค้าจึงเป็นภาระกิจอันสำคัญขององค์กร โดยจะต้องสร้างความมั่นใจและพอใจให้กับผู้ใช้รถยนต์ คือสิ่งสำคัญสูงสุด โดยการนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดจากการสำรวจความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง Customer is Job # 1  

ในส่วนของธุรกิจรถยนต์นั้น เทคโนโลยีแต่ละค่ายนั้น แทบจะใกล้เคียง และทันกัน หลายบริษัทจึงมาให้ความสำคัญกับความพึงพอใจลูกค้า (Customer Satisfaction) การสำรวจความคิดเห็นของลูกค้า จึงเป็นการให้ข้อมูลที่มีประโยชน์ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานขององค์กรในการวินิจฉัยและปรับปรุงการทำงาน รวมทั้งบอกสิ่งสำคัญในกระบวนการซื้อขายและบริการ ใช้วัดประสิทธิภาพขององค์กรในความสามารถที่จะตอบสนองต่อสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง และจะทำให้ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่มีความจงรักภักดี ลูกค้าที่ตีตัวออกห่าง หรือหยุดมาใช้บริการ

จากความสำคัญด้านความพึงพอใจของลูกค้า ภาระกิจหลักของเราคือ การบรรลุเป้าหมายในการ "เป็นอันดับ 1 ทางด้านความพึงพอใจลูกค้า" เราจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนการทำงาน โดยการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กรให้มี "หัวใจในการบริการ" คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดียิ่งขึ้น บุคลากรจึงนับว่าเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนองค์กรของเรา ทำให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง โดยเราได้กำหนดให้มีหน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์ (DCRC) และผู้จัดการลูกค้าสัมพันธ์ (CS Champion) ในการยกระดับความพึงพอใจของลูกค้าให้สูงขึ้น ให้มีความเป็นผู้นำ และรับผิดชอบโดยตรงในการปรับปรุงและพัฒนางานด้านความพึงพอใจลูกค้า  ซึ่งจะรายงานตรงกับกรรมการผู้จัดการ เพื่อรับทราบปัญหาที่ลูกค้าร้องเรียน ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ นำมาปรับปรุงแก้ไข โดยมีการจัดทำระบบการติดตามลูกค้า และแบบสำรวจความคิดเห็นของลูกค้า
 

หลังจากที่เราได้จัดตั้งหน่วยงานลูกค้าสัมพันธ์ในการรวบรวมข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนของลูกค้า ทำให้ผลการสำรวจความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าที่ตอบว่าพึงพอใจมากในประสบการณ์จากการซื้อรถสูงถึง 88% และผลการสำรวจความพึงพอใจโดยรวมของลูกค้าที่ตอบว่าพึงพอใจมากในประสบการณ์จากการบริการสูงถึง 75% นอกจากนี้เรายังสามารเปลี่ยนลูกค้าที่ไม่พึงพอใจอย่างมาก และไปร้องเรียน สคบ. ในช่วงที่เกิดแสข่าวการทุบรถ ให้เป็นลูกค้าที่มีความจงรักภักดีทั้งหมด โดยกลับมาซื้อรถยนต์คันใหม่ และกลับมาเป็นลูกค้าประจำในการเข้ารับบริการ จากการที่คิดวิธีการในการเปลี่ยนลูกค้าที่ไม่พึงพอใจมากให้กลับมาเป็นลูกค้าจงรักภักดี คือสิ่งที่เราภูมิใจ
จึงเห็นว่ากระบวนรวบรวมข้อมูลในการค้นหาสิ่งที่ลูกค้าคาดหวัง นำมาเป็นแนวทางปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนเป็นตอนเป็นสิ่งที่สำคัญ ในการผลักดันองค์ให้ประสบความสำเร็จ...

 "หากท่านเล่นเรื่องราคา อย่างมากก็ชนะได้ 1-3 เดือน
  หากท่านใช้เทคโนโลยี อย่างมากก็นำหน้าได้ 6-9 เดือน
  แต่ถ้าท่านให้บริการด้วยคุณค่า ท่านก็จะครองใจลูกค้า
  และอยู่ยืนยงได้...ตลอดไป"

สำหรับผู้เขียนแล้ว Tacit Knowledge ที่นำมาใช้จะเป็นช่วงที่ผู้เขียนทำงานใน บ.ไทยแมล่อนเท็กซ์ไทล์ แผนกcomputer ซึ่งกระบวนการ Tacit Knowledge พอจัดลำดับความสำคัญดังนี้

     1. Individual Knowledge ความรู้เฉพาะบุคคล เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวพนักงานแต่ละคน หรืออยู่ในตัว programmerแต่ละคนอยู่แล้ว ซึ่งใน บ.แมล่อนเท็กซไทล์นั้นจะมี programmer ประมาณ 8-9 คน จะดูแลแต่ละ program เช่น program เงินเดือน จะมี programmer ดูแลประมาณ 4 คน รวม 6 บริษัท ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีคนงานประมาณ 3000 คน บางบริษัทก็มีคนงานเป็นหมื่น ส่วนprogrammerที่เหลือก็จะดูแล program บัญชี ต้นทุนการผลิต การผลิตในโรงงานเป็นตน ดังนั้นแต่ละคนก็จะมีความชำนาญในการเขียน programที่ตนเองถนัด

     2. Orgnizational Knowledge ความรู้ขององค์กร เป็นความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างพนักงานที่อยู่ในกล่ม ซึ่งทำให้เกิดเป็นความรู้โดยรวมขององค์กร ในกระบวนการนี้ แผนกคอมพิวเตอร์นำมาใช้มาก เพราะเมื่อในแผนกมีคนที่มีความรู้มาก ต้องมีการแลกเปลี่ยน เพราะในบางครั้ง Progrm เกิด Error ขึ้นมาโดยไม่รู้สาเหตุและไม่สามารถจะแก้ไขได้ ก็จะมีการมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันว่า programmer คนไหนเคยเจอปัญหาแบบนี้ไหมและแก้ไขอย่างไร ถ้ามีคนเคยเจอปัญหาแบบนี้ก็จะบอกกันว่าเขาแก้ไขแบบนี้นะ หรือปัญหาอาจไม่เหมือนกันทีเดียวอาจใช้วิธีแก้ไขแบบนี้อาจจะใช้ได้ ซึ่งกระบวนการนี้ progrmamer เงินเดือนจะใช้มากที่สุด เพราะ program เงินเดือนนั้น จะให้มีการเพิ่มหรือแก้ไขทีคล้ายกันแต่จะไม่เหมือนกันทีเดียว เช่น เบี้ยขยัน ที่ต้องเช็ดคนงานที่เข้างานเป็นกะ หรือแม้แต่ประกันสังคนที่มีการเปลี่ยนแปลง ทุกคนจะมีคิดรวมกันว่าจะเขียนเป็นแนวไหน แล้วก็สรุปเขียนเป็น Flow chart ของ Loop นั้นมาแล้วแต่ละคนก็จะไปเขียนใน โปรแกรมของแต่ละบริษัทที่จะมีข้อแม้แตกต่างกันนิดหน่อย ดังนั้น Flowchart อันนั้นก็จะเป็นองค์ความรู้ใหม่ของแผนกขึ้นมา อันนำไปสู่กระบวนการต่อไปคือ

    3.Structural Knowledge ความรู้ที่เป็นระบบ ซึ่งในกระบวนการนี้ ผู้เขียนมีความเห็นว่า Flow chart ที่แผนกคอมพิวเตอร์ได้ทำไว้ เพื่อที่จะให้ programmer มาอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน เป็นความรู้ที่เป็นระบบ เพราะผู้เขียนก็จะกลับไปดู flow chart นี้ถ้าเขียนโปรแกรมแล้วงงเอง

อัญชลี รอดสวาสดิ์

เรียน ดร.ปรัชญนันท์ นิลสุข ที่เคารพ

       จากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาในอดีตของดิฉันสมัยเป็นผู้บริหารศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอราว 5 ปี ทำให้ได้ความรู้ต่างๆ มาจาก Embedded Knowledge: คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ภายในองค์กรเอง และ Explicit Knowledge: คือ ความรู้ที่สามารถอธิบายหรือเขียนออกมาได้โดยง่าย เช่น คู่มือการปฏิบัติงานในตำแหน่งหน้าที่ ทำให้เกิดเป็นTacit Knowledge: คือ ความรู้ที่มีอยู่ในแต่ละบุคคลที่ได้มาจากประสบการณ์และความสามารถส่วนตัว นำ Sharing ความรู้ของแต่ละบุคคลในองค์กร ทำให้ดิฉันนำมาประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดีและมีความภาคภูมิใจในงานที่ผ่านมาดังนี้

         การทำงานของดิฉันประการที่ 1 โดยการเข้าถึงประชาชนที่อยู่นอกโรงเรียนเพื่อชักจูงให้เข้ารับการศึกษาให้ได้ตามมารตรฐานโดยการเข้าหาผู้นำท้องถิ่นเพื่อขยายต่อยังสมาชิกในท้องถิ่น เข้าไปยังผู้บริหารโรงงานเพื่อให้เห็นความสำคัญของการที่ยอมให้ลูกจ้างคนงาน หรือสมาชิกในชุมชนมีระดับการศึกษาเพิ่มขึ้นเกิดประโยชน์อย่างไรกับเจ้าของโรงงาน หรือผู้นำท้องถิ่นเอง โดยชักจูงให้ทั้งยินยอมและสนับสนุนทั้งสถานที่เรียน และงบประมาณบางส่วนรวมทั้งสื่อการเรียนการสอน ทำให้ดิฉันรู้ว่าการพูดคุยการพบปะการมีสัมพันธ์ที่ดีกับผู้นำชุมชน หรือผู้บริหารโรงงานทำให้การบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนของดิฉันดีมากๆ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี 

         ประการที่ 2 ดิฉันจะ Sharing ความรู้และประสบการณ์ของครูประจำกลุ่ม โดยจัดการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของครูประจำกลุ่ม และนำไปแก้ปัญหาของครูบางคนที่เจอปัญหาลักษณะเดียวกัน โดยดิฉันจะเป็นกันเองกับลูกน้องคือครูประจำกลุ่มซึ่งถือว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการบริหารงานเหมือนเป็นพี่น้องญาติมิตรกัน มีการทานอาหารร่วมกันบ่อยครั้งเพื่อให้เกิดความคุ้นเคย และพูดคุยกับเขามากๆ บ่อยๆ จนเป็นนิสัย ทำให้ได้ใจของครูประจำกลุ่ม และบุคคลต่างๆ ที่ดิฉันเข้าไปสัมผัสทำงานด้วย จึงทำให้การบริหารงานง่ายขึ้น

          ประการที่ 3 ดิฉันพยายามจดบันทึกความรู้ใหม่ๆ และประสบการณ์การแก้ปัญหาในแต่ละครั้งไว้เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาเดิมซ้ำอีก ซึ่งทำให้การปฏิบัติงานเร็วขึ้นและง่ายขึ้น เพราะงานที่ดิฉันทำจะเป็นงานลักษณะวงรอบเดิมเป็นส่วนใหญ่ในรอบปีเพราะเป็นงานการศึกษานอกโรงเรียนเพื่อให้ประชาชนที่ยังไม่มีวุฒิการศึกษาตามมาตรฐานมารับการศึกษาและนำความรู้ตามวิชาชีพมาเทียบโอนเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษาง่ายขึ้นและใช้เวลาเรียนน้อยกว่าโรงเรียนในระบบ    

          ดิฉันคิดว่าหากดิฉันเป็นผู้บริหารสถานศึกษาอีกครั้งก็จะใช้หลักการ KM(Knowledge Management) มาประยุกต์ใช้กับระบบ IT โดยใช้ Computer ให้เกิดประโยชน์ในการเก็บKnowledge ของแต่ละคนเพื่อใช้ในการนำสืบความรู้มาใช้ประโยชน์โดยไม่ให้ความรู้สูญหายไปพร้อมบุคคล

สำหรับประสบการณ์ความสำเร็จในชีวิตการทำงานของดิฉัน  ประทับใจและภาคภูมิใจหลายสิ่งหลายอย่าง  แต่จะมีหลักการทำงานอยู่ไม่กี่อย่าง
คือ  เราจะต้องบริหารงานและบริหารคน  ก่อนจะทำงานแต่ละชิ้นแต่ละโครงการ 
ต้องมอบงานให้ออกครบทุกด้าน  เข้าใจทุกขั้นตอนของงานนั้น ๆ  มีกิจกรรมอะไรบ้าง 
มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง  ตั้งแต่ขั้นแรกจนจบสมบูรณ์  จะต้องบริหารคนให้เป็นเพราะคนเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้งานเดินได้และสิ่งที่เหนื่อยที่สุด  คือ  การวางแผน (Planning)   มีการวางแผน
การทำงาน  โดยต้องใช้ความรู้จากการศึกษาจากประสบการณ์  จากบุคคลต่าง ๆ  มีการจัดองค์กร (Organization)  จัดคนเข้าทำงาน (Staffing) โดยยึดหลัก The right man to the right job  
มีการ Directing  และ Don trolling การสั่งการจะต้องชัดเจน  มอบหมายหน้าที่แต่ละฝ่ายให้ถูกต้องหลังจากนั้นจะต้องควบคุมดูแล  ติดตามเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา  เช่น
            ในการประชุมเหล่ากาชาดจังหวัด  โดยมีสมาชิกจากจังหวัดต่าง ๆ  จาก  7  จังหวัดในภาค  ประมาณเกือบหนึ่งพันคน  ดิฉันได้จัดให้มีการประชุมเสนอความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมดังกล่าวตอนกลางวัน  คือ  Walk Rally  เพื่อให้สมาชิกเกิดความสนิทสนมใกล้ชิด  พร้อมทั้งได้ความรู้  ความสนุกสนาน  ทำให้คนเป็นหนึ่งเดียวกันได้ง่าย
พอตอนกลางคืนจัดให้มีการแสดงของแต่ละจังหวัด  สำหรับตอนเช้าเป็นงานวิชาการ  ได้เชิญวิทยากรจากกรุงเทพมหานครมาให้ความรู้  เรื่องการบริหารจัดการ  หรือบางครั้งเรื่องสุขภาพ 
เริ่มการทำงานเป็นทีม  หลังจากนั้นเป็นการประชุมโดยเสนอผลงานของแต่ละจังหวัดเป็นรูปภาพ
ตัวหนังสือเป็นกราฟบนจอโปรเจคเตอร์  เสร็จสิ้นการเสนอผลงานเป็นการประชุมแสดง
ความคิดเห็นตามวาระที่กำหนดไว้  แต่อย่างไรก็ตามการทำงานจะสำเร็จต้องมีทีมงาน
โดยจัดผู้รับผิดชอบแต่งตั้งประธาน  รองประธาน  เลขาฝ่ายแต่ละฝ่าย  มีฝ่ายต้อนรับ 
ฝ่ายลงทะเบียน/ของชำร่วย  ฝ่ายการเงิน/บัญชี  ฝ่ายอาคารสถานที่แสงเสียง  ฝ่ายกิจกรรมวอคแลนลี่
ฝ่ายอาหารเครื่องดื่ม  ฝ่ายการแสดง  ฝ่ายพิธีการ  ฝ่ายจัดทำหนังสือ  ฝ่ายเลขา
            มีการมอบหมายงานให้แต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน  จะต้องมีการติดตาม  ควบคุมอย่างใกล้ชิด  โดยเรียกทุกคนที่รับผิดชอบรายงาน  การปฏิบัติงานพร้อมทั้งต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้า
ถ้ามีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นจะต้องมีแผนแก้ไข  เช่น  ถ้าฝนตกจะต้องมีแผนที่จะต้องจัดกิจกรรมวอคแลนลี่ภายในอาคาร  หลังจากติดตามตรวจสอบทุกขั้นตอนแล้ว  พอถึงเวลางานจริง ๆ 
ดิฉันจะอยู่เฉย ๆ  ปล่อยให้กลไกต่าง ๆ  เดินไปตามขั้นตอนงานที่ออกมาทุกครั้ง  จะได้รับเสียงชมเชยจากผู้เข้าร่วมประชุมโดยจากแบบประเมิน  จากการแสดงออก  จากการพูดคุย  จากคำชมเชย  หลังเสร็จสิ้นโครงการ
            สำหรับในเรื่องของการจัดหารายได้แต่ละจังหวัดจะใช้รูปแบบที่แตกต่างกัน  เพราะสถานการณ์  สิ่งแวดล้อม  และปัจจัยต่าง ๆ  ที่แตกต่างกัน  เช่น  ที่ จ.ราชบุรี   ได้จัดให้มีการประชุมเสนอความคิดเห็น รูปแบบ วิธีการ โดยสรุปกิจกรรม
1.  ขอบริจาคเสื้อผ้าของใช้ที่ใช้แล้วทุกชนิด  นำมาขายในราคาถูก  ในราคา 5, 10, 2.  50, 100 บาท  (บางอย่างของที่บริจาคเป็นของดีจากต่างประเทศ) 
2.  ออกสลากล๊อตเตอรรี่ 
3.  ร้านมัจฉากาชาด  ซึ่งตอนแรกมีเสียงต่อต้านมากว่าคนราชบุรีไม่เคยใช้ของเก่า  ร้านมัจฉากาชาดก็ขายยากไม่ค่อยมีคนซื้อ  แต่ด้วยการบริหารจัดการที่มีรูปแบบที่ดี  มีการวางแผนอย่างดี  ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกิจกรรม 
สำหรับเสื้อผ้าที่ใช้แล้ว  (มีการแต่งตั้งทีมขอรับบริจาคเสื้อผ้า  ทีมคัดเลือก  ทีมขาย)  ได้เสื้อผ้า
ของใช้มากมาย  ขายดีมากคนซื้อมารอก่อนที่ร้านจะเปิด  ร้านมัจฉากาชาดจัดให้แต่ละหน่วยงานเป็นผู้จัดและบริหารแต่ละวัน  โดยกาชาดมีหน้าที่หาของ  กำหนดรางวัลที่จะออก  นอกจากนั้นแต่ละหน่วยงานบริหารจัดการ  ทำให้เกิดการแข่งขันทั้งด้านการตกแต่งร้าน  ด้านการทำยอดจำหน่าย  ทำให้กิจกรรมหารายได้ทั้งหมดได้เกือบสิบล้านบาท  จากเดิมได้หลักหมื่น  ขั้นตอนการทำงานเหมือนกับกิจกรรมอื่น ๆ  ที่ทำมา  คือ  แต่งตั้งคนให้เหมาะสมกับงาน  มอบหมายความรับผิดชอบ  แต่ละขั้นตอน  ในส่วนของจังหวัดนครสวรรค์การหารายได้  เปลี่ยนรูปแบบเพราะเกิดน้ำท่วมทุกอำเภอ  เลยมีแนวคิดว่าไม่น่าจะจัดหารายได้ในรูปแบบเก่า ๆ  ด้วยการออกร้านมัจฉากาชาด  เพราะคนที่จะจับมัจฉากาชาดส่วนมากเป็นคนที่มีฐานะยากจน  ดังนั้น  จึงวางแผนหาเงินจากคนรวยไปให้คนจน  จัดให้มีกิจกรรมหารายได้  3  กิจกรรม  ในตอนกลางคืน  1  คืน  โดยจัดเวที  แสง  เสียง  อย่างสวยงามจากทีมงานมืออาชีพ
            1.  ร้องเพลง
            2.  การแสดงนานาชาติ  ลูกทุ่ง  TMF
            3.  เดินแฟชั่นโชว์ย้อนยุครัตนโกสินทร์ – ปัจจุบัน
            ผู้ที่ร่วมร้องเพลงจะต้องเสียเงินคนละ  หนึ่งหมื่นบาท   มีทั้งสว., ส.ส.  ทั้งหมดในจังหวัด  คหบดี  ผู้ว่าราชการจังหวัด  รองผู้ว่าฯ  ปลัดจังหวัด  หัวหน้าส่วนราชการ  เจ้าของบริษัท 
นายแพทย์  ผู้นำองค์กรเอกชน  ปรากฏว่ามีคนมาขอร้องเพลงมากมายไม่สามารถ
จะให้ร้องได้ทุกคน  เพราะเวลาจำกัด
            ส่วนการแสดงนานาชาติ  และลูกทุ่ง TMF  ใช้คนเยอะมาก  ผู้มาแสดงต้องเสียงเงินคนละห้าพันบาท
            เดินแฟชั่นโชว์ย้อนยุค  ทางกาชาดจัดหาเครื่องแต่งตัวตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์  จนถึง ปัจจุบัน  พร้อมแต่หน้าทำผมทุกอย่างให้เสร็จผู้แสดงเสียงเงินคนละ ห้าพันบาท  มีผู้มาสมัครเป็นนักแสดงมากมาย  มีหัวหน้าส่วนราชการ  หัวหน้าศาล  นายแพทย์  ทหาร  ตำรวจ 
ประธานหอการค้า  ประธานสภา  อบต.  อบจ.  นายอำเภอ  สื่อมวลชน  ประชาชนทั่วไป  ข้าราชการตั้งแต่รับดับผู้ใหญ่  จนถึงระดับเด็ก ๆ
            นอกจากการแสดง  มีการขายโต๊ะจีนให้ผู้เข้าร่วมชมงาน  โต๊ะละ  สามพันบาท  โต๊ะ VIP  หนึ่งหมื่นบาท  ปรากฏว่ามีคนแย่งกันซื้อโต๊ะมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโต๊ะ VIP  ต้องเพิ่มจนไม่มีที่จะเพิ่ม  เพราะทุกคนอยากมาดูการแสดงของคนที่เขารู้จัก  ลูกน้องก็อยากมาดู  การแสดงของผู้บังคับบัญชา  หรือมาดูญาติพี่น้องคนในครอบครัว  จนกระทั่งเปิดงานแล้วยังมีคนมาขอซื้อโต๊ะ
มีกำไรจากค่าตัวนักแสดงครึ่งล้านบาท  และรายได้จากการขายโตะอีกส่วนหนึ่งรวมหลายล้านบาท          
            การบริหารจัดการมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบโดยแต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบจากคนในองค์กรบ้าง  นอกองค์กรบ้าง  เช่น  ความสวยงามของโต๊ะอาหารมอบให้อาชีวะกับราชภัฏฯ
ฝ่ายการแสดง – นายกกาชาดดูแลรับผิดชอบ  และฝ่ายอื่น ๆ  อีกหลายฝ่ายตามกิจกรรมที่เกิดขึ้น
            หลังจากเสร็จงานทุกคนมีความสุข  ยื่นความจำนงขอแสดงอีกในงานต่อไป  เป็นการคุ้มค่าได้ทั้งเงินได้ทั้งคนทำให้คนทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วม  มีความผูกพัน  มีความสามัคคี  มีจิตสำนึกร่วมกัน
            ส่วนงานที่ประทับใจที่เป็นวิชาการ  เช่น  โครงการอบรมอนามัยในบ้าน  โครงการเพื่อนพึ่งพายามยาก  โครงการยายเยี่ยมหลาน  โครงการครอบครัวสัมพันธ์ ฯลฯ  สำหรับโครงการครอบครัวสัมพันธ์  นำสามี  ภรรยา  เข้าอบรมที่อำเภอเมือง  จังหวัดราชบุรี  ทุกตำบล 
โดยคัดเลือก  คู่สามี-ภรรยา  มาให้ความรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเองตามสถานะภาพที่เป็นอยู่ 
เรื่องยาเสพติด  โรคเอดส์  เรื่องความรักความสัมพันธ์ในครอบครัว  เพื่อให้ครอบครัวอบอุ่น  จะได้ไม่เกิดปัญหาสังคม   พร้อมมีกิจกรรมระหว่างอบรม  เชิญวิทยากรจากกรุงเทพมหานคร  จากบุคคลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดที่ประสบความสำเร็จ  หลังอบรมมีบายศรีสู่ขวัญ  มอบประกาศนียบัตรเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะรักกันตลอดไป  โดยเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด  หัวหน้าส่วนราชการร่วมบายศรีสู่ขวัญ  และแจกใบประกาศหลังจากเสร็จโครงการแล้ว  หนึ่งปี  ได้มีการติดตามประเมินผล  ออกเยี่ยมผู้เข้าอบรมตามบ้านต่าง ๆ  มีคณะกรรมการทำการติดตามประเมินผล  ปรากฏว่าทุกครอบครัวจะรอคอย  บางครอบครัวถึงกับขาดงาน  จากการสอบถามสามีบอกภรรยาดีมากเพิ่งจะเข้าใจภรรยามากตอนเข้าอบรม  ส่วนภรรยาบอกสามีเปลี่ยนไปในทางที่ดีจะไม่ค่อยทะเลาะกันหรือบางรายแทบจะไม่ทะเลาะกันเลย  เพราะกลัวถ้าทะเลาะกันเดี๋ยวจะอายตอนมาประเมินผล  บางคู่บอกเกิดมาในชีวิตไม่เคยเข้าอบรมหรือทำกิจกรรมด้วยกันเลย  นับเป็นครั้งแรกจากการติดตามประเมินผลทุกครอบครัวอยากให้ทำการอบรมให้ครบทุกอำเภอ  และที่เหนือสิ่งใด  คือ  การทำให้ครอบครัวมีความสุข  มีความอบอุ่น  สามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสังคมได้
            สิ่งที่ภาคภูมิใจและประทับใจ  คือได้มีโอกาสช่วยเหลือคนที่เดือนร้อน  ทำให้คนอื่นมีความสุข  และได้รับคำชมเชยจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี  ในการทำงานได้รับรางวัล
            -  โล่ห์เกียรติคุณอาสาสมัครดีเด่นประเภทพัฒนาสังคมจากสภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ประจำปี 2541
            -  โลห์เกียรติคุณ “หม่อมงามจิตต์ บูรฉัตร”  มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์  บูรฉัตร 
ในการดูแลเยาวชนประจำปี 2542
สำหรับประสบการณ์ความสำเร็จในชีวิตการทำงานของดิฉัน  ประทับใจและภาคภูมิใจหลายสิ่งหลายอย่าง  แต่จะมีหลักการทำงานอยู่ไม่กี่อย่าง
คือ  เราจะต้องบริหารงานและบริหารคน  ก่อนจะทำงานแต่ละชิ้นแต่ละโครงการ 
ต้องมอบงานให้ออกครบทุกด้าน  เข้าใจทุกขั้นตอนของงานนั้น ๆ  มีกิจกรรมอะไรบ้าง 
มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง  ตั้งแต่ขั้นแรกจนจบสมบูรณ์  จะต้องบริหารคนให้เป็นเพราะคนเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้งานเดินได้และสิ่งที่เหนื่อยที่สุด  คือ  การวางแผน (Planning)   มีการวางแผน
การทำงาน  โดยต้องใช้ความรู้จากการศึกษาจากประสบการณ์  จากบุคคลต่าง ๆ  มีการจัดองค์กร (Organization)  จัดคนเข้าทำงาน (Staffing) โดยยึดหลัก The right man to the right job  
มีการ Directing  และ Don trolling การสั่งการจะต้องชัดเจน  มอบหมายหน้าที่แต่ละฝ่ายให้ถูกต้องหลังจากนั้นจะต้องควบคุมดูแล  ติดตามเพื่อแก้ปัญหาอุปสรรค์ที่เกิดขึ้นได้ทันเวลา  เช่น
            ในการประชุมเหล่ากาชาดจังหวัด  โดยมีสมาชิกจากจังหวัดต่าง ๆ  จาก  7  จังหวัดในภาค  ประมาณเกือบหนึ่งพันคน  ดิฉันได้จัดให้มีการประชุมเสนอความคิดเห็นในการจัดกิจกรรมดังกล่าวตอนกลางวัน  คือ  Walk Rally  เพื่อให้สมาชิกเกิดความสนิทสนมใกล้ชิด  พร้อมทั้งได้ความรู้  ความสนุกสนาน  ทำให้คนเป็นหนึ่งเดียวกันได้ง่าย
พอตอนกลางคืนจัดให้มีการแสดงของแต่ละจังหวัด  สำหรับตอนเช้าเป็นงานวิชาการ  ได้เชิญวิทยากรจากกรุงเทพมหานครมาให้ความรู้  เรื่องการบริหารจัดการ  หรือบางครั้งเรื่องสุขภาพ 
เริ่มการทำงานเป็นทีม  หลังจากนั้นเป็นการประชุมโดยเสนอผลงานของแต่ละจังหวัดเป็นรูปภาพ
ตัวหนังสือเป็นกราฟบนจอโปรเจคเตอร์  เสร็จสิ้นการเสนอผลงานเป็นการประชุมแสดง
ความคิดเห็นตามวาระที่กำหนดไว้  แต่อย่างไรก็ตามการทำงานจะสำเร็จต้องมีทีมงาน
โดยจัดผู้รับผิดชอบแต่งตั้งประธาน  รองประธาน  เลขาฝ่ายแต่ละฝ่าย  มีฝ่ายต้อนรับ 
ฝ่ายลงทะเบียน/ของชำร่วย  ฝ่ายการเงิน/บัญชี  ฝ่ายอาคารสถานที่แสงเสียง  ฝ่ายกิจกรรมวอคแลนลี่
ฝ่ายอาหารเครื่องดื่ม  ฝ่ายการแสดง  ฝ่ายพิธีการ  ฝ่ายจัดทำหนังสือ  ฝ่ายเลขา
            มีการมอบหมายงานให้แต่ละฝ่ายอย่างชัดเจน  จะต้องมีการติดตาม  ควบคุมอย่างใกล้ชิด  โดยเรียกทุกคนที่รับผิดชอบรายงาน  การปฏิบัติงานพร้อมทั้งต้องมีการคาดการณ์ล่วงหน้า
ถ้ามีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นจะต้องมีแผนแก้ไข  เช่น  ถ้าฝนตกจะต้องมีแผนที่จะต้องจัดกิจกรรมวอคแลนลี่ภายในอาคาร  หลังจากติดตามตรวจสอบทุกขั้นตอนแล้ว  พอถึงเวลางานจริง ๆ 
ดิฉันจะอยู่เฉย ๆ  ปล่อยให้กลไกต่าง ๆ  เดินไปตามขั้นตอนงานที่ออกมาทุกครั้ง  จะได้รับเสียงชมเชยจากผู้เข้าร่วมประชุมโดยจากแบบประเมิน  จากการแสดงออก  จากการพูดคุย  จากคำชมเชย  หลังเสร็จสิ้นโครงการ
            สำหรับในเรื่องของการจัดหารายได้แต่ละจังหวัดจะใช้รูปแบบที่แตกต่างกัน  เพราะสถานการณ์  สิ่งแวดล้อม  และปัจจัยต่าง ๆ  ที่แตกต่างกัน  เช่น  ที่ จ.ราชบุรี   ได้จัดให้มีการประชุมเสนอความคิดเห็น รูปแบบ วิธีการ โดยสรุปกิจกรรม
1.  ขอบริจาคเสื้อผ้าของใช้ที่ใช้แล้วทุกชนิด  นำมาขายในราคาถูก  ในราคา 5, 10, 2.  50, 100 บาท  (บางอย่างของที่บริจาคเป็นของดีจากต่างประเทศ) 
2.  ออกสลากล๊อตเตอรรี่ 
3.  ร้านมัจฉากาชาด  ซึ่งตอนแรกมีเสียงต่อต้านมากว่าคนราชบุรีไม่เคยใช้ของเก่า  ร้านมัจฉากาชาดก็ขายยากไม่ค่อยมีคนซื้อ  แต่ด้วยการบริหารจัดการที่มีรูปแบบที่ดี  มีการวางแผนอย่างดี  ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดกิจกรรม 
สำหรับเสื้อผ้าที่ใช้แล้ว  (มีการแต่งตั้งทีมขอรับบริจาคเสื้อผ้า  ทีมคัดเลือก  ทีมขาย)  ได้เสื้อผ้า
ของใช้มากมาย  ขายดีมากคนซื้อมารอก่อนที่ร้านจะเปิด  ร้านมัจฉากาชาดจัดให้แต่ละหน่วยงานเป็นผู้จัดและบริหารแต่ละวัน  โดยกาชาดมีหน้าที่หาของ  กำหนดรางวัลที่จะออก  นอกจากนั้นแต่ละหน่วยงานบริหารจัดการ  ทำให้เกิดการแข่งขันทั้งด้านการตกแต่งร้าน  ด้านการทำยอดจำหน่าย  ทำให้กิจกรรมหารายได้ทั้งหมดได้เกือบสิบล้านบาท  จากเดิมได้หลักหมื่น  ขั้นตอนการทำงานเหมือนกับกิจกรรมอื่น ๆ  ที่ทำมา  คือ  แต่งตั้งคนให้เหมาะสมกับงาน  มอบหมายความรับผิดชอบ  แต่ละขั้นตอน  ในส่วนของจังหวัดนครสวรรค์การหารายได้  เปลี่ยนรูปแบบเพราะเกิดน้ำท่วมทุกอำเภอ  เลยมีแนวคิดว่าไม่น่าจะจัดหารายได้ในรูปแบบเก่า ๆ  ด้วยการออกร้านมัจฉากาชาด  เพราะคนที่จะจับมัจฉากาชาดส่วนมากเป็นคนที่มีฐานะยากจน  ดังนั้น  จึงวางแผนหาเงินจากคนรวยไปให้คนจน  จัดให้มีกิจกรรมหารายได้  3  กิจกรรม  ในตอนกลางคืน  1  คืน  โดยจัดเวที  แสง  เสียง  อย่างสวยงามจากทีมงานมืออาชีพ
            1.  ร้องเพลง
            2.  การแสดงนานาชาติ  ลูกทุ่ง  TMF
            3.  เดินแฟชั่นโชว์ย้อนยุครัตนโกสินทร์ – ปัจจุบัน
            ผู้ที่ร่วมร้องเพลงจะต้องเสียเงินคนละ  หนึ่งหมื่นบาท   มีทั้งสว., ส.ส.  ทั้งหมดในจังหวัด  คหบดี  ผู้ว่าราชการจังหวัด  รองผู้ว่าฯ  ปลัดจังหวัด  หัวหน้าส่วนราชการ  เจ้าของบริษัท 
นายแพทย์  ผู้นำองค์กรเอกชน  ปรากฏว่ามีคนมาขอร้องเพลงมากมายไม่สามารถ
จะให้ร้องได้ทุกคน  เพราะเวลาจำกัด
            ส่วนการแสดงนานาชาติ  และลูกทุ่ง TMF  ใช้คนเยอะมาก  ผู้มาแสดงต้องเสียงเงินคนละห้าพันบาท
            เดินแฟชั่นโชว์ย้อนยุค  ทางกาชาดจัดหาเครื่องแต่งตัวตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์  จนถึง ปัจจุบัน  พร้อมแต่หน้าทำผมทุกอย่างให้เสร็จผู้แสดงเสียงเงินคนละ ห้าพันบาท  มีผู้มาสมัครเป็นนักแสดงมากมาย  มีหัวหน้าส่วนราชการ  หัวหน้าศาล  นายแพทย์  ทหาร  ตำรวจ 
ประธานหอการค้า  ประธานสภา  อบต.  อบจ.  นายอำเภอ  สื่อมวลชน  ประชาชนทั่วไป  ข้าราชการตั้งแต่รับดับผู้ใหญ่  จนถึงระดับเด็ก ๆ
            นอกจากการแสดง  มีการขายโต๊ะจีนให้ผู้เข้าร่วมชมงาน  โต๊ะละ  สามพันบาท  โต๊ะ VIP  หนึ่งหมื่นบาท  ปรากฏว่ามีคนแย่งกันซื้อโต๊ะมาก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งโต๊ะ VIP  ต้องเพิ่มจนไม่มีที่จะเพิ่ม  เพราะทุกคนอยากมาดูการแสดงของคนที่เขารู้จัก  ลูกน้องก็อยากมาดู  การแสดงของผู้บังคับบัญชา  หรือมาดูญาติพี่น้องคนในครอบครัว  จนกระทั่งเปิดงานแล้วยังมีคนมาขอซื้อโต๊ะ
มีกำไรจากค่าตัวนักแสดงครึ่งล้านบาท  และรายได้จากการขายโตะอีกส่วนหนึ่งรวมหลายล้านบาท          
            การบริหารจัดการมีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบโดยแต่งตั้งกรรมการรับผิดชอบจากคนในองค์กรบ้าง  นอกองค์กรบ้าง  เช่น  ความสวยงามของโต๊ะอาหารมอบให้อาชีวะกับราชภัฏฯ
ฝ่ายการแสดง – นายกกาชาดดูแลรับผิดชอบ  และฝ่ายอื่น ๆ  อีกหลายฝ่ายตามกิจกรรมที่เกิดขึ้น
            หลังจากเสร็จงานทุกคนมีความสุข  ยื่นความจำนงขอแสดงอีกในงานต่อไป  เป็นการคุ้มค่าได้ทั้งเงินได้ทั้งคนทำให้คนทุกระดับเข้ามามีส่วนร่วม  มีความผูกพัน  มีความสามัคคี  มีจิตสำนึกร่วมกัน
            ส่วนงานที่ประทับใจที่เป็นวิชาการ  เช่น  โครงการอบรมอนามัยในบ้าน  โครงการเพื่อนพึ่งพายามยาก  โครงการยายเยี่ยมหลาน  โครงการครอบครัวสัมพันธ์ ฯลฯ  สำหรับโครงการครอบครัวสัมพันธ์  นำสามี  ภรรยา  เข้าอบรมที่อำเภอเมือง  จังหวัดราชบุรี  ทุกตำบล 
โดยคัดเลือก  คู่สามี-ภรรยา  มาให้ความรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของตัวเองตามสถานะภาพที่เป็นอยู่ 
เรื่องยาเสพติด  โรคเอดส์  เรื่องความรักความสัมพันธ์ในครอบครัว  เพื่อให้ครอบครัวอบอุ่น  จะได้ไม่เกิดปัญหาสังคม   พร้อมมีกิจกรรมระหว่างอบรม  เชิญวิทยากรจากกรุงเทพมหานคร  จากบุคคลที่มีชื่อเสียงของจังหวัดที่ประสบความสำเร็จ  หลังอบรมมีบายศรีสู่ขวัญ  มอบประกาศนียบัตรเป็นคำมั่นสัญญาว่าจะรักกันตลอดไป  โดยเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด  หัวหน้าส่วนราชการร่วมบายศรีสู่ขวัญ  และแจกใบประกาศหลังจากเสร็จโครงการแล้ว  หนึ่งปี  ได้มีการติดตามประเมินผล  ออกเยี่ยมผู้เข้าอบรมตามบ้านต่าง ๆ  มีคณะกรรมการทำการติดตามประเมินผล  ปรากฏว่าทุกครอบครัวจะรอคอย  บางครอบครัวถึงกับขาดงาน  จากการสอบถามสามีบอกภรรยาดีมากเพิ่งจะเข้าใจภรรยามากตอนเข้าอบรม  ส่วนภรรยาบอกสามีเปลี่ยนไปในทางที่ดีจะไม่ค่อยทะเลาะกันหรือบางรายแทบจะไม่ทะเลาะกันเลย  เพราะกลัวถ้าทะเลาะกันเดี๋ยวจะอายตอนมาประเมินผล  บางคู่บอกเกิดมาในชีวิตไม่เคยเข้าอบรมหรือทำกิจกรรมด้วยกันเลย  นับเป็นครั้งแรกจากการติดตามประเมินผลทุกครอบครัวอยากให้ทำการอบรมให้ครบทุกอำเภอ  และที่เหนือสิ่งใด  คือ  การทำให้ครอบครัวมีความสุข  มีความอบอุ่น  สามารถป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาสังคมได้
            สิ่งที่ภาคภูมิใจและประทับใจ  คือได้มีโอกาสช่วยเหลือคนที่เดือนร้อน  ทำให้คนอื่นมีความสุข  และได้รับคำชมเชยจากสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดา  สยามบรมราชกุมารี  ในการทำงานได้รับรางวัล
            -  โล่ห์เกียรติคุณอาสาสมัครดีเด่นประเภทพัฒนาสังคมจากสภาสังคมสงเคราะห์
แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์  ประจำปี 2541
            -  โลห์เกียรติคุณ “หม่อมงามจิตต์ บูรฉัตร”  มูลนิธิอนุสรณ์หม่อมงามจิตต์  บูรฉัตร 
ในการดูแลเยาวชนประจำปี 2542

   ข้าพเจ้าทำงานเป็นพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่จบการศึกษามาเป็นเวลา 10 ปี ความประทับใจในการทำงานคือ การได้แสดงบทบาทของนักวิจัยอย่างเต็มที่ เนื่องจากโรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย จึงต้องเป็นต้นแบบของการดูแลรักษาผู้ป่วย โดยใช้หลักฐานข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นสำคัญ ดังนั้นองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยเป็นองค์ความรู้ที่คิดค้นโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเชื่อถือ สามารถอ้างอิงได้ และเป็นที่ยอมรับในองค์การ เป็น Emplicit knowledge งานวิจัยทุกชิ้นของข้าพเจ้ามิใช่เพียงที่อยู่แต่บนขั้นวางหนังสือเท่านั้น แต่ได้มีการนำไปใช้ปฏิบัติจริงและเกิดประโยชน์ต่อองค์การมากมาย ซึ่งเป็นสิ่งที่ข้าพเจ้าภูมิใจ แต่เหนือไปกว่านั้นสิ่งที่ข้าพเจ้าภูมิใจมากกว่าคือการได้นำผู้ร่วมงานคนอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมในการทำวิจัยด้วย เป็นการได้แลกเปลี่ยนความคิด มุมมองต่างๆ ทำให้งานวิจัยมีความหลากหลาย ทั้งจากรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์มากกว่าและรุ่นน้องที่มีความคิดที่บางครั้งเราคิดไม่ถึง มีวิธีการทำให้ทุกคนมีส่วนร่วม ดังนี้

1. มองปัญหาของงานให้ออก

2. หาคนที่ประสบปัญหาและให้ความสำคัญกับปัญหาเหมือนเรา

3. พยายามนั่งคุยปัญหาเรื่องนี้ด้วยกันบ่อยๆ

4. พยายามมองหาทางแก้ไขวิธีต่างๆร่วมกันหลายๆวิธี

5. ชวนให้มาทำ pilot study เล็กๆร่วมกันเพื่อหาทางเป็นไปได้ของการทำวิจัย

6. สุดท้าย!....ชวนกันทำงานวิจัย..... สำเร็จตามแผน

  ด้วยวิธีการเช่นนี้ทำให้เราเรียนรู้ถึงการนำ Tacit Knowledge ไปสู่ Emplicit knowledge ในขณะเดียวกันก็นำ Emplicit knowledge ไปสู่Tacit Knowledgeเช่นกัน ในอดีตเราไม่เคยรู้จัก KM COP LO มาก่อน แต่จากวัฒนธรรมขององค์การที่ปลูกฝังให้เราเป็นคนที่ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ปัจจุบันก็พบว่าการเรียนรู้ร่วมกันลักษณะนี้คือ KM โดย COP และนำไปสู่ LO ในที่สุด

ธนพร วงษ์จันทร 483008 มหาวิทยาลัยคริสเตียน

เรียนอาจารย์ที่เคารพ

     สัปดาห์นี้ดิฉันขอแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับ  KM  โดยขอเริ่มด้วยคำร้องของเพลงดังต่อไปนี้ค่ะ   

"อันความกรุณาปราณี    จะมีใครบังคับก็หาไม่

 หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ    จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน

ข้อความนี้องค์พระธีรราชเจ้า    พระโปรดเกล้าประทานให้ใจถวิล

ใช้คุณค่ากรุณาไว้อาจิณ    ดั่งวารินจากฟ้าสู่สากล

อันพวกเราเหล่านักเรียนพยาบาล  ปณิธานอนุกูลเพิ่มพูนผล

เรียนวิชากรุณาช่วยปวงชน    ผู้เจ็บไข้ได้พ้นทรมาน

แม้โรคร้ายจะแพร่พิษถึงปลิดชีพ     จะยึดหลักดวงประทีปคือสงสาร

ยอมตรากตรำใจสำราญ   อุทิศงานเพื่อคนไข้ทั้งใจกาย"

       บทเพลงข้างต้นมีชื่อว่า  "เพลงมาร์ชพยาบาล"  คำร้องโดยท่านผู้หญิงละเอียด  พิบูลย์สงคราม"   นักศึกษาพยาบาลทุกคนในประเทศไทยต้องร้องได้ด้วยกระบวนการของ  Socialization  ของสถาบันการศึกษาวิชาชีพพยาบาล  และสิ่งที่ประทับใจของดิฉันที่สำคัญในชีวิตก็คือเรื่องของการเข้าสู่วิชาชีพพยาบาล  ดิฉันเข้าเป็นนักศึกษาพยาบาลเมื่อปี  2521  และสำเร็จการศึกษาเมื่อปี  2524  ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจของดิฉันและครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง  หลังปฏิบัติงานในโรงพยาบาลนาน  8  ปี  ชีวิตได้เริ่มต้นความเป็นครูภายในรั้วของวิทยาลัยคริสเตียน(ในสมัยนั้นเมื่อปี  2532)  ชีวิตการทำงานต้องรับภาระเพิ่มขึ้นทั้งผู้ป่วยและนักศึกษา  ตลอดจนอาจารย์รุ่นน้อง   จึงเป็นที่มาว่าดิฉันจะปฏิบัติตัวอย่างไร  ภายใต้หมวก  3  ใบนั้น ซึ่งแน่นอนคงไม่พ้นประเด็นของการจัดการความรู้ไปได้  แม้แต่เพลงมาร์ชพยาบาลถ้าศึกษาถึงคำร้องให้ละเอียดแล้วก็จัดเป็นการจัดการความรู้อีกประการหนึ่งด้วย  ซึ่งพร้อมที่จะเผยแพร่ให้บุคคลอื่นๆได้รับรู้ถึงคุณลักษณะที่สำคัญของพยาบาล  ลักษณะการปฏิบัติงานของพยาบาล  รวมทั้งการถ่ายทอดวิชาความรู้แก่นักศึกพยาบาลรุ่นแล้วรุ่นเล่าของแต่ละสถาบัน

       การจัดการความรู้(Knowledge  management)  คืออะไร?

    1.คือการสร้างมูลค่าให้กับคน (Value  added)

    2.คือการทำให้คนเป็นคนที่มีโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล

    3.เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ระยะเวลาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง  เนื่องจากโลกในปัจจุบันมีการเคลื่อนไหวและมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

    4.คือการสร้าง  "เกลียวความรู้ :Knowledge  spiral" ให้เกิดขึ้นเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาองค์การ  โดยอาศัยกระบวนการ  Socialization, Internalisation, Externalisation    และ  Combination

     5.เป็นมุมมองของการจัดการความรู้ในด้านต่างๆ

     5.1.ด้านการจัดการเวลา

     5.1.1.เป็นเวลาสำหรับการประยุกต์และใช้ความรู้  (Knowledge  application , Knowledge  usage)

     5.1.2. เป็นเวลาสำหรับการสร้างและบ่มเพาะความรู้  (Knowledge  creation , Knowledge  cultivation)

     5.1.3.เป็นเวลาสำหรับการกระจายและแบ่งปันความรู้  (Knowledge  distribution, Knowledge  sharing)

     5.2.ด้านการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่สำคัญคือ

     5.2.1.Care & Share

     5.2.2.Give & Grow

     5.2.3.Show & Shine

     5.3.ด้านการบูรณาการระหว่างปัจจัยที่สำคัญคือ

     5.3.1.ระบบและคน

     5.3.2.สมองและใจ

     5.3.3.เหตุผลและความรู้สึก

     5.3.4.หลักวิชาและภูมิปัญญา

     5.4.ด้านการสร้างสมดุลระหว่างปัจจัยที่สำคัญคือ

     5.4.1.Efficiency &Creativity

     5.4.2.Disciplines & Chaos

     5.4.3.ศาสตร์และศิลป์

       ด้วยสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่องค์การต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการจัดการความรู้  และ  ดร.ประพนธ์   ผาสุขยืด  ได้กล่าวถึงบันได  5  ขั้นของการสร้างวัฒนธรรมการจัดการความรู้ ไว้ดังนี้

    1.Goal  setting

    ตั้งหลัก  โดยปรับหลักคิด  ระบุหลักชัย  และกำหนดหลักการ

    2.To  intend

    สร้างพันธะสัญญาและวางกลยุทธ์ 

    3.To  start

    ตั้งต้น  โดยเริ่มดำเนินการ  /โครงการทดลอง

    โดยใช้หลักการของ  "3K2P2T"

    3.1.  3K

    1).Tacit  knowledge

    2).Explicit  knowledge

    3).Embedded  knowledge

    3.2.  2P

    1).Person

    2).Process

    3.3.  2T

    1).Tool

     2).Technology

    4.Expansion       ขยายผลไปยังหน่วยงานอื่นๆ

    5.Institutionalisation  แทรกซึมไปยังทุกหน่วยงานขององค์การเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้

     แนวทางที่สำคัญของการจัดการความรู้โดย  KM  Model  "ปลาทู"  ประกอบด้วย  3K  คือ

   1.Knowledge  vision

   2.Knowledge  sharing

   3.Knowledge  assets

   สำหรับวิชาชีพพยาบาลองค์ความรู้ที่ได้รับถ่ายทอดประกอบด้วย  3  องค์ประกอบเช่นกันคือ  3H

   1.Head

   2.Hand

   3.Heart

   หรืออาจกล่าวในประเด็นอื่นว่าองค์ความรู้ของพยาบาลต้องประกอบด้วย  หลักการของ  KAP  นั่นคือ  Knowledge, Attitude  และ  Practice

      ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับหลักการของแนวทางการจัดการความรู้  3K  ของ  KM  Model  "ปลาทู" แล้วสามารถได้รายละเอียดดังนี้

   1.Knowledge  vision

   เปรียบได้กับ  Head  และ   Knowledge   ซึ่งเป็นส่วนหัวและส่วนตา    โดย Chief Knowledge Officers (คุณเอื้อ)ต้องมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลสามารถนำพาองค์การให้พัฒนาได้เท่าทันกับสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป 

   2.Knowledge  sharing

   เปรียบได้กับ Hand  และ  Practice  ซึ่งเป็นส่วนกลางลำตัวเป็นส่วนที่เป็นหัวใจ  โดย Knowledge  Facilitators (คุณอำนวย)ต้องให้ความสำคัยกับการแลกเปลี่ยนความรู้  ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน (Share & Learn)

   3.Knowledge  assets

   เปรียบได้กับ Heart  และ  Attitude  ซึ่งเป็นส่วนหาง    โดยKnowledge  Assets (คุณกิจ) ต้องให้ความสำคัญกับการสร้างคลังความรู้  เชื่อมโยงเครือข่ายที่มีพลังดุจดังปลาสะบัดหาง

   ซึ่งในวิชาชีพพยาบาลรวมหมายถึงการมีความรู้ความสามารถในศาสตร์ที่เรียนมาและสามารถประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติการพยาบาลด้วยความชำนาญ  นุ่มนวลและด้วยจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์  รวมทั้งมีการเรียนรู้และพัฒนาอย่าต่อเนื่องเพื่อยกระดับตนเอง  และที่สำคัญคือการยกระดับวิชาชีพพยาบาล  โดยใช้วงจรของหลักการจัดการความรู้ทั้ง  1.Sharing  2.Capture  3.Classification  และ  4.Understanding

     สรุปได้ว่าสังคมปัจจุบันเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ (Learning  society)  และโชคดีที่มนุษย์มีความสามารถพิเศษคือมีพรสวรรค์ด้านการเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ตลอดเวลาไม่ว่าจะอายุเท่าใดก็ตาม  และที่สำคัญมนุษย์รักดี  มีความทะเยอทะยาน  มีความพยายามเป็นอย่างยิ่งจึงเกิดการใฝ่หาพรแสวงเพื่อประกอบกันในการสร้างองค์ความรู้หรือการจัดการความรู้ของแต่ละคน  แต่ละองค์การ  มนุษย์จึงมีความรู้เป็นอาวุธประจำตัวโดยการเก็บสะสมความรู้  รู้จักคิด  รู้จักเหตุผล  รู้จักปฏิบัติ  ใช้ความรู้เป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำเนินชีวิตในสังคมยุคปัจจุบัน  ดังคำกลอนที่ว่า

           "มีความรู้  เหมือนมีทรัพย์  อยู่นับแสน

     หากข้นแค้น  ยากลำบาก  ให้สับสน

    ใช้ความรู้  ที่ได้รับ  ในบัดดล

           รับรองผล  ความสำเร็จ  บังเกิดตาม"

 

    

นายศักดิ์สิทธิ์ เลิศหัสดีรัตน์

ความใฝ่ฝันของคนหนึ่งคนมักไม่มีข้อจำกัด ในวัยเด็กเราอาจฝันที่จะเป็นหมอ เป็นพยาบาล ทหาร ตำรวจ พอโตขึ้นมาอีกวัยหนึ่งเราอาจฝันที่จะเป็นอะไรก็ได้ที่ได้เงินเดือนมากพอที่จะนำไปแสวงหาความสุข เมื่อมีครอบครัวแล้วความฝันก็อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกเช่นกันเมื่อความเป็นผู้ใหญ่ของเรามีอิทธิพลให้เราต้องเกื้อกูลความฝันให้กับสมาชิกในครอบครัว เมื่อสมาชิกในครอบครัวมีฝันของตนเองได้แล้ว เราก็อาจจะฝันเพื่อตัวเราเองต่อไป

ความใฝ่ฝันในชีวิตของผมเองก็มีแนวทางไม่แตกต่างจากที่กล่าวไว้ข้างต้น ลำดับความฝันของผมเองแม้ว่าจะไม่ได้เลือกที่จะศึกษาในวิชาชีพที่ครอบครัวผูกพันด้านแพทย์และพยาบาลเนื่องจากความเบื่อหน่ายกับชีวิตที่ต้องวิ่งเล่นและเติบโตในโรงพยาบาลขนาดต่างๆ ตั้งแต่ภาคกลางไปถึงภาคเหนือ ฝันที่มีจึงไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลเลยแม้แต่น้อย

ประสบการณ์ในวัยเรียนระดับอุดมศึกษาหล่อหลอมให้เรียนรู้เรื่องชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนจากการออกค่ายอาสาพัฒนาชุมชนของคณะวิชาในช่วงปีหนึ่งและปีสอง ส่งผลให้มีความสนใจที่จะทำงานเพื่อสังคมด้วยการอาสาเป็นตัวแทนนักศึกษาทำงานเป็นนายกสโมสรนักศึกษาของคณะและของมหาวิทยาลัยในสังกัดพรรค 12 ประสาน กิจกรรมส่งเสริมที่ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการทำก็คือการเปลี่ยนแปลงความคิดของนักศึกษาทุกคณะในการทำกิจกรรม "รับน้องขึ้นดอย" ของชาวลูกช้างเชี่ยงใหม่ ที่มักมีการวิ่งแข่งขัน ร้องเพลงเชียร์อึกทึกที่หน้างบันไดพระธาตุ หรือการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ได้มุ่งเดินทางไปเคารพสักการะพระธาตุดอยสุเทพกันเสียเลย เราได้มีการประชุมนายกสโมสรและประธานเชียร์ 12 คณะของมหาวิทยาลัยเพื่อขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม โดยมุ่งวัตถุประสงค์ไปที่การแสดงความเคารพสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เรามาศึกษาหาความรู้ จากข้อสรุปที่พวกเราได้ร่วมหารือกันในที่ประชุมโต๊ะกลมในปีนั้น เราได้บรรยากาศของการ "รับน้องขึ้นดอย" ที่ประทับใจจนทุกครั้งที่พูดถึงหรือระลึกถึงจะต้องขนลุกเสมอ เสียงเพลงที่บันไดพระธาตุล้วนเป็นแนวล้านนา การแต่งกายของนักศึกษาก็สวมใส่ผ้าทอพื้นถิ่น มีการร่ายกาพย์กลอนบูชาพระธาตุดอยสุเทพจากทุกคณะโดยไม่มีเสียงกรีดร้อง บูม บูม เลยไม้แต่แอะเดียว

การศึกษาและกิจกรรมในช่วงวัยเรียนได้เป็นแนวทางให้ผมมีวิถีชีวิตในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรและแก้ไขปัญหาในองค์การอยู่เสมอ ช่วงการทำงานในหน่วยงานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทำให้ผมต้องเรียนรู้การทำงานด้านวิศวกรรมมากขึ้น แม้ว่าประสบการณ์ที่เคยมีนั้นเป็นเพียงความรู้ช่างเทคนิคสมัยเรียนมัธยมแต่ก็ปรับใช้ได้มากทีเดียว เพราะหลักสูตรการสอนแบบไทย-เยอรมันที่วางไว้ทำให้เราเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยความเข้าใจมากกว่าการทำตามใบงาน ในหน่วยงานบำรุงรักษาผมได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้บังคับบัญชาด้วยคำสั่งให้ศึกษา Instruction Book ในการซ่อมโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมภายในระยะเวลา 6 เดือน วิธีการที่รวดเร็วที่ทำได้คือ การอ่านคู่มือกว่า 100 เล่มด้วยการดูขั้นตอนการทำงานและรูปภาพประกอบ รวมถึงการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานที่เป็นวิศวกรประจำงานนั้นๆ แม้ว่าต่างคนต่างใหม่แต่ก็แลกเปลียนประสบการณ์ได้ดีเช่นเดียวกับการตั้งวงสนทนากันทุกครั้งที่พระอาทิตย์เริ่มตก จากการทำงานดังกล่าวผมได้นำระบบ Total Quality Management มาประยุกต์ใช้กับงานบำรุงรักษา โดยให้ช่างและโฟว์แมนร่วมกันทำงานและแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ผลลัพท์ที่ได้คือการลดระยะเวลาในการบำรุงรักษาได้มากถึง 5 วัน สำหรับโรงไฟฟ้าแล้ว การหยุดเครื่องเพียงหนึ่งวันทำให้สูญเสียรายได้เป็นหลักล้าน สิ่งที่ทำคือการให้ทุกคนช่วยกันมองว่ากิจกรรมอะไรที่จะลดระยะเวลาในการทำงานได้บ้างและทำอย่างไร โดยกำหนดค่าตอบแทนว่าถ้าเราทำได้จะได้รับค่าตอบแทนล่วงเวลาเหมาจ่ายสำหรับวันที่เราลดเวลาบำรุงรักษาได้นั่นเอง

แปดปีกับการบำรุงรักษาเครื่องคงเพียงพอที่จะเบนเข็มชีวิตมาบำรุงรักษาคน ผมออกจากสถาบันพัฒนาฝีมือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมาทำงานกับโรงไฟฟ้าเอกชนในส่วนงานพัฒนาบุคคลากร อุปสรรคด่านแรกคือการพัฒนาคนที่มาร่วมงานกับเราที่มีความหลายหลาย มาจากต่างบริษัท มาจากต่างวัฒนธรรม มาจากพื้นฐานทางครอบครัวที่แตกต่างกัน เพื่อให้องค์การของเราเดินทางไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างสวยงามและมีเสียงแห่งความสนุกสนานในการทำงานที่ท้าทายเสมอๆ โจทย์นี้ทำให้ผมคิดที่จะทำกิจกรรมสร้างทีมงานและสร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์การด้วยการประชุมหารือร่วมกับบริษัทแม่ใน กทม.กำหนดวัฒนธรรมองค์การ RATCH = Respect Awareness Teamwork Creativity Honesty เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการบริหารจัดการของผู้บริหาร การพัฒนาคนหรือการซ่อมคนไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อคนมีจิตใจ มีความท้อถอย มีความมุ่งมั่น และมีความน้อยเนื้อต่ำใจ การออกไปทำกิจกรรม outdoor หรือการทำกิจกรรมที่ท้าทาย (challenge) ความสามารถของตัวเขาเองเป็นกิจกรรมที่จะสร้างความเป็นทีมงานได้ กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรของกลุ่มบริษัท (บริษัทแม่และบริษัทลูก) ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม Rope Course ซึ่งพัฒนามาจากการฝึกทหารของประเทศอังกฤษในการเปิดประตูใจของตนเองตามทฤษฎีของ Johari's windows ให้พนักงานบริษัทได้ทำกิจกรรม outdoor ทั้งไต่เชือก ปีนกำแพง เดินบนที่สูง หรือการลุยน้ำร่วมกัน เพื่อร่วมกันและช่วยเหลือกกันและกันในการฟันฝ่าอุปสรรค ทำให้พนักงานมีความกลมเกลียวกันมากขึ้นและช่วยกันทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง (กรรมการผู้จัดการ) มาร่วมกิจกรรมปีนป่าย ห้อยโหนกับพนักงานด้วยความสนุกสนาน

สัมฤทธิผลที่ได้จากการใช้ชิวิตของผมได้นำมาประสมประสานกับการทำงานได้เป็นอย่างดี กิจกรรมที่ทำตั้งแต่สมัยเรียนอุดมศึกษาจนถึงวัยทำงาน ผมไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่เทคนิคที่มักถูกเรียกใช้เสมอคือการขอความช่วยเหลือ การขอความคิดเห็น และการขอการสนับสนุนจากผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหารือ หาแนวทางแก้ไข เราทำหน้าที่เป็นเพียงผู้จุดประกายเหมือนไม้ขีดไฟ และปล่อยให้เทียนไขกับใส้เทียนทำหน้าที่ต่อไปเพื่อให้แสงไฟสว่าง พลังในการพัฒนาควรเป็นพลังที่เกิดจากการร่วมมือกัน การเป็นผู้นำในที่นี้แม้เป็นเพียง "คนจุดไฟ" ก็ยังดีกว่าที่เราเป็นคนไม่มีไฟ

หากประสบการณ์นี้เป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ผมขอขอบคุณท่านเจ้าของ Blog ที่เปิดโอกาสให้ร่วมแสดงความคิดเห็นและขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ได้อ้างถึงและมีส่วนร่วมในความสำเร็จของคนอีกหลายๆ คน

นายศักดิ์สิทธิ์ เลิศหัสดีรัตน์

ความใฝ่ฝันของคนหนึ่งคนมักไม่มีข้อจำกัด ในวัยเด็กเราอาจฝันที่จะเป็นหมอ เป็นพยาบาล ทหาร ตำรวจ พอโตขึ้นมาอีกวัยหนึ่งเราอาจฝันที่จะเป็นอะไรก็ได้ที่ได้เงินเดือนมากพอที่จะนำไปแสวงหาความสุข เมื่อมีครอบครัวแล้วความฝันก็อาจเปลี่ยนแปลงได้อีกเช่นกันเมื่อความเป็นผู้ใหญ่ของเรามีอิทธิพลให้เราต้องเกื้อกูลความฝันให้กับสมาชิกในครอบครัว เมื่อสมาชิกในครอบครัวมีฝันของตนเองได้แล้ว เราก็อาจจะฝันเพื่อตัวเราเองต่อไป

ความใฝ่ฝันในชีวิตของผมเองก็มีแนวทางไม่แตกต่างจากที่กล่าวไว้ข้างต้น ลำดับความฝันของผมเองแม้ว่าจะไม่ได้เลือกที่จะศึกษาในวิชาชีพที่ครอบครัวผูกพันด้านแพทย์และพยาบาลเนื่องจากความเบื่อหน่ายกับชีวิตที่ต้องวิ่งเล่นและเติบโตในโรงพยาบาลขนาดต่างๆ ตั้งแต่ภาคกลางไปถึงภาคเหนือ ฝันที่มีจึงไม่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลเลยแม้แต่น้อย

ประสบการณ์ในวัยเรียนระดับอุดมศึกษาหล่อหลอมให้เรียนรู้เรื่องชีวิตและคุณภาพชีวิตของคนจากการออกค่ายอาสาพัฒนาชุมชนของคณะวิชาในช่วงปีหนึ่งและปีสอง ส่งผลให้มีความสนใจที่จะทำงานเพื่อสังคมด้วยการอาสาเป็นตัวแทนนักศึกษาทำงานเป็นนายกสโมสรนักศึกษาของคณะและของมหาวิทยาลัยในสังกัดพรรค 12 ประสาน กิจกรรมส่งเสริมที่ภูมิใจที่ได้มีส่วนร่วมในการทำก็คือการเปลี่ยนแปลงความคิดของนักศึกษาทุกคณะในการทำกิจกรรม "รับน้องขึ้นดอย" ของชาวลูกช้างเชี่ยงใหม่ ที่มักมีการวิ่งแข่งขัน ร้องเพลงเชียร์อึกทึกที่หน้างบันไดพระธาตุ หรือการแสดงพฤติกรรมที่ไม่ได้มุ่งเดินทางไปเคารพสักการะพระธาตุดอยสุเทพกันเสียเลย เราได้มีการประชุมนายกสโมสรและประธานเชียร์ 12 คณะของมหาวิทยาลัยเพื่อขอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดกิจกรรม โดยมุ่งวัตถุประสงค์ไปที่การแสดงความเคารพสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เรามาศึกษาหาความรู้ จากข้อสรุปที่พวกเราได้ร่วมหารือกันในที่ประชุมโต๊ะกลมในปีนั้น เราได้บรรยากาศของการ "รับน้องขึ้นดอย" ที่ประทับใจจนทุกครั้งที่พูดถึงหรือระลึกถึงจะต้องขนลุกเสมอ เสียงเพลงที่บันไดพระธาตุล้วนเป็นแนวล้านนา การแต่งกายของนักศึกษาก็สวมใส่ผ้าทอพื้นถิ่น มีการร่ายกาพย์กลอนบูชาพระธาตุดอยสุเทพจากทุกคณะโดยไม่มีเสียงกรีดร้อง บูม บูม เลยไม้แต่แอะเดียว

การศึกษาและกิจกรรมในช่วงวัยเรียนได้เป็นแนวทางให้ผมมีวิถีชีวิตในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากรและแก้ไขปัญหาในองค์การอยู่เสมอ ช่วงการทำงานในหน่วยงานบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ทำให้ผมต้องเรียนรู้การทำงานด้านวิศวกรรมมากขึ้น แม้ว่าประสบการณ์ที่เคยมีนั้นเป็นเพียงความรู้ช่างเทคนิคสมัยเรียนมัธยมแต่ก็ปรับใช้ได้มากทีเดียว เพราะหลักสูตรการสอนแบบไทย-เยอรมันที่วางไว้ทำให้เราเรียนรู้ที่จะทำงานด้วยความเข้าใจมากกว่าการทำตามใบงาน ในหน่วยงานบำรุงรักษาผมได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้บังคับบัญชาด้วยคำสั่งให้ศึกษา Instruction Book ในการซ่อมโรงไฟฟ้าพลังความร้อนและโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมภายในระยะเวลา 6 เดือน วิธีการที่รวดเร็วที่ทำได้คือ การอ่านคู่มือกว่า 100 เล่มด้วยการดูขั้นตอนการทำงานและรูปภาพประกอบ รวมถึงการพูดคุยกับเพื่อนร่วมงานที่เป็นวิศวกรประจำงานนั้นๆ แม้ว่าต่างคนต่างใหม่แต่ก็แลกเปลียนประสบการณ์ได้ดีเช่นเดียวกับการตั้งวงสนทนากันทุกครั้งที่พระอาทิตย์เริ่มตก จากการทำงานดังกล่าวผมได้นำระบบ Total Quality Management มาประยุกต์ใช้กับงานบำรุงรักษา โดยให้ช่างและโฟว์แมนร่วมกันทำงานและแสดงความคิดเห็นในที่ประชุมเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมาย ผลลัพท์ที่ได้คือการลดระยะเวลาในการบำรุงรักษาได้มากถึง 5 วัน สำหรับโรงไฟฟ้าแล้ว การหยุดเครื่องเพียงหนึ่งวันทำให้สูญเสียรายได้เป็นหลักล้าน สิ่งที่ทำคือการให้ทุกคนช่วยกันมองว่ากิจกรรมอะไรที่จะลดระยะเวลาในการทำงานได้บ้างและทำอย่างไร โดยกำหนดค่าตอบแทนว่าถ้าเราทำได้จะได้รับค่าตอบแทนล่วงเวลาเหมาจ่ายสำหรับวันที่เราลดเวลาบำรุงรักษาได้นั่นเอง

แปดปีกับการบำรุงรักษาเครื่องคงเพียงพอที่จะเบนเข็มชีวิตมาบำรุงรักษาคน ผมออกจากสถาบันพัฒนาฝีมือที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมาทำงานกับโรงไฟฟ้าเอกชนในส่วนงานพัฒนาบุคคลากร อุปสรรคด่านแรกคือการพัฒนาคนที่มาร่วมงานกับเราที่มีความหลายหลาย มาจากต่างบริษัท มาจากต่างวัฒนธรรม มาจากพื้นฐานทางครอบครัวที่แตกต่างกัน เพื่อให้องค์การของเราเดินทางไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างสวยงามและมีเสียงแห่งความสนุกสนานในการทำงานที่ท้าทายเสมอๆ โจทย์นี้ทำให้ผมคิดที่จะทำกิจกรรมสร้างทีมงานและสร้างวัฒนธรรมใหม่ขององค์การด้วยการประชุมหารือร่วมกับบริษัทแม่ใน กทม.กำหนดวัฒนธรรมองค์การ RATCH = Respect Awareness Teamwork Creativity Honesty เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากร และการบริหารจัดการของผู้บริหาร การพัฒนาคนหรือการซ่อมคนไม่ใช่เรื่องง่ายเมื่อคนมีจิตใจ มีความท้อถอย มีความมุ่งมั่น และมีความน้อยเนื้อต่ำใจ การออกไปทำกิจกรรม outdoor หรือการทำกิจกรรมที่ท้าทาย (challenge) ความสามารถของตัวเขาเองเป็นกิจกรรมที่จะสร้างความเป็นทีมงานได้ กลุ่มงานพัฒนาบุคลากรของกลุ่มบริษัท (บริษัทแม่และบริษัทลูก) ได้ร่วมกันจัดกิจกรรม Rope Course ซึ่งพัฒนามาจากการฝึกทหารของประเทศอังกฤษในการเปิดประตูใจของตนเองตามทฤษฎีของ Johari's windows ให้พนักงานบริษัทได้ทำกิจกรรม outdoor ทั้งไต่เชือก ปีนกำแพง เดินบนที่สูง หรือการลุยน้ำร่วมกัน เพื่อร่วมกันและช่วยเหลือกกันและกันในการฟันฝ่าอุปสรรค ทำให้พนักงานมีความกลมเกลียวกันมากขึ้นและช่วยกันทำงานมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูง (กรรมการผู้จัดการ) มาร่วมกิจกรรมปีนป่าย ห้อยโหนกับพนักงานด้วยความสนุกสนาน

สัมฤทธิผลที่ได้จากการใช้ชิวิตของผมได้นำมาประสมประสานกับการทำงานได้เป็นอย่างดี กิจกรรมที่ทำตั้งแต่สมัยเรียนอุดมศึกษาจนถึงวัยทำงาน ผมไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง แต่เทคนิคที่มักถูกเรียกใช้เสมอคือการขอความช่วยเหลือ การขอความคิดเห็น และการขอการสนับสนุนจากผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันหารือ หาแนวทางแก้ไข เราทำหน้าที่เป็นเพียงผู้จุดประกายเหมือนไม้ขีดไฟ และปล่อยให้เทียนไขกับใส้เทียนทำหน้าที่ต่อไปเพื่อให้แสงไฟสว่าง พลังในการพัฒนาควรเป็นพลังที่เกิดจากการร่วมมือกัน การเป็นผู้นำในที่นี้แม้เป็นเพียง "คนจุดไฟ" ก็ยังดีกว่าที่เราเป็นคนไม่มีไฟ

หากประสบการณ์นี้เป็นประโยชน์แก่ท่านผู้อ่านทั้งหลาย ผมขอขอบคุณท่านเจ้าของ Blog ที่เปิดโอกาสให้ร่วมแสดงความคิดเห็นและขอบคุณเพื่อนร่วมงานที่ได้อ้างถึงและมีส่วนร่วมในความสำเร็จของคนอีกหลายๆ คน

ประสบการณ์ความสำเร็จในชีวิตของข้าพเจ้า เริ่มตั้งแต่เรียนวิชาชีพผดุงครรภ์อนามัยและบรรจุเข้ารับราชการเมื่ออายุ 20 ปี เต็ม ก็ได้เริ่มทำคลอดมาตลอด เวลาไปปฏิบัติงานตามสถานีอนามัยก็ได้บริการคนไข้มากมาย เมื่อก่อนคนไข้ไปรับบริการคลอดลูกที่สถานีอนามัยเป็นจำนวนมาก มีอยู่ครั้งหนึ่งที่ต้องทำคลอดเด็กในท่าที่ผิดปกติ คือการทำคลอดในท่าก้น ( เด็กเอาก้นออกมาแทนที่จะเอาหัวออก) ซึ่งการทำคลอดในท่าที่ผิดปกติเช่นนี้ เจ้าหน้าที่อนามัยไม่สามารถทำคลอดได้เพราะทำให้เด็กเสียชีวิตได้ ต้องส่งให้แพทย์เป็นผู้ทำคลอด แต่ในช่วงเหตุการณ์นั้นส่งคนไข้ไปโรงพยาบาลไม่ทันแล้ว ข้าพเจ้าจึงตัดสินใจทำคลอดเองเพื่อช่วยคนไข้ ปรากฏว่าโชคดีที่ทั้งแม่และลูกสามารถคลอดออกมาได้ปลอดภัยทั้งแม่และลูก นี้ก็เป็นประสบการณ์ในชีวิตที่ ข้าพเจ้ามีความประทับใจมาก ต่อมาได้ย้ายไปปฏิบัติราชการในถิ่นทุรกันดารมากคือในอำเภอสวนผึ้ง มีแต่ชาวกระเหรี่ยง ที่ขาดความรู้ และยากจน ครั้งนั้นก็มีความประทับใจที่ได้ช่วยเหลือชาวบ้านที่ยากจนและขาดความรู้ในด้านการรักษาพยาบาล ซึ่งที่ทำงานมีการรักษาแบบใช้วิทยุ พอ.สว ในการสื่อสาร พอ.สว. หมายถึง มูลนิธิแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นกิจการแพทย์อาสาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเพื่อสงเคราะห์ประชาชนทั่วไปไม่จำกัดชาติ ศาสนา โดยไม่คิดมูลค่า เพื่อมนุษยธรรมและไม่เห็นแก่ประโยชน์หรือสิ่งตอบแทนใด ๆ ซึ่งตอนนั้น สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นปัญหาหรือพิการ เช่น ผู้ป่วยเด็กที่พบว่าไม่มีช่องคลอดมาแต่กำเนิดส่งไปรักษาในนามคนไข้ของ พอ.สว.รักษาได้สำเร็จ ข้าพเจ้ามีความภูมิใจมากที่ได้ปฏิบัติงานในโครงการสมาชิก พอ.สว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้

ประสบการณ์ในการทำงานในองค์กรสาธารณสุข ในด้านการรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพการป้องกันโรค จะต้องเรียนรู้กระบวนการใหม่ ๆ ตลอดเวลา เพราะทุกวันนี้เชื้อโรคมีการพัฒนาตลอดเวลา การเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจะทำให้เป็นคนที่มีโลกทัศน์และวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล การเรียนรู้ในด้านการควบคุมโรคโดยเฉพาะโรคที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขเช่น โรคไข้เลือดออก ซึ่งในแต่ละปีต้องหมดงบประมาณในการซึ้อน้ำยาพ่นยุงและทรายอะเบทมาใส่ในภาชนะที่มีน้ำ เป็นจำนวนมาก ๆ ข้าพเจ้าจึงได้ทดลองศึกษาโดยใช้ปูนแดง หรือที่เรียกว่า ปูนกินหมาก มาปั้นเป็นก้อนเท่าห้วแม่มือและนำมาผึ่งแดดให้แห้งจนแข็ง แล้วนำไปใส่ในน้ำแทนทรายอะเบทได้ จึง ปรากฏว่าปูนแดงมีคุณสมบัติใช้แทนทรายอะเบทได้

ประสบการณ์ด้านการศึกษาข้าพเจ้ามีความภูมิใจที่ได้ไปเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท ในหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ในขณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล จนได้รับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นความฝันของข้าพเจ้ามาตั้งแต่เด็กจนความฝันนั้นก็ได้เป็นจริงสมดังปรารถนา เพราะข้าพเจ้าคิดว่าความรู้เกิดจากการแสวงหา เป็นพรแสวงมากกว่าพรสวรรค์ที่ติดตัวมาแต่เกิด ความรู้เป็นสิ่งที่สามารถฝึกฝนและเรียนตามทันกันได้ ความรู้ไม่จำกัดอายุและชนชั้น ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะขวนขวายหาความรู้ได้ คงไม่มีใคร

ปฎิเสธได้ว่า ผู้มีความรู้มากย่อมได้เปรียบ และจะได้เปรียบยิ่งขึ้น หากสามารถนำความรู้ที่มีมาประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เกิดประโยชน์ได้ มนุษย์เราควรมีการแสวงหาความรู้ หากไม่แสวงหาที่จะรู้ความรู้ย่อมไม่เกิดขึ้น พบว่าหลายต่อหลายคนมักจะมุ่งอยู่กับการทำงานประจำวันจนละเลยที่จะหาความรู้เพิ่มเติม เหตุเพราะไม่มีเวลา แค่ทำงานประจำวันให้เสร็จตามกำหนดเวลาก็แย่อยู่แล้ว และจะเอาเวลาที่ไหนไปแสวงหาความรู้ หากคนเรากำลังมีความคิดเช่นนี้ ขอให้เปลี่ยนความคิดใหม่ การแสวงหาความรู้ย่อมจะเกิดขึ้นได้ หากเรามีหัวใจที่ใฝ่รู้ ความยากหรือความต้องการนี้จะเป็นพลังผลักดันให้เราเริ่มที่จะบริหารเวลาส่วนหนึ่งเพื่อการแสวงหาความรู้และความรู้มิใช่เกิดขึ้นจากการอ่านเพียงอย่างเดียว ความรู้อาจเกิดขึ้นได้จากแหล่งต่าง ๆ รอบด้าน เช่น การฟัง ให้มาก การถาม ให้รู้ การอ่านให้สนุก ผู้ที่มีความรู้ย่อมจะมีข้อมูลเพื่อการวางแผนงาน กำหนดกลยุทธ์ และสามารถตัดสินใจในการเลือกแนวทางเลือกสำหรับการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง ความรู้จะทำให้มีความพร้อมและกล้าพอที่จะเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ความรู้จะทำให้เกิดไอเดียหรือความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆความรู้ทำให้เรามีหลักการหรือเหตุผลที่น่าเชื่อถือได้ในการตอบข้อซักถามหรือประเด็นสงสัยจากหัวหน้างาน เพื่อนร่วมงานและลูกน้องได้อย่างดี

สุดท้ายนี้ การจัดการความรู้ ( Knowledge Management ) เป็นวิธีการที่จะทำให้เรานั้นมีค่าตัวในการทำงานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งไม่สามารถเห็นผลได้ทันที่ทันใด แต่เป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เพียงแต่เรามีความตั้งใจและมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองก็ย่อมจะเป็นผู้หนึ่งที่ได้เปรียบในการทำงาน

จิตติยา เพชราพันธ์

เรียน  อาจารย์ปรัชญนันท์  ที่เคารพ

การจัดการความรู้ในองค์กร  ถือเป็นประสบการณ์ที่คนทำงานทุกคนควรมี  เมื่อเราได้ปฎิบัติหน้าที่ตามที่ได้รับมอบหมายจนเชี่ยวชาญ และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์ความสำเร็จในชีวิตหน้าที่การงานเป็นตัวอักษรได้  เพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้และประสบการณ์  และเผยแพร่ให้คนรุ่นหลังที่ต้องการศึกษาแนวทางการดำเนินงานให้มุ่งสู่การประสบความสำเร็จอย่างที่เราเคยได้รับมาในหน้าที่การงานนั้น ๆ ถือเป็นการจัดการความรู้ในองค์กรให้เกิดประโยชน์แก่บุคคลอื่น ๆ ซึ่งในองค์กรควรจะมีการปฏิบัติดังกล่าวต่อ ๆ กันไป ดังเช่น ประสบการณ์ในงานที่ดิฉันเคยบันทึกไว้เป็นการจัดการความรู้ในองค์กรของตำแหน่งหัวหน้าสำนักงาน  International MBA ของมหาวิทยาลัยรัฐฯ แห่งหนึ่ง  ได้จัดทำวิธีการทำงานในงานแต่ละด้านให้หน่วยงานย่อยสามารถปฏิบัติตามขั้นตอนนั้น ๆ  ได้สะดวกและคล่องตัวยิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเสียเวลาในการเรียนรู้งานจากบุคลากรอื่น หรือลดเวลาในการเรียนรู้งานจากบุคลากรอื่น ๆ ได้ เหมื่อนเป็นคู่มือในการทำงานของหน่วยงานตามตำแหน่งงานแต่ละตำแหน่ง หากมีบุคลากรใหม่เข้ามารับหน้าที่ต่าง ๆ สามารถปฏิบัติงานตามคู่มือได้ทันที  ซึ่งถือเป็นหลักฐานในการจัดการความรู้ในองค์กรได้ และสามารถถ่ายทอดประสบการณ์เป็นตัวอักษรให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาจากคู่มือที่ได้จัดทำขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อบุคลากรรุ่นต่อ ๆ มาและต่อองค์กรด้วยดังกล่าว

 

 

ในแผนกวิชาเล็กๆแห่งหนึ่งของวิทยาลัยเทคนิคสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ได้มีการปรึกษาหารือนโยบายเบื้องสูงว่าอย่างนี้เราจะทำอย่างไรในศักยภาพของพวกเรา ก็ได้ข้อสรุปว่า  ควรทำหลักสูตรเฉพาะของเราเองโดยให้เนื้อหาและจุดประสงค์คงเดิม  ทำสื่อการสอนแบบของเราเอง  ร่วมกันทำสื่อการสอนบางคนเก่งคิด บางคนเก่งพิมพ์ บางคนเก่งค้นคว้า ก็ร่วมมือกันทำสนุกดี 
27. ศรีนวล มีศรีสวัสดิ์

ในโรงเรียนระดับประถมศึกษามีการพูดคุยแลกเปลี่ยนวิธีการสอน วิธีการแก้ปัญหานักเรียนร่วมกันของคุณครูผู้สอน ด้วยบรรยากาศแบบเป็นกันเอง แล้วเราก็แยกย้ายกันไปสอน ช่วยแก้ไขปัญหาแบบนี้เราปฏิบัติในองค์กรมานานจากรุ่นพี่สู่รุ่นน้องเป็นความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล เพราะคนเรารู้กระจ่างไม่เท่ากันการทำอย่างนี้ในโรงเรียนเป็นวิธีการจัดการความรู้ที่น่าสนใจและทำให้สนุกกับงานด้วยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท