EHM เครื่องมือสร้างพลังเครือข่ายคนพิการ กรอบคิดหลัก #1


ในช่วงแรกก็มีความจำเป็นอยู่บ้างที่ต้องอาศัยกลไกจากภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือและริเริ่มจัดให้เกิดเวทีเพื่อช่วยกันคิด ช่วยกันวางแผน และช่วยกันดำเนินการ เป็นเวทีที่เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งระหว่างคนพิการ ญาติ/ผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน

     การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบเรียนรู้และมีส่วนร่วม (Participatory Learning and Action Research) “พัฒนาเครือข่ายเพิ่มพูนพลังคนพิการ จังหวัดพัทลุง” มีวัตถุประสงค์การวิจัยที่มุ่งจะหาคำตอบให้ได้ดังนี้

          1. เพื่อศึกษาถึงรูปแบบที่เหมาะสมในการร่วมมือกันเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาเครือข่ายคนพิการ (ทุกประเภท) เป็น “ชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการจังหวัดพัทลุง”

          2. เพื่อศึกษาถึงเหตุ ปัจจัย หรือเงื่อนไข ที่จะทำให้รูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาเครือข่ายคนพิการ (ทุกประเภท) เป็นชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการจังหวัดพัทลุง มีความต่อเนื่องและยั่งยืนตลอดไป

     โดยมีกรอบแนวคิดในการวิจัยว่าการสร้างพลังของกลุ่ม ด้วยการหลอมร่วมรวมตัวกันภายใต้กรอบคิดหลักที่ว่าเพื่อให้เกิดความสันติสุข และใช้หลักการแห่งความเท่าเทียมกันในสังคม โดยไม่ได้มีปัญหาอุปสรรคใด ๆ มากีดขวางไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐานะ หรือด้านอื่น ๆ เช่น ความแตกต่างกันเพราะเพศ หรือการศึกษา หรือแม้แต่เพราะความพิการที่เกิดขึ้น ย่อมเป็นสิ่งที่ควรค่าแก่การให้การสนับสนุน

     โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่สังคมเรียกว่าผู้ด้อยโอกาส ซึ่งจริง ๆ แล้วน่าจะเรียกว่ากลุ่มคนที่ไม่ได้รับโอกาสมากกว่า เพราะขาดความคล่องตัวในการขับเคลื่อน ในการพบปะพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน จึงเป็นการขาดโอกาสที่จะสร้างพลังร่วมกันเป็นพลังของกลุ่ม ครั้นเมื่อไม่ได้รับสิทธิที่พึงมีพึงได้ ก็มักจะถูกละเลยจากสังคมในการเอื้อเฟื้อเพื่อเติมเต็มสิทธิอันพึงมีพึงได้ให้สมบูรณ์

     ประเด็นนี้สามารถพิสูจน์ได้เชิงประจักษ์ในพื้นที่อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง ซึ่งเมื่อได้ดำเนินการนำร่องเพื่อพัฒนาชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการในระดับอำเภอ โดยการสนับสนุนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง ในระยะเพียง 1 ปีที่ผ่านมา ก็พบว่าเกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนพิการเพื่อสนับสนุนให้เพื่อน ๆ ได้เข้าถึงสิทธิอันพึงมีพึงได้ ในทุก ๆ ระบบ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาชีพ ด้านการศึกษา ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพฯ และการมีหลักประกันสุขภาพ

     แต่ในช่วงแรกก็มีความจำเป็นอยู่บ้างที่ต้องอาศัยกลไกจากภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือและริเริ่มจัดให้เกิดเวทีเพื่อช่วยกันคิด ช่วยกันวางแผน และช่วยกันดำเนินการ เป็นเวทีที่เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทั้งระหว่างคนพิการ ญาติ/ผู้ดูแล และเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงาน ตอนท้าย ๆ ก็ยิ่งได้สมาคมคนตาบอดจังหวัดพัทลุง ซึ่งถือว่าเป็นพี่เลี้ยงได้ดีเพราะสมาคมมีความเข้มแข็งมั่นคงในระดับหนึ่งแล้ว เข้ามาช่วยเหลือในการเริ่มต้นขับเคลื่อนตัวเองของคนพิการในอำเภอเขาชัยสน จนเป็น “ชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการอำเภอเขาชัยสน”

เมนูติดตามอ่านเรื่องทั้งหมดในแต่ละตอน

EHM เครื่องมือสร้างพลังเครือข่ายคนพิการ ความเป็นมาฯ #1#2 และ #3 

กรอบคิดหลัก #1 และ #2  แผนเดินเรื่อง และ ภาคีเครือข่าย

หมายเลขบันทึก: 22063เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2006 01:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท