EHM เครื่องมือสร้างพลังเครือข่ายคนพิการ ความเป็นมาฯ #1


“ให้คนพิการมีศักยภาพที่สามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และสร้างสรรค์ มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ”

     นับตั้งแต่ พ.ศ.2534 ที่ประเทศไทยเริ่มบังคับใช้พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ มาจนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 15 ปี และในช่วงระยะเวลาดังกล่าวก็ได้มีอนุบัญญัติต่าง ๆ ออกมาบังคับใช้อย่างต่อเนื่อง และล่วงมาจนถึงเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ใน พ.ศ. 2545 ก็ได้บังคับใช้พระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ขึ้นอีก 1 ฉบับ ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ฉบับปัจจุบันที่ได้ให้สิทธิแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกันโดยไม่มีเหตุปัจจัยอะไรเลยที่เป็นอุปสรรค ทั้งนี้ต้องไม่ส่งผลกระทบกับสิทธิของคนอื่น

     โดยเนื้อแท้ของกฎหมายและอนุบัญญัติต่าง ๆ ที่กล่าวอ้างถึงข้างต้นแล้ว ก็ยังเป็นการมองคนพิการที่เป็นผู้รับการสงเคราะห์ เสียมากกว่าจะเป็นการมองเห็นที่ศักยภาพของคนพิการเหล่านั้น ในฐานะสมาชิกที่ปกติธรรมดาของสังคม การนำกฎหมายดังกล่าวมาปฏิบัติด้วยทัศนคติเช่นนี้ยิ่งเป็นการตอกย้ำโดยไม่รู้ตัวว่า คนพิการกำลังถูกเลือกปฏิบัติในการใช้บริการจากภาครัฐ หรือบริการจากสังคม ยิ่งโอกาสในการเข้าถึงยากขึ้นด้วยข้อจำกัดทางด้านภาวะสุขภาพด้วยแล้ว และมาถูกซ้ำเติมด้วยทัศนคติของสังคมว่าเขาเป็นเพียง “ผู้รอรับ” อีก ก็ยิ่งทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ขาดโอกาสและขาดพลังในการต่อรองทางสังคม เพื่อสงวนรักษาสิทธิอันพึงมีพึงได้ของเขาเอง แม้ลักษณะเช่นนี้จะดีขึ้นเรื่อย ๆ แต่หากมองย้อนไป 15 ปี จะเห็นว่าช้ามาก และในปัจจุบันก็ยังไม่ได้รับสิทธิเท่าที่ควรจะได้รับ หรือต้องได้รับ ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

     แต่ในภาพรวมของสังคมไทยด้วยเจตนาที่ดี ดูได้จากแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ พ.ศ.2545 – 2549 ก็ได้พยายามที่จะชี้ชวนเชิงนโยบายให้สังคมได้ตระหนักตรงส่วนนี้ โดยได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ให้คนพิการมีศักยภาพที่สามารถพึ่งตนเองได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดำเนินชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข และสร้างสรรค์ มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ” จึงเห็นเป็นโอกาสว่าการที่จะเพิ่มพูนพลังให้แก่กลุ่มคนพิการโดยตัวเขาเองในการรวมกลุ่มกัน น่าจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะทำให้เขามีโอกาสที่จะได้แสดงหรือปลดปล่อยศักยภาพออกมา และนำไปสู่การได้รับการยอมรับและได้รับสิทธิอันพึงมีพึงได้จากสังคมอย่างเท่าเทียมกัน

     ผลพวงจากพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และอนุบัญญัติต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นส่งเสริมสนับสนุนให้คนพิการได้เข้าถึงสิทธิ และได้รับบริการสาธารณสุขตามความจำเป็นที่เกิดขึ้นแก่คนพิการ ทำให้ในปี 2548 จังหวัดพัทลุงได้ดำเนินการโครงการเอื้ออาทรคนพิการจังหวัดพัทลุง โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ร่วมกับพันธมิตรต่าง ๆ เช่น เครือข่ายหน่วยบริการต่าง ๆ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สมาคมคนตาบอด และสมาคมคนพิการจังหวัดพัทลุง เพื่อสร้างความเข้าใจโดยเน้นให้คนพิการรับรู้สิทธิตนเอง โดยวิธีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในแต่ละอำเภอ ระหว่างกลุ่มคนพิการ ผู้สนับสนุนงานคนพิการทั้งภาครัฐ/เอกชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

     ทั้งนี้ก็ได้ใช้พื้นที่ในอำเภอเขาชัยสนเป็นพื้นที่นำร่องในการทดลองเดินเรื่องพัฒนาเครือข่ายคนพิการ “ชมรมเพิ่มพูนพลังคนพิการอำเภอเขาชัยสน” ที่เน้นการรวมกลุ่มเพื่อพูดคุยหารือกันของคนพิการทุกประเภทและญาติ จนสามารถขับเคลื่อนเครือข่ายได้เองถึงปัจจุบัน แต่ก็ยังทำได้ไม่เต็มที่นัก เพราะยังขาดพลังในการสนับสนุนให้ถึงระดับจังหวัด ซึ่งเป็นระดับที่มีความสำคัญเชิงนโยบายต่อสิทธิคนพิการในการรับบริการจากภาครัฐ ตามแนวทางการบริหารราชการแบบ “ผู้ว่าฯ CEO” ในปัจจุบัน

เมนูติดตามอ่านเรื่องทั้งหมดในแต่ละตอน

EHM เครื่องมือสร้างพลังเครือข่ายคนพิการ ความเป็นมาฯ #1#2 และ #3 

กรอบคิดหลัก #1 และ #2  แผนเดินเรื่อง และ ภาคีเครือข่าย

หมายเลขบันทึก: 22058เขียนเมื่อ 31 มีนาคม 2006 23:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ความเท่าเทียมและโอกาส?

แม้รัฐพยายามที่จะพูดถึง "ความเท่าเทียม"
แต่สิ่งที่พบเจอ...ก็ยังไม่เท่าเทียม
แม้ในกลุ่มผู้ "พิการ"...ยังได้รับ
โอกาสและความเท่าเทียม...ไม่เท่ากัน

Dr.Ka-poom

     พลังของกลุ่มคนพิการ เองไงครับ ที่เอื้ออาทรกันเอง สรรค์สร้างโอกาสให้กันและกัน จนนำไปสู่การพึ่งตนเองได้ เชื่อมั่นอย่างนั้น จึงเริ่มต้นด้วยการให้เขาได้ปลดปล่อยและแสดงศักยภาพออกมาให้เต็มที่ครับ เราจะเริ่มจากตรงจุดนี้

คุณดอกหญ้า คุณชายขอบ

ความเท่าเทียม..ที่ดิฉันพูดถึง คือ "เท่าเทียม..พิการ" เรามักพูดถึง "ความพิการที่มาจากทางกาย..เช่น พิการทางดาวตา พิการแขนขาด ขาขาด...แล้วความพิการที่เกิดจากทางจิตใจล่ะ..เช่น ในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช ดิฉันเชื่อว่า ในผู้ป่วยจิตเวช คงไม่มีใครหรอกที่อยากจะป่วย ไม่มีใครที่อยากจะมีความทุกข์ หรอก แต่หาก "มนุษย์" เราจำต้องเผชิญกับความทุกข์...หากใครเข้มแข็งก็สามารถ "ผ่าน" ทุกข์เหล่านี้ได้...หากใครผ่านไม่ได้ก็เกิดความ "เพลี้ยงพล้ำ" ต่อ ทุกข์นั้น...และไม่สามารถจัดการกับอะไรใน "ทุกข์" ได้...เมื่อเขาวิ่งวนหาทางออก...การมาบำบัดรักษาก็เป็นสิ่งหนึ่งที่เขาได้เลือก..เมื่อมาเขาก็โดนประทับตราแล้วว่า เป็น"ผู้ป่วยจิตเวช"

หากเมื่อ...ณ วันหนึ่ง เขาสามารถควบคุมตนเองได้...เขาอยากกลับคืนสู่สังคม...แต่ถามว่ามีสักกี่สังคมเองที่อ้าแขน..ต้อนรับ..ในเรื่องของ "พลัง" ดิฉันเชื่อและศรัทธา..เสมอ..และทุกวันนี้ก็ยังเชื่อ..มั่น..ในสิ่งที่คิด รู้สึก..และทำ เพื่อ "กลุ่มผู้ป่วยจิตเวช" เพราะเมื่อ ใคร ลืม...และต่างลืม..แล้วใครเล่า..จะให้โอกาสให้เขาสร้าง "พลัง" นั้นได้

และความเป็นจริงแท้..แม้มีการพูดถึง "ผู้พิการ.." เราก็ยังเน้นที่ย้ำเฉพาะ...ผู้"พิการ...กาย" มากกว่า..เท่านั้น

 

คุณดอกหญ้า คุณชายขอบ(2)

จาก คห. แรกที่ดิฉันทำ Link ไว้ให้นั้น..เป็นเพียงทิ้ง..บางสิ่งบางอย่างให้สังคม..ได้มองเห็นอะไรบางอย่างที่ซ่อนอยู่ถึงความ "เท่าเทียม...โอกาส" ในกลุ่มผู้พิการ...ทาง"จิต" ใจ...แม้ "รัฐ" จะระบุไว้อย่างเหมือนให้ "โอกาส" และความเท่าเทียม...แต่ตัวเลขการขึ้นทะเบียน...เป็น "ผู้พิการ" ในกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช...ยังสะท้อนถึง "โอกาส" ที่พึงได้รับอย่าง "เท่าเทียม"...

ท่านอาจเกิดคำถาม...แต่หาก เรา สังคม.."คิด" ...เพื่อตอบสิ่งสงสัย..หรือตอบอะไร...บางอย่าง "คิด" มากกว่าการถาม ถามเพื่อ..ไม่อยากคิด..แต่อยากได้คำตอบ..คิด คิด คิด..."โอกาส...และความเท่าเทียม" ก็อาจเกิดขึ้นได้...แน่ แต่เพราะเรามัวแต่วิ่ง "ถาม" คนนั้น..ถามคนนี้...แต่ไม่แสวงหา..สิ่งที่อยากได้ในคำถามนั้น...เราจึงมัดพลาดการมองอะไรที่..ซ่อนอยู่อย่างแท้

Dr.Ka-poom และทุกท่านที่อ่านบันทึกนี้

     ตาม คห.ที่ให้ไว้ และบันทึกที่เชื่อมโยงกันนั้น
เข้าใจอยู่ครับว่า คนพิการแต่ละประเภท จะแตกต่างกันในสภาพ
แต่เราไม่มองเห็นความแตกต่างนั้นเป็นอุปสรรคครับ เรากลับมองว่าศักยภาพที่มาจากความต่าง คือพลังของกลุ่ม บางครั้งอาจจะต้องใช้ญาติ ผู้ดูแล หรือ ผู้ที่เข้าใจ

     แต่เท่าที่ผ่านมา "ภาพแห่งความเข้าใจ ที่เกิดขึ้น ณ อำเภอเขาชัยสน" ยังติดตาผมอยู่ถึงทุกวันนี้ ความเชื่ออย่างแรงกล้าว่า "เกิดพลังกลุ่ม แน่ ๆ" จึงเกิด EHM-Deform ขึ้น ที่พัทลุงในวงกว้าง

     ในกลุ่มคนพิการเองเขารับทราบและเข้าใจในประเด็นนี้อยู่นะครับ มีการพูดคุยกันทุกครั้งเมื่อจะมีกิจกรรมในประเด็นการเข้าถึงฯ คาดว่า เขาจะหาทางออกร่วมกันได้ ส่วนราชการมีหน้าที่ต้องปรับเปลี่ยนครับ หากพบว่ามันเป็นปัญหาอุปสรรคอยู่ แต่ก็ต้องเกิดจากพลังเขานี่แหละครับ ช่วยกันผลักดันให้เกิดขึ้น...ต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท