ความตาย กับ ภาษี ท่านจะหนี2สิ่งนี้ไม่พ้น


ความตาย ภาษี

มนุษย์ทุกหมู่เหล่าล้วนเกิดมาแล้วต้องดับไปตามกาลเวลา ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว

การเป็นมนุษย์ที่มีความรู้ความสามารถ ในอาชีพการงานที่เชี่ยวชาญ ก็ย่อมมีรายได้เพิ่มพูนงอกเงยขึ้นเรื่อยๆ

การเป็นมนุษย์ที่ดี ย่อมต้องมีหน้าที่ และมีความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ โดยต้องสนับสนุนประเทศชาติ ด้วยการชำระภาษีอากรให้ถูกต้อง

การไม่ชำระภาษีให้ถูกต้อง อาจนำไปสู่การถูกลงโทษทั้งทางแพ่ง และอาญา

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 327เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2005 09:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 17:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)
กลุ่มของกฤติยา หะยียามา

          เห็นด้วยกับข้อความข้างต้น เพราะถึงแม้ว่าจะตายไปแล้วก็ยังมีการคิดภาษีสำหรับบุคคลที่เสียชีวิตด้วย ไม่ได้รับการยกเว้นเหนือบุคคลที่ยังมีชีวิตแต่อย่างไร เสมือนว่าคนคนนั้นยังเป็นบุคคลธรรมดาอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้นจริงๆ แต่ถ้าคิดในทางตรงข้ามการเก็บภาษีก็เหมือนกับเป็นการซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกชนิดหนึ่ง เพราะเงินที่ทุกคนเสียไปนั้นก็นำมาใช้ในการปรับปรุงหรือเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ที่เสียภาษีทั้งนั้น ซึ่งเท่ากับว่าเงินที่เราจ่ายไปเป็นเงินสดนั้นเราได้กลับมาในรูปของสาธารณูปโภคนั้นเอง ซึ่งถึงแม้ผู้ที่เสียชีวิตที่ต้องเสียภาษีจะไม่ได้ใช้ แต่แน่นอนว่าลูกหลานจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์ต่อไปเมื่อเป็นเช่นนี้แล้วทุกคนก็ไม่ควรที่จะหลีกเลี่ยงภาษีเพราะเงินที่เราทุกคนเสียไปก็ไม่ได้อยู่ที่ใครคนใดคนหนึ่งแต่เงินเหล่านั้นได้นำมากระจายความสะดวกสบายสู่ทุกคนโดยเท่าเทียมกัน

                                        สมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาวกฤติยา      หะยียามา       รหัส 4635009

2.นางสาวชลาลัย       สำเภาเงิน      รหัส 4635066

3.นางสาวณัฐวรรณ    ภิรมยาภรณ์    รหัส 4635084

4.นางสาวประภา       สังขพันธ์        รหัส 4635156  

5.นางสาวพิมรัตน์       เจษฎานุรักษ์  รหัส 4635194

6.นางสาววรมน          เพชรขาว       รหัส 4635254

7.นางสาววรางคณา    กำลัง            รหัส 4635258

8.นางสาวสุทธิณี         แซ่อัน         รหัส 4635317

 

กลุ่มของธิดารัตน์ เจริญมาก

      ความเป็นมนุษย์ของคนเราจะเริ่มขึ้นตั้งแต่เกิดมีชีวิตรอดเป็นทารกและจะสิ้นส ุดลงเมื่อตาย แน่นอนความตายเป็นสิ่งท่ีทุกคนต้องเจอไม่ว่าคน ๆ นั้นจะร่ำรวยล้นฟ้า หรือยากจนติดดินแต่สุดท้ายแล้วก็จะต้องมาจบสิ้นลงที่ความตาย แต่ในระหว่างท่ีเรายังมีชีวิตอยู่นั้นเราต้องมีภาระหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ หนึ่งในนั้นคือ  การเสียภาษีไม่ว่าจะเป็นภาษีทางตรงหรือภาษีทางอ้อมก็ตาม ในชีวิตประจำวันของเรานั้นจะมีเรื่องภาษีเข้ามาเกี่ยวข้อง  เพราะในสินค้าหรือบริการท่ีเราใช้อยู่ในชีวิตประจำวันทุกอย่างได้รวมภาษีไว้ แล้วทั้งนั้น มนุษย์เรามีความรู้ความสามารถที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นถ้าใครก็ตามท่ีมีความรู้ความสามารถมากก็จะต้องเสียภาษีมากตามไปด้วย มนุษย์เราแม้จะตายไปแล้วก็ยังต้องเสียภาษี ถ้าคน ๆ นั้นมีทรัพย์สมบัติมากแต่ไม่่ได้มาเสียภาษีด้วยตัวเองแต่จะเป็นหน้าที่ของผู ้จัดการมรดกหรือทายาทแทนแล้วแต่กรณี   จะเห็นได้ว่าความตายกับภาษี 2 สิ่งนี้เป็นสิ่งที่มนุษย์เราทุกคนหนีไม่พ้น  ดังนั้นเราก็ต้องทำหน้าที่ในการเสียภาษีให้ถูกต้อง        สมาชิกในกลุ่ม     1.น.ส.ธิดารัตน์  เจริญมาก  4836020     2.น.ส.ปริยาภา  รัญเพ็ชร  4836026  3.น.ส.พัชรี       วุ้นแป้ง       4836037     4.น.ส.ฤทัยพร   เมืองไข่   4836054 5.น.ส.สุภาวดี    มรรคคงคา 4836078    6.น.ส.สุรัสวดี    มีรุ่งเรือง  4836079 7.น.ส.สุวรรณี    เกิดเอียง     4836082    8.น.ส.เสาวณีย์  แก้วจินดา4836083 9.น.ส.อุไรวรรณ  สมมารถ   4836095                                                                               


 

กลุ่มจรรยาพร รอดเพ็ง

          ความตายเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น นี่เป็นความจริงทางธรรมชาติที่ทุกคนไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และอีกคำหนึ่งคือ ภาษี ซึ่งในปัจจุบันไม่มีใครที่จะหนีภาษีพ้น ทุกคนไม่สามารถที่จะหลีกเลี่ยงภาษีได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ต้องชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา,ภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งเป็นภาษีทางตรงก็ตาม แต่ก็จะหนีภาษีทางอ้อมไม่พ้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม,ภาษีบำรุงท้องที่,ภาษีโรงเรือน,ภาษีป้าย เป็นต้น ไม่ว่าจะซื้อเครื่องอุปโภค บริโภค ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราตั้งแต่เกิด
             เราจึงควรที่จะมีการปลูกฝังค่านิยมที่ดีที่จะให้ประชาชนเล็งเห็นถึงความสำคั ญและประโยชน์จากการเสียภาษีดีกว่าที่จะคิดหาวิธีหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นค่านิยมผิดๆ และไม่ได้เป็นความคิดที่สร้างสรรค์เลย มีแต่จะทำให้ประเทศชาติไม่พัฒนา ดังนั้นถ้าทุกคนมีความคิดที่จะไม่หลบเลี่ยงภาษี ประเทศชาติก็จะพัฒนาเร็วขึ้น เพราะเงินภาษีที่ได้นั้นรัฐบาลก็จะนำไปพัฒนาประเทศและเอาไปใช้จ่ายในกิจกรรม ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมต่อไป เช่น สร้างถนน เขื่อน สะพาน ซึ่งล้วนแต่จะนำสิ่งดีๆ กลับมาสู่ประชาชนผู้มีหน้าที่เสียภาษีร่วมกันทั้งนั้น
            ดังนั้นเราจึงไม่ควรหลีกเลี่ยงภาษีเพราะภาษีเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้นจริงๆ เหมือนกับความตาย เราจึงควรหันมาเสียภาษีแทนการเลี่ยงภาษีเพื่อประโยชน์ของตนเอง และประเทศชาติกันดีกว่า 
         สมาชิกกลุ่ม
          1.นางสาวจรรยาพร      รอดเพ็ง      รหัส      4836001  
          2.นางสาวกมลทิพย์       หีมมะหมัด              4836002
          3.นางสาวจันทิมา        อุ่นคง                     4836008
          4.นางสาวชลธิชา          แซ่ลี้                      4836014       
          5.นางสาวประวีณ        สิทธิโชค               4836025
          6.นางสาวยุพา            ศรีสุวรรณ              4836046
          7.นางสาววรรณนิดา    ตำฮอย                  4836055
          8.นางอรวรรณ            ไชยสิทธิ์               4836089
          9.นางอารยา               ทิพรัตน์                 4836093
 

 

 

กลุ่มของ จารุวรรณ ขวัญอธิบดี

             เห็นด้วยกับข้อคิดเห็นที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าการเสียภาษีเริ่มตั้งแต่เกิดและอยู่รอดเป็นทารก ซึ่งการเสียภาษีได้เรียกเก็บจากบุคคลผู้มีเงินได้ถึงเกณฑ์การเสียภาษีตามที่ กฎหมายกำหนด ถึงแม้ว่าบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้วก็จะต้องให้บุคคลอื่นรับผิดชอบภาระการเสีย ภาษีแทนผู้ตาย โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเสียภาษีได้

           สมาชิกในกลุ่ม

      1.น.ส.จารุวรรณ  ขวัญอธิบดี            4836009

      2.น.ส.ปิยนาฎ  ดิสโสภา                  4836028

      3.น.ส.พรอนงค์  แก้วเอี่ยมสุข           4836035

      4.น.ส.พัชรา  ไหมเหลือง                 4836036

      5.น.ส.มยุรี  พงศ์ประยูร                   4836043

      6.น.ส.ยุพาภรณ์  นิลธรรม               4836047

      7.น.ส.ระพีพรรณ  นวลทอง              4836050

      8.น.ส.สุจิตรา  อนุสาร                     4836070

      9.น.ส.สุพัตรา  ชูเกิด                       4836076
 

กลุ่มของ จารุวรรณ ขวัญอธิบดี

           จากข้อความดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าการเสียภาษีเกี่ยวข้องกับมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดจนตาย หมายความว่า ทุกคนที่เกิดมาแล้วเติบโตขึ้นมีอาชีพ อันนำไปสู่การสร้างรายได้ โดยแต่ละคนย่อมมีรายได้ที่แตกต่างกัน แต่ผู้มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดจะต้องทำหน้าที่ในการเสียภาษีให้กับปร ะเทศเพื่อนำไปพัฒนาด้านต่าง ๆ   โดยที่กฎหมายได้ตระหนักแล้วว่า การเรียกเก็บภาษีจากบุคคลตามเกณฑ์ที่กำหนดไม่ได้สร้างความเดือดร้อนต่อผู้เส ียภาษีมากนักแต่กลับเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับตัวผู้เสียภาษีในอีกทางหนึ่ง ด้วย ดังนั้นรัฐบาลได้เล็งเห็นว่าผู้ที่ถึงแก่ความตายและยังมีเงินได้อยู่ก็ควรที ่จะเสียภาษี จึงกำหนดขึ้นมาเป็นกฎหมาย เพื่อที่จะได้เรียกเก็บภาษีได้มากขึ้นและนำเงินมาพัฒนาประเทศได้ดียิ่งขึ้น เมื่อทุกคนได้ทราบกันดีอยู่แล้วว่าเงินภาษีที่เรียกเก็บไปนั้นนำมาใช้ประโยช น์ในทางใดบ้าง ทุกคนจึงไม่ควรหลีกเลี่ยงภาษีและทำการชำระภาษีให้ถูกต้อง

           สมาชิกในกลุ่ม

      1.น.ส.จารุวรรณ  ขวัญอธิบดี            4836009

      2.น.ส.ปิยนาฎ  ดิสโสภา                   4836028

      3.น.ส.พรอนงค์  แก้วเอี่ยมสุข           4836035

      4.น.ส.พัชรา  ไหมเหลือง                  4836036

      5.น.ส.มยุรี  พงศ์ประยูร                    4836043

      6.น.ส.ยุพาภรณ์  นิลธรรม                4836047

      7.น.ส.ระพีพรรณ  นวลทอง              4836050

      8.น.ส.สุจิตรา  อนุสาร                     4836070

      9.น.ส.สุพัตรา  ชูเกิด                       4836076
 

กลุ่มของ นางสาวกิติมา คงทอง

          เป็นความจริงที่หลีกเหลี่ยงมิได้ หากคนเราทุกคนเกิดมาเรานี้ ตั้งแต่เล็กจนโตเราก็มีความเกี่ยวพันกับภาษีโดยที่เราไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะตอนเด็ก พ่อและแม่ก็นำบุตรไปใช้ในการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามกฎเกณฑ์ของกฎห มาย แม้กระทั่งเราโตขึ้น เช่นเดียวกับเรามีรายได้เข้าเกณฑ์เราก็จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาเช่นกัน ถ้าคิดการใหญ่การโตประกอบกิจการในลักษณะต่าง ๆ เราก็จะโดนในภาษีรูปแบบอื่น ๆ เช่นภาษีนิติบุคคล ภาษีเงินได้ธุรกิจเฉพาะ หรือแม้แต่การซีั้อสินค้าที่ใช้ในการอุปโภคบริโภค เราก็จะเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเราไม่รู้ตัวเลย และแม้กระทั่งตอนแก่ชรา บุตรของเราก็จะนำบิดามารดาไปลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาอีก หากเราตายกองมรดกของเราก็จะต้องเสียภาษีเช่นกัน เห็นหรือไม่ว่าภาษีกับชีวิตเกี่ยวพันกันโดยเราไม่รู้ตััวเลย  นั้นก็เพราะว่า ภาษีคือรายได้ของรัฐบาล ภาษีคือสิ่งที่เราต้องเกี่ยวกัน และภาษีคือสิ่งที่หลีกเหลี่ยง เช่นเดียวกับความตาย......

                          สมาชิกในกลุ่ม......

1.  นางสาวกาญจนา    คงทอง          4836004

2.  นางสาวนาตยา       หาญพิพัฒน์   4836021

3.   นางสาวพิไลพร      รองเลื่อน       4836038 

4.  นายภูริวัจน์            สาระวิโรจน์   4836042

5.   นายวิทวัส              ชอบทำกิจ      4836058

6.   นายสุทธิพงษ์         คงตระกูล       4836074

7.   นางสาวอัจฉรา       มิตรณรงค์     4836091

8.   นายเอกทัศน์           นวลลภ         4836096 

 
 

กลุ่มของกรรณิการ์ วันรัตน์

          เห็นด้วยกับข้อความข้างต้น  เพราะทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้  จะต้องตายด้วยกันทุกคนไม่มีใครหนีกฎเกณฑ์ธรรมชาติข้อนี้ไปได้  ในทำนองเดียวกันบุคคลที่เกิดมาและอยู่รอดเป็นทารกจะต้องเสียภาษี  ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้  เช่น  การซื้อขายสินค้าจะต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม  และคนที่มีเงินได้ถึงเกณฑ์ตามกฎหมายกำหนดก็มีหน้าที่จะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น  และถึงแม้ว่าตายไปแล้วก็ยังจะต้องเสียภาษีในปีภาษีนั้นและหากมีมรดกที่ยังไม่ได้แบ่งก็ต้องเสียภาษีในมรดกนั้นด้วย  ซึ่งภาษีนี้เป็นรายได้หลักของรัฐบาลเพื่อนำไปพัฒนาประเทศ  เช่น  สร้างถนน  สร้างโรงพยาบาล  เป็นต้น

สมาชิกในกลุ่ม

1.  กรรณิการ์  วันรัตน์                4836003

2.  จิรวดี        เจริญศรี              4836011

3.  นาถกานต์  เห่งเส็ง               4836022

4.  ปิยะรินทร์  แก้วศรีรักษ์         4836030

5.  เพ็ญนภา   หนูเกลี้ยง            4836039       

6.  ยินดี         ณ  สวาท            4836045

7.  เรวดี          รัตนพิบูลย์         4836053

8.  วราภรณ์     จันทร์ประสิทธิ์     4836056

9.  สมศรี         อมรกล             4836065

 

เห็นด้วยกับข้อความข้างต้น เพราะ เมื่อคนเรามีชีวิตอยู่ ย่อมมีความสามารถที่จะหารายได้ เมื่อมีเงินได้จึงมีหน้าที่สำคัญอยู่ประการหนึ่ง นั่นก็คือ การเสียภาษีซึ่งภาษีนั้นเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของรัฐบาล เป็นเครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาลในการกระจายรายได้ ซึ่งรัฐบาลสามารถนำภาษีที่ได้รับจากประชาชนผู้มีเงินได้ไปใช้รักษาความสงบภายในประเทศดูแล และส่งเสริมการสาธารณสุข การศึกษา การเกษตร การอุตสาหกรรม และอื่น ๆ  ซึ่งเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ ก็เหมือนความตายที่ไม่มีใครหนีพ้น ดังนั้น คนเราหนีความตายไม่ได้ฉันใด เราก็หนีการเสียภาษีไม่ได้ฉันนั้น...

                                

ไม่อยากให้ชาติย่อยยับ เสียภาษีเพียงนิดชาติไทยพัฒนา

สมาชิก

1. นางสาวกนกนภา  วิฑูรย์พันธ์  4635002

2. นางสาวจิรนันท์  แซ่โค้ว  4635044

3. นางสาวลัดดาวัลย์   อินทร์พรหม  4635248

4. นางสาววิไลวรรณ   เจนศักดิ์บุญยิ่ง  4635275

5. นางสาวสุภรา  ช่วยมั่ง  4635327

6. นางสาวอมราพร  รอดอู๋  4635358                                         

นางสาวเกศรา ราชเพ็ชร

      เมื่อมนุษย์เกิดมาและมีชีวิตดำรงอยู่ในประเทศ  นั่นเราเรียกว่า ประชากร และสิ่งที่ควบคู่กับการดำรงชีวิตของประชากรก็คือหน้าที่ที่ต้องเสียภาษี ซึ่งได้บัญญัติไว้ในกฎหมายด้วย และการเสียภาษีของประชากรแต่ละคนนั้นขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร  อาจจะมากหรือน้อยก็แล้วแต่กรณี  ซึ่งขึ้นอยู่กับการได้มาของเงินได้ของแต่ละคน  ไม่ว่าเราจะประกอบอาชีพหรือทำอะไรก็ตามก็ต้องมีหน้าที่เสียภาษีให้กับรัฐบาลซึ่งถือเป็นตัวแทนของประเทศ นี่คือการเก็บภาษีทางตรง  ส่วนการเก็บภาษีทางอ้อมอาจจะแฝงอยู่ในรูปของภาษีมูลค่าเพิ่มที่เราจ่ายเมื่อซื้อสินค้าในชีวิตประจำวัน เป็นต้น เมื่อรัฐบาลเก็บภาษีดังกล่าวแล้วก็นำภาษีที่เก็บได้ไปพัฒนาบำรุงประเทศ  ไม่ว่าจะเป็นการสร้างถนน ไฟฟ้า ประปา สร้างโรงเรียน สาธารณสุข เป็นต้น  ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นการบ่งชี้ให้เห็นว่าประเทศเรานั้นมีความเจริญมากน้อยเพียงใด  ฉะนั้นประชากรทุกคนที่มีรายได้หรือมีเงินได้จึงไม่ควรหลีกเลี่ยงภาษี เพราะไม่เพียงแต่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายแล้ว ยังกระทำผิดต่อประเทศชาติอีกด้วย  และถึงแม้ว่าชีวิตจะสิ้นสุดลงหรือตายลงไป หากแต่การตายนั้นยังอยู่ในระหว่างปีภาษี บุคคลนั้นก็ต้องเสียภาษีเช่นกัน สรุปก็คือทุกคนไม่สามารถหนีความตายได้พ้นเช่นเดียวกับการเสียภาษีก็ไม่มีใครหลีกเลี่ยงภาษีได้เช่นกัน

สมาชิกในกลุ่ม
1. นางสาวเกศรา          ราชเพ็ชร         รหัส 4836006
2. นางสาวเกศินี          ไชยชาญยุทธ   รหัส 4836007
3. นางสาวธนสุ            ตรงชาติ          รหัส 4836019
4. นางสาวเบญจรัตน์    รัตนสังข์          รหัส 4836024
5. นางสาวพรทิพย์       สยมพร           รหัส 4836032
6. นางสาวภาสิณี         คงแก้ว            รหัส 4836041
7. นางสาวเสาวลักษณ์  คงแดง            รหัส 4836084
8. นางสาวอมรรัตน์      บุญมิ่ง             รหัส 4836086
9. นางสาวอรวรรณ      เกื้อภาระ          รหัส 4836088

    การเสียภาษีอากร เป็นหน้าที่ของพลเมืองที่ดีในประเทศ การที่จะพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้า ทันสมัย และสะดวกสบายนั้น จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก ซึ่งรายได้หลักของรัฐบาลได้มาจากการจัดเก็บภาษี แต่ผู้มีรายได้บางส่วนนั้นได้พยายามหลบเลี่ยงการเสียภาษี และคิดว่าการจัดเก็บภาษีของภาครัฐนั้นไม่มีความยุติธรรม อีกทั้งการไม่ให้ความร่วมมือในการแสดงข้อมูลทางการเงินที่เป็นความจริงของกิจการ ทำให้รัฐบาลต้องสูญเสียรายได้เป็นจำนวนมาก   ดังนั้นกรมสรรพากรจึงควรตรวจสอบอย่างละเอียด และมีมาตราการควบคุมผู้เสียภาษีอากรที่ทันสมัย เพื่อไม่ให้มีการหลบเลี่ยงภาษีหรือหนี้ภาษีได้

    รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

1. น.ส. จุฑามาศ  อรุโณประโยชน์  4635050

2. น.ส. ทัศวรรณ  สีแสง               4635101

3. น.ส. ธนัชชา    สุริยวงศ์            4635107

4. น.ส. นุชนาถ    ดวงแก้ว            4635144

5. น.ส. เนตรชนก ช่วยชูกูล           4635146

6. น.ส. พัชรี        แซ่เตียว           4635187

7. น.ส. วทัญญา   บุญยอด           4635251

8. น.ส. วิไล        แซ่เจี้ย             4635273

เห็นด้วยกับข้อความข้างต้น เพราะว่าการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนไม่ว่าจะเป็นประเทศไหนก็ย่อมมีการเก็บภาษีเพื่อนำเงินส่วนนี้ไปพัฒนาประเทศ และ เป็นสวัสดิการให้แก่ประชาชน คนโดยมากมักหลีกเลี่ยงภาษีเพราะคิดว่าเป็นการจ่ายไปโดยไม่ได้รับผลตอบแทนแต่ความจริงแล้วการเสียภาษีจะให้ผลโดยทางอ้อมซึ่งจะเห็นได้จากสาธารณูปโภค สิ่งอำนวยความสะดวกและสาธารณะสมบัติต่างๆ โดยทางรัฐต้องมีการทำความเข้าใจกับประชาชน และชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการเสียภาษี เพื่อทำให้ประชาชนมีความเต็มใจและการตื่นตัวที่จะเสียภาษี แต่ภาครัฐก็ต้องมีการจัดการบริหารเงินภาษีของประชาชนอย่างโปร่งใส เป็นธรรม และเพื่อประชาชน นอกจากนี้ควรให้ความรู้แก่ประชาชนในการนำส่งและคิดคำนวณภาษีเพื่อให้ประชาชนไม่เกิดความรู้สึกว่ายุ่งยาก และสามารถทำได้ด้วยตนเองเพื่อลดข้อผิดพลาด

สมาชิกในกลุ่ม
1.จันทร์จิรา  เพลงสันเทียะ  4635035
2.จันทร์ทิพย์  กาหลง         4635036
3.นัฏฐนิจ  ลิ้มสันติธรรม      4635079
4.นวพร  ทองศรี                4635131
5.วิสนีย์  ชลดำรงค์กุล         4635278
6.อจรี  ลีลาธนากร             4635344
7.อุมา  ชะนะพล                4635377

                 ภายใต้การดำเนินงานของรัฐบาล ซึ่งเป็นองค์กรหนึ่งที่มีหน้าที่ในทางบริหารประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่อง เศรษฐกิจกับความเจริญเติบโตและความมั่งคั่งของประเทศ อันจะนำมาซึ่งความสุขของสังคมและคุณภาพชีวิตของประชากรในประเทศนั่นๆเอง   ซึ่งพวกเราทั้งหลายมิอาจจะปฏิเสธได้เลยว่า การจะบรรลุซึ่งผลเหล่านั้นได้นั้นส่วนหนึ่งกลับมาจาก การใช้จ่ายของรัฐบาลโดยได้รับการหนุนหลังจาก รายรับแหล่งที่ใหญ่ที่สุดที่เรียกว่า ภาษีอากร

                  เพื่อประโยชน์โดยส่วนรวมเหล่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งถ้าเราอยู่ในฐานะที่จะเสียภาษีที่เรียกว่า ภาษีเงินได้ให้แก่รัฐบาล ก็ถือเป็นหน้าที่ที่สำคัญ อันแสดงให้เห็นถึงการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศที่จะพึงอุทิศเพื่อขจัดความเห็นแก่ตัวโดยการพยายามหาทางหลีกเลี่ยงภาษี โดยเฉพาะ อย่างยิ่งข่าวก่อนหน้านี้ในเรื่องของ ภาษีสรรพสามิต ที่มีการลักลอบเอาเหล้าเถื่อนมาขายโดยที่มิได้มีการเสียภาษีอากรให้ถูกต้อง, การนำเอาอะไหล่รถเบนซ์ที่ปราศจากการเสียภาษีมาขายทำกำไรให้แก่เฉพาะกิจการของตนซึ่งผมคิดว่าไม่ยุติธรรมและไม่เห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้งอย่างยิ่งและควรได้รับการลงโทษอย่างสาสมในฐานะที่ปฏิบัติตนอันเป็นการทรยศต่อผลประโยชน์ของประเทศโดยส่วนรวม แล้วการที่จะคอยกล่าวอ้างอยู่ร่ำไปว่า การเสียภาษีนั้นเป็นการเอารัดเอาเปรียบประชาชนผู้มีเงินได้ ซึ่งถ้ายิ่งจะทำงานมากขึ้นมีเงินได้พึงประเมินมากขึ้นก็จะต้องเสียภาษีมากยิ่งขึ้น ซึ่งในความเป็นจริงแล้วมิใช่โดยสิ้นเชิง เพราะนโยบายภาษีของรัฐบาลนั้นเป็นแบบอัตราภาษีแบบก้าวหน้า ก็วัตถุประสงค์เพื่อการกระจายรายได้จากคนรวยไปสู่คนจน ซึ่งถ้ามาคิดแล้วจริงๆภาษีที่ได้เรียกเก็บจากประชาชนกลับมีไม่ถึง 2% ของเงินได้เสียด้วยซ้ำ นอกจากนั้นยังจะช่วยรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐอันเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้และเป็นเรื่องอื้อฉาว ก็คือ โครงการ mega project ที่เป็นการนำเอาภาษีของประชาชนและภาคเอกชนไปสนองนโยบายของภาครัฐ เพื่อที่จะเร่งความเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่เรียกว่า GDP แต่เรื่องการบริหารงานที่ผิดพลาดนั้นเองที่ส่อให้เห็นถึงความทุจริตจากการเอาเงินภาษีของประชาชนไปบำรุงพวกพ้องของตน เพราะฉะนั้น แม้แต่ภาครัฐบาลเองก็จะต้อง มีการบริหารงานที่โปร่งใส่  ชัดเจน และตรวจสอบได้ เพื่อที่จะนำภาษีอันภาคภูมิใจของพวกเราทั้งหลายไปใช้จ่ายได้ตรงตามเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของภาษีอากรอย่างแท้จริง

                         จากข้อดังกล่าวข้างต้นจะทำให้พวกเราทั้งหลายเห็นถึง สิ่งที่เป็นไปได้ทั้งหมดที่เกิดภาษีอากร ซึ่งไม่ว่าจะมีทั้งดี และ ไม่ดี มีทั้ง สีขาว สีดำ คละเคล้ากันไป แต่ ยังไงยังไงก็ตาม ทางสายกลาง หรือ สีเทา ก็เป็นสิ่งที่เหมาะสม และน่าพึงปฏิบัติมากที่สุด ก็คือ การวางแผนทางภาษี นอกจากจะเป็นการชำระภาษีโดยชอบทางกฎหมายแล้ว ยังจะก่อให้เกิดความพึงพอใจของทั้งตัวผู้เสียภาษีหรือภาคเอกชนและภาครัฐบาลเองอีกด้วย                   

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาว จารุวรรณ สุวรรณบุตร รหัส 4635041

2.นางสาว จินดา ศรีหมอก                    4635043

3.นาย ปริญญวัฒน์ เจนสุนทรระวี          4635159

4.นางสาว ปานนภา ปานคล้ำ                4635163

5.นางสาว ภัสศิริ แซ่ตั้ง                         4635210

6.นางสาว ภาพิตร ร่อนรืนา                      4635213

7.นางสาว อรดี เต็มรัตน์                         4635360

8. นางสาว อุไร สีแก้ว                            4635379

       เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าว หน้าที่ในการชำระภาษีเป็นหน้าที่ที่ทุกคนต้องปฏิบัติ  เพราะคนเราอยู่ร่วมกันเป็นสังคมก็ย่อมที่จะได้รับการดูแลคุ้มครองที่ดี ซึ่งรัฐบาลเองก็จะเป็นผู้ทำหน้าที่ในการทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดี แต่รัฐบาลเองก็ไม่สามารถที่จะทำทุกอย่างได้ถ้าปราศจากความช่วยเหลือทางด้านการเงินซึ่งได้มาจากการเก็บภาษีจากประชาชน แต่ก็ยังมีบุคคลบางส่วนที่หลีกเลี่ยงการเสียภาษีอยู่ ทำให้การพัฒนาประเทศทำได้ไม่เต็มที่ ประเทศจึงไม่มีความเจริญเท่าที่ควร รัฐบาลจึงต้องออกมาตรการและบทลงโทษกับผู้ที่ไม่ชำระภาษีเมื่อถึงกำหนด เพราะฉะนั้นการเสียภาษีจึงเป็นสิ่งที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้ ก็เหมือนกับความตายที่ทุกคนต้องเจอ

 

1. น.ส. ขวัญนิดา บุญทวีสกุล   4635031

2. นาย ฉลองชัย ช่อเรืองศักดิ์  4635056 

 

3. นาย ธีรพร เนาว์รุ่งโรจน์       4635117

4. นาย ปกรณ์ เกษมณี           4635150

 

5. น.ส. พัจนภา พลเพชร        4635182

6. น.ส. วริตา งูตุล                 4635263

7. น.ส. วีนัส จินดา                4635279

8. นาย สุกิจ วรรณมณี           4635311

     สมาชิกในกลุ่มของข้าพเจ้ามีความเห็นที่ตรงกันว่าความตายเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนไม่มีทางที่จะหนีมันได้เหมือนกับการเสียภาษีที่มนุษย์เราไม่สามารถหนีมันได้เช่นกัน ดังนี้ มนุษย์มีการดำรงชีวิตไปในแต่ละวัน มีเกิด แก่ เจ็บ ตาย และในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์นั้นจะนำไปสู่ระบบของการเสียภาษีอากรแม้ว่าจะไม่ได้ประกอบอาชีพตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีอากรไม่ว่าจะเป็น ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่มนุษย์ทุกคนต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจากการอุปโภคและบริโภคสินค้าหรือบริการต่าง ๆ หรือในรูปแบบของการกู้เงิน (ดอกเบี้ยเงินกู้) ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม บ้างอาจจะรู้หรือไม่รู้ว่าตนเองเป็นผู้เสียภาษีอากรให้กับรัฐบาลแม้กระทั่งความตายยังไม่สามรถหนีการเสียภาษีอากรได้เพราะในบางกรณีผู้ที่ตายไปแล้วแต่เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีก็ยังคงต้องเสียภาษีแต่อาจจะเป็นภาระหรือหน้าที่ของทายาทของผู้ตาย แต่การเสียภาษีอากรนั้นไม่ใช่เรื่องที่เสียหายอะไรเลยเพราะ ภาษีอากรที่เก็บจากประชาชนนั้นรัฐบาลก็นำเงินส่วนนี้ไปบริหารประเทศชาติ เช่น การกระจายรายได้ ส่งเสริมความเจริญเติบโตของธุรกิจหรือช่วยเหลือประชาชนในทางอื่น ๆ

     ดังนั้นความตายกับภาษีอากรก็เป็นสิ่งที่มนุษย์เราทุกคนหนีไม่พ้นไม่ว่าจะใช้วิธีการใด ๆ ก็ตาม

                                  สมาชิกในกลุ่ม

  1. น.ส.จุรีรัตน์            ประสิทธิ์ศร         4836013
  2. น.ส.ซูไลลา           มูซอ                 4836016
  3. น.ส.ปวีณา             นาคปลอด          4836027
  4. น.ส.ปิยวรรณ         สุขาเขิน              4836029
  5. นายพรหมโพธ       พาณิชย์สงเคราะห์  4836034
  6. น.ส.รวีนิภา           ศิริมรรคา              4836048
  7. น.ส.รัตนา            สืบประดิษฐ์           4836052
  8. น.ส.วันเพ็ญ          สุวรรณกาศ           4836057
  9. นายวิชัย              สะเกษ                 4836058

     ในเมื่อเราเกิดมา ได้รับชีวิตมาโดยความเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะมีสภาพร่างกายที่สมบูรณ์แบบหรือไม่ก็ตาม เราก็ย่อมที่จะคืนความเป็นธรรมชาติกลับคืนสู่โลก ด้วยความตาย ซึ่งไม่มีใครที่จะหนีสัจจธรรมนี้ได้พ้น

     และเมื่อเราเกิดมาเป็นบุคคลในประเทศหนึ่งๆแล้ว เราก็ย่อมที่จะคืนความเป็นบุคคลของประเทศด้วยการเสียภาษี เมื่อมีรายได้พอที่จะช่วยเหลือประเทศบ้านเมืองที่เราเกิดและเติบโตอยู่ที่นั่น บางคนอาจจะไม่รู้ตัวว่าเสียภาษีไปแล้ว แต่ในความเป็นจริงทุกคนที่เป็นประชากรของประเทศนั้นๆ ต้องเสียภาษีให้กับประเทศทั้งสิ้น(ภาษีทางอ้อม) นั่นก็แสดงว่าทุกคนก็ไม่สามารถที่จะหนีภาษีได้

   " แม้ความตายก็ไม่อาจที่จะหนีภาษีได้ " เพราะหากเราตายในช่วงปีภาษี คนที่อยู่(ตัวแทน) ต้องเป็นผู้เสียภาษีแทน ตามเงินได้ของผู้ที่ตาย

น.ส.กฤติยา       ภักดีใหม่      4635008

น.ส.จุฑารัตน์     จุลสุรา         4635051

น.ส.พันธุ์นีภา      ภูเสนพันธุ์    4635190

น.ส.มนฤทัย       วัฏฏะวุฒิสาร  4635220

น.ส.รัตติยา         ทรงเกียรติ    4635238

น.ส.รุ่งทิพย์        สีทอง            4635242

น.ส.วินัดดา          สายทองอินทร์ 4635271

น.ส.เสาวณีย์        พงศาดี           4635338

ผู้ต้องการแสดงความคิดเห็น

การเสียภาษีเป็นหน้าที่ที่เราต้องปฏิบัติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  แม้ว่าจะมีรายได้ที่แตกต่างกันก็ตาม เช่นเดียวกับความตายที่ไม่ว่าจะเป็นคนรวยหรือคนจนต่างก็พบจุดจบเช่นเดียวกัน                                                                      บางคนมักจะหลีกเลี่ยงการเสียภาษี เพราะไม่ต้องการเสียเงินจำนวนนั้นไป แต่การเสียภาษีเป็นจำนวนมากไม่ได้หมายความว่าเราจะเสียเปรียบที่ต้องจ่ายเงินจำนวนมากให้กับรัฐ แต่แสดงถึงประสิทธิภาพในการหารายได้ของบุคคลเหล่านั้น อีกทั้งเงินที่ได้รับจากการเสียภาษีของประชาชนถือเป็นรายได้หลักของรัฐที่สำคัญในการบริหารและพัฒนาประเทศ ซึ่งประชาชนที่ทำหน้าที่เสียภาษีย่อมได้รับผลประโยชน์จากการเสียภาษีนั้น ไม่ว่าจะเป็นทางตรงหรือทางอ้อม และหากประชาชนไม่ยอมเสียภาษีแล้วประเทศชาติจะพัฒนาไปได้อย่างไร?

สมาชิก

1.น.ส.ณํฐพร            ปรีชาติวงศ์        4635082

2.น.ส.นิศากาญจน์     แก้วทอง          4635142

3.น.ส.ปิยะพร           วิทิตปัญญาวงศ์  4635171

4.น.ส.พูลสุข            ศรีนวมะ           4635198

5.น.ส.มณีรัตน์          พยุงวงษ์           4635219

6.น.ส.รัตนา             ศรีกุล               4635239

7.น.ส.วารุณี             ภาสกรโกศล      4635269

8.น.ส.สุลาวัณย์        กุลประสิทธิ์        4635334

เห็นด้วยกับข้อความดังกล่าว  เมื่อมนุษย์เราได้เกิดขึ้นมาและสามารถอยู่รอดเป็นทารกได้  เราก็จะได้ชื่อว่าเป็นบุคคล  เมื่อเราเป็นบุคคลเราก็ย่อมที่จะมีสิทธิและหน้าที่ติดตามเรามาด้วย   มนุษย์เราชอบที่จะเรียกร้องสิทธิของตน    แต่ไม่เคยที่จะเหลียวแลถึงหน้าที่ของตนเลย   หนึ่งในหน้าที่ของเรานั้นก็คือการเสียภาษี  
ภาษีมีความเกี่ยวข้องกับเรามาตั้งแต่อดีต   เราจะเห็นได้ว่าภาษีมีความเกี่ยวข้องกับเราในทุก ๆ ด้าน  ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตายก็ยังต้องเสียภาษี    ไม่ว่าบุคคลนั้นจะประกอบอาชีพใดหรืออยู่ที่ใดในผืนแผ่นดินไทยก็มีความเกี่ยวข้องกับภาษีด้วยเช่นกัน  จะเห็นได้ว่าการมีความรู้เกี่ยวกับภาษีนั้นมีความสำคัญมากเลยทีเดียว  เพราะเราต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาล  ไม่ว่าจะเป็นภาษีทางตรงหรือภาษีทางอ้อม แม้กระทั่งผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดก็ต้องเสียภาษี เช่นกัน  ซึ่งจะอยู่ในรูปของ  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ซึ่งจัดเป็นภาษีทางอ้อมและเป็นภาษีที่บวกเข้าไปกับมูลค่าของสินค้าอุปโภคบริโภคที่เราซื้อไปใช้นั่นเอง   ผู้ที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดก็ต้องเสียภาษีเงินได้    ซึ่งเรียกเก็บตามรายได้ของแต่ละบุคคล  หรือแม้กระทั่งเราตายไปแล้วเราก็ยังจะต้องเสียภาษีเงินได้ในกรณีที่มรดกนั้นยังไม่ได้มีการแบ่งให้กับทายาทและยังก่อให้เกิดรายได้   ผู้จัดการมรดกจะต้องเป็นผู้ยื่นในการเสียภาษีนั้น       จะเห็นได้ว่าภาษีติดตัวเราเปรียบได้กับเป็นเงาตามตัว     
 ดังนั้นไม่ว่าเราจะเป็นคนเชื้อชาติ ศาสนาหรือประเทศใดก็ตามก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงภาษีพ้นได้ ซึ่งสามารถเปรียบได้กับความตาย  อันไม่มีผู้ใดที่จะหลีกหนีได้ เพียงแต่เราจะมีความเข้าใจและรู้จักในเรื่องของภาษีนั้นได้ดีมากน้อยเพียงใดเท่านั้น  อีกทั้งการที่เราเป็นพลเมืองของประเทศด้วยแล้วเราทุกคนก็ย่อมมีหน้าที่ที่จะช่วยกันทำให้ประเทศพัฒนามากขึ้น  โดยการเสียภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย     ทั้งนี้เงินภาษีที่เราเสียไปนั้นไม่ได้สูญหายไป  หากแต่เงินเหล่านั้นจะถูกแปรรูปกลับมาในรูปของสาธารณูปโภคและการพัฒนาประเทศในด้านอื่น ๆ ต่อไป

สมาชิกในกลุ่ม
1. น.ส.กนกพร        แซ่คู                         4635003
2. น.ส.กุลดา            วชิรวิทยากร             4635019
3. น.ส.ปราณี           แซ่ลิ่ม                      4635158
4. น.ส.วารินาถ        ไล่ตระกูล                4635267
5. น.ส.สมพร          จารุผดุง                   4635300
6. น.ส.สาวิตรี          ทองหนู                   4635305
7. น.ส.สุวิมล           บัวทอง                    4635337
8. น.ส.เสาวณีย์       หนูรอด                   4635339

     ทางกลุ่มมีความเห็นด้วยกับข้อความข้างต้น ภาษีเป็นสิ่งที่อยู่ติดตัวบุคคลตั้งแต่เกิดจนตาย เมื่อประกอบอาชีพ มีรายได้ เราต้องเสียภาษีเงินได้ซึ่งเป็นภาษีทางตรงให้ถูกต้องตามอัตราที่กฏหมายกำหนด แม้ผู้ที่ยังไม่มีรายได้ก็ยังคงต้องเสีบภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้าที่ถือเป็นภาษีทางอ้อมซึ่งเป็นภาษีที่ผู้บริโภคจ่ายไปโดยไม่รู้ตัว

     เห็นได้ว่าการเสียภาษีเป็นหน้าที่ของทุกคนในสังคม เพื่อนำเงินภาษีเหล่านั้นมาใช้ในการพัฒนาประเทศ หลายคนอาจคิดว่าประโยชน์ที่จะได้รับจากเงินภาษีเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในความเป็นจริงแล้ว เงินทุกหน่วยของภาษีย่อมส่งผลประโยชน์มายังประชาชนทุกคน ไม่ว่าจะเป็นด้านสาธารณูปโภค ด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านการศึกษาของบุตรหลาน เป็นต้น

     แต่บุคคลส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงภาษี การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่และความรับผิดชอบที่พึงมีต่อประเทศ ทั้งนี้เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจด้านภาษีอากร ไม่เห็นถึงประโยชน์ของภาษีที่จะสะท้อนกลับมา ดังนั้น การให้ความรู้ที่ถูกต้องด้านภาษีอากรและการปลูกจิตสำนึกที่ดีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

     ภาษีเปรียบได้เช่นกับความตายซึ่งเป็นสิ่งที่หนีไม่พ้น ในฐานะประชาชนผู้ต้องการเห็นซึ่งความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เราจึงไม่ควรหลีกเลี่ยงภาษี ควรที่จะชำระภาษีให้ถูกต้องตามกฏหมาย

สมาชิก

  1. นางสาวกรกนก       ศรีสุขสมวงศ์      รหัส 4635007
  2. นางสาวแก้วตา       เรืองสุข             รหัส 4635028
  3. นางสาวพิมพ์ชนก   จิโรจน์กุล           รหัส 4635192
  4. นางสาวมานิตา       ตันสกุล             รหัส 4635223
  5. นางสาวเมธนี         ขอประเสริฐ        รหัส 4635225
  6. นางสาววิภาวดี       พิทยานันทกิจ     รหัส 4635272
  7. นางสาวศรัณยา      ตันติวีรกุล          รหัส 4635281
  8. นางสาวศิริรัตน์      เชี่ยววัฒนกุล       รหัส 4635292
กลุ่มของนางสาวจิราลักษณ์ ทองศรี

    การเกิดแก่เจ็บตายเป็นสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขีึ้นสำหรับมนุษย์ทุกคน  ซึ่ีงเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงมันได้  ถ้าจะกล่าวทั้ง  2  อย่างนี้  ส่ัิงที่ทุกคนกลัวมากที่สุดก็คือ  ความตาย    ซึ่งเราทุกคนจะต้องพบเจอ  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลชนชั้นใดก็ตาม  และความตายนี้เราก็มักนำมาเปรียบเทียบได้กับภาษี  ซึ่งไม่ว่าจะเป็นบุคคลไหนก็ตามก็จะต้องพบเจอ  ซึ่ีงอาจจะเป็นภาษีทางตรง  หรือทางอ้่อมก็เป็นได้  ซึ่งขนาดเด็กแรกเกิดก็ยังสามารถพบเจอได้  จะยกตัวอย่างของภาษีที่เราพบเห็นเป็นประจำกับทุกๆ  คนคือ  การบริโภคสินค้า  คือ  การชำระภาษีอย่างน้ี  ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่ทุกๆ คน  จะไม่มีการซื้อสินค้าเลยเราเรียกภาษีนี้ว่า  ภาษีมูลค่าเพิ่ม  ซึ่งเป็นภาษีทางอ้อม  ภาษีเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้  เช่นเดียวกับความตาย  ดังนั้น  จึงเกิดคำพูดที่ว่า  ความตายกับภาษีเราจะหนี  2  สิ่งนี้ไม่พ้น

    สมาชิกในกลุ่ม

1.  นางสาวกาญจนา  คงธรรม          รหัส     4836004

2.  นางสาวจิราลักษณ์  ทองศรี          รหัส    4836012

3.  นางสาวชลิตา        กระจ่างแผ้ว    รหัส    4836015

4.  นายณัฐวัฒน์        ภูมิวนิชกุล       รหัส    4836018

5.  นางสาวอรวดี        พูลสวัสดิ์          รหัส    4836087

6.  นางสาวอังคณา     เหมบัณฑิต       รหัส    4836090

7.  นางสาวอัญชลี       แก้วรุ่งเรือง      รหัส    4836092 

8.    นางสาวอุไรรัตน์    ศรศิลป์            รหัส      4836094

 


 

 

          เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า.... เมื่อบุคคลที่มีรายได้ก็ย่อมที่จะต้องมีหน้าที่ในการเสียภาษี เพราะรายได้หลักของประเทศได้มาจากการเสียภาษีเป็นส่วนใหญ่ เพื่อรัฐบาลจะได้นำรายได้ที่ได้จากการเก็บภาษีมาพัฒนาประเทศในด้านต่าง  ๆ เช่น ด้านการศึกษา สาธารณูปโภค คมนาคม ฯลฯ และการเก็บภาษีในประเทศไทยก็ตั้งอยู่ในฐานของความยุติธรรม เช่น การเสียภาษีทางตรง คือมีการเสียภาษีในอัตราก้าวหน้าสำหรับผู้ที่มีรายได้มากก็จะเสียอัตราที่มากกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย นอกจากนี้ยังมีภาษีทางอ้อม คือการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหัก ณ ที่จ่าย ซึ่งผู้เสียภาษีสามารถนำมาหักลดหย่อนได้ ณ วันที่ยื่นแบบการเสียภาษีได้และถ้าผู้ที่มีรายได้ไม่ถึงเกณฑ์ขั้นต่ำที่รัฐบาลกำหนดไว้ก็จะละเว้นการเสียภาษี ทำให้ไม่เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม 

          การเสียภาษีก็เปรียบเสมือนกับการซื้ออาหาร เพื่อนำมาบริโภคให้ชีวิตได้เจริญเติบโตและคงอยู่ต่อไป ซึ่งก็เหมือนกับการเสียภาษีเช่นกันที่เราต้องจ่ายออกไปเพื่อส่งผลไปยังการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าต่อไป

   สมาชิกในกลุ่ม

1. นางสาวดวิษา            สังคหะ                   รหัส 4635089

2. นางสาวธิดา              รอดคง                    รหัส 4635114

3. นางสาวนิสา              สว่างวิมล                 รหัส 4635143

4. นางสาวพรรณวดี        ธนอารักษ์                รหัส 4635178

5. นางสาวศิริพร            ดำเกิงพันธุ์                รหัส 4635290

6. นางสาวอทิตยา          จันทวงศ์                   รหัส 4635348

7. นางสาวอัณธิกา          อุ่ยสวัสดิ์                  รหัส 4635365

8. นางสาวอาวรรณ์         จันทร์คง                   รหัส 4635372

.......................................................................................

ไม่บอกดีกว่า(หน้าตาดีๆ)

            เห็นด้วยเพราะคนเราตั้งแต่เกิดจนตายยังไงก็ต้องเสียภาษีถึงแม้ว่าจะคงสภาพเป็นผู้เยาว์ก็ต้องเสียภาษีเพราะเป็นคนไทยอยู่ในประเทศไทยครบ180วันถึงแม้ไม่มีรายได้แต่ต้องมีผู้แทนโดยชอบธรรมคือผู้ปกครองที่ต้องเสียภาษีแทนและเมื่อตายก็ต้องเสียภาษีในปีภาษีที่ตายโดยตกเป็นหน้าที่ของผู้รับมรดกที่ต้องเสียภาษีในปีนั้นจนกว่าจะแบ่งมรดก

             ฉะนั้นคำกล่าวที่ว่าความตาย กับ ภาษี จะหนี 2 สิ่งนี้ไม่พ้น  ถือว่าเป็นความจริงพิสูจน์ได้ตามกฎหมายมั้ง เพราะภาษีต้องอยู่คู่กับมนุษย์ทุกคนยกเว้น คนที่ศาลสั่งให้ไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถให้ยกเว้นภาษีหรือพระภิกษุและผู้ที่ไม่มีเงินได้ตามอัตรากฎหมายกำหนดเป็นต้นนอกเหนือจากนี้ไม่มีการยกเว้น  .............  นะจะบอกให้

           จากหัวข้อนี้ภาษีเปรียบเสมือน   "  รกที่คอยติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด    และเปรียบเสมือนโรงศพที่ติดตัวเราไปพร้อมกับความตาย"

                                            สมาชิกในกลุ่ม

1.นางสาวพรทิพย์        ภักดีเจริญ       รหัส     4836033

2.นางสาวภาวิณี          เฉลิมพงษ์         "        4836040

3.นางสาวเมริษา         หมัดอะหิน         "        4836044

4.นางสาวรสริน          บุญริน              "        4836049

5.นายวีระยุทธ์          สุวรรณโณ         "        4836061

6.นางสาวสรินทิพย์    ตั้นกิ้ม              "        4836066

7.นางสาวสุกัญญา    เหล็มนุ้ย           "         4836067

8.นางสาวสุกัญญา    บุญสม             "         4836068

9.นางสาวสุชาดา     มูละ                 "         4836071

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท