Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

คำตอบ


จดหมายจากผู้อ่านเรื่องคนไร้สัญชาติ

ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณค่ะ ดร.จันทวรรณ

อ.ตีความอีเมลล์อันนี้ อย่างไรคะ ?

ดิฉันตีความว่า น้องดอกไม้ทราบว่า ขอความช่วยเหลือในการแก้ปัญหาความไร้สัญชาติไทยของเธอได้โดยผ่านโกทูโนได้อย่างไรเนี่ย ? แปลว่า โกทูโน ได้ทำหน้าที่เป็น "ศูนย์ช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย" แล้วไหมเนี่ย ??!!

ธนาคารเก็บความรู้ ก็ทำหน้าที่ให้กู้ยืม หรือให้เปล่าความรู้ได้นะคะ

เรื่องของน้องดอกไม้เป็นกรณีของ "คนไร้สัญชาติแบบเทียม" เคยเขียนไว้แล้วที่ "คนที่มีสัญชาติต่างประเทศแต่สัญชาตินี้ไม่ก่อสุขภาวะอันพึ่งมี จึงเป็นเสมือนคนไร้สัญชาติ" กล่าวคือ เป็นคนสัญชาติของรัฐต่างประเทศ แต่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทย และขาดความผูกพันกับประเทศเจ้าของสัญชาติจนไม่อาจกลับไปยังประเมศนั้นได้ อยู่เมืองไทย ก็เป็นคนต่างด้าว ซึ่งทำให้ "ไม่มีที่ยืนทางกฎหมาย"  จะกลับประเทศเจ้าของสัญชาติ "ก็ไม่มีที่ยืนทางข้อเท็จจริง" คนอย่างน้องดอกไม้นี้นะคะ จึงมีสถานะเป็น "เสมือนคนไร้สัญชาติ"

การแก้ไขปัญหา โดยหลักการ ทำได้ ๓ ทาง กล่าวคือ (๑) ให้น้องไปร้องขอความช่วยเหลือจากสถานทูตลาว ซึ่งหากรัฐลาวมีแนวคิดแบบรัฐบาลอเมริกันหรือแม้ไทยในปัจจุบัน ก็จะมีกงสุลลาวดูแลให้ความช่วยเหลือคนสัญชาติของตนในต่างประเทศ (๒) เราต้องช่วยคุณจาตุรนและอาจารย์ ดร.สายสุรีย์ ที่จะรับรองสิทธิทางการศึกษาของเด็กโดยไม่ต้องคิดเรื่องสัญชาติ โดยเฉพาะกองทุนการศึกษาไม่จำกัดสิทธิเฉพาะแก่เด็กสัญชาติไทย และ (๓) เราแก้ปัญหาที่ปลายเหตุกัน โดยการพยายามทำให้น้องดอกไม้มีสัญชาติไทย ซึ่งก็อาจทำไม่ได้ เพราะน้องดอกไม้ไม่มีเงือนไขที่จะแปลงสัญชาติเพราะไม่ได้เกิดในไทย ประการหลังนี้ คงต้องมีข้อเท็จจริงมากขึ้น

และที่ต้องสงสัยก็คือ น้องดอกไม้อาจจะเป็นแค่ "คนเชื้อชาติลาว" มิใช่ "คนสัญชาติลาว"  ดังที่เคยเขียนไว้ใน "ลาวอพยพ ซึ่งอาจไม่ใช่ลาวอพยพ " 

สรุปเรื่องนี้ เดียวส่ง "อาจารย์บงกช นภาอัมพร" ซึ่งเป็น "ครูใหญ่" ของโรงเรียนสำหรับคนไร้รัฐคนไร้สัญชาติพิจารณาดูค่ะว่า เป็นกรณีใดกันแน่ ?

แล้วเดียว "อ.เตือน" ก็มาเล่าให้เราทราบใน

 และถ้าต้องมีการดำเนินการอะไรต่อไป ก็เป็นหน้าที่ของ "อาจารย์ชลฤทัย แก้วรุ่งเรือง" ผู้ดูแล "โครงการคลีนิกกฎหมายเพื่อคนไร้รัฐไร้สัญชาติ"
ขอบคุณ อ.จันทวรรณนะคะที่เข้ามาร่วมเป็นเครือข่ายตามธรรมชาติในการช่วยเหลือมวลมนุษยชาติ
เรื่อง อ.อายุ ดูยังไม่คืบหน้า ...อันว่า นักการเมืองและข้าราชการประจำ.............สิ้นหวัง

ผมจะวิจารณ์ พรบ.ควบคุมยาง 2542

ichi ichi

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
ไม่ขัดข้องค่ะ

เรียนปรึกษาเกี่ยวกับการเขียนวิทยานิพนธ์


Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอโทษด้วยที่ตอบช้า งานก็ยุ่งตามปกติ จึงไม่ใช่สาเหตุที่ตอบช้า ที่ตอบช้า ก็เพราะกำลังตรึกตรองว่า ควรจะตอบคุณอย่างไรดี

อ.คิดว่า การเขียนไปเรื่อยๆ โดยที่ไม่ได้ทำความเข้าใจกันก่อนนั้น ก็ทำได้ แล้วค่อยมาปรับกันในภายหลังให้ตรงกัน ก็คงทำได้

แต่ทางที่น่าจะปลอดภัยนั้น ก็คือ การได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความเข้าใจระหว่างกัน แล้วค่อยไปเขียน แต่วิธีนี้ ก็จะยากหากไม่มีเวลามากกันทั้งสองฝ่าย

ในวิธีวิจัยปัจจุบัน จึงเสนอให้มี งานเขียนสั้นๆ  เพื่อส่งความเข้าใจให้กัน ดังที่เขาเขียนกันในโกทูโนนี้เอง การทยอยลงให้ อ.ได้อ่าน อ.ก็จะมีโอกาสแลกเปลี่ยน และเสนอให้แก้ไขและเพิ่มเติมได้ และคนอื่นๆ ก็จะมาช่วยแต่งเติมได้

ข้อเสนอแนะก็คือ ทำไมไม่ทะยอยเอาแนวคิดที่คิดในแต่ละประเด็นที่ว่ามา มาแลกเปลี่ยนกันดู เป็นทาบทามความคิดของกันและกัน

เพื่อนๆ จ๋าเรามีแนวทางการวิจารณ์หนังสือจากการสนทนากับอาจารย์แหววมาให้อ่านกันเผื่อจะเป็นแนวทางให้จ้ะ

ดวงเด่น

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
ขอบคุณดวงเด่นค่ะที่จัดการเอาข้อสนทนาของเรามาเผยแพร่ให้เพื่อนๆ อ่าน

การวิจารณ์หนังสือกฎหมายระหว่างประเทศ

Toi Wantana

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

มีแนวคิดอยู่ ๓ ลักษณะที่น่าจะเอามาทบทวน

ในประการแรก เลือกที่เราชอบ เราจะรู้สึกอยากทำงาน

ในประการที่สอง เลือกในสิ่งที่มีประโยชน์ต่อตัวเรา สิ่งที่เราชอบในวันนี้ พรุ่งนี้ อาจจะเบื่อ แต่สิ่งที่มีประโยชน์ เบื่อแล้ว ก็ยังกัดฟันทำต่อได้นะ

ในประการที่สาม เลือกทำในสิ่งที่มีประโยชน์ต่อคนอื่น แม้เราไม่ชอบ และแม้ไม่มีประโยชน์ต่อเรา แต่ถ้าเราทำ เราเองก็จะรู้สึกว่า ตัวเราก็มีคุณค่า

สองหัวข้อที่เสนอมา ทำได้ทั้งสองล่ะค่ะ จะเอาแนวคิดไหนตัดสินใจล่ะคะ

ยากหรือง่าย ก็ไม่เป็นไร สิ่งที่สำคัญสำหรับคุณ ก็คือ คุณได้เรียนรู้ สิ่งที่สำคัญสำหรับอาจารย์ ก็คือ คุณได้พยายามที่จะเรียนรู้ แค่พยายาม ก็สอบผ่านแล้วค่ะ

เสาวณีย์จะวิจารณ์วิจารณ์โครงการความร่วมมือทางเศรษฐกิจร่วมกับประเทศเพื่อนบ้าน (ACMECS)

Archanwell

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ
ไม่ขัดข้อง แต่สงสัยว่า คุณจะหาประเด็นกฎหมายจากเรื่องนี้มาวิจารณ์ใช่ไหมคะ ? หวังว่า จะไม่กล่าวถึงประเด็นการเมืองหรือเศรษฐกิจหรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ประการเดียว

ณัฏพล สุวรรณเจษฎา จะวิจารณ์ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

Archanwell

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ถามมาตั้ง ๒ หน

ขอตอบเสียทีว่า ไม่ขัดข้อง แต่อยากขอให้มาให้รายละเอียดสักนิดว่า ร่าง พรบ.นี้ ยกร่างโดยใคร และเมื่อไหร่คะ

ปารินุชจะวิจารณ์หนังสือเรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของท่านสรวิศ ลิมปรังษี

Archanwell

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไม่ขัดข้องค่ะ แต่ขอรายละเอียดเกี่ยวกับหนังสือนะคะ ในลักษณะที่เราค้นต่อไปกัน เช่น พิมพ์ปีไหน พิมพ์โดยใคร ใช้ในโอกาสไหน

พริสราจะวิจารณ์หนังสือเรื่อง "กฎหมายการค้าและสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ" ของ ดร.พรชัย ด่านวิวัฒน์ ค่ะ

Archanwell

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไม่ขัดข้องค่ะ แต่ขอทราบรายละเอียดของหนังสือสักนิด พิมพ์เมื่อไหร่ โดยใคร ในโอกาสไหน ประมาณนี้นะคะ

หัวข้อเรื่องในการทำรายงานครั้งที่ 9

LiLa

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไม่ขัดข้องค่ะ ทำได้เลยค่ะ

คำถามเรื่องหัวข้อรายงานชิ้นที่ 9

ฉัตรชัย สร้อยสุวรรณ

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เอาเลย ยังไม่มีใครจองเรื่องนี้

เริ่มต้นศึกษาเลย

รายงานชิ้นที่ ๙ สนใจวิจารณ์ "ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. . . . ."

KN

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

เมื่อสนใจเรื่องไหน ก็ทำเรื่องนั้นซิคะ ทำเลย

territorial management นะ ท้าทาย จะคิดแบบเดิมๆ นะ ไปไม่รอด จะคิดแบบตะวันตกมากๆ ก็อาจเพลินจนตกเป็นเมืองขึ้นฝรั่งโดยไม่รู้ตัว

 หยิบร่าง พ.ร.บ.นี้ มาอ่านให้ละเอียด แล้ววิจารณ์เลย

อยู่ สลค. นะเห็นเวลาส่วนราชการเขาวิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.บ่อยๆ ย่อมเห็นทั้งตัวอย่างที่ดีและตัวอย่างที่ไม่ดี

เอาเลย เริ่มต้น

รายงานชิ้นที่ 9 วิจารณ์หนังสือภาษาอังกฤษเกี่ยวกับกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ

ดวงเด่น

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ไม่ขัดข้องที่คุณดวงเด่นจะทำงานวิจารณ์หนังสือของ Andreas F. Lowenfeld เรื่อง Internation Economic Law  เริ่มต้นงานได้เลย

ลองศึกษาวิธีการวิจารณ์หนังสือกฎหมายซิคะ ดูตัวอย่างในวารสารกฎหมายต่างๆ ได้ค่ะ

ทีมประสานเสียงของพายัพได้รับรางวัลที่สามค่ะ :)

ดร. จันทวรรณ ปิยะวัฒน์

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ขอบคุณค่ะ อ.จันทรวรรณ

รางวัลจากการแข่งขัน ก็ได้แล้ว

แต่รางวัลจากรัฐบาลไทยจะด้ไหมเนี่ย

ดีใจครับ

ขจิต ฝอยทอง

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ก็ดีใจค่ะ ที่มาเป็นประชากรของโกทูโน

และซาบซึ้งมากค่ะ ที่ประชาคมโกทูโนให้ความเอื้ออาทรต่อคนยากไร้ อย่าง อ.อายุ ซึ่งยากไร้ความเป็นบุคคลตามกฎหมาย

ประชาคมวิชาการอย่างโกทูโนนี้ มีสักกี่ที่แล้วคะในประเทศไทยทราบไหมคะ

อยากให้แสดงความเห็นในบทความที่เขียนครับ


Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

ต้องขอบคุณที่คุณนำเอางานของเรา มาแบ่งปันกับน้องๆ แต่ถ้าจะดี ก็คือ ลองมาตั้งวงเสวนากับน้องๆ ก็น่าจะดี เลือกเอางานเขียนชิ้นใด มานำเสนอ ลองดูดีไหม

การส่งงานเพื่อให้อาจารย์ช่วยตรวจ


Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คุณทำได้ทั้งสองอย่างค่ะ

ที่ยังเป็นการรวบรวมข้อมูล และการเริ่มต้นวิเคราะห์ข้อมูล คุณอาจเขียนใส่ "บันทึก" ในโกทูโนได้ค่ะ  ซึ่งการทำงานแบบนี้น่าจะทำให้อาจารย์ทราบว่า คุณทำอะไรอยู่ และช่วยเสริมคุณในการพัฒนาการแสดงเหตุผลได้

แนะนำให้สำรวจกฎหมายไทยก่อนที่ใช้กับ LG ในประเทศไทย ตั้งแต่ (๑) ความเป็นบุคคลของ LG (๒) นิติสัมพันธ์ต่างๆ ของ LG ทั้งกับรัฐและกับเอกชน (๓) ทรัพย์สินต่างๆ ของ LG (๔) ผลของความเป็นบุคคลและนิติสัมพันธ์ในต่างประเทศ

เมื่อเสร็จแล้ว ค่อยมาทำกฎหมายระหว่างประเทศ

ข้อดีของการใช้อินเทอร์เน็ตเขียนงาน คุณจะมีเพื่อนมาชวนคุยค่ะ

ลองดูตัวอย่างของโครงการวิจัยที่อาจารย์ดูแล ซึ่งกำลังเป็นที่สนใจมาก

http://gotoknow.org/planet/stateless-in-tsunami

จะเห็นว่า การใช้โกทูโน เป็นหนทางที่มีคนมาร่วมคิดด้วย ไม่ใช่แค่นักวิจัยที่มาคุยกัน เรามีโอกาสได้ฝึกฝนความคิดกับนักวิชาการที่อาศัยอยู่ใน โกทูโน

วิธีการใส่หนังสืออ้างอิงและคำถามบางประการเกี่ยวกับการเขียนงาน

Mr. นาย ไกรศร เรืองกูล

Archanwell
เขียนเมื่อ
คำตอบ

คำถามแรกเรื่องอ้างอิงนั้น จะใส่มาในแต่ละบันทึก โดยใส่ในตอนท้ายบันทึก หรือ ในแต่ละวรรคของงานเขียนที่อยากอ้างอิงก็ได้ค่ะ ให้เสรีภาพ ขอให้อ่านเข้าใจแล้วกันค่ะ

อยากให้เขียนงานเกี่ยวกับกฎหมายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จะตื้นหรือลึก ก็ได้ค่ะ แต่งเติมได้ตลอดเวลาล่ะค่ะ จนถึงช่วงหนึ่งเดือนหลังสอบ ก็จะเก็บคะแนนครั้งสุดท้าย

อ่านหนังสือจนจบแล้ว มาเติมอีกทีก็ได้ แต่ถ้าอยากได้คะแนนในส่วนนี้ ต้องโพสต์งานก่อนเดือนตุลาคม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท