Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

อนุทินล่าสุด


Archanwell
เขียนเมื่อ

เมื่อ 27 สิงหาคม 2558 18:41, คุณสมบัติตั้งคำถามผ่าน <[email protected]> โดยตั้งหัวข้อว่า "ขอสัญชาติไทย" และอีเมลล์มีเนื้อหาความว่า "ผมได้ยื่นขอสัญชาติไทยแล้วเอาลักษฐานให้เเก่เจ้าหน้าที่ฝางแล้วครับแต่ขอสัญชาติไม่ได้เขาว่าหลักฐานไม่เพียงพอติดยุที่พ.ศของแม่อพยบมา 2527 ส่วนของผมพ.ศเกิด14เม.ษ2523แต่ในใบประวัตรเขียนไว้ว่าเกิดที่ไทย ต้องทำอย่างไรครับถึงจะได้เป็นคนไทยมีัตรประชาชล"

อ.แหววถามกลับไปว่า "ตอนนี้ ถือบัตรอะไรอยู่คะ"

มารอคำตอบ และมาสอบปากคำกันต่อ เท่าที่เห็นในประการแรก ก็คือ ทะเบียนประวัติบันทึกขัดกันอีกแล้วค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งความมั่นคงของก้าวเดินของชีวิต

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๗

----------------------------------------------

ความมั่นคงของก้าวเดินของชีวิตนั้น มีปัจจัยหลายอย่างที่มนุษย์ที่โชคดีนั้นควรจะมี 

(๑) ปัญญาในบริบทของชีวิตที่เป็นอยู่ 

(๒) สติที่มั่นคงจนพร้อมจะเผชิญปัญหาและอุปสรรคในการจัดการปัญหา ปัญหาเป็นเรื่องของธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ 

(๓) มิตรที่รักษาสัญญาที่จะก้าวไปร่วมกัน ไม่ทิ้งกันเสียกลางทาง ไม่ผลักเราล้มในระหว่างทาง เช็คน้ำตาในเรายามเราจิตตก และ

(๔) สุขภาพทั้งใจกายที่จะไม่ทำให้เราเองล้มก่อนที่จะถึงเป้าหมาย 

..... นี่คือการทบทวนประสบการณ์และการถอดบทเรียนเพื่อการเรียนรู้ของตัวเองและมิตรร่วมทาง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Archanwell
เขียนเมื่อ

สูตรสำเร็จในการสร้างสุขภาวะของชีวิต



ความเห็น (1)

สำคัญที่การรู้เป้าหมายชีวิต และการหาเพื่อนร่วมทาง…

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งการคิดต่างจากแนวคิดกระแสหลักเดิม

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๗

------------------------------------------------------------

            งานวิชาการนั้นเป็นงานสร้างหลักคิด และเมื่อเราตระหนักในภารกิจของงานวิชาการเพื่อความยุติธรรม การวางหลักจึงเป็นสิ่งที่สำคัญค่ะ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งนำหลักคิดที่เราวางไปใช้เพื่อสนับสนุนสิ่งที่เขาคิดว่า เป็นธรรม มันก็คงเป็นธรรมดา ลองคิดดู มาตราหนึ่งในประมวลกฎหมายอาญาก็ย่อมถูกอ้างทั้งโดยโจทก์และจำเลย ดังนั้น ตำราเล่มหนึ่งย่อมเป็นที่พึ่งของประชาชนมากมาย

            การวางหลักคิดทางกฎหมายย่อมสำคัญและน่านับถือมากค่ะ สังคมพัฒนาไปทุกวัน นักคิดทางนิติศาสตร์ก็ต้องพัฒนาตัวเองให้สนองตอบความยุติธรรมต่อสังคมให้ได้ค่ะ และในหลายสถานการณ์ ก็จะต้องทิ้งแนวคิดเก่าที่สนองตอบความยุติธรรมต่อสังคมไม่ได้ค่ะ

            แนวคิดทั้งหมดนี้ เขียนใน https://www.facebook.com/mark.charoenwong/posts/10152186279786967 เพื่อแสดงความคิดถึงและชื่นชมคุณมาร์ค เจริญวงศ์ อัยการสายวิชาการ ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นลูกศิษย์ในวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และในวันนี้ เป็นเพื่อนทางความคิดในหลากหลายมุมมองทางสังคม โดยเฉพาะในเรื่องสิทธิของเด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นงานที่ผู้เขียนให้ความสำคัญมากที่สุดในช่วงวัยใกล้เกษียณอายุราชการ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งความอยู่รอดของมนุษย์ในสังคมที่มีความต่า

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๕๖

--------------------------------------------------

ชีวิตมนุษย์ว่าแล้ว ก็ไม่ยากเย็นที่จะมีความสุข ในความทุกข์/ความน่ารำคาญ เราก็อาจเฉยๆ ถ้าเราเข้าใจในความจริงของเรื่องที่กำลังดำเนินอยู่

สงครามหรือความขัดแย้งระหว่างมนุษย์น่าจะมีอยู่ตลอดเวลา มันคงยากที่คนหลายคนจะมีความคิด/ความเชื่อ/ประโยชน์ที่สอดคล้องกัน แต่มันคงยากมากกว่าที่มนุษย์จะปรองดองสมานฉันท์ในความแตกต่างระหว่างกัน ความดีอาจทำให้มนุษย์คนหนึ่งยอมรับมนุษย์อีกคนที่มีความแตกต่างจากตนเองได้ มันก็คงยากอีกที่มนุษย์คนหนึ่งจะมีความดีอย่างสม่ำเสมอ เราจึงพบว่า ในมนุษย์คนหนึ่ง เขาอาจจะดีบ้างหรือร้ายบ้างต่อคนอื่น 

แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเรายอมรับความจริงที่ว่า ความดีของมนุษย์ก็อาจไม่สม่ำเสมอเท่าใดนัก เราก็อาจจะอยู่ร่วมกับมนุษย์ที่อาจดีบ้างอาจร้ายบ้างได้

ไปๆ มาๆ ก็ยิ้มได้คนเดียวว่า เรื่องของความจริงและความดี ดูเป็นสัจจธรรมของชีวิตของมนุษย์ที่ปฏิเสธไม่ได้ เป็นปรัชญาแห่งความอยู่รอดของมนุษย์ในสังคมที่มีความต่าง



ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ ที่ให้มองเห็นคำว่า มนุษย์ ..เหรียญก็มีสองด้าน คนก็มีทั้งด้านดีและไม่ดี ถ้าเอาความดีมามองก็มีสุข แต่มองแต่ด้านที่ไม่ดีเรากับจะเป็นทุกข์มากกว่า..

Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งความเป็นนักวิชาชีพด้านกฎหมาย

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๖

------------------------------------------

ในโอกาสที่นักวิชาชีพกฎหมาย ๓ ท่าน ซึ่งเป็นลูกศิษย์ จะต้องทำงานประเมินผลการทำงานขององค์กร ๗ องค์กรที่รับทุนขององค์กรระหว่างประเทศ เป็นการทำงานที่ยากและซับซ้อน เกี่ยวข้องกับคนมาก พวกเขาจะต้องเผชิญต่อทั้งความชื่นชมและความไม่ชื่นชมในแนวคิด วิธีการทำงาน และผลการทำงาน ดังนั้น ผู้เขียนจึงอยากจะสรุปหลักคิดของนักวิชาชีพกฎหมายดังนี้กับพวกเขา 

"เมื่อพวกเธอเป็นนักวิชาชีพด้านกฎหมาย เธอต้องตระหนักในหน้าที่ของเธอให้ดีที่สุดค่ะ เธออาจจะทำงานได้ไม่ดีหรือผิดพลาด ก็ขอให้ข้ออ่อนดังกล่าวนี้เกิดจากความไม่เจตนา แต่ทุกอย่างจะต้องมีสาเหตุ จึงเรียนรู้ถึงสาเหตุและแก้ไขที่สาเหตุอย่างกล้าหาญ จริงใจ และมีจริยธรรม

การที่จะทำอะไรก็ตามหากไม่มีแผนการที่ดี ตลอดจนความมุ่งมั่น โอกาสพลาดจะสูงมากทีเดียว แผนและการปฏิบัติการตามแผนเป็นเรื่องของเทคนิคบริหารความเสี่ยงที่น่าจะดีที่สุด เมื่อเราทำอะไรโดยปราศจากแผนตลอดจนองค์ความรู้ในการปฏิบัติการตามแผน เราก็จะเผชิญอุปสรรคมากมาย จนอาจจะไปไม่ถึงความสำเร็จ

องค์ความรู้ในการปฏิบัติการตามแผนมีอยู่ ๓ ลักษณะใหญ่ (๑) การจัดการแรงบันดาลใจ (๒) การจัดการขั้นตอนการทำงานตามแผน และ (๓) การจัดการอุปสรรคในการทำงานที่มีต่อทั้งใจและงาน

ในการทำงานครั้งนี้ จึงเป็นการฝึกงานครั้งสำคัญค่ะ ขอให้พวกเธอเรียนรู้และปรับพฤติกรรมให้ได้ค่ะ ขอให้โชคดี"

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=709224265755676&set=a.348722548472518.95079.100000043277137&type=1&theater

งานด้านกฎหมาย เป็นงานเพื่อความยุติธรรม ดังนั้น การทำงานบนความเที่ยงตรงจึงเป็นสิ่งที่ต้องทำให้ได้อย่างแน่วแน่ และมีเหตุมีผล และเมื่อเป็นความยุติธรรมทางสังคม บริบทของสังคมจึงเป็นสิ่งที่เราต้องเข้าใจ การรับฟังทุกคนในบริบทนี้จึงจำเป็น แต่ก็ยากที่สังคมไทยมักสอนให้มนุษย์ซุกฝุ่นไว้ใต้พรม ดังนั้น การเรียนรู้ปัญหาของสังคมอย่างรอบด้าน จึงเป็นเรื่องที่ยากเย็นอย่างมาก

คำว่า "กฎหมาย" จึงต้องตระหนักในขอบเขตของบริบททางสังคม การคิดถึงกฎหมายที่มาจากอำนาจนิยมอย่างเดียว หรือที่เป็นลายลักษณ์อักษรแล้วอย่างเดียว จึงอาจทำให้เราไม่เข้าถึงปัญหาสังคม และสร้างความยุติธรรมทางสังคมมิได้ 

การลงชี้ขาดในประเด็นใดก็ตาม ทั้งในศาลและนอกศาล เราคงต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจบริบทของสังคมที่คู่ความหรือผู้ถูกประเมินปรากฏตัวอยู่ ความเข้าใจในกลไกแห่งความยุติธรรมระหว่างคู่ความหรือคนในระบบที่ถูกประเมิน จะทำให้ความยุติธรรมทางสังคมบังเกิดขึ้น และสร้างสันติสุขในสังคมได้อย่างแท้จริง 



ความเห็น (1)

อาจารย์เขียนไว้ดีมากเลยครับ………. เรียนรู้ถึงสาเหตุและแก้ไขที่สาเหตุอย่างกล้าหาญ จริงใจ และมีจริยธรรม

…… ตรงที่ว่า การลงชี้ขาดในประเด็นใดก็ตาม ทั้งในศาลและนอกศาล เราคงต้องเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจบริบทของสังคมที่คู่ความหรือผู้ถูกประเมินปรากฏตัวอยู่ ความเข้าใจในกลไกแห่งความยุติธรรมระหว่างคู่ความหรือคนในระบบที่ถูกประเมิน จะทำให้ความยุติธรรมทางสังคมบังเกิดขึ้น และสร้างสันติสุขในสังคมได้อย่างแท้จริง

ความเห็นที่เข้าข้างตัวเอง ผมอาจจะแปลความหมายไปตามความต้องการของตนได้ ……… (เมื่อความคิดเราไม่อยู่ตรงกลาง ซึ่งก็ยากที่จะทำให้อยู่ตรงกลางซะด้วยครับ)

Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งการศึกษากฎหมาย

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/archanwell/posts/10151961261331425

---------------------------------------------

ครูกฎหมายในคณะนิติศาสตร์ทั่วโลกสอนว่า "ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย" เราสังเกตว่า สัมพันธภาพระหว่างกฎหมายและสังคมเป็นสัมพันธภาพตามธรรมชาติ อันนำมาซึ่งกฎหมายธรรมชาติที่มีผลในสังคมมนุษย์ทุกสังคมบนโลก

แต่ในวันนี้ เมื่อสังคมมนุษย์มี ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) สังคมมนุษย์บนโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) และ (๒) สังคมมนุษย์บนโลกเสมือนจริง (Virtual World) สัมพันธภาพระหว่างกฎหมายและสังคมแต่ละสังคมนี้ จึงกลายเป็นวัตถุของการศึกษาที่นักศึกษากฎหมายในทุกคณะนิติศาสตร์บนโลกพากันนำมาทบทวนและพัฒนาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของมนุษย์บนประชาคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่การศึกษาสัมพันธภาพระหว่างกฎหมายและสังคมมนุษย์บนโลกเสมือนจริงที่เชื่อมโยงกันอย่างมีระบบระเบียบในรูปของ "เครือข่ายสังคมออนไลน์"  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาทั้งสภาพสังคมมนุษย์ในชุมชนของมนุษย์ในเครือข่ายสังคมนี้ และกฎหมายที่ใช้กับมนุษย์ที่ปรากฏตัวในพื้นที่ดังกล่าว

คำถามที่ตามมา ก็คือ "รัฐหรือนครีรัฐ" ที่เคยปรากฏตัวขึ้นมาในสังคมมนุษย์ที่มีอารยะ ในยุคแรกๆ ของพัฒนาการของมนุษย์ในสังคมเมือง ปรากฏตัวขึ้นเพื่อจัดการปกครองสังคมในรูปเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือไม่ ?

ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นปัญหาปรัชญาหรือปัญหาเชิงแนวคิด หากมีตรรกวิทยาที่รับกันได้ การพัฒนาความคิดเพื่อพัฒนาการจัดการสังคมมนุษย์ในทุกลักษณะก็ย่อมเป็นไปได้ ทุกสรรพสิ่งมีความเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้ เพราะทุกสรรพสิ่งในทุกสังคมที่กล่าวมา มีมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางในการกำหนดความเป็นมาและความเป็นไปของสังคมมนุษย์ อันเป็นสภาพธรรมชาติที่มนุษย์เป็นอยู่

และในท้ายที่สุด เราคงสังเกตว่า ความเป็นมนุษย์กลับเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ไม่อาจกำหนดการเกิดขึ้นและการสิ้นสุดของตนเองได้โดยลำพัง

ดังนั้น เมื่อนักศึกษากฎหมายต้องการสร้างศักยภาพในการชี้ขาดทุกข้อพิพาทหรือข้อที่อาจพิพาทกันระหว่างมนุษย์ในสังคมให้ “เปี่ยมด้วยความยุติธรรมทางสังคม” พวกเขาจะต้องมีความรอบรู้ใน ๓ ประเด็นดังต่อไปนี้  (๑) กฎเกณฑ์แบบแผนที่ใช้บังคับในสังคม  (๒) ข้อเท็จจริงในสังคม และ (๓) คุณค่าทางสังคม  

เมื่อตรึกตรองมาถึงบรรทัดนี้ จึงอดที่จะระลึกถึง “ท่านศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ครูกฎหมายไทยผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งที่สอนเราว่า การศึกษานิติศาสตร์ ก็คือ การศึกษาศาสตร์ ๓ แขนง กล่าวคือ (๑) นิติศาสตร์โดยแท้/นิติศาสตร์เชิงแบบแผน (Legal Science of Norm/Normative Legal Science/ Legal Science Proper) (๒) นิติศาสตร์โดย/เชิงข้อเท็จจริง (Legal Science of Fact) และ (๓) นิติศาสตร์โดย/เชิงคุณค่า (Legal Science of Value) มิได้

------------------------------------------------------------

มิตรที่รับฟังคำบ่น : - Ithipol Preetiprasong Darunee Paisanpanichkul Wisarut Max Samlee-on Somkiat Worapunyaanun Ratchaneekorn Larpvanichar Chachai Chetsumon Phunthip Saisoonthorn Pairush Teerachaimahit Lukana Pobromyen Siwanoot Soitong

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

รู้สึกท้อและเศร้าใจในชะตากรรมของคนไร้สัญชาติและอดีตคนไร้สัญชาติ

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/archanwell/posts/10151959942456425

--------------------------------------------------

มาสอนในพื้นที่เดิมของอดีตคนไร้สัญชาติทีไร เป็นต้องพบกับคำถามเกี่ยวกับสิทธิที่หายไปของคนเหล่านี้ ครั้งนี้ ก็มีนักศึกษามาตั้งคำถามว่า

"ผมมีเพื่อนคนหนึ่งครับ.ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นชาวเวียดนาม .. เข้ามาอยู่ในไทยน่าครับ.มีลูกหลาน แล้วเพื่อนผมคนนี้. เกิดเมื่อ 8 ม.ค.2535 แล้วได้สัญชาติไทยโดยกำเนิด .แต่หลังจากนั้นไม่นาน กลับถูกเรียกสัญชาติไทยคืน..แล้วไม่นานก็ได้สัญชาติไทยคืนมาครับ.. ทำให้เพื่อนผมเป็น.คนที่ไม่ใช่ สัญชาติไทยโดยกำเนิด.. ให้เสียสิทธิในการรับราชการต่างๆ ผมอยากทราบว่า มีกฎหมาย หรือกฎกระทรวง ที่กำหนดว่าต้องเรียกสัญชาติคืนครับ อาจารย์ .. ขอบคุณมากครับ"

คงต้องอธิบายกันยาวทีเดียว ก็เลยให้ท่านนักศึกษาท่านนี้ไปพาเจ้าของปัญหามาพบค่ะ และขอให้ท่านนักศึกษาท่านนี้ตั้งใจเรียนวิชากฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลให้ดี

ในช่วงนี้ มีความเศร้าใจอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกรณีครอบครัวป้าสันที ซึ่งพบว่า ชีวิตยังประสบความทุกข์ยาก ทั้งที่เรื่องราวนี้ปรากฏในงานวิทยานิพนธ์และงานวิจัยมากมาย

จึงมาคิดว่า การกลับไปดูแลคนเก่าๆ ที่ยังประสบปัญหาความทุกข์ยาก ก็น่าจะเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ปัญหาก็ยากค่ะ ตัวคนเดียว เป็นครูตัวเล็กๆ ในมหาวิทยาลัย จะทำอะไรได้ คนที่มีอำนาจวาสนา ก็ยังไม่ทำหรือทำไม่สำเร็จ พอคิดมาถึงจุดนี้ ก็รู้สึกท้อและเศร้าใจค่ะ

แม้จะพยายามปลงค่ะ แต่ก็อยากทบทวนว่า เราได้ทำอย่างเต็มที่แล้วยัง เราอาจยังทำอะไรได้บ้าง รอตรวจข้อสอบเสร็จ ก็คิดว่า จะออกแรงเพื่อครอบครัวของป้าสันทีสักนิด ขอสิ่งศักดิ์สิทธิให้กำลังแก่ อ.แหววด้วย มวลมิตรช่วยอธิฐานจิตให้ด้วยนะคะ

--------------------------------------------------------

มิตรที่คุยด้วย : -Phunthip Saisoonthorn Sjunior Pithong ศรีสดา ไพศาลสกุลชัย แดงน้อย คอยรัก Bongkot Napaumporn Puangrat Patomsirirak Siwanoot Soitong Wikarnda Pattiboon Pairush Teerachaimahit Chonruitai Kaewrungrueng

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

ตอบคุณแป้งเรื่องการทำใบเกิดและพาสปอร์ตสัญชาติอังกฤษให้ลูกที่เกิดจากสามีนอกสมรสสัญชาติอังกฤษ

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/archanwell/posts/10151953035506425

-------------------------------------------------------

วันนี้ (๑๗/๑๐/๒๕๕๖) คุณแป้งถาม อ.แหววมาว่า

“สวัสดีค่ะอ.แหว๋ว ดิฉันแต่งงานตามประเพณีไทยกับสามีชาวอังกฤษแต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส มีบุตรด้วยกัน2คน ชายอายุ 9 ปี หญิงอายุ 4 ปี สามีดิฉันเสียชีวิตเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ตอนนี้ลูกทั้งสองถือสัญชาติไทยและพาสปอร์ตไทย

อยากขอคำแนะนำจากอาจารย์ว่า

 (๑) ดิฉันควรทำใบเกิดและพาสปอร์ตสัญชาติอังกฤษให้ลูกทั้งสองหรือไม่ แล้วมีผลดีและผลเสียอย่างไรบ้างคะ จำเป็นไหมที่จะให้ลูกถือสองสัญชาติ

 (๒) ถ้าทำสองสัญชาติให้ลูกแล้วเวลาเดินทางไปอังกฤษต้องขอวีซ่าให้เค้าด้วยมั๊ย หรือว่าซื้อตั๋วเครื่องบินแล้วบินได้เลย

 (๓) ถ้าอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้ว ลูกเลือกถือสัญชาติอังกฤษ แล้วจะมีสิทธิ์ครอบครองบ้านและที่ดินของมารดาที่เมืองไทยได้ไหมคะ

ด้วยความเคารพ แป้ง

ซึ่ง อ.แหววถามกลับไปว่า “มีกิจกรรมในชีวิตหรือทรัพย์สินอยู่ในอังกฤษหรือไม่ ?”

 

อยากถามมวลมิตรว่า เราควรแนะนำคุณแป้งอย่างไรคะ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งเดือนตุลา

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=620098821366740&set=a.139504616092832.17661.100000998836574&type=3&theater

--------------------------------------

คำบ่นของคุณภาสกร จำลองราช

--------------------------------------

แปลกใจตัวเองจริง สมัยก่อนตอนเป็นนักศึกษา พอได้ยินเรื่องราว 6 ตุลา หรือ 14 ตุลาหรือคนเดือนตุลา ผมรู้สึกกระหายใคร่รู้ และมีความกระตือรือร้นทุกครั้งที่เขาจัดกิจกรรมในเดือนตุลาคม

ผ่านไป 20 ปี พอมาเป็นนักข่าว ได้สัมผัสกับคนเดือนตุลาหลายๆ คน ได้เข้าใกล้ข้อเท็จจริงในหลายๆสถานการณ์ ทำไมความกระตือรือร้นกลับมอดดับสนิท เหลือเพียงจิตที่คารวะแด่ผู้เสียชีวิต ในทางตรงกันข้าม หลายครั้งหลายคราในใจกลับยิ่งรู้สึกเสื่อมทรุดเมื่อคนเดือนตุลาบางคน เอ่ยถึงวีรกรรมเดือนตุลา

ถามตัวเองอยู่เหมือนกันว่า ทำไมถึงไม่สามารถเก็บเดือนตุลาให้เป็นตำนานไว้ใจได้ยืนยง

--------------------------------------

คำบ่นตอบของอาจารย์แหวว

--------------------------------------

อยากตอบคุณภาสกรว่า คนเดือนตุลาก็เป็นคนค่ะ บทเรียนที่ได้รับจากสถานการณ์เดือนตุลานั้นมีมากมาย ถึงอย่างไรก็น่าศึกษา และคำว่าสถานการณ์เดือนตุลามันดำเนินอยู่แม้ในปัจจุบันค่ะ คนธรรมศาสตร์นั้นถูกสั่งให้อยู่กับสถานการณ์เดือนตุลาทุกครั้งที่เดินเข้าธรรมศาสตร์ สิ่งที่กำลังเกิดในวันที่ ๖ หรือ ๑๔ ตุลาในแบบพิธีกรรมหรือทางสื่อ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่คนแต่ละคนที่สัมผัสกับสถานการณ์ตุลานะคะ แต่จุดร่วมที่อิ่มเอิบของ "แนวคิดเสรีภาพ" "ความดี" และ "พลังบริสุทธิ์ของหนุ่มสาว" ก็น่าจะไม่ถูกมองข้ามค่ะ เมื่อหนุ่มสาวคนนั้นโตขึ้น ก็อาจเป็นธรรมดาที่พวกเขาจะถูกย้อมสีค่ะ มันเป็นธรรมดาของความจริง

ตอบคุณภาสกรว่า วิธีที่จะ “เก็บเดือนตุลาให้เป็นตำนานไว้ใจได้ยืนยงก็คือ การเข้าใจปรากฏการณ์นี้บนความเป็นธรรมดาของเรื่องจริงว่าด้วย “ความเปลี่ยนแปลง”

เคยได้ยินทฤษฎีการพิจารณาแม่น้ำไหมคะ ? เธอเห็นแม่น้ำเพชรบุรีที่เธอรัก มาตลอดชีวิต แต่แม่น้ำสายนั้น ไม่เคยเหมือนเดิมค่ะ แม้จะดูว่า มันแทบจะเหมือนเดิม

 

เรามองเห็นมายาคติของเดือนตุลาไหมคะ ? หากเราประสบผลสำเร็จที่จะมองผ่านมายาคตินี้ไปหาสัจจธรรมที่สถานการณ์เดือนตุลาพิสูจน์ให้เราเห็นให้ได้ เราก็จะเข้าใจโลกและชีวิต และเราจะสามารถดำรงชีวิตบนความจริงและความดีได้ และน่าจะมีสันติสุขที่ยั่งยืน

 



ความเห็น (2)

เมื่อสี่สิบปีที่ผ่านมา ผมเรียนอยู่ มัธยม ๓ ทำให้อยากเรียนรู้ถึงสิ่งที่เปลี่ยนแปลง วันนี้เห็นการประท้วงตั้งตนเป็นผู้นำ ก็เข้าใจบ้างว่า เป็นการเรียกร้องความกระหายของกลุ่ม ผลประโยชน์ ระอายแทนคนเดือนตุลาเมื่อสี่สิบปีที่ผ่านมา ผมรักประชาธิปไตยครับ..อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง มีความเท่าเทียมกันทุกด้านมากขึ้น.

ขอบคุณค่ะ ขอบคุณมากๆ

Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งการมองเห็นก้อนความรู้พื้นฐานที่ใช้สร้างวิทยานิพนธ์

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

---------------------------------------------

มาคุยกันหน่อยไหมคะว่า "ก้อนความรู้พื้นฐาน" หรือ "แนวคิดพื้นฐาน" นั้นคืออะไร ?

ท่านใดมีไอเดียไหมคะ ? หากเราจะเห็นเรื่องพื้นฐานนี้ เราคงต้องมองเห็นวัตถุการศึกษาก่อนใช่ไหมคะ

ลองนึกดูนะคะ

ถ้าเราจะศึกษา "มนุษย์" หรือ "ดอกบัว" เราก็จะต้องมองเห็นทั้งสองสิ่งนี้แล้วแยกแยะ "องค์ประกอบ" ให้ได้

แต่หากเราจะศึกษาสิ่งที่จำต้องไม่ได้ อาทิ "กฎหมาย" "สัญญา"  "สิทธิ" อันนี้ เราก็ต้องมีตาทิพย์ที่จะเห็นองค์ประกอบของสิ่งเหล่าใช่ไหม ?

ประเด็นที่มาทบทวนกัน การจะเห็นก้อนความรู้พื้นฐานได้นั้น เราจะต้องมองเห็นหรือจับต้อง "วัตถุแห่งการศึกษา" ได้ก่อนจริงไหมคะ 

ดังนั้น แต่ละท่านที่เขียนวิทยานิพนธ์อยู่ตอบซิคะว่า อะไรคือ "วัตถุแห่งการศึกษา" ของท่าน ?

ระวังนะคะ สิ่งที่ท่านคิดกับสิ่งที่คณะกรรมการสอบคิด อาจจะไม่ตรงกัน การสอบคุณสมบัติจึงเป็นการทำความเข้าใจเบื้องต้นว่า เรามองเห็นสิ่งเดียวกันหรือเปล่า ? แล้วจึงมาแยกแยะแนวคิดพื้นฐานออกมาเป็น "ก้อนๆ" เพื่อที่จะทำความเข้าใจว่า เรามองแต่ละก้อนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร ?

บางเรื่องเป็นข้อความจริง ก็อาจจะแตกต่างเพราะคนใดคนหนึ่งผิด ต้องมาดูกันว่า ใครผิด ก็ต้องปรับให้ถูก

แต่ถ้าเป็นข้อคิดเห็น ก็คงไม่มีใครผิด เป็นเสรีภาพที่จะคิดต่าง เห็นต่าง



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งการสอบคุณสมบัตินักศึกษาปริญญาเอก

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

---------------------------------------------

การสอบคุณสมบัติของนักศึกษาปริญญาเอก ก็คือ การสอบความพร้อมในการทำวิทยานิพนธ์ ซึ่งในประชาคมวิจัยเพื่อการจัดการประชากรนั้น เรียกการทำงานเพื่อเตรียมความพร้อมนี้ว่า "การค้นหาก้อนความรู้ที่จะนำไปสร้างองค์ความรู้ที่เรียกว่า วิทยานิพนธ์"

ดังนั้น หากนักศึกษาปริญญาเอกสับสนระหว่าง "การแสวงหาก้อนความรู้เพื่อสอบคุณสมบัติ" และ "การแสวงความชัดเจนในองค์ความรู้เพื่อสร้างเค้าโครงวิทยานิพนธ์" และ "การสร้างและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเขียนวิทยานิพนธ์" ก็จะมีปัญหาในการทำวิทยานิพนธ์ อาทิ จะเขียนเค้าโครงมาสอบคุณสมบัติ ทั้งที่ยังไม่ทราบว่า จะใช้ก้อนความรู้ใดในการสร้างบ้านทางปัญญา หรือจะเขียนวิทยานิพนธ์มาสอบคุณสมบัติ ทั้งที่ยังไม่มีความชัดเจนในก้อนความรู้นั้น

โดยประสบการณ์ที่คุมวิทยานิพนธ์มาเป็น ๑๐ ปี การทำงานทางปัญญาตามขั้นตอนและสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดสันติสุขในการทำวิทยานิพนธ์ และการทำงานเป็นกลุ่มจะเกิดบรรยากาศทางวิชาการมากกว่า การซุ่มทำงานคนเดียว อยู่กับตัวเองเท่านั้น ในสถานการณ์หลัง เมื่อถูกทักท้วง ก็อาจจิตตกเลยทีเดียว การทำงานวิชาการเป็นเรื่องของการแลกเปลี่ยนระหว่างหลายมุมมอง ยิ่งแลกเปลี่ยน ยิ่งชัดเจนและมั่นคง มองเห็นกว้างและไกล 

 

Phunthip Saisoonthorn Chatchai Chetsumon Ratchaneekorn LarpvanicharSomkiat Worapunyaanun Puangrat Patomsirirak Siwanoot Soitong Wisarut Max Samlee-on Darunee Paisanpanichkul Ithipol Preetiprasong Lukana Pobromyen



ความเห็น (2)

ขอบคุณครับ อาจารย์แหวว ;)…

Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งการตัดสินใจ

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันจันทร์ที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๖

---------------------------------------------

การตัดสินเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตของมนุษย์ และควรจะต้องตัดสินด้วยเหตุผล มิใช่อารมณ์

การแสวงหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ตรงหน้า เป็นการสร้างโอกาสที่การตัดสินใจจะไม่ผิดพลาด

ปัญญาจะเป็นตัวช่วยในการแสวงหาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจ

ความล้มเหลวประการแรกของมนุษย์อยู่ที่การไม่ตัดสินใจอะไรเลย มองสถานการณ์ผ่านไป โดยไม่ทำอะไรเลย รอคนอื่นตัดสินใจ

ความล้มเหลวประการที่สอง ก็คือ การตัดสินใจเร็วไป ด้วยอารมณ์ ไม่ประเมินสถานการณ์ตรงหน้า ไม่รอบรู้ถึงผลกระทบต่อบุคคลอื่น เอาตนเองเป็นตัวตั้ง เอาประโยชน์ของตนเองเป็นตัวตั้ง

 

การใช้เหตุผลที่รอบด้านด้วยปัญญาและปราศจากอารมณ์น่าจะลดความล้มเหลวทั้งสองนี้ได้



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาของการเขียนบันทึก

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/archanwell/posts/10151875928561425

-------------------------------

บันทึกมี ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) บันทึกเพื่อถอดบทเรียนในสิ่งที่ควรทำหรือไม่ควรทำ และ (๒) บันทึกเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ให้คนอื่น

บันทึกอย่างแรกมีผลปรับกระบวนทัศน์ของตัวเองมาก คนอื่นก็อาจเรียนรู้ แต่ผู้บันทึกได้มากกว่า เราจะลดความผิดพลาดของตัวเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่คนมักหลีกเลี่ยงบันทึกประเภทแรก เพราะการหวลนึกถึงเรื่องที่ผ่านไปแล้ว อาจเป็นสิ่งที่คนทำงานมักไม่สนใจ อาจเพราะไม่อยากเจ็บปวดซ้ำสอง หรือไม่อยากโอ้อวดในความสำเร็จ หรือไม่อยากเสียเวลาทำ เพราะชอบคิดไปทำไป ความผิดพลาดความสำเร็จของงานเกิดขึ้นซ้ำอีกหรือไม่ ก็ไม่สนใจ

วิธีวิทยาจึงเป็นศาสตร์ที่เกิดยากในสังคมที่มนุษย์เชื่อในการหาเช้ากินค่ำค่ะ

 

ลองพิจารณาดู ขออนุญาตบ่นสักนิด



ความเห็น (2)

อาจารย์แหวว สบายดีนะครับ ;)…

สบายดีค่ะ ขอบคุณค่ะ

Archanwell
เขียนเมื่อ

การท่องจำเป็นพฤติกรรมที่อันตรายต่อสมองมากค่ะ มันอาจจะยากที่จะหัดสมองให้คิดเรื่องยากๆ แต่เมื่อสมองมีความเชี่ยวชาญต่อปัญหาซับซ้อน สมองก็จะจัดการได้ทั้งเรื่องง่ายและยาก เหมือนการขับรถ ถ้าไม่ฝึก ก็จะไม่มีวันขับรถเป็น ถ้าไม่ฝึกคิด ก็จะไม่มีวันคิดออก ต้องท่อง ต้องให้คนอื่นคิดออก และมาบอกทุกครั้ง และจะไม่มีวันเขียนเป็นตามที่คิด ต้องลอกคนอื่นไปตลอดชาติ 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

“@JinnGooner: @ArchanWell สวัสดีปีใหม่ครับอาจารย์ สุขภาพแข็งแรงนะครับ ^^”/ขอบคุณค่ะ.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

“@juthass: @ArchanWell สวัสดีปีใหม่นะครับ อ.แหวว ขออาราธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครองอาจารย์ให้มีสุขภาพแข็งแรงครับ :)”/thanks



ความเห็น (1)

สวัสดีค่ะอาจารย์หนูอยากถามว่ามีบัตรบุคคลที่ไม่มีสถานะทางทะเบียนถ้าจดทะเบียนสมรสกับคนไทยได้มั้ยค่ะแล้วอีกอย่างนึงถ้าไปยื่นขอสัญชาติได้มั้ยค่ะอาจารย์

Archanwell
เขียนเมื่อ

ขอให้มีความสุขมากๆๆ นะคะ ในปีใหม่ ๒๕๕๖



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

เมื่อท้องเสีย  พี่อู๊ดแห่งโรงพยาบาลอุ้มผางแนะนำยา 2 ตัวค่ะ 1. Norfloxacin (400) นอร์ฟอกซ์ เป็นยาฆ่าเชื้อ ให้ทาน 2 เม็ด เช้าเย็น 2. Buscopan บาสโคแปน เป็นยาแก้ปวด ให้ทาน 3 เม็ด เช้า กลางวัน เย็น ถ้ายังมีอาการท้องเสียอยู่ให้เพิ่มผงเกลือแร่ ORS ชง 1 ซองกับน้ำเปล่า1แก้ว จิบบ่อย ๆ (ซื้อติดบ้านไว้เลยก็ได้ค่ะ) ปกติถ้าท้องเสียเฉย ๆ แล้วอ่อนเพลียก็ชงดื่มได้เลย



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

เวลาผ่านไปเร็วมาก จริงไหมคะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

“@juthass:สุขสันต์วันเกิดครับอ.แหวว ขอให้สุขภาพร่างกายแข็งแรงมีกำลังใจที่ดีทำงานต่อไปครับขอบคุณสำหรับคะแนน&ความรู้ที่อ.ให้นะครับ”/ขอบคุณค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

“@nahmmnahmm: สุขสันต์วันเกิดคะอาจารย์ ขอบคุณสำหรับคำสอนของอาจารย์ ขอให้อาจารย์สุขภาพแข็งแรง ช่วยเหลือผู้คนได้เยอะๆนะคะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

“@tammheee: @ArchanWell สุขสันต์วันเกิดนะคะอาจารย์ ขอให้อาจารย์มีความสุขมากๆ สุขภาพร่างกายแข็งแรงนะคะ :)”/ขอบคุณค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

“@benbizkit: @ArchanWell สุขสันต์วันเกิดครับอาจารย์ :)”/ขอบคุณค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

Archanwell
เขียนเมื่อ

“@pontrm: @ArchanWell สุขสันต์วันเกิดครับ อาจารย์ ขอให้อาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงๆนะครับ :))”/ขอบคุณค่ะ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท