Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

อนุทิน 130822


Archanwell
เขียนเมื่อ

ปรัชญาแห่งการศึกษากฎหมาย

โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

เมื่อวันที่ ๒๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๖

https://www.facebook.com/archanwell/posts/10151961261331425

---------------------------------------------

ครูกฎหมายในคณะนิติศาสตร์ทั่วโลกสอนว่า "ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย" เราสังเกตว่า สัมพันธภาพระหว่างกฎหมายและสังคมเป็นสัมพันธภาพตามธรรมชาติ อันนำมาซึ่งกฎหมายธรรมชาติที่มีผลในสังคมมนุษย์ทุกสังคมบนโลก

แต่ในวันนี้ เมื่อสังคมมนุษย์มี ๒ ลักษณะ กล่าวคือ (๑) สังคมมนุษย์บนโลกแห่งความเป็นจริง (Real World) และ (๒) สังคมมนุษย์บนโลกเสมือนจริง (Virtual World) สัมพันธภาพระหว่างกฎหมายและสังคมแต่ละสังคมนี้ จึงกลายเป็นวัตถุของการศึกษาที่นักศึกษากฎหมายในทุกคณะนิติศาสตร์บนโลกพากันนำมาทบทวนและพัฒนาให้เหมาะสมกับพัฒนาการของมนุษย์บนประชาคมโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่การศึกษาสัมพันธภาพระหว่างกฎหมายและสังคมมนุษย์บนโลกเสมือนจริงที่เชื่อมโยงกันอย่างมีระบบระเบียบในรูปของ "เครือข่ายสังคมออนไลน์"  จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาทั้งสภาพสังคมมนุษย์ในชุมชนของมนุษย์ในเครือข่ายสังคมนี้ และกฎหมายที่ใช้กับมนุษย์ที่ปรากฏตัวในพื้นที่ดังกล่าว

คำถามที่ตามมา ก็คือ "รัฐหรือนครีรัฐ" ที่เคยปรากฏตัวขึ้นมาในสังคมมนุษย์ที่มีอารยะ ในยุคแรกๆ ของพัฒนาการของมนุษย์ในสังคมเมือง ปรากฏตัวขึ้นเพื่อจัดการปกครองสังคมในรูปเครือข่ายสังคมออนไลน์หรือไม่ ?

ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นปัญหาปรัชญาหรือปัญหาเชิงแนวคิด หากมีตรรกวิทยาที่รับกันได้ การพัฒนาความคิดเพื่อพัฒนาการจัดการสังคมมนุษย์ในทุกลักษณะก็ย่อมเป็นไปได้ ทุกสรรพสิ่งมีความเชื่อมโยงกัน ทั้งนี้ เพราะทุกสรรพสิ่งในทุกสังคมที่กล่าวมา มีมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางในการกำหนดความเป็นมาและความเป็นไปของสังคมมนุษย์ อันเป็นสภาพธรรมชาติที่มนุษย์เป็นอยู่

และในท้ายที่สุด เราคงสังเกตว่า ความเป็นมนุษย์กลับเป็นไปตามธรรมชาติ ซึ่งมนุษย์ไม่อาจกำหนดการเกิดขึ้นและการสิ้นสุดของตนเองได้โดยลำพัง

ดังนั้น เมื่อนักศึกษากฎหมายต้องการสร้างศักยภาพในการชี้ขาดทุกข้อพิพาทหรือข้อที่อาจพิพาทกันระหว่างมนุษย์ในสังคมให้ “เปี่ยมด้วยความยุติธรรมทางสังคม” พวกเขาจะต้องมีความรอบรู้ใน ๓ ประเด็นดังต่อไปนี้  (๑) กฎเกณฑ์แบบแผนที่ใช้บังคับในสังคม  (๒) ข้อเท็จจริงในสังคม และ (๓) คุณค่าทางสังคม  

เมื่อตรึกตรองมาถึงบรรทัดนี้ จึงอดที่จะระลึกถึง “ท่านศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี เกษมทรัพย์ ครูกฎหมายไทยผู้ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งที่สอนเราว่า การศึกษานิติศาสตร์ ก็คือ การศึกษาศาสตร์ ๓ แขนง กล่าวคือ (๑) นิติศาสตร์โดยแท้/นิติศาสตร์เชิงแบบแผน (Legal Science of Norm/Normative Legal Science/ Legal Science Proper) (๒) นิติศาสตร์โดย/เชิงข้อเท็จจริง (Legal Science of Fact) และ (๓) นิติศาสตร์โดย/เชิงคุณค่า (Legal Science of Value) มิได้

------------------------------------------------------------

มิตรที่รับฟังคำบ่น : - Ithipol Preetiprasong Darunee Paisanpanichkul Wisarut Max Samlee-on Somkiat Worapunyaanun Ratchaneekorn Larpvanichar Chachai Chetsumon Phunthip Saisoonthorn Pairush Teerachaimahit Lukana Pobromyen Siwanoot Soitong

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท