โครงการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง” ของการเคหะแห่งชาติ ช่วงที่ 3 ระหว่างวันที่ 15 - 17


สวัสดีครับชาวบล็อกและผู้เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง” (Executive Development Program for Top Team) ของการเคหะแห่งชาติ

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง” (Executive Development Program for Top Team) ของการเคหะแห่งชาติ (ช่วงที่ 3: ระหว่างวันที่ 15-17 มีนาคม 2560) ผมรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาทำงานร่วมกับการเคหะแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง ได้มีโอกาสพบกับลูกศิษย์รุ่นเก่า ๆ หลายคน การทำงานครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายผมอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของการเคหะฯ ที่ไว้วางใจพวกเราครับ ติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

#โครงการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงExecutiveDevelopmentProgramforTopTeamของการเคหะแห่งชาติ

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/624771

Panel Discussion

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ

(ด้านการตลาด /การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/ การบริการ) (3 ชั่วโมง)

ร่วมวิเคราะห์และให้ความคิดเห็นโดย..

โดยศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศ ด้านโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ดำเนินการอภิปรายโดย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

(สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Key Success ของหลักสูตรนี้คือหาช่องว่างที่เก็บความเป็นเลิศของการเคหะฯไว้เนื่องจากการเคหะฯ ดูแลคนจน ในวันนี้จึงน่าจะหาช่องทางที่เก็บแก่นของเราไว้ได้ หาช่องทางที่สร้าง Premium โดยดูแก่นของเรา

ท้าทายเป็นการ Challenge ชีวิตเรา แล้วต้องหาทางแก้ปัญหา

การเคหะ ฯ เป็นการผสมผสานระหว่างสังคมศาสตร์ ชุมชน การเงิน กฎหมาย และวิศวะ เป็นกลุ่มคนที่ใฝ่รู้ และหาทางกระตุ้นตลอดเวลา

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ประเด็นความท้าทาย

1. บริษัทมหาชนขนาดใหญ่ลงมาเล่นตลาดกลางถึงล่างกลุ่มลูกค้าเดียวกับการเคหะแห่งชาติ

ดร.พงษ์ชัยได้ไปศึกษาข้อมูลของการเคหะฯ โดยดูรายงานประจำปี 2558 (จาก Website) เนื่องจากยังไม่มี รายงานประจำปี 2559

การเคหะฯ เป็นองค์กรที่มีอายุมา 44 ปี เป็นช่วงที่มีการเกิดของรัฐวิสาหกิจจำนวนมาก ได้ยกตัวอย่าง นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ที่เกิดขึ้นในช่วงนั้นตามแผนสภาพัฒน์ฯ ไม่ได้มีเรื่องการแทรกแซง แต่มีการนิคมออกมาเป็นรูปเป็นร่างจำนวนมาก อาทิ นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร โรจนะ เหมราช และยกตัวอย่างนิคมอุตสาหกรรมที่สำเร็จด้านโลจิสติกส์คือ Thaicon

สิ่งที่พบคือบทบาทของรัฐวิสาหกิจอย่างการเคหะฯ ได้ถูกท้าทาย เนื่องจาก จากเดิมภาคเอกชนที่เคยเล่นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดระดับกลางถึงระดับบน แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีหลายภาคเอกชนที่ได้ลงมาเล่นในตลาดระดับกลางถึงระดับล่าง

สิ่งที่ท้าทายมากคือภาคเอกชนอย่างอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ค่อนข้างได้เปรียบมากกว่าการเคหะฯ เนื่องจากภาคเอกชนมีความเป็นอิสระมากกว่ารัฐวิสาหกิจ ในที่สุดสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเมื่อมีการแข่งขันจะทำอย่างไร

แผนของการเคหะฯ ในปี 2558 คือเรื่องการสร้างที่อยู่อาศัยชุมชนการเคหะฯ (กระทบ 1 ใน 3 ของการทำงานของการเคหะฯ)

สิ่งที่พบคือแผนพัฒนา 10 ปีไม่ได้ดูที่คู่แข่งโดยตรง เพราะว่า Focus อยู่ที่จะแข่งที่ตลาดระดับกลางหรือระดับล่าง

2. รัฐวิสาหกิจจะถูกมองจากภาครัฐหรือเอกชนว่า จะมีรัฐวิสาหกิจไปทำไม

ยกตัวอย่าง บขส. มีรถตัวเอง 800 คัน รถร่วม 10,000 คัน แล้วทำไมเป็นหน้าที่ไปดู 10,000 คัน แต่เมื่อถึงเวลาที่ต้องแข่งกับภาคเอกชนก็สู้ไม่ได้

อีกตัวอย่างคือ การบินไทย เมื่อมีเอกชนที่เข้มแข็งกว่ามาแข่ง การบินไทยก็สู้ไม่ได้

เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษก็กำลังกลุ้มใจด้านนิคมฯ อยู่ ภารกิจการเคหะฯ ยังมุ่งไปที่ระดับกลางถึงระดับล่างเกือบหนึ่งในสาม

3. พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาอยู่อาศัยที่ชานเมืองมากขึ้น

สิ่งที่ถามคือ การเคหะฯ มี Land Bank หรือไม่ เพราะว่าคนอยากไปอยู่คอนโดฯ ชานเมืองมากขึ้น หมายถึงความต้องการที่อยู่อาศัยต้องเป็นชานเมืองแน่

คำถามคือ การเคหะฯ มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมผู้บริโภคหรือไม่ทิศทางใช่หรือไม่ อาทิ ทิศทางของคนไม่ใช้โน้ตบุ๊กส์หรือ PC อีกหน่อยจะใช้ Tablet ธุรกิจไม่สามารถยึดโยง PC เหมือนเดิม จึงต้องทำเป็น Tablet เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภค เป็นต้น

คนที่มีรายได้ 15,000 บาท อยู่ในสัดส่วนที่มีรายได้ระดับกลางถึงระดับต่ำ สามารถซื้อคอนโดได้ ดังนั้นการทำกับคนกลุ่มนี้ควรทำอย่างมีนัยยะ

4. คอนโดตามแนวรถไฟฟ้า

ทำให้คนเปลี่ยนวิถีชีวิตไปจากเดิม แผน 10 ปี มีอยู่ในรถไฟฟ้าสายอะไรบ้าง Land Bank คือหัวใจของการแข่งขัน ดังนั้นจึงควรมีการสะสม Land Bank ตามรถไฟฟ้า ยกตัวอย่างถ้าการเคหะฯ มีLand Bank อาจเหมือนเมืองทองธานีที่จะทำให้ง่ายขึ้น ช่วยให้การตัดสินใจต่าง ๆ โดนหมดเลย

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. แต่ละพื้นที่มีศักยภาพอยู่ และมีแผนเรื่องการเวนคืนที่ดิน

ดร.พงษ์ชัย บอกว่าการทำกลยุทธ์เป็นเรื่องที่น่าหนักใจอยู่พอสมควร อย่างบริเวณ 500 เมตรติดแนวรถไฟฟ้าเป็นเรื่องที่ยากพอสมควร ที่จะสร้าง ถ้าไม่ทำตอนนี้อนาคตจะถูกปรับจนจนมุม

ในปี 2559 ไปถึงปี 2568 ยังไม่ได้พูดเรื่องการหาที่ดินตามแนวรถไฟ หรือไปสลับแปลง

การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนหนึ่งคือ Location ถ้า Location ไม่ได้ก็เป็นไปได้ยาก ทางออกอีกทางคือการมี Land Bank ในแนวชานเมือง และแนวรถไฟ อย่างมีนัยยะจะมีกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วถ้าเป็นไปไม่ได้จะเพิ่มสัดส่วนอย่างไร

2. การมี Land Bank เดิมมีอยู่ แต่เป็นปัญหาคือ การหา Land Bank ใหม่เนื่องจากต้องเสนอนาน

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ดร.พงษ์ชัย บอกว่าสิ่งนี้คือการถูกปรับจนจนมุม แล้วจะเป็นลักษณะ At the end of S-Curve และถ้าไม่ยอมทำอะไรเราอาจจนมุมจริง หมายความว่าวันหนึ่งจะเหมือนรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ที่เป็นตามนโยบายรัฐ หรือช่วยรัฐ อย่างน้อยองค์กรที่อยู่ในภาครัฐจะต้องได้รับการกระทบ ไม่เช่นนั้นจะเป็นรัฐวิสาหกิจทำไม

รัฐวิสาหกิจจึงเป็นเสมือน Social Enterprise แบบหนึ่งคือการช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะสังคมรากแก้ว

สิ่งนี้เป็นความเสี่ยงสูงสุดที่จะทำให้องค์กรอยู่หรือไป ถ้าไม่ทำตอนนี้ สิ่งนี้อาจสายไป เพราะรถไฟฟ้ากำลังเสร็จในอีก 5 ปี ซึ่งถ้าไม่ทำตอนนี้ราคาที่ดินจะขึ้น และไม่อาจทำอะไรได้

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

Key word คือการประสานแม่น้ำทั้ง 5 จะทำอย่างไร

ไอเดียแม่น้ำทั้ง 5 คือการพัฒนาประเทศเป็นเครื่องมือ เป็นข้อสันนิษฐานอย่างหนึ่งคือเงื่อนไขเต็มไปหมด เราจะนำประโยชน์จากเงื่อนไขของโลกมาสู่ทีมการเคหะฯในลักษณะ Think Tank Team ได้อย่างไร

การขจัดปัญหาประจำวัน ในกลุ่ม Think Tank ต้องแก้ไขได้บ้าง ไม่ได้บ้างถ้าเกิน 1 สัปดาห์ถึง 1 ปีงบประมาณให้โยนไปที่คณะรัฐมนตรี

สปช.คือการคิดยุทธศาสตร์ประเทศขาขึ้น เป็นการนำยุทธศาสตร์มาขับเคลื่อน ทุกอย่างที่จะแก้ต่อไปนี้ต้องแก้ให้ดี และเจริญขึ้น

Think Tank คือ สนช. เป็น สปช. จากเดิมเป็นขาขึ้น แต่ปัจจุบันเป็นขาลง คือให้เอารัฐวิสาหกิจมาทำ จึงอยากให้เน้นประสบการณ์ของแต่ละท่านในการเคหะฯ โดยองค์รวม

ได้ยกตัวอย่างในอดีตที่คนสิงคโปร์ ไม่รักสิงคโปร์ คนจีนไม่ประหยัด ลีกวนยู ผู้นำสิงคโปร์จึงได้เขียนหนังสือ วิธีการสร้างชาติ และได้นำตัวอย่างคือ การสร้างการเคหะฯ ที่ตั้งการเคหะขึ้นมาที่สิงคโปร์ และให้คนในสิงคโปร์เป็นลูกค้าการเคหะฯ ทั้งหมด

1) ถ้าคนสิงคโปร์เป็นเจ้าของบ้านทั้งหมด จะมีความรู้สึกเหมือนอยากปกป้องบ้านตัวเอง อย่างเวลารบจะพร้อมใจเพื่อปกป้องบ้านตนเอง

2) บังคับให้คนสิงคโปร์เก็บเงิน เหตุผลของการเก็บเงินทำอย่างไร

3) เอาเงินมาบริหาร เอาเงินรัฐบาลไปสวมทุน

สิ่งที่อยากฝากไว้คืออยากให้การเคหะฯ สกัดข้อมูลตอนเช้า และให้ติต่างว่า สินทรัพย์ที่การเคหะฯ มี Knowhow และอื่น ๆ รวมถึง Creative 4.0 ที่การเคหะฯ มี ถ้าจะปฏิรูปหรือ Reform ทั้งหมด การเคหะฯ จะทำอย่างไร

คำตอบไม่สำคัญ แต่วิธีทำสำคัญอย่างน้อยให้บอกว่าโมเดลประเทศไทย 4.0 การเคหะฯ จะทำอะไร อาจมีการตั้ง Super Board ดูแลรัฐวิสาหกิจทั้งหมดแต่อย่าลืมว่าพันธนาการยิ่งมีมากยิ่งเป็นตัวบั่นทอนไอเดียมาก ให้คิดจากประสบการณ์ของท่านที่ทำงานอยู่ในการเคหะฯ มาร่วมกันในการคิดแก้ปัญหาและวางแผนในอนาคต

วัตถุประสงค์คือจะให้ออกกายสิทธิ์เพื่อดำเนินการสู่การเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

Michale Hammer กล่าวว่า ถ้าเราจะทำอะไรใหม่ให้ Forget the pass and start all over again ดังนั้นการ Reengineering จะเน้นที่รูปแบบใหม่ อย่ามุ่งดูแค่เรื่องความยุ่งเหยิง และกฎระเบียบต่าง ๆ แก้ปัญหาโดยเอาชนะอุปสรรคที่มีมากมาย

ดังนั้นในโจทย์วันนี้ อยู่ในภารกิจที่แก้ปัญหาให้เราลืมอดีตและเริ่มต้นใหม่ และเห็นด้วยกับที่ อาจารย์ไกรฤทธิ์ พูดเรื่องลีกวนยู เรื่องการเคหะฯ ที่นำมาเป็น Key point

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ที่เล่ามาทั้งหมด รัฐบาลเอาแบบที่บอกแน่ แต่ไม่แน่ใจว่าหลังจากการเลือกตั้งแล้วกระแสเดิมจะอยู่หรือไม่

ที่พูดมาคือกติกาทั้งสิ้นเปลี่ยนแปลงไป แล้วที่เปลี่ยนไปเพราะอะไร

1. Mega Trend คือแนวโน้มเศรษฐกิจสังคมโลก เป็น Futuristic 10 ข้อนี้ตรงกับการเคหะฯ 7 ข้อครึ่ง

- สมัยก่อนเวลาจะวางแผนธุรกิจต้องมีใบปะหน้าแรกเรียกว่าดู Situation คือดูตาม้าตาเรือก่อนว่าเป็นอย่างไร เดิมใช้ SWOT แต่ต่อมาจะใช้ Eco-System ที่เป็น Key Success หรือ Failure ของการเคหะฯ

- จากผู้บริโภคเป็นผู้ร่วมสร้างจาก Consumer เป็น Prosumer จะเป็นผู้ร่วมสร้างได้อย่างไร ยกตัวอย่างการนำบ้านที่ถูกต่อว่าทั้งหมดมาสร้างเป็นบ้าน High Product และจากลูกค้าที่เป็น Passive Consumer จะเปลี่ยนมาเป็น Co Consumer ได้อย่างไรคิดว่าลูกค้าการเคหะฯ จะเป็น Happy มากกว่า Non Happy แน่นอน

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ตัวอย่างประเด็นของอาจารย์ไกรฤทธิ์เป็น Opportunity ที่เหลืออยู่ มีเวลาระหว่าง 12-15 เดือน จะได้เห็นว่า การเคหะฯ ได้มีการปะทะกันทางปัญญา การอ่านหนังสือ การ Share ความรู้ ที่ผ่านมาอยู่ในขั้นดี และควรทำต่อเนื่อง ให้เป็น Life Long Learning เป็นการนำความจริงของการเคหะฯ ปะทะกัน เป็นการปรับพฤติกรรมของการเคหะฯ ซึ่งการเคหะฯ มีช่องทางอยู่แล้วเนื่องจากรัฐบาลชุดนี้คิดเรื่องการปฏิรูป และความพยายามของรัฐบาลชุดนี้ในการมองเรื่องการปฏิรูปมองถึง 20 ปี

Trust ที่เกิดขึ้น จึงเกิดจากความต่อเนื่อง เราต้องช่วยกันทำงานต่อไป นำข้อเสนอในวันนี้ไปทำต่อ นำไปสู่ความประสบความสำเร็จ เพราะ Success ในเรื่องต่าง ๆ ใช้เวลา

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1.หลังจากฟังแล้วเริ่มมีความวิตกกังวลในการเดินไปในอนาคตของการเคหะฯ เนื่องจากการเคหะฯ มีขั้นตอนมากก่อนได้รับอนุมัติ แต่ภาคเอกชนมีการตัดสินใจที่รวดเร็วและว่องไว

ในเรื่องราคา การเคหะฯ อยู่ในราคาที่ต่ำ โครงการฯใหม่ที่เกิดขึ้นจึงคิดว่าราคาค่อนข้างสู้เขาได้อีกมิติคือกระบวนการทางสังคมเป็นสิ่งสำคัญเพราะการเคหะฯ นอกจากสร้างบ้าน ยังสร้างชุมชนด้วย สร้างให้ชุมชนเข้มแข็งและน่าอยู่ เคยพูดว่า การเคหะฯ น่าจะเป็นกระทรวงฯ ได้ยกตัวอย่างในต่างประเทศ การเคหะฯ เป็นกระทรวงฯ ไปแล้วและคิดว่าเมื่อเป็นกระทรวงฯ การบริหารจัดการจะสนับสนุนได้

พบว่าการเคหะฯในปัจจุบันขาดทุน เนื่องจากช่วยสนับสนุนผู้มีรายได้น้อย จึงทำให้มีปัญหาเรื่องหนี้บ้าง ในอนาคตถ้ามองเรื่องการก่อสร้างอย่างเดียวอาจลำบาก จึงคิดว่าทางสังคมจะเป็นจุดแข็งในการดำเนินงานในอนาคต

2. ที่ดินของการเคหะฯมีแผนรับมอบจากรัฐบาลอยู่แล้วเช่นเขตเศรษฐกิจพิเศษให้การเคหะฯ ทำอาคารเช่ารองรับผู้ใช้แรงงาน ทำร่วมกับธนารักษ์ เคยเสนอไปว่านอกจากธนารักษ์ และมีที่ที่อื่นจะมอบได้อย่างไร ไม่ใช่รัฐบาลมอบแต่นโยบาย เพราะจะทำให้การเคหะฯ ดำเนินการต่อได้ยาก

3. ความต้องการให้ผู้มีรายได้น้อยมีที่อยู่อาศัยโดยไม่มีภาระมากเกินไปนัก เนื่องจากมีเงินจำกัด มาตรฐานก็จะได้ตามขั้นต่ำ ที่อยู่อาศัยที่มีอยู่นอกจากปัจจุบันน่าจะมีโครงการฯ ด้านการพัฒนาด้านการเงินเข้าไปช่วยได้ พยายามทำให้เกิดกองทุนคือผู้ที่ไม่สามารถเข้าถึงกลไกการเงิน การตลาด ให้มีทางเลือกที่อยู่อาศัยในตลาด และให้มีมุม Developer กระโดดเข้ามาสู่ที่อยู่อาศัยมากขึ้น มีผู้ประกอบการรายใหญ่ และรายย่อย มีการควบคุมคุณภาพด้านราคา และอาคารที่มีมาตรฐานได้ ทำอย่างไรให้เขามีที่อยู่อาศัย ซึ่งนอกจาก Product ที่ไปสู่การพัฒนา ยังมีปัญหาเรื่อง ต้นทุน วัสดุต่าง ๆ

สิ่งที่อยากทำต่อไปคือการปรับภาพลักษณ์ของการเคหะฯ ว่ามีมาตรฐานได้รับการยอมรับ มีจุดแข็งเรื่องการบริการหลังการขาย มีการดูเรื่องคุณภาพชีวิตด้วย แต่คิดว่าน่าจะมีความสามารถในการพัฒนาได้มากกว่านี้

การบริการของการเคหะฯ ยังเป็นเหมือนราชการที่ยังมีความล่าช้า และยังตามตลาดอื่นอยู่ เพราะโครงการฯ ต้องเสนอผ่านสภาพัฒน์ ก.การคลัง กรอ. ใช้เวลานานในการนำเสนอ ขณะที่ส่วนต่าง ๆ พัฒนาไปเร็วมาก

สิ่งที่ควรทำคือเราต้องเปลี่ยนวิธีคิด แผน 10 ปี มีอะไรที่เป็นระยะยาว มีข้อดีคือมีทิศทางชัดเจน และควรมีแผนภาพใหญ่ 20 ปีในการดูภาพรวมของทั้งประเทศ มีส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องมหาดไทย การศึกษา สาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และส่วนต่าง ๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการเคหะฯทั้งหมด ควรเน้นเรื่องยุทธศาสตร์การบูรณาการ มีการดูแลเพื่อลดความซ้ำซ้อน แต่ปัญหาคือยังมีหน่วยงานหลักอยู่ และยังไม่มีการแชร์เรื่องงบประมาณที่ซ้ำซ้อน

4. ที่ฟังมาแล้วรู้สึกน่าเป็นห่วงการเคหะฯ เหมือนแผนการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ไม่เป็นไปตามกลุ่มลูกค้าที่ต้องการ กลยุทธ์อันนี้ไม่ทราบว่าผู้บริหารระดับสูงทราบหรือไม่ เพราะอยากให้ผู้บริหารมองหาวิธีที่จะป้องกันการแก้ปัญหาจุดเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย ควรมีการอบรมผู้บริหารข้างในด้วยหรือไม่ เนื่องจรากถ้าปล่อยให้มีการดำเนินการ โดยไม่ตรงเป้าหรือจุดประสงค์ของผู้อยู่อาศัยที่แท้จริง การเคหะฯ อาจจะถูกยุบได้เหมือนกัน

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

อาจารย์ไกรฤทธิ์ กล่าวเสริมว่าอยากให้การเคหะฯ บอกมาว่า อยากทำตรงไหน อยากได้อะไร มี Priority จะทำอะไรก่อนหลัง

ดีใจที่การเคหะฯ ระดับ Key ได้มีแนวคิดที่จะแก้อยู่แล้ว ในส่วนการขับเคลื่อน การเคหะฯ ต้องเป็นคนทำ ให้เลือกจุดคานงัดที่จะระงับการเคหะฯ มีอะไรบ้าง ประเด็นคือขอให้เลือกจุดขับเคลื่อน หาจุดที่ Breakthrough ขอให้ดึงภูมิปัญญามาดูว่ามีจุดคานงัดหรือไม่ เรื่องไหนที่สามารถทำเองได้ เรื่องไหนที่จะขอรัฐบาลเพื่อช่วยเหลือ ให้ดูว่า Top of your list คืออะไร

เราต้องหาคนที่คิดอย่าง Donald Trump ให้ได้ เนื่องจากมีมุมที่คนทั่วไปไม่ได้นึกถึง เช่น เห็นว่าคนอเมริกาไม่มีบ้านอยู่

ต้องดูว่าการเคหะฯ จะทำอะไรถ้าไปศึกษาในยุโรปจะพบว่าคนเป็นเจ้าของบ้านน้อยมากส่วนใหญ่เช่าหมดแล้วเนื่องจากไม่มีเงินซื้อ ข้อจำกัดเป็นเรื่องที่รัฐบาล และสภาพัฒน์ฯ ต้องแก้ให้เรา สิ่งที่ทำไม่ได้คือ How to จึงขอเชิญชวนให้คิด How to เป็นส่วนขา Employment

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ผศ.ดร.พงษ์ชัย สะกิดใจที่เวลาเราทำอะไรเราจะมี 1 หน้ากระดาษสิ่งที่สะท้อนให้เห็นจากรายงานประจำปีคือไม่เห็นในรายงานเรื่อง Eco-System เพราะรายงานประจำปีคือสิ่งที่คนอื่นจะได้รู้จักการเคหะฯ

รายงานประจำปีคือสถานการณ์ธุรกิจ หรือสถานการณ์ของการเคหะฯ เราไม่เห็น SWOT และสภาพการณ์แข่งขันโดยรวม แต่พบว่าบริษัทเอกชนอย่าง Noble House หรือ พฤกษา บอกว่าไม่สามารถทำแบบเดิมได้แล้ว และได้มีการปรับตัว แต่พบว่าในรายงานประจำปีไม่ได้พูดถึง หรือปรากฎสิ่งที่เป็น Publication ต้องทำให้สิ่งนี้ปรากฏในรายงานจริง ๆ ขอเป็นสิ่งแรกที่ต้องแก้ไข

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ นายกฯประยุทธ์ทำมา และ อาจารย์ไกรฤทธิ์ พูดคือเป็นสิ่งที่เป็นความหวัง ข้อเสนอแนะคือ สิ่งใดที่การเคหะฯ ทำควรเป็นสิ่งที่มีความสามารถ อย่าทำสิ่งที่รู้สึกว่ายุ่งยาก

ความสำเร็จอย่างหนึ่งที่การเคหะฯ ต้องไปคิดต่อคือเรื่องเครือข่าย เช่นเครือข่ายของการเคหะฯ กับกรมธนารักษ์

อนาคตการเคหะฯ ที่ไปรองรับการเปลี่ยนแปลงอาจมีศักยภาพของคนที่แตกต่างตามอาชีพหรือ Skill

ถ้ามีคนที่เจรจาต่อรองเก่ง ประสานงานเก่ง ตลาดเก่ง แล้วเก่งเรื่อง Land Bank ด้วย อาจทำให้เกิดประโยชน์จริง ๆ การเคหะฯ ต้องทำในสิ่งที่มีความสามารถ แล้วจะทำให้ทำสำเร็จ เพราะปัญหาจะมีมากกว่า Solution เราต้องหา Solution ให้ได้

เกิดมาทั้งที่เราต้องทำในสิ่งที่เป็นจุดแข็งของเรา อย่าทำในสิ่งที่เป็นจุดอ่อนของเรา ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหา

นอกจากนี้อยากให้การเคหะฯ หาทางคุยกันในเรื่องอื่น ๆ ด้วย

ประเด็นความท้าทาย (ต่อ)

ผศ.ดร.พงษ์ชัยอธิคมรัตนกุล

5. บ.พฤกษา ได้เข้ามาทางช่องทางประชารัฐ สิ่งที่พฤกษาเสนอกับรัฐบาลคือเสนอตัวจะทำให้คือ บ้านพฤกษา พฤกษาวิลล่า เป็นต้นพบว่ามี 4 โครงการฯ ที่เสนอทับโครงการฯ ของ การเคหะฯ ทุกรูปแบบหมดเลยโดยรวมแล้วมีที่เสนอเป็น 14 โครงการฯ

ยกตัวอย่าง สิ่งที่ พฤกษา ทำ และมีการปรับตัวคือ มีผู้บริหารจาก ธ.ออมสินเข้ามาช่วยในการบริหารที่พฤกษาสิ่งที่ปรับคือ เรื่อง Supply Chain และได้รวมกับ Finance มีการดูเรื่องค่าธรรมเนียมการโอน เพิ่มด้วย

สิ่งที่น่ากลัวคือการที่ บ.พฤกษาเสนอตัวมาทำแทนประชารัฐ เป็นสิ่งที่กำลังกลุ้มใจ ดังนั้นการมีแม่น้ำ 5 สาย สิ่งที่คาดหวังว่าการเคหะฯ น่าจะทำด้วยคือบทบาท Major Role ที่รัฐบาลต้องการให้ประชาชนอยู่ดี กินดี เร็วขึ้น แต่ถ้าบริษัทเอกชนทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ตลาดจะหมดได้ และบทบาทต้องหมดไปตามกาลเวลาด้วย

ดังนั้น เราจึงต้องคิดจากสภาพปัจจุบัน ต้องมีวิสัยทัศน์กับพันธกิจที่เปลี่ยนไป บทบาทจะถูกทดแทนจากภาคเอกชนอย่างมีนัยยะ

6. ลักษณะกับแผนงานพึ่งภาครัฐเป็นหลัก เรายังคงพึ่งพาแรงงานหลัก 72 % คือการทดแทนแรงงานหลัก ภาครัฐพูดเรื่องการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจโครงสร้างใหม่

S-Curve ตัวใหม่ของการเคหะฯ คืออะไร บางโครงการฯ น่าจะเป็น S-Curve ตัวใหม่

การแสดงความคิดเห็น

1.ในรายงานเสมือนประหนึ่งทำเอง

2. สภาพัฒน์ฯ ยังติดหนี้อยู่ด้วย ทำให้การเคหะฯ อาจขาดทุนด้วย

3. การเคหะฯ มีเรื่องการบริหารชุมชน และพัฒนาชุมชนในปัจจุบัน

4. โครงการฯเอื้ออาทร เป็นเรื่องชุมชนสร้างใหม่การปรับปรุงทางเท้า บางส่วนได้โอนไปให้ท้องถิ่นทำ ในเรื่องเดิม เป็นเรื่องชุมชนแออัดหรือที่อยู่ใหม่ ไม่สามารถแก้ไขได้

ในเรื่องที่อยู่อาศัย กลุ่มผู้มีรายได้น้อย แผน 10 ปีรองรับเป็น 4 กลุ่มใหญ่ ๆ ไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้ การเคหะฯ ต้องหันมาดูในกลุ่มที่เช่าซื้อในเรื่องบ้าน และการตลาด มีกลุ่มที่ดูตรงนี้ด้วย

แผน 20 ปี จึงน่าจะมีการปรับปรุง และให้มีการแบ่งกลุ่มและรองรับชัดเจนมากขึ้น

ผศ.ดร.พงษ์ชัยอธิคมรัตนกุล

จากภารกิจบางเรื่องที่ถูกถ่ายโอนภารกิจแล้ว บางเรื่องถูกตัดทอนตามภารกิจ ส่วนหนึ่งต้องสร้าง S-Curve ใหม่ที่ต้องเพิ่มจากภารกิจให้ชัดเจน กลุ่มใหม่ที่เข้าไปเสริมไปเติมคือเป็น S-Curve ตัวใหม่ที่ทำเพิ่มขึ้น

มหาวิทยาลัยออกนอกระบบ เราต้องดำเนินการด้วยตัวเอง การให้กู้เฉย ๆ จะไม่เกิดประโยชน์ระยะยาวต่อการเคหะฯ

ทุกอย่างต้องเริ่มต้นที่พันธกิจใหม่ และต้องแยกระหว่างพันธกิจกับโครงการฯ

การปฏิรูปต้องเปลี่ยนวิสัยทัศน์กับพันธกิจด้วย เนื่องจากมีคู่แข่งเอกชนเข้ามามากขึ้น บทบาทถูกตัดไปที่ท้องถิ่น ในที่สุดการเคหะฯ จะถูกปรับไปจนมุม

เรื่องที่น่าสนใจที่การเคหะฯ ควรทำ เช่น เรื่องเช่าบ้าน เรื่องผู้สูงอายุ เรื่องแรงงานต่างด้าว คนต่างจังหวัด เขตเศรษฐกิจพิเศษ เรื่องคนที่ทำงานอยู่แนวรถไฟฟ้า อาจใช้ประเด็นเรื่องอสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทลูก เพิ่มกลไกใหม่ เพื่อไม่ให้ติดอยู่ในระเบียบการจัดซื้อจัดจ้าง เป็นต้น

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

ยกตัวอย่างตอนทำการสื่อสารและไปรษณีย์ที่สามารถปรับตัวจนรวยขึ้นได้

A man , Leadership , A dream

ให้ลองคิดว่า Key Success ของการท่าอากาศยานอยู่ตรงไหน และ Move อย่างไร

ผศ.ดร.พงษ์ชัยอธิคมรัตนกุล

กล่าวถึง Mega trend 10 อย่าง

การบริการชุมชนได้รายได้จากอะไร ขอใช้คำว่า Mix Use คือไม่ต้องการทำเป็นบ้านพักเฉย ๆ แต่เป็นการสร้างรายได้จาก community นั้นด้วย ทำเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ที่สามารถทำได้เป็นกอบเป็นกำ

การสร้างชุมชน ต้องเป็นการสร้างรายได้ระยะยาวด้วย อย่าเป็นภาระระยะยาวที่การเคหะฯ ต้องช่วยเหลือตลอด

ในเรื่อง Eco System ให้ระวังเรื่องการมีคนทดแทนและทดแทนไปเรื่อย ๆ ควรมีการสร้างแผนงานที่สามารถสร้าง S-Curve ตัวใหม่ เพราะถ้าไม่ปรากฏในแผน 10 ปี ระวังการเคหะฯ จะตามไม่ทัน

สิ่งทีพบในการเคหะฯ

1.ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น ขอถามว่าต้นทุนในปี 2559 เพิ่มขึ้นหรือไม่ การเคหะฯจะแข่งขันบนต้นทุนที่สูงขึ้น

2. กำไรลดลง เนื่องจาก Overhead ค่าใช้จ่ายจะสูงขึ้น

ตัวอย่างบริษัทไปรษณีย์ไทย บางส่วนใช้บริษัทลูกทำ ทำอย่างไรที่จะไม่ขัดแย้งกับเอกชน ไปรษณีย์ไทยช่วยตอบโจทย์เรื่องการบริหารจัดการสมัยใหม่ช่วยเรื่อง OTOP ได้ ดังนั้นจึงอย่าเอาเงื่อนไขเป็นข้อจำกัด ให้ศึกษาดูพ.ร.บ.ไปรษณีย์ไทย

การเคหะฯ ควรนำ พ.ร.บ.การเคหะฯมาดู บวกกับพันธมิตรใหม่ ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นต้นทุนสูงขึ้น กำไรลดลง

3. ภาระหนี้สิน

ยังไม่มั่นใจว่าเกิดขึ้นจากอะไร พบว่าปัจจุบันมีภาระหนี้สิน 45,000 ล้านบาทแต่ยังไม่มั่นใจว่าปัจจุบันจะเพิ่มอีกหรือไม่

โอกาส

การเปิดตลาด CLMV ได้ยกตัวอย่างที่ อาจารย์ไกรฤทธิ์พูดเรื่องในแต่ละรัฐวิสาหกิจจะมีกึ๋นอยู่ ซึ่งสร้างมานานมาก ยกตัวอย่างที่ กฟผ. ใครจะสร้างเขื่อนต้องมาหาพี่ใหญ่หมด แต่ทำไม NHA ทำไมยังทำไม่ได้

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

พูดเรื่อง Mega trend 10 ประการให้ลองเช็คดูว่าการเคหะฯ แต่ละข้อมีกึ๋นกี่เปอร์เซ็นต์

ถ้าข้อไหนเป็นโอกาสให้คะแนน 6 คะแนนขึ้นไป ถ้าข้อไหนเป็นความเสี่ยง ให้คะแนน 5 คะแนนลงมา

1. Aging Society

2. Climate Change

3. Knowledge Based Housing Solution

4. Mobility (คนเริ่มไปมาหาสู่ข้ามชายแดนได้มาก ) High mobility + Professionalism

5. Alternative Finance

6. การแบ่งปันใน ASEAN

7.EIA ,HIA เป็นเรื่องกฎระเบียบ

8. ทัศนคติใหม่เกี่ยวกับคนใช้บ้าน เช่น คนรุ่นใหม่ เช่า ไม่ซื้อเพราะ Mobility สูง หรือบริษัท Feddy May ในอเมริกา รับซื้อบ้านที่ติดจำนอง เป็น Attitude เกี่ยวกับ Housing Loner shift

9. Digital Technology ทั้งการบริหาร Data และการจัดการ

10. ความแปรผันของสิ่งแวดล้อม ช้าไม่ได้

องค์ประกอบของจิตอาสานั้น บ้านคือสังคม

อยากให้คิด Product ทั้ง 10 ข้อ จาก Mega Trend จะเป็นอย่างไร ที่การเคหะฯจะ Transform ตนเองออกไปเพื่อหารายได้มากขึ้น

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ความรู้ที่ได้มาในวันนี้มีประโยชน์มาก อยากฝากไว้คือ

1. บริษัทลูกหรือ Business Unit ใหม่ ของเรามีโอกาสหรือไม่

2. การทำธุรกิจระหว่างประเทศ เราน่าจะใช้ประโยชน์มากขึ้น

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ

เชื่อว่าในระดับของการเคหะฯ จะรู้ว่ามีจุด Hot Issues หรือที่เรียกว่าคานงัด ต้องการให้รัฐวิสาหกิจแนวใหม่รอดหมด แต่อยากให้รอดที่ 4.0 เราสามารถเลือกซ้ำได้ เพราะดูที่ Method สินทรัพย์ไม่ธรรมดา การเคหะฯ มีอะไรที่ขายได้

มี Prototype ของโครงการฯ ที่พิสูจน์ในการแก้ปัญหาได้ เป็นจุดที่ได้พิสูจน์ฝีมือว่ามีทีมระดับองค์กรที่ขับเคลื่อน

เรื่องการแก้ปัญหาใช้ Brain ทั่วไปในการคิด

อ้าง Mega Trend 10 อย่าง

เราเป็น Data Based People อยากให้ข้อ 1 ถึง 4เลือกว่ามีประเด็นคานงัดการเคหะฯ อะไรให้สมมุติว่าผู้ว่าฯ จะเรียกประชุม 10 คน ว่ามีปัญหาอะไรอยากให้เราแก้ให้ และให้นึกถึงเรื่อง How to Achieve แล้วคิดว่ามีอะไร

ข้อ 1 ให้ใช้วิทยุการตลาดเท่าที่มี และนึกถึงการเคหะฯ ทั้งหมด นึกถึงกึ๋นแล้วแก้ปัญหาให้หมด ไม่ต้อง List ตามลำดับ เอาแค่ว่าถ้าไม่มีอุปสรรคเหล่านั้นจะทำอะไร

ข้อ 2 มีเรื่องขว้างงูไม่พ้นคออยู่ในการเคหะฯ ข้อ 1 และข้อ 2 เป็นจุดบั่นทอนในการเคหะฯ จะลดค่าใช้จ่ายอย่างไร

ข้อ 3 คิดเรื่อง Demand Focus จะเลือก Supply Focus อย่างไร ลองออกแบบว่าการเคหะฯ ในยุคหน้าจะ Produce อะไร ประเด็นคือเปลี่ยน Mindset จาก Supply side เป็น Demand Side

ข้อ 4 เป็นเรื่อง HR

อย่าห่วงคำตอบ ห่วงประเด็นให้เลือก Process ในการทำ ให้เลือกสิ่งที่ Impact ต่อองค์กรโดยใช้ Competitive Advantage เป็นตัวชูโรง

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ข้อ 2 คิดถึง ตรีเพชรอีซูซุ กรณีขายรถคันใหม่ได้โมเดลใหม่ ไม่ได้คิดว่าจะได้กำไรตอนขายรถใหม่ แต่ได้กำไรตอนรถซ่อม

ต้องคิดเรื่องการสร้างรายได้ด้วย เช่นขายรถแล้ว ต้องสามารถขายอย่างอื่นได้ด้วย ไม่ใช่แค่ลดต้นทุน

ข้อ 3 ยกตัวอย่างบริษัททัวร์ ได้เริ่มไป Focus คนเมียรมา กัมพูชา เนื่องจากคนกลุ่มนี้ไม่ไม่ขึ้น Low Cost Airline ได้เดินเข้าไปที่กรมการขนส่งและเพิ่มเส้นทาง เป็นตัวอย่างแม้ว่ามีวิกฤติเกิด Low Cost Airline ก็ปรับไปหาลูกค้า CLMV โจทย์ข้อนี้เป็นเรื่อง Demand Side ที่ไม่จำเป็นต้องเป็นตัวเดิม แต่อาจเป็นตัวใหม่

การศึกษารวมเฉพาะหอพักนอกมหาวิทยาลัยที่ล้นออกมา ซึ่งการเคหะฯ เชื่อมั่นอยู่แล้ว เป็นตัวอย่างที่ทุกมหาวิทยาลัยต้องเป็นอันนี้

เน้นการปรับ Demand Side ไม่จำเป็นต้องเป็นอันเดิม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ให้พิจารณาข้อแตกต่าง ให้ดึงสิ่งที่เคยวิเคราะห์ในห้องนี้มาใช้ แนวคิดนี้คือใช้คานงัดที่จะหนีบเรา ข้ามกับดักเดิมคือ ลูกค้ารายได้น้อย รายได้ไม่แน่นอน สินเชื่อไม่มี ให้เติมสิ่งที่บอกเข้าไปว่าเราเติมอะไรเข้าไปแล้วสินเชื่อจะเพิ่ม อะไรเป็นจุดเด่นที่แตกต่าง

การแบ่งแต่ละข้อให้เหมือนทุกครั้งที่ทำ แต่ละกลุ่มเลือก 1 ข้อ แล้วให้แต่ละโต๊ะช่วยเติมเต็มได้ ในลักษณะทีมเดียวกัน

Workshop

  • กลยุทธ์การตลาดในการโล๊ะสต๊อกบ้านของการเคหะฯ ให้หมดภายใน 1 ปี ควรจะทำอย่างไร (หากท่านเป็นทีมยุทธศาสตร์ในระดับผู้ว่าการ)
    • ควรจะเตรียมเรื่องคนและเรื่องผู้นำอย่างไร จะบริหารความแตกต่างหรือ Diversity อย่างไร จะเอาชนะอุปสรรคอย่างไร
    • มองเรื่อง TalentManagement อย่างไร
    • มีวัฒนธรรมองค์กรเรื่องใดบ้างที่จะต้องปรับเพื่อการพัฒนาจาก Good to Great

2.การปฏิรูปค่าใช้จ่ายหลังขายเสร็จให้เหลือครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายเดิม เช่น เคหะชุมชน หรือ ค่าดูแส่วนกลาง (หากท่านเป็นทีมยุทธศาสตร์ในระดับผู้ว่าการ)

3.เนื่องจากมีโครงการประชารัฐเกิดขึ้นและภาคเอกชนลงมาโฟกัสตลาดผู้อยู่อาศัยรายได้ระดับกลางและรายได้น้อยจำนวนมาก กคช. จะปรับตัวและดำเนินการแข่งขันอย่างไรให้แข่งขันได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์สูง

4.การเคหะฯ ยุค 4.0

Workshop

กลุ่มที่ 1 ข้อ 1.กลยุทธ์การตลาดในการโล๊ะสต๊อกบ้านของการเคหะฯ ให้หมดภายใน 1 ปี ควรจะทำอย่างไร (หากท่านเป็นทีมยุทธศาสตร์ในระดับผู้ว่าการ)

1. ถูกต้องและถูกใจ

คือถูกตัวถูกใจคนขาย และคนซื้อเป็นการขายตรง และมีการแนะนำคนมาซื้อต่อ มีการกำหนดคอมมิสชั่นให้

การถูกใจคนซื้อ การจูงใจให้เขาซื้อสินค้าเราต้องมีการปรับปรุงคุณภาพสินค้า คือซื้อตามคุณภาพ หรือตกแต่งต่อเติมพัฒนาแล้ว สิ่งสำคัญคือบริการหลังการขายของการเคหะฯ มีการพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน แบ่งเป็นชุมชนเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเอง และชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองแบบยั่งยืน

มีการขายให้หน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน มีการตั้งบริษัทลูกเพื่อดำเนินการขาย จะทำให้ข้ามพ้นอุปสรรคการขายทั้งปวง

2. ถูกสตางค์

หาแหล่งเงินทุน ใช้กลยุทธ์ด้านราคา ใช้เรื่องการแบ่งขายตามทำเล การเฉลี่ยตามทำเล ชั้น 1,2,3,4 ทำเลหัวมุม ติดถนนหลัก ให้สิทธิพิเศษผู้ซื้อเดิม เช่นฟังหลอ บ้านหัวมุม ทางสามแพร่ง มีการเจรจาต่อรองระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย นอกจากนั้นเป็นเรื่องผลิตภัณฑ์และทำเล

3. ถูกตามกาลเทศะ

มีกลุ่มไลน์ Facebook ทุก Application ที่จูนได้ตรงกันในการรับส่ง

4. การติดตามและประเมินผล

มีการติดตามและประเมินผลและจับต้องได้ มีการนำมาปรับปรุงเพื่อตอบสนองได้ มีการตอบสนองจำนวนลูกค้าที่สนใจซื้อ เป็นข้อมูลในการทำการตลาด สร้างภาพรู้จัก ยอดให้คนยอมรับ และสร้างความประทับใจกับลูกค้า

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

1.จะลดสต็อกบ้านได้อย่างไร 1.ขาย 2. ได้เม็ดเงินกลับมา คือส่วนหนึ่งคือขายทิ้ง และถ้าเปลี่ยนเป็นค่าเช่าจะได้เงินกลับมา ดังนั้นอย่าเพิ่งไปปิด Choice อื่นด้วย อาจมี 3 สถานะ คือไม่เกิดประโยชน์ ฝ่ายขาย และเกิดประโยชน์จากการเช่า ดังนั้นไม่ต้องจำกัดที่ขายอย่างเดียว

2. อยากให้เพิ่มช่องทางการขายคือ เช่น ค่าคอมมิสชั่นในการบอกต่อ ที่ให้คนมาได้ ทุกอย่างทำได้หมด อย่างหนึ่งคือมี Agent ที่มีฟรีแลนซ์ต่าง ๆ ต้องสร้าง Network ให้ได้ ในพื้นทีที่รายล้อมการเคหะฯ ในแต่ละกลุ่มพื้นที่จะเป็นใคร เราสามารถเพิ่มได้มากกว่านี้ หรือคนที่เปิดบริษัท ERA หรือ Twenty one century จะมีกลไกอันดับหนึ่ง ส่วนอีกช่องทางหนึ่งคือช่องทาง Digital ต้องทำ E-Market Place ของเราเอง ช่องทางที่สะดวกที่สุดคือต้องนำทุกอย่างไปอยู่ที่โลกสมัยใหม่ มีตัวอย่างให้ดูได้ระดับหนึ่งเป็น E-market Place และ ออนไลน์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เคยซื้อและแนะนำต่อ 2.เป็น Change Agent อยู่แล้ว

มีช่องการประมูลที่น่าสนใจ การขายแบบเดิมที่เป็นบ้านเปลือยแล้วมาตกแต่งก็น่าสนใจ ใช้ความสามารถในการตกแต่งพร้อม Build in บางอย่างก็น่าสนใจ แต่ถ้าเป็นแบบบ้านเปลือยอาจมองไม่ออก

กองทุนก็น่าสนใจ การทำ Pre Approve กองทุนต่าง ๆ เป็นเรื่องที่น่าคิด การมี Pre Approval ค่อนข้างเร็ว เรื่องกองทุน Housing Fund ธนาคารฯมีอยู่แล้วแต่สิ่งที่มากคือการ Pree Screen หรือดู Credit Line น่าจะเป็นประโยชน์

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ์

จุดคานนับได้ 5 ประการคือ

1. ไม่เอาปัญหามาบังตา ให้คิดเป็นแบบ System Thinking

2. มีรายละเอียดเพียงพอว่าคิดอะไรอยู่ สามารถคิดตามได้

3. ทำได้พรุ่งนี้ที่คิดไว้

4. ไม่มองอะไรเป็นอุปสรรคไปหมด แต่มองว่าเป็นสิ่งที่ท้าทาย ไม่เอาปัญหาและอุปสรรคบังตา

เราจะทำร่วมกันได้อย่างไร

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

สิ่งที่ฟังแล้วรู้สึกว่าเป็นไปได้ ทำให้คิดว่าสิ่งใดเป็นไปได้ต้องนำไปทำ อาชีพของคนที่ทำงานด้านการขาย การขายเทียบกับการผลิต การออกแบบ เรามีคนประเภทนี้พร้อมหรือไม่ และถ้าไม่มีเราควรฝึกหรือไม่

หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรที่สร้างคนขึ้นมา อยากให้ทั้ง 24 ท่านได้รับมอบหมายจากผู้ว่าฯ ไปพูดในบอร์ดหรือที่ต่าง ๆ บ้าง ไม่เช่นนั้นตัวละครต่าง ๆ จะอยู่ข้างบนไม่ได้จับที่แท้จริง และอยากให้ลองนำแนวนี้ไปใช้แก้ปัญหาการเคหะฯ ในเรื่องอื่น เช่นการหาที่ดินในนามกรมธนารักษ์ หรืการหาที่ดินที่ต้องแข่งกับ LPN หรือพฤกษา เป็นสิ่งที่ควรทำ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

มีเรื่องการเช่าซื้อ การบริหารจัดการ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต การคิดใหม่ทำใหม่ เช่นเปิดบริษัทลูกขึ้นมาใหม่ การที่วิทยากรให้ความรู้แล้วสามารถดึงมาใช้ได้เลย

กลุ่มที่ 3 ข้อ 2.การปฏิรูปค่าใช้จ่ายหลังขายเสร็จให้เหลือครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายเดิม เช่น เคหะชุมชน หรือ ค่าดูแส่วนกลาง (หากท่านเป็นทีมยุทธศาสตร์ในระดับผู้ว่าการ)

1. การมอบโอนสาธารณูปโภคให้กับท้องถิ่น หลายโครงการฯ มอบให้ไม่ได้อาจเนื่องจากท้องถิ่นไม่รับ และพื้นที่การมอบโอนยังไม่เรียบร้อย ไม่มีการปรับปรุงซ่อมแซม ท้องถิ่นยังไม่รับ

การแก้ไขตรงจุด ภาคีท้องถิ่นถือว่าสำคัญ ถ้าภาครัฐมาช่วยได้จะเป็นเรื่องดี เรื่องภาษีจะรับเต็ม ๆ

2. การบำบัดน้ำเสียโดยใช้พลังงานทดแทน หลายพื้นที่ต้นทุนสูงจึงไม่เปิด จึงคิดที่จะนำ EM Ball มาใช้และคิดว่าได้ผลจริงส่วนอีกเรื่องคือ Solar Cell ถ้าทำได้จะเป็นการลดค่าไฟ

3. ดิจิตอล เทคโนโลยี ทำอย่างไรให้เป็นแบบ One Stop Service ไม่จำเป็นต้องมากรุงเทพฯ สามารถเช็คได้เลย ทั้งค่าใช้จ่ายและผ่อนส่ง

4. การจัดการขยะในชุมชน

- การคัดแยกขยะ คืนสิ่งดีให้พี่น้องประชาชน

- ขยะรีไซด์เคิ้ล สามารถสร้างรายได้ช่วยการศึกษา

5. การจัดประโยชน์ให้ชุมชน

- รายได้เข้าองค์กรได้มากขึ้น เช่น แผงร้านค้าต่าง ๆ มีการบุกรุกเพิ่มเติม มีการจัดประโยชน์แผงร้านค้า บางพื้นที่คืนพื้นที่ให้กับพี่น้องประชาชน ทำให้แผงพื้นที่ดูเป็นระบบ

พื้นที่ว่างที่ทิ้งรกร้างไว้ มีการบูรณาการ เอาหน่วยงานไปดูแล ลดค่าใช้จ่ายไปดูแลพื้นที่ด้วย

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ชอบทุกข้อ แต่ที่สะดุดคือค่าใช้จ่ายหลังการขาย ภาระและบทบาทหน้าที่ของการเคหะฯที่ดูแลของการขายนั้นจบสิ้นเวลาไหน

หลังจากการขายโครงการฯ หมดเรียบร้อยแล้ว ห้องชุดต้องมีการโอนขายอยู่ใต้ พ.ร.บ. โครงการฯที่ดำเนินการภายใต้การเคหะฯ มีแตกต่างจากที่ดำเนินการในภาคเอกชนอย่างไร ถ้าเป็นการบริหารหลังการขายในกรณีที่โครงการฯ ยังไม่ปิดอาจแย่ ต้องคิดว่าเป็นสิ่งที่รัฐมาสนับสนุนหรือไม่

ในกรณีที่โครงการฯ ขายไม่หมดแล้วมีบางยูนิตขายไม่ได้จะแก้อย่างไร

การเร่งรัดการถ่ายโอนสาธารณูปโภค ถ้าเป็นภาระแล้วไม่ได้ประโยชน์อย่างไร

บทบาทของการเคหะฯ จะต้องออกที่จุดไหน

เรื่องขยะ ก็เหมือนกัน คิดว่าทุกวันนี้รายได้ของนิคมอุตสาหกรรม ได้รายได้จากส่วนกลางคือสุขภิบาล การนิคมฯ จะได้รายได้จากตรงนั้น ดังนั้นภายในชุมชนเราเสนอตัวเป็นคนทำเองจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ได้รายได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่องบริการหลังการขายอยากทราบว่าปกติการเคหะฯต้องดูแลชั่วชีวิตหรือไม่

ตอบคือ 5 ปี

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ์

ประทับใจมากใน 5 ข้อ การทำ Real Estate หรืออสังหาริมทรัพย์ ส่วนแรกเป็นส่วนที่ต้องคาใจ อีกเรื่องคือ Cost

Solution ใน 5 ข้อคือ

1. มอบโอนให้เร็ว และต้องมี Incentive ให้ด้วย

2. พยายามลด Cost ของพลังงาน

3. การลดขยะ สามารถแก้เกมส์ได้ดี และเป็นประโยชน์ได้ด้วย สอนให้เด็กรู้จักคุณค่าของเงิน การลดขยะแล้วแปลงปัญหาเป็นโอกาส

4. ใช้ดิจิตอลหรือเครื่องมือทันสมัยมาทำมาหากินได้ สามารถเข้า Web และตอบได้เลยว่าอะไรอยู่ตรงไหน ซึ่งดิจิตอลเทคโนโลยีทำได้หมด

5. ที่รกร้างต่าง ๆ มาก ๆ ทั้งที่ข้างในสต็อก และที่ข้างนอกที่ทางการ ต้องการความเชี่ยวชาญของการเคหะไปสร้างให้เกิดรายได้

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

การปฏิรูปค่าใช้จ่ายและทำได้จริงจะทำให้ Bonus การเคหะฯ เพิ่มขึ้น ลดค่าใช้จ่าย เพิ่มรายได้ จะทำให้กำไรสูงขึ้น ทำให้เป็น Commercial Value สูงขึ้น

อยากให้ คสช.คิดเรื่อง ถ้าการโอนถ่ายไปท้องถิ่นช้า ถ้ามีเหตุผลไม่เป็นไร แต่ถ้าไม่มีอะไรอยากขอให้รัฐบาลทำให้เร็วมากขึ้น

มีโครงการฯ ได้รับมอบจาก กทม. นำผู้อำนวยการเขตไปดูงาน สิ่งที่อยากดูอย่างหนึ่งคือเรื่องพลังงานทดแทน เป็นต้น

แนวทางที่ทำมาถูกต้องแล้ว อยากให้ทำต่อไปในการรับหน้าที่ทางด้านนี้ต่อไป

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งนี้เอกชนทำไม่ได้สิ่งที่การเคหะฯ มองเป็นการมองตัวเองว่าจะทำประโยชน์อะไร มองไปแล้วว่าจะไปแปะมือกับใคร

กลุ่มที่ 4 ข้อ 3.เนื่องจากมีโครงการประชารัฐเกิดขึ้นและภาคเอกชนลงมาโฟกัสตลาดผู้อยู่อาศัยรายได้ระดับกลางและรายได้น้อยจำนวนมาก กคช. จะปรับตัวและดำเนินการแข่งขันอย่างไรให้แข่งขันได้อย่างมีผลสัมฤทธิ์สูง

สิ่งที่มองคือเอาปัญหามาเป็นโอกาสและกระโดดไปร่วมกับเขาเลย และคิดว่าจะตอบสนองแผนฯ10 ปีได้เร็วขึ้น มากขึ้น ใช้ประโยชน์ที่มีอยู่ในการสร้าง Provider

การลงทุนโครงการฯใหม่ต้องตอบโจทย์ได้มากขึ้นเรื่องเทคโนโลยี Climate Change การป้องกันพื้นที่ความเสี่ยง ที่ดินของภาครัฐ ภาคเอกชน

กลยุทธ์การตลาด การสร้างมูลค่าเพิ่มโดยหาประโยชน์ในโครงการ (ดูจากกลุ่ม1 และกลุ่ม 2 ใช้ได้หมด)

เรื่อง พ.ร.บ. การเคหะฯ ไม่เชิญชวนภาคเอกชนเท่าที่ควร เนื่องจากภาคเอกชนรับความเสี่ยงมากกว่าภาครัฐ ดังนั้นจะทำอะไรให้เอกชนเข้ามามากขึ้น

กลุ่มขายยังเป็นกลุ่มรายได้น้อย และรายได้ปานกลาง มีการมองถึงกลุ่มมีรายได้สูงด้วย

สวัสดิการของพนักงานที่อยู่ฟรี มีการเปิดโอกาสให้ทำได้ มีเรื่องโอกาส

ทั้งหมดใช้วิธี PPP เข้ามาจัดการในด้านต่าง ๆ

เมืองชายแดน การพัฒนาพื้นที่จะมีมูลค่ามากขึ้น การลดความเป็นเมืองมากขึ้น สร้างเศรษฐกิจชายแดนมากขึ้น

การฟื้นฟูโครงการฯเดิม ให้มีการปรับปรุงและเพิ่มมูลค่า

ประหยัดทรัพยากรในการลงทุน

การดูเรื่องความเหมาะสมของพื้นทีในการพัฒนา การเป็น Regulator การสร้างความเชื่อมั่นให้หน่วยงานภาครัฐ การช่วยเหลือทางด้านวิชาการ การลงทุน มีเรื่อง Skill ในการสื่อสาร กฎหมาย และนโยบายต่าง ๆ ด้วย

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

การพัฒนาที่อยู่อาศัย แต่เดิมเราขาย อันใหม่ รายได้ได้จากการเช่า ต้องไปดู Model การเช่า ส่วนเรื่อง PPP ต้องถามว่าการเคหะฯ มีอะไรไป PPP กับเขา เช่นถ้าเป็นเจ้าของที่ดินก็เอาที่ดินมาให้เขาพัฒนาได้ หรือถ้าเป็นผู้รับเหมาะก่อสร้าง ก็มีส่วนในการช่วยพัฒนาที่ดิน

การเคหะฯ ต้องดูว่าเรามี PPP อะไรที่ไปแลกเปลี่ยนกับเขาได้ เช่น ที่ดิน หรือ บริษัทก่อสร้าง เราทำได้แต่ PPP ต้องเป็นเรากับหน่วยงานรัฐอื่น เช่นตำรวจได้ที่พักกับทหาร เราต้อง Turn Key และหา Partner ต้องหาบริษัทลูกช่วยในการดำเนินการ

โจทย์คือทำไมต้อง PPP กับเรา รายได้คือ Source of Income คือ มี Business แล้วเอาสิ่งนี้ไปดูแลคือ ต้องดูแลแบบไม่เหนื่อย เช่น ดูแลเซ็นทารา Chain โรงแรม เป็นลูกจ้างนิติบุคคล ขายแบรนด์การเคหะฯ ได้รายได้จากการกำกับดูแล เป็น Management Propertyอีกแบบหนึ่ง

การขยายเมืองต้องสร้าง Land Bank ใหม่ รู้สึกการไขว้วิธีคิดคือ อย่าใช้ Model เดิมให้คิดใหม่ให้หมด เช่นการกันไว้ 20-30% เป็นแปลนด้านหน้า แทนที่จะขายหมดให้แบ่งแปลนด้านพาณิชย์กรรม และให้เช่าเชิงพาณิชย์ แบ่งการขายให้ดี

ตัวอย่าง IBIS มีการสร้างโรงแรมเล็ก ๆ80 ห้อง มีที่หนึ่งโดนล่อไปที่ดินไข่ขาวจะได้ประโยชน์ทั้งหมด คือเมื่อมีชุมชน ที่รายล้อมชุมชนราคาที่ดินขึ้นมามหาศาล คือขณะที่เราขายแปลง Low and Medium Income ที่ดินโดยรอบจะเพิ่มขึ้นมา ให้คิดในส่วนที่สามารถ contribute ที่ดินรูปแบบใหม่ คือพัฒนาที่อยู่อาศัย และที่ทำมาหากิน หรือที่เป็นพาณิชยกรรมไปด้วย ไม่ใช่แค่ชุมชนน่าอยู่เฉยๆ

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ์

สิ่งที่เริ่มได้ดีคือ นำ Role ของการเคหะฯ มาดู Role ของรัฐวิสาหกิจมี 4 Role

ต้องเอามาขึ้นดูและให้น้ำหนัก เช่น

1.ผู้กำกับกฎระเบียบต้องมีอำนาจและให้เงินในนั้น

2. Pride Projector

3.Service Provider

4. Commercialization

มีอำนาจอย่างหนึ่งที่การเคหะฯไม่ Push ต่อคืออำนาจในการเวนคืน

เป็นกลุ่มเดียวที่คิดเชิงยุทธศาสตร์ ดังนั้น ตรวจสอบ Role หมด แล้วจะเลือก Role อย่างไร จับน้ำหนักให้ดี แล้วการเคหะฯ จะไปได้ไม่แพ้กับที่อื่น ๆ

ตอบโจทย์ Strategic Role ของการเคหะฯ

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์การเคหะฯในระยะยาว ซึ่งถ้าทำสำเร็จจะกระเด้งไปหลายเรื่อง

1. จับมือกับภาคเอกชน PPP จะเป็นหนึ่งในนั้น อาจจับมือกับต่างประเทศ และรัฐบาลด้วยไม่ใช่ภาคเอกชนอย่างเดียว แต่การจับมือกับภาคเอกชนยังมีอุปสรรคอยู่

2. การเคหะฯ ไม่ต้องตั้งรับอย่างเดียวต้องรุกด้วย สังเกตได้ว่า บริษัทประชารัฐควรตกอยู่กับการเคหะฯ แต่พบว่าพฤกษากับได้ โปรเจคไป

ประสบการณ์ในการพัฒนาชุมชน ตั้งเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และสอนวิชา Entrepreneurship ในอนาคตถ้าการเคหะฯ ไม่มี Networking กับอย่างอื่น ปัญหาจะเล็กลงถ้าสิ่งหนึ่งผ่าน Role ก็จะมีผู้นำมากขึ้น

การเคหะฯ สามารถเป็น Regulator และกระเด้งไปต่างประเทศได้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การฟื้นฟูโครงการฯเดิม แล้วไม่ทิ้งของเก่า

กลุ่มที่ 2 ข้อ 4.การเคหะฯ ยุค 4.0

4.1ควรจะเตรียมเรื่องคนและเรื่องผู้นำอย่างไร จะบริหารความแตกต่าง หรือ Diversity อย่างไร จะเอาชนะอุปสรรคอย่างไร

1.การเตรียมทั้งผู้นำและคนในองค์กรอย่างไรให้รองรับการเปลี่ยนแปลง

- การปรับ Mindset ผู้บริหารและคนในองค์กร ส่งเสริมการให้ความรู้ ให้หัดวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค มาสื่อสารและปรับใช้การทำงาน หาแนวทางแก้ไขเพื่อปรับปรุงแนวคิดหรือกระบวนการให้ดีขึ้น

- การทบทวนวิสัยทัศน์และปรับพันธกิจให้สอดคล้องกับ Thailand 4.0

ความท้าทาย

ความท้าทายให้มีการเอาชนะความหลากหลาย มีสายอาชีพหลากหลาย มีวิศวะ การขาย บัญชี ฯลฯ การกำหนดงานและกิจกรรมให้มีการร่วมกันในอาชีพหลากหลาย มีการทำ Cross Function มากขึ้น มีการส่งเสริมให้องค์กรมีความหลากหลาย มีการส่งเสริมด้านนวัตกรรม

อายุหาจุดเด่นของแต่ละช่วงวัยมาบูรณาการทำงาน Gen X ถ่ายทอดการทำงานเนื่องจากมีประสบการณ์สูง สู่ Gen Y ที่เก่งเทคโนโลยี และทำงานรวดเร็ว

เพศ ทำงานร่วมกันได้ระหว่างชายหญิง

สถานะครอบครัว มีความหลากหลาย คนที่มีครอบครัวแล้ว กับคนที่ยังไม่ได้แต่งงาน ต้องจัดสวัสดิการให้ครอบคลุม มีการเสริมศูนย์เด็กเล็ก สร้างบ้านพักพนักงาน

สถาบันการศึกษา ไม่มีอุปสรรคสามารถทำงานร่วมกันได้

4.2มองเรื่อง TalentManagement อย่างไร

เรื่อง Happiness at work ที่ทำตรงไหนก็ได้เปิดช่องทางให้มีความหลากหลายมากขึ้น

4.3มีวัฒนธรรมองค์กรเรื่องใดบ้างที่จะต้องปรับเพื่อการพัฒนาจาก Good to Great

มีวัฒนธรรมองค์กรด้านใดบ้างที่ควรปรับ มีการทำงานแบบพี่น้อง ซึ่งมีจุดดีหลายอย่าง จัดที่อยู่แบบพี่น้อง สร้างเครือข่าย สร้าง Networking ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคประชาชนและภาครัฐ ด้านสถาบันการศึกษา

จาก Good to Great การถ่ายทอดองค์ความรู้ ให้มีการ Coaching ให้เห็นอย่างชัดเจน ถ้าทำได้จะเพิ่มมูลค่าการทำงานให้มีความหลากหลายและ Create ใหม่ ๆ

ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

การเตรียมบุคลากร 4.0 อยากเสริม 4 ประเด็น ให้เน้นที่จริยธรรม ความยั่งยืน และ เป้าหมาย คนเราจะต้องดูว่ามีเป้าหมายไปเพื่ออะไร สุดท้ายอยากให้เป็น Life Long Learning เป็น Learning Eco System คือมีจิตวิญญาณในการหาความรู้ด้วยตัวเอง ให้ทั้ง 23 ท่านมีนิสัยแสวงหาความรู้มากขึ้น

เรื่อง Talent Management เราจะเอาข้อเท็จจริง ยกย่องคนที่เป็น Fast Track ต้องทำงานร่วมกันคนอื่นได้ เราต้องแน่ใจว่าคนเก่งต้องสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้

วัฒนธรรมองค์กร สิ่งที่จำเป็นต้องใช้มาก ๆ

1. Happiness

2. Respect

3. Dignity

4. Sustainability

ต้องมี Human Center Leadership และมีวัฒนธรรมในการทำงานที่ดี ฝากให้คิดต่อและทำ 4.0 เพื่อความเป็นจริงมากขึ้น

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ์

สิ่งที่ 4.0 อยากได้ คือ

1.ความหลากหลายทางความคิด คนเป็นมนุษย์ใครคิดต่างถือว่าเป็นความหลากหลายทางชีวภาพ ความหลากหลายที่ทหารกลัวไม่น่ากลัวเสมอไป

2. ความหลากหลายจะเป็น Challenge People คนที่เป็น Talent จะกบฏจะไม่เป็นอย่างที่คิด

3. Disruptive คือการปะทะกันทางปัญญา จะเกิด Disruptive Creation

การบริหารความต่าง

KM คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันทางประสบการณ์ สร้างบรรยากาศให้แลกเปลี่ยนความรู้กันบ่อย ๆ

4. Happy Workplace

สิ่งเหล่านี้ควรเข้าไปตรวจสอบมากขึ้น

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

เราต้องมี Platform ให้ทุกกลุ่มได้เล่น หมายถึงต้องมีที่ยืน คนรุ่นใหม่ต้องมี Platform ที่สนุก และได้เล่น อย่า Sub place ซึ่งกันและกันถ้าเรามี Platform ให้เล่นสนุกแน่ สรุปคือ 1. Platform 2.สนุก แต่ขออย่าเรียกให้ประชุม แล้วไม่ฟัง ไม่เอาไป Implement แล้วคนรุ่นใหม่กลุ่มนี้ จะ กบฏ

ยิ่งองค์กรใหญ่ขึ้นความเป็นพี่ น้องจะหายไป


Panel Discussion

การบริหารเชิงกลยุทธ์

ร่วมวิเคราะห์และให้ความคิดเห็นโดย..

โดยดร.ทายาท ศรีปลั่ง

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

ดำเนินการอภิปรายโดย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล


อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การที่ยุทธศาสตร์เคลื่อนไป สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือกลยุทธ์ มีการวางแผนและมีการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ

ดร.ทายาท ศรีปลั่ง

แนวโน้มของโลก

  • การสร้าง Brand องค์กร
  • Mindfulness

2.การวางแผนอัตรากำลังคน

3.การคัดเลือก Talent

4.การคัดเลือกคน

5.ค่าตอบแทน

ทิศทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์

1. การเข้าสู่โลกาภิวัตน์

2. การเคลื่อนย้าย

การเคลื่อนย้ายของกำลังแรงงาน อยากให้มีประเทศเก่ง ๆ คนพร้อมหรือยัง การเปลี่ยนแหล่ง เน้นการพัฒนาคน

3. Solution Integration

การเข้ามาของเทคโนโลยี และหุ่นยนต์ AI

4. More Compliance การปฏิบัติตามกฎระเบียบมากขึ้น

ต้องดูเรื่องกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น แรงงานเด็ก ต่างชาติ

5. Increased Cost Containment

ค่าใช้จ่ายดำเนินการ / Employee Cost

ได้แก่ เงินเดือน สวัสดิการ กิจกรรมนันทนาการ ภาษี เงินสังคม เป็น Direct Cost

ถ้าอัตราการขึ้น Employee Cost ล้ำหน้า Operating Cost

การจ้างคนแพง หมายถึง อัตราคนจะสูงกว่า Operating คนจะเริ่มจับตามองว่าบริหารเป็นหรือไม่

Cost of Core HR กับ Cost of Support

สรุปคือต้องดูประกอบทั้งจำนวนคนและจำนวนค่าใช้จ่าย ที่ทั่วโลกมองคือค่าใช้จ่ายดำเนินการเป็นสัดส่วนของการจ้างงาน ที่เมืองไทยจะดูในเรื่องนี้ว่ามากเกินไปหรือไม่

สิ่งที่พบคือ คนที่อยากได้มีจำกัด ให้พนักงานพูดเกี่ยวกับองค์กรตัวเอง ทำงานสนุก ได้เรียนรู้

การสร้าง Brand ต้องเริ่มจากภายในองค์กร

End Consumer หรือผู้บริโภคที่จะมาซื้อของไปใช้มักเป็นคนกลุ่มแรกที่นักการตลาดคิดถึงเป็นกลุ่มแรกเมื่อคิดว่าถึงเวลา ต้องสร้างแบรนด์เสียที ทั้ง ๆ การเริ่มต้นสร้างแบรนด์กับ End Consumer ด้วยการคิดถึงแต่เรื่องการทุ่มเงินเพื่อโฆษณาหรือทํากิจกรรมต่าง ๆ เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

“จริง ๆ แล้ว Brand ที่ประสบความสําเร็จจะต้องเริ่มต้นสร้างมาจากภายในองค์กร (Internal Culture) นั่นคือ

พนักงานทุกคน ถือว่าเป็น Brand Ambassador

พนักงานจะต้องมีความเขารู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์ของตัวเองและทิศทางที่กําลัง

เดินไปอย่างถ่องแท้เสียก่อน Brand ถึงจะเกิด”

สิ่งที่ดีคือ ผู้บริหารเป็น Brand Ambassador จะได้กลุ่มเป้าหมาย ที่ถูกต้อง

1. ต้อง Check list เพื่อสร้าง Impression แรก (มีนามบัตร)

2. คนที่ Orientation จะอาวุโสหน่อย และพาไปแนะนำคน แล้วเด็กจะมั่นใจมีคนดูแล

3. มีพี่เลี้ยงดูแล

4. หัวหน้าต้องดูแลทีม ให้มีการ Welcome มีไมตรีจิตในการต้อนรับ

เราต้องมีโปรแกรมพิเศษ ในการสะสมว่าได้เท่าไหร่

ทำไมพนักงานต้องเป็น Brand Ambassador

  • พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้าง Brand
  • ดังนั้น พนักงานทุกคนก็คือ Brand Ambassador

2.ลูกค้าพบพนักงานเมื่อใด ก็เหมือนกับพบ Brand บริษัทเมื่อนั้น

3.พนักงานแสดงออกต่อลูกค้าอย่างไรก็เหมือนกับ Brand บริษัทที่แสดงออกต่อลูกค้าเช่นนั้น

4.ลูกค้าประทับใจพนักงานเช่นไร ก็ประทับใจ Brand เช่นนั้น

แนวทางในการสร้างพนักงานให้เป็น Brand Ambassador ของ ABC

Build Behavior

  • จัดทำแนวปฏิบัติพฤติกรรม (Do/Don’t) เพื่อสื่อสารให้พนักงานเข้าใจ และปฏิบัติตามพฤติกรรมที่สอดคล้องกับค่านิยม เช่น

- แนวปฏิบัติการแต่งกาย

- แนวปฏิบัติการแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ

2.สร้างแรงบันดาลใจ สร้างแรงกระตุ้น

- Brand Awareness :ให้ความรู้เรื่อง ธุรกิจ การแข่งขันทางการตลาดของมิตรผลกับพนักงาน เพื่อให้พนักงานรู้ร้อน รู้หนาวกับ และสร้างความเป็นเจ้าของ

- Inspire Brand Ambassador : เชิญ Guru ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการทำให้พนักงานรู้สึกว่าตัวเองต้องเป็น Brand Ambassador มาบรรยาย

Activities

  • ส่งเสริมให้พนักงานประชาสัมพันธ์สินค้าของบริษัท โดยนำสินค้าของบริษัทไปมอบเป็นของที่ระลึกเนื่องในโอกาสต่าง ๆ
  • ทำเสื้อ Polo มิตรผลที่เป็นหนึ่งเดียวกัน ให้พนักงานใส่มาเป็นการประจำอาจจะทุกวันพุธ หรือไปพบลูกค้า หน่วยงานภายนอกต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความเป็น Unity และสร้าง Brand Image ที่ดี

2. ส่งเสริมให้พนักงานใช้สินค้า โดยจัดกิจกรรม

- ประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการใช้

- จัดกิจกรรมให้พนักงานที่ใช้สินค้า ส่งสลากตราสินค้ามาร่วมสนุกในการจับชิงของรางวัลของบริษัท

แนวโน้มของโลก

โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ประเด็นคือเราจะบริหารอัตรากำลังเกินหรือไม่

  • การสร้าง Brand องค์กร
  • การวางแผนอัตรากำลังคน
  • การคัดเลือก Talent
  • การคัดเลือกคน
  • ค่าตอบแทน
  • Mindfulness

แผนกำลังคน

  • ‘แผนกำลังคนกับระบบการพัฒนาความก้าวหน้าทางอาชีพและแผนการสืบทอดตำแหน่งของบริษัท’
  • ด้วยเทคนิคการคาดการณ์อัตรากำลังคนและคุณสมบัติที่เหมาะสมเพื่อปิดช่องว่างของกำลังคนและรองรับการเติบโตที่ต่อเนื่องในอนาคต

-เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับความท้าทายจากการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน

การประเมินอัตรากำลังกับความต้องการทางธุรกิจ

บริเวณที่ (I) เป็นบริเวณที่คนเหล่านั้นต้องเวียนงานออกหรือโยกย้ายคนเหล่านั้นออกไป และงานนั้นควรถูก Automate หรือ Outsource โดยเฉพาะเมื่อค่าจ้างแรงงานที่สูงขึ้น ต้องระวังอย่าให้คนที่มีค่าตัวแพงทำงานที่มีค่างานต่ำ


ในสถานการณ์ปัจจุบัน บริเวณที่ (II) เป็นงานที่ควรออกแบบงานใหม่ให้กระชับมากขึ้น มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและ Rework ลดลง


กลุ่มที่ 2 นี้ เราต้องบูรณาการเรื่องการเงินควรมีการปรับทัศนคติ ไม่มองเรื่อง Mindfulness (มองปัจจุบัน ไม่มองเรื่องอนาคต)

คนมีคุณค่า ให้นำไปสู่กระบวนการงานสร้างคน


ในสถานการณ์ปัจจุบัน บริเวณที่ (III) เป็นงานที่ไม่ควรมอบหมายคนให้ทำงานนั้นเลยและงานนั้นควรถูกยุบออกไปจากองค์กร





การจ้างคนมาทำงานเฉพาะจะต้องทำอะไรบ้าง

ต้องทดสอบเทคนิคคือดูเรื่องเก่ง แล้วเข้ามาดูทัศนคติว่าทำงานกับเราได้หรือไม่ดีหรือไม่ดีในความหมายนี้คือดูว่า Fit กับเราหรือไม่



การสัมภาษณ์เชิงพฤติกรรม

1. ให้เล่าเหตุการณ์ที่เคยตัดสินใจยาก หรือทำแล้วเราอึดอัดตอนหลัง เกิดอะไรขึ้น

2. เป็นคำถามที่ยิงเป้าเมื่อเจอเหตุการณ์วิกฤติ

3. ให้เขียน




1. Performance-based Pay การจ่ายตามผลงาน

คือ การกระตุ้นผลสำเร็จ ผลักดันเป้าหมายธุรกิจ เน้นที่ผลงานมากกว่าปัจจัยอื่น ผลงานต้องระบุให้ได้ว่าก่อให้เกิดรายได้ กำไร หรือการเติมโตในอนาคตที่พอเห็นผลแล้วได้อย่างไร KPI สำคัญ Profit, % Profit, Customer Base Increase, Orders in Pipeline

2. Competency-based Pay การจ่ายตามพฤติกรรมที่ใช้ในการทำงาน

คือ การกระตุ้นผลสำเร็จ ผลักดันเป้าหมายธุรกิจ เน้นความรู้ประยุกต์และพฤติกรรมความสำเร็จที่หน้างาน เหมาะกับบริษัทตรวจสอบบัญชี KPI สำคัญ Profit, % Profit, customer satisfaction, IDP completion, salability of new innovations

3. Gain Sharing

คือ การตั้งเป้าหมายแยกออกเป็นส่วนๆ หรือเป็นทีมของแต่ละฝ่ายเช่น ตั้งเป้ายอดขายของภาคใดภาคหนึ่ง เมื่อทำได้เป้า ก็จะมีการตัดบางส่วนออกมาเป็นโบนัสพิเศษให้ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานทำยอดขายให้มากขึ้น หรืออาจจะตั้งในลักษณะของการลดต้นทุนลง เช่น ให้ทีมงานลดต้นทุนในการบริหารงานขายลงอีก 10% เมื่อทำได้จริงๆ แล้ว ก็จะนำเอาเงินในส่วน 10% ที่ลดไปไปนั้นมาแบ่งให้เป็นโบนัสสำหรับพนักงานในทีมงานที่ช่วยกันทำงาน

4. Profit Sharing การแบ่งส่วนกำไร

คือระเบียบวิธีการใดๆ ที่ซึ่งนายจ้างได้ใช้วิธีจ่ายหรือเอื้ออำนวยให้กับพนักงานปกติโดยทั่วไป ที่จะทำการจ่ายให้ในอัตราที่สูงกว่าการการจ่ายปกติ ซึ่งการจ่ายพิเศษนี้ในทันทีหรือเก็บสะสมให้กับพนักงานนี้ จะยึดถือจากตัวกำไรของบริษัทเป็นเกณฑ์สำคัญ

การกำหนดอัตราการแบ่งกำไรที่ต่างกัน ซึ่งอาจจะมีตั้งแต่ 5% ถึง 50% ของกำไรสุทธิ หรืออาจมีรูปแบบของการจ่ายที่แตกต่างกันที่อาจจะจ่ายเป็นรูปเงินสด หรือจ่ายเป็นรูปของการเก็บสะสมให้อย่างไรก็ตามในรูปของการเก็บสะสมนั้น ส่วนมากก็มักจะต้องมีการอนุโลมให้มีการถอนไปใช้ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าหากความจำเป็นในเรื่องของการปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของคนงาน เช่น การจัดหาซื้อบ้านเป็นต้น

5. Skill-based Pay การจ่ายตามจำนวนทักษะที่ลูกจ้างใช้ในการทำงาน

คือ ระบบจ่ายสําหรับทักษะที่ใช้ในการทำงาน เพื่อตอบแทนแก่ผู้ทํางานสําหรับทักษะและความรู้ที่ใช้ในการทํางานที่ได้รับมอบหมายให้สําเร็จ ทางเลือกนี้ต้องใช้เทคนิคการวิเคราะห์งานที่ดีและการ

เชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างทักษะกับอัตราค่าจ้างในตลาด

การจ่ายผลตอบแทนการทํางานตามผลการปฏิบัติงาน (Performance based pay) เน้นการให้รางวัลผู้ทํางานสําหรับผลการทํางานที่ดีมีส่วนทําให้องค์กรบรรลุผลได้ที่ต้องการ ในขณะที่การ

จ่ายผลตอบแทนการทํางานตามทักษะการปฏิบัติงาน (Skill based pay) ให้ความสําคัญกับ

ศักยภาพของผู้ทํางานในการทํางานที่องค์กรต้องการ ในทางปฏิบัติองค์กรส่วนใหญ่ใช้วิธีการจ่าย

ผลตอบแทนทั้งสองวิธีร่วมกัน โดยทั้งสองวิธีอยู่ที่ปลายคนละข้างของเส้นตรงเส้นเดียวกัน(Mackay,

1997)

ดัชนีชี้วัดสําคัญ คือ คําจํากัดความของงานที่ทํา และคําจํากัดความของทักษะ และความรู้ที่ต้องการสําหรับการทํางานนั้นๆ(Mackay, 1997)

6. Team Reward คือ จากการใหรางวัลเป็นทีม เพราะปัจจุบันองคกรมุ่งการพัฒนาองค์กรโดยอาศัยความร่วมมือระหว่างทีมจึงควรมีการให้รางวัลแบบทีมด้วย อย่างไรก็ตามองค์กรยังสามารถจายคาตอบแทนที่แตกตางกันเปนรายบุคคลได้อีกด้วย

การจายผลตอบแทนใหพนักงานในการทํางานรวมกันเปนทีมไมมีรูปแบบตายตัว แตควรจายผลตอบแทนตามผลงานของทีม เพื่อสรางความเปนอันหนึ่งอันเดียวกันในทีม ทําใหสมาชิกในทีมรูสึกถึงความรับผิดชอบตอผลงานรวมกัน

7. Pay Mixการบริหารค่าจ้างแบบผสม ระหว่าง Fixed และ Variable Pay

คือ การบริหารค่าจ้างแบบผสม มีเป้าหมายหลักก็คือ การทำให้ระบบค่าจ้างเงินเดือนสามารถที่จะทำให้พนักงานสร้างผลงานที่ดีได้อย่างต่อเนื่อง สามารถที่จะจูงใจพนักงานให้สร้างผลงานที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งจะส่งผลต่อเป้าหมายขององค์กรที่จะดีขึ้นเรื่อยๆ และสามารถที่จะบรรลุเป้าหมายที่องค์กรต้องการได้

8. Pay positioning ตำแหน่งการจ่ายในตลาดแรงงาน

Once we have the data and depending upon the company strategy to play in the market, a particular pay positioning (P25,P40,P50 etc.) is fixed. This is decided as the market comparison for the business and this is what is referred to as ‘market rate’. Later a range is created by either 80%-120% or 70%-130% of the market rate to help accommodate salary movements within the same band and provide flexibility to the line manager in hiring and retaining.

อุดมสติหมายถึง

อุดมสติในอีกนัยยะหนึ่งหมายถึงการมีความสม่ำเสมอ ในสิ่งต่อไปนี้

1. อยู่ในปัจจุบันขณะ ในที่นี้หมายความว่า อยู่กับสิ่งที่เกิดขึ้น ในปัจจุบันขณะ ตั้งเป้าที่จะอยู่ที่นี่เดี๋ยวนี้แทนการคิดเรื่องอดีต หรือกังวลเรื่องอนาคต

2. มีความตระหนักรู้ มีความรู้สึกนึกคิดใดเกิดขึ้นบ้างในขณะนั้นๆ ซึ่งหมายความว่า จะไม่ถูกบดบังด้วยอารมณ์หรือวิธีคิดแง่ร้าย

3. มีความสงบสุขุม การมีความสงบสุขุมจะทำให้ตัดสินใจได้ฉับไว ทั้งยังช่วยให้คนรอบข้างไม่ตื่นตระหนก ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็น อย่างไร ก็เผชิญหน้าได้อย่างไม่เสียศูนย์

4. มีสมาธิจดจ่อ ก็จะจัดสรรทรัพยากรต่างๆ ไปจัดการงานที่สำคัญกว่าให้สำเร็จได้ดั่งใจแทนการจัดสรรอย่าง กระจัดกระจาย พวกเขาจะจดจ่อกับสิ่งที่เห็นว่าสำคัญที่สุดใน ขณะนั้นได้

5. มีความเข้าใจทางเลือกและเกณฑ์ในการ เลือก ทางเลือกที่ดีที่สุด คนอุดมสติเข้าใจว่าอะไรคือ สิ่งจูงใจและเพราะเหตุใดจึงถูกชักนำให้ทำเช่นนั้น พวกเขารู้ว่า สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญ

ตระหนักรู้ – ตัวเอง

การตระหนักรู้ในตนเองเพื่อให้เข้าใจดีว่าเราต้องการอะไรจากคนอื่น และจะเติมเต็มข้อบกพร่องในการเป็นผู้จัดการของเราได้อย่างไร

ตลอดเวลาที่ผ่านมา

นักปรัชญายืนยันว่าด้วยการก้าวไปอยู่เหนือขีดจำกัดของการถือเอาประโยชน์ส่วนตนเป็นหลัก แต่ละบุคคลก็สามารถที่จะมีประสบการณ์ของ “การตระหนักรู้ในตนเอง”

การตระหนักรู้นี้ทำให้เกิดความเข้าใจที่ลึกล้ำในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ เมื่อตนเองมีสำนึกเป็นดวงวิญญาณ คุณค่าที่ติดตัวมาของดวงวิญญาณทำให้ตนสำนึกในเอกลักษณ์ของตนเอง ไม่ใช่ภาพลักษณ์ของร่างกายที่มีขีดจำกัดที่ไม่ถาวร



คุณค่าของชีวิต (ต้องบอกพฤติกรรมได้)

  • คุณค่าที่ท่านให้ในงานและชีวิตของท่าน
  • คุณค่าที่ท่านให้ในงานและชีวิตของท่านคืออะไรครับ ตอบ 5 คุณค่า
  • กรุณาเรียงลำดับความสำคัญ
  • กรุณายกตัวอย่างจริง เป็นพฤติกรรม ที่ท่านใช้ในคุณค่าเรื่อง ……..
  • เมื่อท่านลาออก/โยกย้าย จากงานเดิม ท่านให้คุณค่ากับ เรื่องใด มากที่สุด
  • ท่านเคยต้องผ่อนปรน คุณค่าที่ท่านให้กับ ครอบครัวหรือชีวิตส่วนตัวกับการทำงานหรือไม่ อย่างไร
  • ความสำเร็จในชีวิตของท่าน วัดจากอะไร
  • คุณค่าใดที่ท่านเชื่อมั่นในตัวเองว่าท่านดีแล้ว
  • คุณค่าใดที่ท่านไม่ได้แล้วท่านขาดความสุข
  • ท่านบอบบาง/สะเทือนใจที่สุดเมื่อคนตำหนิท่านเรื่องอะไร
  • ท่านเคยต้องลำบากใจกับ คุณค่า ไหนบ้างครับ กรุณาเล่ารายละเอียดให้ฟัง
  • คาดหวังกับคนอื่นให้เป็นแบบเขาไหม


ให้ Rating 1-10 อยู่ตรงไหน

ต้องมีศีล 5 ไม่เช่นนั้นจะไปไม่ถึงไหนเลย


ให้เขาเขียนเยอะ ๆ แล้วจะพบว่าสิ่งที่แต่ละคนเขียนไม่เหมือนกัน แล้วจะทำให้ค้นพบตัวเองมากขึ้น ไม่ต้องไปชี้แนะ ให้เขาค้นพบตัวเอง

คนที่มี Life Purpose จะไม่สัดส่ายไปทุกทิศทุกทาง

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ในฐานะเป็นพี่ มีน้อง ๆ เข้ามาใหม่ เห็นน้อง ๆ ค่อนข้างติด Social เราไม่อยากจู้จี้มากมาย ทำให้เสียสมาธิในการทำงานเหมือนกัน เราควรทำอย่างไรดี

ตอบ 1. การตั้งระเบียบขึ้นมา

- หลายองค์กร เมื่อเข้าทำงานจะให้เก็บมือถือหมดเลย

- ให้เปิดได้บางเวลา

2. ให้ทำ Life Purpose มาก ๆ ว่ามาทำงานเพื่ออะไร ให้ความสำคัญกับใคร มาทำงานแล้วมาใส่ใจเพื่อนจะเป็นอย่างไร บ้าง นำเรื่องจริยธรรมเข้ามา

2. การสอนงานบางคนไม่ชอบให้สอนงานทำอย่างไร

ตอบ1.การใกล้ชิดมากขึ้น

2.อธิบายงาน แล้วบอกว่าทำอย่างไร เน้นความหวังดีกับเขา เราพูด 50% เขาพูด 50% พบกันครึ่งทาง ถ้างานชิ้นแรกเสร็จแล้วเขาจะรู้สึกขอบคุณ ให้บอกตั้งแต่ต้นเลยว่าทำอย่างไร ให้อิงว่าเราเป็นที่พึ่ง แล้วเด็กจะติดเราไปเลย

3. เปิดใจว่าน้องอยากเห็นอะไรบ้างในการทำงานชิ้นนี้ อยากเห็นตัวเองเป็นอย่างไรบ้าง

เด็กรุ่นเก่าอาจทน เด็กรุ่นใหม่จะไม่ทนเพราะต้องทำตามนาย จะเก็บกดแล้วจะห่างเรามากขึ้น สร้างให้เด็กทัศนคติเปลี่ยน

ถ้าเด็กไม่มีสัมมาคารวะจะทำอย่างไร ให้คนที่เป็นรุ่นพี่ เป็น Role Model จำเป็นต้นแบบพฤติกรรมสัมมาคารวะ ใครเป็นต้นแบบที่ดีก็ให้มาสอน หรือทำคลิปวีดิโอเรื่อง 10 พฤติกรรมสัมมนาคารวะ

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลยุทธ์ในการบริหารคน จะทำทั้งองค์กร

1. การเคลื่อนย้ายแรงงานในโลก

2. การประเมินองค์กร

3. สร้างแบรนด์ ใช้ Brand Ambassador

สิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น Orientation มีระบบพี่เลี้ยง มีระบบเพื่อน สุดท้ายคือ On the Job Training

เก่งมากต้องหา Best Version ของตัวเอง

มีแผนจูงใจ มีแผนเรื่องการเกษียณ จัดหากองทุน เพื่อเป็นกองทุนเกษียณสนับสนุนการทำงาน มีเรื่อง Competency และ Gain Sharing

มีแผน มีรูปธรรม ต้องมี Mindfulness

ตัวอย่าง Life Purpose มี Balance


ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นลักษณะ Human Value

ยกตัวอย่าง Google จะรับคนโดยไม่ดูใบปริญญาว่าเป็นอย่างไร สิ่งที่ถามคือคิดอย่างไร หลายเรื่องมองที่คุณลักษณะของคนและวิธีคิด

1. จบจากสถาบัน เรียนดี เรียนสูงมีสิทธิ EGO มากเกินไป

2. คนที่สร้างผลงานจริง ผลงานดีตั้งแต่ยังเรียนไม่จบเป็นคนที่มีคุณค่า ยกตัวอย่าง dude perfect

- โลกเปลี่ยน ทำให้วิธีการจัดการคนเปลี่ยน เราจะใช้โอกาสนี้อย่างไร

3. ความสามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีความสำคัญมากกว่า IQ ปรับตัวได้หรือไม่ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า เปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาสได้หรือไม่ หรือทำเรื่องแฟชั่น อย่างเป็นธุรกิจ Green Area วิธีการรับคนดูจาก Attitude มาก่อน

สิ่งที่บ่งบอกจะเป็นอย่างไรในการ Recruit คน ให้นำกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นในธุรกิจจริงมาเป็นโจทย์ แล้วให้ใช้เวลา 10 นาที ไปหาทางออก

คน กับศักยภาพธุรกิจสัมพันธ์กัน สร้างคนใช้คุณค่ามากน้อยแค่ไหน

องค์กร 4.0 มี Impact ใหญ่อยู่ 6 Impact

Megatrends Impacting Organization กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง

1. Speed of Innovation

2. Hyper Connectivity คือการเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสาร

3. Social Movement จะพบว่าใน 5 ปี สิ่งที่หายไปมาก

4. Complexity of Growth ถูกวัดด้วยคุณค่าทางสังคมหรือไม่

5. Sustainable Enterprising

6. Changing Lifestyle การเปลี่ยนแปลงเรื่องการจ้างงานเยอะมาก คนดูที่สินค้าหรือบริการ แต่ดูที่ Solution

คุณค่าธุรกิจ มีเรื่อง Share of Heart และ Share of Valet เช่น หลุยส์วิตตองส์

สิ่งที่มาดูคือ

1. กระบวนการได้เปลี่ยนไป 4.0 หรือไม่ มีการสร้าง Networking เพื่อไปสู่เป้าหมายมากขึ้น มี Digital หรือไม่

โมเดลประเทศไทย 4.0

ทำอย่างไรให้ธุรกิจนอกจาก Innovation สร้าง Value ด้วย

- จาก Internet of Things ไปสู่ Internet of Value

- การเคหะ กำลังขาย Solution บางอย่าง คือคุณภาพชีวิต อย่างที่เขาใหญ่ขายสมดุลของชีวิต

- สิ่งที่ควรทำคือการขาย Solution ให้กับลูกค้า ต้องคิดมากกว่าของ Product หรือ Service ในการบริการ

ปัจจัยในการขับเคลื่อนองค์กร 4.0

  • การเปลี่ยนแปลงเร็วและไว
  • คนที่มีศักยภาพคือมีความแตกต่าง แล้วดึงมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

2.โลกาภิวัตน์

ธุรกิจที่สำคัญอยู่ที่คน คือการสร้างความแตกต่างเพื่อให้คนยั่งยืน

4.นวัตกรรม

5. ธรรมาภิบาล

สิ่งที่ทำคือ มีความเร็ว (Faster) ดีกว่า (Better) และคุณค่า (Cheaper) ที่มากกว่าหรือไม่

หลักการวางแผนกำลังคน

ใช้หลัก 5 : 4: 3

คือ Productivity คือ 5 ให้แรงจูงใจเท่ากับ 4 คน และจ้างคนเท่ากับ 3

เป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานมากขึ้น ใช้คนเท่าเดิม และคนในองค์กรจะถูกปลูกฝังให้คิดบวกตลอดเวลา คือถ้าทำไม่ได้จะมีวิธีการอะไรให้ไปถึงตรงนั้น

องค์กรจะไม่พูดถึงปัญหา แต่จะพูดถึงความท้าทาย จะไม่หาว่าใครทำ แต่สิ่งที่ทำให้เกิดปัญหาคืออะไร แล้วป้องกันไม่ให้เกิดปัญหานั้น

Tangible & Intangible

การเคหะฯ ต้องมองในอนาคตว่าจะขายอะไร สิ่งนั้นคือสิ่งที่จะตอบโจทย์ เพราะคนจะซื้อไม่ซื้อเพราะ Product แต่ซื้อเพราะ Solution

คนมีข้อมูลหมดเลย แต่ความจริงคือข้อมูลได้วิเคราะห์หรือไม่ จะฝึกอย่างไรให้คนมีวิจารณญาณในการวิเคราะห์

การจัดการทุนมนุษย์เกี่ยวกับอะไร

1. คุณค่าคนกับคุณค่าทางธุรกิจแยกกันไม่ได้

2. ศักยภาพคน

3. ความหลากหลาย

คุณค่าทางธุรกิจมี 3 ระดับที่สำคัญคือ

1. Value Added

2. Value Creation

3. Value Diversity

เช่น น้ำข้าวมาขาย Story มากขึ้น ยางพาราไปสร้างที่นอน แล้วมีการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ

Business and HR Grid

1. กลับบ้านเก่า

2. กินบุญเก่า

3. ความยั่งยืน

4.???

ถ้ามีคนที่มีความสามารถและศักยภาพสูงจะสามารถเคลื่อนองค์กรให้เติบโตได้

คน-องค์กร-มูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ

มูลค่าธุรกิจจะอยู่ที่บวกหรือลบอยู่ที่คน

มีวิธีการจัดธุรกิจเพื่อการบริหาร มีการบริหารคนอยู่ 2-3 Track ในองค์กร ต้องให้หยุดเดือนรอมดอน และเมื่อหยุดแล้วต้องจ่าย และต้องจ่ายเพิ่มอีก 1 เดือน เพราะถือว่าเป็นการทำงาน

1.คน

- ความหลากหลายของคน

- ทักษะ ทัศนคติ ความรู้

- Engagement

- Empowerment

- เป้าหมายในการทำงาน

2. องค์กร

- Vision ขององค์กร

- วัฒนธรรมองค์กร

- ระบบงาน

- โครงสร้าง

- แรงจูงใจ

- เทคโนโลยี

3. มูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ

- นวัตกรรม

- ROI

- Productivity

- CSR

- คุณภาพสินค้าและบริการ

การพัฒนาคน

1. ความรู้

2. ความคิด

3. จินตนาการ

การสร้างความรู้ในปัจจุบันมีมากหาได้หมดจากหลายที่ องค์กรส่วนมากยังมุ่งที่พัฒนาความรู้ก่อน เนื่องจากง่าย แต่สิ่งที่เราควรพัฒนามากกว่าคือความคิด และจินตนาการ

กระบวนการสร้างความคิดไม่ง่าย แต่มีความสำคัญ

การจินตนาการให้คิดแบบเชิงกลยุทธ์ พบว่ามีรถที่ไม่มีคนขับออกมาได้ หรือการทำรถที่ไม่มีล้อแต่บินได้

การทำตลาดปัจจุบันไม่สามารถทำแบบ Mass อีกต่อไปเนื่องจากไม่ตอบโจทย์ลูกค้า ลูกค้าต้องการลักษณะเฉพาะ เลือกพื้นที่ก่อนแล้วนำแบบไปลง ขาย Solution อาทิ ที่พักต้องถูกหลักฮวงจุ้ย แต่ละหลังราคาแพง แต่สามารถขายได้หมด

สรุปคือ ตลาดเป็นเรื่องของ Fragmentเป็นเรื่องของเล็กๆ ที่ตอบโจทย์ ไม่ใช่ใหญ่ ๆ จำนวนมาก ตัวอย่างเช่น แนวโน้มของอสังหาริมทรัพย์จะเข้าไปสู่ Fragment Market มากขึ้น การเชื่อมโยงมากขึ้น เป็น Internet of Value เป็นการสร้างคุณค่าและมูลค่าผ่าน Platform Internet มากยิ่งขึ้น

โจทย์คือดูวิธีคิดว่าคิดบวกหรือไม่

สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนคนเปลี่ยนอย่างไร

การพัฒนาคนต้องไปดูว่าจะบริหารและพัฒนาตัวเองเรื่องอะไร ต้องตอบโจทย์แบบไหน เป็นการสร้างวัฒนธรรมให้คนจัดการด้วยตนเอง ถ้าทำได้จะมี Impact ที่สำคัญมาก

ถ้าจัดการงานตัวเองไม่ได้ จะจัดการองค์กรได้มากน้อยแค่ไหน ปัญหาที่เจอคือคนมีหลาย Generation ต้องทำให้ได้ ไม่ใช่เรื่องที่องค์กรป้อนให้หมด แต่ต้องขวนขวายและบริหารจัดการ เพราะเรากำลังก้าวไปสู่ Global Supply Chain

สิ่งที่สรุปคือ Employee Self Management คือหัวใจสำคัญ 4.0 ต้องจัดการตัวเองได้ จัดการงานได้

ความเป็นมืออาชีพ

1. คิดแบบเด็ก – ความคิดสร้างสรรค์

2. ทำแบบวัยรุ่น – ทำทันที

3. พูดแบบผู้ใหญ่ – พูดแบบมีหลักการมีเหตุ มีผล

สรุป การเลือกในปัจจุบันต้องเรื่องวิธีคิดในการทำธุรกิจ เพราะธุรกิจคือ Faster Better Cheaper

การแสดงความคิดเห็น

1. ปัญหาคือไม่นำความจริงมาพูดกัน เลยไม่แก้ปัญหาตรงจุดแท้จริง

ตอบ มาจากวัฒนธรรมของคนไทยที่อะลุ่มอล่วย เกื้อกูลกัน ซึ่งถ้าสร้างวัฒนธรรมให้พูดจริงจะช่วยแก้ปัญหามาได้ แต่อย่าสร้างว่าอย่าพูดว่าใครเป็นคนผิด แก้อย่างไร เพื่อให้เกิดปัญหานี้อีก และใครต้องรับผิดชอบ ต้องไม่บอกว่าทุกอย่างเป็นปัญหา มองว่าเป็นความท้าทาย คือสร้างวัฒนธรรมในการทำงานในการแก้ปัญหาอย่างไร และไม่ให้เกิดในสิ่งเหล่านั้นซ้ำ

2. การประเมิน มีการพัฒนาเครื่องมือมาโดยตลอดเพื่อให้ผู้ใช้มองว่ามีความเที่ยงตรงและยุติธรรม เป็นวัฒนธรรมจริง ๆ แต่ไม่ได้หยุดที่พัฒนา

3. วิธีที่ Google รับคนเข้ามาอาจเปลี่ยนแนวคิดในระบบสังคมไทยเปลี่ยนวิธีคิดมาแบบ Google คนในยุคที่เป็นผู้บริหารระดับสูง มีมุมมองและประสบการณ์ว่าใช้แบบนี้ ในขณะที่ Gen Y มองอีกแบบหนึ่งซึ่งไม่ Balance กัน จะมีวิธีการอย่างไร

ตอบ มีการจัดเสวนาในการคุยกันในหน่วยงานทุกอาทิตย์เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน และเมื่อเข้าใจมากขึ้น การทำงานจะเริ่มดีขึ้น มีอยู่แต่ค่อยๆ ลดระดับคือคุยกันได้มากขึ้น

สุดท้ายคือคนเริ่มคุยมากขึ้น กล้าเสนอมากขึ้น กล้าเปลี่ยนมากขึ้น ทุกคนต้องร่วมมือไปถึงเป้าหมายนั้นร่วมกัน มีการประเมินออนไลน์กับลูกน้อง ก็ได้ผลค่อนข้างดีเนื่องจากคุยมาระดับหนึ่งแล้ว อาจมีวิธีการให้มีการกระจายคนให้คุยกันมากขึ้น

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เมื่อโลกเปลี่ยน เราต้องเปลี่ยน ผู้ใหญ่กับเด็กดูแลใครมากกว่ากัน วิธีการวิเคราะห์แนวโน้มเปลี่ยนไปแล้วหลายอย่าง ในระบบราชการต้องมี Creation ที่ต้องปรับกับภาคเอกชนให้ได้ ให้มีการประเมินองค์กร 6 ข้อคือ

1. Speed of Innovation

2. Hyper Connectivity

3. Social Movement

4. Complexity of Growth

5. Sustainable Enterprising

6. Changing Lifestyle

แสดงถึงว่า ทุกวิชาสอดคล้องกันทั้งหมดคือเรื่องตรงความจริง มีเรื่องความยั่งยืน และสุดท้ายเป็นเรื่อง Solution

องค์กร 4.0 ต้องใช้ Digital + Networking ที่เป็นประโยชน์ ต้องจับมือและบวกกับคนที่เก่ง

การพูดเรื่อง 3 V มี Value Added, Value Creation , Value Diversity

Solution ที่พูดเรื่อง Life & Balance

การพูดเรื่อง Productivity เรื่องแรงจูงใจและใช้คนไม่มาก

มีการประเมินสภาพแวดล้อม ที่พูดเรื่องสังคมผู้สูงอายุ เด็ก และมาสู่การเพิ่มมูลค่าและคุณค่าให้ได้แล้วนวัตกรรมจะตามมา

ให้วิธีการประเมินผล และเลือกกลยุทธ์ให้คนและองค์กร และเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจเป็นอย่างไร เราต้องพัฒนาให้ตัวเราเองเป็น Professional ซึ่งการเคหะฯ พูดเองว่าต้องการพัฒนาการเคหะฯ เป็นมืออาชีพ

ขอให้ทุกคนเป็น Best Version ของตนเอง


Learning Forum & WORKSHOP

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

: นำเสนอบทเรียนจากหนังสือดี ๆ เกี่ยวกับ การบริหารเชิงกลยุทธ์และการปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ

ร่วมวิเคราะห์และให้ความคิดเห็นโดย

โดยศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

<p “=””>ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

</p>

(สรุปการบรรยายโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

กลุ่มที่ 1The Five Messages Leaders Must Manage(John Hamm)

5 เรื่องสำคัญที่ผู้นำต้องสื่อสารในองค์กรได้ดี

3 เสาหลักองค์กร

1. คน

2. งาน

3. การสื่อสาร

องค์ประกอบของการสื่อสาร

ผู้ส่งสาร (ใคร) สาร (กล่าวอะไร) สื่อ(ช่องทางใด) ผู้รับสาร (ถึงใคร) ข้อมูลป้อนกลับ (ผล Feeback) เป็นอย่างไร

1. โครงสร้างและสายการบังคับบัญชา

ของการเคหะฯ เป็นรูปทรงปิรามิดจากระดับสูงมาล่าง

สะท้อนให้เห็นผู้มีอำนาจ มีกระทบผู้ปฏิบัติงานบางคนที่ต้องเปลี่ยน Size งาน ต้องมีการแถลงที่ชัดเจน ให้ทุกคนทราบ เน้นเรื่องการอธิบายในการปรับโครงสร้างให้ใช้ผลประโยชน์

2. การเงิน

มีการตั้งเป้าหมายไว้ และกำหนดวิธีการเพื่อให้พนักงานดำเนินการตามนั้น

เป็นลักษณะ Post Finanace และจัดประโยชน์ให้ชุมชน มีการสื่อความหมาย วิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ

3. ความรู้สึก

ของผู้นำที่มีต่อตนเอง ผู้นำต้องเป็น Role Model มีบทบาทในการกระตุ้น แสดงความชัดเจน เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิด 3 V

4. เวลา

ผู้นำต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญงาน วางแผน ตั้งเป้าหมายและลงมือทำ

5. วัฒนธรรมองค์กร

เสริมสร้างให้พนักงานมีการปฏิบัติงานที่ดี

ร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่มที่ 2

ขอเพิ่มช่วงของ Rhythm คือจังหวะในการสื่อสารต้องดูว่าจังหวะที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่าง ๆ ในการสื่อสารด้วย อีกเรื่องการสื่อสารดูที่จุดหมายขององค์กร ผู้สื่อสารต้องเข้าใจว่าองค์กรจะเดินทางไปทิศทางใดเพื่อเดินไปถูกทาง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เราต้องนำไป Apply กับวัฒนธรรมองค์กรของการเคหะฯ แต่ละท่านต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่ เราใช้ Chira Way หรือ World Coffee Shop ต้องวิจารณ์แบบนี้ว่าเหมาะสมกับการเคหะฯ หรือไม่

เคยไปสัมภาษณ์ที่ IRPC มีตัวละครอยู่ 3 ตัวคือ CEO ถ้าเป็น CEO ใหญ่ต้องนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ ยกตัวอย่างถ้าเป็น CEO จะพูด 4 อย่างคือ Where are we? Where do we want to go? How to do it? How to do it successfully?

การมีโครงสร้างองค์กรต้องไปตอบเป้าหมายขององค์กร

ยกตัวอย่าง ที่อาจารย์ไกรฤทธิ์ และอาจารย์พงษ์ชัยพูดว่า ถ้าจะปฏิรูป ต้องปฏิรูป Vision และ Mission ต้องโยงว่าองค์กรการเคหะฯ ยุคต่อไปจะไปไหน

ถ้าเราวิเคราะห์ให้ดี มีเรื่องอื่นด้วยที่เหมาะสมในการเคหะฯ

ต้องอ่านก่อนว่าบทความปีไหน อ่านแล้วต้อง Critical กัน ให้ดูว่า 2 R’s ที่การเคหะฯ มีอยู่ที่ไหน

วัฒนธรรมองค์กรต้องมีส่วนร่วมให้คนการเคหะฯ มีความเป็นเลิศ ผู้นำต้องเป็นแบบ Servant Leadership ไม่ใช่ Command and Control

การวิเคราะห์แบบนี้จะทำให้เราเรียนรู้มากขึ้น มีประโยชน์ต่อสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างไร คือเป็นความจริงอยู่ และ Relevance อยู่หรือไม่

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่อาจารย์วิเคราะห์ถือเป็นบทเรียนที่ดีโดยส่วนตัวยังไม่ได้พูดถึงเนื้อหาของหนังสือ ในการดึงมาคือดึงมาเปรียบเทียบ โดยยังไม่ได้คิดไปไกลมาก

เรื่องที่นำเสนอ 5 เรื่องขาดเรื่องที่สำคัญมากคือเรื่องของ Trend และสภาพแวดล้อมที่มากระทบการเคหะฯ เช่น คน รัฐ ลูกค้าต้องการอะไร

เรื่องเอกชนที่ต้องแตะมือกัน มีการเป็นหนังสือยุคเก่า

เรื่องการจัดการเวลา ในปัจจุบันต้องทำเวลาไหนก็ได้

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

1.เรื่องโครงสร้างหรือ Hierarchy นี้ CEO ต้องพูดให้ชัดและสร้างให้เข้าใจว่าไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ในทางปฏิบัติต้องเคลียร์และชัดเจน ถ้าปล่อยให้พนักงานรู้สึกจะทำงานแบบ Work in fear

2. Financial Result สะท้อนไปถึง Performance

3. งานของ CEO คืออะไร หน้าที่คือฟังว่ามีความเห็นอะไรบ้าง แล้วเสนอขึ้นมา

4. Time management เป็นเรื่อง Sense of Urgency

5. Corporate Culture ต้องเน้นมาก ๆ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่ต้องสร้างแบรนด์

มีความคิดเร่งด่วนต้องวิ่งทำงาน ให้สมมุติว่าถ้าเป็น CEO แล้วเป็น Town Hall ของการเคหะฯ จะส่ง Message อะไรที่ทำให้ทันสมัย

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

เรื่องสื่อเป็นพลังที่สำคัญ สิ่งที่ Advance ไปคือจาก Internet ไปสู่ Intranet จะดึงเอา Excellent คน ไปสร้าง Branding และสื่อสารภายนอกให้เข้าใจซึ่งกันและกัน ต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร แล้วเรา Branding อย่างนี้ไปแก้ไข Solution

พลังของการสื่อสารต้องมี Strategy แล้วต้องตรงประเด็น ความจริง คือความจริง ตัดความไม่ถูกต้องออก แล้วไปสู่ Relevance แล้วนำไปแก้ปัญหาในองค์กรได้

กลุ่มที่ 2 The Necessary Art of Persuation

การโน้มน้าวใจผู้อื่น

ความหมาย คือการเปลียนแปลงความเชื่อ ค่านิยมให้เหมาะสมจนกว่าจะยอมรับการเปลี่ยนแปลงตามผู้โน้มน้าวต้องการ

สิ่งที่ทำให้ไม่สำเร็จ

1.การทำให้คนอื่นเห็นด้วยกับแนวความคิดของตนเอง ด้วยการพูดซึ่ง ๆ หน้าหรือบีบบังคับ

2. การไม่ยอมประนีประนอม

3. การเข้าใจผิดคิดว่าการนำเสนอยอดเยี่ยมเพียงพอต่อการโน้มน้าวใจ

4. คิดไปเองว่าการโน้มน้าวใจเป็นการกระทำครั้งเดียวจบ

ขั้นตอน

1. สร้างให้ผู้อื่นเชื่อถือ รู้จักหาข้อมูล สอบถาม การพูดคุยขอคำชี้แนะจากผู้สูงอายุ หรือผู้เกษียณอายุ

2. การเข้าถึงผู้ที่น่าเชื่อถือ เช่นที่ปรึกษา การเสริมสร้างความรู้จากผู้เชี่ยวชาญ

4. การสนับสนุนสื่อจากภายนอก มาปรับใช้กับการเคหะฯ

5. การทำการทดลองนำร่องตั้งแต่โครงการเล็กจนเป็นตัวอย่างชัดเจนที่สร้างความน่าเชื่อถือ

การเลือกใช้คำพูดให้เห็นประโยชน์ร่วมกัน

1. คนที่พูดโน้มน้าวไม่เก่ง ต้องแสดงให้เห็นถึงจุดยืนชัดเจน

2. เห็นถึงเป้าหมาย และประโยชน์ที่ได้รับ

3. การนำเสนอข้อมูล หลักฐานชัดเจน เชื่อถือได้

4. ความเกี่ยวโยงทางอารมณ์ ความรู้สึก ต้องรับรู้ได้เร็ว และรู้ถึงสภาวะอารมณ์ ของคนที่ต้องการโน้มน้าวใจ ไม่นำอารมณ์มาเกี่ยวข้อง การแสดงออกจะไม่ทำให้เกิดผลดี

การใช้อำนาจจะอันตรายหากนำมาใช้ผิดวิธี สามารถดึงผู้คนรวมกันได้ ผลักดันแนวคิดไปข้างหน้า จัดการการเปลี่ยนแปลงได้

ร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 3

เรื่องการโน้มน้าวใจดีมาก ๆ คนพูดต้องใช้ศิลปะ ส่วนผู้ที่จะโน้มน้าวต้องดูด้วยว่าเขามีความพร้อม มีเป้าหมายอย่างไร อาจใช้โค้ชชิ่งเป็นระยะ ๆ ครั้งที่ 1 อาจไม่ได้ผล อาจใช้ครั้งที่ 2

การทำให้ผู้อื่นดำเนินการตามที่คาดหวัง ต้องเตรียมข้อมูลที่จะนำมาตามที่กำหนด ศึกษา และหาข้อมูลเพิ่มเติม มีการกำหนดเป้าหมายองค์กร ที่จะสำเร็จมีประเด็นใดบ้าง และต้องสื่อสารเป้าหมาย เพื่อสร้างให้เขาเข้าใจ เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จ ประเด็นคือมีการเตรียมความพร้อม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เรื่องเทคนิคมาก ในยุคใหม่ต้องพูดความจริง แสวงหาจุดร่วม เสนอความต่าง มีศิลปะในการนำเสนอ

การโน้มน้าวจิตใจคน กาลเทศะ และบรรยากาศเป็นเรื่องสำคัญ

การสื่อสารต้องมีศิลปะในการถาม 2 ทาง ใช้ทักษะการโน้มน้าว การยอมรับว่าสิ่งที่เราโน้มน้าวเปลี่ยนแปลงได้

การโน้มน้าวเรื่องใด เรื่องหนึ่ง จะไม่บอกคิดแบบนั้น แต่ยกตัวอย่างข้างนอก แต่เป็นเรื่องจริงให้เขาไปคิดต่อเอง

การโน้มน้าวจิตใจคนไม่ใช่รบชนะในครั้งเดียว แล้วพร้อมให้คนอื่นโน้มน้าวได้ แล้วจะชนะทั้งคู่

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ยกตัวอย่างใน Google จะมีการประชุมน้อย มี Informal มาก อยากให้การเคหะฯ ใช้ Informal มากขึ้น

เวลามีประชุมที่ตึงเครียด การออกไปคุยข้างนอก พักผ่อน หรือ Retreat จะดีมาก อยากให้กลับไปดู 8K’s 5K’s อีกครั้ง

ในประเทศไทยถ้าจะขึ้นเป็นใหญ่ พยายามดูแลเรื่อง Emotional Capital ให้ดี เพราะถ้าเราหลุดเมื่อไหร่จะมีปัญหา

คนเก่งจะมีปัญหาเรื่องการโน้มน้าวจิตใจคนอื่น เพราะคิดว่าพูดแล้วคนอื่นจะเข้าใจ จึงการพูดให้คนอื่นเข้าใจมากกว่าตัวเองเข้าใจ

การปะทะกัน เป็นการปะทะกันแบบหาความรู้ร่วมกัน ต้องเป็นลักษณะ Learn Share Care ไม่ต้อง Repeat การพูด 1,2,3 แต่เป็นการไป Repeat 4,5,6ไม่มีใครเข้าใจการเคหะฯ เท่าการเคหะฯ เอง และไม่มีใครเน้นปะทะกันทางปัญญาเท่า ดร.จีระ ให้นำไปผสมกัน

ต้องเรียนรู้จากความจริง ต้องไม่เรียนแบบดาวกระจาย

เราจะโน้มน้าวให้คน 4 กลุ่มคิดทางเดียวกันได้อย่างไร ซึ่งถ้าการเคหะฯ จำเป็นจะมีประโยชน์มหาศาล ต้องมีนักวิชาการและนักธุรกิจเป็นตัวละครร่วมด้วย

การโน้มน้าวคนต้องพูดถึงศรัทธาซึ่งกันและกัน ต้องทำด้วยความหวังดี แต่ทั้งหมดคือท่าทีของเราต่อบุคคลที่เราจะโน้มน้าว ใช้ทฤษฎี HRDS (Happiness, Respect, Dignity, Sustainability)

Respect & Dignity เป็นประโยชน์มาก เราต้องยกย่องให้เกียรติกัน

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

มองเป็นศาสตร์และศิลปะ คือต้องมีความรู้ที่จะไปคุยกับเขา

คนที่จะไป Persuade ต้องมีความจริงใจ คำพูดที่ใช้ต้องเป็นเราไม่ใช่ฉัน การทำงานต้องเป็นเรา

ด้านศิลปะ เวลาไป Persuade เราต้องเว้นพื้นที่ให้เขาโต้ตอบบ้าง และเมื่อเขา Negotiate ได้ต้องเอาคืน คนที่จะ Persuade ได้ดี คือคนที่เล่าเรื่องบนพื้นฐานของเท็จจริง เรื่องการให้ตัวอย่างชัดมาก เรื่องอารมณ์ ต้องมีความละเอียดอ่อน ต้องไวต่อความรู้สึกของคนที่เราคุยด้วย ต้องจับให้ได้ว่าพูดแล้วฟังอยู่หรือไม่ ต้องทำให้คนที่ทำงานกับเรารู้สึกปลอดภัย

เป็นเรื่อง Learning & Negotiation สรุปคือเป็นศาสตร์รู้เรื่องนั้น รู้ตัวเอง รู้ศิลปะ รู้อารมณ์ รู้สิ่งแวดล้อม ทำแล้วจะเกิด 3 V’s

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ จะใช้ทุนทางความสุข จะรู้สึกถึงความเป็นอิสระในการคิดต่อ เป็นตัวสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีคุณภาพ เห็นความสำเร็จคนอื่นแล้วอยากทำตาม เอา Copy มาวิเคราะห์วิจัย แล้วเกิด Value Added ตอบโจทย์ 4.0

CEO Understanding เสี่ยงต่อการเข้าใจผิดอย่างร้ายแรง คือถ้าผู้นำพูดผิด ดังนั้น ผู้นำต้องมีศาสตร์ และศิลป์ ถ้าผู้นำไม่รู้จริง และไม่มีศิลปะในการพูดจะก่อให้เกิดการล้มเหลวทันที แต่อย่างไรก็ตามต้องลุกขึ้นสู้เพื่อผ่านวิกฤติให้ได้

พูดแล้วจะเกิดอะไรขึ้น พูดแล้วเราจะไปทางไหน อย่าเห็นแต่ความสวยงามอย่างเดียวต้องมอง Confusion ว่ามีตรงไหนบ้าง และให้ Clear Communication ให้ได้ เราจะใช้ทุนความสุขให้เกิดขึ้นในองค์กรและสื่อสารให้ดี

ใช้ Rhythm อย่างเช่น ยามวิกฤติของ Bank ชาติ ห้ามพูดอะไร ให้คนอื่นพูดแทน แบ่งค์ชาติ เขาสร้างเวทีใช้กลเม็ด ให้คนเข้ามาเป็นหัวใจเดียวกัน คือกินเหล้า เล่นเกมส์ เล่นไพ่ หลังเลิกงาน

ใช้กลุ่มเล็ก ๆ ก่อน ทำอะไรอย่าทำใหญ่ เป็นส่วนหนึ่งของระบบการสื่อสารด้วยต้องใช้คนจำนวนหนึ่งเป็นกระบอกเสียง เช่นในหนังสือใช้คน 40 คนก่อนเป็นกระบอกเสียง แล้วมีการปะทะกันทางปัญญา ใช้สนามฟุตบอล สนามเทนนิส เป็นการพูดคุยกัน

กลุ่มที่ 3 พลังอำนาจของการพูด (The Power of Talk)

ในการประชุมเพื่อจะประเมินผลผู้บริหาร สตรีจำนวนมากมายแม้ว่ามีความเก่งได้ถูกคัดออกหมด โดนคัดออกเนื่องจากขาดคุณสมบัติความมั่นใจในตนเอง

มีผู้บริหารบริษัทใหญ่ มองว่า 5 นาทีจะเป็นอย่างไร ใช้หลักในการนำเสนองานได้อย่างมั่นใจ ใครมีความมั่นใจจะเสนองานให้ผ่าน ใครไม่มั่นใจจะคัดออกทันที

เกิดความคิดเห็นขัดแย้งคือ การสื่อสารไม่ใช่การนำมาตัดสินใจได้เสมอไป

ผลการวิจัยในวัยเด็กมีอิทธิพลมาก ทำให้เติบโตมีความมั่นใจ ทำให้ผู้บริหารหญิง มีมุมมองในการที่ผู้ชายเลือกมุมมองตัวเองในการตัดสินใจ

จากการพูดคุยและตัดสินใจด้วยตนเอง พบว่ารูปแบบสนทนา มีอิทธิพลต่อผู้พูด ผู้ฟัง ผู้สนทนา ปัญหาของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ

การสื่อสารพนักงานหญิง การขาดความมั่นใจเกินความเป็นจริง จะมีผลทำให้ด้อย ผู้บริหารที่ดีจะต้องเข้าใจการสื่อสารที่ดีด้วย

รูปแบบการสื่อสาร

การสนทนาที่ดีนั้นต้องใช้วิธีการที่เหมาะสม น้ำเสียง ความเร็ว ความดัง อย่างเช่น การสัมภาษณ์ ต้องมีสติที่จะตอบออกไป

การประเมินผลงานให้เหมาะสมกับบุคลิกคน

การเลือกใช้คำพูด การกล่าวคำขอโทษ

การสื่อสารไม่ใช่ ภาษาสื่อความหมายเท่านั้น แต่รวมถึงวัฒนธรรมด้วย

การพูดจะแตกต่างกันไปตามบุคคลที่สื่อสารนั้นๆ

การใช้กลยุทธ์เพียงเล็กน้อย จะพบว่าผู้ชายชอบใช้คำว่าผม แต่ผู้หญิงจะใช้คำว่าเรา ไม่ต้องยกย่องตัวเอง

ควรสอนให้ผู้หญิงสร้าง Credit ให้ตัวเอง เพราะความจริงเขาจะรู้ว่าเขาเป็นใคร โดยพื้นฐานผู้หญิง ไม่ชอบโอ้อวดตัวเอง ต่างกับผู้ชายที่ชอบยกย่อง โอ้อวดตัวเอง

การตั้งคำถาม

พบว่าคนที่ถามคำถามส่วนใหญ่ คนอื่นมักมองว่าเป็นตัวปัญหา

ประเพณีการสนทนา

ตามวัฒนธรรม เช่นคนอเมริกาชอบถามว่า How are You?

การกล่าวขอโทษ อาจไม่ได้ผิดอะไรแต่เป็นการให้กำลังใจคนก็ได้ ส่วนใหญ่ผู้หญิงชอบขอโทษ แต่ผู้ชายไม่ชอบขอโทษเท่าไหร่

การยกย่องชมเชย

ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงถาม แต่ผู้ชายไม่ค่อยถามเพราะกลัวเสียหน้า

การทำตัวเป็นฝ่ายค้าน ขอโทษ ผ่อนหนักผ่อนเบา

เป็นนิสัยผู้หญิง

อำนาจในการต่อรอง

มาจากการเจรจาต่อรองแต่ละวัน ขึ้นกับอำนาจเจรจาต่อรองผู้บริหารแต่ละคน

การไปพร้อมกับหัวหน้า

ผู้หญิงลักษณะนิสัยไม่ชอบไปกับหัวหน้า ผู้ชายชอบไปกับหัวหน้า ผู้หญิงชอบไปกับลูกน้องมากกว่า

การพูดอ้อม ๆ ส่วนใหญ่ผู้หญิงชอบพูดจาอ้อม ๆ มากกว่าผู้ชาย ต่างกับอเมริกาที่ชอบพูดจาตรงไปตรงมา

สรุปคือ ไม่มีวิธีการใดดีที่สุดขึ้นกับวัฒนธรรมองค์กร สถานการณ์ ผู้พูด ผู้ฟัง กริยาคนฟัง ผู้บริหารต้องพยามพัฒนาทักษะด้านนี้ให้โอกาสเท่าเทียมกันจึงบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การประยุกต์ใช้ เรื่องการพูดคุยและการแบ่งปัน ถ้าจะให้ดีจะใช้เราดีกว่า เพราะคำว่าฉันเป็นการยกย่องตนเองมากกว่า

การถ่อมตนเป็นการลดความมั่นใจ

การแสดงออกถึงความมั่นใจอาจแสดงออกถึงความโอ้อวด

การตั้งคำถามต้องถามอย่างฉลาดเนื่องจากต้องการได้ความรู้ในสิ่งที่อยากรู้

การกล้าขอโทษ แสดงถึงการให้ความสำคัญกับผู้อื่น

พลังอำนาจของการพูดสามารถใช้ในการบริหารงานของการเคหะฯ ได้ ขึ้นกับสถานการณ์และตำแหน่งผู้พูด

สถานที่มีความหลากหลายของแต่ละบุคคล ผู้บริหารต้องเก่งในการอ่านปฏิสัมพันธ์ สามารถปรับวิธีการพูดให้เหมาะสม พูดแล้วต้องสร้างความเข้าใจให้ได้ว่าระบบการทำงานเป็นอย่างไร ผู้ปฏิบัติงานต้องได้รับประโยชน์มากพอ

การเคหะฯ จะกำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินผลงาน การแสดงวิสัยทัศน์จะแสดงต่อผู้บริหาร คณะกรรมการจะพิจารณาบุคคลที่แสดงวิสัยทัศน์ มีมุมมองอย่างไร ทำให้ได้ความรู้ในการปฏิบัติงาน

การมอบหมายอำนาจ ให้ผู้บริหารแต่ละท่านใช้หลักการและเหตุผลในการปฏิบัติงานให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการได้

หากผู้บริหารใช้อำนาจในการบริหารงานจะรู้สึกว่าไม่ให้เกียรติผู้ปฏิบัติงาน

ตัวอย่าง ผู้ว่าฯ มีนโยบายลงเยี่ยมผู้ปฏิบัติภาค แต่ละชั้น แต่ละฝ่าย พูดคุยถึงปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องมีการแก้ไข

พลังอำนาจมีอิทธิพลต่อการพูดทั้งกิริยาและมารยาท

ร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 4

พลังอำนาจในการพูดมีทั้งคุณและโทษ อาจสร้างได้ทั้งขวัญและกำลังใจและการทำลายล้าง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องนี้เน้นพลังในการพูดและสนทนา แต่เรื่องนี้เน้นที่ผู้หญิงที่ว่าองค์กรในต่างประเทศขาดความมั่นใจ จึงทำให้ขาดโอกาสในการก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด

ในการเคหะฯ น่าจะมีการปรับให้ผู้หญิง

ถ้าผู้หญิงขาดความมั่นใจแล้วไม่ทำการฝึกพูดอาจทำให้เสียโอกาสไป ผู้หญิงจึงควรพัฒนาการพูดและฝึก เพื่อสร้างโอกาสให้มากขึ้น

การพูดต้อง ฝึก ฝึก ฝึก และพบว่าผู้หญิงบางคนก็นำเสนอได้ดี

หลักสูตรอันหนึ่งที่ควรจะฝึกคือการฝึกความมั่นใจให้ผู้หญิงแสดงออก และถ้าแสดงออกได้ดีโอกาสที่จะเข้าสู่ตำแหน่งสูง ๆ ที่การเคหะจะมีมากขึ้น

เรื่อง Conversation ไม่จำเป็นต้องมีเสียงอย่างเดียว การไม่พูดจะมีปัญหา เรื่องสีหน้า การเงียบ แล้วไปว่าในห้องน้ำ ดังนั้นเวลาประชุมดูสีหน้าให้ดี บางคนเงียบแล้วโกรธ บางคนเงียบไปเรื่อย ๆ หรือบางคนโพล่งออกมาเลย

ต้องควบคุมอารมณ์ให้ได้ไม่เช่นนั้นจะโพล่งออกมา

ให้การเคหะฯ เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ และใฝ่รู้ เลยอยากฝากไว้ว่าถ้าจะทำอะไรมีคนอีกหลายกลุ่มที่อยากปะทะกันทางปัญญาโดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ต้องการเรียนรู้อย่างนี้จะเป็นประโยชน์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การแสวงหาจุดร่วมผสานจุดต่าง

การสร้าง Crucial Conversation ผู้ชายส่วนใหญ่จะเก่งกว่าผู้หญิง แต่เรื่องการเจรจาต่อรองผู้หญิงอาจเก่งกว่า

ช่องทางการสื่อสารคือ คนกับคน ศาสตร์คือ Content ศิลปะ คือพูดแล้วมีประโยชน์สุขร่วมกันไปด้วยกัน มี Respect มี Dignity และสุดท้ายคือ Sustain

น้ำหนักเสียงขึ้นอยู่กับว่าจะใช้ตรงไหน อารมณ์เสียงในการถ่ายทอด

ความจริงใจเป็นสิ่งที่ดีแต่ต้องดูจังหวะ

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากในห้อง

สิ่งที่พูดนี้เข้ากับทฤษฎี 5K’s ใหม่ของ ดร.จีระได้อย่างดี การแสดงวิสัยทัศน์ในปัจจุบัน 5 นาทีของการเคหะฯ การแสดง 5 นาที ซึ่งไม่สามารถตอบโจทย์ได้ จึงอยากให้นำนวัตกรรมใหม่ ๆ มานำเสนอด้วยภาย 15 นาที หรือเชิญบุคคลภายนอกที่มีความรู้ทางเศรษฐกิจ สังคม มาร่วมด้วย

กลุ่มที่ 4 How to Pitch a Brilliant Idea ทำอย่างไรจะเสนอไอเดียเก่ง ๆ ให้ยอมรับ

เราจะทำให้คนไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคยยอมรับไอเดียเรายากกว่า เป็นการยากคือผู้ฟังจะแยกคนพูดว่าเป็นคนแบบไหน ในลักษณะ Catcher

องค์ประกอบ

งานวิจัยของผู้เขียน

การตัดสินใจของการซื้อในบทภาพยนต์

1. Showrunner

เป็นนักบริหารจัดการที่ดี มีความเป็นมืออาชีพ มีประสบการณ์มาก สามารถโน้มน้าวผู้ฟังมามีส่วนร่วมได้ดี

วิธีการสื่อสารเช่น ผู้นำเสนอเรื่องโรบินฮูด ได้ยกตัวอย่างการแสดงของแต่ละปีเป็นอย่างไร ผู้นำเสนอไอเดียได้เสนอว่า แต่ละส่วนมีข้อดีอย่างไร และจะเริ่มจู่โจมว่า โรบินฮูดที่ทำใหม่จะเป็นอย่างไร เป็นการดึงผู้ฟังเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย

2. Artist

เป็นกลุ่มที่ขายความต่าง ชอบมองต่าง แต่งตัวแนว Artist กลุ่มนี้จะไม่สนใจว่าไปทำได้หรือไม่ คิดว่ามีไอเดียที่เจ๋งแล้ว เป็นกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญด้านความคิดให้ผู้ซื้อบทภาพยนตร์คิดตามเขาไป เขาจะนำเสนอในลักษณะเป็นการเล่าภาพให้ผู้ฟังเห็นภาพ และนำเสนอว่าเป็นจุดเริ่มต้นงาน ให้ผู้รับฟังคิดตามว่าเป็นอย่างไร ในมุมมองของผู้ตัดสินใจซื้อเหล่านี้ ยิ่งผู้เขียนบทขี้อายมากเท่าไหร่ เขาจะไม่กล้าออกสังคม

3. Neophyte

เป็นกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่แสดงว่าหน่อมแน้ม ไม่มีประสบการณ์ ต้องการคนมาช่วยเหลือตนเอง ถ้าร้องขอจะไม่อ้อมค้อม เป็นการให้คนฟังมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ โดยไม่รู้ว่าในมุมมองเขาจะทำแบบนี้แล้วขายได้

กลุ่มที่แม้ความคิดดีแต่ถูกทำลายลงด้วยความไม่ประทับใจ

1. เป็นพวกยอมแพ้อะไรง่าย ๆOK

2. พวกหุ่นยนต์ ทำตามตำรา ไม่ชอบความคิดสร้างสรรค์

3. พวกนักขายรถยนต์มือสอง คือกลุ่มเซ้าซี้ ตามตื้

4. พวกที่ต้องการความเมตตา

ลักษณะของคนฟังที่ขี้ขาด

1. อย่าตัดสินใจว่าเขาเป็นคนแบบนั้นโดยตลอด

2. มีการทดสอบ ความรู้ ความชำนาญ

3. สังเกตคนขายความคิดว่ามีปฏิกิริยาอย่างไร ให้ฟังให้จบก่อน

4. ให้คนเสนอขายความคิด ลองนำเสนอจนขั้นสุดท้าย

การประยุกต์ใช้

Pitcher

1. การเสนอโครงการต่าง ๆ เป็นเรื่องนโยบายและแผนในการต่อรองเจรจาต่างๆ

ฝ่ายวิชาการมีการสนับสนุน มีฝ่ายแผนและฝ่ายการเงินสามารถขายไอเดียได้หรือไม่

2. ฝ่าย Artist จะมีการนำเสนอแบบตรงไปตรงมา

3. ฝ่าย Neophyte ไม่มีประสบการณ์ที่นำเสนอมากนัก

Catcher

1.รีบตัดสินจากตัวผู้นาเสนอ ตามรูปแบบของ Pitcher

2.รีบตัดสินจากข้อมูลที่ยังฟังไม่ครบถ้วน

3.ไล่บี้คนนาเสนอ

Pitcher

1.เป็นตัวของตัวเอง นาจุดเด่นมาใช้ในการนาเสนอ

2.เตรียมตัวให้พร้อม ข้อมูลต่าง ๆ ให้ครบ วิเคราะห์

3.วิเคราะห์ผู้ฟัง ต้องรู้ว่าผู้ฟังคือใคร เป็นผู้ฟังแบบไหน

4.ใช้กลยุทธ์ทำให้ผู้ฟังมามีส่วนร่วม ในการคิดพร้อมกัน

5.รับฟังข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ นามาปรับปรุง

Catcher

1.เข้าใจผู้นาเสนอว่าเป็นคนลักษณะไหน

2.ให้นาเสนอจนจบ ถ้ายังไม่เข้าใจค่อย ๆ ซักถาม

3.ให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ เติมเต็มให้เกิดความสมบูรณ์ หรือแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

ศิลปะในการนำเสนอต้องมี Sense of Humor มาลดความตึงเครียดให้เกิดการผ่อนคลาย มีความจริงใจในการนำเสนอมากขึ้น

ต้องเข้าใจด้วยว่าการนำเสนอเป็นรูปแบบไหน ควรฟังให้จบ และให้ข้อคิดเห็นเชิงบวก

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การนำเสนอในความคิด ดร.จีระ เสนอว่าให้นำมาผสมกันเลย การเคหะฯ เคยนำมาผสมกันหรือไม่ และเชื่อว่าในอนาคตถ้าผู้บริหารใจกว้าง เปิดโอกาสให้ทำ ให้ Empower พลังขึ้นมาด้วย

การเป็นเจ้านายต้องใจกว้าง

การมี Sense of humor เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในการสื่อสาร บางครั้งอาจเปลี่ยนสถานการณ์ได้เลย

ร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่มที่ 1

เรื่องการทำงานและชีวิตจริง ต้องใช้ในศาสตร์และศิลป์ สามารถนำไปปรับใช้กับ Stakeholder และการนำเสนองานต่าง ๆ เราต้องใช้ทั้งศาสตร์ ทั้งศิลป์ ข้อมูลศิลปะการต่อรองในทุกเรื่อง ๆ ต้องบริหารนาย เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชา และ Stakeholder ทั้งหลาย

สิ่งที่กลุ่มที่ 4 นำเสนอมาสามารถนำไปใช้ได้ทุกเรื่อง

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

สิ่งที่ได้รับคือต้องทั้งฝึกฝน จดจำ ผิดถูก และทุกวันจะมีคำถามว่า ทำไมดูแล้วมีความสุข ดูกระจกทดสอบตัวเองว่ายิ้มอย่างไรให้สวย แล้วจำ ใช้เทป เช่นการพูดให้ฟังเสียงตัวเอง เน้น Process คือตัวเราอยากเป็นอะไรต้องฝึกให้เป็นอย่างนั้น คือดีทั้งตัวเอง ครอบครัว และการทำงาน

การเตรียมตัวไป 4.0 เราต้องเตรียมตัวไปข้างหน้าแล้ว การเคหะฯ ต้องเตรียมอะไรกับ 4.0 เราต้องไปที่ Youtube คนที่เป็นแบรนด์ต้องมี 8K’s และ 5K’s ค่อนข้างสมบูรณ์ ทุกคนมีไม่เหมือนกันจะเสริมไปทางด้านไหน และเรื่อง Gap Generation ต้องสื่อสารตรงประเด็นตรงความจริงผ่านไปโครงการ 4.0 แน่นอน

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

กลุ่มที่ทำ Start Up จะมีการแข่งขันทำ Pitching ต้องมีการทำ 1 นาทีเท่านั้น ต้องครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมด ให้เป็นการพูดกระชับ ตรงประเด็น เข้าใจคนฟังคือใคร

1. เป็นตัวของตัวเอง

2. ซ้อม ฝึก ฝึก ฝึก และขอ Feedback จากคนรอบข้าง ใช้สไตล์ของตัวเอง ดูว่าเรามีความเด่นด้านไหน โทนเสียงอย่างไรเพื่อดึงใจผู้ฟัง

สรุปเรื่องการสื่อสารมีความหมาย และเป็น Conversation ที่มีความเป็น Meaningful

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การสร้างสมดุลระหว่างผู้นำเสนอและคนฟัง ต้องหาให้ได้เจอ

กับดักคือ การนำเสนอเมื่อ Catcher ซื้อแล้ว อย่านำเสนอต่อ เพราะถ้านำเสนอต่อจะขายไม่ได้เลย

ในยุคนี้คนบางคนไม่ฟังให้จบ ถ้ามีเวลาต่อถึงให้ Add Value เข้าไป

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

อยากให้แต่ละกลุ่มแชร์กัน ให้Enjoy การอ่าน หรือการฟัง ให้มีนิสัยในการแบ่งปันความรู้กันแล้วนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด


Panel Discussion (3 ชั่วโมง)

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ(บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)

(3 ชั่วโมง)

โดยดร.พยัต วุฒิรงค์

ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนานวัตกรรมแห่งเอเชีย

ว่าที่ร้อยตรีจีรวัฒน์ เยาวนิช

วิทยากรชั้นนำMind Dojo Co., Ltd.

ร่วมวิเคราะห์และให้ความคิดเห็นโดย..

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล


ดร.พยัต วุฒิรงค์

การบริหารธุรกิจในองค์กรในโลกยุคใหม่

โลกปัจจุบันย้ายจากด้าน

West สู่ East

Bib สู่Small

Business สู่Consumer

Mass สู่ Niche

Volume สู่Value

สิ่งที่พบคือ

1. โลกย้ายจากตะวันตกมาตะวันออกมาขึ้น

2. ปัจจุบันย้ายมาเป็น Tech Start Up คือองค์กรเล็กมากแต่เติบโตสูง หมายถึงปีหน้าจะโตกว่าปีนี้กี่เท่า

องค์กรจะเล็กลงเรื่อย ๆ

What’s App มีคน 55 คนทำรายได้ 3-4 แสนล้านบาทต่อปี เท่ากับ SCG เนื่องจากวิธีคิดและการทำธุรกิจต่างกัน
Thailand 4.0

เราจะขายเป็น Value Based ได้อย่างไรเราจะนับ 1 ได้อย่างไร

Innovation Management ไม่ใช่เทคโนโลยี Based แต่ Start Up เป็นTechnology Based

Start Up

1. ธุรกิจจะเริ่มอย่างไร ต้องไปดูที่ Pain คือความเจ็บปวดคืออะไร

ยกตัวอย่างที่มีปัญหาคือ Uber และ Grab Taxi อยู่ระหว่างเจรจาว่าทำอย่างไรให้ Uber ถูกกฎหมาย

Uber หมายความว่าในอดีตคนเรียกแท็กซี่ไม่ได้

Grab เรียกผ่าน Application วิธีการให้แท็กซี่ลงทะเบียน แล้วผู้นั่งรถเรียกผ่าน Application

Uber หมายถึง คนโดยทั่ว

RB&B เป็นตัว Screen เรื่องห้องพักให้เช่าผ่าน Application โดยที่ไม่มีโรงแรมและห้องพักเป็นของตัวเอง เป็นการทำทั่วโลก แล้วสร้างรายได้ขึ้นมา

การเช่าโรงแรมในต่างประเทศ มีการลงทะเบียนให้เขาใช้ห้องเรา

วิธีการคือ ดูว่าลูกค้าต้องการอะไร มีปัญหาอะไร แล้วเราไปทำตรงนั้นเพื่อสร้างรายได้

ยกตัวอย่าง แสนสิริ อนันดา มี Start Up ใครก็ได้ที่พัฒนา Application เพื่อให้คนที่อยู่ในบ้านมีชีวิตสะดวกที่สุด

ทำอย่างไรให้การเคหะฯ มีภาพลักษณ์ที่ดี สะอาด ทุกคนช่วยคิดพัฒนาโปรแกรม

ในเชิง Application หรือ Start Up เขาจะมุ่งหวังให้โตด้วย

Application Food Panda ต่อคิวให้เราแล้วมาเสิร์ฟ เรา สังเกตได้ว่ารูปแบบธุรกิจในอนาคตเป็นแบบนี้หมด

รูปแบบ Application ไม่ต้องมีเงิน แต่จะมีคนให้เงินเอง ถ้าตอบสนอง Consumer ได้ดี

Mass สู่ Niche

ปัจจุบันจะเป็น Niche คือเหมาะกับแต่ละคน คือไม่ใช่ทุกคนได้เหมือนกันหมด แต่ละคนมีอะไรที่ต้องการเหมือนกันหมด

ในอนาคตไม่ใช่ทำแล้วทุกคนได้เหมือนกันหมด แต่จะเหมาะสมกับแต่ละคนเช่น ยาสีฟันสำหรับคนเสียวฟัน

ในอนาคตธุรกิจไม่ต้องขายเยอะ แต่เอา Value ให้เยอะ

อะไรที่เพิ่มคุณค่าได้ ทำ Package ให้เจ๋งขึ้น

ยกตัวอย่างทำอย่างไรให้คนที่มาจากต่างประเทศต้องมาจตุจักร กำลังปรับคือ ให้มี Landmark Share

จะทำอย่างไรให้คนมาเดินมากขึ้น

Game Changing

ในอดีตคนที่จะขึ้นเครื่องบินต้องเป็นระดับ Hiso ในปัจจุบันคนที่เป็นเจ้าของ Air Asia ซึ้อเครื่องบินมาจากมาเลเซีย 2 ลำ ตั้งกลยุทธ์ว่าทำอย่างไรจะขายทั่วโลก จึงตั้งแนวคิดใหม่

1. Everyone can fly

ถ้าจะให้ทุกคนบินได้จะทำอย่างไร คือตัดทุกอย่างเพื่อทำให้บินเร็วขึ้น จึงตัดทุกอย่าง เช่นอาหาร

แต่สิ่งที่นกแอร์เจ๋งเนื่องจากคิดแบบ Air Asia แต่ยังทำแบบการบินไทยอยู่จึงทำให้นักบินลาออก และเครื่องบิน Delay

2. การทำทุกอย่างอยู่บน Mobile หมด คนจะรู้สึกสะดวกมากขึ้น ยอมเสียเงินใน Application

3. Alibaba ในอนาคตการทำธุรกิจจะเปลี่ยน อย่าง Alibaba เป็นการซื้อขายที่ทำให้สิ่งของทุกอย่างในโลกเปลี่ยนไปทำให้ Alibaba เข้าตลาดหุ้น NewYork และทำราคาสูงที่สุด

4. ในอนาคตคนมีความหลากหลายมากขึ้น ไม่สามารถคิด 1 ผลิตภัณฑ์ที่ทำในนี้ได้ Application ต่าง ๆ สามารถ Screen ได้ว่าคนมีกี่กลุ่ม

แสนสิริเปิดคอนโดฯ ตารางเมตรละ 5 แสน 8 หมื่นบาท ที่ขายถูกสุดคือ 30 ล้านบาท แพงสุดคือ 650 ล้านบาท สิ่งที่เจอคือคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน มีวางสิทธิพิเศษไว้มากมายบน Niche บน Telemate ของแต่ละคน

5. ไม่ Copy ว่าอะไรดีที่สุด แต่ละเลือกแล้วเป็นแรงบันดานใจให้เจ๋งกว่า ดีกว่า ถูกกว่า

6. เซี่ยงไฮ้ปัจจุบันคือ Copy แล้วทำให้ดีกว่า ในอนาคตอันใกล้จะทำ Development โดยไม่ Copy ยกตัวอย่างมือถือ Huwei และไฮ่เอ๋อ

เมืองไทยไม่อยากเป็น OEM แต่สิ่งที่เกิดคือเมื่อ OEM ขึ้นค่าแรงแล้วย้ายฐานการผลิต ในอนาคตจะย้ายฐานจากไทยไปเวียดนามมากขึ้น พบว่าอาหารญี่ปุ่นมากสุด รองลงมาเป็นเกาหลีไทย และ เวียดนาม

กรณีศึกษาเรื่องนวัตกรรม

1. ทั่วโลกจะบอกว่านวัตกรรมเป็นมากกว่าสินค้าและบริการแล้ว แต่นวัตกรรมคือทุกอย่าง การจัดการที่ดี คนที่ดี วิธีการตลาดที่ดีก็เป็นนวัตกรรม ทุกอย่างมีนวัตกรรมหมด วิธีการตลาดที่ใหม่ที่สุดในโลก

2. นวัตกรรมให้ดีต้องมีความร่วมมือกับคนข้างนอก วันแรกที่เข้างานอย่างไร วิธีการที่เร็วขึ้นคือเปิดให้คนคิด เช่นเรื่องระบบที่จอดรถ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แล้วเราก็สนับสนุนบางส่วน

3. ให้คนอื่นคิดว่าอยากทำอะไรให้การเคหะฯ ดีกว่านั่งคิดเองเพราะคิดยากมาก แล้วเรามาหาวิธีให้เป็นไปตามนั้น

4. นวัตกรรมต้องเริ่มจากระดับ Top เสมอ เพราะไม่สามารถบอกให้ระดับล่างไปคิดได้ ต้องเริ่มจากระดับบนหาวิธี

กรณีศึกษาในประเทศเอเชีย

Samsung ,Omron(ตรวจเลือด ความดัน) , Panasonic

สิ่งที่ค้นพบ 5 บริษัทสำคัญ แปลงเป็น 5 เรื่องคือปรับปรุงงาน

1. เหตุผลที่ทำให้เขาอยากอยู่ในธุรกิจ

2. ประวัติศาสตร์

3. Inspiration Leader

4. Customer Centric ลูกค้ามีปัญหาอะไร มี Pain อะไร เราต้องรู้ให้ได้

5. Innovation Ecology

ยกตัวอย่าง Panasonic (จากประเทศญี่ปุ่น)

มีนิยามในการสร้างสิ่งดี ๆ ให้กับสังคมสงบสุข เขาคิดว่าต้องทำ True Business ผ่าน Activity ต่าง ๆ ที่ทำให้คนมีความสุข

ประวัติศาสตร์ ได้มีการพัฒนาคนก่อนที่จะคิดสินค้าออกมา หมายถึงให้คนในองค์กรพัฒนาสินค้าที่ดีออกมา ทำให้เกิดสินค้าที่เป็นไปได้แล้วดีที่สุด

ผู้บริหารทุกคนมีหน้าที่ในการสื่อสารอย่างต่อเนื่องอย่างการเคหะฯ บอกว่าจะทำอะไร

เราต้องดูว่าทำไมต้องอยู่ แล้วประวัติศาสตร์เป็นอย่างไร มีการสื่อสารต่อเนื่องหรือไม่

People before Product

The Human Factor in Business

สิ่งที่สนใจคือลูกค้าต้องการอะไร แล้วมาพัฒนา แล้วไปสู่วิธีการใหม่

การสร้างบรรยากาศในการทำงานให้มีสีเขียว ต้นไม้

Samsung (อยู่ที่เกาหลี)

เขียนไว้ว่าเราจะอุทิศชีวิตทั้งหมดให้คนของเรา ประเทศของเรา เพื่อสร้างสินค้าบริการให้สูงกว่า ดีกว่าเดิม

ทุกคนจะมีประวัติศาสตร์และรวบรวมประวัติศาสตร์นั้น เป็นสิ่งที่ต้องสร้างขึ้น

Change begin with me ทำอะไรต้องเริ่มต้นที่ตัวเองก่อน ไม่ใช่ว่าคนเก่งจะอยู่ได้ เพราะบางครั้งใหญ่เกินความสามารถของเรา บางอย่างเขารู้อยู่แล้วว่าปัญหาคืออะไรแต่ไม่ยอมแก้ไขเอง

สิ่งที่ทำได้คือต้องเปลี่ยนแปลงตัวเอง

Customer Centric พบว่า Sumsung มีขนาดที่หลากหลายมากกว่า Apple จะรู้ว่าก่อนที่จะผลิตมาก ๆ จะทำอย่างไร

หัวใจขององค์กร

Inner Drive สู่ NHA Innovation Spirity

1. Reason for Being ต้องรู้ว่าทำไมการเคหะฯ ต้องอยู่ ต้องทำให้เห็นก่อน

2. Values & Heritage ค่านิยมเป็นอย่างไร มีค่านิยมหลักที่ต้องยึดมั่น ถือมั่นตลอดไป

3. Inspiration Leader ผู้บริหารมีกำลังใจหรือไม่

4. Customer Centric ลูกค้าทำอะไรไม่ใช่เราอยากทำอะไร หมายถึงลูกค้าทำอะไรเพื่อเราได้บ้าง เราเป็นแค่ Facilitator เราไม่ใช่คนที่ทำ Compliment เราต้องหาว่าพวกเขาต้องการทำอะไรให้ดีขึ้น

5. Innovation Ecology คืออะไรที่ไม่ใช่สินค้า บริการ กระบวนการ แต่คือทุกอย่าง ทำให้ทุกอย่างในองค์กรเชื่อมต่อกัน

Where we are now

ทุกอย่างเริ่มที่ตัวเรา


ว่าที่ร้อยตรีจีรวัฒน์ เยาวนิช

เครื่องมือในการสร้าง Innovation คืออะไรและมีรูปแบบอย่างไร

1. ทำไมต้องเป็น Innovation

Thailand 4.0

จาก 1.0, 2.0 ,3.0 สิ่งที่เกิดขึ้นคือ มีคนรวย คนจน และกับดักรายได้ปานกลาง

เราต้องขับเคลื่อนด้วยเศรษฐกิจนวัตกรรม

นวัตกรรม

นวัตกรรม คือ 1. สิ่งใหม่2. เพิ่มมูลค่าและคุณค่า

- แต่ไม่จำเป็นต้องใหม่หมดเลย สามารถหยิบยืมมาจากที่อื่นได้

- สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น

- พลิกโฉม

ยกตัวอย่าง ไอเดียที่นำมาสร้างนวัตกรรม

- ซูชิ ได้ไอเดียมาจากสายพานกระเป๋า

- อุตสาหกรรมรถยนต์ที่เป็น Assembly Line ได้แนวคิดจากอุตสาหกรรมฆ่าสัตว์

- ร้านอาหาร Drive True ได้ไอเดียมาจากอะไร การแข่งรถฟอร์มูล่าวัน ที่ไม่ต้องลงจากรถ แล้ว

- โครงการแก้มลิง มาจากลิง

นวัตกรรมไม่ใช่ Creativity หรือสิ่งประดิษฐใหม่ ๆ หรือเทคโนโลยี

แต่เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือสำคัญที่สร้างคุณค่าให้กับคน ให้กับโลกได้

เราจะมีวิธีการใดที่สร้างนวัตกรรมให้กับองค์กร

1.กระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking

1) ต้องเข้าใจลูกค้า อะไรคือ Pain Gain

2) ตีโจทย์ สิ่งที่ทำให้เป็นไปตามที่ต้องการ

3) ระดมความคิด

4) สร้างต้นแบบ

5) ทดสอบ Testing

การคิดไอเดียให้เน้นที่ลูกค้าหรือคน

ทำไมการคิดนวัตกรรมต้องเป็นโมเดลของ มหาวิทยาลัย Stanford เนื่องจากอยู่ที่ Silicon Valley นักศึกษาเอาไอเดียที่มาใช้อยู่ที่นี่

1. Empathize เข้าใจลูกค้า

- การนำใจเขามาใส่ใจเรา คือการเข้าหา การถามลูกค้ามีดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เพราะ 1) ลูกค้าอาจไม่บอกความจริงกับเรา 2) ลูกค้าไม่รู้ว่าต้องการอะไร จนกว่าเราจะโชว์สิ่งนั้นให้พวกเขาเห็น

วิธีการคือ

1. สังเกต โดยการคลุกคลี เช่น

- เผ่าเมาคลี กินเหมือนเผ่านั้น

- ให้พยาบาล NHS สวมชุดอ้วนแล้วลองขึ้นเครื่อง

- ยกทรงผู้หญิง ผู้ชายรู้ประโยชน์ของผู้หญิงหน้าอกใหญ่ แต่ไม่รู้ว่าโทษของผู้หญิงหน้าอกใหญ่ เป็นอย่างไร ให้พนักงานสวมตัวถ่วงน้ำหนัก 1-1.5 กก.

2. Define ตีโจทย์

อะไรคือประโยชน์ที่ลูกค้าอยากได้ ต้องคำนึงถึงโจทย์ขององค์กรว่าเป็นอย่างไร

- เป้าหมายขององค์กร

- กลยุทธ์ขององค์กร

- จุดแข็งขององค์กร

- ปัญหาขององค์กร

- ปัญหาของลูกค้า

3. Ideate ระดมความคิด

เราสามารถใช้ Syringe ทำอะไรได้บ้าง ?

การคิดไอเดียบางอย่างให้พูดออกมามาก ๆ ว่ามีคุณภาพหรือไม่ อย่าเพิ่งไปตัดสินไอเดียนั้น ให้เขาคิดออกมาก่อน เพราะยังวัดไม่ได้ว่ามีคุณภาพหรือไม่

สิ่งที่บอกได้ว่าไอเดียดีหรือไม่อยู่ที่ลูกค้า

4. Prototype สร้างต้นแบบ

ต้นแบบจะเป็น Health Land จะเป็นกระดาษ เป็นต้นแบบเริ่มต้นก่อน แล้วถ้าไอเดียที่เราคิดเป็นวิธีการใหม่ ๆ

สิ่งที่ทดลองคือ Role Play ให้ลูกค้าเข้ามาลองใช้บริการ มีติดกล้อง ดูมุมมองจากลูกค้าและต้นแบบ

5. Test ทดสอบ

การทดสอบดูจาก

- ลูกค้าอยากได้ไหม

- ทำได้จริงไหม

- สร้างกำไรได้ไหม

นวัตกรรมมี 10 รูปแบบ

- รูปแบบธุรกิจ

- เครือข่าย Network

- โครงสร้าง

- กระบวนการ

- ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์

- ระบบผลิตภัณฑ์

- การให้บริการ

- ช่องทาง

- แบรนด์

- การสร้างความผูกพันกับลูกค้า

ทั้ง 10 นวัตกรรม สามารถสร้างนวัตกรรมได้

คุณจะสร้างกำไรอย่างไร

กำไรมาจากรายได้ – ต้นทุน

รูปแบบธุรกิจ

ตัวอย่าง ร้านอาหาร คิดราคาอาหารตามจาน บุปเฟ่ห์ เป็นเซ็ท ผูกปิ่นโต ให้ลูกค้านำวัตถุดิบมาเองแล้วเราปรุงให้

ตัวอย่าง เดี่ยวไมโครโฟนของโน้ต พูด 3 เดือน ได้เงิน 180 ล้านบาท

เครือข่าย Network สร้าง Network Innovation

คือการนำจุดแข็งของเรา ไปรวมกับจุดแข็งของพันธมิตร

เช่น Google กับ Levies สิ่งที่ทำคือเสื้อจะเป็น Touch Screen คือ ปฏิเสธสายได้ เปิดเพลงได้

โครงสร้าง

การจัดการคนหรือสินทรัพย์อย่างไร

- พฤติกรรมของเด็กสมัยใหม่คือจะรับงานเป็นจ๊อบ ๆ ดังนั้นจะจัดโครงสร้างและรับมืออย่างไร

- Southwest Airline ,Boeing 737

- บริษัทที่ให้บริการแท็กซี่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

- การสร้าง Platform

กระบวนการ

- ตัวอย่าง Amazon พนักงานจะมาหาเอง

วิธีการบริหารจัดการ

-ใช้วิธีการทำงานใหม่ในการเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการหลัก

Product Performance

- ดีขึ้น

- ตัวอย่างเลโก้ มีการทำให้ชิ้นใหญ่ขึ้น มีเรื่องรถบังคับ วีดิโอเกมส์ มีตัวต่อสำหรับสถาปนิกได้ด้วย

- สร้างกระบวนการฝึกคิดผ่านตัวต่อเลโก้

การให้บริการ

- การบริการที่สามารถเพิ่มมูลค่าได้

- มีการตกแต่งเครื่องสแกนให้ดูน่าสนใจมากขึ้น เช่นตกแต่งเป็นใต้สมุด ทะเล

ตัวอย่าง

- เทคโนโลยี AR ให้เพนกวินนำทางไปพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ มีนวัตกรรมที่ส่งเสริมให้มากยิ่งขึ้น

- การร่วมกับสมาคมทำฟันในญี่ปุ่น และที่ขายแอปเปิ้ล โดยให้กัดแอปเปิ้ล 4 คำให้หมอฟันวินิจฉัยได้

- พรรคคอมมิวนิสต์ญี่ปุ่น นำตัวการ์ตูนมาทำให้น่ารักขึ้น มีเรื่องนโยบายส่งเข้านำออก ไล่ฐานทัพออกไป เป็นการเปลี่ยนให้เข้าถึงได้ง่ายขึ้น

- เบอร์เกอร์คิง มีการทำเบอร์เกอร์เกย์เกิดขึ้น

ไม่ว่าภายนอกแตกต่างกันอย่างไร แต่ภายในเหมือนกัน



โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/28413

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 หน้า 5

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/58a18324938163b0878b458b#.WKQE59R95kg

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 ทาง FM 96.5 MHz.

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.naewna.com/politic/columnist/29022

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม 2560 หน้า 5

หมายเลขบันทึก: 625877เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2017 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2017 11:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (51)

วันที่ 15 มีนาคม 2560

วิเคราะห์ท้าทายของการเคหะแห่งชาติ :-

การที่จะทำสิ่งท้าทาย หรือทำสิ่งใหม่ให้ลืมของเก่าก่อน เก็บแกนไว้ แต่กลับหัวปิรามิค สิ่งท้าทาย กคช. ในหลายประเด็น

-บริษัทมหาชนขนาดใหญ่ลงมาเล่นตลาดที่อยู่อาศัยกลางถึงล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเดียวกับ กคช.

- พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาอยู่คอนโดชานเมือง ...คำถามคือ กคช. มีผลิตภัณฑ์ประเภทคอนโดชานเมือง หรือมี land bank ดังกล่าวหรือไม่

- ความสามารถของ กคช. ในการรองรับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปเป็นคอนโดตามแนวรถไฟฟ้า

-โครงการบ้านประชารัฐที่ภาคเอกชนมาทดแทนบทบทของ กคช. อย่างมีนัยยะ

- กคช. มีต้นทุนขายเพิ่มขึ้น กำไรลดลง มีภาระหนี้สิน

- ตลาด CLMV กคช. เตรียมตัวรองรับ ?

การประสานแม่น้ำทั้ง 5 * คณะปฏิวัติ * คณะรัฐมนตรี * สนช. * สปช. * รัฐธรรมนูญ

เป็นอีกวันที่ได้รับความรู้และเปิดประเด็น กคช. ได้ตรงมากๆ ซึ่งจะนำไปคิดต่อในทุกประเด็น โดยการจะเริ่มสื่อสารให้ได้รับทราบ และตระหนักว่า กคช. จะอยู่เฉย หรือวางยุทธศาสตร์ พันธกิจ วิสัยทัศน์ อยู่บนพื้นฐานเดิมๆ ไม่ได้ จะต้องพิจารณาคำนึงความเปลี่ยนแปลง การแข่งขัน ที่เกิดขึ้นมากมาย และท้าทาย กคช. หากเป็นเช่นนี้ต่อไปอาจจะไม่มี กคช. อันเป็นที่รักของพนักงานทุกคนต่อไป

วันที่ 2 มีนาคม 2560

การบริหารธุรกิจในยุค AEC ต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้

1. เลือกประเทศที่จะลงทุนประเทศเดียว โดยพิจารณาถึงพื้นที่และทรัพยากรที่มากที่สุดของประเทศนั้น และพิจารณาขนาดเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในโลก

2. ต้องทราบนโยบายทางด้านกฎหมายการลงทุน กฎหมายระหว่างประเทศ ของประเทศที่จะลงทุน และช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า

3. ต้องทราบศักยภาพของประเทศ เช่น แรงงาน ทรัพยากร สิทธิประโยชน์ของผู้ลงทุน

4. ต้องมี connection และ partners ทางธุรกิจ

5. ไปศึกษาด้วยตนเอง และไปเป็นกลุ่มธุรกิจ

6. ทดสอบสินค้าโดยการวางขายในห้าง เพราะคนใน CLMV เสพสื่อไทย

7. ร่วม Business trip กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน จัดงานแสดงสินค้า

8. รู้ช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้า และทำเว็บไซต์ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศอื่นๆ

สิ่งสำคัญคือ ต้องรู้เขา รู้เรา

วันที่ 1 มีนาคม 2560

การบริหารกลยุทธ์องค์กร 2 (รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์)

- เป้าหมายของธุรกิจโดยทั่วไปคือเพื่อให้ได้กำไรและยั่งยืน

- จะมีกำไรและยั่งยืนได้ต้องผลิตสินค้าให้ตรงตามความต้องการของลูกค้าดีกว่าผู้อื่น

- เป้าหมายการวางกลยุทธ์ ต้องวางกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลง ตอบสนองลูกค้าตรงกับความต้องการของลูกค้าและดีกว่าผู้อื่น

- กุญแจแห่งความสำเร็จ คือ สามารถที่จะวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้รวดเร็ว (ล่วงหน้าทันการณ์) จากการวิเคราะห์ความเปลี่ยนของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี คู่แข่ง โดยเฉพาะเทคโนโลยี สำคัญมากในยุคปัจจุบัน

- ความสำคัญของการบริหารจัดการ คือต้องวิเคราะห์ swot ให้ได้คุณภาพ องค์กรที่จะประสบความสำเร็จต้องเป็น องค์กร์ที่มีบุคคลากรที่มีความสามารถมองอนาคตได้แม่นยำ

ตัวอย่าง ที่เปลี่ยนแปลงและประสบความสำเร็จในปัจจุบัน โรงภาพยนตร์ ปั้มน้ำมัน โรงพยาบาล ที่มีทุกอย่างครบวงจร


วันที่ 2 มีนาคม 2560

การบริหารธุรกิจในยุค AEC

- ถ้าจะเลือกประเทศที่จะเข้าไปทำธุรกิจ ประเทศอินโดนิเซีย เป็นประเทศที่น่าสนในอันดับ 1 เนื่องจากพื้นที่ใหญ่ ประชากรจำนวนมากถึง 250 ล้านคนนับว่าเป็นตลาดใหญ่ มีกำลังซื้อสูง

- การจะทำธุรกิจกับประเทศใด จำเป็นต้องรู้ข้อมูลให้ชัดเจนหลายด้าน เช่น นโยบายเศรษฐกิจ ตัวออย่างประเทศพม่า ต้องการให้ไปตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าขายต่างประเทศต้องการให้ใช้แรงงานของประเทศพม่าเอง แต่จุดอ่อนของพม่า คือแรงงานไม่มีทักษะ ต้องรู้ข้อมูลศักยภาพของประเทศ ทดสอบการวางสินค้าในห้างก่อน ต้องเป็นเป็นกลุ่มธุรกิจอย่า ไปเดี่ยวๆ

- และที่สำคัญคือ กฎหมายระหว่างประเทศสำคัญที่สุดที่ต้องรู้


วันที่ 3 มีนาคม 2560

ความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สามารถกระทบกับทุกคนและทุกองค์กร และการบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการเพื่อลดระดับความเสี่ยงหรือโอกาสของความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดในอนาคต ในทุกองค์กรจะมีแผนบริหารจัดการความเสี่ยง และการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรจะมีผลสัมฤทธิ์ได้ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในองค์กรทุกคน จะต้องมีความตระหนักและให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้ผลการดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย


วันที่ 15 มีนาคม 2560

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายการเคหะฯ (ด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/บริการ)

วันนี้ ท่านอาจารย์สอนและแบ่งปัน ในเรื่องประเด็นความท้าทายของการเคหะฯ หลายเรื่อง โดยมีประเด็นอย่างน้อย ดังนี้ค่ะ

1. เอกชนลงมาเล่นตลาดกลางถึงล่างกลุ่มลูกค้าเดียวกับการเคหะแห่งชาติ
2. พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาอยู่อาศัยที่ชานเมืองมากขึ้น.
3. คอนโดตามแนวรถไฟฟ้า
4. ตลาด CLMV

- จากความท้าทายข้างต้น กคช. ต้องนำไปคิดจริงจังในทุกๆ เรื่อง เป็นความท้าทายที่ต้องตอบให้ได้ ทำให้ถูก สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้านให้ได้

- การเคหะฯ ไม่เพียงขาย Product แต่ต้องเป็น Solution ในจุดแข็งให้ได้ “ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง มีความสุข อย่างยั่งยืน”


วันที่ 16 มีนาคม 2560

การบริหารทุนมนุษย์

พื้นฐานสำคัญในการพัฒนา 3 ด้าน เช่นเดียวกับคุณค่าทางธุรกิจคือ

1 Value Added
2 Vaule Creation
3 Vaule Diversity

สิ่งที่ประทับใจค่ะ

1 คิดแบบเด็ก-ความคิดสร้างสรร
2 ทำแบบวัยรุ่น-ทำทันที
3 พูดแบบผู้ใหญ่-พูดแบบมีหลักการ มีเหตุผล

หลักในการบริหารคน 5-4-3 (ใช้คน 3 จ่ายค่าแรง 4 ได้product 5)

ขอบคุณที่นำมาแบ่งปันค่ะอาจารย์

3 มีนาคม 2560

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจที่ดี ต้องมีการวิเคราะห์ และประเมินปัจจัยความเสี่ยง รวมถึงสื่อสารให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอภายในองค์กร เพื่อกำจัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ทั้งนี้จะต้องมีแผนงานจัดการความเสี่ยง พร้อมทั้งรายงานผลปฏิบัติงานของความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เพื่อประเมินสถานการณ์ให้ดำเนินงานบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ที่กำหดไว

วันที่ 15 มีนาคม 2560

การเคหะแห่งชาติต้องคิดนอกกรอบ สร้าง s curve ตัวใหม่ สร้างภารกิจใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีคู่แข่งเอกชนเข้ามาแข่งขัน มิฉะนั้นจะทำให้การเคหะแห่งชาติไปต่อไม่ได้

วันที่ 16 มีนาคม 2560

กลยุทธ์ในการบริหารคนขององค์กรต้องช่วยกันทั้งองค์กร ไม่ใช่หน้าที่ของใครคนใดคนหนึ่ง

กลยุทธ์การบริหารทุนมนุษย์ ต้องวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก โลกเปลี่ยนคนก็เปลี่ยน ต้องวิเคราะห์องค์กรแล้วนำเทคโนโลยีกับเครือข่ายมาใช้เพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่ยุค 4.0 ต้องคิดแบบเด็ก ทำแบบวัยรุ่น พูดแบบผู้ใหญ่

นันทพล ทองพ่วง

วันที่ 17 มีนาคม 2560

ปัจจุบันธุรกิจคิดกลยุทธ์ใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า และสร้างความแตกต่างเพื่อเป็นจุดเด่น

นันทพล ทองพ่วง

นายชูศักดิ์ ศรีผดุงเจริญ

ประเด็นความท้าทาย

วันที่15 มีค.60

ผมว่าการท้าท้ายเป็นสิ่งดีทำห้เราสามารถก้าวผ่านปัญหาต่างๆได้ตามที่อาจารย์กล่าวไว้

1. บริษัทมหาชนขนาดใหญ่ลงมาเล่นตลาดกลางถึงล่างกลุ่มลูกค้าเดียวกับการเคหะแห่งชาติ

สิ่งที่พบคือบทบาทของรัฐวิสาหกิจอย่างการเคหะฯ ได้ถูกท้าทาย เนื่องจาก จากเดิมภาคเอกชนที่เคยเล่นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดระดับกลางถึงระดับบน แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีหลายภาคเอกชนที่ได้ลงมาเล่นในตลาด

ระดับกลางถึงระดับล่างซึ่งเรากำลังเผชิญอยู่เพียงแต่ว่าเข้าก็ยังไม่สามารถลงมาที่ระดับค่อนข้างต่ำได้เนื่องจากคนกลุ่มนี้ยังจำเป็นที่จะต้องให้ การเคหะแห่งชาติช่วยเหลือ

วันที่ 16 มีค.60

การบริหารเชิงกลยุทธ์โดยดร.ทายาท ศรีปลั่ง

ขอบอกว่าเห็นด้วยกับที่ท่านอาจารย์กล่าวคือ

  • การสร้าง Brand องค์กร
  • Mindfulness

กคช.ควรดำเนินการอย่างรวดเร็วเนื่องจากการแข่งขันในธุรกิจทุกชนิดโดยเฉพาะ Brandมันเป็นสิ่งแรกที่ผู้บริโภคนึงถึงและระลึกได้ว่ารูปร่างหน้าตราของสินค้าคืออะไรการสร้าง Brand ต้องเริ่มจากภายในองค์กร Brand ที่ประสบความสําเร็จจะต้องเริ่มต้นสร้างมาจากภายในองค์กร (Internal Culture) อันนี้จริงอย่างยิ่งถ้าพนักงาน

ทุกคน ไม่แสดงให้เห็นสัญลักษ์ที่เป็นเนื้อแท้โดยทำตัวเป็น Brand Ambassadorและพนักงานจะต้องมีความเขารู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์ของตัวเองและทิศทางที่กําลังเดินไปอย่างถ่องแท้เสียก่อน Brand ถึงจะเกิด”

- การวางแผนอัตรากำลังคนอันนี้ก็สำคัญควรมีให้เหมาะสมกับธุรกิจไม่มากหรือน้อยเกินไป

วันที่18มีคม60

การบริหารธุรกิจในองค์กรในโลกยุคใหม่

โลกปัจจุบันย้ายจากด้านเห็นด้วยครับธุรกิจมีขนาดเล็กลงความต้องการสินค้าต้องรู้ว่าผู้บริดโภคต้องการอะไร Niche คือเหมาะกับแต่ละคน คือไม่ใช่ทุกคนได้เหมือนกันหมด แต่ละคนมีอะไรที่ต้องการเหมือนกันหมดจริงครับ1. โลกย้ายจากตะวันตกมาตะวันออกมาขึ้น

2. ปัจจุบันย้ายมาเป็น Tech Start Up คือองค์กรเล็กมากแต่เติบโตสูง หมายถึงปีหน้าจะโตกว่าปีนี้กี่เท่า

นวัตกรรมเป็นมากกว่าสินค้าและบริการแล้ว แต่นวัตกรรมคือทุกอย่าง การจัดการที่ดี คนที่ดี วิธีการตลาดที่ดีก็เป็นนวัตกรรม ทุกอย่างมีนวัตกรรมหมด วิธีการตลาดที่ใหม่ที่สุดในโลก และ นวัตกรรมให้ดีต้องมีความร่วมมือกับคนข้างนอก วันแรกที่เข้างานอย่างไร วิธีการที่เร็วขึ้นคือเปิดให้คนคิด เช่นเรื่องระบบที่จอดรถ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แล้วเราก็สนับสนุนบางส่วนโดยนวัตกรรมต้องเริ่มจากระดับผู้บริหาร เสมอ เพราะไม่สามารถบอกให้ระดับล่างไปคิดได้ ต้องเริ่มจากระดับบนหาวิธี

นวัตกรรม คือ 1. สิ่งใหม่2. เพิ่มมูลค่าและคุณค่า

- แต่ไม่จำเป็นต้องใหม่หมดเลย สามารถหยิบยืมมาจากที่อื่นได้

- สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น

- พลิกโฉม

เห็นด้วยอย่างยิ่ง

วันที่ 15 มีนาคม 2560 วิเคราะห์และท้าทายของการเคหะแห่งชาติ(ด้านการตลาด/การเงิน/นวัตกรรมองค์กร/การบริการ การเคหะแห่งชาติเป็นรัฐวิสาหกิจช่วยเหลือสังคมในระดับรากหญ้าและกลุ่มผู้มีรายได้น้อยจึงเป็นความเสี่ยงสูงที่จะทำให้องค์กรจะอยู่หรือไป ปัจจุบันมีบริษัทเอกชนเข้าเสนอโครงการด้านที่อยู่อาศัยในระดับเดียวกับการเคหะฯดังนั้น เราต้องพัฒนาโครงการโดยคิดใหม่ตามสภาพปัจจุบัน ต้องกำหนดวิสัยทัศน์กับพันธกิจใหม่เพื่อรองรับกับกลุ่มเป้าหมายใหม่ ที่ไม่สามารถซื้อที่อยู่อาศัยได้ ควรหันมาดูกลุ่มลูกค้าที่ต้องการเช่ามากกว่าซื้อ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มลูกค้าต่างด้าวหรือต่างจังหวัด กลุ่มลูกค้าแนวรถไฟฟ้า และมีการตั้งบริษัทลูกเพื่อเพิ่มกลไกในการบริหารใหม่เพื่อไม่ให้ติดอยู่กับกฎระเบียบหรือข้อบังคับของหน่วยงาน จึงจะทำให้องค์กรอยู่ได

  • วันที่ 16 มีนาคม 2560 การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ การจัดการทุนมนุษย์ เป็นการจัดการเกี่ยวกับคุณค่าของคน ศักยภาพและความหลากหลายของคน ซึ่งคุณค่าของคนกับคุณค่าทางธุรกิจแยกกันไม่ได้ คุณทางธุรกิจมี 3 ระดับ ดังนี้. 1. Value Added. 2.Value Creation 3.Value Diversity การพัฒนาคนต้องดูว่าจะบริหารและพัฒนาตัวเองเรื่องอะไร ต้องตอบโจทย์แบบไหน เป็นการสร้างวัฒนธรรมให้คนในองค์กรมีความรู้ ความคิดและจินตนาการ เพื่อโจทย์การเป็นมืออาชีพ คือ 1.การคิดแบบเด็ก-คิดแบบสร้างสรรค์ 2. ทำแบบวัยรุ่น-ทำทันที่ 3. พูดแบบผู้ใหญ่-พูดแบบมีหลักการและมีเหตุ มีผล ผู้บริหารที่ดีต้องมีการพัฒนาทักษะการสื่อสารและวิธีการพูดให้ผู้ปฎิบัติงานเข้าใจ มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อสร้างความเข้าใจกับทุกฝ่ายจึงจะบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่เคารพรักของผู้ใต้บังคับบัญช

วันที่ 17 มีนาคม 2560 วิเคราะห์การศึกษาด้านการบริหารธุรกิจฯ - การบริหารธุรกิจในองค์กรยุค Thailand 4.0 ต้องวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า ปัญหาที่จะเกิด และจะทำอย่างไรให้เกิดรายได้ เนื่องจากการบริหารจัดการธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงหลากหลายและเกิดไว - นวัตกรรม เป็นมากกว่าสินค้าและบริการ เพราะนวัตกรรมจะเป็นทุกอย่างที่มีการบริหารด้วยวิธีการจัดการทางการตลาดแบบใหม่ๆเป็นการเพิ่มค่าหรือนำของเก่ามาเปลี่ยนแปลงพลิกโฉม นวัตกรรมที่ดีต้องร่วมมือกับข้างนอก ต้องเข้าใจลูกค้าและมีการระดมความคิดเพื่อสร้างต้นแบบ เป็นต้

วันที่ 3 มีนาคม2560 ช่วงเช้า

เรื่อง การบริหารความเสี่ยงทางธรุกิจ โดย ดร. สรุพงษ์ มาลี และ คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

การบริหารความเสี่ยงที่ดีต้องบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ต่างได้

- ต้องมีการประเมินความพึงพอใจลูกค้าให้ถี่ขึ้น

- ต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจบ่อยๆ

- ต้องใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า

- ต้องดูสภาพแวดล้อมประกอบการบริหารความเสี่ยง

หลักการบริหารความเสี่ยงต้องทำให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ( ควบคุมความเสี่ยงได้)

ช่วงบ่าย

โดย ดร.ดวงตา ตันโช

คุณ สาธิต อนันตสมบรูณ์

และ ดร.มงคล เหล่าวรพงศ์

ได้ บรรยายเกี่ยวกับในการบริหารงบประมาณว่า การใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

1 ต้องจัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามยุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะยาวตามภารกิจขององค์กร และนโยบายรัฐที่มีความชัดเจนปราศจากการครอบงำทางการเมืองและภาครัฐ โดยต้องคำนึงถึงภาระหน้าที่ สถานะทางการเงิน ความเป็นไปได้ของภาระกิจ อย่างคุ้มค่า ประหยัด โปร่งใส ตรวจสอบได้

2 จัดทำแผน การใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี ในแผนงานและโครงการที่กำหนดในงบประมาณประจำปี ที่มีความชัดเจน ตามระยะเวลาที่กำหนด

3 ใช้เงินงบประมาณ ตามแผนงานด้วยความโปร่งใส คุ้มค่า ประหยัด โดยคำนึงถึงผลลัพท์ที่เป็นรูปธรรม

วันที่ 15 มีนาคม 2560

ตามที่อาจารย์ได้มองประเด็นความท้าทายของการเคหะฯ ในเรื่อง บริษัทมหาชนขนาดใหญ่ลงมาเล่นตลาดที่อยู่อาศัยกลางถึงล่างลูกค้ากลุ่มเดียวกับการเคหะฯ เช่น บริษัทพฤกษา ทำบ้านจัดสรรเข้าโครงการบ้านประชารัฐ / พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาอยู่อาศัยที่ชานเมืองมากขึ้น / ความสามารถของการเคหะฯ ในการรองรับความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนไปเป็นคอนโดตามแนวรถไฟฟ้าใหม่ / การบริหารจัดการที่ต้นทุนขายเพิ่มขึ้น กำไรลดลง และภาระหนี้สินสูง / โอกาสจากตลาด CLMV

เมื่อมองประเด็นความท้าทายแล้ว การเคหะฯ ต้องนำไปคิดดำเนินการให้มากขึ้นโดย

  • เตรียมคนในองค์กรให้รองรับกับความท้าทายต่าง ๆ โดยปรับ Mindset ของคนให้รับการเปลี่ยนแปลง พัฒนาเพิ่มทักษะให้บุคลกรและเรียนรู้จากการถอดบทเรียนจากอดีต นำมาปรับให้ดีขึ้น รวมถึงสื่อสารให้ทั่วถึงทั้งองค์กร
  • เตรียมหาโอกาสจากความท้าทาย สร้างจุดแข็งที่มีอยู่เพิ่มขึ้น สร้างเครือข่ายเพิ่มขึ้นประสานกับแม่น้ำ 5 สาย (สนช. สปช. ฯลฯ)

วันที่ 15มีนาคม2560 วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ ประเด็นท้าทาย บริษัทมหาชนขนาดใหญ่หันมาสร้างที่อยู่อาศัยระดับกลางถึงระล่างซึ่งเป็นกบุ่มลูกค้าเดียวกับ กคช ลักษณเป็นคอนโด ราคาถูกอยู่บริเวณชานเมืองเอกชนค่อนข้างได้เปรียบมากกว่า กคช เนื่องจากเอกชนมีอิสระเรื่องการลงทุน และกฎหมายต่างๆ

วราพร จันทร์อำรุง

การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะฯ สิ่งที่น่ากังวลที่จะต้องทำให้การเคหะฯ คำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงมีหลายด้าน ได้แก่ การลงมาทำบ้านตลาดเดียวกับการเคหะฯ ของเอกชน พฤติกรรมการบริโภคที่อยู่อาศัยของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไป ที่สำคัญคือความสามารถของการเคหะฯ เองที่จะมองสิ่งท้าทายเหล่านี้ให้ออก และเตรียมพร้อมต่อสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะตามแผนพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี และ 20 ปี การเคหะต้องปรับเปลี่ยนทั้งวิสัยทัศน์ พันธกิจ ระเบียบข้อบังคับต่างๆ ที่ไม่เอื้อ การปรับเปลี่ยนรูปแบบทำโครงการไปเป็นแบบ Mixed use ทั้งที่พักอาศัยและเชิงพาณิชย์ และที่ต้องทบทวนคือการดูแลชุมชนที่ต้องเน้นการสร้างรายได้ ไม่ใช่สร้างภาระ ซึ่งการเคหะฯ จะต้องใช้ประโยชน์จากพื้นที่โครงการให้ได้ประโยชน์สูงสุด และมองถึงตลาดอื่นๆ เพื่อสร้างองค์กรให้ยั่งยืน

วราพร จันทร์อำรุง

วันที่ 16 มีนาคม 2560

ทุนมนุษย์ : งานด้านทรัพยากรบุคคลไม่ใช่เป็นงานเฉพาะหน่วยงาน HR เท่านั้น แต่ทุกๆ คนในองค์กรล้วนมีความสำคัญที่จะสร้างคนให้มีคุณภาพ ด้วยการเป็นต้นแบบที่ดี สอนงานด้วย On the job training Coaching ให้ลูกน้องมี Skill Knowledge รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้เกิดความผูกพัน เพื่อให้เกิด 3 V กับองค์กร คือ Value Added Value Creation และ Value Diversity และเตรียมความพร้อมต่อการไปสู่องค์กร 4.0 ที่จะมี Impact ต่างๆ เข้ามา ซึ่งจะต้องใช้ปัจจัยในการขับเคลื่อนให้เกิด Faster Better Cheaper ซึ่งพนักงานจะต้องเป็นยุคของ Employee Self Management โดยหลักการนี้ใช้ได้กับทุกองค์กร

วราพร จันทร์อำรุง

วันที่ 17 มีนาคม 2560

นวัตกรรม : หมายถึง สิ่งใหม่ และมีประโยชน์ มีคุณค่า ซึ่งเกิดจาก Inspiration นำมาต่อยอด ซึ่งบางทีการคิดคนเดียวไม่สามารถทำได้สำเร็จ ต้องใช้ความร่วมมือจากคนข้างนอก โดยเฉพาะการเคหะฯ ต้องดูในมุมมองของลูกค้า ของผู้อยู่อาศัยในชุมชนว่าเขาต้องการอะไร ที่สำคัญจะต้องให้เขาเห็นความสำคัญของการเคหะฯ ว่าจะต้องมีการเคหะฯอยู่กับประชาชน ซึ่งการเคหะฯก็จะต้องตระหนักถึงความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เข้าใจลูกค้าให้ลูกค้าเกิดความพึงพอใจ จึงจะสร้าง Engagement แล้วการเคหะฯ ก็จะเป็นองค์กรที่มีคุณค่าทั้งในมุมของประชาชนและรัฐบาล

15 มีนาคม 2560

การเคหะแห่งชาติต้องปลดล็อคกฎระเบียบและลดขั้นตอนการดำเนินงาน ต่างๆลงบ้าง รวมทั้งคิดนอกกรอบ เนื่องจากบริษัทเอกชนลงมาเล่นอสังหาริมทรัพย์ระดับกลางซึ่งเป็นคู่แข่ง หากองค์กรยังไม่สามารถปลดล็อคกฎระเบียบและขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆได้ ก็ไม่สามารถสู้กับเอกชนได้ เนื่องจากเอกชนมองเห็นความต้องการของตลาด และสามารถตัดสินใจลงมือก่อสร้างได้ทันกับสถานการณ์ บริษัทเอกชนมีความคล่องตัวมาก การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจต้องยึดกฎระเบียบ หากปลดล็อคได้พร้อมทั้ง Rebranding ภาพลักษณ์ขององค์กรใหม่ จะทำให้การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรมืออาชีพไปสู่ประเทศไทย 4.0

16 มีนาคม 2560

หลักในการวางกำลังคน 5:4:3 คือ Productivity 5 แรงจูงใจ 4 จ้างคน 3 เป็นการใช้แรงจูงใจให้คนทำงานมากขึ้น และคนในองค์กรจะถูกปลูกฝังให้คิดบวก องค์กรจะไม่พูดถึงปัญหาและไม่หาว่าใครสร้างปัญหาแต่มองว่าปัญหาคืออะไรและป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก

กระบวนการสร้างความคิดไม่ง่ายแต่มีความสำคัญ ต้องคิดแบบเด็ก ทำแบบวัยรุ่น พูดแบบผู้ใหญ่ พร้อมทั้งต้องพัฒนานำ Digital และ Networking มาใช้เพื่อนำไปสู่ประเทศไทย 4.0

สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2560

การบริหารการเปลี่ยนแปลง ----> ทำวันนี้ให้ดีที่สุดองค์กร

มี 3 S ==> scale, Speed และ Standard

การเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน ==> การเปลี่ยนแปลง + รู้จักขอบคุณ ต้องเริ่มที่ตัวเราก่อนตัวอย่าง

การเสริมสร้างค่านิยมและ วัฒนธรรม ==> จุดเริ่มต้นคือการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเราเองก่อน ทำตัวเองให้เป็น Role Model เป็นตัวอย่างที่ดี

การค้นหา Mindset

Mindset => ความเชื่อที่มีผลต่อพฤติกรรมของเรา (ความเชื่อต้องผ่านการปรับทัศนคติของเราก่อน)

Fixed Mindset => ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นเราจะไม่เปลี่ยนแปลง

Growth Mindset => พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง

สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2560

การบริหารกลยุทธ์องค์กร

โลกในกระแสการเปลี่ยนแปลง เดิมเป็นแบบ Family Business ปัจจุบันแทบจะตายไปหมด ถ้าไม่มีการปรับตัวยอมรับการเปลี่ยนแปลง

การแบ่งการเปลี่ยนแปลงขององค์กร มี 4 อย่าง

1. ไม่รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้น

2. รอดูจนกว่าจะมาถึงตัวเอง

3. รู้ว่าจะทำอะไรเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงแต่ไม่ลงมือทำ

4. สร้างการเปลี่ยนแปลงจริง

การบริหารกลยุทธ์ต้องมีความชัดเจน ใช้ KPI หรือตัวชี้วัด ทุกอย่างวัดได้ จับต้องได้

แก่นของการเป็นผู้นำ ต้องก้าวข้ามข้อจำกัดให้ได้ หน้าที่ของการเป็นผู้นำที่ดี ต้องมองไปข้างหน้าว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไร และบริหารกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลงอย่างไร

สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วันที่ 1 มีนาคม 2560

การจัดการเชิงกลยุทธ์

สิ่งที่สำคัญที่จะให้องค์กรสู้ความสำเร็จได้ คือต้องรู้ว่า เราจะตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างไร ต้องวิเคราะห์ถึงพฤติกรรมความสนใจของลูกค้า มีการคาดการณ์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อปรับตัวทั้งด้านผลิตภัณฑ์ และการให้การบริหารเพื่อให้เป็นที่พึงพอใจของลูกค้า

สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วันที่ 3 มีนาคม 2560

การบริหารความเสี่ยง

กรอบการบริหารความเสี่ยงขององค์กร (ต้องมีครบทั้ง 4 ช่องทาง ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม)

1. Culture

2. Structure

3. Process

4. Infrastructure

ระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี คือต้องสร้างวัฒนธรรมให้ตระหนักเรื่องความเสี่ยงตลอดเวลา มีการกำหนดบทบาทในการบริหารความเสี่ยง มีการรายงานความเสี่ยง มีการจัดสรรทรัพยากรให้พอเหมาะ ไม่ควรรอให้ความเสี่ยงเกิดขึ้นก่อน ถ้าเกิดก่อนจะบริหาร แก้ไขได้ยาก

เทคนิคการประเมินความเสี่ยง คือ โอกาส x ผลกระทบ =ระดับความเสี่ยง

สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วันที่ 3 มีนาคม 2560

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

- การใช้งบประมาณต้องตรวจสอบว่า มีการใช้ให้เกิดประสิทธิภาพหรือไม่ และต้องดูว่า การเคหะมีอำนาจหน้าที่ ตามกฎหมาย ถ้าบอกหน้าที่ถือว่าผิดกฎหมาย

กรณีตลาดประชานิเวศน์ 1 ที่ตึกพังลงมา (สร้างมา 30 ปี)

- การบริหารงบประมาณ ต้องเพิ่มประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผล

ประสิทธิภาพ = เป็นไปตามแผน, บรรลุวัตถุประสงค์, ได้ผลตามกำหนดเวลา

ประสิทธิผล = ประหยัด/ คุ้มค่า/เกิดประโยชน์สูงสุด

- การจัดทำงบประมาณ ประจำปี 2560 มีมาตรการเมื่อ 23 สิงหาคม 2559 ให้ทุกส่วนราชการเร่งการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดซื้อ/ จัดจ้าง ให้มีกระบวนการตรวจสอบ (SEPA/ KPI) ที่ต้องรายงานกระทรวงฯ และยังมีมาตรการการเพิ่มประสิทธิภาพ คือให้ทุกส่วนราชการ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดซื้อ/ จัดจ้าง ถ้าหน่วยงานในเร่งกระบวนการจัดซื้อ/ จัดจ้างไม่ทันภายใน 31 มีนาคม 2560 ให้คืนเงินงบประมาณกลับทันที ทั้งนี้ แนวทางการพิจารณางบประมาณของสำนักงบประมาณ คือ ทุกอย่างต้องพร้อม และต้องมีการทำแผนปฏิบัติการประกอบเพื่อให้สอดคล้องตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ

สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช.

- เงืื่อนไขของโลก กรณีไอเดียแม่น้ำทั้ง 5

- แผน 20 ปี รัฐวิสาหกิจ 56 แห่ง ==> ซุปเปอร์บอร์ด ดูแลรัฐวิสาหกิจ

- การแก้ปัญหา/ พัฒนาองค์กรในสินทรัพย์ที่มีอยู่ ต้องเรียนรู้การเปลี่ยนแปลง

1. แนวโน้มเศรษฐกิจ/ การเมือง/ สังคมโลก เปลี่ยนแปลง (Mega Trend 2020) รู้ร้อน รู้หนาว

2. เดิมใช้ SWOT เปลี่ยนเป็น Eco System

กคช.จาก Supply Focus เป็น Demand Focus

3. เปลี่ยนจากผู้บริโภค เป็นผู้ร่วมสร้าง (การฟัง และใกล้ชิดลูกค้า)

..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/625877..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/625877
สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วันที่ 16 มีนาคม 2560

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

1. แนวโน้มของโลก

- การสร้างแบรนด์ขององคืกร

- Mind fulness

การสร้างแบรนด์ ต้องเริ่มจากพนักงานในองคืกร พนักงานทุกคนถือเป็น Brand Ambassador พนักงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์/ สินค้าของตนเอง

- การประเมินอัตรากำลังกับความต้องการทางธุรกิจ

- รวยไม่มีคุณค่า

- รวยมีคุณค่า

- การคัดเลือกคน คนดี ==>ดูที่ทัศนคติ

Miss = ความผิดพลาดโดยการคัดเลือผู้สมัคร

HIT = ความสำเร็จโดยการคัดเลือผู้สมัคร

- อุดมสติ (Mind fulness) = ตระหนักรู้ - ตัวเอง (ตระหนักรู้คุณค่าของตนเอง)

- คุณค่าของชีวิต (Life Purpose) = เกียรติยศ, การยอมรับ, ความมั่นคง, ปัจจัย 4 และศีล 5

2. องค์กร 4.0 มี Impact ที่สำคัญ 6 ข้อ

1) นวัตกรรมที่ไว และเร็ว

2) การเชื่อมโยงของข้อมูล

3) การเคลื่อนไหว (ผ่านระบบออนไลน์)

4) การเจริญเติบโตที่ซับซ้อนมากขึ้น (จะไม่วัดด้วยเงิน)

5) การเจริยเติบโตแบบยั่งยืน

6) การเปลี่ยนแปลงของคน

- คุณค่าธุรกิจจะมีคำ 2 คำ ได้แก่ Share of Heart และ Share of Valet (การคืนเงินจากกระเป๋าลูกค่าให้มากที่สุด)

- องค์กร 4.0 จะใช้ประโยชน์จากดิจิตอลมากขึ้น มีการรส้าง Networking

- การวางแผนกำลังคน ใช้หลัก 5:4:3

5 = Productivity, 4= แรงจูงใจ, 3 = คน (น้อย)

- ปลูกฝังให้พนักงานคิดบวก (ไม่พูดถึงปัญหา แต่จะพูดถึงคำว่าท้าทาย)

สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วันที่ 16 มีนาคม 2560 (ต่อ)

- วิธีการจัดการทางธุรกิจ

คน = ความกลากหลายของคน, ทัศนคติ/ ทักษะความรู้ , Engagement และเป้าหมายการทำงาน

องค์กร = Vision ขององค์กร, วัฒนธรรมองค์กร, ระบบงาน, โครงสร้าง, แรงจูงใจ, เทคโนโลยี

มูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ = นวัตกรรม, ROI, Productivity, CSR, คุณภาพสินค้าและบริการ

- Employee Self Management (พนักงานต้องจัดการตนเอง จัดการงานได้) = การบริหารและพัมนาตนเองให้เป็นไปตามศักยภาพตนเอง และความต้องการทางธุรกิจ

- ความเป็นมืออาชีพ = คิดแบบเด็ก (สร้างสรรค์), ทำแบบวัยรุ่น (ทำทันที), พูดแบบผู้ใหญ่ (มีหลักการมีเหตุผล)

(อย่าหาว่าใครผิด แต่ต้องสร้างวัฒนธรรมให้เกิดการท้าทายในการแก้ปัญหาที่เกดขึ้น และไม่ให้เกิดซ้ำ)

สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วันที่ 17 มีนาคม 2560

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ

WEST ==>EAST

BIG ==> SMALL

VALLME ==>VALUE

สิ่งที่จะเกิดขึ้น คือ โลกย้ายจากตะวันตกมาตะวันออกมากขึ้น และองค์กรเล็กลง แต่จะเติบโตสูงขึ้น

- นวัตกรรม = ความคิด

- Innovation = - ใหม่ (ยืมจากอุตสาหกรรมอื่นได้)

- คุณค่า

- กระบวนการคิดเชิงออกแบบ = เข้าใจลูกค้า / ตีโจทย์/ ระดับความคิด/ สร้างต้นแบบ/ ทดสอบ

- เข้าใจลูกค้า = เอาใจเขามาใส่ใจเรา/ การสังเกตุ/ การคลุกคลี

- ตีโจทย์ = เป้าหมาย/ กลยุทธ์/ จุดแข็ง/ ปัญหาของลูกค้า

- ระดมความคิด = เน้นจำนวน ไอเดีย/ ห้ามติ/ พูดทีละเรื่อง/ สั้นและกระชับ/ต่อยอดไอเดียคนอื่น/ ปลุกความคิดนอกกรอบ/ ให้เห็นภาพ

- สร้างต้นแบบ = ไม่ยุ่งยากซับซ้อน/ ส้างเสียงติชม

- ทกสอบ = ทดลองเพื่อฟังเสียงติชม

วันที่ 15 มีนาคม 2560 เรื่อง วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะ(ด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/การบริการ)โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ได้ให้มุมมองในประเด็นความท้าทาย หลายเรื่อง

1. บริษัทขนาดใหญ่ของเอกชนลงมาเล่นตลาด กลางถึงล่าง ของกลุ่มลูกค้าเดียวกันของการเคหะ

2. พฤติกรรมของผู้บริโภคหันมาอยู่อาศัยตามชานเมืองมากขึ้น(คอนโด)

3. คอนโดตามแนวรถไฟฟ้า

4. ตลาดกลุ่ม CLMV ทำให้การเคหะต้องกลับมาคิดว่าจะทำอะไร ให้ทันความต้องการของตลาด และ ผลิตProduct ใหม่ๆ เช่น อาคารเช่า บ้านผู้สูงอายุ แรงงานต่างด้าว คนต่างจังหวัด (ที่อยู่อาศัยตามชานเมือง) เศรษฐกิจพิเศษ หรือคอนโดตามแนวรถไฟฟ้า รองรับกลุ่มคนทำงาน เพื่อทำให้เกิด S - CURVE ตัวใหม่ของการเคหะ

ส่วน ศ.ภิชานไกรฤทธ์ บุณยเกียรติ

ได้ให้ข้อคิด ในการประสานแม่น้ำทั้ง 5 ของภาครัฐ ในการขจัดบัญหาและอุปสรรค ต่างๆ ให้ โดยอาจารย์ฝากให้การเคหะกลับไปคิด HOT Issues หรือเรียกว่า คานงัด ต้องการให้รัฐวิสาหกิจแนวใหม่รอดหมด ในการทีเป็นองค์กร ที่มี สินทรัพย์ ที่ดิน มีความรู้ ความชำนาญประสบการณ์ยาวนาน รวมถึง Creative 4.0 ที่การเคหะมี ถ้าจะปฎิรูปหรือ Reform ทั้งหมด

จะทำอย่างไร

วันที่ 16 มีนาคม 2560 เรื่อง การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

โดย ดร.ทายาท ศรีปลั่ง

ได้ให้มุมมองแนวโน้มของโลก

1. การสร้าง Brand ขององค์กร จะต้องเริ่มจากภายในองค์กร

2. การวางแผนอัตรากำลังคน กับระบบการพัฒนาความก้าวหน้าทางอาชีพและแผนการสืบทอดตำแหน่ง

3. การคัดเลือก Talent

4. การคัดเลือกคน

5. ค่าตอบแทน

ส่วน ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

ได้บอกว่าในโลกยุคนี้ การเคหะต้องขายความคิดแบบขาย Solution ให้กับลูกค้าต้องคิดมากกว่าของ Product หรือ Service ในการบริการ

ปัจจัยในการขับเคลื่อนองค์กร 4.0

1. การเปลี่ยนแปลงให้เร็วและไว

2. ใช้คนที่มีศักยภาพที่มีความแตกต่างแล้วดึงมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3. โลกโลกาภิวัฒน์ ธรุกิจที่สำคัญอยู่ที่คน คือการสร้างความแตกต่างเพื่อให้คนยั่งยืน

4. ใช้นวัตกรรม

5. มีธรรมาภิบาล

หลักการวางแผนกำลังคน ให้ใช้หลัก 5:4:3 คือ Productivity คือ 5 ให้แรงจูงใจเท่ากับ4และจ้างคนเท่ากับ3 เป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานมากขึ้น โดยใช้คนเท่าเดิมและคนในองค์กรจะถูกปลูกฝังให้คิดบวกตลอดเวลา

และชอบที่อาจารย์บอกว่า ความเป็นมืออาชีพต้อง

1. คิดแบบเด็ก - คือ มีความคิดสร้างสรรค์

2. ทำแบบวัยรุ่น – ทำทันที

3. พูดแบบผู้ใหญ่ – พูดแบบมีหลักการ มีเหตุมีผล

สุนันทา เพ็ญสมบูรณ์

วันที่ 2 มีนาคม 2560

การบริหารธุรกิจในยุค AEC

การทำธุรกิจในกลุ่มอาเซียน ควรจะรู้ถึงสิ่งต่าสง ๆ องประเทศนั้น ๆ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม นบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม กฎ ระเบียบ ข้อกฎหมาย ฯลฯ ซึ่งจะทำให้การบริหารธุรกิจสำเร็จได้ "รู้เขา รู้เรา" ซึ่งองค์กรต้อเตรียมแผน และบุคลากรเพื่อรองรับธุรกิจ การลงทุนภายนอก

วันที่ 17 มีนาคม 2560 เรื่อง วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธรุกิจ โดย ดร. พยัต วุฒิรงค์ ผอ. สถาบันพัฒนานวัตกรรมแห่งเอเชีย

การบริหารธรุกิจในองค์กรในโลกยุคใหม่ สิ่งที่พบ

1. โลกได้ย้ายจากตะวันตกมาตะวันออกมากขึ้น

2. ธรุกิจจากใหญ่จะลดลงมาขนาดเล็กลง เกิดจากแตกเป็น start up มากขึ้น โดยองค์กรเล็กแต่เติบโตสูงกำหนดเป้าหมายโตเป็นเท่าตัว เช่น What's App มีคน 55 คน แต่ทำรายได้ถึง 3-4 แสนล้านบาทต่อปี เท่ากับ SCG เป็นบริษัทที่ใหญ่และพนักงานมากแต่รายได้เท่ากัน เนื่องจากวิธีคิดและการทำธรุกิจต่างกัน

3. รูปแบบ Application ไม่ต้องมีเงิน แต่เงินจะมีคนให้เงินเอง ถ้าตอบสนอง Consumer ได้ดี

4. Mass สู่ Niche ปัจจุบันจะเป็น Niche คือเหมาะกับแต่ละคน ไม่ใช่ทุกคนได้เหมือนกันหมด แต่ละคนมีอะไรที่ต้องการเหมือนกันหมด ในอนาคตไม่ใช่ทำแล้วทุกคนได้เหมือนกันหมด แต่จะเหมาะสมกับแต่ละคน เช่น ยาสีฟันสำหรับคนเสียวฟัน

และได้ข้อคิดว่า ในอนาคตธรุกิจไม่ต้องขายเยอะแต่เอา Value ให้เยอะ อะไรที่ทำให้เกิดมูลค่าหรือเพิ่มมูลค่าได้ ทำ เช่น ทำ Package ให้เจ๋งขึ้น หรือคนจะมาจากต่างประเทศและต้องมาจตุจักรต้องให้มี Landmake Share จะทำให้คนมาเดินมากขึ้น

ส่วน ว่าที่ร้อยตรีจีรวัฒน์ เยาวนิช บรรยายเรื่อง เครื่องมือในการสร้าง Innovation คืออะไรและมีรูปแบบอย่างไร

นวัตกรรม คือ

1. สิ่งใหม่ๆแต่ไม่จำเป็นต้องใหม่หมด สามารถหยิบยืมจากที่อื่นได้

2. เพิ่มมูลค่าและคุณค่า

3. สิ่งที่เปลี่ยนแปลงมากขึ้น พลิกโฉม

ตัวอย่าง เช่น ชูชิ ได้ไอเดียมาจากสายพานกระเป๋า

โครงการแก้มลิง มาจากลิง

วิธีการไดที่สร้างนวัตกรรมให้กับองค์กร กระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking

1. ต้องเข้าใจลูกค้า อะไรคือ pain ของลูกค้า - สังเกตุโดยการคลุกคลี

2. ตีโจทย์ สิ่งที่ทำให้เป็นไปตามที่ต้องการ - อะไรคือประโยชน์ที่ลูกค้าอยากได้

3. ระดมความคิด - ให้พูดออกมามากๆว่ามีคุณภาพหรือไม่อย่าเพิ่งไปตัดสินไอเดียนั้นให้คิดออกมาก่อนเพราะสิ่งที่บอกได้ว่าไอเดียดีหรือไม่อยู่ที่ลูกค้า

4. สร้างต้นแบบ - ต้นแบบจะเป็น Health Land จะขึ้นกระดาษก่อนถ้าไอเดียที่เราคิดเป็นวิธีการใหม่ๆสิ่งที่ทดลองคือ Role Play ให้ลูกค้ามาลองใช้บริการ มีติดกล้อง ดูมุมมองจากลูกค้าและต้นแบบ

5. ทดสอบ Testing - ดูว่าลูค้าอยากได้ไหม, ทำได้จริงไหม, สร้างกำไรได้ไหม

จากเนื้อหาและตัวอย่างทำให้มีไอเดียใหม่ๆในการคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆได้ต่อไป

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

วันที่ 15 มีนาคม 2560

การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ

(ด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร/การบริการ)

  • บริษัทมหาชนขนาดใหญ่ลงมาเล่นตลาดกลางถึงล่างกลุ่มลูกค้าเดียวกับการเคหะแห่งชาติ
  • รัฐวิสาหกิจจะถูกมองจากภาครัฐหรือเอกชนว่า จะมีรัฐวิสาหกิจไปทำไม
  • พฤติกรรมผู้บริโภคหันมาอยู่อาศัยที่ชานเมืองมากขึ้น
  • ที่พักอาศัยอาคารสูงตามแนวรถไฟฟ้า

สิ่งเหล่านี้ เป็นลักษณะ At the end of S-Curve และถ้าไม่ยอมทำอะไรหรือปรับแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร เราอาจจนมุม หมายความว่าวันหนึ่งจะเหมือนรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ ที่เป็นตามนโยบายรัฐ หรือช่วยรัฐ อย่างน้อยองค์กรที่อยู่ในภาครัฐจะต้องได้รับการกระทบ ไม่เช่นนั้นจะเป็นรัฐวิสาหกิจทำไม ซึ่งรัฐวิสาหกิจจึงเป็นเสมือน Social Enterprise แบบหนึ่งคือการช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะสังคมรากแก้ว สิ่งนี้เป็นความเสี่ยงสูงสุดที่จะทำให้องค์กรอยู่หรือไป ถ้าไม่ทำตอนนี้ สิ่งนี้อาจสายไป เพราะรถไฟฟ้ากำลังเสร็จในอีก 5 ปี ซึ่งถ้าไม่ทำตอนนี้ราคาที่ดินจะขึ้น และไม่อาจทำอะไรได้ ดังนั้น กคช. จะต้องคิดจากสภาพปัจจุบัน ต้องมีวิสัยทัศน์กับพันธกิจที่เปลี่ยนไป บทบาทจะถูกทดแทนจากภาคเอกชน

Mega trend 10 ประการ

1. Aging Society

2. Climate Change

3. Knowledge Based Housing Solution

4. Mobility (คนเริ่มไปมาหาสู่ข้ามชายแดนได้มาก ) High mobility + Professionalism

5. Alternative Finance

6. การแบ่งปันใน ASEAN

7.EIA ,HIA เป็นเรื่องกฎระเบียบ

8. ทัศนคติใหม่เกี่ยวกับคนใช้บ้าน เช่น คนรุ่นใหม่ เช่า ไม่ซื้อเพราะ Mobility สูง หรือบริษัท Feddy May ใน อเมริกา รับซื้อบ้านที่ติดจำนองเป็น Attitude เกี่ยวกับ Housing Loner shift

9. Digital Technology ทั้งการบริหาร Data และการจัดการ

10. ความแปรผันของสิ่งแวดล้อม ช้าไม่ได้

การนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร

การเตรียมทั้งผู้นำและคนในองค์กรอย่างไรให้รองรับการเปลี่ยนแปลง การปรับ Mindset ผู้บริหารและคนในองค์กร ส่งเสริมการให้ความรู้ ให้หัดวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค มาสื่อสารและปรับใช้การทำงาน หาแนวทางแก้ไขเพื่อปรับปรุงแนวคิดหรือกระบวนการให้ดีขึ้น การทบทวนวิสัยทัศน์และปรับพันธกิจให้สอดคล้องกับ Thailand 4.0 ารทำ Cross Function มากขึ้น ส่งเสริมให้องค์กรมีความหลากหลาย ด้านนวัตกรรม หาจุดเด่นของแต่ละช่วงวัยมาบูรณาการทำงาน Gen X ถ่ายทอดการทำงานเนื่องจากมีประสบการณ์สูง สู่ Gen Y ที่เก่งเทคโนโลยี และทำงานรวดเร็ว Happiness at work วัฒนธรรมองค์กร สิ่งที่จำเป็นต้องใช้มาก ๆ

1. Happiness

2. Respect

3. Dignity

4. Sustainability

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

16 มีนาคม 2560

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

การบริหารจัดการทรัพยากรมนุษย์ เป็นลักษณะ Human Valueการที่ยุทธศาสตร์เคลื่อนไป สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งคือกลยุทธ์ มีการวางแผนและมีการวิเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ

แนวโน้มของโลก

  • การสร้าง Brand องค์กร
  • Mindfulness
  • การวางแผนอัตรากำลังคน
  • ค่าตอบแทน

ทิศทางการจัดการทรัพยากรมนุษย์

1. การเข้าสู่โลกาภิวัตน์

2. การเคลื่อนย้าย การเคลื่อนย้ายของกำลังแรงงาน การเปลี่ยนแหล่ง เน้นการพัฒนาคน

3. Solution Integration การเข้ามาของเทคโนโลยี และหุ่นยนต์

4. More Compliance การปฏิบัติตามกฎระเบียบมากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น แรงงานเด็ก ต่างชาติ

5. Increased Cost Containment ค่าใช้จ่ายดำเนินการ / Employee Cost

Megatrends Impacting Organization กระบวนการในการเปลี่ยนแปลง

1. Speed of Innovation

2. Hyper Connectivity

3. Social Movement

4. Complexity of Growth

5. Sustainable Enterprising

6. Changing Lifestyle

หลักการวางแผนกำลังคน ใช้หลัก 5 : 4: 3

คือ Productivity คือ 5 ให้แรงจูงใจเท่ากับ 4 คน และจ้างคนเท่ากับ 3 เป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานมากขึ้น ใช้คนเท่าเดิม และคนในองค์กรจะถูกปลูกฝังให้คิดบวกตลอดเวลา

การนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร

การพัฒนาคน ในองค์กร ด้านความรู้ ความคิด ด้านจินตนาการ ซึ่งในทำโครงการที่พักอาศัยของ กคช. ในด้านการทำตลาดปัจจุบันไม่สามารถทำแบบ Mass อีกต่อไปเนื่องจากไม่ตอบโจทย์ลูกค้า ลูกค้าต้องการลักษณะเฉพาะ เลือกพื้นที่ก่อนแล้วนำแบบไปลง ขาย Solution เราต้องพัฒนาในด้านความต้องการของลูกค้า เช่นการสร้างนวัตกรรมและมูลค่าเพิ่มโครงการที่พักอาศัยมีรูปแบบของการบริการเช่น สโมสรชุมชน รัฐวิสาหกิจชุมชน สิ่งอำนวยความสะดวก และทุกคนมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างโปร่งใส บริหารแบบบูรณาการหลักธรรมาภิบาล สร้างชุมชนเข้มแข็งในการพัฒนาที่ยั่งยืน

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

วันที่ 17 มีนาคม 2560

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ

การบริหารธุรกิจในองค์กรในโลกยุคใหม่

โลกปัจจุบันย้ายจากด้าน West สู่ East, Big สู่ Small, Business สู่Consumer , Mass สู่ Niche และ Volume สู่ Value

สิ่งที่พบคือ

1. โลกย้ายจากตะวันตกมาตะวันออกมาขึ้น

2. ปัจจุบันย้ายมาเป็น Tech Start Up คือองค์กรเล็กมากแต่เติบโตสูง

หัวใจขององค์กร Inner Drive สู่ NHA Innovation Spirity

1. Reason for Being ต้องรู้ว่าทำไมการเคหะฯ ต้องอยู่ ต้องทำให้เห็นก่อน

2. Values & Heritage ค่านิยมเป็นอย่างไร มีค่านิยมหลักที่ต้องยึดมั่น ถือมั่นตลอดไป

3. Inspiration Leader ผู้บริหารมีกำลังใจหรือไม่

4. Customer Centric ลูกค้าทำอะไรไม่ใช่เราอยากทำอะไร หมายถึงลูกค้าทำอะไรเพื่อเราได้บ้าง เราเป็นแค่ Facilitator เราไม่ใช่คนที่ทำ Compliment เราต้องหาว่าพวกเขาต้องการทำอะไรให้ดีขึ้น

5. Innovation Ecology คืออะไรที่ไม่ใช่สินค้า บริการกระบวนการ แต่คือทุกอย่าง ทำให้ทุกอย่างในองค์กรเชื่อมต่อกัน

สร้างนวัตกรรมให้กับองค์กร

1.กระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking

2) ต้องเข้าใจลูกค้า อะไรคือ Pain Gain

3) ตีโจทย์ สิ่งที่ทำให้เป็นไปตามที่ต้องการ

4) ระดมความคิด

5) สร้างต้นแบบ

6) ทดสอบ Testing

การนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร

การจะทำให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ยาวนานหลายยุคหลายสมัยนั้น องค์กรต้องมีผู้สืบทอดที่ดีมีวิสัยทัศน์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยและ สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เมื่อทีมบริหารชุดใหม่เข้ามา มักมีการปรับโครงสร้างธุรกิจและการเงิน เพื่อกระจายความเสี่ยงและรองรับการเจริญเติบโตในอนาคต

การทำธุรกิจต้องมีกำไรเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม เพื่อสร้างความสมดุลของธุรกิจ เมื่อคิดเปรียบเทียบต้นทุน ค่าใช้จ่ายทุกอย่างแล้วต้องมีกำไร แต่ถ้าคำนวณแล้ว ไม่เห็นกำไรที่ชัดเจนก็ไม่ควรทำ

การปรับปรุงระบบการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างประสิทธิภาพรองรับการขยายธุรกิจในอนาคต นำระบบไอทีที่ทันสมัยมาเสริมเพื่อลดขั้นตอนการทำงานหรือขั้นตอนส่งเสริมทางด้านการขาย ไปจนถึงขั้นตอนการรับ/จ่ายเงิน ลดขั้นตอนการทำงานและปฏิบัติการ ซึ่งเป้าหมายคือการทำให้องค์กรขยายตัวเพิ่มขึ้นได้อีก 20-30% โดยไม่ต้องเพิ่มกำลังคน

มีความโปร่งใส โดยการเสนอข่าวเกี่ยวกับบริษัททั้งในแง่ดีและไม่ดีโดยไม่ปิดบัง ทำให้เมื่อมีการตรวจสอบบัญชี จึงไม่มีความเห็น ในทางที่ไม่ดีเลย ตรงนี้ทำให้บริษัทมีความน่าเชื่อถือ และมีเสถียรภาพทางการเงิน พร้อมสำหรับการขยายธุรกิจต่อไป

นักบริหารต้องลงมือทำเอง โดยต้องลงลึกเข้าไปดูในรายละเอียด แม้กระทั่งการออกแบบผลิตภัณฑ์ เขียนรายงานประจำปี ดีลเพิ่มทุนกับธนาคาร รวมถึงการหาพันธมิตร

รับฟังความเห็นและไอเดียของลูกน้อง เป็นหน้าที่ของทีมที่จะต้องนำเสนอผลงาน และพิสูจน์ให้เข้าใจว่า มีโอกาสทำกำไรได้ ผู้บริหารต้องไม่ยึดติดในความคิดของตนเอง บ่อยครั้งที่ต้องทำตัวเป็นคนโง่ไว้ก่อน จะได้รู้จักรับฟังความคิดของผู้อื่น

ปั้นดาวรุ่งเพื่อมารับผิดชอบ สร้างคนให้มีความพร้อม เพราะในการขยายธุรกิจ เงินและสินทรัพย์ไม่ใช้ข้อจำกัด หากแต่อยู่ที่พร้อมของคนมากกว่า

หากต้องการทำให้ได้ตามเป้า ต้องรุกไปยังนวัตกรรมใหม่ ๆ เพิ่มเติม ทั้งนี้การรุกไปยังนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อต่อยอด เสริมมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กร จะเป็นส่วนช่วยให้องค์กรบรรลุยุทธศาสตร์เป้าหมาย

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

วันที่ 15 มีนาคม 2560

สรุปประเด็นความท้าทายที่น่าสนใจ และเปลี่ยนมุมมองขององค์กร

บทบาทของรัฐวิสาหกิจอย่างการเคหะฯ ได้ถูกท้าทาย เนื่องจาก จากเดิมภาคเอกชนที่เคยเล่นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในตลาดระดับกลางถึงระดับบน แต่ปัจจุบันกลับพบว่ามีหลายภาคเอกชนที่ได้ลงมาเล่นในตลาดระดับกลางถึงระดับล่าง ภาคเอกชนอย่างอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ ค่อนข้างได้เปรียบมากกว่าการเคหะฯ เนื่องจากภาคเอกชนมีความเป็นอิสระมากกว่ารัฐวิสาหกิจ ในที่สุดสิ่งที่จะเกิดขึ้นคือเมื่อมีการแข่งขันจะทำอย่างไร

สิ่งที่พบคือแผนพัฒนา 10 ปีไม่ได้ดูที่คู่แข่งโดยตรง เพราะว่า Focus อยู่ที่จะแข่งที่ตลาดระดับกลางหรือระดับล่าง

อีกตัวอย่างคือ การบินไทย เมื่อมีเอกชนที่เข้มแข็งกว่ามาแข่ง การบินไทยก็สู้ไม่ได้

เรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษก็กำลังกลุ้มใจด้านนิคมฯ อยู่ ภารกิจการเคหะฯ ยังมุ่งไปที่ระดับกลางถึงระดับล่างเกือบหนึ่งในสาม

สิ่งที่ถามคือ การเคหะฯ มี Land Bank หรือไม่ เพราะว่าคนอยากไปอยู่คอนโดฯ ชานเมืองมากขึ้น หมายถึงความต้องการที่อยู่อาศัยต้องเป็นชานเมืองแน่

การเคหะฯ มีผลิตภัณฑ์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงตามพฤติกรรมผู้บริโภคหรือไม่ทิศทางใช่หรือไม่ อาทิ ทิศทางของคนไม่ใช้โน้ตบุ๊กส์หรือ PC อีกหน่อยจะใช้ Tablet ธุรกิจไม่สามารถยึดโยง PC เหมือนเดิม จึงต้องทำเป็น Tablet เพื่อตอบสนองพฤติกรรมผู้บริโภค

การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ส่วนหนึ่งคือ Location ถ้า Location ไม่ได้ก็เป็นไปได้ยาก ทางออกอีกทางคือการมี Land Bank ในแนวชานเมือง และแนวรถไฟ อย่างมีนัยยะจะมีกี่เปอร์เซ็นต์ แล้วถ้าเป็นไปไม่ได้จะเพิ่มสัดส่วนอย่างไร รัฐวิสาหกิจจึงเป็นเสมือน Social Enterprise แบบหนึ่งคือการช่วยเหลือสังคม โดยเฉพาะสังคมรากแก้ว

สิ่งนี้เป็นความเสี่ยงสูงสุดที่จะทำให้องค์กรอยู่หรือไป ถ้าไม่ทำตอนนี้ สิ่งนี้อาจสายไป เพราะรถไฟฟ้ากำลังเสร็จในอีก 5 ปี ซึ่งถ้าไม่ทำตอนนี้ราคาที่ดินจะขึ้น และไม่อาจทำอะไรได้

ความคิดเห็นศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ ต่อการเคหะแห่งชาติ

สิ่งที่อยากทำต่อไปคือการปรับภาพลักษณ์ของการเคหะฯ ว่ามีมาตรฐานได้รับการยอมรับ มีจุดแข็งเรื่องการบริการหลังการขาย มีการดูเรื่องคุณภาพชีวิตด้วย แต่คิดว่าน่าจะมีความสามารถในการพัฒนาได้มากกว่านี้

สิ่งที่ควรทำคือเราต้องเปลี่ยนวิธีคิด แผน 10 ปี มีอะไรที่เป็นระยะยาว มีข้อดีคือมีทิศทางชัดเจน และควรมีแผนภาพใหญ่ 20 ปีในการดูภาพรวมของทั้งประเทศ มีส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องมหาดไทย การศึกษา สาธารณสุข กระทรวงพาณิชย์ และส่วนต่าง ๆ ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการเคหะฯทั้งหมด ควรเน้นเรื่องยุทธศาสตร์การบูรณาการ มีการดูแลเพื่อลดความซ้ำซ้อน แต่ปัญหาคือยังมีหน่วยงานหลักอยู่ และยังไม่มีการแชร์เรื่องงบประมาณที่ซ้ำซ้อน

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ร่วมแสดงความคิดเห็น ด้านการขาย ตลอดจนการโละสต็อกบ้านเคหะฯ

1.จะลดสต็อกบ้านได้อย่างไร 1.ขาย 2. ได้เม็ดเงินกลับมา คือส่วนหนึ่งคือขายทิ้ง และถ้าเปลี่ยนเป็นค่าเช่าจะได้เงินกลับมา ดังนั้นอย่าเพิ่งไปปิด Choice อื่นด้วย อาจมี 3 สถานะ คือไม่เกิดประโยชน์ ฝ่ายขาย และเกิดประโยชน์จากการเช่า ดังนั้นไม่ต้องจำกัดที่ขายอย่างเดียว

2. อยากให้เพิ่มช่องทางการขายคือ เช่น ค่าคอมมิสชั่นในการบอกต่อ ที่ให้คนมาได้ ทุกอย่างทำได้หมด อย่างหนึ่งคือมี Agent ที่มีฟรีแลนซ์ต่าง ๆ ต้องสร้าง Network ให้ได้ ในพื้นทีที่รายล้อมการเคหะฯ ในแต่ละกลุ่มพื้นที่จะเป็นใคร เราสามารถเพิ่มได้มากกว่านี้ หรือคนที่เปิดบริษัท ERA หรือ Twenty one century จะมีกลไกอันดับหนึ่ง ส่วนอีกช่องทางหนึ่งคือช่องทาง Digital ต้องทำ E-Market Place ของเราเอง ช่องทางที่สะดวกที่สุดคือต้องนำทุกอย่างไปอยู่ที่โลกสมัยใหม่ มีตัวอย่างให้ดูได้ระดับหนึ่งเป็น E-market Place และ ออนไลน์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่เคยซื้อและแนะนำต่อ 2.เป็น Change Agent อยู่แล้ว

มีช่องการประมูลที่น่าสนใจ การขายแบบเดิมที่เป็นบ้านเปลือยแล้วมาตกแต่งก็น่าสนใจ ใช้ความสามารถในการตกแต่งพร้อม Build in บางอย่างก็น่าสนใจ แต่ถ้าเป็นแบบบ้านเปลือยอาจมองไม่ออก

กองทุนก็น่าสนใจ การทำ Pre Approve กองทุนต่าง ๆ เป็นเรื่องที่น่าคิด การมี Pre Approval ค่อนข้างเร็ว เรื่องกองทุน Housing Fund ธนาคารฯมีอยู่แล้วแต่สิ่งที่มากคือการ Pree Screen หรือดู Credit Line น่าจะเป็นประโยชน์

วันที่ 16 มีนาคม 2560

แนวคิดที่น่าสนใจจากอาจารย์ผู้บรรยาย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การสร้าง Brand ต้องเริ่มจากภายในองค์กร

End Consumer หรือผู้บริโภคที่จะมาซื้อของไปใช้มักเป็นคนกลุ่มแรกที่นักการตลาดคิดถึงเป็นกลุ่มแรกเมื่อคิดว่าถึงเวลา ต้องสร้างแบรนด์เสียที ทั้ง ๆ การเริ่มต้นสร้างแบรนด์กับ End Consumer ด้วยการคิดถึงแต่เรื่องการทุ่มเงินเพื่อโฆษณาหรือทํากิจกรรมต่าง ๆ เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง

“จริง ๆ แล้ว Brand ที่ประสบความสําเร็จจะต้องเริ่มต้นสร้างมาจากภายในองค์กร (Internal Culture) นั่นคือ

พนักงานทุกคน ถือว่าเป็น Brand Ambassador

พนักงานจะต้องมีความเขารู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแบรนด์ของตัวเองและทิศทางที่กําลัง

เดินไปอย่างถ่องแท้เสียก่อน Brand ถึงจะเกิด”

สิ่งที่ดีคือ ผู้บริหารเป็น Brand Ambassador จะได้กลุ่มเป้าหมาย ที่ถูกต้อง

1. ต้อง Check list เพื่อสร้าง Impression แรก (มีนามบัตร)

2. คนที่ Orientation จะอาวุโสหน่อย และพาไปแนะนำคน แล้วเด็กจะมั่นใจมีคนดูแล

3. มีพี่เลี้ยงดูแล

4. หัวหน้าต้องดูแลทีม ให้มีการ Welcome มีไมตรีจิตในการต้อนรับ

เราต้องมีโปรแกรมพิเศษ ในการสะสมว่าได้เท่าไหร่

ทำไมพนักงานต้องเป็น Brand Ambassador

  • พนักงานทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้าง Brand
  • ดังนั้น พนักงานทุกคนก็คือ Brand Ambassador

2.ลูกค้าพบพนักงานเมื่อใด ก็เหมือนกับพบ Brand บริษัทเมื่อนั้น

3.พนักงานแสดงออกต่อลูกค้าอย่างไรก็เหมือนกับ Brand บริษัทที่แสดงออกต่อลูกค้าเช่นนั้น

4.ลูกค้าประทับใจพนักงานเช่นไร ก็ประทับใจ Brand เช่นนั้น

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

โมเดลประเทศไทย 4.0

ทำอย่างไรให้ธุรกิจนอกจาก Innovation สร้าง Value ด้วย

- จาก Internet of Things ไปสู่ Internet of Value

- การเคหะ กำลังขาย Solution บางอย่าง คือคุณภาพชีวิต อย่างที่เขาใหญ่ขายสมดุลของชีวิต

- สิ่งที่ควรทำคือการขาย Solution ให้กับลูกค้า ต้องคิดมากกว่าของ Product หรือ Service ในการบริการ

ปัจจัยในการขับเคลื่อนองค์กร 4.0

  • การเปลี่ยนแปลงเร็วและไว
  • คนที่มีศักยภาพคือมีความแตกต่าง แล้วดึงมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

วันที่ 17 มีนาคม 2560

การเสนอบทเรียนจากหนังสือที่เป็นปัจจัยหนึ่งในการสร้างความเข้าใจ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินงานขององค์กรที่สำคัญ นำไปสู่กระบวนงานที่มีศักยภาพ ดังที่กลุ่ม 1 เสนอ

กลุ่มที่ 1 The Five Messages Leaders Must Manage(John Hamm)

สิ่งสำคัญ 5 เรื่อง ที่เป็นปัจจัยให้ผู้นำองค์กร

องค์กรจะประกอบไปด้วย 3 เสาหลักองค์กร

1. คน

2. งาน

3. การสื่อสาร

องค์ประกอบของการสื่อสาร

ผู้ส่งสาร (ใคร) สาร (กล่าวอะไร) สื่อ(ช่องทางใด) ผู้รับสาร (ถึงใคร) ข้อมูลป้อนกลับ (ผล Feeback) เป็นอย่างไร

1. โครงสร้างและสายการบังคับบัญชา

ของการเคหะฯ เป็นรูปทรงปิรามิดจากระดับสูงมาล่าง

สะท้อนให้เห็นผู้มีอำนาจ มีกระทบผู้ปฏิบัติงานบางคนที่ต้องเปลี่ยน Size งาน ต้องมีการแถลงที่ชัดเจน ให้ทุกคนทราบ เน้นเรื่องการอธิบายในการปรับโครงสร้างให้ใช้ผลประโยชน์

2. การเงิน

มีการตั้งเป้าหมายไว้ และกำหนดวิธีการเพื่อให้พนักงานดำเนินการตามนั้น

เป็นลักษณะ Post Finance และจัดประโยชน์ให้ชุมชน มีการสื่อความหมาย วิเคราะห์ประเด็นต่าง ๆ

3. ความรู้สึก

ของผู้นำที่มีต่อตนเอง ผู้นำต้องเป็น Role Model มีบทบาทในการกระตุ้น แสดงความชัดเจน เปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็น เพื่อให้เกิด 3 V

4. เวลา

ผู้นำต้องรู้จักจัดลำดับความสำคัญงาน วางแผน ตั้งเป้าหมายและลงมือทำ

5. วัฒนธรรมองค์กร

เสริมสร้างให้พนักงานมีการปฏิบัติงานที่ดี

ร่วมแสดงความคิดเห็น

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เราต้องนำไป Apply กับวัฒนธรรมองค์กรของการเคหะฯ แต่ละท่านต้องดูว่าเหมาะสมหรือไม่ เราใช้ Chira Way หรือ World Coffee Shop ต้องวิจารณ์แบบนี้ว่าเหมาะสมกับการเคหะฯ หรือไม่

เคยไปสัมภาษณ์ที่ IRPC มีตัวละครอยู่ 3 ตัวคือ CEO ถ้าเป็น CEO ใหญ่ต้องนำองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศ ยกตัวอย่างถ้าเป็น CEO จะพูด 4 อย่างคือ Where are we? Where do we want to go? How to do it? How to do it successfully?

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

สิ่งที่อาจารย์วิเคราะห์ถือเป็นบทเรียนที่ดีโดยส่วนตัวยังไม่ได้พูดถึงเนื้อหาของหนังสือ ในการดึงมาคือดึงมาเปรียบเทียบ โดยยังไม่ได้คิดไปไกลมาก

เรื่องที่นำเสนอ 5 เรื่องขาดเรื่องที่สำคัญมากคือเรื่องของ Trend และสภาพแวดล้อมที่มากระทบการเคหะฯ เช่น คน รัฐ ลูกค้าต้องการอะไร

เรื่องเอกชนที่ต้องแตะมือกัน มีการเป็นหนังสือยุคเก่า

เรื่องการจัดการเวลา ในปัจจุบันต้องทำเวลาไหนก็ได้

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

1.เรื่องโครงสร้างหรือ Hierarchy นี้ CEO ต้องพูดให้ชัดและสร้างให้เข้าใจว่าไม่น่ากลัวอย่างที่คิด ในทางปฏิบัติต้องเคลียร์และชัดเจน ถ้าปล่อยให้พนักงานรู้สึกจะทำงานแบบ Work in fear

2. Financial Result สะท้อนไปถึง Performance

3. งานของ CEO คืออะไร หน้าที่คือฟังว่ามีความเห็นอะไรบ้าง แล้วเสนอขึ้นมา

4. Time management เป็นเรื่อง Sense of Urgency

5. Corporate Culture ต้องเน้นมาก ๆ เนื่องจากเป็นพฤติกรรมที่ต้องสร้างแบรนด์

มีความคิดเร่งด่วนต้องวิ่งทำงาน ให้สมมุติว่าถ้าเป็น CEO แล้วเป็น Town Hall ของการเคหะฯ จะส่ง Message อะไรที่ทำให้ทันสมัย

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

เรื่องสื่อเป็นพลังที่สำคัญ สิ่งที่ Advance ไปคือจาก Internet ไปสู่ Intranet จะดึงเอา Excellent คน ไปสร้าง Branding และสื่อสารภายนอกให้เข้าใจซึ่งกันและกัน ต้องพัฒนาตัวเองอย่างไร แล้วเรา Branding อย่างนี้ไปแก้ไข Solution

พลังของการสื่อสารต้องมี Strategy แล้วต้องตรงประเด็น ความจริง คือความจริง ตัดความไม่ถูกต้องออก แล้วไปสู่ Relevance แล้วนำไปแก้ปัญหาในองค์กรได้

ดร.พยัต วุฒิรงค์

การบริหารธุรกิจในองค์กรในโลกยุคใหม่

กรณีศึกษาเรื่องนวัตกรรม

1. ทั่วโลกจะบอกว่านวัตกรรมเป็นมากกว่าสินค้าและบริการแล้ว แต่นวัตกรรมคือทุกอย่าง การจัดการที่ดี คนที่ดี วิธีการตลาดที่ดีก็เป็นนวัตกรรม ทุกอย่างมีนวัตกรรมหมด วิธีการตลาดที่ใหม่ที่สุดในโลก

2. นวัตกรรมให้ดีต้องมีความร่วมมือกับคนข้างนอก วันแรกที่เข้างานอย่างไร วิธีการที่เร็วขึ้นคือเปิดให้คนคิด เช่นเรื่องระบบที่จอดรถ การอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข แล้วเราก็สนับสนุนบางส่วน

3. ให้คนอื่นคิดว่าอยากทำอะไรให้การเคหะฯ ดีกว่านั่งคิดเองเพราะคิดยากมาก แล้วเรามาหาวิธีให้เป็นไปตามนั้น

4. นวัตกรรมต้องเริ่มจากระดับ Top เสมอ เพราะไม่สามารถบอกให้ระดับล่างไปคิดได้ ต้องเริ่มจากระดับบนหาวิธี

แนวคิดที่เป็นประโยชน์ขององค์กรจากข้อคิดเห็นของว่าที่ร้อยตรีจีรวัฒน์ เยาวนิช ที่มีความสำคัญสำหรับองค์กร

เครื่องมือในการสร้าง Innovation

เราจะมีวิธีการใดที่สร้างนวัตกรรมให้กับองค์กร

1.กระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking

1) ต้องเข้าใจลูกค้า อะไรคือ Pain Gain

2) ตีโจทย์ สิ่งที่ทำให้เป็นไปตามที่ต้องการ

3) ระดมความคิด

4) สร้างต้นแบบ

5) ทดสอบ Testing

การคิดไอเดียให้เน้นที่ลูกค้าหรือคน

ทำไมการคิดนวัตกรรมต้องเป็นโมเดลของ มหาวิทยาลัย Stanford เนื่องจากอยู่ที่ Silicon Valley นักศึกษาเอาไอเดียที่มาใช้อยู่ที่นี่

1. Empathize เข้าใจลูกค้า

- การนำใจเขามาใส่ใจเรา คือการเข้าหา การถามลูกค้ามีดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เพราะ 1) ลูกค้าอาจไม่บอกความจริงกับเรา 2) ลูกค้าไม่รู้ว่าต้องการอะไร จนกว่าเราจะโชว์สิ่งนั้นให้พวกเขาเห็น

วิธีการคือ

1. สังเกต โดยการคลุกคลี เช่น

- เผ่าเมาคลี กินเหมือนเผ่านั้น

- ให้พยาบาล NHS สวมชุดอ้วนแล้วลองขึ้นเครื่อง

- ยกทรงผู้หญิง ผู้ชายรู้ประโยชน์ของผู้หญิงหน้าอกใหญ่ แต่ไม่รู้ว่าโทษของผู้หญิงหน้าอกใหญ่ เป็นอย่างไร ให้พนักงานสวมตัวถ่วงน้ำหนัก 1-1.5 กก.

2. Define ตีโจทย์

อะไรคือประโยชน์ที่ลูกค้าอยากได้ ต้องคำนึงถึงโจทย์ขององค์กรว่าเป็นอย่างไร

- เป้าหมายขององค์กร

- กลยุทธ์ขององค์กร

- จุดแข็งขององค์กร

- ปัญหาขององค์กร

- ปัญหาของลูกค้า

3. Ideate ระดมความคิด

เราสามารถใช้ Syringe ทำอะไรได้บ้าง ?

การคิดไอเดียบางอย่างให้พูดออกมามาก ๆ ว่ามีคุณภาพหรือไม่ อย่าเพิ่งไปตัดสินไอเดียนั้น ให้เขาคิดออกมาก่อน เพราะยังวัดไม่ได้ว่ามีคุณภาพหรือไม่

สิ่งที่บอกได้ว่าไอเดียดีหรือไม่อยู่ที่ลูกค้า

4. Prototype สร้างต้นแบบ

ต้นแบบจะเป็น Health Land จะเป็นกระดาษ เป็นต้นแบบเริ่มต้นก่อน แล้วถ้าไอเดียที่เราคิดเป็นวิธีการใหม่ ๆ

สิ่งที่ทดลองคือ Role Play ให้ลูกค้าเข้ามาลองใช้บริการ มีติดกล้อง ดูมุมมองจากลูกค้าและต้นแบบ

5. Test ทดสอบ

การทดสอบดูจาก

- ลูกค้าอยากได้ไหม

- ทำได้จริงไหม

- สร้างกำไรได้ไหม

17 มีนาคม 2560

การบริหารธุรกิจในองค์กรในโลกยุคใหม่

โลกในยุคปัจจุบันที่มีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปมากจากในอดีต ทำให้องค์กรต้องมีการวางกลยุทธ์ในการดำเนินงาน ต้องมีการปรับเปลี่ยนตัวเอง ให้ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งในด้านนวัตกรรมต้องมีการคิดค้นสิ่งใหม่ เพื่อเพิ่มมูลค่าและคุณค่าของผลิตภัณฑ์ และด้านความต้องการของลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า จึงจะสามารถเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่แท้จริงได้

วันที่ 16มีนาคม2560 การบริหารทุนมนุษย์เชิงกุลยุทธ์ จะต้องมีการวางแผนวิเคราะห์สถานกาณ์ต่างๆตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงการสร้างแบรด์องค์กรจะต้องเริ่มจากภายในองค์กร พนักงานทุกคนจะต้องรู้เข้าใจแบรนด์ของตัวเองและทิศทางที่กำลังจะไป องค์กรจะเติบโตได้ต้องพัฒนาคนให้มีศักยภาพ ต้องพัฒนาความคิดก่อนความรู้สามารถเรียนรู้จากที่ใหนก็ได้


วันที่ 17มีนาคม 2560 วิเคราะห์การคึกษาด้านการบริหารธุรกิจ วิธีที่จะสร้างนวัตกรรมให้องค์กรต้องมีการบริหารจัดการที่ดี่โดยใช้วิธีใหม่ๆในการเพิ่มประสิทธิ์ภาพต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไรต้องคิดออกแบบใหม่หรือนำของเก่ามาเปลี่ยนโฉมใหม่

15 มีนาคม 2560 วิเคราะห์ประเด็นท้าทายการเคหะ และการประยุกต์ใช้ในการเคหะ

1. บทบาทการเคหะ ควรเป็นนักพัฒนา ผู้จัดหาด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย และเป็นผู้กำหนดนโยบายยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศ ตาม พรบ.ที่จัดตั้ง ที่ต้องจัดให้มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสมกับประชาชนที่สามารุรับภาระได้

2. การพัฒนาที่อยู่อาศัยต้องมุางเน้นดารมีส่วนร่วมตามแนวคิดประชารัฐ โดยภาครัฐต้องสนับสนุนและกำหนดนโยบายให้ผู้มีรายได้เข้าถึงที่อยู่อาศัย

3.การเคหะยังมีความจำเป็นต้องมีภารกิจการกำหนดนโยบาย และจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ไม่สามารถเข้าถึงที่อยู่อาศัย

4.ในอนาคตการเคหะ ควรเน้นการพัฒนาฟื้นฟูเมืองที่เสื่อมโทรม

5.การเคหะต้องปรับกระบวนการทำงานและสร้างภาพลักษณ์ สร้างเครือข่ายพันธมิตร


วันที่ 16 มีนาคม 2560 การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และการประยุกต์ใช้

1.ควรพัฒนาบุคลากร โดยให้มีการเรียนรู้ ลงมือทำจริง

2.ควรเพิ่มสมรรถนะคนให้สนองต่อยุทธศาสตร์องค์กร

3. ควรวิเคราะห์ระบบงาน กระบวนการทำงาน โครงสร้างองค์กรที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

4.ควรมีการกระจายอำนาจให้สามารถปฎิบัติได้คล่องตัว

5. ควรมีกาเพิ่มเติมความรู้ให้พนักงานและสามารถนำไปใช้จริง

6. ควรมีการสอนงานแบบระบบพี่เลี้ยง

7. ควรเปิดโอกาสให้มีกระบวนการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น

8.ควรสร้างความผูกพันพนักงาน มีขวัญกำลังใจ

วันที่ 17 มีนาคม 2560 การบริหารธุรกิจด้วยนวัตกรรมและการประยุกต์ใช้ให้องค์กรมีการสร้างนวัตกรรม

1. ค้องเริ่มจากการแก้ปัญหา ด้วยการวิเคราะห์จากการแก้ไข หาสาเหตุ ไปสู่การสร้างวิธีใหม่ๆ

2. ต้องมีการปรับปรุงให้ดีกว่าเดิม ด้วยการปลูกฝังคนในองค์กรมีความคิดว่าจะทำให่ดีอย่างไร ส่งเสริมให้คิดทำเพื่อสิ่งดีกว่าอยู่เสมอ จนเกิดวิธีใหม่ๆๆ เครื่องมือใหม่ๆ

3. ต้องสร้างให้มีความรู้ที่สำคัญจากระบบการจัดการความรู้ จนเห็นช่องทางการนำไปสู่การสร้างสิ่งใหม่ๆที่จะทำให้การทำงานดีขึ้น โดยกาคมีข้อมูล สารสนเทศ และความรู้ ที่ต่อยอดการพัฒนาใหม่ๆ


วันที่ 16 มีนาคม 2560

จากที่เรียนการบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานกับการเคหะฯ ได้

  • การสร้าง Brand ต้องสื่อสารให้พนักงานทุกคนในองค์กรเข้าใจและรับรู้เกี่ยวกับ
  • การสื่อสารที่ดี ต้องทำให้เกิดการยอมรับทั้งผู้พูดและผู้รับ โดยผู้สื่อสารที่ดี ต้องสามารถโน้มน้าวใจ

Brand ของการเคหะฯ และเรื่องที่พนักงานทุกคนเป็น Brand Ambassador ซึ่งการกระทำของพนักงานที่แสดงต่อลูกค้าจะส่งผลต่อ Brand ของการเคหะฯ ดังนั้นต้องเน้นเรื่องสร้างและปฏิบัติตนให้เป็นตามค่านิยมขององค์กร เนื่องจากเป็นพฤติกรรมในการสร้าง Brand

และมีพลังอำนาจในการพูดให้ผู้ฟังยอมรับในสิ่งที่ต้องการสื่อสารหรือนำเสนอได้ ซึ่งจะต้องศึกษา เรียนรู้ และฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ

วันที่ 17 มีนาคม 2560

จากการเรียนการบริหารธุรกิจในองค์กรในโลกยุคใหม่ สามารถมาปรับใช้ในการทำงานของการเคหะฯ ได้

  • Business สู่ Customer นำความต้องการของลูกค้าเป็นหลักในการกำหนดผลิตภัณฑ์หรือบริการ โดยมองจากปัญหาของลูกค้า และทำสินค้าหรือบริการตอบสนองความต้องการของลูกค้า
  • Mass สู่ Niche ผลิตสินค้าหรือบริการ ที่เหมาะกับแต่ละคน ไม่ใช่ทุกคนได้เหมือนกันหมด

ดังนั้น การเคหะฯ ต้องมีข้อมูลของลูกค้า และนำมาวิเคราะห์หาความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงและแยกประเภทตามกลุ่มลูกค้า เพื่อให้ตอบสนองลูกค้าได้อย่างตรงเป้าหมาย

วันที่ 16 มีนาคม 2560

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้... โดนใจ....นำไปปรับใช้ :-

การเคลื่อนของทุนมนุษย์ จะเกิดขึ้นมากมาย ดังนั้น จะต้องมีการวางแผนและวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดีและแม่นยำ ซึ่งแนวโน้มของโลกเปลี่ยนแปลงไป

หลักในการวางแผนกำลังคน (5 : 4: 3) เป็นการสร้างแรงจูงใจให้กว่าจำนวนคนทำงาน โดยคนในองค์กรจะถูกปลูกฝังให้คิดบวกตลอดเวลา

แนวทางที่ประทับใจ

* คิด.....เด็ก....ความคิดสนุก ๆ สร้างสรร

*ทำ....วัยรุ่น....รวดเร็ว คล่องแคล้ว ว่องไว

* พูด...ผู้ใหญ่...มีหลักการ มีเหตุผล

โดยจะได้นำหลักการและแนวทาง ไปปรับใช้ในการบริหารงานอยู่เสมอ และสิ่งสำคัญคือ งานบริหารทรัพย์มนุษย์ มิใช่งานของ HR ฝ่ายเดียวแต่เป็นงานของคนทั้งองค์กร และในการทำงานจะต้องเข้าตัวเอง เข้าใจผู้อื่น และสร้างความสมดุล สุขภาพกาย...ครอบครัว...ชีวิต...งาน...สังคม

วันที่ 17 มีนาคม 2560

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)

สิ่งที่ได้เรียนรู้... โดนใจ....นำไปปรับใช้ :-

การบริหารธุรกิจในองค์กรในโลกยุคใหม่

โลกปัจจุบันย้ายจากด้าน West….. East, Big…Small, Business…Consumer, Mass…Niche, Volume…Value

ดังนั้น การเคหะฯ ต้องมีข้อมูลของลูกค้า และนำมาวิเคราะห์หาความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริงและแยกประเภทตามกลุ่มลูกค้า เพื่อให้ตอบสนองลูกค้าได้อย่างตรงเป้าหมาย.....

สิ่งที่ต้องถาม กคช. เพื่อการปรับปรุงงาน

* เหตุผลที่ทำไม กคช. ต้องอยู่ในธุรกิจ

* ค่านิยม และประวัติศาสตร์ เป็นอย่างไร

* แรงบันดาลใจจากผู้นำ ผู้บริหารทุกคนมีหน้าที่ในการสื่อสารอย่างต่อเนื่องบอกว่าจะทำอะไร

* ลูกค้าต้องการการอะไร???

* ทำทุกอย่างในองค์กรต้องประสานเชื่อมต่อกัน

กฤษฏิ์ วิเชียรพันธุ์

วันที่ 15 มีนาคม 2560

การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช. มีประโยชน์ต่อการบริหารความเสี่ยงองค์กร ทำให้ทราบถึงอนาคตของ กคช. ทราบถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคและทราบถึงกลุ่มบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ ได้เพิ่มกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้น้อยถึงปานกลาง ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับลูกค้าของ กคช. ทำให้ กคช. ได้รับผลกระทบในอนาคต หาก กคช. ไม่มีพันธกิจใหม่ ไม่คิดใหม่ เพื่อให้มีวิสัยทัศและพันธกิจใหม่ บทบาทของ กคช. ก็จะถูกทดแทนโดยเอกชน

วันที่ 16 มีนาคม 2560

เรียนรู้การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ วิเคราะห์แนวโน้มของโลกปัจจุบัน การสร้างแบรนด์ โดยต้องเริ่มภายในองค์กรก่อน มีการวางแผนอัตรากำลังการสรรหาคน การคัดเลือกบุคลากร เพื่อให้ได้คุณค่าคนกับคุณค่าทางธุรกิจ เพื่อให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในยุคดิจิตอล องค์กรต้องสร้างการจูงใจให้บุคลากรมีจิตนาการ สร้างความคิดและให้ความรู้เพื่อเป็นมืออาชีพอย่างแท้จริง

วันที่ 17 มีนาคม 2560

เรียนรู้การวิเคราะห์กรณีศึกษาด้านบริหารธุรกิจของบริษัทต่าง ๆ เพื่อให้ทราบวิธีบริหารจัดการองค์กรที่มีเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาเปรียบเทียบให้เห็นวิธีบริหารธุรกิจในอดีตและปัจจุบัน-เรียนรู้กระบวนการคิดเชิงออกแผนนวัตกรรม โดยการเข้าใจลูกค้า ตีโจทย์ ระดมความคิด สร้างต้นแบบและมีการทดสอบ

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

วันที่ 15 มีนาคม 2560

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของเคหะ

การเคหะแห่งชาติเป็นหน่วยงานช่วยเหลือสังคม เฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลาง จึงเกิดความเสี่ยงสูงหากเทียบกับองค์กรเอกชน ที่เป็นองค์กรหารายได้ ดังนั้นความเสี่ยงที่ทำให้รัฐวิสาหกิจได้รับผลกระทบและต้องหาแนวทางรับมือ มีดังนี้

1. ภาคเอกชนเริ่มเล็งเห็นโอกาสในตลาดระดับกลางและระดับล่าง ซึ่งเป็นกลุ่มลูกค้าเป้าหมายเดียวกับการเคหะฯ ทำให้เกิดการแข่งขันขึ้นระหว่างรัฐวิสากิจและภาคเอกชน แต่ภาคเอกชนมีอสังหาริมทรัพย์ต่าง ๆ มีการบริหารที่เป็นอิสระมากกว่ารัฐวิสาหกิจ จึงเกิดความได้เปรียบมากกว่า และสร้างความท้าทายให้กับการเคหะฯ ดังนั้น การเคหะฯ ต้องคิดนอกกรอบ สร้าง S CURVE ตัวใหม่ สร้างภารกิจใหม่ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีคู่แข่งเอกชนเข้ามา มิฉะนั้นจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการเคหะฯได้

2. พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มเปลี่ยนแปลงไป มีวิถีชีวิตต่างจากเดิม ต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น ที่การเดินทางจะใช้รถไฟฟ้า ทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจที่พักอาศัยตามแนวรถไฟฟ้า

3. เกิดตลาดกลุ่มใหม่ CLMV ( กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม ) องค์กรต้องปรับตัวให้ทันต่อความต้องการของตลาด ผลิตสินค้าใหม่ๆ

4. เพื่อรองรับกลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ เช่น หอพักนักศึกษาในมหาวิทยาลัย บ้านผู้สูงอายุ และบ้านเช่าสำหรับแรงงานข้ามชาติ

5. การเคหะฯ ต้องพัฒนา โดยใช้สิ่งที่มีศักยภาพสามารถทำเองได้หรือบางส่วน ให้รัฐบาลช่วยเหลือ และสร้างเครือข่าย เช่น กรมธนารักษ์กับกคช., การร่วมลงทุน PPP

6. การพัฒนาคน โดยเน้นการทำงานมีความสุข มีจริยธรรม ความยั่งยืน นำเทคโนโลยีมาใช้ และต้องเรียนรู้ด้วยตนเองตลอดเวลา

การนำไปปรับใช้กับองค์กรและตนเอง

1. ในการบริหารงานในองค์กร หากจะให้องค์กรก้าวต่อไปอย่างยั่งยืน ผู้บริหารต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก จากเดิมมีนโยบายจะสร้างที่อยู่อาศัยเพื่อขายสำหรับผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางอย่างเดียว ก็กลับมาพิจารณา สร้างบ้านสำหรับผู้สูงอายุ บ้านเช่าตามแนวรถไฟฟ้า บ้านเช่าแรงงานต่างด้าว ฯลฯ ที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของ กคช. เพื่อตอบสนองลูกค้าตามการเปลี่ยนแปลง และสร้างรายได้จาก Community โดยกันพื้นที่บางส่วนของโครงการทำเชิงพาณิชย์ เพื่อสร้างรายได้กับกคช.และสร้างอาชีพให้แก่ชุมชนแบบยั่งยืน ก่อให้เกิดรายได้และสามารถเลี้ยงตนเองได้ในระยะยาว

2. การนำเทคโนโลยี มาใช้ในการบริการลูกค้า แบบ One Stop Service เช่น ลูกค้าสามารถเช็คข้อมูล ค่าผ่อนงวดบ้าน และค่าใช้จ่ายต่างๆ

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์

1. การจัดการทรัพยากรมนุษย์ ต้องดูองค์ประกอบทั้ง จำนวนคนและค่าใช้จ่ายดำเนินการเป็นสัดส่วนของการจ้างงาน การเคลื่อนย้ายของกำลังแรงงานที่ต้องการคนเก่งเข้ามาทำงาน จะต้องเตรียมความพร้อมของคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง การเคลื่อนย้ายแหล่งงาน และเน้นการพัฒนาคน

2. หลักการวางแผนกำลังคน ควรใช้หลัก 5: 4: 3 คือ Productivity การทำงาน เท่ากับ 5 คน ให้แรงจูงใจ (ค่าตอบแทน) เท่ากับ 4 คน และจ้างคนเท่ากับ 3 คน เป็นการสร้างแรงจูงใจให้คนทำงานมากขึ้น ใช้คนเท่าเดิม และปลูกฝังให้คนในองค์กรคิดบวกตลอดเวลา ถ้าทำไม่ได้จะมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย

3. ถ้าหากเกิดปัญหาองค์กรไม่คำนึงถึงปัญหานั้น แต่จะพูดถึงความท้าทายและการแก้ไข ไม่พยายามหาว่าสาเหตุเกิดจากใคร แต่ให้คิดว่าสิ่งใดที่ทำให้เกิดปัญหา แล้วป้องกันอย่างไรไม่ให้เกิดปัญหานั้นซ้ำอีก

4. การพัฒนาคน มีองค์ประกอบ ดังนี้ ความรู้ ,ความคิด, จินตนาการ

การสร้างความรู้ในปัจจุบันมีสามารถหาได้หลายแหล่ง แต่องค์กรส่วนมากยังมุ่งที่จะพัฒนาความรู้ก่อน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ควรพัฒนามากกว่าคือความคิด และจินตนาการ แนวคิด โดยคิดแบบเด็ก คือ คิดสร้างสรรค์, ทำแบบวัยรุ่น คือ ทำทันที และพูดแบบผู้ใหญ่ คือ พูดแบบมีหลักการ มีเหตุมีผล

การนำไปปรับใช้กับองค์กรและตนเอง

1.การหาแนวทางแก้ไข ยุคที่ผู้บริหารระดับสูง มีมุมมองและประสบการณ์ว่าต้องการแบบนี้ ในขณะที่ Gen Y มองเห็นในอีกมุมมองหนึ่งซึ่งไม่ Balance โดยให้มีการจัดเสวนาในการคุยกันในหน่วยงานทุกอาทิตย์เพื่อสร้างความเข้าใจระหว่างกัน และเมื่อเข้าใจมากขึ้น การทำงานจะเริ่มดีขึ้น ค่อยๆ ลดระดับสามารถคุยกันได้มากขึ้น สุดท้ายจึงเกิดผลดีกับองค์กร กล้าเสนอสิ่งใหม่ๆมากขึ้น กล้าเปลี่ยน และทุกคนต้องร่วมมือไปถึงเป้าหมายนั้นร่วมกัน

2. การวางแผนคน กคช. ควรใช้แนวการทำงานให้ได้ผลงานเท่ากับ 5 คน ให้ค่าตอบแทนเท่ากับ 4 คน และกำลังคน เท่ากับ 3 คน

3. การพัฒนาคนของ กคช. ต้องฝึกให้คิดแบบเด็ก คือ คิดสร้างสรรค์, ทำแบบวัยรุ่น คือ ทำทันที และพูดแบบผู้ใหญ่ คือ พูดแบบมีหลักการ มีเหตุมีผล

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

วันที่ 17 มีนาคม 2560

นวัตกรรม คือ

1. เป็นการคิดสิ่งใหม่ๆ อย่าพลิกโฉม

2. นำสิ่งเดิมมาดัดแปลงหรือปรับปรุง เพื่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและคุณค่า

3. Copy and Development จากที่อื่น เปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น โดยใช้เครื่องมือ เพื่อหาความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค

วิธีการสร้างนวัตกรรมให้แก่องค์กร

1. กระบวนการคิดเชิงออกแบบ Design Thinking

2. เข้าใจลูกค้า เอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยการเข้าหา การสอบถาม การสังเกต

3. การตีโจทย์ เป้าหมายขององค์กร, กลยุทธ์ขององค์กร, จุดแข็ง, ปัญหาขององค์กร และปัญหาของผู้บริโภค

4. ระดมความคิด หาแนวความคิดใหม่ๆ โดยไม่ปิดกั้นข้อจำกัด เพื่อให้ได้แนวความคิดที่หลายหลาก และการตัดสินใจที่แท้จริงควรสอบถามจากผู้บริโภค

5. ทำการทดสอบแนวความคิด ลูกค้าต้องการจริงหรือไม่, สามารถทำได้จริง และสร้างกำไรให้กับองค์กรได้

การนำไปปรับใช้กับองค์กรและตนเอง ถ้าสามารถตระหนักถึงความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค จนเกิดความพึงพอใจสูงสุดแล้ว การเคหะฯจะเป็นองค์กรที่ก้าวหน้าต่อไปอย่างยั่งยืน

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

วิชญะ สิริชัยเจริญกล

วันที่ 15 มี.ค. 60

ภาคเช้า : การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ (ด้านการตลาด/การเงิน/วัฒนธรรมองค์กร)

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล ได้วิเคราะห์ประเด็นท้าทายของ กคช. คือ 1) ในปัจจุบันได้มีบริษัทที่เป็นภาคเอกชนขนาดใหญ่หลายบริษัทได้ลงมาเล่นในตลาดระดับกลางและล่างแข่งกับ กคช. 2) กคช. เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ถูกมองว่าจะอยู่ตรงไหนระหว่าเป็นหน่วยงานภาครัฐหรือจะแข่งกับภาคเอกชน ซึ่งเมื่อมีเอกชนเข้ามาแข่งด้วย หน่วยงานรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถสู้ได้ 3) ความต้องการของลูกค้าที่ต้องการที่อยู่อาศัยชานเมืองเพิ่มมากขึ้น กคช. จะมีสินค้าตอบสนองลูกค้าได้หรือไม่ 4) การพัฒนาที่อยู่อาศัยตามเส้นทางรถไฟฟ้าซึ่ง กคช. ไม่มีพื้นที่ในการทำโครงการ ซึ่งสิ่งสำคัญส่วนหนึ่งในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์คือ Location

ศาสตราภิชานไกรฤทธิ์ บุณยเกียรติ อยากให้ กคช. ดูตัวเองแล้วหาให้ได้ว่าต้องการจะทำอะไร อยากให้รัฐบาลช่วยอะไร กคช. ต้องเป็นคนทำเป็นคนขับเคลื่อน แต่ขอให้เลือกจุดขับเคลื่อนให้ดี ต้องทำในสิ่งที่เป็นจุดแข็งขององค์กร อย่าทำในสิ่งที่เป็นจุดอ่อนเพราะจะทำให้เกิดปัญหา

ภาคบ่าย : Workshop การวิเคราะห์ประเด็นท้าทายของการเคหะแห่งชาติ

กลุ่ม 2 ได้รับหัวข้อ “การเคหะแห่งชาติยุค 4.0” ซึ่งประเด็นในการนำเสนอจะเป็นเรื่องการเตรียมผู้นำและคนในองค์กรอย่างไรให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลง การมอง Talent Management และการปรับวัฒนธรรมองค์กรจากที่ดีอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ กลุ่ม 2 ได้ให้ความสำคัญกับการปรับทัศนคติหรือ Mindset ของคน หากทำได้ก็จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน กคช. ไปสู่ยุค 4.0

.....................................................................................

วันที่ 16 มี.ค. 60

ภาคเช้า : การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (1)

ดร.ทายาท ศรีปลั่ง : การสร้าง Brand ขององค์กรที่ประสบความสำเร็จ ต้องเริ่มต้นสร้างมาจากภายในองค์กร “พนักงานทุกคนถือว่าเป็น Brand Ambassador” ซึ่งพนักงานทุกคนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์กรตนเองรวมถึงเป้าหมายและทิศทางที่องค์กรกำลังจะก้าวไปให้ชัดเจนก่อน แล้ว Brand ก็จะเกิดตามมา

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค : ปัจจัยในการขับเคลื่อนองค์กร 4.0 ต้องรับการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วและค้นหาศักยภาพที่แตกต่างของคนแล้วดึงมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต้องบริหารจัดการตัวเองและงานได้ รวมถึงการใช้เทคโนโลยีและเครือข่ายให้เป็นประโยชน์

ภาคบ่าย : Workshop การบริหารทุนมนุษย์เชิงกลยุทธ์ (2) การนำเสนอบทเรียนจากหนังสือดี ๆ เกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์และการปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ

จากหนังสือ HBR’S 10 Must Reads On Communication กลุ่ม 2 นำเสนอในหัวข้อ “The Necessary Art of Persuasion” ซึ่งกลุ่ม 2 ได้สรุปว่า “การโน้มน้าวใจผู้อื่น” จะมีหลักการทางความคิดที่เหมือนกับ “การใช้อำนาจ” ซึ่งจะอันตรายมากหากนำมาใช้อย่างผิดวิธี แต่ถ้าถูกนำมาใช้ให้ถูกวิธี จะเป็นพลังที่สามารถผลักดันให้เกิดสิ่งดี ๆ อย่างมากมายกับองค์กรได้ และการโน้มน้าวใจสามารถดึงผู้คนให้มารวมตัวกัน ผลักดันแนวคิดให้ก้าวไปข้างหน้า กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และกำหนดวิธีแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์ขึ้นในการเคหะแห่งชาติได้

........................................................................................

วันที่ 17 มี.ค. 60

ภาคเช้า : Workshop & Presentation การพัฒนาที่อยู่อาศัยกับการขับเคลื่อนประเทศไปสู่ Thailand 4.0 (2)

เป็นการทำรายงานกลุ่มในหัวข้อหลักคือ “ยุทธศาสตร์ของการเคหะแห่งชาติ/ การออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อการพัฒนางานของการเคหะแห่งชาติ” โดยที่กลุ่ม 2 ได้นำเสนอโครงการ “NHA Digital 4.0) ซึ่งเป็นโครงการนำระบบ Digital มาใช้ในการพัฒนางานของการเคหะแห่งชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยี Digital มาใช้ในการพัฒนางานเพื่อสร้างนวัตกรรมด้านการดำเนินงานและด้านการบริการให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ กคช. เป็นผู้นำในด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนไปสู่ NHA 4.0 ซึ่งมีเป้าหมายให้ผู้ปฏิบัติงานทุคนของการเคหะแห่งชาติสามารถเข้าถึงข้อมูล ข่าวสาร และให้ลูกค้าทั้งกลุ่มเดิมและกลุ่มใหม่สามารถเข้าถึงรายละเอียดของสินค้าและบริการ โดยผ่านเทคโนโลยี Digital

ผลลัพธ์ของโครงการในรูปแบบของ 3 V คือ 1) Value Added คือลูกค้าจะได้รับความสะดวกสบาย สามารถเข้าถึงข้อมูลของที่อยู่อาศัยและสินค้าของ กคช. ได้ตามความต้องการได้ตลอดเวลา ช่วยลดค่าใช้จ่าย ขั้นตอนและเวลาในการติดต่อประสานงานและการทำธุรกรรม รวมถึงการบริการหลังการขาย 2) Value Creation เป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ให้ กคช. เป็นองค์กรที่มีความน่าเชื่อถือ และสร้างการยอมรับให้กับลูกค้าทุกกลุ่มเป้าหมาย 3) Value Diversity ในขั้นตอนการดำเนินงานจะทำให้เกิดการระดมความคิดและการปะทะกันทางปัญญา ส่งผลให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ในองค์กร ทั้งแนวความคิด วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ ซึ่งจะส่งผลให้องค์กรเกิดการพัฒนาและมีความยั่งยืนตลอดไป

ภาคบ่าย : วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ (บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)

การบริหารธุรกิจขององค์กรจะต้องมีข้อมูลของลูกค้า และนำมาวิเคราะห์ว่าลูกค้าต้องการอะไร เพื่อจะได้วางกลยุทธ์ว่าจะสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในการบริหารจัดการ หรือจะนำวิธีที่ประสบความสำเร็จอยู่แล้วมาปรับปรุงใช้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

.............................................................................................

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท