โครงการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง” (Executive Development Program for Top Team) ของการเคหะแห่งชาติ (ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2560)


สวัสดีครับชาวบล็อกและผู้เข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง” (Executive Development Program for Top Team) ของการเคหะแห่งชาติ

ขอต้อนรับเข้าสู่โครงการอบรมหลักสูตร “การพัฒนาผู้บริหารระดับสูง” (Executive Development Program for Top Team) ของการเคหะแห่งชาติ (ช่วงที่ 2: ระหว่างวันที่ 1-3 มีนาคม 2560) ผมรู้สึกดีใจที่ได้กลับมาทำงานร่วมกับการเคหะแห่งชาติอีกครั้งหนึ่ง ได้มีโอกาสพบกับลูกศิษย์รุ่นเก่า ๆ หลายคน การทำงานครั้งนี้ก็เป็นสิ่งที่ท้าทายผมอีกครั้งหนึ่งในปีนี้ ผมและทีมงานต้องขอขอบคุณผู้บริหารและคณะทำงานของการเคหะฯ ที่ไว้วางใจพวกเราครับ ติดตามบรรยากาศและความรู้ต่างๆเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ

#โครงการอบรมหลักสูตรการพัฒนาผู้บริหารระดับสูงExecutiveDevelopmentProgramforTopTeamของการเคหะแห่งชาติ


สรุปเนื้อหาการบรรยาย

Learning Forum & Workshop การบริหารกลยุทธ์องค์กร (2)

โดย รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

วันที่ 1 มีนาคม 2560


รัฐวิสาหกิจและราชการถูกบังคับให้ทำเรื่องการบริหารกลยุทธ์องค์กร นี้มานานแล้วตั้งแต่ตั้งกพร.

ตอนนี้เอกชนก็ทำแล้ว

เบทาโกรเป็นแห่งแรกที่เชิญไปบรรยายเรื่องนี้

ปัจจุบันนี้บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ถูกบังคับให้ทำ

ทำเป็นกับทำดีต่างกันเพราะ การทำแผนกลยุทธ์เป็นง่ายมาก แต่ทำดียากมาก

เหมือนการเรียนหนังสือ การเรียนเป็นคือ Learning เรียนดีประกอบด้วย learning, understanding, ตระหนัก ซึมซับและสามารถนำมาใช้ได้ทุกเรื่อง แต่การศึกษาไทยมีแค่ Learning แต่ขาด 4 ข้อหลัง

เมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว มีการเชิญวิทยากรมาบรรยายเรื่อง AEC มากมาย ถ้าตอบได้ว่า AEC คืออะไรก็ถือว่าเก่งมาก ปัญหาคือวิทยากรไม่รู้เรื่อง

ต้องถามว่าทำแผนกลยุทธ์ไปเพื่ออะไร ปัญหาคนไม่รู้ว่าทำเพื่ออะไร

ต้องเข้าใจการจัดการที่ดีก่อนจึงจะทำแผนกลยุทธ์ได้

การบริหารที่ดีของเอกชนคือ ต้องมีกำไรต่อเนื่องกันหลายสิบปี ซึ่งมีวิธีการทำคือ มีความสามารถผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการของลูกค้ามากกว่าบริษัทอื่นๆ

กุญแจความสำเร็จของการบริหารจัดการคือ สามารถวิเคราะห์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้แม่นยำ ถ้าโลกมีดิจิตอล ก็จะเกิดคู่แข่งเพิ่มขึ้น ถ้ามีกล้องดิจิตอล คนจะเลิกใช้ฟิล์ม ทำให้โกดักต้องปิดกิจการเพราะไม่คิดว่าดิจิตอลจะมาเร็ว

บริษัทขาดทุนและปิดกิจการในปี 1997 เพราะไม่ทราบว่าอัตราแลกเปลี่ยนจะมีการเปลี่ยนแปลง

ร้านดวงกมลไม่ทราบว่าดิจิตอลทำให้มีคู่แข่งคือ Amazon.com

การบริหารจัดการที่ยากเพราะคุณภาพ SWOT ที่วิเคราะห์ ทิศทางองค์กร ซึ่งเกิดจาก Mindset

องค์กรที่สำเร็จต้องมีคนที่สามารถมองอนาคตระยะสั้น กลาง ยาวได้แม่นยำ ซึ่งแตกต่างจากในอดีต

หัวใจสำคัญคือคนต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง

ภาคเอกชนมี 2 เป้าหมายคือ เป้าหมายขององค์กร และเป้าหมายของลูกค้า และทั้งสองอย่างต้องตรงกัน แต่เป้าหมายลูกค้าสำคัญกว่า

นอกจากความรู้การจัดการแล้ว ต้องรู้เรื่องการวางแผนด้วย

Management ประกอบด้วย Planning + Implementation จากมุมนี้ การวางแผนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ

ภาษาไทยเรียกการจัดการประกอบด้วย Management + Implementation

แต่ในความเป็นจริง Implementation คือการดำเนินการ

Strategic Plan มีความหมายลึกซึ้ง

คิดแบบนักกลยุทธ์ต้องมองเห็นอนาคต ใช้ทฤษฎีเกมส์ รู้เขา รู้เรา

แผนกลยุทธ์มีแผนระยะยาวคือระยะเวลา 20-30 ปี ซึ่งหลายหน่วยงานก็เคยทำมาแล้ว

วิสัยทัศน์คือเป้าหมายในอนาคตอีก 20-30 ปี เรียกว่าเป็นทิศทางเชิงกลยุทธ์ (Strategic Direction)

วิสัยทัศน์ต้องกระชับ

การทำแผนกลยุทธ์เป็นการทำที่ดีมาก ต้องวางทิศทางองค์กรให้ตรงกับสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงทั้งในระยะสั้น กลาง ยาว

องค์กรเสียหายเพราะคนในองค์กรไม่มีความสามารถวิเคราะห์ SWOT ได้แม่นยำ

การวางทิศทางขององค์กรก็เป็นเรื่องยาก

การเปลี่ยนแปลงมีมากขึ้นเพราะโลกเปลี่ยนเป็นดิจิตอล 3.5

การจัดการเชิงกลยุทธ์ประกอบด้วย

1. SWOT

2.วิสัยทัศน์

3.กลยุทธ์ระยะสั้น กลาง ยาว มี KPIs

ไม่ได้หมายความว่า ทำ SWOT แล้วต้องเปลี่ยนวิสัยทัศน์และพันธกิจ

คนฉลาดวางกลยุทธ์ 5% ชนะคนโง่วางกลยุทธ์ 95% หมายถึง ต้องให้ความสำคัญไม่กี่อย่างที่ตรงตามความต้องการของลูกค้า

โรงพยาบาลต้องมีคุณภาพการรักษาเป็นสิ่งสำคัญอันดับหนึ่ง ความรวดเร็วเป็นสิ่งสำคัญอันดับสอง มีสิ่งอำนวยความสะดวกเสริมเช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ โรงแรมห้าดาว

SWOT สิ่งที่สำคัญคือ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอนาคตทั้งระยะสั้น กลางและยาวได้แม่นยำ คือ Opportunity (โอกาส) และ Threat (อันตราย) เป็นสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ถ้ากระทบทางบวกถือเป็นโอกาส ถ้ากระทบทางลบถือเป็นอันตราย ดังนั้นจึงต้องเรียนเรื่อง Change Management

ส่วน Strength (จุดแข็ง) และ Weakness (จุดอ่อน) เป็นสภาพแวดล้อมภายในองค์กร

ปัจจุบัน คอมมิวนิสต์ล่มสลาย

หลังสงครามเย็น โลกเปลี่ยนจากสนามรบเป็นสนามการค้า ทุกภูมิภาคจะรวมกลุ่มประเทศ เช่น AEC

ตอนนี้มี AEC 2025 แล้ว

มีเขตการค้าเสรี ทำให้กำแพงภาษีระหว่างประเทศสมาชิกเหลือศูนย์ ถ้าไทยเน้นสินค้า Labor intensive จะแย่ ต้องย้ายฐานผลิต ส่วนมาเลเซียเน้นผลิตสินค้าระดับกลาง

Trump เป็นพ่อค้านักธุรกิจ ให้ทำคาสิโน เมื่อมีประสบการณ์สูงก็จะร้ายและเคี่ยว เวลาเจรจาทำให้คนสับสน

แต่ Trump ไม่ใช่คนโง่ สามารถเล่นบทบาทต่างๆได้ เวลาเป็นประธานาธิบดีมีเหตุผลมากขึ้น คิดถึงผลประโยชน์แห่งชาติมากขึ้น คิดถึงกลุ่มคัดค้านมากขึ้น

Trump ทำบางเรื่องเต็มที่ถ้าตนได้ประโยชน์ 100% เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจ

แต่มีหลายเรื่องที่ Trump ไม่กล้าทำ เช่น สร้างกำแพงกันคนเม็กซิกัน เก็บภาษีนำเข้าจากจีน ทำได้แค่ขู่

รัฐบาลไทยชุดปัจจุบันมีแผนกลยุทธ์

AEC 2025 กำแพงภาษีเหลือ 0 ของไทยยกเว้น กาแฟ ไม้ดอก มะพร้าว ส่วนอินโดนีเซียยกเว้น ข้าวกับน้ำตาล

ยังมีมาตรฐานสินค้า สุขอนามัยมาเกี่ยวข้อง

รัฐบาลอาเซียนจะมีการตกลงแก้ไขมาตรฐานสินค้าให้ตรงกัน คนแต่ละประเทศของอาเซียนก็เข้าประเทศต่างๆในอาเซียนได้โดยเสรี

ในอนาคต จะเปิดเสรี แรงงานฝีมือ การบิน ไอที และการธนาคาร

ประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุ ธุรกิจดูแลคนแก่จะรุ่ง

ประเทศไทย 4.0 คือยุทธศาสตร์ที่ปรับให้หลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง มีอุตสาหกรรมเป้าหมาย ไอที ไบโอเทค โดยราชการเป็นคนทำ เน้น Smart, Innovation, Value Added ต้องทำเป็นกลุ่มจังหวัด

ข้าราชการอาจจะลำบาก ต้องวางวิสัยทัศน์ มองการเปลี่ยนแปลงในอนาคต มองแบบ Across border, economic, province ต้องมีการทำงานเชิงบูรณาการมากขึ้น

สิ่งที่ต้องระวังคือ ดิจิตอล 3.5 ต่อไปนี้โลกจะเปลี่ยน มี Internet of Things เกิดรถไม่มีคนขับ ใช้ robot ทำแทนพนักงานขาย มี 3D Printing

ในอนาคต ตะวันออกกลางจะมีปัญหาเพราะใช้พลังงานทางเลือก

มีการใช้ Fintech ใช้ application วิเคราะห์การลงทุน มีการใช้ bit coin คือเงินดิจิตอล โอนเงินทางดิจิตอล

รัฐบาลนี้มี Robotic internet of things

วัสดุการก่อสร้างจะเปลี่ยนไป บางเหมือนผ้าแต่แข็งเหมือนเหล็ก

การวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็งเพื่อให้ขายสินค้าได้ ต้องทราบความต้องการลูกค้า มี Benchmarking ข้อมูลของคู่แข่งด้วยเพราะลูกค้าจะเปรียบเทียบเวลาซื้อสินค้า

ถ้าไม่ทำการวิเคราะห์จุดอ่อนและจุดแข็ง ก็จะถูก Benchmark โดยแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

ควรชนะคู่แข่งเพียงบางเรื่องที่สำคัญเท่านั้น

การทำแผนยุทธศาสตร์ล้มเหลวเพราะมองจากมุมตนเองที่ไม่ตรงกับลูกค้า เกิดจากกับดัก Box Thinking

จุดอ่อนและจุดแข็งแต่ละอย่างต้องมีความสำคัญไม่เท่ากัน ต้องมีลูกเล่นใหม่มาเสมอ

นักกลยุทธ์แม้ไม่มีคู่แข่ง ก็ต้องแข่งกับตัวเองให้พัฒนา

การเคหะต้องให้ความสำคัญคุณภาพบ้าน สวยแบบราคาถูกก็ได้ อาจไม่ใช่แค่ซื้อเพื่ออยู่เท่านั้น ต้องมีคุณสมบัติอื่นๆประกอบด้วย

กลยุทธ์ต้องเป็นไปตามเป้าประสงค์

Starbucks มีวิสัยทัศน์และพันธกิจเป็น Third Home เพราะวิเคราะห์โลกเป็นโลกาภิวัตน์ มีโอกาสขยายไปทั่วโลก มีจุดแข็งคือรสชาติ มีจุดอ่อนคือราคาแพง แต่วางตนเองเป็น Third Home ไม่ได้ขายแค่กาแฟ แต่ขายความรู้สึกให้ลูกค้าเป็นเจ้าของบ้านหลังที่สาม มีที่นั่งสบาย มีสัญญาณอินเตอร์เน็ตสำหรับทำงาน

CSR ไม่ใช่สิ่งที่ช่วยให้องค์กรรอด เป็นแค่การตลาดเท่านั้น ทำ CSR แต่ยังโกงลูกค้าอยู่

Social Enterprise มีวัฒนธรรมองค์กรและค่านิยมเป็น CSR

การมองความดีจะมองจากมุมคนอื่น คือทำสิ่งที่อยากให้คนอื่นทำกับเรา และหลีกเลี่ยงสิ่งที่เราไม่อยากให้คนอื่นทำกับเรา

Learning Forum & Workshop การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC):

กรณีศึกษาของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด(มหาชน)

โดย คุณพูลสวัสดิ์ เผ่าประพัธน์

ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรม

บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน)

แม้ว่าจะไป Thailand 4.0 แต่การเคหะก็ต้องดูแลคนระดับรากหญ้าด้วย และสิ่งสำคัญคือต้องปรับตัวให้ทันกับวิสัยทัศน์ขององค์กร

คำถาม สิ่งใดที่ทำให้องค์กรอายุยืนยาว

คำตอบจากผู้เข้าร่วมโครงการ

1.ลูกค้า

2.คู่แข่ง

3.เศรษฐกิจ

4.ไอที

5.การเปลี่ยนแปลง

6.ระบบงาน

7.กระบวนการ

8.ผลิตภัณฑ์

เนื้อหา (ต่อ)

องค์กรในสหรัฐอเมริกาอายุสั้นลง

ทุกวันนี้มีการเปลี่ยนแปลงในโลกเกิดขึ้นตลอดเวลา

ตอนนี้ธนาคารต้องทำเรื่อง Start-up และ Venture Capital

วิกิพีเดียเคยทำวิจัยจำนวนองค์กรอายุยืน มีแค่ 5,000 กว่า บริษัทที่มีอายุเกิน 200 ปี อยู่ในญี่ปุ่นมากที่สุด รองลงมาเป็นเยอรมนี เนเธอร์แลนด์และฝรั่งเศสตามลำดับ

เกือบ 90% ของบริษัทอายุยืนมีพนักงานไม่เกิน 300 คน แสดงว่า องค์กรใหญ่จะปรับตัวลำบาก

ธุรกิจที่อายุยืนที่สุด ที่ญี่ปุ่นมีบริษัทอายุ 1,300 ปี ก่อสร้างวัดและวัง อีกบริษัททำโรงแรมออนเซ็น แสดงว่า องค์กรเหล่านี้กุมค่านิยมของประเทศนั้น

Forbes ศึกษา Core value บริษัทอายุยืนพบว่า มีคุณสมบัตินี้

1.ไม่เอาเปรียบประชาชน

2.ลงทุนกับคน

3.คนในองค์กรปรับตัวให้เข้าสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา

4.ทำให้ทุกภาคส่วนได้รับผลประโยชน์จากองค์กร

โซนี่ขาดทุน แต่บริษัทการเงินญี่ปุ่นมาช่วยเพราะโซนี่เป็นเหมือนตัวแทนสินค้าญี่ปุ่น

องค์กรที่ไม่รอดเพราะไม่เป็นองค์กรการเรียนรู้ซึ่งมีลักษณะ

1.ของเสียมาก

2.พนักงานรอคำสั่งให้ทำ

3.พนักงานท้อแท้

4.เป็นแต่ผู้ตาม

วิทยากรญี่ปุ่น โคมัตสึมาสอนที่ SCG ว่า ในองค์กรมีนักเรียน 4 แบบดังนี้

A รู้เหตุและผล ต้องมีทักษะในการวิเคราะห์ด้วย

B ไม่รู้เหตุแต่รู้ผล

C รู้ว่าทำอะไร แต่ไม่รู้ผลลัพธ์ ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้ได้ ถ้าเหตุดี ผลก็ต้องดีด้วย

D พวกพูดแต่ไม่ทำ

ควรโปรโมทกลุ่ม A

บริษัทญี่ปุ่นเสนอแนะให้ค้นหาต้นเหตุความเสียหายก่อนจะลามเข้าไปในกระบวนการ

องค์กรมี 5 ระดับ

การเคหะอยู่ระดับที่ 2

ชนิดองค์กร 5 ระดับมีดังนี้

ระดับ 1 แก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ

ระดับ 2 จัดทีมงานรอรับแก้ไขปัญหา แต่ไม่นำข้อมูลที่มีมาวิเคราะห์

ระดับ 3 มีหน่วยลาดตระเวนในหน่วยงานที่สำคัญ นำระบบ Daily Management มาใช้ (เริ่มได้ TQC)

ระดับ 4 มีระบบ Daily Management ทำงานเองไม่ต้องสั่ง (ใกล้ TQA)

ระดับ 5 จัดสรรคนและทรัพยากรได้อย่างเหมาะสมมาเป็นนั้นแรกและมีระบบมาช่วยเป็นขั้นสอง มีการวิเคราะห์และนวัตกรรม ใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด (ได้ TQA)

จากการไปบรรยายที่กสทช. เรื่อง Knowledge Management พบว่า กสทช.ต้องการทำ KM

แต่ปัญหาคือโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ความรู้ในอดีตล้าสมัยหมด ดังนั้น KM ต้องหาความรู้ใหม่ ไม่ใช่ขุดสมบัติเก่ามาทำพิพิธภัณฑ์

จากการไปดูงานการทำห้องน้ำโรงแรมห้าดาว พบว่า ช่างที่ทำคือคนอีสาน แต่วิธีการทำงานต่างจากช่างที่สร้างตึกแถวเพราะมีการตีเส้นวัดหินอ่อนทุกแผ่น ถือเป็น KM ที่สอนให้ชาวบ้านทำห้องน้ำได้สวยงาม

การใช้ TQM บริหารงาน 4 รูปแบบคือ

1.บริหารงานเชิงนโยบาย ใช้แผนที่กลยุทธ์ CG Systems

2.บริหารงานข้ามสายงาน ใช้ KPI สายงาน/สำนัก

3.บริหารงานประจำวันใช้ KPI หน่วยงาน

4.กิจกรรมปรับปรุงงานจากผู้ปฏิบัติงาน คนทำงานจริงรวมตัวนำเสนอปัญหาเพราะเป็นผู้รู้ปัญหาจริง

องค์กรควรมีหน่วยตรวจสอบดูแลสิ่งที่เกิดขึ้น Corporate Navigation Systems

Google เป็นบริษัทที่เกิดมาจาก Start-up ของวิศวกร 2 คนที่ทำ Search Engine ที่หาข้อมูลได้ใน 2 คลิก

สิ่งสำคัญคือ Google มีวิสัยทัศน์เป็นผู้ให้ในการจัดระเบียบข้อมูลโลก

วัฒนธรรมการทำงาน Google ออกแบบสถานที่สะดวกสายเอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม เน้นการทำงานแบบ teamwork ให้พนักงานทุกระดับคิดผลงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างอิสระ

Google นำความรู้จากการซื้อมาเชื่อม จึงเป็นที่มาจาก Open Innovation

Apple มีวิสัยทัศน์เดิมคือ สร้างคุณประโยชน์ให้กับโลก ด้วยการทำเครื่องมือสำหรับความคิดที่ก้าวหน้าของมนุษยชาติ

หลังจาก Steve Jobs ตาย CEO ใหม่คือ ทิม คุก เปลี่ยนวิสัยทัศน์ใหม่ เน้นมองตลาด คิดว่า องค์กรนวัตกรรมต้องทำน้อยแต่ได้มาก

ตอนที่รับพนักงานใหม่มาทำงาน พนักงานไม่ต้องใส่เครื่องแบบ มีการพาไปดูที่โต๊ะ ทำให้ทราบว่า โปรแกรมที่ใช้ในโลกมาจากคนทั่วโลกคิด คนเขียนโปรแกรมมีรายได้ 70% Apple ก็ได้ 30% จากการดาวน์โหลดแต่ละครั้ง

Apple ที่ซานฟรานซิสโกไม่มีเอกสารกระดาษ แต่ทุกอย่าง link กันหมด มีการสอนการเขียนโปรแกรมฟรีเพื่อสร้างสาวกเขียนโปรแกรมให้ Apple

เมื่อ 5 ปีที่แล้ว Apple ทำนายว่า ทุกอย่างจะเป็นมือถือและ Tablet

Apple เน้นลูกค้าต่อไปนี้

1.ลูกค้าบุคคล

2.ภาคการศึกษา ทำเป็น KM

3.ผู้ประกอบการ เชื่อมโยงผ่าน Cloud ไม่มีเอกสารกระดาษ

ทั้ง Google และ Apple ทำให้เห็นโอกาสมากมาย การเคหะต้องหันมาทำกำไร

CPALL Innovation Center มีวิสัยทัศน์ “เราคือสะพานเชื่อมนวัตกรรมไปสู่ตลาด”

การเคหะมีพันธกิจหลายข้อ ควรพิจารณาว่า ถูกจำกัดให้ทำแค่ในประเทศหรือไม่ อาจจะไปร่วมมือกับประเทศอื่นในอาเซียนได้ด้วย

การเคหะควรมีเวทีแบ่งปันประสบการณ์และความรู้ ในอนาคต ควรมีการเปรียบเทียบราคาคู่แข่ง

ราคาที่ดินมีมหาศาล ปัญหาคือจะหารายได้จากที่ดินเหล่านั้นอย่างไร การเคหะอาจจะต้องร่วมมือกับหน่วยงานอื่นและต้องมีการเปลี่ยนมุมมองในการร่วมมือ

การเคหะควรมีบริการ 4.0 มีอินเตอร์เน็ตให้ใช้เมื่อเข้าไป โดยร่วมมือกับหน่วยราชการ บริษัท ทีโอที

ในเรื่อง Smart City มีการจัดอันดับเมืองทั่วโลกโดยวัดจากเมืองที่ทำให้คุณภาพชีวิตของประเทศและสิ่งแวดล้อมดีขึ้น แต่ใช้พลังงานน้อยลง พบว่า ซานฟรานซิสโกเป็น Smart City อันดับหนึ่งของโลกเพราะมีทั้ง Google และ Apple

ต้องมี Vision และ Power จึงจะทำสิ่งต่างๆได้ คนมี Vision ต้องเสียสละ คนที่มี Power ก็ต้องสั่งการ

ถ้าการเคหะจะสร้างชุมชนใหม่ ต้องดูว่าชุมชนที่การเคหะไปอยู่นั้นอยู่ในกลุ่มใด ถ้าเป็นกลุ่มที่ไม่มีรายได้ ควรจะทำให้กลุ่มนั้นมีรายได้ หรือสร้างชุมชนพอเพียง ในการสร้างรายได้ การเคหะอาจจะไม่ต้องคิดเอง แต่ไปร่วมมือกับบริษัทอื่นที่จะสามารถมาสร้างรายได้ให้คนในชุมชนได้

ตอนนี้ประเทศไทยมาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว มีการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน ทำให้ค่าแรงของไทยแพงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อุตสาหกรรมหลายอย่างเริ่มย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ส่วนเวียดนามยกระดับไปเน้นเรื่องความรู้มากขึ้น ต่อไปเวียดนามอาจผลิตสินค้าไฮเทคได้ ประเทศไทยจะต้องเน้นนวัตกรรมจึงจะรอด

นวัตกรรมคือการเปลี่ยนแปลงที่ทันต่อความต้องการที่เปลี่ยนแปลงเร็ว ตัวอย่างนวัตกรรมได้แก่ การบริการ Smart farm

ความเปลี่ยนแปลงในโลกทำให้คนที่เคยยิ่งใหญ่อยู่ไม่ได้ เมื่อความนิยมของคนเปลี่ยนไป ผลิตภัณฑ์ก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย

3M เป็นบริษัทที่ปรับตัวได้ ทุกปี 3M จะลงทุนเกี่ยวกับการหาความรู้ เช่น วิจัย แต่นวัตกรรมเกิดหลังจากการนำความรู้มาแบ่งกัน และนวัตกรรมก็ต้องเป็นที่ต้องการของตลาดด้วย

SMEs นำสินค้าที่ตนมีเสนอขายไปยังลูกค้า ส่วนที่ตรงเป้าของลูกค้าก็ขายได้ แต่ลูกค้าก็มักจะบ่นว่า มีสิ่งอื่นที่ลูกค้าอยากได้ แต่ SMEs ยังไม่ได้ทำ และจุดนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของนวัตกรรม

นวัตกรรมมีการเปลี่ยนแปลงไปสู่ตลาด นโยบายประเทศไทย 4.0 ผลักดันงานวิจัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดและเข้าใจความต้องการของลูกค้า

ประเทศไทยมีสิ่งประดิษฐ์มาก งานวิจัยมีมากแต่ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด งานวิจัยเหล่านั้นไม่ได้มาแบบฟรี เช่น มาจากนักเรียนทุนของสวทช. ต้องใช้เวลาในการค้นคว้าเสมอแต่ในที่สุดก็ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์

นวัตกรรมไม่ได้มีแค่เรื่องสินค้า แต่ยังรวมถึงกระบวนการทำงาน การบริการ รูปแบบของการทำธุรกิจ

ศาสตราจารย์ที่ MIT ได้กล่าวถึงรูปแบบใหม่ของการทำธุรกิจมาหลายปีแล้วว่า กลยุทธ์ที่จะเอาชนะคู่แข่งและรักษาลูกค้าไว้ได้คือ Platform ประสานสิบทิศเพื่อให้การบริการลูกค้าสามารถใช้ได้ในหลากหลายมิติ ไม่ใช่ขายแค่สินค้า แต่ขาย Solution ถ้าทำได้ ก็จะรักษาลูกค้าไว้ได้

ในวงจรของธุรกิจมีตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งตอนนี้เรียกว่า Start-up หลายองค์กรผ่านการเป็น Start-up มาหลายสิบปี เริ่มเติบโต ผ่านไประยะหนึ่งเริ่มไม่โต แต่กลับถดถอย มักเป็นวงจรชีวิตของการไม่ปรับตัว

องค์กรที่ปรับตัวต้องหา New S-Curve คือสิ่งใหม่ที่ตลาดต้องการซึ่งเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม สิ่งที่เคยดีในอดีตอาจจะไม่ยั่งยืน

แป้งหอมศรีจันทร์ เมื่อดูจากอดีต เหมือนจะไปไม่รอด วันหนึ่งมีการทำ Packaging ใหม่ มีกลุ่มลูกค้าชัดเจนขึ้น ใส่ส่วนผสมใหม่เข้าไป ทำให้การตลาดของแป้งหอมศรีจันทร์ดีขึ้นเมื่อ 2 ปีที่แล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำงานต่อเนื่อง ก็ทำให้ไม่โต จึงค้นหานวัตกรรมชิ้นใหม่

สินค้าหรือบริการที่อยู่ภายใต้การดูแลของการเคหะ มีอยู่ในทุก Stage บางอย่างเพิ่งเริ่ม บางอย่างขายดี บางอย่างกำลังขายไม่ได้ ทำให้สินค้าแรกเริ่มต้องถอนตัว ทุกธุรกิจมีวงจรแบบนี้ แต่มีวิธีบริหารจัดการต่างกัน

เริ่มต้นจากการตอบคำถามว่า ทำไม เป็นการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด ทำไมสินค้าบางอย่างจึงขายได้ จุดขายนั้นจะคงทนและอยู่ยาวนานหรือไม่ ถ้าเป็นของดี คงทนและคนอื่นทำไม่ได้ แสดงว่า จะขายดีไปได้อีกนาน ถ้ามีการพลิกมุมมองเล็กน้อย ก็สามารถจะทำให้สิ่งที่ขายไม่ได้สามารถขายได้

แผนที่การวางของสินค้าและบริการ “Value Map” คุณค่าที่ผู้บริโภคให้ มี 5 แบบ

1.ให้มากกว่า จึงต้องจ่ายมากกว่า เช่น รถเบนซ์ที่คนยอมจ่ายในราคาแพงเพราะหรูกว่ารถอื่น

2.ให้มากกว่า แต่จ่ายเท่ากัน

3.ให้มากกว่า แต่จ่ายน้อยกว่า ถ้า Value ของผู้ขายกับผู้ซื้อไม่ตรงกันทำให้ขายไม่ได้

4.ให้เท่ากัน แต่จ่ายน้อยกว่า

5.ให้น้อยกว่า จึงจ่ายน้อยกว่า เช่น ห้องชั้นบนไม่มีลิฟต์จึงขายในราคาที่ถูกกว่า เพราะให้น้อยกว่า แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้ามีลิฟต์ ห้องชั้นบนจะขายในราคาแพงกว่า เหมือนคอนโดมิเนียมเอกชน ชั้นที่อยู่สูง ราคาจะยิ่งแพง

ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงได้ตาม Value ในมุมของลูกค้า

จุดขายแต่ละโครงการของการเคหะไม่เหมือนกัน มีกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกันไป ต้องหาจุดขายของแต่ละโครงการให้พบ แล้วเน้นจุดนั้น จะทำให้เกิดแบรนด์

ถ้าการเคหะมีการให้มากกว่า จ่ายมากกว่า การเคหะก็จะไม่ใช่บ้านคนจนอีกต่อไป แต่เป็นบ้านโรบินฮู้ด ที่นำเงินไปช่วยคนจน

ถ้าบางโครงการอยู่ในทำเลดีมาก (Prime Area) ก็ต้องขายให้คนรวย แล้วนำเงินนั้นไปช่วยคนจน

โครงการโรบินฮู้ดถือเป็นโครงการนวัตกรรม นำไปขายคนรวยแล้วนำเงินมาช่วยคนจน

สิ่งที่อันตรายคือ ให้น้อยกว่า แต่จ่ายมากกว่า

ในปัจจุบัน การเคหะมีทุกรูปแบบ จุดได้เปรียบของการเคหะคือมีที่ที่คนอื่นไม่มี สิ่งสำคัญคือการดึงดูดลูกค้า ให้ตรงกับโครงการ

ประเทศไทยอยู่ในบริบทประเทศไทย 4.0 ประสบปัญหาคือ หลายปีที่ผ่านมาเน้นเรื่องอุตสาหกรรมยานยนต์ ท่องเที่ยว การเกษตร แต่ไม่ลงลึก เมื่อลงลึก ก็เริ่มเห็นว่า จะผลิตยานยนต์เหมือนประเทศอื่นไม่ได้ แต่ต้องยกระดับขึ้นไป เพราะตอนนี้ใช้หุ่นยนต์ทำงานแทนคนงานแล้ว ตัวอย่างเช่น โดรนสามารถทำหลายสิ่งที่คนทำไม่ได้ในเวลาอันสั้น หุ่นยนต์สามารถผ่าตัดได้แล้วมีแผลเล็กมาก นอกจากนี้ ยังมีการใช้โดรนในด้านการบิน การขนส่ง

เรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพและดิจิตอลเป็นกระแสที่มาแน่นอน

ตอนนี้ประเทศเกาหลีได้มุ่งเน้นดิจิตอล แต่เน้น Biotech ประเทศไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงถือเป็นความได้เปรียบ ส่วนสิงคโปร์ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติจึงจำเป็นต้องทำ Venture Capital ในประเทศไทยแล้วก็ใช้ทรัพยากรไทย

เรื่องค้าปลีกเกี่ยวกับชุมชนมากขึ้น GDP ของอาเซียนเท่ากับ 7% ของโลกแม้ว่ามีประชากร 600 ล้านคน

เมื่อไปรวมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลี จะทำให้ GDP ขึ้นไปเป็น 24% ของโลก

การเคหะควรพัฒนาแบรนด์ให้ชัดเจน แต่ละโครงการมีจุดขายไม่เหมือนกัน ก็ต้องเน้นให้ชัด แล้วก็ต้องมีความหลากหลาย ไม่ควรเน้นแค่สร้างบ้านให้คนจน แต่ควรจะสร้างบ้านให้คนรวยด้วย

การเคหะควรไปลงทุนในอาเซียนเพื่อนำเงินจากอาเซียนกลับมาดูแลคนจน อาจจะทำตามแบบกฟผ.คือ ตั้งบริษัทลูกไปหาเงินจากประเทศเพื่อนบ้านเพื่อให้ทำงานได้คล่องตัว

เวลาไปทำงานในประเทศอื่น ควรมีความเข้าใจด้านวัฒนธรรมของประเทศนั้น

กระแสความใส่ใจเรื่องสุขภาพกำลังเข้ามา คนจึงต้องการการบริการและสินค้านวัตกรรม คนจะมีอายุยืนยาวขึ้น แต่บริษัทอายุจะสั้นลง คนหนุ่มสาวเกิดน้อยลง ความต้องการความสะดวกจะมีมากขึ้น คนที่มีความรู้มากก็จะมีลูกน้อย

การค้าปลีกสมัยใหม่เกิดทั่วโลกไม่ได้มีเฉพาะในประเทศไทย ทุกคนต้องการความสะดวก

คนจะอยู่ในชนบทน้อยลงแล้วจะอพยพเข้าไปอยู่ในเมืองมากขึ้น ซึ่งเป็นกระแสโลก เมื่อมีคนอยู่น้อยในชนบท ก็มีหุ่นยนต์มาทำงานแทน

การเคหะทำงานเกี่ยวกับปัจจัยสี่ มีลูกค้ามากเพราะผู้มีรายได้มีจำนวนมาก ทำอย่างไรให้กลุ่มผู้มีรายได้มีผลผลิต ทำได้ด้วยการสร้างอนาคตให้กลุ่มผู้มีรายได้แล้วก็จะมีความสามารถในการชำระหนี้ซื้อคอนโดมีเนียมหรู การเคหะอาจร่วมมือกับภาคการศึกษาและหน่วยงานที่ต้องใช้แรงงาน เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หางานให้คนกลุ่มนี้ทำ เมื่อทำแล้วคนกลุ่มนี้ก็จะมีความสามารถในการชำระนี้ แล้วประเทศไทยจะมีคนจนน้อยลง ลดปัญหาอาชญากรรม

ลูกค้าแต่ละกลุ่มมีลักษณะและรายได้ไม่เหมือนกัน ควรเจาะกลุ่มลูกค้าให้ตรง แล้วสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ลูกค้าในแต่ละมิติ นวัตกรรมไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องเข้าใจความต้องการของลูกค้า

การเคหะควรจะดูโครงการที่ขายให้คนรวย ที่มีรถไฟฟ้าผ่าน ควรทำที่ชาร์จไฟให้

กระบวนการสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรม ต้องผ่าน Pain Point จุดเจ็บปวด จุดเริ่มต้นของนวัตกรรมมักมาจากปัญหา Call Center คือแหล่งบ่มเพาะนวัตกรรมเพราะมีข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าที่โทรมาร้องเรียน บางคนก็โทรมาเสนอแนะความต้องการใหม่ ต่อมาก็ต้องมีความพยายามหาเทคโนโลยีมาตอบสนองความต้องการนั้น เมื่อทำแล้ว ต้องมีการวัดผล

การเคหะอาจสร้างงานให้ชุมชนของโครงการการเคหะได้เช่น ให้ตั้งโต๊ะบริการรับชำระค่าบริการต่างๆแล้วให้คนในชุมชนมาทำงาน คนในชุมชนก็ได้รับความสะดวกมากขึ้น

การเคหะควรจัดประกวดนวัตกรรม ซึ่งได้มาจากปัญหาของลูกค้า

ควรนำจุดแข็งของการเคหะไปร่วมมือกับจุดแข็งของหน่วยงานอื่นก็จะเกิดนวัตกรรม

Panel Discussion

การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC)

โดย คุณอดุลย์ โชตินิสากรณ์

รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ

กระทรวงพาณิชย์

รศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช

ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ
มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

ดำเนินการอภิปรายโดย

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

วันที่ 2 มีนาคม 2560


รศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช

สิ่งที่ควรทำในการทำธุรกิจในอาเซียน

1.เลือกประเทศ อาเซียนเก่ามี 6 ประเทศ อาเซียนใหม่มี 4 ประเทศคือ CLMV

เลือกแค่ 1 ประเทศก่อนแล้วค่อยขยาย เช่น อินโดนีเซียมีประชากร พื้นที่แลทรัพยากรมากที่สุดและขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก แต่อยู่ไกลมาก ถ้าส่งของต้องใช้เรือและเครื่องบิน อินโดนีเซียมีรถติดมากโดยเฉพาะในเมดาน สุราบายา จาการ์ตา ถ้าเดินทางไปเขตอุตสาหกรรมจะใช้เวลา 3 ชั่วโมง ถ้าฝนตกหนัก จาการ์ตาก็มีน้ำท่วม รถติดเพราะถนนแคบ มีคนมาก ไม่ค่อยมีระบบขนส่งสาธารณะ อินโดนีเซียผลิตรถเพื่อขายคนในประเทศมากแต่ไม่ได้ส่งออก

จาการ์ตาเป็นศูนย์กลางการค้า เฉพาะคนในจาการ์ตา 10 ล้านคนมีกำลังซื้อ เวลาเข้าไปทำธุรกิจ ต้องเข้าใจคนมุสลิม นิสัยคนอินโดนีเซียเหมือนคนไทยคือขี้เกรงใจ ตกลงด้วยความเกรงใจ มีการเปลี่ยนแปลงภายหลัง

ปัญหาคือคนยังไม่เก่ง ต้องพัฒนาอีกมาก

ส่วน CLMV

ในเมียนมา ญี่ปุ่นไปรับสัมปทานข้าว มีการปลูกข้าวมากในอิระวดี

เวียดนามมีรถไฟจากฮานอยไปกวางตุ้ง ที่ฮานอย มีข้อมูลอุตสาหกรรมซีพี

โฮจิมินห์ซิตี้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ

สามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงก็เป็นแหล่งเกษตร

มีการขยายพื้นที่ภาคกลางเวียดนามซึ่งอยู่ในเส้นทาง R9 เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

เส้นทาง R8 ไปทางนครพนม สู่ บ้านเกิดของโฮจิมินห์

เส้นทาง R3A ผ่านลาวไปสิบสองปันนา เป็นพื้นที่จีนปลูกพืชมาก แบบทะเลกล้วย มีปลูกกล้วยหอมทองพันธุ์อิสราเอล

รัฐบาลลาวสั่งห้ามขยายสัมปทานปลูกกล้วย เพราะจีนใช้สารเคมี แรงงานลาวตาย

จีนถือว่าดินเท่ากับโรงงาน ต้องผลิตมาก

จีนใช้ปุ๋ย Loss Control Fertilizer (LCF) มีอายุ 2 ปี

เส้นทาง R10 ผ่านตราด เกาะกง พนมเปญ ออกโฮจิมินห์ซิตี้

2.รู้นโยบายเศรษฐกิจ กฎหมายการลงทุน กฎระเบียบกติกา

นักธุรกิจในพม่าบ่นว่าการบริหารของอองซานซูจีสู้รัฐบาลทหารไม่ได้

CLMV อนุญาตให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน 100%

ลาวส่งเสริมเกษตร อาหารแปรรูป ท่องเที่ยว

ต้องใช้วัตถุดิบในประเทศเหล่านี้ผลิต เช่น เมียนมามีแร่ ป่าไม้ พื้นที่ ปลาและแรงงานมาก

ในการตั้งฐานการผลิตในประเทศเหล่านี้ ควรจะทำเป็นการส่งออกไปขายประเทศอื่น จะได้รับการสนับสนุน

จุดอ่อน CLMV คือ แรงงานไม่มีทักษะ ควรไปตั้งโรงเรียนวิชาชีพ ประเทศเหล่านี้เสพสื่อไทยก็จะขายของไทยได้ทั้งหมด

3. รู้ศักยภาพประเทศ แรงงาน ทรัพยากร สิทธิประโยชน์ การส่งออก

4. ต้องมี Connection และ Partners ทางธุรกิจ บางประเทศต้องมี Partner รับสินค้าเข้าไปขาย

นักธุรกิจไทยไปเปิดร้านอาหารที่ย่างกุ้งแล้วถูกโกง ต่อมาหาภรรยาชาวพม่า ให้ภรรยาช่วยดูสัญญา

ในเมียนมา ชาวต่างชาติไม่มีสิทธิ์ซื้อที่ดิน

ต้องไปทำธุรกิจที่หอการค้าพม่า UMFCCI แต่คนพม่าไม่อยากพบนักธุรกิจไทยเพราะคนไทยไม่ชอบตัดสินใจ

5. ไปเป็นกลุ่มธุรกิจ อย่าไปเดี่ยวๆ เช่น กลุ่มธุรกิจเสื้อผ้าก็รวมกลุ่มกันไปลงทุนได้

6. ทดสอบสินค้าโดยการวางในห้างกรุงเทพ เพราะคนใน CLMV เสพสื่อไทย จึงสนใจใช้สินค้าชนิดเดียวกับคนไทย ตอนนี้ สินค้าพม่าตัดราคากันเอง คนพม่าชอบสินค้าราคาถูก คุณภาพดี ปริมาณมาก

7. ร่วม Business Trip กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ร่วมงานแสดงสินค้า

เวลาไปขายที่เมียนมา ก็มีกิจกรรมส่งเสริมการขายคล้ายไทยแต่จัดขนาดเล็กกว่า

8.รู้ช่องทางในการจำหน่ายสินค้า

SMEs ไทยควรไปออกร้านในตลาดของเมียนมา มีการให้ลูกค้าทดลองสินค้า และไปดูการผลิตที่โรงงาน

อาจหาเบอร์ติดต่อจากสมุดโทรศัพท์หน้าเหลืองก็ได้

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

ปัญหาคือขาดการรู้เขา รู้เรา

มีการเสนอให้ย้ายจากอินโดนีเซียมา CLMV เป็นด่านสุดท้าย

อุตสาหกรรม Housing ของไทยดี น่าจะได้งานจากอาเซียนด้วย

กฎหมายระหว่างประเทศสำคัญ แต่ของไทยทำให้ชะลอการลงทุน

Mindset แต่ละประเทศไม่เหมือนกัน ประเทศสมาชิกอาเซียนก็ไม่ได้ชอบประเทศไทย เพราะคนไทยมักดูถูกประเทศเหล่านี้ ไม่ควรดูถูกประเทศเพื่อนบ้าน

ประเทศเพื่อนบ้านพูดภาษาอังกฤษดีมาก คนไทยรู้ภาษาดี แต่ไม่พูด

CLMV เปลี่ยนจากใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาอังกฤษ

การก่อสร้างของไทยดีเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ไม่พอใจในสิ่งที่ตัวเองมี

จากนี้ไปอีก 5 ปี housing ของอาเซียนจะก้าวหน้าไปไกลกว่าไทย ในลาว ใช้ช่างเวียดนาม รูปแบบดั้งเดิม

การเคหะอาจจะตั้งชื่อโครงการเป็นภาษาอังกฤษเพื่อดึงดูดลูกค้าไทย

คุณอดุลย์ โชตินิสากรณ์

ในเรื่องอาเซียน มี ROO (Rule of Origin) ระบุในฟอร์มดี หมายถึงสินค้านั้นมีถิ่นกำเนิด ได้แก่ การผลิตและใช้ทรัพยากรในอาเซียนเกิน 40% ขึ้นไป จึงจะเป็นสินค้าอาเซียน แล้วจะได้ภาษีเป็น 0

ปัจจุบันมีปัญหา Circumvention การปลอมแปลงสินค้า กรมศุลกากรไทยจับสินค้าจีนที่ผลิตจากจีนแต่ล่องเรือผ่านกัวลาลัมเปอร์ เข้าแหลมฉบัง

ไทยมีการตกลงกับอินเดีย ถ้า local content ของไทยเกิน 20% ถือเป็นสินค้าไทย

AEC ลดภาษีนำเข้า แต่ไทยยังไม่สามารถส่งออกแป้งข้าวเจ้าไปมาเลเซียได้ เพราะมี Non-Tariff Barrier คือต้องมีใบอนุญาตนำเข้า ส่วนอินโดนีเซียนำเข้าหอมไทย แต่ให้สินค้าไปขึ้นที่สุราบายาทำให้เน่า

ประเทศไทยเปิดแค่ท่าเรือคลองเตยให้นำเข้าสินค้าได้ และมีการเปิดให้นำเข้าเป็นระยะเวลาซึ่งเป็นช่วงผลผลิตประเทศเพื่อนบ้านไม่ออก

การบริการมี 4 แบบ

1. Cross-border Supply ส่งบริการไปหาลูกค้าในต่างประเทศ เช่นทำบริการการศึกษาทางไกลไปยัง CLMV

2. บริโภคในต่างประเทศมาใช้บริการในอีกประเทศ เช่น ชาวกัมพูชามาโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ในไทย เกิดธุรกิจ Refer คนไข้จากพม่าในไทย

3. ผู้ใช้บริการอยู่ในประเทศ แต่มีบริการต่างประเทศไปลงทุนในต่างประเทศ

4. คนเดินทางไปมาระหว่างกัน เช่น ครูไทยข้ามพรมแดนไปสอน

บริการหมวด 1 และ 2 ตกลงจะขจัดอุปสรรคทั้งหมด

ข้อตกลงบริการทำให้ FTA ไม่คืบหน้า

บริการที่ไทยเปิดตลาดให้อาเซียนทำได้ เช่น วิศวกรรม (แต่ยกเว้น วิศวกรโยธา) บริการคอมพิวเตอร์ การวิจัยโฆษณา ที่ปรึกษาบริหารจัดการ (ยกเว้นปรึกษาด้านกฎหมายและการบัญชี) บริการแปล จัดประชุม ก่อสร้าง การศึกษา สิ่งแวดล้อม สุขภาพ

มีข้อตกลงแล้วต้องมีมาตรฐานวิชาชีพ MRA เช่น แพทย์ต้องสอบภาษาไทย แต่ก็ยังไม่ได้ทำ MRA ไทยไม่กล้าออกไปนอกประเทศ แต่ประเทศอื่นเข้ามาในไทย

อินเดียเป็นโรงงานรับทำบัญชี ทั่วโลกส่งมาให้ทำที่บังกาลอร์

ส่วนการลงทุนก็ยังไม่คืบหน้า

ความไม่คืบหน้าเกิดขึ้นเพราะประเทศต่างๆในอาเซียนเน้นให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนซึ่งเป็นโมเดล

Business Model ไทยคือดึงบริษัทใหญ่มาลงทุนที่ไทย

ส่วนมหาเธร์ทำโครงการรถยนต์แห่งชาติโปรตอน โปรตอนซาก้าคล้ายมิซูบิชิแชมป์ ต่อมามีแบรนด์เปรอ์ดัว คล้ายฟรอนเต้ มีการส่งคนไปเรียนผลิตเครื่องยนต์

จากการไปมาเลเซียครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. 2543 มาเลเซียมีปาล์มน้ำมันมาก มาเลเซียวางวิสัยทัศน์ไว้ 30 ปี จะเป็นประเทศพัฒนาแล้วในปีค.ศ. 2020 ซึ่งก็ใกล้บรรลุแล้ว ตั้งแต่มีวิสัยทัศน์นี้ทำให้มาเลเซียแซงไทยทุกด้าน

บางรัฐอยู่ในเกณฑ์ประเทศพัฒนาแล้วในด้านรายได้คือ ปีนัง สลังงอ ต่อมาจะมีวิสัยทัศน์ 2050

ควรไปดูงานที่มาเลเซีย มีวิธีมองไปข้างหน้าที่ดี

แอร์เอเชียเคยขาดทุน โทนี่ เฟอร์นานเดสมาขอซื้อแอร์เชียในราคา 1 ริงกิต ทำให้มาเลเซียสามารถปลุกธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำในอาเซียน ใช้เวลาน้อยก็คืนทุน

แอร์เอเชียเป็นสายการบินแรกที่ใช้ระบบ Franchising ในการบริหารสายการบิน

ไทยแอร์เอเชียเป็นอันแรกที่แอร์เอเชียไปต่างประเทศ มีการเข้าหุ้นเพื่อลงทุนในประเทศที่กำลังจะไปเปิด มาเลเซียมีรายได้จากทุกเส้นทางบิน

วิธีที่มาเลเซียบุกอาเซียน ใช้การเป็นหุ้นส่วน

ต่อมาแอร์เอเชียก็ขยายเส้นทางไปไกล

ประเทศไทยเชื่อแบรนด์ มาจาก Country of Origin Effect (COO Effect) ทำให้คนไม่ใช้บริการเปโตรนาส

CIMB Bank เป็นธนาคารมาเลเซีย เป็นธนาคารแรกในอาเซียนที่เสนอตัวเป็น ASEAN Bank นำบัตรไปกดเงินได้เงินสกุลท้องถิ่นในอาเซียนที่มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ดี ไม่มีค่าธรรมเนียม มาจากภูมิปุตรา คอมเมิร์ช เป็นคนมาเลเซียที่ช่วยแผ่นดิน

แบรนด์มาเลเซียได้แก่ British India กาแฟ Old Town White Coffee โรตีบอย Julie’s

มหาเธร์สั่งเลิกปลูกกาแฟแต่ให้มาปลูกโกโก้ นำเข้ากาแฟภาษีเป็น 0 ทุกแบรนด์กาแฟมาจากมาเลเซีย

มาเลเซียไม่เก็บภาษีนำเข้าวัตถุดิบด้านอาหาร เช่น แป้งสาลี วางตัวเองเป็นประเทศอาหารไม่พอกิน แต่ในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางอาหารฮาลาล

มาเลเซียค่อนข้างก้าวหน้าในการทำตลาด

พฤกษาไปลงทุนที่อินเดีย แต่ถูกบ่นว่าสร้างเสร็จแล้ว แต่คนซื้อหาเงินไม่ทัน

มีโครงการนำลูกนักธุรกิจ CLMV มาเรียนหนังสือร่วมกับลูกนักธุรกิจไทย กลายเป็นเครือข่ายไปมาหาสู่กัน ชื่อ Yen-D network มีการทำแผนธุรกิจ

รุ่นแรก ไทย เวียดนาม เซ็น MOU ซื้อขายวัสดุก่อสร้าง มีการพาคนไทยไปพบเพื่อนแต่ละประเทศ

คนไทยไปเปิด Thai Town ที่ย่างกุ้ง

ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย

อาเซียนก็มีปัญหา แต่สามารถจะเรียนรู้จากอียูได้

มาเลเซียต้องการเป็นศูนย์กลางมุสลิมโลก คนอินโดไม่กล้าประกาศว่าอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ มิฉะนั้นจะเกิดการรบกัน

การเคหะน่าจะเป็นศูนย์การค้นคว้า R&D การก่อสร้างของอาเซียน ควรคิดค้นวัสดุก่อสร้าง

รศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช

โอกาสการค้าการลงทุนในเมียนมา

ทวาย เป็นพื้นที่สำคัญมาก แต่ยังไม่มีอะไร มีแต่ทะเล มีอาหารทะเลมาก เหมาะสำหรับการทำการท่องเที่ยว

ทวายเป็นพื้นที่ลงทุนของไทย ญี่ปุ่น และเมียนมา

ทิวาลา เป็นสัมปทานญี่ปุ่น

จ้าวผิ่ว เป็นสัมปทานท่าเรือจีนสำหรับขนถ่ายน้ำมัน ต้องนั่งเรือ 6 ชั่วโมงไปดูท่าเรือจ้าวผิ่ว ขนน้ำมันตะวันออกกลางส่งผ่านมัณฑะเลย์ไปมณฑลยูนนาน ท่าเรือจ้าวผิว มีเรือยาวและเก่ามาก

สินค้าจีนเข้ามาทางมูเซลู่ลี่มาที่มัณฑะเลย์เพื่อกระจายสินค้า

จีนมีนโยบาย One belt, One Road

ไทยนำเข้าก๊าซที่ด่านสังขละบุรี

โอกาส คือ เกษตรแปรรูป อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องจักร

กฎหมายใหม่อนุญาตให้นำเงินไปลงทุน 100% ก็ได้ 2 ปีแรกจ้างคนพม่า 25% ปี 2 จ้าง 50% ต้องการพัฒนาคนให้เก่ง

เมียนมากำลังสร้างสนามบินนานาชาติหงสาวดี

มีแต่บริษัทใหญ่ของไทยเข้าไปลงทุนเมียนมา

พฤติกรรมผู้บริโภคพม่า มีตลาด 90% ห้าง 10%

ตลาดหยกมีที่มัณฑะเลย์

จีนซื้อทุกอย่างที่เมียนมา

เมืองสิเรียมมีฟาร์มเลี้ยงและส่งออกปูนิ่ม แต่ถ้าพัฒนา Packaging จะไปไกล

ข้าวอองซานของเมียนมาได้รางวัลแชมป์โลก ขยายตัวได้ยาวกว่าข้าวหอมมะลิไทย

มาเลเซียไปตั้งธุรกิจรถยนต์ในเมียนมาเพราะมองเห็นโอกาสขยายตัวในเมียนมา

โอกาสการลงทุนในกัมพูชา

รายได้ 70% มาจากธุรกิจเสื้อผ้า

ค่าจ้างวันละ 140 บาท

จีนลงในเมียนมาและกัมพูชามากที่สุด

เกาหลีใต้ลงทุนในเวียดนามมากที่สุด

วิเคราะห์กรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจ

(บทเรียนเพื่อการพัฒนาการเคหะแห่งชาติ)

Group Assignment Presentation (1)

: นำเสนอบทเรียนจากหนังสือดี ๆ เกี่ยวกับกรณีศึกษาด้านการบริหารธุรกิจและการปรับใช้กับการเคหะแห่งชาติ**

ร่วมวิเคราะห์และให้ความคิดเห็นโดย..

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

HBR's 10 must Reads on Strategy: Harvard Business Review

กลุ่ม 1 นำเสนอโดยนายศักดิ์ ศรีผดุงเจริญ และนายประเวช ชูมณี

Five Competitive Forces แรงกดดันการแข่งขัน 5 ประการ

ต้องรักษาความสามารถการแข่งขัน ติดตามคู่แข่ง

1.คู่แข่งที่เข้ามาใหม่ ทำให้กำไรเราลดลง

2.ผู้ซื้อ ถ้าเขาต่อรองราคา ก็จะมีผลต่อกำไร

3.ของทดแทน

4.Supplier

5.คู่แข่งที่มีอยู่แล้ว

ภัยคุกคามจากคู่แข่งที่เข้ามาใหม่

ถ้าขนาดองค์กรเล็ก ก็ประหยัดต้นทุน เราอาจมีปัญหาความคล่องตัว ถ้าเป็นองค์กร

ความผูกพันแบรนด์มีผลต่อตลาด

การลงทุน การเคหะได้เงินอุดหนุนจากรัฐบาล แต่ทำบ้านคนจน ก็มีงบโฆษณาน้อย

นโยบายรัฐบาล การเคหะได้รับการส่งเสริม

ต้นทุน การเคหะลำบาก เพราะไม่ได้ทำเอง ต้องจ้างผู้รับเหมา

อำนาจต่อรองของผู้ซื้อ

การเคหะได้รับเงินอุดหนุนบ้านคนจน แต่มีข้อจำกัดว่าให้ขายให้ลุกค้าได้แค่ครั้งละคน

ความภักดีต่อแบรนด์ ผู้ซื้อสามารถซื้อจากรายอื่นได้

การเคหะต่อรองราคาไม่ได้ ขายเป็นยูนิต

ภัยคุกคามจากสินค้าทดแทน

มีสินค้าทดแทนคือ การเคหะสร้างอาคารเช่าสำหรับคนที่ไม่สามารถซื้อได้

อำนาจต่อรองผู้ขาย Supplier

การเคหะไม่สามารถกำหนดผู้รับเหมาเพราะติดระเบียบจัดซื้อจัดจ้าง

คู่แข่งเดิม

อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม

อัตราการเติบโตของผู้มีรายได้น้อย

การดำเนินการ

คัดเลือกทำเลเหมาะ

ก่อสร้างให้สอดคล้องความต้องการ

โครงการที่ตอบสนองรัฐ ก็ต้องขอการตั้งกองทุน

กลยุทธ์

ต้องใช้ราคา และเพิ่มการลงทุนวิจัยพัฒนา

เพิ่มบริการหลากหลาย ค้นหาช่องทางใหม่เข้าถึงลูกค้า

เพิ่มช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงได้มากขึ้น

กำหนดคุณลักษณะชิ้นส่วน

ลดราคาแล้วสร้างความแตกต่างของสินค้า

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ไมเคิล พอร์เตอร์ไม่ได้มองแค่เรื่องการเคหะ บางเรื่องก็ใช้กับการเคหะได้

มีปัจจัยอื่นที่กระทบการเคหะหรือไม่

เรื่องชุมชนก็สำคัญ การเคหะไม่ได้ขายบ้านอย่างเดียว

อาจร่วมมือกับ SCG เรื่องวัสดุ

นำเสนอได้ครบถ้วนมาก

ต้องดูภัยคุกคามและโอกาสใหม่ๆที่เกิดขึ้น

ในเรื่อง Supplier การเคหะอาจเจรจาเป็นหุ้นส่วนในอนาคตด้วย

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

นำเสนอด้วยการเปรียบเทียบกับการเคหะ

การเป็นหน่วยงานรัฐ เป็นองค์กรใหญ่ ควรมี rebrand การเคหะ ต้องทำให้คนมีรายได้น้อยภูมิใจว่า จ่ายน้อย ได้ของดี

เพิ่มความสามารถผู้มีรายได้น้อยในการซื้อ

ส่วนสินค้า ก็ใช้วิธีเช่าซื้อ เคยมีกลุ่มเสนอให้มีการบริหารสินทรัพย์ขึ้นมา

อาจมีธุรกิจที่หารายได้เพิ่ม ด้วยการดูแลสภาพแวดล้อมและชุมชน

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรศึกษา Yanus และ Pahalad

Pahalad บอกว่า ต้องฉลาดในการทำธุรกิจกับคนจน

คนจนมีปริมาณมาก แต่อาจมี Demand ลวง รายได้ต่อหัวน้อย แต่ยอดรวมแล้วมาก

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ดร.จีระเคยไปดูชุมชนพอเพียงที่ชุมชนสร้างโฮมสเตย์ ดร.จีระไปเปลี่ยนแนวคิดว่า คนที่ไปท่องเที่ยวชุมชนไม่จำเป็นต้องเป็นชุมชน แต่ขอให้มีมาตรฐานอยู่สบาย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

คนจนก็ไม่ได้หมายความว่าทำให้การเคหะจน แต่ต้องคิดว่า เขาสามารถช่วยสร้างรายได้ให้ได้

ต้องนำประโยชน์จากการวิเคราะห์หนังสือ ก็ต้องไปสู่ความเป็นเลิศ

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

มอง Five Forces เกิดนานแล้ว

ต้องดูโอกาสและภัยจากดิจิตอล

จะเกิดมิติใหม่ของโลกธุรกิจ เปลี่ยนความชอบของคน

บ้านในอนาคต ต้องมองการเป็นการใช้เทคโนโลยีอำนวยความสะดวกมากขึ้น

กลุ่ม 2

The Secrets to Successful Strategy Execution “เคล็ดลับความสำเร็จของการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ”

การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิผลจะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ และ รักษาสถานะไว้ได้ในระยะยาว

“การปรับโครงสร้าง” มีส่วนช่วยในการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ แต่เป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น

Gary L. Neilson, Karla L. Martin และ Elizabeth Powers การกำหนดสิทธิในการตัดสินใจให้ชัดเจนและ

การไหลเวียนของข้อมูลในบริษัท ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กร และกำหนดการให้สิ่งจูงใจที่มีความสอดคล้องกันทั้งบริษัท

ปัจจัยพื้นฐานของการนำกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

(1) การกำหนดสิทธิในการตัดสินใจให้ชัดเจน และ (2) ข้อมูลไหลเวียนไปในส่วนที่ถูกต้อง

(3) โครงสร้าง และ (4) สิ่งจูงใจที่เหมาะสม

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การมีส่วนร่วมน่าจะเป็นสิ่งสำคัญของการเคหะ ต้องมีการปรับการเรียนรู้ในองค์กร เจ้านายต้องรับฟังความคิดเห็น แต่เวลาที่ผู้น้อยพูดแล้วต้องไม่ทำให้เจ้านายเสียหน้า

Execution เรื่องตัดสินใจ ข้อมูล โครงสร้าง แรงจูงใจน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ Strategy เพราะ Execution คือการเอาชนะอุปสรรค

แต่การไม่จำเป็นต้องเชื่อ Harvard ทุกเรื่อง

Cross functional team ของการเคหะควรเกิดจากรุ่นนี้แลกเปลี่ยนความเห็นแล้วค่อยเกิดในระบบที่เป็นทางการ เมื่อมีความไว้เนื้อเชื่อใจกัน แล้วจะเกิดความร่วมมือกันเอง

กลุ่ม 2

การปรับโครงสร้างหน่วยงานที่มีหน้าที่คล้ายกันให้เป็นหน่วยงานเดียวเพื่อลดความซ้ำซ้อน เช่น การก่อสร้าง ถ้าจะทำโครงการการเช่าสร้างอาคาร ซึ่งมี 3 ฝ่ายก็ยังไม่ทราบว่าต้องประสานกับฝ่ายใด ควรจะแบ่งเป็นการเช่าฝ่ายหนึ่ง การหารายได้อีกฝ่ายหนึ่ง

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ประเด็นนี้ก็น่าจะดีและควรจะนำไปพิจารณา แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้บริหารระดับสูงด้วย บางครั้งเจ้านายก็หวงอำนาจ

กลุ่ม 2

การมอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบแต่ละหน่วยงานประสานงานกันเพื่อบูรณาการงานกันระหว่างหน่วยงาน ปัจจุบันนี้บางหน่วยงานทำงานเป็นไซโล ควรจะมีการทำงานแบบ Networking

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

สายงานขององค์กรที่มีความแข็ง (Rigid) เช่น คนที่ทำงานกับวิศวกรก็ต้องการได้รับเกียรติจากวิศวกร

ในองค์กรกฟผ. วิศวกรต้องข้ามไปทำงานในสายชุมชนซึ่งเป็นที่เรียนทางด้านสังคมศาสตร์ บางครั้งก็ไม่ได้รับเกียรติในฐานะ Professional Discipline

งานของกฟผ.คล้ายงานของการเคหะ เปลี่ยนไปเรื่องชุมชนแล้ว เช่น กรณีโรงไฟฟ้าที่กระบี่ เมื่อย้ายไปเน้นด้านชุมชน อาชีพที่เคยเป็นวิศวกรก็ขาดความมั่นใจ ในการเคหะต้องมีคนอย่างวิศวกรหรือสถาปนิกย้ายไปทำงานสายชุมชนยังรู้สึกได้รับเกียรติในฐานะ Professionalism ของสาขาตน บางครั้งคนเหล่านี้ไม่ต้องการข้ามไปทำงานสายชุมชน ก็จะไม่ได้คนเก่งที่ไปจัดการกับด้านสิ่งแวดล้อม

การเคหะควรมีการทำงานข้ามไซโลซึ่งเป็นเรื่องที่จำเป็นและทำได้ง่ายกว่ากฟผ.

งานในยุคต่อไปต้องเชื่อมโยงกันทั้งหมดทุกฝ่าย (Interdependence)

ในอนาคต จะเป็นยุคดิจิตอล ดังนั้น Professional ต้องพร้อมที่จะปรับ Mindset

กลุ่ม 2

การกำหนดตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานของแต่ละคนและมอบหมายให้ปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงตัวชี้วัด เป็นสิ่งที่การเคหะทำอยู่แล้วแต่ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ควรจะมีหน่วยงานกลางที่รู้จักงานของแต่ละฝ่ายเป็นผู้คัดกรองว่าเรื่องอะไรที่สามารถปล่อยผ่านได้และไม่ได้

การเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่งข้อมูลระหว่างผู้บริหารต่อลูกค้าโดยตรงกับผู้บริหารส่วนกลางโดยเฉพาะเรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถให้ข้อมูล

การตั้งทีมงานข้ามสายงานหรือหมุนเวียนตำแหน่งเพื่อให้ได้งานที่หลากหลาย

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ขอชมเชย บทความเรื่องนี้เป็นพื้นฐาน ตรงกับที่ต้องการเห็น เพียงแต่ว่า เรื่องการตัดสินใจ โครงสร้าง ข้อมูล แรงจูงใจก็เป็นพื้นฐาน

อุปสรรคของการเคหะเรื่อง Strategy คือ Strategy บางเรื่องไม่ใช่เรื่องใหญ่ อาจจะเป็น Strategy ในการหาลูกค้า หรือเรื่องคน ก็เหมือนกับ Balance Scorecard แม้ว่าจะเป็น Strategy เรื่องเล็กๆ แต่ก็ต้องเอาชนะอุปสรรค

ข้อเสนอแนะ

1.ในการทำอะไรก็ตาม ต้องทำอย่างต่อเนื่อง อย่าเปลี่ยนยุทธวิธีกลางคัน

2.บาง Strategy ขาดการสนับสนุนเรื่องงบประมาณหรือคน ก็ต้องระวัง เจ้านายควรสนับสนุนให้มีทรัพยากร

3.บาง Strategy ขาดการเอาใจใส่จากผู้นำ ควรมี Leadership ช่วยขจัดอุปสรรค

4.วัฒนธรรมองค์กรเป็นอุปสรรคหรือไม่ เช่น การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ไม่ทำงานเป็นทีม ทีมไม่มีความหลากหลาย

5. เป็น Strategic partner คือ CEO ฝ่ายปฏิบัติการและ Stakeholder ทำงานร่วมกันบนพื้นฐานศักยภาพที่ไม่เหมือนกันและมีการกระจายประโยชน์ไปให้ทุกฝ่ายอย่างยุติธรรม

Execution ควรเป็นเรื่อง Intangible มีการทำงานต่อเนื่อง ไม่ควรส่งคนรู้ไม่จริงไปร่วมคณะทำงานกำหนดยุทธศาสตร์และเอาชนะอุปสรรค

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

การบริหารจัดการที่ชัดเจนของแต่ละบุคคลเป็น Job Description การเคหะควรทำเรื่องนี้

กลุ่ม 4 จะทำโครงการเกี่ยวกับกระจายอำนาจไปในพื้นที่ต่างๆ ก็ต้องนำเรื่องนี้ไปอ้างอิงวิเคราะห์ว่าจะสามารถช่วยองค์กรได้อย่างไร

งานที่สองที่สำคัญมากคือสื่อสารองค์กร แต่การเคหะทำได้ไม่ดีแม้จะทำงานอื่นๆดี การสื่อสารองค์กรมีทั้งภายในและภายนอก

การปรับโครงสร้างในความเป็นจริงสำคัญน้อยที่สุด แต่ถ้าทำได้จะทำให้ข้ออื่นๆเดินไปได้ง่าย

เรื่องแรงจูงใจ อยู่ในทฤษฎี 3 วงกลม องค์กรจะลงตัวและเดินไปได้ด้วยดี ต้องมี Competency คือวงกลมที่ 2 คือศักยภาพของคนและวงกลมที่ 3 เป็นเรื่องของ HRDS เป็นสิ่งจูงใจ

การที่ภูมิใจที่ได้ทำงานให้การเคหะแห่งชาติถือเป็นความสุขอยู่แล้ว ต้องมีการให้รางวัล ความเชื่อมั่นในงาน ให้เกียรติและให้ความสำคัญว่าแต่ละคนเป็นกลไกสำคัญ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องไปทุกแบบ

ถ้าทำทุกอย่างแล้วพบอุปสรรค ก็ต้องก้าวข้ามอุปสรรคให้ได้

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์สอนเรื่อง Extra Mind คือ มีความพยายามอีกช่วงหนึ่งทำเรื่อง Execution ให้สำเร็จ

กลุ่ม 2 กล่าวถึงเอกชน แต่การเคหะบริหารรัฐกิจ ต้องมีเรื่องกฎระเบียบเข้ามาเกี่ยวข้อง ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์กล่าวถึงโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ว่า กว่าจะตั้งได้ต้องศึกษากฎระเบียบ แล้วก็สามารถสร้างรายได้ให้กับโรงพยาบาลศิริราชได้

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

จาก Strategy นำไปสู่ Execution ทำให้เกิด Gap ต้องค้นหาว่า Gap ที่เกิดขึ้นคืออะไร

ปัญหาที่เกิดคือ

1.ความไม่เข้าใจและความไม่ใส่ใจ

ผู้บริหารไม่เข้าใจวิสัยทัศน์และพันธกิจที่ทำให้องค์กรเดินต่อไปข้างหน้า เมื่อยู่ในบทบาทหน้าที่ที่ต้องใส่ใจ ต้องมี Extra Mind ยื่นให้สุดแขน เขย่งหรือกระโดด

2.เรื่องวัฒนธรรม

ต้องกลับมาที่รากเหง้าวัฒนธรรมองค์กรมาจากวัฒนธรรมไทย ต้องทลายกำแพง

3.โครงสร้างองค์กรมีหลายมิติ

ต้องดูบทบาทหน้าที่ในการทำงาน การจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสม ถ้ามีการควบรวม ต้องทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

ตัวโครงสร้างนำไปสู่การมอบอำนาจในการตัดสินใจไปสู่ทุกระดับและนำไปสู่ความไว้วางใจ

องค์กรไม่ควรเน้น KPIs มากนัก แต่ควรมองว่า ทำอะไรและทำอย่างไรให้สำเร็จ แม้ไม่มี KPIs ก็ต้องมีการวัดความสำเร็จ

ในการประยุกต์ใช้ความรู้จากหนังสือกับการเคหะ ต้องค้นหา Gap ก่อนแล้วหารากของปัญหากลับไปแก้ปัญหาทีละจุด เพื่อให้งานเดินไปข้างหน้า อย่างที่หลายท่านบอกว่า ปรับโครงสร้างเป็น Network Organization, Collaborative Organization องค์กรน่าอยู่มี Engagement ที่สูง ด้วยพื้นฐานที่ดีของการเคหะ จะทำให้สามารถเดินไปข้างหน้าตามนโยบายหรือยุทธศาสตร์ NHA 4.0 ได้ไม่ยาก

กลุ่ม 3

การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ชั้นยอดให้เป็นผลการดำเนินงานที่ดีเยี่ยม

(Turning Great Strategy into Great Performance)

สืบเนื่องมาจากการแข่งขันในยุโรป โรงงานอุตสาหกรรมใหญ่ๆ ในยุโรปได้มีการแข่งขันทางการตลาดเพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งการตลาด ทำให้การดำเนินงานตกต่ำ ผู้บริหารจึงกำหนดให้เปลี่ยนแปลงการทำงานใหม่

โดยสรุปคือ

1. กลยุทธ์ของบริษัทส่วนใหญ่จะส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ทางด้านการบริหาร 63%

2. ผู้นำส่วนใหญ่มักจะมุ่งเน้นเสนอกลยุทธ์ใหม่เมื่อผลดำเนินงานอ่อนแอ แต่ในความเป็นจริงแล้ว จุดอ่อนอยู่ที่การนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ

3. ทรัพยากรไม่เพียงพอ 7.5%

4. การสื่อสาร 5.2%

5. การกำหนดขั้นตอนการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติไม่ชัดเจน 4.5%

6. กำหนดตัวผู้รับผิดชอบการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติไม่ชัดเจน 4.1%

7. มีความร่วมมือระหว่างฝ่าย มีวัฒนธรรมองค์กรที่ขัดขวางต่อการนำไปปฏิบัติ 3.7%

8. การติดตามผลการดำเนินงานไม่เพียงพอ 3%

9. การให้รางวัลหลังจากการนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จ 3%

10. ผู้บริหารระดับสูงขาดความเป็นผู้นำ 2%

11. ผู้บริหารของบริษัทไม่แสดงความมุ่งมั่นที่จะนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ 1.9%

12. กลยุทธ์ไม่ได้รับการอนุมัติ 0.7%

สุดท้ายคือ อุปสรรค ทักษะความสามารถของผู้ปฏิบัติงานไม่ตรงตามความต้องการ ปัญหาเหล่านี้ก็ต้องคิดหาวิธีการแก้ไขให้การดำเนินงานประสบความสำเร็จ

วิธีการแก้ไขข้อผิดพลาดโดยปฏิบัติตามกฎ 7 ข้อที่ทำให้กลยุทธ์เกิดผลสำเร็จ

1. ทำให้ง่าย ประยุกต์ให้เข้าใจง่ายและเป็นรูปธรรม อธิบายให้ชัดเจนว่า อะไรเป็นสิ่งที่ทำหรือจะไม่ทำ

2. มั่นใจว่า สมมติฐานถูกต้อง สมมติฐานในการวางแผนกลยุทธ์มาเกี่ยวข้องการตลาดและผลดำเนินงานของบริษัทที่แท้จริง

3. พูดภาษาเดียวกัน หมายถึงผู้นำองค์กร ทีมการวางแผนกลยุทธ์การผลิต การตลาดและการเงินจะต้องเห็นพ้องต้องกันว่า การทำงานและการวัดผลดำเนินงานจะต้องไปในทิศทางเดียวกัน

4. หารือในการจัดทรัพยากรในการทำงานให้เร็ว สอบถามหน่วยงานต่างๆว่า จะจัดคนทำงานให้เมื่อไร หรือว่าคู่แข่งจะโต้ตอบมาเร็วแค่ไหน จะมีการคาดการณ์และวางแผนรับมือได้อย่างไร

5. จัดลำดับความสำคัญสิ่งที่จะต้องทำ วางแผนงานที่จะต้องทำ

6. ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนที่วางไว้ จะทำให้แก้ไขข้อบกพร่องในแผนงานได้และนำไปปฏิบัติ

7. พัฒนาความสามารถในการทำงาน สิ่งสำคัญคือต้องมีคนสามารถนำแผนกลยุทธ์ไปปฏิบัติได้ การสรรหาคนและการพัฒนาคนเป็นสิ่งแรกที่ต้องทำ

ถ้าบริษัทหรือองค์กรมีการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ในการดำเนินงานโดยปฏิบัติตามกฎ 7 ข้อนี้จะทำให้องค์กรดำเนินงานประสบผลสำเร็จในด้านธุรกิจ

การจัดทำกลยุทธ์ให้ประสบผลสำเร็จ

1.ผู้นำต้องกำหนดกลยุทธ์สื่อสารให้ชัดเจน เข้าใจง่าย เป็นรูปธรรม

2.ผู้นำต้องมีการติดตามผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง

3.ผู้นำต้องมีการพัฒนาบุคลากรและการให้รางวัลตอบแทนในกรณีที่มีการทำดี

เนื้อหาจากหนังสือนำมาปรับใช้กับการเคหะได้โดย

1.ผู้บริหารต้องกำหนดทิศทาง ยุทธศาสตร์องค์กรและสื่อสารโดยปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของหน่วยงาน เป็นผู้บริหารที่มีจริยธรรมในการบริหาร

2.ผู้บริหารต้องจัดวางแผน ถ่ายทอดไปสู่การปฏิบัติ ในการวางแผน ต้องทำอย่างรอบคอบ เหมาะสมในการสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจและนำไปดำเนินการได้

3.ผู้บริหารต้องมีการกระจายอำนาจเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน ในปัจจุบันนี้ ผู้ว่าการการเคหะมีนโยบายที่จะมอบอำนาจให้สำนักงานในส่วนภูมิภาค ที่มีการซ่อมหรือขออนุมัติซ่อมต่างๆ ที่ผ่านมา ส่งมาที่หน่วยกลางให้กำหนดราคากลาง ต่อไปจะให้ทำได้ในส่วนภูมิภาคเพื่อให้สามารถแก้ปัญหาให้กับลูกค้าได้ทันท่วงที

4. ผู้บริหารต้องกำกับการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ องค์กรก็จะบรรลุวัตถุประสงค์ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ลูกค้าพึงพอใจในการให้บริการ เมื่อดำเนินการตามแผนแล้ว ต้องมีการวัดผลไปวิเคราะห์ทบทวนการดำเนินการโดยนำระบบการประเมินผลงานขององค์กรมาใช้ สิ่งใดที่ไม่ดีก็ต้องมีการปรับปรุง ถ้าสิ่งใดที่ดีแล้ว ก็ทำให้ดียิ่งขึ้น เมื่อมีการดำเนินการไปแล้ว ถ้าเกิดผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือหน่วยงานใดทำดี ก็มีการให้รางวัลและยกย่อง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทำความดีหรือปฏิบัติงานประสบผลสำเร็จ ทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความพอใจและเกิดความผูกพันกับองค์กร เมื่อดำเนินการไปทั้งหมดแล้ว ก็ต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการให้ความรู้บุคลากร มีการสนับสนุน สร้างความก้าวหน้าให้บุคลากร มีการวางแผนสืบทอดตำแหน่งเพื่อไม่ให้ขาดช่วงในการบริหาร ซึ่งปัจจุบัน การเคหะประสบปัญหาการขาดผู้บริหาร ถ้ามีการทำแบบนี้ ก็จะดีขึ้น ตัวอย่างที่ผู้ว่าการการเคหะมีแนวคิดให้การเคหะมีผลประกอบการที่ดีขึ้นโดยให้ลูกค้ามาขอสินเชื่อและทำสัญญาเช่าซื้อกับการเคหะโดยตรง เพราะลูกค้าปัจจุบันของการเคหะเป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ระดับล่าง มีคุณสมบัติไม่เพียงพอที่จะดำเนินการผ่านธนาคาร จึงไม่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อจากธนาคาร ผู้ว่าการการเคหะมีแนวทางจะนำลูกค้ากลุ่มนี้มาทำการเช่าซื้อกับการเคหะโดยการเคหะหาแหล่งเงินมาให้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทความนี้คล้ายบทความที่แล้ว แต่ดูกรณีศึกษาของบริษัทในยุโรป มีความประทับใจ 5 เรื่องคือ

1. สมมติฐานที่เคยเชื่อ ต้องมีคำถามต่อไป เช่น อย่าเน้นแต่ลูกค้าคนจน ควรทบทวนสมมติฐาน แล้วแก้ไข

2. ผู้นำต้องเอาชนะอุปสรรค

3. ผู้นำของการเคหะสามารถมอบอำนาจให้คนอื่น

4. นอกจากเป็นผู้นำแล้วยังให้ความสำคัญเรื่องทรัพยากรมนุษย์และทุนมนุษย์ ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด แนวโน้มของโลกในปัจจุบัน ผู้นำต้องเป็น Human-Centered Leadership ทั้งพัฒนาคน เอาใจใส่ดูแลคน เน้นคุณธรรมจริยธรรมและความสุขในการทำงาน ที่เหลือก็เสริมเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเทคโนโลยีหรือเรื่องอะไร แต่คนต้องมาก่อน สอดคล้องกับที่นำเสนอ

5. การสื่อสารสำคัญ แต่ไม่ค่อยจะมีการกล่าวถึง

บทความนี้เป็นแนวคิดตะวันตกผสมผสานกับแนวคิดในองค์กรที่จะเปลี่ยน Strategy ไปสู่ Performance

กลุ่ม 4

Who has the D? How clear decision role enhance organizational performance?

บทความนี้กล่าวถึงใครเป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในองค์กร ผู้เขียนมองว่า การตัดสินใจเหมือนเหรียญสองด้าน ความสำเร็จ ความล้มเหลวและโอกาสในแต่ละครั้ง หรือความพลั้งพลาดก็มาจากการตัดสินใจของใครคนใดคนหนึ่ง ปัญหาจากการตัดสินใจก็คือ ความไม่ชัดเจนว่า ใครจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในการตัดสินใจเรื่องใด การตัดสินใจที่ไม่ชัดเจนจะทำให้เกิดความล่าช้าหรือความล้มเหลวได้ วิธีการแก้ปัญหาคือ การกำหนดบทบาทการตัดสินใจอย่างชัดเจน

สาเหตุของการตัดสินใจล่าช้าคือมี Bottleneck 4 สถานการณ์

1. อำนาจการตัดสินใจควรอยู่ที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาในแต่ละท้องที่

2. อำนาจการตัดสินใจควรอยู่ที่บริษัทแม่หรือหน่วยธุรกิจ

3. อำนาจการตัดสินใจควรอยู่ที่ฝ่ายใด

4. อำนาจการตัดสินใจควรอยู่ที่พันธมิตรทางธุรกิจภายในหรือภายนอก

จาก Bottleneck 4 สถานการณ์ ก็ได้มีการคิดเรื่องของระบบที่จะสามารถมาแก้ Bottleneck

กำหนดบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบอย่างชัดเจนว่า จะมีใครร่วมในกระบวนการตัดสินใจบ้าง เรียกว่า RAPID ประกอบด้วย

1. Recommend เป็นผู้ให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะ จัดทำทางเลือก

2. Agree เป็นผู้ให้ความเห็นชอบ ให้ความเห็นต่อข้อเสนอแนะ เป็นการรับรองข้อมูล ให้ผู้ตัดสินใจใช้ต่อไป

3. Perform เป็นผู้ลงมือปฏิบัติ เป็นบทบาทที่มีความสำคัญเพราะกลุ่มนี้จะต้องนำเรื่องที่ตัดสินใจไปปฏิบัติ

4. Input เป็นผู้ให้ความเห็น ให้ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยให้การประเมินความเป็นไปได้ของการนำเสนอนั้นนำไปปฏิบัติให้ได้ผลจริง

5. Decide เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจที่จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบให้การตัดสินใจนั้นสำเร็จลุล่วงแล้วก็สามารถนำสิ่งที่ตัดสินใจไปปฏิบัติให้เกิดผลลัพธ์ได้

กรณีศึกษาอำนาจการตัดสินใจควรอยู่ที่สำนักงานใหญ่หรือสาขาในแต่ละท้องที่

กรณีศึกษา British-American Tobacco

เดิมอำนาจการตัดสินใจจัดซื้อวัตถุดิบอยู่ที่ภูมิภาค ทำให้แบรนด์การผลิตขาดเอกภาพ เกิดปัญหาการแข่งขันกันเอง มีต้นทุนในการจัดซื้อสูง จึงได้มีการปรับปรุงระบบการตัดสินใจโดยจัดตั้งทีมจัดซื้อส่วนกลาง แล้วให้ทีมจัดซื้อวัตถุดิบที่ใช้เหมือนกันทุกสาขาอยู่ที่ส่วนกลางที่เดียวเพื่อให้เกิดการประหยัดต้นทุน แต่ก็รับฟังความคิดเห็นที่แต่ละพื้นที่ให้ข้อมูลด้วย ทีมงานส่วนภูมิภาคเองก็ยังมีอำนาจที่จะจัดซื้อวัตถุดิบในตลาดท้องถิ่นเอง ดูที่ความคุ้มค่าว่าควรจะมอบอำนาจให้อยู่กับใคร

กรณีศึกษาอำนาจการตัดสินใจควรอยู่ที่บริษัทแม่หรือหน่วยธุรกิจ

กรณีศึกษา Wyeth

Wyeth เป็นบริษัทยา มีบริษัทในเครือ 3 กลุ่ม บริษัทแม่ตัดสินใจทุกเรื่อง CEO ที่เข้ามาใหม่ก็มีความคิดว่า กำลังใช้คนเก่งในภาพกว้างๆ ในงานทุกเรื่อง เป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่า กระบวนการตัดสินใจไม่ใช่กระบวนการตัดสินใจที่ดีที่สุด จึงเกิดกระบวนการคิดตัดสินใจขึ้นมาใหม่ เพื่อให้เกิดการตัดสินใจในกลุ่มธุรกิจมากขึ้น เพราะกลุ่มธุรกิจมีความรู้ในการดำเนินธุรกิจมากกว่า ส่งต่อให้ทีมบริหารระดับสูงตัดสินใจในประเด็นเรื่องสำคัญ เช่น กลยุทธ์การตลาดและกำลังการผลิต ทำให้การตัดสินใจของบริษัทเป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น

กรณีศึกษาอำนาจการตัดสินใจควรอยู่ที่ฝ่ายใด

กรณีศึกษา John Lewis

บริษัท John Lewis จำหน่ายเครื่องบดเกลือและพริกไทย เป็นความขัดแย้งระหว่างฝ่ายจัดซื้อกับฝ่ายขาย ฝ่ายจัดซื้อมีการลดแบบการผลิตจาก 50 แบบเหลือ 20 แบบ เวลาฝ่ายขายนำสินค้าไปจัดแสดง จากพื้นที่ที่เคยไปวาง 50 แบบ ก็เหลือแค่ 20 แบบ ทำให้เกิดพื้นที่ว่างจำนวนมาก ทำให้สินค้าที่จัดแสดงไม่น่าสนใจ ยอดขายก็ต่ำลง เมื่อฝ่ายจัดซื้อไปเห็นพื้นที่ประกอบกับได้รับการอบรมมาบ้าง ให้ฝ่ายจัดซื้อเป็นผู้ออกแบบการจัดแสดงสินค้าเพื่อให้ดึงดูดลูกค้า แล้วฝ่ายขายทำตามฝ่ายจัดซื้อกำหนด แต่ก็มีสิทธิ์ทักท้วงถ้าฝ่ายจัดซื้อทำไม่ถูกต้อง เป็นการสื่อสารกันได้

กรณีศึกษาอำนาจการตัดสินใจควรอยู่ที่พันธมิตรทางธุรกิจภายในหรือภายนอก

บริษัทแม่ที่อยู่สหรัฐอเมริกาจ้างโรงงานในประเทศจีนผลิตสินค้า บริษัทแม่ที่สหรัฐอเมริกาออกแบบผลิตภัณฑ์ราคาแพงให้โรงงานในประเทศจีนผลิต แต่โรงงานในประเทศจีนเปลี่ยนแบบให้ต้นทุนต่ำลง และใช้วัตถุดิบคุณภาพต่ำ บริษัทแม่จึงทำข้อตกลงในเรื่องการตัดสินใจ กำหนดบทบาทการตัดสินใจว่า บริษัทแม่ในสหรัฐอเมริกาจะตัดสินใจในเรื่องที่ส่งผลต่อรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์เพื่อให้รูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์มีคุณภาพที่ลูกค้าพึงพอใจแต่ผู้ผลิตในจีนมีอำนาจตัดสินใจในเรื่องที่จะไม่ส่งผลต่อความรู้สึกของลูกค้าว่า เป็นสินค้าคุณภาพต่ำ

ในกระบวนการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารควรจะใช้เวลาประชุมให้น้อยลง

ในองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง ใช้เครื่องมือที่ไม่ซับซ้อนค้นหา Bottleneck ของการตัดสินใจ มีการกำหนดบทบาทความรับผิดชอบในการตัดสินใจ

ตัวอย่างการตัดสินใจที่จะทำให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น

งาน Routine ของสำนักงานเคหะชุมชนซึ่งอยู่ในกรุงเทพ ปริมณฑลและภูมิภาค เรื่องโอนสิทธิ์ รับสิทธิ์ เวลาที่ลูกค้าซื้ออาคารไปแล้วต้องการขยับขยายย้ายที่อยู่หรือต้องการขายสิทธิ์ ลูกค้ากลุ่มนี้ก็ไปประกาศประชาสัมพันธ์ให้มีคนมาซื้อ เมื่อซื้อแล้ว ก็มายื่นคำร้องที่สำนักงานเคหะชุมชนที่รับผิดชอบ เมื่อยื่นคำร้องเสร็จแล้ว สำนักงานเคหะชุมชนรับคำร้องไว้ แล้วส่งให้ผู้มีอำนาจ ซึ่งจะอยู่ที่ส่วนกลาง คือผู้อำนวยการฝ่าย มีการส่งเอกสารสัปดาห์ละครั้งมาที่กองเคหะชุมชนภูมิภาคที่สำนักงานใหญ่ หลังจากนั้นกองเคหะชุมชนภูมิภาคทำบันทึกเสนอผู้อำนวยการฝ่ายเพื่อขอรับการอนุมัติให้มีการโอนสิทธิ์โดยมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมตามระเบียบ 20,000 บาทในกรณีที่โอนให้บุคคลภายนอก ถ้าโอนให้พ่อแม่ พี่น้องร่วมบิดามารดาคิดค่าธรรมเนียม 4,000 บาท เมื่อมีการอนุมัติเรียบร้อย ก็มีการแจ้งผลอนุมัติกลับไปทางสายเดิมคือ ผ่านผู้อำนวยการกองไป ส่งไปรษณีย์ไปให้สำนักงานเคหะชุมชนภูมิภาค แล้วแจ้งลูกค้าเพื่อมาทำสัญญา

ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 เดือน งานนี้เป็นงาน Routine ซึ่งสำนักงานใหญ่ก็ไม่เคยปฏิเสธหรือไม่อนุมัติ

ในการนำระบบแนวคิดการตัดสินใจมาปรับใช้กับการเคหะก็คือ การถ่ายโอนอำนาจไปให้หัวหน้าสำนักงานเคหะชุมชน ซึ่งเป็นพนักงานการเคหะระดับ 7 มีวุฒิภาวะพอสมควร จึงสามารถอนุมัติได้ เมื่อลูกค้ามายื่นคำร้อง ถ้าหัวหน้าอยู่ ใช้เวลาไม่เกิน 1 ชั่วโมง จัดทำบันทึก หัวหน้าอนุมัติ ชำระเงิน กลับบ้านได้

ถ้าหัวหน้าไม่อยู่ ยื่นคำร้องไว้ วันรุ่งขึ้น หัวหน้ามาเซ็นอนุมัติ เชิญลูกค้ามารับ ใช้เวลา 1 วันเสร็จสิ้นกระบวนการ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ข้อนี้ก็นำไปปฏิบัติได้

บทความนี้เน้นเรื่องการตัดสินใจ การตัดสินใจเป็นทักษะที่ต้องฝึก แม้ว่าบางคนเป็นอัจฉริยะ แต่ก็มีปัญหาในการตัดสินใจเพราะรีบร้อนตัดสินใจทั้งที่ไม่มีข้อมูลไม่เพียงพอ บางแห่งก็มีผลประโยชน์ทับซ้อน บางแห่งก็ตัดสินใจด้วยอคติหรืออารมณ์

เวลากล่าวถึงภาวะผู้นำ ผู้นำที่ดีต้องมีศักยภาพ 4 อย่าง

บุคลิกภาพหรือ Character ที่เกิดมากับตนเอง แต่ทักษะการเป็นผู้นำต้องอาศัยการฝึกฝน

ที่การเคหะ วิชานี้น่าจะมีหลักสูตรพิเศษขึ้นมา ควรนำกรณีศึกษาในไทยมาใช้มากกว่ากรณีศึกษาต่างประเทศ ครั้งหนึ่งศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์เคยเขียนกรณีศึกษาในประเทศไทย ทำให้เห็นว่า การตัดสินใจผิดพลาดเป็นเพราะตั้งใจให้ผิดพลาดด้วยหวังผลประโยชน์ทับซ้อน

ชอบที่มีการนำเสนอว่า การเคหะควรไปทบทวนการตัดสินใจที่เร็วขึ้น ทำให้ลูกค้าได้รับประโยชน์

ถ้ามีอำนาจ ต้องพยายามผ่อนอำนาจเหล่านั้นให้แก่คนอื่น แต่การแบ่งปันอำนาจเหล่านั้นต้องทำด้วยความระมัดระวัง ต้องศึกษาให้ดีว่า คนที่จะได้รับมอบอำนาจนั้นมีความพร้อมหรือไม่ ถ้ามอบอำนาจบางอย่างรวดเร็วเกินไป จะทำให้คนเหล่านั้นเข้าใจผิดคิดว่าตนมีความสามารถในการตัดสินใจ บางครั้ง ควรมีทางที่จะดึงอำนาจกลับมาบ้าง

ในเรื่องการประชุม การเคหะควรสำรวจเวลาที่ Unproductive แล้วหารือกันกำหนดมาตรฐานใหม่ว่า การประชุมไม่ควรมีระยะเวลาเกิน 2 ชั่วโมง ในอนาคต อาจประชุมผ่านระบบดิจิตอล การที่ประชุมน้อยลงจะทำให้มีความคิดสร้างสรรค์ทำสิ่งต่างๆ มากขึ้น

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ขอขอบคุณทุกกลุ่มที่ได้นำเสนอรายละเอียดในหนังสือ

Strategy is a choice. กลยุทธ์คือทางเลือกที่ต้องการเลือก ต้องการชนะเรื่องอะไร อะไรที่ทำให้ชนะได้ จะเน้นตลาดใด จะต้องทำอะไรบ้าง

Execution is a must.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในวันนี้สามารถนำไปต่อยอดการทำโครงการ

นายจักร์กริช เปี่ยมแสงจันทร์

Five Force Model เป็นรูปแบบของการสร้างกลยุทธ์ มี Stakeholders เข้ามาเกี่ยวข้องได้แก่ หุ้นส่วนขององค์กร ผู้ถือหุ้น รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด นี่คือส่วนที่นำมาสร้าง Strategy

จากการที่ได้ติดตามงานของการเคหะ ก็สนใจเรื่องอสังหาริมทรัพย์และก็ศึกษาหลายบริษัท ก็พบว่า

การทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีหลายมิติ ทำได้ทุกมิติทั้งด้านการเงิน การก่อสร้าง การตลาด ก็ฝันว่า การเคหะจะเป็นการเคหะแห่งชาติของประเทศไทยอย่างแท้จริง

จุดแข็งของการเคหะคือ ความเป็นการเคหะแห่งชาติ ต้องใช้เสน่ห์ตรงนี้ในการสร้างกลยุทธ์ของการสนับสนุนต่างๆจากธนาคาร จุดแข็งข้อหนึ่งที่น่าจะเกิดคือเรื่อง Supplier แต่ตอนนี้ Supplier กำลังเป็นจุดอ่อน อาจจะต้องมีวิธีการแก้ไข

สำหรับกลุ่มที่นำเสนอเป็นอันดับที่สอง ที่กล่าวถึง 4 ปัจจัย ถ้ากล่าวถึงลักษณะการบริหารคือกุญแจความสำเร็จ อาจจะสร้างได้มากกว่า 4 ปัจจัย มีการให้ข้อคิดเห็นเรื่องวัฒนธรรมองค์กร

การทำ Cross function การทำ Execution เมื่อมีปัญหาก็ต้องวางแผนแก้ปัญหา Cross function ก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะร่วมกันแก้ไข

ส่วนที่สามคือการเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์ให้ยอดเยี่ยม เป็นการสร้างกลยุทธ์ใหม่บนกลยุทธ์เก่าที่เกิดขึ้น จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานด้านบริหารมา ทำ Balance Scorecard จาก SWOT แล้วมาสร้าง KPIs เนื้อหาการนำเสนอค่อนข้างดี

ในเรื่องการสื่อสารองค์กร เป็นปัญหาทุกองค์กร ได้เคยสร้างทฤษฎีขึ้นมา Triangular Problem การสื่อสารที่ผิดพลาด เกิดการทำงานที่ผิดพลาด

ในอนาคต จะต้องมีการ Empowerment ออกไป

Human-Centered Leadership ก็มีความสำคัญ

เรื่องที่สี่ การตัดสินใจมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับทุกองค์กร ถ้าสื่อสารผิด ก็ตัดสินใจผิด สิ่งที่เกิดขึ้นจะผิด ไม่สอดคล้องกับนโยบาย

การทำนวัตกรรมหรือกระบวนการใหม่ๆ ทุกอย่างต้องสอดคล้องกัน แล้วผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการทั้งหมดจะต้องร่วมสร้างความคิดเห็นร่วมกันเพื่อไปสู่จุดหมายเดียวกัน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ได้ประเด็นครบมาก

วันนี้จะได้เห็นความสำเร็จแบบหนึ่งของ Chira Way คือการฝึกผู้นำ วันนี้ได้ฝึกกระบวนการคิดร่วมกัน บางอย่างเห็นด้วย บางอย่างเห็นแย้ง บางอย่างก็นำไปคิดต่อยอด นี่คือกระบวนการแบบ Chira Way ที่นำหนังสือมาเสนอ ส่วนใหญ่ เวลาที่ไปเรียนจากหลายสถาบัน ก็ไม่ได้ใช้ตรงนั้น ก็ให้แต่ละคนไปอ่านแล้วนำไปวิเคราะห์เอง แต่ละกลุ่มได้ฝึกนำเสนอ แล้วก็ทำได้ดี

มีข้อสังเกตคือ หัวข้อวิชาวันนี้ วิเคราะห์หนังสือเพื่อให้เห็นยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อนำไปปรับใช้กับองค์กร โดยมองความจริง (Reality) การเคหะเป็นองค์กรภาครัฐที่แตกต่างจากธุรกิจ การบริหารธุรกิจใช้ Strategy อันหนึ่ง เป็นเรื่องกระบวนการวางแผน การจัดการองค์กร การบริหารทรัพยากรของกิจการ การใช้คน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของธุรกิจที่สำคัญที่สุดคือกำไรสูงสุด แล้วก็จะคืนกลับมาเป็น CSR แบบใดก็ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร ต่อมาก็คือความพึงพอใจของลูกค้า ซึ่งก็ตรงกับการเคหะ กำไรสูงสุดของภาคธุรกิจอาจจะนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วย้อนกลับมาให้ลูกค้า หรือพัฒนาคน หรือการพัฒนายุทธวิธีตลอดเวลา นี่เป็นเรื่องของเอกชน

ส่วนการบริหารรัฐกิจคือการดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร โดยมีจุดมุ่งหมายในการตอบสนองนโยบายภาครัฐ ไม่เน้นผลกำไรสูงสุด แต่เน้นผลประโยชน์สูงสุดของประชาชน การเคหะไม่จำเป็นต้องมองเรื่องกำไรสูงสุดก็ได้ แต่ต้องเป็นความพึงพอใจของประชาชนและตอบสนองนโยบายรัฐ

ถ้าทำโครงการดี การเมืองก็อาจจะมาช่วยสนับสนุน

ในภาคราชการ มีกฎหมายและกฎระเบียบ ก็ต้องกลับไปดูกฎหมายแล้วปรับเรื่องกฎระเบียบ ต้องไปดูงบประมาณการใช้จ่าย ภาครัฐได้มาตามรัฐสภา ซึ่งค่อนข้างจำกัด ต้องมีวิธีการก้าวข้ามปัญหาและอุปสรรค การบริหารงานสาธารณะมีขอบเขตกว้างกว่าและมองไม่เห็น ถ้ามีการตรวจสอบในเชิงเศรษฐกิจ ภาครัฐจะเสียเปรียบเอกชน เอกชนวัดด้วยกำไร แต่ภาครัฐวัดด้วยหน่วยที่หาให้คนที่มีรายได้น้อย แต่ไม่ได้ตอบโจทย์ บางครั้งมองไม่เห็น บางครั้งทำให้คนมีบ้านที่ดี มีงานที่ดีทำ สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจได้ ซึ่งตรงนี้ต้องใส่เข้าไปในโครงการ ในการที่จะโน้มน้าวใจผู้บริหาร ต้องเชื่อมั่นในตัวโครงการ เชื่อมั่นในตัวเอง ข้าราชการเองจะบูรณาการค่อนข้างยาก มีคนเก่ง แต่เวลาทำงานมักไม่ค่อยไปด้วยกัน แต่การที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคลเห็นความสำคัญของการฝึกอบรม ทำให้น่าจะก้าวข้ามอุปสรรคไปได้ การบริหารสาธารณกิจ เช่น ชุมชนสัมพันธ์ ทำอย่างไรจะให้เกิดความต่อเนื่อง เป็นแต้มต่อพัฒนาไปในเชิงเศรษฐกิจ

ในส่วนที่คล้ายกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนคือ การบริหารจัดการ ดำเนินการใดๆก็ได้ที่มุ่งเป้าหมายร่วมกันให้เกิดความสำเร็จ ถ้าจะไปไทยแลนด์ 4.0 ต้องไม่ลืมคำว่า เศรษฐกิจ คนที่เป็นลูกค้าการเคหะและเศรษฐกิจในภาพรวม และน่าจะนำไปใส่ในโครงการได้

สรุปโดยผู้เข้าร่วมโครงการ

จากการที่แต่ละกลุ่มได้นำเสนอมา สรุปภาพรวมคือเรื่องกระบวนการการจัดการ Rhythm & Speed ก็สำคัญ เรื่องความรวดเร็ว กระบวนการการจัดการต่างๆ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บางเรื่องก็นำไปปรับใช้ได้ทันที

  • อะไรที่ช้าแล้วไม่ผิดกฎระเบียบ ควรรีบเสนอ บางเรื่องเป็นงาน Routine
  • ประชุมให้น้อย ถ้าประชุมมาก สมองจะฝ่อ
  • เจ้านายควร empower เมื่อลูกน้องมีความพร้อม

สรุปโดยผู้เข้าร่วมโครงการ

KPIs ของการเคหะ มีปริมาณมากและควรจะปรับ

ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ควรจะมีเวลาวันหนึ่งมาหารือกันเรื่อง KPIs แล้วส่งเสริมคนให้ไปสู่ KPIs ในความเป็นจริงแล้ว KPIs เกิดขึ้นจากคุณสมบัติของมนุษย์ จึงจะไปได้

สรุปโดยผู้เข้าร่วมโครงการ

จะปรับ KPIs ให้น้อยลงแต่มีคุณภาพ เป็นรูปธรรมไม่ใช่มีแค่ปริมาณ แต่ละฝ่ายควรจะมีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันแล้วจะมีรูปแบบที่ดีเกิดขึ้น

Panel Discussion

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

โดย ดร. สุรพงษ์ มาลี

สำนักงาน ก.พ.

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

รองกรรมผู้จัดการ

บริษัท ทรีสคอร์ปอเรชั่น จำกัด

และ

รองกรรมผู้จัดการ

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ

ดำเนินการอภิปรายโดย

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

วันที่ 3 มีนาคม 2560

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

โลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ประเทศไทยกำลังไปสู่ 4.0 การเคหะควรจะเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงต่างๆ

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

ตอนอยู่ที่ทริส เคยประเมินการเคหะ

นโยบายยุทธศาสตร์รัฐบาลเน้นเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักสำคัญคือสร้างภูมิคุ้มกัน ต้องมีระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี

ประเด็นสำคัญ

ระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี

การประเมินของสคร.ตั้งแต่ระดับ 4-5 ต้องมีการวิเคราะห์ Portfolio ของ Risk

รูปแบบความเสี่ยง

1.ภัยธรรมชาติ ตอนที่เกิดสึนามิ น่าจะเป็นความเสี่ยงถ้ามีทรัพย์สินตรงนั้น เมื่อเกิดแผ่นดินไหวระดับสูงที่อินโดนีเซีย คนไทยไม่รู้เรื่องสึนามิ แต่เด็กชาวอังกฤษเคยเรียนเรื่องสึนามิ

เมืองที่มีความเสี่ยงที่จะถูกน้ำท่วม กรุงเทพจะจมน้ำในอีก 30 ปีข้างหน้า

2.สงคราม เหตุการณ์ความไม่สงบ

3.การชุมนุมของกลุ่มการเมืองแต่ละกลุ่ม

4.วิกฤติเศรษฐกิจ เช่น วิกฤติต้มยำกุ้ง สมัยนั้น Rating ของไทยที่วัดโดย Moody’s ลดลงเป็นรายสัปดาห์ สถาบันการเงินปิดไปหลายแห่ง อีกกรณีคือ BIBF ทำให้ไปกู้ต่างประเทศได้ดอกเบี้ยดี เมื่อเงินต่างประเทศออกจากไทยก็ทำให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ แต่หลังจากนั้น สถาบันการเงินระวังมากขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยออกมาตรการกำกับดูแลสถาบันการเงิน

ในองค์กร ก็มีความเสี่ยงกลยุทธ์ เช่น โกดักทำกล้องดิจิตอลแต่ไม่ละทิ้งกล้องฟิล์ม คู่แข่งเห็นโอกาสจึงทำกล้องดิจิตอลต่อ ทำให้เสียเปรียบ Blackberry เลิกไปเพราะไอโฟนมา

ความเสี่ยงมักเริ่มจากเรื่องอื้อฉาวก่อน

5. Fraud มีการแต่งบัญชีเพื่อให้ราคาหุ้นดี เช่น เอ็นรอนหุ้นตก มีการฟื้นฟูเข้าสู่กระบวนการล้มละลาย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพแคลิฟอร์เนียก็ล้มละลายเพราะไปเอาเงินมาจากที่นี่

6. BREXIT อังกฤษออกจากสหภาพยุโรป

7. การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ คนคิดว่า ฮิลลารีจะได้เป็น แต่ทรัมป์ได้เป็น

8. ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 สร้างความเปลี่ยนแปลงมาก

9. การตั้งองค์กรขึ้นมาทำให้เกิดความเสี่ยง เช่น เมื่อมี กสทช. ทำให้ CAT กลายเป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องฟื้นฟู

ปัญหาของรัฐวิสาหกิจคือบุคลากรมีอายุเฉลี่ยสูง มีอายุ 45 ปีขึ้นไป มีปัญหาช่องว่างระหว่างวัย การประเมิน และการตามแนวโน้มโลก เช่น ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

การบริหารความเสี่ยงที่ดีต้องบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ต่างๆ

ต้องมีการประเมินความพึงพอใจลูกค้าให้ถี่ขึ้น

ต้องมีการสื่อสารทำความเข้าใจบ่อยๆ หัวหน้าต้องมีบทบาท coaching มากขึ้น

ต้องใช้ทรัพยากรคุ้มค่า

ต้องดูสภาพแวดล้อมประกอบการบริหารความเสี่ยง

การบริหารความเสี่ยงที่ดีก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น

การบริหารความเสี่ยงทำให้พบโอกาสใหม่

ระบบบริหารความเสี่ยง

โคโซ่ COSO

สกร.สำหรับรัฐวิสาหกิจ

คำศัพท์ในการบริหารความเสี่ยง

ความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ความเสี่ยงที่มีอยู่

ความเสี่ยงที่เหลืออยู่

สิ่งที่ต้องจัดการคือ ความเสี่ยงที่ยอมรับได้และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้

ระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี

ต้องสร้างวัฒนธรรมให้ตระหนักเรื่องความเสี่ยงตลอดเวลา

กำหนดบทบาทในการบริหารความเสี่ยงดี

มีการรายงาน

มีการจัดสรรทรัพยากรดำเนินการ

กระบวนการโคโซ่ วิเคราะห์เป้าหมาย ประเมินความเสี่ยง เลือกวิธีตอบสนอง

ระดับความเสี่ยงต้องมีการบริหารความเสี่ยงในทุกระดับ

กลุ่มความเสี่ยง

ด้านการปฏิบัติการ

ด้านยุทธศาสตร์ ได้แก่การมองทิศทาง กำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดวัตถุประสงค์ต้องมีตัวชี้วัดเชิงปริมาณกำกับโดยระบุตัวเลข

ต้องเขียนแผนผังความเสี่ยงจึงจะทำ Risk Portfolio ได้

ความเสี่ยงระดับ 3 เป็นความเสี่ยงที่ยอมรับได้ แต่ต้องมีคู่เทียบด้วย

ดร. สุรพงษ์ มาลี

หลักการบริหารความเสี่ยง ต้องทำให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (ควบคุม)

ความเสี่ยงจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดนวัตกรรม

กรณีศึกษา 3M

โพสอิท เป็นการคิดค้นแบบไม่ตั้งใจ เดิมตั้งใจผลิตกาวติดกระดาษ พนักงานใส่ส่วนผสมกาวผิด ฝ่ายควบคุมคุณภาพมาทดสอบกาวก่อนออกขาย กระดาษที่ติดหลุดลอกออก กลายเป็นโพสอิท

3M มีวัฒนธรรมให้ลองผิด ลองถูกได้ ทำให้ 3M กลายเป็น The most innovative organization in the world

ในการจัดการภาครัฐ ควรใช้ศาสตร์พระราชาสร้างภูมิคุ้มกัน

หัวใจการบริหารความเสี่ยง ไม่ควรรอให้ความเสี่ยงเกิดขึ้นมาก่อน ความเสี่ยงคือความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจึงทำให้ยากที่จะบริหาร

ความเสี่ยงคือเหตุการณ์และการกระทำที่เกิดขึ้นแล้วลดโอกาสการบรรลุเป้าหมาย

Strategic Risk ต้องหาความเสี่ยงที่กระทบด้านที่สำคัญขององค์กรก่อน Risk ที่สำคัญคือไม่สามารถตอบสนองความต้องการผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

Change, Risk และ Leadership ไปด้วยกัน ความเปลี่ยนแปลงนำมาซึ่งความเสี่ยง ก็ต้องมีการบริหารจัดการดีโดยผู้นำ

ต้องทราบผลกระทบจากกระแสต่างๆ เช่น AEC ดิจิตอล สังคมผู้สูงอายุ แล้วจะมีประโยชน์ต่อการบริหารความเสี่ยง

งานบางอย่างอาจหายไป เช่น แคชเชียร์ พนักงานรับ check in ตั๋วเครื่องบิน

กระบวนการบริหารความเสี่ยง

1.ระบุความเสี่ยง (โอกาสที่ทำให้ให้เป้าหมายเบี่ยงเบน) ต้องนำเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์เป็นตัวตั้ง

2.ประเมินความเสี่ยง บนพื้นฐาน ERM ต้องดูระดับประสิทธิผลการควบคุมความเสี่ยงที่มีในปัจจุบัน

เมื่อเกิดความเสี่ยง กระทบเวลา ต้นทุนและคุณภาพหรือไม่

เทคนิคการประเมินการเสี่ยง

โอกาสxผลกระทบ = ระดับความเสี่ยง

ต้องดู Psychological Risk ด้วย

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

คนมีความสำคัญในการทำให้สำเร็จหรือล้มเหลว

ในศาสตร์พระราชา ก็ต้องสู้กับความยากจน กระบวนการทำให้คนมีระยะเวลาพอเพียงเปลี่ยนจากความยากจนเป็นความพอเพียง

การบริหารความเสี่ยงควรนำไปต่อยอดให้เกิดมูลค่าเพิ่ม

ศาสตร์พระราชาสอนให้ชาวนาสร้าง Differentiation ด้วย

ดร. สุรพงษ์ มาลี

หลักการจัดการกับความเสี่ยง

1.ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

2.ลดผลกระทบที่จะเกิดความเสี่ยง

3.แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง

ต้องมีการวิเคราะห์องค์ความรู้ จะช่วยตัดสินใจและเชื่อมโยง 2 อย่างที่ไม่เกี่ยวกันเป็นนวัตกรรมได้

ความเสี่ยงลดโอกาสไม่ได้ เช่น ภัยธรรมชาติ

ตอนที่ซาร์สระบาด ประเทศไทยจัดประชุมนานาชาติเพื่อสร้างความเชื่อมั่นจากต่างประเทศ

เวลาที่เกิดหวัดนก ทำให้เลี้ยงไก่ในระบบปิดได้

หลักการตรวจสอบภายใน คือควบคุมก่อนและหลังที่จะเกิดเหตุการณ์

5T of Risk Management

1.Tolerate ยอมรับความเสี่ยง

2.Treat การลด/ควบคุมความเสี่ยง

3.Transfer กระจายโอน/ความเสี่ยง เช่น ทำประกัน มอบอำนาจ

4.Terminate หลีกเลี่ยงความเสี่ยง

5.Take ใช้ประโยชน์

ประเทศญี่ปุ่นมีหนังสือสอนเด็กดูปรากฏการณ์ธรรมชาติและมีจิตสาธารณะ

ความเสี่ยงมีทุกระดับ

ผู้บริหารควรสนใจเรื่องความเสี่ยงระดับองค์กร

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

Project Risk Management ต้องดู Life cycle

1.ก่อนเริ่มโครงการ ต้องดูความเสี่ยง ความคุ้มค่า

2.เมื่อดำเนินโครงการ ต้องดูกรอบเวลา S-curve ต้นทุน งบประมาณ การเบิกจ่ายทันเวลา คุณภาพโครงการ

3.หลังโครงการ มีประเมินหลังโครงการเป็นไปตามเป้าหมายหรือให้ผลตอบแทนตามเป้าหรือไม่

การบริหารจัดการโครงการ ก็มีเรื่อง Public-Private Partnership มาเกี่ยวข้องด้วยเป็นหนึ่งในวิธีบริหารโครงการ

บางครั้งเลือกโครงการต้นทุนต่ำก็ทำให้เกิดปัญหา บางครั้งเลือกราคาที่แพงแต่องค์กรได้ประโยชน์ก็ถือว่าไม่ผิด

ช่วงคำถาม

กลุ่ม 3

ในปี 2560 ความเสี่ยงระดับองค์กรของการเคหะมี 13 ตัว ที่เป็นระดับองค์กรตอบเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ในเรื่องความเสี่ยงระดับโครงการ ปีนี้การเคหะกำลังปรับโครงสร้างมี 2 ส่วนคือ มีกองความเสี่ยงระดับองค์กรกับโครงการ เวลาทำเรื่องความเสี่ยงระดับองค์กรและโครงการแตกต่างกันอย่างไร ต้องมีการจัดลำดับความเสี่ยงแต่ละโครงการแล้วค่อยมาติดตามประเมินหรือไม่

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

ในเรื่อง Risk management ต้องบริหารความเสี่ยงทุกโครงการ ไม่ใช่จัดลำดับเพื่อบริหารความเสี่ยง

ส่วนใหญ่จะเน้น Pre-process Risk Management เป็นสิ่งเฉพาะหน้า แต่ Post Evaluation หลังโครงการอาจเลือกทำเฉพาะโครงการใหญ่ที่มีผลกระทบมากต่อองค์กร

ดร. สุรพงษ์ มาลี

ความเสี่ยงระดับองค์กรและโครงการก็เชื่อมโยงกันอยู่แล้ว

ถ้าทำโครงการมาก แต่ไม่เกี่ยวกับองค์กร ก็ถือว่าผิดปกติ

ต้องบริหารสิ่งที่ทำให้โครงการล้มเหลว

ต้องบริหารความเสี่ยงของโครงการทั้งหมด

เทคนิคการควบคุมภายใน อาจเกี่ยวข้องกับงานประจำ

ระบบราชการมีกฎหมาย Good Governance ทำเรื่อง Risk Management ให้มีเครื่องมือควบคุม

สคร.ให้มีระบบควบคุมภายในและมีการบริหารความเสี่ยง

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

การเคหะควรคิดถึง Innovation risk นำ Risk มาสร้างนวัตกรรม

การเคหะกำลังเผชิญปัญหาขาดทุนเพราะบริการผู้มีรายได้น้อย ถือว่าเป็น Financial Risk การเปลี่ยนแปลงด้านนี้จะมีความรุนแรงมากขึ้น ควรสนใจเรื่องนี้

ต้องคิดถึงความเปลี่ยนแปลง

กลุ่ม 4

ความเสี่ยงการจัดซื้อจัดจ้าง โครงการการเคหะเดิมสร้างสำหรับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง

ระเบียบพัสดุ ประมูลหาผู้รับเหมาที่เสนอราคาต่ำสุด

มีวิธีใดป้องกันหรือแก้ไขความเสี่ยงการจัดซื้อจัดจ้าง

ดร. สุรพงษ์ มาลี

เมื่อการเคหะมุ่งคนละตลาด คุณภาพวัสดุต่างกัน ไม่น่ามีปัญหา แต่อาจจะมีข้อกฎหมายมากำหนด

ความเสี่ยงภาพใหญ่ อาจพิจารณาความเสี่ยงคู่กับ core capability ของการเคหะด้วย

เรื่องแบรนด์น่ากลัวกว่าความเสี่ยง

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

ลูกค้าต่างกัน ก็ต้องใช้ของต่างกันอยู่แล้ว บ้านราคาสูงของต้องราคาแพงกว่าบ้านราคาถูก

บางครั้งบ้านเอกชนที่สร้างโดยบริษัทดัง ขายชื่อ แต่ไปกดราคาผู้รับเหมา จึงได้กำไรมากกว่า

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

การเคหะมีต้นทุนต่ำกว่า เพราะซื้อที่ดินได้ถูกกว่า เป็นประเด็นที่จะแข่งกับเอกชน

ต้องประชาสัมพันธ์ความประทับใจของลูกค้าที่มีต่อการเคหะ

กลุ่ม 1

การเคหะหาลูกจ้างเอง ตอนนี้มีกฎหมายเกิดขึ้น ต้องไปดูที่กรมบัญชีกลาง มีความเสี่ยงอย่างมากสำหรับการเคหะในการหาลูกจ้าง บางครั้งก็ทำอะไรกับลูกจ้างไม่ได้ จะลดความเสี่ยงเรื่องนี้ได้หรือไม่ ในการหาลูกจ้าง จะมีระดับของผู้รับจ้าง ซึ่งสามารถเจรจาได้ เมื่ออยู่ที่กรมบัญชีกลาง ก็มีเรื่องของการลดการคดโกง

ดร. สุรพงษ์ มาลี

น่าจะมีการเปิดโอกาสให้เจรจาหรือกำหนดมาตรฐานกันได้ แม้กระทรวงการคลังจะถูกมองว่า ทำอะไรโดยใช้มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด แต่ในหลายเรื่องก็ต้องพิจารณาเป็นกรณี เพราะมีหลายหน่วยงานมีข้อตกลงเฉพาะ ต้องมีการหาช่องทางหารือกับทางกระทรวงการคลังเพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของการเคหะ

กลุ่ม 2

จากมุม สคร. โครงการฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง ตอนนี้กำลังทำที่อยู่อาศัยส่วนหนึ่งรองรับที่อยู่อาศัยเดิม มีความเสี่ยงแน่นอนว่า โครงการนี้จะขาดทุน จึงวางแผนจะนำพื้นที่บางส่วนมาหารายได้ชดเชย ผู้อาศัยบางส่วนไม่ยอมรับ ถ้าจะกระจายความเสี่ยงไปดึงเอกชนมาร่วมลงทุน จะมีทางออกอย่างไรบ้าง

คุณสมชาย ไตรรัตนภิรมย์

มีหลายโครงการที่รัฐมอบให้รัฐวิสาหกิจไปทำแต่เป็นการเพิ่มต้นทุนให้รัฐวิสาหกิจ หรือตัดรายได้หลัก เพื่อตอบสนองนโยบายมหภาคเช่น ลดหนี้สาธารณะ เพิ่มบทบาทภาคเอกชน แต่องค์กรได้รับผลกระทบทางลบ

ถ้าเป็นนโยบายลงมา ก็ต้องไปทำ ต้องมีการบริหารจัดการเพื่อตอบสนองนโยบายให้ได้ ควรหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยคิดดำเนินการ

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

โครงการ 4.0 ก็เป็นสิ่งท้าทาย ต้องหาโจทย์ 4.0 การเคหะก็ทำกำไรได้แน่นอน

ถ้านำเทคโนโลยีมาช่วยทำงานให้ถูกใจลูกค้าก็ทำกำไรได้แน่นอน

Panel Discussion

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

โดย ดร.ดวงตา ตันโช

ที่ปรึกษาสำนักงบประมาณ

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

กรรมการบริหารความเสี่ยง
บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด /
ที่ปรึกษาอิสระอาวุโส

ดร. มงคล เหล่าวรพงศ์

กรรมการอิสระและกรรมการตรวจสอบ

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

ในการตรวจสอบความมีประสิทธิภาพ ต้องกลับไปดูอำนาจหน้าที่ของการเคหะตามกฎหมาย ถ้าทำนอกหน้าที่มีความผิดตามกฎหมาย การเคหะมีอำนาจหน้าที่ในการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย เคยมีคำถามว่า ทำไมการเคหะไม่สร้างบ้านให้คนรวย ก็ต้องกลับไปพิจารณาตามกฎหมายก่อน เมื่อมีความบกพร่องจะไม่เป็นการส่อทุจริต อำนาจหน้าที่ต้องใช้ไปควบคู่กับประสิทธิภาพและประสิทธิผล และพิจารณาประโยชน์จากการดำเนินโครงการแต่ละโครงการ

กรณีตลาดประชานิเวศน์ 1 กทม.เป็นผู้ดำเนินโครงการนี้ มีปัญหาตึกพังหลังจากสร้างมาแล้ว 30 ปี มีการอ้างว่า น้ำลงทำให้ตึกผุ แต่ไม่มีการไปดูสัดส่วนการใช้ซีเมนต์ เหล็ก ระยะเวลาที่เหมาะสมในการบ่มซีเมนต์ ถ้าทำเรื่องนี้จริงจัง จะไม่เกิดปัญหาตึกพัง

ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากสินค้าที่มี ในการทำงาน การเคหะต้องมองเหมือนกับว่าตนเองเป็นเจ้าของ เช่นสร้างบ้าน ก็ต้องคิดว่าถ้าตนเป็นเจ้าของบ้านต้องการอะไรบ้าง เช่น ของดี ถูก ใช้ได้ทนทานเป็นเวลานานๆ

จากประสบการณ์การทำงานเป็นปลัดอำเภอ ทำให้ทราบปัญหาการทุจริตในวงราชการ มีการเรียกสินบนโดยหักจากงบประมาณโครงการ ในความเป็นจริงแล้ว ไม่มีโครงการใดที่ไม่มีเงินทอน ระยะหลังกลายเป็นส่วนแบ่ง ในอดีต ส่วนแบ่งแค่ 10-15% แต่ในระยะหลังส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นเป็น 30-50% นอกจากนั้นยังนำไปบวกเข้ากับราคา เช่น เวลาซื้อที่ดินก็มีการบวกราคา มีการไปกว้านซื้อที่ล่วงหน้าแล้วมาเก็งกำไร

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.)

1.นำหลักธรรมมาภิบาล (Good Governance) มาใช้กับรัฐวิสาหกิจทุกแห่ง (56แห่ง)

2.จัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาองค์กรระยะ 5 ปี

3.สรรหากรรมการรัฐวิสาหกิจด้วยระบบคัดเลือกให้ได้ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์เข้ามาบริหารอย่างแท้จริง

การเคหะควรพิจารณาว่า สามารถดำเนินการตามนโยบาย 3 ข้อข้างต้นนี้ได้หรือไม่ แต่สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่า สิ่งที่ทำนั้นถูกหรือผิดกฎหมาย ทำทุกอย่างด้วยความเสมอภาค รับฟังความคิดเห็น ให้คนมีส่วนร่วม

ในแผนยุทธศาสตร์การเคหะ 5 ปี ก็ต้องมองไปข้างหน้าและคาดการณ์ความต้องการเรื่องบ้าน วางแผนการสร้างที่อยู่ให้มีราคาถูกให้กับประชาชน แต่เมื่อมีการเมืองเข้ามาแทรกแซง ทำให้บ้านมีคุณภาพลดลง

ในการบริหารรัฐวิสาหกิจต้องได้คนดีมาทำงาน มีความสามารถในการมองปัญหาของการเคหะ การดำเนินงานในอนาคตเพื่อให้องค์กรยั่งยืน ประชาชนมีบ้านและมีความเป็นอยู่ที่ดี อยู่ในทำเลที่เหมาะสม เดินทางสะดวก

จากประสบการณ์การไปศึกษาดูงานที่ประเทศจีน มีการจูงใจประชาชนให้ย้ายไปอยู่ในที่ไกลออกไปโดยมีข้อเสนอคือขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าเดิม และมีบริการขนส่งสาธารณะไปถึง

การเคหะต้องคำนึงถึงประชาชนที่ต้องไปอยู่ในพื้นที่ห่างไกลด้วย เพราะเป็นการยากที่จะซื้อที่ดินได้ในราคาถูก บริษัทเอกชนคิดว่า ลงทุนแล้วต้องได้กำไร จึงจะทำ บริษัทเอกชนมีพนักงานน้อยแต่ทำงานมีประสิทธิภาพ มีกำไร ไม่ต้องวางแผน 5 ปี แต่การเคหะทำงานเพื่อประชาชน สิ่งตอบรับคือประชาชนพอใจ มีความเป็นอยู่ที่ดี ขณะเดียวกันการเคหะก็ต้องมีกำไรเลี้ยงตัวเองได้ ถ้ารัฐวิสาหกิจต้องการจะมีกำไร ก็ไม่ควรขึ้นค่าบริการกับประชาชน เพราะประชาชนจะอยู่ไม่ได้ การเคหะถูกบังคับให้ผลิตบ้านราคาถูก จึงต้องควบคุมให้ต้นทุนถูกลง ใช้เงินให้มีประสิทธิภาพ แล้วจะมีกำไรมากขึ้น อย่างไรก็ตาม คุณภาพบ้านต้องไม่ลดลง

การบริหารงบประมาณต้องเน้น

1.ประสิทธิภาพ

1.1 เป็นไปตามแผนงานและโครงการ

1.2 บรรลุวัตถุประสงค์

1.3 ได้ผลงานตามที่กำหนด

2.ประสิทธิผล

2.1 ประหยัด

2.2 คุ้มค่า

2.3 เกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

1.จัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามยุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะยาวตามภารกิจองค์กรและนโยบายรัฐที่มีความจัดเจน ปราศจากการครอบงำทางการเมืองและภาครัฐ โดยต้องคำนึงภาระอำนาจหน้าที่ สถานะทางการเงิน ความเป็นไปได้ของภารกิจ อย่างคุ้มค่า ประหยัด โปร่งใส ตรวจสอบได้ และประโยชน์สาธารณะ

2.จัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี ในแผนงานและโครงการที่กำหนดในงบประมาณประจำปี ที่มีความชัดเจน ตามระยะเวลาที่กำหนดระยะ

3.ใช้เงินงบประมาณตามแผนงานด้วยความโปร่งใส คุ้มค่า ประหยัด โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และประโยชน์ต่อส่วนรวมและสาธารณะ

ต้องดูว่าจะทำอย่างไรให้ทรัพย์สินที่มีสร้างประโยชน์ให้การเคหะ เปรียบเทียบระหว่างตลาดประชานิเวศน์ 1 กับตลาดบองมาร์เช่ พบว่า ตลาดประชานิเวศน์ 1 ไม่รุ่งเรือง แต่ตลาดบองมาร์เช่รุ่งเรือง ต้องค้นหาสาเหตุและหารายได้เพิ่มจากตลาดประชานิเวศน์ 1

นอกจากงบประมาณโครงการ ต้องพิจารณาความเหมาะสมของเงินเดือนบุคลากร อัตรากำลัง ค่าตอบแทน ภาครัฐมีปัญหาคือคนว่างงานมาก คือ ทำไม่เต็มเวลา การพัฒนาคนก็มีความสำคัญ พัฒนาแล้วองค์กรต้องได้ประโยชน์ เวลาไปดูงานแล้วต้องคิดด้วย นำความรู้มาใช้ทำงานให้องค์กร

ควรระวังเรื่องงบรับรองใช้สำหรับรับรองคนนอก ไม่ควรนำมาใช้กันเอง กสทช. มีการตรวจสอบการใช้งบรับรองอย่างละเอียดโดยไปตามตรวจสอบที่ร้าน เวลา และบุคคลที่ไปด้วย

งบประชาสัมพันธ์เป็นงบที่รั่วไหลมากที่สุด คือทำแล้วหายไปกับกิจกรรมต่างๆ แล้วไม่สามารถตรวจสอบได้

ดร.ดวงตา ตันโช

ในความเป็นจริง ควรจะแยกกระบวนการตรวจสอบจากการจัดทำงบประมาณ

การเคหะมีงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 มูลค่า 329,556,500 บาท และ งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2560 มูลค่า 503,756,600 บาท ในการดำเนินแต่ละโครงการ การเคหะต้องเสนองบประมาณต่อสภาพัฒน์ฯ มีขั้นตอนยาว ดังนั้นเมื่อได้รับงบประมาณแล้ว ควรทำให้เร็วที่สุด หมายถึงต้องดูแผนปฏิบัติงานและการจ่ายงบประมาณในแต่ละเดือน รัฐบาลมีนโยบายเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ

ในปี 2560 ก็มีมาตรการตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม 2559 ตอนนี้ทุกส่วนราชการเร่งการใช้จ่ายงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง เร่งในการดำเนินการทั้งหมด ในการจัดซื้อจัดจ้าง ก็มีกระบวนการตรวจสอบ โดยเฉพาะการเคหะจะมีกระบวนการพิเศษคือการรายงาน SEPA ต้องมี KPIs ที่รายงานต่อกระทรวง

ในด้านมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการ ถ้าหน่วยงานใดเร่งกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไม่ทันภายในวันที่ 31 มีนาคม 2560 ก็ต้องส่งคืนงบประมาณ สำนักงบประมาณก็เตรียมโอนงบประมาณกลับแล้ว ในปี 2561 พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างจะออกมาใหม่และเริ่มใช้ภายใน 180 วัน บังคับใช้ประมาณวันที่ 23 สิงหาคม จึงมีความจำเป็นในการอบรมเรื่องนี้ ในการเบิกจ่าย ต้องทำกระบวนการให้ถูกต้อง เมื่อมีการส่งคืนงบประมาณแล้ว ก็นำกลับออกมาใช้ได้ยาก

การเคหะมีวิสัยทัศน์ชัดเจน คือ เป็นองค์กรสมรรถนะสูงด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย ชุมชนและเมืองเพื่อความมั่นคงทางสังคม

การเคหะมีการใช้เงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณ แต่นำมาสมทบกันแล้วมีมูลค่ามาก แต่ต้องทำให้ถูกต้องตามกระบวนการในแง่การจัดสรรงบประมาณ

ในปี 2560 การเคหะมีงบประมาณรวมทั้งสิ้น 16,794 ล้านบาท เป็นเงินงบประมาณ 524 ล้านบาท

แต่เงินนอกงบประมาณเป็นเงินกู้ภายในประเทศ

ตอนนี้การเคหะทำ 2 โครงการ คือ

1.โครงการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยผู้มีรายได้น้อย โครงการบ้านเอื้ออาทร 112,200,000 บาทในปี 2560 มีเงินนอกงบประมาณอีก 3,550,000 บาท มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนคือ เพื่อแก้ไขปัญหาด้านการขายของโครงการบ้านเอื้ออาทรให้มีผู้มีรายได้น้อยและผู้ด้อยโอกาสมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคงและปลอดภัย ในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาค ถือเป็นเงินดำเนินการและมีการผูกพัน

2. โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย 412,467,000 บาท มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนคือ เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลางมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง เพื่อให้ชุมชนของผู้มีรายได้น้อยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการอยู่อาศัย

ในการเสนอโครงการต่อสภาพัฒน์ จะมีการวิเคราะห์ทุกมิติ เช่น การเช่ามีความคุ้มค่ากว่าการซื้อหรือไม่ ถ้าเป็นโครงการที่ปล่อยเช่า ก็ต้องดูว่าอีกกี่ปีจะคืนทุน นอกจากนั้นคือกำไร

เวลาทำงาน ต้องมีตัวชี้วัด เช่น จำนวนหน่วยดำเนินการ ลงข้อมูลตามจริง ทำตามระเบียบทุกอย่าง

งบประมาณปี 2560 การเคหะได้ 500 กว่าล้าน

มาตรการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งบประมาณบังคับใช้กับหน่วยราชการทุกแห่ง มีการรายงานไปยังคณะรัฐมนตรีทุกวันอังคารเวลามีการประชุม มีการจัดอันดับหน่วยราชการที่มีการเบิกจ่ายงบประมาณสูงสุดและต่ำสุด 10 อันดับ

เมื่อปลายปี ภาพรวมงบประจำทั้งประเทศไม่น้อยกว่า ร้อยละ 96 ส่วนลงทุนมีร้อยละ 87

ตอนนี้กำลังเข้าสู่การโอนพ.ร.บ.งบประมาณวันที่ 31 มีนาคม สำนักงบประมาณจึงออกหนังสือเวียนว่า ถ้าหน่วยงานใดมีงบประมาณเหลือจ่ายจากการดำเนินการใช้จ่ายบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ควรใช้เยียวยาผู้ประสบอุทกภัยก่อน หรือขับเคลื่อนการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้ หรือใช้ดำเนินการตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล

การเคหะอยู่ในแผนบูรณาการวิจัย 20 กว่าล้านบาท และแผนบูรณาการสังคมผู้สูงอายุด้วย ในกรณีที่ใช้เงินเหลือจ่ายในแผนบูรณาการ สามารถที่จะดำเนินการได้ โดยเสนอของบประมาณต่อรองนายกรัฐมนตรีที่กำกับแผนบูรณาการ

งบประมาณปี 2561 ซึ่งกำลังเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของสำนักงบประมาณ การเคหะจะได้รับงบสูงขึ้นเพราะขอดำเนินการโครงการเคหะชุมชนผู้มีรายได้น้อยถึงปานกลางภายใต้การพัฒนาที่อยู่อาศัยชุดที่ 1 จำนวน 20 โครงการ 8,558 หน่วย ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาลผ่านค.ร.ม.แล้ว

ในปี 2561 การเคหะจะต้องมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างอาคารเช่าสำหรับผู้มีรายได้น้อยปี 2559 มีระยะที่ 1 จำนวน 14 โครงการ 4,388 หน่วย วงเงิน 1,815 ล้านบาท ในเขตกทม.และปริมณฑล ระยะที่ 2 อีก 7 โครงการ 1,378 หน่วย

แนวทางการพิจารณาของสำนักงบประมาณคือ เมื่อมีทุกอย่างพร้อม ก็ต้องทำแผนปฏิบัติการประกอบด้วยเพื่อให้สอดคล้องตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพ

ดร. มงคล เหล่าวรพงศ์

ลักษณะการบริหารงบประมาณในอดีตของรัฐวิสาหกิจ ถ้าเป็นของการเคหะก็มุ่งเน้นเพื่อการเคหะอย่างแท้จริง

การบริหารงบบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ไม่ใช่เพื่อการเคหะแต่เป็นเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ต้องเกี่ยวข้องกับสำนักงบประมาณ การเคหะและสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ

การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นนำไปใช้ประกอบ ในการพิจารณาจัดทำ งบประมาณ โดยทบทวนเป้าหมายแนวทางและตัวชี้วัดให้เชื่อมโยงสอดคล้องกับร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (2560 –2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับ ที่ 12 (2560 –2564) นโยบายความมั่นคงแห่งชาติ (2558-2564) นโยบายรัฐบาล และแผนแม่บทกระทรวง/หน่วยงานรวมถึงแผนแม่บทด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่ ประชาชน และประเทศชาติจะได้รับทั้งในระยะสั้นและระยะยาวรวมทั้งสามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ของ ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานอื่นในแต่ละระดับได้อย่างชัดเจน อันเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่ง ของระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์และเอื้อต่อการจัดการงบประมาณและการตัดสินใจเชิงนโยบายต่อไป

การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีการดำเนินงานคือ

1.พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ วัตถุประสงค์ ขอบเขตภารกิจ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด หน่วยงานเจ้าภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการจัดทางบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์

2.ให้ความสำคัญกับการจัดทาแผนแม่บทระยะปานกลางและระยะยาว แผนการปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ การดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่มีการบูรณาการใน 3 มิติ ได้แก่ มิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ (Area) มิติงานตามยุทธศาสตร์กระทรวง/ หน่วยงาน (Function)และมิติยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล(Agenda)

3.จัดทำแผนแม่บทระยะปานกลางและระยะยาว แผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณส่งสำนักงบประมาณ

4.กำกับดูแลติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานบูรณาการรวมทั้งบูรณาการการทำงานในทุกมิติ

แนวทางการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561

1.กำหนดขอบเขต หลักการ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด หน่วยงานดาเนินการ

2.กำหนดโครงการ กิจกรรมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณในลักษณะ บูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ ให้ชัดเจนพร้อมรายละเอียดประกอบ

3.กำหนดแนวทางในการติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ของแผนงานบูรณาการให้สามารถแสดงผลการบูรณาการภารกิจและงบประมาณได้อย่างครบถ้วน และนำไปสู่เป้าหมายของแผนงานบูรณาการได้อย่างชัดเจน มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล•โครงการ - กิจกรรม ในแผนงานบูรณาการต้องเป็นไปตามภารกิจและหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงาน และสอดคล้องกับพันธกิจของรัฐวิสาหกิจ สะท้อนและส่งผลต่อการ บรรลุเป้าหมายของแผนงานบูรณาการ เชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 และนโยบายสำคัญของรัฐบาล

แนวคิดการเชื่อมโยงและการประสานแผนงานในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์

1.การจัดการงบประมาณในเชิงบูรณาการนั้น เป็นการบูรณาการโดยใช้กระบวนการงบประมาณเป็นเครื่องมือให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยให้การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานเป็นไปอย่างส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเป็นไปอย่างสมดุล และมีการรวบรวมรายจ่ายในลักษณะองค์รวมก่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลสูงขึ้นกว่าการดำเนินภารกิจอย่างเป็นอิสระจากกัน

2.หลักการในการดำเนินการคือ หน่วยงานเจ้าภาพมีหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ขอบเขตงาน ระยะเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และงบประมาณเชิงบูรณาการโดย เน้นการจัดทำเป็น Project Base มีความเป็นไปได้ คุ้มค่า และไม่ซ้ำซ้อน

การวางแผนงบประมาณต้องสอดคล้องกับนโยบาย เกณฑ์หมวด 2 การวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ เกี่ยวข้องกับการเคหะ

ในการจัดทำยุทธศาสตร์ แผนจะต้องมีความสมดุลทั้งระยะสั้นและระยะยาว

ในการถ่ายทอดยุทธศาสตร์เพื่อนำไปปฏิบัติ แผนระยะสั้นและระยะยาวต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ มีการจัดสรรทรัพยากรให้เพียงพอ มีการกำหนดตัวชี้วัดและคาดการณ์ผลการดำเนินการ

การวัดผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ – Financial

ตัวชี้วัดทางการเงิน (Financial)

หมายเหตุ

1. EVA

1.วัดความสามารถในการทำกำไร และ/หรือการบริหารสินทรัพย์

2. ROA

2.วัดการบริหารสินทรัพย์

3.Profitability: EBITDA, Profit margin, etc.

3.วัดความสามารถในการทำกำไร

4.Human Productivity: Net Profit/Personnel

4.วัดความสามารถในการทำกำไร

5.Cost: Cost/personnel, Cost/unit product or service etc.

5.วัดความสามารถในการทำกำไร (โดยการควบคุมต้นทุน)

6.Debt Service Coverage Ratio (DSCR)

6.วัดความสามารถในการชำระหนี้คืน

ประเภทตัวชี้วัดที่ไม่ใช่ทางการเงิน

  • Human Productivity/ Productivity
  • Utilization
  • Loss/Defect
  • Quality of product/service
  • Etc.

แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี (พ.ศ.2559-2568) การเคหะแห่งชาติ

4.6 ล้านครัวเรือนไม่มีที่อยู่อาศัยที่เป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง

2.7 ล้านครัวเรือนเป็นผู้มีรายได้น้อย ที่ต้องให้ความช่วยเหลือเร่งด่วน

•กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

–การเคหะแห่งชาติ 1.7 ล้านหน่วย

–สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน 1.0 ล้านหน่วย

ผู้มีรายได้น้อย (เช่า) จำนวน 91,657 หน่วย อยู่ในแผนยกระดับคุรภาพชีวิต

ผู้มีรายได้น้อย (เช่าซื้อ) จำนวน 1,615,780 หน่วย อยู่ในแผนเสริมสร้างความมั่นคงด้านการอยู่อาศัย แผนพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับข้าราชการและแผนความร่วมมือกับเอกชนในการพัฒนาที่อยู่อาศัย

การจัดทำแผนงบประมาณเชิงกลยุทธ์ให้มีประสิทธิผล

1.งบประมาณบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ เป้าหมายแนวทางและตัวชี้วัด

2.จัดทำแผนแม่บทระยะปานกลางและระยะยาว แผนการปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ การดำเนินงานโครงการ

3.กำหนดขั้นตอนการกำกับดูแลติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณ

4.การบูรณาการโดยใช้กระบวนการงบประมาณเป็นเครื่องมือ ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยให้การดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานเป็นไปอย่างส่งเสริมสนับสนุนซึ่งกันและกัน และเป็นไปอย่างสมดุล

5.หน่วยงานเจ้าภาพมีหน้าที่ในการกำหนดเป้าหมาย ตัวชี้วัด ขอบเขตงาน ระยะเวลา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และงบประมาณเชิงบูรณาการโดย เน้นการจัดทำเป็น Project Base

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

เมื่อทำงานแบบบูรณาการ ต่อไปต้องคิดแบบองค์รวม งบประมาณที่คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์กล่าวถึงต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ดูเป้าหมาย KPIs เป็นเรื่องยากถ้าเข้าใจไม่ชัดเจน

ดร.ดวงตา ตันโช

งบประมาณปี 2561 มีกรอบวงเงินทั้งหมด 2.9 ล้านล้านบาท แต่ทำ Pre-ceiling ไป 3.3 ล้านล้านบาท เพราะฉะนั้นต้องนำออกอีก 4 แสนล้านบาท ซึ่งตอนนี้สำนักงบประมาณก็กำลังพิจารณาเพื่อให้ได้กรอบวงเงิน 2.9 ล้านล้านบาท งบประมาณสูงกว่าปี 2560 มาก เวลามาทำจริง ก็จะมาลดงบประมาณลง

แต่ละแผนก็มีการทำ Pre-ceiling

จากทฤษฎีที่ดร. มงคล เหล่าวรพงศ์นำเสนอ ในฐานะที่สำนักงบประมาณเป็นประธานในการทำแผนบูรณาการ 2 แผน คือ แผนบูรณาการน้ำทั้งประเทศ และการจัดการเรื่องขยะ เรื่องขยะถือเป็นปัญหาสำคัญ ต้องมีการบริหารจัดการที่ดี ได้มีผู้เข้าร่วมโครงการมาถามเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต

ปี 2561 แผนบูรณาการเน้นเรื่องสังคม ถือเป็นโอกาสของการเคหะ การเคหะควรวาง Value Chain ตามแผนงานบูรณาการอำนวยความสะดวกทางธุรกิจ การเคหะควรทำโครงการเชื่อมโยงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12

มติค.ร.ม.กำหนดให้การเคหะทำเรื่องที่อยู่อาศัย มีงบประมาณอยู่ประมาณ 2 พันกว่าล้านบาท ควรดูแผนยุทธศาสตร์ที่อยู่อาศัย 10 ปี

ในการวาง Value Chain ของการเคหะ ต้องดูภารกิจของหลายกรมกอง แล้วจะทำให้สามารถหาทางทำให้สำเร็จในปีนั้น ถือเป็นการประยุกต์ใช้แผนบูรณาการระดับประเทศ

การเคหะก็อยู่ในแผนวิจัยซึ่งมีงบประมาณทั้งหมด 1 หมื่นล้านบาท แต่การเคหะได้แค่ 20 กว่าล้านบาท นอกจากนี้ การเคหะก็อยู่ในแผนสังคมผู้สูงอายุซึ่งมีงบประมาณทั้งหมดเป็นแสน แต่การเคหะได้น้อย

ตามที่ดร. มงคล เหล่าวรพงศ์กล่าวถึงระบบ SEPA ตอนนี้ การเคหะอยู่ในกลุ่ม BB ซึ่งมีรายได้มาก ผู้บริหารต้องรับผิดชอบในแต่ละตัวชี้วัด ระบบ SEPA จะให้บริษัทที่ปรึกษามาตรวจสอบ ถ้าจะขึ้นไประดับ B ก็ต้องเสนอต่อสคร. การเคหะควรพิจารณาตัวเองว่า เข้าเป้าหมายใดในแผน 12

จากเว็บไซต์สำนักงบประมาณ มีมติค.ร.ม.เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2559 มีการกำหนดภาพของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ซึ่งอาจจะลดทอนให้เหมาะสมกับการเคหะ ถ้าจะเข้าสู่การทำแผนกลยุทธ์

ดร.มงคล เหล่าวรพงศ์

ถ้าคนที่เขียนเสนองบประมาณกับคนเจรจางบประมาณไม่ใช่คนเดียวกัน จะมีช่องว่างในการสื่อสารถ ในกรณีที่สำนักงบประมาณมีการเพิ่มหรือตัดงบเป็นความท้าทายในการสื่อสารและการปฏิบัติตาม

ในเรื่องงบประมาณเชิงยุทธศาสตร์ เป็นเรื่องที่ท้าทาย 2 กรณีว่า

1.มีทั้งผู้ตรวจสอบภายนอกและผู้ตรวจสอบภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง

2.ขั้นตอนวางแผนและกำกับดูแลเมื่อมีผู้ตรวจสอบภายในและภายนอกมาตรวจสอบ ฝ่ายปฏิบัติการต้องหารือกันเพื่ออธิบายให้ชัดเจน ในการวางแผนต้องสนใจประเด็นท้าทายนี้ด้วย

จากประสบการณ์การเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจ หลักเกณฑ์การพิจารณาของกรรมการตรวจสอบจะดูแค่ว่าทำได้หรือไม่ และถามเหตุผลว่าทำไมจึงทำไม่ได้ ถือเป็นความท้าทายของผู้ปฏิบัติงานที่ต้องพยายามอธิบายให้กรรมการเข้าใจ

จากมาตรฐานการสอบบัญชี ระบุว่า เอกสารการทำงานที่ดีคือเอกสารที่ให้ผู้ตรวจสอบที่มีประสบการณ์แต่ไม่เกี่ยวข้องกับงานนั้นอ่านแล้วเข้าใจ ควรจะมีบุคลากรอย่างน้อย 1 คนในหน่วยงานฝึกเขียนและอธิบายให้กรรมการจากหน่วยงานภายนอกเข้าใจ เพราะกรรมการมีหน้าที่กำกับดูแล ประเมินว่า ผ่านหรือไม่เท่านั้น

อีกความท้าทายคือความท้าทายจากกรรมการที่มีหน้าที่กำกับดูแลทุกท่าน

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ขอขอบคุณวิทยากรทุกท่าน

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ท่านวิทยากรได้กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปีของการเคหะ ท่านกล่าวว่า การเคหะรับผิดชอบ 1.7 ล้านหน่วย ถ้ารับมาแล้วจะเป็นแผนยุทธศาสตร์ หรือเป็นแผนงานพื้นฐาน เดิมเป็นแผนยุทธศาสตร์หรือไม่ ถ้ามีการกำหนดลงมาแล้วว่า การเคหะจะต้องทำ 1.7 ล้านหน่วย จะกลายเป็นแผนงานพื้นฐานหรือแผนงานยุทธศาสตร์

ดร.มงคล เหล่าวรพงศ์

กรณีนี้เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่า แผนงบประมาณลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์คืออะไร นี่เป็นแผนอย่างหนึ่งที่ระบุว่า มีการกระจาย มีการ Deploy ให้กับแต่ละหน่วยงานแล้ว หน่วยงานในที่นี้ก็คือการเคหะ คราวนี้เหมือนเป็น Post-budget คือถูกสั่งมาแล้วให้ทำแบบนี้ ตรงนี้เป็นยุทธศาสตร์ของชาติ แต่ในแง่ของการเคหะ การเคหะมีหน้าที่สร้างให้เป็นแผนปฏิบัติการในกรอบที่รัฐบาลกำหนดมา เช่น มีการกำหนดแนวทาง ตัวชี้วัด งบประมาณ มีการติดตาม ถ้ามีการกำหนดงบประมาณ ต้องทำให้สอดคล้องกับจำนวนงบแต่ละประเภท ถ้าทำในปีเดียวไม่เสร็จ จะเป็นงบผูกพัน ต้องไปตอบ SEPA ตรง Financial Measurement อย่างไร เมื่อมีแผนยุทธศาสตร์ ก็ต้องทำแผนปฏิบัติการ แล้วก็ติดตาม

ดร.ดวงตา ตันโช

การเคหะควรจัดตัวเองเข้าไปอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ให้ได้ แล้วจะได้ในสิ่งที่รัฐบาลต้องการ ภายใน 10 ปีต้องทอนเป้าในแต่ละปีออกมาว่า จะทำเท่าไรแล้วปรับให้เข้ากับยุทธศาสตร์

ในการชี้แจงต่อสำนักงบประมาณ สำนักงบประมาณจะพิจารณาจากแผนแม่บทที่กำกับ ความสอดคล้องกับเป้าหมายในแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 แล้วทอนในแผนแม่บทของการเคหะให้เข้ากับแผนยุทธศาสตร์ให้ได้ ถ้าเป็นแผนพื้นฐานทั่วไป นายกรัฐมนตรีบอกให้นำเข้ายุทธศาสตร์ให้มาก

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

สภาพปัญหาจากการตรวจพบความบกพร่องของหน่วยงานต่างๆ เวลาจัดทำแผนงบประมาณใดๆ ควรคิดถึงผลลัพธ์ก่อนว่าต้องการให้เกิดอะไรต่อสังคมไทย ประชาชนและองค์กรการเคหะ นอกจากนี้ต้องมีตัวชี้วัด วิสัยทัศน์ต้องฝันให้ไกลแล้วไปให้ถึง

สตง.เคยไปตรวจหน่วยงานท้องถิ่นเรื่องการเบิกจ่ายค่าน้ำมันรถของผู้เดินทางที่ไม่ไปกับคณะ เบิกกิโลเมตรละ 4 บาทโดยไม่สนใจว่าจะมีหรือไม่ ถือเป็นการเบิกโดยไม่มีอำนาจ ต้องจ่ายคืนทั้งหมด มีค่าใช้จ่ายการไปร่วมประชุม รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ถือว่าไม่ใช่หน้าที่ราชการ

ในการไปดูงานต่างประเทศ ก็ต้องเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ ต้องมีหลักฐาน และกำหนดให้ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องโดยตรงไป ไปดูงานในระยะเวลาที่สั้น ในการเดินทางไป-กลับ งบประมาณต้องเหมาะสมและประหยัด สตง.จะไปตรวจเส้นทางการเดินทางทั้งหมด ร้านอาหารที่ไปใช้บริการ และประโยชน์ที่ได้รับจากการไปดูงานในแต่ละครั้ง

การใช้เงินผิดประเภทเป็นความผิดตามมาตรา 157

ตอนนี้พ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐประกาศแล้วในราชกิจจานุเบกษา จะมีผลใช้บังคับ 180 วันนับแต่วันประกาศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม จะพ้น 180 วันในวันที่ 23 สิงหาคม ผลก็คือยกระเบียบกฎหมายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทั้งหมดแล้วให้ใช้พ.ร.บ.นี้แทน ถือเป็นภาระหน้าที่ของทุกคนที่ต้องทำตามสาระสำคัญคือ เรื่องราคากลางต้องดูราคาตามหลักเกณฑ์พิจารณาราคากำหนดและต้องอ้างอิงราคาจากกรมบัญชีกลาง

ถ้าไม่ปฏิบัติตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐจะมีโทษจำคุก 1-10 ปี ปรับ 20,000- 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ผู้สนับสนุนรับโทษเท่ากัน

ต้องระวังการล็อคสเปค

รูปแบบหนึ่งคือการล็อคทางเทคนิค เช่น ล็อคสเปคเรื่องคอมพิวเตอร์โดยเขียนรายละเอียด Hardware หรือ Software ที่อยู่ข้างในเครื่อง ถ้าอยากทราบว่า มีสินค้าอื่นที่เทียบเท่าได้หรือไม่ ต้องโทรศัพท์ถามทางบริษัท ควรมีหลักฐานที่มาในการกำหนดคุณสมบัติเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อเวลาผ่านไป 1 ปี อุปกรณ์ไอทีเปลี่ยนไปมีคุณภาพมากขึ้นแต่ราคาเท่าเดิม ถือเป็นเรื่องที่ควรจะต่อรองได้ ถ้าต้องการใช้บริการกับผู้ค้ารายเดิมก็สามารถต่อสัญญาได้ โดยไม่ต้องล็อคสเปคมาฮั้วประมูล ในการประเมินคุณภาพบ้านที่สร้าง อาจจะต้องใช้สามัญสำนึกว่า ถ้าตนเองเป็นเจ้าของบ้านจะต้องการอะไรบ้าง แม้จะไม่มีความรู้ด้านการช่างก็สามารถประเมินคุณภาพบ้านได้ ในการทำงานราชการต้องเก็บเอกสารไว้เป็นหลักฐาน ถ้ามีการเสนอเอกสารไปแล้วมีการคืนมาหรือแก้ไขด้วยวาจาต้องมีการบันทึกไว้ ศาลจะยึดเอกสารเป็นหลัก

ดร.ดวงตา ตันโช

สคร.จะวัดคุณธรรม ความโปร่งใส

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

สมัยที่ทำงานอยู่ ก็มีการสั่งด้วยวาจาและลายลักษณ์อักษร บางครั้งนายเขียนด้วยดินสอ แต่วันต่อมาเหลือแต่ชื่อเราเขียน ก็ต้องระวัง

คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์

ในการที่จะไปชี้แจงต่อกรรมาธิการ ไม่ควรอธิบายรายละเอียดมาก แต่ควรนำเสนอแค่ภาพรวม ไม่โต้เถียง

อย่าถามหาว่าความชอบธรรมอยู่ที่ไหน หรือคุณธรรมคืออะไร คุณธรรมอยู่ที่ตัวบุคคลแต่ละคน เพราะแต่ละคนรู้อยู่แก่ใจว่าอะไรถูกหรือผิด ต้องถามตนเองว่า ทำถูกต้องหรือไม่

อาจารย์ทำนอง ดาศรี

ท่านวิทยากรกล่าวว่า ผลลัพธ์สำคัญมากโดยเฉพาะผลที่กระทบต่อสังคม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

วิชานี้ยาก วันนี้โชคดีมากที่วิทยากรทั้ง 3 ท่าน มาตีโจทย์ให้ ดร.ดวงตา ตันโชนำงบประมาณจริงมานำเสนอ นี่เป็นสิ่งที่ผู้นำต้องเรียนรู้ ก่อนที่จะโครงการนี้ ต้องมีการเสนอโครงการ ตรงตามที่วิทยากรนำเสนอคือ การเสนอโครงการรัฐจะพิจารณาตาม Project Base จำเป็นต้องฝึกเขียนในแต่ละเรื่อง แต่ละโครงการจะไม่ผ่านถ้าไม่มีตัวจัดการงบประมาณ ต้องมีการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ ไม่ใช่ยุทธศาสตร์ จะเห็นว่า การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ก็คือการที่จะต้องมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมและข้อมูลสำคัญเพื่อใช้ในการวางแผน ตรวจสอบ อีกส่วนหนึ่งก็คือการตัดสินใจ ก่อนที่จะตรวจสอบได้ต้องตัดสินใจให้โครงการผ่านก่อน เวลาที่คิดการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ ต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมจริงของการเคหะ ผู้บริหารสำนักงบประมาณมานำเสนอเรื่องเกี่ยวกับการเคหะได้ครบถ้วนแบบไม่ต้องหาข้อมูลเพิ่ม มีการประมาณการเกี่ยวกับปี 2561 หลายหน่วยงานไม่ทราบว่าทำไปแล้วใช้เงินไปเท่าไร เหลือค้างอีกเท่าไร

แผนงานเชิงงบประมาณมี 3 อย่างคือ

1.แผนงานบุคลากร ซึ่งมีความชัดเจน ก็มีการเสนอแล้วจะมีการลดหรือเพิ่มคน

2.แผนงานพื้นฐานดำเนินการตามปกติ ก็ได้งบอยู่เท่านั้น

3.แผนงานเชิงยุทธศาสตร์ พิจารณาว่า จะหาเงินจากที่ใด เช่น บูรณาการงานวิจัยซึ่งทำให้ได้เงิน มีการต่อยอด ได้องค์ความรู้ งบวิจัยเป็นงบที่รัฐบาลจัดเตรียมไว้ให้ นอกจากนี้ยังมีการบูรณาการเรื่องสังคมผู้สูงอายุ ได้ไปหารือกับกลุ่มดินแดงว่า ถ้าพัฒนาดินแดงขึ้นมา งบประมาณเรื่องผู้สูงอายุก็ต้องไปร่วมมือกับกทม.

มีงบประมาณอื่นที่ทำให้การเคหะเอื้อมไปคว้ามาใช้เพื่อให้โครงการนวัตกรรมประสบความสำเร็จ ทำให้เรียนรู้ความรู้ที่ผู้นำองค์กรต้องสร้าง เช่น งบประมาณ วิทยากรให้ความรู้เพื่อหางบประมาณมาเพิ่มเติมตอบโจทย์ Project Base ที่แต่ละกลุ่มจะต้องทำ วันนี้ดร.ดวงตา ตันโชนำเสนอข้อมูลตรง ตรงตามทฤษฎีศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ที่ให้เน้นความจริง reality เมื่อจะทำสิ่งต่างๆ ดร.มงคล เหล่าวรพงศ์ก็ให้ความรู้ที่ Relevance คือเฉียบแหลม แหลมคม ตรงประเด็น หาเงินแบบการเคหะ ๆได้ประโยชน์สุขของผู้มีรายได้น้อยซึ่งต้องปรับให้ขึ้นมาเป็นผู้มีรายได้ปานกลางให้ได้ คุณสาธิต อนันตสมบูรณ์ช่วยเตือนตามมุมมองของนักกฎหมาย

ในโครงการกลุ่มที่นำเสนอควรจะมีการนำเสนอวิธีในการหางบประมาณมาดำเนินการด้วย

----

โปรดคลิกที่ลิ้งค์นี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.naewna.com/politic/columnist/28413

ที่มา: คอลัมน์บทเรียนจากความจริงกับดร.จีระ. แนวหน้า. วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2560 หน้า 5

http://mcot-web.mcot.net/fm965/site/streaming/id/58a18324938163b0878b458b#.WKQE59R95kg

ที่มา: รายการวิทยุ Human Talk. ออกอากาศวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 ทาง FM 96.5 MHz.

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

หมายเลขบันทึก: 624771เขียนเมื่อ 28 กุมภาพันธ์ 2017 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2017 16:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

1 มีนาคม 2560 การบริหารกลยุทธ์องค์กรและการบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC ) จากการฟังบรรยายของท่านอาจารย์ทั้งสองท่าน สามารถนำมาปรับใช้กับการบริหารงานของการเคหะแห่งชาติ ในเรื่องการทำแผนกลยุทธ์ เนื่องจากก่อนทำแผนกลยุทธ์ ควรมีการเรียนรู้การวางแผน การบริหารจัดการที่ดี สามารถวิเคราะห์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าทั้งในระยะสั้น กลางและระยะยาวได้อย่างแม่นยำ ต้องมีการทำswot vision และมีการทำ KPI ต้องนำนวัตกรรมใหม่ๆที่มีการเปลียนแปลงที่ทันต่อความต้องการของตลาด เป็นต้น

2 มีนาคม 2560 การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC) จากการฟังบรรยายในวันนี้ สามารถนำมาปรับใช้กับการบริหารในการเคหะแห่งชาติ หรือการลงทุนทำธุระกิจในยุคอาเซียนได้โดยเฉพาะการจะประกอบธุรกิจในกลุ่มอาเซียน เราต้องศึกษาและเลือกประเทศที่จะลงทุนโดยพิจารณาจากทรัพยากรและขนาดเศรษฐกิจของประเทศที่จะลงทุน ต้องศึกษากฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายการลงทุน กฎระเบียบต่างๆของประเทศที่จะลงทุน และการลงทุนควรจับกลุ่มในการทำธุรกิจ มีการศึกษาช่องทางในการจำหน่ายสิ้นค้า เป็นต้

วราพร จันทร์อำรุง

วันที่ 1 มีนาคม 2560 การกำหนดกลยุทธ์ขององค์กรมีความสำคัญที่ใช้เป็นทิศทางในการบริหารจัดการองค์กรไปสู่เป้าหมาย ซึ่ง Key Success Factor สำคัญ คือ ทำอย่างไรให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า เราต้องสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้า การเปลี่ยนแปลงของคู่แข่ง ซึ่งเป็นเรื่องยาก สิ่งหนึ่งที่ทำได้คือเราต้องปรับ Mindset โดยสามารถสอนคนให้คิดได้ เพื่อให้กำหนด SWOT ทิศทาง(วิสัยทัศน์ พันธกิจ) และกำหนดกลยุทธ์ให้มีคุณภาพ เช่นเดียวกับการเคหะฯ ได้มีการจัดทำกลยุทธ์ทั้งระยะสั้น ระยะยาว วิสัยทัศน์ พันธกิจ และทบทวนทุกปี แต่คุณภาพที่ได้ออกมามองว่ายังเป็นงานเดิมๆ เหมือนแผนการดำเนินงานปกติ ซึ่งเมื่อเราได้มาอบรมในครั้งนี้แล้วได้มีมุมมองที่กว้างขึ้น สามารถนำไปใช้ได้ แต่ควรมีผู้นำทางความคิดเก่งๆ มานำโดยใช้เสียงหรือความต้องการของลูกค้ามาจัดทำกระบวนการกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง และสิ่งสำคัญเพื่อให้องค์กรมีความยั่งยืน

วราพร จันทร์อำรุง

วันที่ 2 มีนาคม 2560

การเข้าสู่ประชาคม ASEAN จนถึงวันนี้ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงมากนัก เนื่องจากแต่ละประเทศก็มีการปกป้องผลประโยชน์ของตนเอง เช่น เรื่องของวิชาชีพที่สามารถเคลื่อนย้ายได้ในกลุ่มประเทศ ก็มีการกำหนดเงื่อนไขที่ทำให้การเคลื่อนย้ายเป็นไปได้ยาก รวมทั้งความร่วมมือก็ยังกลายเป็นการแข่งขันกันมากกว่าเพื่อให้ประเทศของตนได้ประโยชน์ การมองโอกาสของการเคหะฯ ที่จะได้จาก ASEAN Economic ซึ่งทางวิทยากรได้แนะนำในเรื่อง R&D มองว่าสามารถทำได้โดยปัจจุบันการเคหะฯ มี R&D ในเรื่องวัสดุก่อสร้างที่ใช้ในประเทศ จึงเป็น ไปได้ที่จะขยายไป R&D วัสดุในพื้นที่ประเทศอื่นๆ ที่อาจสร้างนวัตกรรมใหม่ด้านวัสดุก่อสร้างสามารถตอบสนองต่อลูกค้าในภูมิภาค ASEAN รวมทั้งโอกาสในการขยายการผลิตที่อยู่อาศัยไปในประเทศเพื่อนบ้านโดยเป็นความร่วมมือรัฐต้อรัฐก็เป็นได้

วราพร จันทร์อำรุง

วันที่ 3 มีนาคม 2560 ในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงของการเคหะฯ ในปัจจุบัน เป็นการทำภายหลังจากการจัดทำแผนกลยุทธ์แล้วเสร็จ ซึ่งบางครั้งพบว่าแผนกลยุทธ์ที่ทำไว้เมื่อมองในมุมมองของการบริหารความเสี่ยงแล้วควรต้องปรับปรุง แต่ก็มักถูกละเลยเพราะการปรับแผนกลยุทธ์ค่อนข้างยุ่งยาก ทำให้การจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงเป็นไปอย่างขอไปทีไม่ตอบประเด็นเท่าที่ควร เช่นเดียวกับเรื่องการทำงบประมาณตามแผนงานที่กำหนด ก็มีความต่อเนื่องตั้งแต่การจัดทำแผนกลยุทธ์ การจัดทำงบประมาณ และถึงแผนบริหารความเสี่ยง ซึ่งหากการเริ่มต้นมีคุณภาพสามารถตอบสนองต่อความจำเป็นขององค์กรแล้ว กระบวนการทั้งหมดรวมทั้งการใช้งบประมาณจะเกิดประโยชน์ต่อองค์กร ประชาชน ประเทศชาติ โดยเฉพาะโครงการที่ใช้เงินจากงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งการจัดทำงบประมาณเชิงกลยุทธ์ที่มองภาพการบูรณาการที่สำนักงบจัดทำขึ้น มองว่าจะทำให้ทุกหน่วยงานมีการใช้งบอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นายชูศักดิ์ ศรีผดุงเจริญ

วันที่ 1มีนาคม 2560

การบริหารกลยุทธ์องค์กร ผมคิดว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จโดยจะต้องคำนึงถึง

•Change (การเปลี่ยนแปลง)

•SWOT (จุดแข็ง,จุดอ่อน,โอกาส,ภยันตราย)

•Strategic Planning (การวางแผนเชิงกลยุทธ์)

•Competitive Strategies (กลยุทธ์การแข่งขัน)

•Strategic Thinking (ความคิดเชิงกลยุทธ์)

โดยมีองค์ประกอบของการวางแผนเชิงกลยุทธ์ที่ดี

1.การทำ SWOT ให้ถูกต้องตามความเป็นจริง

2.มีแผนระยะยาว ระยะกลาง และระยะสั้น

3.ทุกองค์ประกอบของแผน จะต้องมีความสัมพันธ์เป็นองค์รวม(Holistic) เชื่อมโยงเป็นระบบ(Systems) มีความสัมพันธ์ในเชิงสาระและเงื่อนเวลา สัมพันธ์ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) สู่เป้าหมายที่กำหนดไว้

4.เป็นแผนที่ท้าทาย (Challenging) แต่เป็นไปได้ (Realistic)

ส่วนการบริหารธุรกิจในยุค AEC เราต้องติดตามและพัฒนาองค์กรให้พร้อม

วันที่ 2 มีนาคม 2560

การบริหารธุรกิจในยุค AECประเทศไทยได้เปรียบในเรื่องการส่งออกสำหรับที่อยู่อาศัยจะมีบริษัทอสังหาริมทรัพย์

ในประเทศไทยไปจัดสร้างที่อยู่อาศัยในต่างประเทศเช่นบริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)ลงทุนในต่างประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม แต่ก็ประสพปัญหาต่างเรื่องของกฎหมายที่ดิน ภาษีที่เก็บสูงถึง 5% แม้ว่าจะกำไรหรือขาดทุน อัตราแลกเปลี่ยน ภาวะเงินเฟ้อปัญหาเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ ทำให้บริษัทยกเลิกแผนการลงทุนใน 2 ประเทศดังกล่าว ชึ่งผมมองว่า การเคหะแห่งชาติ น่าจะไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากความคล่องตัวยังสู้เอกชนไม่ได้

วันที่ 3 มีนาคม 2560

ความเสียง (Risk )

โอกาส/เหตุการณ์ทีไม่พึงประสงค์ ทีจะส่งผลกระทบทำให้เป้าประสงค์ของหน่วยงานเบียงเบนไป หรือเกิด

ความไม่แน่นอนในการบริหารงาน อันอาจทำให้เกิดความเสียหาย และความเสียงเกิดขึ้นได้ทุกที ทุกเวลา

องค์ประกอบของความเสี่ยง

  • ความไม่แน่นอนว่าผลลัพธ์จะเกิดขึ้นตามทตั้งเป้าหมายไว้หรือไม่
  • การกระทำหรือเหตุการณ์อาจจะมีผลบันทอนความสามารถขององค์กรท่ีจะบรรลุเป้าประสงค์ทีตั้ง ไว้
  • การกระทำาหรือเหตุการณซึ่งอาจเป็นได้ทั้งโอกาสหรือสิ่งคุกคาม (เหตุการณ์ทีไม่พึงประสงค์)
  • กินความถึงแนวโน้มหรือโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงและผลกระทบหากเหตุการณ์อุบัติขึ้นจริง

ผมเห็นว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นหน้าที่ของทุกคนในหน่วยงานที่ต้องช่วยกัน

-ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

-ลดผลกระทบของความเสี่ยง

-แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง

สำหรับเรื่องการบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์ ผมว่าได้ประโยชน์จากอาจารย์ทั้ง3ท่านทั้งในส่วนของทฤษฏีและภาคปฏิบัติให้รู้ทั้งวิธีขอตั้งงบประมาณและการใช้จ่ายงบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 3 มีนาคม 2560 จากการบรรยายสามารถนำมาปรับใช้กับการบริหารงานในการเคหะแห่งชาติได้ เนื่องจากการจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนบริหารความเสียงของการเคหะแห่งชาติ ต้องคำนึงถึงเงินอุดหนุนของรัฐบาล ความคุ้มค่าของการใช้งบประมาณ ซึ่งการใช้จ่ายงบประมาณต่างๆต้องสามารถชี้แจ้งได้มิฉะนั้นอาจถูกตรวจสอบจากหน่วยงานภาครัฐและถูกลงโทษได้ การดำเนินงานต่างๆหน่วยงานและผู้ดำเนินการต้องยึดหลักกฎหมาย ระเบียบและข้อบังคับของหน่วยงาน ดังนั้นการทำแผนบริหารความเสี่ยงจึงมีความจำเป็นเพื่อลดผลกระทบหรือความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นกับหน่วยงาน ประเทศชาติและประชาชนหรือผู้ที่เกี่ยวข้องได้

วันที่ 1 มีนาคม 2560

การบริหารจัดการที่จะประสบความสำเร็จได้ คือ สามารถวิเคราะห์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ ซึ่งองค์กรที่จะประสบความสำเร็จได้ต้องมีบุคลากรที่สามารถมองอนาคต แม่นยำทั้งระยะสั้น กลาง ยาว และมีความสามารถในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นการจัดการเชิงกลยุทธ์ มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ

  • การทำ SWOT คือ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอันตราย ที่จะผลต่อองค์กรได้ โดยจุดแข็ง จุดอ่อน ต้องมีการเปรียบเทียบคู่แข่ง ส่วนโอกาสและอันตราย ต้องวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอนาคตทั้งระยะสั้น กลางและยาว
  • วิสัยทัศน์
  • กลยุทธ์ทั้งระยะสั้น กลางและยาว ต้องมี เป้าหมายและการวัดผล

วันที่ 1 มีนาคม 2560

การจะจัดทำแผนกลยุทธ์ได้ดี ต้องมีความเข้าใจและการจัดการที่ดี ทั้งนี้ความสำเร็จของการบริหารจัดการ คือ ความสามารถในการวิเคราะห์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้แม่นยำ หัวใจสำคัญคือคนต้องมีความสามารถในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง

การทำแผนกลยุทธ์ต้องวางทิศทางองค์กรให้ตรงกับสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงทั้งในระยะสั้น กลาง ยาว องค์กรเสียหายเพราะคนในองค์กรไม่มีความสามารถวิเคราะห์ SWOT ได้แม่นยำ การวางทิศทางขององค์กรก็เป็นเรื่องยาก

SWOT สิ่งที่สำคัญคือ วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงอนาคตทั้งระยะสั้น กลางและยาวได้แม่นยำ คือ สภาพแวดล้อมภายนอกองค์กร ถ้ากระทบทางบวกถือเป็นโอกาส ถ้ากระทบทางลบถือเป็นอันตราย

การเคหะแห่งชาติต้องให้ความสำคัญคุณภาพบ้าน สวยแบบราคาถูกก็ได้ อาจไม่ใช่แค่ซื้อเพื่ออยู่เท่านั้น ต้องมีคุณสมบัติอื่นประกอบด้วย

กรณีศึกษาของบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน)

แม้ว่าจะไป Thailand 4.0 แต่การเคหะก็ต้องดูแลคนระดับรากหญ้าด้วย และสิ่งสำคัญคือต้องปรับตัวให้ทันกับวิสัยทัศน์ขององค์กร ปัญหาคือโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว ความรู้ในอดีตล้าสมัยหมด ดังนั้น KM ต้องหาความรู้ใหม่ ไม่ใช่ขุดสมบัติเก่ามาทำพิพิธภัณฑ์

การเคหะแห่งชาติมีทุกรูปแบบ ได้เปรียบที่คนอื่นไม่มี สิ่งสำคัญคือการดึงดูดลูกค้า ควรพัฒนาแบรนด์ให้ชัดเจน แต่ละโครงการมีจุดขายไม่เหมือนกัน ต้องเน้นให้ชัด ไม่เน้นแค่สร้างบ้านให้คนจน แต่ควรจะสร้างบ้านให้คนรวยด้วย

วันที่ 2 มีนาคม 2560

สิ่งที่ควรทำในการทำธุรกิจในอาเซียน

1. ปัญหาคือคนยังไม่เก่ง ต้องพัฒนาอีกมาก

2. รู้นโยบายเศรษฐกิจ กฎหมายการลงทุน กฎระเบียบกติกา ต้องใช้วัตถุดิบในประเทศ และส่งออกไปขายประเทศอื่น จะได้รับการสนับสนุน

3. รู้ศักยภาพประเทศ แรงงาน ทรัพยากร สิทธิประโยชน์ การส่งออก

4. ต้องมี Connection และ Partners ทางธุรกิจ บางประเทศต้องมี Partner รับสินค้าเข้าไปขาย

5. ไปเป็นกลุ่มธุรกิจ อย่าไปเดี่ยว

6. ทดสอบสินค้าโดยการวางในห้างกรุงเทพ

7. ร่วม Business Trip กับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ร่วมงานแสดงสินค้า

8. รู้ช่องทางในการจำหน่ายสินค้า

ปัญหาคือขาดการรู้เขา รู้เรา

การเคหะอาจจะตั้งชื่อโครงการเป็นภาษาอังกฤษเพื่อดึงดูดลูกค้าไทย

วันที่ 3 มีนาคม 2560

ระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี

การบริหารความเสี่ยงที่ดีต้องบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ต่างๆ ต้องมีการประเมินความพึงพอใจลูกค้าให้ถี่ขึ้น ต้องสื่อสารทำความเข้าใจบ่อยๆ ต้องใช้ทรัพยากรคุ้มค่า

การบริหารความเสี่ยงที่ดีก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้ได้รับการสนับสนุนมากขึ้น การบริหารความเสี่ยงทำให้พบโอกาสใหม่

ระบบบริหารความเสี่ยงที่ดี

- ต้องสร้างวัฒนธรรมให้ตระหนักเรื่องความเสี่ยงตลอดเวลา

- กำหนดบทบาทในการบริหารความเสี่ยงดี

- มีการรายงาน

กระบวนการบริหารความเสี่ยง

- ระบุความเสี่ยง (โอกาสที่ทำให้ให้เป้าหมายเบี่ยงเบน) ต้องนำเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์เป็นตัวตั้ง

- ประเมินความเสี่ยง บนพื้นฐาน ERM ต้องดูระดับประสิทธิผลการควบคุมความเสี่ยงที่มีในปัจจุบัน

หลักการจัดการกับความเสี่ยง

1. ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

2. ลดผลกระทบที่จะเกิดความเสี่ยง

3. แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

วันที่ 1 มีนาคม 2560

กาบริหารกลยุทธ์องค์กรและการบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC)

1.การทำแผนกลยุทธ์ ต้องเข้าใจระบบการบริหารจัดการที่ดีและสื่อสารให้คนในองค์กรรู้ว่าการทำแผนฯ ทำไปเพื่อวางทิศทางองค์กรให้ตรงกับสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงใน ระยะสั้น กลาง ยาว

2. การบริหารจัดการที่ดี คือ มีความสามารถผลิตสินค้า และบริการตรงกับความต้องการของลูกค้ามากกว่าบริษัทอื่นๆ

3. ปัจจัยที่ทำให้การบริการจัดการประสบความสำเร็จ คือคนสามารถวิเคราะห์อนาคตระยะสั้น กลาง ยาว และวิเคราะห์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้แม่นยำ

4. เครื่องมือที่นำมาใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพ คือ SWOT ในการกำหนดทิศทางองค์กร วิสัยทัศน์ ทำให้สามารถมองอนาคตระยะสั้น กลาง ยาวได้แม่นยำ และต้องมีการทบทวนแผนในทุกปี

5. องค์กรที่บริหารให้ยั่งยืนได้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

- ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย

- เพิ่มศักยภาพของคน

- เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

- ทำให้ทุกภาคส่วนได้รับผลประโยชน์จากองค์กร

6. การทำงาน แบบ TQM (Total Quality Management) เป็นระบบบริหารคุณภาพที่มุ่งเน้นการให้ความสำคัญสูงสุดต่อลูกค้าภายใต้ความร่วมมือของพนักงานทั้งองค์กรที่จะปรับปรุงงานอย่างต่อเนื่อง มี 4 รูปแบบ

- บริหารเชิงนโยบาย (Policy Management)

- บริหารแบบข้ามสายงาน

- บริหารงานประจำวัน

- กิจการปรับปรุงงานจากผู้ปฏิบัติงาน

การนำไปปรับใช้

1. การสร้างบ้านของการเคหะ ต้องตรงกับความต้องการของลูกค้า สามารถวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างแม่นยำ

2. นำความต้องการของลูกค้า แนวความคิดใหม่ๆจากพนักงานในทุกระดับ เข้ามาพิจารณาในการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้องค์กรสามารถขับเคลื่อนไปได้ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าสูงสุด

3. ควรพัฒนาโครงการที่แตกต่างกัน ตามกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

4. พัฒนาการบริการลูกค้าให้ทันสมัย โดยใช้เทคโนโลยี

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

วันที่ 2 มีนาคม 2560

การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Economic Community (AEC)

การเข้าสู่ประชาคม ASEAN ทำให้ประเทศไทยเพิ่มโอกาสเข้าไปแข่งขันในอาเซียนและได้เปรียบเชิงการแข่งขัน มากที่สุด ก่อนการตัดสินใจเข้าไปทำธุรกิจ จะต้องมีการศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสม แหล่งทรัพยากร เรียนรู้นโยบาย เศรษฐกิจ กฎหมายการลงทุน กฎระเบียบกติกา ของแต่ละประเทศเสียก่อน และต้องรู้จุดแข็งและจุดอ่อนของประเทศ หรือธุรกิจตนเอง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ดังเช่น แรงงานไทยมีฝีมือที่ละเอียด แต่ขาดทักษะทางด้านภาษา

การจะเข้าไปลงทุนในธุรกิจ ASEAN ทำได้ไม่ง่ายนัก เนื่องจากแต่ละประเทศมีการตั้งกำแพงของตนเอง เพื่อ รักษาผลประโยชน์บางส่วนของประเทศไว้ต้องหาโอกาสและศึกษาให้ดีเสียก่อน

การนำไปปรับใช้ : มีความเป็นไปได้ที่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการอยู่อาศัย จะขยายฐานธุรกิจไปยัง ASEAN ได้แต่ต้องมีระบบการจัดการ นวัตกรรมที่ดีและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

วันที่ 1 มีนาคม 2560

เช้า

การบริหารกลยุทธ์องค์กร กระบวนการในการทำแผนกลยุทธ์ : รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

สิ่งที่ได้เรียนรู้... โดนใจ....นำไปปรับใช้ :-

  1. ผลิตสินค้า/บริการ ให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากกว่าคนอื่น เราก็ชนะ ดังนั้น กคช. ต้องทราบและมีกระบวนการในการได้มาซึ่งความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า และต้องก่อนคู่แข่งด้วย
  2. ในการทำแผนกลยุทธ์ ต้องวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ต้องถูกต้อง วิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้แม่นยำ
  3. ต้องรู้ข้อมูลคู่แข่ง
  4. คนฉลาดไม่ต้องชนะทุกเรื่อง แต่ชนะเฉพาะเรื่องที่สำคัญ ....

คนฉลาดไม่ต้องเก่งทุกเรื่อง แต่ต้องไม่พลาดในเรื่องที่สำคัญ

  1. สำหรับ กคช. แล้วคุณภาพต้องไม่พลาด

บ่าย

การบริหารธุรกิจในยุค AEC : กรณี ศึกษา บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน)

โดย คุณพูลสวัสดิ์ เผ่าประพัธน์ ผอ.ศูนย์นวัตกรรม บริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน)

สิ่งที่ได้เรียนรู้... โดนใจ....นำไปปรับใช้ :-

กคช. สร้างบ้านซึ่งเป็นปัจจัยสี่ ทำอย่างไรให้กลุ่มลูกค้าได้มีรายได้เพิ่ม สามารถผ่อนชำระหนี้สินได้ กคช. ควรสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองลูกค้า ทำโครงการต้องเจาะให้ตรงกลุ่มลูกค้า นวัตกรรมไม่ใช่เรื่องยาก แต่ต้องเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า สิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรม ต้องผ่านอุปสรรค ปัญหา เมื่อมีปัญหามักจะเกิดนวัตกรรม เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใน กคช. อาจจะมีการประกวดนวัตกรรม โดยนำปัญหาของลูกค้ามาก็ได้ หรืออีกทางหนึ่งก็ควรนำจุดแข็งของ กคช. ไปร่วมมือกับจุดแข็งของหน่วยงานอื่นก็จะเกิดนวัตกรรม แต่อย่างไรก็ตาม กคช. มีการเปรียบเทียบตัวเองกับคู่แข่ง หรือบริหารงานในลักษณะร่วมทุน นวัตกรรมไม่ได้หมายถึงแค่ตัวผลิตภัณฑ์ แต่รวมถึงกระบวนการทำงาน การบริการ รูปแบบของการทำธุรกิจด้วย

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

วันที่ 3 มีนาคม 2560

การบริหารความเสี่ยง (Risk )

ในยุคปัจจุบันโลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เนื่องด้วยประเทศไทยกำลังไปสู่ 4.0 ดังนั้นควรจะเตรียมพร้อมรับ ความเสี่ยงต่างๆ

การบริหารความเสี่ยงที่ดีต้องบรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์ต้องมีการประเมินความพึงพอใจลูกค้าให้ถี่ขึ้น มีการ สื่อสารทำความเข้าใจบ่อยๆ หัวหน้าต้องมีบทบาท coaching มากขึ้น ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า และดูสภาพแวดล้อม ประกอบการบริหารความเสี่ยง การบริหารความเสี่ยงที่ดีก็สามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้ได้ รับการสนับสนุนมากขึ้น

กระบวนการบริหารความเสี่ยง

1. ระบุความเสี่ยง ต้องนำเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์เป็นตัวตั้ง

2. ประเมินความเสี่ยง ดูระดับประสิทธิผลการควบคุมความเสี่ยงที่มีในปัจจุบัน

หลักการจัดการกับความเสี่ยง

1. ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

2. ลดผลกระทบที่จะเกิดความเสี่ยง

3. แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง

การนำไปปรับใช้ : การบริหารความเสี่ยง เช่น การบริหารงบประมาณควรวางแผนงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ ไม่น้อยหรือมากจนเกินไป และ ต้องใช้ทรัพยากรที่มีอย่างคุ้มค่าที่สุด พร้อมหาแนวทางรับมือกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นได้ทุกเวลา เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้น

ศิริลักษณ์ บุญพันธ์

วันที่ 2 มีนาคม 2560

เช้า

การบริหารธุรกิจในยุค Asean Economic Community (AEC)

สิ่งที่ได้เรียนรู้... โดนใจ....นำไปปรับใช้ :-

การทำธุรกิจในอาเซียน ควรศึกษาและรู้ถึงสิ่งต่าง ๆ ของประเทศนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นนโยบายการบริหารประเทศ เศรษฐกิจ กฎหมาย กฎกติกา รวมถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี วิถีชีวิต ทรัพยากร จะทำให้การบริหารหรือการกำหนดกลยุทธ์ได้สำเร็จมากขึ้น “รู้เขา และต้องรู้เรา” ซึ่ง การเคหะฯ ก็ต้องเร่งเรียนรู้ข้อมูลเหล่านี้ และควรจะต้องเตรียมแผนงาน กลยุทธ์ ยุทธศาสตร์ เพื่อรองรับ AEC ด้วย อีกทั้งยังควรมองหาช่องทางในการที่ไปลงทุน หรือวิจัยพัฒนางานด้านที่อยู่อาศัยในกลุ่มประเทศ AEC

บ่าย

นำเสนอบทเรียนจากหนังสือดี ๆ

สิ่งที่ได้เรียนรู้... โดนใจ....นำไปปรับใช้ :-

การทำงานกลุ่ม ทำให้เกิดความรับผิดชอบร่วม มีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดของแต่ละคน มีการออกความคิดเห็นกัน มีความเห็นต่างกันบ้าง แต่ก็สามารถได้ข้อสรุปร่วมกัน เกิดการยอมรับในความคิดเห็นของกันและกัน ภายใต้กระบวนการแบบไม่เป็นทางการมากนัก

สิ่งที่ได้การจากนำเสนอ การบริหารงานมีกลยุทธ์เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่ง กคช. ต้องคิดว่าจะมีปัจจัยอะไรที่มากระทบและจะต้องกำหนดเป็นกลยุทธ์ มีทั้งการปรับปรุงคุณภาพ และโอกาสใหม่ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเคล็ดลับความสำเร็จคือนำนำกลยุทธ์ไปปฏิบัติ หรือการก้าวข้ามปัญหาที่อีกนิดนึงก็จะประสบความสำเร็จ (Execution) โดยจะต้องมีความต่อเนื่อง ”แบบกัดไม่ปล่อย”... ดร.จิระ กล่าวไว้

วันที่ 3 มีนาคม 2560

เช้า

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

สิ่งที่ได้เรียนรู้... โดนใจ....นำไปปรับใช้ :-

มีคำถามที่ชวนหาคำตอบ... ถ้ามี/ไม่มี กคช. แล้วมีใครได้รับประโยชน์หรือมีใครเดือดร้อนหรือไม่ ?

ถือเป็นคำถามที่ท้าทายอย่างมาก กคช. ก็ต้องปรับและบริหารงาน เพื่อมิให้ถูกถามคำถามนี้

สิ่งที่เป็นปัญหาของหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ และรัฐวิสาหกิจ คือ อายุเฉลี่ยของเจ้าหน้าที่ ประมาณ 45 ปี และมีช่องว่างระหว่างวัย อีกทั้งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเกิดขึ้นรวดเร็ว ดังนั้น การบริหารความเสี่ยง จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ซึ่งการบริหารความเสี่ยงควรที่จะทำให้ งานบรรลุตามเป้าหมาย ตามยุทธศาสตร์

การบริหารความเสี่ยงที่ดี จะทำให้พบโอกาสใหม่ ๆ และยังช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง สุดท้ายจะทำให้เกิดนวัตกรรม

คนมีความสำคัญในการทำให้เกิดความสำเร็จหรือความล้มเหลว ....ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช กล่าวไว้ ซึ่งก็ตรงกับท่าน ดร.จิระ ที่ให้ความสำคัญกับคน หรือทุนมนุษย์

บ่าย

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

สิ่งที่ได้เรียนรู้... โดนใจ....นำไปปรับใช้ :-

การบริหารงบประมาณ ต้องคำนึงถึงอำนาจหน้าที่ของ กคช. ตามกฎหมาย ซึ่งหากทำนอกเหนือก็จะมีความผิด โดย กคช. มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อย เคยมีคำถามว่า ทำไมการเคหะไม่สร้างบ้านให้คนรวย..... ในประเด็นนี้ขอตอบเลยว่า กคช. สร้างบ้านสำหรับผู้มีรายได้สูงได้ ไม่ผิดตาม พรบ. ซึ่งในประเด็นนี้จะเป็นสิ่งที่ต้องคิดต่อว่า กคช. ต้องสร้างบ้านผู้มีรายได้สูง โดยจะนำผลกำไรมาเฉลี่ยให้กับผู้มีรายได้น้อย (โรบินฮูด...) ดังนั้น ในการขอจัดสรรงบประมาณโครงการจะต้องเชื่อมโยงและประสานแผนในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ด้วย และยังต้องต้องพิจารณาความเหมาะสมของเงินเดือนบุคลากร อัตรากำลัง ค่าตอบแทน

การพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการใช้งบประมาณเพื่อการพัฒนาคน องค์กรต้องได้ประโยชน์ เวลาไปดูงานแล้วต้องคิดด้วย นำความรู้มาใช้ทำงานให้องค์กรด้วย

วันที่ 2 มีนาคม 2560

การวิเคราะห์บทเรียนหรือกรณีศึกษาจากหนังสือกลยุทธ์ On Startegy สามารถนำไปใช้ปรับกับการทำงานขององค์กรได้

  • ต้องวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอกองค์กรที่มีผลต่อดำเนินงาน ทั้งข้อมูลลูกค้า คู่แข่งขัน ผู้จัดจำหน่าย เพื่อนำมากำหนดกลยุทธ์ในการผลิตสินค้าหรือบริการใหม่ ๆ ให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าอย่างทันท่วงที
  • ต้องนำกลยุทธ์ที่กำหนดไว้มาผลักดันให้ประสบความสำเร็จ โดยสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้เข้มแข็งมองไปในทิศทางเดียวกัน กำหนดบทบาทหน้าที่ของแต่ละระดับให้ชัดเจน มอบอำนาจในการตัดสินใจให้ทุกระดับ รวมทั้งสื่อสารข้อมูลให้ทั่วทั้งองค์กร

จากแนวคิดของอาจารย์สมชาย ไตรรัตนภิรมย์ ในเรื่องการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงควรทำพร้อมกับแผนยุทธศาสตร์ขององค์กร เพื่อให้มั่นใจว่าแผนงานยุทธศาสตร์มีการบริหารความเสี่ยงรองรับอยู่ และการบริหารความเสี่ยงโครงการ สามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานได้ โดยการบริหารความเสี่ยงโครงการ ต้องดูวงจรชีวิตของโครงการ ตั้งแต่ก่อนเริ่มโครงการ ให้พิจารณาความเสี่ยง ความคุ้มค่า เมื่อดำเนินโครงการ ให้พิจารณากรอบเวลา S-curve ต้นทุน งบประมาณ การเบิกจ่ายทันเวลา คุณภาพโครงการ หลังโครงการ ให้ประเมินว่าเป็นไปตามเป้าหมายหรือให้ผลตอบแทนตามเป้าหมายหรือไม่

วันที่ 1 มีนาคม 2560 ช่วงเช้า

การบริหารกลยุทธ์องค์กร โดย รศ.ดร. สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

1องค์กรที่มีการบริหารที่ดี มีกำไรต่อเนื่อง องค์กรนั้นจะต้องวิเคราะห์ตลาดและผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า

ให้ได้มากกว่าคนอื่นๆ กคช.ต้องวิเคราะห์และมีการสำรวจความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด

2เรื่องการจัดการ management อ.บอกว่าการวางแผนเป็นส่วนหนึ่งของการจัดการ ส่วนimplementtation ก็คือการดำเนินการ นั่นเอง

3การมองวิสัยทัศน์ต้องมองให้ยาวประมาณ 20-30ปี และการทำแผนกลยุทธ์ต้องวางทิศทางให้ตรงกับสภาพแวดล้อมการเปลี่ยนแปลงทั้งใน ระยะ สั้น กลาง ยาว

4กุญแจความสำเร็จของการบริหารจัดการคือสามารถวิเคราะห์คาดการณ์ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ

5องค์กรที่สำเร็จต้องมีคนที่สามารถมองอนาคต ระยะสั้น กลาง ยาว ได้อย่างแม่นยำซึ่งแตกต่างจากอดีต หัวใจสำคัญคือคนต้องมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เปลี่ยนแปลง

ช่วงบ่าย โดย คุณ พูลสวัสดิ์ เผ่าประพัธน์ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมบ. Cpall มหาชน

ได้พูดเรื่องนวัตกรรมจะเกิดขึ้นได้ต้องผ่านกระบวนการสำคัญที่เป็นจุดเจ็บปวด pain point คือจุดเริ่มต้นของนวัตกรรมมักมาจากปัญหามาก่อน และเก็บข้อมูลตัวอย่างเช่น ที่call center คือแหล่งบ่มเพาะข้อมูลเลยที่เกี่ยวกับลูกค้าที่โทรมาร้องเรียน หรือบางคนโทรมาเสนอแนะความต้องการใหม่ๆ ทำให้เกิดความพยายามคิดค้นหรือแก้ปัญหาหรือหาทางออก โดยใชัเทคโนโลยีมาตอบสนองความต้องการนั้นๆ และควรมีการวัดผลความพึงพอใจของลูกค้าด้วย

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

วันที่ 1 มีนาคม 2560

การบริหารกลยุทธ์องค์กร(2)

การจัดการกลยุทธ์เป็นหัวใจสำคัญในโลกของการเปลี่ยนแปลง การจัดการที่ดีคือ มีความสามารถในการผลิตสินค้าและบริการตรงกับความต้องการของลูกค้าสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงความต้องการของลูกค้าที่แม่นยำ ทำนายพฤติกรรมลูกค้าล่วงหน้าทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เทคโนโลยี ทุกองค์กรต้องมีผู้นำที่มองอนาคตระยะสั้น กลาง ระยะยาว ได้ อย่างแม่นยำ เพื่อปรับตัว ทั้งผลิตภัณฑ์และบริการให้เป็นที่พอใจของลูกค้า ไม่ว่าลูกค้าจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอย่างไร ซึ่งการวางแผนกลยุทธ์ที่ดี ต้องวางแผนอย่างน้อย 20 ปี ซึ่งประเทศไทยในรัฐบาลปัจจุบัน คสช. มีการวางแผนกลยุทธ์ดังกล่าว

การวางแผนกลยุทธ์ที่ดี มี 3 มีองค์ประกอบที่สำคัญ

1.วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส อุปสรรค (SWOT)

2.วิสัยทัศน์ พันธกิจ ทิศทางองค์กร 5 – 10 ปี

3.แผนยุทธศาสตร์

การบริหารธุรกิจในยุค AEC

ปัจจุบันในการบริหารองค์กรในยุค AEC เราต้องมีการปรับตัวสร้างคุณค่า และมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม ซึ่งปัจจุบันองค์กรมี 5 ประเภท

1.แก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

2.ทำงานแบบตั้งรับ จัดทีมงานรอรับแก้ปัญหา วิเคราะห์ปัญหา แก้ไข ยกระดับก้าวข้ามปัญหา

3.มีระบบแจ้งเตือนเพื่อป้องกันการแก้ปัญหา

4.ทำได้โดยไม่ต้องสั่ง

5.มีระบบมาช่วย

ในระบบการเรียนรู้ KM จะต้องหาความรู้ใหม่ ๆ มุ่งสู่อนาคต เพื่อให้ทันเทคโนโลยี

การปรับมาใช้กับองค์กร

ปรับวิสัยทัศน์ พันธกิจขององค์กร ตามแนวคิดประเทศไทย 4.0 สร้างคุณค่าและมูลค่าเพิ่มด้วยนวัตกรรม สร้างบ้านพร้อมสร้างอนาคตให้ผู้มีรายได้ ผู้ด้อยโอกาส รวมทั้งสร้างผลิตภัณฑ์และในการบริการสำหรับกลุ่มผู้มีรายได้สูง เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

วันที่ 2 มีนาคม 2560

การบริหารธุรกิจในยุค ASEAN Econonic Community (AEC)/การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

AEC. เกิดมา 50 ปี แล้วแต่ยังไม่ไปไหนเนื่องจาก MINDSET ยังไม่ตรงกัน ต้องมองประเทศเพื่อนบ้านในสายตาที่เสมอกัน อย่ามองต่ำกว่า 10 อย่างที่ต้องทำให้การประกอบในธุรกิจกับอาเซียนที่ควรทำ

1.เลือกประเทศ

2.รู้นโยบายเศรษฐกิจ กฎหมายการลงทุน กฎระเบียบ

3.รู้ศักยภาพ แรงงาน ทรัพยากร สิทธิประโยชน์

4.มีพันธมิตรทางธุรกิจ

5.ไปเป็นกลุ่มธุรกิจ อย่าไปโดดเดี่ยว

6.มีการทดสอบสินค้า

7.ร่วมพันธมิตรกับหน่วยงานภาครัฐ เอกชน

8.รู้ช่องทางในการจำหน่ายสินค้า

9.ศึกษาตลาดเอง เพื่อรู้ความต้องการของผู้บริโภค

10.ทำเวปไซด์ภาษาอังกฤษ และภาษาของประเทศนั้นๆ

ประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก

1.ความมั่นคง

2.วัฒนธรรม

3.เศรษฐกิจ

ตามตกลงในประเทศอาเซียน

1.สินค้า ลดภาษีนำเข้าระหว่างกัน

2.บริการ

3.การลงทุน

การบริหารธุรกิจในยุค AEC ถึงแม้จะมีการตกลงประชาคมอาเซียนในเรื่องสินค้า บริการ และการลงทุนทั้งผลิตถ แต่ความร่วมมือยังไม่สัมฤทธิ์ผล เนื่องจากแต่ละประเทศยังมีข้อยกเว้น ข้อจำกัด ที่จะกีดกันการเปิดตลาดเสรีในแต่ละด้าน ทำให้ประชาคมอาเซียนยังไม่เข้มแข็ง

การนำมาปรับใช้กับองค์กร

ปรับการบริหารคน พัฒนาในด้านภาษา การสื่อสาร สร้างความรู้ ความเชื่อ วัฒนธรรมองค์กรในการเรียนรู้ สนับสนุนทรัพยากรบุคคล วิเคราะห์ในด้านธุรกิจนำมาใช้กับธุรกิจตลอดเวลา ศึกษาความต้องการของผู้บริโภคทั้งผลิตภัณฑ์และการริการ

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

วันที่ 2 มีนาคม 2560

เรื่อง การบริหารธรุกิจในยุค Asean Economic Community (AEC)โดย รศ.ดร. อัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาลัยหอการค้า

ได้เรียนรู้ว่าสิ่งที่ควรทำในการทำธรุกิจในอาเซียน ซึ่งมีด้วยกัน 6 ประเทศ และอาเซี่ยนใหม่ 4 ประเทศ(CLMV )รวมเป็น 10 ประเทศ ในการธรุกิจต่างแดนต้องศึกษาและเลือกประเทศที่จะไป โดยต้องเรียนรู้วัฒนธรรม , กฎหมายการลงทุน , กฎระเบียบกติกา รู้ศักยภาพประเทศ นั้นๆ เช่น แรงงาน ทรัพยากร สิทธิประโยนช์ การส่งออก ต้องมี connection และ partners รู้ถึง mindset ของแต่ละประเทศนั้นๆ

ส่วน คุณ อดุลย์ โชตินิสากรณ์

ได้พูดในเรื่อง อาเซียน มีROO (Rule Of Origin) ระบุในฟอร์มดี หมายถึง สินค้านั้นมีกำเนิด ได้แก่ การผลิตและใช้ทรัพยากรในอาเซี่ยนเกิน40%ขึ้นไป จึงจะเป็นสินค้าอาเซี่ยน จึงทำให้ไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า ภาษีเป็น 0

อธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

3 มีนาคม 2560

การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

หลักการบริหารความเสี่ยง ต้องทำให้ความเสี่ยงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ (ควบคุม)ความเสี่ยงจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดนวัตกรรมหัวใจการบริหารความเสี่ยง ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กรไม่ควรรอให้ความเสี่ยงเกิดขึ้นมาก่อน ความเสี่ยงคือความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นจึงทำให้ยากที่จะบริหาร ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจะลดโอกาสการบรรลุเป้าหมายองค์กร

ในการจัดการภาครัฐ ควรใช้ศาสตร์พระราชาสร้างภูมิคุ้มกัน กระบวนการบริหารความเสี่ยง (1)ระบุความเสี่ยง (โอกาสที่ทำให้ให้เป้าหมายเบี่ยงเบน) ต้องนำเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์เป็นตัวตั้ง (2)ประเมินความเสี่ยง บนพื้นฐาน ERM ต้องดูระดับประสิทธิผลการควบคุมความเสี่ยงที่มีในปัจจุบันเมื่อเกิดความเสี่ยง กระทบเวลาต้นทุนและคุณภาพหรือไม่

เทคนิคการประเมินการเสี่ยง โอกาสxผลกระทบ = ระดับความเสี่ยง

หลักการจัดการกับความเสี่ยง

1.ลดโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยง

2.ลดผลกระทบที่จะเกิดความเสี่ยง

3.แสวงหาประโยชน์จากความเสี่ยง

หลักการตรวจสอบภายใน คือควบคุมก่อนและหลังที่จะเกิดเหตุการณ์

5T of Risk Management

1.Tolerate ยอมรับความเสี่ยง

2.Treat การลด/ควบคุมความเสี่ยง

3.Transfer กระจายโอน/ความเสี่ยง เช่น ทำประกัน มอบอำนาจ

4.Terminate หลีกเลี่ยงความเสี่ยง

5.Take ใช้ประโยชน์

Project Risk Management

1.ก่อนเริ่มโครงการ ต้องดูความเสี่ยง ความคุ้มค่า

2.เมื่อดำเนินโครงการ ต้องดูกรอบเวลา S-curve ต้นทุน

งบประมาณ การเบิกจ่ายทันเวลาคุณภาพโครงการ

3.หลังโครงการ มีประเมินหลังโครงการเป็นไปตามเป้าหมาย

หรือให้ผลตอบแทนตามเป้าหรือไม่

การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

การบริหารงบประมาณต้องเน้น

1.ประสิทธิภาพ

1.1 เป็นไปตามแผนงานและโครงการ

1.2 บรรลุวัตถุประสงค์

1.3 ได้ผลงานตามที่กำหนด

2.ประสิทธิผล

2.1 ประหยัด

2.2 คุ้มค่า

2.3 เกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล

1.จัดทำแผนการใช้จ่ายงบประมาณตามยุทธศาสตร์ระยะสั้น ระยะยาวตามภารกิจองค์กรและนโยบายรัฐที่มีความจัดเจน ปราศจากการครอบงำทางการเมืองและภาครัฐ โดยต้องคำนึงภาระอำนาจหน้าที่ สถานะทางการเงิน ความเป็นไปได้ของภารกิจ อย่างคุ้มค่า ประหยัด โปร่งใส ตรวจสอบได้ และประโยชน์สาธารณะ

2.จัดทำแผนการใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี ในแผนงานและโครงการที่กำหนดในงบประมาณประจำปี ที่มีความชัดเจน ตามระยะเวลาที่กำหนดระยะ

3.ใช้เงินงบประมาณตามแผนงานด้วยความโปร่งใส คุ้มค่า ประหยัด โดยคำนึงถึงผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม และประโยชน์ต่อส่วนรวมและสาธารณะ

การจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์

1.พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ วัตถุประสงค์ ขอบเขตภารกิจ เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด หน่วยงาน เจ้าภาพ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการจัดทางบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์

2.ให้ความสำคัญกับการจัดทาแผนแม่บทระยะปานกลางและระยะยาว แผนการปฏิบัติงาน แผนการใช้จ่ายงบประมาณ การดำเนินงานโครงการ กิจกรรมที่มีการบูรณาการใน 3 มิติ ได้แก่ มิติงานตามยุทธศาสตร์พื้นที่ (Area) มิติงานตามยุทธศาสตร์กระทรวง/ หน่วยงาน (Function)และมิติยุทธศาสตร์สำคัญของรัฐบาล(Agenda)

3.จัดทำแผนแม่บทระยะปานกลางและระยะยาว แผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณส่งสำนักงบประมาณ

4.กำกับดูแลติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์ และตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณตามแผนงานบูรณาการรวมทั้งบูรณาการการทำงานในทุกมิติ

การนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กร

1)การบริหารความเสี่ยงทางธุรกิจ

การบริหารความเสี่ยงเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการองค์กรของ กคช. เป็นเรื่องส่วนรวมที่ทุกคนในองค์กร ตั้งแต่คณะกรรมการ ผู้บริหารระดับสูง จนถึงพนักงานทุกคนได้มีส่วนร่วมในการ วิเคราะห์ในเชิงลึก เชิงบูรณาการ และเชื่อมโยงสัมพันธ์กับการกำหนดกลยุทธ์ นโยบาย แผนงาน แผนปฏิบัติการ กิจกรรมขององค์กร ซึ่งการบริหารความเสี่ยงจะเป็นการวัดความสามารถและการดำเนินงานของบุคลากรภายในองค์กร สอดคล้องกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วย หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 6 ซึ่ง การเคหะแห่งชาติ ก็ต้องดำเนินงานบนพื้นฐานของ 3 องค์ประกอบที่สำคัญ คือ

1) การตรวจสอบภายใน (Internal Audit)

2) การควบคุมภายใน (Internal Control) และ

3) การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

ซึ่งสอดคล้องกับหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ดังนั้นผู้บริหารต้องเน้นในเรื่องการเข้มงวดทั้ง 3 องค์ประกอบ หลักสำคัญโดยให้ทุกๆคนมีส่วนร่วมในการสร้างจิตสำนึก ปรับทัศนคติ สร้างวัฒนธรรมขององค์กร ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์และสร้างเครือข่าย ร่วมแบบบูรณาการ ซึ่งจะทำให้การเคหะแห่งชาติ เป็นองค์กรหลักที่สร้างบ้านจัดหาแหล่งที่ดิน สำหรับคนในประเทศชาติ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยของประเทศ ต่อไป

2.การบริหารงบประมาณเชิงกลยุทธ์

การบริหารงบประมาณ ต้องคำนึงถึงอำนาจหน้าที่ของ การเคหะแห่งชาติ(กคช.) ตามกฎหมาย พ.ร.บ. ซึ่งหากทำนอกเหนือก็จะมีความผิด โดย กคช. มีอำนาจหน้าที่ในการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ซึ่งในประเด็นที่ต้องคิดนอกกรอบว่า กคช. ต้องสร้างบ้านผู้มีรายได้สูง โดยจะนำผลกำไรมาเฉลี่ยให้กับผู้มีรายได้น้อยและปานกลาง ดังนั้น ในการขอจัดสรรงบประมาณโครงการจะต้องเชื่อมโยงและประสานแผนในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์ด้วย และยังต้องต้องพิจารณาความเหมาะสมของ บุคลากร อัตรากำลัง ค่าตอบแทน การพัฒนาคนเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการใช้งบประมาณเพื่อการพัฒนาคน องค์กรต้องได้ประโยชน์อย่างสูง

นายอธิวัฒน์ ศิลาหม้อม

กฤษฏิ์ วิเชียรพันธุ์

วันที่ 1 มี.ค 60

ได้เรียนรู้กระบวนการในการทำแผนกลยุทธ องค์กรจะประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนได้ต้องมีแผนกลยุทธ และมีการจัดการแผนที่ดี โดยดูจากองค์กรที่ผลิตสินค้าและบริการให้กับลูกค้าได้มากกว่าคนอื่น การจัดการกลยุทธต้องมีแผนก่อนแล้วดำเนินการตามแผน เป็นการวางทิศทางให้ตรงกับความต้องการประชาชน ควรเป็นการวางแผนแบบสั้น กลาง และยาว ตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง

วันที่ 2 มี.ค. 60

เรียนรู้การบริหารธุรกิจในยุค AEC ซึ่งต้องพิจารณาจากหลัก 10 ประการ เช่น ควรต้องเรียนรู้นโยบาย เศรษฐกิจการลงทุนและกฎระเบียบ กติกาของประเทศในกลุ่ม รู้ศักยภาพของแต่ละประเทศรู้ช่องทางการจำหน่ายสินค้า เป็นต้น จึงจะสามารถบริหารธุรกิจในยุค AEC ได้ดี

วันที่ 3 มี.ค. 60

เรียนรู้การบริหารความเสี่ยง ซึ่งจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้รับได้หรือสามารถควบคุมได้ การบริหารความเสี่ยงได้จะต้องรู้ว่าความเสี่ยงมีผลกระทบกับ กคช. อย่างไร การวิเคราะห์ความเสี่ยงของ กคช. เช่นการสร้างบ้านไม่ทันหรือสร้างแล้วขายไม่หมด จะต้องวิเคราะห์และบริหารอย่างไร การบริหารงบเชิงกลยุทธ โดยนำหลักธรรมมาภิบาลมาใช้ มีการจัดทำแผนกลยุทธหรือแผนพัฒนา 5 ปี และการสรรหาผู้นำที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์มาบริหารอย่างแท้จริง การบริหารงบประมาณต้องมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท