รวมตะกอนเด็ด วาทะเด่น ผลึกผล ทางการศึกษาไทย ใน G2K ตอนที่ 3


สวัสดีครับทุกท่าน           สบายดีกันไหมครับผม    เนื่องจาก ตอนที่ 1 จากบทความนี้
มีต่อ

P

http://gotoknow.org/blog/higher-edu/102131

พื้นที่ กับ การอุดมศึกษา
ปัญหาเรื่องบรรยากาศการศึกษาเป็นปัญหาที่ต้องแก้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษา นักศึกษา และชุมชนรอบๆ ไม่มีทางที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะทำแต่ผู้เดียวได้

จากบันทึกของคุณ P Conductor เรื่องเกร็ดประวัติศาสตร์ Google กับบรรยากาศการเรียน ที่กล่าวถึงการมีบรรยากาศในการเรียนจะสร้างเสริมการเรียนรู้  ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างผลงานที่กระทบคนทั้งโลกได้ ทำให้ดิฉันคิดถึงเรื่องพื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่จะนำมาสร้างบรรยากาศในการศึกษา
P
  • สวัสดีครับพี่กมลวัลย์ สบายดีไหมครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่หยิบเรื่องรั้วมาคุยกันต่อครับ
  • รั้วในความหมายผม เป็นทั้งรั้วจริงและรั้วนัย ครับ พูดง่ายๆ คือ รั้วล้อมสถาบันการศึกษา และรั้วในใจของคนในสถาบันการศึกษาครับ
  • สำหรับเรื่องความไม่พอเพียงเรื่องใดๆ ก็ตามเช่น พื้นที่ไม่พอ เงินไม่พอ ผมว่าตรงนี้เพราะขาดความสมดุลเกิดขึ้นในระบบนะครับ เลยเกิดปัญหานี้ขึ้นมาครับ
  • ถามว่าทำไมมหาวิทยาลัยรับจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆที่ทราบว่าศักยภาพในการรับเด็กมีจำกัด เราได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาดีแค่ไหน ตั้งแต่ระดับรัฐบาลมาเลยครับ การศึกษาอยู่ในอันดับเท่าไหร่ในวาระแห่งชาติ อันดับแรก หรือท้ายสุดครับ.....หรือว่าแค่ห้อยไว้ให้สวยงาม...
  • เน้นปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ หรือจะเน้นปริมาณที่มีคุณภาพ
  • เพราะเรามีรั้วกันระหว่างองค์กรสถาบันการศึกษา กับ เอกชนหรือเปล่าครับ รั้วทั้งภายในและภายนอก ถึงทำให้ไม่เกิดความร่วมมือ บริษัทในประเทศต้องซื้อเทคโนจากต่างชาติเข้าไป วนเวียนว่าย งูกินหางอย่างที่พี่ว่านะครับ เมื่อไหร่ จะเกิดการทำเองคิดเองใช้เองแก้ปัญหาเองครับ
  • ทุนที่มีการสนับสนุนให้นักวิชานักวิชาการทำวิจัย เป็นเสมือนทุนจำลองหรือเปล่าครับ จำลองให้ทำ ทั้งๆ ที่ทุนที่แท้จริงน่าจะเป็นทุนที่เกิดจากความต้องการของสัมคมภายในหรือภายนอก สอดรับกับการไว้ใจนักวิชานักวิชาการไทยให้ทำเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันครับ เอกชนก็ได้ประโยชน์ อาจารย์ได้ผลงานวิชาการ ได้งบมาพัฒนาวิจัย เงินทุนหมุนเวียนในระบบประเทศ
  • หากการทำวิจัยเราเอาเงิน หรืองบประมาณมาเป็นกำแพงกั้นแล้ว เราไม่มีทางเกิดงานวิจัยได้เลยครับ ผมว่าเราก็ซื้อกันต่อๆ ไป ดังที่เคยทำมานะครับ
  • ยังมีโครงการอีกมากมาย ที่จะเกิดขึ้นเพราะต้องการจะเอาเครื่องมือไปประดับองค์กรครับ ความมีหน้ามีตา แล้วถามว่าในที่สุดแล้วประชาชนได้อะไร
  • ผมเองยังหัวโบราณอยู่ด้วยประโยคที่ว่า การศึกษาที่แท้จริงต้องมีการให้ฟรี ครับ....และผมยังเชื่อว่า การทำวิจัยแบบศรัทธาวิจัย ยังเกิดได้ครับ
  • ผมพูดมาทั้งหมด ผมต้องเริ่มที่ตัวผมครับ
  • สำหรับปัญหาการสร้างบรรยากาศในการเรียนนั้น หากยกรั้วออกจากในอก และนอกอก ออกได้แล้ว ผมเชื่อว่า บรรยากาศในการเรียนจะดีขึ้นครับ สถาบันการศึกษาไม่ใช่สร้างรั้วหรือห้องไว้ขังนักเรียนหรือนักศึกษาครับ ขังในเรื่องการเรียนรู้ ไม่ใช่ขังแต่เอกสารที่ใช้สอน ไม่ใช่ขังเฉพาะความคิดที่อาจารย์สอนเท่านั้น เลิกขังนักศึกษาได้เมื่อไหร่ บรรยากาศจะเกิดขึ้นครับ
  • ข้อสำคัญ อาจารย์จะต้องไม่ขังตัวเองไว้ในกรอบแคบๆ ตรงนี้คือบรรยากาศจะเกิดครับ
  • นักศึกษา และนักวิจัยผมว่า เป็นเหมือนเพื่อนกับอาจารย์ที่ปรึกษา  หากช่องว่างระหว่างนักเรียนกับครูลดลงได้ ผมก็เชื่อว่าบรรยากาศในการเรียนจะน่าเรียนมากขึ้น เพราะเรามองผ่านทะลุกำแพงห้อง เรามองทะลุรั้วโรงเรียน เราเป็นชาวบ้านทำนา เรามีโอกาสไปเกี่ยวข้าวกับชาวนา
  • ธรรมชาติควรมีอยู่ในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ชุมชนอย่างปราชญ์ชาวบ้าน มีสิทธิ์สอนนักศึกษาไหมครับ หรือว่าต้องฟังจากครูอย่างเดียวครับ
  • หากคนเราไม่เสียสละ เป็นไปไม่ได้เลยที่เด็กบนยอดดอยจะมีโอกาสเรียนหนังสือ เพราะเราติดภาระกิจของเราในครอบครัวของตัวเองแล้วเราไปไหนไม่ได้แล้วหรือครับ
  • ผมได้ข้อสังเกตหนึ่งในเยอรมัน โปรเฟสเซอร์แต่ละคน จะเลื่อนขั้นได้ ต้องมีตำแหน่งว่างที่นั่นที่เปิดรับ แล้วคนที่จะปรับได้ก็ต้องเปลี่ยนย้ายสถานที่สอนและทำวิจัย ประมาณว่าต้องย้ายกัน สองสามครั้ง กว่าจะเป็น ศาสตราจารย์เต็มขั้น ถามว่าความลำบากใครได้ ศ.ผู้นั้นรับไปเต็มๆ และทุกคนต้องทำแบบนี้ หากจะปรับขั้น ไปอยู่ก็สองสามปีอย่างน้อย จนกว่าจะเป็นแบบ ศ.เต็มขั้น ก็อยู่ที่นั่นแบบปักหลักได้ถาวรตามวาระ
  • ลองคิดดูซิครับ ว่าทำไมเค้าทำได้ แล้วสิ่งที่ดีๆ ประโยชน์ตกอยู่กับใครครับ ตกที่ประเทศชัดๆ การที่โปรเฟสเซอร์แต่ละคนจะย้ายไปแต่ละที่ เค้าได้เครือข่าย ได้เพื่อนร่วมงานวิจัย ได้นักศึกษาที่ทำงานกับเค้าที่จบไปทำงานในองค์กรต่างๆ ย้ายไปสามที่ คิดดูนะคับ ว่าเครื่องข่ายเค้าแน่นขนาดไหนครับ
  • หากเรารักสะดวกเป็นที่ตั้ง ประเทศเราก็จะลำบากอยู่อย่างนี้ตลอดไปครับ  หากเรายอมลำบากบ้างตามความเพียงพอเหมาะสม ประเทศชาติจะอยู่ได้เอง และดีขึ้นเองครับ ปัญหาอยู่ที่การจัดการมากกว่าเงินและพื้นที่ครับ ผมมองแบบนี้ ไม่แน่ใจว่าจะผิดหรือเปล่าครับ
  • ท้ายสุด อิๆ ไม่รู้จะยกอะไรครับ ขอจบด้วยปณิธานอันนี้ครับ
  • "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่สอง
    ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง
    ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง
    ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์"
    ...มหิดล...

  • ขอบคุณมากครับพี่ อิๆๆ เข้ามาก่อกวนแค่นี้ก่อนนะครับ

P
บ่าววีร์
เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 22:23 [287700]
แต่เท่่าที่เห็นปัจจุบันคือ แค่นั้นยังไม่พอ ยกตัวอย่างเช่น เลิกเก็บภาษีให้คนบริจาคเงิน ให้รัฐแทน กรุงฯ ก็อาจจะแตกกันวันนี้เลย (แต่ก็ไม่แน่?) http://gotoknow.org/blog/higher-edu/102131
 
P
คนไร้กรอบ
อริยชน
Essay แบบธรรมชาติ กับ แบบ Format
คนเราขาด sensing ไปพร้อมกับ บริโภคนิยม

ผมจำได้ว่า สมัยเป็นนักเรียน  ครูสอน เรียงความ ทั้ง ไทย และ อังกฤษ    มัก  จะ เข้มงวด กับ   การจัดประโยค  การรักษารูปประโยค ( เช่น มีประโยคประธาน ย่อย  คำนำ  บทสรุป  )  ฯลฯ    จนทำให้   แค่ คิดจะเขียนอะไร  ก็  "ค้าง"   เขียนไม่ออก   นักเรียนเกร็งกันไปหมด

จนโตขึ้น หลายคน   พอให้เขียนเรียงความ หรือ  เขียน blog  ก็จะกลายเป็น ของขม ของที่ไม่อยาก   ฯลฯ

 http://gotoknow.org/blog/chokthumrong/102167

Pนาย โชคธำรงค์ จงจอหอ
คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ยาใจคนจน

  ทำงานธรรมาพากเพียรใฝ่รู้ ให้ถึงซึ่งญาณประตู ศิษย์ปูฐานธรรมสง่า ในหนึ่งชีวิต มุ่งคิดช่วยงานธรรมฟ้า ไม่เหนื่อยกายใจล้า ทำหนอสัตย์ซื่อมือสร้าง ปัญหามากมายพาใจศิษย์ล้า เสมือนได้สอบปัญญา อดทนหนาและพาใจว่าง เป็นห่วงศิษย์รัก รากเดิมฐานธรรมถอยห่าง อุปสรรคปิดบังกั้นทาง ขอยังมีรักเมตตา


     ยืนหยัดมั่นไว้ สัมภาระให้ทิ้งสิ้น โลกบนแดนดิน เคล้ากลิ่นหยาดของน้ำตา อย่ามัวแคลงใจ เดินไปให้ทันพุทธา งานใดมีใจจทุ่มหนา เบื้องฟ้ามอบผลธรรรมผ่อง


     * ทำงานธรรมาทุ่มเทแบกรับ จับมือสานใจยืนยง อย่าหลงถ้อยคำยกย่อง อย่ามุ่งส่วนตน ทุกคนสมานปรองดอง รวมใจเพื่อธรรมนั้นได้ ครองใจทุกคนบนแดน

ถนนสายธรรมชาติ "วังเวียง - กุ้ยหลิน เมืองลาว"

P

ซำบายดี   

http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/102142

ด้วยการเดินทางที่ยาวนาน ก็เหน็ดเหนื่อยกะจะเขียนบันทึกสิ่งที่ได้เรียนรู้ประเด็น "การท่องเที่ยวโดยชุมชน" ซึ่งเป็นประเด็นหลักที่มาเยี่ยมลาวในครั้งนี้

แต่ช้าก่อนครับ ...กระผมยังเหนื่อย ยังไม่ทันได้วางสัมภาระ

ขอนำภาพเส้นทางที่สวยงามและประทับใจ ระหว่าง แขวงหลวงพระบาง - วังเวียง จนถึงแขวงเวียงจันทร์มาให้ชมเป็นตัวอย่างนำเรื่องก่อน

เราออกเดินทางจากหลวงพระบางมาแต่เช้า เพื่อจุดหมายปลายทางที่เวียงจันทร์ ว่ากันว่าเดินทางทั้งวัน ผมนึกภาพไม่ออกเลยว่าจะขนาดไหน

เส้นทางจากแขวงหลวงพระบางเป็นเส้นทางลาดยางมะตอยที่ไม่ค่อยเรียบเท่าไหร่ ถนนเลนเดียวกับทางคดเคี้ยวขึ้นดอยสูง เล่นเอาพวกเราใจหายใจคว่ำเหมือนกัน

แต่ทราบมั้ยครับว่า สิ่งที่พวกเราลุ้นและไม่คุ้นชินคือการขับรถพวงมาลัยซ้าย เวลารถสวนมาแต่ละที เหมือนจะวิ่งมาชนเรา ผมนั่งอยู่หน้าสุดของรถ ย่อมลุ้นมากกว่าท่านอื่นๆในคณะ

  

ไม่ผิดหวังครับ....ถึงแม้ว่า กว่า 1 วันที่นั่งรถยาวนาน วิวสองข้างทางระหว่าง แขวงหลวงพระบาง - วังเวียง -เวียงจันทร์ สวยน่าประทับใจ ให้ผมคิดไปถึงเมืองกุ้ยหลินที่จีน สวยงามด้วยภูเขารูปทรงแปลกตา ป่าที่เขียวขจี สลับกับบ้านเรือนเล็กๆกระจายตามสองข้างทาง

ผมกดชัดเตอร์จากหน้ารถแทบไม่ยั้งมือ หลายครั้งที่ตื่นตะลึงกับทิวทัศน์สวยงามเบื้องหน้า

อย่ากระนั้นเลย ก่อนที่จะเขียนบันทึกต่อๆไป นำภาพมาให้พี่น้อง gotoknow ชมกันก่อนครับผม

 http://gotoknow.org/blog/ooydiary/102190

Pสิริพร กุ่ยกระโทก
สังกัด สพท.กทม.เขต2

ขอเวลาทบทวน   ที่อยากจะทำ   และยังไม่ได้ทำ  
ขอเวลา   กับการทำในสิ่งที่มีความสุขกับตัวเอง  
หยุดกับการท้อแท้  และสิ้นหวัง   ก้าวย่างอย่างมีคุณค่าและทรนง  
ปัญญา สติ ความยั้งคิด  ติดตามตัวมาเสมอ   
ขอบคุณกับเวลา  ที่ท่านผู้อ่านได้ให้   ได้มีโอกาสทบทวน
P
Conductor
เมื่อ อา. 10 มิ.ย. 2550 @ 00:59 [287830]

 http://gotoknow.org/blog/higher-edu/102131

 เรื่องพื้นที่คับแคบ ทำแบบศาลพระภูมิ™ได้ไหมครับ ข้างล่างแคบ แต่ไปบานข้างบน ;-)

ความคับแคบของพื้นที่เป็นข้อจำกัดจริงๆ ครับ แต่บางทีหากการเรียนการสอน เปลี่ยนแนวจาก lecture และ course work เป็นการเน้นแนวปฏิบัติมากขึ้น ทำ lab ทำโครงงาน ก็อาจจะช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจในศักยภาพของตนได้เร็วขึ้นนะครับ 

อาจารย์ที่ปรึกษาของ ชมรม ชุมนุม ต่างๆ อาจจะช่วยได้ดีขึ้นถ้าหากไม่รอจนนักศึกษามาปรึกษา แต่เสนอความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมปฏิบัติโดยไม่ต้องรอให้นักศึกษาเดินมาหา ประยุกต์เอาตามข้อจำกัดของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งครับ

หรือทำโครงงานข้ามมหาวิทยาลัยจะดีไหมครับ ขยาดของเครือข่ายความรู้จะกว้างขึ้น

แหม เสนอความคิดนี่ ง่ายกว่าทำจริงๆ เลยนะครับ

P
สิทธิรักษ์
เมื่อ อา. 10 มิ.ย. 2550 @ 14:52 [287947]

จาก http://gotoknow.org/blog/higher-edu/102131 

สวัสดีครับคุณ

P

 และหลายท่านที่ให้ความเห็นเข้ามา

 แก่นปัญหา เรื่องพื้นที่การศึกษา และบรรยากาศการศึกษา

  • เป้าหมายหลักที่ได้แลกเปลี่ยนกันมา คงจะมีเป้าหมายเพื่อการศึกษา
  • การแก้ปัญหาได้ถกเถียงกันพอสมควร   ถ้าเป้าหมายเดียวกัน แต่มุมมองวิธีแก้ที่แตกต่างกัน
  • ตัวผมเอง มองในมุมที่ว่า ถ้าจุดประสงค์ต้องการแก้ปัญหาการศึกษา บรรยากาศการศึกษา คงไม่พ้นในความหมายที่ต้องการให้นักศึกษามีบรรยากาศในการเรียนที่ดี และซึมลึกต่อความรู้ทีครูบาอาจารย์ถ่ายทอดให้
  • ถ้าความหมายเช่นนี้ ความต้องการใช้พื้นที่มากมาย  ใช้ตึกเรียนกว้างๆ คงไม่ใช่ปัญหาหลักในการแก้ปัญหา
  • แก่นแท้ในการแก้ปัญหา อยู่ที่เราใช้หลักความคิดอย่างไร ใช้อะไรเป็นจุดศูนย์กลางในการแก้ปัญหา
  • สังคมเปลี่ยนไป  วิถีชีวิตเปลี่ยนไป การเคลื่อนไหวในการดำรงค์ชีพเปลี่ยนไป  ความคิดเปลี่ยนไป  ระดับการคิดในการแก้ปัญหาก็เปลี่ยนไป  
  • ตราบใดที่เราใช้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางแห่งความคิดเพื่อนำไปแก้ปัญหา  ตราบนั้นก็ไม่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
  • ปัจจุบัน พวกเราถูกล้อมรั้วล้อมคอก กัน
  • รั้วมหาลัย  รั้วโรงเรียน รั้วทหาร รั้วความคิด รั้วความรู้สึก  รั้วความรัก รั้วความเข้าใจ รั้วเอื้ออาทร รั้ว..........................
  • ทุ่งนาครับ  ไปสอนไปเรียนกันได้
  • หุบเขาครับ ไปสอนไปเรียนกันได้
  • ในหมู่บ้านครับ ไปสอนไปเรียนกันได้
  • ในตลาดครับ ไปสอนไปเรียนกันได้
  • ผมอยู่นอกรั้วมหาวิทยาลัย 
  • อยากผ่านรั้วมหาวิทยาลัย
  • แต่ปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถผ่านได้
  • มีรั้วกั้นอยู๋
  • รั้วที่แข็งแรงมาก มาก
  • ขอบคุณมากครับที่ให้โอกาสคนนอกรั้วมหาวิทยาลัยได้ออกความเห็นด้วย
P
Little Jazz \(^o^)/
เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 21:12 [287615]
วันนี้พึ่งประชุมเกี่ยวกับงบประมาณในการผลิตสื่อที่ม.เกษตร คืออาจารย์หลายท่านมีแนวคิดแบบ conservative คือควรจะใช้งบประมาณจากภาครัฐ ทั้งๆ ที่ไม่เพียงพอ เลยต้องหาทางตัดบางส่วนทั้งที่จำเป็นต้องทำออก เราก็เสนอวิธีแก้ปัญหาที่มีโอกาสทำได้แน่ๆ ที่เหลือก็อยู่ที่การตัดสินใจของมหาวิทยาลัยเอง อาจารย์บอกว่าไม่สะดวกใจที่จะไปขอเอกชน ไม่ใช่แนวทางที่เคยปฎิบัติ เดี๋ยวจะมีคนครหา

ตัวเองกลับมองว่า มหาวิทยาลัยควรหาช่องทางแก้ปัญหา ไม่ใช่จบง่ายๆ ที่งบประมาณไม่พอ ไม่มี ไม่รู้จะทำอย่างไร กลัวสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นก่อนลงมือทำ ไม่ยอมรุก ตั้งอยู่ในที่มั่นเป็นฝ่ายรับ มันจะเดินช้าเหมือนที่ระบบราชการไทยเป็น

ความเป็นจริงควรจะให้โอกาสภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน (ไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่ไปประชุมนะคะ) ซึ่งเอกชนรายใหญ่ๆ มีงบประมาณโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรืองบเพื่อสังคมตั้งไว้ทุกปีอยู่แล้ว บางที่หลายสิบล้าน เพียงแต่ว่าจะเอาไปใช้กับเรื่องอะไรเท่านั้น ถ้าไม่นำแผนมาเสนอ อยู่ดีๆ คงไม่มีใครนำเงินไปมอบให้ถูก

ปีๆ หนึ่งมหาวิทยาลัยผลิตบุคคลากรให้สำเร็จการศึกษาออกไปสู่ภาคเอกชนมากมาย อาจารย์ทำงานวิจัย ผลิตผลงานช่วยเหลือให้บริษัทเอกชนนำไปต่อยอดผลิตเป็นสินค้าและบริการ แต่ทั้งหมดเป็นการให้ฝ่ายเดียว มหาวิทยาลัยได้แต่ชื่อเสียง คำชม และความภูมิใจกลับมา

ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเมืองนอกไม่แปลกเลยที่ภาคเอกชนจะมาลงทุนในงานวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานที่ได้รับสิทธิ์ร่วม หรือเข้าไปให้ทุนนักศึกษาเพื่อจะได้บุคคลากรที่มีคุณภาพมาทำงานในองค์กร หรือเข้าไปมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

รู้สึกมานานแล้วว่าระบบมหาวิทยาลัยเมืองไทยแปลก บรรดาอาจารย์รู้สึกว่าต้องป้องกันชื่อเสียงและภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยเป็นอันดับแรก จนหลายครั้งมองข้ามโอกาสดีของการร่วมมือกันกับภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้ระบบการศึกษามีทุน support มากกว่านี้ ...แต่ก็อย่างว่านะคะ เวลามีคนลุกขึ้นมาทำอะไรดีๆ ก็จะมีคนจ้องจับผิดตั้งทัพรออยู่ก่อนเสมอ เพราะติมันง่ายกว่าทำค่ะ เป็นธรรมชาติของมนุษย์บางประเภท : (

นี่เป็นเพียงความเห็นหนึ่งของคนที่อยู่ในฝั่งภาคเอกชนค่ะ ขออภัยที่พิมพ์ยาว เพราะอึดอัดใจ และหงุดหงิดแทนระบบความคิดในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยค่ะ
แนวคิดดีของคุณซูซาน จาก http://gotoknow.org/blog/higher-edu/102131

P
ท่านป๋าดัน  กำลังจะถูกดัน  http://gotoknow.org/blog/yahoo/101939
เนื่องมาจากวงจรหน้าจืด (จืดสนิทจริงๆ) ช่วยผมด้วยนะครับ บันทึกของนักศึกษาปริญญาเอกภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของ blogger ใน gotoknow
มัทนา
เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 03:26 [
286728]
ตอนพานักศึกษาไปออกชุมชนแถวลพบุรี สิงห์บุรี สระบุรี ก็พบปัญหานี้เช่นกันค่ะ ทีนี้ปัญหาที่ไปพบที่ร้ายมากคือการขายที่นา เอาเงินมาใช้หนี้ค่ะ  (ไม่มีนา แต่แทบทุกบ้านที่เป็นหนี้มีมือถือค่ะ  มีสิ้นค้าขายตรงพวกแอมๆ จิ๊ฟๆใช้ด้วย!) ทีนี้พอไม่มีที่นาเป็นของตัวเอง ก็ต้องไปรับจ้างทำนาที่อื่นๆ บางทีไปถึงชัยนาท นครสวรรค์ ใึครไปเช้าเย็นกลับก็ยังไม่เท่าไหร่  ครอบครัวยังเป็นครอบครัว แต่หลายๆบ้านไปนาน บางทีไปหางานอื่นทำ ในหมู่บ้านมีแต่คนแก่กับหลาน

ถ้ายังมีที่ดิินทำการเกษตรอยู่ ยังไงซะยังพอหาทางออกได้ แต่นี่ หน้าจืดสนิทค่ะ

กมลวัลย์
เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 08:30 [
286794]

อ่านแล้วรู้สึกจืดสนิทเหมือนกันค่ะ... ดูวงจรแล้วมันวนไม่มีสิ้นสุดเลย แต่ละรอบที่วน ต้นกับดอกก็จะสูงขึ้นๆ คนเป็นหนี้ก็จะเป็นหนี้แบบไม่มีสิ้นสุด...ไม่มีงานในชุมชน --> ไม่มีเงินใช้ --> ออกไปหางานที่อื่น --> เงินเดือนที่ได้ไปหมุนอยู่ในชุมชนอื่น เช่นกรุงเทพ (ที่ค่าครองชีพแพง) ไม่กลับมาที่บ้านเกิด --> ซื้อมือถือ ทีวี ฯลฯ --> ไม่มีคุณภาพชีวิต ไม่มีเงินเช่นเดิม --> กู้เงิน ....  เข้าสู่วงจรหน้าจืด...ทำอย่างไรถึงจะให้ชาวบ้านช่วยเหลือตัวเองได้..มีรายได้อยู่ในชุมชนของตัวเอง การช่วยเหลือต้องเป็นการสร้างอาชีพ ไม่ใช่การให้กู้ แล้วมายกหนี้ พักชำระหนี้ แล้วก็ให้กู้อีก

การช่วยเหลือจะต้องสร้างเศรษฐกิจในชุมชน..ต้องมีงาน..สร้างงาน... แต่ปัญหานี้ ใหญ่มากจริงๆ นี่ก็กำลังดูรายการเปิดบ้านพิษณุโลก นายกสุรยุทธ์กำลังพูดถึงการสร้างชุมชนเข้มแข็ง แต่ก็ยังไม่เห็นทางออกที่ชัดเลย...

 

 

 

เบิร์ด
เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 09:18 [
286823]

สวัสดีค่ะพี่บางทรายตอนนี้เบิร์ดก็กำลังเจอ " วงจรหน้าจืด " ในชุมชนเหมือนกันค่ะ..ทำเอาเบิร์ดหน้าจืดสนิทเลย...ต้องค่อยๆดูทีละปม..ตอนนี้ยังไม่ได้แก้ไขอะไรเพราะยังแกะไม่ออกมีคำแนะนำมั้ยคะ...เบิร์ดมึนตึ้บเลยค่ะมีหนี้แม้แต่ค่าโทร.มือถือ !        

   แสดงว่าเราพบวงจรหน้าจืด  จืดสนิท แบบนี้ในเกือบทุกที่ของเมืองไทย  อยากได้วิธีการแก้ปัญหา  ขอความกรุณาผู้รู้ เข้ามาแสดงความคิดเห็นให้หน่อยครับ ว่าเราควรแก้ปัญหานี้อย่างไร ขอบคุณครับผม  

ขอบคุณ บันทึกนี้ของพี่บางทราย    ท่านอาจารย์มัทนา ท่านอาจารย์กมลวัลย์    คุณเบิร์ด มากครับผม

 http://gotoknow.org/blog/yahoo/101939

บทความข้างต้น  บ่งแสดงถึงอะไรต่ออะไรเยอะแยะ

  • สังคมแห่งการบริโภค นิยมในวัตถุ
  • วิถีชีวิต การครองชีวิต
  • ความรู้  ปัญญา การรับรู้
  • การแก้ปัญหา ต่อแต่ละปัญหา
  • วัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลง
  • สื่อที่มีอิทธิพล ต่อ ผู้คน
  • ความเอาใจใส่และการแก้ปัญหาด้วยความจริงใจของรัฐ
  • การรวมตัวของชุมชน ด้วยการแก้ปัญหา

ไม่ใช่เป็นปัญหาที่แก้ไม่ได้  ไม่ใช่ปัญหาโลกแตก  ไม่ใช่ปัญหาที่เกินกว่ากำลังในการแก้ 

ปัญหาของปัญหาคืออยู่ในปัญหาที่มาในปัญหา

 http://gotoknow.org/blog/higher-edu/102131

P
sasinanda
เมื่อ อา. 10 มิ.ย. 2550 @ 15:13 [287986]

และอีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะให้ความเห็นคือ  สถานการณ์ครอบครัวไทย อ่อนแอ จนน่า วิตก          มิติของการบริโภคปัจจุบัน  เด็กไทยกำลังเผชิญกับกระแสวัฒนธรรม กิน ดื่ม เดินซื้อของ อันเป็นตัวเร่ง                 ให้เกิด  ค่านิยมในการบริโภคอย่างมหาศาล          มิติด้านสื่อ มีการแสดงออกทางเพศมากเกินไป  มิติการเสี่ยงโชค  ก็มีวัยรุ่นอยู่ในวงจรนี้มากขึ้น                    เราต้องช่วยกันรักษา สถาบันหลักๆของเราค่ะ---สถาบันชาติ   วัฒนธรรมของชาติ   เยาวชนของชาติ  สถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา   รวมกันเป็น การสร้างสังคมคุณธรรมค่ะ       มีอีกเรื่อง ขอแถม ขอนอกเรื่องหน่อยค่ะ   จริงๆไม่ค่อยอยากพูด เพราะพูดไป มีแต่เข้าตัว กล้าพูดเฉพาะคนสนิทๆ  ในแวดวงอาจารย์มหาวิทยาลัย  ก็คุยกัน แต่เฉพาะเพื่อนๆที่เป็นอาจารย์      แต่อยากให้มีการปรับปรุงในส่วนนี้บ้างค่ะคือ ครู อาจารย์บางคน  ถึงเวลาสอนก็มา ไม่ถึงเวลา หายจ้อยเลย  ส่วนใหญ่ไปรับงานส่วนตัว หรือ ไปขายของ ถ้า เราจะมีระบบ Child Center นั้น  จะได้ผลอย่างที่อยากได้หรือคะ ทางออกน่า จะยกย่องครูให้มีสถานภาพทางสังคม มากกว่านี้  มีเงินเดือนมากกว่านี้ จะได้มีเวลามาเอาใจใส่เด็กๆมากขึ้นค่ะ

Pอรฤดี ศรีธราพิพัฒน์
คณะบัญชี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
การทำงานเพื่องาน
ทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข
จากหนังสือทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุขของ ดร.สนอง วรอุไร ....ได้อ่านแล้วพบว่ามีข้อคิดดีดีที่สามารถนำไปปฏิบัติกับการทำงานได้เป็นอย่างดี ตัวอย่างเช่น การทำงานเพื่องานจะทำให้เราทุ่มเทกับงานได้เต็มที่  มีความขยันมาก  และทำงานมีความสุข  ผลงานเกิดขึ้นอย่างไม่มีที่สิ้นสุด งานจะกลายเป็นยาชูกำลังของชีวิต  ยิ่งทำมากชีวิตยิ่งสดใสเพราะได้เรียนรู้   ได้เพิ่มพลังให้กับจิตใจและชีวิตตลอดเวลา
(ที่มา:หนังสือทำชีวิตให้ได้ดีและมีสุข 2548 หน้า 157)

สุดยอด สุดยอด

Ppaew
ภาควิชาสัตวศาสตร์
ข้าวยำ....แสนอร่อย...ภาคสอง

ดูหน้าตาความน่าอร่อยตามภาพต่อไปนี้นะค่ะ

 


งานฉลองวันรัฐธรรมนูญ ณ สวนลุมพินี


ยังมีรถรางวิ่งผ่านหน้าสวนลุมฯ



ถนนเยาวราชยังไม่เนืองแน่นไปด้วยรถราเหมือนปัจจุบัน
มีสามล้อถีบด้วย คิดถึงจัง




มองจากฝั่งพระนคร ยังเห็นฝั่งธนบุรีเป็นป่าเขียวพรึ่ด



รถรางทำหน้าที่รับส่งผู้โดยสารบนถนนราชดำเนิน



ของที่ขายกันข้างทางยังบรรจุด้วยวัสดุธรรมชาติ
ไม่มีถุงพลาสติกหรือกล่องโฟม



ช่วงหนึ่งของถนนเจริญกรุง นึกไม่ออกเลยว่าตรงแถบไหน


มีโรงงิ้วเพื่อให้ความบันเทิง ได้รับความนิยมไม่แพ้โรงภาพยนตร์
เคยเห็นตอนเด็กๆ เหลืออยู่โรงนึง ปัจจุบันสาบสูญไปแล้ว




อันนี้ไม่แน่ใจ แม่บอกว่าน่าจะเป็นตลาดบางรักค่ะ

http://gotoknow.org/blog/littlecorner/102194

http://gotoknow.org/blog/higher-edu/102131

P

P

สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

พอดีผมติดใจเรื่องหนึ่งในส่วนนี้ เลยขอยกมาพูดคุยกันต่อครับ ไม่งั้นนอนไม่หลับครับ

เรื่อง "ถามว่าทำไมมหาวิทยาลัยรับจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆที่ทราบว่าศักยภาพในการรับเด็กมีจำกัด เราได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาดีแค่ไหน ตั้งแต่ระดับรัฐบาลมาเลยครับ การศึกษาอยู่ในอันดับเท่าไหร่ในวาระแห่งชาติ อันดับแรก หรือท้ายสุดครับ.....หรือว่าแค่ห้อยไว้ให้สวยงาม..." นั้นพี่ว่าเป็นปัญหาโลกแตกค่ะ พี่ก็อยากจะรับน้อยๆ ให้ได้คุณภาพอยู่หรอกค่ะ แต่นโยบายคือเราต้องรับเยอะขึ้นเพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาค่ะ และถ้าเราไม่รับเด็กเข้ามาเรียน ก็เหมือนไม่เปิดโอกาสให้เด็กที่จะพอเรียนได้ให้ได้เรียน คำถามก็คือ แล้วเขาจะไปเรียนที่ไหน ต้องไปเรียนในที่ที่สอนแย่กว่าเราสอนหรือเปล่า... อย่างที่บอกค่ะ ...ปัญหาโลกแตกค่ะ..

  • ผมมองว่าทุกๆ ที่มีศักยภาพในการสอนแตกต่างกัน มีความถนัดในแต่ละสาขาคณะแตกต่างกันไปครับ โดยเฉพาะการมีนโยบายในการกระจายการศึกษาออกสู่ภูมิภาคให้ทั่ว โดยลดการวิ่งเข้าเมืองของนักศึกษาด้วย
  • หากมีคณะไหนที่มีศักยภาพ อาจจะเข้าร่วมสอนหรืออบรมอาจารย์ในคณะนั้นๆ ของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดได้ด้วยครับ ควรจะมีการเกื้อกูลกันครับ อาจจะทำ MOU สร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเครือข่าย ในด้านเดียวกันก็ได้ครับ
  • ผมว่ามหาวิทยาลัยเก่าแก่ใน กทม. ควรจะช่วยเหลือในส่วนนี้ โดยการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ เพื่อปรับสภาพให้ลดช่องว่างระหว่างสถานที่เรียนครับ ไม่งั้น คณะหรือมหาวิทยาลัยของพี่ก็จะต้องรับมากขึ้น เช่นหากตอนนี้พี่รับอยู่ปีละ สามพันคน ผมถามว่า ต่อไปหากมีนโยบายใหม่ ให้รับ ปีละหนึ่งหมื่นคน พี่จะต้องรับหมดหรือครับ พี่ไม่กลัว กทม. กลายเป็นเมือง อกแตก (ตาย) หรือครับ อิๆๆ แซวเล่นแกมเอาจริงนะครับ ฮี่ๆๆๆ
  • ดังนั้น ผมยังมีความหวังนะครับ ว่าเรามาช่วยสละกันคนละนิดนะครับ อาจจะทำโครงการถ่ายทอดความรู้ ร่วมกัน ใช้เครื่องมือร่วมกัน ที่ไหนมีเครื่องมือ ก็ทำวิจัยร่วมกันระหว่างคณะ สถาบันร่วมกันได้ครับ จะได้ไม่ต้องซื้อเครื่องมือซ้ำซ้อนให้ฝรั่งกิน เขมือบงบประมาณบ้านเราอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ครับ
  • แนวทางออกหลายๆ อย่างในการทำศึกษาโดยไม่ต้องให้คนมากองอยู่ในห้องเรียน อันนี้ผมว่ามีทางออกเยอะครับ เหมือนอย่างที่คุณเบิร์ดเสนอ ก็แนวทางหนึ่งซึ่งมีศักยภาพและทำได้
  • หากมีปัญหาเรื่องรั้วมากๆ หรือพื้นที่มากๆ ขอแนะนำให้ยกรั้วออก พังรั้วออกเลยครับ พี่จะได้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย เท่ากับพื้นที่ประเทศไทยไปเลยครับ ทุกมหาวิทยาลัยมีพื้นที่เท่ากัน
  • เพราะเรียนรู้ร่วมกัน ไม่มีรั้วกัน ปัญหาอะไรจะตามมา หากเราสร้างคนคุณภาพ เราจะกลัวอะไรใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากครับ ได้ตอบแล้ว ผมเชื่อว่าคงนอนหลับแล้วครับ คืนนี้ อิๆๆ โชคดีนะครับ

รูปเม้ง  รูปใหม่นี้  ผมเห็นแล้วรู้สึกจำเม้งไม่ค่อยได้เลย

เพราะว่า  รู้สึกว่า  จะเจ้าเนื้อกว่าที่เคยพบ  และขาวกว่าที่เคยเห็น

P
นายขำ
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก

พ่อเป็นมัคนายก...

แม่เป็นชาวนาผู้ยากจน...ซื่อสัตย์...มีน้ำใจ...ที่ลูกได้เยี่ยงอย่างมาไม่น้อย

ประชาชนที่เก็บความสงสัย คาดหวัง และความต้องการแสดงออกถึงความต้องการของตัวเองในเชิงปัญญา...ก็จะได้มั่นใจว่า...เขาสามารถ...มีส่วนร่วมได้อย่างแท้จริง... และมีเวทีสภาองค์กรชุมชนรอพวกเขาอยู่...โดยที่ไม่ต้องไปเข้าสู่เส้นทางการเมืองที่หวังผลประโยชน์ตอบแทนจนสร้างปัญหากันไม่หยุดหย่อนจนถึงทุกวันนี้....

P
กมลวัลย์
เมื่อ อา. 10 มิ.ย. 2550 @ 21:09 [288314]

สวัสดีค่ะคุณ P สิทธิรักษ์

เห็นด้วยค่ะว่าเราไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากๆ ในการเรียน

แต่เรื่องพื้นที่ที่ดิฉันพูดถึงในที่นี้คือ พื้นที่พักผ่อนของนักศึกษาค่ะ เช่น รูม หรือโต๊ะที่เขาสามารถมารวมกลุ่มสังสรรค์ อ่านหนังสือกันได้..พื้นที่ห้องสมุด พื้นที่ห้องคอมพ์...พื้นที่จัดกิจกรรม สันทนาการ เล่นกีฬาค่ะ ... ตอนเขียนคิดถึงพื้นที่กับ facilities พวกนี้ พอกลับไปดูที่เขียนไว้ พบว่าตัวเองไม่ได้อธิบายชัดเจนค่ะ ต้องขอโทษด้วยค่ะ

พื้นที่ห้องเรียน...สำหรับที่สถาบัน มีพอ ถึงจะไม่ทันสมัย หรือเป็นพื้น slope (สำหรับห้องใหญ่) ก็ยังสอนกันได้ ถ้าอาจารย์ตั้งใจ และนักศึกษาส่วนใหญ่ร่วมมือค่ะ...

แต่ที่ปัจจุบัน สำหรับกรณีของตัวเองเลยคือ ขาดพื้นที่ห้องปฏิบัติการค่ะ .... เรามีนักศึกษาต่อห้องมากขึ้นเป็นเท่าตัวจากที่เคยรับในสมัยก่อน.. อุปกรณ์กับพื้นที่ของเรา...เท่าเดิมค่ะ เพราะฉะนั้นโอกาสที่นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัตินั้นน้อยลงทันตาเห็น แปลว่าเขาได้เรียนจากกระดาน แต่ไม่ได้ลองทำเองจริงๆ..เพราะไม่มีเครื่องมือให้เขาค่ะ เช่น นักศึกษาไม่มีโอกาสได้ฝึกผสมปูนเอง(ทุกคน) ไม่ได้โอกาสลองทำงานเชื่อมเอง ไม่ได้โอกาสทำงาน....สารพัดเอง เพราะเราไม่มีพื้นที่และเราไม่มีเครื่องมือพร้อมสำหรับทุกคนในเวลาเดียวกันค่ะ... อันนี้เป็นปัญหาที่รุนแรง เพราะกลายเป็นว่านักศึกษาได้สัมผัสจากกระดานเท่านั้น ไม่ได้สัมผัสด้วยมือ หรือได้ทำเองจริงๆ น้อยมาก ค่ะ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาของบางสาขาเท่านั้นค่ะ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ (ซึ่งต้องมีรพ.สำหรับหมออินเทอร์น) แต่ถ้าเป็นสาขารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ปัญหาน่าจะน้อยกว่านี้ค่ะ ...

เรื่องรั้วที่กลายเป็นกำแพงกั้นไม่ให้คนในออก คนนอกเข้า อันนี้เป็นเรื่องน่าเศร้าค่ะ ไม่อยากให้ใครถูกกักด้วยรั้วอันนี้เลยค่ะ...

ขอบคุณนะคะ สำหรับความตั้งใจและความทุ่มเทในการพัฒนาการศึกษาด้วยกันนะคะ..

http://gotoknow.org/blog/higher-edu/102131

P
sprite
เมื่อ อา. 10 มิ.ย. 2550 @ 21:30 [288345]

ขอแชร์ประสบการณ์เพิ่มเติมนะคะ อ. ขจิต  ว่าช่วงนี้ทำวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยการทำบัญชีครัวเรือน  อยากบอกว่าคุยแบบกันเอง ไม่เป็นทางการกับลุงป้าน้าอาทุกท่านแล้ว ละเหี่ยใจ คำตอบเหมือนอย่างกับความเห็นของท่านทั้งหลายที่ได้ให้ไว้ 

สิ่งที่ยังฝังใจในความเข้าใจของชาวบ้าน คือเรื่อง เงินกองทุนหมู่บ้าน เชื่อไหมคะ  ว่าแกเข้าใจว่าหลวงให้ฟรี  ไม่ต้องคืนหรอก บอกว่าต้องคืน ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร  ดังนั้นเรื่องบัญชีไม่ต้องจัดทำก็ได้  เพราะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรแต่จำเป็นต้องใช้  ส่วนที่อ. ขจิตถาม เรื่องแนะนำ blog  ไม่ขัดข้องหรอกค่ะ  แต่แปลกใจว่าพี่ ๆ น้องก็เขียนแบบธรรมดา  แต่ก็ปลื้มใจจนต้องขอไปโฆษณาเผื่อจะได้คนในชุมชนเพิ่ม มากขึ้นค่ะ 

http://gotoknow.org/blog/yahoo/101939

P

สวัสดีครับพี่สอน  http://gotoknow.org/blog/ChareVision/102257

  • ชุมชนเข้มแข็ง โรงเรียนเข้มแข็ง ครอบครัวเข้มแข็ง วัดศาสนาเข้มแข็ง หากทำเหล่านี้เข้มแข็งได้ก็จบ  หลักๆ จริงๆ อันดับแรกคือ ครอบครัวเข้มแข็ง
  • P
    Thawat
    เมื่อ อา. 10 มิ.ย. 2550 @ 21:06 [288306]

    รูปเม้ง  รูปใหม่นี้  ผมเห็นแล้วรู้สึกจำเม้งไม่ค่อยได้เลย

    เพราะว่า  รู้สึกว่า  จะเจ้าเนื้อกว่าที่เคยพบ  และขาวกว่าที่เคยเห็น

    • สวัสดีครับพี่ธวัช จริงๆ แล้วผมก็จำตัวผมเองไม่ค่อยได้ครับพี่ เพราะผมสั้นกับผมยาว มันจะต่างกันคนละคนเสมอครับ
    • วันก่อนไปหา ดร.ท่านหนึ่งต่างเมือง เค้าก็จำไม่ได้ครับ  คุยกับโปรเฟสเซอร์ท่านก็คุยไปมองผมไปครับ
    • สำหรับเรื่อง เจ้าเนื้อ นี่ใช่ครับ เพราะ 75 kg ครับ ได้กำไร 10 kg ครับ นับว่าไม่ขาดทุนแล้วครับพี่
    • สำหรับเรื่องขาวนี่ ไม่จริงครับ เพราะดำเหมือนเดิม ในรูปอาจจะมีแฟลชช่วยครับ
    • พี่สบายดีไหมครับ คิดถึงหนองปลาคลั๊ก ที่พี่ไปวิดมาวันนั้นจังครับ ขอบคุณมากครับ

     http://gotoknow.org/blog/thawatmatte/102328

    PThawat
    Knowledge Management Institute

    แต่พอผมมีลูก  พ่อ - แม่  ก็มาอยู่ด้วย มาช่วยดูแลหลาน    บริเวณชุมชนที่ผมอาศัยอยู่   ก่อนหน้านั้น  ผมรู้จักเพื่อนบ้านไม่กี่คน  และก็ไม่ได้สนิทลึกซึ้งมากเท่าที่ควรจะเป็น    แต่พอพ่อ กับแม่ขึ้นมาอยู่ด้วย   ผมเริ่มสังเกตเห็น  และเริ่มเข้าใจอะไรบางอย่าง  ที่เขาเรียกกันว่า "ภาษาคน"

     http://gotoknow.org/blog/lifediagram/102327

    P

     เวลา...ศัตรูที่แท้จริงของชีวิต

    ภายใต้โลกแห่งการแข่งขันและการต่อสู้ที่ซับซ้อน จะมีใครที่เข้าใจและได้ตระหนักรู้ว่า ชัยชนะที่แท้จริงนั้นคือการ ชนะใจ ตนเอง ให้อยู่เหนือความปรารถนาที่นำมาซึ่งความทุกข์ ผู้คนที่เราคิดว่าเป็น ฝ่ายตรงข้าม ย่อมไม่ใช่ คู่ต่อสู้เพราะ  ศัตรู ที่แท้จริงของชีวิตคือ เวลา ที่กลืนกินสรรพชีวิตและสรรพสิ่ง.... 

     กัลยาณมิตรควรพิจารณาเนือง ๆ ว่า

    เวลาที่ล่วงไป... ล่วงไป 

    บัดเดี๋ยวนี้...เราทำอะไรอยู่   

     http://gotoknow.org/blog/buddhaza/90277

    PMan In Flame

    boo33mst 

    สิ่งที่แปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือ มนุษย์ ผู้หลงคิดว่า ตนเป็นสัตว์ประเสริฐ ในบางแง่บางมุมแล้ว กลับโง่กว่าเต่ากว่าปลา กว่าหมากว่าแมวสัตว์พวกนี้ถ้ารู้ว่าสิ่งไหนคือยาพิษ มันจะหลีกเลี่ยงไม่ยอมแม้แต่จะเข้าไกล้คนเราสามารถเดินทางไปไกลถึงดาวดวงไหนๆ แต่กลับไม่สามารถทำตัวให้ปากห่างจากขวดเหล้าหรือบุหรี่แม้แต่คืบเดียว คงไม่มีใครสามารถบังคับจับขวดเหล้าจับบุหรี่ใส่ปากเราได้หรอกนะ นอกจากตัวเราเองทั้งนั้น รู้ว่านี่คือยาพิษ ทำลายสมองทำลายตับ ทำลายปอด ก็ยังไม่ยอมหนีไปไหนห่าง แม้แต่รัฐเองยังแสวงหาผลประโยชน์ ภาษีเงินสกปรกจำนวนแสนๆหมื่นล้าน จากยาพิษเหล่านี้ รณรงค์กันให้ตายก็ไม่มีวันหมดจากผืนแผ่นดินไทย  ถามจริงๆเถอะ ถ้าประเทศไทย ไม่มีหรือไม่ได้รายได้จากภาษีพวกช้างสาร เสือสิงห์กระทิงแรด พวกสัตว์ป่าดุๆเหล่านี้ ประเทศชาติจะล่มจมไหม ปีใหม่ เทศกาล จะมีคนตาย สี่ร้อยห้าร้อยคนเพราะอุบัติเหตุที่มีสาเหตุจากสุราไหม ปีหนึ่งๆจะมีคนตายเพราะถุงลมโป่งพอง,ตับแข็ง อุบัติเหตุจากสุรา ทะเลาะวิวาท ครอบครัวแตกแยกเพิ่มขึ้นไหม ฯลฯ  ภาษีที่ได้มา กับงบประมาณ,ชีวิตทรัพย์สิน ปัญหาสังคมและคราบน้ำตาที่สูญเสียไป มันคุ้มกันไหม          

    ปัญญาประดิษฐ์จึงกลายเป็นปัญหา ถ้าไม่เรียก ว่า โง่กว่าหมากว่าแมว หรือสมองหมาปัญญาควาย แล้วจะให้เรียกว่าอะไร

    ต่อให้ได้ใบปริญญามาสองสามใบ หรือมีมันสมองแบบ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (Albert Einstein)  ก็ยังเป็นเพียงความจุของความจำ การเชื่อมโยงและกระบวนการทางความคิดที่เป็นเลิศ "ปัญญา"ที่มีแบบนี้ จึงเป็นได้เพียง"ปัญญาประดิษฐ์"เท่านั้นเอง

     

    น่าเสียดายที่ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ มีเวลาได้ศึกษาพุทธศาสนาในบั้นปลายของชีวิตเท่านั้น

     http://gotoknow.org/file/sasinanda/view/84799

    Psasinanda
    vichitranand property co;ltd
    เอื้องกุหลาบน่าน เป็นดอกกล้วยไม้ที่มีกลิ่นหอม ลักษณะของดอกจะคล้ายๆ เอื้องมาลัยแดง ครับ แต่ดอกของเอื้องกุหลาบน่านดอกในช่อจะโปร่งกว่า ดอกสีชมพู ดอกบานทนได้หลายวัน

     http://gotoknow.org/blog/LifeLearning/102308

    P
    Mr.Direct
    TELECOM

    "ก้าวแรก" ว่ายากแล้ว "ก้าวสุดท้าย" สิยากกว่า...

    ผมเห็นหลาย ๆ คนผ่านก้าวแรกมาได้อย่างลำบาก แต่ก็พยายามก้าวมาได้เรื่อย ๆ และก็ก้าวมาได้ไกลแล้ว แต่มาหยุดอยู่ที่ก้าวสุดท้าย เพราะไม่มั่นใจในผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และไม่มั่นใจว่าตัวเราจะยอมรับผลลัพธ์นั้นได้มั้ย...

                  ก้าวแรกว่ายากแล้ว ก้าวสุดท้ายสิยากกว่า แต่ในเมื่อเราพยายามก้าวมาจนถึงตรงนี้ แค่อีกก้าวเดียวเราก็จะถึงจุดหมาย ผลลัพธ์มันจะเป็นอย่างไรก็ก้าวไปเถอะครับ เตรียมใจยอมรับผลที่จะเกิดขึ้นเพราะยังงัย เราก็ได้ทำเต็มที่แล้ว... 

     http://gotoknow.org/blog/edkm-sn/102334

    Pแขไข
    โรงเรียนเซนต์นิโกลาส

    การแข่งขันระดับประเทศเป็นสิ่งที่ผู้สวดมนต์หมู่อยากไปให้ถึง เมื่อมาถึงระดับที่ฝันไว้  ก็รู้ว่าเป็นโอกาสจริง ๆ จะชนะหรือแพ้ก็จะไม่เลือกร้องไห้  เพราะมาถึงจุดนี้ได้ก็เก่งแล้ว แต่ไม่ใช่ว่าจะไม่ตั้งใจ  ฟิล์มจะตั้งใจทำให้ดีที่สุดอีกครั้ง ผลออกมาได้รางวัลชมเชยอันดับหนึ่ง ฟิล์มดีใจมาก

      สรุปแล้วฟิล์มอยากให้ทุกคนที่อ่านเรื่องนี้แล้วคิดว่าตอนนี้คุณใฝ่ฝันอยากเป็นอะไร  ต้องทำให้เป็นจริงอย่าท้อกับความล้มเหลวแต่อยากให้เก็บมันเป็นบทเรียนและเอาชนะมันให้ได้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น  หากสิ่งที่ผู้อ่านหวังเป็นสิ่งที่ดี จงทำต่อไป ฟิล์มจะคอยเป็นกำลังใจให้... สู้ สู้ 

    P

    สวัสดีครับเพื่อน

    • ก้าวแรก ว่ายากแล้ว ก้าวสุดท้าย สิยากกว่า
    • การมีรัก ว่ายากแล้ว การครองรัก สิยากกว่า
    • การมีภรรยา ว่ายากแล้ว การมีแม่ของลูกที่ดี สิยากกว่า
    • การมีลูก ว่ายากแล้ว การเลี้ยงลูกให้เป็นคนดี สิยากกว่า
    • การเป็นคนดี ว่ายากแล้ว การเป็นคนดีตลอดไปและมั่นคง สิยากกว่า
    • การทำสิ่งที่ยาก ว่ายากแล้ว การประสบความสำเร็จไม่ได้ยากกว่าที่คิด หากเราตั้งใจเต็มที่และจริงจัง
    • สู้ต่อไป นะโรบิ้น...  http://gotoknow.org/blog/LifeLearning/102308
    P

    สวัสดีครับน้องเม้ง

    • สุดยอดเลย น้องเม้งเอาชุดความรู้มาแลกเปลี่ยน
    • พี่เห็นด้วยครับว่าฐานของการเปลี่ยนแปลงนั้นอยู่ที่ครอบครัว ชุมชน โรงเรียน ที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเด็ก และขยายวงไปที่ชุมชน
    • หากเราเข้าไปอยู่ในชุมชนแล้วอ่านชุมชนตามที่เราเห็นและหากฝังตัวเพื่อซึมลึกถึงเหง้าของเขา เราก็จะเห็นความสัมพันธ์กับสังคมเมืองที่เป็นท่อน้ำดีและท่อน้ำเสียที่ไหลเข้าสู่ชุมชน  แต่ชุมชนแยกไม่ออก  หรือรู้ๆแต่ไม่แยกออก นี่คือความยากของการทำงาน
    • น้ำเสียที่ไหลเข้าชุมชนคือไวรัสที่เข้าทำลายภูมิคุ้มกันของคน ของสังคม ทั้งกายภาพ ทั้งทางจิตใจ และทางสมองที่น้องเม้งกล่าวถึง
    • ไวรัสนี้ร้ายกว่าที่คิด เพราะเมื่อไวรัสเข้าไปชุมชนแล้วมันแตกตัวออกไปอีกและแผลงฤทธ์ไปสู่คนรอบข้างมากมาย
    • ที่สำคัญคือ ความไม่รู้เท่าทัน แยกออกยาก หากจิตใจไม่ผ่านการสังเคราะห์และตกผลึกจริงๆแล้ว ต่างก็โอนเอียงไปตามพายุของความทันสมัย
    • ดังนั้น กล่องสีเขียวที่ควรจะใส่เข้าไปคือ การปลุกจิตสำนึก ซึ่งพวกเราเรียกว่า Conscientization Process เพราะหากสำนึกไม่มีแล้วก็จะไม่มี resistant
    • เราไม่ได้ปฏิเสธความทันสมัย แต่เราไม่เห็นด้วยกับความไม่สมดุล  ระหว่างแรงดึงของความทันสมัย กับจิตใจที่เข้มแข็งที่ยืนอยู่บนความพอดีกับตนเอง กับครอบครัว กับชุมชน
    • ทั้งหมดนี้พูดได้ และง่ายที่จะพูด  แต่ทำยาก
    • แต่มีบทเรียนที่เราน่าจะศึกษากระบวนการทำงานของท่านมิชชั่นนารีทั้งหลายที่สามารถเปลี่ยนชาว้ขาที่นับถิอผีไปนับถือพระเจ้าได้ ท่านเหล่านั้นใช้วิธีอะไร ?? ท่านทำด้วยชีวิต และเป็นวิถีชีวิต ศรัทธา ทุ่มเท เชื่อมั่น อดทน และจริงใจ เวลาจากวันเป็นเดือน เป็นปี หลายๆปี ผีก็ไม่อยู่แล้วพระเจ้ามาแทนที่
    • งานพัฒนาบ้านเราโดยระบบนั้นห่างไกลมากๆกับกระบวนวิธีของท่านมิชชั่นนารี  แม้จะเอาหน่วยงานต่างๆมาบูรณาการเต็มรูปก็ตาม เพราะผู้ทำมีคุณสมบัติต่างกันทั้งฐานะ ความคิด ระบบคิด ฐานสำนึก ....
    • พี่เคยสรุปแล้วว่าระบบราชการไม่มีทางทำงานพัฒนาชุมชนแบบการสร้างสำนึกได้ เพราะระเบียบข้อบังคับ และอื่นๆอีกมากมาย ระบบนี้ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อทำงานพัฒนาชุมชนครับ  แต่เหมาะที่จะเป็น Resources และให้องค์กรพัฒนาเอกชนเข้าไปทำงานแบบ "คนใน" จะมีประสิทธิภาพมากกว่า เพราะองค์กรพัฒนาเอกชนไม่มี 8.30 น. 16.30 น. ไม่มีเสาร์-อาทิตย์ ไม่ต้องมีเบี้ยเลี้ยง ไม่ต้องรออนุมัติน้ำมันรถ พนักงานขับรถ..
    • สำนึกหากเกิดขึ้นจะเป็นภูมิคุ้มกันอันยิ่งใหญ่ เพราะคือการสร้างเกราะกรองสิ่งที่มาจากภายนอก เพราะเราไม่สามารถห้ามความทันสมัยได้ แต่สร้างภูมิคุ้มกันได้
    • งานพัฒนาชุมชนจึงหมายถึงคนทั้งชุมชนมิใช่เพียงพ่อบ้าน  แต่ทุกคนในครอบครัว รูปแบบการจัดทัศนศึกษาจึงเปลี่ยนไปจากเอาสมาชิกกลุ่มไป เป็นการเอาครอบครัวไปด้วยกันเลย เยาวชนคือเป้าหมายการผลิตใหม่ (reproduction) จึงต้องทำกิจกรรมสร้างคนรุ่นใหม่ด้วยโดยมีรากเหง้าจากภูมิปัญญาของชุมชน อย่างที่น้องเม้งกล่าวแล้ว
    • ดีมากครับน้องเม้งครับ
    • ขอบคุณที่มาแลกเปลี่ยนสิ่งดี ดี ครับ
    • http://gotoknow.org/blog/dongluang-1/101890

     http://gotoknow.org/blog/cbtnorth/102351

    PCBT_North
    เก็บตกบทเรียนรายทาง

                    การก้าวเดินของโครงการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สามารถเก็บเกี่ยวความรู้และได้บทเรียนหลายประการ สามารถสรุปได้ ดังนี้

     

                    ประการแรก คือ ผู้นำที่เข้มแข็ง และแกร่งกล้าทั้งปัญญาและพลังใจ เป็นปัจจัยสำคัญ

    ประการที่สอง คือ ทำให้ทราบว่าการทำงานไม่สามารถสำเร็จลงได้ด้วยคนเพียงคนเดียว ในโครงการวิจัยนี้ทุกคนล้วนเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ขับเคลื่อนงานให้เดินต่อ เช่นเดียวกับในชุมชน ผู้นำเพียงคนเดียว ย่อมไม่สามารถนำพาชุมชนไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ได้ด้วยตัวคนเดียว แต่ต้องประกอบด้วยพลังใจ และพลังกายของทุกคนร่วมกันก้าวเดิน และฟันฝ่า

     ประการที่สาม คือ การทำงานต้องสร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงจะสามารถเดินไปด้วยกัน เพราะต่อให้มีผู้นำเข้มแข็ง มีความร่วมมือจากคนในชุมชน แต่หากขาดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน คิดกันไปคนละทาง มองกันคนละเรื่อง ในไม่ช้าความคิดย่อมแตกแยก

    ประการที่สี่ คือ การยอมรับฟังความคิดของผู้อื่น

    ประการสุดท้าย คือ การให้โอกาสเรียนรู้ จากโครงการวิจัยครั้งนี้จะเห็นได้ว่า ผู้ร่วมทีมมิใช่มีเพียง ผู้รู้ และ ผู้ชำนาญ เท่านั้น หากแต่ผสมผสานกันระหว่าง ผู้รู้ กับ ผู้เริ่มเรียนรู้ ดังนั้นการให้โอกาสผู้เริ่มเรียนรู้ให้เข้ามาทำความเข้าใจ ให้ที่ยืนแก่บุคคลเหล่านี้ทีละเล็กละน้อย นับเป็นการเปิดโอกาสให้เขาก้าวไปสู่แวดวงการเรียนรู้ ช่วยเปิดโลกทัศน์เขาเหล่านั้นให้กว้างขึ้น ก่อนที่จะไต่เต้าไปสู่ความเป็นผู้รู้ ซึ่งจะเข้ามาร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ให้กว้างขวางขึ้นต่อไปในอนาคต

     http://gotoknow.org/blog/siriluckkumlar/102249

    Pนิสิตช่วยงาน
    มหาวิทยาลัยนเรศวร

    อยากทำงานเป็นนักเทคโนโลยีหัวใจและทรวงอกที่เก่ง ดี มีคุณภาพ

    เมื่อฟังจบก็นำกลับมาคิดว่า ถ้าเราทุกคนเป็นอย่างนี้กัน (พี่แอ้กับพี่ไก่ประจำกลุ่มบอกว่าเป็นการกระหายดี) มีน้ำใจให้ใจไปกับสิ่งที่จะทำเมื่อคิดว่าจะทำแล้วก็ต้องทำให้สำเร็จ สังคมไทยก็จะยิ่งน่าอยู่มากขึ้นเรื่อย ๆ และยังคิดว่า จะนำกลับมาปรับใช้กับทางมหาวิทยาลัยนเรศวรบ้างเลยล่ะค่ะ

             หวังว่าเรื่องนี้คงไม่ทำให้ออกซ์โดนทางมหาวิทยาลัยว่านะคะ ขอบคุณค่ะ

     http://gotoknow.org/blog/ranong-ph-kapoe/102443

    Pอรุฎา นาคฤทธิ์
    สำนักงานสาธารณสุขอำเภอกะเปอร์

    เริ่มกันเลยดีกว่ากับ การเข้าร่วมอบรม ผู้ตรวจสอบ ประเมินคุณภาพงานสุขศึกษาระดับจังหวัด ระหว่างวันที่ 23-25 พฤษภาคม 2550 ณ โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี  ซึ่งจัดโดยกลุ่มงานพัฒนาคุณภาพงานสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข  โดยเอกสาร สามารถดาวโหลดได้จากเว็ปไซด์ ของกองสุขศึกษา

                 ประเด็นสำคัญที่ได้จากการเรียนรู้ในครั้งนี้             

                 1. แนวคิดหลักการ และมาตรฐานงานสุขศึกษา ของสถานบริการสาธารณสุขซึ่งประกอบด้วย มาตรฐาน 9 องค์ประกอบ ด้วย

    1) นโยบายการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

    2) ทรัพยากรการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

    3) การพัฒนาข้อมูลระบบสารสนเทศด้านการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

    4) แผนการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

    5) กิจกรรมสุขศึกษา

    6) การนิเทศงานสุขศึกษา

    7) การประเมินผลการดำเนินงานสุขศึกษาและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ

    8) การเฝ้าระวังพฤติกรรมสุขภาพ

    9) การวิจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ


                   2.รับฟังแนวคิดจากการอภิปรายกลุ่ม เรื่อง ทำอย่างไรถึงได้มาตรฐาน ? เป็นการนำประสบการณ์จากผู้ปฏิบัติงานจริง (ทั้งในระดับของผู้สนับสนุน สสจ.,สสอ.และผู้ปฏิบัติอย่าง สถานบริการเอง)

                  3.ฝึกปฏิบัติภาคสนามการตรวจประเมินคุณภาพ/อภิปรายกลุ่มย่อย/วิพากษ์ และการสรุปผลการประเมิน

                  งานนี้เกี่ยวเนื่องจากงานสุขศึกษาประชาสัมพันธ์ ที่ผู้เขียนรับผิดชอบ อีกทั้งการพัฒนาคุณภาพงานสุขศึกษา ก็สอดคล้องกับการพัฒนามาตรฐาน PCU พอดิบพอดี และที่สำคัญ หากมีการบูรณาการ งานให้เข้ากับงานประจำได้ก็จะเกิดประโยชน์ ทั้งผู้ปฏิบัติ และผู้รับบริการแน่นอน

    วิศวกรซ่อมบำรุงระบบขนส่งสาธารณะบริษัทเอกชน กรุงเทพฯ

    เมื่อ gotoknow คือ "ตัวปลา" แล้วอะไรคือ "ห้วปลา" และ "หางปลา" ว่าด้วย "โมเดลปลาทู"
    ผมเข้าใจว่า gotoknow คือส่วนของ "ตัวปลา" แล้วอะไรคือส่วนของ "หัวปลา" และ "หางปลา" ครับ...

                 ผมเข้ามาในเว็ปนี้เกือบ 4 เดือนแล้ว มีหลายคนพูดถึง "โมเดลปลาทู" ซึ่งเป็นโมเดลการจัดการความรู้...

                  ส่วนของ "หัวปลา" หมายถึง ส่วนที่เป็นเป้าหมาย วิสัยทัศน์หรือทิศทางการจัดการความรู้....

                   ส่วนของ "ตัวปลา" หมายถึง ส่วนของการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยเฉพาะความรู้ซ่อนเร้นที่มีอยู่ และอำนวยให้เกิดการเรียนรู้แบบเป็นทีม เพื่อให้เกิดการหมุนเวียนความรู้และเกิดนวัตกรรมในที่สุด..

                   ส่วนของ "หางปลา" หมายถึง ส่วนของคลังความรู้ที่ได้จากการเก็บสะสม เกร็ดที่ได้จากกระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้...

                   ผมเข้าใจว่า gotoknow คือส่วนของ "ตัวปลา" แล้วอะไรคือส่วนของ "หัวปลา" และ "หางปลา" ครับ...

    Pviolet
    มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
    ร่าง พรบ. สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น

                เกี่ยวเนื่องมาจาก blog ของคุณภีม ที่ได้เกริ่นนำในเรื่องนี้ไปแล้ว จึงขอนำเสนอในส่วนของเนื้อหาของ พรบ. นี้กันเลยนะคะ  เนื้อหาของ พรบ.ฉบับนี้ได้แบ่งหมวดไว้ 4 หมวด คือ หมวด 1 สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบล  หมวด 2 สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นจังหวัด  หมวด 3 สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ  หมวด 4 สำนักงานสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ ขอนำเสนอเนื้อหาสาระของ ร่าง พรบ. เป็นหมวด ทั้ง 4 หมวด แบ่งเป็นตอนทั้งหมด 4 ตอน ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในเนื้อหาสาระ(ที่ค่อนข้างเป็นวิชาการ) ท่านที่สนใจสามารถติดตามอ่านได้ทั้ง 4 ตอนคะ            

                     วันนี้มาเริ่มตอนแรกกันเลย  คือ หมวด 1 ว่าด้วยเรื่อง สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบล ประกอบไปด้วยมาตรา ๕ ถึง มาตรา ๒๐ เนื้อหาใจความหลัก กำหนดให้ในตำบลหนึ่ง มีสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น 1 สภา ต้องมีผู้เข้าร่วมจากหมู่บ้านในตำบล อย่างน้อยร้อยละ 60 ของจำนวนหมู่บ้านทั้งหมดในตำบล สมาชิกของสภาฯ ประกอบด้วย

             1.      สมาชิก ซึ่งเป็นผู้แทนขององค์กรหมู่บ้าน ชุมชน ในตำบล ไม่น้อยกว่าหนึ่งปีนับถึงวันเลือกสมาชิก และได้มาโดยการเลือกกันเองของที่ประชุมสมาชิก / ตามจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณี / ตามวิถีของชุมชนหรือหมู่บ้านที่มีอยู่เดิม ให้มีจำนวนตามที่ชุมชนท้องถิ่นเห็นว่าเหมาะสม แต่ไม่เกิน 100 คน

               2.      สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ให้สมาชิกตาม (1) ดำเนินการสรรหาและแต่งตั้ง ให้มีจำนวนตามที่สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นเห็นเหมาะสม แต่ไม่เกิน 1 ใน 5 ของสมาชิกในข้อ (1) ทั้งนี้การสรรหาผู้ทรงคุณวุฒิ  ต้องพิจารณามาจากบุคคลซึ่งเป็นข้าราชการ ปราชญ์ชาวบ้าน พระภิกษุ  ผู้นำทางศาสนา หรือบุคคลที่เป็นที่เคารพของชุมชน

                 วาระ: กำหนดให้สมาชิกอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกสมาชิก เมื่อตำแหน่งสมาชิกว่างลง จากการครบวาระ ให้สรรหาสมาชิกใหม่ภายใน 45 วัน หากว่างจากเหตุอื่น ให้สรรหาภายใน 60 วัน

                อำนาจหน้าที่: ให้สภาฯ มีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 2 คน โดยเลือกจากสมาชิกในคราวที่ประชุมสภาฯ ครั้งแรก โดยอำนาจหน้าที่ของประธานสภา มี 6 ประการ คือ เรียกประชุมสภาฯ และดำเนินการประชุม, ควบคุมและดำเนินกิจการของสภาให้เป็นไปตามข้อบังคับและมติของสภาฯ , ออกคำสั่งเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในการประชุม , เป็นผู้แทนสภาในกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก , แต่งตั้งเลขานุการสภาโดยความเห็นชอบของสมาชิก และมีอำนาจหน้าที่อื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติไว้  สำหรับอำนาจหน้าที่ของรองประธานสภา คือ ช่วยประธานสภาในกิจการอันเป็นอำนาจหน้าที่ของประธานสภา หรือปฏิบัติการตามที่ประธานสภามอบหมาย  ส่วนอำนาจหน้าที่ของเลขานุการ คือ รับผิดชอบงานธุรการ  จัดการประชุมและงานอื่นใดตามที่สภามอบหมาย

                   ทางด้านอำนาจหน้าที่ของ สภาฯ ประกอบด้วย 10 ประการ คือ 1) จัดทำแผนแม่บทชุมชนในเขตพื้นที่ตำบล 2) ให้คำปรึกษา แนะนำ แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และข้อบัญญัติหรือเทศบัญญัติ 3) จัดประชุมสมัชชาชุมชนท้องถิ่นตำบล เพื่อพิจารณายับยั้ง ยกเลิก แผนงาน โครงการ กิจกรรม หรือการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลกระทบเสียหาย หรือพิจารณาเรื่องอื่นที่สภาเห็นสมควร 4) พัฒนาองค์กรชุมชนให้เข้มแข็ง รวมถึงรับรองหรือยกเลิกสถานภาพองค์กรชุมชนท้องถิ่นในตำบล 5) ประสานและร่วมมือกับสภาฯตำบลอื่น สภาฯจังหวัด และสภาฯแห่งชาติ 6) วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาฯตำบล 7) ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงาน โครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นตำบลนั้น 8) จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ ตำบล รวมถึงสถานการณ์ชุมชนท้องถิ่นตำบลด้านต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบ 9) เสนอรายชื่อสมาชิกสภาฯ ตำบล ให้เป็นสมาชิกสภาฯ จังหวัด จำนวนไม่เกิน 2 คน 10) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ตาที่สภาฯแห่งชาติ และสภาฯ จังหวัดมอบหมาย ทั้งนี้สภาฯตำบล อาจมีหนังสือเชิญส่วนราชการ / หน่วยงานของรัฐ / รัฐวิสาหกิจ / ราชการส่วนท้องถิ่น / องค์กรอื่นของรัฐ มาร่วมแสดงความคิดเห็น หรือให้เอกสารได้ตามที่เห็นควร

                    การประชุม: สภาฯ ต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง และประชุมในกรณีที่สมาชิกเข้าชื่อกันไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด ร้องขอให้เปิดการประชุม การประชุมต้องมีสมาชิกเข้าร่วมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด  การลงมติให้ถือเสียงข้างมาก  สมาชิกสภาตำบลคนหนึ่งให้มีเสียงหนึ่งในการลงคะแนน หากมีคะแนนเสียงเท่ากันให้ประธานในที่ประชุมมีสิทธิออกเสียง เป็นเสียงชี้ขาด

                  สุดท้ายในเนื้อหาสาระของหมวด 1 กล่าวถึง  คณะกรรมการสภา ให้สภาฯตำบลเลือกกันเอง ตามจำนวนที่เหมาะสม ไม่เกิน 25 คน และให้คณะกรรมการสภา เลือกกันเอง เป็นประธานคณะกรรมการสภา รองประธานคณะกรรมการสภา และกรรมการเลขานุการ คณะกรรมการสภา ต้องจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอต่อที่ประชุมสภาฯในคราวที่มีการประชุมทุกครั้ง และให้มีการประชุมคณะกรรมการสภาอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง http://gotoknow.org/blog/rviolet/101814

     หมวด 2  ว่าด้วยเรื่อง สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นจังหวัด ประกอบไปด้วย มาตรา  21 ถึง มาตรา 25 เนื้อหาสาระกล่าวถึง

                  การจัดตั้งสภาฯ จังหวัด  ได้นั้น  มีหลักเกณฑ์ คือ จังหวัดนั้นต้องมีการจัดตั้งสภาฯ ตำบล ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนตำบลที่มีอยู่ในจังหวัด  จังหวัดหนึ่งให้มีสภาฯ จังหวัดได้ 1 คณะ และในสภาฯ จังหวัด ประกอบด้วย

                 1)      สมาชิก ได้รับการเสนอชื่อมาจากสภาฯ ตำบล ตำบลละไม่เกิน 2 คน

                2)      สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มาโดยสมาชิกตาม 1) ดำเนินการสรรหาเพื่อประโยชน์ในการดำเนินกิจการของสภา จำนวนไม่เกิน 1 ใน 5 ของสมาชิกตาม 1) ทั้งหมด โดยหลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาสมาชิกให้เป็นไปตามระเบียบที่สภาฯ จังหวัดกำหนด โดยความเห็นชอบของสภาฯ แห่งชาติ

                 การประชุม สภาฯ จังหวัดต้องจัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 3 ครั้ง

                 อำนาจหน้าที่ของสภาฯ จังหวัด ประกอบด้วย 9 ประการ ดังนี้ 1) จัดทำแผนแม่บทชุมชนระดับจังหวัด เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการระดับจังหวัดนำไปทำแผนปฏิบัติการ 2) ให้คำปรึกษา แนะนำ แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด  ผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการระดับจังหวัดในการจัดทำแผนปฏิบัติการ 3) จัดประชุมสมัชชาชุมชนจังหวัดเพื่อพิจารณา ยับยั้ง ยกเลิกแผนงานโครงการ กิจกรรม หรือการกระทำใด ๆ ที่ส่งผลกระทบ เสียหายแก่ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดมากกว่าหนึ่งตำบล หรือพิจารณาเรื่องอื่นใดที่สภาเห็นสมควร 4) ประสานและร่วมมือกับสภาฯ ตำบล สภาฯ จังหวัดอื่น และสภาฯ แห่งชาติ 5) วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาฯ จังหวัด 6) ติดตามผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นจังหวัดนั้น 7) จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ จังหวด รวมถึงสถานการณ์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดด้านต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทั่วไปทราบ 8) เสนอรายชื่อสมาชิกเพื่อเป็นสมาชิกสภาฯ แห่งชาติจังหวัดละ 2 คน 9) ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตาม พรบ. นี้

                    การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ของ ประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการสภา การประชุมสภาฯ จังหวัด การเลือก และการดำเนินงานของคณะกรรมการสภาฯ จังหวัด ที่มิได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ให้นำบทบัญญัติในหมวด ๑ มาบังคับโดยอนุโลม http://gotoknow.org/blog/rviolet/102401

      หมวด 3 สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ ประกอบด้วย มาตรา ๒๖ ถึง มาตรา ๓๐ กล่าวถึงเรื่อง

                   การจัดตั้งสภาฯ แห่งชาติ เมื่อจัดตั้งสภาฯ จังหวัดไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนจังหวัดที่มีอยู่ ให้จัดตั้งสภาฯ แห่งชาติได้ และให้มีสภาฯ แห่งชาติ ได้ 1 คณะ ประกอบด้วย

                          1)      สมาชิก ได้รับการเสนอชื่อจากสภาฯ จังหวัด จังหวัดละ 2 คน

                         2)      สมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มาโดยสมาชิกตาม 1) ดำเนินการสรร จำนวนไม่เกิน 1 ใน 5 ของสมาชิกตาม 1) ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหาให้เป็นไปตามระเบียบที่สภาฯ แห่งชาติกำหนด

                   การประชุม สภาฯ แห่งชาติต้องจัดประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

                  อำนาจหน้าที่ของสภาฯ แห่งชาติ ประกอบด้วย 11 ประการ คือ 1) ส่งเสริม สนับสนุนการจัดตั้ง และพัฒนาสภาฯ 2) จัดทำแผนแม่บทชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ 3) ให้คำปรึกษา เสนอแนะ คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม ในการบริหารราชการแผ่นดิน 4) จัดประชุมสมัชชาชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ เพื่อกำหนดแนวนโยบายของสภาฯ แห่งชาติ 5) ประสานและร่มมือกบสภาฯ ตำบล และจังหวัด 6) วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาฯ แห่งชาติ หรือตามที่ พรบ.นี้กำหนด 7 ) วางระเบียบเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติงานของสำนักงานสภาฯ แห่งชาติ 8) วางระเบียบเกี่ยวกับการเงิน การจ่ายเงิน การเก็บรักษาเงินและการจัดหาผลประโยชน์ของสำนักงานสภาฯแห่งชาติ 9) วางระเบียบการพิจารณาอนุมัติจ่ายเงิน เพื่อสนับสนุนสภาองค์กรชมชนท้องถิ่น 10) ติดตามผลการดำเนินงานของส่วนราชการ องค์กรของรัฐ รัฐวิสาหกิจ 11 ) จัดทำรายงานประจำปีของสภาฯ แห่งชาติ รวมถึง สถานการณ์ชุมชนท้องถิ่นด้านต่าง ๆ เพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบ

                  การพ้นจากตำแหน่ง และอำนาจหน้าที่ ของประธานสภา รองประธานสภา เลขานุการสภา การประชุมสภาฯแห่งชาติ การเลือก และการดำเนินงานของคณะกรรมการสภาฯ แห่งชาติ ที่มิได้บัญญัติไว้ในหมวดนี้ให้นำบทบัญญัติในหมวด 1 มาบังคับใช้โดยอนุโลม            http://gotoknow.org/blog/rviolet/102425

     หมวด ๔  สำนักงานสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ ประกอบด้วยมาตรา ๓๑ ถึง มาตรา ๔๑ มีสำระสำคัญ ดังนี้สำนักงานฯ ถือเป็นหน่วยงานของรัฐ ที่ไม่เป็นส่วนราชการ หรือรัฐวิสาหกิจ และกิจการของสำนักงานไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์

              อำนาจหน้าที่ของสำนักงานฯ 1) ปฏิบัติงานธุรการของสภาฯ แห่งชาติ 2) ประสานและดำเนินการให้มีการจัดตั้งสภาฯท้องถิ่นระดับต่าง ๆ รวมทั้งเผยแพร่ กิจการของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น 3) รวบรวมข้อมูล ศึกษาวิจัย/พัฒนาเกี่ยวกับงานของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น 4) ประสานและร่วมมือกับราชการส่วนกลาง ภูมิภาค ท้องถิ่น องค์กรภาคเอกชนและภาคประชาคม ในการดำเนินการตาม พรบ. 5) จัดทำงบประมาณเสนอเพื่อขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลเกี่ยวกับภารกิจของสภาฯ แห่งชาติ จังหวัด และตำบล

                ทุนและเงินทรัพย์สินในการดำเนินกิจการของสำนักงาน ได้มาจาก 1) เงินที่รัฐบาลจ่ายให้เป็นทุนประเดิม 2) เงินอดหนุนทั่วไปที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี 3) เงินอุดหนุนจากภาคเอกชนหรือองค์กรอื่น รวมทั้งรัฐต่างประเทศ หรือองค์การระหว่างประเทศ และเงิน/ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้ 4) ค่าธรรมเนียม บำรุง ตอบแทน บริการหรือรายได้จากการดำเนินการ 5) ดอกผลของเงินหรือรายได้จากทรัพย์สินของสำนักงาน 6) รายได้อื่น ๆ

                  นอกจากนี้ยังมี บทเฉพาะกาล ที่ระบุถึง คณะกรรมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น ซึ่งต้องปฏิบัติหน้าที่แทนสภาฯ แห่งชาติ ในระหว่างที่ยังไม่มีสภาฯแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็นประธานกรรมการ ให้สำนักงาน พอช. ทำหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น  และให้ผู้อำนวยการ พอช. เป็นผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น จนกว่าจะมีการจัดตั้งสำนักงานสภาฯ แห่งชาติ

    http://gotoknow.org/blog/rviolet/102435

     http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/53108

    P

        คนเมืองปาย "อำเภอปาย" จังหวัดแม่ฮ่องสอน

    เวลา...ยาเสพติด วิทยานิพนธ์ และชุมชนเข้มแข็ง

    ...ทำอย่างไรให้ชุมชนเข้มแข็ง? ทำอย่างไรให้ชุมชนเหล่านี้ปลอดยาเสพติด?

    ทำอย่างไรให้ชุมชนเหล่านี้พึ่งตนเองได้?

    เหมือนจะเป็นคำถามที่เราถามกันบ่อยครั้งในห้วงนั้น..

    เราทบทวนกันดูอย่างใจเป็นกลาง

    เราได้ข้อสรุปร่วมกันว่า กระบวนการการทำงานเพื่อพัฒนาของทหารยังมีจุดอ่อนอีกมาก ในเรื่องของวิธีคิด ความเข้าใจ และเข้าถึงชุมชน ดังนั้นแล้ว การพัฒนาที่ยังไม่เข้าใจ เข้าถึง ไม่ได้ยั่งยืน ชุมชนเข้มแข็งได้ไม่นาน หากโครงการเสร็จชุมชนก็อ่อนแอเช่นเดิม

     งานวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นกระบวนการที่พวกเราคุยกันต่อหลังจากนั้น ด้วยความเชื่อมั่นว่า งานวิจัยแบบนี้จะช่วยให้ชุมชนได้มีส่วนร่วมในกระบวนการอย่างเต็มที่ ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับผลประโยชน์ ปัญหาก็มาจากชุมชนเอง...ที่สำคัญ เรายังมีพี่เลี้ยงซึ่งเป็นนักวิจัยที่เป็นรุ่นพี่ และพี่เลี้ยงจาก ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นแม่ฮ่องสอน ช่วยในการให้ข้อเสนอแนะ และเต็มเติมกระบวนการการวิจัย...งานศึกษา

     

              หนึ่งปีต่อมา....

    จากวันนั้นถึงวันนี้ ปัญหายาเสพติดหมดสิ้นไป ความสงบบนดอยกลับคืนมาอีกครั้ง พร้อมกับ ปัญญา ที่ก่อเกิดจากกระบวนการศึกษาวิจัย ชุมชนบนพื้นที่สูงได้เรียนรู้กระบวนการวิจัย ได้ใช้กระบวนการดังกล่าวแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนในชุมชน...

    สร้างสรรค์ปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น

     

    P
    หนุ่มไฟแรง
    ปลูกคน ควรจะ ใส่ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์ ดีกว่ากันครับ

    สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ มีใครกล้ายกรั้วของสถาบันการศึกษาออกบ้างครับ แบบไม่มีรั้วกั้นนะครับ นั่นคือ  สถาบันการศึกษา ชุมชน แหล่งส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และครอบครัว

    คุณคิดกันอย่างไรบ้างครับ

    หันมาดูกันตั้งแต่ที่บ้านเลยครับ ว่าปลูกเด็กแต่ละคน ใส่ปุ๋ยอะไรกันแน่ ระหว่างปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์เห็นอย่างนี้แล้วคุณคิดว่าอย่างไรครับ

    P
    P

    สวัสดีครับพี่หนิง

    • ไม่ใส่ปุ๋ยเลยหรือครับพี่ แล้วกินอะไรครับ
    • กินข้าว กินผัก กินแกง ก็คือการใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือเปล่าครับ
    • ให้น้ำเกลือ หายใจเอาอากาศเข้าไป ก็คือใส่ปุ๋ยเคมี หรือเปล่าครับ
    • ท้ายที่สุดแล้ว เข้าสู่เส้นเลือด เป็นสารอาหารในเส้นเลือดเหมือนๆ กันครับ มีสารอาหารเหมือนกัน
    • หากต้นไม้ ใส่ปุ๋ยคอก ก็คือการให้ปุ๋ยอินทรีย์ พืชต้องใช้จุลินทรีย์ช่วยย่อย กว่าจะได้ ไนเตรด ที่พืชดูดซึมได้ใช่ไหมครับ
    • http://gotoknow.org/blog/mrschuai/102160

    sasinanda
    vichitranand property co;ltd

    P

    http://gotoknow.org/blog/goodliving/102625

    ชีวิตเริ่มต้นเมื่ออายุ 40 น่ะ ล้าสมัยแล้ว ไม่มีใครรู้ลิขิตแห่งฟ้า วันนี้ยังไม่สายที่เราจะวางแผนการออม ต้องเริ่มออมตั้งแต่เริ่มต้นทำงาน มิฉะนั้นจะสายเกินไป และทางเลือกในการออมจำกัดเข้าทุกที
    เรื่องนี้ สำหรับบางคน อาจดูไกลตัว แต่ดิฉันว่า อย่าประมาท ดีที่สุด บางคนอาจถูกเกษียณก่อนกำหนดโดยไม่ทันตั้งตัวก็ได้ เพราะมันจะส่งผลลบอย่างรุนแรงมาก กับปัญหาการเงินและการนับถือตัวเองของเรา ทุกอย่างเป็นไปได้ทั้งนั้นค่ะ

           เราควรวางแผนชีวิตไว้ตั้งแต่อายุเท่าใด   จึงจะอยู่อย่างสบายพอสมควรเมื่อ     

     http://gotoknow.org/blog/beautifulmemories/102584

    Pเบิร์ด
    -จิตเวช  รอบรู้กล้าแกร่ง

    คนไทยน่ารักหลายเรื่อง     แต่ในขณะเดียวกันก็ยังมีอีกหลายเรื่องราวที่ไม่ถูกต้อง    ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ..... วินัย ....ที่มาร่วมกับการควบคุมตนเองและความรับผิดชอบ

    • เรารู้ว่าการไม่ตรงต่อเวลา ผิด.............แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าจอดรถในที่ห้ามจอด ผิด..........แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าขับรถผิดกฎจราจร ผิด .............แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าโกงข้อสอบ ผิด.........................แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าเมาแล้วขับ ผิด..........................แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าซื้อสิทธิ ขายเสียง  ผิด..............แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าความฟุ่มเฟือย ผิด.....................แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าข้ามถนนในที่ๆไม่ใช่ทางข้าม ผิด.............แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าความไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ ผิด.................แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าทะเลาะวิวาท  ขโมย  ปล้น  ฆ่า  ผิด.............แต่ก็ทำ
    • เรารู้ว่าโกง  ยักยอก  ฉ้อราษฎร์บังหลวง ผิด............แต่ก็ทำ !

      เรามีความเป็นอยู่ที่สุขสบาย  มีน้ำใจให้แก่กัน  ยิ้มง่ายด้วยความจริงใจและไมตรีจิต  มีความเมตตากรุณาต่อกัน  มีความศรัทธาต่อสถาบันหลักได้แก่ บ้าน  ศาสนา  โรงเรียน และพระมหากษัตริย์....สิ่งดีๆเหล่านี้คนไทยมีครบหมด...จะขาดก็เพียง วินัย   ...ซึ่งเป็นปัญหาสังคมที่กัดกร่อนประสิทธิภาพในการทำงานและดำเนินชีวิตของเรามานานปี...... 

      ถ้าดูอย่างนี้  การสร้างวินัยในสังคมไทย......ยังมีความหวังไหมคะ ?

     http://gotoknow.org/blog/beyondkm/102621

    PbeyondKM
    สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม

    ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่ครูอาจารย์
             ต่อเนื่องจากคำถามใน บันทึกก่อนหน้านี้ ที่ว่า "มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในหมู่ครูอาจารย์" ผมได้ลองเปิดประเด็นนี้ที่โรงเรียนสตรีประเสริฐศิลป์ จังหวัดตราด เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา พบว่ามีข้อเสนอดีๆ หลายอย่าง ลองประมวลได้เป็นประเด็นหลักๆ ดังนี้:
    • ผู้บริหารให้ความสำคัญกับกิจกรรมนี้ เข้ามามีส่วนร่วม ส่งเสริมสนับสนุน ชมเชย ให้รางวัลผู้เข้าร่วม
    • พัฒนาคุณอำนวยให้มาช่วยหมุนกระบวนการ ช่วยสร้างบรรยากาศที่ไม่เป็นทางการ ให้สนุกสนานแต่ได้สาระ
    • เน้นให้ครูเห็นประโยชน์จากการเป็น แก้วที่น้ำยังไม่เต็มและผลที่ได้จากการที่ทุกคน เปิดใจ
    • มีเป้าหมายร่วมกัน เห็นชัดเจนว่าแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปเพื่ออะไร นำสิ่งที่ได้ไปใช้ปฏิบัติ ติดตาม และขยายผลให้เห็นเป็นรูปธรรม

     

    • เพียงมีความสุขกับทุกๆ วัน เอาไว้ได้คิดถึงและสะสมเป็นทุนสำหรับวันพรุ่งนี้
  • http://gotoknow.org/blog/brightlily/102632

  • PBright Lily
    Lily Property & Pools
    •  สัตว์เลี้ยงก็มีหัวใจนะคะ
    • อย่ารักเค้าเฉพาะตอนเมื่อเค้ามีรูปโฉมน่ารักใคร่
    •   อย่าทอดทิ้งเค้าเมื่อเค้าเจ็บป่วยและว้าเหว่ค่ะ

     

     

     http://gotoknow.org/blog/princessnoonny/102630

    P
    PrincessNOONNY
    Mahidol University

    การตัดสินใจ

    อยากบอกว่า ฉันเจ็บทุกครั้งที่เห็นหน้าคนที่ฉันรัก แต่ไม่มีแม้แต่คำพูดเดียวที่จะบอกว่าเราใส่ใจพวกเขามากเพียงใด มีหลายๆคืนที่นอนร้องไห้ และยิ้มต่อสู้วันใหม่ ...............อาการแบบนี้ฉันเป็นอยู่จนเป็นนิสัย หรือวัฏจักรก็เรียกได้

         หนูสัญญาว่าหนูจะภาคภูมิใจในสิ่งที่หนูเป็นและหนูทำได้ หนูจะหาเวลาและจะกลับไปดูแลนะคะ..คุณพ่อ คุณแม่

    น้องนุ่น รักคุณพ่อคุณแม่ มากที่สุดค่ะ

     http://gotoknow.org/blog/bmchaiwut/102628

    PBM.chaiwut

    ปรัชญามงคลสูตร ๒๖ : การตระเตรียมเข้าสู่ปัจฉิมวัย (ต่อ)

    อนึ่ง การมีความเคารพ ก็คือการยกย่องบางสิ่งบางอย่างให้สูงขึ้นไป... ส่วนนัยตรงข้ามก็คือการกำหนดตนเองให้ต่ำลงมา นั่นคือ การถ่อมตน นั่นเอง  

     http://gotoknow.org/blog/yutkpp/102626

    Pสิงห์ป่าสัก
    สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร

    ชุมชนนักส่งเสริมการเกษตร

    สำหรับผมก็จะเป็นอีกแรงหนึ่งที่จะคอยให้กำลังใจและสนับสนุนผ่านทางบล็อกนี้เท่าที่จะสามารถทำได้ เพื่อสร้างชุมชนเสมือนแห่งนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตรให้ก้าวหน้า เกิดประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติอย่างเต็มความสามารถ เท่าที่พลังจะมีอยู่นะครับ

    P
    สิทธิรักษ์
    เมื่อ จ. 04 มิ.ย. 2550 @ 14:08 [282175]

    น่าสนใจมากครับ

    การพัฒนาการศึกษาน่าจะเป็นประเด็นหลักในการพัฒนา  ทำให้ก่อเกิดความสมดุลย์ในภาคต่างๆ

    ผมยังมีความรู้สึกว่า ทำไมความสนใจในการศึกษาได้รับความสนใจจากผู้มีอำนาจน้อยมาก

    พวกเราลองไปพิจรณาดูครับ ทุกยุคทุกสมัย การพัฒนาการศึกษาจะไปอยู่อันดับท้ายๆ 

    ขอบคุณครับ

    ความเห็นจากเล่าฮู แห่งเชียงแสน http://gotoknow.org/blog/mrschuai/100642

    http://gotoknow.org/blog/mrschuai/100642

    P
    เบิร์ด
    เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 15:53 [287314]

    สวัสดีค่ะเล่าฮู

  • มีสภาองค์กรชุมชน แล้ววางแผนพัฒนาภายในชุมชน
  • มีหน้าที่ประชุมสภาฯของภายในชุมชน
  • เพื่อที่จะรวบรวมปัญหา และทิศทางการพัฒนาเป็นแนวทางให้ส่วนบริหารในชุมชนนำไปปฏิบัติให้เป็นจริง
  • โดยที่สภาชุมชนไม่มีอำนาจสั่งการ

    แล้วใครมีอำนาจสั่งการล่ะคะ ?..เท่าเห็นก็ดูจะ " สั่งการ " ไม่เป็นกันทั้งนั้น  เอ ! หรือเป็นแต่ไม่สามารถสั่งการที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติได้

    เอาอีกค่ะเล่าฮู

  • P
    P
    P

    สวัสดีครับคุณเบิร์ดและคุณพี่เหลี่ยง

    • ว่าไปแล้วเรื่องสั่ง อำนาจสั่ง และการทำเนี่ย...น่าสนใจครับ ว่าปัญหาเกิดจากอะไร
    • ผมชอบการสั่งด้วยการกระทำมากกว่าครับ คือ ทำให้ดูเป็นตัวอย่าง คนศรัทธา ลูกน้องหรือเพื่อนร่วมงานศรัทธา ก็มาช่วยกันทำ คือแต่ละคนรู้หน้าที่ตัวเองอยู่แล้วครับ
    • ชี้นิ้วตัวเองใครก็ชี้ได้ ง่ายนิดเดียวใช่ไหมครับ แต่ใครกล้าจะชี้นิ้วให้ตัวเองทำบ้าง
    • งานในระดับชุมชน ต้องชี้นิ้วให้ตัวเองทำผมว่างานถึงจะเกิด จริงๆ ก็ระดับอื่นด้วยครับ
    • ตอนช่วงที่ที่บ้านผมมีปัญหาความเดือดร้อนเรื่องฝุ่นจากโรงโม่หิน มีเจ้าหน้าที่ในระดับอำเภอเข้าไปเยี่ยมตรวจสภาพความเดือดร้อน แม่ผมพาท่านๆ เหล่านั้นไปเดินในสวนยาง กางเกงสกปรกหมดเลย อิๆ ต้องเชิญท่านๆ มาจับฝาหม้อข้าว ว่ามีฝุ่นเกาะอยู่เท่าไหร่ แล้วที่เราหายใจเข้าไปหล่ะมันเท่าไหร่
    • ถามว่าใครจะมาเป็นกระบอกเสียงให้กับชาวบ้านที่เดือดร้อน หากเราไม่เดินเรื่องเอง....
    • เราจะสร้างชุมชนอย่างไรให้คนที่จริงใจอยากจะช่วยเหลือคนในชุมชนออกมาทำงานเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง แล้วได้พลังจากชาวบ้านเป็นแนวร่วมในทางที่ดี เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง
    • เราไม่ได้เลือกนักการเมืองเพื่อเอาไว้กราบไหว้นะครับ แต่เราเลือกเค้าไปทำงานแทนเรา เป็นปากเป็นเสียงเรา ไม่ใช่จะมีโอกาสพูดกับตัวแทนของเรา เราต้องประท้วงล่ารายชื่อ แบบนี้ก็ไม่ไหวครับ
    • จริงๆ แล้วควรจะให้สิทธิ์คนในชุมชน มีสิทธิ์ปลดตัวแทนของตัวเองได้ด้วย แต่คนที่เสนอตัวเองเข้าไปช่วยไม่มีสิทธิ์ปลดตัวเอง...เพราะคุณต้องคิดดีแล้วว่าคุณต้องเข้าไปรับใช้สังคม ไม่ใช่ไม่พอใจอะไรจะอ้างลาออก รับผิดชอบ การรับผิดชอบ ไม่ใช่ต้องลาออก แต่คุณต้องทำให้เต็มที่.... หากจะลาออกก็ได้แต่ต้องจำคุกหรือได้รับโทษ หรือต้องจ่ายภาษีคืนกลับให้กับประชาชนที่คุณไม่ได้ทำงานให้กับเค้าแทน... แบบนี้ มีใครกล้าจะลาออกไหมครับ อิๆๆ
    • ว่าแต่ว่า ผมมาปล่อยฟิวส์ เองแล้ว ฮ๋าๆๆๆ
    • ขอชาเย็นๆ ซักจอก ครับ
    • P
      เบิร์ด
      เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 17:04 [287388]

      สวัสดีค่ะคุณเม้งและเล่าฮู

      เสริฟน้ำเย็นๆให้ก่อนค่ะ...เอาน้ำชากุหลาบเย็นๆกับชิฟฟอนเค้กส้มนะคะ

      เรามาดูกัน...เบิร์ดมองว่าแผน ฯ คือแนวทางการปฏิบัติ ไม่ใช่ " ผล " ของการปฏิบัติ..โดยเฉพาะแผนฯที่เป็นภาพรวมของประเทศจะเป็นแผนกว้างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติเท่านั้น...ส่วนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องมีแผนย่อยๆรองรับลงไปเพื่อเข้าสู่การขับเคลื่อนที่แท้จริง มีหน่วยงานไหนบ้างที่ทำวิสัยทัศน์ และมีแผน ฯ รองรับอย่างชัดเจน ?...ขนาด ก.ศึกษา ฯ วิสัยทัศน์กระทรวงคืออะไรคะ ? และมีแผน ฯ ในการปฏิบัติแค่ไหน ? รวมทั้งสำนักเขตพื้นที่การศึกษาต่างๆทั่วประเทศมีแผนปฏิบัติอย่างไร ?...ลงไปถึง รร.ในพื้นที่เลย...

      ซึ่งหน่วยงานหรือคนที่จะทำแผนย่อยๆเหล่านี้ต้องลงรายละเอียดเพื่อที่จะสามารถวัดผลได้ ยิ่งองค์กรเล็กเท่าไหร่แผนปฏิบัติต้องชัดและสามารถปฏิบัติได้...มีใครทำแผนแม่บทชุมชนบ้าง ?...มีแต่แผนสำเร็จรูปที่ได้จากอำเภอ ก็อปไฟล์กันมาแล้วสิ่งไหนคือความต้องการของประชาชน ?

      ที่เล่าฮูบอกว่า " สภาองค์กรชุมชน " ..เบิร์ดขอคำอธิบายค่ะว่ามีสิ่งใดแตกต่างจากประชาคมหมู่บ้าน ? และถ้าไม่มีอำนาจใดๆตั้งขึ้นมาทำไม ? ถ้าเพื่อรวบรวมความเห็นแล้วส่งต่อใช้ไปรษณีย์ก็ได้มั้งคะ ไม่เห็นต้องมีสภาเลย...อรรถาธิบายหน่อยค่ะเล่าฮู ^ ^

    • P
      สิทธิรักษ์
      เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 18:38 [287480]

      สวัสดีดี๋ดี

      ท่านผู้รู้ ท่านผู้แก่กล้า ท่านผู้มีวิสัยทัศน์ ท่านผู้มีความรัก ท่านผู้มีจิตศรัทธา และท่าน........................จิตวิทยา

      บางครั้งคนเรามองปัญหา การแก้ปัญหา จะใช้มาตรฐานเดียวกันไม่ได้ แม้แต่การดำเนินการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องคล้ายๆกันก็ยังไม่ได้

      ปัญหาชุมชน การแก้ปัญหาชุมชน การยกระดับการรับรู้ของชุมชน วันเวลาผ่านไป ปัญหาก็เปลี่ยนไป

      จำได้ไหมว่า ที่คุณพูดถึงประชาคมหมู่บ้าน ลองย้อนหลังถึง เมื่อตะก่อน ไม่มี อบต. อบจ. ปัญหาชุมชนเป็นอย่างไร

      วันเวลาเปลี่ยนไป การเคลื่อนไหวทางสังคมเปลี่ยนไป การค่อยเป็นค่อยไป ในชุมชนได้แปรเปลี่ยนสู่การเมืองที่ซับซ้อนขึ้น  การได้มาของ อบต. อบจ. กับอำนาจการปกครอง การใช้งบประมาณ การรักษาผลประโยชน์ถูกโยกย้ายถ่ายเท  จากที่หนึ่งไปสู่ที่หนึ่ง การมองปัญหาก็ได้เปลี่ยนแปลงไป  การใช้ผลประโยชน์ในชุมชน จากเป็นลักษณะของประชาคมได้แปรเปลี่ยนสู่อำนาจของการปกครอง

      การพัฒนาต่างๆของสังคมเมืองกับสังคมชนบท ได้เชื่อมโยงกัน  การพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจชุมชนกำลังไปสู่เศรษฐกิจทุน

      อำนาจชี้เป็นชี้ตายกำลังเข้าสู่ระบบ

      สภาชุมชน ทำไมน่าจะช่วยได้

      บางครั้งเหมือนกับว่าไม่มีอำนาจ ก็ไม่น่าเป็นไปได้ในการนี้

      การไปสู่อำนาจของ อบต.อบจ. เป็นยังไง

      การเข้าร่วม สภาชุมชน เป็นอย่างไร

      เส้นทางเดิน จุดมุ่งหมายต่างกัน  เป้าหมายต่างกัน

      ปราชญ์ชาวบ้านพอใจในสภาชุมชน

      ปราชญ์ชาวบ้านไม่ต้องการแหล่งอำนาจ เส้นทางอำนาจ ไม่ต้องการการเลือกตั้งสู่กองผลประโยชน์

      การวางนโยบายความต้องการในชุมชน เป็นสภาพัฒน์น้อยๆ  พร้อมกับ วางแนวการพัฒนาชุมชนอย่างมีแบบแผน ความต้องการ 1 , 2, 3, 4   ไม่มีอำนาจสั่งการแต่มีอำนาจตรวจสอบ

      ไม่ต้องการสร้างแต่ถนน  สร้างที่ทำการหรูๆ ติดแอร์เยอะๆ แต่ต้องการสร้างโรงเรียน ต้องการสร้างห้องสมุด

      ผลที่ตามมา การเลือกตั้งครั้งต่อๆไปมีผลแน่นนอน

      การมีสภาชุมชนอย่างมีกฏหมายรองรับ ถึงแม้จะไม่ได้ผลเด่นชัดแต่มีผลต่อการพัฒนาการรับรู้ ปัญญาให้แก่ชุมชน  ติดอาวุธทางปัญญา 

      กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆทาง การเมืองก่อป้ญหามากมาย  แต่การพัฒนาการทางการเมืองภาคประชาชน และชุมชนจะต้องพัฒนาไป  ไม่ใช่อันไหนดีหรือไม่ดีกว่ากัน แต่พัฒนาการการรับรู้และกระบวนการแก้ปัญหาจะต้องตามให้ทัน

      ขอบคุ๊ณ ขอบคุณ  ข้าผู้น้อยมิบังอาจ

      ดื่มน้ำชาสักจอกเป็นไง ..............น้อรก.................

    • P
      เบิร์ด
      เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 19:08 [287501]

       

      P

      สวัสดีค่ะเล่าฮูแพนด้า

      เอาน้ำชามาคารวะ แถมกอดอีกที..เพราะจะถามต่อค่ะ

      เบิร์ดชอบคำว่า " อำนาจตรวจสอบของสภาประชาชน "..

      ตามร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังเสนอกันอยู่ในขณะนี้  สภาประชาชนมีเงินเดือนให้มั้ยคะ  ถ้ามีเงินเดือนมาจากไหน ? และจำนวนสมาชิกเท่าไหร่ ? เลือกอย่างไร ? แล้วชนกลุ่มน้อยล่ะคะจะมีสภานี้ได้มั้ย ?

      ขยายความอีกค่ะเล่าฮู..

    • P
      mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง
      เมื่อ อ. 12 มิ.ย. 2550 @ 01:56 [289758]

      ไม่ได้เข้ามาบันทึกนี้นานแล้ว แหมออกรส ๆ

               ผมเห็นด้วยกับ สภาองค์กรชุมชน หรือถ้า อ.ประเวศเสนอว่าให้เป็น สภาผู้นำชุมชน ก็คงชัดเจนขึ้นไปอีก  เพราะไม่ต้องตีความว่าองค์กร คำว่าผู้นำชัดเจนกว่า ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้นำทางการแต่งตั้ง เลือกตั้ง แต่ผู้นำทางธรรมชาติ หรือผู้ที่ประชาชนทัวไปให้ความเคารพเช่น ไวยาวัจกรในวัดก็น่าจะใช่

               การเมืองภาคประชาชนอย่างไรเสียก็ต้องเกิด เพื่อ

                1. สร้างระบบอำนาจที่สมดุลให้ได้ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ  เห็นมั้ยครับมันสามเศร้า  มันเศร้าครับ  ระบบการปกครองประชาธิปไตยพวกนักเลือกตั้งอ้างว่าเป็นอำนาจตัวแทนคือการเลือกตั้ง แต่ปัญหาคือการผูกขาดตามมา ยิ่งในสังคมที่ระบบตรวจสอบอ่อนแอด้วยแล้ว ก็เป็นใบ้ เป็นง่อยกันไปหมด  คราวนี้เราจะไปหาช่องทางไหนที่จะดูแลผลประโยชน์เรา ประเทศเรานอกจาก สส.ไม่กี่คนนั่น

                 มีสภาที่มาจากภาคประชาชน แม้ไม่ใช่อำนาจในระบบโดยตรง  หรอกครับเพราะโดนตัดข้อความที่เป็นอำนาจของสภานี้ออกหมดแล้ว  แต่อำนาจความคิดเห็น กับอำนาจความถูกต้อง ( เชื่อว่าในสภาที่ไร้ผลประโยชน์คงมีคนเสียสละซะส่วนใหญ่ ) ของประชาชน ก็จะช่วยให้สังคมมีทางออกได้ครับ

                 2. สร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบก้าวกระโดดและเป็นรูปธรรม  ตรงนี้ผมว่าก็ดีกว่าการไปสังกัดพรรคการเมืองได้บัตรมา แล้วก็ได้ค่าจ้างเวลาต้องการมวลชนจัดตั้ง

                 3. สร้างเครือข่ายความรู้ทางการเมืองการปกครองและความรู้เรื่องอื่นๆ ด้วย รวมทั้งการศึกษา วัฒนธรรม  เพราะว่าเนื้อหาเรื่องราวในสภานี้ถกกันได้ครอบคลุมทั้งหมดครับ  แม้ว่าข้อสรุปจะไปบังคับสั่งการอะไรได้ แต่ความต้องการที่แท้จริงของประชาชนจะถ่ายทอดออกมาได้

                  ปัจจุบันแม้มีประชาคมหมู่บ้านแต่ก็ถูกเคลื่อนโดยระบบราชการสุดท้ายกลายเป็นเครื่องมือซักฟอกผู้บริหารให้ตัวเองสะอาด เป็นข้ออ้างความชอบธรรมโดยมีลายเซนต์กับบันทึกการประชุม  ประชาชนในประชาคมไม่กล้าพูดเสียงดังมากเต็มที่นักครับเพราะไม่มีเอกสิทธิคุ้มครองใด ๆ

                  4. เป็นการจัดการเครือข่ายภาคประชาชนต่าง ๆ ครับ เพราะทุกวันนี้มั่วมากๆ ครับ นั่นก็องค์กรนี่ก็องค์กร  ถูกกฎหมายบ้างไม่ถูกบ้างนึกตั้งกันเอาเองก็มี

                   ต่อไปองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ จะมีระบบการตรวจสอบกันเองและเปิดเผยมากขึ้น

  • P
    สิทธิรักษ์
    เมื่อ จ. 04 มิ.ย. 2550 @ 14:21 [282189]
    • ผู้มีอำนาจมาแล้วก็ไป
    • ประชาชนเป็นกระโถนรองรับทุกยุคอำนาจ
    • หนุนเก้าอี้ให้
    • ถวายชีวิตให้
    • แต่ฐาน อำนาจความคิด ความรู้ ไม่เคยสนใจให้
    • แม้แต่ฐานความรู้การดำรงค์ชีวิตอย่างสงบสุขยังไม่ให้
    • ถึงเวลาก็จะให้เทคะแนนให้
    • มาเขมือบแล้วก็ไป
    • ไปเตรียมตัวตั้งกลุ่มกันใหญ่ (ที่ปากเหม็นว่าเป็นพรรค)
    • จะมาโกยอีกแล้ว
    • โกยเสร็จก็ผลัดกัน
    • แล้วพวกเราอยู่กันอย่างไร
    • เราต้องอยู่ตลอด
    • เราไปไหนไม่ได้
    • ความรู้ก็ไม่มี
    • ความเข้าใจก็ไม่ชัด
    • อะไร อะไร ก็พัฒนาเศรษฐกิจ
    • เศรษฐกิจของใคร
    • ของใคร ????????????
    • ไหนพูดชัดๆไปเลย

    ฟิวส์ขาดแล้วครับ ท่าน

    ความเห็นจากเล่าฮู แห่งเชียงแสน http://gotoknow.org/blog/mrschuai/100642

     http://gotoknow.org/blog/mrschuai/100642

    P
    mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง
    เมื่อ อ. 12 มิ.ย. 2550 @ 01:56 [289758]

      ปัจจุบันแม้มีประชาคมหมู่บ้านแต่ก็ถูกเคลื่อนโดยระบบราชการสุดท้ายกลายเป็นเครื่องมือซักฟอกผู้บริหารให้ตัวเองสะอาด เป็นข้ออ้างความชอบธรรมโดยมีลายเซนต์กับบันทึกการประชุม  ประชาชนในประชาคมไม่กล้าพูดเสียงดังมากเต็มที่นักครับเพราะไม่มีเอกสิทธิคุ้มครองใด ๆ

       ต่อไปองค์กรภาคประชาชนต่าง ๆ จะมีระบบการตรวจสอบกันเองและเปิดเผยมากขึ้น

    ขอแจมด้วยกับข้อเขียนยาวๆครับ

    พรบ.สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นในฐานะhardware เสริมการจัดการความรู้เมืองนคร

         

    งานพัฒนาชุมชน/สังคมกรณีจังหวัดนครศรีธรรมราชโดยการนำของผู้ว่าราชการจังหวัด   มีเป้าหมายเพื่อสร้างชุมชนอินทรีย์เพื่อนำไปสู่วิสัยทัศน์เมืองแห่งการเรียนรู้ น่าอยู่ และยั่งยืน

    ชุมชนอินทรีย์คือชุมชนที่มีชีวิต มีการเรียนรู้อย่างเป็นปกติอยู่ในวิถีชีวิต คือ รู้เท่า รู้ทัน รู้กัน รู้แก้ และมีวิถีชีวิตพอเพียงตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

    เพื่อที่จะขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายดังกล่าว ท่านสรุปจากประสบการณ์ได้ 5 ปัจจัย แต่ผมขอย่อเหลือ 4 คือ

    1)มีคณะผู้นำที่มีคุณภาพและมีการสืบทอด

    2)มีกระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชน

    3)มีสถาบันการเงินเพื่อสวัสดิการชุมชน

    4)มีการจัดการความรู้(เพื่อนำแผนสู่การปฏิบัติและสร้างการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง)

    ในการขับเคลื่อนงานให้บรรลุผล ท่านใช้การจัดการความรู้โดยเน้นการสร้างความเข้าใจ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ ทั้งราชการส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น รวมทั้งภาคชุมชน ประชาสังคมและภาคีวิชาการ โดยการประสานความร่วมมือ อาศัยระบบหรือกลไกที่มีอยู่ทั้งหมด ตลอดจนทักษะการเป็นผู้นำโดยทำให้ดูเป็นตัวอย่างและการสร้างความสัมพันธ์แนวระนาบอย่างยากที่จะหาผู้ว่าราชการจังหวัดคนใดทำได้ โดยท่านหวังว่ากระบวนการทางสังคมที่ขับเคลื่อนร่วมกันอย่างขนานใหญ่ด้วยการจัดทำบัญชีครัวเรือน และแผนแม่บทชุมชนระดับหมู่บ้าน ตำบลทั่วทั้งจังหวัดจำนวน 165 ตำบล 1,551 หมู่บ้าน จะมีพลังทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงระบบจนเป็นกระแสที่ทำให้บุคคลที่เข้ามาเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดคนต่อไปต้องร่วมดำเนินการด้วย สรุปคือ ท่านเห็นว่าแม้ขบวนการจะเริ่มจากผู้นำแต่ก็ไม่ควรขึ้นอยู่กับผู้นำหลังจากดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ผมพบว่าอุปสรรคของระบบราชการหรือ   ที่ผมเรียกว่าhardware มีความรุนแรงมากจนทำให้ความตั้งใจดีของผู้นำและข้าราชการจำนวนมากที่เข้าร่วมขบวนการเกิดความท้อแท้ สิ้นหวัง แม้ว่าอุปสรรคในการดำเนินงานมิใช่มาจากปัญหาของระบบทั้งหมด หลายประการมาจากเจตคติและทักษะความรู้ของคนทำงาน               (ซึ่งก็เนื่องมาจากระบบอยู่มากนั่นเอง) ผมเองเข้าร่วมขบวนการในฐานะผู้สนับสนุนกระบวนการเรียนรู้คนหนึ่ง พยายามทำความเข้าใจระบบหรือกลไกที่เป็นอุปสรรคเหล่านี้เพื่อหาทางคลี่คลายด้วยวิธีการต่างๆตามแนวทาง การจัดการความรู้ ดังนี้

    เป็นที่ทราบดีว่า ระบบราชการที่เราเกี่ยวข้องอยู่มีการคลี่คลายตัวมาตามลำดับ             ถ้าวิเคราะห์ตามทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่คือ สภาพสังคมเปลี่ยน กลไกบางกลไกอาจหมดหน้าที่หรือไม่มีความจำเป็นในการดำรงอยู่ต่อไป ถ้าว่าด้วยเรื่องของการช่วงชิงพื้นที่เพื่อการดำรงอยู่      ก็เป็นการต่อสู้ของอำนาจเก่ากับอำนาจใหม่ ทั้งหลายทั้งปวงมาจากแนวคิดเรื่องการแข่งขันที่น่าจะมีรากฐานมาจากทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วินนั่นเอง

    กลไกของระบบราชการคือ ราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยที่ราชการส่วนภูมิภาคถือเป็นแขนขาของราชการส่วนกลางและเป็นกลไกที่ยังยึดลูกที่เป็นราชการส่วนท้องถิ่นไว้กับสายสะดือ มีอุปสรรคสำคัญ3ประการคือ

    1)หน่วยจัดการอยู่ที่ส่วนกลางในระดับกรมที่แยกส่วนกันทำแม้ในกระทรวงเดียวกัน

    2)กระบวนการเลือกตั้งของท้องถิ่นยึดโยงกับการเมืองระดับชาติซึ่งเป็นเรื่องของ

    ผลประโยชน์ต่างตอบแทนส่วนบุคคลและเครือญาติซึ่งทำให้เกิดการแตกแยกในชุมชนค่อนข้างมาก

                3)กระบวนการทางงบประมาณรายปีที่ไม่กระจายอำนาจและไร้ประสิทธิภาพ

    ที่จริงราชการส่วนท้องถิ่นก็มีวิวัฒนาการที่ก้าวหน้ามาตามลำดับ ตั้งแต่หัวหน้าราชการส่วนภูมิภาคเป็นประธานโดยตำแหน่ง มาเป็นการเลือกตั้ง แล้วเลือกนายกภายในสภาท้องถิ่น จนกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นการเลือกนายกฯท้องถิ่นโดยตรง ซึ่งช่วยแก้ปัญหาเรื่องหน่วยจัดการให้ย้ายมาอยู่ในท้องถิ่นอย่างชัดเจนขึ้นมาก แต่ก็ยังติดอยู่กับอุปสรรคในข้อที่2และ3 ที่ทำให้งบประมาณของรัฐเป็นเพียงเครื่องมือในการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้มีการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ทางแก้ด้วยการผ่าตัดไม่สามารถทำได้แม้ว่าจะเป็นรัฐบาลพรรคเดียวที่มีอำนาจล้นฟ้าอย่างรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ผ่านมา (ซึ่งผมเห็นว่ามีความตั้งใจในเรื่องนี้ค่อนข้างมาก) การรวบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซีอีโอเป็นผู้แก้ปัญหาความซ้ำซ้อนและมีอำนาจบัญชาการอย่างเป็นเอกภาพและเบ็ดเสร็จก็ทำได้อย่างจำกัดด้วยระเบียบที่ผูกมัดไว้          

    อีกช่องทางหนึ่งที่รัฐบาลใช้คือ การจัดตั้งองค์การมหาชน เช่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ(สทบ.) เป็นต้น เพื่อเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานของรัฐ ซึ่งแม้ว่าจะทำให้การทำงานคล่องตัวขึ้นและเป็นผลในการกระตุ้นระบบราชการที่มีอยู่เดิมให้เกิดการเปรียบเทียบ แต่ระบบทั้งหมด       ที่กล่าวถึงก็ไม่สามารถคลี่คลายอุปสรรคในการดำเนินงานจัดการความรู้เพื่อสร้างชุมชนอินทรีย์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชได้ ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากอุปสรรค เป้าหมายและกระบวนการที่พวกเราใช้ในการขับเคลื่อนชุมชนอินทรีย์ในจังหวัดนครศรีธรรมราชแล้ว ผมเห็นว่าพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นถือเป็นhardware ตัวใหม่ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะเข้ามาเสริมhardwareตัวอื่นๆเพื่อช่วยคลี่คลายอุปสรรคสำคัญ3ข้อข้างต้นเพื่อขับเคลื่อนงานไปสู่เป้าหมายได้เป็นอย่างดีสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นคือองค์คณะของผู้นำกลุ่มองค์กรในชุมชนท้องถิ่นที่จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นเวทีในการเรียนรู้ พัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนเอง มีบทบาทหลักในการจัดทำแผนแม่บทชุมชนเพื่อกำหนดทิศทาง เป้าหมายและการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่ความอยู่เย็นเป็นสุขของคนในชุมชนโดยเน้นการพึ่งตนเองและพึ่งพากันเป็นหลัก ถ้าจะมีงบประมาณก็เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาชุมชนตามภารกิจหลักที่กำหนดไว้ เมื่อได้แผนมาแล้วองค์กรก็เอาไปใช้ประโยชน์โดยดำเนินการกันเองหรือร่วมกันทำแบบเครือข่าย โดยมีการเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายเรียนรู้ระดับจังหวัดและระดับชาติ      โดยเนื้อหาหลักก็มีเพียงเท่านี้ ส่วนอื่นๆที่จะเป็นผลพลอยได้คือส่วนเสริม เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอาจเห็นว่าแผนงานหรือกิจกรรมใดมีประโยชน์ก็อาจจะให้การสนับสนุนหรือเข้ามาร่วมดำเนินการตั้งแต่ต้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาท้องถิ่น ซึ่งก็เป็นการร่วมงานแบบสมัครใจและได้ประโยชน์ร่วมกัน ในส่วนของกำนันผู้ใหญ่บ้านก็อาจจะเป็นหนึ่งในกรรมการสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นที่ไม่ได้ยึดโยงกับกระทรวงมหาดไทยและการเมืองเรื่องเลือกตั้งทั้งสภาท้องถิ่นระดับตำบล จังหวัดและระดับชาติ เพราะเป็นเรื่องของชุมชนท้องถิ่นที่มาจากผู้นำองค์กรชุมชนและสมาชิกผู้ทรงคุณวุฒิที่องค์กรชุมชนท้องถิ่นสรรหาโดยตรง ถ้าจะนับว่าเป็นการเมืองก็น่าจะเป็นการเมืองตามแนวทางสมานฉันท์ เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้นำที่ไม่ชอบการเมืองเรื่องเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของตนอย่างต่อเนื่อง ผลดีที่อาจจะเกิดขึ้นคือ สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นอาจเป็นเวทีฝึกฝนและควบคุมการเป็นผู้นำในสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและการขึ้นเป็นกำนันผู้ใหญ่บ้านให้เข้าไปทำหน้าที่เพื่อท้องถิ่นของตนเองด้วยคุณธรรมและความสามารถโดยไม่เกิดความแตกแยก ดังกรณีตัวอย่างที่ตำบลควนรู อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา เป็นต้น

    ตามแนวทางการจัดการความรู้ การย้ายงานพัฒนาให้องค์กรชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพดำเนินการคือการระบุบุคคลสำคัญที่จะมีบทบาทในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นได้ตรงเป้าหมายที่สุด ซึ่งศัพท์เทคนิคด้านการจัดการความรู้เรียกว่า คุณกิจ(กรรม) บทบาทของส่วนราชการในฐานะผู้สนับสนุนการเรียนรู้หรือ คุณอำนวย ซึ่งโครงการKMเมืองนครโดยท่านผู้ว่าราชการจังหวัด      ได้ลงทุนลงแรงและสติปัญญาสร้างความเข้าใจมากว่า3ปีก็จะเป็นจริงขึ้นโดยง่าย โดยที่การขยายผลให้เกิดขึ้นในจังหวัดอื่นๆทั่วประเทศก็จะทำได้โดยไม่ยากเย็นนัก จากการสรรหาตัวช่วยในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของชุมชนตามที่กำหนดไว้ในพรบ. โดยใช้กระบวนการจัดทำแผนแม่บทชุมชนเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้จักตนเอง รู้จักชุมชนท้องถิ่นของตน และรู้จักโลกภายนอกที่กว้างไกลออกไปจะเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อก้าวไปสู่ชุมชนอินทรีย์ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้

    การตราพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นจึงถือเป็นยุทธศาสตร์รุกแบบตั้งรับของรัฐบาล โดยการรุกให้องค์กรชุมชนท้องถิ่นเป็นเจ้าภาพ(คุณกิจ) ถัดมาคือการสนับสนุนกำลังคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่นทั้งหมดให้พร้อมรับเพื่อเป็นตัวช่วยในฐานะผู้สนับสนุนการเรียนรู้(คุณอำนวย)ที่มีความสามารถทั้งทักษะและความรู้อย่างพอเพียง

    ผมเห็นด้วยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ว่าเรื่องนี้มีความสำคัญมาก แต่เชื่อว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีเข้าใจเจตนาและร่วมกันแก้ไขอย่างดีแล้ว    ก็คงจะให้ความเห็นชอบกฎหมายสำคัญฉบับนี้ ซึ่งจะพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์การเมืองไทยไปอย่างมากทีเดียว

     
    P

    สวัสดีครับคุณภีม

    • กราบขอบพระคุณมากครับ ที่เอาเรื่องนี้เข้ามาร่วมกันนะครับ
    • เชิญตรงนี้ด้วยนะครับ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/100642
    • อยากจะลองให้ถกกันให้พรุนกันในเรื่องนี้ ก็ดีนะครับ ว่าด้วยเรื่องสภาชุมชน ครับ
    • กราบขอบพระคุณมากครับ

     http://gotoknow.org/blog/handyman/101905

    Phandyman
    * There is no man on the road from whom you can’t learn something of value.
    * ทุกชีวิต ล้วนเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ เกิด-แก่-เจ็บ-ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

    ไม้เขี่ยหมาเน่า

    เคยเป็นบ้างมั้ย เวลามีใครมาทำให้เราโกรธ จนเรื่องต่างๆ เหตุต่างๆที่ทำให้เราโกรธมันดับไปหมดแล้ว แต่เราก็ยังเก็บมาคิดมาแค้นอยู่นั่นแหละ ไม่รู้เสียดายอะไร ทั้งๆที่รู้ว่าทำให้เป็นทุกข์ แต่ก็เก็บความคิดแค้นมาเผาใจอยู่เรื่อยๆ  หรือไม่ต้องเรื่องโกรธก็ได้... เรื่องอะไรๆที่มันผ่านไปแล้ว แต่หลายครั้งเราก็ยังเก็บโน่นเก็บนี่มาคิด มากังวล มาเสียใจอะไรก็แล้วแต่  ฉันคนหนึ่งล่ะที่เคยเป็น แล้วฉันก็คิดว่าทุกคนก็คงเคยเป็น 
         คราวหลังถ้าเป็นอีกลองบอกตัวเองสิว่า...
     แน่ะ... หยิบไม้เขี่ยหมาเน่ามาดมอีกแล้วนะเรา
    คนที่รู้ทั้งรู้ว่าไม้เหม็นแต่ก็ยังเก็บมาดมอยู่ได้เนี่ย...ไม่โง่ก็โรคจิตนะ

         ดูซิว่ายังจะอยากเก็บไม้เหม็นๆไว้ดมอีกมั้ย :)

    เบิ่งราตรีที่ "หลวงพระบาง" ม่วนซื่นแท้น้อ

     แต่จุดหมายในราตรีนี้ของผม ไม่ใช่ที่ตลาดแห่งนี้ครับ

    แม่นแล้วครับท่านเดาในใจถูกแล้ว

    หนุ่มลาวสองคนที่คุ้นเคยกับคณะพวกเราดี มากระซิบว่าไป เบิ่งสาวลาวใน "ดิสโก้" กันดีกว่า

    พอได้ยิน "ดิสโก้" ก็หูผึ่งเลยครับ อยากรู้จังเลยน้อ...ไอ่ดิสโก้ๆ มันเป็นยังไง

    อืม...แสงสี ใช้ได้เลยทีเดียว เห็นผู้สาวลาวนุ่งซิ่น เสื้อแขนกุดเดินขวักไขว่ มีคำถามในใจว่านุ่งซิ่นแบบนี้เข้าดิสโก้เหรอ??? ใช่ครับเธอนุ่งซิ่นแบบนี้หละครับ เข้าไปรำวง และเต้น

     

    ที่หมายของเราคืนนี้ "ราตรีเมืองลาว"

    สองหนุ่มลาวที่เป็นไกด์เราคืนนี้ บอกว่า ออกไปรำวงเถอะ...ครั้งแรกผมปฏิเสธครับ เพราะรำวงบ่เป็น (หรือ เบียร์ลาวยังไม่เต็มดีกรีก็ไม่ทราบได้)

    จนท้ายสุดปฏิเสธไม่ได้ครับ  จำเป็นต้องออกไปขยับแข้งขยับขา ไม่ยอมกลับที่นั่งเสียแล้ว จนรำวงเลิก ตอน ๕ ทุ่ม ปิดท้ายด้วยเพลง "ลาก่อน"

    เราค่อยๆเดินกลับออกมา ...อย่างสงบเสงี่ยมคล้ายขาเข้ามา เพราะเป็นการรักษาภาพลักษณ์แล้วถามหาร้านข้าวต้ม (อ้าว....ไม่ไช่ครับ)กลับเฮือนพัก (โรงแรม)ครับผม

     

     http://gotoknow.org/blog/66489/102760

    Pนายศักดิ์ณรงค์
    ท้องถิ่นอำเภอปางมะผ้า กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
    เคยผ่านงานในบริษัทเอกชนยักย์ใหญ่ของประเทศในตำแหน่งผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบริหารงานองค์กร และปัจจุบันรับราชการสังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทยโดยมีภารกิจหลักที่สำคัญการส่งเสริมองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีความเข็มแข็งสามารถตอบสนองและแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนได้อย่างเต็มที่
    อำนาจหน้าที่หลักของสภาองค์กรชุมชน ตามร่างฉบับแรก และฉบับปรับปรุงใหม่
    ปมประเด็นสำคัญที่เกิดความขัดแย้งระหว่างสององค์กร

    ร่างฉบับแรก

    ประเด็นสำคัญ คือ สภาองค์กรชุมชนมีอำนาจในการจัดทำแผนให้คำปรึกษา แนะนำ ยกเลิกแผนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ที่ส่งผลกระทบต่อความเสียหายต่อชุมชนท้องถิ่นระดับตำบลและจังหวัด มีการจัดตั้งส่วนราชการขึ้นมาดูแล

    มาตรา 18 ให้สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบล มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

    1. จัดทำแผนแม่บทชุมชนในเขตพื้นที่ของตำบล เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องนำไปจัดทำแผนปฏิบัติการ
    2. ให้คำปรึกษา แนะนำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจำทำแผนปฏิบัติการ และข้อบัญญัติ หรือเทศบัญญัติ
    3. จัดประชุมสมัชชาชุมชนท้องถิ่นตำบล เพื่อพิจารณายับยั้ง ยกเลิก แผนงาน โครงการ กิจกรรม หรือการกระทำ ใดๆ ทีส่งผลเสียหาย หรือพิจารณาเรื่องอื่นใดที่สภาเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่นตำบล และประเทศชาติ
    4. พัฒนาองค์กรชุมชนให้เข็มแข็ง รวมถึงรับรองหรือยกเลิกสถานภาพขององค์กรชุมชนท้องถิ่นในตำบลนั้น
    5. ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่น หรือตำบลอื่น สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับจังหวัด สถาองค์กรชุมชนท้องถิ่นแห่งชาติ
    6. วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล
    7. ติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นหรือตำบลนั้น
    8. จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป

    มาตรา 19  สภาองค์กรชุมชนตำบลอาจมีหนังสือเชิญส่วนราชการหรือหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือส่วนราชการท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐมาร่วมแสดงความคิดเห็นหรือให้เอกสาร หรือข้อมูลตามที่เห็นสมควร

    มาตรา 20 ให้สภาองค์กรชุมชนระดับจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

    1. จัดทำแผนแม่บทชุมชนระดับจังหวัด เพื่อให้องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดและส่วนราชการระดับจังหวัดนำไปจัดทำแผนปฏิบัติการ
    2. ให้คำปรึกษาแนะนำ แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนราชการระดับจังหวัดในการจัดทำแผนปฏิบัติการ
    3. จัดประชุมสมัชชาชุมชนเพื่อพิจารณา ยับยั้ง ยกเลิก แผนงานโครงการ กิจกรรมหรือการกระทำใดๆ ทีส่งผลกระทบเสียหายแก่ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดมากกว่าหนึ่งตำบล หรือพิจารณาเรื่องอื่นใดที่สภาเห็นสมควร เพื่อประโยชน์ของชุมชนท้องถิ่นจังหวัดและประเทศชาติ
    4. ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นตำบล สภาองค์ชุมชนท้องถิ่นจังหวัดอื่น และสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับชาติ
    5. วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล
    6. ติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นหรือตำบลนั้น
    7. จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป
    8. เสนอรายชื่อสมาชิกเพื่อเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนแห่งชาติจังหวัดละ 2 คน

    ร่างฉบับปรับปรุงใหม่

    ประเด็นสำคัญ คือ ตัดอำนาจจัดทำแผน และให้คำปรึกษา แนะนำ ตัดอำนาจยับยั้ง และยกเลิกแผนงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงจังหวัด คงหรือ การเข้าไปมีส่วนร่วม รายละเอียดดังนี้

    มาตรา 19 ให้สภาองค์กรชุมชน มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

    1. ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนอนุรักษ์ฟื้นฟูจาริต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะวัฒนธรรมอันดีของชุมชนของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
    2. เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาตำบลเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
    3. ให้ความเห็นและเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการจัดทำนโยบายสาธารณะของหน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต การเมือง และสิ่งแวดล้อม
    4. จัดให้มีเวทีสมัชชาชุมชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนให้ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการหรืกิจกรรมของหน่วยงานภาครัฐ หรือเอกชน ที่มีผลหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมหรือทรัพยากรธรรมชาติ สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชน ทั้งนี้ให้หน่วยงานภาครัฐเป็นผู้ดำเนินการหรือเป็นอนุญาตให้เอกชนดำเนินการต้องนำความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาด้วย
    5. ส่งเสริมสนับสนุนให้องค์กรชุมชนในตำบลเกิดความเข็มแข็งสามารถจัดการตนเองได้อย่างยั่งยืน
    6. ประสานและร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนอื่น สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับจังหวัด สภาองค์กรชุมชนระดับชาติ ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐที่ดำเนินการอยู่ในตำบล รวมทั้งตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    7. วางระเบียบ ข้อบังคับ ในการดำเนินกิจการของสภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นระดับตำบล
    8. ติดตามผลการดำเนินการตามโครงการที่ดำเนินการอยู่ในท้องถิ่นหรือตำบลนั้น
    9. จัดทำรายงานประจำปีของสภาองค์กรชุมชนเพื่อเผยแพร่ให้กับประชาชนทั่วไป
    10. เสนอรายชื่อสมาชิกเพื่อเป็นสมาชิกสภาองค์กรชุมชนจังหวัด จำนวนไม่เกิน 2 คน

    มาตรา 25  ให้สภาองค์กรชุมชนจังหวัด มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

    1.  ส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนอนุรักษ์ฟื้นฟูจาริต ประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะวัฒนธรรมอันดีของชุมชนของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
    2. เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัด เพื่อพัฒนาจังหวัด
    3. ให้ความเห็นและเสนอแนะเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายและแผนพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง รวมทั้งการจัดทำนโยบายสาธารณะของหน่วยงานภาครัฐ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิต การเมือง และสิ่งแวดล้อม

    P
    เบิร์ด
    เมื่อ ส. 09 มิ.ย. 2550 @ 08:25 [286791]
    P

    สวัสดีค่ะพี่แอมป์

    กอดหนึ่งทีด้วยความรักและเพื่อทักทายค่ะ

                                                     ชีวิต

                                   คำสั้นสั้นคำนี้มีความหมาย
                                   มีบทเรียนมากมายที่รออยู่
                                   บททดสอบความอดทนเป็นบทครู
                                   ฝึกให้รู้ความหมายของ "ชีวิต"

    ...................................................................................

    พี่แอมป์สรุปสั้นๆ แต่ได้ใจความดีเหลือเกินค่ะ..

    เบิร์ดรู้สึกว่า....

    ในโลกแห่งความจริงนั้น

    ไม่มีสิ่งใดได้มาโดยง่ายดาย

    ทุกอย่างต้องลงทุน ลงแรงทั้งสิ้น

    ไม่ว่าเก่งกาจ สามารถเพียงใด

    ต้องเรียนรู้ที่จะอดทน อดกลั้น

    จนกว่าผลของความพยายามนั้นจะตอบสนองกลับคืนมา

    การรู้จักอดทน รอคอย

    คือการชนะ...โดยเริ่มต้นที่ " การชนะใจตนเอง "

    ..............................................................................

    ขอบคุณมากค่ะที่พี่แอมป์แวะเข้ามาทักทายด้วยความรัก  ความอบอุ่นเหมือนทุกๆครั้ง

    http://gotoknow.org/blog/beautifulmemories/101701

    P
    Little Jazz \(^o^)/
    เมื่อ พ. 13 มิ.ย. 2550 @ 01:34 [290982]
    เห็นด้วยกับคุณเม้งอย่างนึงว่าเรื่องการปักปันเขตแดนเป็นเรื่องที่มนุษย์สมมุติขึ้นทั้งสิ้น ลองดูภาพถ่ายจากอวกาศดูสิคะ จะเห็นเลยว่า ไม่มีเส้นแบ่งเขตแดนระหว่างประเทศเหมือนในแผนที่

    เราทั้งหลายเหมือนฝุ่นผงเล็กๆ ในห้วงอวกาศอันกว้างใหญ่ สิ่งที่เหมือนกันอยู่อย่างคือ ทุกคนเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ไม่มีใครที่ยิ่งใหญ่เหนือกฎแห่งธรรมชาติ รู้อย่างนี้แล้วจะมัวมาแบ่งเขาแบ่งเราทำไม

    ไม่มีบุคคลใด หรือชนชาติใดที่อยู่ค้ำฟ้า มาแล้วก็ไปด้วยกันทั้งนั้น นี่เป็นอุทาหรณ์ที่ได้จากแผนที่นี้ อดีตเคยเกรียงไกรแต่เดี๋ยวนี้ก็สิ้นสูญ http://gotoknow.org/blog/mrschuai/102900

    P

    KM ตู้เย็น  http://gotoknow.org/blog/mrschuai/102900

    จากอดีตถึงปัจจุบัน เรายังจมอยู่กับสิ่งเหล่านี้หรือเปล่าหนอ.... มองลงไปให้ถึงระดับครอบครัว..มีไม่น้อยที่มีปัญหาสู้รบกันเรื่องนี้.... บนดินก็ต่อสู้กันไป หารู้ไหมว่า บนฟ้าอากาศไม่ได้แบ่งแยกอะไรกันเลย รวมใจกันเป็นหนึ่งเดียวทั้งโลกจะดีกว่าไหม....พี่น้อง....

    หรือว่าท้ายที่สุดแล้วมนุษย์เรา หนี้ไม่พ้นเขตแดน ดังต่อไปนี้

    • เขตแดนทางชื่อเสียง เกียรติยศ

    • เขตแดนทางทรัยพ์สิน ลาภ ดินแดน

    • เขตแดนทางอำนาจ

    P
    สิทธิรักษ์
    เมื่อ อ. 12 มิ.ย. 2550 @ 20:36 [290667]
    สวีดัสสวัสดีท่านวิหกเหิน

    P
    • วินัย วินัย วินัย
    • ถ้าเราเข้าใจเรื่องวินัยดีก็จะทราบว่าเราไปปนกับการกระทำที่ผิดกฏหมาย
    • ผิดวินัยบางเรื่องก็ไม่ผิดกฏหมาย
    • ผิดวินัยบางเรื่องก็ผิดกฏหมาย
    • วินัย จึงเป็นกฏของสังคมที่คิดและกำหนดขึ้นเอง  ไม่ใช่กฏของบ้านเมืองเลยสักทีเดียว
    • สถานะการณ์เป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่เอื้อในการมีวินัยหรือไม่มีวินัย
    • ในสังคมที่สงบสุข ร่มเย็น ประชาชน จะมีวินัย
    • สถานะการณ์สู้รบ  ประชาชนจะมีวินัย
    • สถานะการณ์ ตรึงเครียด สังคมจะอ่อนวินัย
    • สถานะการณ์ ยุ่งเหยิง วินัยจะหาดูได้ยาก
    • บางคนที่เรียกร้องให้มีวินัย ส่วนใหญ่เป็นคนที่เพียบพร้อม ไปทุกสิ่งทุกอย่าง
    • คนที่ไม่รักษาวินัย ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีปัญหาต่างๆในสังคม
    • สังคมเรา เหลื่อมล้ำกันมาก  ความมีวินัยมีปัญหามาก
    • แล้วเราจะเรียกร้องให้ทุกๆคนมีวินัย จึงควรทำอย่างไร
    • ทุกๆคนจะมีสำนึกเท่าเทียมกันอย่างไร
    • เรามาแก้กันที่ตรงนี้ได้ไหมจ๊ะ

    เล่าฮูยอดคัมภีร์ จากดอย http://gotoknow.org/blog/beautifulmemories/102584

     ครูบาฯ ปราชญ์ชาวบ้าน

    P
    ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์
    มหาชีวาลัยอีสาน

    ออกไปลุย!
    ทุกคนพูดเสียงเดียวกันว่าหนุ่มสาวหายไปไหน ในหมู่บ้านมีแต่คนแก่และเด็กๆ คนที่หายไปส่วนหนึ่งก็คงจะเข้าโรงงาน หางานทำในกรุงเทพ สิ่งเหล่านี้เกิดจากการรวมศูนย์ทุกอย่างไว้ในกรุง ทุกอย่างจึงไปอัดแน่น รถติด คนติดกันเป็นตังเม อยู่กันแออัดยังกะหนอน

    เช้านี้แต่ละกลุ่มนำเสนอมุมมองเรื่องสถาบันหลักทั้ง3 ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่กำลังสั่นคลอนอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ถ้าเราชำเลืองดูประเทศรอบข้าง หลังจากหมดยุคสงครามเขาก็ก้มหน้าทำมาหากิน จะมีก็แต่ไทยแลนด์นี่แหละที่กำลังลากไส้ให้กากิน แผ่นดินร้อนระอุไปด้วยลมปากและแรงยุกันเอง ไม่มีใครเอาประเทศไทยเป็นตัวตั้ง มีแต่แย่งประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ไม่แน่นะต๋อย อาจจะมีปัญหาต้องไปร้องเพลงชาติไทยให้คนชาติอื่นฟังทั้งน้ำหูน้ำตาก็ได้  ทำเป็นเล่นไปเถอะ พ่อมหาจำเริญทั้งหลาย

     จอมยุทธเหินฟ้า

    P
    ความสุข .. 

    เคยวางของสำคัญไว้แล้วหาไม่เจอมั้ย ?

    ไม่ว่าจะค้นหาที่ไหน..ทั้งใต้กองหนังสือ..ทั้งที่ชั้นวางของ..ที่ห้องนอน..ที่บ้าน..ที่รถ..ที่ทำงาน  แต่หายังไง..ก็หาไม่เจอ ..จนเวลาผ่านไปสักพักก็พบว่าของสำคัญที่เรามองหานั้นอยู่ตรงหน้าเรานี่เอง..แต่ทำไม..เมื่อครู่กลับมองไม่เห็น

    หากของวางอยู่ข้างหน้าเรา..แต่เรากลับมองไม่เห็น ..หาข้ามไปข้ามมา..จนเวลาล่วงเลย..  เป็นไปได้มั้ยว่า..สิ่งที่เราขาดหายไปในการค้นหาในครั้งที่แล้ว..คือ" การปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่ " ..

     

    " ความสุข " ก็เป็นเหมือนของสำคัญที่เราหาไม่เจอ..

    เหมือนกันตรงที่..เมื่อหาไม่เจอก็กระวนกระวายใจ

    เหมือนกันตรงที่..เรามั่นใจว่ามันเป็นของเรานี่แหละไม่ได้หายไปไหน

    แต่บางครั้ง..หายังไง..ก็หาไม่เจอ

    และ เหมือนกันตรงที่..ต้อง " ปรับเปลี่ยนมุมมอง " ..

     http://gotoknow.org/blog/uthaiunphim/102896

    Pนายอุทัย อันพิมพ์
    มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

    คนทำงานเพื่อชุมชน

    จากแนวทางการทำงานดังกล่าวจึงทำให้ผมได้มานั่งทบทวนตัวเองครับว่า ตนเองก็เรียนมาเยอะพอสมควร แถมยังต้องกินเงินภาษีของพี่น้องประชาชนอยู่ทุกวัน และที่สำคัญเกิดมาทั้งทีจะไม่สร้างความดีให้กับสังคม ชุมชน ได้จารึกใว้บ้างเชียวหรือ

     http://gotoknow.org/blog/goaround1/102908

    Pสิริพร กุ่ยกระโทก
    สังกัด สพท.กทม.เขต2

    โอ....ไม่อยากจะคิดเลย...ขอให้มีแต่ชีวิตไปวันหนึ่ง....จะได้หรือ   ในเมื่อ...หู..ยังได้ยินเสียงวิจารณ์ถึง  การศึกษาไทยที่ล้าหลังและไม่ได้ผล  เมื่อเทียบเคียงกับประเทศเพื่อนบ้าน

    ยินดีครับ การแลกเปลี่ยนจะทำให้ชุมชนเข็มแข็งมากขึ้น

     http://gotoknow.org/blog/mrschuai/100642

    P

    พรบ.สภาองค์กรชุมชนท้องถิ่นน่าจะเป็นกฏหมายที่ย้ายน้ำหนักกลับมาอยู่ที่ชุมชนท้องถิ่นโดยขึ้นต่อรัฐส่วนกลางน้อยที่สุด จึงเป็นพรบ.เชิงกระบวนทัศน์หรือการช่วงชิงพื้นที่ นิยามความหมายของการพัฒนาครับ

    P

    สวัสดีครับคุณศักดิ์ณรงค์

    • ยินดีต้อนรับนะครับ มาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องนี้นะครับ
    • ขอบคุณมากครับ การศึกษา ชุมชนเข้มแข็ง
    • ขอบคุณมากครับ
    P
    สิทธิรักษ์
    เมื่อ พ. 13 มิ.ย. 2550 @ 16:17 จาก 124.157.164.245 ลบ [291599]
    P
    เบิร์ด
    เมื่อ อ. 12 มิ.ย. 2550 @ 19:39 [290610]

    สวัสดีค่ะทุกๆท่าน

      เล่าฮูคะ...สภาชุมชนที่เล่าฮูว่ามาดูดีและน่าทำ ( แต่ไหงไปโพสต์ไว้ที่อื่นล่ะคะ ^ ^ )

    แต่ในช่วงที่ไม่มีสภานี่ล่ะคะเราจะทำอย่างไร ? หรือกว่าสภาชุมชนที่ดูเหมือนเป็นยาวิเศษที่จะมาช่วยรักษาโรคทั้งหลายในชุมชนออกฤทธิ์ เราควรทำอย่างไร ?

    อย่างเล่าฮูอยาก พัด - กะ - นา หมู่บ้านที่เล่าฮูอยู่ เล่าฮูควรเริ่มยังไง ?...

    เพราะเบิร์ดไม่ค่อยชอบภาวะที่เฝ้าแต่รอให้มีซุปเปอร์แมนมากู้โลกน่ะค่ะ....เลยถามกลวงๆอย่างนี้แหละซุปเปอร์แพนด้าช่วยแถลงทีเถอะค่ะ

    สวัสดีครับ จอมยุทธเหิรฟ้า

    • กลไกสภาฯ เป็นกลไกในการรวบรวมผู้คน ภายใต้กฏหมายรองรับ
    •  กลไกสภาฯรวบรวมปัญหา รวบรวมผู้รู้  รวบรวมปัญญา รวบรวมชุมชน
    • เป็นกลไกที่เป็นเวทีที่ทรงคุณค่า
    • เป็นแหล่ง ควบรวมองค์ความรู้และปัญหา
    • เป็นแหล่งรวมหมู่ปราชญ์ชาวบ้าน

    ก่อนที่ พรบ. จะผ่าน เราคงจะต้องให้ชุมชนเตรียมความพร้อม โดยที่ต้องให้รู้ว่าเวทีนี้มีประโยชน์อะไร

    ต้องทำความเข้าใจกันว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้อง ออกมาร่วมแก้ปัญหาที่หมักหมมกันมา ถ้าชุมชนไม่ออกมาแสดงความเห็นก็จะไม่มีเวทีไหนอีกแล้วที่จะพื่ง 

    ชุมชนจะสามารถแก้ปัญหาโดยตัวชุมชนเอง

    ชุมชนจำต้องเข้มแข็ง

    ชุมชนจะต้องสามัคคี

    ชุมชนจะต้องเสริมการรับรู้ ความรู้พื้นฐาน

    ชุมชนจำต้องแสดงออกในความรับผิดชอบต่อชุมชนเอง

    คุณ เบิร์ต ว่าพวกเราต้องทำอะไรบ้าง

    • การกระตุ้นความรับรู้
    • กระตุ้นถีงความรับผิดชอบตัวเอง
    • กระตุ้นเตือนถึงสัญญานที่ดีต่อชุมชน
    • ให้การศึกษาเบื้องต้น
    • ทำเอกสารที่จำเป็น ให้ชาวบ้านศึกษา
    • จัดวงสนทนา แลกเปลี่ยนความเข้าใจ จัดวงสนทนาจากเล็กสู่วงใหญ่
    • เป็นพี่เลี้ยงในเบื้องต้น

    เหล่าผู้ที่เคลื่อนไหวพัฒนาชุมชน เป็นโอกาสแล้วครับ ลองสู้กันสักตั้ง สู่หนทางที่ดีกว่า

    ขอบคุณมากๆครับ  โลกกว้างแต่ทางแคบครับ เราคงได้ทำงานร่วมกันในโอกาสต่อไป

    จากการดวลกันระหว่าง นกเหิรฟ้า กับ แพนด้าดอย ใน http://gotoknow.org/blog/mrschuai/100642

     http://gotoknow.org/blog/dongluang-1/103077

    P

     เรื่องเล่าจากดงหลวง 117 พิษของมะม่วงหิมพานต์

    ด้วยกลวิธีทางระบบบัญชีและนโยบายของธนาคารก็มีการ ปิดบัญชีหนี้สินด้วยการเป็นหนี้สิน คือมาเสนอเงื่อนไขใหม่ให้ลุงมากู้อีกหนึ่งแสน เอาแปดหมื่นใช้คืนหนี้เก่าแล้วเหลือเงินสองหมื่นเอาไปทำอะไรก็เอาไป ธนาคารก็ปิดบัญชีเรื่องมะม่วงหิมพานต์ได้แต่เปิดบัญชีหนี้สินใหม่ให้ "ลุงมา" หนึ่งแสนบาท.. 

    มันไม่ได้แก้ปัญหา

    แต่สร้างปัญหาใหม่ให้แก่เกษตรกร 

    รัฐสมควรรับผิดชอบนโยบายการส่งเสริมการเกษตรที่ล้มเหลว

    มิควรปล่อยให้เป็นภาระของเกษตรกร 

    แม้ว่าการตัดสินใจเป็นของเกษตรกรก็ตาม 

    จะมีอีกกี่โครงการที่เข้าแถวมาอย่างนี้อีกในอนาคต  

    (ผู้บันทึกต้องขออภัยเพื่อน G2K ที่ช่วงนี้เอาแต่ปัญหาชาวบ้านมาบ่นให้ฟังครับ ทุกข์ของชาวบ้านคือทุกข์ของแผ่นดิน โลกร้อนขึ้นทุกวัน ปัญหาชนบทก็ยิ่งร้อนขึ้นทุกนาทีเช่นกัน)

    P
    mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง
    เมื่อ พฤ. 14 มิ.ย. 2550 @ 15:58 [292809]

    http://gotoknow.org/blog/mrschuai/100642

    • ระบบอำนาจในชุมชนตอนนี้เป็นอย่างไรครับ สมดุลไหมครับ ขาดอะไรบ้างครับ..... เราจะต้องอย่างไรไม่ให้เป็น สามเส้า (เศร้า) ครับ
  • คนในชุมชนพร้อมหรือยังที่จะตรวจสอบระบบเศร้าในชุมชนขอตนเอง
  • ประชาชนต้องการอะไรกันแน่ในชุมชน การศึกษา การทำมาหากิน หรือความอยู่รอด หรือว่าทรัพย์สินเงินทอง.....
  • ระบบการซักฟอกให้ผุ้บริหารขาวสะอาด จะแก้ไขอย่างไร ให้คนกล้าพูดแล้วต้องดึงคนระดับมาให้เป็นคนรับใช้และทำงานให้กับชุมชน....
  • องค์กรที่ตั้งขึ้นมาในชุมชนทั้งหมด มีอะไรบ้างครับ แล้วจะเชื่อมโยงทั้ง GO, NGO ให้เข้ากันได้อย่างไร แบบไหนคือจุดที่ชาวบ้านต้องการครับ
  • ข้อสำคัญ คนในชุมชนพร้อมแล้วหรือยังที่จะทำ...เพราะสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากไอน้ำที่ระเหยขึ้นท้องฟ้า เพื่อรอเวลาให้ตกลงมาเป็นฝนที่ชุ่มฉ่ำเย็น......
  • อีกหน่อยครับท่านวิหกเหิน

    P
    บางครั้งผมอยากสะท้อนถึงหลายเรื่องที่มีผลก่อนการใช้ความคิดในการแก้ปัญหา  พอดีไปเหลือบเห็นข้อความนี้ 

    " จิตสำนึก " ...ต้องถูกปลูกฝังและกระตุ้นให้เติบโตตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่ในทุกช่วงวัย...

    อ่านแล้วนึกถึง ฯพณฯ ธานินทร์  กรัยวิเชียร ที่กล่าวถึงการปลูกฝังคติธรรมของคนอังกฤษ ซึ่งทำกันตั้งแต่เด็ก 7 ประการ คือ

    1. สัจจะ ( Truth )
    2. ความซื่อสัตย์ สุจริต ( Honesty )
    3. ความระลึกในหน้าที่ ( Sense of Duty )
    4. ความอดกลั้น ( Patience )
    5. ความเป็นธรรม ( Fair Play )
    6. การเอาใจเขามาใส่ใจเรา ( Consideration for other )
    7. ความเมตตาธรรม ( Kindness )

    ทำให้นึกคิดไปเรื่อย การเรียกร้องฝีกฝนตัวเองไม่ใช่ไม่ดี  แต่ที่ผมว่าสถานะการณ์มีผลอย่างมากในการ ก่อกำเนิดการไร้วินัย หรือมีวินัย   

    ตราบใดที่นั่งวิปัสนาบนท้องถนนไม่ได้ ก็ไม่สามารถเรียกร้องให้คนมีจิตสำนึกในวินัยท่ามกลางสถานะการณ์เลวร้ายได้

    ขอบคุณมากๆครับ

    P

    http://gotoknow.org/blog/mrschuai/100642

                 "คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน เป้าหมายจึงอยู่ที่หมู่บ้าน"

    P
    สิริพร กุ่ยกระโทก
    เมื่อ อา. 15 เม.ย. 2550 @ 04:32 [224928]

    สวัสดีค่ะท่าน   สิทธิรักษ์

    • พ่อรักลูก   พันผูก   เป็นนักหนา

    ด้วยบูชา  ด้วยรัก  สมัครสมาน

    อันลูกน้อย  เติบโต  มาเนิ่นนาน

    ค่อยค่อยผ่าน  ประสบการณ์  มายาวไกล

    • โอ้ดวงใจ  ดวงน้อยน้อย  ของพ่อนี้

    อยู่ในที่  ปลอดภัย  ไกลไหนไหน

    ก็ยังอยู่  สถิตคู่  ในใจใคร

    โอ้ดวงใจ  ของพ่อนี้  มีทุกคน

    ***ด้วยความรัก**ความปรารถนาดี**จากครูอ้อย**ในวันครอบครัว

    P
    สิทธิรักษ์
    เมื่อ จ. 16 เม.ย. 2550 @ 11:26 [226242]

    รักลูกๆด้วยดวงจิตร

    อยากใกล้ชิดเป็นไหนๆ

    อยากให้ลูกอนาคตยาวไกล

    ไม่มีทุกข์ภัยตลอดกาล

    คงมีวันได้อยู่กันพร้อมหน้า

    ร่วมเริงร่าสนทนากันใกล้ๆ

    ไม่ต้องระเหินไปไหนไกล

    ไม่ต้องคิดห่วงใยใจเลื่อนลอย

    วันนี้อากาศร้อนมาก ไมได้ไปไหนอยากเข้ามาทักทายลูกๆ  ป๊าได้บันทึกไปก่อนหน้านี้ คิดว่าขาดอะไรๆ อีกเยอะ   รวบรวมสติอารมณ์ได้ก็เลยมาบันทึกต่อ

     

    • ที่ว่าทุกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นย่อมมีสาเหตุของมัน  มันเกิดขึ้น ด้วยตัวของมันเองไม่ได้ 
    • ทุกข์สิ่งทุกอย่างในโลก มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาไม่มีอะไรที่หยุดนิ่ง  แต่อยู่ภายใต้กฏของมัน
    • คนดี อาจกลายเป็นคนเลวในวันหนึ่ง
    • คนเลว อาจกลายเป็นคนดีในวันหนี่ง
    • คนรวยอาจกลายเป็นคนจนในวันหนึ่ง
    • คนจนอาจกลายเป็นคนรวยมหาศาลในวันหนึ่ง
    • คนฉลาด อาจกลายเป็นคนโง่ในวันหนึ่ง
    • คนที่ดูโง่ อาจกลายเป็นคนฉลาดมากๆในวันหนึ่ง                           

               ที่บันทึกมานี้อาจจะทำความกระจ่างไม่ได้  ก็เพราะลูกๆจะต้องปรับระบบการรับรู้เพิ่มขึ้น มีอารมณ์การรับรู้มากขึ้น  จัดแนวการรับรู้มากขึ้น  วิธีคิดจำเป็นจริงๆ  ในการรับรู้   ในเวลาต่อไปป๊าคงได้ขยายความอีก

    ไม่มีรูป
    Bee
    เมื่อ อ. 17 เม.ย. 2550 @ 13:41 [227861]
    ซึ้งแทบร้องไห้
    -----------------------------------------------------------------
    ป๊าถึงลูกๆ
    P

    สิทธิรักษ์ จากป๊า http://gotoknow.org/blog/dol3377/90226

    P
     http://gotoknow.org/blog/LifeLearning/103368

    ผมว่า...หน้าที่ของเราตอนนี้คือดูแลพ่อแม่ของเราในวัยบั้นปลายของท่านให้มีความสุข พร้อม ๆ กับการไม่ลืมที่จะเตรียมความพร้อมให้กับตัวเราเอง เพราะวันหนึ่งชีวิตของเราก็ต้องเดินทางไปถึงช่วงบั้นปลายนั้นเหมือนกัน...

    P
    sasinanda
    เมื่อ อ. 29 พฤษภาคม 2550 @ 20:17 [276176]

    สวัสดีค่ะ 

  •  http://gotoknow.org/blog/goodliving/99001
  • ไทยคิด ไทยทำ ไทยใช้ ไทยพัฒนา ไทยก้าวหน้า ไทยรุ่งเรือง ไทยเฟื่องฟู ไทยรู้รอบ ไทยยั่งยืน โดยไม่ต้องฟื้นฟู

        คุณเม้งคะ อีกข้อหนึ่ง ที่ไม่มีใครพูดถึง นอกจากเรื่องต้องส่งเสริมให้ความรู้ด้านการเมืองแล้ว คือ

        การที่ต้องเสนอรัฐให้มีการจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต เช่น พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ สวนสัตว์ สวนสาธารณะ สวนพฤกษศาสตร์ ศูนย์กีฬา และอุทยานวิทยาศาสตร์เป็นต้นค่ะ เพราะการเรียนรู้ มิใช่มีแต่ในห้องเรียนค่ะ

  • สวัสดีครับ    ประกาศครับ หนุ่มคนนี้กำลังขอลาพัก เพื่อฟูมฟักกลับมาช่วยชาติ
    P
    P
    Miss somporn poungpratoom
    Fac. Of Pharmacy Chiang Mai University
    เรียนรู้จากเรื่อง (ความ)รัก

      อย่างไรก็ตามสิ่งที่หนีไม่พ้นในวังวนของชีวิตที่ทำให้เกิดสุขในตัวเองคือ

    • 1. ความรัก love
    • 2. ความสัมพันธ์ relationships
    • 3. ครอบครัว family
    • 4. เพื่อน friends
    • 5. ชีวิตที่เป็นสุข well-being

     

    P
    http://gotoknow.org/blog/economicmorality/103744

    สักวัน......โลกจะส่องสว่างให้กับดวงอาทิตย์

    เพียงแนวคิด.......หนึ่งในจินตนาการ

    อุดมการณ์ในอุดมคติ

    และความฝันที่ฉันกล้าจะฝัน..........เท่านั้นเอง

    http://gotoknow.org/blog/economicmorality/103744

    P
    Man In Flame
    เมื่อ ศ. 15 มิ.ย. 2550 @ 21:45 [294198]

    เคยไปปรึกษากับอาจารย์ที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับธุรกิจ ในสถาบันแห่งหนึ่ง

    คำตอบที่ได้รับคือ ไม่มีใครเขาทำแบบนี้หรอก ธุริจก็ส่วนธุรกิจ การกุศลก็ส่วนการกุศล

    เราจึงได้ยากที่จะพบ องค์กรธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อสังคมและทำไมสังคมของเราจึงเป็นอย่างที่เป็นอยู่

     

    Trinity: Neo, no one has ever done anything like this.
    Neo: That's why it's going to work.

    เพียงความฝันที่ฉันกล้าจะฝัน..........เท่านั้นเอง

    P
    archanwell
    เมื่อ ศ. 15 มิ.ย. 2550 @ 00:06 [293326]

    http://gotoknow.org/blog/pilgrim/103329 

    ไม่อยากจะขัดคอว่า จะเป็นไปได้ไหมนะ ?

    อัตตานิยมที่วิ่งรอบตัวฉันทุกวันนี้ ทำให้ฉันกลัวมากทีเดียว

    วัตถุนิยมที่อยู่ในลมหายใจของคนรอบตัว แม้แต่ตัวฉันเองในบางเวลา ก็ทำให้ฉันไม่แน่ใจ

    ง่ายนิยมของเหล่ามนุษย์ตัวน้อยที่ฉันสอน ก็อีก

    ไม่ต้องบอกเธอ เธอก็คงรู้ว่า ฉันกำลังท้อว่ะ...

    ถ้าเธอเจอสวรรค์แล้ว ส่งสัญญานนะคะ ฉันจะตามไป เห็นไหม ฉันก็เป็นโรคง่ายดายนิยมว่ะ.. แต่จะเอาวัตถุต่างๆ ที่ฉันชอบไปด้วยให้น้อยที่สุด และก็สัญญาว่า จะไม่ใช้อัตตานิยมมากนัก

    Pจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
    เยือน "น้ำตกตาดสี" ผ่านแม่น้ำคานอันเงียบสงบที่เมืองลาว

                          Nam Khan  river 

    Along the Nam Khan river

    take a boat in Nam Khan

    sanook trip from Thailand.

    happy happy

    Nong Pa with P' Arunee  take a boat ride along the river

     

    Life style on the river

    Tad se  : This is not the season to go to Tad see fall

    surrounded by the forest

    You can see the most beautiful view of Tad se waterfall.

     

     

    Jatuporn Wisitchotiaungkoon,Mr.

    http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/103406

    Pอ.อาลัม
    วิทยาลัยอิสลามยะลา วิทยาเขตปัตตานี  http://gotoknow.org/blog/writing2/103762
    หนังสือเป็นมากกว่ากระดาษเปื้อนหมึก

    ตั้งใจไว้ตั้งแต่เริ่มเปิดบล็อก gotoknow ว่าหนึ่งในสิ่งที่จะบอกเล่าใน บล็อกคือเรื่องเกี่ยวกับ "หนังสือ" โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือเกี่ยวกับ อิสลาม ซึ่งตลอดชีวิตของผม ผมได้รับประโยชน์และความดีมากมาย จากหนังสือที่ได้อ่าน สำหรับผมหนังสือ

    • เป็นครูในยามที่ผมไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น
    • เป็นที่ปรึกษาเมื่อผมต้องการคำปรึกษา
    • เป็นผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ "ความรู้ที่ลึกซึ่ง" ประกอบการตัดสินใจ
    • เป็นเพื่อนที่สามารถพูดพูดคุยในเรื่องที่สนใจร่วมกันได้อย่างไม่มีวันเบื่อ
    • เป็นมักคุเทศน์พาผมท่องไปในที่ต่างๆ
    • เป็นหมอที่ให้ข้อมูลและคำแนะนำในการดูแลสุขภาพอย่างละเอียด
    • เป็นแรงบันดาลใจ
    • เป็นเพื่อนที่ช่วยคลายเหงา
    • เป็นผู้แนะนำให้ผมได้รู้จักกับ บุคคลต่างๆในอดีต ชีวิต และการต่อสู้ของพวกเขา
    • เป็นกำลังใจยามท้อแท้ เหนื่อยล้า และผิดหวัง
    • เป็นกระจกที่วิเศษที่สุดและซื่อสัตย์ที่สุดในการสะท้อนภาพที่เป็นจริงของผม
    • เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดตลอดเวลาสำหรับผมเข้าไปศึกษาค้นคว้า
    • เป็นยานอวกาศที่พาผมท่องจักรวาล
    • เป็นเรือท่องมหาสมุทร์
    • เป็นเรือดำน้ำพาผมดิ่งสู่ก้นทะเล
    • เป็นเครื่องเอกซเรย์ที่ทำให้ผมรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย
    • เป็นของขวัญที่ดีที่สุดที่ได้รับและที่มอบให้คนอื่น
    • เป็นนักจิตวิทยาประจำตัวที่วิเศษ
    • เป็นบอดี้การ์ด
    • เป็นคำตักเตือน
    • เป็นผู้พัฒนาและยกระดับชีวิต จิตใจให้สูงขึ้น
    • เป็นตัวช่วยที่ทำให้ผมสามารถพูดคุยกับบุคคลต่างๆมากมาย
    • เป็นวิทยากร ฝึกอบรมเกี่ยวกับ ความรู้ ทักษะ  และเรื่องของจิตใจ
    • เป็นห้องสมุดส่วนตัว
    • เป็นสมบัติและมรดกที่มีคุณค่า
    • เป็นคลังแห่งความรู้
    • เป็นอีกหลายสิ่ง มากมาย เกินกว่าที่ผมจะเขียนลงในบล็อกนี้ ได้หมด
    • ................................................................................................
    • .................................................................................................
              หมายเหตุ  ที่เว้นว่างไว้นั้นสำหรับคุณผู้อ่านครับ
    PAjanJi  ดาวจรัสดวงใหม่
     http://gotoknow.org/blog/jiraratp/103588

    "เมื่อทุกก้าวเดินคือสิ่งที่น่าจดจำ"

    อย่างไรก็ตามถึงจะสามารถถ่ายทอดข้อมูลข้ามสมองได้ จะรู้ได้อย่างไรว่าคุณรับมาแต่ส่วนที่ดี?
    ความจริงแล้ว ความรู้ (knowledge) เป็นเรื่องหนึ่ง ปัญญา (wisdom) เป็นอีกเรื่องหนึ่ง

    จบปริญญาหลายใบมิได้หมายความว่าจะมีปัญญาโดยอัตโนมัติ

    พูดง่ายๆ ก็คือ ถึงจะถ่ายความรู้ข้ามสมองได้ ก็ไม่รู้ว่าจะมีประโยชน์ในชีวิตจริงอย่างไร เพราะความรู้อย่างเดียวไม่มีประโยชน์หากไม่สามารถแปลงให้เป็นปัญญาได้

    คนเรียนจบสูงๆ ไม่แน่ว่าจะมีความสุขกว่าคนที่ไม่ได้เข้าโรงเรียนเลย

    เพราะลมปราณแห่งปัญญาไม่สามารถถ่ายทอดได้ แต่เพาะพรวนพอกพูนได้

    และเพราะลมปราณแห่งปัญญาไม่ได้เกิดจากสมองอย่างเดียว มันมาจากหัวใจ

     Pจตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร  http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/103770

    จอมยุทธ์น้อย ในยุทธจักร Gotoknow

      

    "แม้จะเก่งกาจในเพลงดาบเพียงไร มีความหลงอวิชชา ความผยองตน   นอกจากจะเอาชนะตนเองไม่ได้แล้ว จะคิดทำการใหญ่ได้อย่างไร"

     

    "วิถีแห่งดาบ คือ การละทิ้งดาบ"

     

    P

    http://gotoknow.org/blog/dongluang-1/103772

    เรื่องเล่าจากดงหลวง 118 ช้างสารต่อสู้กันหญ้าแพรกแหลกลาน

    ประเทศต่างๆทั่วโลกต่างตื่นตัวกันมากตั้งแต่ปีหลายปีที่ผ่านมา และมาตื่นมากที่สุดในปี 49-50 นี้ แหล่งเงินทุนต่างๆทั่วโลกต่างสนับสนุนกิจกรรมที่เกี่ยวกับการรักษาระดับโลกร้อน หรือป้องกันโลกร้อน และขยายกิจกรรมไปถึงเรื่องพลังงานอันเป็นเหตุสำคัญหนึ่งของการเกิดความร้อนในโลกนี้ 

    ทางหน่วยงานผู้จัดการเรื่องนี้ได้ทำกิจกรรมกระบวนการเรียนรู้แล้วหลายรุ่นในช่วงเวลาที่ผ่านมา เป็นที่สนอกสนใจแก่บรรดาผู้นำโดยเฉพาะชาวบ้านที่ไม่เคยรู้เรื่องเหล่านี้มาก่อนว่าความร้อนของโลกมันมีผลกระทบต่อสรรพสิ่งอย่างไร ต่อตัวเราทุกคนอย่างไร พืชที่เกษตรกรปลูกทำมาหากินนั้นต้องกระทบกระเทือนในที่สุด โลกภัยไข้เจ็บต่างๆจะเกิดขึ้นในรูปแบบใหม่ๆมากมาย ฝนฟ้าจะแปรปรวน อากาศจะวิปริต โรคแมลงของพืชและสัตว์จะแปรเปลี่ยน จะมีสิ่งที่ล้มหายตายจากและจะมีสิ่งใหม่ๆเกิดขึ้น วิชาการที่มนุษย์สั่งสมมานับพันปีหลายเรื่อง ต้องสิ้นสุดลง ต้องเรียนรู้ใหม่ เริ่มใหม่ ซึ่งกว่าที่จะเข้าใจได้อาจจะต้องสูญเสียชีวิตสรรพสิ่งรวมทั้งมนุษย์ไปมากกว่าสงครามโลกที่เกิดมาทั้งหมดรวมกันเสียอีก ฯลฯ   

    แต่ต้องหยุดลงฉับพลัน เพราะช่วงนี้เป็นช่วงตึงเครียดทางการเมืองในกรุงเทพฯ รัฐบาลมีคำสั่งให้ผู้ว่าราชการตรวจสอบการเคลื่อนไหวของคนต่างจังหวัดที่เป็นกลุ่ม ดังนั้นการประชุม สัมมนา ศึกษาดูงาน การเดินทางไปเรียนรู้เรื่องนี้ระหว่างชุมชนต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดเจ้าของพื้นที่ก่อน ขณะที่การเตรียมการทุกอย่างชัดเจนหมดแล้วทุกฝ่ายพร้อมแต่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัดก่อน  ในที่สุดบางจังหวัดไม่ได้รับการอนุมัติจากผู้ว่าราชการจังหวัด เพราะท่านผู้ว่าเกรงว่าการจัดการทั้งหมดนี้จะแอบแฝงเพื่อจะนำคนไปชุมนุมที่กรุงเทพฯ 

    เพื่อความสบายใจ จึงสั่งหยุดหมด ทั้งที่เป็นหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง เป็นสถาบันมหาวิทยาลัยและตรวจสอบได้หมดสิ้น ท่านก็เอาความสบายใจเป็นหลัก ความเสียหายที่เกิดขึ้นท่านไม่ได้รับรู้หรอกว่ามีเท่าไหร่ ใครต้องรองรับบ้าง...

    ล้างรถ กุศโลบาย ฝึกจิตให้ได้ ดูใจให้เป็น

      

    ผมชอบล้างรถ!!!  http://gotoknow.org/blog/delight/103803

    Pเม้ง สมพร ช่วยอารีย์
    ลงแดง (1) : ฝนพิษห่าใหญ่ไหลเข้ามาหาใครในหมู่บ้าน

    ฝนพิษห่าใหญ่ ตกลงไปท่วมชาวนา ใครเอยจะรู้ว่า น้ำที่ไหลมาคร่าชีวิตเรา

    ฝนพิษห่าใหญ่ ท่วมลงที่ใจอันอ่อนล้า ตกลงมาแต่ละครา ทั้งน้ำตาแทบกระเด็น

    ฝนพิษห่าต่อเนื่อง ท่วมนองเนืองทั่วระแหง ตกทีไรไม่เคยแจ้ง ตกแต่ละแห่งแล้งน้ำใจ

    ฝนล้างพิษห่าสุดท้าย ที่จะหวังได้ก็คือท่าน ช่วยกันตกคนละวัน ตกที่ตัวท่านสร้างชุมชน

    ฝนล้างพิษเกิดจากจิต ที่คิดใหม่ สร้างขวัญและกำลังใจ ตกครั้งใหม่เพื่อชุมชน

    ฝนล้างพิษที่ผิดพลาด คิดร่วมกันใหม่อย่างฉลาด ไม่ควรพลาดที่แล้วมา ทบทวนด้วยการพูดจา สุขถ้วนหน้าทั่วชุมชน

    ชุมชนเข้มแข็งคือคำตอบ ของคำถามทุกข้อความที่ถามมา ความสุขเกิดขึ้นที่ใบหน้า และวาจาที่ละไม.....

    ขอเป็นกำลังใจให้ทุกชุมชน ทบทวนตัวเอง ครอบครัว และชุมชน เพื่อชุมชนเข้มแข็ง ทางออกสุดท้ายที่เกิดได้และยั่งยืน

    สำหรับเรื่องนี้ ฝนพิษคืออะไร ท่านคงหาคำตอบกันได้ในที่สุดนะครับ เพราะฝนพิษที่ตกแต่ละที่นั่น ตกในรูปแบบที่แตกต่างๆกัน ต้องค้นให้เจอเพื่อค้นหาทางออกของปัญหาครับ

    P
    http://gotoknow.org/blog/teacherhealthy/103788
    ครูอ้อยต้อง...เอาชนะใจตัวเอง..ที่ไม่ต้องคิดว่า   ครูอ้อยจะชนะอะไรต่างหาก...ถึงจะกล่าวได้ว่า...ครูอ้อยชนะทุกสิ่ง

    http://gotoknow.org/blog/mrschuai/103779

    Pเม้ง สมพร ช่วยอารีย์
    ชีวิตของเอ็ง...กำลังจะหายไป 100 % ...แล้วพ่อหนุ่ม..

     

    P
    http://gotoknow.org/blog/pass/103809
    ครอบครัวอบอุ่น

    ความรักเป็นเหมือนเมล็ดพันธุ์เริ่มต้นของครอบครัว แต่ความยืนต้นของครอบครัวนั้น มิได้อาศัยเพียงความรัก จะต้องอาศัยน้ำ แสงแดด ปุ๋ยที่เป็นธาตุอาหารหลักและพลังงานชีวิตให้ความรักนั้นยืนต้นเป็นครอบครัวที่อบอุ่นและมีความสุขได้

    เลือกดูนะคะเอาครอบครัวแบบไหน

        

          

    http://gotoknow.org/blog/nisachol/103856

    Pmalikaew
    โอ...วัฒนธรรมไทย?
    สำนึกที่ต้องหล่อหลอม

    ฟังข่าวย่อยว่าจะบรรจุเรื่องการแต่งกายของนักศึกษาเข้าเป็นวาระแห่งชาติ  ฟังแล้วก็ให้กลุ้มใจ กับสังคมทุกวันนี้ ทำไมกันเรียนมาจนถึงระดับนี้ ควรที่จะมีวิจารณญาณว่า เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมแค่ไหน ไม่ใช่วิ่งตามแฟชั่นจนไม่รู้เรื่องราว  สถาบันการศึกษาก็เช่นกัน หากเห็นไม่เหมาะสมก็ควรเรียกมาตักเตือน หรือเข้มงวดกันหน่อย ไม่ใช่ปล่อยเป็นเรื่องสิทธิเสรีภาพกันจนเกินงาม  จำได้สมัยเรียนก็มีแต่ยังมีฝ่ายปกครองคอยควบคุม  หรือเรียกผู้ปกครองมารับทราบ นั่นคือระดับมัธยม  แต่นี่ระดับที่เรียกว่าก้าวสู่ความเป็นบัณฑิตในอนาคต ไยต้องมาทำเรื่องบรรจุเป็นวาระแห่งชาติ  เป็นอะไรกันไปแล้วประเทศไทย  สำนึกนี่มันสร้างกันยากจริงๆ

    P
    สิทธิรักษ์
    เมื่อ พ. 06 มิ.ย. 2550 @ 12:06 [283918]

    ถึงลูกๆ

    ป๊าเห็น จม. ลูกบลูถึงป๊า ดีใจมาก ที่บลูได้แสดงออกถึงความรู้สึกที่มีต่อป๊า

    ก่อนอื่นป๊าอยากบอกถึงฐานความคิดของป๊าที่มีต่อลูกๆ    ป๊ามีความระลึกเสมอว่า ป๊ามีภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลลูกๆตั้งแต่เล็กจนถึงโตใหญ่ ทั้งความรู้ ความเข้าใจ ความคิด รวมทั้งการอยู่ได้ในสังคมโลกใบนี้

    ความรู้ เป็นอาวุธที่ดีต่อการดำรงค์ชีวิตในโลกใบนี้  แต่ปัจจูบันความรู้เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ การรู้จักใช้ความรู้ต่างหากที่เป็นเครื่องมืออย่างดีในการอยู่รอด

    นั่นคือ คิดเป็น ทำเป็น  หรือ  วิธีคิด  ที่ถูกต้อง

    ป๊าดูแลลูกให้เติบโตได้ แต่ไม่สามารถดูแลถึงแก่ได้

    ติดอาวุธความรู้ที่ถูกต้องได้เท่านั้นที่จะดำรงค์อยู่ได้ตลอดชีวิต

    ป๊าไม่สามารถอ้างได้ว่าดูแลลูกๆได้อย่างดี อ้างว่าให้สิ่งที่ลูกๆต้องการได้ครบถ้วน  อ้างว่าให้ความรู้แก่ลูกได้รอบด้าน   แต่ป๊าสามารถยืดอก บอกได้ว่า  ป๊ามีความรักต่อลูกๆเกิน ร้อย เปอร์เซนต์

    ป๊า .

    ขุดพบที่ http://gotoknow.org/blog/knowtogo12345/100030

     

    P
    http://gotoknow.org/blog/sutthinun/103780
    ที่รักเธออยู่ไหน เมื่อไฟดับ

    ถ้าทุกสถาบันช่วยกันพัฒนาองค์กรของตน ก็จะเป็นการช่วยชาติได้อย่างตรงเป้าหมายที่สุด เพียงแต่อย่าทำแบบลิงหลอกเจ้า เหมือนที่ในระบบราชการบางแห่งทำจนนิสัยเสีย พวกสันดานเสียนี่แหละที่เป็นปัญหาพอกหางหมูระดับประชาชาติ น่ากลัวกว่าพวกม๊อบที่ไปเย๊วๆเสียอีก ที่พูดนี่ก็ใช่ว่าผมจะดีวิเศษวิโสอะไรนะครับ เพราะผมก็เป็นพวกดีแต่ปากแถมยังปากไม่เอื้ออาทรเสียอีก

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท