พื้นที่ กับ การอุดมศึกษา


ปัญหาเรื่องบรรยากาศการศึกษาเป็นปัญหาที่ต้องแก้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษา นักศึกษา และชุมชนรอบๆ ไม่มีทางที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะทำแต่ผู้เดียวได้

จากบันทึกของคุณ P Conductor เรื่องเกร็ดประวัติศาสตร์ Google กับบรรยากาศการเรียน ที่กล่าวถึงการมีบรรยากาศในการเรียนจะสร้างเสริมการเรียนรู้  ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างผลงานที่กระทบคนทั้งโลกได้ ทำให้ดิฉันคิดถึงเรื่องพื้นที่ของมหาวิทยาลัยที่จะนำมาสร้างบรรยากาศในการศึกษา

แต่เรื่องพื้นที่ของมหาวิทยาลัย เป็นเรื่องน่าปวดหัวมากค่ะ ประเด็นหลักคือพื้นที่ไม่พอ เพราะมหาวิทยาลัยเก่าล้วนแล้วอยู่ในเมือง ชุมชน ขยายไม่ออกในพื้นที่เดิม ถ้ามีการเปิด campus ใหม่ ก็จะเป็นที่บริจาคจากทหารบ้าง ผู้ใจบุญบ้าง ตามต่างจังหวัด.. แต่ต้องมีเงินทุนมากในการพัฒนามหาวิทยาลัยต่างจังหวัดให้เท่าเทียมกับที่มีอยู่ในกรุงเทพ.. รวมถึงต้องมีการพัฒนาการบริหารให้สามารถบริหารพื้นที่การศึกษาในแต่ละที่ให้เท่าเทียมกันได้ด้วย ทั้งด้านความเป็นอยู่ของบุคลากร นักศึกษา และวิชาการ..

การก่อสร้างใช้เงินมาก ซึ่งมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ไม่ค่อยมี ถ้าของบหลวงหรือเงินงบประมาณ มักจะได้งบไม่ถึงที่จำเป็นต้องใช้จริง ขอ ๑๐๐ อาจได้แค่ ๖๐ (ตัวเลขไม่ยืนยัน) มหาวิทยาลัยมักใช้วิธีสมทบเงินรายได้ลงไปเพิ่มเติม (เงินรายได้ ได้มาจากการเก็บค่าบำรุงการศึกษา เงินจากหลักสูตรพิเศษ หลักสูตรสบทบต่างๆ การให้บริการวิชาการอื่นๆ ฯลฯ) จึงจะได้สิ่งปลูกสร้างที่ต้องการได้ ดังนั้น การพัฒนา facilities ของสถานศึกษาจึงเป็นเรื่องยาก ติดขัดเรื่องเงินทุน   อุตสาหกรรมก็ไม่เข้ามาบริจาค การมีส่วนร่วมระหว่างอุตสาหกรรมกับการอุดมศึกษามีน้อย ส่วนใหญ่ต้องออกไปขอ..ซึ่งอาจารย์ไทยทั้งหลายก็ไม่ค่อยเก่งเรื่องนี้เท่าไหร่.. ไม่คุ้นเคยกับการขอความร่วมมือกับอุตสาหกรรม ประกอบกับทัศนคติของอุตสาหกรรมที่ซื้อเอาเร็วกว่าให้มหาวิทยาลัยพัฒนาให้ด้วย ทำให้เกิดความร่วมมือได้ยาก

ส่วนประเด็นเรื่องรั้ว (จากข้อคิดเห็นของน้อง P เม้ง ) เหตุผลก็คล้ายๆ กับการปลูกบ้านในเมือง ที่จำเป็นต้องมีรั้ว.. ถ้าไม่มี อาจมีปัญหาเข้ามาในมหาวิทยาลัย มากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ แต่ถ้ามองการรั้วเป็นรั้วเสมือนที่กั้นความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย.. การยกรั้วออกก็ยังยากอยู่ เพราะชุมชนที่อยู่รอบๆ มหาวิทยาลัย ส่วนใหญ่ก็ทำธุรกิจต่อเนื่องกับนักศึกษาในมหาวิทยาลัย เช่น ทำหอพัก ร้านสำเนาเอกสาร ร้านอาหาร ร้านคอมพ์ ร้านเหล้า T_T ....

มหาวิทยาลัยอาจอยากร่วมมือกับชุมชน สร้างบริการให้นักศึกษา เพราะตัวเองมีเงินทุนไม่พอ ไม่มีพื้นที่สำหรับทำ...แต่พอมีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้อง...เช่น หากร่วมมือกับชุมชน ให้ชุมชนสร้างหอพักบริการนักศึกษา มหาวิทยาลัยก็อาจถูกมองว่าหากินกับนักศึกษาได้อีก...

แทบทุกอย่างที่ทำอาจจะเป็นดาบสองคม ความตั้งใจของผู้บริหารที่ริเริ่มทำธุรกิจบริการนักศึกษาอาจจะดี แต่พอทำไปแล้วอาจถูกสอบ  เพราะยังไม่มีกฎหมายรองรับให้มหาวิทยาลัยทำธุรกิจได้ชัดเจน (จนกว่าจะเป็น ม.ในกำกับ ซึ่งอนุญาตให้มหาวิทยาลัยทำธุรกิจได้ แต่ก็ยังสุ่มเสี่ยงอยู่ดี ขึ้นอยู่กับจริยธรรมของผู้บริหาร) หรือผู้บริหารเปลี่ยน...นโยบายอาจเปลี่ยนอีก..

ในการสร้างบรรยากาศในการศึกษาต้องใช้เงิน เงินมาจากไหน.. จากงบประมาณ จากค่าลงทะเบียนของนักศึกษา  ประกอบกับนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา  จึงมีการรับนักศึกษามากขึ้น... สุดท้ายก็กลับมาวนอยู่กับปัญหาพื้นที่และ facilities ทางการศึกษาไม่พอเพียง เป็นปัญหางูกินหางไม่มีที่สิ้นสุด และสืบเนื่องไปยังคุณภาพการศึกษาอื่นๆ อีก

ปัญหาเรื่องบรรยากาศการศึกษาเป็นปัญหาที่ต้องแก้ร่วมกันระหว่างสถานศึกษา นักศึกษา และชุมชนรอบๆ ไม่มีทางที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะทำแต่ผู้เดียวได้

บันทึกนี้ต้องการนำเสนอมุมมองที่ดิฉันเห็นจากประสบการณ์ของตัวเองเท่านั้น.. ไม่รู้ว่าที่อื่นๆ เป็นอย่างไรกันบ้างคะ ถ้ามีอะไรดีๆ เป็นทางออก นำมาเล่าสู่กันฟังบ้างก็ดีนะคะ ^ ^

ยังมีเรื่องปัญหาเกี่ยวกับพื้นที่คับแคบอื่นๆ อีก รวมถึงปัญหาความเป็นอยู่ของนักศึกษาพลัดถิ่นที่เกิดจากพื้นที่จำกัดในมหาวิทยาลัยอีก..ถ้ามีโอกาสจะเขียนนำเสนอในโอกาสต่อไปค่ะ

หมายเลขบันทึก: 102131เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2007 19:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (48)

ถ้าทำให้อาจารย์เก่งๆ ออกจากกรุงเทพฯ ไปได้ (มากกว่านี้)  การพัฒนาก็อาจจะสมดุลขึ้นเอง? 

แต่มันก็อาจจะมีปัญหาแบบ ครอบครัวอ.บางท่านอยู่กรุงเทพฯ  ย้ายไปที่อื่น ลูกเต้า อาจจะหาที่เรียนลำบาก  คู่สมรสอาจจะตกงาน บุพการีไม่มีคนดูแล ฯลฯ  

ทางออกอาจจะเป็นระบบขนส่งมวลชน ระยะทาง ~ 100 กิโลเมตร :-P

สวัสดีค่ะคุณบ่าววีร์

ใช่เลยค่ะ การพัฒนาการศึกษาจะต้องมีการนำเอาครูบาอาจารย์ทั้งหลายไปอยู่ชุมชนอื่นๆ นอกจากกรุงเทพด้วย แต่ก็ติดปัญหาส่วนตัวอย่างที่คุณบ่าววีร์ ว่าไว้แหละค่ะ การย้ายคนคงยาก จึงต้องพัฒนาคนในพื้นที่ขึ้นมาแทน แต่กระบวนการนี้ช้าค่ะ กว่าจะได้คนหนึ่งมา พอได้อาจารย์มาก็ยังมีปัญหาอีกค่ะ เพราะถ้าบรรยากาศทางการศึกษาที่ต่างจังหวัดไม่ดี มีความไม่พร้อมในด้านต่างๆ ของสถานศึกษา เศรษฐกิจแถวนั้นไม่ดี อาจารย์ทั้งหลายก็อาจจะพยายามย้ายตัวเองไปอยู่ในที่ๆ เขาทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวได้มากขึ้นอีกค่ะ เพราะฉะนั้นเรื่องเงินเดือนของคนที่เป็นครูก็สำคัญค่ะ เพราะถ้าไม่พอสำหรับการสร้างครอบครัวก็จะเป็นปัญหาแบบนี้แหละค่ะ

ส่วนเรื่องการสร้างระบบขนส่งมวลชนนั้น ถ้าทำได้ก็จะดีกับเศรษฐกิจของเมืองนั้นๆ เลยค่ะ แต่การทำระบบขนส่งมวลชน การสร้างถนน ใช้เงินมากทั้งการสร้างและการบำรุงรักษาค่ะ... ไปๆ มาๆ ก็ติดเรื่องเงินที่ใช้ในการพัฒนานี้อีกค่ะ

ขอบคุณนะคะที่แวะเข้ามา ลปรร ค่ะ ^ ^

P ขนส่งมวลชน อาจจะสร้างง่ายกว่า มหาลัยฯ? เพราะว่า สร้างแล้วคนที่ได้ใช้เยอะมากๆ ไม่ใช่แต่เฉพาะการศึกษา  
 
มีคนบอกว่าถนนไกลๆ พังเพราะรถบรรทุกวิ่งเยอะมากๆ ถ้าใช้รถไฟ (ที่เร็วเท่าๆ กับรถบรรทุกแทน) ก็อาจจะดีกว่า แล้วอาจารย์ ก็อาจจะได้อานิสงส์ ติดรถไฟไปด้วย :-P  ไม่รู้จริงหรือเปล่านะครับ -_-' 
 
ถ้านักเรียนมาเรียนในกรุงเทพฯ​ ก็อาจจะได้แฟนอยู่ คนละจังหวัดกัน การกลับไปทำงานที่ภูมิลำเนา ก็อาจจะมีโอกาสน้อยลง  อาจจะแก้ปัญหาโดยการจัด กิจกรรมเฉพาะนักเรียนแต่ละจังหวัด  ในกทม.ให้เยอะๆ ขึ้น จะได้ไม่มีแฟนอยู่คนละที่กัน   อาจจะไม่ต้องใช้งบประมาณมาก :-P

แต่มาคิดดูอีกที น่าจะวิจัยก่อนว่า ทำไม อาจารย์​ ถึงอยู่กรุงเทพฯ   น่าจะเป็นงานของป.โท คณะทางสังคมศาสตร์ ได้?

แล้วค่อยมาคิดวิธีแก้ เยอะๆ พร้อมประมาณงบที่ใช้ และ ประมาณการว่าวิธีนั้นจะได้ผลแค่ไหน  แล้วค่อยเลือก 

(ผมฝันเกินไปหรือเปล่าครับ?)

วันนี้พึ่งประชุมเกี่ยวกับงบประมาณในการผลิตสื่อที่ม.เกษตร คืออาจารย์หลายท่านมีแนวคิดแบบ conservative คือควรจะใช้งบประมาณจากภาครัฐ ทั้งๆ ที่ไม่เพียงพอ เลยต้องหาทางตัดบางส่วนทั้งที่จำเป็นต้องทำออก เราก็เสนอวิธีแก้ปัญหาที่มีโอกาสทำได้แน่ๆ ที่เหลือก็อยู่ที่การตัดสินใจของมหาวิทยาลัยเอง อาจารย์บอกว่าไม่สะดวกใจที่จะไปขอเอกชน ไม่ใช่แนวทางที่เคยปฎิบัติ เดี๋ยวจะมีคนครหา

ตัวเองกลับมองว่า มหาวิทยาลัยควรหาช่องทางแก้ปัญหา ไม่ใช่จบง่ายๆ ที่งบประมาณไม่พอ ไม่มี ไม่รู้จะทำอย่างไร กลัวสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นก่อนลงมือทำ ไม่ยอมรุก ตั้งอยู่ในที่มั่นเป็นฝ่ายรับ มันจะเดินช้าเหมือนที่ระบบราชการไทยเป็น

ความเป็นจริงควรจะให้โอกาสภาคเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุน (ไม่ใช่เฉพาะเรื่องที่ไปประชุมนะคะ) ซึ่งเอกชนรายใหญ่ๆ มีงบประมาณโฆษณาประชาสัมพันธ์ หรืองบเพื่อสังคมตั้งไว้ทุกปีอยู่แล้ว บางที่หลายสิบล้าน เพียงแต่ว่าจะเอาไปใช้กับเรื่องอะไรเท่านั้น ถ้าไม่นำแผนมาเสนอ อยู่ดีๆ คงไม่มีใครนำเงินไปมอบให้ถูก

ปีๆ หนึ่งมหาวิทยาลัยผลิตบุคคลากรให้สำเร็จการศึกษาออกไปสู่ภาคเอกชนมากมาย อาจารย์ทำงานวิจัย ผลิตผลงานช่วยเหลือให้บริษัทเอกชนนำไปต่อยอดผลิตเป็นสินค้าและบริการ แต่ทั้งหมดเป็นการให้ฝ่ายเดียว มหาวิทยาลัยได้แต่ชื่อเสียง คำชม และความภูมิใจกลับมา

ถ้าเป็นมหาวิทยาลัยเมืองนอกไม่แปลกเลยที่ภาคเอกชนจะมาลงทุนในงานวิจัยเพื่อให้ได้มาซึ่งผลงานที่ได้รับสิทธิ์ร่วม หรือเข้าไปให้ทุนนักศึกษาเพื่อจะได้บุคคลากรที่มีคุณภาพมาทำงานในองค์กร หรือเข้าไปมีส่วนสนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดประโยชน์ทั้งสองฝ่าย

รู้สึกมานานแล้วว่าระบบมหาวิทยาลัยเมืองไทยแปลก บรรดาอาจารย์รู้สึกว่าต้องป้องกันชื่อเสียงและภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยเป็นอันดับแรก จนหลายครั้งมองข้ามโอกาสดีของการร่วมมือกันกับภาคเอกชน ซึ่งจะทำให้ระบบการศึกษามีทุน support มากกว่านี้ ...แต่ก็อย่างว่านะคะ เวลามีคนลุกขึ้นมาทำอะไรดีๆ ก็จะมีคนจ้องจับผิดตั้งทัพรออยู่ก่อนเสมอ เพราะติมันง่ายกว่าทำค่ะ เป็นธรรมชาติของมนุษย์บางประเภท : (

นี่เป็นเพียงความเห็นหนึ่งของคนที่อยู่ในฝั่งภาคเอกชนค่ะ ขออภัยที่พิมพ์ยาว เพราะอึดอัดใจ และหงุดหงิดแทนระบบความคิดในการบริหารงานของมหาวิทยาลัยค่ะ
  • สวัสดีครับพี่กมลวัลย์ สบายดีไหมครับ
  • ขอบคุณมากๆ เลยครับ ที่หยิบเรื่องรั้วมาคุยกันต่อครับ
  • รั้วในความหมายผม เป็นทั้งรั้วจริงและรั้วนัย ครับ พูดง่ายๆ คือ รั้วล้อมสถาบันการศึกษา และรั้วในใจของคนในสถาบันการศึกษาครับ
  • สำหรับเรื่องความไม่พอเพียงเรื่องใดๆ ก็ตามเช่น พื้นที่ไม่พอ เงินไม่พอ ผมว่าตรงนี้เพราะขาดความสมดุลเกิดขึ้นในระบบนะครับ เลยเกิดปัญหานี้ขึ้นมาครับ
  • ถามว่าทำไมมหาวิทยาลัยรับจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆที่ทราบว่าศักยภาพในการรับเด็กมีจำกัด เราได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาดีแค่ไหน ตั้งแต่ระดับรัฐบาลมาเลยครับ การศึกษาอยู่ในอันดับเท่าไหร่ในวาระแห่งชาติ อันดับแรก หรือท้ายสุดครับ.....หรือว่าแค่ห้อยไว้ให้สวยงาม...
  • เน้นปริมาณหรือคุณภาพกันแน่ หรือจะเน้นปริมาณที่มีคุณภาพ
  • เพราะเรามีรั้วกันระหว่างองค์กรสถาบันการศึกษา กับ เอกชนหรือเปล่าครับ รั้วทั้งภายในและภายนอก ถึงทำให้ไม่เกิดความร่วมมือ บริษัทในประเทศต้องซื้อเทคโนจากต่างชาติเข้าไป วนเวียนว่าย งูกินหางอย่างที่พี่ว่านะครับ เมื่อไหร่ จะเกิดการทำเองคิดเองใช้เองแก้ปัญหาเองครับ
  • ทุนที่มีการสนับสนุนให้นักวิชานักวิชาการทำวิจัย เป็นเสมือนทุนจำลองหรือเปล่าครับ จำลองให้ทำ ทั้งๆ ที่ทุนที่แท้จริงน่าจะเป็นทุนที่เกิดจากความต้องการของสัมคมภายในหรือภายนอก สอดรับกับการไว้ใจนักวิชานักวิชาการไทยให้ทำเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันครับ เอกชนก็ได้ประโยชน์ อาจารย์ได้ผลงานวิชาการ ได้งบมาพัฒนาวิจัย เงินทุนหมุนเวียนในระบบประเทศ
  • หากการทำวิจัยเราเอาเงิน หรืองบประมาณมาเป็นกำแพงกั้นแล้ว เราไม่มีทางเกิดงานวิจัยได้เลยครับ ผมว่าเราก็ซื้อกันต่อๆ ไป ดังที่เคยทำมานะครับ
  • ยังมีโครงการอีกมากมาย ที่จะเกิดขึ้นเพราะต้องการจะเอาเครื่องมือไปประดับองค์กรครับ ความมีหน้ามีตา แล้วถามว่าในที่สุดแล้วประชาชนได้อะไร
  • ผมเองยังหัวโบราณอยู่ด้วยประโยคที่ว่า การศึกษาที่แท้จริงต้องมีการให้ฟรี ครับ....และผมยังเชื่อว่า การทำวิจัยแบบศรัทธาวิจัย ยังเกิดได้ครับ
  • ผมพูดมาทั้งหมด ผมต้องเริ่มที่ตัวผมครับ
  • สำหรับปัญหาการสร้างบรรยากาศในการเรียนนั้น หากยกรั้วออกจากในอก และนอกอก ออกได้แล้ว ผมเชื่อว่า บรรยากาศในการเรียนจะดีขึ้นครับ สถาบันการศึกษาไม่ใช่สร้างรั้วหรือห้องไว้ขังนักเรียนหรือนักศึกษาครับ ขังในเรื่องการเรียนรู้ ไม่ใช่ขังแต่เอกสารที่ใช้สอน ไม่ใช่ขังเฉพาะความคิดที่อาจารย์สอนเท่านั้น เลิกขังนักศึกษาได้เมื่อไหร่ บรรยากาศจะเกิดขึ้นครับ
  • ข้อสำคัญ อาจารย์จะต้องไม่ขังตัวเองไว้ในกรอบแคบๆ ตรงนี้คือบรรยากาศจะเกิดครับ
  • นักศึกษา และนักวิจัยผมว่า เป็นเหมือนเพื่อนกับอาจารย์ที่ปรึกษา  หากช่องว่างระหว่างนักเรียนกับครูลดลงได้ ผมก็เชื่อว่าบรรยากาศในการเรียนจะน่าเรียนมากขึ้น เพราะเรามองผ่านทะลุกำแพงห้อง เรามองทะลุรั้วโรงเรียน เราเป็นชาวบ้านทำนา เรามีโอกาสไปเกี่ยวข้าวกับชาวนา
  • ธรรมชาติควรมีอยู่ในโรงเรียนหรือสถาบันการศึกษา ชุมชนอย่างปราชญ์ชาวบ้าน มีสิทธิ์สอนนักศึกษาไหมครับ หรือว่าต้องฟังจากครูอย่างเดียวครับ
  • หากคนเราไม่เสียสละ เป็นไปไม่ได้เลยที่เด็กบนยอดดอยจะมีโอกาสเรียนหนังสือ เพราะเราติดภาระกิจของเราในครอบครัวของตัวเองแล้วเราไปไหนไม่ได้แล้วหรือครับ
  • ผมได้ข้อสังเกตหนึ่งในเยอรมัน โปรเฟสเซอร์แต่ละคน จะเลื่อนขั้นได้ ต้องมีตำแหน่งว่างที่นั่นที่เปิดรับ แล้วคนที่จะปรับได้ก็ต้องเปลี่ยนย้ายสถานที่สอนและทำวิจัย ประมาณว่าต้องย้ายกัน สองสามครั้ง กว่าจะเป็น ศาสตราจารย์เต็มขั้น ถามว่าความลำบากใครได้ ศ.ผู้นั้นรับไปเต็มๆ และทุกคนต้องทำแบบนี้ หากจะปรับขั้น ไปอยู่ก็สองสามปีอย่างน้อย จนกว่าจะเป็นแบบ ศ.เต็มขั้น ก็อยู่ที่นั่นแบบปักหลักได้ถาวรตามวาระ
  • ลองคิดดูซิครับ ว่าทำไมเค้าทำได้ แล้วสิ่งที่ดีๆ ประโยชน์ตกอยู่กับใครครับ ตกที่ประเทศชัดๆ การที่โปรเฟสเซอร์แต่ละคนจะย้ายไปแต่ละที่ เค้าได้เครือข่าย ได้เพื่อนร่วมงานวิจัย ได้นักศึกษาที่ทำงานกับเค้าที่จบไปทำงานในองค์กรต่างๆ ย้ายไปสามที่ คิดดูนะคับ ว่าเครื่องข่ายเค้าแน่นขนาดไหนครับ
  • หากเรารักสะดวกเป็นที่ตั้ง ประเทศเราก็จะลำบากอยู่อย่างนี้ตลอดไปครับ  หากเรายอมลำบากบ้างตามความเพียงพอเหมาะสม ประเทศชาติจะอยู่ได้เอง และดีขึ้นเองครับ ปัญหาอยู่ที่การจัดการมากกว่าเงินและพื้นที่ครับ ผมมองแบบนี้ ไม่แน่ใจว่าจะผิดหรือเปล่าครับ
  • ท้ายสุด อิๆ ไม่รู้จะยกอะไรครับ ขอจบด้วยปณิธานอันนี้ครับ
  • "ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่สอง
    ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง
    ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง
    ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์"
    ...มหิดล...

  • ขอบคุณมากครับพี่ อิๆๆ เข้ามาก่อกวนแค่นี้ก่อนนะครับ

"เสียสละ" อาจจะเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ดีนะครับ

แต่ก็อาจจะยังไม่พอ ที่จะทำให้เกิดผลในวงกว้าง ยกเว้นแต่ว่าจะมี อคิลิส? 

สวัสดีครับอาจารย์
P

          อาจารย์เปลี่ยนรูปแล้วสดใสขึ้นมากครับ ยินดีด้วยครับ  

 มาปรากฏตัวเพื่อให้รู้กันว่าผมเกาะติดอยู่ครับ  ผมอยากจะได้เพิ่มเติมความเห็นจากผู้ที่ไม่เคยผ่านรั้วมหาวิทยาลัยมั่ง 

ตอนนี้มุมมองบันทึก กำลังลอยแล่นระหว่างคนในรั้วมหาวิทยาลัยครับ

ความเป็นจริงการเคลื่อนไหวในสังคม ไม่ใช่มีแต่แวดวงของอาจารย์  แต่อาจารย์ นักศึกษา ก็มีผลสะเทือนต่อสังคมมาก

เราจึงจำเป็นต้องเจาะลึกถึงความเป็นไปและการพัฒนาของวงการศึกษา 

จำเป็นจริงๆครับ ...................จำเป็นมากครับ

ผมจะเข้ามาอีกครั้ง ในฐานะคนนอกรั้วมหาวิทยาลัย

ขอบคุณมากครับ

 

P

สวัสดีครับคุณวีร์

  • คุณคิดว่าการทำบุญผ่านระบบการหักภาษี เช่นจาก 7% 9% เป็น 20% กับการบริจาคศรัทธาจากหัวใจ คุณคิดว่าแบบไหนดีกว่าครับ
  • มีอยู่สองอย่างคือ จะทำแบบจิตศรัทธา หรือศรัทธาทำ กับอีกแบบคือ ใช้กฏหมายศรัทธาครับ (บังคับตามตัวบทกฏหมาย)
  • ผมว่าคนไทยยังไม่อยากให้ใครบังคับทำ และอยากมีอิสระให้ทำ หรือไม่เกิดยามที่กรุงแตก ก็อาจจะได้รู้จักคำว่า "เสียสละ" กันมากขึ้นครับ
  • อย่าต้องรอให้ถึงก้นเหว ก่อนจะกลับมาทบทวนคำว่า เสียสละคืออะไรเลยครับ
P แบบศรัทธา เต็มใจ เสียสละ ก็ดีทั้งนั้นครับ ควรจะมี อาจจะต้องมีด้วยซ้ำ
 
แต่เท่่าที่เห็นปัจจุบันคือ แค่นั้นยังไม่พอ ยกตัวอย่างเช่น เลิกเก็บภาษีให้คนบริจาคเงิน ให้รัฐแทน กรุงฯ ก็อาจจะแตกกันวันนี้เลย (แต่ก็ไม่แน่?) 

ผมคิดว่าต้องเสียสละด้วย แล้วก็ต้องคิดทางออกอื่นๆ ขนานกันไปด้วย ไม่ใช่ว่าเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

จะทำเพื่อประเทศชาติ แต่พ่อแม่ต้องไปออกวงเวียนชีวิต มันก็คงไม่ค่อยดีมั้ง?

สวัสดีครับอาจารย์

P
ขออนุญาตินะครับ เช่นเคยครับไปรวมในตะกอน3ครับ

http://gotoknow.org/blog/mrschuai/102160

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะคุณบ่าววีร์

การสร้างระบบขนส่งมวลชนก็ไม่ง่ายเท่าไหร่หรอกค่ะ ^ ^ เส้นทางรถไฟที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้รู้สึกว่าจะเป็น ร.๕ ท่านสร้างไว้ค่ะ รู้สึกเหมือนกันว่าทำไม๊พัฒนายากจัง.. โครงการสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินก็มีมาหลายสิบปี เพิ่งมาทำสำเร็จก็ไม่นานนี้ แต่ก็ไม่ทันการใช้งานอยู่ดี...

เรื่องจะจัดให้คนจังหวัดเดียวกันมาเจอกันนั้น ก็คงทำได้แต่จะได้ผลหรือไม่นั้นไม่รู้.. ของอย่างนี้บุพเพอาละวาดเหมือนกัน ^ ^ ถึงเป็นคนพื้นที่เดียวกันแต่งกัน ก็ไม่แน่ว่าทั้งสองคนจะได้งานในพื้นที่เดียวกันหรือเปล่า แต่ก็อาจจะเป็นไปได้สูง...

ส่วนเรื่องทำไมอาจารย์ส่วนใหญ่ถึงอยู่กรุงเทพฯ...ไม่ต้องวิจัยหรอกค่ะ ตอบให้ได้เลย...^ ^ เพราะในกรุงเทพฯ มีคนเยอะ ดังนั้นสถานศึกษาก็เยอะกว่าเพื่อรองรับคนที่มีจำนวนมาก อีกทั้งงาน(และเงิน)ก็อยู่ในกรุงเทพ บางคนสอนอยู่เชียงใหม่ยังลงมารับงานที่กรุงเทพก็มี นั่งเครื่องบินเป็นรถเมล์เลย มีอาจารย์จำนวนมากที่ต้องมีงานอื่นๆ ด้วย เหตุผลก็มีหลากหลายค่ะ

เรื่องการเสียสละนี้..ดิฉันว่าหลายคนมีจิตใจเสียสละค่ะ แต่การเสียสละก็ต้องดูด้วยว่าเกิดประโยชน์หรือไม่ เพราะงานบางอย่างให้คนๆ เดียวเสียสละทั้งชีวิตก็ยังไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงเสียทีก็เป็นได้ค่ะ  การเสียสละมี limit ค่ะ แล้วก็ถ้าคนยังไม่อิ่มตัว ยังไม่พอ หรือยังมีครอบครัวต้องเลี้ยง การเสียสละขนาดนั้นอาจยังไม่เกิดค่ะ... ส่วนเรื่องอคิลิส น่าจะหมายถึง achiles heel หรือเปล่าคะ ถ้าใช่ ก็เป็นไปได้ค่ะว่าเรื่องนี้เป็นจุดอ่อนที่เป็นจุดตายเลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ P Little Jazz \(^o^)/

เรื่องที่ว่า "อาจารย์บอกว่าไม่สะดวกใจที่จะไปขอเอกชน ไม่ใช่แนวทางที่เคยปฎิบัติ เดี๋ยวจะมีคนครหา" สุดแสนจะจริงเลยค่ะ คือจริงที่อาจารย์เป็นคนอนุรักษ์นิยม และจริงที่จะมีคนครหาค่ะ ^ ^

ดิฉันก็เจอแบบที่ยึดติดกับความคิดเก่าๆ มากเหมือนกัน.. บางคนทำงานมานาน เจอระเบียบบางอย่างมานาน ก็กลายเป็นสายเลือด เพราะไม่เคยปฏิบัติแนวอื่นมาก่อน และถ้าเกิดปัญหาการการทำฉีกแนว ก็มีผู้ที่พร้อมเสมอที่จะเข้ามาซ้ำเติม (คนพวกนี้ไม่เคยคิดจะช่วย แต่มักพร้อมเวลาซ้ำเติม T_T ) ดังนั้น อาจารย์บางคนแม้นจะหวังดี แต่ก็จะไม่กล้าผาดโผนค่ะ เพราะพอมีเงินเข้ามายุ่งด้วยเมื่อไหร่ พวกก่อกวนก็จะเริ่มถามหาใบเสร็จ..น่าเซ็งจริงๆ คนพวกนี้...

แต่ดิฉันเห็นด้วยนะคะ ที่มหาวิทยาลัยจะรับเงินบริจาค รับทุน จากอุตสาหกรรม แลกกับบริการวิชาการ ฯลฯ อันนี้มองไม่เห็นว่าต้องไปปกป้องภาพลักษณ์ตรงไหนเลย.. ยกเว้นว่าถ้าบริษัทขายของมึนเมาจะเข้ามาสปอนเซอร์งานอะไรบ้าง ก็ต้องดูกันให้ดีๆ ว่าเขามาด้วยภาพแบบไหน.. มาขายของ หรือว่าเอาเงินมาช่วยสนับสนุนการศึกษา..

ดิฉันดีใจที่คุณ Little Jazz \(^o^)/ อยากจะสนับสนุนการศึกษา เป็นคนหนึ่งในอุตสาหกรรมที่อยากจะสนับสนุน ถ้ามีคนคิดแบบนี้เยอะๆ แล้วอาจารย์ออกไปหาเงินสนับสนุนมากขึ้น ก็จะมีแนวโน้มในทางที่ดีเหมือนต่างประเทศที่อุตสาหกรรมเขาสนับสนุนการดำเนินงานในมหาวิทยาลัยจริงจังมาก... รู้สึกดีใจและมีความหวังค่ะ...

  • สวัสดีค่ะอาจารย์
  • รูปใหม่สวยจังค่ะ
  • อยากบอกว่ามหาวิทยาลัยของหว้าไม่มีปัญหาเรื่องพื้นที่ค่ะ
  • หว้าสามารถสอนวิชาเศรษฐศาสตร์สิ่งแวดล้อม   โดยให้เด็กสำรวจพื้นที่ในมหาวิทยาลัยได้ค่ะ  เด็กๆก็จะได้สำรวจพื้นที่  ดีกว่านั่งในห้องเรียน
  • ฝากรูปมาให้ชมค่ะ  นี่เป็นเส้นทางเดินออกกำลังของหว้าค่ะ  ด้านหลังมหา'ลัยค่ะ
  • ตามมาอ่าน
  • มหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯแคบจริงๆๆครับ
  • แต่ชอบอันนี้มากที่น้องเม้งเอามาฝาก
  • ขอให้ถือประโยชน์ส่วนตัว เป็นที่สอง
    ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์ เป็นกิจที่หนึ่ง
    ลาภ ทรัพย์ และเกียรติยศ จะตกแก่ท่านเอง
    ถ้าท่านทรงธรรมะแห่งอาชีพไว้ ให้บริสุทธิ์"
    ...มหิดล...

สวัสดีค่ะน้องP เม้ง

พี่สบายดีค่ะ ^ ^

เรื่อง "ถามว่าทำไมมหาวิทยาลัยรับจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆที่ทราบว่าศักยภาพในการรับเด็กมีจำกัด เราได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาดีแค่ไหน ตั้งแต่ระดับรัฐบาลมาเลยครับ การศึกษาอยู่ในอันดับเท่าไหร่ในวาระแห่งชาติ อันดับแรก หรือท้ายสุดครับ.....หรือว่าแค่ห้อยไว้ให้สวยงาม..." นั้นพี่ว่าเป็นปัญหาโลกแตกค่ะ พี่ก็อยากจะรับน้อยๆ ให้ได้คุณภาพอยู่หรอกค่ะ แต่นโยบายคือเราต้องรับเยอะขึ้นเพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาค่ะ และถ้าเราไม่รับเด็กเข้ามาเรียน ก็เหมือนไม่เปิดโอกาสให้เด็กที่จะพอเรียนได้ให้ได้เรียน คำถามก็คือ แล้วเขาจะไปเรียนที่ไหน ต้องไปเรียนในที่ที่สอนแย่กว่าเราสอนหรือเปล่า... อย่างที่บอกค่ะ ...ปัญหาโลกแตกค่ะ..

สำหรับเรื่องทุนที่ว่า "ทุนที่มีการสนับสนุนให้นักวิชานักวิชาการทำวิจัย เป็นเสมือนทุนจำลองหรือเปล่าครับ จำลองให้ทำ ทั้งที่ทุนที่แท้จริงน่าจะเป็นทุนที่เกิดจากความต้องการของสัมคมภายในหรือภายนอก สอดรับกับการไว้ใจนักวิชานักวิชาการไทยให้ทำเพื่อแก้ปัญหาร่วมกันครับ เอกชนก็ได้ประโยชน์ อาจารย์ได้ผลงานวิชาการ ได้งบมาพัฒนาวิจัย เงินทุนหมุนเวียนในระบบประเทศ" นั้นพี่เห็นด้วยที่น้องว่านะคะ ที่ทุนควรเกิดจากความต้องการที่แท้จริง แต่ตอนนี้ทุนแบบนี้มีน้อย..

ถ้าอุตสาหกรรมมาจ้างพี่ทำอะไรตอนนี้ ต้องบอกตามตรงว่า พี่อยากรับ แต่พี่ก็มีงานล้น (เรื่องสอน) และปัญหาอีกหลายเรื่องเกี่ยวกับการทำงานวิจัยคือ ไม่มีเครื่องมือทันสมัย หรือเครื่องมือเก่าโบราณ.. อันนี้ไม่ได้หมายถึงเครื่องมือที่หาซื้อกันได้ทั่วไปนะคะ ... เครื่องมือบางอย่างราคาแพงมาก บางทีอุตสาหกรรมเขาก็ลงทุนให้เราไม่ได้ขนาดนั้น... แล้วก็มีปัญหาอีกอย่างคือเรื่องความลับทางการค้า เพราะถ้าเราทำวิจัย ผลที่ได้ต้องเผยแพร่ ทำงานแบบนี้บางอย่างเผยแพร่ไม่ได้ บริษัทเขาก็ไม่ยินดีให้เผยแพร่ค่ะ เขากลัวคู่แข่ง ไปๆ มาๆ ก็เลยจอดสนิทค่ะ...

เรื่องการได้เป็นโปรเฟสเซอร์ในเยอรมัน ในยุโรป นั้นยากมากค่ะ คล้ายๆ กับในญี่ปุ่นที่โปรเฟสเซอร์เขาประสบการณ์สูง คอนเนคชั่นเพียบจริงๆ แต่บ้านเราก็ติดปัญหาข้างต้น และปัญหาอื่นๆ ที่เขียนไม่จบไม่สิ้นเสียทีค่ะ ....

เรื่องการรักสะดวกเป็นที่ตั้งนั้น ต้องยอมรับว่าคนเราเปลี่ยนแปลงยากจริงๆ .. ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อนค่ะ ขอบคุณสำหรับ quote นะคะ ดีมากเลยค่ะ ^ ^ แต่ดูด้วยนะคะ ว่าทำประโยชน์แล้ว ประโยชน์เกิดตรงที่ควรจะเกิดค่ะ มีเยอะแล้วที่เรื่องหวังดีบางเรื่องทำไปแล้วเกิดผลเสีย (เป็นบ้างแต่เป็นส่วนน้อย) ต้องทำดีอย่างระมัดระวังค่ะ สังคมเดี๋ยวนี้ ละเอียดอ่อนเหลือเกิน ^ ^

สวัสดีค่ะคุณ P สิทธิรักษ์

ขอบคุณที่ชมเรื่องรูปนะคะ ^ ^ คุณสิทธิรักษ์ ก็ดูน่ารักสดใสเสมอ แม้นจะเป็นแพนด้าที่ไม่ยิ้ม 5555

เรื่องมุมมองของคนภายนอก .... อยากได้ยินมุมมองของคนที่มองจากข้างนอกวงเหมือนกันค่ะ..

การศึกษาเกี่ยวพันกับชีวิตของเราทุกคน...เห็นด้วยค่ะว่าเราจำเป็นต้องคุยเรื่องนี้กัน แล้วก็นำประเด็นต่างๆ ไปปรับปรุงแก้ไข ตามกำลังของแต่ละคนค่ะ ..

เรื่องคัดบางส่วนไปรวมตะกอนนั้น ยินดีมากค่ะ   ^ ^ ขอบคุณนะคะ ที่เป็นธุระในเรื่องนี้ เห็นทำมาเยอะมากเลย ในบันทึกรวมตะกอน ๑ และ ๒   ตามอ่านบ้างเป็นระยะๆ ค่ะ...

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ..

ยินดีต้อนรับเสมอค่ะคุณ P บางทราย (คนเข็นครก ขึ้นภูเขา)

ดิฉันเสียอีกที่ไปเก็บเกี่ยวการเรียนรู้เรื่องชุมชนที่ดงหลวงเยอะว่าอีกค่ะ ^ ^

สวัสดีค่ะ P อ.ลูกหว้า

น่าอิจฉาจังเลย... ดิฉันว่าถ้ามีพื้นที่แล้ว บรรยากาศทางการศึกษาดีขึ้นมากจริงๆ แต่ต้องมีต้นไม้นะคะ ถ้าร้อนแบบฟ้าแจ้งจางปางคงแย่อยู่ ^ ^ เห็นด้วยเต็มร้อยเปอร์เซนต์เลยค่ะ ว่าการเรียนแบบสัมผัสได้จริงนั้นดีกว่าเรียนบนกระดานหรือฉายภาพจาก LCD แน่นอน..

ขอบคุณอาจารย์ลูกหว้าที่นำตัวอย่างดีๆ มาเผยแพร่นะคะ ^ ^

สวัสดีค่ะ P อ. ขจิต ฝอยทอง

มันแคบจริงๆ ค่ะ ว่าจะเขียนปัญหาอันเนื่องมาจากพื้นที่แคบมาเพิ่มเติมเหมือนกัน แต่รอไว้ก่อนค่ะ เรื่องมันยาว...

ชอบ quote นี้เช่นกันค่ะ ^ ^

ขอบคุณที่แวะเข้ามา ลปรร เสมอนะคะ...

เรื่องพื้นที่คับแคบ ทำแบบศาลพระภูมิ™ได้ไหมครับ ข้างล่างแคบ แต่ไปบานข้างบน ;-)

ความคับแคบของพื้นที่เป็นข้อจำกัดจริงๆ ครับ แต่บางทีหากการเรียนการสอน เปลี่ยนแนวจาก lecture และ course work เป็นการเน้นแนวปฏิบัติมากขึ้น ทำ lab ทำโครงงาน ก็อาจจะช่วยให้นักศึกษาได้เข้าใจในศักยภาพของตนได้เร็วขึ้นนะครับ 

อาจารย์ที่ปรึกษาของ ชมรม ชุมนุม ต่างๆ อาจจะช่วยได้ดีขึ้นถ้าหากไม่รอจนนักศึกษามาปรึกษา แต่เสนอความคิดเกี่ยวกับกิจกรรมปฏิบัติโดยไม่ต้องรอให้นักศึกษาเดินมาหา ประยุกต์เอาตามข้อจำกัดของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งครับ

หรือทำโครงงานข้ามมหาวิทยาลัยจะดีไหมครับ ขยาดของเครือข่ายความรู้จะกว้างขึ้น

แหม เสนอความคิดนี่ ง่ายกว่าทำจริงๆ เลยนะครับ

สวัสดีค่ะ อาจารย์มีหลายประเด็นที่อยากจะแลกเปลี่ยนค่ะ แต่ตอนนี้ขอแลกเปลี่ยนในส่วนเรื่องที่ว่าอาจารย์เก่งๆ อยู่ในมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ นั้นก็จริงค่ะ อาจารย์ที่เก่งๆ อยู่ในมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาคก็มีไม่น้อยเหมือนกันค่ะ แต่อาจารย์ที่เก่งและมีชื่อเสียงส่วนใหญ่อยู่ในกรุงเทพฯ พี่คิดว่ามีหลายปัจจัยค่ะ
  • งานและเงินที่เป็นสิ่งที่สร้างโอกาสให้อาจารย์ได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่มีมากในกรุงเทพฯ เนื่องจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่สนับสนุนทั้งงานและเงินอยู่ในกรุงเทพฯ จึงทำให้อาจารย์ที่อยู่ในกรุงเทพฯ มีโอกาสที่จะได้มากกว่า เพราะการติดต่อสะดวกกว่า เครือข่ายเหนียวแน่นรู้จักกันมากกว่า ง่ายกว่า ตัวอย่างเช่น หากมีงบวิจัยใหญ่ๆ มาสักชิ้น เมื่อไปถึงมืออาจารย์ที่ส่วนภูมิภาค ก็อีกประมาณ 2-3 วัน หมดเขตยื่นขอ แล้วจะทำอะไรได้ทันค่ะกว่าจะระดมประชุมทีม กว่าจะส่งเวียนหนังสือก็หมดเวลาแล้วค่ะ
    • มีหลายอย่างที่ทำให้พี่เชื่อได้ค่ะ ว่าความรู้ความสามารถของอาจารย์ส่วนภูมิภาคไม่ได้ด้อยไปกว่าอาจารย์ในสถาบันในกรุงเทพฯ เพียงแต่โอกาสที่จะมีงาน มีเงินสนับสนุน มีชื่อเสียง หรือได้รับการสนับสนุนมีไม่เท่าค่ะ
  • แลกเปลี่ยนกันนะค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับคุณ

P

 และหลายท่านที่ให้ความเห็นเข้ามา

 แก่นปัญหา เรื่องพื้นที่การศึกษา และบรรยากาศการศึกษา

  • เป้าหมายหลักที่ได้แลกเปลี่ยนกันมา คงจะมีเป้าหมายเพื่อการศึกษา
  • การแก้ปัญหาได้ถกเถียงกันพอสมควร   ถ้าเป้าหมายเดียวกัน แต่มุมมองวิธีแก้ที่แตกต่างกัน
  • ตัวผมเอง มองในมุมที่ว่า ถ้าจุดประสงค์ต้องการแก้ปัญหาการศึกษา บรรยากาศการศึกษา คงไม่พ้นในความหมายที่ต้องการให้นักศึกษามีบรรยากาศในการเรียนที่ดี และซึมลึกต่อความรู้ทีครูบาอาจารย์ถ่ายทอดให้
  • ถ้าความหมายเช่นนี้ ความต้องการใช้พื้นที่มากมาย  ใช้ตึกเรียนกว้างๆ คงไม่ใช่ปัญหาหลักในการแก้ปัญหา
  • แก่นแท้ในการแก้ปัญหา อยู่ที่เราใช้หลักความคิดอย่างไร ใช้อะไรเป็นจุดศูนย์กลางในการแก้ปัญหา
  • สังคมเปลี่ยนไป  วิถีชีวิตเปลี่ยนไป การเคลื่อนไหวในการดำรงค์ชีพเปลี่ยนไป  ความคิดเปลี่ยนไป  ระดับการคิดในการแก้ปัญหาก็เปลี่ยนไป  
  • ตราบใดที่เราใช้ตัวเองเป็นจุดศูนย์กลางแห่งความคิดเพื่อนำไปแก้ปัญหา  ตราบนั้นก็ไม่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ถูกต้อง
  • ปัจจุบัน พวกเราถูกล้อมรั้วล้อมคอก กัน
  • รั้วมหาลัย  รั้วโรงเรียน รั้วทหาร รั้วความคิด รั้วความรู้สึก  รั้วความรัก รั้วความเข้าใจ รั้วเอื้ออาทร รั้ว..........................
  • ทุ่งนาครับ  ไปสอนไปเรียนกันได้
  • หุบเขาครับ ไปสอนไปเรียนกันได้
  • ในหมู่บ้านครับ ไปสอนไปเรียนกันได้
  • ในตลาดครับ ไปสอนไปเรียนกันได้
  • ผมอยู่นอกรั้วมหาวิทยาลัย 
  • อยากผ่านรั้วมหาวิทยาลัย
  • แต่ปัจจัยหลายอย่างที่ไม่สามารถผ่านได้
  • มีรั้วกั้นอยู๋
  • รั้วที่แข็งแรงมาก มาก
  • ขอบคุณมากครับที่ให้โอกาสคนนอกรั้วมหาวิทยาลัยได้ออกความเห็นด้วย
สวัสดีค่ะเมื่อวาน วันเสาร์ ไม่ได้เข้ามาอ่านของใครเลย   ยุ่งแต่กับหลาน พ่อแม่ไปต่างประเทศทั้งคู่  วันนี้ ได้มาอ่านของอาจารย์ค่ะ  ช้าไปหน่อยค่ะ

  อาจารย์พูดว่า----ในการสร้างบรรยากาศในการศึกษาต้องใช้เงิน เงินมาจากไหน.. จากงบประมาณ จากค่าลงทะเบียนของนักศึกษา  ประกอบกับนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา  จึงมีการรับนักศึกษามากขึ้น... สุดท้ายก็กลับมาวนอยู่กับปัญหาพื้นที่และ facilities

    ความเห็นและประสบการณ์ของดิฉันในประเด็นนี้·         เรื่องการศึกษา เป็นปัญหาใหญ่ของเรามาตลอด ทั้งๆที่จริงๆแล้ว ก็ได้งบจากรัฐบาล มากนะคะ ปี 51 อาจได้มากที่สุด ก็ยังไม่พอ  จริงๆแล้ว แทบทุกมหาวิทยาลัยของรัฐ ก็พยายามหารายได้กันเองมาสมทบนะคะ·          ดิฉันมีเพื่อนอาจารย์หลายคน  เขารับทำวิจัย ให้ทั้งหน่วยงานราชการและรัฐบาล  มีอาจารย์ทำวิจัยมากมายหลายคน เท่าที่เห็นและรู้จัก เรียกว่า งานล้นมือเลย   บางคนได้รับทุนจากเอกชนใหญ่ๆด้วยซ้ำ เพื่อนสนิทมากคนหนึ่งได้ทุนจากสถานีโทรทัศน์ที่ใหญ่มากของญี่ปุ่น ให้ไปวิจัยตั้ง 1 ปี  บางคนก็ทำวิจัยให้ราชการโดยมีนักศึกษาปริญญาโทเป็นผู้ช่วย    และตามแต่มีหน่วยงานมาติดต่อ ·         แม้แต่ดิฉันเอง ยังเคยติดต่อให้ทางมหาวิทยาลัยของรัฐแห่งหนึ่ง  ขอให้ทำวิจัยให้ เรื่องการบำบัด น้ำเสีย ในโรงงานของดิฉัน  ก็ได้ผลบ้าง แต่เสียค่าใช้จ่ายมากไป  ต้องไปซื้อกากน้ำตาลมาใส่ในปริมาณมากเพื่อเลี้ยงเชื้อในน้ำ    และต้องมีการทำ labควบคู่ด้วย  ในที่สุด  จ้างทางหน่วยงานของกระทรวงอุตสาหกรรม   มาทำให้   ได้ผลดีค่ะ ไม่เปลืองค่าใช้จ่ายมาก·         ที่พูดนี่ อยากพูดในประเด็นย่อย ของตัวเองคือ แต่ละมหาวิทยาลัย ต้องช่วยหารายได้เพิ่ม  เน้น ในเชิงวิชาการ    เพื่อนำเงินไปปรับปรุง facilities ของมหาวิทยาลัย   แต่ บางที อาจารย์ สอนเก่งมากทางทฤษฏี   แต่ปฏิบัติจริงๆ อาจจะ ไม่เป็นอย่างทฤษฏี 100%  และบางที  ในความเป็นอาจารย์  ทำให้คนทั่วไป มีความเกรงใจมาก ไม่ค่อยกล้าโต้แย้ง   ถ้าเป็นบริษัทข้างนอก การแลกเปลี่ยนความเห็นมีได้มากกว่า  ความสะดวกใจจะติดต่อกันมีนมากกว่า  ทางภาคอุตสาหกรรมจึงไม่ค่อยกล้ามาใกล้ชิดนัก  และงานค่อนข้างช้า   เพราะติดสอน  ขณะที่ ทางอุตสาหกรรม ต้องเร็ว และไม่ค่อยอยากให้มีการ ลองผิด ลองถูกนัก อีกประการหนึ่งหนึ่ง คือกลัว ความลับรั่ว   เพราะ เราเองก็ไปรู้ ความลับของคู่แข่ง จากหน่วยราชการบางหน่วยนี่ละ ·         ในเรื่องการทำธุรกิจอื่นๆ นอกเหนือ จากงานด้านวิชาการ อาจมีข้อติงได้  แต่ถ้าทางวิชาการน่าจะดี  และเป็นงานถนัดค่ะ  แต่อย่าให้การบริการ ช้ามากนะคะ                   และอีกประเด็นหนึ่งที่อยากจะให้ความเห็นคือ  สถานการณ์ครอบครัวไทย อ่อนแอ จนน่า วิตก          มิติของการบริโภคปัจจุบัน  เด็กไทยกำลังเผชิญกับกระแสวัฒนธรรม กิน ดื่ม เดินซื้อของ อันเป็นตัวเร่ง                 ให้เกิด  ค่านิยมในการบริโภคอย่างมหาศาล          มิติด้านสื่อ มีการแสดงออกทางเพศมากเกินไป  มิติการเสี่ยงโชค  ก็มีวัยรุ่นอยู่ในวงจรนี้มากขึ้น                    เราต้องช่วยกันรักษา สถาบันหลักๆของเราค่ะ---สถาบันชาติ   วัฒนธรรมของชาติ   เยาวชนของชาติ  สถาบันครอบครัว และสถาบันการศึกษา   รวมกันเป็น การสร้างสังคมคุณธรรมค่ะ       มีอีกเรื่อง ขอแถม ขอนอกเรื่องหน่อยค่ะ   จริงๆไม่ค่อยอยากพูด เพราะพูดไป มีแต่เข้าตัว กล้าพูดเฉพาะคนสนิทๆ  ในแวดวงอาจารย์มหาวิทยาลัย  ก็คุยกัน แต่เฉพาะเพื่อนๆที่เป็นอาจารย์      แต่อยากให้มีการปรับปรุงในส่วนนี้บ้างค่ะคือ ครู อาจารย์บางคน  ถึงเวลาสอนก็มา ไม่ถึงเวลา หายจ้อยเลย  ส่วนใหญ่ไปรับงานส่วนตัว หรือ ไปขายของ ถ้า เราจะมีระบบ Child Center นั้น  จะได้ผลอย่างที่อยากได้หรือคะ ทางออกน่า จะยกย่องครูให้มีสถานภาพทางสังคม มากกว่านี้  มีเงินเดือนมากกว่านี้ จะได้มีเวลามาเอาใจใส่เด็กๆมากขึ้นค่ะ
            
        

 

สวัสดีค่ะ อ.กมลวัลย์

พื้นที่กับคุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่เป็นปัญหาโลกแตกมานานแสนนาน..

เบิร์ดทราบว่ารัฐบาลได้ออกประกาศกระทรวงศึกษาธิการตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาขอเปิดและดำเนินการหลักสูตรระดับปริญญาในระบบการศึกษาทางไกลและให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 27 ตุลาคม 2548 ส่งผลให้สถาบันการศึกษาทุกแห่งสามารถเปิดสอนผ่านระบบอีเลิร์นนิ่งได้เต็มรูปแบบ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองคุณวุฒิของผู้สำเร็จการศึกษา

ซึ่งเอแบคได้ขานรับนโยบายนี้อย่างเต็มที่ เดินหน้าเปิดหลักสูตรอีเลิร์นนิ่ง โดยตั้งเป้า 5 ปีนี้    จะมีหลักสูตรระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอกไม่ต่ำกว่า  30  หลักสูตร    หลักสูตรระยะสั้นไม่ต่ำกว่า  40  หลักสูตร   โดยมียอดนักศึกษาตั้งเป้าไว้สูงสุด 100,000 คน โดยเปรียบเทียบอัตราการเติบโตนักศึกษาอีเลิร์นนิ่งของ University of Phoenix ในอเมริกาเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 30% และ Capella University ที่พบว่ามีนักศึกษาปริญญาเอกถึง 50% ของจำนวนทั้งหมด..

สำหรับตลาดในประเทศไทย เอแบคมองกลุ่มเป้าหมายไว้ 5 กลุ่มหลักๆ คือ 1. คนทำงานที่จบการศึกษาระดับ ปวช. ปวส. แล้วอยากต่อยอดให้จบระดับปริญญาตรี แต่ไม่มีโอกาส เพราะต้องทำงาน 2. กลุ่มแม่บ้าน 3. ผู้สูงอายุที่เกษียณจากการทำงานแล้ว 4. ผู้ที่เรียนอยู่ในระบบปกติ ที่ต้องการเปลี่ยนมาเรียนแบบอีเลิร์นนิ่งบ้าง และ 5. นักศึกษาชาวต่างชาติ ซึ่งขณะนี้เอแบคมีนักศึกษาต่างชาติจาก 60 ประเทศ รวม 2,300 คน เป็นนักศึกษาจีนมากที่สุด ซึ่งถ้ามีหลักสูตรอีเลิร์นนิ่งเขาจะสนใจมากขึ้น เพราะสามารถเรียนในประเทศตนก็ได้ และใช้เวลาเพียงบางส่วนมาศึกษาในไทย ไม่ต้องอยู่ตลอดหลักสูตร อย่างไรก็ดี ทั้ง 5 กลุ่มข้างต้น ยังไม่ได้ระบุสัดส่วนว่ากลุ่มใดจะเป็นตลาดหลัก

ระบบอีเลิร์นนิ่งมีค่าใช้จ่ายถูกกว่าการเรียนระบบปกติประมาณ   10%   นั้นเป็นจุดแข็ง   และสามารถคืนทุนจากการก่อสร้างอาคาร 

และเพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อเนื่อง ล่าสุดเอแบคได้ร่วมกับบริษัท สามารถเทลคอม จำกัด (มหาชน) พัฒนาระบบอีเลิร์นนิ่ง ชื่อ "AU PLUS" รวมถึงระบบการจัดการศึกษา หรือ LMS และระบบการจัดการเนื้อหา หรือ CMS ซึ่งเอแบคจะใช้ AU PLUS พัฒนาทั้งระดับรายวิชาหลักสูตรระยะสั้นและหลักสูตรปริญญา เบื้องต้นจะใช้กับหลักสูตรการจัดการและวิธีวิทยาอีเลิร์นนิ่ง

ขณะเดียวกันยังมีการพัฒนาระบบของเอแบคเอง ซึ่งได้นำซอฟต์แวร์ Moodle ที่เป็นโปรแกรมโอเพ่นซอร์สมา โดยใช้กับหลักสูตรสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งการพัฒนา 2 ระบบพร้อมกัน จะทำให้ดึงจุดแข็งของแต่ละระบบมาเสริมซึ่งกันและกันเพื่อพัฒนาตลอดเวลา

e-learning จะแก้ปัญหานี้ได้ในระดับหนึ่งมั้ยคะ ?...หรือระบบของ มสธ.ที่เป็นการเรียนทางไกล ที่สามารถผลิตบุคลากรได้อย่างทรงคุณค่าได้เช่นเดียวกันพอจะเป็นทางออกของความแออัดในระบบการศึกษาได้มั้ยคะ อ.กมลวัลย์..ไม่ต้องเอาเด็กมานั่งเรียนในห้องเรียนที่หนาแน่นและเกิดมลภาวะทั้งอาจารย์และลูกศิษย์

ขอบคุณสำหรับประเด็นที่น่าสนใจนี้นะคะ..

P ผมหมายถึงอคิลิสที่ไปร่วมสงครามตรอยครับ  การเสียสละของอคิลิสคนเดียว ก็อาจจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ ทำนองนั้นครับ :-)

 

จริงๆ แล้วผมก็ไม่ค่อยจะสนใจเรื่องที่เรียนนะครับ  แต่อยากได้สนามเปตอง ปิงปอง ฟุตบอล :-P
 
จริงๆ แล้วกทม. หรือ เทศบาล อื่นๆ จะทำให้เลยก็ได้ ไม่ต้องรอมหาลัยฯ  แต่ก็นะไม่ค่อยมี สวนรถไฟจะไปทีก็เป็นชั่วโมงT_T

สวัสดีค่ะคุณ P Conductor

เมื่อเช้าเข้ามาจะตอบคุณConductor รอบหนึ่งแล้วค่ะ แต่รู้สึกว่าระบบข้อคิดเห็นมีปัญหา ก็เลยเพิ่งมาตอบค่ะ... เรื่องใช้พื้นที่แบบศาลพระภูมิ™ นั้นถ้ามองในแง่วิศวกรรมโครงสร้าง ไม่ค่อยดีค่ะ ^ ^ ต้องมีฐานรากที่แข็งแรงมากๆค่ะ แต่ตอนนี้สถาปัตยกรรมที่สถาบันฯ จะเป็นแบบกล่องไม้ขีด™ หรือกล่องเหล้า™ เสียมากกว่าค่ะ 5555

แนวคิดการฝึกปฏิบัติเป็นแนวคิดที่พระจอมเกล้าพระนครเหนือยึดมาตลอดค่ะ ได้ยินมาตลอด แต่การปฏิบัติอาจน้อยกว่าที่ได้ยินค่ะ..ที่สถาบันมีการเรียนแบบสหกิจศึกษา (นักศึกษาไปทำงานในโรงงานแบบได้เงินเดือนเป็นพนักงานจริงๆ ๑ ปีตอนปี ๓-๔) แต่ทางเลือกนี้นักศึกษาเลือกน้อยเพราะต้องใช้เวลามากกว่าเพื่อน ๑ ปี และถ้ามีนักศึกษาเลือกทางเลือกนี้มากมหาวิทยาลัยก็จะต้องรองรับโดยการหาโรงงานให้เขาทำงานด้วยค่ะ... เรียกได้ว่ามีการดำเนินการคล้ายๆ กับรูปแบบที่เยอรมันอยู่บ้าง แต่ไม่เต็มรูปแบบเท่าไหร่ค่ะ.. อ้อ...นักศึกษาส่วนใหญ่ที่เข้าสหกิจศึกษาจะถูกบริษัทนั้นๆ จองตัวทำงานเลยค่ะ...

สำหรับเรื่องกิจกรรม ที่มีอาจารย์ทีปรึกษาคอยสนับสนุนนั้น ยอมรับว่าทำน้อยมาก มีอาจารย์เพียงบางท่านเท่านั้นที่ยินดีทำ...แต่ก็มีค่ะ แม้นจะเป็นจำนวนน้อย แต่ผลที่เห็นยังไม่ชัดเจนแต่คาดว่าดีพอควรค่ะ...

ขอบคุณที่เป็นผู้เปิดประเด็นให้ดิฉันได้เขียนบันทึกนี้นะคะ ดิฉันได้เห็นความสนใจของคนใน GTK เรื่องการศึกษาแล้วดีใจมากๆ ค่ะ...ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.paew

เห็นด้วยเต็มร้อยเลยค่ะพี่แป๋ว (ขอโมเมเรียกพี่แล้วนะคะ ^ ^) ว่าอาจารย์ตามภูมิภาคมีศักยภาพดีมากๆ ค่ะ ตัวเองคิดว่าที่ มข. ดีกว่าที่ สจพ.ด้วยซ้ำ (ห้ามไปบอกที่สถาบันนะคะ oops! 5555)

เรื่องงานและเงินอยู่ที่กรุงเทพฯ เนี่ยเป็นประเด็นที่ทำให้อาจารย์ที่อยู่ที่กรุงเทพฯ มีโอกาสดีกว่าจริงๆ ค่ะ บางคนก็ใช้ตรงนี้ในทางที่ผิดด้วยซ้ำ ระยะทางเป็นปัญหาเรื่องการสร้างเครือข่ายค่ะ แต่ตอนนี้ถ้ามีเครือข่ายแล้ว งานจะไปถึงได้ เพราะสามารถทำงานแบบรีโมตได้ ถ้ามีตัวแทนคอยประชุมอยู่ที่กรุงเทพฯ ค่ะ คิดว่าอย่างนั้นนะคะ...

แต่การอยู่ภูมิภาคนั้นดิฉันว่าอาจารย์และนักศึกษามีคุณภาพชีวิตดีกว่ามากๆๆๆๆๆๆ เลยค่ะ บรรยากาศการศึกษาน่าจะดีกว่านะคะ เคยผ่านแต่รั้วของ มข. เมื่อนานมาแล้ว แต่ก็ดูกว้างใหญ่ และดูเจริญสมเป็นสถาบันอุดมศึกษาหลักของภูมิภาค.. แต่ที่ มช. ได้มีโอกาสเข้าไปสอนด้วย รู้สึกว่าบรรยากาศการเรียนดีกว่ามากๆ ค่ะ ...

ขอบคุณพี่แป๋วที่แวะเข้ามาให้ข้อคิดเห็นนะคะ ^ ^

 

P

สวัสดีครับพี่กมลวัลย์

พอดีผมติดใจเรื่องหนึ่งในส่วนนี้ เลยขอยกมาพูดคุยกันต่อครับ ไม่งั้นนอนไม่หลับครับ

เรื่อง "ถามว่าทำไมมหาวิทยาลัยรับจำนวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งๆที่ทราบว่าศักยภาพในการรับเด็กมีจำกัด เราได้ให้ความสำคัญกับการศึกษาดีแค่ไหน ตั้งแต่ระดับรัฐบาลมาเลยครับ การศึกษาอยู่ในอันดับเท่าไหร่ในวาระแห่งชาติ อันดับแรก หรือท้ายสุดครับ.....หรือว่าแค่ห้อยไว้ให้สวยงาม..." นั้นพี่ว่าเป็นปัญหาโลกแตกค่ะ พี่ก็อยากจะรับน้อยๆ ให้ได้คุณภาพอยู่หรอกค่ะ แต่นโยบายคือเราต้องรับเยอะขึ้นเพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาค่ะ และถ้าเราไม่รับเด็กเข้ามาเรียน ก็เหมือนไม่เปิดโอกาสให้เด็กที่จะพอเรียนได้ให้ได้เรียน คำถามก็คือ แล้วเขาจะไปเรียนที่ไหน ต้องไปเรียนในที่ที่สอนแย่กว่าเราสอนหรือเปล่า... อย่างที่บอกค่ะ ...ปัญหาโลกแตกค่ะ..

  • ผมมองว่าทุกๆ ที่มีศักยภาพในการสอนแตกต่างกัน มีความถนัดในแต่ละสาขาคณะแตกต่างกันไปครับ โดยเฉพาะการมีนโยบายในการกระจายการศึกษาออกสู่ภูมิภาคให้ทั่ว โดยลดการวิ่งเข้าเมืองของนักศึกษาด้วย
  • หากมีคณะไหนที่มีศักยภาพ อาจจะเข้าร่วมสอนหรืออบรมอาจารย์ในคณะนั้นๆ ของมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดได้ด้วยครับ ควรจะมีการเกื้อกูลกันครับ อาจจะทำ MOU สร้างความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเครือข่าย ในด้านเดียวกันก็ได้ครับ
  • ผมว่ามหาวิทยาลัยเก่าแก่ใน กทม. ควรจะช่วยเหลือในส่วนนี้ โดยการถ่ายทอดความรู้ต่างๆ เพื่อปรับสภาพให้ลดช่องว่างระหว่างสถานที่เรียนครับ ไม่งั้น คณะหรือมหาวิทยาลัยของพี่ก็จะต้องรับมากขึ้น เช่นหากตอนนี้พี่รับอยู่ปีละ สามพันคน ผมถามว่า ต่อไปหากมีนโยบายใหม่ ให้รับ ปีละหนึ่งหมื่นคน พี่จะต้องรับหมดหรือครับ พี่ไม่กลัว กทม. กลายเป็นเมือง อกแตก (ตาย) หรือครับ อิๆๆ แซวเล่นแกมเอาจริงนะครับ ฮี่ๆๆๆ
  • ดังนั้น ผมยังมีความหวังนะครับ ว่าเรามาช่วยสละกันคนละนิดนะครับ อาจจะทำโครงการถ่ายทอดความรู้ ร่วมกัน ใช้เครื่องมือร่วมกัน ที่ไหนมีเครื่องมือ ก็ทำวิจัยร่วมกันระหว่างคณะ สถาบันร่วมกันได้ครับ จะได้ไม่ต้องซื้อเครื่องมือซ้ำซ้อนให้ฝรั่งกิน เขมือบงบประมาณบ้านเราอย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้ครับ
  • แนวทางออกหลายๆ อย่างในการทำศึกษาโดยไม่ต้องให้คนมากองอยู่ในห้องเรียน อันนี้ผมว่ามีทางออกเยอะครับ เหมือนอย่างที่คุณเบิร์ดเสนอ ก็แนวทางหนึ่งซึ่งมีศักยภาพและทำได้
  • หากมีปัญหาเรื่องรั้วมากๆ หรือพื้นที่มากๆ ขอแนะนำให้ยกรั้วออก พังรั้วออกเลยครับ พี่จะได้พื้นที่ของมหาวิทยาลัย เท่ากับพื้นที่ประเทศไทยไปเลยครับ ทุกมหาวิทยาลัยมีพื้นที่เท่ากัน
  • เพราะเรียนรู้ร่วมกัน ไม่มีรั้วกัน ปัญหาอะไรจะตามมา หากเราสร้างคนคุณภาพ เราจะกลัวอะไรใช่ไหมครับ
  • ขอบคุณมากครับ ได้ตอบแล้ว ผมเชื่อว่าคงนอนหลับแล้วครับ คืนนี้ อิๆๆ โชคดีนะครับ

สวัสดีค่ะคุณ P สิทธิรักษ์

เห็นด้วยค่ะว่าเราไม่จำเป็นต้องใช้พื้นที่มากๆ ในการเรียน

แต่เรื่องพื้นที่ที่ดิฉันพูดถึงในที่นี้คือ พื้นที่พักผ่อนของนักศึกษาค่ะ เช่น รูม หรือโต๊ะที่เขาสามารถมารวมกลุ่มสังสรรค์ อ่านหนังสือกันได้..พื้นที่ห้องสมุด พื้นที่ห้องคอมพ์...พื้นที่จัดกิจกรรม สันทนาการ เล่นกีฬาค่ะ ... ตอนเขียนคิดถึงพื้นที่กับ facilities พวกนี้ พอกลับไปดูที่เขียนไว้ พบว่าตัวเองไม่ได้อธิบายชัดเจนค่ะ ต้องขอโทษด้วยค่ะ

พื้นที่ห้องเรียน...สำหรับที่สถาบัน มีพอ ถึงจะไม่ทันสมัย หรือเป็นพื้น slope (สำหรับห้องใหญ่) ก็ยังสอนกันได้ ถ้าอาจารย์ตั้งใจ และนักศึกษาส่วนใหญ่ร่วมมือค่ะ...

แต่ที่ปัจจุบัน สำหรับกรณีของตัวเองเลยคือ ขาดพื้นที่ห้องปฏิบัติการค่ะ .... เรามีนักศึกษาต่อห้องมากขึ้นเป็นเท่าตัวจากที่เคยรับในสมัยก่อน.. อุปกรณ์กับพื้นที่ของเรา...เท่าเดิมค่ะ เพราะฉะนั้นโอกาสที่นักศึกษาจะได้ฝึกปฏิบัตินั้นน้อยลงทันตาเห็น แปลว่าเขาได้เรียนจากกระดาน แต่ไม่ได้ลองทำเองจริงๆ..เพราะไม่มีเครื่องมือให้เขาค่ะ เช่น นักศึกษาไม่มีโอกาสได้ฝึกผสมปูนเอง(ทุกคน) ไม่ได้โอกาสลองทำงานเชื่อมเอง ไม่ได้โอกาสทำงาน....สารพัดเอง เพราะเราไม่มีพื้นที่และเราไม่มีเครื่องมือพร้อมสำหรับทุกคนในเวลาเดียวกันค่ะ... อันนี้เป็นปัญหาที่รุนแรง เพราะกลายเป็นว่านักศึกษาได้สัมผัสจากกระดานเท่านั้น ไม่ได้สัมผัสด้วยมือ หรือได้ทำเองจริงๆ น้อยมาก ค่ะ แต่ปัญหานี้เป็นปัญหาของบางสาขาเท่านั้นค่ะ เช่น วิศวกรรมศาสตร์ และแพทย์ศาสตร์ (ซึ่งต้องมีรพ.สำหรับหมออินเทอร์น) แต่ถ้าเป็นสาขารัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ปัญหาน่าจะน้อยกว่านี้ค่ะ ...

เรื่องรั้วที่กลายเป็นกำแพงกั้นไม่ให้คนในออก คนนอกเข้า อันนี้เป็นเรื่องน่าเศร้าค่ะ ไม่อยากให้ใครถูกกักด้วยรั้วอันนี้เลยค่ะ...

ขอบคุณนะคะ สำหรับความตั้งใจและความทุ่มเทในการพัฒนาการศึกษาด้วยกันนะคะ..

พวก e-learning ก็อาจจะช่วย บางวิธีที่สอนนักเรียนทีหนึ่งเป็น ร้อยๆ คน  ถึงอาจารย์จะบอกว่า นิสิตสงสัยถามได้เลยนะคะ (ก็จะมีึคนกล้าถามอยู่ประมาณ 3 คน)  ใครจะกล้า pause หนัง ที่เพื่อนอีก 200 คนกำลังดูอย่างสนุก
 
อันนี้ก็อัด video หรือ DVD ไปให้นักเรียกดูเอาเองก็ได้? ถามผ่าน web board เอา ก็น่าจะประหยัดพื้นที่ไปได้บ้าง?
 
จะเอาเอาศูนย์เรียนรวมมาเล่นเปตองได้  

สวัสดีค่ะคุณ P sasinanda

คุณย่ากับหลานสบายดีนะคะ ^ ^ ดิฉันก็เพิ่งไปหาหลานมาเหมือนกันค่ะ วันนี้อยู่กับทั้ง ๒ คนตอนบ่ายค่ะ สนุกดีไปอีกแบบ แต่ยอมรับเลยค่ะ ว่าเหนื่อย..ตอนวิ่งตาม ^ ^ แต่เป็นสุขมากค่ะ

การรับนักศึกษามากขึ้นนั้นเป็นนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยมาตลอดค่ะ การขยายโอกาสแต่ไม่มีทุนขยายสถานศึกษา (ในหลายๆ แง่นะคะ ไม่ว่าจะเป็นการขยายไปพื้นที่ใหม่ในภูมิภาค การพัฒนาครู การพัฒนา facilities หรืออื่นๆ)

ดิฉันว่าแนวโน้มการให้บริการวิชาการ เช่นการทำวิจัยให้กับหน่วยงานเอกชน หรือการไปเป็นที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานต่างๆ ของอาจารย์มีแนวโน้มมากขึ้นค่ะ ดิฉันเห็นด้วยเลยค่ะว่าอาจารย์บางคนมีศักยภาพทางด้านนี้มากๆ แต่การทำงานบริการวิชาการก็มีปัญหาบ้างอย่างที่คุณศศินันท์ได้กล่าวถึงไว้ เช่น การทำงานให้ทันการใช้งานของโรงงาน (พอดีอาจารย์เองก็มีภารกิจหลายอย่าง อย่างที่ว่าน่ะค่ะ ทั้งต้องสอน ต้องวิจัย ให้บริการวิชาการ และบางคนก็ต้องทำบริหารด้วย...งานบางอย่างก็เลยช้าค่ะ)  

แต่เรื่องการถือตัวเป็นอาจารย์ทำให้คนไม่กล้าโต้แย้งนั้น ดิฉันว่าถ้าเป็นอาจารย์รุ่นใหม่ๆ ยังไม่อาวุโสมาก ตรงนี้จะน้อยค่ะ แต่อันนี้ก็สรุปจากประสบการณ์ส่วนตัวที่เคยเจอเท่านั้น ไม่ทั้งหมดค่ะ

ปัญหาเรื่องความลับทางการค้าก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ดิฉันได้กล่าวถึงไว้ตอนตอบน้องเม้งในข้อคิดเห็นข้างต้นเหมือนกันค่ะ อันนี้ดิฉันเข้าใจค่ะ ถ้าจะรับงานต้องคุยกับบริษัทให้เข้าใจกันก่อนค่ะ เรื่องลิขสิทธิ์ เรื่องการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ มีประเด็นอะไรบ้างที่จัดว่ามี confidentiality... 

โดยสรุปแล้ว เห็นว่าทางออกเรื่องการให้บริการวิชาการกับอุตสาหกรรมนั้นมีอยู่ค่ะ ซึ่งนับเป็นเรื่องดีสำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาค่ะ เพราะมหาวิทยาลัยอยู่ไม่ได้อย่างมีคุณภาพแน่นอนค่ะถ้าขาดการสนับสนุนของอุตสาหกรรม...

สำหรับเรื่องสถานการณ์ครอบครัว เรื่องของบริโภคนิยมนั้นดิฉันเห็นด้วยกับคุณศศินันท์ทุกประการค่ะ เราต้องร่วมมือ ร่วมกันทำในแต่ละส่วนของเราค่ะ..

จริงๆ แล้วเรื่องอาจารย์ไม่รับผิดชอบเนี่ย..ดิฉันก็เห็นตัวอย่างมาเยอะเหมือนกัน เหมือนที่เคยเขียนไว้ในเรื่อง "อาจารย์ไม่มีคุณภาพ" นั่นแหละค่ะ บางคนก็แย่จริงๆ ไม่อยากจะกล่าวถึงเลยค่ะ เหมือนเอาเขามานินทา.. ดิฉันตอนที่มีโอกาสทำก็ได้แต่ตีกรอบให้คนกลุ่มนี้เข้ามารับผิดชอบมากขึ้น.. แต่ก็พบว่าอะไรที่มอบให้คนเหล่านี้ไป เหลวหมด..ทำให้ต้องมาทำซ้ำอีกครั้ง แล้วบางอย่างก็เสียหายไปแล้วด้วย.. สุดท้ายคนเหล่านี้ก็ลอยตัว.. ไม่ต้องทำงานเต็มที่เต็มความรับผิดชอบ ไม่มีใครกล้าใช้งาน จะเอาออกก็ไม่ได้ จะตั้งกรรมการสอบทีก็ต้องมีผู้ร้องเรียน ตั้งแล้วก็มองเป็นเรื่องส่วนตัว ประเภทไม่ดูว่าตัวเองทำหรือไม่ได้ทำอะไร แต่มองว่าคนตั้งกรรมการสอบไปแกล้งเขาเสียอีก กลายเป็นเรื่องส่วนตัวไป... เห็นไหมคะ..บ่นยาวยืดเลยค่ะ..

ขอบคุณที่แวะเข้ามาให้ข้อคิดเห็นดีๆ นะคะ ดีใจค่ะที่คุณศศินันท์กับคุณ Little Jazz ให้ข้อมูลตรงกันว่าอุตสาหกรรมอยากเข้ามามีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัย..อันนี้เป็นข่าวดีค่ะ ^ ^

สวัสดีค่ะคุณ P เบิร์ด  ^ ^

ยิ้มมาก่อนเลย..เพราะอะไรรู้ไหมคะ ไม่มีประสบการณ์เรื่องอีเลิร์นนิ่งเลยค่ะ ไม่ว่าจะเป็นในฐานะผู้เรียน หรือผู้พัฒนาระบบค่ะ.. 5555  เคยแต่ใช้ระบบแบบ moodle เล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ไม่เคยใช้เต็มรูปแบบเลยค่ะ

ไม่รู้จะตอบยังไงดีค่ะ ^ ^ มีคำถามเกี่ยวกับการใช้งานระบบที่ว่ามากกว่าคำตอบค่ะ...

เอาเป็นว่าถ้าเป็นประโยชน์กับนักศึกษาที่อยู่ไกล เขาได้ความรู้จากการเรียนอีเลิร์นนิ่ง สามารถนำความรู้ไปใช้งานได้... ดิฉันว่าดีค่ะ แล้วก็คงลดปัญหาพื้นที่จำกัดได้แน่ๆ ค่ะ แต่อีเลิร์นนิ่งน่าจะเหมาะกับหลักสูตรที่ไม่มีห้องปฏิบัติการหรือไม่ต้องลงแลปค่ะ...

ขอบคุณที่แวะเข้ามา ลปรร นะคะ..

สวัสดีค่ะ คุณPบ่าววีร์

งั้นเราพูดถึงอคิลิสคนเดียวกันแต่คนละประเด็นค่ะ ^ ^ เพราะอคิลิสคนนี้มีจุดอ่อนที่ข้อเท้า ประมาณว่าเป็น fatal point เลยค่ะ เพราะฉะนั้น..คนที่เก่งมากๆ เปลี่ยนแปลงทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง จะมีจุดอ่อนที่เป็นจุดตายค่ะ ^ ^

เรื่องการพัฒนาพื้นที่สันทนาการสำหรับชุมชนนั้นเป็นตัวบ่งชี้ถึงการพัฒนาของสังคมที่ดีอย่างหนึ่งค่ะ ตัวเองก็อยากได้สวนสาธารณะเพิ่มเหมือนกัน.. อยากเดินไปทำงานหรือขี่จักรยานไปทำงานด้วย..แต่ถ้าขี่ไปตอนนี้..กลัวตายค่ะ 5555

สำหรับเรื่อง e-learning คุณบ่าววีร์น่าจะรู้ดีกว่าดิฉันเยอะนะคะ ดังนั้นขอสรุปว่าน่าจะได้ผลดีกว่าการอัดเทปให้นักศึกษาชมพร้อมๆ กันแล้วไม่มีคนกล้า pause 5555  แต่เรื่องศูนย์เรียนรวมจะเป็นสนามเปตองเนี่ย...เผื่อแบดมินตันด้วยได้ไหม ^ ^

ดีแน่ค่ะ ถ้าเรามีพื้นที่สันทนาการมากขึ้นในชุมชนและในมหาวิทยาลัยค่ะ..

P e-learning กับ lab ของทางคอมพิวเตอร์ ก็พอจะได้นะครับ 
 
ถ้าไม่คิดอะไรมากก็อัด วิดีทัศน์​ เหมือน มสท. ก็ได้ครับ :-)
 
จะได้ pause ได้  

สวัสดีค่ะน้องP เม้ง

ไปนอนหรือยังเอ่ย.. พี่ไม่ได้อยากทำให้ใครนอนไม่หลับเลย ^ ^

พี่ต้องค่อยๆ ตอบน้องเม้งแล้วล่ะค่ะ เพราะเดี๋ยวจะเข้าใจพี่ผิดค่ะ.. พอดีพี่ไม่ได้เขียนอธิบายทั้งหมดค่ะ เพราะเขียนบนพื้นฐานของเรื่องที่เกิดจากประสบการณ์ตรงของตัวเองเท่านั้น ... บางทีก็เลยไม่ได้อธิบายเพิ่ม (เพราะตัวเองรู้แล้วไง..ลืมไปว่าคนอื่นอาจไม่รู้ แล้วก็คาดเดาสถานการณ์ที่แต่ละคนเจอได้ไม่มีทางครบด้วย) ดังนั้น สิ่งที่พี่เขียนก็ไม่ครอบคลุมทุกกรณีค่ะ เพราะไม่มีทางที่พี่จะรู้ทุกเรื่อง และตอบได้ทั้งหมดค่ะ แหะๆ ก็มีหัวเดียว... แล้วก็ไม่มีอำนาจเท่าไหร่เสียด้วย  พี่ว่าตอนนี้ ขนาด รมต.ศึกษาก็นอนไม่ค่อยจะหลับหรอกค่ะ...

สำหรับที่เขียนไว้ว่า "แล้วเขาจะไปเรียนที่ไหน ต้องไปเรียนในที่ที่สอนแย่กว่าเราสอนหรือเปล่า..." อันนี้มาจากประสบการณ์ตรงค่ะ ที่เอ่ยชื่อสถาบันหรือใครไม่ได้ แต่เกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นจริงๆ เน้นว่าเป็นสถานการณ์ที่พี่เจอ ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นจริงในอีกหลายๆ ที่ค่ะ

ส่วนเรื่องการรับเพิ่มนะคะ เน้นว่าถ้าเรารับเพิ่ม"อีกนิด" น่าจะช่วยได้บ้าง.. ไม่ได้เป็นหมื่นค่ะ (โหย..ถ้าอย่างนั้นแย่เลยค่ะ ไม่มีจรรยาบรรณแน่ หน่วยงานเดียวรับเยอะเป็นหมื่นอาจเข้าข่ายทำธุรกิจการศึกษาแบบไม่รับผิดชอบไปหน่อยค่ะ แล้วก็เป็นไปไม่ได้ด้วย..)  โดยการรับเพิ่มนี้ไม่ได้เป็นการปิดกั้นไม่ให้เขาไปเรียนในภูมิภาคนะคะ ไม่อยากให้ไปเรียนในกรุงเทพฯ ใกล้ๆ กันที่เปิดแข่งกันแบบจะเป็นจะตายโดยไม่ดูคุณภาพเนี่ยแหละค่ะ... เพราะฉะนั้นถ้าเด็กอยากเรียนกับเรา เลือกเรา และอยู่ในเกณฑ์ที่พอจะพัฒนาได้..ตามศักยภาพที่เรามี ... พี่จะเลือกทำแบบนี้ค่ะ

เรื่องการปลดรั้วออกนั้น พี่ว่าแนวโน้มดีขึ้นแล้วค่ะ แต่ก็ค่อยๆ เป็นค่อยๆ ไปค่ะ

นอนหลับฝันดีนะคะ ^ ^

สวัสดีครับอาจารย์กมลวัลย์

ปัญหา"พื้นที่"ในสจพ.ของเราเป็นปัญหาโลกแตกจริงๆครับ

สมัยที่ผมเรียน(ปี ๒๕๑๗)มีอาคาร ๓ ชั้นตึกเดียว ห้องเรียนมีไม่พอ รุ่นพี่ต้องช่วยกันสร้างต่อเติมบริเวณดาดฟ้าเอง ได้เป็นห้องเรียนเพิ่มอีก ๑ ห้อง

ปัจจุบันสจพ.เริ่มมีตังค์ซื้อที่เพิ่มขึ้น กลับเอาไปสร้างหอพักนักศึกษาแข่งกับหอพักเอกชน  น่าจะเป็น"ปัญหาโลกแตกกว่า"ในอนาคตอันใกล้

ปัจจุบัน(เช่นกัน)สจพ.มีที่จอดรถไม่พอกับจำนวนบุคลากรอยู่แล้ว  กลับเอาที่จอดรถที่มีอยู่น้อยนิดไปปรับปรุงทำเป็นร้านค้าเอกชนเพื่อเก็บค่าเช่า  น่าจะเป็น"ปัญหาโลกแตกที่สุด"FOREVER

ไม้รู้ว่าเอามะพร้าวไปขายสวนหรือเปล่าน๊า?

 

 

สวัสดีค่ะ คุณPบ่าววีร์

ยอมรับเลยค่ะว่า ไม่เคยใช้ระบบของมสธ. เลย นึกว่าเขามีแต่หนังสือ แสดงว่าเขามีเทปประกอบหนังสือด้วย...รู้สึกว่าตัวเองล้าหลังมากๆ เลย...

อย่างนี้แสดงว่าเขาน่าจะทำ e-learning โดยตัดเทปเป็นตอนๆ ได้เหมือนกันนะคะ... คิดว่านะคะ...

สวัสดีค่ะ P อ.ศิริศักดิ์

หายไปหลายวันนะคะอาจารย์ ^ ^

ฟังอาจารย์เล่าถึงสมัยก่อนแล้ว บอกได้อย่างเดียวว่า "นึกไม่ออก" เลยค่ะ เมื่อครู่เพิ่งไปทานข้าวมา สังเกตได้ชัดเจนเหมือนที่บอกอาจารย์ไว้ว่าเทอมนี้คนเยอะและแน่นมากเป็นพิเศษ โรงอาหารคนเต็ม ขนาดโต๊ะร้อนๆ แถวลานสวนปาลม์ก็มีคนเต็ม ใต้ตึกเอนกฯ ก็คนยิ่งกว่าหนอน เดินแทบไม่ได้เพราะเป็นตลาดนัด.. วันนี้มีของขายและมีคนเดินมากกว่าเทอมที่ผ่านๆ มาอีกค่ะ..ไม่รู้เกิดอะไรกันขึ้น... ยังไม่แน่ใจว่ากลางกับปลายเทอมจะคงสภาพแบบนี้หรือเปล่า... แต่ถ้าอาจารย์ไปดูในตึก TGGS กับตึกวิจัย..อาจารย์จะเห็นความแตกต่างอย่างประหลาด... T_T

เรื่องทำหอพักแข่งกับเอกชนทั้งๆ ที่ไม่มีพื้นที่นี้ ไม่รู้จะพูดอะไรแล้วค่ะ ยิ่งเรื่องที่จอดรถก็ยิ่งมั่ว... เดี๋ยวต้องเอาไปคุยกันในกรรมการสภาฯ บ้างแล้วค่ะ ... แต่ดิฉันก็ว่าเรื่องนี้ต้องเคยมีคนคุยกันแล้วแน่ๆ แล้วก็บอกว่าจะมีการดำเนินการ แล้วก็เป็นไฟไหม้ฟาง... คงต้องลองจุดกันใหม่อีกรอบค่ะอาจารย์...

ขอบคุณอาจารย์ที่เข้ามา ลปรร นะคะ..

  • มาขอบคุณ
  • วันนี้ดีใจได้คุยกับอาจารย์
  • เลยเอาเจ้านี้มาฝาก
  • เห็นอาจารย์ชอบ
  • ที่นี่ครับ

ขอบคุณค่า อ.ขจิต ฝอยทอง

ยอดเลยค่ะ A+ 

เคยเห็นในบันทึกของ อ.ลูกหว้า แล้วล่ะค่ะ น่ารักมากๆ เลย ^ ^

ดีใจที่ได้คุย   กับอาจารย์เหมือนกัน  แล้วคงได้พบกันเร็วๆ นี้ค่ะ ^ ^

สวัสดีค่ะอาจารย์...กมลวัลย์

  • ครูอ้อยมาแล้วค่ะ..ได้เบอร์โทรศัพท์มาจากคุณขจิตด้วยค่ะ
  • แต่ยังไม่โทร.ค่ะ  เอาไว้ให้ตกใจเล่นดีกว่า..อิอิ
  • ปัญหาที่อาจารย์เขียนก็เกิดขึ้นที่โรงเรียนค่ะ..แต่ได้แค่คิด  เพราะคิดมากกว่านี้  ประเดี๋ยว..ต้องทำค่ะ  555

เรียนเชิญอ่าน..ทำไม...เขียนได้มากจัง  นิดนึงค่ะ

สวัสดีค่ะครูอ้อย

แล้วจะคอยรับ จากครูอ้อยนะคะ... ^ ^

เคยได้ยินเสียงของ อ.ขจิตแล้ว ได้แต่เดาว่าเสียงครูอ้อยจะเป็นยังไง... อิอิ

สำหรับเรื่องพื้นที่...ที่ไหนก็คงเป็นค่ะ เพราะโลกเราก็เท่านี้..ประเทศไทยก็เท่านี้.. แต่ประชากรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ... ก็อย่างนี้แหละค่ะ...ต้องค่อยๆ ทำให้สมดุลให้ได้..ทรัพยากรมีจำกัด แต่คนน่ะ..ไม่จำกัด(ความต้องการ)ค่ะ ...  ^ ^

อ้อ..แวะไปให้ข้อคิดเห็นที่บันทึกทำไม...เขียนได้มากจัง มาแล้วนะคะ ขอบคุณมากเลยค่ะที่อ้างถึง ^ ^

  • ตามมาขอบคุณและ
  • มารายงานตัวว่ากลับมาแล้วครับ
  • สรุปว่าผมเสียงเด็กไหมครับผม
  • ฮ่าๆๆๆ

สวัสดีค่ะ อ.ขจิต ฝอยทอง

หวังว่าการสอบคงผ่านพ้นไปได้ด้วยดีนะคะ

แล้วก็สรุปว่าเสียงนุ่มทุ้ม..แต่ไม่เด็กค่ะ 5555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท