เกร็ดประวัติศาสตร์ Google กับบรรยากาศการเรียน


หยิบหนังสือ The Google Story มาอ่านอีกที ก็พบประเด็นที่น่าคิดครับ ในบทที่สาม มีเรื่องบรรยายไว้ว่า บิล เกตส์ บริจาคเงินหกล้านเหรียญสร้างตึกให้สแตนฟอร์ด ตึกนี้ชื่อว่า William Gates Computer Science

ในพิธีเปิด James Gibbons คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำนายว่า

within 18 months "something will happen here, and there will be some place, some office, some corner, where people will point and say 'Yeah, that's where they worked on the blank in 1996 and 1997. And you know, it was a big deal.' " 

Big deal ที่เกิดขึ้นคือ Google ครับ อาคารนี้เป็นสถานที่ที่ Larry Page พบกับ Sergey Brin ผู้ก่อตั้ง Google ทั้งสอง ซึ่งทั้งคู่ถูก assign ให้ไปใช้ห้อง Gates 360 (ร่วมกับนักศึกษาอีกสี่คน) ต่อมาทั้งคู่พัฒนา PageRank™ ขึ้น และเป็นจุดเริ่มต้นของตำนานอินเทอร์เน็ตอีกเรื่องหนึ่ง

ไม่ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จแบบ Page และ Brin แต่สแตนฟอร์ดก็สร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนต่อยอดความรู้ไปได้ นี่ช่างต่างกับการเรียนระดับสูงในเมืองไทยเสียเหลือเกิน การเรียน course work กลายเป็นเรื่องหลัก ต่อให้ไม่มี communication loss ในการสอน ความรู้ที่ได้มา ก็มีแนวโน้มที่จะไม่ได้อะไรเกินไปกว่าที่ได้รับการถ่ายทอด

ในมหาวิทยาลัยไทย มีลักษณะของ "โต๊ะ" ให้นักศึกษานั่งกัน แต่กิจกรรมที่เห็นโดยมากมักออกแนวบันเทิงเสียมากกว่า ถ้าเป็นเรื่องเรียนก็เป็นการทบทวน -- จะทำอะไรได้มากกว่านั้นในที่โล่งล่ะครับ

หมายเลขบันทึก: 101896เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2007 00:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

เคยได้รับเกียรติไปเป็นอาจารย์พิเศษสองสามสถาบัน พบว่าบรรยากาศในห้องเรียนนั้น นักศึกษาไม่คุ้นกับการที่จะต้องคอยตอบคำถามเราเสียเลย ผลคือ ทำให้เหนื่อยและไม่สนุกด้วยเลย ถ้ากล้าถาม กล้าแสดงความเห็น มันจะสนุกกว่ากันมากนะคะ (แต่ก็เป็นไปได้ว่า เขาไม่คุ้นกับเรามากพอที่จะต่อปากต่อคำได้ด้วย)

อย่างไรก็ตาม สมัยเรียน ตั้งแต่ระดับมัธยมขึ้นมา จะเป็นคนที่ชอบถามครูค่ะ ถามดะ ถามลองวิชาก็มี ถามเพราะอยากรู้อยากเห็นจริงๆ ก็มากนัก การถาม มันทำให้คนสอนรู้ว่า เราต้องการรู้อะไรด้วย และที่สำคัญ สนุกทั้งคนเรียนและคนสอน 

สวัสดีครับอาจารย์

ขออนุญาตินำบทความไปรวมในตะกอนครับ

http://gotoknow.org/blog/mrschuai/99502

ขอบคูณมากครับ

 

เห็นด้วยเรื่องข้อสังเกตเกี่ยวกับความไม่ค่อยกล้าถามครับ

ถ้าบริษัทที่ร่ำรวยในตลาดหลักทรัพย์ แบ่งเศษเงินมาเจือจานการศึกษาบ้างก็ดีนะครับ คิดเป็นค่าใช้จ่ายได้และหักภาษีได้สองเท่า

เช่นบริจาค 10 ล้าน เป็นค่าใช้จ่ายได้ 100% จะจ่ายภาษีน้อยลง 3 ล้าน และเรียกคืนได้ตอนสิ้นปีอีก 3 ล้าน เหลือออกเอง 4 ล้าน -- กลายเป็นบริษัทออก 40% รัฐสมทบ 60% บริษัทเลือกได้ว่าจะช่วยที่ไหน แต่ต้องแบก cashflow นิดหน่อยครับ

ไม่ใช่ว่าทุกคนจะประสบความสำเร็จแบบ Page และ Brin แต่สแตนฟอร์ดก็สร้างบรรยากาศให้เกิดการแลกเปลี่ยนต่อยอดความรู้ไปได้ นี่ช่างต่างกับการเรียนระดับสูงในเมืองไทยเสียเหลือเกิน การเรียน course work กลายเป็นเรื่องหลัก ต่อให้ไม่มี communication loss ในการสอน ความรู้ที่ได้มา ก็มีแนวโน้มที่จะไม่ได้อะไรเกินไปกว่าที่ได้รับการถ่ายทอด

ในมหาวิทยาลัยไทย มีลักษณะของ "โต๊ะ" ให้นักศึกษานั่งกัน แต่กิจกรรมที่เห็นโดยมากมักออกแนวบันเทิงเสียมากกว่า ถ้าเป็นเรื่องเรียนก็เป็นการทบทวน -- จะทำอะไรได้มากกว่านั้นในที่โล่งล่ะครับ

  • สวัสดีครับพี่ Conductor
  • อ่านแล้วผมติดใจท่อนท้ายๆ นี่หล่ะครับ และต้องขอบคุณ คนรวยที่ให้โอกาสคนอื่นได้รวยตามไปด้วยครับ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เกิดการรวยทางการศึกษา รวยทางด้านปัญญา เพราะการให้ปัญญาเป็นการให้ที่ประเสริฐที่สุด
  • วกเข้ามาที่เรื่องการศึกษาไทย มหาวิทยาลัยไทย เมื่อเข้าเรื่องนี้ทีไรผมจะไม่ค่อยปล่อยให้หลุดมือไปครับ หากผมได้อ่านบทความนั้นครับ
  • ผมชักอยากจะเทียบการศึกษาไทย เหมือนการใส่ปุ๋ยเคมีเข้าไปแล้วทุกทีครับ หรือเหมือนการให้น้ำเกลือผู้ป่วยเลยครับ เป็นการเคี้ยวให้แล้วก็ป้อนให้ จนปากไม่ค่อยได้เคี้ยว น้ำย่อยในปากไม่ค่อยได้ทำงาน กรามไม่ค่อยได้ขยับ จนอาจจะส่งผลให้สมองไม่คิดจะสั่งการเลยก็ได้ครับ หากปล่อยไว้นานๆ
  • สิ่งที่ผมอยากเห็นคือ มีใครกล้ายกรั้วของสถาบันการศึกษาออกบ้างครับ แบบไม่มีรั้วกั้นนะครับ นั่นคือ  สถาบันการศึกษา ชุมชน แหล่งส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และครอบครัว ผนึกกำลังเข้าหากันนะครับ เด็กต้องเรียนรู้จากที่ต่างๆ เหล่านี้ มากกว่าอยู่ในห้อง หรือในหนังสือที่ครูท่องได้หมดทุกตัวอักษรแล้ว มันต้องเกิดสิ่งใหม่ที่ต่อยอดจากหนังสือเรียนเหล่านั้น ในการทำให้เกิดการคิด การเคี้ยว การหลั่งสารย่อยในปาก ย่อยในสมอง ก่อนแล้วจะส่งผลให้เกิดการต่อยอดต่อไปได้ครับ
  • หนังสือเรียนแต่ละบทน่าจะมีส่วนต่อยอด ฝังอยู่ด้วยครับ ที่ทำให้เกิดการนำไปพูดคุยต่อ นอกห้องเรียน ระหว่างเพื่อนถึงเพื่อน ครูถึงครู และครูถึงเด็ก เด็กถึงพ่อแม่ แม่พ่อถึงชุมชน ชุมชนถึงวัด วัดถึงโรงเรียน วนเวียนการต่อยอดครับ
  • อิๆๆ แค่นี้ก่อนแล้วกันนะครับ ผมจะเพ้อมากไปครับ ขอบคุณมากๆ นะครับ ที่ช่วยจุดต่อมการศึกษาขึ้นมาครับ....เขียนไว้อีกนะครับ
  • การให้หรือการบริจาคที่สำคัญคือ การบริจาคสิ่งที่ทำให้เกิดปัญญา เพื่อให้เค้าเกิดภาวะตนเป็นที่พึ่งแห่งตน และตนเป็นผู้เกื้อกูลสังคม
  • ขอบคุณมากๆ นะครับ
  • ผมชอบการเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมีมากครับ
  • เรื่องรั้วก็เหมือนกัน ถ้าเอาออกได้ก็จะดีมากเลยครับ เชื่อว่าสถานศึกษาทุกแห่งต้องการเป็นส่วนของชุมชนแน่นอน ("ดัชนีกระรอก" กับการศึกษาระดับสูง) และผมก็เชื่อว่าการก่อสร้างทุกมหาวิทยาลัยได้ตั้งงบไว้ล้อมรั้วเช่นกัน -- จะเป็นไปได้จริงหรือครับ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบต่อความปลอดภัย และครุภัณฑ์ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ที่เห็นไม่มีรั้วคือตึกแถวกับที่รกร้างครับ ขนาดสถานที่ราชการที่จะต้องบริการประชาชนยังมีรั้วเลยครับ

In an interview with Time magazine, I don't remember if it's  Page or Brin who gave credit to elementary study in a Montessori school system that shaped his creativity/thinking process. But I thought just by reading that, every parent should send his/her kids to Montessori school. There are a few Montessori schools in Thailand too.

Incidentally - perhaps long overdue, at today's  Harvard 2007 Commencement, the university has finally bestowed upon Bill Gates - their one and only "most successful/richest dropout", an honorary degree, here's Gates' commencement speech

 

สวัสดีครับพี่

  • ส่วนหนึ่งของโครงการแผ่นดินธรรม ที่ผมฟัง ดต.วิชัย ได้พูดไว้ในรายการถึงลูกถึงคน คือ การมีเพื่อนบ้านที่ดี ไม่ต้องสร้างรั้วบ้านครับ
  • ดังนั้น สถานศึกษาทั้งหลาย หากมีเพื่อนบ้านเป็น ครอบครัว โรงเรียน ชุมชน เป็นเพื่อนแล้ว จะสร้างรั้วบ้านทำไมใช่ไหมครับ ในเมื่อสร้างขึ้นมาเพื่อ  องค์กรนี้มีแต่ให้ สร้างลูกเค้าให้เป็นคน ทุกคนก็ช่วยกันดูแลเองครับ เพราะเป็นแหล่งให้อาหารสมองของลูกเค้า
  • อิๆๆ เจอ ตั้งงบเพื่อการสร้างรั้วรวมอยู่ด้วยแล้วในโครงการนี่ก็ลำบากหน่อยครับ
  • สถานที่บริการการศึกษา ไม่ควรมีรั้วกั้นครับ การศึกษา พัฒนาสมอง ต้องไร้เพดานกั้น
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีค่ะ คุณConductor

ดิฉันนำเรื่องที่จะเขียนเป็นข้อคิดเห็นต่อในบันทึกนี้ไปเขียนเป็นบันทึกที่นี่นะคะ..

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณคุณ Bluebonnet มากเลยครับ ตอนจะเขียนบันทึกโรงเรียนกับความต้องการของเด็ก นึกอยู่ตั้งนานก็นึกไม่ออก เคยอ่านผ่านตานานมาแล้ว

ความคิดเกี่ยวกับ Montessori ตั้งอยู่บนทฤษฎีความคิดที่ว่า เด็กพัฒนาและคิดแตกต่างจากผู้ใหญ่ พวกเขาไม่ใช่ผู้ใหญ่ในร่างน้อยๆ 

สัมฤทธิผลในระบบ Montessori ไม่ได้มุ่งเป้าไปที่การวัดผลตามทฤษฎีการศึกษา แต่เน้นที่การพัฒนาศักยภาพของเด็กเป็นสำคัญ วัดที่พัฒนาการทักษะของชีวิตซึ่งแสดงออกด้วยการปฏิบัติ

การศึกษาแบบ Montessori เน้นที่เด็กแต่ละคน -- สังเกต และยอมรับความสามารถของเด็กแต่ละคน ซึ่งค่อนข้างต่างกับการจัดการศึกษาทั่วไป ซึ่งมองความต้องการของชั้น(และครู)เป็นหลัก

เมื่อพัฒนาการของเด็กเป็นเป้าประสงค์ การศึกษาจึงเต็มไปด้วยความเพลิดเพลิน ช่วยให้เด็กค้นพบตัวเองได้เร็วขึ้น มีความเคารพตัวเอง มีความเป็นตัวของตัวเอง กล้าที่จะยอมรับผู้อื่น (ต้องนับถือตัวเองก่อนที่จะยอมรับผู้อื่นได้โดยไม่รู้สึกว่าตัวด้อยค่าลง คนไทยไม่ค่อยชื่นชมผู้อื่นมากนัก เพราะไม่ค่อยนับถือตัวเองเท่าไหร่ กลัวว่าชมไปแล้วตนจะด้อยค่าลง)

แต่การจัดการศึกษาแบบนี้สำหรับชั้นสูงๆ ผมคิดว่าทำได้ยากในเมืองไทยครับ มันเข้ากันไม่ได้กับการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย น่าจะเหมาะสำหรับเด็กเล็กมากกว่า
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท