โองการแช่งน้ำ - ตามข้อสันนิษฐานของ จิตร ภูมิศักดิ์


ร่ายโองการแช่งน้ำ ในนามแห่งการเรียกขานอันศักดิ์สิทธิ์ สู่นัยยะแห่งศรัทธา ด้วยการเหนี่ยวรั้งความเชื่อ และภักดีให้ดำรงคงอยู่

โองการแช่งน้ำ  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

จัดรูปแบบเป็นโคลงห้า ตามข้อสันนิษฐานของจิตร ภูมิศักดิ์    

 

โองการแช่งน้ำ*

 

 

๏ โอมสิทธิสรวงศรีแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเปนแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักรคทาธรณี ภีรุอวตาร อสูรแลงลาญทัก ททัคนี (ทักขิณ) จรนายฯ

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">๏ โอมปรเมศวราย ผายผาหลวงอคร้าว ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทรเป็นปิ่น ทรงอินทรชฎา สามตาพระแพร่ง แกว่งเพชรกล้า ฆ่าภิฆนจัญไรฯ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">๏ โอมชัยชัย ไขโสฬศพรหมญาณ บานเศียรเกล้า เจ้าคลี่บัวทอง ผยองเหนือขุนห่าน ท่านรังก่อดินก่อฟ้า หน้าจตุรทิศ ไทยมิตรดา มหากฤตราไตร (ไกร) อมรรตัยโลเกศ จงตรีศักดิท่าน พิญาณปรมาธิเบศ ไทธเรศสุรสิทธิ์ฯ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>                           ๏ พ่อเสวยพรหมานฑ์       ใช่น้อย            ประถมบุณยภาร ดิเรก <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            บูรพภพบรู้กี่ร้อย  ก่อมาฯ  </p>

นานา    อเนกน้าว           เดิมกัลป์            จักร่ำ     จักราพาฬ          เมื่อไหม้ กล่าวถึง ตระวันเจ็ด         อันพลุ่ง             น้ำแล้งไข้           ขอดหาย ฯ         เจ็ดปลา มันพุ่งหล้า         เป็นไฟ   วะวาบ   จัตุราบาย           แผ่นขว้ำ       

                 ชักไตรตรึงษ์       เป็นเผ้า              แลบ่ล้ำ  สีลอง ฯ สามรรถ ญาณครอบเกล้า ครองพรหม        ฝูงเทพ  นองบนปาน       เบียดแป้ง        

               สรลมเต็มพระ    สุธาวาศ            แห่งหั้น            ฟ้าแจ้งจอด        นิโรโธ ฯ กล่าวถึง น้ำฟ้าฟาด         ฟองหาว                        ดับเดโช ฉ่ำหล้า              ปลาดินดาว        เดือนแอ่น                      ลมกล้าป่วน       ไปมา ฯ              แลเป็นแผ่น        เมืองอินทร์                     เมืองธาดา         แรกตั้ง  

ขุนแผน แรกเอาดิน         ดูที่                    ทุกยั้งฟ้า            ก่อคืน ฯ             แลเป็นสี่            ปวงดิน              เป็นเขายืน          ทรง้ำหล้า                       เป็นเรือนอินทร์    ถาเถือก             เป็นสร้อยฟ้า       จึ่งบาน ฯ           จึ่งเจ้า    ตั้งผาเผือก         ผาเยอ               ผาหอมหวาน      จึ่งขึ้น                หอมอายดิน       เลอก่อน             สรดึ้นหมู่           แมนมา ฯ           ตนเขา   เรืองร่อนหล้า      เลอหาว             หาวันคืน            ไป่ได้                 จาวชิมดิน          แสงหล่น                       เพียงดับไต้         มืดมูล ฯ                        ว่นว่นตา            ขอเรือง              เป็นพระสูรย์       ส่องหล้า                        เป็นดาวเมือง      เดือนฉ่ำ             เห็นฟ้าเห็น         แผ่นดิน ฯ                      แลมีค่ำ  มีวัน                  กินสาลี  เปลือกปล้อน      ........                           บ่มี        ผู้แต่งต้อน         บรรณา ฯ                       เลือกผู้เป็น         ยิ่งยศ                เป็นราชา            อะคร้าว

            เรียกนามสมมติ- ติราช    

 เจ้าจึ่ง    ตั้งท้าวจ้าว         แผ่นดิน ฯ          สมมติ   แกล้วตั้งอาทิตย์  เดิมกาล สายท่าน            ทรงธรณินทร์      เรื่อยหล้า           วันเสาร์  วันอังคาร           วันไอยอาทิ์         กลอยแรก          ตั้งฟ้ากล่าว        แช่งผี ฯ             เชียกบาศก์ด้วย   ชันรอง   ชื่อพระ  กรรมบดี            ปู่เจ้า                 ท่านรังผยอง       มาแขก  (กลอย) แรกตั้งขวัญเข้า   ธูปเทียน ฯ         เหล็กกล้า           หญ้าแพรกบั้น    ใบตูม                เชียรเชียรใบ       บาตน้ำ              โอมโอมภูมิ         เทเวศร์              สืบค้ำฟ้า           เที่ยงเฮย            ย่ำเฮย ฯ.....                                           ผู้ใดเภท จงคด                พาจกจาก          ซึ่งหน้า  ถือขัน    สรดใบพลู          ตานเสียด                      หว้ายชั้นฟ้า        คู่แมน ฯ                        มารเฟียดไท       ทศพล   ช่วยดู            ไตรแดนจักร       อยู่ค้อย              ธรรมาระคน       ปรัตเยก ช่วยดู            ห้าร้อยเทียร        แม่นเดียว ฯ                    อเนกถ่อง           พระสงฆ์            ช่วยดู            เชียวจรรยา         ยิ่งได้                 ขุนหงษ์ทอง       เกล้าสี่   ช่วยดู            ชระอ่ำฟ้าใต้       แผ่นหงาย ฯ                   ฟ้าฟัดพรี           ใจยัง     ช่วยดู            ใจตายตน          บ่ใกล้    (ทั้ง)      สี่ปวงผี  หาวแห่ง            ช่วยดู            พื้นใต้ชื่อ            กามภูมิ ฯ                       ฟ้าชระแร่ง         หกคลอง            ช่วยดู            ครูมคลองแผ่น   เผือกช้าง                       ผีกลางหาว        หารแอ่น            ช่วยดู            เสียงเงือกงูว้าง   ขึ้นลง ฯ             ฟ้ากระแฉ่น        เรือนผยอง         ช่วยดู            เอาธงเป็น          หมอกหว้าย                    เจ้าผาดำ           สามเส้า ช่วยดู            หันอย้าวปู่          สมิงพราย ฯ                   เจ้าผาหลวง       ผาลาย  ช่วยดู ฯ            แสนผีพึง           ยอมท้าว                        เจ้าผาดำ           ผาเผือก ช่วยดู            ดีร้ายบอก          คนจำ ฯ             กำรูคลื่น            เปนเปลว                       ผีพรายผี            ชระมื่นถ้ำ          ช่วยดู………                                      บ่ซื่อน้ำ  ตัดคอ ฯ                        ตัดคอเร็ว           ให้ขาด  บ่ซื่อ      มล้างออเอา       ใส่เล้า   บ่ซื่อ      น้ำอยาดท้อง      เปนรุ่ง   บ่ซื่อ      แร้งกาเต้า          แตกตา ฯ                       เจาะเพาะพุง      ใบแบ่ง  บ่ซื่อ      หมาหมีหมู         เข่นเขี้ยว                        เขี้ยวชาชแวง      ยายี                  ยมราชเกี้ยว        ตาตาว  ช่วยดู ฯ            ชื่อทุณพี            ตัวโตรด             ลมฝนฉาว         ทั่วฟ้า    ช่วยดู            ฟ้าจรโลด           ลิวขวาน                        ขุนกล้าแกล้ว      ขี่ยูง      ช่วยดู ฯ            เคล้าฟ้าเคลือก   เปลวลาม                       สิบหน้าเจ้า         อสุร      ช่วยดู...                                             พระรามพระลักษณ์         ชวักอร               แผนทูลเขา        เงือกปล้ำ           ช่วยดู ฯ            ปล้ำเงี้ยวรอน      ราญรงค์            ผีดง      ผีหมื่นถ้ำล้ำ       หมื่นผา ฯ                                                           

๏ มาหนน้ำหนบก            ตกนอกขอกฟ้าแมน         แดนฟ้าตั้งฟ้าต่อ หล่อหลวงเต้าทังเหง้าภูตพนัสบดี         ศรีพรหมรักษ์      ยักษ์กุมาร          หลายบ้านหลายท่าล้วนผีห่าผีเหว    เร็วยิ่งลมบ้า        หน้าเท่าแผง       แรงไถยเอาขวัญครั้นมาถึงถับเสียง           เยียชระแรงชระแรง          แฝงข่าวยินเยีย   ชระรางชระรางรางชางจุบปากเยีย          จะเจี้ยวจะเจี้ยว   เขี้ยวสระคาน     อานมลิ้นเยียละลาบละลาบ   ตราบมีในฟ้าในดิน          บินมาเยีย           พะพลุ่งพะพลุ่งจุ่งมาสูบเอา       เขาผู้บ่ซื่อ           ชื่อใครใจคด       ขบถเกียจกายหว้ายกะทู้ฟาดฟัน           คว้านแคว้นมัดศอก         หอกดิ้นเด้าเท้าทก           หลกเท้าให้ไป่มิทันตายหงายระงมระงม ยมพบาลลากไป  ไฟนรกปลาบปลิ้นดิ้นพลาง           เขาวางเหนืออพิจีผู้บดีบซื่อ           ชื่อใครใจคด       ขบถแก่เจ้า         ผู้ผ่านเกล้าอยุทธยาสมเด็จพระรามาธิบดี       ศรีสินทรบรมมหา            จักรพรรดิศรราชาธิราช     ท่านมีอำนาจมีบุญคุณอเนกา          อันอาศรัยร่ม       แลอาจข่มชัก      หักกิ่งฆ่าอาจถอนด้วยฤทธานุภาพ บาปเบียนตน      พนธุพวกพ้องญาติกามาไสร้         ไขว้ใจจอดทอดใจรัก           ชักเกลอสหาย     ตนทั้งหลายมาเพื่อจะทำขบถ        ทดโหร่ห์แก่เจ้าตนไสร้จงเทพยดาฝูงนี้  ให้ตายในสามวัน            อย่าให้ทันในสามเดือน     อย่าให้เคลื่อนในสามปี

อย่าให้มีศุขสวัสดิเมื่อใด ฯ    

                                ๏ อย่ากินเข้าเพื่อไฟ         จนตาย  อย่าอาไศรยแก่น้ำ            จนตายนอนเรือนคำรนคา           จนตาย  ลืมตาหงายสู่ฟ้า จนตาย <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ก้มหน้าลงแผ่นดิน           จนตาย  สีลองกินไฟต่างง้วน        จนตายฯ</p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"> ๏ จงไปเป็นเปลวปล่อง     น้ำคลองกลอกเป็นพิษ     คาบิดเปนเทวงุ้ม ฟ้ากระทุ่มทับลงแล่งแผ่นดินปลงเอาชีพ    จรเข้ริบเสือฟัด    หมีแรดถวัดแสนงขนาย    หอกปืนปลายปักครอบ </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">ใครต้องจอบจงตาย         งูเงี้ยวพิษทั้งหลายลุ่มฟ้า  ตายต่ำหน้ายังดิน ฯ     </p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p> <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p>

   ๏ อรินทรหยาบหลาบหล้า ใครกวินซื่อแท้ผ่านฟ้า      ป่าวอวยพรฯ                    อำนาจ  แปล้เมือแมน      อมรสิทธิมีศรี      บุญพ่อก่อ          เศกเหง้า            ยศท้าวตริ          ไตรจักร            มิ่งเมืองบุญ        ศักดิ์แพร่            เพิ่มช้างม้า         แผ่วัวควาย                     

    ๏ เพรงรัตนพรายพรรณยื่น            เพิ่มเขาหมื่นมหาไชย       ใครซื่อเจ้าเติมนาง           ใครซื่อรางควายทองใครซื่อฟ้าสองอย้าวเร่งยิน ใครซื่อสินเภตรา  ใครซื่อใครรักเจ้ายศยง     จงกลืนชนมาให้ยืนยิ่งเทพายศล่มฟ้า    อย่ารู้ว่าอันตราย  ใจกล้าได้ดังเพชร            ขจายขจรอเนกบุณย์สมเด็จพระรามาธิบดี       ศรีสินทรบรมมหา            จักรพรรดิศรราชเรื่อยหล้า ศุขผ่านฟ้าเบิกสมบุญ         พ่อสมบุญฯ                                                                  

  (จัดรูปแบบเป็นโคลงห้า ตามข้อสันนิษฐานของจิตร ภูมิศักดิ์) 

</span>

หมายเลขบันทึก: 102302เขียนเมื่อ 10 มิถุนายน 2007 19:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
วันที่ 01 เมษายน พ.ศ. 2547 ปีที่ 25 ฉบับที่ 06

ภาษา-หนังสือ

สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

Re-print "โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ฯ" ของจิตร ภูมิศักดิ์ หนังสือคลาสสิคอีกเล่มที่ต้องอ่าน!

"จิตร ภูมิศักดิ์" เป็นนามที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงในฐานะนักคิดนักเขียนคนสำคัญ ผลงานของท่านมีมากมายทั้งบทความวิชาการ วรรณกรรมและบทกวี ที่โดดเด่นคือผลงานด้านอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ซึ่งทรงคุณค่า และถือเป็นงาน "คลาสสิค"

แม้จะได้รับการยกย่อง แต่ปัจจุบันผลงานของจิตรกลายเป็นหนังสือหายาก ราคาแพง เพราะเคยถูกสถานการณ์ทางการเมืองกีดกันว่าเป็นหนังสือต้องห้าม เป็นที่ต้องการของนักเล่นหนังสือเก่า แม้บางเล่มจะได้รับการตีพิมพ์ใหม่แต่ก็เป็นส่วนน้อย ผลงานของจิตรจึงยังคงขาดตลาดและไม่เผยแพร่เท่าที่ควร โดยเฉพาะผลงานทางด้านภาษาและวรรณคดี

ด้วยเคารพและศรัทธาในงานของจิตร ภูมิศักดิ์ "สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน" จึงจัดทำโครงการนำผลงานของจิตร ภูมิศักดิ์ กลับมาตีพิมพ์ใหม่อีกครั้ง โดยประเดิมเล่มแรกด้วยผลงานวรรณคดีวิเคราะห์เรื่อง "โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา" รวบรวมบทความของจิตร ภูมิศักดิ์ ที่เกี่ยวข้องกับโองการแช่งน้ำทั้งหมด และพิเศษสุดด้วยต้นฉบับเรื่องโองการแช่งน้ำซึ่งยังไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อนอีก ๒ ชิ้น

จิตร ภูมิศักดิ์ เขียนวรรณคดีวิเคราะห์เรื่องโองการแช่งน้ำขึ้นในราว พ.ศ. ๒๕๐๕ หรือประมาณ ๔๐ ปีมาแล้ว แต่หนังสือเล่มนี้ยังคงคุณค่าและเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่นักศึกษาค้นคว้าประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวรรณคดีต้องอ่าน

โองการแช่งน้ำเป็นวรรณคดีโบราณที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ใช้อ่านในพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพระราชพิธีกระทำสัตย์สาบานต่อกษัตริย์ ซึ่งในพระราชพิธี ๑๒ เดือนระบุว่าต้องกระทำปีละ ๒ ครั้ง ภาษาที่ใช้เก่าแก่สืบเนื่องมาแต่โบราณโดยแทบไม่มีการเปลี่ยนแปลง ยิ่งทำให้โองการแช่งน้ำมีความศักดิ์สิทธิ์มากขึ้น

รสของถ้อยคำและความเก่าแก่ของโองการแช่งน้ำดึงดูดให้จิตร ภูมิศักดิ์ สนใจศึกษาค้นคว้าวรรณคดีเรื่องนี้ตั้งแต่อายุไม่ถึง ๒๐ ปี จิตรได้เคยไปตรวจสอบและคัดลอกจากสมุดไทยดำเพื่อนำมาศึกษาด้วย ดังที่ข้อความตอนหนึ่งในงานชิ้นนี้ที่จิตรเขียนว่า

"...โองการแช่งน้ำที่เรามีฉบับอยู่บัดนี้, ในหอสมุดแห่งชาติ, เป็นฉบับสมุดไทย ราวสักสิบฉบับด้วยกัน และมีฉบับหนึ่งเขียนด้วยตัวอักษรพราหมณ์ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นฉบับของพวกพราหมณ์พิธี ผู้ทำหน้าที่อ่านโองการ เท่าที่เคยตรวจดูอย่างคร่าวๆ มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๙๕, รู้สึกว่าทุกฉบับที่มีอยู่ จะคัดลอกกันไปมา วนเวียนอยู่ในพวกเดียวกันนั้นเอง, ไม่มีฉบับใดที่เก่าแก่กว่ากันกี่มากน้อย..."

กว่า ๑๐ ปีที่จิตรสนใจศึกษาโองการแช่งน้ำ เขาค้นพบว่าวรรณคดีเรื่องนี้แต่งด้วยโคลงห้า ฉันทลักษณ์โบราณที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องท้าวฮุ่งขุนเจือง และสูญหายไปแล้วในปัจจุบัน จิตรได้จัดวรรคตอนของโองการแช่งน้ำเสียใหม่ ค้นคว้าและอธิบายความหมายของถ้อยคำที่ปรากฏจนสามารถเข้าใจวรรณคดีโบราณเรื่องนี้ได้ถูกถ้วนมากขึ้น

คุณค่าของวรรณคดีวิเคราะห์เล่มนี้มิได้หมดลงเพียงเท่านั้น งานชิ้นนี้ของจิตรยังเป็นตัวอย่างของการศึกษาวรรณคดีและประวัติศาสตร์ที่ทลายกรอบความคิดเดิม ขยายพรมแดนของความรู้ให้กว้างไกลออกไปในขณะที่แวดวงการศึกษาประวัติศาสตร์ขณะนั้นถูกจำกัดกีดกั้นอยู่ด้วยกรอบความคิดของนักประวัติศาสตร์รุ่นเก่าและนักวิชาการต่างชาติ โดยเฉพาะข้อวินิจฉัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งถือว่าเป็นข้อสรุปสุดท้าย ไม่สามารถขัดง้างหรือโต้แย้งได้

พระวินิจฉัยของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพนั้นหลายประการทำให้เกิดปัญหาในการศึกษาประวัติศาสตร์ เช่น เชื่อว่าประวัติศาสตร์ไทยเริ่มขึ้นในสมัยสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตามลำดับ และหลักฐานเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีอายุแค่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เพดานการศึกษาประวัติศาสตร์จึงถูกจำกัดอยู่แค่เพียง พ.ศ. ๑๘๙๓ ซึ่งเป็นปีที่สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเท่านั้น แม้จะพบว่ากฎหมายหลายฉบับในกฎหมายตราสามดวงระบุศักราชที่เก่าแก่กว่านั้น ก็ถูกปฏิเสธและแก้ไขลดอายุเสียดื้อๆ และทรงอธิบายว่าเป็น "ศักราชกฎหมาย"

พระวินิจฉัยข้อนี้แม้จะมีผู้สงสัยเคลือบแคลงแต่ก็ไม่มีใครกล้าเสนอความคิดขัดแย้งอย่างเต็มปากเต็มคำนัก เมื่อธนิต อยู่โพธิ์ เสนอการคำนวณศักราชใหม่ที่คัดค้านทฤษฎีของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ จิตรจึงชื่นชมอย่างมาก และได้สนับสนุนความคิดนี้ด้วยหลักฐานอื่นๆ จำนวนมากที่แสดงให้เห็นว่าสังคมลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีพัฒนาการก่อนหน้าการสถาปนากรุงศรีอยุธยาหลายร้อยปี โดยเฉพาะร่องรอยที่ปรากฏอยู่ในวรรณคดีเรื่องโองการแช่งน้ำ

ในหนังสือเล่มนี้ยังแสดงให้เห็นว่าจิตรน่าจะได้รับอิทธิพลทางความคิดและการศึกษาของนักวิชาการรุ่นใหม่ของกรมศิลปากร เช่น มานิต วัลลิโภดม รวมทั้งความคิดของศิลปินเอกอย่างศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี และอาจารย์เขียน ยิ้มศิริ ซึ่งอธิบายประติมากรรมและสถาปัตยกรรมในมุมมองที่ส่องทะลุไปเห็นผู้คนในอดีตอย่างลึกซึ้งมาประกอบการค้นคว้า ทำให้จิตรสามารถศึกษาและทำความเข้าใจหลักฐานต่างๆ ได้รอบด้านและลุ่มลึกมากยิ่งขึ้น

โองการแช่งน้ำและข้อคิดใหม่ในประวัติศาสตร์ไทยลุ่มน้ำเจ้าพระยา ของจิตรจึงเป็นผลงานทรงคุณค่าที่สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกันถือเป็นเกียรติที่ได้นำเสนอสู่มือท่านผู้อ่านอีกครั้ง

หน้า 62

ผมมีโองการแช่งน้ำ ฉบับวงตาวันมาแลกเปลี่ยนครับ  

เพลง : โองการแช่งน้ำ
ศิลปิน : วงตาวัน


ฟ้าเคือง ดินโกรธ
ฝนจาง บอกลางร้าย
แผ่นดินแล้ง เกินจะปลูกสิ่งไหน
ภัย...จะโถมทลายเมืองคน

ผองคน โกงโลก
คว้าครอง อย่างใจตน
ทุกสิ่งในโลกนี้ เป็นอย่างไรไม่สน
จนจะผลาญซะจนสิ้นพันธุ์

หลอมคน รวมชาติ
ล้านคน หลากดีร้าย
อยู่รวมกัน คนและสัตว์ทั้งหลาย
ในแผ่นฟ้าและดินเดียวกัน

*เพียงคนเท่านั้นเป็นใหญ่ หรือคุณฟ้าให้กำเนิด
เบียดเบียนชีวิตกัน
แข็งขืนจะฝืนลิขิต วงจรชีวิตจะสั้น
ไฟ...จะเผาล้างพันธุ์คนพาล

เบื้องบนฟ้าจะกดลงมา
เบื้องต่ำน้ำจะกลบภูผา...ล้างมารครองเมือง
ดับยุคเข็ญประหัตประหาร ผู้คนล้มตายดั่งผักปลา
คำสาปฟ้าและดินลงฑัณท์

ขุนคน คนใหญ่
ขุนนาง กร่างเกลื่อนไป
ลืมวันที่หลั่งรินน้ำ ลืมคำที่เคยให้ไว้
ไม่รักษาสัญญาฟ้าดิน

อีกเพลงนะครับ คุณ kati น่าจะเข้ากับเหตุการณ์ได้ดี

หมอผีครองเมือง :


(หมอผี)
ยินดีต้อนรับ เชิญสิครับ ขอต้อนรับ คนช่างฝัน คนมุ่งมั่น คนเดินทาง ลนลานรุ่มร้อน เร่งเรียกร้องที่หมายปอง คนช่างฝันตามหาฝัน อุดมการณ์ เชิญแวะดื่มน้ำ เพียงสักครั้ง เย็นช่มฉ่ำ สุขเหลือล้ำ จากสายน้ำ ในลำธาร
สายน้ำ แม้นบอบช้ำ มัวหมองคล้ำ หมอผีทำ เวทย์ลึกล้ำ ทำน้ำครำเป็นน้ำดี หมอผีครองเมืองนี้ กำหนดชี้ ใครคนดี ใครดื่มน้ำ ใครทำตาม ย่อมมั่งมี เมืองนี้ภูตผี ปีศาจร้าย มีมากมาย ผลสุดท้าย ให้หมอผี ครอบครองเมือง
ขอเชิญคำนับ ก้มหัวรับ ความสับปรับ ความฉ้อฉล ความมืดมนต์ เล่ห์กลลวง สมองไม่ต้องคิด ใช้ชีวิต ตามลิขิต ตามแรงฤทธิ์ เดชอำนาจ ปาฏิหารย์ หมอผี ต้อนรับ หมอผีชัก ชวนดื่มน้ำ ละความฝัน เลิกมุ่งมั่น ลืมเดินทาง

(ชายหนุ่ม)
ปลดปล่อยตัวเองไปตามลำธารเปลี่ยว โดดเดี่ยวคนเดียวเหลียวมองดูรอบกาย โดดเดี่ยวเดียวดาย กระหายพบเพื่อนร่วมทาง โลกที่อ้างว้าง เส้นทางที่ไกล

(หมอผี)
หนีไปแห่งไหน ไปไม่พ้น ทุกผู้คนถูกคุมขังถูกจองจำ ทุกข์ทรมาน ผลการการขัดขืน การฝ่าฝืน ทุกค่ำคืน เสียงกรีดร้อง ก้องโหยหวน ชวนอาเจียน หมอผีครองเมืองนี้ กำหนดชี้ ทุกไอ้อี มึงขัดขืน ถูกข่มขืน แตกตื่นกลัว
เจ้าจงดื่มน้ำ เพียงสักครั้ง เย็ยชุ่มฉ่ำ สุขเหลือล้ำ จากสายน้ำในลำธาร เจ้าจงคำนับ ก้มหัวรับ ความสับปลับความฉ้อฉล ความมืดมน เล่ห์กลลวง หมอผีครองเมืองนี้ ครองเมืองนี้ ครองเมืองนี้ ครองเมืองนี้ เมืองนี้หมอ ผีครอบครอง

(ชายหนุ่ม)
คนจนยิ่งจน ยากจนเพราะ คนร่ำรวย ร่ำรวยเพราะ คนยากจน สร้างให้รวย คนดีต้องตาย เพราะเหล่าร้าย พวกเหล่าร้าย เขียนกฎหมาย ให้คนร้ายเป็นคนดี หลายสิ่งที่เป็น แต่ที่เห็นเป็นภาพลวง เป็นภาพหลอน เฉกเช่นหนอน กลายเป็นเกลือ
(ชายหนุ่ม)
ปลดปล่อยตัวเองไปตามลำธารเปลี่ยว โดดเดี่ยวคนเดียว เหลียวมองดูรอบกาย โดเดี่ยวเดียวดาย กระหายพบเพื่อนร่วมทาง โลกที่อ้างว้าง เส้นทางที่ไกล

(ชายชรา,หญิงสาว)
อยากบอกให้รู้ ความดียังมีอยู่ วางจิตรับรู้ เข้าใจด้วยเหตุผล ดื่มดับกระหาย สายน้ำของทุกผู้คน หยุดความสับสน เลือกหนทางเดิน

(ชายชรา,หญิงสาว,ชายหนุ่ม)
สัจธรรมจริงแท้ มั่นคง ดำรง อยู่ ปัญญาความรู้ เท่าทันความเศร้าหมอง ดื่มเถิดเพื่อนผอง สายน้ำของการแบ่งปัน ร่วมกันสร้างฝันบนพื้นฐานความจริง
โลกใหญ่ใบนี้ ไม่มีใครครอบครอง ไม่แบ่งเป็นสอง เพ่งมองดูแม่น้ำ

(ชายหนุ่ม)
รูปรสกลิ่นเสียง ฟังด้วยหู ดูด้วยตา ชิมด้วยลิ้น กลิ่นจมูก สุขที่ใจ มายาหลอกลวง เฝ้าหลอกหลอน คนอ่อนแอ คนยอมแพ้ คนธาตุแท้ เห็นแก่ตัว วิถีเหตุผล พาหลุดพ้น ฤทธิ์เวทย์มนต์ หมอผีร้าย สูญสลาย ในพริบตา

(หมอผี)
อำนาจวาสนา พาพลาดพลั้ง รากเหง้ายัง ฝักอยู่ลึก กูจะมา

สวัสดีค่ะ

ที่โดดเด่นคือผลงานด้านอักษรศาสตร์และประวัติศาสตร์ซึ่งทรงคุณค่า และถือเป็นงาน "คลาสสิค"
ดิฉันภูมิใจที่เป็นรุ่นน้องท่านที่อักษรศาสตร์ค่ะ

  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับ เนื้อเพลง "โองการแช่งน้ำ" ของวงตาวัน
  • และเนื้อเพลง "หมอผีครองเมือง"
  • ตรงใจจริงๆ ครับ กับแรงบันดาลใจในการอ่านโองการแช่งน้ำ
  • นอกเหนือจากความงดงาม ของบทวรรณคดีอันยิ่งใหญ่
  • หากได้ฟัง พราหมณ์ อ่านบทโองการแช่งน้ำ จะยิ่งมีมนต์ขลังยิ่งขึ้นครับ
  • ไม่รู้จะทำหนทางใด สำหรับ มุมมองและผู้คนที่สร้างภาวะหมอผีครองเมือง ที่กำหนดชี้ชีวิตผู้คน
  • ไม่รู้จะกล่าวอย่างไร จนต้องกลับไปหาอ่าน อักขระอันงดงาม จากท่อนบันทึกบทคัมภีร์จากภูมิธรรมดั้งเดิม
  • อ่านและก็ได้คิด
  • อ่านและก็ตระหนัก
  • ทำอะไรไม่ได้มากนัก ก็อ่านโองการแช่งน้ำ
  • ใครทำสิ่งไม่งาม ไม่ดี ต่อแผ่นดิน ก็ยิ่งท่องบทโองการแช่งน้ำ บ่อยครั้งเข้า
  • ไม่รู้จะทำประการใด ก็ได้แต่ภาวนา
  • และส่งความเชื่อมั่นในโองการไปถึง
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับ เนื้อหาที่นำมาฝาก
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับ คุณ
    P
  • ชื่นชม และ ยกย่อง ผลงานจากแรงผลักดันของ จิตร ภูมิศักดิ์ เช่นเดียวกันครับ
  • ทั้งตระหนัก ถึงคุณค่าของผลงานที่ฝากไว้ในแผ่นดินไทย
  • ความงดงาม และความสำคัญของวรรณคดีมากมาย ได้รับการตีความ หยิบยก ศึกษา และบรรยายถ่ายทอดให้กับสังคมไทย ได้เข้าใจรับรู้ ถึงคุณค่าอันยิ่งใหญ่ภายในงานเขียนเหล่านั้น
  • สังคมไทย น่าจะให้เกียรติต่อคุณความดี และความพยายามในการสร้างสรรค์องค์ความรู้ ต่อแผ่นดินไทย ของบุคคลผู้นี้ ให้มากกว่านี้ครับ
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับความคิดเห็น
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท