เรื่องเล่าจากดงหลวง 117 พิษของมะม่วงหิมพานต์


ด้วยกลวิธีทางระบบบัญชีและนโยบายของธนาคารก็มีการ “ปิดบัญชีหนี้สินด้วยการเป็นหนี้สิน” คือมาเสนอเงื่อนไขใหม่ให้ลุงมากู้อีกหนึ่งแสนบาท เอาแปดหมื่นใช้คืนหนี้เก่าแล้วเหลือเงินสองหมื่นเอาไปทำอะไรก็เอาไป ธนาคารก็ปิดบัญชีเรื่องมะม่วงหิมพานต์ได้แต่เปิดบัญชีหนี้สินใหม่ให้ "ลุงมา" เป็นหนึ่งแสนบาท..

รัฐมักจะมีนโยบายต่างๆลงมาช่วยเหลือเกษตรกรอยู่ประจำ บางเรื่องเป็นนโยบายของหน่วยงานที่รับผิดชอบ  บางนโยบายเป็นเรื่องของรัฐบาลโดยตรงที่ผลักดันให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการกับชาวบ้าน 

อาจจะเรียกว่าความหวังดี เพราะคิดว่าหากเกษตรกรทำแล้วจะเกิดผลดีอย่างนั้นอย่างนี้ ในอดีตกิจกรรมเหล่านี้จะเป็นลักษณะ บนลงล่างหรือที่เรียกกันว่า Top down 

หลายสิบปีก่อนรัฐมีนโยบายส่งเสริมให้เกษตรกรในอีสานปลูกมะม่วงหิมพานต์ เพื่อเก็บเมล็ดไปแปรรูปขาย เพราะมีราคาสูงน่าสนใจ เจ้าพนักงานราชการที่เกี่ยวข้อง ต้องทำงานอย่างหนักในการขายแนวคิดและหารายชื่อเกษตรกรที่สนใจเพื่อเข้าโครงการ 

ในที่สุดมีเกษตรกรจำนวนมากที่สนใจที่จะสละพื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกมะม่วงหิมพานต์ ตามการประชาสัมพันธ์ของราชการแต่ต้องลงทุนเตรียมที่ดิน ซื้อกล้าพันธุ์ การบำรุงดูแล เมื่อเกษตรกรผู้ใดสนใจและไม่มีทุนก็สามารถไปกู้เงินทุนมาจากธนาคารแห่งหนึ่งได้ ซึ่งเป็นธนาคารที่สร้างขึ้นมาเพื่อเกษตรกร 

เวลาผ่านไป ผลพบว่ามะม่วงหิมพานต์ไม่ให้ผลผลิตตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งคงมีเหตุผลทางวิชาการ เช่น มะม่วงหิมพานต์ไม่ใช่พืชท้องถิ่นของอีสาน แต่เป็นพืชท้องถิ่นของภาคใต้  ลักษณะสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันทำให้มะม่วงไม่ติดผล อาจจะเรียกว่านี่คือความผิดพลาดของระบบราชการอีกครั้งหนึ่ง  แล้วภาระหนี้สินที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินทุนมาจากธนาคารแห่งหนึ่ง ที่บอกว่าเพื่อเกษตรกรนั้นเล่า  เกษตรกรก็ต้องแบกรับต่อไป  

มันเป็นเวรเป็นกรรมของเกษตรกรไทยจริงๆหนาที่ต้องมาแบกรับภาระหนี้สินอันเกิดจากการส่งเสริมของรัฐ  แล้วชาวบ้านจะมีปัญญาไปใช้คืนได้อย่างไรกัน เพราะยอดเงินจำนวนไม่น้อยเลย และเกษตรกรมีรายได้เป็นรายฤดูกาลและรายปี  ดอกเบี้ยก็ยิ้มรับอรุณของวันใหม่ทุกวันโดยไม่สนใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับผู้กู้ 

ลุงมา เป็นเกษตรกรหัวไวใจกล้าอีกคนหนึ่งที่อ้าแขนรับโครงการปลูกมะม่วงหิมพานต์ของราชการนี้เมื่อ 20 ปีที่แล้วเพราะเชื่อถือเจ้าพนักงานราชการ และต้องเป็นหนี้สินมากถึงแปดหมื่นบาทจนวันนี้ก็ยังไม่มีปัญญาใช้คืนเพราะมะม่วงหิมพานต์ที่ปลูกลงไป 3 ไร่นั้นไม่ได้เงินคืนสักบาทเดียว  ธนาคารเจ้าหนี้ก็ไม่ได้ละทิ้งเกาะติดลูกหนี้เป็นตังเมย์ เจ้าพนักงานราชการที่เข้าไปส่งเสริมโยกย้ายหายตัวไปนานแล้ว ไม่เคยแวะเยี่ยมเยือนให้เห็นหน้าอีกเลย ไม่มีใครตามมาให้คำแนะนำแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากนโยบายของรัฐอีกเลย  มีแต่เจ้าหนี้ คือธนาคารเท่านั้นที่ตามมาติดๆตลอดเวลาที่ผ่านมา เพื่อจะมาทวงเงินคืน ดอกเบี้ยน่ะเติบโตเป็นหนุ่มใหญ่นานแล้ว 

ด้วยกลวิธีทางระบบบัญชีและนโยบายของธนาคารก็มีการ ปิดบัญชีหนี้สินด้วยการเป็นหนี้สิน คือมาเสนอเงื่อนไขใหม่ให้ลุงมากู้อีกหนึ่งแสน เอาแปดหมื่นใช้คืนหนี้เก่าแล้วเหลือเงินสองหมื่นเอาไปทำอะไรก็เอาไป ธนาคารก็ปิดบัญชีเรื่องมะม่วงหิมพานต์ได้แต่เปิดบัญชีหนี้สินใหม่ให้ "ลุงมา" หนึ่งแสนบาท.. 

มันไม่ได้แก้ปัญหา

แต่สร้างปัญหาใหม่ให้แก่เกษตรกร 

รัฐสมควรรับผิดชอบนโยบายการส่งเสริมการเกษตรที่ล้มเหลว

มิควรปล่อยให้เป็นภาระของเกษตรกร 

แม้ว่าการตัดสินใจเป็นของเกษตรกรก็ตาม 

จะมีอีกกี่โครงการที่เข้าแถวมาอย่างนี้อีกในอนาคต  

(ผู้บันทึกต้องขออภัยเพื่อน G2K ที่ช่วงนี้เอาแต่ปัญหาชาวบ้านมาบ่นให้ฟังครับ ทุกข์ของชาวบ้านคือทุกข์ของแผ่นดิน โลกร้อนขึ้นทุกวัน ปัญหาชนบทก็ยิ่งร้อนขึ้นทุกนาทีเช่นกัน)

หมายเลขบันทึก: 103077เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 18:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 20:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (30)

สวัสดีค่ะพี่บางทราย

ยางพาราล่ะคะ..มีปัญหามั้ย ?

มาป่วนเล่นๆเพราะเห็น บ.เครือเจริญโภคภัณฑ์ถูกปรับฐานส่งกล้ายางไม่ครบและไม่ได้มาตรฐานน่ะค่ะ

เอาใจช่วยค่ะพี่บางทราย เหนื่อยก็ระบายออกมาแล้วก็ลุกขึ้นสู้กันใหม่...เพื่อตอบแทนคุณแผ่นดิน เอาใจช่วยค่ะ

สวัสดีค่ะพี่บู๊ด

มาคุยเรื่องส่วนตัวนะคะ  แบบว่า น้องจะขอความกรุณานะคะ โดยจะขอเป็นข้อๆ ดังนี้ (ขอแบบโหดร้ายหน่อยนึง)

ขอ (ถาม) เลยแล้วกัน

1. คุณพี่จะอยู่มุกดาหารช่วงใหนบ้าง

2. คือว่า น้องจะขอเข้าพื้นที่นะคะ จะขอศึกษาการเรียนรู้ของเกษตรกร  ในประเด็น

- การดำรงค์ชีวิตด้วยวิถีเกษตร(เกษตรทุกด้าน แบบว่า farminf system ประมาณนี้ค่ะ)

- การเรียนรู้ การถ่ายทอดและการสืบสานความรู้ด้านการเกษตร

- การจัดการความรู้ ตลอดจนวิธีการสร้างความรู้ของเกษตรกร

3. เรื่องทั่วๆ ไป เกี่ยวกับการเรียนรู้ค่ะ

แบบว่าขอสังเกตการณ์ และพูดคุย

ไม่ทราบว่า น้องจะไปได้มั้ย และต้องขออนุญาตผ่านไปทางใครบ้างน่ะคะ

ขอความกรุณาน้องด้วยนะคะ แล้วน้องจะมาดูคำตอบและข้อแนะนำจากคุณพี่พรุ่งนี้นะคะ

เพราะว่าน้องจะออกไปซื้อของเตรียมทำบุญแล้ว  พรุ่งนี้จะไปวัดป่าบ้านตาด ที่อุดรฯ ไปกันตอน ตี 3 ไปทำบุญ ฟังเทศน์ ฟังธรรมก่อนนะคะ จิตใจจะได้สงบ มีสมาธิทำงาน

 

  • สงสารชาวบ้านนะครับ
  • ยิ่งตอนนี้ไม่รู้จะเอาอะไร
  • OTOPที่เคยทำก็ตกต่ำ
  • วัวก็ราคาถูก
  • หนีสิ้นก็มาก
  • การทำเรื่องพอเพียงของรัฐก็ขาด ๆ
  • อืม..ทุกข์ของชาวบ้าน

เกษตรกรเหมือนปลูกต้นหนี้ มีแต่ดอกเบี้ยทั้งนั้นเลยค่ะ ไม่ได้ปลูกผลไม้ แล้วออกลูกขายได้อีกแล้ว.. น่าเห็นใจมากจริงๆ..

เอาความจริงมาพูดกันแหละค่ะ ดี..  อย่างน้อยคนรู้ก็มากขึ้น ถ้าใครมีคนรู้จักอยู่ในส่วนนโยบายจะได้ช่วยๆ เตือนกันให้คิดหนักๆ หน่อย... ชาวบ้านเขาเดือดร้อนกันจริงๆ...

สวัสดีครับพี่บางทราย

  • น่าจะช่วยกันฉีดวัคซีนเข็มใหญ่ๆ ให้ชาวบ้านนะครับ หากมีโครงการปลูกพืชเชิงเดี่ยวจากรัฐ อย่าไปเชื่อครับ (ไว้ก่อน)
  • หากจะให้ทำจริง จะต้องทำสัญญา ระหว่างรัฐกับเกษตรกร โดยมีสัญญาว่าเจ้าหน้าที่จะต้องเข้ามาดูแลทุกๆ เดือน หรือกำหนดไว้เลยว่าเดือนละกี่ครั้งเป็นอย่างน้อย พร้อมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ
  • แล้วเขียนติดไว้ตัวใหญ่ๆ ที่หน้าชุมชน ว่าโครงการปลูกพืชเชิงเดี๋ยว นำโดยใคร ใครเป็นผู้รับผิดชอบ มีเจ้าหน้าที่ชื่ออะไร ใครเป็นคนสนับสนุนโครงการ แล้วเว้นพื้นที่การประเมินผลไว้ด้วย ให้ชาวบ้านเขียนลงไปด้วยว่าอย่างไร
  • แนะนำให้มีสภาชุมชนครับ รับเรื่องและพิจารณาเรื่องนี้ สร้างภูมิคุ้มกันให้ชาวบ้านครับ
  • บางที่เจ้าหน้าที่มาเพื่อหาคนให้ได้ แล้วเซ็นให้ผ่านก่อน ส่วนผ่านแล้วค่อยว่าอีกเรื่อง
  • ผมว่าน่าจะยุบหน่วยงานทิ้งเสียบ้างนะครับ ที่เกี่ยวกับการเกษตร เพราะที่ๆเห็น ได้เข้าไปหาชาวบ้านบ้างไหมแต่ละที่ ย้ำว่าบางที่ก็ดีมากๆ นะครับ
  • บางที่ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยเป็นที่พึ่งให้ได้มากกว่าเกษตรอำเภอ ตำบล จังหวัดเสียอีก....
  • มีการทำงานกันอย่างไร น่าจะให้ชาวบ้านตรวจสอบได้นะครับ หากไม่ได้เรื่องยุบโลดครับ....สนับสนุน
  • อิๆๆๆ ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับน้อง

P

ยางพาราหรือ..มีแน่นอนครับปัญหา วันหลังค่อยแคะออกมา

หากเราลอยอยู่เหนือปัญหา ไม่รับรู้ ไม่สนใจก็อย่ามาทำงานพัฒนาชนบท คิดอย่างนั้นครับ เมื่อมาแล้วก็ต้องเผชิญปัญหาของเขาร้อยแปด

ส่วนจะแก้ได้ไม่ได้นั้น ก็ค่อยๆหาช่องทางกันไป อย่างน้อยที่สุดการเข้าไปรับรู้และเป็นเพื่อนคู่คิดกับเขาบ้างก็ช่วยด้านจิตใจได้ ไม่เช่นนั้นน้องเบิร์ดจะทำงานหนักมากนะ เพราะเขาจะเป็นโรคจิตกันเต็มบ้านเต็มเมืองน่ะซี อิ อิ  หรือไม่เราเป็นโรคจิตซะเอง แหะ แหะ ฝากเนื้อฝากตัวด้วยนา หากอาการเข้าขั้นนั้นแล้ว..

สวัสดีครับน้องกาเหว่า

 

ยินดีครับแต่ขอเวลาจัดการเวลาหน่อย เพราะตอนนี้กำลังเร่งทำ PRA และเขียนรายงานครับ แล้วพี่จะส่งข่าวนะครับ

สวัสดีค่ะ

รัฐสมควรรับผิดชอบนโยบายการส่งเสริมการเกษตรที่ล้มเหลว

มิควรปล่อยให้เป็นภาระของเกษตรกร 

แม้ว่าการตัดสินใจเป็นของเกษตรกรก็ตาม 

คุณบางทรายว่า จะให้รัฐบาลรับผิดชอบแบบไหน ก็ควรเสนอขึ้นมานะคะ ในนามของกลุ่มเกษตรกรค่ะ เงียบๆไป แล้ว มันก้ไม่มีอะไรดีขึ้นค่ะ

สวัสดีครับคุณ

P
  • ชาวบ้านคือของเล่นของเขา
  • แต่เล่นทีไรชาวบ้านทุกข์
  • คนแล้วคนเล่า มาแล้วก็ไป ทิ้งให้ชาวบ้านฝันค้างมาตลอด
  • พวกนักการเมืองก็มาสร้างฝันคนแล้วคนเล่า ก็ยังฝันต่อไป

สวัสดีครับครูบาครับ

  • ลุงมาเป็นเพียงกรณีหนึ่งที่หยิบมาเล่าสู่กัน
  • ผมว่ามากกว่าลุงมาคงมีอีกมากเช่นกัน
  • เกษตรกรที่มาหน้ากระทรวงเมื่อเร็วๆนี้เรื่องหนี้นั้น ก็คงอยู่ในลักษณะเดียวกัน
สวัสดีครับอาจารย์
P

ชาวบ้านที่ประสบผลสำเร็จก็มีครับ ไม่ใช่ล้มเหลวไปทั้งหมด แต่กรณีลุงมานี้ เป็นตัวอย่างที่สะท้อนว่า รัฐมาส่งเสริมก็เท่ากับเสนอความเสี่ยงให้เกษตรกร รัฐควรที่จะแชร์ความเสี่ยงนั้นด้วย เหมือนระบบธุรกิจบางส่วนทำอยู่ครับ

การนำเรื่องนี้มากล่าว ทั้งที่เกิดมาเมื่อนานมาแล้วแต่ยังไม่จบ ชาวบ้านยังแบกภาระต่อไปอีก มันน่าสงสารมาก อายุเขาก็ร่วมโรยลงทุกวัน จะเอากำลังวังชาไปทำการผลิตอะไรอีกก็ยากแล้ว  แต่หนี้สินมันไม่วิ่งหนี้ หรือไม่ร่วงโรยเลย กลับตรงข้ามครับ

ต่อไปอาจจะต้องมี FOF (Friend of Farmer) เพื่อคอยสนับสนุนการแก้เฉพาะปัญหาโดยตรง

สวัสดีน้องเม้งครับ

  • แหม...มาเป็นพายุเลยนะ
  • บางทีเป็นโครงการของนักการเมืองครับ แล้วไปนั่งคุมกระทรวงนั้น กรมนั้นแล้วก็ดันลงไป ทั้งๆที่เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เห็นด้วยแต่ต้องฝืนใจทำเพราะไม่เช่นนั้น ถูกย้ายไปที่อื่น
  • เงื่อนไข และรายละเอียดมีมากครับ
  • เท่าที่คบกันกับท่านเกษตรตำบล เกษตรอำเภอบางท่าน ก็เห็นว่างานล้นมือจริงๆ  แต่ควรที่จะเอาระบบการบริหารจัดการมาใช้บ้าง หรือยกระดับการทำงาน  ปรับปรุงวิธีการทำงาน หากจะต้องรับผิดชอบเกษตรกรจำนวนมาก ไม่เช่นนั้นความเสี่ยงก็ไม่ลดลง
  • ตามหลักการนั้นเจ้าพนักงานเกษตรตำบลต้องทำหน้าที่ T&V system หรือ Training and visiting แต่ทางปฏิบัติระบบนี้เป็นอัมพาตไปนานแล้ว
  • นโยบายใหม่คือ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน แต่ก็เข้าอีหรอบเดิมๆ คือ ฮิตติดลมอยู่พักหนึ่งแล้วก็จางหายไปครับ

สวัสดีค่ะ

ได้อ่านการวิจัยจากกสิกรไทยดังนี้ค่ะ

ครัวเรือนที่ยากจนนั้น มักจะมีภาระหนี้สินที่สูงกว่าสัดส่วนที่ควรจะเป็นจากการคำนวณ ในขณะที่มีสัดส่วนค่าใช้จ่าย/รายได้/เดือนสูงกว่าที่ตั้งไว้ในการศึกษามาก ซึ่งหากปล่อยให้ปัญหาดำเนินเช่นนี้ต่อไปแล้ว ครัวเรือนที่ยากจนดังกล่าวก็อาจมีแนวโน้มที่จะประสบกับปัญหาไม่มีเงินพอประทังชีพหลังเกษียณอายุ จนอาจกลายเป็นปัญหาสังคมหรือปัญหาแก่ภาครัฐได้ในที่สุด

ดังนั้น จากผลการศึกษาดังกล่าว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงเห็นด้วยกับท่าทีของธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาหนี้ภาคครัวเรือนที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังเห็นด้วยกับรัฐบาลที่ได้ตระหนักถึงปัญหาของคนยากจนและหนี้นอกระบบ ทั้งนี้ โครงการต่างๆ ของรัฐบาลที่ให้โอกาสคนยากจนในการประกอบอาชีพและสร้างรายได้ น่าที่จะเป็นช่องทางให้ประชากรในกลุ่มยากจนดังกล่าว มีโอกาสที่จะหลุดพ้นจากห่วงโซ่ปัญหาได้ ซึ่งเท่ากับจะเป็นการลดภาระของรัฐบาลและสังคมในระยะยาว หากประชากรเหล่านี้สามารถออกจากปัญหาภาระหนี้สิน และหันมาเริ่มสะสมเงินออมไว้สำหรับรองรับการใช้จ่ายของตนได้อย่างที่ควรจะเป็น

     ทางธนาคานแห่งประเทศไทย เขายังเห็นว่าโครงการต่างๆที่รัฐนำลงไปให้ จะช่วยได้นะคะ

ถ้าไม่เป็นตามนั้น เกษตรกรก็น่าจะเสนอ ปัญหาขึ้นมาค่ะ

สวัสดีครับท่าน

P
  • แม้ว่าผมจะไม่ได้รับผิดชอบโดยตรง แต่ก็หาทางช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้
  • ข้อเสนอเบื้องต้นคือ (เป็นหลักการนะครับ)
  • รัฐต้องทบทวนนโยบายที่ให้ชาวบ้านลงทุน ต้องลดความเสี่ยงลงมาให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้
  • หากเกิดความเสียหายขึ้นมารัฐควรจะแชร์ความเสี่ยงตามเงื่อนไขที่ต้องมาปรึกษาหารือกันว่าจะเป็นแบบไหนอย่างไร
  • รัฐต้องจัดระบบเยี่ยมแปลงอย่างที่น้องเม้งเสนอ ความจริงเคยมีหลักการนี้อยู่แล้วแต่มาทีหลังมันหายไป  การเยี่ยมแปลงจะช่วยให้ทราบปัญหาตั้งแต่ต้นมือ เมื่อมีปัญหาก็รีบแก้ไขทันทีเป็นการลดความเสี่ยงระดับหนึ่งครับ
  • ก่อนส่งเสริมต้องทำความเข้าใจกับเกษตรกรอย่างละเอียด และพูดถึงความเสี่ยงด้วย มิใช่เอาแต่ดีดีไปพูดเท่านั้น ต้องเอาความเสี่ยงไปพูดแล้วแจ้งกระบวนการลดความเสี่ยง แชร์ความเสี่ยง และอื่นๆให้ชัดเจน และเข้าใจ
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับพี่บางทราย

  • หากเป็นโครงการของนักการเมือง ผมว่าคนที่นั่งอยู่ในกรมต่างๆ หรือผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในระดับล่าง ซึ่งเชี่ยวชาญกว่าและลงถึงการปฏิบัติจริง น่าจะสร้างภูมิคุ้มกันให้กับเจ้าหน้าที่ได้หรือเปล่าครับ หากไม่มีหรือโครงการยังไม่ได้ทดลองปลูกแล้วให้ปลูกไปก่อนโดยไม่มีการทดลองแบบนี้ ใครแย่หล่ะครับ ชาวบ้านอีกแล้ว ช้างชนกันหญ้าแพรกก็แหลกลาญใช่ไหมครับ
  • ผมว่าต้องทำให้พื้นฐานแข็งแรงครับ อยากรู้เหมือนกันว่าคนพวกนี้จะย้ายให้ไปอยู่ไหน
  • ว่าแล้วผมนึกถึงตอนแม่ผมพาทีมงานเกษตรอำเภอไปเดินบุกลุยสวนยางตอนนั้น แล้วก็นึกขำครับ ว่าเค้าจริงใจกับพวกเรามากๆ เลยครับ เข้าใจความเดือดร้อนของเรา แต่หลังจากนั้นบอกว่าจะมาหา หายสาบสูญเลยครับ
  • ผมไม่แน่ใจว่าองค์กรเหล่านี้ ตั้งขึ้นมาเพื่อสนับสนุน หรืออยู่เคียงข้างประชาชน หรือมาเป็นแขนขาให้นักการเมืองกันแน่ครับ หากงานล้นมือเพราะต้องเดินสายเยี่ยมชาวบ้านแบบนี้ ผมศรัทธามากๆ นะครับ
  • ผมอยากจะมีสักวันครับ ที่คนบอกว่า ออคนนี้เหรอ โครงการนี้ เหรอ ไม่เข้าท่าหรอก อย่ามาเสนอที่นี่เลยกลับไปพิจารณาก่อน พร้อมแถมดินไปให้วิเคราะห์ด้วยหนึ่งกระสอบ ก่อนจะมาบอกว่าให้ปลูกอะไร ส่วนกราฟการตกของน้ำฝนให้ดูเลย ทำอย่างไรให้ชาวบ้านสอนเจ้าหน้าที่ให้มึนกลับสถานที่ทำงานไม่ถูกเลย
  • ผมเห็นด้วยนะครับ FOF ที่พี่เสนอ ต่อไปอาจจะมีบริษัทเข้ามาเป็นเพื่อนเกษตรกรก็ได้ครับ ที่ทำงานเป็นมืออาชีพ แล้วรับซื้อสินค้าผลไม้ หรือพืชผล เพราะว่าบริษัทต้องการผลิตผลจริงๆ และมาอยู่เคียงข้างพ่อแม่พี่น้องจริงๆ เหมือนว่าตอนนี้ก็เริ่มมีบ้างแล้วครับ
  • ผสมกับปราชญ์ชาวบ้านครับ พอปราชญ์เพิ่มขึ้น องค์กรที่สามารถยุบได้ก็มีมากขึ้นครับ เพราะชาวบ้านดูแลกันเองได้ อาจจะมีโครงการสร้างปราชญ์หมู่บ้าน มีหมอเกษตรหมู่บ้าน หมอดิน หมอน้ำ หมอพืช หมอปลา หมอผลไม้ หมอแมลง และอื่นๆ....
  • แบบมีปัญหาเรื่องดินไปหาหมอดิน เอาผลลัพธ์มาเลย ว่าดินแบบนี้ต้องใส่อะไรลงไปช่วยให้ดินสมบูรณ์ ฟื้นฟูดินให้เหมาะสมแล้วก็น่าจะไปได้ระดับหนึ่ง ช่วงแรกอาจจะหนักหน่อยเพราะดินเจอสารเคมีมาเยอะ เมื่อบางองค์กรมีปัญหาก็ยุบได้ครับ แล้วส่งเสริมให้ชุมชนมีรูปแบบเป็นภูมิปัญญาของตัวเอง
  • ว่าไปแล้ว ก็ผมมาขี้โม้อีกแล้วครับ.... หากชุมชนเข้มแข็ง นักการเมืองก็ต้องมากราบชาวบ้านและกราบตลอดไป เพราะชาวบ้านคือผู้เชี่ยวชาญทั้งแนวคิดและแนวปฏิบัติ ฝันอีกแล้ว.....
  • ขอบคุณมากครับพี่

สวัสดีครับท่าน

P
  • ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงครับที่เอาข้อมูลดีดีมาฝาก
  • ทางผมก็ปรึกษากันในแนวทางใกล้เคียงกัน
  • ความจริงรัฐมีแนวคิดดีดีนะครับ มันไปเสียตอนปฏิบัติเสียมาก
  • หากจะพิจารณาดูว่าหนี้ หนึ่งแสนบาทนั้นชาวบ้านจะมีปัญญาอย่างไรไปใช้คืน นอกจากขายที่ดิน ซึ่งก็ไม่มีใครเห็นด้วยและไม่สนับสนุน แต่ก็มีชาวบ้านทำจริงๆ
  • การให้เขาลงทุนอีก ในหลักการนั้นน่าที่จะเป็นทางออกที่จะปลดเปลื้องได้  แต่ก็มีจุดอ่อนที่ต้องแก้ไขให้ได้ก่อนที่จะเอาโครงการเข้าไป
  • ผมเองก็พบเกษตรกรที่ปลูกพริกขาย แบบ Contract farming เขาได้เงินเพียง 3 เดือนหลายหมื่นบาท แต่มิใช่ว่าเกษตรกรทุกคนจะทำได้ ต้องมีการวิเคราะห์เป็นรายๆไป ผมเห็นว่าราชการน่าที่จะประสานงานกับบริษัทธุรกิจที่มีมาตราฐานและรับผิดชอบสูงมาทำการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจระยะสั้น แล้วมีระบบการลดความเสี่ยง
  • แต่เกษตรกรจำนวนไม่น้อยไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะทำการเกษตรแบบนี้ได้ เช่นที่ดินของเขาไม่มีแหล่งน้ำ เป็นต้น
  • ดังนั้นแนวทางการฟื้นฟูเกษตรกรควรจะมีหลายแบบ เพื่อให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของเขา
  • แต่แนวความคิดตามข้อมูลดังกล่าวนั้นผมเห็นด้วยครับ รายละเอียดนั้นก็ไปปรึกษากันในแต่ละพื้นที่
  • ขอขอบคุณอีกครั้งครับ

น้อง

P

ครับ

  • พี่เห็นด้วยว่าต้องทำฐานให้เข้มแข็ง ต้องสร้างภูมิคุ้มกัน
  • เกษตรกรจำนวนมากไม่รู้ ไม่เข้าใจว่าเขาควรจะทำอะไรบ้างหากเกิดกรณีดังกล่าว เพียงแต่รอโชคชะตา
  • FOF จะเป็นรูปแบบใดๆก็ตามจะเข้าไปศึกษาเงื่อนไขและให้คำแนะนำ ทางออก ประสานงานกับภาคต่างๆเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา
  • เจ้าพนักงานเกษตรนั้นในภาคกลางเกือบจะไม่มีบทบาทอะไรเลย เพราะเกษตรกรภาคกลางมีความรู้และทันสมัยกว่า และเป็นผู้ปฏิบัติเองดังนั้นเขารู้มากกว่าเจ้าพนักงานเสียอีกด้วยซ้ำในหลายเรื่อง
  • งานแบบนี้ต้องอาศัยหน่วยงานที่ไม่มีข้อจำกัดตามระเบียบราชการ เพราะระเบียบราชการไม่คล่องตัว เช่น ไม่มีงบประมาณก็ไม่ออกเยี่ยมเกษตรกร รถไม่มีน้ำมัน หรืองบประมาณน้ำมันรถหมดก็ออกเยี่ยมไม่ได้ งบมีอยู่แต่ผันไปใช้เรื่องอื่นก่อน ก็ออกเยี่ยมไม่ได้  เงื่อนไขต่างๆนี้ได้ยินได้พบมามากมาย ก็ทำให้ไม่ได้ออกเยี่ยมเกษตรกร  แต่ความเสียหายที่เกิดกับชาวบ้านนั้นมันไม่ได้คอยงบประมาณ
  • เรื่องดินขาดความอุดมสมบูรณ์เป็นปัจจัยใหญ่ และพบเห็นทั่วไปในทุกพื้นที่ของภาคอีสาน
  • เมื่อวานนี้พี่ไปหมู่บ้านมา ชาวบ้านเอาดินมาให้ดู ชาวบ้านบอกว่าเป็น "ดินตับม้า" คล้ายๆดินลูกรัง แข็งมากดั่งหิน ดินพวกนี้อยู่ใต้ดินในอีสานบางพื้นที่ ซึ่งปลูกพืชได้แต่ไม่ได้ผลดี...ก็เป็นเรื่องใหญ่ของการปรับปรุงดิน
  • มีครับชาวบ้านบางคนกล้าเผชิญหน้าข้าราชการและไม่ฟังแถมบอกให้ไปทางอื่นด้วย..
  • ความคิดดีครับ ไม่ได้โม้หรอกครับน้องเม้ง ชอบ..

สวัสดีครับ

P

ขออนุญาตินำข้อความบางตอนไปรวมครับขอบคุณครับ

http://gotoknow.org/blog/mrschuai/102160

สวัสดีค่ะ

แวะมาอีกแล้ว ขอบคุณพี่บู๊ดมากนะคะ

แล้วน้องจะตั้งตารออย่างมีความหวัง แบบว่า น้องจะสอบ Proposal เดือนสิงหาคมค่ะ

อยากลงศึกษาพื้นที่ก่อน อยากรู้ของจริง ความเป็นจริงตามธรรมชาติ

ไม่อยากจะพูดอะไรอยู่บนฐานทษฎีแต่เพียงอย่างเดียวนะคะ ก็เลยจะต้องลงพื้นที่ก่อนค่ะ

ขอบพระคุณล่วงหน้าเป็นอย่างสูงยิ่ง ยิ่ง เลยค่ะ

น้องกาเหว่าครับ

  • วันจันทร์พี่กลับไปมุกดาหารคงมีเวลาตรวจสอบตารางรายละเอียดทั้งหมด แล้วจะส่งข่าวครับ

สวัสดีครับคุณบางทราย

โครงการต่างๆที่ส่งเสริมให้เกษตรกรทำโน่นทำนี่ ผมว่าโครงการส่วนใหญ่น่าจะล้มเหลวมากกว่าประสบผลสำเร็จนะครับ 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราจึงทรงคิดหาทางช่วย  จนสุดท้ายออกมาเป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งเกษตรกรทุกครอบครัวจะสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องรอให้ใครช่วยเหลือ

บังเอิญช่วงที่มีโครงการส่งเสริมปลูกมะม่วงหิมพานต์ในภาคอีสาน ผมเป็นอาจารย์อยู่ใน ม.ขอนแก่นพอดี เลยได้พบเห็นว่าขณะที่เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงหิมพานต์พากันย่ำแย่อยู่นั้น อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรกลับมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำเครื่องกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ขาย นอกจากนี้ยังมีทุนวิจัยให้ประดิษฐ์เครื่องกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แบบ mass product มาประเคนให้อีก

น่าสงสารเกษตรกรตาดำๆ

มะม่วงหิมพานต์มักมีปัญหาเรื่องการผสมตัวเอิงไม่ติด หรือมีเปอร์เซ็นต์การผสมติดต่ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คือมีแต่ต้นผลไม่มี เกษตรกรส่วนมากจึงโค่นเอาต้นไปเผาถ่านซะเลยให้รู้แล้วรู้รอดไป

แต่อย่างไรก็ตาม ต้นที่รอดจากการโค่นก็ยังมีเหลืออยู่มาก บางต้นมีระดับผลผลิตถึง 20 กิโลกรัมต่อปี ระดับเกรดดี ๆ ตีซะกิโลละร้อยบาท เกษตรกรจะมีรายได้ถึง 2000 บาท ไร่ละ 30-40 ต้น ไร่นึงหลายหมื่นนะครับ มันออกลูกดกปีเว้นปี บางปีอาจไม่ถึงแต่โดยภาพรวมไม่น่าจะทำให้เกษตรกรล่มจม นอกจากเกษตรกรไม่เอาใจใส่ หุ้นกับเทวดา

เราไมได้เอาความล้มเหลวมาเป็นบทเรียน พอล้มเหลวแล้วก็ด่ากันหาแพะรับบาปกันไป แทนที่จะหาว่าล้มเหลวเพราะอะไร และจะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

ผมดูแล้วปลูกมะม่วงหิมพานต์ ต้องมีกำไรแน่นอนถ้าแก้ที่ต้นตอของปัญหา โดยการใช้พันธุ์ที่ถูกต้อง มีการทดสอบแล้วว่าผสมตัวเองติดสูง มีการเจริญเติบโตดีและให้ผลลผิตสูง รวมทั้งมีการจัดการที่ดี

เขตสกลนครยังมีเหลือบางเขตที่มะม่วงหิมพาต์เป็นพืชที่สร้างรายได้ที่สำคัญ มันไม่ได้ล้มเหลวเสียทั้งหมดนี่ครับ ทำไมบางที่ปลูกได้ดี แต่บางที่เจ๊ง อันนี้เราต้องหาคำตอบ

ผมไม่ศึกษาดูที่นครพนม เห็นความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะม่วงหิมพานต์แล้วเสียดายเชื่อพันธุกรรม เราน่าจะมีการต่อยอด ก่อนที่พันธุกรรมดี ๆ จะสูญหายไปหมด

เรียนอาจารย์ P 23. อ.ศิริศักดิ์

โครงการต่างๆที่ส่งเสริมให้เกษตรกรทำโน่นทำนี่ ผมว่าโครงการส่วนใหญ่น่าจะล้มเหลวมากกว่าประสบผลสำเร็จนะครับ 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราจึงทรงคิดหาทางช่วย  จนสุดท้ายออกมาเป็นระบบเศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งเกษตรกรทุกครอบครัวจะสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ต้องรอให้ใครช่วยเหลือ

บังเอิญช่วงที่มีโครงการส่งเสริมปลูกมะม่วงหิมพานต์ในภาคอีสาน ผมเป็นอาจารย์อยู่ใน ม.ขอนแก่นพอดี เลยได้พบเห็นว่าขณะที่เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงหิมพานต์พากันย่ำแย่อยู่นั้น อาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมเกษตรกลับมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการทำเครื่องกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ขาย นอกจากนี้ยังมีทุนวิจัยให้ประดิษฐ์เครื่องกระเทาะเมล็ดมะม่วงหิมพานต์แบบ mass product มาประเคนให้อีก

น่าสงสารเกษตรกรตาดำๆ

ผมผิดพลาดใหญ่หลวงนักที่ไม่ได้ตอบ อาจารย์ เรียนตรงๆว่าพลาดไปได้อย่างไรไม่ทราบครับ ขออภัยด้วยครับอาจารย์ครับ

สวัสดีครับ ไม่มีรูป 24. ถวัลย์

มะม่วงหิมพานต์มักมีปัญหาเรื่องการผสมตัวเอิงไม่ติด หรือมีเปอร์เซ็นต์การผสมติดต่ำ เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามเป้าหมาย คือมีแต่ต้นผลไม่มี เกษตรกรส่วนมากจึงโค่นเอาต้นไปเผาถ่านซะเลยให้รู้แล้วรู้รอดไป

แต่อย่างไรก็ตาม ต้นที่รอดจากการโค่นก็ยังมีเหลืออยู่มาก บางต้นมีระดับผลผลิตถึง 20 กิโลกรัมต่อปี ระดับเกรดดี ๆ ตีซะกิโลละร้อยบาท เกษตรกรจะมีรายได้ถึง 2000 บาท ไร่ละ 30-40 ต้น ไร่นึงหลายหมื่นนะครับ มันออกลูกดกปีเว้นปี บางปีอาจไม่ถึงแต่โดยภาพรวมไม่น่าจะทำให้เกษตรกรล่มจม นอกจากเกษตรกรไม่เอาใจใส่ หุ้นกับเทวดา

เราไมได้เอาความล้มเหลวมาเป็นบทเรียน พอล้มเหลวแล้วก็ด่ากันหาแพะรับบาปกันไป แทนที่จะหาว่าล้มเหลวเพราะอะไร และจะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

ผมดูแล้วปลูกมะม่วงหิมพานต์ ต้องมีกำไรแน่นอนถ้าแก้ที่ต้นตอของปัญหา โดยการใช้พันธุ์ที่ถูกต้อง มีการทดสอบแล้วว่าผสมตัวเองติดสูง มีการเจริญเติบโตดีและให้ผลลผิตสูง รวมทั้งมีการจัดการที่ดี

เขตสกลนครยังมีเหลือบางเขตที่มะม่วงหิมพาต์เป็นพืชที่สร้างรายได้ที่สำคัญ มันไม่ได้ล้มเหลวเสียทั้งหมดนี่ครับ ทำไมบางที่ปลูกได้ดี แต่บางที่เจ๊ง อันนี้เราต้องหาคำตอบ

ผมไม่ศึกษาดูที่นครพนม เห็นความหลากหลายทางพันธุกรรมของมะม่วงหิมพานต์แล้วเสียดายเชื่อพันธุกรรม เราน่าจะมีการต่อยอด ก่อนที่พันธุกรรมดี ๆ จะสูญหายไปหมด

 

เรียนตรงๆว่าผมไม่มีความรู้เรื่องมะม่วงหิมพานต์เลย แต่ชอบกินมันมาก เวลาไปภาคใต้ก็ต้องซื้อมาทุกครั้งครับ

ผมออกชนบทแล้วพบปัญหาดังกล่าวจึงหยิบเอามาเล่าสู่กันฟังว่าชาวบ้านพบอะไร และเป็นทุกข์อย่างไร 

ราชการที่ไปส่งเสริมนั้นผมเองก็เห็นใจเพราะทำตามคำสั่งนาย ไม่ทำก็ไม่ได้ แต่เมื่อทำ ผลออกมาอย่างนี้ รัฐก็โยนบาปมาให้เกษตรกรซ้ำไปอีก  บางทีเจ้าหน้าที่รัฐก็พูดไม่ออก ทำอะไรก็ไม่ได้ เลยตามเลยและแหยงๆที่จะเข้าไปพบชาวบ้าน เลยหนักเข้าไปอีกในเรื่องการทำงานกับชาวบ้าน  ระบบการทำงานแบบนี้ควรพิจารณาปรับปรุง ก็แค่บ่นให้กันฟังน่ะครับ 

ทีแรกผมก็สงสัยว่าทำไมฌครงการมะม่วงหิมพานต์จึงล้มเหลว และเรื่องมันก็เกิดนานมากแล้ว ก็เลยหาข้อมูลพบว่าการที่มะม่วงหิมพานต์ผลผลิตต่ำมันไม่ได้เป้นปัญหาแต่ในไทย มันเกิดขึ้นแทบทุกประเทศที่มีอุตสาหกรรมมะม่วงหิมพานต์ ไล่มาตั้งแต่บราซิล แอฟริกาบางประเทศ อินเดีย และออสเตรเลีย ปัญหาส่วนใหญ่เป็นเรื่อง reproductive ของมัน ถ้ามันผสมติดดีผลผลิตก็มักจะสูงตาม

อย่างไรก็ตามเขตที่ประสบความสำเร็จมีหในหลายจังหวัดทั้งภาคเหนือภาคใต้และตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนั้นที่ว่าพื้นที่เหมาะสมมีเฉพาะภาคใต้เช่นกระบี่ ภูเกิ๊ด ไม่น่าจะใช่ โดยเฉพาะที่ไนจีเรียนั้นปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าภาคอีสานของไทยเสียอีกเขายังสร้างอุตสาหกรรมมะม่วงหิมพานต์ที่มั่นคงได้

ต้นแม่ที่เอามาอาจจะดี แต่พอปลูกในรุ่นลูกด้วยเมล็ดแล้วมันกระจายตัง มีต้นดีสักร้อยละ 30 ที่ให้ผลผลิตร้อยละ 80 ของประชากร ที่เหลืออีกร้อยละ 70 เหมาะสำหรับโค่นเผาถ่านครับ เมื่อร้อยละ 70 ไม่ productive เช่นนี้ เกษตรกรจึงต้องชีช้ำ ถ้าสเราทำให้มันมีผลผลิตทั้งร้อยละ 100 เกษตรกรต้องมีกำไรแน่นอน ไม่ว่าปลูกที่ไหน เพราะราคาค่อนข้างจูงใจ ไม่กระเทาะเปลือก กิโลละ 25-30 บาท ผล (apple) เอาไปแปรรูปเป็นน้ำผลไม้เข้มข้นเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม น้ำมันจากเปลือใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้หลายอย่างแม้กระทั้งทำไบโอดีเซลโดยกรรมวิธีไพโรไลซิส หรือเทอร์โมแครกก้ง

คงเห็นแล้วนะครับว่ามะม่วงหิมพานต์สามารถทำเป็นสินค้ามูลค่าเพ่มได้เยอะ แต่ต้องทำอย่างครบวงจร ประเทศเวียตนามเพื่อนบ้านเราก็เป้นผู้ส่งออกที่สำคัญ แต่ไทยเราคงไม่มีใครากล้าสู้อีกแล้วเพราะเจ็บตัวกันแล้ว แต่ไปทำพืชอื่นก็เจ็บตัวเหมือนกันนะครับ

การให้การศึกษาและข้อมูลข่าวสารแก่เกษตรกรนั้นสำคัญมาก ถ้าเขามีองค์ความรู้รู้เขาตัดสินใจเลืออนาคตของเขาได้เอง โดยที่ส่วนราชการไม่ต้องไปชี้นำ ส่วนราชการควรมีเทคโนโลยีและข้อมูลข่าวสารพร้อมที่จะให้แก่เกษตรกรตามที่เขาขอมามากกว่าจะไปหยิบยื่นใหเขาโดยที่เขาขาดความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยีนั้น ๆ

ผมชอคิดสวนกระแสครับ ผมกล้าที่จะทำสวนมะม่วงหิมพานต์ในภาคอีสาน เพราะผมเชื่อว่าสามารถทำกำไรได้ พันธุ์พืชรุ่นใหม่ก็ต้องดีกว่ารุ่นเก่า บางต้นพิสูจน์การให้ผลผลิตแล้ว เรามีความเช้าใจธรรมชาติของมันมากขึ้น การทำให้มะม่วงหิมพานต์ติดผลดกไม่ยากอีกแล้ว ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ ถ้าเรารู้เราทำได้แน่นอน

ขอบคุณ คุณ 27. ถวัลย์ มากเลยครับ

  • ที่กรุณาให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากมาย
  • ให้มุมมองที่แตกต่างออกไปอย่างผู้รู้จริง
  • ส่งผลให้ผมต้องทบทวนเรื่องนี้และเรื่องอื่นๆด้วยครับ
  • จะขออนุญาติทราบที่ติดต่อได้ไหมครับเผื่อผมมีคำถามอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้น่ะครับ กรุณาส่งที่ติดต่อที่อีเมลผมในหน้าประวัติน่ะครับ
  • ขอบคุณมากครับ

ผมไปที่นครพนม ว่าง ๆ ชอบออกไปชนบทดูเขาทำมาหากินครับ ไปพบเกษตรกรเลี้ยงไก่งวง เขาส่งตลาดในนครพนมวันละ 7-10 ตัว ครับ คุยกับเขาถามเขาว่าเขาเริ่มอย่างไร เพราะทราบมาว่าไก่งวงเลี้ยงยากมาก

เขาบอกว่ามันต้องสังเกตุ เรียนรู้ ถ้าเราเข้าใจความต้องการของไก่งวง ธรรมชาติของไก่งวง การเลี้ยงก็จะประสบความสำเร็จ ครับในขณะที่มีหลายรายเลี้ยงแล้วไปไม่รอด แต่ก็ยังมีคนที่เลี้ยงแล้วรวย ทุกอย่างขึ้นอยู่กับองค์ความรู้ที่เกษตรกรสะสมมา พลังอำนาจของเขาอยู่ตรงนี้ครับ ไม่ว่าจะทำอะไรถ้าขาดความรู้ความเข้าใจคงจะไปไม่รอด

สวัสดีครับ ไม่มีรูป 29. ถวัลย์

เป็นความจริงครับที่การทำอาชีพเกษตรนั้นปัจจุบันต้องเรียนรู้และพัฒนาองค์ความรู้ให้เข้าใจถ่องแท้ มิเช่นนั้นก็ล้มเหลวได้ง่ายๆ ยิ่งอาชีพนี้มีความเสี่ยงมากมาย ยิ่งจำเป็นต้องทำความเข้าใจให้ถึงที่สุด และลดความเสี่ยงลงมา

ขอบคุณในความรู้ที่มอบให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท