BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญามงคลสูตร ๒๖ : การตระเตรียมเข้าสู่ปัจฉิมวัย (ต่อ)


ปรัชญามงคลสูตร

หลักคำสอนเรื่องความเคารพและประเด็นที่เกี่ยวข้องตามหลักคำสอนมีนัยหลากหลาย เช่นพระพุทธเจ้าตรัสไว้ใน จูฬกัมมวิภังคสุตร ว่า.....ถ้าเป็นผู้กระด้าง มีมานะจัด ไม่เคารพผู้ควรเคารพก็จะกลับมาเกิดในตระกูลต่ำ... แต่ถ้าอ่อนน้อม ไม่ถือตัว รู้จักเคารพต่อผู้ควรเคารพก็จะกลับมาเกิดในตระกูลสูง.... เป็นต้น (ผู้สนใจพระสูตรนี้ ดู  http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=14&A=7623&Z=7798 )

การจำแนกผู้หรือสิ่งที่ควรเคารพก็มีหลายนัย เช่น พระพุทธเจ้าตรัสเป็นคาถาว่า......

 ภิกษุผู้มีความเคารพในพระบรมศาสดา๑ พระธรรม๑ พระสงฆ์๑ การศึกษา๑ สมาธิ ๑ ความไม่ประมาท๑ และเคารพในการต้อนรับ๑ ย่อมไม่ควรเพื่อความเสื่อม ย่อมอยู่ใกล้พระนิพพานเทียว

ตามนัยนี้ บ่งชี้ว่า การมีความเคารพย่อมนำไปสู่ความเป็นผู้ใกล้พระนิพพานซึ่งเป็นความสงบอย่างแท้จริง....

............

สำหรับคนทั่วไป เมื่อย่างเข้าสู่ปัจฉิมวัย ชีวิตย่อมผ่านความเจริญและความเสื่อมมาตามวัย.... ย่อมตระหนักรู้ซึ่งความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของโลกและชีวิต... ความสับสนวุ่นวายที่ผ่านมาทำให้บางครั้งก็รู้สึกเครียด บางครั้งก็รู้สึกเบื่อ ดังที่กล่าวกันว่า เครียดๆ เบื่อๆ ......

สุขภาพที่ไม่ควรแก่งานหรือไม่ได้ดังใจเหมือนสมัยก่อน ก็เป็นอีกประการหนึ่งที่ทำให้ตระหนักรู้ถึงความต่ำต้อยของตัวเอง คำนึงไปถึงบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ซึ่งครอบงำตัวเราและสิ่งต่างๆ ไว้... สิ่งนั้นก็คือ ธรรม ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนา... หรืออาจเป็นเทพเจ้า ตามนัยศาสนาแนวเทวนิยม...

ดังนั้น คนเมื่อเริ่มย่างปัจฉิมวัย จึงเริ่มค้นหาบางสิ่งบางอย่างที่แปลกแยกไปจากความมีความเป็นเดิมๆ ที่ผ่านมา.... แต่ความสนใจของคนวัยนี้ก็อาจแตกต่างกันไปตามสิ่งแวดล้อมและพูมปัญญาของแต่ละคน เช่น บางคนก็นิยมพระเครื่องหรือวัตถุมงคลอื่นๆ บางคนก็เริ่มสนใจธรรมะ บางคนก็ชอบที่จะเข้าวัดทำบุญมากกว่าที่จะไปเที่ยวตามสถานเริงรมณ์ดังแต่ก่อน หรือบางคนก็ท้อถอยไม่ค่อยรู้สึกรู้สาอะไรกะเค้า.....เป็นต้น

เมื่อพิจารณาตามนัยมงคลสุตร ผู้เขียนคิดว่า การเริ่มต้นด้วยการมีความเคารพ คือ การเคารพต่อธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ น่าจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุดในการเริ่มเข้าสู่ปัจฉิมวัย ซึ่งพระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นมงคลนั่นเอง....

อนึ่ง การมีความเคารพ ก็คือการยกย่องบางสิ่งบางอย่างให้สูงขึ้นไป... ส่วนนัยตรงข้ามก็คือการกำหนดตนเองให้ต่ำลงมา นั่นคือ การถ่อมตน นั่นเอง  ซึ่งผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป.....

  

หมายเลขบันทึก: 102628เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2007 22:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นมัสการพระคุณเจ้า

ผมได้มาตัดนำเอาข้อความดีๆไปบางส่วนไปรวมใน รวมตะกอนครับhttp://gotoknow.org/blog/mrschuai/102160

เมื่อวานก่อนกระผมไปช่วยเวทีประชาธิปไตยชุมชนที่วัดสวนร่มบารมี...

ด้วยความตั้งใจที่จะไปเคารพและสนทนาธรรมกับเจ้าอาวาส...แต่ก็มิได้พบกันเพราะขาดการติดต่อนัดหมาย...

 

มีพระลูกวัดไต่ถาม...ขณะที่ผมเดินชมรอบวัด(เพื่อดูความเปลี่ยนแปลง) ว่าผมคล้ององค์จตุคามหรือไม่...

 

กระผมบอกว่า ...มิใคร่นิยมในการคล้องพระ...นิยมคล้องธรรมมากกว่า... แล้วก็เลยเล่าเรื่องที่มา ว่าสมัยเด็ก ๆ พ่อแม่ก็ให้คล้องพระเหรียญทองแดง กัดหน้าอกเราจนเป็นแผล...ก็มิได้รับผลอันประทับใจใด ๆ...

จึงดูเหมือนไม่มีความเคารพต่อการบูชาประเภทนี้

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท