Essay แบบธรรมชาติ กับ แบบ Format


คนเราขาด sensing ไปพร้อมกับ บริโภคนิยม

ผมจำได้ว่า สมัยเป็นนักเรียน  ครูสอน เรียงความ ทั้ง ไทย และ อังกฤษ    มัก  จะ เข้มงวด กับ   การจัดประโยค  การรักษารูปประโยค ( เช่น มีประโยคประธาน ย่อย  คำนำ  บทสรุป  )  ฯลฯ    จนทำให้   แค่ คิดจะเขียนอะไร  ก็  "ค้าง"   เขียนไม่ออก   นักเรียนเกร็งกันไปหมด

จนโตขึ้น หลายคน   พอให้เขียนเรียงความ หรือ  เขียน blog  ก็จะกลายเป็น ของขม ของที่ไม่อยาก   ฯลฯ

คำว่าเรียงความ  มันทำให้  ความ หรือ สาระ  ต้องมาโดนเรียง  ตั้งแต่แรก   นี่แหละ Format นำหน้า Sensing

ผมอ่านหนังสือ Team acadamy ของพวก Finland    เพิ่งจะพบว่า   การเขียน Essay นั้น   เขา  เน้น Finding & feeling  การค้นพบ และ   ความรู้สึก อารมณ์ที่เกิดขึ้น  

พวกเรา  (บางคน) ดันไปเน้น  แต่ รูปประโยค   ยิ่งครูบางคน  เน้นสำนวน เน้นลายมือ  ฯลฯ  ตั้งแต่แรก  ทำลายขวัญกันตั้งแต่ต้น    

ผมเอง ก็สนับสนุนเรื่อง การใช้ภาษาที่ถูกต้อง และ การจัดประโยคที่ดี  แต่ ควร จะมาเน้น  กันก่อน ....  ในเรื่อง ความสามารถในการถ่ายทอด ความรู้สึก นึกคิด (ใช้ หมวก หกใบ ของ DeBono  โดยเฉพาะ หมวกสีแดง คือ show & share และ feelings นั่นเอง )  เน้น   การค้นพบ ข้อสังเกต  และ ความรู้สึก ( ได้แก่ สำนวน  เช่น   ผมสังเกตว่า   ตอนนี้ผมรู้สึก   ผมกังวล ผมตื่นเต้น  ประทับใจ   งงๆ สับสน ดีใจ  ปลื้มใจ  ฯลฯ  เป็นการเปิดใจ    เพราะใช้คำที่มีว่า "ใจ" บ่อยมาก   )  และ ครู คอยสอน เพื่อนๆ ให้ หัด deep listening ด้วย  อย่าแซว  อย่าออกอาการข่ม ดูถูก  ฯลฯ คนที่กำลังนำเสนอ

ผมพบอีกว่า   การเขียน Essay  แทรก อยู่ในทุกวิชาครับ    ไม่ใช่ มาเขียน essay กันเฉพาะ วิชาภาษาต่างๆเท่านั้น

เราเรียนวิทยาศาสตร์กัน    เอาตั้งทำตามที่ครูสั่ง  ตั้งสมมติฐานกันทั้งปี  เอาสมมติฐานที่เขาลากมาให้ใช้    ฯลฯ   เราไม่ได้สังเกต และ รู้สึกเอง     เราเปิดตำรา เพื่อดูว่า เราสังเกต ตรงตำราหรือไม่  ?    นี่แหละ  เรียนกันแบบ ตามก้นฝรั่ง   และ ขาดจินตนาการ  สร้างสมมติฐานเองไม่ได้  

หลังการทำ Lab  ในรายงาน จะมีคำว่า Discussion  นี่แหละ  ที่เป็น Show & share  แต่  ก็ยังค่อยจะไม่เห็น ครู อาจารย์  คนไหน  (อาจจะมีก็ได้นะ ที่ทำ)  ....  จะชวน นักเรียน  ล้อมวง  จัดเวที  เปิดใจคุยกัน  เกี่ยวกับ Findings & feelings ที่พบ    และ ไม่ต้องแคร์ Theory มาก    ดูพวกชาวนาที่เก่งๆ ระดับชาติสิครับ  พวกเขาค้นพบอะไรมากมาย กว่า พวกสายเทคโนโลยี (บางคน)เสียอีก   ก็เพราะ  การเรียนแบบ Team learning  แบบ AAR   แบบ Sensing  หรือ  Sense making for making sense

มันพลาดตั้งแต่ ครู และ คนผลิตครู  เลยครับ(ไม่ทุกโรงเรียน  ไม่ทุกครู นะครับ) 

พอเราเขียนไม่เป็น  ต่อมา เราก็จะทำให้ "พูดไม่เป็น"  คือ พูดไปเรื่อย   แต่  ไม่มี  คำพูดเชิง สุนทรียสนทนา (Dialogue) ออกมา

การเปิดใจเขียน ก็เป็น "สุนทรียบันทึก"

 

 

หมายเลขบันทึก: 102159เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2007 21:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
  • สวัสดีครับ
  • บรรยายทักษะในงานเขียนได้น่าสนใจมากครับ
  • เนื้อความ - สาระ - ที่ถูกร้อยเรียง
  • การค้นพบ - อารมณ์ - ความรู้สึก
  • ทักษะการฟังเชิงลึก
  • สังเกต - จินตนาการ - สมมุติฐาน
  • ถกเถียง - ล้อมวง
  • จนมาสู่บทสรุปในคำพูดเชิงสุนทรียสนทนา
  • อธิบายได้งดงามมากครับ
  • มีครั้งหนึ่งผมประทับใจ ภาพยนตร์เรื่อง Finding Forrester ซึ่งอธิบายผ่านบทสนทนาของนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ จนกลายเป็นตำนาน และหลบหายจากผู้คน
  • ที่กำลังถ่ายทอดทักษะการเขียน
  • เขากล่าวว่า First Draft by Heart, Second Draft by Head
  • ปล่อยให้งานเขียน เป็นสายน้ำที่ออกจากหัวใจและความรู้สึก ก่อนที่จะขัดเกลาด้วยตรรกะ เหตุผล และสมอง
  • ขอบคุณมากครับ สำหรับการลำดับความ ในทักษะงานเขียนที่น่าสนใจ
  • ขอบคุณครับ
สวัสดีครับท่าน
Pconductor
มารบกวนอีกครับผม  ตะกอนใหม่ 3 ครับ

ขอโทษครับท่าน

P
คนไร้กรอบ
อริยชน
ผมคงเบรอมากครับ  ขอโทษครับท่าน
มารบกวนอีกครับผม  ตะกอนใหม่ 3 ครับ
ที่พลาดไปท่านกรุณาลบออกครับ

สวัสดีครับอาจารย์
      หลังจาก deep reading แล้ว คิดเทียบเคียงจากสิ่งที่พบเห็น  ส่วนใหญ่ก็เป็นจริงตามที่บอกครับ 
      ความปรารถนาดี ของทั้ง พ่อแม่ และ ครู-อาจารย์ มักจะมาพร้อมกับกรอบ ที่สืบทอดกันมาจนอยู่ในเนื้อในตัว ทั้งๆที่ควรสลัดออก หรือเปิดกว้างบ้าง เพื่อจะได้เห็นความงามที่เป็นธรรมชาติในชีวิตมนุษย์มากขึ้น แต่ก็หาดูยากครับ ที่จะไม่ติดกรอบ

สวัสดีครับอาจารย์

"เราเรียนวิทยาศาสตร์กัน    เอาตั้งทำตามที่ครูสั่ง  ตั้งสมมติฐานกันทั้งปี  เอาสมมติฐานที่เขาลากมาให้ใช้    ฯลฯ   เราไม่ได้สังเกต และ รู้สึกเอง     เราเปิดตำรา เพื่อดูว่า เราสังเกต ตรงตำราหรือไม่  ?    นี่แหละ  เรียนกันแบบ ตามก้นฝรั่ง   และ ขาดจินตนาการ  สร้างสมมติฐานเองไม่ได้ 

  • ผมเห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
  • การทำงานต้องหัดตั้งสมมติฐานและทดสอบสมมติฐานบ่อยๆ
  • เหตุที่สร้างสมมติฐานเองไม่ได้ เพราะขาดการสังเกตและสงสัย(ใฝ่รู้) เพราะใจแข็งกระด้าง ขาด sensing
  • ที่น่ากลัวในการทำงานเป็นทีมก็คือ คนพวกนี้มักมองคนไม่เป็นคน ไม่เข้าใจและยอมรับความแตกต่างของคน สุดท้ายทีมพัง
  • ขอบคุณมากครับสำหรับบันทึกดีๆ

 

สวัสดีค่ะ อาจารย์

จำความไม่ได้แล้วเหมือนกันค่ะว่า ตอนเริ่มเรียนวิชาเขียนเรียงความ ครูสอนอะไรบ้าง จำได้แต่ภาษาอังกฤษต้องมีรูปแบบ ภาษาไทยก็มีแต่ไม่เข้มงวดเท่า ตอนเด็กๆ ชอบวิชานี้มากๆ เหมือนเปิดโอกาสให้เราได้คิด ได้บอกความคิดของเราออกไป ถ้าเขียนแบบไร้กรอบ บรรยายความรู้สึกจะเหมือนเขียนไดอารี่ มากกว่าเขียนเรียงความไหมคะ

กำลังคิดเหมือนกันค่ะ ว่า ถ้าอาจารย์ให้นักเรียนทำรายงาน แล้วให้เขียนแบบเหมือนเขียน blog จะได้ไหมคะ

น่าจะได้นะ

ให้ รักการเขียนก่อนเถอะ  เรื่องจะมาปรับให้ เป็น ร้อยแก้ว ร้อยกรอง   คงไม่ยาก

กลัว แต่ จะเกลียด  การเขียน ตั้งแต่ต้นเท่านั้นเอง

ก็ลองดู โกวเล้ง  นักเขียนต่างๆ   ก็ไม่ได้ เตร่งกับ รูปแบบเท่าใดนัก

โลกมันเปลี่ยนไป  นิสัย ความชอบ ของคนก็เปลี่ยนไป     ตราบใดที่เป็นกุศล เป็นประโยชน์  ก็อย่าไปเอาเรื่องกันมากนัก    ให้  เด็กๆ มีความสุข และ เข้าใจแยกแยะ กุศล อกุศล ได้  ก็เยี่ยมมากแล้วครับ

 

สวัสดี และขอบคุณท่านอาจารย์ ค่ะ

 ตราบใดที่เป็นกุศล เป็นประโยชน์  ก็อย่าไปเอาเรื่องกันมากนัก    ให้  เด็กๆ มีความสุข และ เข้าใจแยกแยะ กุศล อกุศล ได้  ก็เยี่ยมมากแล้ว

สำหรับความเห็นของอาจารย์ในเรื่องนี้ ให้ข้อคิดที่ดีค่ะ  สามารถนำไปใช้ในบริษัท และกับตัวเอง

เมื่อเราอยากทำอะไร หรือเห็นคนอื่นทำอะไรที่มันแตกต่างจากสิ่งที่เราเคยรู้ เคยเห็น ก็อย่าคิดว่ามันประหลาด ขอให้ดูว่ามันไม่เป็นอกุศล ก็ดีแล้ว เยี่ยม..เยี่ยม...มากค่ะ

อาจารย์ Handy ครับ

ผมชอบคำว่า Deep reading จัง

มีประโยชน์ทั้งสองทาง
อย่างไรก็ตามการต่อยอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ของมนุษย์ ก็มุ่งสู่การพยายามสร้าง format ทั้งสิ้น
เช่นการเขียน สูตรคณิตศาสตร์ สมการ ต่าง ๆ
บางครั้งคนอธิบายต่อ ก็ไม่ได้บอกความหมายของการมี format เหล่านี้อยู่.. ว่าเป็นเพียงเรื่องสมมติ หรือกลุ่มสัญลักษณ์ ที่ถูกสร้างขึ้นแทนบางสิ่งบางอย่างเท่านั้น
แล้วคนเรียนก็จะสงสัยว่า .. มันเอาไปทำไรได้ (เพราะสักแต่ว่าแทนสูตรอย่างเดียว)

ปัจจุบันเรียน Reading ในภาษาอังกฤษ ก็ยังไม่สามารถหา Main Idea ของเรื่องที่อ่านได้อยู่ดี -__-
(นั่นเป็นเพราะชินต่อการแยกความสำคัญออกเป็น Information กับ Knowledge รึเปล่านะขอรับ? ฮ่า ฮ่า ฮ่า)

 

 วิถีความเรียงเลี้ยงวรรณศิลป์

ชีวิตบนดินต้อง format ไหม

ตราบใดที่บางคนยังปลูกข้าว

บางคนยังเป็นคนกินคำใหญ่

แผ่นดินนี้จึงมี form ให้ผู้คน

ออกนอกกรอบได้

แต่อย่าชนเขาก็แล้วกัน

คำว่าขอโทษไม่ใช่ยาใส่แผล

ความควรไม่ควรนั้น อาจตอบโดยไม่ต้องถามได้

แด่ความคิด การกระทำ และความฝัน

ของคนเปิดประเด็น

พอจะได้หรือเปล่านะ

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท