ตอนที่ 1 ความจำเป็นที่จะต้องพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย คุณภาพในการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบัน ถือว่า อยู่ในขั้นวิกฤต และนับวันแต่จะตกต่ำลงไปเรื่อยๆ ข้อสรุปนี้ มาจากความสอดคล้องต้องกัน ของข้อมูลจากการวัดประเมินคุณภาพการศึกษาภายในประเทศ และข้อมูลจากการสำรวจวัดประเมินคุณภาพทางการศึกษาในระดับนานาชาติ ดังที่ได้มีการเปิดเผยข้อมูล ซึ่งได้สร้างความตระหนกตกใจให้กับคนไทยมาแล้ว ในบทความตอนที่ 1 นี้ ผู้เขียนจึงได้นำข้อมูลจากการสำรวจ วัดประเมินดังกล่าว มานำเสนอ เพื่อสะท้อนปัญหาคุณภาพในการจัดการศึกษาของไทย ให้ท่านผู้อ่านเห็นภาพได้อย่างชัดเจนขึ้นอีกครั้ง ก่อนที่จะเสนอทางออกในการแก้ปัญหาดังกล่าว ในบทความตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย ด้วยยุทธศาสตร์การคิด/ทำแบบกลับทาง อย่างรอบด้าน
1. การวัดและประเมินคุณภาพการศึกษาภายในประเทศ
การวัดประเมินคุณภาพการศึกษาภายในประเทศ เป็นบทบาทหน้าที่โดยตรงของ “สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ชื่อย่อคือ ‘สทศ.’ ชื่อภาษาอังกฤษคือ ‘NATIONAL INSTITUTE OF EDUCATIONAL TESTING SERVICE (PUBLIC ORGANIZATION) ชื่อย่อคือ ‘NIETS’ ” “สทศ.” เป็นหน่วยงานของรัฐ ประเภทองค์การมหาชน ในกำกับของกระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2548 มีบทบาทหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางความร่วมมือ ด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาติ และในระดับนานาชาติ (http://www.niets.or.th/index.php/aboutus_th/view/8)
ในด้านการทดสอบทางการศึกษาในระดับชาตินั้น “สทศ.” ได้ดำเนินการวัดและประเมินผลว่า การจัดการศึกษาของชาติ มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาที่ได้กำหนดไว้ และมีคุณภาพเท่าเทียมกันมากน้อยเพียงใดในการจัดการศึกษาของแต่ละภาคส่วน ทั้งนี้ ได้ดำเนินการโดย "การทดสอบ O-NET : Ordinary National Educational Test (การทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน)” ซึ่งเป็นการสอบความรู้รวบยอดของนักเรียนชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ตามมาตรฐานการเรียนรู้ของหลักสูตร โดยจัดสอบทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ภาษาไทย 2) สังคมศึกษาฯ 3) ภาษาอังกฤษ 4) คณิตศาสตร์ 5) วิทยาศาสตร์ 6) สุขศึกษาและพลศึกษา 7) ศิลปะ 8) การงานอาชีพและเทคโนโลยี แต่ละกลุ่มสาระมีคะแนนเต็ม 100 คะแนน ดังตัวอย่างคะแนน O-NET ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปี 2555 ที่แสดงให้เห็นในภาพล่าง
จากภาพบน จะเห็นว่า คะแนนเฉลี่ย O-NET ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปี 2555 ทั้งในระดับโรงเรียน (บ้านโนนทอง) ระดับเขตพื้นที่ (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 2) ระดับจังหวัด (นครราชสีมา) ระดับสังกัด (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) และระดับประเทศ มีเพียง 2 กลุ่มสาระเท่านั้น ที่นักเรียน ทำคะแนนได้ถึงครึ่งของคะแนนเต็ม (50 %) คือ ภาษาไทย และสุขศึกษาและพลศึกษา ส่วนอีก 6 กลุ่มสาระที่เหลือนั้น ทำคะแนนได้ไม่ถึงครึ่ง โดย 3 กลุ่มสาระที่มีคะแนนต่ำสุด ได้แก่ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ยในระดับประเทศเท่ากับ 28.71 %, 26.95 %, และ 35.37 % ตามลำดับ (http://ictnontong.blogspot.com/p/blog-page_6354.html)
ไม่เฉพาะแค่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เท่านั้น ที่นักเรียนทำคะแนนเฉลี่ยได้ต่ำ ยิ่งในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ด้วยแล้ว นักเรียนก็ยิ่งทำคะแนนได้ต่ำหนักเข้าไปอีก จากคะแนน O-NET ระดับประเทศในช่วงปี 2550 - 2555 (ดังที่แสดงในภาพบน) จะเห็นว่า มีเพียงสุขศึกษาและพลศึกษากลุ่มสาระเดียวเท่านั้น ที่นักเรียนทำคะแนนเฉลี่ยได้ถึงครึ่งของคะแนนเต็ม และก็เช่นเดียวกับระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กลุ่มสาระที่มีคะแนนต่ำสุด คือ ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ โดยคะแนนเฉลี่ยในระดับประเทศจากปี 2550 – 2555 กลุ่มสาระภาษาอังกฤษมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในช่วง 19.22 – 30.93 % คณิตศาสตร์อยู่ในช่วง 14.99 – 35.97 % และวิทยาศาสตร์อยู่ในช่วง 27.90 – 34.62 % (http://blog.eduzones.com/socialdome/105600)
สำหรับในระดับชั้น ป.6 นั้น แม้นักเรียนจะทำคะแนน O-NET ปี 2555 (ดังที่แสดงในภาพบน) ได้ดีกว่านักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 คือ ในระดับประเทศ นักเรียนได้คะแนนเฉลี่ยใน 3 กลุ่มสาระได้แก่ กลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ และ การงานอาชีพและเทคโนโลยี ได้เกินครึ่ง แต่ก็ยังทำคะแนนกลุ่มสาระภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ได้ไม่ถึง 40 % เช่นเดียวกับนักเรียนชั้น ม.3 และ ม.6 (http://www.watchanasongkram.ac.th/news/43345.html)
จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย มีคุณภาพจากผลการวัดภายในประเทศ อยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ เพราะนักเรียนในทุกช่วงชั้น ตั้งแต่ช่วงชั้นที่ 2 (ป.6) ช่วงชั้นที่ 3 (ม.3) ไปจนถึงช่วงชั้นที่ 4 (ม.6) มีคะแนนเฉลี่ยทั้งประเทศตามผลการวัดจากปี 2550– 2555 ในกลุ่มสาระของหลักสูตร 5-7 กลุ่มสาระจากทั้งหมด 8 กลุ่มสาระ ไม่ถึงครึ่งของคะแนนเต็ม (50 %) โดยกลุ่มสาระที่มีคะแนนต่ำสุดมาโดยตลอดในทุกช่วงชั้น คือ ภาษาอังกฤษ (ซึ่งมีคะแนนต่ำสุดถึงสูงสุดอยู่ในช่วง 19.22 % - 35.77 %) คณิตศาสตร์ (ซึ่งมีคะแนนต่ำสุดถึงสูงสุดอยู่ในช่วง 14.99 % - 42.65 %) และวิทยาศาสตร์ (ซึ่งมีคะแนนต่ำสุดถึงสูงสุดอยู่ในช่วง 27.90 % - 37.46 %)
2. การสำรวจ วัด และประเมินคุณภาพทางการศึกษาในระดับนานาชาติ นอกจากข้อมูลการวัดภายในประเทศ เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของไทย ที่สรุปผลการวัดประเมินได้ว่า การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย ยังมีคุณภาพอยู่ในระดับที่ไม่น่าพอใจ ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีผลการสำรวจ วัดและประเมินในระดับนานาชาติ ที่สะท้อนให้เห็นตรงกันว่า คุณภาพการศึกษาของไทย อยู่ในระดับที่ยังไม่น่าพอใจ เช่นกัน ตัวอย่างการสำรวจ วัดและประเมินในระดับนานาชาติ ได้แก่
2.1 การสำรวจ วัด และประเมินตามโครงการ PISA โดย OECD
"PISA" หรือโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) เป็นโครงการเพื่อประเมินผลการศึกษา ของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) ที่มีจุดประสงค์เพื่อสำรวจว่า ระบบการศึกษาของประเทศ ได้เตรียมเยาวชนของชาติ ให้พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตและการมีส่วนร่วมในสังคมในอนาคตเพียงพอหรือไม่ โดย "PISA" ได้เน้นการประเมินสมรรถนะของนักเรียนวัย 15 ปี ที่จะใช้ความรู้และทักษะเพื่อเผชิญกับโลกในชีวิตจริง มากกว่าการเรียนรู้ตามหลักสูตรในโรงเรียน ในด้าน "การอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์" การสุ่มตัวอย่างนักเรียนที่จะทำการสอบวัด จะทำตามระบบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้นักเรียนที่เป็นตัวแทนของนักเรียนทั้งระบบ อีกทั้งการวิจัยในทุกขั้นตอน ทุกประเทศต้องทำตามกฎเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดอย่างเคร่งครัด ภายใต้การดูแลของ OECD เพื่อให้การวิจัยของแต่ละประเทศมีคุณภาพในมาตรฐานเดียวกัน จะได้สามารถนำข้อมูลไปวิเคราะห์ร่วมกันได้ (http://pisathailand.ipst.ac.th/)
สำหรับ PISA ประเทศไทย ได้กำหนดกรอบการสุ่มตัวอย่าง (Sampling Frame) เป็นนักเรียนอายุ 15 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ขึ้นไปจากโรงเรียนทุกสังกัด ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร โรงเรียนในสังกัดสำนักประสานและพัฒนาการจัดการศึกษาท้องถิ่น โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และวิทยาลัยในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำหรับการประเมินในปี 2009 (พ.ศ. 2552) นั้น นักเรียนไทย ได้คะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยนานาชาติทุกวิชา ยกเว้นกลุ่มโรงเรียนสาธิต (ของมหาวิทยาลัยต่างๆ รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา) เพียงกลุ่มเดียว ที่แสดงว่า มีมาตรฐานเทียมทันนานาชาติ คะแนนเฉลี่ยประเทศไทยมีอันดับอยู่ทางด้านท้ายตาราง และมีแนวโน้มลดต่ำลงทุกวิชา เมื่อเทียบกับการประเมินครั้งแรก (PISA 2000 : พ.ศ. 2543) นักเรียนไทยเกือบครึ่ง ได้คะแนนการอ่าน และวิทยาศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน (ระดับ 2) และนักเรียนมากกว่าครึ่ง ได้คะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ต่ำกว่าระดับพื้นฐาน นักเรียนที่แสดงสมรรถนะในระดับสูงมีน้อยมาก โดยไม่มีเลยในวิชาการอ่าน ในการจัดอันดับนั้น ประเทศไทยมีคะแนนจากการทดสอบการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 35 มีคะแนนการจัดการศึกษาอยู่ในอันดับที่ 39 และมีคะแนนคุณภาพการศึกษาโดยรวม อยู่ในอันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศ ที่เข้าร่วมโครงการ (http://prachatai.com/journal/2013/02/45436, http://news.voicetv.co.th/infographic/57868.html, http://thelearningcurve.pearson.com/the-report/towards-an-index-of-education-outputs, http://thelearningcurve.pearson.com/index/index-ranking)
2.2 ผลการศึกษาวิจัย TIMSS 2011 โดย IEA
ในวันที่ 11 ธันวาคม 2555 เวลา 10.00 น. ที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ได้เปิดเผยผลการศึกษาเรื่อง “แนวโน้มการจัดการศึกษาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ระดับนานาชาติ พ.ศ.2554 หรือ TIMSS 2011” จัดโดย The International Association for the Evaluation of Educational Achievement หรือ IEA (โดยนายปรีชาญ เดชศรี รอง ผอ.สสวท.) ว่า ในการประเมินของ TIMSS ในปี 2011 (2554) ประเทศไทยได้เข้าร่วมประเมิน 2 ระดับชั้น ได้แก่ ชั้น ป.4 และ ม.2 ผลวิจัยสรุปสาระสำคัญได้ว่า ในระดับชั้น ม.2 ที่มี 45 ประเทศเข้าร่วมประเมิน ประเทศไทยมีคะแนนเฉลี่ยวิชาคณิตศาสตร์ 427 คะแนน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 28 และวิชาวิทยาศาสตร์ 451 คะแนน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 25 เมื่อเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในปี 2007 (2550) แล้ว พบว่า คะแนนเฉลี่ยที่เด็กไทยทำได้ ลดลงทั้งในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โดยเมื่อปี 2007 (2550) วิชาคณิตศาสตร์มีคะแนนเฉลี่ย 441 และวิทยาศาสตร์ 471 ทั้งนี้ การประเมินในปี 2011 (2554) ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ คือ เกาหลีใต้ (613 คะแนน) ส่วนประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาวิทยาศาสตร์ คือ สิงคโปร์ (590 คะแนน) เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว ประเทศไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (Poor) ทั้งวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ส่วนผลการวิจัยระดับชั้น ป.4 ที่มี 52 ประเทศเข้าร่วมนั้น ประเทศไทยที่เข้าร่วมรับการประเมินเป็นครั้งแรก มีคะแนนเฉลี่ยในวิชาคณิตศาสตร์ 458 คะแนน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 34 และวิชาวิทยาศาสตร์ 472 คะแนน ถูกจัดอยู่ในอันดับที่ 29 ประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาคณิตศาสตร์ คือ สิงคโปร์ (606 คะแนน) และประเทศที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในวิชาวิทยาศาสตร์ คือ เกาหลีใต้ (587 คะแนน) เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว ประเทศไทยถูกจัดกลุ่มให้อยู่ในระดับแย่ (Poor) ในวิชาคณิตศาสตร์ และระดับพอใช้ (Fair) ในวิชาวิทยาศาสตร์ (http://www.thaipost.net/news/121212/66473)
2.3 การจัดอันดับโดย World Economic Forum : WEF
เมื่อวันที่ 4 กันยายน 2556 "World Economic Forum : WEF" ได้เผยแพร่ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันนานาชาติ (Global Competiveness Index : GCI) ฉบับล่าสุด ปี 2013 โดยมี 148 ประเทศเข้าร่วม วิธีการได้มาของข้อมูล WEF ได้ให้น้ำหนักกับการสำรวจความคิดเห็นและการให้คะแนน โดยผู้บริหารธุรกิจ (Executive Opinion Survey) ถึง 2 ใน 3 ส่วน อีก 1 ส่วนที่เหลือ มาจากข้อมูลเปรียบเทียบเชิงสถิติที่สำคัญ ขององค์การระหว่างประเทศ เช่น Word Bank, OECD, UNESCO และ WHO (องค์การอนามัยโลก) สำหรับผลการประเมิน ความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทยในเวทีโลก และในกลุ่มประเทศสมาชิก ASEAN นั้น ด้านคุณภาพของระบบการศึกษา ไทยอยู่ในอันดับ 78 ในเวทีโลกและอันดับ 8 ใน ASEAN (คะแนนสูงกว่าเวียดนามและพม่าเท่านั้น) ในด้านคุณภาพการสอนคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ไทยอยู่ในอันดับ 80 ในเวทีโลกและอันดับ 5 ใน ASEAN (คะแนนสูงกว่าเวียดนาม ลาว ฟิลิปปินส์ กัมพูชา และพม่า) และในด้านคุณภาพการจัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ไทยอยู่ในอันดับ 86 ในเวทีโลกและอันดับ 7 ใน ASEAN (คะแนนสูงกว่าเวียดนาม กัมพูชา และพม่า เท่านั้น) ดังข้อมูลที่แสดงในตารางข้างล่าง (http://www.enn.co.th/8436)
แม้ว่า การจัดอันดับใน "World Economic Forum 2013 (WEF 2013) ที่กล่าวมา อาจจะทำให้ผู้เกี่ยวข้องทำใจลำบากที่จะยอมรับได้ เมื่อเห็นประเทศไทยถูกจัดอันดับด้านคุณภาพของระบบการศึกษา ต่ำกว่า ลาว และอยู่ในอันดับเดียวกันกับ กัมพูชา และถูกจัดอันดับด้านคุณภาพของการประถมศึกษาต่ำกว่า ลาว แต่ผู้เขียนไม่อยากให้คนไทยไปให้ความสำคัญในเรื่องอันดับที่ถูกจัด และไม่อยากให้โต้แย้งว่า กระบวนการและวิธีการวัด/สำรวจขาดมาตรฐาน ไม่น่าเชื่อถือ แต่อยากให้คนไทยยอมรับว่า ผลการประเมินทั้งภายในประเทศ และในระดับนานาชาติมีความสอดคล้องต้องกันว่า คุณภาพในการจัดการศึกษาของไทยเราในภาพรวม ตกต่ำลง ซึ่งก็ไม่อยากให้มีการโยนความผิดไปให้ใคร แต่อยากให้คนไทย "ใช้วิกฤตให้เป็นโอกาส" โดยการเกิดความรู้สึกร่วมกันของคนไทยทุกหมู่เหล่า ที่จะร่วมแรงร่วมใจกันดำเนินการไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้บังเกิดผลในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของไทยให้สูงขึ้น
ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านที่กรุณาเข้ามาอ่าน แล้วพบกันในบันทึก "ตอนที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยยุทธศาสตร์การคิด/ทำแบบกลับทางอย่างรอบด้าน" นะคะ
ขอบคุณค่ะ ห่างไกลวงการมากว่า 2 ปีแล้ว
เห็นPISA ตัวนี้แล้วนึกถึง PIZZAAAAAA.ค่ะ อิอิ
รออ่านบทความต่อไปนะคะ
สำหรับผมคิดว่าต้องเริ่มจาก pre-service teacher นะครับ แล้วมาที่ in-service teacher ดูว่าเขาพัฒนาตนเองมากแค่ไหน มี action research เท่าไร ข้อมูลตรงนี้น่าจะตอบโจทย์ของอาจารย์ไอดินได้ ในส่วนของผลการเรียน
ฝั่งอเมริกันเขาเรียกว่า platinum standard research คือเริ่มจาก professional development ไปที่ instructional design และไปจบที่ learning outcome ซึ่งในระดับมหภาค ก็คือ PISA หรือระดับสูงกว่านั้นอีกก็ World Economic Forum ตามที่อาจารย์กล่าวไว้
ผลตรงนี้นำกลับมาวางแผนปรับปรุง professional development รอบใหม่ ให้เกิดเป็นวงจรต่อเนื่องครับ
ขอบคุณกัลยาณมิตรทุกท่านมากนะคะ ที่กรุณามอบดอกไม้เป็นกำลังใจ ทักทายพูดคุยและให้ความเห็น วันนี้ "ไอดิน-กลิ่นไม้" พาพี่สาวที่อุบลฯ เดินทางไปเยี่ยมน้องชายและพี่สาวที่ยโสธรค่ะ ขณะนี้เวลา 03.32 น. พรุ่งนี้จะเดินทางพาพี่สาวที่ยโสธรเดินทางไปเยี่ยมลูกหลานที่ร้อยเอ็ด แล้วจะตอบกัลยาณมิตรเป็นรายบุคคลนะคะ วันนี้ขอเพิ่มเติมเนื้อหาที่ยังลงไม่ครบ และแก้ไขการพิม์ก่อนค่ะ
สวัสดีค่ะพี่ผศ.วิไล...พูดถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของไทย...ขอเริ่มต้นที่จุดเล็กๆก่อนดีกว่านะคะ...การพัฒนาที่ดีที่สุด...คือการที่ทุกคนพัฒนาตนเองก่อน...ทุกคนมีคุณธรรมจริยธรรม...มีจิตสาธารณะ...มีความมุ่งมั่นตั้งใจขยันใฝ่รู้ใฝ่เรียน...เห็นความสำคัญของการศึกษาที่สามารถพัฒนาตนเองและพัฒนาชาติได้นะคะ...แล้วค่อยเชื่อมต่อไปที่บ้าน โรงเรียน ชุมชนและท้องถิ่น...กลับไปที่ SBM ก่อนก็ยังไม่สายนะคะ...รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบทั้งโดยตรงและโดยอ้อม ต้องดูแลจัดสรรงบประมาณสนับสนุนด้านการศึกษาทุกระดับอย่างจริงจัง...ไม่โกงกินงบประมาณ...ครูอาจารย์ ผู้ปกครอง ชุมชนและท้องถิ่น ต้องพัฒนาตนเองไปพร้อมกับผู้เรียน เพื่อก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของโลก ให้สามารถพูด อ่าน เขียนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารได้ และมีความสามารถในการใช้ IT ได้เป็นอย่างดี ...นักวิชาการด้านต่างๆจำนวนมากมายสามารถลงไปช่วยเหลือสนับสนุนตามสถานศึกษาในท้องถิ่นต่างๆ ...มีตัวอย่างดีๆให้เห็นชัดเจนเช่น ปตท. การไฟฟ้าฯ ธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งยังน้อยมากๆนะคะ...ขอบคุณค่ะ
ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในอันดับที่ดีมาก(เกินคาด ) คือที่ 37 จาก 145 ประเทศ ดีกว่าปีที่ผ่านมา
มีประเทศในอาเซียนที่ดีกว่าเราคือ สิงคโปร์ และมาเลเซีย เท่านั้น
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันก็ล้วนมีพื้นฐานจากความสามารถของคนซึ่งเป็นผลมาจากการศึกษาอบรมทั้งสิ้น
ดังนั้นจึงไม่น่าห่วงมากมายกับคุณภาพการศึกษาของไทย แต่ไม่ได้หมายความว่าไม่ต้องพัฒนากันต่อไป
ขอขอบคุณ “ท่าน ผอ.ชยันต์ เพชรศรีจันทร์" ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านหนองผือ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กาญจนบุรี เขต ๔ มากนะคะ ที่ให้เกียรติเข้ามาอ่าน และบอกจะติดตามอ่านตอนที่สอง "ซึ่งไอดิน-กลิ่นไม้" ตั้งใจว่า จะยกโรงเรียนภายใต้การบริหารงานของท่าน เป็นกรณีตัวอย่างโรงเรียนขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จด้วยนะคะ และหวังว่า ท่านจะกรุณาเข้ามาให้ข้อมูลและความคิดเห็นเพิ่มเติม ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ
ห่างไกลวงการมากว่า 2 ปีแล้ว..
.
เห็น PISA ตัวนี้แล้วนึกถึง PIZZAAAAAA" ไอดินฯ ก็ออกจากวงการมาแล้ว 1 ปีเต็ม แต่ยังติดตามความเคลื่อนไหวของวงการอยู่ค่ะ...แต่เมื่อเห็นคำว่า "PISA" จะนึกถึง "หอเอนเมืองปิซ่า"เพราะเคยไปเที่ยวมา หลังเกษียณใหม่ๆ ค่ะอาจารย์แม่ ผมเห็นด้วยต้องใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส
บางทีการวัดต้องเป้นการพัฒนา ไม่ใช่การจัดอันดับ
เป็นไปไม่ได้ที่ทั่วประเทศไทยจะเรียนเหมือนกัน
ขอบคุณอาจารย์แม่มากๆครับ
สวัสดียายไอดินกลิ่นไม้
-ขอโทษท่านด้วย ป๋าเดไม่ได้เปิด GTK เสียนานมัวแต่เตรียมตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวู้ดบอลในวันที่ ๒๖ ตค.นี้ ที่เต็งหนาม ตอนนี้มีชาววู้ดบอลจากต่างจังหวัดและในจังหวัดสมัครมาแล้ว ๒๕๙ คนยังไม่ได้รวมจ้าวภาพ งานนี้ป๋าเดและคณะ สว.เหนื่อยแน่ๆ...แล้วจะเขียนในบล๊อก สัญญาๆๆๆ สภาพอุทกภัยคงหมดสิ้นแล้ว ที่อุบลเล่าเรื่องสนุกๆบ้าง ส่วนเรื่องการศึกษาไทยก็น่าเป็นห่วงนะ จะคอยติดตามตอนต่อไปนะคร้าบ.......
-สวัสดีครับอาจารย์แม่ไอดิน...
-ก่อนอื่นขอถามว่า....อาจารย์แม่ไอดินสบายดีนะครับ?
-น้ำท่วมคราวนี้...ต้นไม้เสียหายมากหรือเปล่าครับ??
-"เมื่อเห็นประเทศไทยถูกจัดอันดับด้านคุณภาพของระบบการศึกษา ต่ำกว่า ลาว และอยู่ในอันดับเดียวกันกับ กัมพูชา และถูกจัดอันดับด้านคุณภาพของการประถมศึกษาต่ำกว่า ลาว แต่ผู้เขียนไม่อยากให้คนไทยไปให้ความสำคัญในเรื่องอันดับที่ถูกจัด และไม่อยากให้โต้แย้งว่า กระบวนการและวิธีการวัด/สำรวจขาดมาตรฐาน ไม่น่าเชื่อถือ แต่อยากให้คนไทยยอมรับว่า ผลการประเมินทั้งภายในประเทศ และในระดับนานาชาติมีความสอดคล้องต้องกันว่า คุณภาพในการจัดการศึกษาของไทยเราในภาพรวม ตกต่ำลง ซึ่งก็ไม่อยากให้มีการโยนความผิดไปให้ใคร"
-บางทีการทีการเปิดใจยอมรับในข้อด้อยของตนเองก็เป็นสิ่งที่หลายคน"ปิดกั้น"ครับอาจารย์แม่ไอดิน...
-การโยนความผิดให้คนอื่น...ก็เป็นเรื่องเห็นบ่อย ๆ ครับ..
-รอติดตามอ่านบันทึกต่อไปนะคร้าบ!!!
อาจารย์บอกว่า "ผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทยอยู่ในอันดับที่ดีมาก (เกินคาด ) คือที่ 37 จาก 145 ประเทศ ดีกว่าปีที่ผ่านมา
มีประเทศในอาเซียนที่ดีกว่าเราคือ สิงคโปร์ และมาเลเซีย เท่านั้น"...ไอดินฯ ไม่ทราบว่าอาจารย์กล่าวถึงข้อมูลการจัดอันดับที่นำเสนอในบันทึกนี้ หรือข้อมูลการจัดอันดับจากแหล่งอ้างอิงอื่นนะคะ สำหรับที่ได้นำเสนอในบันทึกนี้ ซึ่งเป็นอันดับจาก "PISA 2009 (พ.ศ.2552)" หรือโครงการประเมินผลนักเรียนนานาชาติ (Programme for International Student Assessment) ของประเทศสมาชิกองค์การเพื่อความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organisation for Economic Co-operation and Development : OECD) ที่กล่าวไว้ในหัวข้อ 2.1 คือ "ในการจัดอันดับนั้น ประเทศไทยมีคะแนนจากการทดสอบการอ่าน คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์อยู่ในอันดับที่ 35 มีคะแนนการจัดการศึกษาอยู่ในอันดับที่ 39 และมีคะแนนคุณภาพการศึกษาโดยรวม อยู่ในอันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศที่เข้าร่วมโครงการ" ซึ่งประเทศไทยถูกจัดอันดับคุณภาพทางการศึกษาโดยรวมอยู่ในอันดับที่ 37 จาก 40 ประเทศค่ะ (ไม่ใช่ 145 ประเทศ) และประเทศสมาชิก ASEAN ที่เข้าร่วมประเมินดังกล่าว ก็มีเพียง 3 ประเทศ คือ สิงคโปร์ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 5 ไทยอันดับที่ 37 และอินโดนีเซียอันดับ 40 ค่ะ มาเลเซียไม่ได้ร่มประเมินTeacher : I agree, but that's the lowest mark I could give you!
ลูกขจิตให้ความเห็นว่า "ผมเห็นด้วยต้องใช้วิกฤติให้เป็นโอกาส บางทีการวัดต้องเป้นการพัฒนา ไม่ใช่การจัดอันดับ เป็นไปไม่ได้ที่ทั่วประเทศไทยจะเรียนเหมือนกัน" ตรงกับอาจารย์แม่เลยค่ะ ว่า "การวัดประเมินคุณภาพการศึกษา" ต้องนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาคุณภาพให้ดีขึ้น และเป้าหมายการจัดการศึกษาของแต่ละโรงเรียนนั้น ก็แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission) ที่แต่ละโรงเรียนกำหนดไว้ ไม่ใช่ทุกโรงเรียนจะมุ่งเน้นความสามารถเชิงวิชาการของนักเรียนเหมือนกัน
ในบันทึกตอนที่ 2 ต่อจากบันทึกนี้ จะได้กล่าวถึงการพัฒนาคุณภาพในการจัดการศึกษา ซึ่งมีหลายประเด็นที่จะอ้างอิงแนวคิดและสิ่งที่ลูกขจิตปฏิบัติมาเนิ่นนาน รวมทั้งอ้างอิงจากบันทึกล่าสุด เรื่อง "สภาการศึกษากาญจนบุรี [1]" (http://www.gotoknow.org/posts/551052) ด้วยนะคะ
ป๋าเด ยายไอดินฯพิมพ์ตก กินข้าวเย็นนะคะ ไม่ใช่กินข้า
เรื่อง “เด็กมีเรื่อง กับ 4 H Club...” (http://www.gotoknow.org/posts/542472), เรื่อง "4 H Club" Future Farmers of Thailand...” (http://www.gotoknow.org/posts/544806), เรื่อง “ ทำไมหนอ???? คนถึงไม่ชอบ.....ของฟรี!!!!” (http://www.gotoknow.org/posts/547560), เรื่อง “4 H Club กับ ‘ไข่เค็มสองสี’G2K....” (http://www.gotoknow.org/posts/547951) และ เรื่อง “แหล่งเรียนรู้.....Change Leader @ pharnkratai”, (http://www.gotoknow.org/posts/551658)
-สวัสดีครับอาจารย์แม่ไอดิน...
-ตามมาขอบคุณที่ให้เกียรตินำเอาบันทึกที่ผ่านมาของผมไปอ้างอิงในตอน 2 ครับ..
-ทราบข่าวว่าอาจารย์แม่ไอดินและสมาิชิกในฟาร์มปลอดภัยก็โล่งใจครับ 5555
-ภาพที่อาจารย์แม่ไอดินทำไว้(ของผมกับคนใกล้ตัว)ดูดีทีเดียวครับ 5555 ชอบ ๆ ๆ อิๆ
-วันนี้มีบันทึกต่อจากเมื่อวานด้วย...อย่าลืมตามไปอ่านนะครับอาจารย์แม่ไอดิน...555
-ขอบคุณครับ
ขอบคุณมากนะคะ สำหรับดอกไม้กำลังใจจากกัลยาณมิตร ทั้ง 7 ท่าน
ตามอัธยาศัยอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม “ไอดิน-กลิ่นไม้” รู้สึกเป็นเกียรติมากค่ะที่ได้รู้จักและได้รับกำลังใจจากท่าน
สิ่งที่น่ากลัวกว่าปัญหา คือ การไม่ยอมรับ ยอมรู้ว่ามีปัญหา หวังว่านี่จะเป็นการเริ่มจุดประกาย ขยายวงความคิด แนวทาง วิธีการ ที่เราทั้งหลายจะได้ดำเนินการกันเสียที เดินหน้าเต็มกำลังเลยครับคุณพี่ไอดิน-กลิ่นไม้
การศึกษา คือชีวิต
ได้ตรองตรึก
ฝึกกาย ฝึกจิต
คิดขั้นตอน มีเหตุผล เห็นดี
มีสมดุล ให้พอสุข พอดีเอย..
ด้วยความรักเคารพเสมอ..
น้องอิน.
สวัสดียายไอดินฯ
- งานแข่งขัน Woodball หัวรอโอเพ่น ครั้งที่๑/๒๕๕๖ ผ่านไปด้วยความเรียบร้อย แต่ก็เล่นเอาเหนื่อยแทบแย่ กว่าจะมอบรางวัลก็ประมาณ ๒ ทุ่มเศษ ไว้คอยอ่านในบล๊อกหน้านะคร้าบ.....
-ก็มีความสุขกันตามประสาพี้น้องผู้สว.นะ ยายไอดิน...ดีใจด้วย......
-ป๋าเดก็นอนประมาณวันละ ๓-๔ ชั่วโมงเหมือนกันละ นอนไม่ค่อยหลับ วันนี้นอน ๕ ทุ่มหลังจากกลับมาจากสนาม ตื่นตีสามกว่าลงมาเปิดดูบล๊อกยายไอดินนี่แหละ.....
-ขับรถคนเดียวตอนกลางคืนไม่ปลอดภัยนะ ระวังบ้างเด้อ (ควรวางแผนในการเดินทางให้ดี).......
ยายไอดินฯ พิมพ์ตกอีกแล้ว "Notebook" นะคะ ไม่ใช่ "Notbook"
อ่านแล้วอึ้งค่ะ ความคิดเห็นของกระติกอาจไม่เกี่ยวข้องกับการจัดอันดับคุณภาพการศึกษา แต่อยากบอกว่าปัจจุบันมีความแตกต่างกันมากของการเรียนการสอนในประเทศ ที่เก่ง ก็เก่งจนเป็นแชมป์โอลิมปิควิชาการ ขณะเดียวกันก็ยังมีผู้ที่ขาดโอกาสอีกมาก เป็นความท้าทายของทุกๆคนที่เกี่ยวข้องในการที่จะจัดการความไม่เท่าเทียมกันด้านการศึกษา แม้ไม่สามารถทำให้อยู่ในระดับเดียวกันได้ แต่อย่างน้อยก็ขออย่ามีช่องว่างมากนัก
หวังว่าหนูกระติก จะช่วยเข้ามาให้ความเห็นในบันทึกตอนที่ 2 นะคะ (ระบบยังทำงานไม่ปกติ ปรับตัวอักษรไม่ได้ เลยยังไม่ได้ลงตอนที่ 2 ค่ะ)
สวัสดียายไอดินฯ
คืนนี้จะนอน 22 นาฬิกา เมื่อคืนวานนอน 20.30 น. .....ไปร้อยเอ็ดก็ต้องผ่านบ้านป๋าเดอยู่แล้ว
อาจารย์แม่ของ ดร.ขจิต ใส่รูปใหม่เป็นสาม สว.แต่มี สว.อยู่คนหนึ่งติดดาวด้วย 555 ....