ตามรอยพ่อหลวง กับ "เศรษฐกิจพอเพียง" อยู่อย่างสมดุล...เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง (ตอนที่ ๔) [#8]


อาจารย์คิดว่า... การที่พระองค์ท่านได้พระราชทานแนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง" มา ก็เพราะทรงเล็งเห็นแล้วว่า...เมืองไทยเราเป็นอย่างนี้ ในอดีตเราก็อยู่กันได้ แสดงว่า... พื้นฐานด้านจิตใจ สังคม และประเทศ เราอยู่กันอย่างสมดุลและ พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด ถ้าแปลความแล้วก็คือ “แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นการรักษาสิ่งที่เรามีและดีอยู่แล้วให้คงอยู่ตลอดไป แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้คือ...การนำสิ่งที่ "ไม่สอดคล้อง" กับสังคมไทย และไม่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาในสังคม

ตามรอยพ่อหลวง กับ "เศรษฐกิจพอเพียง"

อยู่อย่างสมดุล...เพื่อพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง

(ตอนที่ ๔)

-----------------------------------------------------------------------------------------
สัมภาษณ์พิเศษ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ สัมภาษณ์ : ขวัญชนก
หัวหน้าโครงการวิจัย เศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
สัมภาษณ์โดย : ขวัญชนก
-----------------------------------------------------------------------------------------
 

 

 ภาพพระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช

 -----------------------------------------------------------------------------------------------

ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ...

หลักเศรษฐกิจพอเพียง เน้นให้คน ครอบครัว ชุมชน
รู้จักพึ่งตนเองได้แบบเป็นขั้นเป็นตอน
สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

หลังจากที่อาจารย์ได้มีโอกาสทำงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง
และได้ศึกษาสิ่งที่พระองค์ท่านทรงงานมามากมาย
ทำให้อาจารย์รู้สึกเสียดายที่พวกเราไม่ค่อยได้เรียนรู้...
หรือดำเนินรอยตามวิถีปฏิบัติ ที่เกิดขึ้นจากการสั่งสมประสบการณ์
จากพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่าน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาหลายสิบปี

อาจารย์เคยได้ฟังผู้ใหญ่ซึ่งถวายงานพระองค์ท่าน เล่าให้ฟังว่า...

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยังหมู่บ้านแห่งหนึ่ง
มีราษฎรต้องการรถแทรกเตอร์เพื่อใช้ไถนา แต่พระองค์ท่านเห็นว่า...
ยังไม่เหมาะสมกับศักยภาพของเขา เพราะหากได้รถแทรกเตอร์ไปแล้ว
เกิดเสียขึ้นมา...ใครจะซ่อม???...

พระองค์ท่านต้องการให้ราษฎรของพระองค์...พึ่งตนเองได้
ท่านจึงได้พระราชทานควายไป ๒ ตัว เพื่อให้เขาไถนาได้ก่อน
แล้วเก็บเงิน... ถ้ามีลูกหลานก็อาจส่งไปเรียนช่างในตัวจังหวัด
ให้รู้จักซ่อมเครื่องยนต์เป็น แล้วค่อยรวบรวมเงินซื้อรถแทรกเตอร์ของหมู่บ้าน

นี่คือตัวอย่างที่พระองค์ท่าน ทรงสอนให้รู้จัก "ดำเนินชีวิตแบบเป็นขั้นเป็นตอน"
ให้รู้จักพึ่งตนเองได้ ไม่ใช่ใช้วิธีการ "แจกเงิน" แจกรถแทรกเตอร์
ซึ่งเป็นวิธีที่ไม่สอดคล้องกับเส้นทางการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระองค์ท่าน
ที่ทรงมุ่งเน้นให้คนไทยโดยเฉพาะในชนบทให้พึ่งตนเองได้
นี่คือสิ่งที่อาจารย์ถึงบอกว่า...เสียดายอดีต...และเป็นห่วงอนาคต...

ความพอเพียงที่อยากพูดถึงในที่นี้มี ๒ ระดับด้วยกันคือ...
ความพอเพียงระดับพื้นฐาน และความพอเพียงระดับก้าวหน้า
ในที่นี้ขอยกตัวอย่าง “เกษตรทฤษฎีใหม่”

ขั้นที่ ๑ เป็นความพอเพียงระดับพื้นฐาน คือเพื่อให้แต่ละบุคคล
แต่ละครอบครัว สามารถพึ่งตนเองได้ และมีชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล

ส่วนขั้นที่ ๒ และ ๓ ของทฤษฎีนี้เป็นความพอเพียงระดับก้าวหน้า
ที่พอแต่ละครอบครัวรู้จักพึ่งตนเองได้แล้ว คือ...สามารถอยู่ได้อย่างพอเพียงด้วยตนเอง
ก็สามารถทำกิจกรรมร่วมกับกลุ่มในชุมชน ซึ่งตรงนี้ต้องมี "ขันติธรรม"
รู้จักการให้และรับการไม่เบียดเบียนกัน ตรงนี้จะสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมได้

ซึ่งจะทำได้ก็ต่อเมื่อตนเองต้อง "รู้จักพอ"...ไม่โลภเสียก่อน
แต่ถ้า "ไม่รู้จักพอ" ไม่เพียงแต่จะไม่ให้คนอื่น...
ของคนอื่นก็จะรู้สึกอยากได้เป็นของตัวเอง

แสดงว่า...ถ้า "ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักการเสียสละแบ่งปัน" เสียแล้ว
ทั้งในครอบครัว ในสังคม และในองค์กรก็ยากที่จะอยู่ด้วยกันได้อย่างสันติสุข
สังคมก็จะกลายเป็น...สังคมที่แก่งแย่งชิงดีกัน เบียดเบียนกัน
ไม่รู้จักการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กัน...

อาจารย์คิดว่า...
การที่พระองค์ท่านได้พระราชทานแนวคิด "เศรษฐกิจพอเพียง" มา
ก็เพราะทรงเล็งเห็นแล้วว่า...เมืองไทยเราเป็นอย่างนี้

ในอดีตเราก็อยู่กันได้ แสดงว่า...
พื้นฐานด้านจิตใจ สังคม และประเทศ เราอยู่กันอย่างสมดุลและ
พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงมาโดยตลอด
ถ้าแปลความแล้วก็คือ “แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง”
เป็นการรักษาสิ่งที่เรามีและดีอยู่แล้วให้คงอยู่ตลอดไป

แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้คือ...

การนำสิ่งที่ "ไม่สอดคล้อง" กับสังคมไทย

และไม่สอดคล้องกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาในสังคม.

 โปรดติดตามต่อใน ตอนที่ ๕...

-----------------------------------------------------------------------------------------

♦ ประวัติ ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุ


Credit picture: ศูนย์ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ เป็นนักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง ไปศึกษาที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ระดับชั้นมัธยม
จนจบปริญญาโท สาขาเศรษฐศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัย Tsukuba จังหวัดอิบรากิ  กลับมาใช้ทุนรัฐบาล
ด้วยการทำงานที่สภาพัฒน์ และไปศึกษาต่อระดับปริญญาเอกสาขาเศรษฐศาสตร์ ที่แคนาดา
มหาวิทยาลัย Simon Fraser เชี่ยวชาญด้าน การวิจัยนโนบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทั่งปี ๒๕๔๗ ได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการกลุ่มงานเศรษฐกิจพอเพียงสภาพัฒน์

ปัจจุบัน ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการขับเคลื่อน "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง"
ในตำแหน่ง หัวหน้าโครงการวิจัยเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
และผู้ช่วยเลขานุการ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง และ
ประธานคณะทำงานขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา


Ref: ขอขอบคุณ (คัดย่อจาก) 
Credit : แหล่งที่มา: จดหมายข่าวประชาคมวิจัย ฉบับที่ 67 (เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๔๙) หน้าที่ 30

ดาวโหลดวารสารไฟล์ PDF ได้ที่ http://rescom.trf.or.th/keybook.aspx?yearbook=2549
หรืออ่านวารสารผ่าน Ebook ได้ที่ 
http://issuu.com/jhasinaha/docs/prachakom_67_edit

Credit : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
ที่มาวารสารครอบครัวพอเพียงรายเดือน.ปีที่ ๑.ฉบับที่ ๒ เดือนมีนาคม ๒๕๕๑ :  หน้า ๖-๗.
        "ความพอเพียง" สร้างสมดุลให้ชีวิต โดย ดร.ปรียานุช พิบูลสราวุธ
Credit : http://www.sufficiencyeconomy.org/technique-detail.php?id=14
ขอขอบพระคุณ : มูลนิธิชัยพัฒนา
 

++

คาราบาว - ตามรอยพ่อ (Carabao Official Music Video)
Credit: www.facebook.com/carabaoofficial

#เศรษฐกิจพอเพียง #SufficiencyEconomic

IN THAILAND MAG
อินไทยแลนด์แมกกาซีน ประเภทนิตยสารท่องเที่ยว รายเดือนฉบับ พฤศจิกายน ๒๕๕๓
หน้า ๕ Scoop: Suffciency Economic ตามรอยพ่อหลวง กับเศรษฐกิจพอเพียง
Rewrite Scoop by: สิเนหา สุทธารมณ์
แปลโดย : Earth Angel

หมายเลขบันทึก: 551275เขียนเมื่อ 19 ตุลาคม 2013 11:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 ตุลาคม 2013 11:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท