สภาการศึกษากาญจนบุรี(1)


ตอนนี้ผู้เขียนอยู่ที่โรงเรียนหมู่บ้านเด็ก มาดูโครงการสภาการศึกษา

จังหวัดกาญจนบุรีซึ่งเป็นโครงการนำร่องท่านอาจารย์หมอประเวศวะสีมากล่าวเปิดงาน

อาจารย์พูดเรื่องศานติสุข ซึ่งคือเป้าหมายสูงสุดโดยผ่านการพัฒนาอย่างบูรณาการ>>>เอา

พื้นที่เป็นตัวตั้ง>>>ชุมชนท้องถิ่นจังหวัด>>> ชุมชนมีการ

จัดการตนเอง>>>ท้องถิ่นจัดการตนเอง คุณหมอประเวศ วะสีพูดถึงกรณีการจัดการ

ตนเองของตำบลหนองส่าหร่าย อาจารย์หมอประเวศ วะสีถามคนในชุมชนหนองสาหร่ายว่า

ถ้าสังคมเมืองล่ม แบบสหรัฐฯ shut down ชุมชนหนองสาหร่ายอยู่ได้ไหม ชาวบ้านตอบ

ว่าชุมชนหนองสาหร่ายอยู่ได้ ชุมชนหนองสาหร่ายมีการเก็บอาหารของ

ตนเอง มีการดูแลผู้สูงอายุ อาจารย์หมอประเวศ พูดถึงการสร้างชุมชน ต้องสร้างจากฐาน

พระเจดีย์ไม่ใช่การสร้างพระเจดีย์จากยอด อาจารย์พูดถึงกรณีชุมชนที่บุรีรัมย์ ของ วปอ

ภาคประชาชนของ พ่อคำเดื่อง ภาษี พ่อผู้ใหญ่ผาย ด้วย อาจารย์หมอประเวศ แนะนำให้

ชุมชนเหล่านี้เขียนว่า"ชีวิตที่ลำบาก เป็นชีวิตที่เจริญ" ซึ่งเป็นคำกล่าวของอาจารย์หมอ

เสม พริ้งพวงแก้ว 

 

 

 คุณหมอประเวศ วะสีพูดถึง กระบวนการชุมชนโดยมีดังนี้

1.สภาผู้นำชุมชน ตามธรรมชาติเช่น ครู หมอ พระ หรือปราชญ์ชาวบ้าน

2. สำรวจข้อมูลชุมชน ว่าในชุมชนประกอบอาชีพอะไร มีรายได้เท่าไร

ใครมีที่ดินเท่าไร ใครไม่มีจะได้รู้ข้อมูลของชุมชน

3. ทำแผนชุมชน ชุมชนออกแบบแผนแบบบูรณาการ

4. สภาประชาชน 

5.คนทั้งหมู่บ้านขับเคลื่อนชุมชน>>>การพัฒนาอย่างบูรณาการ

 

มีการพัฒนาอย่างบูรณาการ คือเศรษฐกิจ จิตใจ สังคม วัฒนธรรม

สิ่งแวดล้อม สุขภาพ การศึกษา ประชาธิปไตย เมื่อคนเกิดสัมมาชีพ

ก็เกิดสังคมสันติสุข

 

อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้เล่าเรื่องสมเด็จพระสังฆราช ฯ

 

 

ท่านอาจารย์เลาเรื่องความสำคัญของการศึกษาและได้อ่านกลอนให้ฟัง

ด้วย จะนำ video ให้ดูภายหลังนะครับ

 

 

ในภาพเป็นแม่แอ๊ว(อ.รัชนี ธงไชย ) พ่อเปี๊ยก(อ.พิภพ ธงไชย) ปลัดตุ้ย ผอ.สะอาด

ผอ.ศุภชาติ  ทีมนายอำเภอเมืองมาถ่ายรูปหน้าประติมากรรมของท่านอังคาร กัลยาณพงศ์ 

เห็นภาพเด็กน้อยกราบพระพุทธรูป น่ารักมากๆ

 

ผู้เขียนมาช่วยเป็นวิทยากรกระบวนการกับ ปลัดตุ้ย โดยได้ท่านอาจารย์เนาวรัตน์กล่าวเปิดและแม่แอ๊วกล่าวปิด

 

 

ประเด็นที่เราพูดกันคือ เราระดมความคิดเห็นกันว่า จะทำอย่างไรให้เมืองกาญจน์เป็นเมือง

รักการอ่านทั้งเมือง ได้ความคิดที่หลากหลายผู้เขียนได้พบบล็อกเกอร์เราคือพี่เหมียว

มากับลูกสาวด้วย  

 

 

ตอนแรกในกลุ่มใหญ่ช่วยกันระดมความคิดเรื่องการส่งเสริมการอ่าน หลังจากนั้น ได้แบ่งเป็น

ระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อระดมความคิดว่า แต่ละกลุ่มจะ

ทำอะไรกัน...

ประเด็นที่เราจะขับเคลื่อนกัน จะมาประชุมกันต่อในวันเสาร์ที่ 2พฤศจิกายน 2556 เพื่อ

ช่วยกันจัดกิจกรรมการอ่านในงานสัปดาห์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว ปีนี้ครับ ขอบคุณครับที่ติดตามอ่าน...

 

หมายเลขบันทึก: 551052เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2013 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 ตุลาคม 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

...สุดยอดมากเลยค่ะ ท่านขจิต ..... คนเก่ง คนดี ทั้งนั้นเลย ทั้งท่าน ศ. นพ. ประเวศ และ ท่าน อ.เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ .... ทราบว่าท่านทั้ง 2 เป็นคนจังหวัดกาญจนบุรี ..... อ้อรวมทั้งท่าน ขจิต ด้วยนะคะ ....

 

 

-สวัสดีครับ...

-รอติดตาม....ครับอาจารย์....

-

รออ่านค่ะ คิดถึงอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ พี่เคยเป็นลูกศิษย์สมัยเรียนประสานมิตร

ขอให้พระคุ้มครอง ขอให้อ.เนาวรัตน์มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงค่ะ

น้องอ.ดร.ขจิต รักษาสุขภาพด้วยนะคะ

ขอบคุณพี่เปิ้นมากครับ ทุกท่านเก่งมากเลยครับ ยกเว้นผม 555

ทั้งสองท่านเป้นชาวกาญจนบุรีครับ

ได้ทำงานให้จังหวัดตัวเองบ้าง มีความสุขครับพี่เปิ้น

ขอบคุณคุณ

 

รณกรณ์ สุวรรณผา

ที่จะแวะมาอ่าน

เขียนจบแล้วครับ

ขอบคุณคุณเพชรที่จะรอติดตาม ผมมาเขียนเพิ่มแล้วครับ

ขอบคุณพี่ครูต้อย อาจารย์ยังแข็งแรงทั้งสองท่านครับ

ผมจะรักษาสุขภาพครับพี่

ท่านอาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์เป็นกวีที่ชื่นชอบมากๆค่ะ...

โครงการ น่าสนใจมากมาก ค่ะ อาจารย์ขจิต

- ถอดบทเรียน ได้กลยุทธ์ กลวิธี และการประเมิน อย่างไร 

 ....จะทำอย่างไรให้เมืองกาญจน์เป็นเมืองรักการอ่านทั้งเมือง.....

อาจารย์นำมา บอกกล่าวกันบ้างนะคะ จะได้เป็น Best Practice ให้ชุมชน อื่น ๆ บ้างค่ะ

..ติด..ตาม..อยู่ค่ะ..เป็นคน..เมืองกาญจน์..ไปแล้ว..โดย ปริยาย..อ้ะะๆๆ.ขอบพระคุณเจ้าค่ะ..ยายธี

เอาใจช่วยอ.ขจิตค่ะ

การทำงานกับชุมชน เป็นงานที่ค่อนข้างยากและท้าทาย

กับโจทย์ที่ว่า จะทำอย่างไรให้ชุมชนเข้าใจชุมชน ร่วมกันพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

 

อ่านบันทึกแล้วนึกถึงตอนทำงานกับม.ชีวิตเลยค่ะ

อาจารย์ช่วยชักนำคนเก่ง  คนดี  มาที่โรงเรียนจ่านกร้องบ้างนะคะ

 

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิตนานมากไม่ได้มาเมนท์แต่ก็อ่านติดตามค่ะ เห็นปรมาจารย์หลายสาขามารวมกันแบบนี้ช่างมีความสุขนะคะยิ่งอาจารย์ขจิตเป็นศูนย์กลางอาจารย์ก็คือ"หนุ่มลุ่มน้ำแคว"  ตัวจริงที่สุดนะคะ

อยากเห็นการขับเคลื่อนกระบวนการชุมชนตามแนวทางดีๆเช่นนี้ค่ะ..

-สวัีสดีครัีบอาจารย์็

-ตามมาอ่านอีกรอบ...

-ดีๆ "จะทำอย่างไรให้เมืองกาญจน์เป็นเมืองรักการอ่านทั้งเมือง"

-เมืองกาญจน์ยังไม่เคยไปครับ...อิๆ

 

เก่งมากเลยค่ะ  เป็นที่ที่อยากไปเหมือนกันไม่มีโอกาสสักที

 

ขอบคุณ อ.ขจิต อย่างสูง  ที่ทำให้วงเสวนา ที่หมู่บ้านเด็ก สนุก และนำเรื่องเล่าของครู

ด้านจัดกิจกรรมดีดีด้านการอ่าน  มาแลกเปลี่ยน และได้ร่วมคิดร่วมทำกิจกรรมกัน  จะนำมาใช้ตามบริบทโรงเรียน

ได้มีโอกาสพาครู และครูภูมิปัญญา ของโรงเรียนไปร่วมฟัง ทำให้ทุกคน สนุกติื่นเต้น ได้ปะสบการณ์มากขึ้น  แล้ววันที่

29-30 ตุลาคม 2556 เรียนเชิญท่านมาเป็นวิทยากรช่วยโรงเรียนบ้านเขานางสางหัว ให้ทำหลักสูตรชุมชนเป็นรูปเป็นร่างต่อไป

ด้วยค่ะ  เพราะทำการจัดการเรียนการสอนมาเข้าปีที่ 2 แล้ว หลักสูตรชุมชน (ท้องถิ่นที่ดำเนินการ)ยังไม่เรียบร้อย

ต้องขอความอนุเคราะห์ด้วยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ.ภัทรนันท์ (ครูวาส)

 

การระดมความคิด จัดทำหลักสูตร ชุมชน และท้องถิ่น

จาก คณะครู ชุมชน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และเยาวชนในท้องถิ่น

นักเรียนเรียนรู้การปลูกพืชผักไร้สารพิษ

หลักสูตรการทำบ่อแก้สชีวภาพ จากมูลสุกร

โรงเรียนติดเขานางสางหัว

หลักสูตรประวัติศาสตร์ชุชน

 

 

 

ครั้งหนึ่งที่ อ.หมอประเวศ วะสี  มาเยี่ยมโรงเรียนบ้านเขานางสางหัว และชุมชน

ได้ปาฐกถา การจัดการตนเองในชุมชน

เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2556 ที่ผ่านมา

 

ปลูกต้นไม้ที่ระลึกไว้โรงเรียนบ้านเขานางสางหัวร่วมกับ  ผอ.ธวัชชัย  พิกุลแก้ว อดีต ผอ.สพป.กจ.4

"ประเด็นที่เราพูดกันคือ เราระดมความคิดเห็นกันว่า จะทำอย่างไรให้เมืองกาญจน์เป็นเมือง รักการอ่านทั้งเมือง ได้ความคิดที่หลากหลาย" เป็นแนวคิดที่ดีมากค่ะ

ขอบคุณทุกๆๆท่าน ดูว่าจะมีประเด้นอะไรเพิ่มเติมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท