ดอกไม้


krupound
เขียนเมื่อ

          

           วันนี้ไปฟังการเสวนา เรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อเตรียมเด็กสู่ศตวรรษที่ ๒๑ ที่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒมา ตอนแรกฟังอาจารย์วิจารณ์พูด รู้สึกเซ็งๆๆ เพราะเวลามีให้ท่านน้อยไป พออาจารย์พูดเร็วๆ ก็ฟังแบบมึนๆ แต่ตอนหลังก่อนกลับประทับใจมาก ในคำตอบที่อาจารย์ได้ตอบคำถามจากผู้ฟัง ซึ่งจำคำถามไม่ได้ แต่ประมาณว่า ในการเตรียมเด็กในอนาคตควรต้องตัดสิ่งใดออกไป ต้องรักษาสิ่งใดไว้ และควรสร้างสรรค์สิ่งใดเพิ่มเติม โดยอาจารย์ตอบได้ดีมาก คือ "จะทำสิ่งใดขอให้ดูกาลเทศะ ซึ่งสิ่งที่ควรตัดในตอนนี้ อนาคตอาจเป็นสิ่งที่ต้องรักษา ในขณะเดียวกันสิ่งที่ต้องรักษาไว้ อนาคตอาจจะไม่จำเป็นก็ได้ กาลเทศะจึงสำคัญ"

            อาจารย์ได้ให้ข้อคิดอีกว่า หากจะตัดก็ต้องตัดการคอรับชั่นในวงการศึกษา จัดระบบให้งบประมาณไหลลงไปสู่เด็กโดยตรง สร้างสรรค์ครูที่มีจิตวิญญาณความเป็นครู เป็นครูเพิื่อศิษย์ ไม่ใช่ทำอาชีพครูแค่พอมีเงินเดือนกิน...โดนมาก

6
2
krupound
เขียนเมื่อ

เมื่อตะกี๊นั่งดูสารคดีช่อง ThaiPBS เรื่อง ไฟหรืออะไรนี่ล่ะ

        เขานำเสนอว่า พืชใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์มากักเก็บในรูปคาร์บอนในเนื้อไม้ผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง เมื่อเนื้อไม้ติดไฟก็จะปลดปล่อยพลังงานจากดวงอาทิตย์ออกมาผ่านกระบวนการเผาไหม้

        ซึ่งหากเผาไหม้เนื้อไม้ในภาวะออกซิเจนต่ำจะทำให้ปริมาณคาร์บอนในเนื้อไม้เพิ่มสูงขึ้นจนเกิดเป็นถ่านหินได้ ซึ่งปริมาณคาร์บอนสัมพันธ์กับความร้อนเมื่อเกกิดการเผาไหม้

        โอ...ในที่สุด วิชา วิทยาศาสตร์ร่วมสาระหลักในการอธิบายถ่านหิน...ก็ได้บทสรุปเชื่อโยงระหว่าง ชีววิทยา (กระบวนการสังเคราะห์แสง) เคมี (กระบวนการเผาไหม้) และฟิสิกส์ (ความหนาแน่นพลังงาน) ได้ชัดเจนเสียที...

         พลังงานจากดวงอาทิตย์ถูกส่งผ่านมายังโลก(ด้วยความหนาแน่นพลังงาน: ฟิสิกส์) หลายพันล้านจูลต่อชั่วโมง ต้นไม้ได้นำพลังงานนี้มาใช้ในการตรึงคาร์บอนในอากาศผ่านกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (ชีววิทยา) เพื่อสร้างเนื้อเยื่อและส่วนต่างๆของพืช เมื่อนำพืชมาเผา (อาจเกิดจากฟ้าผ่าหรือไฟป่า) จะเกิดกระบวนการเผาไหม้ (เคมี) เป็นการปลดปล่อยความร้อนและคาร์บอนออกมา หากเกิดกระบวนการเผาไหม้ภายใต้ภาวะออกซิเจนต่ำจะทำให้ได้ถ่านที่มีปริมาณคาร์บอนสูง (ถ่านหิน) ซึ่งปริมาณคาร์บอนยิ่งมีมากในเนื้อไม้หรือถ่านมากเท่าใด ความร้อนที่ปลดปล่อยจากกระบวนการเผาไหม้ (บอกในรูปความหนาแน่นพลังงาน:ฟิสิกส์) ก็ยิ่งมากขึ้น

        นั่นคือถ่านหิน 1 ก้อน สามารถอธิบายได้ด้วยวิทยาศาสตร์ แต่เรากลับแยกไปสอนในวิชาฟิสิกส เคมี และชีววิทยา โดยไม่ได้เชื่อมโยงกัน เด็กๆก็เรียนแบบแยกๆ ความเข้าใจธรรมชาติิที่ชัดเจนจึงเกิดได้ยากมากในระบบการศึกษาไทย...

 

 

6
0
krupound
เขียนเมื่อ

นิทานสีขาว
เรื่อง ความปรารถนาของเมล็ดพืช
โดย ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา
ที่มา : http://www.facebook.com/photo.php?fbid=540625505953642&set=a.522085464474313.141675.289049341111261&type=1


             นกตัวหนึ่งคาบเมล็ดพืชบินผ่านป่าใหญ่ ระหว่างทางเมล็ดพืชน้อยสองเมล็ดก็ร่วงตกลงสู่พื้นดิน

            พื้น ดินอ่อนนุ่มช่างอบอุ่น และสบายกว่าปากแหลมคมของนกตัวนั้นเป็นไหน ๆ เมล็ดพืชที่หนึ่งจึงเอ่ยทักเมล็ดพืชที่สองอย่างอารมณ์ดีว่า

เมล็ดพืชที่หนึ่ง : สวัสดีจ้ะ เธอยังสบายดีอยู่ไหม

เมล็ดพืชที่สอง : อื้ม ก็ดีกว่าตอนอยู่ในปากของนกตัวนั้นล่ะนะ

เมล็ดพืชที่หนึ่ง : ฉันดีใจมากเลยที่ได้นอนอยู่บนดินร่วนซุยแบบนี้ ทั้งนุ่ม ทั้งอุ่น สบายตัวแท้

เมล็ดพืชที่สอง : ฉันเห็นด้วย เมล็ดพืชที่ไหนก็ชอบดินแบบนี้ทั้งนั้นล่ะ

เมล็ดพืชที่หนึ่ง : ดินแบบนี้เหมาะแก่การเจริญเติบโตเป็นที่สุด เธอว่าไหม

เมล็ดพืชที่สอง : ก็คงใช่

เมล็ดพืชที่หนึ่ง : ฉันอยากเจริญเติบโตเป็นต้นไม้เร็ว ๆ จัง

เมล็ดพืชที่สอง : ว้าย! ฉันไม่เอาด้วยหรอก ฉันไม่อยากโต ฉันอยากเป็นเมล็ดพืชไปวัน ๆ อย่างนี้แหละ

เมล็ดพืชที่หนึ่ง : แต่การเปลี่ยนแปลงคือชีวิตนะ เราเป็นสิ่งมีชีวิต เราก็ต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลง

เมล็ดพืชที่สอง : ไม่นะ ฉันจะไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง ฉันจะเป็นเมล็ดพืชอย่างนี้ตลอดไป ฉันกลัวการเปลี่ยนแปลง เพราะมันทำให้เราต้องเจอ และเป็นในสิ่งที่เราไม่คุ้นเคยมาก่อน

เมล็ดพืชที่หนึ่ง : อย่ากังวลไปเลยจ้ะ การเปลี่ยนแปลงของพวกเราจะเป็นไปในทางที่ดีขึ้น เพราะเราจะเจริญเติบโต ออกดอกออกผลงอกงามไปเรื่อย ๆ

เมล็ดพืชที่สอง : ไม่จริงหรอก เธอลองคิดดูสิ ถ้าเราต้องเติบโตไปเป็นต้นไม้จริง ๆ รากของเราก็จะติดหนึบอยู่ในความมืดมนของชั้นดิน ส่วนด้านบนซึ่งเป็นกิ่งก้านและลำต้นของเราก็จะถูกกระหน่ำด้วยพายุ แล้วอย่างนี้ฉันจะอยู่ได้อย่างไรล่ะ..อยู่ไม่ได้หรอก

เมล็ดพืชที่หนึ่ง : เชื่อสิจ๊ะว่าเราจะผ่านมันไปได้ และสิ่งเหล่านั้นก็จะทำให้เราเข้มแข็งขึ้นกว่าเดิมนะ

เมล็ดพืชที่สอง : ไม่เอา! ถ้าเธออยากโตเป็นต้นไม้ก็เชิญเป็นไปคนเดียวเลย ฉันไม่เอากับเธอด้วยหรอก

             เมล็ดพืชที่หนึ่งเห็นว่าป่วยการที่จะโน้มน้าวความคิดของเมล็ดพืชที่สอง เมล็ดพืชที่หนึ่งจึงหยุดพูด และเฝ้าคอยเวลาที่ตนเองจะได้เติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ด้วยความตื่นเต้นทุกวัน

            เวลาผ่านไป เมล็ดพืชที่หนึ่งก็เปลี่ยนแปลงจากเมล็ดพืชเล็ก ๆ กลายเป็นต้นไม้ใหญ่ที่แผ่กิ่งก้านสาขาให้ร่มเงาแก่สัตว์น้อยใหญ่ในป่าแห่ง นั้น มันมีความสุขมากที่ได้เติบโต และมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ในฐานะของต้นไม้ใหญ่

            ส่วนเมล็ดพืชผู้ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงก็ยังคงเป็นเมล็ดพืช เหมือนเดิม วันหนึ่งมีไก่ป่าตัวหนึ่งเดินผ่านมาเห็นเมล็ดพืชที่สอง มันจึงตรงเข้าไปจิกเมล็ดพืชที่สองกินเป็นอาหารจนอิ่มท้อง

บทสรุปของผู้แต่ง

            การเปลี่ยนแปลงเป็นกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติที่เกิดขึ้นตลอดเวลา ซึ่งมีทั้งเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นและเลวลง แต่เราจะต้องยอมรับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ ไม่ว่าการเปลี่ยนแแปลงนั้นจะดีหรือไม่ก็ตาม เพราะถ้าเรายอมรับได้ แม้จะต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงที่เลวลง เราก็ยังพร้อมที่จะสู้เพื่อพบกับการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น แต่คนที่ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และปฏิเสธที่จะพบสิ่งใหม่ ๆ ครั้นพบปัญหาก็ไม่รู้จะเดินไปทางไหน จึงถอดใจโดยง่าย และต้องพบกับทางตันของชีวิตอย่างรวดเร็ว

             เราคงปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงไม่ได้หรอก เพราะการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กด้วยแล้ว ยังมีเวลาอีกกว่าทั้งชีวิตที่ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ทางที่ดี อย่ากังวลไปเลยว่าเราจะต้องพบอะไรบ้าง แต่ขอให้รู้ว่าประสบการณ์ทุกอย่างจะสอนให้มีชีวิตที่เข้มแข็ง จงเติบใหญ่อย่างมั่นใจและกล้าหาญเพื่อวันวสวยงามที่รออยู่ข้างหน้าเถิด

4
1
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท