อนุทินล่าสุด


ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ทีฆายุโก, ใช้ ท ทหาร ครับ

ทีฆ แปลว่า ยาว (บาลีใช้ ทีฆ, สันสกฤตใช้ ทีรฺฆ)



ความเห็น (2)

สบายดีครับ ขอบคุณครับ ตอนนี้สกลนครอากาศหนาวๆ ครับ

หวังว่า อาจารย์Wasawat Deemarn ก็สบายดีนะครับ พักหลังผมไม่ค่อยแวะเข้ามาเลย

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ขับรถแล้วมักจะต้องหงุดหงิด

หายใจลึกๆ ทำใจๆ



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

อักษรไทยสมัยโบราณ (สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี ต้นรัตนโกสินทร์) ใช้ ฑ แทนเสียง ด

เช่น ไฑ้ หมายถึง ได้



ความเห็น (2)

ปัจจุบัน ตัว อักษร "ฑ" ในภาษาเขียนคำเมือง (ภาษาเหนือ) ก็ใช้ตัว "ฑ" ออกเสียง "ด"(เด็ก)

เพราะอะไรคะ ซึ่งตรงนี้เป็นเหตุให้คนไทยอ่านภาษาบาลีเพี้ยนไปด้วยหรือปล่าว เช่นคำว่า ทุติยัมปิ ควรเป็น ดุติยัมปิ

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

สูจิ หมายถึง ดัชนี หรือสารบัญ

สูจิบัตร (สูจิปตฺตฺร) หมายถึง สารบัญ

(ศัพท์สันสกฤตโดยตรง)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

วิษุวัต (equinox) หรือ ราตรีเสมอภาค คือ วันที่กลางวันยาวเท่ากับความคืน  ปีนี้ตรงกับวันที่ 20 มีนาคม

วิษุวัต viṣuvát มาจา่ก วิษุ แปลว่า เท่ากัน.  วัต แปลว่า ความเป็น, ภาวะ

วิษุวัต แปลว่า ภาวะที่เท่ากัน การมีเท่ากัน


ราตรีเสมอภาค คงแปลมาจาก equinox

equi = เท่ากัน, nox = กลางคืน



ความเห็น (1)

วัต = ความเป็น, ภาวะ

ขอบคุณครับอาจารย์ ;)...

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

"Language is an art, and we proceed from art to science, from idiom to accuracy; the idiom, the feeling for a language, is easily taught thus, and accuracy can wait...The process is: first imitation, next imitation with a difference, lastly the use of what has been so learnt."
.... W.H.D. Rouse and R.B.



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ความกล้าหาญ (ตามนัยแห่งวรรณคดีสันสกฤต) มี 3 อย่าง คือ

  • กล้าให้ (ทานวีระ)
  • กล้าประพฤติธรรมหรือหน้าที่ (ธรรมวีระ)
  • กล้ารบ (รณวีระ)


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

"มาฆบูชา" ปกติคำนี้ไม่มีวิสรรชนีย์ (ะ)

แต่พบว่าเขียน มาฆะบูชา ก็มาก

ในอนาคตอันใกล้ การสะกดอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้ (ตามเสียงส่วนใหญ่)



ความเห็น (3)

ผมชอบฟังอาจารย์สอนหลักการต่าง ๆ ของภาษาไทยมาก ๆ ครับ ;)...

เมื่อรู้ว่าเขียนอย่างไรถูกต้อง  ส่วนตัวจะระมัดระวังมากขึ้นและพยายามเขียนไม่ให้ผิด (แม้จะผิดอยู่เป็นระยะๆๆๆๆ)

มีข้อยกเว้นสำหรับบางคนที่อาจไม่สนใจ ไม่สังเกต ไม่เห็นความจำเป็นที่จะเขียนให้ถูกต้อง...ค่ะ

คุณครูทำหน้าที่บอกกล่าวอย่างเข้มแข็งแล้ว

ขอบคุณค่ะ


ขอบคุณค่ะ อาจารย์ 

เขียนผิดเช่นกัน ขอไปแก้ไข ด่วน :)

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

นิยามน้ำเมา (พจนานุกรม 2542)
เมรัย น. นํ้าเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่
สุรา น. น้ำเมาที่ได้จากการกลั่น

กะแช่ น. นํ้าเมาชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเหนียวนึ่งหมักแช่กับแป้งเชื้อ แต่ยังมิได้กลั่นเป็นสุรา
เบียร์ น. นํ้าเมาอย่างหนึ่งเป็นชนิดเมรัย.
ไวน์ น. เหล้าองุ่น
สาโท น. น้ำเมาที่ได้จากการหมัก เช่น น้ำขาว อุ กะแช่.

เมรัย (เมระยะ มาจากภาษาบาลี, เมรย) ตรงกับภาษาสันสกฤต ไมเรยะ (ไมเรย)


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ดูหนังอินเดีย สามสี่เรื่อง ผู้ชายชื่อวิโนท (Vinod)

คนไทยไม่น่าจะมีชื่อนี้ แต่มีฉายาพระภิกษุ และนามสกุลคนไทย ที่ใช้คำว่า วิโนท

วิโนท มาจากรากศัพท์กริยา(ธาตุ) "นุทฺ" เติม "วิ" ข้างหน้า เป็น วินุทฺ (ยังเป็นรากศัพท์อยู่)

  • แปลว่า ผลัก เล่น สนุก หรือเล่นดนตรี
  • บังคับให้ยืดเสียง -นุทฺ (vi-nud) เป็น -โนทฺ (vi-nod) ก่อนเติมเสียง "อะ" ข้างท้าย => วิโนท (vi-nod-a)
  • กลายเป็นคำนาม แปลว่า การเล่น การผลัก ความสนุก
  • อ่าน วิโนทะ แต่คนฮินดีออกเสียง วิโนด (สองพยางค์)


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

กำเนิด และพัฒนาการ การใช้ กะ กระ ในภาษาไทย

http://sealang.net/sala/archives/pdf8/siri-aksornsat1996origin.pdf



ความเห็น (1)

กำลังคิดอยู่ว่าจะหาอ่านได้จากที่ไหน 

ขอบคุณมากค่ะ

เอ่อ...หากสรุปเป็นภาษาไทยสักบันทึกหนึ่ง...จะเยี่ยมไปเลยค่ะ   :)

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ในห้องสอบ
นางสาว ก.  : (ยกมือ)
ผู้คุมสอบ    : ครับ?
นางสาว ก.  : จะขอยืมเครื่องคิดเลขค่ะ (ชี้ไปที่นางสาว ข. ทางขวามือ)
นางสาว ข.  : ไม่ให้ยืมค่ะ
นางสาว ก.  : (ทำหน้าหงิก)
ผู้คุมสอบ    : ครับ (แอบขำ)



ความเห็น (4)

อันที่จริงทุกคนต้องเตรียมไปครับ แต่ของคนนั้นเกิดเครื่องเสียหรือยังไงก็ไม่ทราบ สุดท้ายต้องรอเพื่อนทำเสร็จก่อนแล้วขอยืม ;)

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ชื่อภาษาฮินดี Ranjeet, Ranjit ออกเสียง รันจีต

สะกด रञ्जित, रण्जीत, रणजित

ภาษาสันสกฤต रणजित รณชิต (ระนะชิตะ)

ผู้มีชัยชนะในสนามรบ



ความเห็น (2)

Pandit Hariprasad Chaurasia


บัณฑิต หริประสาท นามสกุลเขียนอย่างไรดีค่ะอาจารย์

हरिप्रसाद चौरसिया

เจารสิยา

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

คู่มือการอ่านถ่ายถอดอักษรขอม

http://www.nlt.go.th/Data/KM/fontkhmer.pdf

(ถ้าสนใจรีบโหลดเก็บ เผื่อต้นทางเปลี่ยนใจ)



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

เชิญฟังบรรยายเรื่อง พระรามจากอินเดียสู่อุษาคเนย์




ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

อลังการ
น. การตกแต่ง, การประดับ; เครื่องตกแต่ง, เครื่องประดับ.ว. งามด้วยเครื่องประดับตกแต่ง. (ป., ส.).
(พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542)

อลังการ ในภาษาสันสกฤตเอง ก็หมายถึง การประดับ หรือเครื่องประดับ ไม่ได้หมายถึง หรูหรา ใหญ่โต อย่างที่ใช้กันในภาษาพูด

อลมฺ + √กฺฤ = อลํกฺฤ (นำไปแจกรูปต่อ)

ทฤษฎีอลังการ หรือ อลังการศาสตร์ เป็นทฤษฎีหรือศาสตร์ว่าด้วยการสร้างสรรค์บทประพันธ์ หรือ กา่รตกแต่งบทประพันธ์ให้ไพเราะ งดงาม



ความเห็น (2)

อ่อ.. อลังการศาสตร์เป็นอย่างนี้นี่เอง

ขอบคุณคะ

เคยอ่านพบข้อความว่า  "เขาตกแต่งด้วยเครื่องอลังการอย่างเอก"  ยังงงๆ และแปลกๆ 
ตอนนี้เข้าใจแล้ว  ขอบคุณค่ะ

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ทำซุปมะเฟือง ใส่หอมใหญ่ มะเขือเทศ มันฝรั่ง & มะเฟือง

รสชาติใช้ได้ (กินคนเดียว) เสียดายมะเฟืองสุกเยอะ

น่าจะทำอาหารอื่นได้อีก...



ความเห็น (11)

..... ต้องหา   "คนมาช่วยทาน"   แล้วนะคะ ...... มะเฟืองสุก....จะได้ไม่เหลือเยอะ ...ค่ะท่านอาจารย์ ....

มะเฟืองแจกไปเยอะครับ

แต่ซุปมะเฟือง ไม่มีใครกล้าทานด้วย ;)

ที่บ้านผม ร่วงระนาวเลยครับ

แม่บอกให้เก็บไว้ให้อยู่ ;)...

ขอบคุณครับพี่ นาง นงนาท สนธิสุวรรณ และอาจารย์ Wasawat Deemarn

ว่าจะปั่นเหมือนกัน แต่ยังขี้เกีัยจล้างอุปกรณ์ครับ อิๆๆ

อาจารย์ Wasawat Deemarn คงไม่ค่อยชอบแน่เลย ถึงปล่อยให้หล่นเกลือน

คุณแม่เคยเอาไปแช่อิ่ม  และกวนด้วยค่ะ แบบแยม  อร่อย มีกลิ่นเฉพาะของเขา  มันสวยด้วยนะคะ  ฝรั่ง เรียกว่า Star fruit

บ้านไม่ค่อยอยู่น่ะครับ ทานก็ไม่ค่อยได้ทาน ;)...

คุณครูพี่อ้อย ครูอ้อย แซ่เฮ ทั้งแช่อิ่ม ทั้งกวน คงใช้ทักษะขั้นสูงครับ ผมมือไม่ถึง ;)

Wasawat Deemarn อ๋อ อาจารย์หมายถึงบ้านจริงๆ ;)

ส่วนบ้านผมปลูกมะเฟืองไม่ขึ้น ปลูกไว้ไม่แตกใบเลยครับ :_(

รสชาติซุปมะเฟืองเป็นยังไงคะ จินตนาการไม่ออก คงไม่ต่างจากซุปทั่วไปเพราะมีมะเขือเทศ หอมหัวใหญ่ และมันฝรั่ง   :)

มะเฟืองสดๆ จิ้มเกลือป่นอร่อยมากค่ะ และหากนำมาทานกับผักสลัดก็รสชาติดีมากๆ ค่ะ

อ.ธวัชชัย ครับ สงสัยว่าดินจะไม่เหมาะครับ ;)

คุณ หยั่งราก ฝากใบ ครับ รสชาติก็เหมือนซุปทั่วไปครับ เพราะไม่กล้าใส่มะเฟืองเยอะครับ

ปกติไม่ชอบทานมะเฟืองครับ เที่ยวนี้เลยทดลองดู

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ภารตรัตนะ แปลจาก The Wonder That Was India (A.L.Basham) โดย รองศาสตราจารย์ ธิติมา พิทักษ์ไพรวัน http://www.openbase.in.th/files/ebook/textbookproject/tbpj239.pdf


 
บทที่ 1 บทนำ : อินเดียกับวัฒนธรรมโบราณ - แผ่นดินอินเดีย - การค้นพบอินเดียโบราณ - ความรุ่งเรืองแห่งอินเดียโบราณ
บทที่ 2 ก่อนประวัติศาสตร์ : วัฒนธรรมฮะรัปปาและชาวอารยัน - มนุษย์ดึกดำบรรพ์ในอินเดีย - หมู่บ้านแห่งแรก - วัฒนธรรมเมืองแห่งฮะรัปปา - จุดจบของนครต่างๆ บนลุ่มแม่น้ำสินธุ - อินโดย-ยูโรเปียน และอารยัน - ชาวอารยันในอินเดียสมัยประวัติศาสตร์ดั่งเดิม - วัฒนธรรมในยุคพระเวท - สมัยหลังของยุคพระเวท
บทที่ 3 ประวัติศาสตร์ : จักรวรรดิสมัยโบราณและสมัยกลาง - หลักฐานของประวัติศาสตร์ - ยุคพุทธกาล - พระเจ้าอเล็กซานเดอร์และกษัตริย์ราชวงศ์โมริยะ - สมัยการรุกราน - ราชวงศ์คุปตุและหรรษะ - บริเวณคาบสมุทรในยุคกลาง… ขอขอบคุณ มูลนิธิโครงการตำราฯ www.textbooksproject.org



ความเห็น (3)

เห็นเล่มนี้แล้วดีใจสุดๆไปเลยคะ กระโดดเข้าใส่แทบไม่ทัน อิอิ ขุมทรัพย์ความรู้

รออ่านประวัติวรรณคดีสันสกฤตนะครับ อีกสองปี คงลงจบเล่ม ;)

ขอคุยด้วยนะคะ แบบเข้าใจ แต่ไม่ Get พอได้ นะคะ ท่านอาจารย์

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ
  • ครู (สันสกฤต คุรุ, บาลี ครุ)
  • คุรุ ในภาษาสันสกฤตหมายถึง ผู้สอนความรู้แล้ว บุคคลที่น่านับถือ และโดยทั่วไปหมายถึงพ่อแม่ก็ได้ 
  • คุรุ ยังแปลว่าหนัก หนักแน่น ยอดเยี่ยม ได้ด้วย
  • คุรุชน ก็เป็นอีกคำที่พบบ่อย


ความเห็น (3)

..... ขอบคุณมากค่ะ ท่านอาจารย์ ได้ความรู้ดีดี เป็นบุคคลากรที่น่าเคารพ น่านับถือเสมือนพ่อแม่ นะคะ

ขอบคุณท่านอาจารย์มากๆ นะคะ

ขอบคุณครับ อาจารย์ ;)...

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

มนุษย์ < มนุษฺย < มนุสฺย < มนุสฺ + ย < √มนฺ + อุสฺ

  • √มนฺ + อุสฺ > มนุสฺ
  • มนุสฺ + ย > มนุสฺย > มนุษฺย
  • มนุษย์


ความเห็น (5)

มนุษย์แปลว่า ผู้มีใจสูง ...  :)

เขาว่ามาอย่างนั้นครับ ;)

ชอบจังคะ √มนฺ + อุสฺ > มนุสฺ อยากทราบทั้งความหมายของทั้งอุปสรรคและธาตุคะ อิอิ 

√มนฺ + อุสฺ > มนุสฺ โห ..เห็นคำนี้มานานเพิ่งจะทราบว่ามีที่มาอย่างนี้นี่เอง เลยอยากจะทราบความหมายของทั้งอุปสรรคและธาตุคะ 

ไว้จะเขียนในบันทึกนะครับ เขียนตรงนี้คงจะยาว

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ความเห็น (3)

ฟังครั้้งแรกไม่ได้อ่านภาษาไทยที่แปลไว้ พอมาอ่านเลยต้องเปิดฟังใหม่ค่ะ

เป็นเพลงที่ดีมากๆ นะคะ โดยเฉพาะข้อความที่ว่า "หน้าที่ของเราคือทำดีต่อมวลมนุษย์" สังเกตว่ามีไม่กี่ข้อความแต่ข้อความจะร้องซ้ำๆ สองสามครั้งนะคะ

การได้รู้ความหมาย ก็ทำให้รู้สึกว่าฟังแล้วได้อรรถรสยิ่งขึ้นค่ะ

แล้ว Manasa Satatam แปลว่าอะไรคะ Manasa น่าจะมาจากคำว่า มน - จิต ใจ  ส่วน Satatam เดาไม่ออกเลยค่ะ

มนสา สตตมฺ (มะนะสา สะตะตัม) มนสา แปลว่า ด้วยใจ (มาจาก มนสฺ (มะนัส) ใจ), สตตมฺ แปลว่า ตลอดไป

มนสา สตตมฺ คงจะหมายถึง ระลึกไว้ในใจตลอดไป ครับ

{สตตมฺ คงมาจากธาตุ ตนฺ ที่แปลว่า กระจาย แผ่ไป, แล้ว เติม -ต ท้าย เป็น past participle เป็น ตต (ตนฺ ลบ นฺ ทิ้งไปก่อน แล้วเติม ต), ทีนี้เติม สํ- ข้างหน้า แต่ได้เป็น สตต (ไม่ใช่ สํตต, ตามกฎไหนสักข้อหนึ่ง) แล้วเติม -มฺ ท้ายเพื่อใช้เป็นศัพท์ไม่แจกรูป... จบ}

สรุปว่า Manasa Satatam แปลว่า   ระลึกไว้ในใจตลอดไป... คำนี้ฟังแล้วโรแมนติกดีค่ะ...อิอิ 

แถมด้วยความรู้อีกเยอะๆๆๆ เก็บไว้ๆๆ แต่ไม่คงไม่ค่อยได้ใช้

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

ถุงใส่ขนม ใส่ของอะไรก็ตาม อย่าฉีกเพื่อเปิด ให้ใช้กรรไกรตัด

ปากถุงจะได้เรียบ เผื่อเก็บไว้ใส่ขยะหรือของอื่นๆ ได้



ความเห็น (1)

 

สวัสดีปีใหม่..สุขสดใสด้วยความคิดดีงามค่ะ

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

 แผ่นพลาสติกที่รัดถุงใส่ขนมปัง ใช้แล้วอย่าทิ้ง เอารัดถุงใส่ขยะกันมดเข้า หรือรัดถุงอื่นๆ ได้ด้วย



ความเห็น (1)

เป็นความคิดที่ดีมากค่ะ กำลังจะโละทิ้ง ทั้งแผ่นพลาสติกและลวดรัดถุงขนมต่างๆ 

ขอบคุณค่ะ  :)

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

เขียน gotoknow มา 5 ปีพอดี...



ความเห็น (6)

ผมแก่เดือนอาจารย์ไป ๑ เดือนครับ ;)...

5 ปีมิใช่น้อยเลยท่าน ที่อยู่ในบ้านหลังนี้

ขอบคุณมากครับ เวลาผ่านไปอย่างรวดเร็วครับ ;)

ธ.วั ช ชั ย
เขียนเมื่อ

เดินทางไปมหาสารคาม...



ความเห็น (2)

อ้าว ..อาจารย์ไปแล้วใครจะตรวจงานหนูคะ ฮ่าๆ

เดินทางปลอดภัย ขอให้สนุกค่ะ  :)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท