หลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT Assistant Director Development Program: EADP 2017) - EADP 13 (ช่วงที่ 4: ระหว่างวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2560)


สวัสดีครับชาว Blog และลูกศิษย์ EADP รุ่น 13 ทุกท่าน

ขอต้อนรับเข้าสู่หลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (EGAT Assistant Director Development Program: EADP 2017) - EADP 13 (ช่วงที่ 4: ระหว่างวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2560)

แม้ว่าจะเป็นการทำงานต่อเนื่องเรื่องคนให้กับ กฟผ. มาปีนี้เป็นปีที่ 13 แต่ผมก็ยังรู้สึกตื่นเต้น และพยายามจะแสวงหาความรู้ที่สด และทันสมัยมาแบ่งปันกับลูกศิษย์ของผมเสมอ

จากการพัฒนาผู้นำและผู้บริหารของ กฟผ. ในระดับผู้อำนวยการ 3 รุ่น และในระดับผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายอีก 9 รุ่นที่ผ่านมา ผมมีความภาคภูมิใจในลูกศิษย์ของผมที่วันนี้หลายคนเติบโต และเป็นทุนมนุษย์ที่มีคุณภาพของสังคม

"ทุนมนุษย์" ใน กฟผ. นั้นเข้มแข็งและมีศักยภาพอยู่แล้ว ผมเป็นเพียงผู้ที่จะช่วยทำหน้าที่จุดประกาย สร้าง Inspiration ให้พวกเขามีพลัง มี Ideas ใหม่ ๆ มีความเข้าใจสถานการณ์ใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกและพยายามเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ไปสู่ความสำเร็จ รวมทั้งการทิ้งผลงานหรือสิ่งที่มีคุณค่าไว้สำหรับสังคมไทยของเรา

สำหรับการพัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รุ่นที่ 13 ในปีนี้ ผมก็หวังว่าจะมีสิ่งที่เราจะได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อประโยชน์ในการทำงานของ กฟผ. และเป็นการสร้างที่สร้างความสุขให้แก่คนไทยต่อไป และผมขอให้ทุกท่านใช้ Blog นี้เป็นคลังความรู้ของพวกเรา และแบ่งปันความรู้เหล่านี้ไปสู่สังคมของเราครับ

ติดตามและส่งความคิดเห็นได้ที่ Blog นี้ครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์


โครงการหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย

ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

13 มีนาคม – 9 มิถุนายน2560

วันที่ 15 พฤษภาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

วิชาที่ 16/1 Group Assignment & Presentation

Lesson Learned –Share and Care

:บทเรียนจากหนังสือเล่มที่ 2

เรื่อง Harvard Business Review HBR’s 10 Must Reads on Innovation

กลุ่มที่ 1 How GE Is Disrupting Itself

พูดถึงการเปลี่ยนแปลงของ GE เรื่อง Disrupting เป็นการเปลี่ยนแปลงตลาดแบบอย่างมาก ต้อง Surprise ตลาดและไม่มีการตามผู้นำ ถ้าที่ใดมีตลาดอยู่แล้วไปตามจะเหนื่อยและยาก ให้วาง Position ใหม่เลย

ความขัดแย้ง

1. ยุคของ Glocalization

พัฒนาผลิตภัณฑ์และให้บริการเพื่อประเทศพัฒนาแล้วและกระจายไปทั่วโลก

เปลี่ยนแปลงสู่ยุค Reverse Innovation

พัฒนาผลิตภัณฑ์/นวัตกรรมใหม่ๆ เริ่มจากประเทศกำลังพัฒนาก่อนขยายไปยังประเทศพัฒนาแล้ว

GE ลงทุนเปลี่ยนแปลงจาก Glocalization เป็น Reserve Innovation ในประเทศจีนและอินเดียก่อนคู่แข่งจะเข้ามา
ทำไม Reserve Innovation จึงสำคัญ

1. กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ (Emerging economies) มีการเติบโตแบบก้าวกระโดดจากความต้องการนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

2. ผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาเฉพาะของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาไม่สามารถขายในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วเนื่องจากคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และราคาตอบสนองต่อผู้บริโภคแตกต่างกัน

สรุป เป็นแนวคิดการเปลี่ยนฐานจากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศที่กำลังพัฒนา ยกตัวอย่างประเทศเปรู คิดผลิตภัณฑ์ Serial ที่ลดความหรูหราลงแล้วไปพัฒนาสู่ประเทสกำลังพัฒนาแล้วขายดิบขายดีมาก

การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในตลาดเกิดใหม่

- หลังวิกฤตเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วจึงให้ความสำคัญกับการลงทุนตลาดนี้มากขึ้น

- ใช้ หลัก Reverse Innovation ในการเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะ จีนขณะที่บริษัทสัญชาติจีนท้องถิ่นเริ่มลงสนามแข่งขันทำให้ GE ต้องเร่งวางแผนต่อสู้ในตลาดจีน

ความขัดแย้งของ 2 Model

ตามโมเดลของGlocalizationทำได้ดีให้ประโยชน์มหาศาลจน GE health care สาขาอินเดีย พบว่าผลิตภัณฑ์ x-ray ไม่สามารถทำยอดขายในอินเดียได้ดีเนื่องจากมีคุณภาพไม่เหมาะสมกับท้องถิ่นและราคาสูง

ข้อเสนอ : ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานง่าย,ราคาถูก ข้อเสนอนี้ไม่ได้รับการอนุมัติ เพราะ GE อยู่ใน Glocalization ดีอยู่แล้ว

การเปลี่ยนแปลงไปตามความน่าสนใจของตลาด

ผู้บริหารระดับสูงมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงใน 4 เรื่องคือ

1. ปรับเปลี่ยนองค์กร

2. กระตุ้นทีมงาน

3. สร้างโอกาสใหม่ๆ

4. ปรับปรุงวิธีการทำงาน

ผู้บริหารระดับสูงสร้าง Connection กับ ผู้นำและผู้บริหารระดับสูงของจีนและอินเดีย

♥ Reserve Innovation คือ แตกรูปแบบองค์กรแบบใหม่ที่สร้างนวัตกรรมและ Business Model ในตลาดเกิดใหม่

โมเดลที่คิดค้นเองของ GE

ตัวอย่าง : หน่วย Ultrasound machines ของ GE health care

จีน ผลิตภัณฑ์ : ราคาถูก , สะดวกในการใช้งาน, เคลื่อนย้ายพกพาได้

สถานที่:ห่างไกล, กระจายตัว, การเข้าถึงยาก

ปี 2002 GE : สร้างผลิตภัณฑ์เหมาะสมกับการใช้งานในจีนและมีราคาถูกลงGE เติบโตจากผลิตภัณฑ์นี้อย่างมาก

หลักการทำธุรกิจกับหน่วยงานLocal Growth Team (LGT)

พัฒนาหน่วยLGT(Local Growth Team) ที่จีนมุ่งเน้นพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอบสนองความต้องการผู้บริโภคของจีน

หลักการบริหารงาน LGT คือ

  • ให้อำนาจแก่LGTดำเนินการในประเทศและตลาดเกิดใหม่
  • เริ่มสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ใช่ดัดแปลงจากผลิตภัณฑ์เดิม
  • ออกแบบและสร้างองค์กรใหม่ทั้งหมดมีอิสระในการจัดการ
  • ศึกษาตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อสร้างเป้าหมายที่สอดคล้องกัน
  • ให้หน่วย LGT ขึ้นตรงต่อผู้บริหารระดับสูงของ GE

บนความท้าทายในอนาคต

  • เร่งดำเนินธุรกิจในอินเดีย
  • พัฒนาผลิตภัณฑ์รองรับตลาดเกิดใหม่
  • ที่สำคัญเปลี่ยน Mind-set ผู้บริหารที่เคยชินกับ Glocalization โดยละเลย Reserve Innovation

Thailand 4.0

ทำให้เห็น New Engine of Growth ที่เห็นถึงประเทศที่กำลังพัฒนา พูดเรื่อง Design of Innovation India Made in India ส่วน Korea พูดเรื่อง Creative Economy

การขับเคลื่อนสินค้านวัตกรรมของไทย ได้กำหนด 3 ข้อ

1. Inclusive Growth การเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรก่อน

2. สร้างโอกาสทางการแข่งขันโดยเทคโนโลยีนวัตกรรม

3. Green Growth คือการรับผิดชอบของสังคม

การเปลี่ยนแปลงของ กฟผ.

การเปลี่ยนแปลงที่คาดว่าจะเกิดขึ้น

  • เทคโนโลยี
  • ภาวะสิ่งแวดล้อม และการแข่งขัน
  • เป้าหมายที่เปลี่ยนไปของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
  • นโยบายของหน่วยงานที่กำกับดูแล กฟผ.

กฟผ. ต้องปรับตัว แสวงหาโอกาสและสร้างธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้องค์กรอยู่รอด และมีความยั่งยืนในระยะยาว

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

Disruption คือแรงเหวี่ยงหรือแรงกระทบที่รุนแรงต่อเรา ดังนั้นเราต้องหาแรงเหวี่ยงหรือแรงกระทบที่มีต่อ EGAT ให้ได้

GE จากเดิมผลิตแบบ Consumer ต่อมาหันผลิตแบบใหม่ เป็นด้านไฟฟ้า เช่นเดียวกัน EGAT ต้องดูผลกระทบทางลบ

ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวกระตุ้นด้านการจัดการใน 3 จังหวัดภาคใต้จะเป็นอย่างไร ที่อยากฝากไว้คือ Disruption 4.0 มีอะไรบ้างที่จะผลักออกเป็นนวัตกรรม

ดร.จีระ กล่าวถึง นวัตกรรม

1. นวัตกรรม มี 3 ส่วนคือ

  • มีองค์ความรู้
  • มีความคิดสร้างสรรค์
  • มีความรู้ใหม่

2. ให้ Turn idea into action และ

3. สุดท้ายคือทำอย่างไรถึงจะประสบความสำเร็จ

ปัญหาของ EGAT คือองค์กรอุ้ยอ้าย ไม่มีความคล่องตัว องค์กรยุคต่อไปต้องมีความฉับพลัน และทันเหตุการณ์

กลุ่มที่ 2

จากบทความพบว่าInnovation เกิดขึ้นได้ทั้งในองค์กรและนอกองค์กร

ภายในองค์กร

1. Unexpected Occurrencesเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

เกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่ได้คาดคิด ได้ยกตัวอย่างกรณีศึกษา

- ปี1930 IBM พัฒนาเครื่องมือทำบัญชีที่ทันสมัยเป็นเครื่องแรกสำหรับธนาคาร ปี1933 ไม่มีธนาคารสนใจที่จะซื้อซึ่ง THOMAS WATSON SR. ผู้ก่อตั้งและประธานกรรมการบริหารบริษัทมักเล่าว่า สิ่งที่ช่วยบริษัทไว้ คือ การใช้ประโยชน์จากความสำเร็จที่ไม่คาดคิด คือ ห้องสมุดสาธารณะซื้อเครื่องมือนี้มากกว่า 100 เครื่อง

- 15 ปีต่อมา คอมพิวเตอร์ถูกใช้กับงานด้านวิทยาศาสตร์ แต่วงการธุรกิจเห็นว่า เครื่องนี้สามารถทำบัญชีเงินเดือนได้ UNIVAC เป็นเครื่องมือล้ำที่สุดในขณะนั้น แต่ไม่ถูกสนใจที่จะนำมาใช้ด้านธุรกิจ IBM จึงนำ UNIVAC มาพัฒนาและภายใน 5 ปี IBM เป็นผู้นำอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์อย่างยืนยงถึงปัจจุบัน

- FORD ผลิตรถยนต์รุ่น EDSEL โดยได้วางแผนการผลิตวิจัยตลาด และออกแบบอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับ GENERAL MOTORS ได้ แต่ FORD กลับพบว่า มีบางอย่างกำลังจะเกิดขึ้นในตลาดรถยนต์ที่สวนทางกับสมมุติฐานพื้นฐานที่ GM และบริษัทอื่นๆ ใช้ในการออกแบบนั่นคือ หมดยุคที่จะแบ่งส่วนตลาดกับระดับรายได้อีกต่อไป ควรเป็นรูปแบบ LIFESTYLES นั่นเอง FORD จึงผลิตรถ MUSTANG และทำให้เป็นผู้นำด้านตลาดอุตสาหกรรมอีกครั้ง

- Novacaine ปี 1905 นักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันได้สังเคราะห์ยาชาเฉพาะที่ไม่มีฤทธิ์ยาเสพย์ติด เดิมมีความตั้งใจเพื่อใช้ในการผ่าตัดใหญ่ แต่ศัลยแพทย์ชอบที่จะวางยาสลบมากกว่า ยาชนิดนี้จึงเป็นที่สนใจของหมอฟันแทน

2. Incongruities ความไม่เข้ารูปเข้ารอย

- BILL CONNERผู้ร่วมก่อตั้ง ALCON LABORATORIES ใช้ประโยชน์จากการไม่เข้ารูปเข้ารอยของเทคโนโลยีทางการแพทย์ คือ การผ่าตัดต้อกระจกซึ่งเป็นศัลยกรรมที่ทำกันมากเป็นอันดับ 3 ใน 4 ของโลกตลอดช่วง 300 ปีที่ผ่านมา ซึ่งว่าขั้นตอนที่ล้าสมัยที่สุด คือ การตัดเอ็น ถึงแม้ว่าจะประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเอ็นก็ตาม แต่จะไม่มั่นใจอยู่เสมอๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการไม่เข้ารูปเข้ารอยของเทคโนโลยีอย่างแท้จริง เมื่อ 50 ปีที่แล้ว วงการแพทย์รู้ว่า มีเอ็นไซม์ตัวหนึ่งที่สามารถละลายเอ็นได้โดยไม่ต้องตัด CONNER ได้เติมสารถนอมลงไปในเอ็นไซม์เพื่อจะให้เก็บได้ 2-3 เดือน ซึ่งเป็นที่ตอบรับของศัลยแพทย์และทำให้ ALCON กลายเป็นเจ้าตลาดทั่วโลกเพียงผู้เดียว และ 15 ปีต่อมา บริษัท NESTLE ได้ซื้อบริษัทนี้ในราคามหาศาล

- The Roll-on and Roll-off ships คือ การขนส่งยานพาหนะหรือสินค้า โดยนำมาวางบนล้อเลื่อน เพื่อขนขึ้นเรือ (Roll-on) และลงเรือ (Roll-off) ซึ่งช่วยตอบโจทย์ที่ Shipbuilders และบริษัทขนส่ง ต้องการให้ประหยัดเชื้อเพลิง ลดค่าใช้จ่าย และ ระยะเวลาในการขนส่งได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าหลายประเภท และวิธีการขนถ่ายสินค้าสะดวก มีความคล่องตัวสูง ลักษณะเรือจะมีสะพานทอดด้านท้ายเรือและหัวเรือหรือมีเพียงสำหรับให้สินค้าผ่านเข้าออกโดยสะดวก

3. PROCESS NEEDS ความต้องการกระบวนการ

- ญี่ปุนไม่มีระบบทางหลวงที่ทันสมัยในต่างจังหวัด แต่ได้ใช้กระจกสะท้อนที่อเมริกาใช้มาตั้งแต่ต้นทศวรรษ1930 มาช่วยให้รถแต่ละคันสามารถมองเห็นรถคันอื่นๆจากทิศทางใดบ้าง 5-6 ทิศทาง โดยสามารถช่วยลดอุบัติเหตุลง

-“สื่อมวลชน”มีต้นกำเนิดจากนวัตกรรม 2 อย่างที่พัฒนาขึ้นในปี 1890 เพื่อตอบสนองความต้องการของกระบวนการ ได้แก่

1.นวัตกรรมเครื่องเรียงพิมพ์ของ OTTMAN MERGENTHALER ซึ่งทำให้สามารถผลิต

หนังสือพิมพ์ได้อย่างรวดเร็วทีละมากๆ

2. นวัตกรรมทางสังคม คือการโฆษณายุคใหม่ที่คิดค้นโดย ADOLPH OCLA แห่ง NEW YORK TIMES ,JOSEPH PULIZER แห่ง NEW YORK WORLD และ WILLIAM RANDOLPH HEARST การโฆษณาทำให้เขาสามารถเผยแพร่โดยไม่ต้องเก็บเงินจากผู้อ่าน เพราะผลกำไรที่ได้มาจากตลาด

4. INDUSTRY AND MARKET CHANGES ความเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมและตลาด

- ปี 1960 ชายหนุ่ม 3 คน จบการศึกษาจาก HARVARD ได้ก่อตั้งบริษัท DL&J ด้วยมองเห็นว่า โครงสร้างอุตสาหกรรมการเงินกำลังเปลี่ยนไป เมื่อนักลงทุนที่เป็นสถาบันกำลังก้าวเข้ามาครอบงำตลาด ความจริงตอนนั้นทั้ง 3 คนไม่มีเงินทุนและเครือข่าย แต่ถึงกระนั้นภายในไม่กี่ปี บริษัทพวกเขากลายเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีรายได้ และมีผลประกอบการโดดเด่นของวอลล์สตรีท บริษัทของพวกเขาเป็นบริษัทแรกที่มีการรวบรมและเข้าตลาดหลักทรัพย์

- ในทำนองเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอุตสาหกรรม ก็ได้สร้างโอกาสทางนวัตกรรมให้กับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของสหรัฐอมเริการด้วย ในช่วง 10-15ปีที่ผ่านมา คลีนิกศัลยกรรมและจิตแพทย์ ศูนย์อุบัติเหตุฉุกเฉิน ศูนย์สุขภาพเกิดขึ้นอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ เทียบเคียงได้กับวงการโทรคมนาคมที่เกิดขึ้นตามหลังการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในอุตสาหกรรมทั้งด้านอุปกรณ์ (ทำให้เกิดบริษัท ROLMใ นการผลิตตู้สาขา) และในด้านการส่งสัญญาณ (ทำให้เกิดบริษัท MCI และ SPRINTในการให้บริการโทรศัพท์ทางไกล)

ภายนอกองค์กร

5.DEMOGRAPHIC CHANGESความเปลี่ยนแปลงของประชากรศาสตร์

- ข้อมูลประชากร คือส่วนที่เชื่อถือได้มากที่สุด ความเป็นไปได้ด้านสถิติ เป็นสิ่งที่รู้ล่วงหน้าได้อยู่แล้ว

- ญี่ปุ่นก้าวล้ำหน้าด้านหุ่นยนต์ ก็เพราะให้ความสนใจกับสถิติประชากรทุกคนในประเทศพัฒนา ราวปี 1970 มีสถานการณ์อัตราการเกิดต่ำ และมีการตื่นตัวด้านการศึกษาสูงหนุ่มสาวกว่าครึ่งอยู่ในระดับการศึกษาสูงกว่ามัธยมปลาย ผลที่ตามมา คือจำนวนประชากรที่จะรองรับงานโรงงานลดลงและจะไม่เพียงพอ ในปี 1990 ทุกคนรู้เรื่องนี้ แต่มีญี่ปุ่นประเทศเดียวที่ลงมือทำอะไรบางอย่าง คือ นำหน้าด้านหุ่นยนต์ถึง 10 ปีทีเดียว

- CLUB MEDITERRANEE ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวและสถานพักผ่อนตากอากาศ ในปี 1970 มีผู้สังเกตุการณ์บางคนพบว่า หนุ่มสาวผู้มั่งคั่งและมีการศึกษาดีจำนวนมากในยุโรปและอเมริกา ไม่พึงพอใจที่จะไปพักผ่อนวันหยุดแบบเดียวกับพ่อแม่ หนุ่มสาวเหล่านี้ คือ ลูกค้าสมบูรณ์แบบสำหรับการพักผ่อนแบบวัยรุ่นฉบับบที่หรูหราแนวใหม่

- ดังนั้น โอกาสทางนวัตกรรมที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงในจำนวนประชากร ตามช่วงอายุ การศึกษา อาชีพ รวมถึงภูมิลำเนานั้น นับว่าเป็นสิ่งที่คุ้มค่าและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด ซึ่งควรจะพิจารณาอย่างจริงจัง

6. CHANGES IN PERCEPTION การเปลี่ยนแปลงเจตคติ

- “แก้วนี้มีน้ำตั้งครึ่งแก้ว”กับ “แก้วน้ำนี้มีน้ำแค่ครึ่งแก้ว” หากเปลี่ยนเจตคติผู้บริหาร จาก น้ำตั้งครึ่งแก้ว เป็น น้ำแค่ครึงแก้ว จะเปิดโอกาสให้กับนวัตกรรมมากมาย

- ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สุขภาพชาวอเมริกันพัฒนารวดเร็วอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน วัดจากอัตราการรอดชีวิตของเด็กเกิดใหม่ อัตรารอดของคนชรา อัตราคนเป็นโรคมะเร็ง (ไม่นับมะเร็งปอด) อัตราการรักษาให้หายจากโรคมะเร็ง หรือปัจจัยอื่นๆจู่ๆมีการตื่นกลัวเรื่องสุขภาพมากขึ้น ทุกอย่างก่อให้เกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง หรือทำให้สูญเสียความทรงจำอย่างนี้เรียกว่า แก้วนี้มีน้ำอยู่แค่ครึ่งแก้วจริงๆ

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่ามีการพัฒนาด้านสุขภาพอย่างมาก แต่คนอเมริกันก็ยังสนใจในประเด็นที่ว่าพวกเขาจะอายุยืนได้อย่างไร ทัศนะเช่นนี้ก่อให้เกิดโอกาสทางนวัตกรรมมากมาย เช่น ตลาดสำหรับนิตยสารดูแลสุขภาพ อาหารเพื่อสุขภาพ และการสอนออกกำลังกาย อุปกรณ์จ้อกกิ้ง ธุรกิจที่เติบโตเร็วที่สุดใน ปี 1983 คือ บริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ออกกำลังกายภายในบ้านนั่นเอง

- การเปลี่ยนแปลงเจตคติ ไม่ได้เปลี่ยนตัวข้อเท็จจริง แต่เปลี่ยนความหมายของความจริงและอย่างรวดเร็วในเวลาไม่ถึง 2 ปี คอมพิวเตอร์ที่ถูกรับรู้ว่าเป็นสิ่งหน้ากลัวและใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น เปลี่ยนเป็นทุกคนสามารถซื้อมาใช้ได้

คนจะมองเห็นน้ำตั้งครึ่งแก้ว หรือแค่ครึ่งแก้ว นั้น คือ อารมณ์ ซึ่งไม่ใช่ข้อเท็จจริงและการเปลี่ยนแปลงในอารมณ์ จะวัดออกมาเป็นปริมาณไม่ได้ แต่มันก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็นนามธรรมมันเป็นรูปธรรม ที่สามารถหาความหมายได้ ทดสอบได้ และสามารถนำมาใช้ให้เกิดโอกาสทางนวัตกรรมได้

7. NEW KNOWLEDGE

- นวัตกรรมบนฐานความรู้ใหม่แตกต่างจากนวัตกรรมอื่นๆในด้านเวลาที่ใช้ อัตราความเสียหาย และการคาดการณ์ได้ของมัน ตลอดจนความท้าทายต่อผู้ประกอบการ และอาจแปรปรวน เอาแน่เอานอนไม่ได้เช่น ต้องใช้ระยะเวลาก่อตัวกว่าจะเป็นรูปเป็นร่าง และการกลั่นตัวไปเป็นเทคโนโลยีที่ใช้งานได้ในรูปแบบของผลิตภัณฑ์กระบวนการ หรือการบริการโดยอาจใช้เวลาถึงราว 50 ปี ต้องอาศัยการบูรณาการความรู้

- ทฤษฎีการธนาคารสมัยใหม่ คิดค้นโดย CONTEDE SAINT –SIMON ในยุคนโปเลียน โดยสาวกของเขา คือ JACOB และ ISSAC PEREIRE ได้ก่อตั้งธนาคารสำหรับผู้ประกอบการ แห่งแรกขึ้น ชื่อ CREDIT MOBILIER ซึ่งป็นการเปิดประตูสู่ระบบทุนนิยมทางการเงิน แต่ทั้งสองไม่รู้จักธนาคารพาณิชย์ที่อังกฤษที่มีการพัฒนาในช่วงเดียวกัน CREDIT MOBILIER จึงล้มเหลวอย่างน่าอัปยศ ไม่กี่ปีต่อมา J.P.MORGAN ชาวอเมริกัน และ GEORGE SIEMENS ชาวเยอรมัน ได้รวมทฤษฎีธนาคารสำหรับผู้ประกอบการเข้ากับทฤษฎีของอังกฤษเรื่องธนาคารพาณิชย์ เกิดธนาคารสมัยใหม่ที่ประสบความสำเร็จ คือ J.P.MORGAN & COMPANY ในนิวยอร์กและธนาคาร DEUTSCHE BANK ในเยอรมัน

- การพัฒนาคอมพิวเตอร์ ต้องใช้ความรู้อย่างน้อย 6 ด้าน เช่น เลขคณิตฐาน2 บัตรเจาะรู หลอดเสียง ซึ่งมีความรู้ทุกด้านตั้งแต่ปี 1918 แต่เครื่งคอมพิวเตอร์บนฐานตัวเลขที่ใช้งานได้ ปรากฎโฉมได้จริงในปี 1946

- ช่วงปี 1880-1890 มีบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้านับพันเกิดขึ้น แต่ในปี 1914 เหลือรอดเพียง 25 บริษัทเท่านั้น เช่นเดียวกับในช่วงปี 1920 ในสหรัฐอเมริกา มีบริษัทผลิตรถยนต์ 300-500 แห่ง แต่ในปี 1960 มีเหลือแค่ 4 บริษัทเท่านั้น

- บริษัทอังกฤษที่ชื่อ DE HAVILLAND เป็นผู้ออกแบบและสร้างเครื่องบินบรรทุกผู้โดยสารเป็นลำแรก แต่มิได้วิเคราะห์ตลาด 1. โครงร่างองค์ประกอบที่เหมาะสม ได้แก่ ขนาดและน้ำหนักบรรทุก 2. สายการบินจะมีเงินจ่ายค่าเครื่องบินที่แพงมหาศาลนั้นได้อย่างไร จึงส่งผลให้ DE HAVILLAND ล้มเหลว และทำให้ BOEING และ DOUGLASยึดครองอุตสาหกรรมผลิตเครื่องบินพาณิชย์ไปในที่สุด

สรุป นวัตกรรม ต้องใช้สมองทั้งด้านซ้ายและด้านขวาในการรองรับนวัตกรรม

บทความนี้มีประโยชน์ต่อ EGAT และตัวเอง 2 เรื่องคืออะไร

ตัวกรณีศึกษาที่เสนอมา นำมาใช้ได้ตลอด และนวัตกรรมไม่ใช่สิ่งที่จับต้องไม่ได้ แต่หมายถึงการพัฒนาต่อยอดในสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เช่นกระบวนการทำงาน ความรู้ ส่วนเรื่อง New Knowledge เป็นการพัฒนาที่ยาวนาน ดังนั้นการพัฒนาในระดับนี้จึงคิดว่าน่าจะนำมาพัฒนาเพิ่มเติมได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

บทความนี้ข้อดีคือคนเขียนคือ Peter Drucker ที่อพยพมาจากยุโรปตะวันออกก่อน มาทำงานที่โรงงาน จนได้มาเป็น อาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเป็นอาจารย์ที่มองทั้งกว้าง และลึก โครงสร้างประชากรคือ Customer ของคุณ

ต้องคาดหวังในสิ่งที่คาดไม่ถึงอยู่กับอาจารย์จีระขอให้ใฝ่รู้ และเมื่อได้ไปคิดต่อ พื้นฐานของคนที่ EGAT มี Brain สูง ใส่จากประสบการณ์มาก

อยากให้วิธีการนำเสนอในกลุ่มนี้น่าสนใจมากขึ้น

นวัตกรรมเกิดขึ้นจาก 3 ปัจจัย คือ 1.ของใหม่ 2. มีความคิดสร้างสรรค์ 3. มีความรู้ เมืองไทยต้องมี Database แต่ของ EGAT ติดระบบที่กว่าจะอนุมัติไปทำได้

ให้ Turn idea into action อย่ามองที่ Supply side อย่างเดียว แต่ให้มองที่ Demand Side ด้วย ต้องให้คนออกความเห็น แต่ให้แก้ปัญหาและรับผิดชอบด้วย

องค์กรของ EGAT ต้องบริหารการเปลี่ยนแปลง

พื้นฐานของคนในห้องนี้นำเสนอได้ดี แต่จุดอ่อนคือยังนำไปต่อยอดไม่ได้

Perception อยู่ในการมองข้างนอกอย่างไร บรรยากาศที่น่านที่ไปดูงานดีมาก อยู่ที่สร้าง Networking

เราต้องช่วยสร้าง Innovation ใหม่ ๆ เกิดขึ้น

จุดแข็งคือ Informal Networking รุ่นที่ 13

การรู้จักกัน เป็นเพื่อนกัน เป็น Demand Driven

ทางกฟผ. ได้มีการทำ Big Data Innovative

การร่วมแสดงความคิดเห็น

1. ในกลุ่ม 1 นำเสนอค่อนข้างดี เรื่องการมองตลาดใหม่เห็นธุรกิจรุ่นหลังที่ทำแล้วประสบความสำเร็จ เช่น อาม่าโปรกลุ่มพ่อแม่ใช้แล้วชอบ (มีคนเห็นกลุ่มที่ถูกทิ้ง)สินเชื่ออิออน หรือ Car for cash เป็นการเข้าถึงผู้บริโภคด้วยใจที่ทำให้เกิดตลาด เห็นได้ว่าตลาดใหม่ ๆ เกิดขึ้นได้เรื่อย ๆ

2. เรื่อง Innovation สอดคล้องกับกิจกรรมที่ทำอยู่ คนจะเริ่มซึมซับการทำงานที่มีคุณภาพ ไปสู่จุดที่ดีขึ้น แต่ยังไม่ถึงจุดที่เป็นนวัตกรรม จะรู้ว่าที่มาเป็นอย่างไรบ้าง

3. กฟผ.มีปัญหาเรื่องการ Turn into action ค่อนข้างสูง มีการใช้ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อย ๆ และถ้าค่าผลิตสายส่งไม่ได้คืนกลับสู่การไฟฟ้าจะเสมือผลิตสายส่งฟรี

4. ในหลายเวทีเริ่มมีการเรียกร้องให้ผลิตไฟฟ้า ภัยคุกคามของ กฟผ.จึงไม่ใช่ Customer เท่านั้น แต่มีภัยคุกคามที่ค่อนข้างมาก

5. การคิดถ้า Process ช้าจะไม่ได้รับการทำเป็นนวัตกรรม คนอื่นจะนำไปทำได้

คนรุ่นใหม่เป็น New Generation เป็นเรื่องที่ดี Disruptive ต้องมีการประมวลแล้วมาทำต่อ ที่อาจารย์พูดมาไม่สูญเปล่า แต่ถูกกฎระเบียบทำให้ไม่เร็วเหมือนที่พูดไว้

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

บรรยากาศที่เห็นมาจากการ Creation นวัตกรรมมีมานานแล้ว การอ่านหนังสือแล้วมาวิจารณ์ วิเคราะห์สิ่งที่ชอบมากที่สุดคือการแสดงความคิดเห็น เรื่องบางเรื่องมีไอเดียดีแล้ว แต่ยังไม่สาย แนวคิดของท่านที่พูดดี แต่แนวคิดเรื่องฟอร์มทีม จะมีกุญแจว่าทุกท่านในที่นี้เป็นส่วนนวัตกรรมได้หมด จึงอยากให้เป็นนวัตกรรม

ฟังอย่างเดียวไม่พอต้องได้ยินด้วย ดูอย่างเดียวไม่พอต้องมองเห็น แม้ไม่ใช่นักสร้างนวัตกรรมแต่มีส่วนสำคัญในการสร้างนวัตกรรมได้

กลุ่มที่ 6 The Innovation Cataylsts โดย Roger L Martin

Intuit

เป็นบริษัทซอฟท์แวร์ทางการเงินที่พัฒนาและขายและให้บริการด้านซอฟต์แวร์ทางการเงิน บัญชี และภาษี

วิกฤติ

คะแนนของบริษัทอยู่ในกลุ่มที่คะแนนเพิ่มขึ้น แต่ในปี 2017 ไม่มีสินค้าเพิ่มขึ้นอีก ทำอย่างไรให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ มีการทำกลุ่ม คิดเรื่องสิ่งใหม่ ๆ เกิดขึ้น ผู้บริหารเป็นคนเสริม สิ่งที่เกิดขึ้นจริงคือปรับรูปแบบให้มีการทดลองทำ ได้มีการ Design รูปแบบ มี Innovation ใหม่ ๆ มีการสรรหาคน 4 คนร่วมกัน มาจากหลากหลาย Session คนที่เลือกมาเป็นคนที่มีทักษะในการเข้ากับคน มีจุดมุ่งหมายคืออยากทำงานให้สำเร็จและช่วยเหลือคนอื่น กลุ่มนี้มีทักษะในการสื่อสารและพูดคุยกับลูกค้า และเกิดทักษะว่า ใน 4 คนจะแบ่งเป็น 2 ทีม 1. ทีมคุยกับลูกค้า 2 สัปดาห์แรกจะคุยปัญหา แล้วหาทางออก แล้วทีมนี้จะคุยกับคนที่เขียนโปรแกรม แล้วจะแก้ไขปัญหากับลูกค้า แล้วไปพูดคุยกับลูกค้าทำงานและแก้ไขกันพร้อมกันไป จึงเกิดการบอกต่อให้ลูกค้าต่อไป เมื่อทำได้จะเกิด Product ออกมา

การทำโปรแกรมอบรมผู้บริหารมีการทำ Workshop ว่าหัวหน้างานคนเดียวทำงานไม่สำเร็จ แต่ต้องมีคนกลุ่มนี้ที่ช่วยให้งานสำเร็จได้ เป็นลักษณะโค้ช มีการสร้างความร่วมมือระหว่างฝ่ายพนักงานและบริหาร ปลูกฝังให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมในการกระตุ้นเป็นสิ่งสำคัญ เป็นโค้ชที่ทำให้งานสำเร็จ ตอบสนองรวดเร็วและลูกค้าแก้ไขปัญหาได้

มีความเชื่อเรื่องพลังบุคคล เชื่อว่าคนทำได้มากกว่าสิ่งที่มีอยู่ สโลแกนคือสร้างนวัตกรรมใหม่ ช่วยการตัดสินใจ และช่วยเหลือผู้อื่น ได้รับจัดอันดับจากนิตยสาร Foutune ว่าเป็น 1ใน 100 ที่น่าทำงานด้วย

การปรับใช้กับ กฟผ.

นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีกลุ่มคนที่สามารถสนับสนุนให้กลุ่มได้ กฟผ.มีโค้ชแมคเคนซี เป็นคนที่เก่งที่สุด แต่ที่บริษัทนี้มีทักษะมนุษยสัมพันธ์ มีบุคลิกภาพในการช่วยเหลือให้ผู้อื่นทำงานให้สำเร็จ ช่วยดูลูกค้ามีปัญหาอะไร และมีอะไรช่วยได้บ้าง การสร้างทีมเล็กจะทำให้เกิดนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ได้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

นวัตกรรมที่ประสบความสำเร็จ ต้องมีตัวละครที่ดี หลากหลาย และเป็นตัวละครที่เป็นตัวเสริม ตัวช่วย ในอนาคตข้างหน้านวัตกรรมไม่ได้อยู่ที่ไอคิวหรือที่หนึ่งอย่างเดียว เราจะใช้บรรยากาศการเรียนในครั้งนี้ให้เกิดการต่อยอดในอนาคตอย่างไร


วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ.ในยุค 4.0

โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นไปได้ด้านโลจิสติกส์และ

อาจารย์ประจำหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์


ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

การมีรัฐวิสาหกิจไม่ได้เป็นโจทย์แบบรัฐบาล

ถ้าเกิดวิกฤติเศรษฐกิจอาจจะเกิดเหมือนกับหลายประเทศในการโอนไปให้ภาคเอกชน สิ่งที่พบคือวงจรทางเศรษฐกิจจะมีปัญหาเกิดขึ้นเกือบทุก 20 ปีจะมีปัญหาทางเศรษฐกิจ ดังนั้นสิ่งที่ต้องระวังคืองบประมาณแผ่นดินในการพัฒนาและความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ประเด็นเรื่องความท้าทาย

1. ธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นธุรกิจที่มีอนาคต ดังนั้น กฟผ. มีอนาคตมากกว่า ปตท. อย่าง ปตท.ไม่เรียกสาธารณูปโภค

ยกตัวอย่างต่างประเทศ OECD ถูกล้างสมองมาจากอเมริกา ประเทศที่ให้ตัวเองเปิดเสรียังมีรัฐวิสาหกิจตัวเอง โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจที่เป็นโครงสร้างพื้นฐาน นักการเมืองถ้าจะหยิบรัฐวิสาหกิจมาจะหยิบอันที่เป็นสุดโต่งมา และถ้าประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการ จะเหมือนกับยุโรป ที่ยุโรปทำได้เพราะรัฐมีส่วนในการดูสาธารณูปโภคเกือบหมด เมืองนอกมีสาธารณูปโภคคือ ก๊าซ ประปา ไฟฟ้า มีการต่อท่อแก๊ซไปที่บ้าน

แผนแม่บทพลังงาน หรือการทำแผนเขตเศรษฐกิจพิเศษ มีผลต่อการใช้พลังงานมากขึ้น นั่นหมายความว่าไฟฟ้าจำเป็นต้องใช้ในขณะที่เศรษฐกิจเติบโต แต่ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ ผลประกอบการน้อยลง การใช้พลังงานก็น้อยลงไปด้วย

วงจรเศรษฐกิจในโอกาสการเติบโตการใช้ไฟฟ้าสูง ข้อดีคือ EGAT อยู่ในธุรกิจที่เป็นดาวรุ่ง มีอนาคต รัฐลงทุนอะไรไปก็ไม่มีขาดทุน ยกเว้นกรณีรัฐไม่มีเงิน

กรณีการบินไทย ซื้อเครื่องบินไทย ไม่ใช่โครงสร้างพื้นฐาน ได้มีการค้ำประกันแล้วประกันอีก อะไรที่น่าทำกลับไม่ทำ ไม่น่าทำเรากลับทำ

เรื่องความมั่นคง ไม่มีใครเปิดเสรีอย่างไฟฟ้า ประปา หรืออาจเป็นน้ำมัน

โดยเฉลี่ยเศรษฐกิจจะโต 3-4 ต่อปี

การจะลงทุน AEC ภาคบริการต้องโต 6%และภาคอื่นต้องโตอย่างน้อย 5%

แผนพลังงานต้องมาวิเคราะห์ใหม่ การใช้ไฟฟ้าจะไม่ใช่ลักษณะการลงทุนแบบ Linear แต่เป็นลักษณะก้าวกระโดด

มีเหรียญ 2 ด้านคือ ด้านหนึ่งโตแน่ ๆ อีกด้านหนึ่งโตยิ่งกว่าที่คิดอีกถ้าระดับ กฟผ.จะโตในลักษณะ Premium แต่ถ้ากฟผ.ทำไม่ได้ จะมีเอกชนเข้ามาและอาจเป็นการเปิดให้คนอื่นมาทำ

2. การสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับเอกชน

ในปี 2555 กฟผ.มีกำลังสัดส่วนส่วนแบ่งการตลาด 46%เราหมดไปกับ IPP 39% SPP 8% นำเข้า 7% ส่วนแบ่งตลาดปี 56 ลดไป 3 % เหลือ 43% ปัจจุบันมีสัดส่วนกฟผ.เหลือ 39% (ข้อมูลจากหลักทรัพย์กรุงศรี) หายไปเกือบ 7%

สิ่งสำคัญถ้า กฟผ.ไม่ Relevance หรือ Make impact จะจบ ดังนั้น กฟผ.ต้องคิดให้ Relevance

3. กฟผ.ต้อง Import มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นถ้าเกิดต่างประเทศมีปัญหาจะกระทบเรา เราจะยืมจมูกคนอื่นหายใจตลอดไปไม่ได้

ถ้านำหลักปรัชญาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ มาใช้จะพบว่าเรามีภูมิคุ้มกันเพียงพอหรือไม่ สิ่งที่พบคือ กฟผ. Uncertainty สูงมาก

ในด้าน Supply Chain มีผู้ผลิตต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ไล่มา ต้นน้ำกฟผ.เหลือส่วนแบ่งตลาด 39% ต้องดูว่าสิ่งที่น่ากลัวคืออะไร และถ้าวันนึงเรา สามารถ By Part ไปเรื่อย ๆ จะทำอย่างไร

ในอดีตต้นน้ำ กลางน้ำจะใหญ่ แต่ปัจจุบันใครอยู่ใกล้ปลายน้ำจะชนะ เห็นได้ว่า กฟผ.มีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อย ๆ และค่อย ๆ ตกไปที่ภาคเอกชนโดยปริยาย

สัดส่วนการผลิต ในอดีตผลิตจากพลังงานน้ำ พลังงานความร้อนเป็นหลัก แต่ในอนาคต Renewable Energy ดูผลิตพลังงานถัดไป สิ่งที่เราเคยตอบปฏิเสธอาจเป็นสิ่งที่ต้องใช้ในอนาคต ให้ลองทำนวัตกรรมโซล่าเซลล์ในเขื่อน ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่าเนื้อที่ในไร่ต่าง ๆ

ในแง่การบริหารธุรกิจถือได้ว่า กฟผ.สูญเสียส่วนแบ่งการตลาด ธุรกิจในอนาคตสูญเสียโอกาสการสร้างรายได้ เพราะรายได้จะไปอยู่ที่เอกชน ทำไมอันไหนง่ายได้รายได้ง่ายแต่ไปให้เอกชนทำ แต่อันไหนยากทำไมให้กฟผ.ทำ

ความต้องการการไฟฟ้าโตขึ้น แต่ EGAT ไม่โต ต้องโตแบบ Relevance เราต้องประเมินความเสี่ยง ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถกำหนดทิศทางการตลาดได้

4. ความต้องการพลังงานกับ EGATมีเรื่องพลังงานทดแทน พลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ สิ่งที่น่าสนใจคือโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ที่เชียงใหม่ขยะล้นเมือง สิ่งที่ถามคือ EGAT อยู่ในส่วนที่จะทำพลังงานตรงนี้ด้วยหรือไม่ ไม่เช่นนั้น ไฟฟ้าจะไปผูกกับ Local เป็นส่วนใหญ่ และผลผลิตที่ได้จะน้อย

กฟผ.อาจสร้างเรื่องแบบให้ Win-Win แทนที่จะลงทุนกับโรงไฟฟ้าด้วยกัน อาจไปลงทุนกับเกษตรกรมากขึ้นเป็นต้นทำไมไม่เป็นพันธมิตรกับส่วนต่าง ๆ เมื่อเสีย Market Share อย่างหนึ่งอาจทำให้มี Market Share เพิ่มอีกอันหนึ่ง

พลังงานในอนาคต มี Solar Wind Mass ดังนั้นควรดูด้านนี้ด้วย อย่าให้เสียส่วนแบ่งตลาดไปมากกว่านี้

แผนพลังงานไฟฟ้า กับแผนประเทศไทยยังไม่ได้ Review ต้องดูให้ดี

5. การใช้ประโยชน์กับรูปแบบการผลิตใหม่ในบริษัทลูก EGAT ถ้าแม่ขยับ ลูกก็จะขยับ

ถ้าจะเก่งจริงต้องมีแผน 1 แผน 2 แผน 3

6.ตลาดพลังงานไฟฟ้าในอาเซียนโตมาก

ตลาดที่เป็นเสรี เป็นของฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย การทำการตลาดเป็น Single Buyer Produce

7. การบริหารสินทรัพย์

EGAT มีสัดส่วนกำไรเท่าไหร่ สุดท้ายกำไรเหลือ 5.99 ผลตอบแทนของสินทรัพย์สำคัญ เอาสมบัติเดิมมาหมุนได้

จากเดิม 70,000 ล้านบาทเป็น 160,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 26%ผล ROA

8. ธุรกิจใหม่ ๆ เกี่ยวกับ EV

กฟผ.มี 1 Minibus มี 1 Charging Station

อนาคตรถ EV ต้องมา แต่ก่อนต้องแวะปั๊มน้ำมันต่อมาจะต้องแวะ Charging Station

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ความท้าทายของ EGAT ในยุค 4.0 คืออะไร

1. หารายได้เพิ่ม

2. ต้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

3. ลดความเสี่ยงเทคโนโลยี

4. ขจัดปัญหาอุปสรรคต่อการมีธุรกิจใหม่ อาทิ กฎระเบียบต่าง ๆ

5. มีนวัตกรรมของตนเอง

6. กฟผ.ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงาน กฟผ. และบุคลากรข้างนอก

อย่างไรก็ตามเมื่อมีความท้าทายเกิดขึ้นเช่นนี้ สิ่งที่ต้องให้ความสนใจคือเรื่องคน

EGAT Challenge

  • Productivity through People – ต้องวัดประสิทธิภาพของคน
  • Organization Effectiveness – ความสามารถขององค์กรในด้านต่าง ๆ
  • Organization Cultures and Values – วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร
  • Diversity-Generation – ความแตกต่างระหว่างรุ่น
  • New Learning Dynamic – วิธีการเรียนรู้ของคนในประเทศต้องเรียนรู้ใหม่หมดเลย
  • Employee Engagement – ความผูกพันขององค์กร สิ่งที่พนักงานผูกพันมากในองค์กรคือเรื่องความมั่นคง การดู Engagement ต้องดูในทุก ๆ ปัจจัย

1. Productivity through People – ต้องวัดประสิทธิภาพของคน

เราเพิ่มประสิทธิภาพของคนในองค์กร HR Work System

กฟผ.เดินตาม SEPA

- ประเทศไทยเดินตามการประเมินของระบบตะวันตกเยอะมากจนลืมรากเหง้าความเป็นไทย ในงานวิจัยอเมริกาพบว่า KPI ใช้ไม่ได้ผลเสมอไปเนื่องจากคนจะมุ่งแต่การประเมินตาม KPI และเห็นแก่ตัวมากขึ้น ต่อมาจึงควรปรับเปลี่ยนเป็นเรื่องการเป็นโค้ชและ Mentor มากขึ้น (ความยากของคนไทยคือการเผชิญหน้า เนื่องจากไทยมีความเกรงใจสูงมากการรักษาหน้า หลีกเลี่ยงการเผชิญหน้า Seniority Hierarchy

ยกตัวอย่าง Bank พาณิชย์ที่มีสาขาในต่างประเทศ ได้มีการนำ Expertise ในไทยไปสอนในต่างประเทศ

ถ้า EGAT ขยายไปข้างหน้า EGAT ต้องเตรียมคนที่นั่งตำแหน่งสำคัญได้เลย

2.Organization Effectiveness – ประสิทธิภาพองค์กร

ระบบงานเอื้ออำนวยต่อการทำงานมากน้อยแค่ไหน แม้บางองค์กรทำ SLA ที่ต้องส่งต่องานให้ราบรื่น ต้อง Simplify งานให้ง่ายขึ้น ต้องคำนึงถึงขบวนการต่าง ๆ ถ้า EGAT ขยายงานไปข้างหน้า สามารถเทียบเคียงกับต่างประเทศได้หรือไม่

3.Organization Cultures and Values – วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร

วัฒนธรรมองค์กร และค่านิยมได้มีส่วนที่สอดคล้องกับนโยบาย 4.0 หรือยังถ้าประเมินแล้วใช้ได้อยู่ก็ใช้ต่อไป ถ้าบางอย่างไม่สอดคล้องต้องปรับ

กฟผ.จะเปลี่ยนจาก FIRM-C เป็น SPEED (Sense of Belonging,….)

เราจะเปิดโอกาสให้เด็กมีนวัตกรรมและคิดเชิงนวัตกรรมได้อย่างไร

ที่สำคัญคือการจะ Transit จาก FIRM ไป SPEED อย่างไร สิ่งนี้เป็นการก้าวกระโดด

4.Diversity-Generation – ความแตกต่างระหว่างรุ่น

องค์กรภาคเอกชนยังคงจ้างผู้ที่เกษียณอายุไว้แล้วในการช่วยตอกเสาเข็มโรงงานให้คงอยู่

แต่ละ Generation มีความแตกต่างตามยุคสมัยที่ต่างไป ต้องทำความเข้าใจของแต่ละบุคคลศึกษาความต้องการจากการทำงานแล้วมาปรับปรุง องค์กรต้องเปิดโอกาสแสดงความคิดเห็นมากขึ้น ใช้แนวทางแบบ Mentoring

การเพิ่มประสิทธิภาพของงานด้วยการ Coach และ Feedback

การมี Diversity จะทำอย่างไรให้การขยายได้ประโยชน์

ฝึกตัวเองให้มีทักษะการทำงานในความแตกต่างของคนมากขึ้น ถึงสามารถจูงใจคนได้

ใช้สูตร K F C คือ Know me (เข้าใจฉัน) / Focus me (มีความชัดเจน)/Care about me (ดูแลเอาใจใส่ ซึ่งแต่ละคนไม่เหมือนกัน)

5.New Learning Dynamic – วิธีการเรียนรู้ของคนในประเทศต้องเรียนรู้ใหม่หมดเลย

วิธีการเรียนรู้ 4L’sและ 2R’s

สังคมไทยต้องมีการเรียนรู้แบบมีเป้าหมาย สร้างสรรค์ เพื่อส่วนรวมและนำไปปฏิบัติได้และองค์กรต้องมีการนำไปใช้ในองค์กร

การทำงานต้องมีวินัย และมีจิตสาธารณะ

ลักษณะของคนไทยต้องมี Head Hand Health Heart จึงสร้างสังคมที่มีสุขและสมหวัง1.การเรียนรู้เรียนไทยเป็นแบบมาตรฐานและภาคบังคับ ซึ่งคนไทย 4.0 ต้องเรียนรู้เพื่อตอบโจทย์ Individualize ดังนั้นการทำ IDP องค์กรมีประโยชน์มาก และการเรียนที่เกิดจาก Passion ที่ไม่มีใครบังคับ

2. การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์ คนไทย 4.0 ต้องเรียนนอกห้องเรียน นอกระบบ ต้องเรียนรู้แบบ 70:20:10 เรียนแบบนำ ชี้แนะให้อยู่นอกกรอบ เรียนเพื่อส่วนรวม ให้รางวัลจากการแข่งขัน สร้างการทำงานและแชร์ร่วมกัน

3. เรียนรู้แบบ Result State Learning คนไทย 4.0 ต้องการคนคิด วิเคราะห์และแก้ปัญหาเป็น ในเรื่องของ Learning and Development มีจุดที่ต้องปรับปรุงหรือไม่ ทุกคนต้องได้เรียนจากของจริง

4. เปลี่ยนจาก Passive Learning เป็น Generative / Active Learning

ในกฟผ.ได้เริ่มมีการเรียนรู้แบบปฏิบัติงานจริง 10 (Individual) : 20 (Sharing) :70 (Organizational)และทำได้ผล

5. Employee Engagement – ความผูกพันขององค์กร สิ่งที่พนักงานผูกพันมากในองค์กร

ควรเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร Engagement และกระบวนการเรียนรู้ ทำอย่างไรให้เกิดตรงนี้ เป็นลักษณะ Learn to unlearn คือทำอย่างไรน้ำล้นแล้วให้ใส่ใหม่Learn to Share และ Learn to create

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

อาจารย์พงษ์ชัย ได้พูดถึงประเด็นท้าทายและการวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม ที่มีผลกระทบต่อประเทศ โดยสรุปคือต่อไปนี้ทุกสิ่งในโลกไม่เป็น Linear เส้นตรง หรือช้า แต่ขึ้นลงแบบ Jump ทุกสิ่งในโลกเปลี่ยนแปลงเร็ว

ลูกค้าของ EGAT ความต้องการไฟฟ้าสูงขึ้นแน่นอน ถ้าสนามบินสุวรรณภูมิเฟสใหม่ ถ้ายังไม่มีการคุยเรื่องนี้จากข้างบนลงมาแสดงว่าขาดไปหรือไม่ เพราะคนนอกเห็น ในฐานะผู้นำถ้าเราเลื่อนจากสนามบิน ตรงนี้ไฟฟ้าที่เราทำจะพอหรือไม่ บางเรื่องข้อมูลมีอยู่ บางเรื่องเป็นข้อมูลที่ใหม่

ถ้า กฟผ.จะ Go Global เพิ่มรายได้ต้องมองในต่างประเทศ

คู่แข่งเป็นเลือดเป็นเนื้อของ EGAT ด้วย เอกชนมีอุปนิสัยที่สร้างนวัตกรรมมากกว่ารัฐวิสาหกิจเพราะต้องทำกำไรสูงสุด แต่ EGAT พันธกิจไม่ได้อยู่ที่การสร้างรายได้สูงสุด

การบริการใหม่บนฐานเดิม การมองเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหิน ก็คิดถึงนวัตกรรม กฟผ. เช่นผงถ่านหินผสมคอนกรีตทำเขื่อนขุนด่านปรากาลชล ซึ่งเป็นนวัตกรรมไปขายต่างประเทศได้ ได้ทั้งเศรษฐกิจและสังคม สร้างในเชิงเศรษฐกิจได้

ธุรกิจ EV - EGAT ทำบ้างแล้ว แต่รุกได้เร็วหรือไม่

Social Enterprise – การเรียนรู้ยุคใหม่ต้องเรียนรู้นอกห้องเรียน

การเมือง เปลี่ยนแปลงบ่อย แต่พอมาในยุค Thailand 4.0 EGAT ทำแบบนโยบายพลังงาน 4.0 บทบาทมี 2 อย่างคือ Drive Thailand 4.0 ให้ประเทศไทย 4.0 เดินต่อไปได้

การนำนวัตกรรมพลังงานในอนาคตมาใช้ และพึ่งพาตนเองให้ได้มากที่สุด

อาจารย์ศิริลักษณ์ ได้กล่าวไว้ซึ่งสิ่งหนึ่งน่าสนใจมากคือ ทักษะผู้นำต้องเป็นโค้ชกับ Mentoring ได้มากขึ้น มีส่วนเสริมคือในงานของ EGAT ซึ่งมีบ้างอยู่แล้ว แต่ในเรื่องงาน Creation อาจต้องพึ่งพาจากภายนอกใส่เข้ามา

ผศ.ดร.พงษ์ชัยอธิคมรัตนกุล

เวลาเทียมเกวียนจะมีวัวรู้ 1 ตัว และมีวัวแรง 1 ตัวดังนั้นจึงไม่สามารถเปิดช่องว่างได้ Generation Gap เกิดช่องว่างคือวัวรู้ใช้วัวแรงไม่เป็น และจะไม่มี Gap ใด ๆ เลยถ้ารู้จักใช้ร่วมกันทั้งหมด

เราต้องปล่อยให้เขาแสดงพลังให้เขาร่วมเทียมเกวียนไปด้วย

ที่มีปัญหาเพราะมีความเป็นตัวกู ของกูสูง

โลกสามารถพัฒนาตัวเองไปได้ร่วมกับการดูแลสิ่งแวดล้อม

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

เสริมว่า ยังมีวัวรู้ไม่มาก แต่ยังมีแรงอยู่ที่ต้องทำงานร่วมกัน

ที่อาจารย์ศิริลักษณ์ กล่าวเรื่องวัฒนธรรมคนไทยมีเรื่องความเกรงใจและการรักษาหน้า แต่บางครั้งต้องมีการพูดกันตรง ๆ แบบตรงประเด็น เช่น สุวรรณภูมิจะต้องถกประเด็นกัน

เรื่องเศรษฐกิจ สังคม เป็นเรื่องเดียวกัน ดังนั้น ไฟฟ้าไม่ดับจะดีมากเพราะ EGAT จรรโลง 3 เสา คือ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง

ให้ไปค้นเศรษฐกิจเรื่องสารจากพระราชา

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

Session ในวันนี้ทำมาแล้ว 13 ครั้ง แล้วครั้งนี้มีความมุ่งมั่นสูง

การร่วมแสดงความคิดเห็น

กลุ่ม 2 เรื่องไฟฟ้าดับและกระบี่ อยู่ใน DNA ของการไฟฟ้าว่าไฟดับไม่ได้ ต้องเปิดปุ๊บติดปั๊บ ไฟต้องมี แต่คำพูดนี้ตอบโจทย์คือถ้าไฟไม่พอไฟก็ต้องดับไปคนรุ่นก่อนได้มีการศึกษามาในระยะเวลา 7 ปี ขอบพระคุณที่เอาใจช่วย และซาบซึ้งกับคำแนะนำ

กลุ่ม 3 สิ่งที่อาจารย์พงษ์ชัย และอาจารย์ศิริลักษณ์พูดมา พบปัญหามา 3-4 ปี สิ่งที่ทำอยู่ได้เป็นเพียง Minor Innovation และ Small i สิ่งที่ไม่ได้ทำคือ Major Innovation หรือ Big I ที่ต้องทำต่อไป

กลุ่ม 4 เรื่องไฟดับ ที่ EGAT บอกไฟดับไม่ได้ อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางความคิดบ้างที่ว่าแสดงให้เห็นผลกระทบไฟดับแบบเนียน ๆ ที่ผ่านมาเคยมีไฟดับที่น่าน เมื่อดับแล้วท่านนายกฯ พูดเรื่องนโยบายคือไฟดับได้แต่ต้องเนียน และผู้บริหารต้อง Save

กลุ่ม 5 ดูเรื่องระบบขนส่ง ปัญหาที่พบมากคือระเบียบต่าง ๆ ที่ต้องทำร่วมกับในพื้นที่ชาวบ้าน ในอดีตระบบโรงไฟฟ้าถูกต่อต้านจากประชาชนมาก แต่ระบบส่งไม่ค่อยพบเท่าไหร่ แต่ปัจจุบันยิ่งมีการต่อต้านระบบส่งมากขึ้น ดังนั้นปัญหาที่กังวลคือเรื่องระเบียบที่ทำให้ล่าช้า

กลุ่ม 1 ภาคใต้ไฟฟ้าดับจริง ๆ สิ่งที่ไปฟังคือคนรุ่นใหม่เข้าใจว่าต้องมีโรงไฟฟ้าที่กระบี่ แต่ที่เป็นปัญหาจริงคือ NGOs และทางด้านการเมืองที่ไม่ฟังมากกว่า เมื่อเกิดเหตุวินาศกรรมที่ปัตตานี เกิดผลให้ไฟฟ้าดับหลายชั่วโมง มีอาสาสมัครจากทั่วประเทศไปช่วย ถ้าอยู่กันแบบพี่น้องอย่างนี้จะสามารถเดินต่อไปได้

กลุ่ม 6 ข้อมูลนี้ต้องถูกแจ้งไปทุกระดับให้เห็นภายใน 1-3 ปีให้เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ถ้าไม่เช่นนั้น กฟผ.จะกลายเป็นความทรงจำ ขอให้ทุกคนเป็นกำลังใจ นำเสนอไอเดียเพื่อความอยู่รอดในรุ่นอนาคต

ผศ.ดร.พงษ์ชัยอธิคมรัตนกุล

สิ่งที่พบคือทำแผนเก่ง แต่เราขาด Implementation องค์กรที่เป็นที่รักให้อนาคตให้ทุกสิ่งเรามา ปัญหาคือ Generation ที่จะส่งไม้ต่อเป็นอย่างไร

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

เราต้องมีความท้าทายและไปหาโอกาสและไปแก้ปัญหา ถ้าไม่มี Pain อย่าไปมี Gain เพราะจะไม่เข้าใจปัญหาว่าแก้ไขได้อย่างไร ให้เลือกประเด็นท้าทายที่อาจารย์พงษ์ชัยเลือกมา 2 เรื่อง แล้วนำที่อาจารย์ศิริลักษณ์เพิ่มในเรื่อง Solution สร้างโอกาสในการดำเนินนโยบายได้ ให้แต่ละคนรวมตัวกัน แล้วพัฒนา Young Leader ในองค์กรของกฟผ. ถ้าคนได้รับความคิดบ่อย ๆ จะทำให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมได้

อาจารย์ทำนองดาศรี

ส่วนแบ่งตลาดจาก 46% เหลือ 39% ภายใน 5 ปี แต่ความท้าทายคือจะทำอย่างไร

GE : Jack Welch ทำให้องค์กร GE มีรายได้เพิ่มขึ้นสูงมากภายในเวลา 20 ปี สิ่งที่ทำคือใช้วิธี Informal ในการบริหารจัดการมีพนักงานทั่วโลก 400,000 คน พอ Jack Welch เข้ามาให้คนออกจำนวนมาก แต่มี Innovation สูง และให้ผลตอบแทนคนในองค์กรสูงมาก

ความท้าทายของกฟผ.คือทำอย่างไรให้ปรับส่วนแบ่งตลาดขึ้นเป็น 46%



วิชา ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. (การแสวงหาโอกาส-บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ

ฟังเทปสัมภาษณ์อดีตผู้ว่าการ กฟผ.

คุณไกรสีห์ กรรณสูต

คุณสมบัติ ศานติจารี

คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

การแสวงหาโอกาส

คุณไกรสีห์ กรรณสูต

1. ดูปัจจัยภายนอกและภายในว่าอะไรเป็นโอกาสบ้าง

ปัจจัยภายนอก กฟผ.มีโอกาสมาก บางอย่างเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคได้

1. ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการแข่งขัน กฟผ.อาจทำธุรกิจก๊าซได้นอกจากไฟฟ้า สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ก๊าซลดลงเรื่อย ๆ ต้องมีการนำเข้า LNG จากต่างประเทศ เพื่อส่งก๊าซไปที่โรงไฟฟ้าของ กฟผ.ซึ่งมีปริมาณมาก

การส่งก๊าซต้องใช้เรือขนาดใหญ่ ดังนั้นเอกชนน่าจะทำยากกว่า

2. บริษัท EGAT Inter คิดว่ากฟผ.จะเข้าสู่ต่างประเทศด้วย การดำเนินการเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ เล็งเห็นว่าบริษัท EGAT Inter ที่ผ่านมาไม่มีความคล่องตัว จึงควรทำให้คล่องตัวมากขึ้น

คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

การใช้ไฟดีดตัวสูงขึ้น ปี 2557 ได้เสนอว่าจะนะกับวังน้อยต้องดำเนินการในปี 2557 เป็นโอกาสองค์กรที่ทำโรงไฟฟ้าได้ BOE ได้จะได้

การผลักดันโรงไฟฟ้าขนอม ความมั่นคงของภาคใต้หยุดมาเป็นเวลา 10 ปี แผน EDP ถูกยกเลิก ในขณะที่การใช้ไฟฟ้าโตเร็วมาก ทำให้การผลิตไฟฟ้าภาคใต้ไม่พอกับตัวเอง การบริหารมีความเสี่ยงสูง จำเป็นต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากภาคกลางและมาเลเซีย

ปัจจัยพื้นฐานเป็นเรื่องความไม่มั่นคง

รัฐมนตรีมาหารือประเด็น โรงไฟฟ้าขนอมมี Retire ปี 2558 จำเป็นต้องมีโรงไฟฟ้าทดแทน และสามารถผลักดันให้รัฐบาลไม่สามารถดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่

การสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนที่แม่เมาะประเทศไทยมีแนวทางการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เราสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ 10% และสามารถประหยัดการใช้ทรัพยากร ลดคาร์บอนไดออกไซด์ จะได้ประโยชน์กับการใช้ทรัพยากรในประเทศลดลงได้โรงไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพสูง

คุณสมบัติ ศานติจารี

จุดแข็งในการลงทุนเรื่องทีมการบริหารจัดการที่ดีที่ต้องออกนอกประเทศบ้าง อย่างไรก็ตาม กฟผ.มีบริษัทลูกที่แสวงการลงทุนมาทดแทนได้มากกว่าทำเอง กฟผ.ต้องเก็บทรัพยากรที่มีอยู่ไว้เข้มแข็ง และเพื่อลงทุนให้กฟผ.ในโอกาสต่อไป

ช่วง Hamberger Crisis มีความเข้มแข็งทางการเงิน ได้มีการแสวงหาบริษัทลูกหาทรัพย์สินที่ดีใน กฟผ. ส่งผลต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ไปลงก่อนในต่างประเทศ ลงทุนก่อน ก็เข้มแข็งกว่า มีการลงทุนประเทศเพื่อนบ้านก็ได้มาบ้าง มีการลงทุนกำไรที่เพิ่มจากเอกชนถือว่าเป็นโอกาสที่ดี ต้องแสวงหาโอกาสไม่ผ่านตนเองก็ผ่านบริษัทลูก

บริหารวิกฤติและความเสี่ยง

คุณไกรสีห์ กรรณสูต

ต้องดูทั้งปัจจัยภายในและภายนอกเช่นกัน ทำงานกิจการกำกับพลังงานมองเห็นปัจจัยภายนอกมาก รัฐบาลส่งเสริมเรื่องการแข่งขันถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงสมัยนี้คนมีความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก เป็นความเสี่ยงเรื่องการเจริญเติบโตของกฟผ. การสร้างโรงไฟฟ้าก็จะพบการคัดค้าน สังคม ชุมชนในพื้นที่ NGOs เป็นปัจจัยที่ขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าได้ลำบาก การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้

แนวโน้มของโลก มีการทำไรงไฟฟ้าเล็ก ๆ มาก ผลิตเองใช้เอง เป็นปัจจัยในการเจริญเติบโต ปัจจุบันมีคนผลิตเองใช้เองมาก และมีธุรกิจใหม่คือทำโรงไฟฟ้าเล็ก ๆ ขายโรงงาน ก็เป็นธุรกิจที่แย่งตลาดของ กฟผ.ไป

ถ้ากฟผ.ไม่สามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้ในอนาคตอาจเป็นปัญหาในอนาคตได้ ปัจจุบันทั้งการสร้างโรงไฟฟ้า และสายส่งไฟฟ้าก็มีปัญหาเรื่องคนคัดค้านมาก และมีแนวโน้มมากขึ้น ถ้าจัดการดี ความเสี่ยงจะน้อยลงถือเป็นการจัดการของ กฟผ.กฟผ.เป็นธุรกิจปัจจุบันที่ไม่มีความเสี่ยง ลงทุนอะไรจะได้ด้วย

กฟผ.มีภารกิจ 2 ส่วน ผลิตไฟฟ้า และระบบส่ง สายส่ง เรื่องสายส่งเป็นระบบธุรกิจผูกขาดเป็นผู้สร้างผู้เดียว มีลักษณะ Cross Plus

รายได้ขึ้นอยู่กับ Performance ของโรงไฟฟ้าด้วย ในอนาคตเพิ่ม 100 ภาคเอกชนและภาครัฐต้องไปแข่งกันว่าใครจะได้

คุณไกรสีห์ กรรณสูต

ตอนเป็นผู้ว่าการฯ เกิดวิกฤตการณ์สำคัญที่ทำให้เกิดการตัดสินใจคือการแปรรูป กฟผ. และมีนโยบายคัดค้าน ดังนั้นการแก้ปัญหาวิกฤตนี้จะแก้อย่างไร เราต้องมีข้อมูลให้ครบถ้วน ถ้าข้อมูลผิด ไม่ถูกต้อง เพียงพอ การตัดสินใจอาจผิดพลาดได้สิ่งที่พนักงานประท้วง เพราะอะไร ให้มีข้อมูลทุกด้าน และข้อมูลในเชิงลับด้วยและในอนาคตจะมีการตัดสินใจอย่างไร เรื่อง Teamwork เป็นสิ่งสำคัญในการตัดสินใจ ต้องฟังความเห็นจากคนทุกด้าน ทุกระดับด้วย เราจะเปิดประตูให้รับเข้ามาแล้วฟังได้ เอาความเห็นจากผู้บริหารและระดับล่างมาประมวลว่าเราจะเดินหน้าอย่างไร

วิเคราะห์ทางเลือกว่าจะเดินอย่างไร ให้พูดถึงข้อดี ข้อเสียในแต่ละทางเลือก ส่งให้พนักงานทุกคนพิจารณาว่าอยากให้พิจารณาทางเลือกไหน ให้ความรู้และชี้แจงพนักงาน เอาความเห็นมาประมวลว่าเราควรเลือกทางเลือกไหน เพราะการตัดสินใจบางอย่างเป็นเรื่องสำคัญ ตัดสินใจพลาดองค์กรจะมีปัญหา

คุณสุทัศน์ปัทมสิริวัฒน์

ผู้บริหารทุกคนต้องเตรียมตัว ได้นำทฤษฎี 2R’s มาใช้ในการเผชิญวิกฤติ ผู้บริหารจะใช้ 2 ตัวนี้เสมอ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ว่าอยู่ด้านไหน ต้องยอมรับความจริงRelevance ประเด็นที่ต้องทำคืออะไร สถานการณ์อยู่จุดไหน เป็นอย่างไร มีประเด็นสำคัญอย่างไรบ้าง การบริหารความเสี่ยงไม่สามารถทำให้เกิดได้

การช่วยเหลือสัมพันธ์กับมาเลเซียได้ดำเนินการผลักดันของโรงไฟฟ้าจะนะ และโรงไฟฟ้าขนอม มีเวลาสั้น แต่ต้องรีบสร้าง ช่วยในการตัดสินใจให้ได้ แต่ในปี 2556 เกิดปัญหาก่อน สิ่งที่ต้องเผชิญคือรู้ความเสี่ยงอยู่ ขณะนั้น โรงไฟฟ้าจะนะอยู่ในการก่อสร้างโรงไฟฟ้ายังไม่พอมีการดูแลเรื่องการสื่อสาร และข้อมูลพื้นฐาน มุ่งสร้างศูนย์จนสามาถนำระบบกลับมาในคืนนั้น เวลา 4-5 ชั่วโมงถือว่าสั้นมาก

คุณสมบัติ ศานติจารี

ในช่วงนั้นเป็นช่วงเขื่อนปากมูล ได้ร่วมงานกิจกรรมภาคประชาสังคมเป็นงานศพของคุณวนิดา หรือคุณมดได้ช่วยงานศพ ได้เจอภาคประชาสังคมเยอะมาก อย่าง นายกฯอนันต์ ส.สิวลักษณ์คุณสุริยใส ทำให้การเรียกร้องเรื่องเขื่อนปากมูลเป็นความเข้าใจดีความเสี่ยงเรื่องการเรียกร้อยหายไป แต่ในอนาคตก็จะมีกลับมาอีก มาเรื่อย ๆ ในช่วงนั้นมีโอกาสได้เจอนายกอานันท์อย่างดี กฟผ.ต้องมั่นคงในความดี ฝึกพนักงานให้สื่อสารกับสังคมเป็นส่วนใหญ่ และพร้อมที่จะไปกับเราด้วยหรือไม่

การตัดสินใจ

คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ไม่มีใครคาดหวังที่จะทำหน้าที่มาก่อน ทุกคนมีโอกาสขึ้นเป็นผู้บริหารของกฟผ.ทั้งสิ้น การทำงานในองค์กรเปิดโอกาสให้ทุกคนอยู่แล้ว เราต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับโอกาสที่จะมาถึง ต้องรู้ในมุมมองด้าน Outside In มากขึ้นพาไปพบปะแลกเปลี่ยนให้มีมุมมองมากขึ้น ต้องยอมรับในการทำสายงานของเรา ถ้าเป็นผู้บริหารต้องรู้ในมุมมองคนอื่นที่จะผลักดัน วิเคราะห์ให้สำเร็จได้ ต้องพัฒนาทักษะคน การบริหารทีมภายในให้ทำงานเป็นทีมเวอร์กได้อย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง การหาโอกาสให้องค์กร ต้องใช้ทักษะคน ความสำเร็จอยู่ที่ภายนอกมาก เราต้องบริหารความสำคัญได้ ต้องพูดคุยเข้าใจรับฟังได้ ในเรื่องคนเรื่องการศึกษาใหญ่มาก ผ่านการบุกบั่นทำงานของผู้บริหาร เราต้องตอบแทนองค์กร ต้องเตรียมความพร้อม เราต้องให้ประชาชนไว้วางใจ

คุณสมบัติ ศานติจารี

ในฐานะผู้นำควรมีการสื่อสาร 2 ทางเป็นประจำเดือนละครั้ง หรือปีละครั้งให้พนักงานรู้ทิศทางที่เราจะไป ถ้าพนักงานรู้จะทำให้ทำงานง่ายขึ้น การสื่อสิ่งที่ดีพนักงานจะช่วยหมด การเปลี่ยนอะไรในองค์กรที่กระทบส่วนใหญ่เป็นการตัดสินใจที่ยั่งยืนดังนั้นการสื่อสารให้พนักงานต้องใจกว้าง

การบริหารคน

คุณไกรสีห์ กรรณสูต

ผู้บริหารหนีกับเรื่องคนไม่พ้น การเป็นผู้บริหารระดับกลางและสูงความเกี่ยวข้องจะมากขึ้นเรื่อย ๆ เรื่องคนเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องจัดการให้ดี มีเรื่องทีมเวอร์ก ผู้บริหารต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ผู้นำคือทำอย่างไรให้คนทำงานให้เรา อุทิศการทำงานให้กับเรา เราต้องมี พรหมวิหาร 4 คือ มีความรัก ความเมตตาต่อเขา มีความใส่ใจดูแล รักใคร่ เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ดูว่าผู้บริหารเป็นอย่างไร ถ้าดูเรื่องคนที่ดี ต้องสร้างความศรัทธาให้กับพนักงาน ทำอย่างไรให้คนเขาศรัทธาเรา เขาจะอยากทุ่มเททำงานกับเรา ให้คนมองผลประโยชน์ส่วนรวม อย่ามองเรื่องส่วนตัวเป็นหลัก ทำยังไงให้มองส่วนรวม

คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

เราต้องรู้ว่าการเป็นผู้บริหารระดับสูงจะทำเพื่อตัวเองได้น้อยมาก เราต้องใช้พระเดชเป็น ต้องมีการพูดคุย เยี่ยมเยียนพนักงานแต่ละจังหวัด ให้เล่าสถานการณ์ปัจจุบันของ กฟผ. เล่าปัญหา ประเด็นให้แต่ละหน่วยงานทราบประเด็นที่จะทำต้องเห็นว่าทุกคนมีค่าต้องยอมรับซึ่งกันและกัน เป็นเพื่อนร่วมงานกัน แม้บทบาทหน้าที่ต่างกัน ต้องเอาใจใส่ บริหารสร้างความยุติธรรมให้เกิด ต้องเตรียมผู้บริหารรุ่นต่อไป มองไป 10 ปีข้างหน้า เตรียมพร้อมรองรับคนเข้ามา การทำงานกับภายนอกต้องอธิบายเป็นพูดคุย รับฟัง

คุณสมบัติ ศานติจารี

การดูแลพนักงานต้องมีความเป็นธรรม และเราต้องเป็นตัวอย่าง ปฏิบัติตามระเบียบทุกอย่าง มีความซื่อสัตย์สุจริต มีระบบการดูแล ร้องเรียนและพิสูจน์ การดูแลด้านความเป็นธรรมเป็นเรื่องสำคัญ จะมีกำลังใจในการพัฒนาพนักงานการขึ้นเงินเดือนต้องเป็นธรรม มีกรรมการดู เป็นต้นน้อง ๆ ที่กำลังโตตอนเล็ก ๆ เป็นหัวหน้าแผนกดูแผนกนี้ พอโตขึ้นเป็นหัวหน้ากอง ก็ต้องดูหลายแผนกด้วยต้องดูแลให้เท่ากัน เดี๋ยวจะเกิดการคิดมาก บางแผนกได้รับการดูแลที่ดีขึ้น ต้องดูแลเรื่องความเท่าเทียม มอบหมายงานให้ทำเขาจะได้ภูมิใจ

จากพี่สู่น้อง

คุณไกรสีห์ กรรณสูต

จุดแข็งคือ มี Workplace มีโรงไฟฟ้า มีระบบส่ง มีที่ฝึกอบรม คนมีความรู้ความสามารถทางด้านเทคโนโลยี

จุดแข็งสามารถขยายผลได้ เป็นการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าหงสาทั้งในประเทศและต่างประเทศ

มี Demand เชื้อเพลิง ถ้ารัฐบาลเปิดเสรีสามารถทำธุรกิจอื่นได้

คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

ลักษณะการทำงานเปลี่ยนแปลงไป การเป็นผู้บริหาร Stakeholder เกี่ยวกับความสำเร็จต้องกว้างขวางขึ้น มองเห็นวิสัยทัศน์การพัฒนาองค์กร ให้แสวงหาพัสดุ

ปัจจัยสำเร็จอยู่ที่ปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอกด้วย มีการดูแลชุมชน การทำงานสำเร็จต้องอาศัยความเข้าใจจากภายนอกจึงทำให้สำเร็จด้วย

1. ต้องรู้ว่าจะเปลี่ยนอะไร ต้องรู้มุมกว้างขวางขึ้น

2. ทักษะการทำงานกับคนต้องเพิ่มขึ้น

3. มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องมากมาย เพื่อนสามารถอธิบายความและขับเคลื่อนได้

4. ต้องคิดถึงมุมมองอื่น ๆ ให้กว้างขึ้น มองจาก Outside in เข้ามา

คุณสมบัติ ศานติจารี

ต้องขยัน ขันแข็ง ใฝ่รู้ ดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ได้รับความเป็นธรรมแล้วแอบดู และโค้ชชิ่งเขาด้วย และเมื่อเขาได้รับการยอมรับก็จะเติบโตไปด้วย ต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต

ต้องปลูกฝังความเป็นเจ้าของในตัวทุกคน ทุกคนจะรู้สึกถึงการไม่ทำเสียหาย ไม่สุลุ่ยสุร่าย ไม่สิ้นเปลือง ต้องทุ่มเทเพื่อ กฟผ.เหมือนเถ้าแก่ดูแลธุรกิจตัวเอง

ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

Session นี้ต้องมีผู้นำระดับผู้ว่าฯ อย่างน้อยมา 3ท่าน สรุปทั้ง 3ท่านมีความสำคัญอย่างไรต่อคนในห้องนี้

1. คุณไกรสีห์ กรรณสูต เป็นผู้ริเริ่มโครงการฯนี้ คิดว่า ดร.จีระเป็นคนมีเครดิตทางวิชาการและทำเรื่องคน ถามว่าเอาใครมาสอนสิ่งที่มองคือ มีความรู้และประสบการณ์และส่งคนเรียนไปเรียนต่างประเทศในรุ่น 1-4ส่วนรุ่น 5-7 ได้ไปที่เซิ่นเจิ้น และฮ่องกง ส่วนรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ไปน่าน

2. คุณสุทัศน์ปัทมสิริวัฒน์ เคยเรียนรุ่นที่ 2 และได้ขึ้นเป็นผู้ว่าฯภายในระยะเวลา 2 ปี ได้พูดถึงทฤษฎี 2 R’s อยู่เสมือ

3. คุณสมบัติ ศานติจารี เป็นคนให้ทำโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง

สิ่งที่อยากให้รู้คือ การฟังในวันนี้ได้ความรู้จากท่านผู้ว่าฯ 3 ท่าน

อยากให้ทำงานข้ามสายงานบ้าง สร้างสังคมการเรียนรู้ให้กระจายไปทุกจุด อย่างไรก็ตามหลักสูตรไม่สำคัญเท่า Impact การเรียนแบบนี้อยากให้ทดลองทำดูบ้าง

Workshop

จากการฟังอดีตผู้ว่าการ กฟผ. ทั้ง 3 ท่าน ในฐานะที่ท่านเป็นผู้นำในยุคปัจจุบันของ กฟผ. ...

กลุ่มที่ 6 ข้อ 1.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องการมองโอกาส” คืออะไร

ลองวิเคราะห์.. โอกาสที่สำคัญที่สุดของ กฟผ. ตอนนี้ คืออะไรและเสนอแนะเทคนิค/วิธีการมองโอกาสใหม่ ๆ ของ กฟผ. 3 เรื่อง

กลุ่มที่ 2 ข้อ 2.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องการมองโอกาส” คืออะไร

ลองวิเคระห์.. “โอกาสของ กฟผ. ในยุค 4.0” มีอะไรบ้าง (พยายามคิดหาโอกาสให้ได้มากที่สุด)

กลุ่มที่ 3 ข้อ 3.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องการบริหารความเสี่ยง” คืออะไร ลองวิเคราะห์.. ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของ กฟผ. ตอนนี้ คืออะไรและยกตัวอย่างเทคนิค/วิธีการบริหารความเสี่ยงของ กฟผ. 3 เรื่อง

กลุ่มที่ 4 ข้อ 4.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง” คืออะไร ลองวิเคราะห์.. “ความเสี่ยงของ กฟผ. ในยุค 4.0” มีอะไรบ้าง

(พยายามคิดหาความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด)

กลุ่มที่ 5 ข้อ 5.ลองวิเคราะห์ ภาวะผู้นำของทั้ง 3 ท่าน และจะเป็นบทเรียนที่ดีต่อ EGAT อย่างไร?

กลุ่มที่ 1 ข้อ 6.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องผู้นำกับบริหารคน” คืออะไรลองวิเคราะห์.. ปัญหาที่สำคัญที่สุดเรื่องผู้นำกับการบริหารคนของ กฟผ. 5 เรื่อง และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหา

กลุ่มที่ 6 ข้อ 1.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องการมองโอกาส” คืออะไร ลองวิเคราะห์.. โอกาสที่สำคัญที่สุดของ กฟผ. ตอนนี้ คืออะไรและเสนอแนะเทคนิค/วิธีการมองโอกาสใหม่ ๆ ของ กฟผ. 3 เรื่อง

โอกาสเป็นการแสวงหาช่องทางที่อยู่รอดและเป็นไปได้ ต้องเตรียมความพร้อมตัวเอง ต้องมองจากปัจจัยภายนอก สถานการณ์ภายนอกเข้ามา มองโอกาสจุดนี้ ที่ผ่านมา จากที่ไปหา Asset ที่ดี ส่วนโอกาสใหม่ ๆ EGAT เริ่มเข้าไปสู่ก๊าซธรรมชาติ และส่งให้ฟาร์ม เป็นนโยบายและช่องทางที่ EGAT มองเห็นถ้าประมวลจากเมื่อเช้า สัดส่วนลดลงจาก 46 % เหลือ 39 % อาจต้องมองไปที่บริษัทลูก หมายถึงถ้า EGAT มีอะไรถ่วงต้องหาทางออกในการแสวงหาโอกาสทางอื่นเช่นบริษัทลูกเป็นช่องทาง

กลุ่มที่ 2 ข้อ 2.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องการมองโอกาส” คืออะไร

ลองวิเคราะห์.. “โอกาสของ กฟผ. ในยุค 4.0” มีอะไรบ้าง (พยายามคิดหาโอกาสให้ได้มากที่สุด)

ความเสี่ยงเรื่องการสร้างโรงไฟฟ้ายากขึ้น มองธุรกิจใหม่ และธุรกิจที่เจริญเติบโตมอง 9 กลุ่ม

1. มีธุรกิจนำเข้า และ

2. การบำรุงรักษา ต้องรับงานมากขึ้น และรับงานในต่างประเทศ

3. รถไฟฟ้าหรือสถานีชาร์ต แต่ก่อน กฟผ.มองว่าไม่เข้าไปยุ่ง แต่ความคิดได้เปลี่ยนไป

ทางแก้คือต้องแก้ พ.ร.บ.กฟผ. EV เน้นการนำรถยนต์สภาพเดิมแต่อยากใช้รถ EV คิดชุดคิดดัดแปลงทุนไม่เกิน 200,000 บาท (ไม่รวมแบตเตอรี่) สถานีชาร์ต จุดที่เดินทางไปต่างจังหวัด และรถบัส มีร้านกาแฟระหว่างชาติ

4. การเพิ่มมูลค่าจากโรงไฟฟ้าถ่านหินเช่นใช้ท่อนลอยแทนปูนซีเมนต์ 100%

5. Academy อาจไม่ใช่ศูนย์ฝึกอบรมที่ กฟผ.เชี่ยวชาญอาจเปิดบริการให้บุคคลภายนอกมาเช่าสถานที่ฝึกอบรมได้ให้กับธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับลูกค้า

6. EGAT I มีการลงทุนเรื่องเหมือง และให้ลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น

7. Distribution Generator ขนาดเล็กแจกเพื่อชุมชน จะมี Lab วิจัยเบื้องต้นพัฒนารูปแบบ

8. Fiber Optic ไปต่างประเทศ เริ่มมีรายได้ที่เป็นรูปธรรมปีละ 200 ล้านบาท และพยายามหาพันธมิตรกับต่างประเทศด้วย

9. สายส่งทั่วประเทศไปลิดรอนสิทธิ์ประชาชน ได้มีการวิจัยเกี่ยวกับถามความเห็นผู้ถูกริดรอนสิทธิ์มีความรู้สึกอย่างไร ให้เปิดข้อมูลในการใช้ประเทศต่าง ๆ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

เรื่องถ้าผิดระเบียบก็แก้พ.ร.บ.เลย เรื่อง Academy ถ้าวันนี้ไม่ได้วันหน้าก็อาจได้ อยากให้เชื่อมกับมหาวิทยาลัยและอาชีวศึกษามากขึ้น และหานักวิชาการมาทำ Research ร่วมกัน เรื่อง Fiber Optic อยากให้ กสทช.และกฟผ.คุยกันบ้าง

กลุ่มที่ 3 ข้อ 3.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องการบริหารความเสี่ยง” คืออะไร ลองวิเคราะห์.. ความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดของ กฟผ. ตอนนี้ คืออะไรและยกตัวอย่างเทคนิค/วิธีการบริหารความเสี่ยงของ กฟผ. 3 เรื่อง

ความเสี่ยงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เป็นปัจจัยภายนอก ที่สำคัญที่สุดคือเรื่อง 1. Market Share ที่ลดลงเป็นระยะ 2. นโยบายรัฐบาลให้กฟผ. ทำเรื่องยาก แต่เอกชนทำเรื่องง่าย 3. ต้นทุนการผลิตทำแล้วสูง ซื้อที่แล้วสามารถสร้างได้หรือไม่

การบริหารความเสี่ยง 3 เรื่อง คือภาวะวิกฤติต่าง ๆ ทั้งบัญชี การช่าง มีการทำเรื่องนี้พร้อม และเรื่องกรณีไฟดับในภาคใต้ 14 จังหวัดถ้ามีปัญหาให้มาเลเซียมาช่วย แต่ในช่วงนั้นทำไม่ได้อย่างเต็มที่เพราะเป็นช่วงที่มาเลเซียมีปัญหาเช่นกัน

อยากเห็นการวัดประสิทธิภาพผู้บริหารที่เก่งพอ พื้นที่สีเขียวที่อ่าวไผ่ ทับสะแก สร้างแทนของเดิม เราคิดจะทำเป็น Smart Power หรือไม่ ให้ไป Set Team มา 2 ทีม เริ่มจากการออกแบบแล้วมาเสนอ ทำให้โครงการเกิดได้จริง เน้นการทำเป็นรูปธรรม วันข้างหน้าควรทำอะไรเหล่านี้หรือยัง

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า

ที่ทับสะแกเป็นที่ที่ชาวบ้านสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้า ที่ดินก็ไม่ต้องซื้อแล้ว คิดว่าถ้าสร้างโรงไฟฟ้าได้จะเป็นประโยชน์มาก แต่จะทำได้หรือไม่ขึ้นกับ กฟผ.ด้วย

กลุ่มที่ 4 ข้อ 4.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยง” คืออะไรลองวิเคราะห์.. “ความเสี่ยงของ กฟผ. ในยุค 4.0” มีอะไรบ้าง

รูปแบบพลังงานที่เปลี่ยนไป ที่เข้ามาคือ

1. เรื่องแบตเตอรี่รถยนต์เป็นกรณีที่นำมาคิด โรงไฟฟ้าผลิตเพื่อเป็นพื้นฐานอย่างเดียวเป็นกรณีที่ค่อนข้างสูง

2. เรื่องสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม ชุมชนต้องเข้มแข็ง อยู่อย่างเป็นสุข มลภาวะ พลังงาน ชุมชนอยู่ได้ โรงไฟฟ้าอยู่รอด เราพูดกับเขารู้เรื่อง การกำกับภาครัฐ ในเรื่องกรอบพลังงานกฎระเบียบออกนอกกรอบยากมาก

3. เรื่องคน Generation A-Z การเรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานที่มาวิเคราะห์และดำเนินการค่อนข้างน้อย

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ฝากเรื่องตลาดผลิตไฟฟ้าอาจไม่ใช่ที่ สปป.ลาว เมียนมา อย่างเดียว แต่มีที่อื่นด้วย ต้องมองภาพกว้างไว้ มีเรื่อง Business Plan และ Global Competencyโลกทุกแห่งมองแอฟริกาเป็นโอกาสมหาศาล

กลุ่มที่ 5 ข้อ 5.ลองวิเคราะห์ ภาวะผู้นำของทั้ง 3 ท่าน และจะเป็นบทเรียนที่ดีต่อ EGAT อย่างไร?

สมัยผู้ว่าฯไกรสีห์เจอเรื่องการประท้วงการแปรรูป เน้นเรื่องการใช้ข้อมูลและ Teamwork ทำอย่างไรให้เป็น Teamwork ที่ดี

ผู้ว่าฯ สุทัศน์เจอเรื่องน้ำท่วม ปัญหาไฟฟ้า ให้ใช้จุดแข็งในการบริหารต่อไป สร้างคนให้เป็น สร้างคนให้เก่งเน้นเรื่องการบริหารความเสี่ยง ให้มองคนจากภายนอก และให้สวมหมวกใหญ่กว่าตัวเอง 1 เบอร์ คือให้คิดในระดับที่สูงขึ้นจะทำอย่างไร

ผู้ว่าฯ สมบัติเจอเรื่องแฮมเบอร์เกอร์ Crisis เน้นเรื่องการสื่อสารสองทางที่ไม่เกิดการต่อจ้าง ให้มีความเป็นธรรมในการบริหาร และ Coaching ให้เป็น

สรุปทั้ง 3 ท่านเน้นการทำงานเรื่องคน

กลุ่มที่ 1 ข้อ 6.บทเรียน 1 เรื่องที่สำคัญที่สุดท่านได้รับ “เรื่องผู้นำกับบริหารคน” คืออะไร ลองวิเคราะห์.. ปัญหาที่สำคัญที่สุดเรื่องผู้นำกับการบริหารคนของ กฟผ. 5 เรื่อง และเสนอแนะวิธีการแก้ปัญหา

ปัญหาที่สำคัญสุดคือเรื่องวิกฤติศรัทธาในตัวผู้บริหาร วิธีการแก้ไขปัญหาคือใช้หลักการผู้ว่าฯ ไกรสีห์พูดไว้คือ พรหมวิหาร 4 เมตตา กรุณา มุฑิตา อุเบกขา ผู้นำต้องมีความเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชา

ปัญหาและแนวทางแก้ไข

1.การไม่ยอมรับผู้บริหาร ให้ใช้หลักธรรมะเกี่ยวข้อง

2. การสื่อสารไม่ชัดเจนกับกลุ่มเป้าหมาย ต้องปรับเทคโนโลยีให้สอดคล้องมากขึ้น

3. การทำงานไม่เป็นทีม ต้องมีการจัดระบบให้มีการมอบหมายงานที่ดี เข้าใจปัญหาวิธีการแก้ไขและวิธีการทำงานถูกต้อง

4. ความแตกต่างระหว่าง Generation จะพยายามปรับจูนเป้าหมายที่สอดคล้องกัน

5. ความไม่เป็นธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ และการทำงาน ต่อไปจะตั้งกฎ กติกา และมีการเปิดเผย และโปร่งใสเพื่อให้ทำสำเร็จ

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

การบริหารเรื่อง HR ต้องมีเบอร์ 1. CEO มีบทบาท 2. ฝ่าย HR เป็น Strategic HR ให้เป็น Smart HR 3. Non-HRยกตัวอย่าง Dave Urich ทำงานเป็น Strategic Partner ยกตัวอย่างปูนซีเมนต์เบื้องต้นที่สำเร็จเพราะให้ความสำคัญเรื่องคนอย่างคุณพารณ อิศรเสนา ณ อยุธยา

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

กลุ่มที่ 6 การแสวงหาช่องทางเพื่อการอยู่รอดและเติบโต

กลุ่มที่ 2 พูดเรื่องการเป็นผู้นำสากล

กลุ่มที่ 3 การอ่านหนังสือเล่มนี้ช่วยย้ำว่าเป็นนวัตกรรม บวกทักษะของกฟผ.ในการทำอะไรเป็นขั้นเป็นตอน

กลุ่มที่ 4 เน้นเรื่องการทำให้สำเร็จ

กลุ่มที่ 1 เน้นเรื่องความหลากหลายและส่งไม้ต่อ

กลุ่มที่ 5 เน้นเรื่องการนำเสนอแบบ Teamwork

ยกตัวอย่าง

ผู้ว่าฯ ไกรสีห์ เป็นผู้นำแบบ Charisma ใช้ Network ในการสื่อหาข้อมูลเชิงลึก ไม่ชนตรง ๆ ใช้ข้อมูลและคนอื่นช่วย ท่านไกรสีห์มีวิธีการวิสัยทัศน์กว้างไกล เลือก ดร.จีระ เป็นตัวแทนมาฝึกผู้นำ

ผู้ว่าฯ สุทัศน์ มีทักษะในการบริหารความเสี่ยงและแก้ไขปัญหาสูงมาก ใช้ทักษะในการแก้ปัญหาความจริง ตัวอย่างของท่านสุทัศน์เป็นตัวอย่างที่ กฟผ.ควรนำไปศึกษา เป็นลักษณะไม่ใช้ตัวแทนแต่ลงเลย ให้ลูกน้องใส่หมวกใบใหญ่กว่า 1 เบอร์ เป็นการบริหารความเสี่ยง

ผู้ว่าฯ สมบัติ เป็นผู้นำแบบธุรกิจ ใช้เสน่ห์กับพนักงานมาก ใช้คำพูดว่าถ้าน้อง ๆ ไม่เก่งก็ไม่ขึ้นมาในระดับนี้

ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์

ดร.จีระ เสริมว่าการทำเรื่องคนไม่ใช่เรื่องง่ายวิชาการอยู่ที่ว่าเรารู้สถานการณ์ไหน2R’s ต้องตรงประเด็นและแหลมคม

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

เป็นเรื่อง Strategy กับ Implementation Gap ความท้าทายคือจะทำอย่างไรให้ Gap หายไปหรือลดลง เรากำลังเปลี่ยนจาก FIRM-C ไปเป็น SPEED แต่ถ้าเปลี่ยนความรู้สึกของพนักงานจะลดทันที แต่ในมุมมองจะพูดว่าต่อยอดคือ FIRM-C มีความแน่นแล้ว แล้วเราจะก้าวต่อไปในอนาคต เราอาจนำ FIRM-C มาเป็นอะไร เพราะอะไรจะมี แต่ถ้าเป็น SPEED จะต่อยอด อย่างไร


โครงการหลักสูตร พัฒนาสมรรถนะผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่าย

ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

13 มีนาคม – 9 มิถุนายน2560

วันที่16 พฤษภาคม 2560

(สรุปโดย เขมิกา ถึงแก้วธนกุล ทีมงานวิชาการ Chira Academy)

บรรยาย“แนะนำให้รู้จักกับธรรมชาติบำบัด”

โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

แบ่งกลุ่มกิจกรรม

กลุ่มA: Mat exercise เพื่อบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ

B: Hydro-aerobics

C: อาบแสงตะวันซาวน่าอบสมุนไพร

กลุ่มB: อาบแสงตะวันซาวน่าอบสมุนไพร

C: Mat exercise เพื่อบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ

A: Hydro-aerobics

กลุ่มC: Hydro-aerobics

A: อาบแสงตะวันซาวน่าอบสมุนไพร

B: Mat exercise เพื่อบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อย

โรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เครียด (ปวดศรีษะ ไมเกรน นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย) โรคภูมิแพ้ โรคภูมิต้านทานทำร้ายตัวเอง เช่น SLE โรคเสื่อม เช่น ข้ออักเสบ โรคไต โรคมะเร็ง เด็กไทยไอคิวต่ำ

โรคอ้วน

- โรคอ้วนในประเทศไทยมากเกิน 24% ได้นำมาสู่โรคอื่นจำนวนมาก อาทิ เบาหวาน มะเร็งลำไส้ใหญ่ โรคข้อเท้า ข้อต่อ (BMI รับน้ำหนักได้ไม่เกิน 25 ถ้าเกินจะมากกว่าปกติ)

การวัด BMI >23 หมายถึงท้วมเริ่มอ้วน

การวิจัยต่อพบว่าโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น

โรคมะเร็งเพศชาย

ตับ ร้อยละ 25.4

ปอด16.6

ลำไส้ใหญ่7.2

ต่อมลูกหมาก2.9

โรคมะเร็งเพศหญิง

ปากมดลูก ร้อยละ 15.6

เต้านม13.9

ตับ11.7

ปอด7.4

ภาวะโภชนาการกินอาหารของคนไทย

กินอย่างไรให้ภูมิต้านทานดี

เพราะพฤติกรรมการกินของคนไทยเปลี่ยนไป

- กินผักน้อยลง

- กินหวาน มัน เค็มมากขึ้น

- กินอาหารกึ่งสำเร็จรูปเป็นประจำ

- กินผงชูรสมากเกินกว่าวันละ 1 ช้อนชา (กินมากจะไปกระตุ้นต่อมประสาทมากขึ้น)

- กินอาหารต่างชาติมากขึ้น กินนมวัวมากขึ้น

- กินตามกระแสรุนแรงขึ้น

การบริโภคผักของคนไทยต้องกินอย่างน้อยวันละ ½ กิโลกรัม

โรคเบาหวาน

เกิดจากกรรมพันธุ์ และกินหวานมากเกินจนตับอ่อนทำลายการทำงาน

ผลของกาแฟ

จากงานวิจัยของนาซ่า ได้มีการทำการวิจัยใยแมงมุม พบว่า ประสิทธิภาพการชักใยเรียงตามความเป็นระเบียบไปสู่ไม่เป็นระเบียบ

- ใยปกติ

- กัญชา

- เบนซิตริน

- 4 คลอรัลไฮเดรท

- กาแฟ

งานวิจัยต่อที่ออสเตรเลียบอกว่าคาเฟอีนเป็นยาเสพติดที่ถูกกฎหมาย กินมาตั้งแต่เด็ก กินกาแฟทำให้หลอดเลือดขนาดเล็กลง ไม่กินกาแฟจะคลายตัวออก ถ้ามีอาการหยุดกาแฟแล้วปวดหัวให้ลดการกินกาแฟลง

บัลลวีใช้กาแฟสวน ถ้ากินถึงตับจะทำให้ตับทำงานมากขึ้น กระตุ้นตับที่ไม่ทำงาน

คนไทยไขมันเลือดสูง

- ใครกินยาลดไขมันเกิน 2 ปีให้ไปเช็คตับด้วย ว่าลดหรือเปล่า

- คนที่เป็นอัมพาต คอเรสเตอรัล 120 ก็เกิดได้แล้ว

วิธีดูไขมัน

- ให้ดูที่ HDL นำคอเลสเตอรัลตั้ง / HDLได้อัตราส่วนวัด แต่ละคนไม่เท่ากัน

ภูมิแพ้(อากาศมีรั่ว มีรู)

- ถ้าพ่อแม่เป็นภูมิแพ้ ในช่วง 2-3 เดือนแรกจะไม่ทานนมวัว

โรค 2 ชนิด

1.โรคติดเชื้อ

2. โรคที่ไม่ติดเชื้อเกินจากอนุมูลอิสระ เป็นปฏิกิริยาส่งผ่านอิเล็กตรอนจากโมเดลหนึ่งไปสู่อีกโมเดลหนึ่ง เกิดเป็นระเบิดเล็ก ๆ ข้างใน เช่น เกิดที่ข้อข้อเสื่อม เกิดที่หลอดเลือด หลอดเลือดอุดตัน สิ่งมีชีวิตที่เกิดก่อนคือพืช เราต้องหายใจเอาออกซิเจนเข้าไป เพราะเกิดในร่างกายอยู่แล้ว

ปฏิกิริยา คือถ้าโดนไฟ โดนออกซิเจน จะเป็นสนิมในเนื้อ ทางแก้คือ

กลุ่มโรคที่เกิดจากอนุมูลอิสระ

1.กลุ่มโรคเสื่อม

2.กลุ่มโรคเกี่ยวกับภูมิต้านทาน

3.กลุ่มโรคมะเร็งหลายชนิด

หลอดเลือดปกติและหลอดเลือดอุดตัน

ถ้าไม่อยากเป็นให้กินสารต้านอนุมูลอิสระ ให้กินอะไรที่งอก

สารต้านอนุมูลอิสระ

ภายในร่างกาย เช่น Superoxide Dysmutase (SOD) อยู่ใน Mitohondrea เช่น ถั่วงอก

Catalase , Glutathione Peroxidase

ภายนอกร่างกายจากอาหาร ได้แก่

เบต้าแคโรทีน

วิตามินซี – ร่างกายไม่สร้าง ต้องกิน เช่น Blackmore (Bio-C) และ NatC

วิตามิน E – ถ้ากินข้าวกล้องทุกมื้อ วิตามิน E จะพอ เนื่องจากอยู่ตรงจมูกข้าว

ลดอัตราเสี่ยงของอัมพาต และหลอดเลือด

อาหารธรรมชาติบำบัด

1. กินไขมัน 20% เลือกน้ำมันไม่อิ่มตัว (เช่นถั่วเหลือง ทานตะวัน ข้าวโพด รำข้าว ใช้ทีเดียวแล้วทิ้ง) กินคอเลสเตอรอล ไม่เกินวันละ 300 มก.

2. กินผักสด ผลไม้สด 5 ส่วนอาหาร (เฉลี่ยวันละ ½ กิโลกรัม)

3. กินข้าวกล้อง และคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน

4. กินเนื้อสัตว์พอสมควร กินแคลเซียมให้พอ โดยไม่จำเป็นต้องกินนมวัว

แคลเซียมได้จากปลาเล็กปลาน้อย กุ้งแห้งติดเปลือก

โปรตีนต้องการวันละ 1 ฝ่ามือ ต่อวัน อย่ากินเนื้อสัตว์มาก

กิจกรรมแนะนำ

1.อาบแดด

2.อบสมุนไพร

3.ซาวน่า

4.การออกกำลังกายในน้ำ

ภูมิต้านทานจะทำได้ดีกว่าถ้าอยู่ในอุณหภูมิที่ร้อนกว่าร่างกาย

การเพิ่มภูมิต้านทานด้วยความร้อน

อาบแดด

เวลา 8.30-10.00 น. แดดเย็นหลัง 16.00น.

นุ่งห่มให้น้อยที่สุด

ทาตัวด้วยน้ำมันมะกอก

ใช้ใบตองคลุมตัว เพื่อป้องกันรังสี UV และ Infrared ให้มากที่สุด

นอนหงาย 15 นาที นอนคว่ำ 15 นาที

ผลของการอาบแดดใต้ใบตอง

เลือดลมดีขึ้น

ความร้อนจากแดดจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว

หัวใจเต้นเร็วขึ้นเล็กน้อย คล้ายออกกำลังกาย ทำให้กระปรี้กระเปร่า และผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว

เหงื่อออก ทำให้รู้สึกสบายตัว

ช่วยลดอาการจากแดดเผาและผิวคล้ำ

อบสมุนไพร

อบ 5-10 นาที แล้วอาบน้ำให้ตัวเย็น สลับ 3 รอบ

ยาบำรุงหัวใจ ประเภทเกสรห้า ฯลฯ

พิมเสน การบูร

น้ำมันหอมระเหย เช่น ยูคาลิปตัส

ฟ้าทะลายโจร หารมีเสมหะมาก

ซาวน่า

อบ 3-5 นาที แล้วสลับอาบน้ำให้ตัวเย็น 3 รอบ

ผลของซาวน่าและการอบสมุนไพรสลับกับการอาบน้ำเย็น

1.ในที่ร้อนเลือดจะออกไปที่ผิวหนัง ในที่เย็นเลือดจะกลับเข้าสู่อวัยวะส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไป เลี่ยงเป็นระยะ ๆ เป็นการลดอาการอักเสบหรือโรคภายใน

2. ความร้อนจะเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว

3. เป็นการบริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรง

4. ให้ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น และผ่อนคลาย

การออกกำลังกายในน้ำ

- แรงลอยตัวของน้ำจะช่วยลดน้ำหนักตัว

- น้ำลึกระดับอกจะช่วยน้ำหนักตัวได้ถึง 70%

- น้ำทำให้คลายร้อน

- สนุกกว่าเนื่องจากเป็นรูปแบบของการออกกำลังกายแบบใหม่

- มีอุปกรณ์การออกกำลังกายในน้ำเพิ่มความแปลกใหม่ สามารถใช้เป็น Weight training ได้ด้วย

เหมาะสมกับ การลดน้ำหนักโดยเฉพาะในกรณีที่น้ำหนักตัวมาก ผู้สูงอายุ มีปัญหาเรื่องข้อ ข้อเข่า ข้าเท้า ปัญหาทางสมอง อัมพาต พาร์กินสัน เด็กเล็กควรเป็นสระที่มีคลอรีนต่ำ หรือใช้โอโซนฆ่าเชื้อโรค

สระน้ำที่จะใช้ออกกำลังกาย

สระน้ำจะต้องออกแบบมาพิเศษ ลึก 110 ซม. สำหรับคนไทย ไม่ลึกว่า 130 ซม. พื้นสระเรียบเสมอกัน

คำถาม-ตอบ

1. แก้ภูมิแพ้

- วิตามินซี 4 กรัม (เช้า 1g กลางวัน เย็น ก่อนนอน) ใช้ของ Blackmore BioC กับ Nat C

- บี 5 100 มิลลิกรัม 3 เม็ด

2. การยืดอายุเส้นเอ็น

- ทำต่อเนื่อง

- ยืดตัว

- โยคะ

วันที่ 17 พฤษภาคม 2560

EGAT and Change Management

โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล


ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์

จะใช้หลัก 2R’s Reality and Relevance

ถ้าไม่เปลี่ยนก็จะตาย

Xi Jinping เรียนวิศวกรรม เคยถูกส่งไปทำงานภาคเกษตร ทำให้เข้าใจโลก

Change ในยุคใหม่ของ Xi Jinping ประกอบด้วย

Fast

Uncertainty

Unpredictable

Change เป็นเรื่องสำคัญ ทั้ง..

Human Capital

Leadership

ในเรื่อง Human Capital

เรื่อง Human Capital มาจากแนวคิดของ Ulrich ว่าทุนมนุษย์ต้องมี..

ü Employee Champion

ü Strategic partners

ü Change

ü Administrative Excellence

เรื่อง Leadership ก็มี Leader – Manager ของจีระ

และ Leader ที่ดี ต้องเป็น Change Leadership ซึ่งมี 2 อย่าง คือ

Transformation Leadership จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง เช่น บัณฑูร ล่ำซำ เปลี่ยนแปลงธนาคารกสิกรไทยให้ทันสมัย

อีกอันหนึ่ง คือ Transactional Leadership คือ ทำในสิ่งที่มีอยู่ให้ดีขึ้น โดยการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง – ชนะเล็ก ๆ กฟผ. ก็ต้องทำแบบนี้

อาจจะเป็น Transactional ก่อนและสำเร็จ ไปสู่ Transformation

John Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change พูดถึง กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน โดยถือเป็นภาระของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์การให้เปลี่ยนแปลง ดังนี้

สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency)

การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)

สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)

การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)

การให้อำนาจ และทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)

การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins)

ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing Still More Change)

ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)

Principle 5 ข้อของ Leaders กับ Change

แต่ละคนมีความรู้สึกเรื่อง Change แตกต่างกัน

ต้องศึกษาความต้องการของแต่ละคนเกี่ยวกับ Change

Change กับ Loss ไปด้วยกัน ศึกษาให้ดีว่าจะต้องจัดการกับ loss อย่างไร

การคาดหวัง Expectation ต้องบริหารให้ดี

ต้องบริหาร Fear หรือความกลัวให้ได้

กฎ 9 ข้อ Chira - Change Theory

1. Confidence มั่นใจ

2. Understanding Future มองไกลไปในอนาคต ควรอ่านหนังสือ Alvin Tolfer โลกแบ่งเป็น 3 ยุค

3. Learning Culture ต้อง Learn, Share และ Care

4. Creativity คิดนอกกรอบ

5. Networking ทำร่วมกันมีโอกาสสำเร็จมาก

6. ชนะเล็กๆ

7. ทำต่อเนื่อง 3 ต.

8. ผลประโยชน์ต้องกระจายทุกกลุ่ม

9. Teamwork in diversity ทำงานเป็นทีมที่ประกอบด้วยคนหลากหลาย

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลง หรือ Change Killer ซึ่งมักจะเป็นผู้ที่ไม่พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง และมักจะสร้างกลุ่มที่จะต่อต้านผู้ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งน่าจะมีใน กฟผ. ดังนั้นรุ่น 13 น่าจะทำวิจัยเรื่องนี้ เช่น การดูแลการเปลี่ยนแปลงไม่ให้เกิดการต่อต้าน

จากการศึกษา.. ผู้ที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมักจะเป็นผู้ที่ไม่ทำงาน หรือชอบทำงาน routine เป็นคนที่อยู่ในโลกแคบ จึงขาดความรู้และมุมมองใหม่ ๆ

Goleman เน้นว่า.. คนที่ไม่มีทุนทางอารมณ์ คล้ายกับ 5K’s ของผมที่มี Emotional Capital มักจะไม่ชอบเปลี่ยนแปลง ดังนั้น การฝึกให้มีทุนทางอารมณ์ก็จะช่วยให้ Change ประสบความสำเร็จได้มาก เพราะจะช่วยให้เกิด

Self – Awareness

Self – Management

Empathy คิดถึงคนอื่น

Jim Hemmerling กล่าวว่า

ผู้นำต้อง Inspire Engagement ของคนในองค์กร

ถ้า Cut Cost ต้องเพิ่มเรื่องการดูแลและพัฒนา Talent และ Leadership อย่าหยุดการลงทุนเรื่องนี้

Resourceful คือ การเปลี่ยนแปลงที่ดีต้องมีทรัพยากรให้พอเพียง

วัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง – 3ต.

สร้าง Working Environment ให้หารือกันแบบเสรี ดึงเอาความเป็นเลิศของคนทุกรุ่นขึ้นมา

Jeffrey M. Hiatt

สร้าง Awareness

สร้าง Desire

สร้าง Knowledge of how to change

สร้าง Skill to implement change

The Kurt Lewin Model Of Change

เดิน 3 ขั้น คือ

Unfreeze ช่วงเตรียมตัว

ช่วง Change

Re-freeze ช่วงหลังการเปลี่ยนแปลงก็สำคัญ เพราะช่วงหลังก็ต้องทำให้ต่อเนื่องก็ Fit กับวัฒนธรรมขององค์กร

Daniel James

Define what to change

อธิบายอย่างฉลาด

Identify มีตัวละครกี่กลุ่ม

Define strategies

Communicate

ทั้งหมดนี้สรุปได้ว่า.. ต้อง Back to 2 R’s ว่า กฟผ. จะนำสิ่งใดมาใช้ให้เหมาะสมกับ Reality ขององค์กร Organizational Structure และ Culture กับตัวบุคคลจะต้องไปด้วยกัน

เมื่อมีอุปสรรค ต้องเอาชนะอุปสรรคและรู้จักปรับปรุงด้วย ทำได้ด้วยการรวมตัวกัน เพราะกฟผ.มีทุนมนุษย์มหาศาลที่มีความเก่ง

ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

มีความคุ้นเคยกับภาคธุรกิจ consult แฟชั่น เวชสำอาง ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไวเพราะเกี่ยวกับผู้บริโภค

มุมมองธุรกิจเคยกล่าวถึง Economy of Scale ผลิตขายมากแล้วจะคุ้ม แต่ตอนนี้ social media ทำให้เกิดตลาดเป็นกลุ่ม segment เป็นแบบย่อยๆ (Fragment) ตลาดเล็กลง แต่คนมีความต้องการหลากหลายมากขึ้น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลง

ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง

ทุกอย่างเป็นอนิจจัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วดับไป ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง

ความสำเร็จในการทำงานเกิดจากการสร้างความหลากหลายในการทำงาน ตอนนี้ไม่ได้เน้นผลิตสินค้าแล้ว ขาย แต่ต้องดูความต้องการสังคม

Peter Drucker เสนอให้สร้างอนาคตใหม่

Peter Senge คนมักกลัวจะถูกเปลี่ยนแปลง

ทำไมต้องเปลี่ยนแปลง

ตอนนี้ต้องเผชิญเศรษฐกิจฐานความรู้

Internet of Things ข้อมูลกระจายทั่ว

องค์กร virtual 9องติดต่อคนทั้งหมด

Lifestyle คนเปลี่ยน

เปลี่ยนแปลงองค์กรให้เข้ายุค 4.0

1.ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

2.โลกาภิวัฒน์

3.คนที่มีศักยภาพพร้อมเปลี่ยนแปลง

4.นวัตกรรม

5.ธรรมาภิบาล

หลักการเปลี่ยนแปลงเน้น เร็วกว่า ดีกว่า และราคาถูกกว่า

ธุรกิจ B2B ไม่ได้คิดจากต้นทุนที่มี จะเน้นว่า จะทำกำไรตามเป้าได้อย่างไร ต้องปรับปรุงกระบวนการในองค์กรให้อยู่ภายในต้นทุน ทำให้ตอบโจทย์ลูกค้า B2B ถือว่า

ต้องทำให้องค์กรไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

ความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงสำรวจจากองค์กรทั่วโลก สำเร็จจริง 9% ไม่สำเร็จ 27%

ผลนี้สะท้อนความความสำเร็จการเปลี่ยนแปลงไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงให้องค์กรอยู่ได้

ในการเปลี่ยนแปลง ต้องมีกลยุทธ์ สร้างแรงจูงใจ ทีม การปรับปรุง และการประเมินต่อเนื่อง

ประเภทการเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ

การเปลี่ยนแปลงกลยุทธ์องค์กร

การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างองค์กร

การเปลี่ยนแปลงกระบวนงาน

การเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร

การเปลี่ยนแปลงทักษะ ความรู้และคุณลักษณะของบุคลากร

จากกรณีศึกษามหาวิทยาลัยหนึ่งทำ reengineering ในโรงงงาน พบว่า การศึกษาไทยต้องเปลี่ยนจึงจะอยู่ได้ ทำได้โดยทำนวัตกรรมแล้วขายได้ อาจเป็นแบบเช่าสิทธิ์ เช่น คณะวิศวกรรมพลังงาน เปิด 2-3 ปี มีคนเรียนปริญญาโท 1 คน แต่มีอาจารย์ 40 คน ถ้าออกนอกระบบ จะทำให้อยู่ไม่ได้ สิ่งที่ยากจะเปลี่ยนคือการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร

การเปลี่ยนแปลงมี 2 สาย

1. สายเทคนิค

2. สายมนุษย์ ทำได้ยากที่สุดและท้าทายที่สุด

ทำไมเปลี่ยนแปลงมนุษย์ยากที่สุด เช่น พฤติกรรมการทำงาน ถ้าเปลี่ยนได้ ก็จะเปลี่ยนได้

เชิง HR มองว่า Human side สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง คนต้องมีความยืดหยุ่นพร้อมเปลี่ยนแปลง

อุปสรรคที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง

1.การต่อต้าน (สิ่งที่จะถูกเปลี่ยน)

2.ระบบไม่พร้อม

3.ผู้บริหารไม่เอาจริง

กิจกรรมหลัก

มีเป้าชัด

กระตุ้นให้เปลี่ยน

เปลี่ยนแล้วต้องดีกว่าเดิม

มีเครือข่ายสนับสนุน

มีการสร้าง momentum

ความคิดเห็นผู้เข้าร่วม

มีวิธีแก้ปัญหา human side เวลาเปลี่ยนแปลง แก้ไซโล โดยตั้งเป็น Project ใช้ cross functional team ให้ทำงานท้าทาย คนเก่งก็ได้ไปต่อ แล้วคนเก่งก็ได้ทำงานยากขึ้น ถึงเวลาเข้าประชุม ก็นำเสนอรูปแบบการทำงานแบบนี้ให้ลูกน้องที่เก่งได้เป็นที่ยอมรับ ในสมัยนี้ คนเริ่มอยากเข้าทีม เพราะได้แสดงความสามารถเต็มที่ ถ้าไม่ได้เข้าทีม ก็อาจจะไม่ได้ไปต่อ

เนื้อหา (ต่อ)

ธุรกิจที่ทำเป็นการรับจ้างผลิตจากแบรนด์ดัง แต่มองว่า ถ้าเน้นแรงงานราคาถูก ผู้จ้างจะย้ายไปประเทศที่ค่าแรงถูก จึงไปร่วมกับธุรกิจนี้เมื่อน้ำท่วมใหญ่ เขาวางแผนเป็น Global supply chain ของแฟชั่นโลก ในปี 2020

ในปี 2012 เน้นทำ design มี R&D จึงสร้างสูตรยาทำขายลูกค้า มีข้อมูล end user เสนอลูกค้า ปัญหาคือ มีความยากในการเปลี่ยนโรงงาน คู่ค้าจึงเป็นคนกำหนดจำนวนในการผลิตเป็น segment ตอนนั้นยังทำไม่ได้เพราะติดปัญหา Economy of Scale แต่ถ้าไม่ทำ บริษัทความงามก็ทำเอง ได้ ซื้อสูตรมาทำเองประทับตราอ.ย.ขายได้

เป็นจุดที่ต้องเปลี่ยนวัฒนธรรมการทำงาน ทำเป็น Project team มากขึ้น แบ่งเป็นกลุ่มลูกค้าจากแต่ละกลุ่มประเทศ ในทีมจะประกอบด้วย การตลาด วิศวะ บัญชี HR แต่ก็ประสบปัญหามาก สุดท้าย ก็หารือ CEO ทำให้ CEO เข้าถึง เปิด Forum ให้ CEO พบพนักงานในโรงงาน ทำเป็นเวลา 6 เดือน

มีการแบ่งเป็น 4 ระดับ

CEO change sponsor

ผู้จัดการฝ่าย change advocate

ผู้นำการเปลี่ยนแปลง change agent

Operator ผู้ปฏิบัติงาน เป็นกลุ่มเป้าหมาย

กรณีบริษัทยาสีฟันและน้ำยาบ้วนปาก มีการสุ่มพบว่า น้ำยาบ้วนปากมีสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้น สินค้าทั้งหมดจึงถูกปฏิเสธ จึงต้องมีแผนในการพัฒนาคนที่ผสมน้ำยา ถ้าไม่ไม่ผ่านภายใน 3 เดือน จะถูกยกเลิกสัญญาทั้งหมด

แต่ผ่านโดย ทุกระดับทำงานร่วมกัน มีคำถามให้พนักงานหารือกันทุกสัปดาห์

อะไรที่จะสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

อะไรคืออุปสรรคที่มีต่อการเปลี่ยนแปลง

จะก้าวข้ามอุปสรรคอย่างไร

ขั้นต่อไป แยก R&D ไปเปิดเป็นอีกบริษัทที่รับจ้างทำ R&D เพื่อสร้างกำไรใหม่ เป็นการยกความสามารถคนเพิ่มขึ้น

สิ่งที่ต้องเผชิญมากตอนนี้ คือ ขาด Employee for the future ไม่มีคนที่คุ้นเคยธุรกิจแบบใหม่ เช่น ธุรกิจออนไลน์ เช่น beauty-on-demand มีการเรียกผ่านแอพ

อุปสรรคระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลง

โครงสร้างองค์กร ให้อำนาจผู้จัดการโครงการมากขึ้น ส่วนผู้จัดการฝ่ายเป็นผู้อำนวยความสะดวก

กระบวนการปฏิบัติงาน นำไอทีมาช่วยพัฒนาสินค้า ลดขั้นตอน โดยให้ลูกค้ามี account วิเคราะห์ความเป็นไปได้เบื้องต้นก่อนติดต่อบริษัท

การสื่อสารและการถ่ายทอดเป้าหมาย สำคัญมาก จะให้ CEO ไปพบและคุย

วัฒนธรรมการปฏิบัติงาน (Value) สร้างกลไกให้คนเปลี่ยนแปลง เพราะธุรกิจจะเติบโตโดยเน้นคุณค่าคุ้ม (Cost Value)

เวลาเปลี่ยนแปลง มีตัววัด (QCD)

Quality ลูกค้าเป็นผู้ประเมิน

Cost Value สิ่งที่ลงทุนสะท้อนคุณค่าทางธุรกิจ

Delivery การส่งมอบ เป็นเรื่องสำคัญ เช่น สินค้าความงาม ในยุโรปมี Window sales คือช่วงขายดีคือช่วงคริสต์มาส ดังนั้นต้องผลิตให้มากในไตรมาส 1-3

ตอนนี้ กำลังเปิดโรงงานผลิตสำหรับ fragment market ผลิตน้อยก็ได้ แต่ใช้คนเดิมไปทำโรงงานแบบนี้น้อยมาก

คำถามจากผู้เข้าร่วมโครงการ

มีวิธีหาคนมาทำงาน R&D อย่างไร

ตอบ

เรามี R&D ทำ co-creation กับมหาวิทยาลัย ไม่มีการประกาศรับสมัครในหนังสือ แต่จะพยายามหาผ่าน network เช่น คณบดีไบโอเทค แล้วขอโปรไฟล์มาให้ CEO พิจารณาและนัดคุย

ตอนหลังพยายามรับ fulltime มากขึ้น รับไบโอเทค medical lab, food engineering, chemical engineer

ได้อาจารย์คณะเภสัช มหิดลมาเป็นผู้จัดการฝ่าย ดูแวว นักศึกษาปริญญาเอก บางครั้งให้ทุนทำวิจัย เรียนจบแล้วก็รับเข้าทำงานทันที

ตอนนี้เปลี่ยนเป็น Research and Innovation คิดสูตร แล้วให้ลูกค้าเช่าสูตรเพื่อไปขายในระยะเวลาตามสัญญา

อาจารย์พิชญ์ภูรี

อาจารย์จีระเน้นว่า เลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ที่สำคัญคือ คนและผู้นำ

ดร.เกริกเกียรติระบุบทบาทผู้นำแต่ละกลุ่ม

อาจารย์จีระ กล่าวถึง transformation

ดร.เกริกเกียรติ กล่าวถึง transaction

กฟผ.จะใช้ transformation อย่างเดียวไม่ได้ ก็ยังคงต้องผลิตไฟฟ้าเพื่อสร้างความมั่งคงทางพลังงานในประเทศ

แต่ transaction บางส่วนที่ใช้ไม่ได้ ก็ต้องตัดทิ้ง

พันธกิจใหม่ กฟผ.มี business model หลายส่วน เช่น คอนกรีตทำจากตะกอนแขวนลอยจากถ่านหิน Fiber optic ทำโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนขนาดเล็กเพื่อไปเติม ถ้าไม่เตรียม กฟผ.จะสูญเสียอำนาจ อาจมีหน่วยงานอื่นมาทำแทน

ในเรื่อง transformation คือ business model ใหม่

ท่านช.2 มีกรณีศึกษาที่ดี ค่อยๆเปลี่ยนคนในองค์กร ต้องมีการทำงานหลัก แต่ก็มี transformation ให้มาทำเป็นโครงการ บางคนไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงเพราะเชื่อมั่นตัวเอง ไม่เชื่อมั่นให้คนอื่นมาทำ

ต้องแยกพันธกิจเป็น transaction แบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ควรมีโครงการเล็กๆ ทดลองทำแบบ transformation

เรื่องนวัตกรรม กฟผ.ทำแล้ว แต่ก็มีหลายอย่างที่ซ่อนอยู่ อาจนำมาใช้ได้

ความสอดคล้องอาจารย์จีระและเกริกเกียรติ ต้องเปลี่ยนทั้ง technical side และ human side

เมื่อทำสำเร็จแล้วคนก็จะเข้ามามีส่วนร่วม

เวลาบริหารจัดการคน ต้องจัดการคนหลายประเภท

Change agent เป็นคนสำคัญในการเปลี่ยนแปลง และต้องมีในทุกระดับเพื่อเชื่อมต่อการปฏิบัติ

ศิลปะ.. สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

โดย อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร

อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า

อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า

อาจารย์จีระกล่าวว่า ผู้นำต้องเก่งหลายด้าน

ทุกท่านใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา สมองซีกซ้ายทำงานด้านตรรกะ หลักการและเหตุผล ควรมีการผ่อนคลาย

อาจารย์หมอที่จังหวัดน่านใช้เวลาว่างระบายสีน้ำ

ระบายสีน้ำเป็นสีที่ควบคุมไม่ได้ ต้องฝึกควบคุมสมาธิและอารมณ์ จึงจะวาดภาพได้

อาจารย์สาโรชก็มาสอนวาดรูปที่ชมรมวาดรูปสีน้ำกฟผ.ด้วย

หลังจากเรียนวันนี้ จะทำให้สามารถประเมินราคาภาพวาดได้ดีขึ้น

อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร

เทคนิคการเลือกอุปกรณ์

ควรใช้ด้านหยาบของกระดาษ ไม่ควรใช้กระดาษ 100 ปอนด์

ควรใช้พู่กันขนสัตว์

สิ่งสำคัญ

การขึงกระดาษทำให้การเขียนรูปแล้วกระดาษตึง ไม่เป็นลอน

การรู้เทคนิคทำให้ภาพสวยขึ้นได้

ใช้เทคนิค เปียกบนเปียก และเปียกบนแห้งวาดรูป

การฝึกระบายสีด้วยเทคนิคต่างๆ

วางกระดาษแนวตั้ง แล้วใช้ดินสอขีดแบ่งเป็นช่อง ประกอบด้วย 2 คอลัมน์ 4 แถว

ในช่องแรก ใช้สีเปียกผสมน้ำ แล้วระบายสีเปียกบนกระดาษแห้ง ระบายแนวนอนจากซ้ายไปขวาจนสุดแถว แล้วลงมาระบายด้วยวิธีเดียวกันที่แถวถัดลงไปด้านล่าง โดยระบายไปทางเดียวเท่านั้น อย่าถูไปมา เอียงกระดาษลาดลงเข้าหาตัวเล็กน้อย

ในช่องที่ 2 ใช้สีเปียกผสมน้ำระบายบนกระดาษแห้ง ระบายแบบช่องแรก แต่แถวถัดไประบายเหลื่อมมาทับแถวบนเล็กน้อยให้สีที่ระบายดูเข้มขึ้น ถ้าทำถี่ก็จะไล่น้ำหนักสีได้มากขึ้น

ในช่องที่ 3 ระบายใช้สีเข้มเปียกผสมน้ำระบายบนกระดาษแห้ง แล้วผสมสีให้อ่อนลงด้วยน้ำ ระบายแถวถัดมาด้านล่างเพื่อไล่น้ำหนักจากเข้มไปอ่อน

ในช่องที่ 4 ระบายสีแรกบนกระดาษแห้งก่อน ล้างพู่กันแล้วระบายสีที่สอง เวลาเขียนรูปไม่ต้องรีบร้อน แต่อย่าช้าเกินไป

ในช่องที่ 5 นำน้ำมาระบายกระดาษให้เปียก ผสมสีเปียกระบายบนพื้นเปียก โดยเริ่มจากสีอ่อนก่อน แล้วค่อยตามด้วยสีเข้ม

ในช่องที่ 6 ใช้สีผสมน้ำให้น้อยที่สุด ระบาย สีจะเข้มตอนต้นแล้วค่อยอ่อนลงตอนปลาย

เทคนิคการใช้อุปกรณ์เสริม

1.ถ้านำแอลกอฮอล์มาหยอด สีจะฟู่สวย

2.ถ้านำเกลือมาโรย เกลือจะดูดสีขาวขึ้น

เทคนิคการวาดท้องฟ้า

1. วางกระดาษแนวนอน ใช้ดินสอขีดไปตามแนวนอนของกระดาษเพื่อแบ่งกระดาษเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนบน ส่วนกลางและส่วนล่าง

2.ใช้เทคนิคเปียกบนเปียก คือ ใช้น้ำระบายกระดาษส่วนบนและส่วนกลางให้ฉ่ำๆ

3.ระบายสีเปียกอ่อนก่อนสีเข้ม โดยเรียงลำดับดังนี้

3.1 เหลืองเป็นแสงและเมฆ

3.2 แดงระบายใต้เหลืองเป็นวาวๆ

3.3 น้ำเงินเป็นเงาใต้สีแดง

3.4 สีน้ำเงินผสมน้ำระบายช่วงที่ยังไม่ได้ระบายเพื่อเป็นสีท้องฟ้า

3.5 เอียงกระดาษทำให้สีไหลเป็นเมฆฝน

3.6 ผสมสีน้ำตาลกับน้ำเงินทำเงาใต้เมฆเป็นฝน

3.7 เอียงกระดาษ

เทคนิคการวาดภูเขา

1.รอสีท้องฟ้าให้แห้งสนิทก่อน

2.นำสีน้ำเงินผสมสีแดงกลายเป็นสีม่วง วาดเป็นแนวภูเขา ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง

3.ระบายด้านในของแนวเขาด้วยสีอ่อนลงเป็นการไล่น้ำหนักสี

เทคนิคการวาดทุ่งหญ้า

ใช้เทคนิคเปียกบนแห้ง โดยนำสีเหลืองจุ่มน้ำผสมสีเขียวระบายส่วนล่างไล่น้ำหนัก แล้วผสมสีน้ำเงินแต้มเป็นเนิน

เทคนิคการวาดแสงเงาบนทุ่งหญ้า

นำสีเข้มมาทาทับ

เทคนิคการวาดเงาสะท้อนพุ่มไม้ในน้ำ

1.วาดพุ่มไม้กลับหัว โดยใช้สีเข้ม เวลาระบาย ต้องมีช่องว่างระหว่างพุ่มไม้

2.รอให้สีแห้งพอหมาด นำพู่กันเช็ดน้ำหมาดๆ ขีดเส้นแนวนอนเป็นผิวน้ำ

เทคนิคการวาดต้นไม้สูงมีดอกและใบเล็กจำนวนมาก

1.นำดินสอมาร่างโครงต้นและกิ่งก้านแบบเบาๆ

2.นำแปรงมาจุ่มสีข้นแต่เป็นสีอ่อนแล้วกระทุ้งหัวแปรงที่กระดาษให้เป็นจุดเล็กๆหลายๆจุดแบบ แต่ต้องมีช่วงว่างเล็กๆพอประมาณด้วย แล้วเปลี่ยนเป็นใช้สีเข้มขึ้นเพื่อกระทุ้งตามแนวกิ่งก้านที่ร่างไว้

3.นำพู่กันเล็กจุ่มสีน้ำตาลข้นวาดกิ่งก้านและลำต้น

วิธีการวาดเงาสะท้อนใต้ต้นไม้

นำพู่กันจุ่มสีเขียวข้นมาขีดเป็นเส้นตั้งเล็กๆ ใต้โคนต้นไม้แบบถี่ๆแต่ไม่ติดกัน

ข้อสรุป

จากการเปรียบเทียบภาพที่วาดโดยผู้เข้าร่วมโครงการกับนักศึกษาปริญญาตรีที่มาลงเรียนวิชาจิตรกรรมเป็นวิชาเลือกเป็นเทอม ทำให้เห็นว่า มีผลงานไม่ต่างกันมาก แสดงให้เห็นว่า เทคนิคการวาดภาพเหล่านี้เป็นเทคนิคพื้นฐานที่ทำให้วาดภาพออกมาได้ดีแม้ไม่เคยมีพื้นฐานมาก่อน

โปรดคลิกที่ลิ้งค์ข้างล่างนี้เพื่อติดตามข่าวโครงการ

http://www.gotoknow.org/posts/626196

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 20 มีนาคม – 3 เมษายน 2560

http://www.gotoknow.org/posts/626982

ที่มา: FIHRD-Chira Academy Newsletter รายปักษ์. ประจำวันที่ 4-19 เมษายน 2560


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 1.. “น่าน” สืบสานการทำงานตามศาสตร์พระราชา ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 13 เมษายน 2560 เวลา 21.00-21.30 น.ทางสถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks


ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 2.. บทบาท “กฟผ.”กับการทำงานในระดับชุมชน..กรณีศึกษาจังหวัดน่าน ออกอากาศวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2560 เวลา 21.00-21.30 น.ทางสถานีโทรทัศน์: TGN Global Networks

ที่มา: รายการ คิดเป็น…ก้าวเป็น กับ “ดร.จีระ”. ตอน : EADP 13..ห้องเรียนสัญจร ตอนที่ 3..เรียนรู้ประวัติศาสตร์เมืองน่านเพื่อสืบสานงาน กฟผ. และรายงานพิเศษ : CNC GROUP กับการพัฒนาองค์กรธรรมาภิบาล ออกอากาศ : วันพฤหัสบดีที่ 27 เมษายน 2560 ทางช่อง TGN ระหว่างเวลา 21.00-21.30 น.

#EADP2017

#EADP13

หมายเลขบันทึก: 628447เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017 14:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2017 21:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (27)

กฟผ.จะอยู่รอดหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่า

กฟผ.จะสามารถปรับเปลี่ยนองค์กรได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงแบบทำลายล้างได้หรือไม่

กฟผ.จะสามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้อย่างเหมาะสมในเรื่องของความมั่นคง,ส่วนแบ่งตลาด,ความไม่เป็นธรรมในการทำธุรกิจ,การต่อต้านจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้หรือไม่

กฟผ.จะสามารถสร้างทางเลือกใหม่ๆในการผลิตพลังงานไฟฟ้ารวมถึงธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้หรือไม่

นัฐวุธ พิริยะจิตตะ ช.อบค-ว. กลุ่ม 3

สรุปประเด็นการเรียนรู้ ช่วงที่ 4 วันที่ 15-17 พค. 2560

EGAT & Change Management

วันนี้ กฟผ. ผจญกับสิ่งท้าทายที่มารวดเร็วมาก จนถึงกับต้องการ Change Management ครั้งยิ่งใหญ่

ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ทุกท่านรู้ดีทั้งหมดแล้ว

ผู้นำ กฟผ. ต้องมีบทบาทสภาวะผู้นำสูงมากในการเปลี่ยนแปลงในครั้งนี้

เราต้องรู้ว่า

1 Where are we? เราอยู่ตรงไหน

2 เราจะไปไหน

3 เราจะไปอย่างไร

4 เราจะพบกับอุปสรรคข้างหน้าอย่างไร

แลในกรอบความคิดที่ ดร.ชีระ ให้ไว้ ต้อง Back to Basic กับ 2 R’s เป็นสิ่งสำคัญ

การเปลี่ยนแปลงเล็กๆ (Transaction) หรือ Minor Change หรือ Small Innovation แทบจะไม่มีผลในการทำ Change Management ในเวลานี้ ไม่สามารถขับเคลื่อนองค์ให้อยู่รอดและสง่าผ่าเผยเหมือนในอดีต ได้เพียงแค่ให้หน่วยงานอยู่รอดไปในระยะเวลาหนึ่ง

ดังนั้น เราต้องตระหนักเรื่อง Transformation (การเปลี่ยนแปลงจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง) หรือ Major Change หรือ Big Innovation (ซึ่งต้องผนวกกับ เก่ง เฮง และฟลุ๊ค ด้วย) เพราะ Big Innovation มีแค่ 5-10 % ที่ประสพความสำเร็จ และถ้าสามารถทำได้ จะเป็น High Performance Organization ที่ยั่งยืน มั่นคง มั่งคั่ง และอยู่ใน Thailand 4.0 ตามนโยบายภาครัฐ

ตัวละครในการขับเคลื่อน หรือ Performance Driver เป็นสิ่งที่สำคัญมากๆที่จะนำพาให้เกิด Change Management ในครั้งนี้

หน่วยงาน ต้อง ตระหนักถึง Faster , Better and Cheaper หรือ ที่เราใช้กันบ่อยคือ QCDS (Quality, Cost, Delivery and speed)

สิ่งที่ต้องทำและขับเคลื่อน ณ วันนี้ คือ Big Innovation, Disruptive Thinking, Major Change ผสมผสานในการทำงานเพื่อให้องค์กรอยู่รอดและยั่งยืนในอนาคต

พงษ์สิทธิ์ ศิริฤกษ์อุดมพร กลุ่ม 6

วันที่ 15-17 พฤษภาคม 2560

สรุปประเด็นสำคัญจากการเรียนรู้


EGAT “Quickly Do or Die”

48 ปีที่ผ่านมา ถือว่า กฟผ. ประสบความสำเร็จด้วยดีเสมอมา การที่ กฟผ.ตั้งอยู่และดำเนินกิจการมาได้อย่างยิ่งใหญ่ถึง 48 ปี อาจเป็นการติดกับดักความสำเร็จที่น่ากลัว คน กฟผ.มักภาคภูมิใจกับความสำเร็จมาตลอด เราอยู่ในพื้นที่ปลอดภัย (Comfort Zone) จนเคยชิน วันนี้ถ้ามีใครสักคนลุกขึ้นมาบอกว่า กฟผ. ต้องเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เพื่อความอยู่รอด เชื่อว่าหลายคนคงไม่เชื่อแน่นอน

ถ้าเจาะข้อมูลลึกลงไปจะเห็นยอดขายของ กฟผ.ที่ภาษาการตลาดเรียก Market Share ลดลงเรื่อยๆ จากที่เราครองส่วนแบ่งการผลิตเกินกว่า 50 เปอร์เซนต์ในหลายสิบปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบัน ส่วนแบ่ง กฟผ.เหลือเพียง 37-38 เปอร์เซนต์เท่านั้น แถมการสร้างโรงไฟฟ้าที่มาจากฟอสซิลก็ยากขึ้นเรื่อยๆ ยกตัวอย่าง โรงไฟฟ้ากระบี่ เป็นต้น

ภัยคุกคามที่น่ากลัวของ กฟผ.อีกอย่าง คือ นวัตกรรมเทคโนโลยีพลิกโลกเศรษฐกิจและธุรกิจ หรือในภาษาอังกฤษที่ว่า Disruptive Technology ซึ่งมีส่วนทำให้ เกิดนวัตกรรมและการพัฒนาด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างรวดเร็วและลำหน้า เช่น โซล่าเซลล์มีแนวโน้มที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นและราคาถูกลงเรื่อยๆ การพัฒนารถยนต์ใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น ถ้าEnergy Storage พัฒนาได้เร็วและดีขึ้น น่าจะเป็นจุดเปลี่ยน (Game Changer) ที่สำคัญเลย และเรื่องโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ที่จะเล็กลง ตอบสนองชุมชนขนาดเล็กๆมากขึ้น ทำให้อาจจะกระเทือนกับระบบส่งขนาดใหญ่ของ กฟผ.ได้ในอนาคต เป็นต้น

“Quickly Do or Die” คือ ถ้อยคำที่น่าสนใจ การปรับตัวเพื่อปรับฐาน ประกอบด้วย สร้างการรับรู้โดยทั่วกัน ตระหนัก(ซึ่งต้องเป็น ตระหนก แล้ว) Top-Down Change Agent ตลอดจนการปรับ Mindset คน กฟผ. โดย การเรียนรู้และพัฒนาสิ่งใหม่ๆตลอดเวลา(Mega Trend) ยอมรับการเปลี่ยนแปลง เป็นผู้ประกอบการในการค้นหาโอกาส คิดทั้ง Chain ของธุรกิจ กล้าทำเรื่องใหม่ๆ พร้อมรับและพร้อมถอยตลอด เน้น “เป้าหมาย” ลด “รูปแบบ”

เกี่ยวกับ New Business Model ต้องมีการเพิ่มพลังร่วมของ EGAT Group หา Strategic Partner เรียนลัดจากผู้เชี่ยวชาญผ่านการถือหุ้นบริษัทนวัตกรรม ตั้ง Holding Company ใช้บริษัทในขั้นที่ 3 ดำเนินธุรกิจ ส่วนเรื่อง ICT กฟผ.เราคงขยับตัวอย่างรุนแรงเพื่อก้าวไปสู่ EGAT 4.0 ให้เร็วที่สุด

นายชัยพร รัตนกุล EADP 13 ช.อบง. กลุ่ม 2

สรุปประเด็นการเรียนรู้ ช่วงที่ 4 วันที่ 15-17 พค. 2560

ชัยพร รัตนกุล EADP 13 กลุ่ม 2

ความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการเข้ารับการอบรม EADP 13 วันที่ 15-17 พฤษภาคม 2560 ที่ ห้องเฟื้องฟ้า 1 อาคารนันทนาการ

1.ไฟฟ้าเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่ยังเป็นที่ต้องการของผู้บริโภคทั้งในปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งขณะนี้ภาวะเศรษกิจของโลกเริ่มฟื้นตัว อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของ อเมริกา ยุโรป จีน เริ่มดีขึ้น จึงพยากรณ์ว่าความต้องการในการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มมากขึ้น การลงทุนภาครัฐจะขยายตัวและส่งผลให้ กฟผ.มีโอกาสขยายงานและเติบโต

2.แต่อุปสรรคอย่างหนี่งของบางรัฐวิสาหกิจคือการที่ผู้บริหาร ขาดประสบการณ์ ไม่มีความเป็นมืออาชีพ จึงอาจส่งผลต่อความเจริญเติบโตขององค์กร ทั้งๆที่บุคลากรมีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ก็ตาม

3.ขณะนี้กระแสพลังงานทดแทนกำลังมาแรง เช่น Solar Farm คู่แข่งขันที่สำคัญของ กฟผ.ที่สำคัญคือ ภาคเอกชนที่ได้รับอนุญาตให้ดำเนินการผลิตไฟฟ้า เช่น บริษัทน้ำตาลมิตรผล

4. กฟผ.และบริษัทลูกต้องผนึกกำลังกันอย่างเข้มแข้งเพื่อให้กลุ่ม กฟผ.ยังคงมีสัดส่วนในการผลิตที่จะให้องค์กรอยู่ได้และเติบโตอยู่รอดได้ต่อไป

5.กระแสรถยนต์ไฟฟ้ากำลังมาแรง กฟผ.ต้องคิดบริหารจัดการเพื่อรองรับกับนวัตกรรมในส่วนนี้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

6.สัดส่วนการผลิตของ กฟผ.ในภาพรวมของประเทศลดลงมาโดยตลอด กฟผ.ต้องจัดการกับปัญหานี้โดยเร่งด่วน

7. การบริหารทรัพยากรบุคคล ต้องคำนึงถึงคนที่ปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 วัย แล้วนำมาปรับใช้ในการบริหารให้ถูกต้องและเหมาะสม

8. วิธีการ Coach และระบบพี่เลี้ยง ควรนำมาปรับใช้กับพนักงานในปัจจุบัน

9. สิ่งที่ได้เรียนรู้จากอดีตผู้ว่าการทั้งสามท่านคือ ผู้บริหารต้องมีสิ่งเหล่านี้

การสื่อสารกับผู้ใต้บังคับบัญชาต้องชัดเจน

การฝึกฝนผู้ใต้บังคับบัญชาให้เป็นคนเก่งและคนดี

ต้องเข้าใจโลกภายนอก ต้องรู้กว้างรู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น รู้จักการต่อรองโน้มน้าว

ต้องยุติธรรมและให้ความเป็นธรรมกับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกคน

ให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตระหนักว่าทุกคนเป็นเจ้าขององค์กร มีภารกิจเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้งสำคัญ

ให้ความสำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาทุกระดับชั้นทุกตำแหน่งงาน

บุคลากรของ กฟผ.มีประสบการณ์มากถือเป็นจุดแข็งที่ต้องรักษาและพัฒนาต่อยอด

นายสุพัฒนพงศ์ สิกขาบัณฑิต ช.อจพ. EADP13 กลุ่ม 2

ความเห็นประเด็นการเรียนรู้ ช่วงที่ 4 วันที่ 15-17 พค. 2560

กฟผ. ต้องรู้จักปรับตัวให้เป็นและเร็ว เพื่อรองรับกับ Disruptive Change กฟผ. ต้องมีนวัตกรรมเป็นของตนเอง รู้จักบริหารคนต่าง Gen ให้สามารถขับเคลื่อนองค์การอย่างมีพลัง การบริหารเพื่อสร้างนวัตกรรมต้องปรับเปลี่ยนวิธีการโดยต้องเปิดโอกาสและกระตุ้นให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ การเรียนรู้ต้องอิงระบบ IDP (10% 20% 70%) และต้องมีการเรียนรู้อย่างมีวินัย

สิ่งสำคัญที่ต้องแก้ไขคือ ความรวดเร็ว ในเรื่องกฎ ระเบียบ จะต้องมีการลดทอน ปรับปรุงแก้ไขโดยด่วน และมีการทำงานข้ามไซโลกันมากขึ้น เพราะในแต่ละงานไม่สามารถทำงานคนเดียวได้ จะต้องมีบุคคลที่สามารถช่วยในแต่ละจุดเพื่อให้เป้าหมายรวมบรรลุวัตถุประสงค์

อนาคต กฟผ. อาจสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ไม่ทั้งหมด ต้องหาแผนรองรับ เช่น ปรับตัวลงมาเล่นกับธุรกิจไฟฟ้า ขนาดเล็ก เพื่อให้ตนเองรักษาส่วนแบ่งการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมให้สูงขึ้น และกลายเป็นผู้เชี่ยวชาญในที่สุด

นายชัยโรจน์ ปานพรหมมินทร์

สรุปบทเรียนที่ได้เรียนรู้ วันที่ 15 16 17 พ.ค. 2560

1. ประเด็นความท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในอนาคต

(ผศ. ดร. พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล)

- รัฐวิสาหกิจที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานเป็นเสาหลักของการพัฒนาประเทศ ในประเทศใหญ่ๆ ในยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษ ยังคงมีอยู่ และยังคงเป็นที่ต้องการในอนาคต.

- สัดส่วนกำลังการผลิตของ กฟผ. ก็ลดน้อยลงเนื่องจาก มีโรงไฟฟ้า IPP SPP Renew มากขึ้น และ กฟผ. สร้างโรงฟ้าใหม่ ขนาดใหญ๋ได้ลดลง กฟผ. ต้องหาแหล่งผลิตไฟฟ้าใหม่เพื่อเพิ่มรายได้หลักสำหรับ กฟผ.

- ต้องขยายธุรกิจเพื่อเพิ่มโอกาสทางการตลาดโดยจัดตั้งบริษัทลูก หรือ ส่งเสริมให้บริษัทลูกดำเนินธุรกิจที่หลากหลาย

- การบริหารสินทรัพย์ภายในองค์กร ต้องให้มีรายได้และกำไรเทียบเคียงกับธุรกิจอื่นๆ หรือพัฒนาให้ใกล้เคียง

- การพัฒนาเทคโนโลยี่ที่ก้าวหน้าอย่างก้าวกระโดด จะมีผลกระทบต่อรายได้ในอนาคต เช่น Solar Power ด้วยเทคโนโลยี่ที่ให้ประสิทธิภาพสูงขึ้นและราคาถูกลง ทำให้ลูกค้าบางส่วนผลิตไฟฟ้าใช้เองมาขึ้น

2. การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้า (ความท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุค 4.0)

(ดร. ศิริลักษณ์ เมฆสังข์)

- การเพิ่มประสิทธิภาพของคนจะต้องให้สอดคล้องกับลักษณะของคนในภูมิภาคนั้นๆ

- ระบบงานที่ดีเอื้ออำนวยให้งานราบรื่น

- วัฒนธรรมองค์กรเป็นเบ้าหลอมจิตใจทุกคนอยู่คู่กับยุทธศาสตร์ขององค์กร

- องค์กรที่ยั่งยืนจะต้องมีกลยุทธในการทำงานร่วมกัน มีการส่งผ่านและพัฒนาภาระกิจงานได้อย่างต่อเนื่อง

- การเรียนรู้และวิเคราะห์ปัญหาเป็น ปรับปรุงการเรียนการสอนทำให้ได้ศึกษาที่หลากหลาย

- รากฐานความผูกพันธ์จะเสริมสร้างความมั่นคงให้องค์กร

3. กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

- สุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะละเลยไม่ได้ การดูแลรักษาสุขภาพ ง่ายๆ ก็ออกกำลังกายซึ่งจะต้องเหมาะกับวัยเช่น Hydro-aerobics หรือจะใช้ธรรมชาติบำบัดช่วย เช่น อาบแสงตะวันซาวน่าอบสมุนไพร

- อาหารที่เหมาะสมและถูกหลักวิชาการ เพื่อสุขภาพกายที่ดี และสุขภาพใจที่สดใส

4. EGAT Change Management

(ผศ. ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค)

- จะต้องสร้างแรงจูงใจให้ทุคนรักองค์กร พร้อมที่จะร่วมการเปลี่ยนแปลง

- จะต้องไม่ลดการเปลี่ยนแปลงด้านการพัฒนาคน

- ทรัพยากรต้องมีมากเพียงพอ

- มีวัฒนธรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ทุกภาคส่วน

- สร้างบรรยายกาศที่ดีสำหรับการทำงานร่วมกัน มีการปรึกษาหารือกันได้อย่างเสรี

นายประจวบ ดอนคำมุล 475173 กลุ่มที่4

ความท้าทายขององค์กรและคน กฟผ.ยุค4.0

  • กฟผ.เผชิญกับการท้าทายในเรื่องส่วนแบ่งการผลิตลดลงเรื่อยๆทั้งจากนโยบายรัฐบาลที่เปิดให้เอกชนเข้ามาผลิต การต่อต้านการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่และการเติบโของพลังงานทดแทนรวมทั้งเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วทำให้ราคาพลังงานทดแทนลดลงเร็วมาก ระบบผลิตและจำหน่ายจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปและอาจไม่มีใครต้านกระแสเหล่านี้ได้ เพราะเทคโนโลยีไม่มีพรมแดน
  • กฟผ.ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วและสร้างนวัตกรรมเพื่อคงความเป็นผู้นำในการผลิตและสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศให้ได้ แม้ว่าที่ผ่านมาอาจมองไม่ชัดเจนว่าผลกระทบจะรุนแรงแค่ไหน
  • คนของ กฟผ.ต้องตระหนักในผลกระทบและปรับตัวให้เร็ว พัฒนาตัวเองให้พร้อมต่อสู้กับสิ่งใหม่ๆวิธีคิดแบบเดิมๆที่สำเร็จในอดีตอาจใช้ไม่ได้ในปัจจุบัน
  • การคาดการณ์อนาคตเป็นเรื่องจำเป็นต้องทำและต้องแม่นยำมิเช่นนั้นอาจเป็นเช่นเดียวกับผู้ผลิตฟิล์มถ่านรูปที่ประเมินกล้องดิจิตอลต่ำเกินไปและปรับตัวไม่ทัน

ขอ้คิดจากอดีตผู้ว่าการไกรสิห์ ผู้ว่าการสุทัศน์และผู้ว่าการสมบัติ

  • ประสบการณ์ในการเป็นผู้นำ การบริหารงานและคนของอดีตผู้ว่าการทั้ง3ท่านมีประโยชน์ต่อการนำไปประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์ต่างๆ ที่สำคัญผู้บริหารต้องเป็นคนดี มีคุณธรรม เป็นที่ยอมรับ

การสรุปบทเรียนเรื่องนวัตกรรม

  • นวัตกรรมยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญให้องค์กรก้าวไปข้างหน้าอย่างมั่นคงทั้งในอดีต ปัจจุบันและอนาคตการสร้างนวัตกรรมมีหลายรูปแบบผู้นำต้องเป็นผู้กระตุ้น ขับเคลื่อนและสร้างบรรยากาศให้เกิดสังคมนวัตกรรมขึ้นภายในหน่วยงาน

การปฏิบัติด้านสุขภาพและ

การเขียนภาพสีน้ำเพื่อสุนทรียภาพ

  • ผู้นำต้องรู้จักการดูแลสุขภาพและมีความรู้จริงในการรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการทำงานที่หนักและท้าทาย และรู้จักผ่อนคลายเช่นการสร้าสรรค์งานศิลปะด้วยการวาดภาพสีน้ำเป็นต้น การได้รัยนรู้เทคนิคเบื้องต้นก็สามารถจะทำให้ผู้นำนำไปพัฒนาต่อได้อย่างมีหลักการ
นายทิเดช เอี่ยมสาย กลุ่ม 6

สาระสำคัญในวันที่ 15 – 17 พฤษภาคม 2560

ช่วงที่ 4 นี้ มีการพูดถึงการเปลี่ยนแปลงของ กฟผ. เข้มข้นขึ้น ซึ่งวิทยากรหลายท่าน ได้ออกมาย้ำถึงแนวทาง
การปรับตัว เพื่อให้สามารถรับกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้

มีเรื่องหนึ่งของ ผศ.ดร.อธิคม รัตนกุล ที่พูดถึงเรื่องการเทียมเกวียน จะต้องมีการจัดให้มีวัวนำ
และวัวตาม ซึ่งเป็นการจัดหน้าที่ให้เหมาะสม เพื่อให้เกวียนสามารถเดินไปข้างหน้าตามที่ต้องการได้

จากประโยคนี้ ผมมีความคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงของ กฟผ. ณ ตอนนี้การเตรียมตัวของผู้ปฏิบัติงานทุกคนใน กฟผ. ควรให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงด้วย เพราะไม่อย่างนั้นทุกคนอาจจะเป็นแต่วัวนำทั้งหมด หรือวัวตามทั้งหมด ซึ่งถ้าถึงตอนนั้น เกวียนคงไม่ได้ไปไหนแน่

นายธานี โพธิ์เอี้ยง ช.อผม-บ. กลุ่มที่5

ช่วงที่4

ในช่วงนี้จะแบ่งเป็น2ส่วนคือ

ส่วนแรก จะให้เรียนรู้ถึงการคาดการณ์ อนาคตของกฟผ.ผ่านมุมมองของบุคคลภายนอกและ อดีต ผู้ว่าการหลายท่าน ซึ่งทำให้รู้ว่าจะต้องเตรียมการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ส่วนที่สอง จะเป็นการดูแลตนเองทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งทำให้เตรียมตนเองได้พร้อมสำหรับภาระกิจที่รับอยู่และจะต้องรับในอนาคต


นิทัศน์ วรพนพิพัฒน์

ประเด็นการเรียนรู้ ช่วงที่ 4 วันที่ 15-17 พค. 2560

Disruptive ที่เกิดและกำลังจะเกิดมี 2 รูปแบบ คือ Disruptive Technology และ Disruptive Policy การเปลี่ยนแปลงแบบที่เรียกว่า Disruptive นี้ ทำให้องค์กรทั้งภาคเอกชนและรัฐ จะต้องเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ สิ่งสำคัญของ กฟผ. คือ ในช่วงเวลานี้ กฟผ. จะต้องอาศัยความได้เปรียบต่างๆที่เป็นจุดแข็ง เช่น Brand ที่คนทั่วๆไปเชื่อมันในเชิงวิศวกรรมและเทคโนโลยี ขนาดของงค์กร และบุคลากรที่มีความรู้หลากหลายสาขาและอยู่ในระดับแนวหน้า นอกจากนี้คือต้องพยายามแก้ไขเรื่อง ขั้นตอนต่างๆ เพราะความรวดเร็วในการทำงานของ กฟผ. ยังคงเป็นจุดอ่อนที่สำคัญ

ประเด็นที่สำคัญประเด็นหนึ่งคือ ความตื่นตัวในเรื่องการเปลี่ยนแปลงกฟผ. จากเดิมที่เป็นผู้ผลิตแต่เพียงรายเดียว ต่อมาเป็นผู้ผลิตที่ครองตลาดมากที่สุด(เกิน 50%) และสุดท้ายในปัจจุบัน เป็นผู้ผลิตที่มีส่วนแบ่งตลาดมากที่สุด (น้อยกว่า 50%) อนาคตจะเป็นเช่นไร?นั้นเป็นคำถามสำคัญที่ท้าทาย กฟผ. อย่างมาก ตามความเห็นของผม ผมคิดว่าทิศทางของ กฟผ. ควรตอบโจทย์นี้ได้อย่างชัดเจน มิฉะนั้น กฟผ. อาจเป็นกรณีศึกษาหนึ่งของธุรกิจที่เคยยิ่งใหญ่แต่ก็ล้มเหลวในโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ

….. อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/628447

นายพนม บวรวงศ์เสถียร ตำแหน่ง ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายจัดการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ-บริหาร EADP รุ่น13 กลุ่ม5

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ในยุคของ Glocalization ทำไม Reverse Innovation จึงสำคัญ บริษัทยักษ์ใหญ่เช่น GE IBM FORD ล้วนปรับตัว เพื่อสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่งในตลาดเกิดใหม่ ใช้แนวคิดการเปลี่ยนฐานจากประเทศพัฒนาแล้วไปสู่ประเทศที่กำลังพัฒนา เพื่อให้สามารถแข่งขัน และอยู่รอดมาจนทุกวันนี้

สิ่งที่ DISRUPTION กฟผ.

- เทคโนโลยี สภาพแวดล้อม และการแข่งขัน

- กฟผ. ต้องปรับตัว แสวงหาโอกาสและสร้างธุรกิจใหม่ๆ เพื่อให้องค์กรอยู่รอด และมีความยั่งยืนในระยะยาว

ความท้าทายของ กฟผ.

- โรงไฟฟ้าภาคใต้

- การสร้างความยอมรับของชุมชน

- กฟผ. สูญเสียสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าที่รัฐให้ 50% แต่สัดส่วน ลดลงมาตลอด 3 ปี จนปัจจุบันเหลือ 39 %

สิ่งที่เป็นอุปสรรค

- กฟผ. ยังมีโครงสร้างทำงานอุ้ยอ้าย เป็น SILO ความเห็นเยอะ หลายขั้นตอน ขาดความคล่องแคล่ว

อ.จิระ : ให้ Turn idea into action อย่ามองที่ Supply side อย่างเดียว แต่ให้มองที่ Demand Side ด้วย ต้องให้คนออกความเห็น แต่ให้แก้ปัญหาและรับผิดชอบด้วย

ผู้บริหารระดับสูงต้องมีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงใน 4 เรื่องคือ

1. ปรับเปลี่ยนองค์กร

2. กระตุ้นทีมงาน

3. สร้างโอกาสใหม่ๆ

4. ปรับปรุงวิธีการทำงาน

THAILAND 4.0

  1. ต้องรวดเร็ว
  2. โลกาภิวัตน์
  3. ต้องใช้คนที่มีศักยภาพ
  4. ต้องมีนวัตกรรม
  5. ต้องมีธรรมาภิบาล

กฟผ. มีเรื่องสำคัญ 2 อย่าง คือ 1. ความสามารถองค์กร 2.ความสามารถคน

CHALLENCE

- Productivity through People.

- Organization Culture and Value.

- Diversity Generation.

- New Learning Dynamic.

- Employee Engagement.

เรื่อง GENERATION GAP อย่ามัวคิดถึงแต่เรื่องความแตกต่างของคนต่างวัย แต่ควรจะต้อง

-ทำความเข้าใจเป็นรายบุคคล

-ควรส่งเสริม ให้คนทุก GENได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมขององค์กรเพื่อสร้างความสัมพันธ์

-ศึกษาความต้องการของพนักงานแต่ละ GEN และนำมาพัฒนาปรับปรุงการบริหารทรัพยากรบุคคล

เรียนรู้จาก อดีต ผู้ว่าการ กฟผ.

ผวก. ไกรสีห์ : ให้รู้จักการปรับตัว ดูปัจจัย ดูโอกาส ภายในและภายนอก การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลรอบด้านและความเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม ผ่านวิกฤตเรื่องแปรรูป กฟผ. แต่ ปัจจุบัน กฟผ. ต้องยอมรับใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม การคัดค้านของกลุ่ม NGO การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เป็นเรื่องยากมากขึ้น มีแนวโน้มที่มีการแข่งขันสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็กๆและ รัฐส่งเสริมการแข่งขันทำให้แย่งตลาด กฟผ. สร้างสายส่งก็มีปัญหา ต้องดูแลจัดการให้ดี จุดแข็ง กฟผ. มีสถานที่ มีศูนย์ฝึกอบรม มีคนที่มีศักยภาพ มีเทคโนโลยี ความรู้ด้านไฟฟ้าไม่มีใครรู้ดีกว่า กฟผ.

ผวก. สุทัศน์ : ให้รู้จักมุมมองรอบด้าน ประเมินความเสี่ยง การบริหารวิกกฤตเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องเตรียม วันนี้อยู่ตรงไหน ต้องรู้อนาคต เรื่องสำคัญต้องทำอะไร เผชิญวิกกฤตไฟฟ้าภาคใต้ ต้องสื่อสารให้เป็น ต้องเตรียมผู้บริหารรุ่นถัดไปมองข้างหน้าเป็น10 ปี ผู้บริหารต้องสร้างทักษะ ความสัมพันธ์ มองกว้าง ปัจจัยความสำเร็จของ กฟผ.ไม่ได้ขึ้นอยู่กับภายในเท่านั้นแต่จะเกี่ยวกับผู้มีส่วนได้เสียภายนอกมาก จึงต้องมีความรู้มุมอื่นให้กว้าง ต้อง มีทักษะเจรจาต่อรองโน้มน้าวเป็น ต้อง มีเพื่อน พันธมิตร หัดมองจาก OUTSIDE IN ให้คิดของที่ใหญ่กว่าเดิม 1 เบอร์ เช่น ตอนนี้เป็นตำแหน่งผู้ช่วยผู้ว่าการ ก็ต้องคิดว่าถ้าตนเองเป็น รองผู้ว่าการขณะนี้จะคิดอย่างไร

ผวก. สมบัติ : พูดถึง วิกฤตเขื่อนปากมูลที่ กฟผ. เผชิญเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เดี๋ยวก็มาๆ แต่เป็นความ โชคดีที่ได้มีโอกาสพูดคุยทำความเข้าใจกับผู้นำสังคมในยุคนั้น เช่นคุณ ส. ศิวรักษ์ คุณสุริยะใส และท่านนายกฯ อานันท์ ทำให้สถานการณ์คลี่คลายลง ดังนั้น ผู้นำ กฟผ. ต้องปรับตัว ฝึกปรือเรื่องการสื่อสารกับสังคม รวมถึงการสื่อสารให้กับพนักงานเราให้รู้ การเปลี่ยนอะไรที่จะกระทบองค์กรต้องมีการสื่อสารให้รู้ทั่วกัน แต่บางเรื่องผู้บริหารก็ต้องเลือกสื่อสารเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวข้อง ต้องดูแลความเป็นอยู่สวัสดิการที่เหมาะสม สร้างกำลังใจ มีความเป็นธรรมเท่าเทียม จะได้รับความร่วมมือที่ดี ผู้บริหารก็ต้องฝึกตัวเองให้รอบรู้ด้วย เรื่องสำคัญต้องพยายามปลูกฝังความเป็นเจ้าของบ้านที่สองคือ กฟผ. ให้พนักงานทุ่มเททำงาน ไม่สุรุ่ยสุร่าย

ภักดี ปฏิทัศน์ EADP13 กลุ่ม 4

ช่วงที่ 4 15-17 พ.ค. 2560

1. ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ.ในยุค 4.0

  • ส่วนแบ่งการผลิตไฟฟ้าลดลงเรื่อยๆ
  • การต่อต้านโรงไฟฟ้าใหม่
  • พลังงานหมุนเวียนที่ต้นทุนลดลงเร็วมาก
  • ระบบผลิตและจำหน่ายที่คงจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปเนื่องจากหน่วยผลิตจะเล็กลง ขายตรงมากขึ้น

ทางแก้ใขคือคนกฟผ.ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว พยายามสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ พัฒนาตนเองให้พร้อมต่อสู้สิ่งใหม่ๆ รวมถึงต้องพยายามทำความทำความเข้าใจ ให้ผู้มีอำนาจหรือรัฐบาลปรับนโยบายเรื่องราคาค่ากระแสไฟฟ้าตามช่วงเวลา เนื่องจากกำลังสำรองการผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนที่คนส่วนใหญ่มองข้าม แต่กฟผ.ต้องเป็นผู้รับภาระโดยผู้ผลิตเอกชนไม่ต้องรับภาระส่วนนี้

2. ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ.

  • ผวก.ไกรสีห์ : ให้รู้จักปรับตัว ดูปัจจัย โอกาส ภายในและภายนอก ต้องตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลรอบด้านโดยเฉพาะผู้มีส่วนไดส่วนเสียทุกกลุ่ม แนวโน้มในอนาคตจะมีการแข่งขันสร้างโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก ต้องใช้จุดแข็งกฟผ.ให้เป็นประโยชน์โดยเฉพาะคนที่มีศักยภาพของ กฟผ.
  • ผวก. สุทัศน์ : ให้รู้จกมองรอบด้าน ประเมินความเสี่ยง บริหารความเสี่ยง ต้องสื่อสารและโฆษณาให้เป็น ต้องมีมุมมองที่กว้างต้องมีทักษะในการเจรจาต่อรอง ต้องมีพันธมิตรรอบด้าน และที่สำคัญต้องคิดให้ใหญ่กว่าตำแหน่งตัวเอง 1 เบอร์
  • ผวก.สมบัติ : เน้นเรื่องการสื่อสาร ผู้นำกฟผ.ต้องปรับตัว ฝึกฝนด้านการสื่อสารกับสังคม รวมถึงการสื่อสารภายในองค์กร และที่สำคัญต้องเลือกสื่อสารให้ถูกกลุ่มถูกเรื่อง ผู้บริหารต้องมีความเป็นธรรม ต้องพยายามปลูกฝังให้พนักงานกฟผ.มีความรู้สึกว่า กฟผ. เป็นบ้านหลังที่สองของพวกเขา

3. แนะนำให้รู้จักธรรมชาติบำบัด

  • การดูแลรักษาสุขภาพ ไม่จำเป็นต้องพึ่งการรักษาแผนปัจจุบันเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีวิธีการบำบัดอีกมากมายที่ไม่จำเป็ยต้องพึ่งยา เพียงแต่เข้าใจและรู้จักธรรมชาติบำบัด ก็สามารถนำมาเป็นตัวช่วยในการดูแลรักษาสุขภาพได้

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากสถาบันบัลวี สามานำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้หลายเรื่อง

4. ศิลปะสร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

  • จากการเรียนรู้ทำให้เข้าใจได้ว่า สิ่งที่เราไม่ถนัดก็สามารถทำให้ดีได้ ถ้ามีหลักการ มีขั้นตอน มีผู้สอนที่เชี่ยวชาญ และทำให้รู้ว่าศิลปะก็สามารถทำให้เกิดสมาธิ ผ่อนคลาย ซึ่งจะทำให้เกิดปัญญาในการพิจารณาแก้ใขปัญหาได้
กณิกนันท์ ปฐมนุพงศ์ กลุ่ม 5

สรุปบทเรียนช่วงที่ 415-17 พ.ค. 2560

ความท้าทายของ กฟผ. ในยุค 4.0

ต้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นต้องมีการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงานและบุคคลภายนอก

ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ.

ผู้นำต้องเอาใจใส่ผู้ใต้บังคับบัญชาสื่อสารให้ชัดเจนกับกลุ่มเป้าหมาย จัดให้มีการมอบหมายงานที่เหมาะสม การทำงานเป็นทีม พยายามปรับความแตกต่างระหว่างพนักงานในแต่ละ generation ต้องมีความเป็นธรรมในการพิจารณาความดีความชอบ และการทำงาน การตั้งกฎ กติกา และมีการเปิดเผย และโปร่งใส

ธรรมชาติบำบัด

การออกกำลังกายที่เหมาะสม และการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก สามารถช่วยในการแก้ไขปัญหาสุขภาพได้

EGAT and Change management

กฟผ. ต้องมีการบริหารการเปลี่ยนแปลง ความสำเร็จขึ้นกับการสร้างความหลากหลาย ต้องมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วในสถานการณ์ปัจจุบัน คนต้องพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลง ต้องมี นวตกรรมใหม่ๆ และต้องเป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาล การเปลี่ยนแปลงต้องมีอย่างต่อเนื่องเพื่อให้องค์กรไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ศิลปะสร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

การทำงานทุกวันใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา การผ่อนคลายโดยใช้สมองซีกขวาเพื่อทำงานศิลปะ โดยวาดรูปโดยใช้สีน้ำ ทำให้ทุกคนรู้สึกสนุกสนาน ผ่อนคลาย

นพวรรณ กาญจนะวรรณ กลุ่ม 6

Assignment 3 : 3-5 เมษายน 2560

Management Strategies-Planning-Organizing and Decision Making for EGAT Executives รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์

การจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ การวางทิศทางและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับ SWOT / โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง / จุดอ่อน จุดแข็ง

โครงสร้างของแผนกลยุทธ์

1. SWOT

2. Strategic Direction คือการวางทิศทางขององค์กรที่จะเดินไปสู่ในอนาคต

3. Strategy คือ กลยุทธ์ในการตอบสนองทิศทางในองค์กร

การจัดการเชิงกลยุทธ์ คือ การวางทิศทางและกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับ SWOT / โลกแห่งการเปลี่ยนแปลง / จุดอ่อน จุดแข็ง

กรอบที่ทำให้การทำแผนกลยุทธ์ไม่ประสบความสำเร็จ

1. ไม่สามารถวิเคราะห์อนาคตให้ตรงตามความเป็นจริง ไม่เข้าใจตนเอง

2. วิเคราะห์ SWOT ถูกแต่วางทิศทางผิด

วิธีการวางกลยุทธ์ที่ดี

1. การวิเคราะห์ SWOT ต้องมีคุณภาพ ถูกต้อง คือ มองอนาคตได้แม่นยำ รู้จักตนเอง

2. ต้องวางทิศทางให้ตรง รู้ทันการเปลี่ยนแปลงสั้น กลาง ยาว อย่าวางกลยุทธ์เยอะมาก ให้วางไม่กี่กลยุทธ์ แต่ตรงประเด็น

สิ่งสำคัญ คือ คุณภาพของแผน ที่จะทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

ศึกษาดูงาน ณ ธนาคารแห่งประเทศไทย

เรื่อง “นโยบายและสภาพเศรษฐกิจ การเงินของประเทศไทยกับผลกระทบกับการปรับตัวของ กฟผ. โดย คุณณัฐิกานต์ วรสง่าศิลป์

แนวโน้มเศรษฐกิจล่าสุดเน้น Sustainable Development Goal บนกติการะหว่าง Maximization และ Optimization คือ การอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่ทุกคนอยู่ได้

Acceleration Growth in Technology ทำให้ในอนาคตการใช้คนจะลดลง เราต้องเดินตามกฎ กติกาของโลก

ไทยมีการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำกว่า 4% อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไม่สามารถส่งออกได้ตามที่ต้องการ เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกและเสถียรภาพของรัฐบาล

ทิศทางเศรษฐกิจไทย

1. การส่งออกดีขึ้น การฟื้นตัวดีขึ้น

2. การท่องเที่ยวฟื้นตัวต่อเนื่อง

3. การใช้จ่ายภาครัฐเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจโลก

4. การลงทุนปรับตัวดีขึ้น

5. การบริโภคขยายตัวต่อเนื่อง

การติดตามเศรษฐกิจ ด้าน Demand Side จะดูเรื่อง Consumption Investment Import Export ด้าน Supply Side จะดูเรื่องการผลิต การขาย

ประเทศไทยจะยั่งยืนได้ก็ต่อเมื่อมี Innovation และผลิตได้ตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง

การใช้จ่ายรัฐบาลเพียง 10% แต่หลักใหญ่ต้องเป็น Private Investment

ประเทศไทย ควรคำนึงว่าเวลาเราจะลงทุนอะไร จะต่อยอดได้หรือไม่

ถ้ามองเรื่อง Growth ความเพียงพอนั้นเรามีความจำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้า แต่เมื่อมีโจทย์ของโลก โจทย์ของชุมชน กฟผ. ต้อง Optimism ให้ได้ ถามว่าการทำงานของภาครัฐสร้างความพอใจได้มากน้อยแค่ไหน ต้องทำอย่างไรให้เกิดขึ้นได้และเกิดประโยชน์โดยองค์รวม แนวทางของ กฟผ.

1. สร้างความเข้าใจ

2. สร้างความชัดเจน สิทธิการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม

3. EIA โปร่งใส

4. เพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทน

5. ประหยัดพลังงาน

ตัวอย่างการแก้ปัญหาของตลาดหลักทรัพย์ ที่กฟผ.สามารถนำมาปรับใช้ได้

1. กฎระเบียบ

2. Market Incentive

3. การแก้ไขปัญหาคุณธรรม จริยธรรมให้ผู้บริหาร

บรรยายพิเศษ เรื่อง การกำกับดูแลกิจการไฟฟ้าและประสิทธิภาพการทำงานของ กฟผ.

โดย ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ

ครม. มีมติเห็นชอบดำเนินการยกร่าง พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. .... เพื่อปรับโครงสร้างบริหารกิจการพลังงานให้เหมาะสม โดยแยกงานนโยบาย งานกำกับดูแล และงานปฏิบัติให้มีความชัดเจน และส่งเสริมการแข่งขันในธุรกิจพลังงานในระยะยาวเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2549 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 11 ธันวาคม 2550

พ.ร.บ. การประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยหมวดต่าง ๆ 9 หมวด

การทำงานของ กฟผ.ถูกกำกับดูแลโดย Regulator

ศึกษาดูงาน ณ บริษัทปูนซีเมนต์นครหลวงจำกัด (มหาชน)

หัวข้อ การบริหารจัดการองค์กรและการบริหารการเปลี่ยนแปลง

โดย คุณธนวรรณ เศรษฐพงษ์วานิช

การบริหารการเปลี่ยนแปลงจะสำเร็จได้ผู้บริหารต้องเป็นผู้นำ สร้างทีมที่เข้มแข็ง

มีการประชาสัมพันธ์ที่ทั่วถึงและสร้างความเข้าใจ ให้คนในองค์กรมีส่วนร่วมตั้งแต่ต้น การเปลี่ยนแปลงรวดเร็วและรุนแรงเราต้องสามารถที่จะตอบรับการเปลี่ยนแปลงได้ทันที

การดำเนินงานของทีม ยึดแนวทาง

1. Center of Expertise คือ ต้องประกอบด้วยคนที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างใดอย่างหนึ่งและมี Share Service

2. Business Partnership

3. Outsourcing

Change Management

1. Leadership ต้องมีการ Survey ความพร้อมว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

2. Impact เราต้องทำตัว CIA ทำ Workshop เพื่อหาแผนรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

3. Communication ต้องมี Communication Plan ทั้งภายนอกภายใน

4. Training การเปลี่ยนแปลงเช่นด้าน IT ต้องทำความเข้าใจ ให้ความรู้ด้วย

Change Network

ต้องมีการแบ่งว่าคนไหนเป็น Change Leader และ Change Agent

โครงสร้าง

1. ทำ Two way communication

2. Change Management โดยตั้ง Team Change management

ช่วงที่ 4 ระหว่างวันที่ 27-29 พฤษภาคม 2560

หัวข้อ การพัฒนา กฟผ.เป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุค 4.0

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

กฟผ. กำลังสูญเสียสัดส่วนการผลิต ทำอย่างไรให้อยู่รอด เศรษฐกิจต้องเป็นปลายน้ำในให้ได้ เช่น ลงทุนในพม่าร่วมกับไฟฟ้าในเมืองต่าง ๆ เพิ่มโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน ใช้บริษัทในเครือไปบุกเบิดธุรกิจตลาดพลังงานในอาเซียน สร้างธุรกิจใหม่ ๆ

ความท้าทายของ กฟผ. โดย ดร. ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

Productivity through people เพิ่มประสิทธิภาพงานผ่านระบบบริหารบุคคล

Organization Effectiveness วัดประสิทธิภาพองค์กรโดยดูจากระบบงานเอื้อต่อการทำงานขององค์กรเพียงใด

Organization Cultures and Values ต้องสอดคล้องกับการดำเนินงาน

Diversity-Generation สามารถบริหารจัดการความแตกต่างระหว่างวัย

New Learning Dynamic ต้องเรียนรู้ใหม่

Employee Engagement สร้างความผูกพันในองค์กรให้เกิด

บทสรุปผู้ว่าการ

ผู้ว่าการไกรสีห์ ใช้ network ในการบริหารงาน มีวิสัยทัศน์กว้างไกล

ผู้วาการสุทัศน์ มองการณ์ไกล มีทักษะในการบริหารความเปลี่ยนแปลง สอนให้คนคิดไกลกว่าระดับที่เป็นอยู่ เพื่อคิดไปข้างหน้า

ผู้ว่าการสมบัติ มีแนวคิดเชิงธุรกิจ เน้นการสื่อสาร 2 ทาง

ศูนย์สุขภาพบัลวี สอนการรักษาสุขภาพ การออกกำลังกายโดยการเหยียดยืดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายในน้ำ การบริโภคอาหารให้ดีต่อสุขภาพ การเป็นผู้บริหารต้องมีพื้นฐานด้านสุขภาพที่ดีเพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

17 พฤษภาคม 2560

EGAT and Change Management

ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

ปัจจุบันตลาดเปลี่ยนไป เดิมผลิตมากแล้วคุ้ม แต่ปัจจุบันตลาดเล็กลงเนื่องจาก Social Media แต่คนมีความต้องการหลากหลายมากขึ้น จึงเกิดการเปลี่ยนแปลง

การอยู่รอดได้ต้อง เปลี่ยนแปลงองค์กรให้เข้ายุค 4.0 โดย

1.ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

2.โลกาภิวัฒน์

3.คนที่มีศักยภาพพร้อมเปลี่ยนแปลง

4.นวัตกรรม

5.ธรรมาภิบาล

หลักการเปลี่ยนแปลงเน้น เร็วกว่า ดีกว่า และราคาถูกกว่า ปรับปรุงกระบวนการในองค์กร พัฒนาองค์กรไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง

การเปลี่ยนแปลงมี 2 สาย

1. เทคนิค

2. มนุษย์ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ยากสุดและท้าทายสุด

อุปสรรคที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลง

1.การต่อต้าน

2.ระบบไม่พร้อม

3.ผู้บริหารไม่เอาจริง

ดังนั้น องค์กรต้องมีเป้าที่ชัดเจน เปลี่ยนแปลงแล้วดีกว่าเดิม มีเครือข่าย

กระบวนการปฏิบัติงาน นำไอทีมาช่วยพัฒนาสินค้า ลดขั้นตอน ซึ่งการสื่อสารและการถ่ายทอดเป้าหมายสำคัญมาก

วัฒนธรรมการปฏิบัติงาน (Value) สร้างกลไกให้คนเปลี่ยนแปลง เพราะธุรกิจจะเติบโตโดยเน้นคุณค่าคุ้ม (Cost Value)

ศิลปะ.. สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

โดย อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร

ผู้นำควรมีทักษะหลายด้าน รวมถึงการใช้จินตนาการเพื่อฝึกฝนความคิดเชิงวิเคราะห์ รวมถึงใช้ผ่อนคลาย ช่วยสร้างให้เกิดสมาธิ

การฝึกวาดภาพมีหลายเทคนิค ซึ่งช่วยให้การวาดเป็นเรื่องที่สามารถทำได้แม้ไม่มีพื้นฐาน

ช่วงที่ 5 ระหว่าง 7-9 มิถุนายน 2560

หัวข้อ Creative & Innovative Thinking กับการพัฒนางานของ กฟผ.

อาจารย์ศรัณย์ จันทพลาบูรณ์

การสร้างนวัตกรรม ดำเนินการ 3 ขั้นตอน

1 ผู้นำปักธง

2 ให้ลูกน้องเสนอความเห็น

3 ลูกน้องลงมือทำ

Divergent Thinking ขั้นตอนการปักธงโดยเสนอความคิดที่หลากหลาย ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จากนั้นกรอง ด้วย 3 I

Influenceเรามีอิทธิพลต่อเรื่องนั้นหรือไม่

Imaginative สามารถมีทางออกได้หลากหลายวิธีหรือไม่

Important เรื่องนั้นสำคัญหรือไม่

การหา Gap Analysis

หากผ่านทั้ง 3 ปัจจัย จากนั้นประเมินคะแนนหาค่า ความแตกต่างระหว่าง Ideal กับ Actual ความเห็นใดมีความแตกต่างมาก ให้ความสำคัญและหาทางแก้ประเด็นนั้นๆ ก่อน ผู้นำที่ Creative และ Innovative จะปักธง ให้ลูกน้องคิดหาทางและลงมือทำ

Attitude – Mindset of EGAT Leaders

ศจ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ศจ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ

ทัศนคติที่ถูกต้อง คือ ความไว้วางใจ ให้โอกาส ไม่ใช่ใช้ระเบียบกำกับ ระบบต้องยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้

ผู้นำที่ดีต้องซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้

คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์

ผู้นำต้องซื่อสัตย์ กล้าหาญ มีน้ำใจ เคารพผู้อื่น ยุติธรรม อีกทั้งมีความมั่นใจในตัวเอง รู้จักตนเอง พร้อมปรับเปลี่ยน ฝึกคิดอย่างเป็นระบบ คิดรอบและคิดให้กว้าง คาดการณ์เก่ง ปิดประเด็นปัญหา บริหารความเสี่ยงให้ Zero Defect เตรียมความพร้อมในทุกเรื่อง

Life Coach for Happiness and Success โดย Jimi The Coach อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

การฝึกให้คนสามารถดึงศักยภาพในตนเองออกมา โดยมีความเชื่อพื้นฐานว่าทุกคนมีศักยภาพในตัว สอนให้คนเข้าใจในตนเอง เข้าใจพฤติกรรมที่ตนและผู้อื่นแสดงออก อะไรคือข้อจำกัดและสาเหตุที่อยู่เบื้องหลังพฤติกรรมต่าง ๆ ตลอดจนทำให้เข้าใจวิธีสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุขและสามารถพัฒนาตนไปสู่เป้าหมายที่ต้องการหรือที่องค์กรคาดหวัง

นายสรวิชญ์ หิมะมาน (กลุ่ม 3)

วันที่ 15 พฤษภาคม 2560

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ.ในยุค 4.0

ประเด็นท้าทายของ ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

  1. ธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานยังคงจำเป็นและต้องการในอนาคต
  1. การสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้แก่เอกชน
  1. กฟผ. ต้องนำเข้าพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อยๆ
  1. ความต้องการพลังงานโดยใช้พลังงานทดแทน
  1. การใช้ประโยชน์จากรูปแบบการบริหารธุรกิจสมัยใหม่ (บริษัทลูกของ กฟผ.)
  1. ตลาดพลังงานไฟฟ้าในอาเซี่ยนโตมาก
  1. การบริหารสินทรัพย์
  1. ธุรกิจใหม่เกี่ยวกับ Electrical Vehicles

ประเด็นท้าทายของ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

  1. กฟผ. ต้องหารายได้เพิ่ม
  1. ต้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
  1. ต้องลดความเสี่ยงในการทำงาน
  1. ต้องขจัดปัญหาที่เป็นอุปสรรค
  1. ต้องมีนวัตกรรมเป็นของตัวเอง
  1. ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้แก่พนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง

ในส่วนเรื่องคน

  1. ต้องเพิ่มประสิทธิภาพคนในองค์กร
  1. ต้องพัฒนาขึดความสามารถขององค์กร ระบบงาน ให้เทียบเคียงกับองค์กรชั้นนำระดับโลก
  1. สร้างวัฒนธรรมองค์กร หรือค่านิยมองค์กร
  1. Diversity
  1. New learning dynamic
  1. Enhancing employee engagement

วิชา ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. (การแสวงหาโอกาส-บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ

คุณไกรสีห์ กรรณสูต

ความเสี่ยง - ัจจุบันเป็นกรรมการกำกับกิจการพลังงานได้ให้มุมมองว่าปัจจุบันรัฐบาลส่งเสริมการแข่งขันในการผลิตไฟฟ้าซึ่งเป็นจุดเสี่ยงของกฟผ. / ประชาชนรวมทั้ง NGO ให้ความสนใจเรื่องสิ่งแวดล้อมทำให้กฟผ. ขยายธุรกิจได้ลำบาก / แนวโน้มของโลกคือผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก

การตัดสินใจ - ได้ยกตัวอย่างเรื่องการแปรรูปกฟผ. ที่มีการประท้วงของพนักงานเพราะพนง.มีความกังวลผวก.ต้องฟังความเห็นจากทุกด้านใช้วิธีเปิดใจกับพนง.ทุกระดับแล้วนำข้อมูลไปประมวลผล

คุณสมบัติ ศานติจารี

กล่าวถึงวิกฤติเรื่องเขื่อนปากมูลซึ่งเกิดขึ้นทุกรัฐบาลต้องใช้วิธีเข้าร่วมกับภาคประชาชนเพื่อสื่อสารให้สังคมรับทราบแนวทางของ กฟผ. รวมทั้งการสื่อสารภายในองค์กรแบบ 2 ทางเพื่อให้พนง. ทราบทิศทางของผู้บริหารพร้อมเปลี่ยนแปลงไปด้วยกัน

คุณสุทัศน์ปัทมสิริวัฒน์

กล่าวถึงวิกฤติไฟฟ้าดับภาคใต้ที่มีสาเหตุจากการไม่มีโรงไฟฟ้าเกิดขึ้นใหม่ในภาคใต้มีการตั้งศูนย์ประสานงานและสื่อสารเพื่อนำไฟฟ้ากลับมาให้เร็วที่สุด

วันที่ 16 พฤษภาคม 2560

บรรยาย“แนะนำให้รู้จักกับธรรมชาติบำบัด” โดย พญ.ลลิตา ธีระสิริ

ได้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาสุขภาพการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์รวมทั้งเข้าใจหลักการธรรมชาติบำบัดซึ่งส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจเรา

วันที่ 17 พฤษภาคม 2560

EGAT and Change Management โดย ศ.ดร.จีระหงส์ลดารมภ์ ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล

ได้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านบริหารจัดการแม้ว่าจะอยู่ในภาคธุรกิจที่ไม่เกี่ยวกับกฟผ. แต่ได้แนวคิดและวิธีที่สามารถมาปรับใช้กับกฟผ. ได้

ศิลปะ.. สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร โดย อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า

ศิลปะเป็นการใช้สมองอีกซีกที่ในวิชาชีพวิศวกรอาจไม่ค่อยได้ใช้งานแต่เป็นสิ่งที่สำคัญและดีต่อใจในการทำงานปัจจุบันเสมือนได้ผ่อนคลายและสะสมพลังเพื่อต่อสู้กับงานทางเทคนิคที่ต้องเผชิญในทุกๆวัน

สรุปบทเรียนจากหนังสือเรื่อง Harvard Business Review HBR’s 10 Must Reads on Innovation

ได้แนวคิดเรื่องการนำใช้นวัตกรรมมาช่วยเสริมภารกิจหน้าที่ในปัจจุบันการเรียนรู้กรณีศึกษาจากบริษัทชั้นนำของโลกรวมทั้งแนวคิดและหลักการในการคัดเลือกนวัตกรรมที่มีมากมายมาดำเนินการจริงต่อไป

นายกัมปนาท แสงสุพรรณ EADP 13 กลุ่ม 1

ช่วงที่ 4 , วันที่ 15-17 พฤษภาคม 2560

1. วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุค 4.0

โดย ผศ. ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

และ ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สรุปสาระสำคัญ : ความท้าทาย คือ วงจรของวิกฤติเศรษฐกิจอาจกลับมาเกิดขึ้นอีก ทำให้ธุรกิจต้องปรับตัวโดยเฉพาะธุรกิจสาธารณูปโภคเช่น กฟผ. เนื่องจากไฟฟ้ามีความจำเป็น ยังมีอนาคต ทำให้เอกชนอยากเข้ามาแบ่งเค้กก้อนนี้ด้วย

ปัจจุบัน กฟผ. มีส่วนแบ่งการตลาดที่ 39% จากเดิมเมื่อปี 2555 มี = 46% ลดลงในอัตราที่รวดเร็ว สิ่งสำคัญคือ กฟผ. ต้องคิดให้ Relevanceมากขึ้นต้องมีภูมิคุ้มกัน เดิมทุกธุรกิจต้นทุนและกลางน้ำจะใหญ่ แต่ปัจจุบันใครอยู่ปลายน้ำจะชนะ ในอนาคต Renewable Energy จะมาแรง กฟผ. ต้องประเมินความเสี่ยงเพื่อเข้าสู่ธุรกิจนี้อย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ไห้เสียส่วนแบ่งการตลาดมากเกินไปและเพิ่มเติมธุรกิจใหม่ร่วมกับบริษัทลูกให้มากขึ้น

ความท้าทายของ กฟผ. ในยุค 4.0 เช่น ต้องหารายได้เพิ่ม , มีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ขจัดปัญหาอุปสรรคในการทำธุรกิจ , มีนวัตกรรมเป็นของตัวเอง เป็นต้น ในความหมายนี้สิ่งที่ต้องสนใจเป็นพิเศษคือ “คน” ได้แก่

  • Productivity through people
  • Organization effectiveness
  • Organization culture and values
  • Diversity Generation
  • New Learning Dynamic

ทักษะผู้นำนั้นทำหน้าที่ Coaching กับ Mentoring ให้มากขึ้น และต้องเพิ่มแนวคิดด้าน Creation ที่ต้องรับจากภายนอกด้วย

2. ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. (การแสวงหาโอกาส –บริหารวิกฤติ / ความเสี่ยงและการตัดสินใจ)

จากอดีตผู้ว่าการ กฟผ. 1) คุณไกรสีต์ กรรณสูต

2) คุณสมบัติ ศานติจารี

3) คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

คุณไกรสีต์ กรรณสูต สรุปประเด็นคือ

  • คนใส่ใจสื่งแวดล้อมมากขึ้น มีการคัดค้านจาก NGO & คนท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
  • แนวโน้มเกิดธุรกิจใหม่ ๆ พร้อมเทคโนโลยีเกิดการแข่งขัน ทำให้กฟผ.สร้างโรงไฟฟ้าไม่ได้ตามแผน
  • การประท้วงของการสร้างสายส่ง
  • การตัดสินใจเกิดการบริหารข้อมูล
  • ต้องอาศัยการทำงานเป็นทีมมากขึ้น
  • ผู้บริหารงาน 80% , ด้านเทคนิค 20 %
  • ให้หลักพรหมวิเศษ 4
  • ผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดีให้คนศรัทธา
  • กฟผ. มีจุดแข็งในด้านโรงไฟฟ้าอนาคตต้องทำงานได้หลากหลายขึ้น
  • กฟผ. มีจุดเด่นที่การลงทุน . ประสบการณ์ , การเงิน , การบริหารและเทคโนโลยี ต้องนำบริษัทลูกให้ลงทุนต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
  • กฟผ. ต้องบริหารวิกฤตและความเสี่ยงให้ได้ เช่น วิกฤตภาคใต้เมื่อปี 2556
  • ต้องมี Connection ที่ดี เพื่อประสานงาน,การหาข้อมูลรองรับการสื่อสารกับสังคม
  • เน้นการสื่อสาร 2 ทาง เพื่อให้พนักงานให้ความร่วมมืออย่างเต็มใจ
  • ช่วงการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารต้องมีความเป็นธรรม เป็นขวัญกำลังใจดูแลทั่วถึง
  • การบริหารคนเป็นหลักการที่สำคัญ คอยช่วยเหลือ , Coaching และมี sense of belonging

คุณสมบัติ ศานติจารี สรุปประเด็นคือ

  • กฟผ. มีจุดเด่นที่การลงทุน . ประสบการณ์ , การเงิน , การบริหารและเทคโนโลยี ต้องนำบริษัทลูกให้ลงทุนต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน
  • กฟผ. ต้องบริหารวิกฤตและความเสี่ยงให้ได้ เช่น วิกฤตภาคใต้เมื่อปี 2556
  • ต้องมี Connection ที่ดี เพื่อประสานงาน,การหาข้อมูลรองรับการสื่อสารกับสังคม
  • เน้นการสื่อสาร 2 ทาง เพื่อให้พนักงานให้ความร่วมมืออย่างเต็มใจ
  • ช่วงการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารต้องมีความเป็นธรรม เป็นขวัญกำลังใจดูแลทั่วถึง
  • การบริหารคนเป็นหลักการที่สำคัญ คอยช่วยเหลือ , Coaching และมี sense of belonging
  • คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ สรุปประเด็นคือ

    - วิเคราะห์ปัจจัยภายนอก / ภายในให้มาก มีโอกาสและอุปสรรคที่ต้องบริหารจัดการ

    - การตัดสินใจของผู้นำในภาวะวิกฤติ

    - รู้จักการมอง Outside มากขึ้น

    - ผู้บริหารต้องมีทักษะเรื่องคนและการรู้จักหน่วยงานภายนอกทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

    - แสวงหา What to do ไม่ใช่ How to do อย่างเดียว

    - สนใจ Stakeholder มีทักษะในการโน้มน้าว 3. กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ

    วันที่ 16 พฤษภาคม 2560

    - บรรยาย “แนะนำให้รู้จักกับธรรมชาติบำบัด” โดย พญ. ลลิตา ธีระสิริ

    - แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม 3 อย่างคือ

    1. Mat exercise บริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ

    2. Hydro – aerobic

    3. อาบแสงตะวันซาวน่าอบสมุนไพร

    ปัญหาสุขภาพคนไทยที่พบบ่อยคือ โรคอ้วน , ไขมันในเลือดสูง , โรคภูมิแพ้ , โรคมะเร็ง เป็นต้น วิธีการบำบัดคือ การกำหนดภาวะโภชนาการให้เหมาะสม กินผักมากขึ้น , ลดหวาน มัน เค็ม , ทานสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น เบต้าแคโรทีน ฯลฯ , ทานอาหารธรรมชาติบำบัด พร้อมทั้งทำกิจกรรมกลางแจ้งให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกาย

  • 4. EGAT and change Management

    โดย ศ.ด.ร. จีระ หงส์ลดารมภ์

    ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

    ศ.ด.ร จีระ เสนอใช้หลัก 2 R’s คือ Reality and Relevance เพราะโลกยุคใหม่รวดเร็ว , แปรเปลี่ยนและคาดเดาได้ยาก , Leader ต้องสร้างการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร จาก transaction ไปสู่ transformation ด้านการบริหาร Change ตามกลยุทธ์การเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอนของ John Kotter และกฏ 9 ข้อของ Chira

    ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค อธิบาย เดิมธุรกิจมีแนวทาง Economy of scale ธุรกิจต้องคิดใหม่เพราะเกิดตลาดกลุ่ม Segment ย่อยๆ ตลาดเล็กลง ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น จึงต้องเปลียนแปลงโดยเฉพาะ Lifestyle ของคน เปลี่ยนแปลงไป องค์กรต้องทำให้ตัวเองเป็นองค์กร 4.0 ได้แก่

    1. ตอบสนองรวดเร็ว

    2. ตามโลกาภิวัฒน์

    3. คนต้องมีศักยภาพ

    4. นวัตกรรม

    5. ธรรมาภิบาล

    การท้าทายความเปลี่ยนแปลงคือ “คน”พฤติกรรมการทำงานเพราะจะมีการต่อต้านอยู่เสมอ ดังนั้น ผู้บริหารต้องสร้างความเชื่อถือ มีการกระตุ้นให้เปลี่ยน , สร้าง Motivation พร้อมมีเครือข่ายสนันสนุน

    5. ศิลปะ สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

    โดย อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร

    อาจารย์เจษฏา เนื่องหล้า

    สอนวาดรูปด้วยสีน้ำบนกระดาษด้วยการใช้พู่กันขนสัตว์

    ซึ่งได้มีการสอนตามเทคนิคและประสบการณ์ของอาจารย์ ได้แก่

    1. เทคนิคการฝึกระบายสี

    2. เทคนิคการวาดท้องฟ้า

    3. เทคนิคการวาดภูเขา

    4. เทคนิคการวาดทุ่งหญ้า

    5. เทคนิคการวาดแสงเงา

    6. เทคนิคการวาดต้นไม้ , ดอกไม้ สรุปประเด็นที่ได้ในช่วงที่ 4 รับทราบถึงประเด็นที่ท้าทายการดำเนินงานด้านกิจกรรมไฟฟ้าของ กฟผ. ซึ่งมาพร้อมกับประเทศไทย 4.0 โดยสัดส่วนการตลาดไฟฟ้าของ กฟผ. ลดลงในอัตราที่สูง ผู้บริหารและพนักงานต้องตระหนักและร่วมมือร่วมใจกันอย่างแท้จริงที่จะรักษาองค์กรให้มีความยั่งยืนโดยแนวคิด และข้อเสนอแนะของอดีตผู้ว่าการ 3 ท่าน คือ คุณไกรสีห์ , คุณสมบัติ และคุณสุทัศน์ เป็นแนวทางในการดำเนินงานต่อไป

    ร่างกายและจิตใจต้องมีความสมบูรณ์พร้อม จึงต้องรู้ถึงวิธีรักษาสุขภาพ การทานอาหาร การออกกำลังกาย และการมีชีวิตอย่างมีความสุข ที่ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

    EGAT กับการเปลี่ยนแปลง ในยุคโลกาภิวัฒน์ และนวัตกรรม ที่ทั้งเร็วและคาดเดาได้ยาก Renewable energy เข้ามามีบทบาทสำคัญมากใน กฟผ. จึงต้องแสวงหาโอกาสเพื่อการเติบโตด้วยการมุ่งพัฒนาศักยภาพของ “คน” ให้เข้มแข็ง Diversity Generation ของคนทุกรุ่นให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุด
สุธีร์ พร้อมพุทธางกูร กลุ่ม 6

ความท้ายทายของ กฟผ. ในยุค Thailand 4.0 (วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Stakeholders) โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล และดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ในขณะที่นโยบายด้านพลังงานไฟฟ้าในยุค 4.0 ยังไม่มีความชัดเจน แต่ส่วนแบ่งด้านการผลิตของ กฟผ.ลดลงเรื่อยๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อ กฟผ. ตามหลักการ กฟผ. ควรจะโตตามอัตราความต้องการใช้ไฟ จึงต้องเร่งดำเนินการ โดยการหาพันธมิตร ดำเนินการผ่านบริษัทลูก การพัฒนาประสิทธิภาพของคน

การนำไปใช้กับการทำงาน กฟผ. จะต้องปรับปรุงด้านการสื่อสารกับประชาชน ปัจจุบันจะพบว่า ทุกคนพูดถึง Solar ซึ่งราคถูกลงมา แต่ไม่เคยพูดถึงคุณภาพ การบำรุงรักษา การเก็บทำลายเมื่อหมดอายุการใช้งาน ราคาค่าไฟฟ้าในปัจจุบันที่ได้จากการเฉลี่ยจากพลังงานแหล่งต่างๆ ก็ยังไม่ได้สะท้อนความเป็นจริง กฟผ. ควรจะชี้แจงค่าไฟที่เป็นจริงของแต่ละเชื้อเพลิงให้ชาวบ้านทั่วไปเข้าใจ ต้นทุนค่าไฟจากพลังงานทดแทนแต่ละชนิดเป็นเท่าไหร่ ส่วนต่างราคาใครรับผิดชอบ เอาเงินส่วนไหนมาจ่ายให้ผู้ลงทุน ไหนรัฐต้องรับผิดชอบระบบสายส่งอีก ปัจจุบันคนที่รู้เรื่องนี้ เป็นคนที่อยู่ในวงการธุรกิจพลังงานเท่านั้น ประชาชนทั่วไปไม่รู้เรื่อง NGO พูดอะไรจึงเชื่อหมด ปัจจุบันตามคอลัมพ์ในสื่อสิ่งพิมพ์ต่างเรียกร้องให้ กฟผ.ชี้แจง จึงน่าจะเป็นโอกาสดี ที่ กฟผ. จะได้ชี้แจงข้อมูลที่เป็นจริง ให้ประชาชนเข้าใจในรูปแบบที่ง่ายๆ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือชาวบ้านตาดำๆ

ประสบการณ์ของผู้นา กฟผ. (การแสวงหาโอกาส –บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ)

ฟังเทปสัมภาษณ์อดีตผู้ว่าการ กฟผ. คุณไกรสีห์ กรรณสูต, คุณสมบัติ ศานติจารี, คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ กฟผ. มีโอกาสออกไปทำธุรกิจอื่นได้เช่น การจัดหา LNG ป้อนโรงไฟฟ้า การสร้างโรงไฟฟ้าทดแทนของเดิม หรือการออกไปรับงานต่างประเทศผ่านทางบริษัทลูก

การบริหารความเสี่ยงและวิกฤติ ปัจจุบันรัฐบาลส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน ประชาชนตระหนังเรื่องสิ่งแวดล้อม งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่โดนต่อต้าน ระบบส่งอาจจะถูกแยกออกจาก กฟผ. ทั้งหมดเป็นความเสี่ยงที่อาจทำให้ กฟผ. ล่มสลายได้

การนำไปใช้กับการทำงาน กฟผ. ต้องเตรียมตัวหาธุรกิจใหม่ๆรองรับ พัฒนาบุคลากร และสื่อสารข้อมูลกับประชาชนให้มาก เพื่อสร้างการยอมรับจากสังคม

กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบาบัดบัลวี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ รู้หลักการการเพิ่มภูมิต้านทานให้ร่างกายด้วยความร้อน เช่น อบสมุนไพร ซาวน่า อาบแดดด้วยใบตอง

การนำไปใช้กับการทำงาน สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ที่บ้าน

EGAT and Change Management โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์, ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งจำเป็นและต้องทำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้องค์กรเดินไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

การนำไปใช้กับการทำงาน กฟผ.จำเป็นต้องหา Business Model ใหม่ๆ ค่อยๆปรับทัศนคติคนในองค์กรให้ยอมรับ และต้องพยายามสร้าง Changw Agent ในแต่ละระดับให้ทั่วถึง เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

กิจกรรมรักษ์ใจ : ศิลปะ.. สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร โดย อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การวาดรูป การะบายสี เป็นกิจกรรมการเสริมสร้างสมาธิได้เป็นอย่างดี

การนำไปใช้กับการทำงาน เมื่อเกิดความเครียด หรือเบื่อหน่ายจากการทำงาน สามารถใช้กิจกรรมการระบายสีน้ำมาช่วยได้ เพราะได้เรียนรู้เทคนิคเบื้องต้นแล้ว

นายอนุสรณ์ สุขศรี ช.อรม-2. กลุ่มที่ 5

วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสาหรับการทำงานของ กฟผ.ในยุค 4.0 (วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้าและ Stakeholders)โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล และดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สิ่งที่ได้เรียนรู้ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุลธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นธุรกิจที่มีอนาคต ตัวอย่างเช่น กฟผ. การใช้ไฟฟ้าจะไม่ใช่ลักษณะการลงทุนแบบ Linear แต่เป็นลักษณะก้าวกระโดดการสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับเอกชน ถ้า กฟผ.ไม่ Relevance หรือ Make impact จะจบ กฟผ.ต้องคิดให้ Relevanceกฟผ.Import ไฟฟ้ามากขึ้นเรื่อย ๆ ถ้าเกิดต่างประเทศมีปัญหาจะกระทบการใช้ประโยชน์จากบริษัทลูก EGATต้องดำเนินการโดยเร็วเพราะตัวแม่ติดกฎระเบียบมากมาย

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์ ความท้าทายของ EGAT ในยุค 4.0 คือต้อง หารายได้เพิ่มต้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นลดความเสี่ยงเทคโนโลยีขจัดปัญหาอุปสรรคต่อการมีธุรกิจใหม่ อาทิ กฎระเบียบต่าง ๆมีนวัตกรรมของตนเองกฟผ.ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงาน กฟผ. และบุคลากรข้างนอก

สามารถนำไปใช้สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ปฏิบัติงาน ในการเข้าสู่ Egat 4.0


ประสบการณ์ของผู้นา กฟผ.

(การแสวงหาโอกาส –บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ)

ฟังเทปสัมภาษณ์อดีตผู้ว่าการ กฟผ. คุณไกรสีห์ กรรณสูต คุณสมบัติ ศานติจารี คุณสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์


สิ่งที่ได้เรียนรู้ จุดเด่นของผู้นำทั้ง 3 ท่าน ผวก.ไกรสีห์ เป็นนักประชา

สัมพันธ์ การตัดสินใจอยู่บนฐานข้อมูล ผวก.สุท้ศน์ เป็นนักบริหาร

ความเสี่ยง มองวิกฤติเป็นโอกาส ใช้หลัก 2Rs ผวก.สมบัติ เป็นผู้นำ

แบบนักธุรกิจโดยบริหารงานแบบเถ้าแก่ คือเน้นคน เช่นปลูกฝัง

ความเป็นเจ้าของ ดูแลและให้ความเป็นธรรมแก่ลูกน้อง


สามารถนำจุดเด่นของ ผวก.ทั้ง 3 ท่าน มาใช้เมื่อมีโอกาสเป็นผู้นำที่จะต้องฝ่าฟันในช่วงวิกฤติต่าง


กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบาบัดบัลวี


สิ่งที่ได้เรียนรู้ การออกกำลังกายในน้ำเหมะสำหรับใครบ้าง

ประโยชน์ของการอบซาวน่าและอบสมุนไพร การอาบแดด

เพื่อเพิ่มภูมิต้านทาน วิธีการบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ

การป้องกันและรักษาโรคต่างๆเช่นภูมิแพ้ โรคอ้วน โรคมะเร็ง

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย

ง่าย มีสมรรถนะในการทำงานดีขึ้น รักษาโรคภูมิแพ้ให้ตัวเองโดยกิน

วิตามิน C และ B5

EGAT and Change Management

โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

สิ่งที่ได้เรียนรู้ อ.จิระChange เป็นเรื่องสำคัญทั้ง Human capital และ Leadershipความแตกต่างของ Leader และ manager ,Transactional vs Transformation Leadershipหลัก 5 ข้อ ของ Leader กับ Change เช่น แต่ละคนรู้สึกกับการ Change ไม่เหมือนกัน ต้องศึกษาความต้องการของแต่ละคน การบริหารความกลัวเป็นต้น

ดร.เกริกเกียรติการเปลี่ยนแปลง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป วิธีที่ดีที่สุดในการทำนายอนาคตคือสร้างมันขึ้นมา People don’t resist change They resist being changed.ทำไมต้องเปลี่ยน? Forces of Change เช่น Digital convergence , Life styleเปลี่ยนอะไร? การวางแผนจัดการและพัฒนาองค์กรให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นแล้วหรือกำลังจะเปลี่ยนเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนอย่างไร? ใช้Change management 5 Activityการเปลี่ยนแปลงมีสองด้านคือด้านเทคนิคและด้านมนุษย์

สามารถนำไปบริหารและจัดการการเปลี่ยนแปลงหากองค์กรต้องเปลี่ยนแปลง


กิจกรรมรักษ์ใจ : ศิลปะ.. สร้างสมาธิและปัญญาสาหรับผู้บริหาร

โดย อาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า

สิ่งที่ได้เรียนรู้ ประโยชน์ของการวาดรูปเพื่อสร้างสมาธิและพัฒนา

สมองซีกขวาที่เป็นแหล่งความคิด Idea ใหม่ๆ วัสดุอุปกรณ์ในการ

ระบายสีน้ำเช่น ชนิดและขนาดของกระดาษ สีน้ำ พู่กันแบบต่างๆ

เทคนิคและวิธีการระบายสีน้ำเช่น Wet into Wet, Wet into Dry

การวาดรูปสีน้ำได้ลองวาดรูปสีน้ำจริงตามขั้นตอนของมืออาชีพ


สามารถนำไปใช้กับการทำงาน สร้างสมาธิเพื่อให้เกิดความคิดและ นวัตกรรมใหม่ๆโดยการวาดภาพโดยสีน้ำ และเพื่อเป็นการผ่อนคลายสมอง


นำพร ลิขิตลือชา กลุ่ม 5

EGAT Challenge

  • Productivity through People – ต้องวัดประสิทธิภาพของคน
  • Organization Effectiveness – ความสามารถขององค์กรในด้านต่าง ๆ
  • Organization Cultures and Values – วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร
  • Diversity-Generation – ความแตกต่างระหว่างรุ่น
  • New Learning Dynamic – วิธีการเรียนรู้ของคนในประเทศต้องเรียนรู้ใหม่
  • Employee Engagement – ความผูกพันขององค์กร สิ่งที่พนักงานผูกพันมากในองค์กรคือเรื่องความมั่นคง การดู Engagement ต้องดูในทุก ๆ ปัจจัย

แนวความคิดที่ได้จากอดีตผู้ว่าการทั้ง 3 ท่าน

โอกาสขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ในแต่ละช่วงเวลา กฟผ ต้องสร้างความเข้าใจกับบุคคลภายนอก และคน กฟผ ต้องปลูกฝังความเป็นเจ้าของ

ผู้นำต้องเตรียมความพร้อม ต้องรู้งานในมุมกว้าง และต้องสร้างลูกน้องให้เก่ง ผู้บริหารทุกคนต้องเตรียมตัว นำทฤษฎี 2R’s มาใช้ในการเผชิญวิกฤติ ผู้บริหารจะใช้ 2 ตัวนี้เสมอ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ว่าอยู่ด้านไหน ต้องยอมรับความจริงRelevance ประเด็นที่ต้องทำคืออะไร สถานการณ์อยู่จุดไหน เป็นอย่างไร มีประเด็นสำคัญอย่างไรบ้าง

ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำ มีมนุษยสัมพันธ์ในการสื่อสารกับผู้ปฎิบัติงาน และต้องเป็นตัวอย่างที่ดี เพื่อสร้างความศรัทธา มองประโยชน์ของส่วนรวม

โสตถิพันธุ์ คมสัน ช.อสอ.-สผ. กลุ่ม 2

การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว รุนแรง และฉับพลัน (disruptive) เป็นเรื่องท้าทายกับความอยู่รอดขององค์กรในปัจจุบัน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่รับผิดชอบด้านพลังงาน การปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นโอกาสเดียวที่จะทำให้องค์กรอยู่รอด โดยจะต้องมีนวัตกรรมใหม่ๆ มีการบริหารจัดการ ทั้งด้านเทคโนโลยี ด้านคน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง การกระตุ้นให้พนักงานเกิดความตื่นรู้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีวินัยในการทำงาน การบริหารของ กฟผ. ต้องนำระบบ lean เข้ามาใช้ เพื่อลดขั้นตอน ปรับกระบวนการให้กระชับ มีประสิทธิภาพ ไม่ให้เกิดการทำงานเป็นแบบไซโล สร้างพลังร่วมในการทำงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน

การพัฒนาไฟฟ้าในอนาคตอาจเป็นเรื่องไม่ง่ายที่จะพัฒนาโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ทั้งหมด ต้องมีการปรับแผนในการพัฒนาธุรกิจไฟฟ้าขนาดเล็ก เพื่อให้ กฟผ. รักษาสัดส่วนในการพัฒนาผลิตไฟฟ้า และยังคงความเป็นมืออาชีพด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศต่อไป

กรรณิการ์ อนุสิฏฐกุล กลุ่ม 4

ช่วงที่ 4 วันที่ 15-17 พฤษภาคม 2560

ในขณะที่กฟผ.ถึงยุคที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆรอบด้าน ที่จะต้องรวมกำลังกันของคนหลายรุ่น ที่จะช่วยกันนำพา กฟผ. ก้าวข้ามผ่านความท้าทายนี้ไปได้ ในอีกด้านหนึ่งทุนด้านทรัพยากรมนุษย์เป็นสิ่งสำคัญที่จะนำพาองค์กรก้าวไปข้างหน้า ดังนั้นคนต้องพร้อมก่อนทั้งกายและใจ การทำงานได้ดีมีคุณภาพ สุขภาพกาย สุขภาพใจต้องดีก่อน

ในช่วงที่ 4 ของการอบรม ในกิจกรรมกิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบาบัดบัลวี

ได้เรียนรู้ การดูแลสุขภาพกายแบบองค์รวม การออกกำลังการในน้ำซึ่งเหมาะกับผู้สูงวัย การยือเหยียดกล้ามเนื้อ การอาบแดด และวิธีการอบซาวน่า อบสมุนไพร

กิจกรรมรักษ์ใจ : ศิลปะ.. สร้างสมาธิและปัญญาสาหรับผู้บริหาร

การวดภาพด้วยสีน้ำ การสร้างสมาธิด้วยศิลปะ

การฝึกใช้สมองส่วนของความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งปกติจะไม่ค่อยได้ใช้ในส่วนนี้ มักใช้ในด้านการใช้เหตุผลมากกว่า

การอบรมในช่วงนี้ จึงถือว่าทำให้ผู้บริหารพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจในการที่จะทำงานให้องค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

ประสาท จันทร์เพ็ญ ช.อคภ.-ภ. กลุ่ม 5

สรุปบทเรียนช่วง 15-17 พฤษภาคม 2560

ประเด็นความท้าทายของ กฟผ. ในอนาคต โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัยอธิคมรัตนกุล

  • กฟผ. อยู่ในธุรกิจสาธารณูปโภคพื้นฐานที่ยังต้องการในอนาคต เป็นเรื่องความมั่นคงของประเทศ
  • การสูญเสียส่วนแบ่งทางด้านการตลาดให้กับเอกชน อดีตสัดส่วนการผลิตของ กฟผ. มี 46% ปัจจุบันลดเหลือ 39%
  • ขีดความสามารถการผลิตไฟฟ้า ใช้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนเป็นหลักยังคงต้องใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน, ก๊าซ เป็นหลัก
  • ความต้องการพลังงานไฟฟ้าของ กฟผ. โอกาสในอนาคต
  • การใช้ประโยชน์กับรูปแบบการบริหารธุรกิจใหม่ ในบริษัทในเครือของ กฟผ.
  • อนาคตตลาดพลังงานไฟฟ้า AEC โตมาก
  • การบริหารสินทรัพย์
  • ธุรกิจใหม่ๆ เกี่ยวกับ EV

กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี

เรียนรู้วิธีการดูแลสุขภาพ โดยวิธีการออกกำลังกายในน้ำอบสมุนไพรอาบแดดวิธีบริหารกล้ามเนื้อข้อต่อการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ สามารถนำมาใช้กับการทำงานรักษาสุขภาพให้แข็งแรงไม่เป็นโรคภูมิแพ้และไม่เจ็บป่วยทำให้มีชีวิตที่ยืนยาว

สมเกียรติ ย้อยเสริฐสุทธิ์

ช่วงที่ 4 , วันที่ 15-17 พฤษภาคม 2560

1. วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสำหรับการทำงานของ กฟผ. ในยุค 4.0

ถึงแม้ว่าการปรับตัวขององค์กรและพนักงานทุกคนเพื่อรับมือกับ disruptive technology จะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก็ยังมีประเด็นที่สำคัญ ที่เราต้องยอมรับความจริงคือ ผู้มีอำนาจตัดสินใจเชิงนโยบายระดับประเทศ ความเชื่อมโยงระหว่างกลุ่มทุนธุรกิจพลังงานกับผู้ใช้อำนาจรัฐ คือ ประเด็นท้าทายที่มีน้ำหนักมากที่สุดสำหรับการทำงานของ กฟผ.ในทุกยุคทุกสมัย จึงเป็นที่มาของความเห็นในวงสนทนาของผมว่า….. “คน กฟผ.” (ไม่ใช่ กฟผ.)ทั้งที่เกษียณไปแล้วและที่ยังทำงานอยู่ น่าจะมีการสร้างเครือข่ายร่วมกับพันธมิตรต่างๆเช่น อาจารย์ นักวิชาการที่เชื่อมั่นใน กฟผ.,กลุ่มชุมชนรอบโรงไฟฟ้าที่ยอมรับ กฟผ.,กลุ่มกิจกรรมนักศึกษาในมหาวิทยาลัย,กลุ่มสหภาพ,กลุ่มบริษัทฯที่มีความสัมพันธ์ ฯลฯ แล้วพัฒนาไปจนเกิดเป็นพรรคการเมืองที่มีเจตนารมณ์ปกป้องกิจการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานของรัฐอันจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของประชาชนหรือเพื่อความมั่นคงของรัฐ ตาม มาตรา 56 แห่งรัฐธรรมนูญ….ถึงตอนนั้น เมื่อ “คน กฟผ.” ได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมและมีอำนาจต่อรองทางการเมืองในโครงสร้างของการใช้อำนาจรัฐ ก็น่าจะทำให้ กฟผ. แข็งแกร่งรอบด้านและ สามารถนั่งพูดคุยบนเก้าอี้ที่มีความสูงเท่ากันกับส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องในเรื่องพลังงานไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดสรรโควต้าตามแผน PDP หรือเรื่องอื่นๆ และท้ายสุดประโยชน์จะตกแก่ประชาชนและประเทศชาติ…….คิดให้เยอะ คิดให้ต่าง แล้วค่อยเอาตะแกรงมาคัดกรองกันนะครับเพื่อนพ้องน้องพี่

2. ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ. (การแสวงหาโอกาส –บริหารวิกฤติ / ความเสี่ยงและการตัดสินใจ)

ถึงแม้ว่าผู้บริหารส่วนใหญ่ของ กฟผ.จะไม่ใช่ผู้เรียนสายตรงด้านบริหาร แต่ด้วยปัจจัยต่างๆรวมทั้งวัฒนธรรมองค์กร ทำให้ผู้บริหารส่วนใหญ่เหล่านั้นสามารถกลับมาเล่าเรื่องราวต่างๆในอดีตให้รุ่นหลังๆฟังด้วยความภาคภูมิใจ และสามารถอธิบายเหตุผลตามแนวคิดทฤษฏีบริหารได้ว่าทำไมในตอนนั้นถึงทำเช่นนั้น โดยสรุปคือน้ำหนักอยู่ที่ความโปร่งใสซื่อสัตย์สุจริต

3. กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบำบัดบัลวี (สามเสน) กรุงเทพฯ

สุขภาพกายและใจของผู้บริหารเป็นเรื่องสำคัญ แต่บางครั้งและบ่อยครั้งคนเราก็จะละเลยเรื่องเหล่านี้

4. EGAT and change Management

ดร. เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค อธิบายว่า เดิมธุรกิจมีแนวทาง Economy of scale แต่ปัจจุบันธุรกิจต้องคิดใหม่เพราะเกิดตลาดกลุ่มย่อยๆ ตลาดเล็กลง ทำให้เกิดความหลากหลายมากขึ้น จึงต้องเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะ Lifestyle ของคน เปลี่ยนแปลงไป เรื่องนี้น่าจะเทียบเคียงได้กับ Micro grid ที่ กฟผ.จะต้องเผชิญในอนาคตในใกล้

5. ศิลปะ สร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

หลังจากได้ร่วมวาดสีน้ำในคอร์สนี้แล้ว ผมมีความคิดว่า สมาธิความละเอียดอ่อนคือปัญหาของตัวผม แต่ไม่แน่ใจว่าจะสรุปถูกต้องหรือไม่

ช่วงที่ 4 ผู้นำแห่งทศวรรษใหม่

วิชาที่ 16 วิเคราะห์ประเด็นท้าทายสาหรับการทางานของ กฟผ.ในยุค 4.0 (วัฒนธรรมองค์กร/การสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กรและลูกค้า

และ Stakeholders)

โดย ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล และดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ดร.ศิริลักษณ์ เมฆสังข์

ความท้าทายของ EGAT ในยุค 4.0 คืออะไรหารายได้เพิ่มต้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นลดความเสี่ยงเทคโนโลยี ขจัดปัญหาอุปสรรคต่อการมีธุรกิจใหม่ อาทิ กฎระเบียบต่าง ๆมีนวัตกรรมของตนเองกฟผ.ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงาน กฟผ. และบุคลากรข้างนอก

สิ่งที่ต้องให้ความสนใจคือเรื่องคน EGAT Challenge

Productivity through People – ต้องวัดประสิทธิภาพของคน

Organization Effectiveness – ความสามารถขององค์กรในด้านต่าง ๆ

Organization Cultures and Values – วัฒนธรรมและค่านิยมองค์กร

Diversity-Generation – ความแตกต่างระหว่างรุ่น

New Learning Dynamic – วิธีการเรียนรู้ของคนในประเทศต้องเรียนรู้ใหม่หมดเลย

Employee Engagement – ความผูกพันขององค์กร สิ่งที่พนักงานผูกพันมากในองค์กรคือเรื่องความมั่นคง การดู Engagement ต้องดูในทุก ๆ ปัจจัย

ผศ.ดร.พงษ์ชัย อธิคมรัตนกุล

ประเด็นเรื่องความท้าทายของ กฟผ.

1. ธุรกิจสาธารณูปโภคเป็นธุรกิจที่มีอนาคต ดังนั้น กฟผ. มีอนาคตมากกว่า ปตท. อย่าง ปตท.ไม่เรียกสาธารณูปโภค

2. การสูญเสียส่วนแบ่งตลาดให้กับเอกชนในปี 2555 กฟผ.มีกำลังสัดส่วนส่วนแบ่งการตลาด 46%เราหมดไปกับ IPP 39% SPP 8% นำเข้า 7% ส่วนแบ่งตลาดปี 56 ลดไป 3 % เหลือ 43% ปัจจุบันมีสัดส่วนกฟผ.เหลือ 39% (ข้อมูลจากหลักทรัพย์กรุงศรี) หายไปเกือบ 7%

3..กฟผ.ต้อง Import มากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้นถ้าเกิดต่างประเทศมีปัญหาจะกระทบเรา เราจะยืมจมูกคนอื่นหายใจตลอดไปไม่ได้

4.ความต้องการพลังงานกับ EGATมีเรื่องพลังงานทดแทน พลังงานชีวมวล พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ สิ่งที่น่าสนใจคือโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ที่เชียงใหม่ขยะล้นเมือง สิ่งที่ถามคือ EGAT อยู่ในส่วนที่จะทำพลังงานตรงนี้ด้วยหรือไม่ ไม่เช่นนั้น ไฟฟ้าจะไปผูกกับ Local เป็นส่วนใหญ่ และผลผลิตที่ได้จะน้อย

5. การใช้ประโยชน์กับรูปแบบการผลิตใหม่ในบริษัทลูก EGAT ถ้าแม่ขยับ ลูกก็จะขยับ

ถ้าจะเก่งจริงต้องมีแผน 1 แผน 2 แผน 3

6.ตลาดพลังงานไฟฟ้าในอาเซียนโตมากตลาดที่เป็นเสรี เป็นของฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย การทำการตลาดเป็น Single Buyer Produce

7. การบริหารสินทรัพย์EGAT มีสัดส่วนกำไรเท่าไหร่ สุดท้ายกำไรเหลือ 5.99 ผลตอบแทนของสินทรัพย์สำคัญ เอาสมบัติเดิมมาหมุนได้

จากเดิม 70,000 ล้านบาทเป็น 160,000 ล้านบาท กำไรสุทธิ 26%ผล ROA

8. ธุรกิจใหม่ ๆ เกี่ยวกับ EV กฟผ.มี 1 Minibus มี 1 Charging Stationอนาคตรถ EV ต้องมา แต่ก่อนต้องแวะปั๊มน้ำมันต่อมาจะต้องแวะ Charging Station

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

ประเด็นความท้าทายของ กฟผ. ในด้านต่างถือว่า อาจารย์ได้วิเคราะห์ ได้ชัดเจนมากและสามารถใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาทิศทางของ กฟผ. ได้เป็นอย่างดี

วิชาที่ 17 ประสบการณ์ของผู้นำ กฟผ.(การแสวงหาโอกาส –บริหารวิกฤติ/ความเสี่ยงและการตัดสินใจ)

ฟังเทปสัมภาษณ์อดีตผู้ว่าการ กฟผ.

สิ่งที่ได้เรียนรู้

คุณไกรสีห์ กรรณสูต

ปัจจัยภายนอก กฟผ.มีโอกาสมาก บางอย่างเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคได้ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมการแข่งขัน กฟผ.อาจทำธุรกิจก๊าซได้นอกจากไฟฟ้า สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ก๊าซลดลงเรื่อย ๆ ต้องมีการนำเข้า LNG จากต่างประเทศ ปัจจัยเสี่ยงสมัยนี้คนมีความใส่ใจเรื่องสิ่งแวดล้อมมาก เป็นความเสี่ยงเรื่องการเจริญเติบโตของกฟผ. การสร้างโรงไฟฟ้าก็จะพบการคัดค้าน สังคม ชุมชนในพื้นที่ NGOs เป็นปัจจัยที่ขยายธุรกิจโรงไฟฟ้าได้ลำบาก การเจริญเติบโตหยุดชะงักได้

ผู้บริหารหนีกับเรื่องคนไม่พ้น การเป็นผู้บริหารระดับกลางและสูงความเกี่ยวข้องจะมากขึ้นเรื่อย ๆ เรื่องคนเป็นเรื่องที่ผู้บริหารต้องจัดการให้ดี มีเรื่องทีมเวอร์ก ผู้บริหารต้องมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี ผู้นำคือทำอย่างไรให้คนทำงานให้เรา อุทิศการทำงานให้กับเรา เราต้องมี พรหมวิหาร 4 คือ มีความรัก ความเมตตาต่อเขา มีความใส่ใจดูแล รักใคร่ เราต้องเป็นตัวอย่างที่ดี ดูว่าผู้บริหารเป็นอย่างไร ถ้าดูเรื่องคนที่ดี ต้องสร้างความศรัทธาให้กับพนักงาน ทำอย่างไรให้คนเขาศรัทธาเรา เขาจะอยากทุ่มเททำงานกับเรา ให้คนมองผลประโยชน์ส่วนรวม อย่ามองเรื่องส่วนตัวเป็นหลัก ทำยังไงให้มองส่วนรวม

คุณสุทัศน์ปัทมสิริวัฒน์

ผู้บริหารทุกคนต้องเตรียมตัว ได้นำทฤษฎี 2R’s มาใช้ในการเผชิญวิกฤติ ผู้บริหารจะใช้ 2 ตัวนี้เสมอ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ว่าอยู่ด้านไหน ต้องยอมรับความจริงRelevance ประเด็นที่ต้องทำคืออะไร สถานการณ์อยู่จุดไหน เป็นอย่างไร มีประเด็นสำคัญอย่างไรบ้าง การบริหารความเสี่ยงไม่สามารถทำให้เกิดได้

คุณสมบัติ ศานติจารี

จุดแข็งในการลงทุนเรื่องทีมการบริหารจัดการที่ดีที่ต้องออกนอกประเทศบ้าง อย่างไรก็ตาม กฟผ.มีบริษัทลูกที่แสวงการลงทุนมาทดแทนได้มากกว่าทำเอง ในฐานะผู้นำควรมีการสื่อสาร 2 ทางเป็นประจำเดือนละครั้ง หรือปีละครั้งให้พนักงานรู้ทิศทางที่เราจะไป ถ้าพนักงานรู้จะทำให้ทำงานง่ายขึ้น การสื่อสิ่งที่ดีพนักงานจะช่วยหมด การเปลี่ยนอะไรในองค์กรที่กระทบส่วนใหญ่เป็นการตัดสินใจที่ยั่งยืนดังนั้นการสื่อสารให้พนักงานต้องใจกว้าง

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

สามารถนำแนวทางของอดีต ผวก. ทั้ง 3 ท่าน ไปใช้เป็นแนวทางในด้านการแสวงหาโอกาส

บริหารวิกฤติและความเสี่ยง การตัดสินใจ

วิชาที่ 18 กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบาบัดบัลวี

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ได้เรียนรู้ในฐานการเรียนรู้ด้านสุขภาพ ต่างๆ 3 สถานนี

1Mat exercise เพื่อบริหารกล้ามเนื้อและข้อต่อ

2Hydro-aerobics

3อาบแสงตะวันซาวน่าอบสมุนไพร

ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง เครียด (ปวดศรีษะ ไมเกรน นอนไม่หลับ อาหารไม่ย่อย) โรคภูมิแพ้ โรคภูมิต้านทานทำร้ายตัวเอง เช่น SLE โรคเสื่อม เช่น ข้ออักเสบ โรคไต โรคมะเร็ง เด็กไทยไอคิวต่ำ

ภาวะโภชนาการกินอาหารของคนไทยกินอย่างไรให้ภูมิต้านทานดีเพราะพฤติกรรมการกินของคนไทยเปลี่ยนไป

กินผักน้อยลงกินหวาน มัน เค็มมากขึ้น กินอาหารกึ่งสำเร็จรูปเป็นประจำ

ผลของซาวน่าและการอบสมุนไพรสลับกับการอาบน้ำเย็น

1.ในที่ร้อนเลือดจะออกไปที่ผิวหนัง ในที่เย็นเลือดจะกลับเข้าสู่อวัยวะส่วนกลาง ทำให้อวัยวะภายในได้รับเลือดใหม่ไป เลี่ยงเป็นระยะ ๆ เป็นการลดอาการอักเสบหรือโรคภายใน

2. ความร้อนจะเพิ่มประสิทธิภาพเม็ดเลือดขาว

3. เป็นการบริหารอวัยวะภายในให้แข็งแรง

4. ให้ความรู้สึกกระปรี้กระเปร่า สดชื่น และผ่อนคลาย

การออกกำลังกายในน้ำ

- แรงลอยตัวของน้ำจะช่วยลดน้ำหนักตัว

- น้ำลึกระดับอกจะช่วยน้ำหนักตัวได้ถึง 70%

- น้ำทำให้คลายร้อน

- สนุกกว่าเนื่องจากเป็นรูปแบบของการออกกำลังกายแบบใหม่

- มีอุปกรณ์การออกกำลังกายในน้ำเพิ่มความแปลกใหม่ สามารถใช้เป็น Weight training ได้ด้วย

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

เป็นเรื่องที่ดีมากที่ผู้บริหารต้องรู้จักการบริโภค โภชนาการที่เป็นประโยชน์กับร่างกายและได้รู้ว่าอาหารประเภทใดก่อให้เกิดโรค นอกจากนั้นยังสามารถนำวิธีการโยคะ และการอบสมุนไพรไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี

วิชาที่ 19EGAT and Change Managementโดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ดร.เกริกเกียรติ ศรีเสริมโภค

สิ่งที่ได้เรียนรู้

1. Principle 5 ข้อของ Leaders กับ ChangeJohn Kotter ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Leading Change พูดถึง

กลยุทธ์ในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลง 8 ขั้นตอน โดยถือเป็นภาระของผู้นำที่จะต้องกระตุ้นองค์การให้เปลี่ยนแปลง ดังนี้

สร้างความรู้สึกถึงตระหนักถึงความจำเป็น สร้างความรู้สึกกระตือรือร้น และเร่งด่วนที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร (Establishing a sense of urgency)การรวมกลุ่มที่มีพลังมากพอที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง (Forming a powerful guiding coalition)

สร้างวิสัยทัศน์ (Creating a vision)การสื่อสารและถ่ายทอดวิสัยทัศน์ (Communicating the vision)

การให้อำนาจ และทำให้คนในองค์กรดำเนินการตามวิสัยทัศน์ (Empowering others to act on the vision)

การวางแผนเพื่อให้เกิดความสำเร็จในระยะสั้น (Planning for and creating short-term wins)

ประมวลการปรับปรุงเหล่านี้ให้ครบถ้วน (Consolidating Improvements and Producing Still More Change)

ปลูกฝังวิธีใหม่ในองค์การให้คงอยู่ (Institutionalizing new approaches)

2. กฎ 9 ข้อ Chira - Change Theory

3. Back to 2 R’s ว่า กฟผ. จะนำสิ่งใดมาใช้ให้เหมาะสมกับ Reality ขององค์กร Organizational Structure และ Culture กับตัวบุคคลจะต้องไปด้วยกันเมื่อมีอุปสรรค ต้องเอาชนะอุปสรรคและรู้จักปรับปรุงด้วย ทำได้ด้วยการรวมตัวกัน เพราะกฟผ.มีทุนมนุษย์มหาศาลที่มีความเก่ง

4. การเปลี่ยนแปลงมี 2 สาย

1. สายเทคนิค

2. สายมนุษย์ ทำได้ยากที่สุดและท้าทายที่สุด

ทำไมเปลี่ยนแปลงมนุษย์ยากที่สุด เช่น พฤติกรรมการทำงาน ถ้าเปลี่ยนได้ ก็จะเปลี่ยนได้

เชิง HR มองว่า Human side สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลง คนต้องมีความยืดหยุ่นพร้อมเปลี่ยนแปลง

อุปสรรคที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงการต่อต้าน (สิ่งที่จะถูกเปลี่ยน) ระบบไม่พร้อมผู้บริหารไม่เอาจริง

กิจกรรมหลัก มีเป้าชัดกระตุ้นให้เปลี่ยน เปลี่ยนแล้วต้องดีกว่าเดิม มีเครือข่ายสนับสนุน มีการสร้าง momentumความคิดเห็นผู้เข้าร่วม

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

สามารถประยุกต์ใช้ กฎ 9 ข้อ Chira - Change Theory , 2 R’sมาใช้ในการChange Management

วิชาที่ 20กิจกรรมรักษ์ใจ : ศิลปะ.. สร้างสมาธิและปัญญาสาหรับผู้บริหาร

โดยอาจารย์สาโรจน์ อนันตอวยพร อาจารย์เจษฎา เนื่องหล้า

สิ่งที่ได้เรียนรู้

ผู้นำต้องเก่งหลายด้าน ทุกท่านใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา สมองซีกซ้ายทำงานด้านตรรกะ หลักการและเหตุผล ควรมีการผ่อนคลายดังนั้น การระบายสีน้ำเป็นสีที่ควบคุมไม่ได้ ต้องฝึกควบคุมสมาธิและอารมณ์ ในการควบคุม นอกจากนั้น ยังได้เรียนรู้เทคนิคการเลือกอุปกรณ์ การใช้ด้านหยาบของกระดาษการใช้พู่กันขนสัตว์ การขึงกระดาษ การรู้เทคนิคทำให้ภาพสวยขึ้นได้ โดยใช้เทคนิค เปียกบนเปียก และเปียกบนแห้งวาดรูป และการฝึกระบายสีด้วยเทคนิคต่างๆ

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน

การระบายสีน้ำเป็นสีที่ควบคุมไม่ได้ ต้องฝึกควบคุมสมาธิและอารมณ์เป็นการฝึกการใช้สมองซีกซ้ายทำงานด้านตรรกะ หลักการและเหตุผล ควรมีการผ่อนคลาย

ความท้ายทายที่ EAGT เผชิญอยู่คือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี่อย่างรวดเร็ว คู่แข่งหน้าใหม่กำลังเข้ามากินส่วนแบ่งการตลาดของ EGATเรื่อยๆ ผู้นำของ กฟผ.กำลังถูกทดสอบความสามารถและศักยภาพในการนำองค์กรในขณะที่ กฟผ.เป็นองค์กรที่ใหญ่เกินไปไม่เหมาะกับสภาพการแข่งขันในปัจจุบันเนื่องจากคิดช้า ทำช้า เปลี่ยนแปลงช้าเกินไป หากกฟผ.ไม่สามารถจัดการความท้าทายเหล่านี้ได้ สังคมอาจจะได้เห็นองค์กรแห่งความทรงจำอีกแห่งในอนาคตอันใกล้นี้

การดูแลรักษาสุขภาพเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตส่วนตัวและการทำงาน balavi เป็นสถานดูแลสุขภาพและให้ความรู้ที่ถูกต้องในการดูแลสุขภาพซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากกับบุคลากรขององค์กร อีกทั้งยังจะช่ว่ยประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วยของพนักงานได้อีกด้วย

การวาดรูปเเป็นอะไรที่สอนคนได้ดีทั้งๆที่อาจารย์บอกทุกขั้นตอน ที่ละชั้นงตอน ทำทีละขั้นตอน ดูเหมือนง่ายแต่ทำจริงกลับทำไม่ได้ดั่งที่คิด สิ่งนี้เป็นเครื่องสอนให้ผู้เป็นหัวหน้างานหรือผู้บริหารเข้าใจผู้ใต้บังคับบัญชาได้ดีเวลาที่เค้าไม่สามารถทำให้งานสำเร็จตามที่ได้รับมอบหมาย อีกทั้งการวาดรูปเป็นการผ่อนคลายอารมณ์ทำให้เราได้เรียนรู้อารมณ์ของตัวเราเองว่าดีหรือไม่ดี และทำการแก้ไขได้ทันก่อนที่อารมย์ไม่ดีจะก่อให้เกิดความเสียหายกับการบริหารงานได้

1.การทำงานของ กฟผ.ในยุค 4.0

ต้องรู้ปัญหาสภาพที่แท้จริงขององค์กรที่เกิดจากผลกระทบภายนอกและวางกลยุทธ์เพื่อส่งผ่านผู้ปฏิบัติงานได้ทราบ และนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน กระตุ้นให้ผู้ปฏิบัติงานได้รับทราบข้อเท็จจริงมุมมองจากภายนอก เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน

2.ประสบการณ์ของผู้นำกฟผ.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ การเป็นผู้นำ ต้องเปิดใจยอมรับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ มีการทำงานเป็นทีม มีการสื่อสารสองทาง เพื่อเข้าใจร่วมกันและไปในทิศทางเดียวกัน

มองจากภายนอกให้เป็น Outside in และมองไปข้างหน้า เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อองค์กร

สิ่งสำคัญที่สุด คือมีความเป็นธรรม

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน นำมาประยุกต์ใช้ตามสถานการณ์และความเหมาะสม

3.กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบาบัดบัลวี

สิ่งที่ได้เรียนรู้ โรคภัยสามารถบำบัดได้ด้วยธรรมชาติ- สุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะละเลยไม่ได้ การดูแลรักษาสุขภาพ ง่ายๆ ก็ออกกำลังกายซึ่งจะต้องเหมาะกับวัย และทานอาหารให้เหมาะกับอายุ

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน นำมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิต

4. EGAT and Change Management

สิ่งที่ได้เรียนรู้

- จะต้องสร้างแรงจูงใจให้ทุคนรักองค์กร พร้อมที่จะร่วมการเปลี่ยนแปลง สร้างการเรียนรู้และพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง.

สามารถนำไปใช้กับการทำงาน นำแนวทางมาใช้ในการบริหารงาน

5.ศิลปะสร้างสมาธิและปัญญาสาหรับผู้บริหาร

การทำงานต้องใช้สมองทั้งสองซีก ซ้ายและขวาส่วนใหญ่ใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา สมองซีกซ้ายใช้คิด หลักการและความมีเหตุมีผล ควรมีการผ่อนคลายดังนั้น การระบายภาพด้วยสีน้ำเป็นสีที่ ควบคุมไม่ได้ จึงเป็นการฝึกควบคุมสมาธิและอารมณ์

สามารถนำไปใช้กับการทำงานนำมาใช้ในการผ่อนคลายจากความเครียดได้

นุชนาฏ เกษทอง ช.อทบ-ป. กลุ่มที่ 1

1.ความท้าทายของ กฟผ.ในยุค 4.0

- หารายได้เพิ่ม

- ต้องมีผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้น

- ลดความเสี่ยงเทคโนโลยี

- ขจัดปัญหาอุปสรรคต่อการมีธุรกิจใหม่ อาทิ กฎระเบียบต่าง ๆ

- มีนวัตกรรมของตนเอง

- กฟผ.ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้พนักงาน กฟผ. และบุคลากรข้างนอก

ดังนั้นการทำงานของ กฟผ.ในยุค 4.0

1.ต้องให้ความสนใจเรื่องคน

2.ต้องรู้ปัญหาสภาพที่แท้จริงขององค์กรที่เกิดจากผลกระทบภายนอกและวางกลยุทธ์

3.ต้องสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานทราบ และนำไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรม

2.ประสบการณ์ของผู้นำกฟผ.

สิ่งที่ได้เรียนรู้ จากอดีตผวก. 3 ท่าน การเป็นผู้นำต้องเตรียมตัวให้พร้อมกับโอกาสที่จะมาถึง ต้องรู้ในมุมมองด้าน Outside In มากขึ้นเพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่มีผลกระทบต่อองค์กร ต้องพบปะแลกเปลี่ยนให้มีมุมมองมากขึ้น ถ้าเป็นผู้บริหารต้องรู้ในมุมมองคนอื่นที่จะผลักดัน วิเคราะห์และทำงานให้สำเร็จได้ ต้องพัฒนาทักษะคน  มีการทำงานเป็นทีม ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลง การหาโอกาสให้องค์กร ต้องใช้ทักษะคน ต้องบริหารความสำคัญได้ ต้องพูดคุยเข้าใจรับฟังได้ ควรมีการสื่อสาร 2 ทางเป็นประจำ ถ้าพนักงานรู้จะทำให้ทำงานง่ายขึ้น ต้องเปิดใจยอมรับความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ต้องให้ประชาชนไว้วางใจ

ผู้บริหารทุกคนต้องเตรียมตัว สำหรับ คุณสุทัศน์ ได้นำทฤษฎี 2R’s มาใช้ในการเผชิญวิกฤติ ผู้บริหารจะใช้ 2 ตัวนี้เสมอ ต้องวิเคราะห์สถานการณ์ว่าอยู่ด้านไหน ต้องยอมรับความจริง Relevance ประเด็นที่ต้องทำคืออะไร สถานการณ์อยู่จุดไหน เป็นอย่างไร มีประเด็นสำคัญอย่างไรบ้าง

3.กิจกรรมรักษ์กาย ณ ศูนย์ธรรมชาติบาบัดบัลวี

การดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญที่จะละเลยไม่ได้  เน้นทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายที่เหมาะสมกับวัยสามารถนำไปใช้กับการทำงาน นำมาเป็นแนวทางในการใช้ชีวิต


4.หัวข้อ Change management

การเปลี่ยนแปลงองค์กรให้เข้ายุค 4.0 ต้องตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วของโลกาภิวัฒน์ซึ่งต้องเน้นคนที่มีศักยภาพเพื่อให้เกิดนวัตกรรม ทำให้องค์กรไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

หลักการเปลี่ยนแปลงเน้น เร็วกว่า ดีกว่า และราคาถูกกว่า

การเปลี่ยนแปลงเป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เลี่ยงการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ สิ่งสำคัญคือ ผู้นำ และคนในองค์กร ดังนั้นจึงต้องต้องมีกลยุทธ์ สร้างแรงจูงใจ ทีมงาน การปรับปรุง และมีการประเมินอย่างต่อเนื่อง

Change agent เป็นคนสำคัญในการเปลี่ยนแปลง และต้องมีในทุกระดับ

5.ศิลปะสร้างสมาธิและปัญญาสำหรับผู้บริหาร

ผู้นำต้องเก่งหลายด้าน คนส่วนใหญ่ใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา สมองซีกซ้ายทำงานด้านตรรกะ หลักการและเหตุผล ควรมีการผ่อนคลาย

การทำงานศิลปะจะช่วยผ่อนคลายได้ เช่น การระบายสีน้ำเป็นสีที่ควบคุมไม่ได้ ต้องฝึกควบคุมสมาธิและอารมณ์จึงจะวาดภาพได้


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท