พฤติกรรมสุขภาพกับ Health Belief Model


คุณอยากเห็นตัวเองในอนาคตเป็นคนที่ไปไหนมาไหนต้องใช้ไม้ค้ำยัน เป็นคนเคลื่อนไหวไม่สะดวก เป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง ฯลฯ หรือเปล่าคะ ถ้าไม่ ก็ต้องลดความเสี่ยงที่จะเป็นอย่างนั้น ด้วยการเปลี่ยนความเชื่อเกี่ยวกับตนเองตั้งแต่วันนี้

ที่ว่าต้องเปลี่ยนความเชื่อเกี่ยวกับตัวเองก่อน เพราะความคิดในใจที่เรายึดมั่นไว้จนเป็นความเชื่อ ทำให้เรามีการแสดงออกทางกาย วาจา ไปตามนั้นค่ะ ปัญหาสุขภาพตั้งต้นที่ความเชื่อจริงๆ มีการอธิบายในเรื่องของความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ ที่เบคเคอร์คิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1974 พอจะนำมาแจงให้จำง่ายๆได้ว่า คนเราอยากดูแลสุขภาพหรือไม่ใส่ใจ อยากออกหรือไม่ออกกำลังกาย ขึ้นอยู่กับ

เห็นภัย - เห็นผล - มีคนเล่า - เอามาชั่ง

ก็คือ

เห็นภัย คือการรับรู้ถึงภัยคุกคามด้านสุขภาพ หรือความรุนแรงของปัญหา รับรู้ว่า ภัยนั้นส่งผลร้ายอย่างไร ก็มีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ

เห็นผล คือการที่รู้ว่าผลของการมีร่างกายอ่อนแอ จะเกิดภัยกับตนเองอย่างไร หากเห็นว่าตนมีความเสี่ยงที่จะได้รับภัยนั้นเพราะสภาพร่างกาย ก็พร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพ

มีคนเล่า คือการได้รับข้อมูลทั้งด้านร่างกายและสิ่งแวดล้อม (เช่น ข้อมูลการส่งเสริมสุขภาพ) ที่กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ยิ่งได้รับข้อมูลมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพมากขึ้นเท่านั้น

เอามาชั่ง คือการชั่งน้ำหนักข้อดีและข้อเสีย การรับรู้ถึงอุปสรรคต่างๆ (เช่น ค่าใช้จ่าย ความพยายาม เวลา) และประโยชน์ (เช่น สุขภาพดีขึ้น รู้สึกดีขึ้น ดูดีขึ้น) เมื่อชั่งน้ำหนักดูแล้ว ถ้าเห็นข้อเสียมากกว่า พฤติกรรมสุขภาพก็จะไม่เปลี่ยนแปลง แต่หากเห็นข้อดีมากกว่า บุคคลก็จะเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ซึ่งการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมนั้น เกิดขึ้นเป็นขั้นๆไปค่ะ

คราวหน้า จะเล่าถึงการจัดลำดับขั้นของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพต่อนะคะ

หมายเลขบันทึก: 628439เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017 09:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท