ทุนชุมชนภาคตะวันตก กรณีศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านหนองควายเฒ่า ต.ดอนพุทรา อ.ดอนตูม จ.นครปฐม (ครั้งที่ 7)


ทุนชุมชนภาคตะวันตก กรณีศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมในการรวมกลุ่มปลูกผักปลอดสารพิษ บ้านหนองควายเฒ่า ต.ดอนพุทรา อ.ดอนตูม จ.นครปฐม


สวัสดีครับ ต่อเนื่องจากการสัมภาษณ์คราวที่แล้ว บทความในครั้งนี้กลุ่มของผมได้เข้าไปศึกษากิจกรรมภายกลุ่มของเครือข่ายกลุ่มผักปลอดสารพิษภายในครัวเรือน ให้ทุกท่านได้ทราบถึงกิจกรรมภายในกลุ่มว่าทำอะไรบ้าง ซึ่งมีด้วยกันหลายๆ ด้าน ดังนี้


1.สอนการทำการเกษตรแบบปลอดสารพิษให้กับสมาชิกกลุ่ม โดยสอนทำน้ำหมักชีวภาพใช้เองโดยสูตรที่สอนให้กับชาวบ้านได้แก่

สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพสำหรับปรับสภาพดิน

วัสดุที่ใช้ 1. มูลสัตว์ 300 กก.

2. แกลบดิน(เก่า) 300 กก.

3. แกลบดำ 300 กก.

4. รำละเอียด 100 กก.

5. น้ำปุ๋ยซากสัตว์ 20 ลิตร

6. ธาตุอาหารเสริม 20 กก.

7. ขี้ค้างคาว 5 กก.

8. เกลือแกง 2 กก.

9. เชื้อจุลินทรีย์ 5 ขีด

10. กากน้ำตาล 10 กก.

วิธีทำ

1. ขยายเชื้อจุลินทรีย์ โดยละลายกากน้ำตาล 10 กก. กับน้ำประมาณ 100 ลิตร ทิ้งไว้ประมาณ 1-2ชั่วโมง

2. ผสมรำละเอียด ธาตุอาหารเสริม ขี้ค้างคาว และเกลือแกง ให้เข้ากันแล้วแยกกองไว้

3. ผสมมูลสัตว์ แกลบดิน แกลบดำ ให้เข้ากัน เกลี่ยกองให้สูงเสมอกัน ประมาณ 1 คืบ

4. นำรำที่ผสมไว้แล้ว มาโรยบนกองปุ๋ยให้ทั่วเสมอกัน จากนั้นคลุกให้เข้ากัน

5. นำน้ำปุ๋ยซากสัตว์ผสมกับน้ำจุลินทรีย์ที่ขยายไว้ รดบนกองปุ๋ยให้ทั่ว แล้วคลุกให้เข้ากัน ให้รดน้ำเพื่อเพิ่มความชื้นให้ได้ประมาณ 40% (สังเกตได้โดย เมื่อใช้มือกำปุ๋ยแล้วบีบให้พอมีน้ำหยด เมื่อคลายมือปุ๋ยมีลักษณะจับกันเป็นก้อนหลวมๆ) กองหมักไว้ ประมาณ 15-20 วัน จึงน้ำไปใช้

วิธีใช้

ให้ใช้อัตราประมาณ 100-200 กก. ต่อไร่ หรือโรยรอบทรงพุ่ม สำหรับไม้ยืนต้นอายุ 1-2 ปี ใช้ประมาณ 2 กก. ถ้าต้นไม้อายุ 3 ปีขึ้นไป ใช้ประมาณ 2-5 กก. ต่อต้น


สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพสำหรับบำรุงต้น สะสมอาหาร

วัสดุที่ใช้ 1. ขี้หมู 400 กก.

2. ขี้วัว 300 กก.

3. แกลบดำ 100 กก.

4. รำละเอียด 100 กก.

5. อินทรียวัตถุ 100 กก.

6. ธาตุอาหารเสริม 20 กก.

7. ขี้ค้างคาว 5 กก.

8. เกลือแกง 4 กก.

9. เชื้อจุลินทรีย์ 2 ขีด

10. น้ำปุ๋ยซากสัตว์ 10 ลิตร

วิธีทำและวิธีใช้

เหมือนกับสูตรปรับสภาพดินสูตรปุ๋ยหมักชีวภาพ น้ำปุ๋ยปลาสูตรรวม


สูตรปุ๋ยหมักชีวภาพ(ปุ๋ยปลา)

วัสดุที่ใช้ 1. ปลาสด 30 กก.

2. เชื้อจุลินทรีย์ 2 ขีด

3. กากน้ำตาล 10 กก.

4. กล้วยสุก 3 หวี

5. สับปะรด 3 หัว

6. มะละกอสุก 3 ลูก

7. ขนุนสุกทั้งลูก 3-4 กก.

8. น้ำสะอาด ¾ ของถังหมัก

วิธีทำ

หมักปลากับกากน้ำตาลทิ้งไว้ 1 คืน ขยายเชื่อจุลินทรีย์ แล้วเติมลงไป หมักทิ้งไว้อีก 7 วัน เติมผลไม้ที่หั่นหรือสับเป็นชิ้นๆลงไป หมักต่ออีก 3 เดือน เป็นอันใช้ได้

วิธีใช้

อัตราการใช้ 2 ช้อนแกง ผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นตอนเช้าหรือเย็น ช่วยเร่งการเจริญเติบโตและกระตุ้นให้พืชออกดอกและติดผล


สูตรปุ๋ยน้ำฮอร์โมน

ช่วยในการสร้างตาดอก ติดผลดก ขั้วเหนียว เพิ่มผลผลิต เร่งสี รสหวาน

วัสดุที่ใช้ 1. เศษผลไม้สีเหลือง(ขนุน ทุเรียน ฟักทอง กล้วย มะละกอ) 50 กก.

2. กาก้ำตาล 20 ลิตร

3. น้ำหัวเชื้อจุลินทรีย์ 20 ลิตร

4. ปลาร้าอย่างถูก 5 กก.

5. น้ำสะอาด 50 ลิตร

วิธีทำ

ละลายกากน้ำตาลกับน้ำสะอาดผสมหัวเชื้อจุลินทรีย์ จากนั้นใส่ปลาร้าลงไป คนเข้ากัน ปล่อยทิ้งไว้ สับเศษผลไม้ลงไป (ถังหมักควรใช้ขนาด 150 ลิตร) ปิดฝาไว้ ในระยะ 2 เดือนแรกควรคนทุกสัปดาห์ หลังจากนั้นประมาณ 4 เดือนนำไปใช้ได้

วิธีใช้

สำหรับเร่งดอกให้ใช้อัตราส่วน 1:200 ฉีดพ่นสัปดาห์ละครั้ง

สำหรับขยายผล ขั้วเหนียว ติดผลดก ให้ใช้อัตราส่วน 1:400 ควรฉีดตอนเย็น หรือปุ๋ยธรรมชาติเช่นปุ๋ยคอกในการทำการทำเกษตรวิธีการดูแล ก็เพียงแค่ รดน้ำ ใส่ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก คอยตรวจดูความเรียบร้อย


2. แจกพืชพันธ์ให้กับสมาชิกในกลุ่มได้ไปปลูกต่อเพิ่มรายได้ ได้แก่

- คะน้า

- มะนาว

- พริก

3. แจกปุ๋ยให้กับสมาชิกในกลุ่ม

4. มีแปรงตัวอย่างในสถานที่ตั้งกลุ่ม





ภาพแปลงเกษตรตัวอย่างของกลุ่มผักปลอดสารพิษ

(ภาพถ่ายโดยนายภัทรภณ ศิริเลิศ)



ภาพแปลงเกษตรตัวอย่างของผู้ใหญ่บุญเติม สระจูม

(ภาพถ่ายโดยนายภัทรภณ ศิริเลิศ)

หมายเลขบันทึก: 628435เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2017 03:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2017 21:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท