สวัสดีครับลูกศิษย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ชาว Blog
ภารกิจสำคัญของผมอีกภารกิจหนึ่งนับจากวันนี้ คือ การได้รับเกียรติจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มอบให้ผมเป็นครูใหญ่ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3สำหรับบุคลากรของคณะแพทย์ฯ และหน่วยงานเครือข่ายของคณะแพทย์ จำนวน 55 คน ต่อเนื่องจากรุ่นที่ 1 และ 2 ซึ่งได้พัฒนาผู้นำรุ่นใหม่สำหรับการทำงานของคณะแพทย์ฯ ในอนาคตไปแล้วจำนวน 100 คน เมื่อปีที่ผ่านมา
ผมขอขอบคุณท่านคณบดี รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มอ. พญ.กันยิกา ชำนิประศาสน์ ศ.นพ.สงวนสิน รัตนเลิศ ท่านรองคณบดีทั้ง 2 ท่านซึ่งให้เกียรติผมและทีมงานเสมอ และขอชื่นชมที่ท่านเป็นผู้นำที่มีปรัชญาและความเชื่อเรื่องทุนมนุษย์ว่าเป็นทุนที่สำคัญที่สุดที่จะขับเคลื่อนความเป็นเลิศขององค์กร ซึ่งเป็นความเชื่อและศรัทธาที่ทำให้ผมมุ่งมั่นทำงานในเรื่องทุนมนุษย์ หรือ ทรัพยากรมนุษย์ มากว่า 35 ปี
โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 จะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรต่อเนื่องระยะยาว รวม 20 วัน โดยในช่วงที่ 5 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2558
ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองของลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ
.......................................................................................
ภาพบรรยากาศการเรียนรู้ของโครงการฯ
วันที่ 14 : วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน 2558
นำเสนองานกลุ่ม : สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงาน
และแนวทางการปรับใช้ให้เกิดคุณค่าที่คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
นำเสนองานกลุ่ม : สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานและแนวทางการปรับใช้ให้เกิดคุณค่าที่คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
วันที่ 17 กันยายน 2558
เกริ่นนำ โดย ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
ศ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงการไปศึกษาดูงานในแต่ละที่นั้นว่ามีส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้แบบ Chira way เนื่องจากในแต่ละที่เคยมีบุคลากรที่ได้เรียนกับ ดร.จีระ กันมาแล้ว ซึ่งการฝึกตามแนว ดร.จีระ ที่แนะนำคือ C-U-V คือหมายถึง ไม่ใช่แค่ Copy เท่านั้นแต่ต้อง Understand และนำไปสร้างมูลค่าเพิ่มด้วย
ดร.จีระ ได้กล่าวถึงความไม่เหมือนกันคือความสำเร็จ เพราะแต่ละคนไม่เหมือนกันจึง สามารถก่อให้เกิดคุณค่าจากความหลากหลาย หรือเรียกว่าเป็น Value Diversity เป็นคุณค่าที่จับต้องไม่ได้ อย่าง ดร.จีระ มองในมุมของ Happiness Capital แต่คนอื่นอาจเรียกว่า Happiness at work เป็นต้น
ดังนั้นในการนำเสนองานกลุ่มเช้านี้ จึงอยากให้เกิดการปะทะกันทางปัญญา คือเมื่อเสนออะไรแล้วให้แสดงความเห็น หรือที่เรียกว่าเป็นลักษณะการเรียนรู้แบบ 4 L’s ได้แก่
- Learning Methodology คือ กระตุ้นให้คิด
- Learning Environment คือ มีบรรยากาศการเรียนที่ดี เช่นดอกไม้สด
- Learning Opportunities คือ มีโอกาสในการปะทะกันทางปัญญาและสร้างมูลค่าเพิ่ม เช่น ดร.จีระ พูด 1,2,3,…, คนอื่นต้องพูด 4,5,6,… ทุกคนต้องเปิดทัศนคติ และเปิดใจให้กว้าง ถ้าโลกเปลี่ยน เราก็เปลี่ยน Moment ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจะค่อย ๆ เกิด ไม่เกิดโดยทันทีและบางครั้งอาจเกิดโดยไม่รู้ตัว ให้ลองไปศึกษาดูว่า Moment ไหนที่ทำให้เราเกิดพฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง
- Learning Communities คือการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้
กลุ่มที่ 1 สรุปการดูงานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน)
Brand
การบินไทยมุ่งเน้นคือการสร้าง Brand ใช้หลัก 3 D ของ Walt Disney คือ Dare Dream Do กล้าฝัน และกล้าทำ
และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเฉดสีจากเดิมม่วงแดง เปลี่ยนเป็นม่วงน้ำเงินเพื่อความทันสมัย
คณะแพทยศาสตร์ มอ. เป็นสัญลักษณ์พระราชทาน
สัญลักษณ์
การบินไทย เป็นดอกกล้วยไม้
คณะแพทยศาสตร์ มอ. การเปลี่ยนรูปลักษณ์อาจทำได้ในลักษณะเฉดสี เช่นใช้สีของดอกศรีตรัง
การรักษาภาพลักษณ์
การบินไทย เน้นเรื่อง Good News มีการส่งต่อภาพลักษณ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทำอย่างไรให้เกิดความรู้สึกที่ดี ในการสร้างภาพลักษณ์การบินไทย เน้นการส่งเสริมสังคม สิ่งแวดล้อมและให้คนภายนอกรับทราบ
CSR – การช่วยเหลือสังคม ส่งเสริมสนับสนุนสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น นำเด็กจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปเที่ยว
เรื่อง Bad News - “ข่าวร้ายลงฟรี ข่าวดีเสียตังค์”การบินไทยจะมีวิธีการที่ทำให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด
การดูแลลูกค้า มีการดูแลเมื่อเกิดผลกระทบทางด้านวิกฤติ มีการส่งกลับ ยกเว้นค่าธรรมเนียมเป็นต้น
คณะแพทยศาสตร์ มีความรู้สึกของการเป็นลูกพระบิดา จึงมองที่ประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
การกำหนดวิสัยทัศน์
การบินไทย เน้นเรื่อง คน เน้นการซึมลึก มีวิสัยทัศน์ คือ The First choice Carier with touches of Thai เป็นสายการบินที่ลูกค้าเลือกเป็นอันดับแรก ให้บริการดีเลิศด้วยเสน่ห์ความเป็นไทย คือเลือกบินโดยเสน่ห์หา
คณะแพทยศาสตร์ เป็นคณะแพทยศาสตร์ชั้นเลิศ ระดับนานาชาติ เพื่อสังคมไทย ประเด็นจึงอยู่ที่เรื่องการสร้างความเข้าใจในทุกระดับ
การสื่อสาร
การบินไทย ดูแลข่าวสารทุกด้าน ทั้งวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ Social Media เน้นเรื่องภายนอกและภายในต้องเท่าเทียมกันเสมอ และพนักงานต้องทราบข่าวอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ รวมถึงในตัวผู้ลงทุนด้วย เน้นการส่งข้อมูลที่ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อการบินไทย การทำงานเน้นการเชื่อมโยงกันระหว่าง Branding&Marketing ตลอดเวลา เน้นการส่งข้อมูลที่ไม่ก่อให้เกิดความสูญเสีย
คณะแพทย์ศาสตร์ สื่อตามสายบังคับบัญชา และติดป้ายตามคณะต่าง ๆ
Marketing
การบินไทยเน้นเรื่องภาพลักษณ์ที่ดี High touch World Class Thai touch เน้น Personality เป็นดอกกล้วยไม้ ลายไทย ผ้าไทย ความเป็นไทย เน้นเรื่องการสร้างความสัมพันธ์ยั่งยืน
คณะแพทย์ศาสตร์ เน้นเรื่อง TQCSM (Team Quality Customer Safety Moral) เป็นค่านิยมหลัก 5 ประการ ที่คณะแพทยศาสตร์มุ่งเน้น ไม่มีการตลาดเนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐ
การจัดการภาวะวิกฤติ
การบินไทย เมื่อเกิดเหตุจะมีการประสานงานอย่างใกล้ชิด รายงานตรงต่อกรรมการผู้จัดการใหญ่และทำงานร่วมกัน มีการสื่อสารต่อประชาสัมพันธ์องค์กร เขียนข่าวเป็น core masses sent to การบริหารจัดการเรื่องการบินตามตาราง รวมถึงดูแลพนักงานที่ต้องทำงาน เช่นกรณีน้ำท่วมใหญ่
คณะแพทยศาสตร์ มีการจัดทำแผนรองรับ โดยกำหนดแนวทางการปฏิบัติอย่างชัดเจน แผนในทุกเรื่อง มีการประสานงานใกล้เคียงการบินไทย แต่มีความแตกต่างคือเป็นหน่วยตั้งรับให้บริการภายนอก เป็นที่พึ่งพิงของภายนอก จัดสถานที่และอำนวยความสะดวกต่าง ๆ
แผนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน
การบินไทย กับ คณะแพทยศาสตร์ มีความใกล้เคียงกัน
- Reduction :
- Readiness :
- Reaction :
- Recovery :
การบินไทย มีการคาดการณ์ จัดเตรียมขั้นตอนวิธีการเพื่อลดผลกระทบ
คณะแพทยศาสตร์ มีการวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนจากภายในองค์กร รวมทั้งโอกาสและอุปสรรคซึ่งส่งผลกระทบจากภายนอก (SWOT Analysis) ทุก 5 ปี และนำมาทบทวนทุกปี
การบินไทย การจัดทำตามแผนที่ได้กำหนดไว้ หากมีผลกระทบ
คณะแพทยศาสตร์ มีการวางแผนการดำเนินการและซ้อมแผนในทุกปี
การบินไทย การควบคุม การตอบสนองต่อภาวะวิกฤต
คณะแพทยศาสตร์ การประสานงานทั้งภายในและภายนอกองค์กร การสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายเพื่อผลกระทบ
การบินไทย กู้สถานการณ์เมื่อเกิดเหตุการณ์ / การใช้ประโยชน์จากเหตุการณ์
คณะแพทยศาสตร์ การปรับปรุงแผนจัดการให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
ตัวอย่าง : การแก้ปัญหาในช่วงเวลาวิกฤต
การบินไทย มีการเตรียมแผนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ทุกรูปแบบ
คณะแพทยศาสตร์ มีการจัดทำแผนรองรับและทบทวน อาทิ ไฟไหม้ น้ำท่วม อุบัติเหตุหมู่ ขู่วางระเบิด โรคอุบัติใหม่ ถูกร้องเรียน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวว่าสิ่งที่การบินไทยเน้นย้ำคือเรื่องการสร้าง Branding และ Crisis ทำให้เรียนรู้ถึงวิธีการในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และการที่จะแข่งขันกับสายการบินอื่น ๆ การบินไทยจึงจำเป็นต้องสร้าง Branding ให้ดี
การที่คณะแพทยศาสตร์ เน้น โปรโมททางด้าน TQCSM นั้นดีมาก และคณะแพทยศาสตร์ควรให้ความสำคัญที่ต้องเรียนรู้ด้านการจัดการ Crisis ให้ดี เช่น กรณีภาคใต้
กลุ่มที่ 2 สรุปผลการศึกษาดูงานที่ กฟผ.
สิ่งที่คาดหวังว่าจะได้รับจาการศึกษาดูงานที่ กฟผ. คือ การได้สัมผัสบรรยากาศและสภาพแวดล้อมของการเรียนรู้การทำงานที่ดี ศึกษาโครงสร้างการทำงานและบริหารทีมงาน เรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดีและสามารถนำมาปรับใช้งานต่อไป
สิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงาน
- องค์กรและสภาพแวดล้อมของ กฟผ. มีโครงสร้างที่มีสายบังคับบัญชาชัดเจน มีการมอบหมายอำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบให้แก่บุคลากรอย่างเหมาะสม กำหนดนโยบาย ข้อบังคับ ระเบียบปฏิบัติครอบคลุมการปฏิบัติงานทุกด้าน มีนโยบายและระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลอย่างชัดเจน ยึดถือปฏิบัติ สนับสนุนส่งเสริมให้มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบงานบัญชีและการเงิน รวมถึงระบบงานเพื่อการบริหารอื่น ๆ ที่มีประสิทธิภาพ
- การบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัย มีการกำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงแบบบูรณาการทั่วทั้งองค์กร โดยมีการจัดการอย่างเป็นระบบและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จัดให้มีคณะกรรมการ บริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่กำกับดูแลการบริหารความเสี่ยงในภาพรวม กำหนดโครงสร้างการบริหารความเสี่ยงที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ กำหนดนโยบายและการดำเนินงานเพื่อให้ครอบคลุมความเสี่ยงทั้งหมดที่อาจจะเกิดขึ้น ทั้งในระดับองค์กร ระดับสายงาน และระดับฝ่าย มีจัดทำคู่มือการบริหารความเสี่ยงเพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงาน
2.การควบคุมปฏิบัติงาน กำหนดให้มีการแบ่งแยกหน้าที่งานเพื่อก่อให้เกิดระบบการควบคุมระหว่างกัน กำหนดข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และแนวทางปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ มีการควบคุมระบบสารสนเทศที่เหมาะสม และ มีการตรวจสอบงานโดยผู้บริหารระดับต่าง ๆ รวมทั้งการตรวจสอบการปฏิบัติงานโดยผู้ตรวจสอบภายใน
3.ระบบสารสนเทศและการสื่อสาร จัดระบบข้อมูลที่สำคัญสำหรับคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างเพียงพอและทันเวลา ทั้งข้อมูลทางการเงิน และข้อมูลด้านอื่น ๆ มีการสื่อสารข้อมูลให้ผู้เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึง ติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานภายนอกองค์กรเพื่อรับข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้อง และมีการกำหนดระเบียบ วินัย ให้บุคลากรทุกคนยึดถือปฏิบัติ โดยทำการสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทุกระดับรับทราบ ยึดมั่นในการปฏบัติด้วยความซื่อสัตย์ และมีจริยธรรม
4.ระบบการติดตาม มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงาน และประเมินประสิทธิผลของการควบคุมภายในโดยหัวหน้าหน่วยงานระดับต่าง ๆ ในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ มีการติดตามประเมินผลปีละ 1 ครั้ง โดยการประเมินตนเองของหน่วยงาน มีการตรวจสอบและประเมินผลโดยฝ่ายคณะกรรมการตรวจสอบภายใน มีหลักเกณฑ์ในการตรวจสอบที่ชัดเจนเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างโปร่งใสและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
สรุปที่เน้นคือ กฟผ. มุ่งเน้นการพัฒนาด้านคนและทุนมนุษย์ ดังความเชื่อที่ว่า “คนเป็นทรัพยากรมีค่ามากที่สุดขององค์กร” ซึ่งเป็นสูตรสำเร็จที่ขับเคลื่อนให้ กฟผ.เติบโตไปอย่างยั่งยืนเพราะคนเป็นตัวจักรสำคัญนอกเหนือจากระบบ
การใช้ประโยชน์เหมือนความรู้นอกห้องที่ได้มาฟังบรรยาย แล้วนำมาปรับใช้ให้ดียิ่งขึ้น การศึกษาดูงานจึงเป็นเหมือนการศึกษาและเติมเต็มให้ดียิ่งขึ้น
ร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวว่าถ้าเทียบกฟผ.กับ การบินไทย การวิเคราะห์กฟผ. ต้องดูให้ดีเนื่องจากที่กฟผ. เป็น Structure ใหญ่ ถ้าพูดให้คนทั่วไปฟังจะมีคนชื่นชมเขา แต่ถ้าพูดให้ กฟผ.ฟังเองอาจมีสิทธิ์โดนโจมตีได้ ข้อเสียของ กฟผ.คือเป็น Engineeringที่ผลิตไฟฟ้าแต่ในอนาคตอาจไม่ได้ผลิตไฟฟ้า สิ่งสำคัญในอนาคตคือต้องเตรียมรองรับคนให้พร้อมการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่นการสร้างโรงไฟฟ้าที่กระบี่ ชาวบ้านไม่ยอม สิ่งที่ต้องเรียนรู้คือ กฟผ.มีวิศวะกว่า 2,000 คน ซึ่งถือเป็นองค์กรที่แข็งมาก ดังนั้นการจะขับเคลื่อนองค์กรไปได้อย่างไร กฟผ.ต้องใช้ปัญญา
ทำไมคณะแพทยศาสตร์ เอาคนระดับกลางมาเรียน จริงๆ แล้ว ความสามารถของคนถ้านาน ๆ ไปจะเท่ากัน ทำไมเราถึงไม่พัฒนาตัวเองขึ้นมา เราต้องทำให้คนกระเด้งขึ้นมา เพราะศักยภาพคนมีมหาศาล
กฟผ. เป็น Silo Base มาก และวันนึงเขาต้องจัดการกับนักการเมือง NGOs และ Financeให้ได้ จึงอยากให้เขาพัฒนาและปรับตัวทางด้านนี้
HR กับ Non-HR ถ้าไม่ไปด้วยกันจะไปสู่ความเป็นเลิศได้อย่างไร ทำอย่างไรให้คนมีคุณภาพ มี Outcome จัดการกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ และทำให้สำเร็จ เราต้องเรียนรู้การจัดการในบริบทเขาว่าเขาสามารถจัดการเปลี่ยนแปลงได้หรือไม่ เช่น วิศวะ2,000 คน เก่งสร้างโรงไฟฟ้า แต่ปัจจุบันไม่ให้สร้างไฟฟ้าจะทำอย่างไร ต่างกับคณะแพทยศาสตร์ ที่อุปสรรคที่เจอเป็นอุปสรรคภายในคือความไม่เข้าใจ ที่คณะแพทยศาสตร์เป็นอย่างเดิมดีอยู่แล้วแต่ที่ต้องทำเพิ่มคือต้องให้สังคม ยอมรับด้วย
กลุ่มที่ 3 การศึกษาดูงานที่ TCC Land
ก่อนอื่นคือ TCC Group เริ่มจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่มีเครือข่ายธุรกิจต่าง ๆ โครงการเอเชียทีคส์ เดอะรีเวอร์ฟร้อนท์ เกิดมาภายใต้แนวคิด Festival Market and Living museum ที่แต่เดิม TCC Land มีที่ดินอยู่ แต่คิดว่าจะทำอะไรต่อไป ซึ่งถ้าทำแบบเดิมอย่างที่เคยทำธุรกิจอยู่แล้ว หรือจะทำเป็นห้างสรรพสินค้าคงคิดว่าไม่น่าจะได้ เพราะคงไม่สามารถแข่งขันได้ จึงคิดสร้างจุดเด่นผ่านการศึกษาข้อมูลบริเวณนี้ สู่การจัดทำโครงการ เอเชียทีค รีเวอร์ฟร้อนท์ โดยแบ่งเป็นโซน ๆ
- ย่านโรงงาน (Factory District)
- ย่านริมน้ำ มีร้านอาหารนานาชาติ และลานกิจกรรม พาโนรามาวิว
- ย่านเจริญกรุง ขายของที่ระลึก ของตกแต่งที่ไม่เหมือนที่อื่น
- ย่านกลางเมือง เป็นร้านอาหารนานาชาติ และมีลานกลางแจ้งที่สามารถจัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้
ประเภทลูกค้า ได้แก่กรุ๊ปทัวร์ ครอบครัว Gen Y
Core Value
TCC Land เป็นลักษณะ Public Caring มีการทำ CSR กับชุมชน เคยมีปัญหาตอนแรกคือชุมชนเดินทางไม่สะดวก รถติด มีการปรับชุมชนตรงนั้นให้มีร้านค้า และการประกอบธุรกิจเสริม ในการให้มาเที่ยว มีท่าเรือในการไปรับไปส่ง
ทางด้านคณะแพทยศาสตร์ ควรเน้นเรื่องการพัฒนาคน ชุมชน และการทำ CSR ให้มากขึ้น อาจนำแนวคิดจาก TCC Land มาปรับใช้
ประเด็นการเรียนรู้ที่นำมาปรับใช้กับคณะแพทยศาสตร์
- ต้องศึกษาเอกลักษณ์หรือจุดเด่นที่มี และเริ่มโปรโมท
- การทำ CSR กับชุมชน
- ดึง Partners เข้ามาช่วยหรือมีส่วนร่วม
- การสร้างเครือข่าย
- มีช่องทางในการเข้าถึงการบริการ อย่างเอเชียทีค มีรถรับส่ง มีท่าเรือรับส่ง แต่ คณะแพทยศาสตร์ ต้องปรับให้เข้าถึงได้ง่ายกว่านี้
- การให้สวัสดิการ อย่าง TCC Privilege card และการพัฒนาคน มีเรื่องการบริหารจัดการและให้ความรู้ในการทำธุรกิจ มีการหา Packaging ดีๆ
- Create new benchmark
- ดึง Partners ที่มีศักยภาพเข้ามามีส่วนร่วม
- CSR คืนสู่สังคม ช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
- ร้านค้าบริการ / จำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ราคาถูก
- ระบบการขนส่ง ระหว่างอาคารจอดรถกับโรงพยาบาล
- การใช้สื่อประชาสัมพันธ์โครงการ
การปรับใช้กับ Sritrang complex
- ดึง Partners ที่มีศักยภาพเข้ามีส่วนร่วม
- ถือประโยชน์ส่วนตน เป็นกิจที่สอง ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
- ร้านค้าบริการ
- การประชาสัมพันธ์โครงการ
ร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวเสริมว่า เจ้าของของ TCC Land ทำธุรกิจเบียร์ช้าง แล้วกระจายไปสู่ธุรกิจ Real Estate การกระจายไปสู่ชุมชนเพียงอย่างเดียวยังไม่พอ สังเกตได้จากห้องที่ต้อนรับตอนศึกษาดูงาน ยังไม่สามารถรองรับได้เพียงพอ ต้องมี Business Motive มากขึ้น สิ่งที่ได้จาก TCC Land คือ Creativity & Innovation ซึ่งจะกระเด้งไปสู่ Value Creation , Value Diversity ได้อย่างไร ถ้าจะเอาประโยชน์ของ TCC Land มาสู่คณะที่ใช้ประโยชน์ จะต้องรู้จัก 2 R’s ก่อน เช่นยังเป็นข้าราชการอยู่ แต่ทำเรื่อง ศรีตรังคอมเพล็กซ์ได้หรือไม่ เราต้องยอมรับว่าเราต้องมีความคิดสร้างสรรค์ หรือ Innovation หรือไม่ HR ไม่ได้ปลูกและเก็บเกี่ยวเท่านั้น แต่จะจัดการเอาชนะอุปสรรคและทำให้สำเร็จได้หรือไม่
สิ่งที่ได้จาก TCC Land คือ เป็นองค์กรธุรกิจที่มีเงินมหาศาล มีที่ดินมหาศาล การนำเสนอ จึงต้อง Comment เยอะ ๆ ต้องยอมรับว่าถ้าจะไปทาง Real Estate ต้องดู Constrain ให้ดี
กลุ่มที่ 4 โครงการอัมพวา-ชัยพัฒนานุรักษ์
ตั้งอยู่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม เป็นโครงการในพระราชดำริของ สมเด็จพระเทพฯ โดยการใช้ที่ดินของคุณประยงค์ นาคะวะรังค์ ซึ่งเป็นผู้น้อมเกล้าถวาย มาดำเนินการเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวชุมชนอัมพวา
วัตถุประสงค์
1. พัฒนา และอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิต รวมถึงสืบสานภูมิปัญญาที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นของชุมชนอัมพวา
2. ช่วยสร้างรายได้และส่งเสริมอาชีพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของคนในชุมชน
3. นำการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนทั่วไป
4. เป็นการร่วมมือกันพัฒนาทั้งทางภาครัฐและเอกชน
โครงการอัมพวา ชัยพัฒนานุรักษ์
จัดสรรพื้นที่ออกเป็น 5 ส่วน คือ
- พื้นที่สวนชัยพัฒนานุรักษ์ เป็นสวนผลไม้ดั้งเดิม ซึ่งเป็นแหล่งเรียนรู้ถึงภูมิปัญญาและวิถีชีวิตท้องถิ่นของอัมพวาในด้านการเกษตร
- ลานวัฒนธรรมนาคะวะรังค์ เป็นลานเอนกประสงค์สำหรับจัดกิจกรรมและส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น ช่วยสร้างรายได้ และการมีส่วนร่วมของชุมชน
- ร้านค้าชุมชนของโครงการฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นและผลิตภัณฑ์ภัทรพัฒน์ของมูลนิธิชัยพัฒนา
- ร้านชานชาลา ร้านจำหน่ายเครื่องดื่ม และอาหารว่าง
5.ห้องนิทรรศการชัยพัฒนานุรักษ์ เป็นแหล่งเรียนรู้และประชาสัมพันธ์วัฒนธรรมของชุมชน
จุดเด่น
- การมีส่วนร่วมระหว่างสำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนาและชาวอัมพวา
- คำนึงถึงความเหมาะสม และสอดคล้องกับวิถีชีวิต
- นำหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริของพระบามทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือ “ภูมิสังคม ”และ “เศรษฐกิจพอเพียง ” เพื่อให้อยู่ได้อย่าง* เข้มแข็ง *เรียบง่าย *ยั่งยืน *มีความสุข **ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคม **
- อนุรักษ์วิถีชีวิตของชาวอัมพวา
- พัฒนาและฟื้นฟู
แนวคิดที่ได้รับจากการดูงาน
- เรื่องวิถีชีวิต
- การส่งเสริมการขาย
- เป้าหมาย คือ ความสงบ ความสมดุล คือ เป้าหมาย
- การอนุรักษ์วัฒนธรรมและส่งเสริมอาชีพให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตของ
คนในชุมชน
- การถ่ายทอดภูมิปัญญา
การนำมาประยุกต์ใช้ในคณะแพทยศาสตร์
- การเรียนรู้วัฒนธรรมในองค์กรและการจัดระบบงานให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต
ของคนในองค์กร
- KM
- การนำการท่องเที่ยวมาเป็นเครื่องมือพัฒนา และนำเสนอจุดเด่นเป็นจุดขาย
ขายในสิ่งที่เพื่อนไม่ขาย
- การคิดค้าขายแบบเพื่อนคู่ค้า
การนำมาประยุกต์ใช้ในคณะแพทยศาสตร์
- ค้นหาจุดเด่น ภายในองค์กร เพื่อนำเป็นจุดขาย
- การนำคู่แข่ง มาเป็นเครือข่าย
การนำมาประยุกต์ใช้ในคณะแพทยศาสตร์
ทำงานบนความสมดุลทำงานมีความสุข
ร่วมแสดงความคิดเห็น
สิ่งที่ ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ฝากไว้คือ Value Diversity คือ ทำให้เกิดคุณค่าจากความหลากหลาย และธรรมชาติ ได้เห็นถึงวิถีชีวิตของคนไทยที่เน้นไปที่ความสมดุลของชีวิต การเดินสายกลาง มีเหตุมีผล และความเสี่ยง และวัฒนธรรม
Cultural Capital ที่คณะแพทยศาสตร์มีที่น่าสนใจและภูมิใจคือ Quality
ปัจจุบันการวัดความสำเร็จ จาก Intangible คือการมีความสุข Engagement มี Positive Psychology จึงขอให้นำสิ่งที่เป็นประโยชน์ทางวัฒนธรรม โดยเฉพาะสิ่งที่เป็น Quality ไปแบ่งปันให้คนอื่นต่อไป
กลุ่มที่ 5 โลหะปราสาท วัดราชนัดดา และนิทรรศรัตนโกสินทร์
โลหะปราสาท มี 3 แห่งในโลกคือที่ประเทศอินเดีย ศรีลังกา และไทย ปัจจุบันเหลือที่เดียวคือที่ประเทศไทย
ยอดปราสาท บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีอาคาร 3 ชั้น สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 และได้รับบูรณาในสมัยรัชกาลที่ 5
สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ
- รัชกาลที่ 3 ทรงแสดงความรักต่อพระราชนัดดา จึงได้สร้างโลหะปราสาทหลังนี้ขึ้นเป็นตัวแทน
- เป็นความพยายามในการสร้าง บูรณะ ศิลปะวัฒนะธรรม และคุณค่า ดูความมุ่งมั่น
นิทรรศรัตนโกสินทร์
เป็นแหล่งเรียนรู้รูปแบบใหม่อยู่ภายใต้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สามารถศึกษาคุณค่าแห่งยุคสมัยถ่ายทอดผ่านสื่อต่าง ๆ เส้นทางการเดินชม มี 2 เส้นทาง 9 ห้อง
อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์จัดแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตชุมชนในยุค รัตนโกสินทร์ ผ่านห้องจัดแสดงรวม 9 ห้องนิทรรศการ ประกอบด้วย
1. รัตนโกสินทร์เรืองโรจน์ (เหตุที่มาของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์)
2. เกียรติยศแผ่นดินสยาม (ความวิจิตรงดงามของพระบรมมหาราชวัง)
3. เรืองนามมหรสพศิลป์ (เพลิดเพลินไปกับศิลปะการแสดงแขนงต่างๆ)
4. ลือระบิลพระราชพิธี (ความหมายและความสำคัญของพระราชพิธี)
5. สง่าศรีสถาปัตยกรรม (เยี่ยมชมวัง วัด และบ้านในยุครัตนโกสินทร์)
6. ดื่มด่ำย่านชุมชน (ดื่มด่ำกับงานหัตถศิลป์รอบเกาะรัตนโกสินทร์)
7. เยี่ยมยลถิ่นกรุง (เที่ยวรอบกรุงรัตนโกสินทร์ผ่านการ์ตูนอนิเมชั่น)
8. เรื่องรุ่งวิถีไทย (สัมผัสวิถีชีวิตแบบไทย ผ่านพาหนะชนิดต่างๆ)
9. ดวงใจปวงประชา (ซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์)
ตัวอย่างการจัดแสดงได้แก่ ส่วนกาแฟหลังวัง มีการให้ถ่ายแบบปกนิตยสาร แผ่นละ 20 บาท
มีร้านทำผม มีแผ่นเสียง ตู้เพลงแบบเก่า การแสดงไปรษณีย์ไทย ผู้เยี่ยมชมสามารถเลือกโปสการ์ดและหย่อน มีการแสดงบ้านทรงไทยแต่ละหลัง และสื่อถึงวัฒนธรรมไทยต่าง ๆ มีประเพณี คลอดลูก โกนจุก เผาศพ มีการฉายสื่อการตูน Animation ให้เห็น เป็นต้น
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากเยี่ยมชม นิทรรศน์รัตนโกสินทร์
- การแสดงความเป็นมิตรต่อผู้มาเยือน (อัธยาศัยที่ดีของเจ้าหน้าที่ทุกคน) (เช่นเดียวกับ ด่านหน้าของ รพ.มอ.)
- Teamwork การทำงานที่รวดเร็ว เป็นมืออาชีพ
- เกิดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย ซาบซึ้งให้พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ไทย (เช่นเดียวกับที่เราภูมิใจที่เป็นบุคลากรของคณะแพทยศาสตร์)
- มีของดีต้องรู้จักนำเสนอสิ่งดีนั้นออกมา ต้องเน้นการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานต่าง ๆ รับทราบ
สรุป ไม่ได้เป็นแค่แหล่งเรียนรู้ แต่ทำให้รู้สึกในความโชคดี สำนึกรักในความเป็นไทย
ร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ดลารมภ์ เสริมว่า ประวัติศาสตร์ สำคัญมากในประเทศของเรา การมีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต้องรู้ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรม ต้องยกย่องเขา อย่างเช่น ลาววัฒนธรรมถ้าแปลงเป็นเงิน เขารวยกว่าเรา เพราะเขายังคงอนุรักษ์ไว้อย่างดี ประเด็นคือประสบการณ์ที่นี่จะมาต่อยอดที่คณะแพทยศาสตร์อย่างไร ต้องมาต่อยอดมากขึ้น
อาจารย์ทำนอง ดาศรี เสริมว่า
กลุ่ม 1 เราต้องมี way อย่าง การบินไทย การทำ Branding ทำอย่างไรให้คนประทับใจ ทำอย่างไรให้อยู่ในใจ หมายถึงปกป้องได้ และต้องให้เห็นว่า มอ.อยู่รอดได้ ภาพลักษณ์ ทำอย่างให้ชื่อเสียงดำรงอยู่ต่อไป Marketing มี 2 ส่วน การบินไทยมีภายนอก แต่ มอ. มีเรื่องภายใน สินค้าดี ราคาดี ต้องจ่ายเงินสูง การสื่อสาร การประสานงาน มอ. เทียบกับการบินไทย การบริการ ที่มอ.มีอยู่เป็นอย่างไร
กลุ่ม 2 พบว่ามีความรู้มากมายที่เรียนรู้ได้
กลุ่ม 3 TCC Land คล้าย มอ.คือ World Class Destination ส่วน มอ.คือมองความเป็นเลิศ
TCC Land มีการทำ Vision ตาม Stakeholders เป็นองค์กรที่สามารถแสวงหากำไร อย่าง มอ. อยากให้เน้นเรื่อง คน Integrity คุณธรรม จริยธรรม มีความซื่อสัตย์ เรื่องความกตัญญู ความอดทน ความพยายาม ต้องมุ่งที่ความสำเร็จของงาน
กลุ่ม 4 อัมพวา ขายวัฒนธรรม ความสุข การทำอะไรอยู่บนพื้นฐานวัฒนธรรม สินค้าและบริการนั้นจะยั่งยืน ต้องไม่ทำลายคู่แข่ง แต่คู่แข่งจะหายไป เพราะเมื่อคิดทำลายจะมีคู่แข่งที่แข็งแกร่งกว่า ทำอย่างไรให้ภูมิใจ เพราะเกิดจากความรู้สึกในสินค้านั้น เช่นภูมิใจที่อยู่ที่ มอ.
เรื่อง Teamwork เกิดขึ้นในการแบ่งงานชัดเจน แล้วไปใช้ในข้อ 2 ของ Toyota way คือปรับปรุงผลิตภัณฑ์ก้าวหน้าเสมอ ให้คนเคารพซึ่งกันและกัน การมีน้ำใจ และการให้บริการลูกค้าด้วยความสุข
ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย เสริมว่า
กลุ่มที่ไป การบินไทยพูดถึง Mass Marketing ต้องพยายามรักษา Status ให้อยู่ในกรอบ ข้างบนจัดสรร ข้างล่างให้ต่อสู้กันเอง
กฟผ. มีหน้าที่ผลิตไฟฟ้า ไม่ใช่สร้างโรงไฟฟ้า มีความหยิ่งยโสแรง
เอเชียทีค พูดเรื่องการลงทุนเรื่องกำไรอย่างเดียว เพราะเป็นทุนที่เกิดจากน้ำเมาจึงต้องทำบุญเยอะ ๆ มองถึงอสังหาริมทรัพย์ และหากำไรจากการลงทุนเท่านั้น
อัมพวา เป็นลักษณะ Local cultural impact มีหลายที่เกิดขึ้นมา และก็พังหลายจุดเช่นคนที่สร้างตลาดน้ำขึ้นมาใหม่ ทุกคนแสวงหากำไรจากการสร้างวัฒนธรรมใหม่ แต่อัมพวาค่อนข้างชัดเจน
นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ เป็น Propaganda ที่สร้างได้สมบูรณ์แบบพอสมควร
ทั้ง 5 กลุ่ม ได้แนวคิดว่ารักชาติ แต่อย่าหลงชาติ แบรนด์ของมอ. คือสงขลานครินทร์ มีเรื่องเล่า จึงสามารถนำมาสร้างเรื่องได้ เช่นการเกี่ยวข้องกับนราธิวาสราชนครินทร์ จะสร้างได้อย่างไร สมเด็จพระบิดา พระโอรส พระราชนัดดา ที่ดูแลด้านนี้ สามารถนำมาจัดทำเป็นพิพิธภัณฑ์ร้อยเรียงเรื่องราวได้ สิ่งที่ได้จาก 5 แห่งคือความหลากหลาย ที่สามารถนำมาปรับใช้ในการทำศรีตรังคอมเพล็กซ์
นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ (3) : Harvard Business Review
กลุ่ม 1 Managing yourself Manage your Energy, Not your time P.70-75
การมี Energy หรือพลังมาจาก 4 ส่วนคือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ และ จิตวิญญาณ
ปัญหาหลักคือการทำงานหลายชั่วโมง ภายใต้ระยะเวลาที่มีจำกัด แต่พลังงานมีไม่จำกัด สามารถเพิ่มพลังงานได้ถ้ามีวิธีที่เหมาะสม อาทิ การใช้เวลาที่ออกห่างจากผู้คนมากขึ้น เปลี่ยนเป็นการลงทุนในการพัฒนาทักษะ ความรู้ และศักยภาพ เพื่อสร้างขีดความสามารถที่สูงขึ้นโดยใช้เวลาน้อยลง สามารถมีบทบาทมากขึ้น และอยู่ในองค์กรได้อย่างยั่งยืน
การบริหารร่างกาย
- เน้นการนอนเร็ว ลดความเครียด ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
- การลดความตึงเครียดโดยกิจกรรมเกี่ยวกับการบริหารหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
- ปรับการทานอาหารให้เป็นมื้อเล็ก ๆ ทุก 3 ชั่วโมง
- การสังเกตว่าเวลาร่างกายรู้สึกเมื่อยล้าเมื่อไร แสดงถึงร่างกายเตือนว่าต้องการเวลาพัก ก็ให้เบรก 10-15 นาทีเพื่อที่จะ Refresh ตัวเอง
- ในการทำงานอย่างต่อเนื่อง 1 ชั่วโมงครึ่งถึง 2 ชั่วโมงควรมีการพัก
- การปรับไม่ให้มี Negative Emotion
- ปรับอารมณ์ตัวเองและคนอื่นให้มี Positive Emotion เช่นไปแสดงความขอบคุณต่อผู้อื่น เวลาเจอปัญหาอะไรบางอย่าง ให้มองอีกมุมนึง ให้มองไปว่าถ้าคนอื่นเจอปัญหาแบบนี้จะคิดแบบใด ถ้าผ่านไป 6 เดือนจะเป็นอย่างไร
- การทำงาน พยายามลดกิจกรรมรบกวนการทำงานเช่นโทรศัพท์ และอีเมล โดยอาจหาที่ทำงานที่ห่างไกลจากกิจกรรมที่รบกวนในการทำงาน ถ้ากลัวโทรศัพท์ ให้ย้ายไปอยู่ที่ไม่มีโทรศัพท์
- ให้กำหนดไปเลยว่าวันนึงจะเช็คอีเมลล์วันละกี่รอบ เช่น ตอนเช้า และตอนบ่าย แล้วจะได้นำเวลาที่เหลือไปทำอย่างอื่น
- ทุกคืนให้จัดอันดับสำคัญที่สุดของงานในวันถัดไป งานสำคัญสุดทำเป็นอันดับแรกในตอนเช้า
- ให้หาจุดที่เรารู้สึกว่ามีความสุขที่จะได้ทำ และถ้าอยู่ตรงนี้จะทำให้รู้สึกอิ่มและเติมเต็มมากขึ้น
- จัดสรรเวลาและพลังงานไปในสิ่งที่คิดว่าสำคัญที่สุด และอาจพักประมาณ 20 นาทีก่อนกลับบ้านเพื่อปรับอารมณ์ให้ได้ก่อน
- หา Core Value ของตัวเอง ดูว่าตัวเองมีข้อดีอย่างไร ให้รู้ตัวว่าตัวเองมีคุณค่าอะไร อย่างบางคนรู้สึกไปสายตลอดเวลา ต้องพยายามไปถึงก่อนเวลา 5 นาที
- ต้องมีมุมที่นั่งพักผ่อน และเติมพลังให้ตัวเอง เช่น MK มีให้พนักงานเต้นเป็นเสมือน Refresh ตัวเอง
- กระตุ้นผู้นำเพื่อให้กระจายกลุ่มออกมา
- ให้หลีกเลี่ยงการเช็คอีเมลล์ตลอดเวลา เพื่อให้ Focus ไปที่การประชุม
การบริหารอารมณ์
การบริหารจิตใจ
การบริหารจิตวิญญาณ
การปรับใช้ในองค์กร
การร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสนอว่าเมื่ออ่านหนังสือเสร็จแล้วอยากให้ไปทำต่อ ซึ่งถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้จะไม่สามารถ Overcome difficulty
กลุ่ม 2 Managing Yourself Pull and Plug on Stress P.56-62
การที่เราจะทำให้ความเครียดหลุดพ้นออกไปจากตัวเรานั้นเป็นการเช็คตัวเองว่าแต่ละคนมีความเครียดหรือไม่ และได้พบว่าแต่ละคนมีความเครียดเป็นของตัวเอง
ไม่ว่าจะเป็นความเครียด และความกดดันในการทำงาน ก็สามารถส่งผลกระทบต่อร่างกายจิตใจ อารมณ์ และพฤติกรรมในด้านต่าง ๆ
ในบทความ นายเจลทำงานเป็นวิศวกร ให้ความทุ่มเทหลายด้าน จนเกิดภาวะความดันโลหิตสูง ภาวะความเสื่อมโทรมร่างกาย ความเครียด การทำลายสุขภาพ และทำให้ป่วย
การจัดการความเครียดของแต่ละคน
ถ้ามีความเครียดมากแล้วจัดการไม่ได้จะก่อให้เกิดความคิดเชิงลบแล้วเกิดผลต่อสุขภาพ
เทคนิค 5 วิธีในการกำจัดความเครียด
- หยุดความคิดการจัดวางการทำงาน
- การรู้สึกตัว และการตระหนัก
- สร้างให้มีความรู้สึกที่ดี
- ต้องแบ่งแยกให้ถูกต้องว่านี่คืองาน นี่คือชีวิตของเรา
- ต้องมีทางเลือกเสมอ
10 วิธีในการแก้ไขนิสัยที่ไม่ดีที่ทำให้เกิดความเครียด
- ค่อย ๆ เปลี่ยนนิสัยทีละอย่าง
- เข้าสังคม
- ผูกมิตรกับคนอื่น
- กำหนดว่าจะทำอะไรในแต่ละวัน
- เตรียมพร้อมรับมือกับความล้มเหลว
- แทนที่สิ่งไม่ดีด้วยสิ่งที่ดี
- เตือนตัวเองอย่างสม่ำเสมอ
- ให้รางวัลเมื่อประสบความสำเร็จ
- อย่าให้ความล้มเหลวมาดึงชีวิตคุณ
- เตือนตัวเองว่าทำไมคุณต้องทำสิ่งนี้
ภาวะความเครียดใน PSU
- ภาวะการทำงานที่มีความเร่งรีบในการทำงาน/การทำงานที่แข่งขันกับเวลา
- ภาวะการทำงานที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ/ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรค
- ภาวะการทำงานที่มีความกดดันจากด้านบุคคลทั้งภายในและภายนอก
- ภาวะการทำงานที่แข่งขันทางด้านเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา
การจัดการความเครียดใน PSU
- การจัดให้มีการอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านต่างๆ เพื่อความเป็นเลิศในการทำงาน
- การจัดระบบงานให้เป็นไปในรูปแบบ One stop service
- การจัดให้มีกิจกรรมชมรมสำหรับบุคลากร เพื่อให้มีการผ่อนคลายหลังเลิกงาน
- การจัดกิจกรรมกีฬาสี/กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ภายใน
- การจัดให้บริการด้านการให้คำปรึกษาของภาควิชาจิตเวช
การยอมรับและแก้ไข ให้เป็นทั้งในระดับหัวหน้างานและระดับล่าง อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่แผนกอื่น ก็สามารถทำให้เกิดภาวะตึงเครียดได้ เช่น ไฟไหม้ ระเบิด มีรัฐบาลเผด็จการ มีการแข่งขันทางด้านเทคโนโลยี ก็เกิดความเครียดได้ เช่นทำไมเพื่อนมี เราไม่มี แต่สิ่งที่ PSU มีคือ หน่วยงานย่อยมีการจัดอบรมบริหารความเครียด มีกระบวนการจัดการแบบใหม่ ให้มีการใช้ภาษาดอกไม้ ไม่ใช่ภาษาหมาป่า มีกิจกรรมคลายเครียด มีกิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์ภายใน
ตัวอย่างเช่น การจัดกิจกรรมให้เหมาะกับผู้สูงวัย เช่นคลินิก จิตเวช คนที่ไปพบหมอจิตเวช ไม่ใช่เราบ้า แต่เรามีปัญหาที่คิดไม่ออก แล้วเขาถามเราว่าเราคิดยังไง แล้วเราก็ไปเยียวยาเอง เป็นเสมือนที่ที่รับฟัง แล้วเราจะยอมรับว่าเวลาไหนเครียด มีสักกี่หน่วยงานที่พร้อมรับฟังจริง ๆ ฟังก่อนที่จะพูด ก่อนที่จะแนะนำ
การร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสนอว่าให้พยายามไปหาสาเหตุในคณะแพทยศาสตร์ว่าทำอย่างไรเมื่อมีความเครียด และถ้ามีโอกาสให้ไปทำวิจัยว่าความเครียดมีเท่าไหร่ และอยู่ที่ไหนบ้าง ก็จะเป็นประโยชน์ อย่าง ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เป็นหวัดประจำ ในรายงานเป็นหนังสือที่ Harvard ไปพิสูจน์มา คนที่อ่านคือ CEO ทุกประเทศในโลก ขอให้เป็นตัวอย่างในการนำไปปฏิบัติ เชื่อว่าความเครียดของแต่ละคนมีไม่เท่ากันในกิจกรรมต่าง ๆ ต้องค้นหาตัวเอง รู้จักตัวเอง และทำให้ยั่งยืน ไม่เช่นนั้นอาจตายก่อน
กลุ่ม 3 Managing Yourself Mindfulness in the Age of Complexity P.80-85
เรื่อง Mindfulness จากที่อ่านไปอ่านมาเหมือนเศรษฐกิจพอเพียง โดยแท้จริงแล้วเป็นเรื่องความลึกซึ้งและความหลากหลาย ไม่มีคำจำกัดความ (Definition) ที่แน่นอน และเมื่อไรก็ตามที่เราสนใจสิ่งรอบตัวมากขึ้น จะช่วยลดความเครียด และทำให้มี Performance ดีขึ้นได้
ในความคิดของกลุ่มมองคำว่า Mindfulness คือความใส่ใจ และการเข้าไปมีส่วนร่วมในการสังเกตสิ่งใหม่ ๆ ตลอดเวลา ให้อยู่กับเหตุการณ์ปัจจุบันที่เกิดขึ้น ทำให้เราสามารถพัฒนาและเพิ่มพลังให้กับตัวเอง สร้างให้เกิดพลังและอำนาจที่สูงมากขึ้น ตรงข้ามกับ Mindlessness ที่ทำให้เราหมดแรงและความเครียด
สิ่งสำคัญคืออยากให้ใส่ใจ และลงลึกไปกับสิ่งนั้นจริง ๆ จะช่วยได้
ถ้ามีคนแนะนำในการแก้ปัญหาวิธีใด วิธีหนึ่ง ให้บอกไปเลยว่าไม่ใช่วิธีใด วิธีหนึ่งในการแก้ปัญหา เพราะโดยความเป็นจริงแล้วจะไม่สามารถเอาบริบทหรือสิ่งแวดล้อมใด สิ่งแวดล้อมหนึ่งมาแก้ปัญหาแบบเดียวกันได้
สิ่งที่ใส่ลงไปในการทำงานด้วยความตั้งใจ และใส่ใจ จะทำให้ทำงานอย่างมีความสุข จึงอยากให้สนใจในสิ่งที่คุณทำมากขึ้น เพื่อทำให้ Performance ดีขึ้น ดังนั้น จะทำให้จำได้ง่ายและนึกถึงอยู่เสมอ สามารถช่วยป้องกันในเหตุการณ์อันตรายที่เกิดขึ้นมาได้ ไม่ต้องประเมินซ้ำแล้ว ซ้ำอีก และย้ำคิดย้ำทำ และทำอย่างมีเสน่ห์ จะทำให้รู้สึก Smart และมีความสุขกับสิ่งที่ทำ และจะทำให้การจัดลำดับความสำคัญดีขึ้นด้วย
การเชื่อมระหว่าง Mindfulness and innovation บางครั้งที่บอกว่าผิด ความจริงแล้วอาจไม่ผิด อาจเป็นเพียงการเปิดใจหรือแนวความคิดใหม่ๆ ให้คิดว่าความผิดพลาดเป็นเพื่อนอย่างไปโทษมัน
ความมีเสน่ห์ของ Mindfulness คือชอบให้คนพูดดีต่อกัน หมายถึง การใส่ใจ เปิดใจ ไม่กีดขวาง จะทำให้เขาชอบคุณ
Mindfulness จะทำให้รู้ว่า Bias หรือไม่ เพราะ จะทำให้รู้ว่าแต่ละคนมีข้อถูกในมุมของตัวเอง ให้หันหน้ามาคุยกันแล้วหา Solution ใหม่ ๆ ยอมรับในสิ่งที่เป็นเพื่อสามารถนำข้อดีมาปรับใช้
ทำอย่างไรให้มี Mindfulness มากขึ้น
- ให้คิดก่อนว่า ทุกอย่างโปร่งใส่ ให้ทำเหมือนว่าความคิดไม่มีอะไร ใสเหมือนกระจก
- ถามตัวเองว่าสิ่งต่าง ๆ นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกอึดอัด หรือไม่สบายใจหรือไม่
- การประสานงานกับชีวิตประจำวัน หมายถึง ความพยายามในการทำงานให้สามารถประสานไปกับชีวิตประจำวันสามารถหรือเรียกว่า Integrated เข้าด้วยกัน อย่าให้มองว่า Balance เพราะจะหมายถึง Work กับ Life ตรงข้ามกัน แต่ให้นำมา Integrated เข้าด้วยกัน
- ความเครียดไม่ได้อยู่ที่เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง แต่ความเครียดคือภาพที่เกิดจากการคิดถึงเหตุการณ์นั้น ๆ
- Mindfulness ทำให้มีทางเลือกมากขึ้น ขึ้นกับว่าเราจะใส่ Positive Thinking ลงไปมากน้อยแค่ไหน Mindfulness ไม่มี Positive หรือ Negative แต่ทำให้มีทางเลือกใหม่มากขึ้น
การทำให้องค์กรเป็น Mindfulness
- ผู้นำที่ดีต้องทำตนเหมือนไม่รู้อะไร สมองว่างเปล่าเล็กน้อย เพื่อจะได้เปิดใจยอมรับฟังความคิดเห็นของลูกน้องบ้าง
- อย่าทำตัวเป็น Zero Accidental เพราะจะช่วยให้เรามีโอกาสพัฒนาตัวเองได้
- อย่าทำตัวเหมือน Check list เพราะเป็นการวัดในปริมาณ ไม่ใช่คุณภาพ
Mindful and Focus
เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนเราต้องปรับเปลี่ยนไปด้วยเพื่อช่วยแก้ไขวิกฤติการณ์ให้ดียิ่งขึ้น เพราะมีทางเลือกแล้วเราจะสามารถเลือกทำในบริบทที่เกี่ยวข้อง และเลือกใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
สิ่งที่สำคัญและฝากไว้เสมอคือ ชีวิตสั้นมาก เวลาคิดจะทำอะไรก็ตามให้ใส่ใจในสิ่งที่ทำและมีความสุขในสิ่งที่ได้ทำ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ หรือ ม.อ.อยู่ในบริบทที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา Mindful คือสิ่งที่ใส่เข้าไปในบริบทแต่ละอันไม่เหมือนกัน
การร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า ไม่มีคำนิยามใน Mindfulness ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามคือมาจากจิตวิญญาณหรือจิตใจที่มาจาก Mind ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อย่างไรก็ตาม Mindfulness คือ Trend ที่เกิดในโลกนี้ เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ข้างในของเรา ดร.จีระ ได้ยกถึงทฤษฎี Happiness Capital ที่เขียนไว้ จึง อยากให้กลับไปดูประกอบ จะมีคำว่า Purpose and Meaning หมายถึง ในมุมมองของทุนนิยมเราไม่สามารถเก็บคนเก่งไว้ได้ แต่ถ้าดู Purpose and Meaning ในการทำงาน คณะแพทยศาสตร์ได้เปรียบ มีกี่อันที่เป็น Intangible ที่ต้องนำไปใช้ การเขียนในเล่มนี้เป็นลักษณะของสไตล์ตะวันออก อย่างเช่น
Emotional Intelligence ความจริงแล้วคือความนิ่ง และสมาธิ Mind ของเราต้องเป็น Positive เสมอ ให้ปรับวิธีการทำงานให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมก็จะเป็นประโยชน์เสมอ
กลุ่ม 4 Organization Creating Sustainable Performance ..P.40-47
การพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืน ในองค์กรประกอบด้วยหลายส่วน อย่างฝ่ายบริหาร ฝ่ายลูกจ้าง ในการดำเนินงานต่าง ๆ ถ้าจะให้ยั่งยืน ต้องให้ลูกจ้างมีโอกาสเรียนรู้และเติบโต ซึ่งแต่ละส่วนต้องเดินหน้าไปด้วยกันถึงทำให้องค์กรก้าวหน้าต่อไปได้
ถ้าคุณให้โอกาสผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเรียนรู้และเจริญเติบโตจะทำให้เขามีโอกาสก้าวหน้าในการทำงานของเขา แล้วเขาจะเป็นกำลังสำคัญในองค์กร
- พลังที่จะอยู่รอดในองค์กร จะทำอย่างไรให้อยู่รอดในองค์กรได้สำเร็จ
- มีความหลงใหลในงานและมีความชอบอะไรบ้าง ถ้าคนงานทำงานด้วยความชอบ ไม่นานเขาก็จับใจความได้ แต่ถ้าไม่ชอบงานลองให้เขาไปทำก็ทำได้ไม่ดี ต้องสร้างให้เขารู้สึกตื่นเต้นในการทำงาน
- เขาได้รับรู้ ความรู้ และทักษะใหม่ ๆ จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญในการทำงาน
จะทำให้เกิดความก้าวหน้าในองค์กรของเขา ถ้าจะเกิดความต้องการพัฒนาอย่างยั่งยืน
1.Providing Decision –Making Discretion คือให้อำนาจในการตัดสินใจและใช้ดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา เป็นการส่งเสริมพลังในการคิดและแก้ไขปัญหา และเมื่อไม่มี Boss คนนี้จะไปแทนได้
จึงมีความจำเป็นมากที่ Boss จะเชิญผู้ให้บริการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจด้วย เนื่องจากเขาจะรับรู้ปัญหาโดยตรงว่าจะเกิดจากอะไร
2.Share Information ถ้าคนในองค์กรรู้ว่า Vision ไปไหน เขาจะทำงานได้ดีขึ้นจะได้ตรงกับเป้าหมายที่วางไว้ และเมื่อรู้เป้าหมายองค์กรแล้ว เขาจะสามารถนำเสนอตัวเองว่าเขาสามารถทำหรือ Present องค์กรได้
3.Minimize Incivility (employees) ลูกจ้างกว่าครึ่งในองค์กรเคยประสบเกี่ยวกับความรุนแรง และไม่พอใจในองค์กร จึงไม่พยายามสร้างผลงานในองค์กร คนกลุ่มนี้เขาจะใช้เวลา 2 ใน 3 หลบหลีกเพื่อไม่ให้เกิดการกระทำผิด จึงทำให้งานไม่ก้าวหน้า
4.Minimize lncivility (employers) นายจ้างจะมองที่ลูกจ้างว่าเป็นคนมีมนุษยสัมพันธ์และเข้ากับคนอื่นได้หรือไม่
- Offer performance feedback เป็นการยอมรับข้อคิดเห็นที่ตอบกลับมา เราจะได้นำมาปรับเพื่อให้ตรงกับ Mission และ Strategy ในอนาคตได้ และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกับคณะแพทยศาสตร์จะนำมาพบกับปัญหาหลายอย่าง อย่างเช่น การทำงานตามคำสั่งหรือลำดับการบังคับบัญชาจะทำให้ขาดการตัดสินใจ การทำงานภายใต้ความกดดันจะทำให้เกิดความเครียด ดังนั้น คนที่เป็นนายต้องอดทน บางคนลูกน้องฉลาดกว่า ต้องยอมรับและให้โอกาสเขา คนที่ตัดสินใจเร็วผิดพลาดทุกราย ถ้าลูกน้องผิดพลาด ต้องสอนเขา สอนแล้วสอนอีก และเมื่อไหร่ที่เขาแน่นแล้วเขาถึงขึ้น เรากำลังจัดการกับพฤติกรรมของมนุษย์ ถามตัวเองว่าสิ่งที่ได้ในวันนี้คืออะไร ถ้ายึดแค่ 2 เรื่องจะชนะ เราต้องให้โอกาสเขาแสดง แล้วจะเกิดความแตกฉาน (Mindfulness) ที่เกิดจาก Reality ที่มีการปะทะกันตลอดเวลา
การร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ บอกว่าทุกคนต้องเจอปัญหาเหล่านี้ คนไม่ดียังอยู่ได้ในองค์กรและกินเงินเดือน และคนเหล่านี้ก็จะบั่นทอนการทำงานคนอื่น โดยเฉพาะในระบบราชการไม่สามารถไล่คนออกได้ How to manage difficult people ต้องมีวิธีการบริหารคนในองค์กร ที่เจอทุกแห่ง บางคนเก่งแต่อารมณ์ไม่ดีก็ล้มเหลว คนดีต้องรวมหัวกัน เพราะสังคมไทยไม่อยากให้คนอื่นได้ดี แต่เขาดีเพราะความสามารถเขา ไม่ใช่ดีเพราะเจ้านายยกย่องเขา เราต้องส่งเสริม
8K’s คือพื้นฐาน 5K’s คือการกระเด้งไปสู่ความเป็นเลิศ 8K’s ต้องมาก่อน แล้ว 5K’s เสริม แล้ว 5 ไปสร้าง 3 V’s และให้มี Happiness at work ไม่ใช่ Happy workplace
กลุ่ม 5 Managing Yourself Are you working too hard ?
ในปัจจุบันพบว่าประมาณ 40% ทำงานอยู่ด้วยภาวะวิตกกังวล ภาวะเครียด ซึ่งจะส่งผลต่อระบบสุขภาพทำให้เกิดโรค และส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นตามมา
ความเครียด เป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งกระตุ้นในร่างกาย ความเครียดมักส่งผลเสีย และผลร้าย แต่บางครั้งความเครียดก็เป็นในทางที่ดีเป็นเหมือนกัน เพราะก่อให้เกิดพลังและเป็นแรงผลักดันในการทำงานให้มีศักยภาพขึ้นได้
ด้านงาน ความเครียดได้แก่เรื่อง ลูกค้า เจ้านาย เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง และกำหนดส่งงาน เป็นต้น
ด้านส่วนบุคคล ความเครียดได้แก่ เรื่องครอบครัว รายได้ ภาษี รถติด การเมือง การก่อการร้ายเป็นต้น
ผู้นำหรือหัวหน้า สามารถช่วยลดความเครียดเพื่อเพิ่มศักยภาพและผลงานการทำงาน ช่วยให้ไม่หมดไฟในการทำงาน และการแนะนำให้คำปรึกษาด้านต่าง ๆ
การจัดโปรแกรม เช่น การทำโยคะ การนวด การแอโรบิค แต่อาจเป็นทางอ้อมที่ไม่สามารถแก้โดยตรง หรือตรงจุด
ขั้นตอนหลุดพ้นจากสภาวะเครียด
- ทำงานเต็มที่ เต็มประสิทธิภาพ
- เป็นคนใหม่ที่มีสภาพจิตใจปกติ และเชื่อมันในตนเอง
2.จนถึงจุด ๆ นึงก็เดินจากกิจกรรมนั้นออกมา เช่น จ็อกกิ้ง ฟังเพลง นั่งสมาธิ อาบน้ำแร่ เป็นต้น
3.เดินหน้าต่อไป จะทำให้กลับมาดำเนินตามปกติ
ความเครียดระดับหนึ่งจะทำให้ผลงานเพิ่มขึ้น แต่รู้ได้อย่างไรว่าเครียดกำลังดี
จุดไหนที่ความเครียดเหมาะสมที่สุด
การหลุดพ้นจากสภาวะเครียดสามารถหลุดได้บ่อยมากแค่ไหน
คำถามที่พบบ่อย
- Breakout เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา หรือเป็นครั้งคราว ตอบ ประมาณ 25%
- ผู้นำสามารถช่วยให้หลุดพ้นได้หรือไม่ ตอบ ได้ เช่น ในงานประชุม ผู้นำอาจให้ผู้ร่วมประชุมนั่งสมาธิหลับตา 5-10 นาที แล้วพบว่าผู้เข้าร่วมประชุมจะ Focus งานมากยิ่งขึ้น
-Breakout สามารถทำเป็นทีมได้หรือไม่ ตอบ ถ้าทำงานเป็นทีมสามารถส่งผลต่อทีมได้
ด้านการรักษาสุขภาพ มีเรื่องการใช้ยา ผ่าตัด Mind & Body มีการลดบทบาทของ ขา 2 ขา และการใช้ยา สรุป แม้จะแก่แต่ก็มีความสุขได้
การร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย คิดว่าความเครียดทั้งหลาย ทั้งปวง คนเรียนศิลป์ สามารถหลีกเลี่ยงได้มากกว่าคนเรียนวิทย์ แต่ความเป็นจริง มีศิลปินที่ต้องการเขียนภาพดีมาก แต่เครียด ก็สามารถ ฆ่าตัวเองตายได้เช่นกัน คำติของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี สามารถสร้างศิลปินอย่างอาจารย์ถวัลย์ ดัชนีได้อีกคน
Spiritual Energy กล่าวว่าทุกอย่างต้องรู้จักแยกแยะ ถ้าแยกแยะเป็น ให้ใช้แนวคิดว่าช่างมัน สิ่งที่จะได้คือแก่นที่จะร้อยเรียงแนวคิดได้
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่าที่ให้อ่านไม่ได้เพื่อเตรียมสอบ แต่อ่านเพราะชอบและสะสมไปเรื่อย ๆเราอย่าแก้ปัญหาด้วยความรีบร้อน แต่จะสอนได้อย่างไร มาจาก Wisdom and Experience อย่าคิดว่าตัวเองเรียนเก่ง คนที่ไม่ปรับตัวคือคนที่ประมาท
อาจารย์ทำนอง ดาศรี กล่าวว่าทุกกลุ่ม ถอดรหัสได้หมด คือได้ข้อคิดและนำไปใช้ได้อย่างไรคือสุดยอด เจอคนดี Good people give you happiness , Bad people give your lesson , Worst people give you experience
อย่างไรก็ตาม สามารถใช้ความเครียดในการทำเงินให้สำเร็จได้ ความเครียดสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ได้ ให้เรียนรู้ในการบริหารความเครียด “เหนื่อยก็พัก อยากก็ทำ”
คนในห้อง
การให้ไปอ่าน ให้มาคุยกัน แล้วหาทางออกด้วยตัวเองได้ เป็นทฤษฎีหนึ่งที่ดูเหมือนว่าจะได้ผล มีการจับได้แบบธรรมะ เหมือนการ Match รวมกัน ใช้ความอดทน และปล่อยวาง ไม่ใช่คิดว่าทุกคนทำได้ในตอนนี้ แต่สักวันหนึ่งเราต้องทำได้ โดยใช้ความอดทน ปล่อยวาง และเวลาจะช่วยได้มากที่สุด
..... อ่านต่อได้ที่: https://www.gotoknow.org/posts/594948
วิชาที่ 27
Panel Discussion& Workshop
หัวข้อ เรียนรู้กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราช และกรณีศึกษาของโรงพยาบาลสารภี กับการพัฒนาอาเภอสร้างสุข
เพื่อปรับใช้กับการสร้างคุณค่ากับงานของคณะแพทย์ ม.อ. ในอนาคต
โดย ศ.คลีนิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
รศ.วิลาวัณย์ เสนารัตน์ อดีตคณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ร่วมวิเคราะห์และดาเนินรายการโดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล
อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล ได้กล่าวถึง กระบวนการศึกษาจะอยู่ใน C-U-V คือ Copy – Understanding- 3 V (Value Added ,Value Creation, Value Diversity) และการพูด Panel Discussion ในวันนี้จะกล่าวในมุมมองทั้งของระดับชาติและลงสู่ชุมชน
เรียนรู้กรณีศึกษาของคณะแพทย์ศิริราช
โดย ศ.คลนิกเกียรติคุณธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
ศ.คลินิกเกียรติคุณธีรวัฒน์ กุลทนันทน์ กล่าวว่าคนเราแตกต่างกัน ทำให้การดำเนินตามวิถีชีวิตแตกต่างกัน สรุปก็คือใครชอบอย่างไรก็ทำอย่างนั้น ในส่วนตัวของอาจารย์ธีรวัฒน์นั้นได้ทำในสิ่งที่ชอบคือ ได้ดูแลรักษาพยาบาลเกี่ยวกับกีฬา นักเรียนอาเซียน นักเรียนไทย เอเชียนเกมส์ ฯลฯ จึงอยากฝากทุกคนว่าชอบอะไรก็ทำแบบนั้นจะได้ไม่เหนื่อย และให้ทำงานอย่างมีความสุข ถ้าผู้บริหารใครไม่อยากเป็นก็ไม่ต้องเป็น แต่เมื่อเป็นแล้วก็ถือว่าอาสาแล้ว จึงต้องทำงานอย่างดีที่สุด ไม่ใช่บอกว่าไม่อยากเป็นเลยแต่เพราะเขาเลือกมา
ในช่วงที่อาจารย์ธีรวัฒน์เป็นหัวหน้าภาควิชาและเป็นแพทย์ประจำโอลิมปิกชาติที่เอเธนส์ ก็ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดลด้วย ซึ่งต่อมาท่านได้รับเลือกให้เป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ในระหว่างเป็นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสสอนว่า “ต้องเป็นนักเรียนใหม่ และตั้งใจทำงาน ต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ และต้องไม่อยู่กับที่” และได้ตรัสว่าใครที่รู้สึกว่าตัวเองยังไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการให้นึกถึงเพียงว่า ยังไม่ใช่เวลาของเรา
การออกนอกระบบ
โรงพยาบาลศิริราชเป็นโรงพยาบาลของแผ่นดิน โรงพยาบาลเพื่อผู้ยากไร้
บุคลากรต้องมีความสุข
- คนไข้จึงจะได้รับบริการที่ดี
- ปกป้องผลกระทบต่อศิริราช
- วิสัยทัศน์ พันธ์กิจ ที่ก้าวต่อเนื่อง
- ให้ความสำคัญทุกภาควิชา และหน่วยงานอย่างยุติธรรม เพื่อก้าวเดินทางไปพร้อม ๆ กัน
- สร้างเครือข่ายวิจัยวิชาการ , การศึกษา และบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- คุณภาพความเป็นสากลและเทคโนโลยี
- ได้เป็นรองคณบดีฝ่ายคุณธรรม จริยธรรม พวกนี้นั่งสมาธิเก่ง ไม่ด่างพร้อย สามารถมีจิตใจที่แข็งแรงดูแลตนเองได้อย่างดี
- รองคณบดีฝ่ายสุขภาพ ต้องดูสมรรถภาพทางกาย มีการดูแลสุขภาพของนักศึกษาแพทย์ เพราะจากการสำรวจพบว่าสุขภาพแย่กว่าคนทั่วไป จึงเพิ่มการดูแลด้านสุขภาพ พบว่านักศึกษาแพทย์ ฉลาดลึก แต่โง่กว้าง
- การเป็นผู้บริหารที่ดีจะต้องรู้ว่าคนนี้เหมาะกับอะไร ดังนั้นการเป็นผู้บริหาร ทีมจึงมีความสำคัญที่สุด ต้องเริ่มมองคนเป็นว่าคนไหนเหมาะอะไร จะ Approach อะไร
ในระหว่างเป็นผู้บริหารนั้น อาจารย์ธีรวัฒน์กล่าวว่าต้องมีความมั่นคงหนักแน่น มีทั้งคนชอบ และไม่ชอบ แต่ในที่สุดพวกคนไม่ชอบจะกลับมาชอบเอง
ความเจริญของศิริราช
การส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
- ดูแลตนเองได้ โดยเฉพาะด้านจิตใจ
- ดูแลพระสงฆ์
- ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
ตัวอย่างที่ดีคือ โรงพยาบาลขอนแก่น เราเป็นพุทธศาสนิกชนที่ดีเราจึงควรทำ
คุณภาพทางวิชาการ
- มาตรฐานคุณภาพทางวิชาการ
- มีการสนับสนุนอุปกรณ์การเรียนการสอนของอาจารย์
- อำนวยความสะดวกให้อาจารย์รับภาระน้อยที่สุด
- ห้องสมุดเป็นแหล่งวิชาการไม่ต้องไปที่อื่น (ทันสมัย)
- Excellent Center ก้าวต่อเนื่อง
อาจารย์จะได้มีโอกาสปรับปรุงความรู้ ความสามารถ ไม่เกี่ยงอายุ ตำแหน่งทางวิชาการ
คุณภาพทางการศึกษา
- รับนักศึกษาเข้าเรียนโดยตรงมากขึ้น
- พัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่องเพื่อการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ
- สนับสนุนให้มีความยืดหยุ่นในการจัดหลักสูตรมากขึ้น
- สนับสนุนให้มีนวัตกรรมการเรียนรู้ ให้คิดเป็นระดับนานาชาติสัมผัสกับชาวต่างชาติได้ จบแล้วให้บริการแก่ชาวต่างชาติได้
- นักศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิตนานาชาติ
- แลกเปลี่ยนแพทย์ประจำบ้านกับต่างประเทศ
ผู้บริหารที่ดีต้องแสวงหาเงินจากงบประมาณปกติ
คุณภาพทางงานวิชาการ
- สร้างกลไกสนับสนุนงานวิจัยต่อเนื่อง มีศูนย์วิจัย มีอาจารย์นักวิจัยตามภาควิชาต่าง ๆ การบริการต้องดีและรวดเร็ว มีผู้ช่วยงานวิจัยของอาจารย์
- พัฒนาคณาจารย์และบุคลากรด้านงานวิจัยอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ เช่น สนับสนุนให้เกิดการวิจัยเชิงพาณิชย์
คุณภาพความเป็นสากล
- พร้อมสำหรับการแข่งขัน หลักสูตรนานาชาติ ลงนามสัญญาระหว่างประเทศ
- ไม่ละทิ้งแนวคิดหรือค่านิยมที่ดีของไทย
- การพัฒนาโครงการนานาชาติ (International Program)
- ต้องมีการควบคุมและประเมินคุณภาพ HA,JCIA,TQA
- Medical Hub บริการชาวต่างชาติ (โดยไม่มี double standard สำหรับคนไทย)
เทคโนโลยีเพื่อคุณภาพการศึกษา
- ปัจจัยที่กำหนดความสามารถการแข่งขันคือเทคโนโลยี
- เทคโนโลยีราคาแพง ล้าสมัยเร็ว
- การฝึกฝน หรือประสบการณ์ ต้องมีการวางแผนระยะยาวที่ดี
- สนับสนุนด้านงบประมาณ และกำลังคน
กิจการนักศึกษาที่มีคุณภาพ
1.ให้โอกาสนักศึกษาร่วมกิจกรรมทั้งภายในและนอกประเทศ ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม อย่างจริงจัง
2. สร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษาอย่างใกล้ชิด ให้นักศึกษาแพทย์ได้รับการถ่ายทอดทั้งความรู้และคุณธรรม
3. กระจายความเสมอภาคแก่ผู้ด้อยโอกาส
คุณภาพชีวิต
- บรรยากาศ สภาพแวดล้อมดี
- สร้างเสริมสุขภาพทุกด้าน
- Fast Track (ระวังการร้องเรียน)
- ไม่สร้าง Pressure ให้บุคลากรโดยเฉพาะการประเมิน แต่มาช่วยให้เราทำสิ่งที่สมบูรณ์มากขึ้น
เรียน บริหารเพื่อไม่ให้ขาดตกบกพร่องในการบริหาร
คุณภาพบุคลากร
- ข้าราชการและลูกจ้างเป็นผู้มีคุณภาพ และมีคุณธรรม มีจิตสำนึกในการทำงานและให้บริการ
- การดำเนินการใด ๆ ที่เป็นนโยบายหลัก ต้องมีการอธิบายให้ข้อมูลข่าวสาร และรับฟังความคิดเห็นของข้าราชการและลูกจ้างด้วย
- ให้ความสำคัญในการฝึกอบรมพัฒนาคน ใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก สังเกตว่าทำไมภาคตะวันตกเจริญเร็ว เพราะเขาเน้นการพัฒนาเทคโนโลยี
- มีสภาพการทำงานเหมาะสม ระบุหน้าที่และสายงานการบังคับบัญชาที่ชัดเจน ไม่มีภาระงานจนเกินไป ให้ความยุติธรรม มีระบบค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเที่ยงธรรม
- งานประกันคุณภาพต้องนำผลการประเมินไปในทางสร้างสรรค์ ไม่ใช่การจับผิด
คุณภาพบริหาร
- สามารถหาทรัพยากรนอกเหนือจากงบประมาณปกติ
- ให้ทุกคนมีส่วนร่วมกำหนดทิศทาง
- ตรวจสอบ ชี้แจง ตอบคำถามได้ทุกเรื่อง (ความยุติธรรมช่วยให้ตอบได้ทุกเรื่อง)
- ยึดถือความโปร่งใส 4 ประการ ซื่อสัตย์ ขยัน กตัญญู ยุติธรรม
อุปสรรค ทำให้เกิดปัญญา ปัญหาทำให้เกิดบารมี ดังนั้นทุกคนอย่าหนีปัญหา และเผชิญความพร้อม
นโยบายการบริหารอย่างต่อเนื่อง
ต้องมีความต่อเนื่องในนโยบาย ใครทำดีแล้ว Copy จะได้ไม่เสียเวลา พัฒนาต่อเนื่องและเติบโตอย่างรวดเร็ว
1.สัมมนาผู้บริหาร
2. วางแผนกลยุทธ์
3 ระดมสมอง ต้องเอาคนมาช่วยกันคิด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ ต้องเห็นพ้องต้องกัน กรรมการต้องมีหลากหลายในสิ่งที่เหมาะสม
จากวิสัยทัศน์เดิมคือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเป็นสถาบันทางการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนย์ สู่ วิสัยทัศน์ใหม่คือ เป็นสถาบันทางการแพทย์ของแผ่นดิน มุ่งสู่ความเป็นเลิศในระดับสากล
รูปแบบการบริหาร
- นำนโยบายการบริหารอย่างมีคุณธรรม และธรรมาภิบาล
- มีกรรมการชุดต่าง ๆ ที่ช่วยดำเนินงานตามพันธกิจของคณะ
- ต้องมีความรู้ทั่วถึง
- การสร้างเครือข่ายความร่วมมือทั้งในประเทศและนานาชาติ เช่น คณะแพทย์จุฬา กระทรวงสาธารณสุข คณะแพทย์ลาว คณะแพทย์ขอนแก่น
การเป็นผู้บริหารต้องไปเยี่ยมเยียน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจ ทุกเสียงได้รับการดูแลและรับผิดชอบร่วมกัน
มีระบบส่งสัญญาณโทรทัศน์วงจนปิด SITV เพื่อการประชาสัมพันธ์ 800 จุด
ศิริราชบริหารงานยากเนื่องจาก
- เป็นสถาบันแพทย์ที่เก่าแก่ที่สุด 122 ปี
- มีขนาดใหญ่ มีบุคลากรจำนวนมาก 13,696 คน โรงพยาบาลมี 2,198 เตียง มีผู้ป่วยนอกมากกว่า 2.5 ล้านคนต่อปี ผู้ป่วยใน 8 หมื่นคนต่อปี มีนักศึกษา ผู้ฝึกอบรม 3,600 คนต่อปี
- มีพันธกิจหลัก 3 ด้าน คือ การศึกษา วิจัย และบริการสุขภาพและวิชาการ และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ความท้าทายในการขับเคลื่อน
ความท้าทายภายในและภายนอก
ความท้าทายภายใน มีการสนับสนุนและสร้างบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ พัฒนาต่อเนื่องอย่างมีเป้าหมายร่วมกัน มีการประสานพลังความต่าง และพันธกิจหลักให้เกิดคุณค่าแก่ทุกฝ่าย มีการขยายบริการให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างเหมาะสม และมีการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
ความท้าทายภายนอก ปริมาณผู้ป่วยที่ซับซ้อนเพิ่มขึ้น ความคาดหวังและความต้องการของสังคมสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบ กฎหมายรวดเร็ว ศักยภาพและความสามารถของสถาบันอื่น ๆ สูงขึ้น ความรู้และเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และการตรวจประเมินจากองค์กรภายนอก
โดยสิ่งสำคัญและจำเป็นที่สุด คือการบริหารและพัฒนาคน ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของคณะฯ ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วและเหมาะสม
กลยุทธ์ในการขับเคลื่อน
- กำหนดเป้าหมายและแนวทางดำเนินการร่วมกัน
- สนับสนุนทรัพยากรอย่างเหมาะสม
- สร้างบรรยากาศอย่างมีส่วนร่วม ยื
- เพิ่มศักยภาพบุคลากร
- ต่อยอดและสร้างสรรค์คุณค่าในงานที่ทำ
- สร้างสมดุล
- เชิดชู ยกย่อง คนดี & คนเก่ง เป็นทีม
เพื่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ยืดหยุ่น แต่ไม่หย่อนยาน เพื่อความยั่งยืน
คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
มีการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ให้เหมาะสมและร่วมสมัย
มีการสนับสนุนทรัพยากรอย่างเหมาะสมและคุ้มค่า
เพิ่มศักยภาพบุคลากรอย่างไร มุ่งเน้นพัฒนาคนให้มีวัฒนธรรมการเรียนรู้
เป้าหมายคุณภาพ
ภาวะที่เป็นคุณประโยชน์ต่อผู้ให้บริหาร
มีการ Set ระบบ และทำตามที่มีเป้าหมายไว้
องค์กรที่มีชีวิต & เรียนรู้ร่วมกัน
กลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพ คณะ
พัฒนาคน สู่การพัฒนาคุณภาพงาน และการพัฒนาระบบ
กำหนดจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพคณะ ฯ
- ประยุกต์ใช้การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ
- พัฒนาคุณภาพต่อเนื่องด้วยแนวคิด Lean
- จัดกิจกรรม หรือเกมส์ต่าง ๆ หรือ Walk Rally เพื่อพัฒนาในลักษณะช่วยกันทำงาน ให้ทำ
- ถ้าเราต้องการเติบโต เราต้องสร้างให้มีผลงานตามที่กำหนด ให้คนเขาไว้ใจ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงตรัสว่า ให้พวกเราทุกคนอ่อนน้อมถ่อมตน ทุกคนมีดี อย่าไปดูถูกใคร ทำให้โอกาสการฟ้องร้องมีน้อยลง ไม่ได้ใช้ได้เฉพาะการแพทย์อย่างเดียว แต่ใช้กับประชาชนได้ทุกระดับ
กรณีศึกษาของโรงพยาบาลสารภีกับการพัฒนาอำเภอสร้างสุขเพื่อปรับใช้กับการสร้างคุณค่ากับงานของคณะแพทย์ ม.อ. ในอนาคต
โดย รศ.วิลาวัลย์ เสนารัตน์
ทำวิจัยตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน ได้ไปพบผู้อำนวยการโรงพยาบาลสารภี จึงคิดการพัฒนาระบบเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ จึงทำให้ได้จังหวะพอดี
โรงพยาบาลสารภี เป็นโรงพยาบาลอำเภอ มี 60 เตียง คนไข้มี 42 เตียง คิดว่าถ้าทำเป็นต้นแบบให้ที่นี่เป็นสาธารณสุขมูลฐาน ได้โอกาสคุยกับคนพื้นที่ว่ามีปัญหาอะไรมากขณะนี้ พบว่ามีปัญหามะเร็งปอดอันดับหนึ่งของประเทศ เนื่องจากเป็นแอ่งรวบรวมมลพิษ จึงคิดทำโปรเจคเสนอ สสส. เพื่อศึกษา
1.รูปแบบและพัฒนาระบบกลไกที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพในระบบบริการปฐมภูมิ และระบบสุขภาพชุมชน
2. พัฒนาศักยภาพบุคคลและภาคีเครือข่าย ชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ และระบบสุขภาพชุมชน
3. สร้างกระบวนการเรียนรู้ องค์ความรู้ และนวัตกรรมในการทำงาน
แนวคิดในการทำงาน
คิดว่าการมีส่วนร่วมสำคัญที่สุด ให้เขารู้จักตนเอง ให้แก้ปัญหาเอง ใช้ระบบชุมชนในพื้นที่เป็นฐาน มีการเรียนรู้ เอากระบวนการจัดการเรียนรู้เข้ามา ให้อาจารย์พยาบาลศาสตร์ เป็นหลักในการเป็นหัวหน้าสนับสนุนวิชาการ ทำงานกับพื้นที่เป็นฝ่ายวิชาการให้ท้องถิ่น มี รพ.สต. ทำงานร่วมกัน
การเตรียมการ
ประชุมพื้นที่ครั้งที่ 1 แนะนำโครงการฯ เชิญผู้นำท้องถิ่นมา 12 ตำบล ให้เขาสมัครใจว่าใครจะเข้ามาร่วม ระบบปฐมภูมิ กับสุขภาพชุมชน (ที่มีอยู่แล้ว เช่นแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือก เมื่อระบบแพทย์แผนปัจจุบันเข้ามา ระบบนี้จะถูกละเลยไป สรุปคือทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดในทรัพยากรที่มีจำกัด พื้นที่ไหนสมัครใจให้เขามาลงชื่อ ได้รับการตอบรับใน 12 ตำบล 106 หมู่บ้าน
คนที่เสี่ยงมีที่ไหนบ้าง และอยากจะเก็บข้อมูลเป็นลักษณะของ Web base จะทำอย่างไร แต่จริง ๆ แล้วอยากได้ Application ในมือถือเลย จึงปรึกษาอาจารย์วิชาวิทยาศาสตร์ภาควิชาวิทย์คอม ฯ พบว่าทำได้ จึงได้ทำ Application SaraphiHealth (ถ้าคิดอยากทำแล้วคิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่ดี ทำเลย แล้วแนวทางจะมาเอง) และก็ทำการพัฒนาการเก็บข้อมูล
สิ่งที่ใช้คือ GPS , Sim net (ขอความร่วมมือจากภาคเอกชน True
Co-operation ได้มา 160 Sim ในเวลา 2-3 เดือน และ Google Thailand ทำให้ได้ Street view สมบูรณ์)
Saraphi Health เป็นข้อมูลทางด้านการป้องกัน ส่งเสริม ฟื้นฟู
จัดทำให้ครอบครัว บุคคล หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ
ครอบครัว ได้แก่บุคคลที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ การเลือกใช้บริการสุขภาพ เศรษฐกิจในครัวเรือน พฤติกรรมสุขภาพ สภาพแวดล้อมของบ้าน ความปลอดภัย การรับบริการสธ.
บุคคลได้แก่ ทั่วไป สุขภาพ ความเชี่ยวชาญ
มีการทำภาพบ้าน พิกัดบ้านเชื่อมกับการรายงานผล และการจัดการผู้ใช้งาน
การดำเนินงาน
- มีการรับสมัครคนเก็บข้อมูล เช่น คนนึงอาจรับผิดชอบทั้งซอย
บางคนพ่อแม่อยากให้ลูกเข้ามาร่วม เด็กที่เข้าร่วมจะได้เกียรติบัตร คือได้ทั้ง Recognize และการเข้ามามีส่วนร่วม เช่นทำให้รู้ว่าในหมู่บ้านมีคนป่วยที่นอนอยู่กี่คน เป็นอะไร
การรับสมัครคนเก็บข้อมูลจะอบรม มีคู่มือ เมื่อมีข้อมูลดีจะทำให้ได้ออกแบบอะไรดี ๆ ได้
“ร่วมคิด ร่วมสร้าง เส้นทางสู่สุขภาวะ อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่”
มีการคือข้อมูลและกำหนดภาพฝันระดับตำบล มีพื้นที่ที่เขาคุยกัน มีลานโสเหล่ และ”ข่วงกำกึ๊ด” คือคิดข้อมูลร่วมกัน ทำให้รู้สถานการณ์ในปัจจุบันว่าเป็นอย่างไร แล้วจึงกำหนดภาพอนาคต
ตอนนี้สารภีทุกตำบล จะปลูกผักอินทรีย์ กลางวันจะเอาผักเหล่านั้นมาทำกับเข้ากินกัน มีห้อง Relax แต่ละตำบลมีเวลาในการหันหน้าคุยกันเยอะ เมื่อรู้ข้อมูลแล้ว ชาวบ้านรู้สถานการณ์แล้ว จึงทำข้อมูลขึ้นมา
การทำงานกับชุมชน แต่ละคนรับผิดชอบ 3 ตำบล เยี่ยมพื้นที่ทุกวัน ถ้าคนในพื้นที่แข็งแรง ไม่เจ็บป่วย งานในโรงพยาบาลก็เบาขึ้น พฤติกรรมก็เปลี่ยน
กระบวนการพัฒนาศักยภาพ
ข่วงกำกึ๊ด สู่วิทยากรกระบวนการ สู่การ Coaching สู่ Community Empowerment สู่ นักวิจัยชุมชน สู่เทคนิคการพูดในที่สาธารณะ
วิทยากรกระบวนการ มีแจกประกาศนียบัตร ชุมชนรู้อะไรมากกว่าเราเยอะ มีกระบวนการถ่ายทอดมากมาย มีการให้ลงพื้นที่ ทำงานกับพื้นที่เพื่อให้เรียนรู้
Coaching – ความสำคัญดั้งเดิมมีความสำคัญ ความเชื่อ ความไว้ใจมาก่อน
เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ – ไม่ใช้งบประมาณจาก สสส. เท่านั้น
เครือข่ายเยาวชน
โรงเรียนผู้สูงอายุ
Home health Care ทำ Home Care Application รู้ว่าคนไข้ที่ไปเยี่ยมได้รับการตรวจอะไรบ้าง วินิจฉัยแล้วได้ยาอะไร ระบบถูกเชื่อม และครบวงจร
การสื่อสารสาธารณะ – ใช้ Resource ที่มีอยู่ในพื้นที่ รู้ใจคน รู้ใจงาน สื่อสารเป็น
มีเยาวชนจิตอาสา
และอบรม “ชุมชนจัดการตนเอง” มีคนอบรม 160 คนได้ประกาศ 159 คน
การจัดการขยะ
มีการออกกฎว่าห้ามเผา แต่ละพื้นที่ชุมชนจะมีอาสาสมัครในกรณีมีควันเกิดขึ้นจะแจ้งผู้ใหญ่บ้าน จะไปคุย ถ้าไม่ยอม ก็ไปปรับ ตำบลที่ทำแล้วได้ผลดีคือ ตำบลท่ากว้าง เป็นตำบลที่มีประชากรไม่เยอะ มีมากกว่า 1,000 คน
ค่าขยะที่เหลือลดลงมากกว่า 2 แสนบาทต่อปี เก็บขยะ 2 วันต่ออาทิตย์ ให้ครัวเรือนแยกขยะ เกิดเป็นโครงการต่อยอด สนับสนุนต่อโครงการพัฒนาสุขภาพ
ตำบลหนองผึ้ง มี “ตลาดนัดขยะ” คัดแยกขยะในครัวเรือน มาขาย ณ ตลาดนัดขยะในชุมชน
มีการรณรงค์การจัดการขยะในโรงเรียน พาโรงเรียนไปดูงานโรงเรียนคุณธรรม ทำธรรมนูญโรงเรียน ท้องถิ่นคิดอยากทำ แต่ต้องการ Support จากสถาบันการศึกษาทำงานคู่กับเขา แต่อย่าคิดแทนเขา
ผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
ปัจจุบันมีผักอินทรีย์ขาย มีการทำ MOU ด้านสุขภาพ ระหว่างตำบล ช่วยกัน
การศึกษาดูงานในพื้นที่จะได้ประโยชน์มากกว่าคนมาพูดให้ฟัง เวลาคนมาดูงานได้ขอการแสดงความคิดเห็นเพื่อนำมาปรับปรุง ให้โรงเรียนคุณธรรมมาช่วย
มีการเชื่อมระบบ Health System กับ Information System
สรุปการทำงานโครงการ
สารภีได้รางวัล PCA ดีเยี่ยม ได้รางวัลอาหารรสเค็มสำหรับคนไข้เรื้อรัง เป็นการสร้างกำลังใจให้คนทำงาน ขยายไป 50 คนทั่วประเทศ
เก็บข้อมูลใน 3 อำเภอ คือ สารภี พร้อม ดอยหลอม คิดว่าChiang-Mai Digi-health ทะยอยบันทึกและเก็บข้อมูลได้เนื่องจากข้อมูลจะอยู่ที่ i-cloud สาระสูญนี้ มีอะไร ผู้ถ่ายทอดเป็นอะไร เรื่องแพทย์แผนไทย เศรษฐกิจ อาชีพ แรงงานต่างด้าว
มีแนวคิดว่าถ้ามีการทำอนามัยโรงเรียนได้ ทำไมทำอนามัยวัดไม่ได้ จึงได้มีการสร้างศูนย์แพทย์ทางเลือกและแพทย์แผนไทยขึ้นมา มีการฝังเข็ม อินเดีย จีนที่นั่น มีวัดครูบาน้อย วัดศรีดอนมูลที่คิดจะพัฒนาพื้นที่ตำบล ให้ชาวบ้านมีรายได้ เพื่อไปพักในที่ชาวบ้านในราคาไม่แพง และยังได้เพื่อนและกัลยาณมิตรเพิ่มขึ้นอีกด้วย
การร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวว่า รุ่น 2 ได้แวะไปที่สารภี และ ดร.จีระ ไปด้วย ฯพณฯสุนทร หงส์ลดารมภ์ได้ไปช่วยที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงอาจปรึกษาคณบดีด้วยว่าโปรเจคที่คิดร่วมกัน อาจเริ่มที่สุขภาพแต่กระเด้งไปที่ยาเสพติด ถ้าพื้นที่ไม่เข้มแข็ง ทุกอย่างก็ไม่เข้มแข็ง มีเรื่อง Health ,Wealth มีการทำการท่องเที่ยวเชิงกีฬา และท่องเที่ยวชุมชน มี Networking , Capacity Building , Sustainability ,สู่ การสร้างรายได้ (Outcome) ถ้าเราให้สารภีกระเด้งไปภาคเหนือและทำต่อเนื่องและให้มีเวลาอยากหารือร่วมกัน If you have idea ,please turn idea into action and turn action into success เราควรช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ชอบที่เอานักวิชาการทาง IT มาช่วยด้วย ให้ส่งเสริมการนำชาวบ้านมามีส่วนร่วม และ Empowering
การแสดงความคิดเห็นในห้อง
- มีสิ่งหนึ่งที่อยากให้อาจารย์แบ่งปันว่าทำอย่างไรให้รู้สึกว่าทุกส่วนที่เกี่ยวข้องเป็นการสร้างงาน ไม่ใช่การเพิ่มงาน เป็นการทำงานร่วมกัน
- การทำงานกับชุมชนทำอย่างไร
ตอบ ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้นจริงคือ จะมีคนพูดว่าเก็บข้อมูลอีกแล้ว ดังนั้นเวลาเริ่มจึงขอให้เริ่มจากคนที่มีใจร่วมกับเราก่อน พยายามเข้าหาให้ถูกคน คือ Know who สำคัญกว่า Know how เข้าให้ถูกคนแล้วจะได้ความร่วมมือ ต้องรู้จักคน อย่าเอาเงินนำหน้า ให้ใช้ใจนำหน้า
ตอบ การทำงานกับชุมชนต้องสร้างความเชื่อใจ Trust Building ต้องเป็นคนรักษาคำพูด เราต้องเป็นต้นแบบ เมื่อเขาพร้อมทุกอย่างก็ไม่ใช่ปัญหา ต้องสร้างความเชื่อมั่น มีใจให้กัน ทำให้สำเร็จ และเริ่มใหม่ด้วยกัน ทุกปัญหามีทางออกทั้งนั้น อย่าให้ทุกทางออกมีปัญหา อยากให้ใครมาทำเรื่องอะไร เราต้องเอื้ออำนวย ให้เขามีกำลังใจ เชิดชูคนเก่ง คนดี สร้างโอกาสให้ทุกคนเท่า ๆ กัน ทุกคนมีดีทั้งนั้น หาให้เจอ เราไม่จำเป็นต้องเก่งไปหมด เราทุกคนพัฒนาได้ พยายามหาให้เจอและ Approach ให้ถูก
มีโครงการแยกขยะที่สันทรายสามารถทำให้มีเหลือเงิน 600,000 บาท ได้ให้ชาวบ้านช่วยกันคิดว่าจะนำไปทำโครงการฯอะไร เงินท้องถิ่นเหลือเยอะ ก็นำไปเพิ่มสวัสดิการอื่น ๆ ได้
อาจารย์ธีรวัฒน์ การทำโครงการอะไรก็ตาม ให้ยกปัญหาที่มีในหน่วยงาน แล้วเมื่อร่วมทำสำเร็จผลคืองานจะลดลง เร็วขึ้น และพร้อมไปพัฒนาหน่วยงานอื่น ๆ ได้ คิดว่าน่าจะได้รับความร่วมมืออย่างดี เพราะทำให้ปัญหาลดลง เวลาลดลง ผลลัพธ์มีแต่ดีกับดี ผลคือภาระงานลดลง จะได้มีกำไรในการทำงานร่วมกัน
ดร.จีระ เสนอว่าอยู่ที่ความเป็นผู้นำด้วยนอกจากการบริหารจัดการ คนเรายิ่งใหญ่ ยิ่งต้องทำตัวให้ถ่อมตน คือ Simple และ Humanity ต้องสู้กับความล้มเหลว ล้มแล้วต้องลุก Leader มี 5 ระดับ ระดับที่สูงที่สุดต้องทำตัว Simple ที่สุด ขับเคลื่อนองค์กรที่ดีที่สุด เป็น CEO กับธรรมะ มีคนบอกว่า CEO ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ พระพุทธเจ้า ต้องถ่อมตัวและทำตัวให้ Simple ที่สุด
ศ.คลินิกเกียรติคุณธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
อยากให้ทำ Lean Hospital , Clean Hospital,….
โรงพยาบาลปิยมหาราชการุณ
โครงการอาคารปรีคลินิกและเวชสารสนเทศ จะเปิดทำการในปี พ.ศ. 2553 และโครงการพัฒนาศิริราชสู่สถานบันการแพทย์ชั้นเลิศในเอเชียอาคเนีย์ เปิดในปี พ.ศ. 2554 ยังขาดเงิน 4,500 ล้านบาท ได้ทูลฯเรียนเชิญสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯเป็นองค์ประธาน ฯ ในการจัดหาเงิน โดยสามารถจัดหาเงินได้จำนวน 5,000 ล้านบาท และส่วนหนึ่งมาจากเงินสลากกินแบ่งรัฐบาล สรุปแล้วตึกปิยมหาราชการุณได้มา ทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท แต่ต่อมามีปัญหาเรื่องการจราจร เนื่องจากมีคนผ่านมาในศิริราชจำนวนมาก ได้ทำการศึกษาข้อมูลว่ามาวันละเท่าไหร่ และเมื่อเสร็จสิ้นคนต้องเพิ่มเป็นเท่าไหร่ พบว่าโดยเฉลี่ยคนผ่านศิริราชประมาณ 100,000 คนต่อวัน บุคลากรมี 15,000 คน คนไข้ประมาณ 30,000 คน และรวมอื่น ๆ เป็นประมาณ 100,000 คน จึงได้กราบบังคมทูลปรึกษาเรื่องปัญหาการจราจรต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระองค์ท่านทรงแนะนำเส้นทางเพื่อแก้ปัญหาการจราจร ด้วยพระปรีชาญาณและสามารถ โดยให้มีการจัดประชุมจากหลายภาคส่วนใน 3 วันติดกัน มีการทำ รถไฟ , Local Road, สะพานข้ามไปถึงฝั่งทหารเรือ ทำให้การสัญจรสะดวกมากขึ้น โดยเฉพาะฝั่งธนบุรี
การพัฒนาบุคลากร
อาจารย์ที่จะเข้าอบรมต้องไปดูโครงการพระราชดำริ โดยใช้แนวทางของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
ต้องระลึกเสมอว่าอำนาจมาพร้อมกับความรับผิดชอบทั้งต่อตนเองและผู้อื่น ต้องอยู่ในใจตลอด
ตนเองต้องมีศีล ซื่อตรง ตบะ ไม่โกรธ ขันติ และเที่ยงธรรม และที่ทำให้ผู้อื่นคือ ทาน เสียสละ อ่อนโยน ไม่เบียดเบียน
ทักษะทางสังคมเกิดขึ้นได้จากการพูด ประกอบด้วย พูดความจริง พูดให้ถูกกาลเวลา พูดแล้วเป็นประโยชน์ พูดด้วยความเมตตา พูดด้วยความอ่อนหวาน
เป็นหลักที่พระพุทธเจ้าทรงให้ เป็นการมองจากประโยชน์ส่วนตนไปหาบุคคลอื่น
ผู้บริหารต้องมี “ภาวะผู้นำ”
สติปัญญา……
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯตอนน้ำท่วม ท่านทรงงานตลอดเวลา ในเรื่องความห่วงใยของประชาชนเต็มเปี่ยม ทรงวางแผนในการแก้ไขน้ำท่วมหลายครั้ง ศิริราช น้ำจะท่วมไม่ได้เด็ดขาด ส่งทหารมา 200 ช่วยอุดรูรั่วได้ทันท่วงทีและทำโครงการแก้มลิง 2 แห่ง
การทรงพระปรีชาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระวรกาย ตรากตรำ และมุ่งมั่น มิได้ทรงย่อท้อต่ออุปสรรค และความยากลำบากใด ๆ เสมือนเป็นการเสียสละ เราต้องทำได้ด้วย
การทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ท่านทรง ศึกษาข้อมูลเบื้องต้น ค้นคว้าเพิ่มเติม ใช้แผนที่ประกอบ สอบถามบุคคลต่าง ๆ ทุกระดับ หาข้อมูลจากสถานที่จริง สามารถได้ทุกที่ทุกทาง
ภูมิสังคม ภูมิมาจากภูมิศาสตร์ สังคม มาจากสภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณี
วิธีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะคำนึงถึงสภาพภูมิศาสตร์และสภาพสังคม วัฒนธรรม ประเพณี...
ขาดทุน คือ กำไร การกินดีอยู่ดีของประชาชน คือผลที่นับเป็นมูลค่าเป็นเงินไม่ได้ การสอนให้บุคลากรต่าง ๆ พึ่งตนเองได้ คือผลที่นับมูลค่าเป็นเงินไม่ได้เช่นกัน
พระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงยอมเสีย (ยอมขาดทุน) คือการให้ หรือการเสียสละประโยชน์ส่วนพระองค์ แต่มีผลคือความอยู่ดีมีสุขของประชาชนเป็นกำไร
สรุปคือ ความสำเร็จของ มอ. รออยู่ ต้องยึดวิสัยทัศน์ พันธกิจ สามัคคีทำงานเป็นทีม สื่อสารภายใน ขยัน อดทน ทำงานหนัก ตั้งใจ มุ่งมั่น เสียสละ ความเมตตา และเหนือสิ่งอื่นใดคือตนเอง ยึดตามหลักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ คือ การระเบิดจากภายในและกระเด้งสู่ภายนอก
ความสมบูรณ์แบบจะเกิดเมื่อพัฒนาและแก้ไข อันไหนที่ทำ KPI แล้ว 100 % ไม่ต้องทำKPI แล้วเพราะแสดงว่าอยู่ในจิตสำนึก ให้ตั้งตัวใหม่และพัฒนา สุดท้ายต้องมีความรักต่อคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
การร่วมแสดงความคิดเห็น
- กรณี Fast Track เคยจัดให้ระบบเจาะเลือกแต่เกิดเรื่องร้องเรียน จะทำอย่างไร
- เงินบริจาคเพิ่มเป็น 500 ล้านบาท ศิริราชกับสงขลานครินทร์
- กระแสข่าวที่จะสร้างทางเรียบแม่น้ำเจ้าพระยา
- การก่อตั้งโรงพยาบาลศิริราช กับปิยมหาราชการุณ มีการแบ่งงานกันอย่างไร
- เคยคิดถึง Break even point ว่าอีก กี่ปีจะคุ้มทุนหรือไม่
- การมีปัญหา Double Standard ด้านผลตอบแทนจะแก้ปัญหานี้อย่างไร
- การสร้างโปรเจคใหม่ขึ้นมาจะทำอย่างไร และการของบประมาณจะทำอย่างไร
- อาจารย์หมอหนุ่ม ๆ ที่ขึ้นมาทำวิจัย อาจมีตำแหน่งทางวิชาการเร็ว อาจมีตำแหน่งเป็นถึง ศ. แต่โลกทัศน์ไม่ชอบบริหาร จะทำอย่างไรให้แนวดิ่งกับแนวกว้าง Integrated เข้าไป
ตอบ คือ ต้องดูภูมิสังคมดี ๆ มีระบบวิธีการจัดการอย่างไร เอื้อระบบให้คนในองค์กรเพื่อให้กลับไปทำงานในองค์กรเร็วขึ้น จะทำอย่างไร อาจมีห้องพิเศษหรือไม่ ตอบโดยตรงไม่ได้ ให้ดูที่ภูมิสังคมเป็นหลักแต่ขอให้ควรทำ เพราะผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น
ตอบ คือมี Key Success Factor ต่างกันอย่างไร สิ่งสำคัญคือ Network ต้องรู้จัก แรงสนับสนุนเยอะหรือไม่ ต้องส่งผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นว่าจะทำอย่างไร ใช้ที่รถไฟโดยไม่มีเงื่อนไขโดยผ่านการขอมติ ค.ร.ม. สุดท้ายได้ที่รถไฟมาฟรี และให้ผลประโยชน์แก่รถไฟเหมือนข้าราชการทั้งหมด จากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งทำให้การรถไฟมุ่งมั่น คึกคัก ทำงานได้อย่างเต็มที่ ทำให้คนมีกำลังใจทำงานในเรื่องการรถไฟ และได้งบไทยเข้มแข็ง 1,700 ล้านบาท
ตอบ ให้นึกถึงการเอาผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง ชี้แจงข้อดี และข้อเสียให้ปรากฏ อยู่ที่การสร้างความเข้าและขอให้เห็นประโยชน์ส่วนรวม ประเด็นอยู่ที่สร้างความเข้าใจให้แก่บุคลากรในหน่วยงานของเรา จะพูดอย่างไรให้คนเห็นคล้อยตามเรา ต้องเสียสละผลประโยชน์ที่ได้รับไป
ตอบ เราต้องทำให้เขาเห็นถึงความปลอดภัยก่อน มีระบบคือมีหมอประจำ แต่คนส่วนใหญ่คนอยากใช้อาจารย์ มีการออกระเบียบเป็น Part time ไปทำนอกเวลาราชการ มีการหมุนเวียนออกไป พยาบาลต้องมีการหมุนเวียนเกิดขึ้น มีการรับ Full time ออกมา การให้เงินพยาบาลให้เขาอยู่ได้ ต้องชี้ให้เห็นแต่ต้นเลย Maintain แล้วดูว่าผลประโยชน์องค์กรอะไรเยอะกว่ากัน ต้องชี้ให้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับในลักษณะถูกต้อง และเหมาะสม อาจมีการทำ Model ก่อน แล้วสร้างเสร็จแล้วค่อยขยายใหญ่ขึ้นมา ต้องชี้แจงให้ได้ บางคนยึดคำตอบให้ได้แบบที่ต้องการ แม้อธิบายไปแล้วก็ตาม
ตอบ เงินส่วนใหญ่เป็นเงินบริจาค และงบประมาณ ผลที่ได้ดีเกินคาด และเงินที่ได้จะส่งมาให้
ศิริราชในการรักษาผู้ป่วยยากไร้ ยึดหลักที่เรียนมาแล้วกลับไปทบทวน เอามาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ทุกอย่างมีค่า
ตอบ ไม่มีปัญหา Double Standard เพียงแต่มีภาระงานไม่เหมือนกัน แล้วจะให้ผลตอบแทนเหมือนกันได้อย่างไร สรุปคือมี Standard เดียว
ตอบ โครงการไหนเป็นอันตรายก็ให้ค่อยเป็นค่อยไป เพราะบางทีไปขัดผลประโยชน์ ทำโครงการอะไรก็ตามต้องดูสิ่งแวดล้อม ดูสังคม ว่าบุกได้แค่ไหน ถ้าบุกไม่ได้ก็ถอย อย่าดันทุรัง เรื่องของบประมาณต้องขอเครือข่ายที่รู้จัก รู้จักใครบ้าง ดารา การรับบริจาค นักการเมือง การอนุมัติเห็นด้วย เห็นชอบ ต้อง ล้อบบี้ก่อน ต้องค่อย ๆ สร้างขึ้นมา ต้องทำตัวให้กว้างพอสมควร การจะประสบความสำเร็จต้องรู้จักคนจำนวนมาก
ตอบ แนะนำให้ทำวิจัยไปเลย ให้ทำที่เขาชอบ การไปบังคับเด็กให้เล่นกีฬาไม่ชอบ เขาอาจเกลียดสิ่งนั้นตลอดไปก็ได้ คนเราเกิดมาทักษะแต่ละกำเนิดแตกต่างกัน คนไหนชอบอะไรทำอย่างนั้น คนที่เก่งหลายอย่างก็ให้เป็นผู้บริหารชั้นยอดไปเลย เราโตมาจนป่านนี้เลือกมาถึงวันนี้ให้ทำสิ่งที่ชอบและมีความสุขในการทำงานแล้วจะพัฒนาองค์กรและสังคมได้อย่างเต็มที่
วันที่ 15: วันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2558
วิชาที่ 29
Panel Discussion
หัวข้อ “Social Innovation: คณะแพทย์ ม.อ. กับการพัฒนาสังคม/ชุมชนในสายตาของประชาชน”
โดย นายสุริยา ยีขุน นายกเทศบาล ตาบลปริก อ.สะเดา จ.สงขลา
นายสมพร ศิริโปราณานนท์ ประธานหอการค้า จังหวัดสงขลา
นายเมธา ปุณยประวิตร ผู้อานวยการสานักธรรมนูญสุขภาพ ตาบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา
ร่วมวิเคราะห์และดาเนินรายการโดย ดร.จีระเดช ดิสกะประกาย
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ได้กล่าวถึงวิธีการเรียนว่าถ้าไปจับกับแนว Chira way สามารถเอาไปใช้ในเรื่องการเอาชนะอุปสรรค , Get things done , ฯลฯ สิ่งที่อยากเสนอคือแผนอย่างเดียวไม่พอ ต้องแก้ปัญหาคือเวลาเจออุปสรรคต้องสามารถผ่านพ้นไปได้
Mindfulness คือ ทุกอย่างขึ้นอยู่กับ Mind ของเรา ถ้าเราพร้อมในการจัดการทุกอย่างก็เกิดขึ้นได้
นอกจากนี้ ดร.จีระ ได้อยากขอให้ทุกคนไปทบทวนดู อย่าง C-U-V ให้ลองปรับใช้ในการทำงานของเรา และเน้นการกระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
Innovation
- ทำอะไรที่ใหม่
- Customer หรือ Stakeholder ได้รับประโยชน์
-Turn idea into action
นายสมพร ศิริโปราณานนท์ ประธานหอการค้า จ.สงขลา
ได้กล่าวถึงบทบาทของหอการค้า คือ การส่งเสริมธุรกิจ การพัฒนาอาชีพ และการสร้างคุณค่าทางสังคม มี 3 เรื่องแต่หมายรวมถึงบทบาทที่ต้องทำในทุกด้าน
สิ่งแรกที่มองถึงการทำงานใน 2 ปีครึ่งของคุณสมพรคือ เศรษฐกิจนำ สังคม และสิ่งแวดล้อมตามคู่กันไป เราทำอยู่ที่จังหวัดสงขลาคือไม่ทอดทิ้งเพื่อสังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจะทำอย่างไรที่จะไปกับองค์รวม มีการโยงใยในหลายภาคส่วน มีคณะกรรมการภาคเอกชน หรือ กภร. ประชุมร่วมกันทุกเดือนเพื่อหาแนวทางการขาย และหารือถึงสิ่งที่กระทบกับจังหวัด เช่น ปัญหายางพาราตกต่ำ ทำอย่างไรถึงจะช่วยได้
ด้านสิ่งแวดล้อม ตัวเราคลุกคลีด้านสิ่งแวดล้อม ตัวอย่างเช่น เวลาฝนตกที่ผ่านมาจะรู้ได้อย่างไรว่าน้ำจะท่วมหรือไม่ท่วม
ด้านสังคม มีมองว่าวิสาหกิจชุมชนทำอย่างไรถึงจะอยู่รอด เช่น อยากให้ชุมชนพึ่งตนเองได้ เป็นไปได้หรือไม่ที่ทำแพ็กเกจจิ้งเป็นกล่องแล้วขายได้ จะทำให้ราคาสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ไม่ต่ำกว่า 50 เท่า ประเด็นคือเราต้องทำอย่างไรให้สร้างมูลค่าเพิ่มในคณะแพทยศาสตร์ ให้สำรวจดูว่าสถานการณ์ปัจจุบันเราอยู่ตรงไหน และจะสร้างมูลค่าจากตรงนั้นได้อย่างไร
นายเมธา ปุณยประวิตร ผอ.สำนักธรรมนูญสุขภาพตำบลชะแล้ อ.สิงหนคร จ.สงขลา
ได้กล่าวถึงสำนักธรรมนูญสุขภาพ ตำบลชะแล้ ถึงจุดประสงค์ที่ตั้งขึ้นมานั้นเพื่อเป็นเรื่องของสุขภาพ ไม่ได้มีบทบาททางสังคมในแง่กฎหมายแต่ประการใด ธรรมนูญสุขภาพ เกิดขึ้นเนื่องจากความทุกข์ที่มีร่วมกันในชุมชน จึงอยากที่จะสร้างความสุขร่วมในชุมชน จากเดิมตำบลชะแล้ในอดีตไม่ค่อยเข้าสู่โลกภายนอกมากนัก มีแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ ต่อมาจึงได้พัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นต่าง ๆ อาทิ แพทย์สมุนไพร ยาสมุนไพร ฯลฯ ทำให้วิถีชีวิตจากเดิมเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น รายได้หลักเปลี่ยนไปและเพิ่มขึ้น
ตำบลชะแล้ เป็นตำบลเกษตรที่ทำการปลูกข้าว แต่ไปดูในข้อมูลคือยังไม่มียุ้งฉางข้าว แสดงว่ารายได้แท้จริงไม่ได้มาจากด้านอุตสาหกรรม ลูกหลานในตำบลชะแล้อยู่ในภาวะทุกขโภชนาการ ดังนั้นในปี 2552 ตำบลชะแล้จึงได้พยายามหาหนทางแก้ไขปัญหาโดยการตั้งแกนนำขึ้นมา ส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องสุขภาพ เนื่องจากเห็นข้อมูลและตัวเลขเจ็บป่วยจึงออกแบบโครงการให้ตอบสนองกับปัญหาที่เกิดขึ้น และ มีการจัดทำแผนสุขภาพ
ในปี 2540 คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติพยายามทำพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ จึงได้ลองเอาเครื่องมือไปใช้ในชุมชนดู เป็นธรรมนูญว่าด้วยสุขภาพที่เริ่มต้นจากการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาก่อน มีคณะกรรมการยกร่าง คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็น ให้ดูว่าสิ่งไหนที่สามารถทำได้ดีโดยไม่ต้องกลัวว่าผิด เพราะตำบลชะแล้เป็นชุมชนเล็ก ๆ มีคนอยู่ 3,000 กว่าคน และมีงานที่ตอบสนองด้านสุขภาพอยู่แล้ว ดังนั้นกระแสสุขภาพจึงมาแรง และทำให้การทำธรรมนูญสุขภาพเป็นไปได้ดี ประเด็นคือจะช่วยทำและบำบัดอย่างไรได้บ้าง อยากให้ท้องถิ่นช่วยอะไร กระบวนการมีส่วนร่วมจึงค่อนข้างสูงมาก
การประกาศใช้ธรรมนูญสุขภาพ เมื่อประกาศแล้วแต่ไม่รู้จะขับเคลื่อนอย่างไร มี 10 หมวด 60 ข้อ ที่ไม่ใช่กฎหมาย เพียงแค่คิดว่าเป็นทิศทางจะเกิดไปอย่างนี้
- ศูนย์ข้อมูลกลาง
- คุ้มครองผู้บริโภค
-พัฒนาคุณธรรม
ที่เน้นคือเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เพราะปัญหาสังคมในปัจจุบันเกิดขึ้นเพราะคุณธรรม จริยธรรมลดลง เราต้องการให้เขามุ่งสู่กระบวนการ รณรงค์ และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมมากกว่า
ศูนย์ข้อมูลกลาง ไม่สามารถเอาข้อมูลมาตัดสินใจได้ว่าจะทำอย่างไร ปัญหาหลักคือสภาพเศรษฐกิจของครัวเรือน เราจะทำอย่างไรให้ขับเคลื่อนออกไปได้
การรณรงค์โดยการหาเพื่อนให้ทำต่อจะช่วยให้ขับเคลื่อนต่อไปได้ วิธีการทำงานคือให้ทำเป็นเรื่อง ๆ เพื่อให้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น และไปเชื่อมกับธรรมนูญไว้
องค์กรชุมชนมีหน้าที่ในการประสานการสร้างแหล่งเรียนรู้ ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังจะทำอย่างไร การทำกายภาพบำบัดของชุมชนจะทำอย่างไร
ด้านวิชาการ องค์ความรู้ในชุมชนมีมาก ดังนั้นใน 2-3 ปีแรก อาจเน้นหนักที่ธรรมนูญ ภาควิชากายภาพบำบัด อาจพาเด็กไปศึกษาเรียนรู้ เพื่อขับเคลื่อน
ธรรมนูญสุขภาพไม่ใช่กฎหมายแต่เป็นเครื่องมือในการหลอมรวมประชาชนเพื่อลดภาวะที่เป็นทุกข์และก่อให้เกิดความเป็นสุขในชุมชน
ร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
นายสมพร ศิริโปราณานนท์ กล่าวว่าสิ่งที่เปลี่ยนไปจากเดิมคือ เมืองสงขลาแต่ก่อนบอกว่ามีนักท่องเที่ยวจากมาเลเซียมาจำนวนมาก แต่ต่อไปเราไม่ควรมองเป็นนักท่องเที่ยวแล้วเราควรมองว่าเป็นเพื่อนบ้าน เพราะทุกอาทิตย์จะพบคนมาเลเซียเดินทางมาบ่อย ๆ เคยสอบถามเขาบอกว่าเวลาเบื่อ ๆ ก็จะขับรถมาเที่ยวที่สงขลา มาหาบ้านที่สอง มาหาโอกาสทางการค้า เพราะที่มาเลเซียไม่สามารถทำได้ บางคนก็เน้นการมาทำบุญ สังเกตได้จากเวลาตักบาตรตอนเช้าที่ตลาดกิมหยง และตลาดโก้งโค้ง
อีกเรื่องที่เปลี่ยนไปคือ ผู้มาเยือนจากภาคเหนือ ได้แก่ พม่า ลาว เกิดจากเหตุการณ์ที่มีช่วงเวลาหนึ่งที่ราคายางพาราสูง ไม่สามารถหาคนไทยมาทำงานได้จึงมีการนำแรงงานชาวพม่า เข้ามา
ที่วัดคลองแห ใครรู้หรือไม่ว่าที่วัดคลองแหกำลังสร้างเจดีย์อยู่ เจดีย์นั้นเป็นเจดีย์มหาบุญ สร้างโดยชาวพม่า และใช้เงินของพม่าที่เป็นแรงงานที่อยู่ที่นี่เป็นผู้สร้าง
แต่ละท่านได้เริ่มสังเกตถึงสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงในบ้านเราหรือไม่ ?
ในวันที่ 1 มกราคม 2559 เมื่อ AEC เปิด การเคลื่อนย้ายแรงงานที่มีวิชาชีพ พยาบาลจะถูกซื้อตัว 1,000 เปอร์เซ็นต์ อย่างบริษัท SCG ก็ปรับให้ทั้งองค์กรใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ถ้าพูดไม่ได้จะไม่รับ สิ่งนี้เรียกว่า Trend ของโลกที่เราจะต้องรับให้ได้
จุดยืนของเราในภูมิยุทธศาสตร์ เราเคยมองตรงนี้หรือไม่ ครึ่งหนึ่งอยู่ข้างล่างของสงขลา อีกครึ่งหนึ่งอยู่ข้างบนของสงขลา และมอ.จะเก็บเกี่ยวอะไร เราไม่เดินไปข้างหน้าในโลกที่หมุน เราอยู่ได้แบบสง่างาม เราจะเดินอย่างไร โดยความเร็ว เร็วกว่าที่โลกเดินอยู่
คุณเมธา ปุณยประวิตร กล่าวว่า จากกระแสโลกาภิวัตน์ที่เร็วและแรง ธรรมนูญสุขภาพที่สร้างอยู่ พบว่าสิ่งที่ขาดหายไปคือการเรียนรู้ร่วมกันของชุมชน สิ่งที่สังคมเล็ก ๆทำได้คือ เราจะทำอย่างไรที่จะยึดโยงชุมชน หรือเครือญาติให้ได้ นั่นคือต้องใช้องค์ความรู้เป็นองค์ประกอบ สิ่งที่ทำภายในคือความพยายามในการทำงานและสะท้อนชุมชนซึ่งมีอยู่ 2 เรื่อง คือพยายามทำงานให้สะท้อนคุณค่า ยกย่องคุณค่า ยกย่องความดี สะท้อนคุณค่าของคนและสิ่งแวดล้อมให้ได้ เช่น ทำอย่างไรให้ป่าชายเลนและทะเลสาบมีคุณค่าตัวเอง และสามารถสะท้อนมูลค่าได้ ผลิตภัณฑ์ดี ๆ จะพัฒนาได้หรือไม่ ไม่ต้องตามกระแสมากนัก เอาองค์ความรู้ในชุมชนมาพัฒนาตัวเองให้ได้ ภูมิปัญญาบางอย่างไม่ได้รับการยอมรับในทางวิทยาศาสตร์แต่ทางชุมชนยังใช้อยู่ ทำอย่างไรให้ภูมิปัญญาท้องถิ่น แพทย์แผนไทย สามารถใช้ผสมผสานกับทางวิทยาศาสตร์ได้
เรื่องความเชื่อ ความศรัทธาต่าง ๆ เป็นพลังของชุมชน ทำอย่างไรให้ทางวิทยาศาสตร์เข้าไปได้เพื่อไม่ให้เชื่ออย่างงมงาย แต่บางครั้งเราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ความศรัทธาและความเชื่อของชุมชนบางอย่างได้ และควรนำองค์ความรู้ในชุมชนไปช่วยให้ได้มากกว่านี้
อยากให้ดูในสังคมปัจจุบันว่ามีความเหมาะสมกับสิ่งที่เป็นอยู่เดิมหรือไม่ มีคนวิจารณ์ว่าประเทศไทยบ้านเหมือนดิสนีย์แลนด์ คือ บ้านไม่มีเอกลักษณ์ ใครอยากสร้างอะไรก็ได้ ทางสถาปัตย์ไม่มีใครบอก อยากถามว่าอัตลักษณ์บ้านแท้จริงคืออย่างไร
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ เสริมว่า ปิรามิดถ้าข้างล่างไม่แน่น ข้างบนคงไม่สามารถแน่นได้ ดังนั้นจำต้องรู้จักข้างบนด้วยไม่อย่างนั้นจะทำงานไม่สำเร็จ อยากให้สำรวจว่าในปิรามิดเราอยู่ตรงไหน เราต้องมี Value Diversity สร้าง Harmony เพื่อให้เกิด Synergy และคิดว่าในอนาคตอยากให้เชื่อมโยงกับตำบลชะแล้ด้วย
ในส่วนคุณสมพร ดร.จีระ ได้พบเป็นครั้งแรก แต่คิดว่า หอการค้า กับคณะแพทยศาสตร์ น่าจะมีอะไรที่เชื่อมกันได้ ดร.จีระ คิดเรื่อง Innovation ตลอดเวลา การปะทะกับความจริงในข้างบนจะเห็นช่องทางที่สามารถเอาชนะอุปสรรคได้ ลูกค้า ม.อ.คือคนในโลก ไม่ใช่แค่คนในสงขลาเท่านั้น
ดร.ปาริชาติ วิสุทธิสมาจารย์ เริ่มจากการมองว่าทะเลสาบสงขลาเสื่อมโทรม จึงคิดว่าจะทำอย่างไรเพื่อฟื้นฟู เคยตามหาปลาโลมาแต่ไม่เจอ กลับไปเจอชุมชนแทน และทำให้รู้ว่าแท้จริงแล้วชุมชนคือพระเอก จึงต้องรู้จักเรียนรู้และคุยกับคนในชุมชนให้มากขึ้น ในไทยมีชุมชนท่องเที่ยวลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา แต่ละพื้นที่ต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจกับคน เราจะทำอย่างไรให้เขาตกปลาให้เป็น โชคดีที่ชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีภูมินิเวศที่ดี เมื่อปีหนึ่งผ่านไปจึงค่อย ๆ ซื้อใจกัน อย่างเช่นถ้าจะทำท่องเที่ยวแต่ยังมีการเผาป่าผลุอยู่ ขอถามว่าจะทำท่องเที่ยวได้อย่างไร? สิ่งสำคัญจึงต้องสร้างความเข้าใจและพูดคุยกับคนให้มากขึ้น บทบาทของนักวิชาการเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญ ทำอย่างไรที่สามารถจัดเวทีเล็ก ๆ เพื่อประสานงานกับคนและชุมชนได้ จึงขอแนะนำว่าน่าจะมีจุดประสานงานกับชุมชนในพื้นที่ และเวลาทำอย่าทำเล็ก ต้องมองในระดับ Global Scale คือให้มองเป็น Green Tourism จะทำอย่างไร เพื่อขายกับ มาเลเซีย หรือทำเป็นลักษณะโต้โผในการสร้างเส้นทาง บางเรื่องสามารถสร้างเป็นเรื่องราวที่ดีได้ด้วย อาจทำเป็นมิติในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม โดยต้องมีกลไกการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจและเป็นสังคมใบเดียวกัน
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กล่าวว่า เราต้องปรับในการ Turn idea into action and turn action into success
อภิปรายต่อ
นายสุริยา ยีขุน นายกเทศบาล ต.ปริก อ.สะเดา จ.สงขลา
กล่าวถึงการใช้วิถีชุมชนที่มีอยู่ที่เป็น พหุวัฒนธรรม ไทย-พุทธ ไทย-มุสลิม ให้นำเอาวิถีชุมชนมาร้อยเรียงกัน ตัวของวัตถุหรือโครงสร้างพื้นฐาน เราให้ความสำคัญกับคน การลงอะไรในพื้นที่ย่อมได้รับความรู้สึกเป็นเจ้าของ ความรู้สึกร่วม ก่อนหน้าปี 2542 ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ถือว่าเป็นธุระอะไรที่ไม่ใช่ ความรู้สึกของคนในชุมชนไม่มี ของเด็กไม่มี เด็กวัยรุ่นขี่มอเตอร์ไซด์ไปด้วยความคึกคะนอง
สิ่งที่เห็นในสาธารณสมบัติต่าง ๆ เช่น ตู้โทรศัพท์เกือบทุกตู้ไม่มีตู้ไหนอยู่ในสภาพเรียบร้อย เราต้องการให้คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา งบลงทุนจะได้ไม่ศูนย์เปล่า การนำมาร้อยเรียงจะทำให้คนในสังคมเป็นประชาสังคมที่มีความสุขมากขึ้น
ต้องทำเป็นองค์กรที่เป็นบริการสาธารณะให้ได้ การปาวารณาเป็นองค์กรสาธารณะ ไม่ใช่การหยิบยื่นให้โดยไม่มีคุณค่า พี่น้องในชุมชนควรมีส่วนหนึ่งในการพัฒนา ร่วมมือกันในทางเศรษฐกิจ ทั้งระดับล่าง ครัวเรือน ชุมชน และถ้าคนอยู่ได้ สังคมอยู่ได้ สิ่งแวดล้อมก็อยู่ได้
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ถ้าท้องถิ่นสามารถพัฒนาได้ดีโดยสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้คน จะเกิดการเปลี่ยนแปลง สร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ใช้คนในสังคมให้เป็นกลไกเสริมสร้างการเรียนรู้ในชุมชน สร้างโครงสร้างพื้นฐาน งาน Infrastructure ทั้งหลาย เราอยู่อย่างไร เราอยู่อย่างแบ่งปันกันและสืบสานวิถีท้องถิ่น
แนวทางการบริหารจัดการคือ
1. ให้ดึงจากข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่
2. ต้องการเน้นในเรื่องการปรับบทบาท องค์กรส่วนท้องถิ่นที่เป็นราชการมากเกินไปต้องถูกปรับ
3. การทำงานเป็นหน่วยเดียวไม่สามารถเข็นครกขึ้นภูเขา หรือทำงานชิ้นใหญ่ได้ องค์กรสามารถเคลื่อนสังคมได้โดยให้ดึงคนเข้ามามีส่วนร่วม ให้เชื่อว่าการดึงเอากำลังที่มีอยู่มาทำงาน Routineสามารถช่วยได้
4. การอยู่เพียงแค่ลำพังและคนน้อยนิดนั้น ให้ใช้หลักการบีบงัด เอาคนที่มีความรู้ คนที่เก่ง ให้เชิญมามีส่วนร่วมในการทำงานกับเรา
5. ถ้าต้องการเห็นการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ระบบการบริหารงานต้องปรับ โจทย์ทุกโจทย์ ต้องมีตัวชี้วัด ผลลัพธ์แต่ละงาน การทำงานองค์กรส่วนท้องถิ่นปัจจุบันเป็นจำเลยทางสังคมมากในเรื่องความไม่โปร่งใส ความมีอิทธิพล ดังนั้นจึงต้องปรับวิธีการทำงานให้โปร่งใส ชัดเจน ตรวจสอบได้ ประกาศให้สาธารณะรับทราบก่อนการประกาศให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งถือเป็นแนวทางที่ง่ายและสะดวก
หลักการทำงานต้องสามารถตรวจสอบได้ทุกงาน เป็นหลักที่ตำบลปริกใช้ ไม่ว่าเป็นหลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความคุ้มค่า
6. มีการสร้างการบูรณาการในการทำงานในลักษณะองคาพยพเคลื่อนที่ในลักษณะไตรภาคี ไม่ว่าจะเป็นองคาพยพท้องถิ่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การประสานงานวิศวกรเชิงช่าง ผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดการขยะในชุมชน การจัดการการมีส่วนร่วมในชุมชน
7. การสร้างกระบวนการเรียนรู้ก่อให้เกิดการพัฒนาทำอย่างไรให้คนรู้ ให้คนตระหนัก จึงใช้ยุทธศาสตร์ในการระเบิดจากข้างใน คือตัวพนักงานต้องมีความพร้อมในการทำงาน ศึกษา ทำแผนและสนับสนุนกัน ต้องมี ผอ.กองเรียกว่าโค้ช คนที่เป็น Senior Staff หรือเพื่อนหนุนนำเรียกว่าเป็น Tandam และต้องให้เด็กเหล่านี้ทำงานเกื้อหนุนกัน เพราะเขาเป็นคนในพื้นที่ต้องทำงานอย่างจิตสาธารณะ เห็นว่าตัวเองต้องพัฒนาบ้านของตัวเองอย่างไร ต้องมีความรับผิดชอบสูงเช่นเดียวกับนายกฯ วุฒิสภา เช่นเดียวกับหมู่บ้านเพื่อเกิดการทำงานร่วมกัน การทำกิจกรรมต่อเกมส์ เช่น เลโก้ต่าง ๆ
8. การจัดกลุ่มต้องมีการมอบหมายหน้าที่ โค้ชต้องประกอบด้วยลูกทีมคือ Tandam และภูมิบุตรา มีพนักงานจ้างที่นั่นหรือไม่ ต้องเอามาเป็นทีม ส่วน Tandam ไม่สามารถกำหนดว่าเป็นชุมชนหรือไม่ ใช้ความสมัครใจให้เลือก ถ้าความสมัครใจไม่เกิดใช้หลักการตลาด เน้นการปรับยุทธศาสตร์การทำงาน และวิธีการทำงาน อยู่ที่งานสวัสดิการ เรื่องภาษี เรื่องการออกอนุญาต ใช้เงินขอใบอนุญาตประกอบโรงเรือน ร้านค้า อุตสาหกรรม และอธิบายว่าบทบาทหน้าที่คุณสัมพันธ์กับบุคคลทั้งนั้น
9. เจ้าหน้าที่ชุมชนต้องไม่ลดเกียรติ ลดศักดิ์ศรี เพราะเขาคือผู้ที่จะพัฒนาตรงนั้น
10. ชุมชนต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดกับชุมชนด้วย ทำอะไรหรือมีอะไรก็ทำ เพราะการคิด การเรียนรู้เกิดจากชุมชน และสิ้นปีก็สรุปเป็นบทเรียนเพื่อเรียนต่อ เพื่อให้เห็นว่าการทำงานคนเดียวทำไม่ได้ ต้องอาศัยกลไกและเครือข่ายที่มีอยู่มากมาย ให้เห็นว่าสังคมมั่งคั่งและยั่งยืน
ความร่วมมือกับคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
การพัฒนาคน ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเป็น Academic มหาวิทยาลัยต้องยกระดับคนในชุมชนให้ติดอาวุธทางปัญญา อย่างชุมชน โรคภัยอยู่กับดินตลอด จึงทำให้การเสียเงินในการรักษาดูแลพยาบาลมีจำนวนมาก ทางคณะแพทยศาสตร์ สามารถให้คำแนะนำในด้านการดูแลสุขภาพ ทางมหาวิทยาลัยสามารถ Support ได้เป็นอย่างดี ถ้าคิดว่ามีช้างเผือกในป่า อาจตั้งเป็นกองทุนผลิตคนที่มีหน่วยก้านดีเป็นเด็กทุนของโครงการ ฯ และถ้าคิดว่าเราต้องการพัฒนาประเทศชาติร่วมกัน
สรุปคือ การยกระดับ ต้องมีการพัฒนาให้เห็นเป็นแผงขึ้นมาได้ การช่วยให้คนหลุดพ้นคือบุญ ถ้าแพทย์คือการรักษาคน ต้องมองว่าคนป่วย หรือคนไข้มาก่อน เราต้องช่วยให้คนมีชีวิตอยู่ได้ กิจ 2 คือพัฒนาตัวเราให้พร้อมที่จะไปช่วยเหลือคนอื่น เราต้องช่วยเหลือตัวเองได้ด้วย คนที่มีมากกว่าต้องไปช่วยคนที่มีน้อยกว่าขึ้นมา ดังนั้น พระราชบิดา จึงให้พระบรมราโชวาทว่าถือประโยชน์ส่วนรวมเป็นกิจ 1 ประโยชน์ส่วนตนเป็นกิจ 2
การร่วมแสดงความคิดเห็น
คณบดี กล่าวว่า การจัดหลักสูตรให้เรามาทบทวนบทบาทหน้าที่ของเราว่าคืออะไร ต้องเน้นการพัฒนาภาคใต้ เน้นการยกระดับ และใช้ปัญญา เช่นเรามีคนที่มีสมองจำนวนมาก ควรเน้นการพัฒนาโดยการสร้างคนออกไปโดยใช้ปัญญาเป็นตัวผลักดัน ใช้ปัญญาไปช่วยเขา เช่นปัญญาทางสุขภาพ ดูแลไม่ให้เจ็บป่วย ทำอย่างไรให้มีสุขภาพดี เป็นโจทย์พื้นฐานง่าย ๆ เป็นหลักการง่าย ๆ การยืดปัญญาออกไป ทำได้ง่ายเพราะปัญญาขยายผลได้ทั้งเร็วและกว้าง ต้องใช้ทั้งปัญญาและกำลังกาย ทำให้ข้างนอกแข็งขึ้น จึงจะช่วยลดภาระของ ม.อ.ในอนาคต และเป็นการทำให้หน้าที่ของเราได้ชัดเจนมากขึ้น
ติดตามผลงานความคืบหน้าของงานออกแบบโครงการเชิงนวัตกรรมฯ ครั้งที่ 3
โดย อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล และ ผศ.กิตติ ชยางคกุล
ผศ.กิตติ ชยางคกุล
โครงการเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
เป้าหมายคือต้องการให้แต่ละกลุ่มเสนอโครงการอะไรก็ได้ให้คณะแพทยศาสตร์ แต่มี Keyword หลายตัวที่เราต้องตอบโจทย์ ให้ลองคิดว่าในปี 2020 คณะแพทยศาสตร์ ม.อ.จะเกิดอะไร แล้วถ้าไม่ได้แก้จะมีผลกระทบอะไร อาทิ โครงการนวัตกรรมตอบโจทย์วิสัยทัศน์ของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. หรือไม่
คิดเค้าโครง
- Problem-based Approach
- การพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
- การพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ PBA
- การสร้างโครงการนวัตกรรมเพื่อพัฒนาคณะแพทย์ฯ
- การนำเสนอโครงการฯ
- Defining problems
- Proving problem
- Finding solutions
- Confirming solutions
- Policy : Vision ,Mission and Strategy of Med PSU
- Risk analysis (Mission, Strategy, Resources) โครงการมีความเสี่ยง มีปัญหาอะไรบ้าง
- Break-even point โครงการที่เราทำเป็น Profit หรือ Non Profit
- Defining Problem and Proving Problem
- Finding Solution and Confirming Solution
- Problem (How to define? How to prove?)
- Solution (How to find? How to confirm?)
- Innovation
- มองว่าไอเดียดี ให้ทำ แต่ต้องมีเงินสำรองเพื่อสร้างความอุ่นใจ
- แยกตามสิทธิประโยชน์ที่ได้รับ
- แจ้งสิทธิประโยชน์ที่ผู้รับประกันได้รับอย่างตรงไปตรงมา ที่เราจะจ่ายจริงคืออะไร
- รูปแบบการดำเนินการ ควรจะเป็นกองทุน/มูลนิธิ
- กำไรจากการดำเนินการ จะนำมาใช้ประโยชน์ด้านใดบ้าง
- ทำควบคู่กับระบบ Fast track เพื่อรองรับผู้ป่วยกลุ่มนี้
- ทำเป็น step จากจุดเล็กภายในคณะก่อนแล้วค่อยไปภายนอก
- ควรปรับนโยบายสาธารณสุข แต่ละยุค
- คืนเงินบางส่วนให้กับผู้ไม่ได้ใช้บริการ เพื่อดึงดูดความสนใจมาใช้บริการ
- คณะผู้บริหารควรให้การสนับสนุนโครงการฯ
- โรงเรียนใน 14 จังหวัดภาคใต้โดยเฉพาะสตูล ยกเว้น สุราษฎร์ธานี
- การบินไทย ไฟฟ้า ประปา สถานีตำรวจ
- บุคลากรประจำคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยสงขลาฯ
การสัมภาษณ์ คนสัมภาษณ์คิดว่าเป็น Pro หรือ Con กับสิ่งที่เรานำเสนอ
หลังจากสัมภาษณ์แล้วมาดูโครงการฯ ว่าจะต่อ 3 V อย่างไร
1.Problem – based Approach
เรามีปัญหาอะไร และจะแก้ไขอย่างไร จัด Priority ในกลุ่มว่าจะเอาปัญหาอะไร เพราะอะไร ส่งผลกระทบกับองค์กรอย่างไร และรู้ได้อย่างไร ส่งผลต่อเนื่องในครั้งที่ 3 คือ การหา Solution ให้ได้ เราต้องแน่ใจว่าปัญหาที่เราคิดถูก ต้องมีแหล่งข้อมูลที่มา Support ว่าเป็นปัญหาแท้จริง เช่น ผู้ปฏิบัติงานโดยตรง ผู้กระทบกับปัญหาโดยตรง แล้วเราค่อยมาดูว่าปัญหานี้จะแก้อย่างไร และถ้าไม่แก้จะเกิดผลกระทบอย่างไร ดังนั้น Keyword ต้องแน่ใจว่าเป็นของงานนี้จริง
เราจะกำหนดปัญหาที่ ม.อ.เผชิญจะมีหลักฐานอะไร แก้ปัญหาอย่างไร
- การพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
ครั้งที่ 3 ผู้บริหารคิดอย่างไรกับสิ่งนี้ ถ้าอยากรู้ลองพิสูจน์เบื้องต้นดู เช่น Literature Review
ครั้งที่ 4 กลยุทธ์ที่ทำให้เราเป็นผู้เชี่ยวชาญได้คือการสร้าง Network กับต่างประเทศ
ได้ Solution ในการแก้ปัญหา และลองถามIn-depth Interview ดูความเป็นไปได้ ว่าเป็นไปได้จริงหรือไม่ พัฒนาให้สอดคล้อง โครงการที่ทำต้องเป็นตามพันธกิจคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.
- การพัฒนาคณะแพทยศาสตร์ PBA
หา Solution ในการแก้ปัญหา แต่ก่อนอื่นต้อง Defining ปัญหาให้ได้ เมื่อได้ Finding solution หาทางแก้ปัญหา และดูว่าทางแก้ปัญหาสามารถแก้ปัญหาได้จริงหรือไม่ ก็ต้องดูว่ามีอะไรมา Support
เรื่องแรก ดูว่าปัญหาเป็นปัญหาแท้จริงใช่หรือไม่ และเป็นหนทางแก้ไข Solution ใช่หรือไม่
ปัญหา เรารู้ได้อย่างไรว่าเป็นปัญหา ?
1. ลักษณะของปัญหา
2. สภาพของปัญหา
3. สาเหตุของปัญหา
4. ผลกระทบของปัญหา
Solution รู้ได้อย่างไร ? จะแก้ไขอย่างไร?
Defining Problems
- การรักษาพยาบาล ค่ารักษาพยาบาล (การประกันชีวิต และประกันการรักษาพยาบาล)
- การให้บริการตรวจรักษา ตรวจสุขภาพ (การให้บริการ)
3. การให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าของโรงพยาบาล
4. การให้บริการ (ความเป็นเลิศด้านการรักษาพยาบาล ผู้บาดเจ็บ การเรียนการสอน การวิจัย)
5. การให้บริการกรณีผู้เสียชีวิต ศูนย์ดูแลหลังการตาย
Finding Solutions
1.การประกันชีวิต และประกันการรักษาพยาบาล
2. การให้บริการตรวจรักษา ตรวจสุขภาพ One Stop Service
3. การให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าของโรงพยาบาล Sritang Complex
4. การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ ควบคู่การสร้าง Network
5. การให้บริการกรณีผู้เสียชีวิต ศูนย์ดูแลหลังการตาย
Confirming Solutions (In-depth interview)
- PSU Insurance/PSU Health Card
- One Stop Service Check-Up Center (OSSCC)
- Sritang Complex
- PSU Trauma Center
- Departure Care Unit (DCU)
การดูเรื่อง Methodology
เป็นการดู Product ที่คิดขึ้นมา แต่ต้องมีช่องเผื่อไว้ที่สำหรับไม่ใช่การมัดตัวเองว่าสิ่งที่นำเสนอมีแค่นี้แต่ต้องเผื่อถึงการเพิ่มในอนาคตด้วย
อะไรคือสิ่งที่เราต้องนำเสนอ Innovative Project
- ชื่อโครงการ ชัด กระชับ เข้าใจง่าย จำได้ (ทำให้การสื่อสารไม่คาดเคลื่อน) เป็นการสร้างให้เกิดความน่าสนใจ รับไอเดีย รับไป แต่จะนำไป Implement อีกเรื่องนึง
- วิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการ
- 2R’s 3V’s
- วิธีการดำเนินงาน
การนำเสนอโครงการ
- การกำหนดวัตถุประสงค์และวิเคราะห์ผู้ฟัง
- กำหนดเวลาการนำเสนอ
2.การวางโครงสร้างเนื้อหาการนำเสนอ
3.วิธีการนำเสนอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของการวิเคราะห์ผู้ฟัง ซึ่งหมายถึง การวิเคราะห์ความต้องการ ความสนใจหรือความกังวลใจของผู้ฟัง รวมถึงความเข้าใจในสไตล์ความชอบของผู้ฟัง เพื่อให้สามารถออกแบบโครงสร้างและเนื้อหาการนำเสนอที่มีความเหมาะสม สอดคล้องและโดนใจผู้ฟัง
นำเสนอประเด็นการศึกษาและแนวทางในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาคณะแพทยศาสตร์แก่ผู้บริหาร
โครงสร้างการนำเสนอ
ทุกกลุ่มที่นำเสนอ
- In-depth แล้วผลเป็นอย่างไร
- โครงการที่ทำตอบโจทย์ 3 V อย่างไร
กลุ่ม 1 การไปสัมภาษณ์เชิงลึก 3 ท่าน ประกอบด้วย คณบดีคณะแพทยศาสตร์ ม.อ. รองคณบดีฝ่ายการคลังและบริหาร อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ข้อเสนอแนะจะทำลักษณะประกันสุขภาพอาจารย์คิดเห็นอย่างไร
ข้อเสนอแนะ จากคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มอ.
- กลุ่มเป้าหมายของลูกค้าประกัน
1.1 ข้าราชการ ทุกคณะ ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ (เพราะอยากเข้าถึง มอ.)
1.2 พนักงานมหาวิทยาลัยทุกคณะ ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์
(แบบยกเข่งเหมารวมทั้งหมด)
1.3 ครอบครัวของบุคคลคณะแพทยศาสตร์
(ไม่รวมพนักงานในคณะแพทยศาสตร์)
- การคิดกำไรขาดทุน / คุ้มค่าหรือไม่
2.1 คิดรายได้ – รายจ่าย = กำไร
รายจ่าย = รายจ่ายที่เกิดขึ้น / ค่ายาที่เกินสิทธิ์
2.2 ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม เช่น สิทธิที่เป็นส่วนเกินสิทธิข้าราชการ ประกันสังคม ยานอกบัญชีที่แพงมาก %การใช้ยานอกบัญชีหลัก
- จุดอ่อน
3.1 ต้องสร้างกลไกที่ดี เพื่อรองรับในทุกๆ ด้าน (ขาดทุน – กำไร)
3.2 จะเป็นประกันแบบไหน
3.2.1 ตรวจสุขภาพ
3.2.2 แบบไม่ต้องมีตรวจสุขภาพ
3.3 ศึกษาข้อมูล / เพิ่มเติมให้มาก เช่น สิทธิต่างๆ (ค่าห้องตรวจพิเศษ)
3.4 คนที่จะซื้อบริการจะเป็นผู้ป่วยที่อยากใช้สิทธิ จะทำให้ระบบขาดทุนหรือไม่
4. การบริการจัดการ
-ข้าราชการเราทุกคณะ ยกเว้นคณะแพทยศาสตร์ พนักงานมหาวิทยาลัย และครอบครัวจะไม่สามารถใช้สิทธิ์ข้าราชการได้
- กำไรและขาดทุนคิดว่าคุ้มค่าหรือไม่ มองในลักษณะผู้บริหารว่าคุ้มหรือไม่ ค่ายา เรารับผิดชอบตรงไหน และกำไรจริงหรือไม่
- ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมคือยาแพง
- ตอบโจทย์เรื่องกำไรขาดทุน และรับผิดชอบ ประกันแบบไหน ตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ เพื่อจะป้องกันเรื่องกำไรขาดทุน และศึกษาเรื่องสิทธิกึ่งหนึ่งให้มากขึ้น
ศ.คลินิกเกียรติคุณ ธีรวัฒน์ อดีตคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
ข้อเสนอแนะจาก พญ.กันยิกา ชำนิประศาสน์
- วัตถุประสงค์ เพื่ออะไร เช่น เพื่อหารายได้เข้าคณะ ส่งเสริมให้เข้าถึงการบริการ เพื่อส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดี
- การจัดสรรเงินที่ได้มาทำอะไรบ้าง เช่น การลงทุนเพื่อต่อยอดให้มีเงินเพิ่มเติม
- สิทธิที่ได้รับเพิ่มจากสิทธิ์ปัจจุบันที่ใช้อยู่ เช่น ตรวจสุขภาพประจำปี/สิทธิ์ตรวจกับแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง/ เปิดเป็น Private section เพื่อสามารถเข้าถึงบริการได้เร็ว
- ทำระบบ fast track เฉพาะโรค เช่น โรคหัวใจ มะเร็งสำไส้ มะเร็งเต้านม
- เพิ่มช่องทางการเข้าถึงบริการ เช่น คลินิก หรือ โรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ
- จะทำอย่างไรให้ผู้บริหารเห็นความสำคัญของโครงการนี้ และให้การสนับสนุนโครงการ
ทำแบบสอบถามเพิ่มเติมจาก 145 รายคิดว่าน่าสนใจ 89.3% ที่ตอบมาส่วนใหญ่เป็นข้าราชการ และผู้ได้สิทธิประกันสังคมเป็นส่วนใหญ่
ส่วนเกินสิทธิ์ เป็นสิ่งที่เขาต้องการมากโดยเฉพาะในการเข้าถึงการบริการ
ทำแล้วได้อะไรใน 3 V
1.เป็นส่วนการเพิ่มรายได้ และเพิ่มการดูแลบุคลากร เพิ่มความจงรักภักดี เน้นความแตกต่าง เป็นการส่งเสริมด้านการให้บริการ
2. Value Diversity เน้นการเสริมจากทุกคน ทุกตำแหน่ง
ผศ.กิตติ ชยางคกุล กล่าวเสริมว่า ความเห็นที่ทั้ง 3 ท่านแนะนำมาคือ Key Successful Factor สิ่งนั้นคือ How to do it successfully
ถ้าไม่อยากเสี่ยงมาก ให้เอาส่วนที่เป็นผู้เชี่ยวชาญโดยตรง มาตอบตรงนี้ด้วยดีหรือไม่
การสร้างโครงการขึ้นมาจะมีการแข่งขัน และถ้าจะแข่งขันได้ Product ต้องน่ามอง ส่วนหนึ่งคือการสร้างแบรนด์ ชื่อ ม.อ. ขายได้ เราอาจไม่จับทุกเรื่อง เราอาจจับส่วนที่เราเป็น Expert จริง ๆ ถ้าแข่งระดับเดียวกันต้องดีกว่า ถ้าไม่ระดับเดียวกันต้องฉีกออกไป และเราต้องตอบโจทย์ลูกค้าได้ด้วย ถ้าทำจริงต้อง Survey ก็ศึกษาไปด้วย
คำถาม คือ โครงการนี้ดีกว่าโครงการประกันอย่างอื่นอย่างไร
ตอบ จุดขายคือ ม.อ. Fast Track น่าจะตอบโจทย์อย่างอื่นได้
เราไม่สามารถเก็บเท่าประกันได้ แต่จะมีวิธีการอย่างไรที่จะดึงให้คนมาใช้บริการกับเรา เป็นโจทย์ที่ทำให้เราคิดว่ามีความต่างจากประกันทั่วไปอย่างไร แต่ที่น่าสนใจและเข้าถึงได้จริง ๆ อาจเป็น Fast Track และ เป็น Excellent Center ได้หรือไม่ อาจจะสามารถตอบโจทย์ตรงนี้ได้
อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล กล่าวว่าคิดว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจ ถ้าเป็นตัวประกันแล้วมีสิทธิประโยชน์แบบนี้ ให้ถามในห้องเพื่อยืนยันกับกลุ่มจะได้ Re-Check ได้ คิดในสิ่งที่จะเดินไปได้ 3 V คือเพิ่มมูลค่า ให้พนักงานรักองค์กร Value Creation ยังไม่ได้มีโรงพยาบาลไหนทำ Value Diversity ต้องร่วมมือกับที่อื่น
ตอบ อยากให้มองถึงคนรอบข้างที่ไม่ได้มีสิทธิ คิดว่าเป็นประโยชน์หรือไม่ และอยากให้คิดต่อก็ยกมือ
อยากให้ย้ำเรื่องแบรนด์ที่จะช่วยให้แผนไปได้ และอะไรที่จะทำ
ความคิดเห็น
1.เป็นครอบครัวที่ทำประกันสุขภาพมาเยอะ อยากถามว่าต่างจากบริษัทประกันอื่นอย่างไร ยังไม่ได้รายละเอียดที่ชัดเจน
2. ประกันที่อื่นเขารับประกันว่ามีห้องพักแน่นอน การทำประกันแบบนี้จะมีวิธีการอย่างไร
ตอบ เริ่มต้นจาก Fast Track แต่สิทธิพิเศษอาจเป็นการรักษาให้แพทย์ ม.อ. หรือแพทย์ที่การันตีในการรักษาดูแลทางด้านนี้เพื่อให้เข้าถึงได้เร็วขึ้น
กลุ่มที่ 2 จัดตั้ง One stop service check-up center (OSSCC)ที่มีการให้บริการตรวจสุขภาพประจำปีและมีการบริการแบบ one stop service เพื่อส่งเสริมให้มีการเข้าถึงการบริการ ที่
สะดวก รวดเร็ว มีระดับ
กลุ่มเป้าหมาย คือผู้รับบริการกลุ่มที่ต้องการตรวจสุขภาพประจำปี
ถามว่า : มีคนรอตรวจมั้ย?
สิงหาคม-ธันวาคม 58 จองมาแล้ว 1760 ราย
การสัมภาษณ์ หัวหน้าภาควิชา
- ควรทำแต่ให้มีขั้นตอนที่ชัดเจน
- เน้นคุณภาพ มากกว่าปริมาณ
- เน้นความเป็น สหสาขาวิชาชีพให้มีความหลากหลาย การประสานงานเป็นเรื่องที่สำคัญด้วย
- กลุ่มเป้าหมายกว้างไปควรเริ่มทำเฉพาะกลุ่มแล้วค่อยต่อยอด ให้ทำที่ละขั้น เมื่อเข้มแข็งค่อยต่อยอด
- ผู้รับบริการเข้าถึงการบริการได้ง่ายขึ้น (Value Creation)
- เพิ่มโอกาสในการรับผู้ป่วยรายใหม่สร้างรายได้ให้แก่องค์กร
การสัมภาษณ์ผู้ช่วยคณะบดีฝ่ายโรงพยาบาล
- ชอบโครงการนี้ เพราะมีความเป็นไปได้สูง ลงทุนน้อย ได้ประโยชน์เยอะ
- แต่........
- ควรมีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนไม่ต้องกว้างมากเกินไป
- การให้บริการต้องไม่ส่งผลกระทบต่อผู้อื่น เช่น การออกหน่วยเคลื่อนที่ไปตรวจตามโรงงานหรือสถานประกอบการต่างๆ เราไม่ควรทำ เพราะออกไปแล้วใครๆก็ต้องตรวจกับเราแน่นอนอาจเป็นการสร้างศัตรูให้กับองค์ระวังอย่าให้ออกนอก Core Value ขององค์กร (Value diversity)
- ควรทำเป็น Step และ เตรียมการรองรับการเปิด AECด้วย
- ต้องศึกษาพื้นที่ในการดำเนินงาน ศึกษาพื้นที่ใกล้แต่ต้องไม่ไล่คนอื่น รวมถึงอัตรากำลังและงบประมาณที่ต้องใช้ในการจัดศูนย์บริการ
- ควรใส่ใจในเรื่องระบบการส่งต่อผู้รับบริการในกรณีต้องได้รับการรักษา ต้องคิดระบบในการต่อเนื่อง
การสัมภาษณ์หัวหน้าพยาบาลคลินิกเวชปฏิบัติทั่วไป
- เห็นด้วยเพราะปัจจุบันผู้รับบริการมีความใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้น
- เน้นการป้องกันก่อนการเกิดโรค
- การเปิดให้บริการนี้สามารถคัดแยกกลุ่มผู้รับบริการออกจากกลุ่มที่มาตรวจรักษาโรคทั่วไปช่วยลดความแออัดลงได้
- ควรเน้นการบริการแบบ One stop service
- เป็นช่องทางในการหารายได้
- ปัญหาที่พบในปัจจุบันเกี่ยวกับการให้บริการตรวจสุขภาพ คือ คิวเต็ม รอตรวจนาน อัตรากำลังไม่เพียงพอ และความคาดหวังผู้รับบริการมากยิ่งขึ้น
การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่อาวุโสภาควิชารังสีวิทยา
- เป็นโครงการที่เหมาะสมในการเพิ่มลูกค้า และช่องทางการหารายได้ของ รพ.มอ.อีกทางหนึ่ง
การสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงพยาบาลเอกชนใน 3 จังหวัดชายแดนใต้
- ถ้าทำจริง ตลาดการตรวจสุขภาพ มอ. กินเรียบ เพราะ รพ.มอ.มีความพร้อมทั้ง
ชื่อเสียงและบุคลากรในการดำเนินการ
การสัมภาษณ์อาจารย์สาขาเทคนิคการแพทย์ ม.วลัยลักษณ์
- มีโอกาสประสบความสำเร็จสูง เนื่องจากฐานความมีชื่อเสียงของ รพ.มอ.หากมีทีมงานที่เข้มแข็งและการวางแผนที่ดี
- ควรจัดให้มีรถเคลื่อนที่ออกให้บริการ
- เน้นสร้างเครือข่ายและเป็นแหล่งการเรียนรู้ด้านวิชาการในด้านเทคนิคการแพทย์
- การขยายงานควรอาศัยนักการตลาดมืออาชีพ
การสัมภาษณ์ผู้รับบริการ
- เคยใช้บริการที่ รพ.มอ.หรือไม่?
- ไม่เคยใช้บริการ เนื่องจาก มีความล่าช้าในการจองคิว
- อัธยาศัยของผู้ให้บริการ รพ.เอกชน ที่เคยใช้บริการดี
- อัตราค่าบริการไม่แตกต่างกันมากกับ รพ.เอกชนที่เคยใช้
- ถ้ามีศูนย์บริการนี้จะมาใช้บริการหรือไม่?
- ใช้ เนื่องจาก รพ.มอ.มีความน่าเชื่อถือ
- ถ้ามีการจัดให้บริการควรเป็นแบบ One stop service ที่มีความสะดวกและรวดเร็วในการให้บริการ
- เน้นที่ผู้ให้บริการต้องมี Service mind
- Value Added เพิ่มประสิทธิภาพของการดูแลผู้ป่วย TBI และเครือข่ายของ รพ.ม.อ.
- Value Creation TBI Office of PSU and TBI Network
ทำแล้วได้อะไรใน 3 V
ทำแล้วได้อะไร จาก OSSCC
-เกิดจุดบริการใหม่ที่ให้บริการในระดับหรู (Value Added)
-เพิ่มความพึงพอใจ
-สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในการสร้างเสริมสุขภาพแก่ชุมชน
ผศ.กิตติ ชยางคกุล
การวิเคราะห์ผู้ให้สัมภาษณ์ ถ้าทำเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มนโยบาย และผู้ใช้บริการ ต้องวิเคราะห์แยกกัน ระหว่างนโยบายและ ผู้ใช้บริการ การทำ In-depth กลุ่มผู้ใช้ หรือลูกค้าจะทำหรือไม่ทำ
การแสดงความคิดเห็น
- สิ่งที่ทำเป็น Profit หรือ Non Profit ถ้าเป็น Profit แล้วอัตราตอบแทนเท่ากันหรือไม่ การบริหารจัดการต้องแตกต่างออกไป อีกเรื่องคือระเบียบที่มีปัญหาในคณะแพทยศาสตร์ เช่นจากหน่วยงานส่งมาที่เรา คนทำงานดีกว่ามี Extra Job แต่ระเบียบไม่เอื้ออำนวย จึงยังคงเป็นทำฟรีอยู่ ถ้าหน่วยนี้อาจทำเป็น Extra job ขึ้นมา
- อาจเริ่มเป็นกลุ่มแล้วนำมาปรับใช้ ในเรื่องสถานที่และขั้นตอนกระบวนการ ถ้าโรงพยาบาลคิดจะทำเป็นตึกที่เป็น Excellent จะเป็น Model ในการออกนอกระบบ แล้วถ้าจะทำจริง ๆ จะออกในนอกระบบ ตึกคือ Excellent Center เป็น Model ของการออกนอกระบบ
ตอบ คือเป็น Profit แบบ Moral
อาจารย์พิชญ์ภูรีจันทรกมล แนะนำว่าอยากให้ช่วยกันเอง ถ้าคิดว่าดี ก็อยากรับฟังให้ถ้วนทั่ว เขียนวัตถุประสงค์ให้ชัดและดึงจุดเด่นขึ้นมา คิดถึงการรองรับการออกนอกระบบ เพราะเป็นเรื่องอนาคต ส่วน Value อื่นเห็นอยู่แล้ว เพียงแต่พยายามปิดจุดอ่อน ว่าเป็นเชิงพาณิชย์ การศึกษา สังคม ข้อคิดเห็นมีหลากหลายมาก จึงอยากให้เลือกให้ดีว่าจะเอาตรงไหนแล้วมาตอบวัตถุประสงค์ แต่อย่าลืมว่าต้องเป็นไปตามขั้นตอน
กลุ่มที่ 4
- สัมภาษณ์ Associate Dean of International Affairs
- สัมภาษณ์ ผู้ช่วยรองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ว่าเป็นอย่างไร
- สัมภาษณ์ชุมชนกับสะเดา กับบางกล่ำ
- สัมภาษณ์ คุณอรพิน นวลช่วย
เราจะไปต่อหรือไม่ อย่างไร ก่อนอื่นเราต้องแน่น ให้ดูตัวเองว่ามี Access มากเพียงพอหรือยัง และก่อนไปต้องนำมา Present เพื่อให้งานของเรา Strong ที่สุด ทำงานของเราให้เข้มแข็งที่สุด และให้ดีที่สุด
ท่านเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ในการทำ MOU กับต่างประเทศ จึงต้องหาจุดเหมือนกับจุดต่างไปด้วย
การมองวิสัยทัศน์ นอกจากที่มองภาพ Macro แล้ว ต้องมองภาพระดับ Micro ด้วย คือคณะแพทยศาสตร์ และชุมชน สิ่งที่ได้รับฟังจากระดับสูง ส่วนตัวเองระดับกลาง ดังนั้นจึงควรไปดูในตัวเราเองด้วย ให้คุยกับคนที่ทำงานอุบัติเหตุอยู่แล้ว สัมภาษณ์ผู้บริหารระดับกลางเพื่อเชื่อมต่อกับชุมชนของเรา เพื่อให้ก้าวต่อไปได้
เสนอว่าอยากให้เลือกโครงการแล้วมาวิเคราะห์ร่วมกัน
ได้มีโอกาสสัมภาษณ์นายกเทศมนตรีตำบลปริก อำเภอสะเดา ถ้า ม.อ.เป็นพี่เลี้ยงและดูแลผู้ป่วย ทำอย่างไรให้ Care Giver มีความสุขในการดูแลผู้ป่วยด้วย ต้องคุยกับคนไข้และ Care Giver ด้วย ต้องแบ่งเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลที่สะเดากับโรงพยาบาลสงขลา คนไข้ที่อยู่นอกเขตจะทำอย่างไร อาจต้องมีการสร้าง Network ต่อไป
คิดว่าการเตรียมผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยก่อนกลับบ้านถือเป็นงานสำคัญของเรา
Who is real caregiver ? มีแนวทางการจัดหาตัวจริง มีการส่งต่อไปหา PCU มีการเชื่อมต่อข้อมูล แต่เป้าหมายแท้จริงคือคนไข้
ทำแล้วได้อะไรใน 3V
-Value Diversity ความต่างของการดูแลผู้ป่วยในแต่ละประเทศ ผสมผสานกับวัฒนธรรมของประเทศนั้น ๆ ทำให้ดูแลผู้ป่วยได้อย่างต่อเนื่อง
ผศ.กิตติ ชยางคกุล กล่าวว่า ต้องตั้งชื่อโครงการให้คนเข้าใจ เช่น สร้าง Center TBI ให้มีคุณภาพเพื่อไปคุยกับเมืองนอกได้ ก็เขียนไปเลยว่าเป้าหมายคือต้องการเป็น Expert ทางด้านนี้ ตัวที่ผ่านมาคืออธิบายได้ทั้งหมด จะใช้ Networking อย่างไร ในการอธิบายกับต่างประเทศ
ประเด็นคือเราต้องการสร้าง Center ตรงนี้ แต่ MOU เป็นเพียงเครื่องมือที่ไปทำ Network
อาจารย์พิชญ์ภูรี จันทรกมล บอกว่าอย่าเน้นที่ MOU อย่างเดียว
กลุ่มที่ 5 โครงการหน่วยดูแลหลังวายชนม์ (Departure Care Unit Project)
หลักการและเหตุผล
- ญาติอยู่ในห้วงทุกข์ และขาดความรู้และข้อมูลการดำเนินการต่อไป
- ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (รักษาผู้ป่วยและดูแลครอบครัว)
- ช่วยเหลือผู้ป่วยประดุจญาติมิตร จนกระทั่งจากลา
วัตถุประสงค์
จัดตั้งหน่วยงานการกุศลขึ้นมาดูแลญาติและผู้ป่วยหลังเสียชีวิต เพื่อให้ญาติสามารถจัดการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่เสียชีวิตออกจากโรงพยาบาลและมีข้อมูลในการจัดการฌาปนกิจได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วนและสะดวก
วิธีการดำเนินงาน
- หน่วยงาน : หน่วยดูแลหลังวายชนม์
- ลักษณะการดำเนินงาน : ช่วยเหลือโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (รับบริจาคผ่านมูลนิธิ รพ.สงขลานครินทร์)
- สำนักงาน : ห้องตรงข้าม ห้องทำพิธีทางศาสนาชั้น B รพ.สงขลานครินทร์
- เจ้าหน้าที่ : ปริญญาตรี 1 คน และ ปวส. / อนุปริญญา 2 คน (ระยะแรก ป.ตรี 1 คน / ปวส. 1 คน)
บทบาทหน้าที่
1.ให้ความช่วยเหลือและให้ข้อมูล เกี่ยวกับขั้นตอนและพิธีการในการเคลื่อนย้ายร่างผู้เสียชีวิตออกจาก
โรงพยาบาล และการฌาปนกิจ
- ประสานงานแจ้งการเสียชีวิตกับทางราชการ
- ข้อมูลตัดสินใจ ฉีดฟอร์มาลิน(ฟรี) หรือบรรจุโลงเย็น
- การแต่งหน้าร่างผู้เสียชีวิต
- การทำพิธีเคลื่อนย้ายร่างออกจากโรงพยาบาล
2.ข้อมูลรายชื่อ ราคา พร้อมเบอร์โทรศัพท์ติดต่อ (ในรูปคู่มือและคำแนะนำ)
เช่น รถขนส่งศพไปยังวัด สุเหร่า หรือป่าช้า
รายชื่อวัดในเขตสงขลาและในจังหวัดอื่นๆ
ร้านจำหน่ายโลงศพ
ร้านทำอาหารเลี้ยงในงาน
ร้านจัดดอกไม้ และดอกไม้จันท์
แหล่งจำหน่ายดอกกัลพฤกษ์
รายชื่อช่างภาพที่รับถ่ายงานศพ
แหล่งลอยอังคารและเรือที่ให้บริการ
3. จัดทำและดูแล website or webpage ของหน่วยเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลและช่องทางการติดต่อกับสังคมภายนอก
4. จัดทำสื่อที่ให้ข้อมูลและสร้างช่องทางหรือโอกาสสำหรับการบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ยากไร้ผ่านทางมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์
5. สอบถามและสำรวจความคิดเห็นเพื่อหาความต้องการความช่วยเหลือในประเด็นที่เพิ่มเติม
6. สอบถามญาติผู้ป่วยและประเมินการให้บริการของร้านค้าหรือบุคคลที่ปรากฏอยู่ในหนังสือข้อมูลเพื่อนำไปปรับเปลี่ยนข้อมูลในหนังสือแนะนำญาติ
งบประมาณดำเนินงาน
-งบปรับปรุงสถานที่และวัสดุครุภัณฑ์ของหน่วยงาน
-งบปรับปรุงห้องทำพิธีทางศาสนาและภูมิทัศน์โดยรอบ
-งบเงินเดือนเจ้าหน้าที่
-งบกิจกรรม (จากมูลนิธิโรงพยาบาลสงขลานครินทร์)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- ญาติผู้ป่วยสามารถดำเนินการเคลื่อนย้ายร่างไปประกอบศาสนกิจได้อย่าง สะดวก ถูกต้อง และรวดเร็ว
- สามารถสร้างความประทับใจแก่ญาติในการดูแลรักษาและบริการจากทางโรงพยาบาล (เสริมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่โรงพยาบาลฯ)
- สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยและญาติได้สมกับปรัญญาหลัก
จากการรวบรวมมาแล้วสิ่งที่ต้องนำมาตรงนี้คือภาระงาน เรื่องการแนะนำ และการจัดงานต่าง ๆ เพื่อให้มีภาระงานมากเพียงพอในการจัดตั้งแต่ละหน่วยได้
ภาระงานอีกอย่างคือการสร้าง Event หรือโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามา หรือบริจาค ให้สำรวจว่างานแบบนี้มีที่ไหนบ้าง มีคล้ายแบบนี้นิดหน่อยอยู่ที่โรงพยาบาลรามา ฯ คิดว่าไม่ใช่ภารกิจ คิดว่ายังไม่มีที่ไหนจัดตั้งหน่วยงานอย่างนี้อย่างเป็นทางการ
คำถาม ได้มาสัมภาษณ์ที่ ร.พ. ม.อ. ว่ามีหน่วยงานที่ทำคล้ายอย่างนี้หรือไม่
ตอบ คือ มี รับหน้าที่ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่เสียชีวิต แต่ไม่ได้ทำเต็มรูปแบบ เป็นลักษณะของจิตที่เป็นกุศลมากกว่า
จำนวนบุคลากรต้องการปริญญาตรี 1 คน ปวส. 2 คน ต้องทำให้จริงจังและได้ผล แต่ได้รับการ วิจารณ์ว่าอาจไม่ต้องใช้คนเท่านี้ ในระยะแรกอาจใช้ 2 คนก่อน แต่ในระยะหลังอาจขยายมากขึ้น
คำถาม การจัดตั้งดูแล้วมีความเป็นไปได้สูงหรือสูงมาก สิ่งที่ต้องทำคือสังกัดของหน่วยงาน มีคนถามว่าทำไมไม่ทำอยู่หน่วยสิทธิประโยชน์หรือแฝงในสมาธิวิทยา
ตอบ คือ ถ้าแฝงอยู่ในหน่วยสิทธิประโยชน์ คือปกติทำอยู่แล้วแต่ ขอรับคำ Comment จากวอร์ด
คำถาม มีค่าใช้จ่ายหรือไม่
ตอบ งบประมาณในการปรับปรุงสถานที่ ปรับปรุงห้องพฤติกรรมทางศาสนา ปรับปรุงภูมิทัศน์ให้ดูดี งบประจำเป็นงบดูงานของเจ้าหน้าที่ ถ้ามอบความดีให้ผู้เสียชีวิต เอางบบริจาคมาดำเนินกิจกรรม ซึ่งคิดว่าน่าจะเยอะ ถ้ามีการประชาสัมพันธ์ที่ดีพอ และเขาเข้าถึงเราได้ง่าย เพราะคิดว่าคนไทยมีจิตกุศลอยู่แล้ว
คำถาม ในกรณีที่เอาศพไปสวดที่บ้านจะมีงบสนับสนุนตรงนี้หรือไม่
ตอบ คิดว่าอยู่ในขอบข่ายตรงนี้ด้วย
คำถาม การดูแลและปฏิบัติต่อผู้เสียชีวิตนอกเวลามีการดูแลหรือไม่
ตอบ ถ้ากลับหลังเวลาราชการเจ้าหน้าที่ห้องศพจะดูแลอยู่
คำถาม รูปแบบเมื่อเสียชีวิตจะไม่เก็บที่ตึก 2 ชั่วโมง ถ้าเสียชีวิตแล้วพาไปห้อง Post ได้เลย
ตอบ ในหวอดธรรมดายังเก็บอยู่ 2 ชั่วโมง ที่Post คือไม่มีกรรมการดูแล
คำถาม มี Approach ในการให้ข้อมูลหลังจากผู้ป่วยเสียชีวิตแล้วหรือไม่
ตอบ ได้ แต่อย่าเพิ่งจองตัวแต่เนิ่น ๆ อันนี้ทำได้แน่นอน
คำถาม คนไข้ไม่ได้เสียตลอด แล้ว 2 คนที่ประจำจะทำอย่างไร ถ้าไม่แยกออกมาเป็นหน่วย อาจเป็นออฟฟิศอยู่ที่มูลนิธิก่อนหรือไม่ แล้วค่อยไปที่ใกล้ Post
ตอบ ออฟฟิศควรเก็บเกี่ยวกับพิธีศพด้วย แต่จริง ๆ ควรแยกออกมาเลยให้สามารถติดต่อได้ง่ายและทำเป็นหลักแหล่งว่า รพ. มอ. มีหน่วยดูแลผู้เสียชีวิต และสามารถสร้างแบรนด์และโฆษณาประชาสัมพันธ์เต็มที่
ผศ.กิตติ ชยางคกุล คิดว่าถ้าจะทำตรงนี้ถ้าทำแบรนด์ที่ชัดจะขายได้ เงินที่เข้ามาจะออกมาในรูปบริจาค ให้ชูตรงนี้และสร้างแบรนด์ให้กับองค์กร
อาจารย์พิชญ์ภูรี พึ่งสำราญ อาจเพิ่มภาษาใหม่ เช่นภาษาบาฮาซา ซึ่งที่อื่นยังไม่มี น่าจะคิดตัวอย่างจากสารภีโมเดล ถ้ากลุ่มนี้ทำได้ อาจมีการปรับเพิ่มบริการรถส่งกลับบ้าน มูลนิธิฯ จะมีบริการหรือไม่ และอาจขอ IT เก่ง ๆ เพื่อมาทำตรงนี้ด้วย
กลุ่มที่ 3 โครงการศรีตรังคอมเพล็กซ์
ข้อเสนอแนะจาก ผศ. กิตติ ชยางคกุล
1.กลุ่มนำเสนอหลักฐานมายืนยันว่าปัจจุบันมีปัญหาเรื่องเหล่านี้ที่ปรากฏอยู่ในเอกสารคือข้อมูลจาก Web board เกี่ยวกับปัญหาเรื่องที่พักและที่จอดรถ การจะเพิ่มน้ำหนักความสำคัญของปัญหานี้อาจต้องนำเสนอข้อมูลสนับสนุนจากแหล่งอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ข้อมูลจากผู้ปฏิบัติงานของคณะแพทย์ที่ได้จากการพูดคุย ข้อมูลจากประสบการณ์ตรงของผู้ปฏิบัติงานเอง จากเสียงสะท้อนจากกลุ่มเป้าหมาย ทั้งญาติคนไข้ และคนไข้ที่เข้ามาในระบบของโรงพยาบาล ล้วนแต่เป็นเหตุผลสนับสนุนปัญหานี้ที่คณะแพทย์ประสบอยู่ทั้งสิ้น ดังนั้นควรเพิ่มน้ำหนักข้อมูลสนับสนุนในส่วนนี้
2. Product ที่กลุ่มนำเสนอเรื่องร้านค้าเครื่องมือทางการแพทย์ ก็เช่นเดียวกันกับที่จอดรถหรือที่พัก จะหาหลักฐานหรือเหตุผลอะไร ที่จะมาตอบหากมีคนถามว่า ทำไมต้องมีร้านค้าวัสดุทางการแพทย์ หรือร้านยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ
3. การหาคำตอบสำหรับความเห็นข้อ 1 และ 2 คือจะช่วยเราปิดช่องว่างที่ว่า ทำไมศรีตรังต้องแก้ปัญหาที่พัก ที่จอดรถ ร้านค้าเครื่องมือทางการแพทย์ และร้านยาฯ และที่เคยถามไปในการนำเสนอว่าเราได้มีสเกลวัดไหมว่า คนตอบแบบสอบถามเห็นว่าเรื่องที่พักนี่สำคัญเท่าไหร่ 1 ถึง 5 หรือที่จอดรถสำคัญแค่ไหน ร้านเครื่องมือ ร้านยาล่ะ ให้ค่าน้ำหนักเท่าไหร่ การให้ค่าน้ำหนักนี้จะเป็นตัวที่บอกเราว่า 4 อย่างนี้อะไรเป็น priority ก่อนหลัง หรือมีความสำคัญมากกว่ากันในเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถาม กรณีที่กลุ่มตอบว่าไม่ได้เก็บในส่วนนี้ อาจแก้ไขได้หลายวิธี อย่างแรกคือเก็บแบบสอบถามใหม่ ซึ่งเสียเวลา ถ้าถามผม ผมก็ไม่เคยแนะนำให้ทำด้วยครับ เพราะกลุ่มตัวอย่างก็จะเป็นคนละกลุ่มกับ 321 เดิม เท่ากับต้องเก็บใหม่หมด แต่เราอาจได้ข้อมูลสนับสนุนจากวิธีการอื่น เช่น การพูดคุยหรือสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมายโดยตรงเลย หรือการสอบถามจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ หรือผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรง แล้วถ้าได้เอามาเสริมก็จะปิดช่องว่างนี้ได้
4. กรณีที่ ศ.อารีถามว่ามี product อื่น อีกหรือไม่ เป็นการชี้ให้กลุ่มเห็นช่องว่างที่ค่อนข้างใหญ่สำหรับโครงการนี้ที่กลุ่มต้องเร่งปิด นั่นคือ ทำไมกลุ่มถึงคิดว่าศรีตรังจะสร้างเพื่อแก้ปัญหาเรื่องที่พัก ที่จอดรถ ร้านวัสดุทางการแพทย์และร้านยาเท่านั้น? ยังมีอะไรนอกเหนือจากนี้อีกหรือไม่ ซึ่งวิธีแก้หรืออุดช่องว่างนี้ในทาง research methodology อาจมีได้หลายวิธี ซึ่งทั้งผม และอาจารย์อารีได้บอกไปแล้วแต่จะมาย้ำให้อีกทีครับ ประเด็นแรกที่ถามไปว่าในการสอบถาม เรามีการเปิดช่องไว้ว่ากลุ่มเป้าหมายแสดงความเห็นว่าต้องการให้ศรีตรังมีอะไรอีกหรือไม่ หากว่ามีการให้ความเห็นว่าอยากได้ร้านอาหาร อยากให้มีร้านซักรีด อยากให้มี ฯลฯ อันนี้เป็นข้อมูลที่ควรเก็บไว้ถ้ามีเราจะได้ตอบปัญหานี้ว่า มีร้านค้าหรือบริการอะไรอื่นอีกหรือไม่ จากการสอบถามมา หรือถ้าไม่มีความเห็นเกี่ยวกับร้านค้าและบริการอื่น ๆ อีก ก็ตอบตามที่อาจารย์อารีบอก คือ เรามีส่วนพื้นที่ว่างที่เปิดช่องให้กรณีมีความต้องการเพิ่มเติมด้านอื่นสามารถเปิดร้านค้าหรือบริการนั้นได้ ก็จะเป็นวิธีแก้ปัญหาว่าไม่ได้ได้จำกัดแค่การแก้ปัญหาที่พัก ที่จอดรถ ร้านค้าวัสดุทางการแพทย์และร้านยาครับ
5. การนำปัญหาดังกล่าวมาสู่การวิเคราะห์ว่าการมีศรีตรังขึ้นมาจะแก้ปัญหาดังกล่าวได้เพียงใด ข้อมูลสนับสนุนอาจมาจากการผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ที่เกี่ยวข้องในสายงานอื่น ๆ ที่สนับสนุนให้ว่าการจัดทำโครงการนี้จะตอบโจทย์และแก้ปัญหาดังกล่าว รวบรวมมาวิเคราะห์และอ้างอิงเป็นเหตุผลสนับสนุน
6. การดำเนินโครงการจัดตั้ง ศรีตรังขึ้นมาเราอาจต้องคำนึงถึงข้อมูลที่เราได้มาเพื่อออกแบบให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง จึงอาจต้องมีการเก็บข้อมูลเพื่อช่วยออกแบบการดำเนินงานของอาคารนี้ด้วย
สรุปคือการดำเนินการข้อมูลต้องช่วยกัน ถ้าโครงการนี้ผ่านได้ก็ต้องเก็บข้อมูลใหม่ในการนำเสนอให้ดียิ่งขึ้น
6.1 มีหน่วยงานภายในที่ดำเนินงานอยู่ปัจจุบันที่ทำงานเกี่ยวข้อง หรือใกล้เคียงกับ อาคารศรีตรังที่จะสร้าง หรือไม่ หากมีจะได้นำมาเป็นกรณีศึกษา เพื่อศึกษาเป็นตัวอย่าง (ถ้ามี) หรือมีที่อื่น รพ.อื่น ๆไหม
6.2 การได้ข้อมูลว่าโดยอาคารที่จะสร้าง ทำอะไรบ้างนั้น อาจต้องอ้างหลักฐานสนับสนุนว่าที่กลุ่มเสนอว่ามีอะไรบ้างนั้น เอามาจากไหน อาทิ เกิดจากการสังเกต ประสบการณ์ตรง สอบถามจากผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง หรือการสอบถามจากกลุ่มเป้าหมาย
6.3 การทำโครงการนี้ด้วยเวลาจำกัดอาจไม่จำเป็นต้องออกแบบสอบถามเพิ่มเติมว่าควรมีบริการอะไร มีน้ำหนักความสำคัญแค่ไหนไม่เพียงใด แต่ควรปรับใช้ระเบียบวิธีในการพูดคุยกับกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน หรือการสังเกต แล้วนำผลมาวิเคราะห์ ว่าศรีตรังควรมีงานในรูปแบบบ้าง
6.4 อีกข้อมูลที่สามารถสนับสนุนได้คือกลุ่มควรดำเนินการสัมภาษณ์ผู้บริหาร ซึ่งกำกับนโยบายเพื่อวิเคราะห์ถึงความเป็นไปได้ และปัญหาอุปสรรคของการจัดตั้งศรีตรังขึ้นมา ในเชิงนโยบาย
7. เนื่องจากโครงการต้องตอบโจทย์ 2Rs และ 3Vs ดังนั้นกลุ่มอาจต้องมาวิเคราะห์ว่า ศรีตรังตอบโจทย์เหล่านั้นอย่างไร แต่การจะสร้างให้ศรีตรังเป็นนวัตกรรม กลุ่มอาจต้องคิดว่าศรีตรังจะต้องดำเนินการอะไรที่อาจจะตอบความต้องการและเป็นรูปแบบใหม่ที่น่าสนใจและท้าทาย
8. สุดท้ายในการนำเสนอกลุ่มคิดว่าอะไรน่าจะเป็นปัจจัยที่เอื้อในการที่ผู้บริหารจะเห็นด้วยกับโครงการนี้อาจนำเสนอเพื่อประกอบการพิจารณาเพิ่มเติมได้นะครับ เช่น เม็ดเงิน Branding CRS และอื่น ๆ ลองมองดูว่าโครงการนี้มีส่วนไหนที่สามารถเอามาเป็นเหตุผลเพิ่มเติมได้บ้าง
การสัมภาษณ์ศ.คลินิกเกียรติคุณธีรวัฒน์ กุลทนันทน์
- จากกรณีศึกษา รพ.ศิริราชปิยมหาราชการรุณย์ ด้วยงบ 5 พันล้านบาท
- เลือกประธานโครงการให้ดี “สมเด็จพระเทพฯ”
- Brand ของศิริราช และ ของ ม.อ. “พระราชบิดา”
- การเดินสายของบประมาณ
- หาข้อมูลแหล่งบประมาณ è กองสลาก งบประมาณรัฐ อื่นๆ
- Know who … รู้ว่าจะขอใคร ใครจะสนับสนุนบ้าง
- สร้างเครือข่ายสนับสนุน
4. หาข้อมูลสนับสนุน logistic เส้นทางการเดินทางโดยรอบ เส้นทางเดินรถ
5. คุยนอกรอบก่อนเสนอโครงการ Lobbyist
6. หารายได้ระยะสั้น ยาว เพื่อ support
- งบประมาณเชิงพานิชย์
- งานวิจัยเชิงพานิชย์
7. ถ้าเป็นโครงการที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับบริการ ทุกฝ่ายก็จะสนับสนุน
ร่วมแสดงความคิดเห็น
อาจารย์ทำนอง ดาศรี กล่าวว่าโครงการที่นำเสนอแตะละโครงการดีทุกโครงการฯ แต่ต้องดูเรื่องการตั้งชื่อโครงการด้วย
ในการนำเสนอ 10-15 นาที ทำให้ผู้บริหารเข้าใจ Concept ทั้งหมด จะ Proof อะไรให้จบ
วิชาที่ 30
การบรรยายพิเศษ
หัวข้อ บทบาทของคณะแพทยศาสตร์ มอ. เพื่อสังคมไทยในมุมมองของข้าพเจ้า
โดย ฯพณฯ นาย ชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี
ฯพณฯ ชวน หลีกภัย ได้กล่าวถึงเรื่องงบประมาณว่า การจัดงบประมาณดูแลที่ได้น้อยกว่าที่อื่น เพราะคิดว่าที่นี่ดีกว่าที่อื่นแล้วจึงไม่คิดว่าควรได้งบประมาณมาก สมัยก่อนได้ไปดูในเรื่องปฏิบัติ และได้มองในเรื่องของความพร้อม เอาคนเป็นศูนย์กลาง คิดตัวเลขต่อหัว ต่อคนซึ่งเป็นข้อเสียเปรียบ สิ่งที่ทำให้เรากระทบมากคือ ความผิดพลาดจากนโยบายภาคใต้คือเมื่อ 14 – 15 ปีที่แล้ว พื้นที่นั้น มีอดีตยาวไกลไปถึงศรีอยุธยา ใครที่อ่านประวัติ จะมารายงานกลับไปยังบริษัทว่าองค์นี้เหี้ยมโหด องค์นี้เมตตา เอาประวัตินี้รายงานกับรัฐบาลฮอลันดา หรือ ฝรั่งเศส
ร. 6 มีวิสัยทัศน์ที่ฉลาดในการส่งคนปกครอง พระองค์ท่านจะดูว่าแต่ละคนจะมีการบริหารอย่างไร ความสงบจึงค่อย ๆ เกิดขึ้น ซึ่งทำให้ปัญหาไม่ได้รุนแรงเกินไป รัฐบาลจะทำหน้าที่ดูแลความมั่นคงแห่งชาติ
ปัญหาในภาคใต้ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงทำให้ปัญหาภาคใต้ลดลง
เมื่อผู้นำประเทศมาประเทศไทย นายกรัฐมนตรีต้องนำมาเข้าเฝ้า ในขณะที่เพื่อนบ้านยังมีข้อขัดแย้ง
ประเทศไทยได้รับการชื่นชมเพิ่มขึ้นเมื่อส่งทหารไปติมอร์ตะวันออก ขณะนั้นติมอร์มีปัญหาในอินโดนีเซียและคนในพื้นที่ แต่ต้องขอความเห็นก่อนว่าเห็นด้วยหรือไม่
ชื่นชมในการแก้ปัญหาระหว่างประเทศในการเข้าร่วม แก้ปัญหาผู้นำในสหประชาชาติ ขอให้ไทยเข้ามามีบทบาทมากขึ้น และได้รับความเห็นด้วยจากอินโดนีเซีย เจ้าหน้าที่ทางทหารของวิลันโต
ทหารที่ส่งไปไม่มีใครตาย แต่ได้เงินกับมาทุกคน
กรณีภาคใต้มีปัญหาและได้รับการแก้ไขอย่างต่อเนื่อง แต่เกิดปัญหาในปี 2544 วันที่ 7 เมษายน มีระเบิดที่สถานีรถไฟ สมัยนั้น นายกฯ ทักษิณ ประกาศว่าปัญหาภาคใต้รู้หมดแล้ว และสามารถแก้ได้ใน 3 เดือน มีคนเดียวที่กล้าท้วงติงคือ รองเรวัติภาค 4
นโยบาย 3 เดือนเกิดขึ้นเนื่องจากว่าจะเก็บคนร้ายที่ทราบว่ามี 50-60 คน ได้ภายใน 3 เดือน ดังนั้นกระบวนการฆ่าจึงเกิดขึ้นโดยส่งนายตำรวจไปจัดกระบวนการฆ่า ในที่สุดกลุ่มมุสลิมใหม่ก็ไปตั้งองค์กรใหม่ แต่คนเข้าใจผิดคิดว่าเกิดจากเหตุโจรผู้ร้ายปล้นปืนในวันที่ 4 มกราคม 2557 แต่ความจริงแล้วนั้นเป็นการเตรียมตัวมาในระยะเวลา 3 ปีแล้ว
และเมื่อทุกอย่างยกเลิกหมดแล้ว ข้อมูลฝ่ายราชการลับมีการรายงานเป็นระยะ โดยการสอนให้ไล่สยามออกไป เอาปัตตานีคืนมา แต่รัฐบาลไม่ใส่ใจคิดว่าฆ่าหมดก็จบ จึงสรุปว่าเรามีจุดที่เป็นเงื่อนไขในการพัฒนาบางอย่าง
การวิตกกังวลไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ความรู้สึกของคน 1 คน ของคนที่ตัดสินใจมาเรียนด้วยเงื่อนไขความไม่สงบ คนที่มาเรียนคิดว่าทางเลือกนี้น่าจะเป็นทางเลือกสุดท้ายที่มาที่นี่ อาจเป็นอุปสรรคในการเลือกคนเข้ามาเป็นครูบาอาจารย์ หรืออบรมเบื้องต้นในข้อปฏิบัติ
รัฐบาลพล.ต.ท.ทักษิณเคยประกาศว่าจะพัฒนาจังหวัดที่เลือกไทยรักไทยก่อน ซึ่งได้ปฏิบัติจริง
สมัยที่ ฯพณฯ ชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี มีการตัดเส้นทางใหม่ หรือการซ่อมทางในภาคใต้ มีทำถนน 4 เลน ตัดถนนไปทั่วประเทศเป็นโครงการที่หนึ่ง และโครงการที่สองย่อยออกไป จนสำเร็จ และมีอุปทูตมาเลเซียมาดูงาน ของไทยดีกว่ามาเลเซียเรื่องหนึ่งคือไม่เก็บเงิน แต่มาเลเซียเก็บเงิน
ในวันนี้ ถนนมาเลเซียดีกว่าเรามาก สมัยนั้น เห็นว่าเรื่องอื่นสำคัญกว่าถนนจึงนำเงินไปทำอย่างอื่น
ในสมัยนั้นบอกคุณชัชชาติให้มาดู ว่าถนนโทรม แต่ไม่ได้รับการพัฒนาหรือปรับปรุง สภาพคือมาจากการเลือกปฏิบัติโดยไม่ซ่อมบำรุง เคยย้อนดูข้อมูลพบอธิบดีกรมทางหลวงฯทราบเรื่องถนนในภาคใต้ที่ทรุดโทรมแต่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากกลัวจะโดนย้าย รัฐมนตรีไม่มีผล รัฐบาลมาดูว่าถ้าจัดงบไปบูรณะถนนลงภาคใต้ให้ย้ายเลย เมื่อรมต.คมนาคมรับปากแล้วแต่ทำไม่ได้จึงถามว่าหัวหน้าทีมคือใคร
ช่วงที่งบประมาณภาคใต้มีปัญหาจากนโยบายเลือกปฏิบัติเกิดขึ้นคือปี 2545-2646 แต่ช่วงนั้นยังโชคดีที่เชื่อจตุคามรามเทพ มีหลายรุ่น เลยทำให้เศรษฐกิจดี
สมัย ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี เคยได้มีการขอศูนย์ประชุมแห่งชาติที่ภูเก็ตและเชียงใหม่ แต่ได้รับการอนุมัติที่เชียงใหม่ ไม่ให้ที่ภูเก็ตทั้ง ๆ ที่รายได้จากการท่องเที่ยวที่ภูเก็ตได้มากกว่าเชียงใหม่
กรณีทางหลวงในภาคใต้ พบว่าถนนทั่วประเทศ งบประมาณซ่อมบำรุงจัดให้ภาคอีสาน 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ ภาคกลาง 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ แต่ภาคใต้ได้ 12 กว่าเปอร์เซ็นต์ เลยได้ขอกับรัฐบาลชุดนี้ให้พิจารณาเพื่อทบทวนเรื่องซ่อมถนนที่ภาคใต้ ซึ่งได้กำลังซ่อมถนนจากหัวหินมา ทุ่งสง และไปสุไหงโกลก ด้วยเช่นกัน
คณะแพทยศาสตร์ ม.อ. ก็โดน สมัย ดร.สุเมธ ของบประมาณตึกฉุกเฉินยังมีปัญหาไม่เหมือนที่อื่น แต่สมัย คุณอภิสิทธิ์ ได้เริ่มกระจายงบมาให้ด้วย
ม.แม่โจ้ดูแลแพร่ ม.ขอนแก่นดูแลหนองคาย ม.เกษตรดูแลที่สกลนคร ที่แยกมาคือม.พะเยา งบประมาณมีมากที่ ม.นเรศวร และพบว่า ม.ที่ของบไม่ค่อยได้ ได้แก่ ม.แม่โจ้ วิทยาเขตแพร่ ของบไม่ค่อยได้
บทบาทของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.เพื่อสังคมไทยในมุมมองของข้าพเจ้า
ที่ ม.อ. แม้ตอนเข้าเกรดจะอยู่ในระดับกลางเมื่อเทียบกับที่มหาวิทยาลัยอื่น แต่ตอนจบคุณภาพเป็นที่ยอมรับ และได้รับความพอใจ เนื่องจากเน้นการช่วยกันเรียน และเน้นให้เสียสละ
ในฐานะประชาชน ไม่เคยได้ยินคนไข้ถามว่าหมอจบจากคณะที่ไหน ไม่มีความรู้สึกเกี่ยงว่าแพทย์จบจากที่ไหน ยกเว้นคนที่มีความรู้หรือต้องการข้อมูลประกอบ ที่เป็นเช่นนี้เพราะมาจากแนวคิดของการยอมรับว่าคนเรียนแพทย์เก่ง หมายถึงยังมีคนที่เรียนเก่งที่สุดเรียนอยู่ จึงทำให้การผลิตแพทยศาสตร์ในประเทศไทยอยู่ในอันดับหนึ่งมาโดยตลอด
การจัดลำดับของมหาวิทยาลัยทั่วโลก ประเทศไทยผลิตบุคลากรทางการศึกษาได้เป็นอันดับที่ 8 ซึ่งลดลงมามาก ของจุฬาฯ มหิดล เชียงใหม่ ขอนแก่น
ตัวอย่างการพัฒนาทางการศึกษา ในปัจจุบัน ที่ม.เชียงใหม่ประกาศว่า จะไม่รับอาจารย์ถ้าไม่จบ ดร. เนื่องจากมีอาจารย์สมัครมากและเกินกว่าที่จะรับได้
คณะแพทยศาสตร์ 5 แห่งในประเทศไทยติดอันดับโลกได้แก่ ม.มหิดล ม.เชียงใหม่ ม.จุฬาฯ ม.ขอนแก่น และ ม.สงขลาฯ แต่เมื่อมาดูรายละเอียดคะแนน สงขลามากกว่าขอนแก่น
อย่างไรก็ตาม เราติด 1 ใน 5 คณะแพทย์ที่ติดอันดับในโลก
ครั้งหนึ่งเคยได้ยินว่าโรงพยาบาลมีปัญหาขาดแคลนแพทย์ บางแห่งมีการลาออกเพราะภาคเอกชนดีกว่า เพราะความสัมพันธ์มีปัญหา เมื่อมีทางเลือกและมีทางอื่นที่สบายใจกว่าไปก็มี เราต้องมีความพร้อมที่จะออกไปทำงานได้อย่างไร
ด้วยจิตสำนึกทางการแพทย์ที่มีอยู่ จึงทำให้วงการแพทย์เป็นที่ยอมรับแม้จะเกิดปัญหา จึงเกิดมีการฝึกอบรมด้านธรรมาภิบาลเกิดขึ้น
ธรรมาภิบาลคือหลักการบริหารจัดการที่ดี เป็นหลักของการบริหารงานโดยสามารถตรวจสอบได้ เกิดขึ้นหลังเกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง หลักนี้ที่ได้ประกาศใช้ในเดือนมิถุนายน 2542 ได้เริ่มใช้ต่อเนื่องมา แม้ใช้หลักนี้แล้วแต่ปัญหานี้ก็มีอยู่เนื่องจากขาดภาคปฏิบัติ
ตัวอย่างที่เป็นเรื่องนอกการแพทย์ ไม่ได้เป็นปัญหาขึ้นมา เราจำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรของเรา
มีการเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์กับธรรมาภิบาลขึ้น เรื่องธรรมาภิบาลกับการบริหารงานสายการแพทย์ เมื่อแพทย์เป็นผู้บริหารกับการปฏิบัติแล้วก็ตาม มีหลักบ้างไหม
คณะแพทยศาสตร์เป็นที่จับตามองของคณะแพทยศาสตร์ทั่วประเทศ ต้องผ่านการยอมรับของแพทยสภาด้วย ความทันสมัยก้าวไปโดยลำดับ ความคิดเรื่องโรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาการุณ มีห้องมองเห็นริมแม่น้ำเจ้าพระยา 2 ฝั่ง เห็นการปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงอย่างมากในฐานะเป็นโรงพยาบาลอันดับหนึ่งของประเทศ ในส่วนของภาระกิจของคณะที่ผลิตบุคลากรมีเป้าหมายที่จะผลิตในมหาวิทยาลัยอยู่แล้ว มีข่าวที่ว่า ศ.ศิลป์ พีระศรี ไม่น่าเสียชีวิต ที่เสียเพราะบุคลากรที่ดูแลมาไม่ทัน เป็นต้น บางครั้งเป็นเรื่องที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น
เรื่องความรู้จึงกลายเป็นหนึ่งที่เป็นโจทย์ในต่างประเทศ 3 ปี และควรมีการเชิญแพทย์กลับมาเพื่อรื้อฟื้นความรู้ใหม่ เพราะคนที่มีความรู้บางคนไม่มีใครมีเวลาไปอ่านทุกวัน ดังนั้นเวลาที่เสียไประหว่างทำงานกับเอกสารใหม่ไม่ได้ทำได้เสมอไป การอบรมบ่อย ๆ จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นมากในการทำงาน
คณะแพทยศาสตร์ที่นี่จะเป็นหลัก เพราะเมื่อ AEC เปิดจะมีคนป่วยจากฝั่งนู้นเข้ามามากขึ้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำและไม่สามารถหนีความจริงเหล่านี้ไปได้ คนเรียนแพทย์ยังเรียนเก่งกว่าคนอื่นอยู่ การศึกษาเป็นธุรกิจส่วนหนึ่ง การแข่งขันภาครัฐกับเอกชนก็เข้มข้นมากขึ้น แต่มีคณะที่น่าห่วงคือ คณะนิติศาสตร์ ที่สหรัฐฯ ต้องจบปริญญาอื่นหนึ่งปริญญาก่อนแล้วถึงเรียนนิติศาสตร์
สมัยก่อนคนเข้าเรียนจิตรกรรมมีไม่กี่คน พอมีหนังเข้ามาเรื่องกลิ่นสีและกาวแป้งปรากฎคนเข้าเรียนจิตรกรรมมากขึ้น
ด้านวิทยาศาสตร์มีความพยายามมาก
ทำไมคนเรียนอาชีวะน้อยกว่าปริญญา เพราะคนยอมรับจบปริญญามากกว่า ถ้าเปลี่ยนต้องเปลี่ยนอีกเยอะ
เราจะซ่อมภูมิคุ้มกันนิสิตแพทย์ได้อย่างไร เช่นพบว่านิสิตฆ่าตัวตาย
ความเป็นอาจารย์คิดว่าผู้ปกครองไม่น่าคิดร้าย
ที่พบคือ ครอบครัวมีความสัมพันธ์ไม่ราบรื่นนัก มีพ่อแม่ประคบประหงมดีเกินไป กรณีที่ฆ่าตัวตาย พ่อแม่ทำให้หมด เจอปัญหานิดเดียวก็ทำให้ลูกคิดสั้น
สิ่งสำคัญคือ การปลูกฝังสำนึก ความรู้สึกในการช่วยตัวเองได้ ให้รู้จักรับผิดชอบเอง ให้ทำอะไรเป็น
ครอบครัวทั่วไปของฝรั่งจบมัธยมต้องดิ้นรนหาเงินเรียนเอง เด็กเหล่านี้ทำอะไรเป็น แต่ข้อเสียคือครอบครัวไม่อบอุ่น จนกระทั่งสังคมอเมริกันและฝรั่งมีปัญหา
ของไทยแม้เกิดวิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติเศรษฐกิจแต่ไม่เกิดวิกฤติสังคม สิ่งที่ยอมรับคือ เราเกิดวิกฤติเศรษฐกิจจริง แต่สังคมเอเชียไม่ทิ้งกัน ลูกว่างงานกลับไปอยู่กับพ่อแม่ คือค่านิยมของสังคมวัฒนธรรมไทย
แต่มีกรณีที่คนจีนฮ่องกง ส่งพ่อแม่ไปโรงพยาบาลแล้วให้ทีอยู่ผิด ไม่ให้ส่งกลับ
เราจะปล่อยให้หมอฆ่าตัวตายไม่ได้ กรณีที่มีแพทย์ใหม่ไปทำงานเกิดปัญหาครอบครัวและฆ่าตัวตาย
สุดท้ายคือการแนะนำหลักธรรมาภิบาลเบื้องต้น น่าจะเป็นประโยชน์
“ชีวิตเกิดมาเมื่อคลอด และอยู่รอดเป็นทารก และสิ้นสุดเมื่อตาย” ไม่ได้บอกว่าตายหมายถึงอะไร ถ้าทางแพทย์ขยายความเชื่อเรื่องนี้จะเป็นเหตุผลเพียงพอให้ศาลยอมรับ
จุดหนึ่งไม่ได้มาจากกฎหมายอย่างเดียว เหตุผลอย่างหนึ่งคือเรื่องการบริหารงานเรื่องสุขภาพ เป็นประสบการณ์ที่แพทย์มีตัวอย่างที่ดีในการนำมาอธิบาย ดังนั้นหลักธรรมาภิบาลจึงเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ความเกรงใจมีปัญหา เราไม่แน่เสมอไปว่าจะเจอคนไข้แบบไหนอย่าประมาทหลักธรรมาภิบาล
- ยึดหลักกฎเกณฑ์ หรือกฎหมาย
2.หลักคุณธรรม จริยธรรม
3.หลักความมีส่วนร่วม
4.หลักการตรวจสอบได้
5.หลักความรับผิดชอบ
6.หลักความคุ้มค่า
ส่งเสริมคนดีได้ปกครองบ้านเมือง
ทุกวงการมีทั้งคนดี และไม่ดี ดังนั้น ดีที่สุดคือเราทำเราให้ดีที่สุดไม่ต้องด่าคนอื่น ข้าพเจ้าจะมีความสุขเมื่อบ้านเมืองมีปกติสุข ทบทวนว่าเรามีหน้าที่อะไรแล้วทำสิ่งนั้นให้ดีที่สุด คนไม่ทำหน้าที่หรือบิดเบือนหน้าที่
ที่เราผิดพลาดคือ ไม่ยึดหลักธรรมาภิบาล ไม่รอบรู้ปัญหาในพื้นที่ ไม่ยุติธรรม หลักนิติธรรมจึงเป็นหลักปฏิบัติของภาคนโยบายทางสังคมที่ผิดพลาดแล้วแก้ยาก แต่โทษโรงเรียนนายร้อยให้ใช้ถุงมือกำมะหยี่และกำปั้นเหล็ก จริง ๆ แล้ว ทำได้แต่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมายไม่ใช่ทำเอง
ต้องแลกระหว่างการไม่พูดกับการพูด การประกาศเพื่อจะอวดผลงาน จะไม่ได้อะไรเลย เป็นเพียงความร่วมมือระหว่าง 2 ประเทศที่ไม่เคยพูดถึง
การบริหารงานบางเรื่องไม่ใช่พูดทุกเรื่อง
หลักความรับผิดชอบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงรับสั่งคือ ใครทำอะไรต้องรับผิดชอบในงานนั้นจริงจัง ไม่ต้องวิตกกังวลอะไร การเลือกคนสำคัญมาก เจอคนไม่รับผิดชอบ ไม่ทำงานจริงจังก็เหนื่อย การฝึกเบื้องต้นเรื่องใหญ่มาก ทำอะไรต้องทำให้ดีที่สุด ดังนั้นวงการแพทย์คือคนที่ทำอะไรดีที่สุดอยู่แล้ว เมื่อคณะแพทย์ได้รับการยอมรับระดับโลกเช่นนี้ เราต้องทำอะไรให้ดีที่สุด จะระมัดระวังมากคือคนที่จบไปแล้วมุ่งหาเงินมากจนลืมอะไร อย่างไรก็ตาม หมอคือปุถุชน ไม่สามารถหนีความเจ็บป่วยได้ หนีความตายได้ และตายไปก็เอาอะไรไม่ได้ เพราะฉะนั้นความพอดีตามหลักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ดีที่สุด ทำมากไปธรรมชาติก็ลงโทษด้วยตัวเอง วันนึงข้างหน้าดีขึ้น ถ้าแก้วิกฤติการเมืองได้ ทุกอย่างก็จะผ่านพ้นมา บางคนมีคุณสมบัติไม่ครบ แต่เลือกคนวิจัยที่จะดูแลผลประโยชน์แทน
การบริหารโดยขาดหลักนิติธรรมคือไม่ยึดกฎเกณฑ์ เขียนกฎเกณฑ์เพิ่มเติมโดยเฉพาะนักการเมืองคนนี้ สั่งการ เมื่อเสี่ยงที่จะได้ ก็เสี่ยงที่จะเสีย เขียนเพื่อมาช่วยราชการ ก็โดนไปด้วย การศึกษาระบบกองทุนกู้ยืมจะนำแบบไหน ก็นำมาปรับปรุง เพราะความเกรงใจทำให้ปลัดกระทรวงฯ นายอำเภอ และอธิบดีมีปัญหา จะฟ้องคดีอาญา ปลอมเอกสารหรือไม่ แต่ฝ่ายการเมืองปลอดภัย ดังนั้น ความเกรงใจภาษาฝรั่งจึงไม่มี
ความเกรงใจจึงเป็นทั้งบวกและลบ เกรงใจในการทำสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ไม่เช่นนั้นจะเป็นอันตราย เรื่องเล็ก กลายเป็นเรื่องใหญ่เพราะความเกรงใจ
การกำหนดคุณลักษณะของคนที่ประสบความสำเร็จ (แบบใหม่) Hexaco
- ความซื่อสัตย์ (Honesty)
- การควบคุมอารมณ์ (Emotional)
- การเข้าสังคมกับคนอื่น (Extraversion)
- การเข้ากับคนอื่นได้ (Agree mender)
- ความรอบคอบเอาจริงเอาจัง (Consciousness)
- ความใจกว้าง ความคิดสร้างสรรค์ (Openness)
อย่างไรก็ตามควรได้เป็นตัวของตัวเอง และมีกิริยาที่แสดงถึงความเป็นไทย อย่างเช่น การออกแบบอาคารต้องรักษาเอกลักษณ์หลังคา และเอกลักษณ์ของไทยที่ไม่เหมือนใครไว้ เราต้องแสดงความเป็นตัวของเราจริง ๆ
ศ.วิษณุ พูดถึง ศ.ศิลป์ พีระศรี กล่าวว่า พระราชวังที่วัดพระแก้วสวยกว่าที่ทัชมาฮาล
สรุป อยากให้คนที่เป็นแพทย์สละเวลาให้คำแนะนำกับคนไข้ในการพัฒนาสุขภาพบ้าง
วันที่ 16 : วันเสาร์ที่ 19 กันยายน 2558
วิชาที่ 31
Learning Forum& Workshop
หัวข้อ “Life coach for happiness and success.”
และ
วิชาที่ 32
Learning Forum & Workshop
หัวข้อ “People Management and Engagement”
โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด
เริ่มต้นโดยอาจารย์พจนารถ ซีบังเกิดถามว่ามีใครเคยได้ยินคำว่า Life Coach มาก่อนหรือไม่?
คืออะไร?
- เท่าที่ได้ยินมา เป็นเหมือนการ Inspire ชี้แนะว่าเราอยู่ตรงไหน ว่าเราชอบอะไรให้หาตัวเองให้เจอ และไปให้ถึงให้สุดและดีที่สุดในสิ่งที่อยากเป็น
- ทำให้มีความสุข ช่วยให้เรา มองตนเอง หรือค้นหาตัวเองได้มากขึ้น
- เป็นแนวทางที่ทำให้ชีวิตมีความสุข
- มีทุกอย่าง สอนเราเยอะมากในการใช้ชีวิต
- ระลึกถึงศาสนา
- คนที่แสดงเป็นพระพุทธเจ้า โอเคมาก
- ชีวิตเราไม่มีความสุขเพราะเราไม่เต็ม แต่เราจะเติมให้เต็มได้อย่างไร ? คนบางคนที่ขึ้นตำแหน่งสูง ๆ Success แต่ชีวิตอาจไม่มีความสุขก็ได้
- คนมีความสุข เห็นได้จากหน้าตา แววตา การพูดจา และการใช้ชีวิตว่ามีความสุขหรือไม่มีความสุข
- คนรู้จักเราจากพฤติกรรม เรื่องราวที่เราเล่า บุคลิกภาพ ภาษา และสิ่งที่แสดงออกไปภายนอก
- แต่สิ่งที่เราแสดงออกไปมาจากพื้นฐานข้างในของเราคือ ธาตุแท้ (Human Being) คือคุณสมบัติที่ดีที่สุดที่มีอยู่ในตัวมนุษย์
- ความเชื่อ ผลักดันทุกเรื่องราวในชีวิต
- ความเชื่อทำให้ทุกอย่างเป็นตามที่เชื่อ เพราะฉะนั้นให้ระวังความเชื่อของเรา แค่เราเชื่อ เราจะเป็นทุกอย่างแบบที่เราเชื่อ ดังนั้นให้ระวังและทบทวนให้ดีว่าเราเชื่ออะไรอยู่
- ค่านิยม บางทีคนที่เราสั่งสอนมาก็มีความเชื่อด้วย เช่น คนที่กตัญญูจะเจริญ แล้วนำไปปรับใช้ในเช่นนั้น
- เราต้องการอะไร เราต้องเป็นแบบนั้น และเมื่อรู้สึกถึงคนไม่รักเรา เราจะมีการแสดงออกมาในทุกด้าน เช่น ประชดประชัน หรือประจบประแจง
- ความเป็นตัวตนของเรา (Being)
- ความเชื่อ (Beliefs)
- ค่านิยม (Values)
- ความต้องการหลักของมนุษย์ (Needs)
- ก้าวข้ามความกลัวของตนเอง (Fears)
- เราไม่ใช่คนตั้งหัวเรื่อง เราต้องเข้าใจว่าเป็นเรื่องของ โค้ชชี่
- Leading Self
- Leading Others/Team
- Leading Organization ไม่มองทั้งองค์กรของตัวเอง แต่มองไกลด้วยกัน
Lead โดยมี Example คนจะตามคนแบบไหน คือ การแสดงตัวตนของเราเป็นอย่างไร เป็น Lead โดย Follower
Life Coach คือ มีความพยายามเป็นอย่างยิ่งที่ช่วยให้คนมีความสุข
Key word คือ ความสุข
คือ ถ้าเราทำงานที่เราชอบ และเรา Focus ในสิ่งที่เราชอบ ซึ่งบางครั้งถ้าไม่สบายเราสามารถหายได้ถ้าทำงานที่เราชอบ
การสอน NLP
เป็นวิชาที่สอนเราว่าจิตใต้สำนึกไม่เคยหลับ เราสามารถสอนหรือใส่ความคิดไปได้ขณะเราหลับ
ขณะเดียวกันถ้าอยากได้อะไร ก็บอกไปเลยให้เขาได้ยินแล้วเราจะได้สิ่งนั้นออกมา อย่าพูดสิ่งที่ใช้คำว่าไม่ เพราะจิตใต้สำนึกจะไม่ปฏิเสธคำว่าไม่ ดังนั้นอย่าพูดสิ่งที่ไม่ดีออกไป อย่าพูดทำร้ายตัวเอง อย่าพูดสิ่งที่ไม่ดีกับตัวเอง
อะไรที่ไม่ชอบ อย่าพูดคำนั้นออกมา แต่ให้พูดในสิ่งที่อยากให้เป็น เช่น รักกัน เล่นกับน้องดี ๆ
Life Coach คือ เครื่องมือที่ไปโค้ชใคร ๆ ก็ได้ เป็นการทำให้ชีวิตคนมีความสุข คือ Success and fulfill คือประสบความสำเร็จอย่างเติมเต็ม
ดูหนังเรื่องพระพุทธเจ้าศาสดาเอกของโลกแล้วรู้สึกว่าอย่างไร ?
Life Coaching for success and fulfillment
คนไหนที่มีความสุขมาจากข้างในสังเกตได้ว่าเขาจะนิ่ง ตัวตรงและไม่หวั่นไหว
คนที่มั่นใจโดยตนเอง เวลายืนตรงเขาจะนิ่ง เนื่องจากข้างในเขาแข็งแรงมาก ไม่ต้องกังวลว่าใครมาตัดสินว่าเขาเป็นอย่างไร เช่น คุณชวน เป็นแบบที่ท่านเป็นโดยไม่เสแสร้ง แต่คนที่เดินหน้าเชิดคือคนที่มีอัตตาสูง คือ ไม่ได้มีความมั่นใจมาจากข้างใน
วิธีการคือ ให้คิดว่าเราจะเป็นสิ่งนั้นให้ได้ อายตนะทั้ง 6 จะ Focus ในสิ่งนั้นที่เดียว แล้วเราจะได้ในสิ่งนั้น ซึ่งการได้มาไม่ได้ได้มาง่าย ๆ อย่าพูดในสิ่งที่ไม่อยากได้ เพราะว่าสิ่งนั้นอาจเข้ามาในชีวิตเรา
เวลาเป็นโค้ช เราต้องดำรงตัวเองไว้ ให้ความสำคัญกับคนที่อยู่ตรงหน้า 100% เป็นการทำให้เขามีตัวตน ทำให้รู้สึกว่าเขามีคุณค่าขึ้นมา แล้วเขาจะมีความสุขเพราะว่าเขาจะรู้สึกว่ามีค่า
เวลาเราทำงานกับคนอื่น เพราะเรารู้ว่าเรามีศักยภาพให้เขา แต่ที่เขาจ่ายให้เรา เพราะว่าสิ่งนั้นเขาได้อะไร
คนที่ภูมิใจในตนเอง คือคนที่รู้ว่าตัวเองมีของอยู่ข้างใน แต่มีหลายคนไม่รู้ว่าจะดึงของออกมาอย่างไร สิ่งนี้คือ หน้าที่ Life Coach ซึ่งผู้บริหารจะทำงานได้ดีมาก ๆ ถ้าชีวิตตัวเองทำงานแล้วมีความสุข
Life Coach ต้องเรียนรู้อะไร
- เรียนทักษะการสร้างสัมพันธ์
- เรียนทักษะการฟัง
- เรียนทักษะการถาม
ชีวิตเป็นของเขา แล้วเราเป็นอะไรถึงบอกให้เขา เพราะเขาไม่ใช่เรา เคยถามว่าชีวิตนี้จะไปไหน ชีวิตเกิดมาเพื่ออะไร เราเท่านั้นที่จะตอบได้ เพราะเราเป็นคนให้ความหมายให้กับชีวิตของเรา และข้างในเรารู้สึกอย่างไร คุณค่าของคนไม่ได้อยู่ที่ความสบายอย่างเดียว
เราจะทำให้คนมีคุณค่าได้อย่างไร ทำอย่างไรให้คนอยู่เพราะ Engage
คุณค่าของคนมีตัวจับได้ง่าย ๆ
ICF (International Coach Federation) – สมาพันธ์การโค้ชที่ไม่หวังผลกำไรเพื่อกำกับ Competency ที่ดีของโค้ชที่ควรจ่ายเงินจ้างมีอะไรบ้าง เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ช กับโค้ชชี่ เพื่อกระตุ้นและจุดประกายความคิด ด้วยกระบวนการที่สร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ช เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะนำเอาศักยภาพและความสามารถที่ถูกบดบังหรือซ่อนอยู่ออกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
Life Coach คือการทำงานร่วมกันระหว่างโค้ชและผู้ได้รับการโค้ชเพื่อเป็นผู้ร่วมเดินทาง พาผู้ได้รับการโค้ชจากจุดที่ยืนปัจจุบันไปบรรลุเป้าหมายที่ต้องการในทุกด้านของชีวิตด้วยการกระตุ้น และจุดประกายความคิด โดยใช้ทักษะและกระบวนการที่สร้างสรรค์ในหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ได้รับการโค้ชตระหนักรู้ถึงศักยภาพที่แท้จริงของตนเอง ด้วยตนเอง มีความเข้าใจ และขจัดอุปสรรคที่อาจมีภายในตัวตน ตัดสินใจเลือกโดยอิสระ เพื่อนำเอาศักยภาพและความสามารถที่มีและอาจยังซ่อนอยู่ ออกมาใช้พาตนเองไปสู่เป้าหมายที่ต้องการอย่างสมดุล มีจริยธรรม มีความสุข และอิ่มเอม
กฎ 4 วินาที
เวลาโต้ตอบกัน ให้เรานิ่งก่อน 4 วินาทีแล้วค่อยตอบกลับไปคือ เขาได้ฟังแล้ว คิดแล้ว เขาย่อยแล้ว จึงค่อยตอบกลับมา
การสนทนาที่ดีคือ ทั้งสองฝ่ายได้ยิน ซึ่งกันและกันแล้ว ยิ่งมีความเงียบมากเท่าไหร่ การโค้ชชี่มีสิทธิประสบความสำเร็จมากที่สุด
แต่เราอนุญาตให้มีความเงียบอยู่หรือไม่ เวลาเราถามคำถามดี ๆ ออกไป แล้วถ้าเขาเงียบอยู่ หมายถึงเขากำลังคิดอยู่
ให้พึงระลึกเสมอว่า เราทิ้งข้อมูลที่ไม่สำคัญไปเท่าไหร่ในแต่ละวินาที จิตใต้สำนึกจะเป็นตัวผ่านและสกรีนออกมา ทุกสิ่งเกิดจากข้อมูลที่เราเก็บเข้ามา เราเก็บอะไรเข้ามา แล้วตีความเก็บไว้เป็นแผนที่ เป็นมุมมองในชีวิตของเรา ที่เราเก็บทุกวินาที
ถ้าเราเข้าใจคนอื่น หรือมีหลายคนที่เข้าใจเราจริง ๆ เราอยากจะไปกับเขาหรือไม่ ?
ทำไมถึงเป็น Life Coach
เพราะว่าเราสัมผัสได้ทุกแง่มุมของชีวิต
ชีวิต มี 8 เรื่องนี้ งาน/ธุรกิจ การเงิน สุขภาพ ครอบครัวและเพื่อน ความรัก การเติบโตของตนเอง การพักผ่อน/บันเทิง สภาพแวดล้อม
เราต้องมีทักษะในการช่วยเหลือตัวเองในการเคลียร์ขยะที่ไม่ดีออกไป
เราเติบโตคือ เรานิ่งขึ้น เราเริ่มเข้าใจมากขึ้น หมายถึงภาวะจิตใจโตขึ้นด้วย อย่าใช้ชีวิตอยู่กับสิ่งที่มันพัง ชีวิต Pattern จะอยู่แบบนั้น กระเป๋าเงินควรเรียบร้อย เรียงให้เป็นระเบียบ เราจะรวยหรือจนอยู่ที่วิธีการใช้เงินของเรา
ความรวย ความจนคือ Certainty ของชีวิต
ถ้าคนมีความสุข คนจะไม่เบียดเบียนกัน คนก็จะสบายใจ และทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ถ้าขยายทักษะ Life Coach ไปถึงคนที่มีคุณภาพแล้วคนที่มีคุณภาพก็จะไปขยายต่อ แล้วสังคมก็จะมีคุณภาพด้วยเรียกว่ามี Credit forward
ถ้าหัวหน้าเข้าใจชีวิต จะทำให้ลูกน้องเย็นขึ้น มีความสุขมากขึ้น เมื่อไรก็ตามที่เขารู้สึกว่าเขาไม่มีคุณค่า อะไรก็ตามก็เป็นประเด็นทั้งนั้น
ต้องสังเกตลมหายใจว่ามีความสุขหรือไม่
วงล้อชีวิต
ประกอบด้วย งาน/ธุรกิจ การเงิน สุขภาพ ครอบครัวและเพื่อน ความรัก การเติบโตของตนเอง การพักผ่อน/บันเทิง สภาพแวดล้อม
ลองให้คะแนนความพึงพอใจในด้านนี้ของชีวิตเรา ในระดับ 0 – 10 พอใจมากให้ 10 น้อยให้ 0 ให้ถามใจตัวเองเท่านั้น ไม่ต้องเทียบกับคนอื่น และเมื่อจุดได้ทุกด้านแล้วให้ลากเส้นเชื่อมกัน แล้วลองดูว่าวงล้อชีวิตของเราเป็นอย่างไร
เราเปรียบเทียบกับวงล้อที่เราถีบจักรยาน สังเกตได้ว่าชีวิตเหมือนขรุขระ อยากให้ดู Area ที่ควรพูดคือส่วนที่คะแนนต่ำก่อน และถ้าวงล้อเบี้ยวจะทำอย่างไรดี ด้วยทักษะ Life Coach
การแก้ปัญหาวงล้อ
ก่อนอื่นถามว่าเราพอใจในวงล้อของเราหรือไม่
คะแนนที่ให้ตอนแรกคือคะแนนความพึงพอใจ แต่เราไม่รู้ว่าแบบไหนคือความพึงพอใจ ให้สังเกตให้ดีว่าวงล้อที่เรามีไม่ต้องเทียบกับใคร เทียบกับของเราเอง
- ตั้งมาตรฐานของเราว่าเราต้องการแค่ไหนถึงจะมีความสุข
ในทุกช่องของชีวิตให้เขียนว่าแบบไหนที่เราพอใจและมีความสุขแล้ว
ให้ลองเขียนเป้าหมายแต่ละช่องที่ทำให้เรามีความพึงพอใจเป็น 10
ตัวอย่าง
การเงิน(มี Passive Income เดือนละ 50,000 บาท มีสินทรัพย์อื่น ๆ รวมไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท
งาน / ธุรกิจ (ได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา เป็น High Performer ในทุก Assignment เพื่อนร่วมงานให้ความร่วมมือ)
สุขภาพ (ผลตรวจสุขภาพประจำปีอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานทุกตัววัด ร่วมวิ่ง Mini Marathon ได้ตามกำหนดในเดือนตุลาคม 2558)
สภาพแวดล้อม (บ้านมีคนทำความสะอาดทุกวัน ใช้เวลาเดินทางไปทำงานไม่เกิน 45 นาที มีมุมสงบส่วนตัวในบ้าน)
การพักผ่อน / บันเทิง (มีเวลานอนอย่างน้อยวันละ 6 ชั่วโมง มีเวลาเต้นรำสัปดาห์ลด 2 วันตอนเย็น)
การเติบโตของตนเอง (สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับคนต่างบุคลิกได้โดยไม่มี Bias ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน)
ความรัก (สามารถคุยกันได้ทุกเรื่องโดยเปิดเผยและฟังกันด้วยความเข้าอกเข้าใจ มี Quality time ด้วยกันทุกสัปดาห์)
ครอบครัวและเพื่อน (มีเวลาสังสรรค์ กับเพื่อนเมือมีการร่วมรุ่น หรือมีกิจกรรมสำคัญ ได้พาแม่ไปทำบุญทุกวันพระ ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้อง และญาติสนิท อบอุ่น แน่นแฟ้น)
ดังนั้น ถ้าเราตั้งเป้าได้อย่างนี้แสดงว่า Success & Fulfill เพราะชีวิตมีทุกด้านไม่ใช่ด้านใดด้านหนึ่ง
Success without the art of fulfillment is a failure
Why we do what we do ?
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
สิ่งที่ทำให้มนุษย์มีคุณค่าจะทำอย่างไร
และเมื่อเรารู้สึกถึงความไม่มั่นคงจะทำอย่างไร ?
Fulfill คืออะไร
เราไม่ต้องตัดทิ้ง ในสิ่งที่เป็น เช่น Fear not good enough ต้องใช้ให้เป็นประโยชน์ ไม่ให้เป็นโทษ คือ พยายามทำให้ดี เป็นเลิศ และต้องไม่ทำให้เกิดโทษคือ ไปว่าคนอื่นให้ไม่ดีแล้วให้เราเป็นเลิศคนเดียว
การร่วมแสดงความคิดเห็น
ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์
เราต้องมี Aim มีเป้าหมาย แต่ต้องเรียนรู้ที่เจ็บปวดด้วย ทำอย่างไรถึง Keep ความเป็นเลิศ ปะทะกับความจริง ความเป็นเลิศตลอดเวลา
ข้อดี ของหลักสูตรคือ Keep ความรู้สึกที่ว่าเราสามารถทำได้คือ We can do , We can do .
ความเชื่อ มีทั้งที่ผิด ๆ และมีทั้งที่ถูก ๆ
ของไทยเป็นแบบอยากเก่ง อยากเป็นใหญ่ สังคมไทย ด่าเก่งมาก และเป็นแบบระบบรูคิเมีย คือเก่งแล้วฆ่าทิ้ง เป็นไปได้ที่คนดีถูกแพ้โหวต เราต้องเป็นเพื่อนกัน และShare ความเจ็บปวดร่วมกัน
การที่ทำงานสำเร็จ คือ คนที่เป็นแนวร่วมขออะไรมาอย่าปฏิเสธเขา ยิ่งใหญ่ ยิ่งต้องไม่ปฏิเสธ
อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด
ยกตัวอย่างอาจารย์จีระ คือ 1.กลัวไม่ดีพอ และวิ่งหนีด้วย Positive Behavior 2. กลัวไม่เป็นที่รัก 3. กลัวไม่ไปด้วยกัน สิ่งที่ใช้คือพฤติกรรมในการผลักดันในทางบวกที่ทำให้ประสบความสำเร็จ
Fear คือ Driver ที่จะเป็นตัวผลักดันให้ไปถึงฝัน แต่ให้ทำพฤติกรรมให้เป็นบวกไม่ใช่ลบ
ยกตัวอย่าง
- ไม่มีเป้าหมายของชีวิต เดินไปสับสนไม่รู้ทิศทาง คือ เหนื่อย ท้อ หมดกำลังใจ สับสน
- มีเป้าหมาย แต่เดินวกไปวกมา ตกเป็น Effect,มี Limiting Beliefs ,Don’t know How,ไม่รู้ศักยภาพตนเอง ,จิตตก ,ขาดความเชื่อมั่น, เหนื่อย , ไม่รู้ศักยภาพของตัวเอง สุดท้ายก็ขาดความเชื่อมั่นในชีวิต
- รู้ว่ามีเป้าหมาย แล้วจะดีหรือไม่ที่ทอดสะพานไปที่เป้าหมายโดยตรงเลย ก็จะไม่มีใครมาวุ่นวายกับชีวิตของเราได้ ปักดาวแดงตามเป้าหมายย่อยในทุก ๆ ก้าวที่เดินในชีวิต (Action) ต้อง Fulfilled ทุกก้าวเป็นการเดินทางที่มีความสุข
การเดินทางสู่ความสำเร็จ ที่มีความสุขในทุกก้าว (ตัวอย่าง Be-Do-Have model)
ตัวอย่าง เรื่อง งาน เป้าหมาย อยากเป็น High Performer ในทุก Assignment
- ดูศักยภาพในตัวเราว่าเป็นอย่างไร เช่น มองภาพใหญ่ให้เป็น เรียนรู้สิ่งใหม่ ทำงานเป็นทีม
ต้องเชื่อว่า ไม่มีอะไรที่พ้นความพยายามไปได้
ค่านิยม ทำทุกอย่างสุดฝีมือ ค่าของคนคือผลของงาน
ความต้องการ โดดเด่น/สำคัญ ความมั่นคง
ความกลัว กลัวไม่ดีพอ
คำถาม
- การ Doing บ่อย ๆ จะเป็น Being หรือไม่
อาจารย์พจนารถตอบ การทำบ่อย ๆ จะเป็นคนเช่นนั้นโดยปริยาย เราไม่ได้เป็นแบบในวันนี้เท่านั้น เราสามารถเป็นได้มากกว่าที่เราเป็น เราสามารถเป็นได้ถ้าฝึก หรือเลือกที่จะเป็นคนเช่นนี้
ดร.จีระ บอกว่า ความเป็น Being อยู่ที่ Foundation ด้วย ถ้า Foundation อ่อน ก็จะอันตราย เพราะไม่สามารถควบคุมความละโมบ ทุนนิยม แต่ถ้า Foundation แข็งแรง ก็ไม่สามารถทำให้เกิดอันตรายได้
เด็กรุ่นใหม่ อยู่ในวัฒนธรรมเงิน วัฒนธรรมความสวยงาม เป็นค่านิยมที่ถูกกำหนดโดยทุนนิยมสามาลย์
การคิดในบริบทของคณะแพทยศาสตร์ น่าจะมีตัวอย่างที่ดี ถ้าอันไหนไม่ดีต้องรู้จักแก้ไข เพราะคณะแพทยศาสตร์นั้นจะต้องกระเด้งไปสู่คนอื่นด้วย ต้องรวมกันแล้วดี
อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด
-Doing กับ Being ส่วนใหญ่คนตัดสินที่ Doing
-Human is not than Behavior อย่าตัดสินคนที่พฤติกรรม เพราะแต่ละคนมี Being ดี ๆ แต่อาจไม่ได้นำมาใช้
ยกตัวอย่าง คุณทักษิณ ว่ามี Being ดี ๆ อะไร เช่น ความคิดสร้างสรรค์ กล้าตัดสินใจ ทำเร็ว แต่มุ่งมั่นที่จะ Doing ในสิ่งที่ไม่ดี ด้วย Being ดี ๆ แต่อยากให้นึกถึงคน ๆ นั้นว่า ไม่ใช่คน ๆ นั้นจะมีคุณสมบัติที่ไม่ดี แต่สภาพแวดล้อมทำให้เขามีพฤติกรรมและแสดงออกแบบไหน บางอันจริยธรรมไม่ขึ้นมา แต่สภาพแวดล้อม ไปหล่อหลอมความกล้าเผชิญ กล้าเสี่ยง กล้าแข่งขัน ไม่ได้เอื้ออำนวยให้มีจริยธรรมที่แข็งแรง
ทุกคนมี Being ที่ดีในตัวตน แต่สภาพแวดล้อม เอื้อให้ใช้เอา Being ดี ๆ ไปทำในสิ่งเลว ๆ
ธาตุแท้ คือตัวตนของเราซึ่งมีเป็นร้อยเป็นพันปี เพียงแต่ว่ามาจุติในสภาพแวดล้อมแบบไหน จึงทำให้หล่อหลอมในความเป็นแบบนั้น
คนที่สอนแล้วยากที่สุดคือ คนที่มี High Education ที่สุด จึงอยากให้ถอยคนเข้ากลับไปข้างในตัวเองว่าอะไรที่ Simple ที่สุด ถ้าเราเข้าใจว่ากลไกทำงานอย่างไร จะทะลุการปอกหัวหอมทุกเปลือก
หลักการนั่นแหละ ที่ทำให้หนีห่างจากความเป็นจริง ถ้าวางทุกอย่างลง ทุกอย่างก็ใช่ทั้งหมด และไม่ใช่ทั้งหมด
ดร.จีระ บอกว่า แต่ก่อนเข้าใจว่า Diversity เป็น Conflict แต่ถ้าเราเอา Diversity มารวมกันแล้วจะมีประโยชน์มาก
การเรียนมากไม่ดี ถ้าไม่ได้เรียนจากความจริง
Trend ของโลก ใครก็ตามที่มี Technical Skill ต้องมี Soft Skill ด้วย ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถมี Performance ที่ดีได้ ถ้าคุณเปิด โลกก็เปลี่ยน และจบไปแล้ว อ่านหนังสือ
ฝากไว้ จบแล้วขอให้มี Life long learning เป็นวัฒนธรรม ไม่เช่นนั้นจะกลับมาสู่สภาพเดิม อยากให้มีวัฒนธรรมในการอยู่สภาพเดิม
เรียน Coaching เรียนอะไร ?
คำถามแรกคือ เราอยากจะคุยเรื่องอะไร ?
คำถามที่ผลักดัน?
รู้สึกอะไร?
สิ่งที่ได้จากการพูดคุย?
หน้าที่ของโค้ชคือ
- ฟังให้ได้ยิน ฟังมาจากข้างใน
- ทำให้เขารู้จักตัวเอง
- Mindset
ศักยภาพของโค้ช
- สร้างความสัมพันธ์ ทำให้เขารู้สึกว่าคุยกับคนนี้แล้วปลอดภัย กล้าเล่าให้ฟัง การที่ร้องไห้คือสิ่งที่กระทบกับความรู้สึกของเขา ยิ่งร้องไห้ยิ่งดี เพราะเขาได้ระบาย
- ถามต่อให้เกิดการสร้างสรรค์ คือ แล้วอยากได้อะไร อยากให้เป็นอะไร
ยิ่งกว่าการสร้างความสัมพันธ์ คือการสร้าง Trust ให้เขาเกิดความไว้วางใจเรา
2.ฟังให้ได้ยิน ฟังมาจากตัวตนข้างใน บางครั้งสิ่งที่เขาเป็นแต่ไม่มีใครได้เห็นแล้วดึงสิ่งนี้ออกมาเลย เพราะฉะนั้นเด็กจะตามล่าหาความจริง เราต้อง Approve และต้องดึง Being เขาออกมา
1, ทักษะการสร้างความสัมพันธ์ (Rapport) มีอะไรบ้าง
- Be there คือการอยู่ตรงนั้นเพื่อเขา
- Matching & Mirroring มองแล้วเหมือน นั่งท่าเหมือนเขา เหมือนเขาจะรู้สึกว่าเป็นพวกเดียวกัน เหมือนการมองส่องกระจกอยู่ เสมือนเป็นพวกเดียวกัน เป็นความสัมพันธ์ในจิตใต้สำนึกที่เหมือนกัน คิดอะไรคล้าย ๆ กัน
- Same Place , same interest อยู่ในจังหวะเดียวกัน
- Eye Pattern สังเกตรูปแบบสายตา V A K Ad
- Match 3 Vs (Vocal ,Verbal, Vision)
มองข้างล่างจะเป็นคนที่เน้นความรู้สึก
ถ้าถนัดขวา แล้วมองด้านซ้ายลง หมายถึงหาวิธีแก้ไข
ถ้าถนัดขวา แล้วมองด้านซ้าย หมายถึงความรู้สึกเป็นอย่างไร
มองซ้าย และขวา เป็นคนที่เป็นลักษณะ Audio
ถ้ามองซ้าย ขวา เป็นลักษณะมองแล้วเป็นยังไง
การมองขึ้นข้างบน หมายถึง คน ๆ นี้กำลังคิดเป็นภาพอยู่
ถ้ามองขึ้นข้างบนขวาของตนเอง หมายถึงจะตอบอะไรดี แล้วเจออะไรในอนาคต
ถ้ามองขึ้นข้างบนซ้ายของตนเอง หมายถึงกำลังคิดถึงเรื่องอดีตอยู่
2.ทักษะการฟัง
เพื่อให้รู้ถึง ธาตุแท้ ความเชื่อ ค่านิยม ความต้องการ ความกลัว รูปแบบพฤติกรรม ความคาดหวังมุมมองชีวิต ในเรื่องต่าง ๆ ฯลฯ
3.ทักษะการถาม
หาความกระจ่าง เข้าใจมุมมองชีวิต สร้างทางเลือก ช่วยให้เข้าใจตนเอง ช่วยให้เห็นมุมมองใหม่ ช่วยให้หลุดจากกรอบเดิม ฯลฯ การให้คุณค่ากับอะไร
เขาให้ความสำคัญกับอะไรที่สุดในชีวิต
โค้ชชิ่งคือ การพาคนไปข้างหน้า ดูแลต่อไป ไม่ต้องไปซ้ำเติม
คนที่เป็นโค้ชเป็นไม่ได้เพราะ Mindset เข้ามาหาเงิน เพราะคนที่เป็นโค้ชที่ดีต้องมาช่วยเขา
จึงต้องเพิ่ม Mindset ถึงเป็นโค้ชได้
Mindset มันต้องถูกหล่อหลอมทั้งหมดตั้งแต่เด็ก ถ้าไม่ได้ให้ Adopt ไปใช้เลย
- สิ่งที่เห็นไม่ใช่ทั้งหมดที่เป็น
- ทุกคนทำดีที่สุดแล้วด้วยทรัพยากรและข้อมูลที่มีอยู่ ณ ขณะนั้น
- มีความยืดหยุ่นของพฤติกรรม และเชื่อว่าคนอื่นก็สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้เช่นกัน
- ไม่มีความล้มเหลว มีแต่เสียงสะท้อนกลับให้เราปรับปรุง There’s no failure ,it’s only feedback
- Personal Life Transformation
สิ่งที่แก้คือ
เราต้องใส่ต้นทุนไป คือเขามีต้นทุนไม่พอในการทำงานนี้ ถ้ารู้แล้วจิตตก เราต้องให้กำลังใจ ถ้าเราต้องช่วยใครสักคน เราต้องคุยกับคนมีจริตต่างกันเพื่อปรับพฤติกรรมได้
ผู้นำ 4 ทิศ
กระทิง – พวกสนใจผลงาน พูดตรงไปตรงมา มองภาพใหญ่ ข้างหน้า ไม่ผูกใจเจ็บ ใจร้อน มุ่งมั่น
อินทรีย์ – มองภาพใหญ่ สนใจเรื่องคน มากกว่างาน โลกสวย ไม่ลงรายละเอียด นัดแล้วไม่ตรงต่อเวลา พูดสนุก น่าฟัง
หนู – ชอบอยู่หลังฉาก ทำงานเป็นทีม ทักทายปราศรัย นิ่ง สงบ นาน ๆ
หมี – เป็นคนคุมหมด ลักษณะต้องเป๊ะ กฎระเบียบ เท่านั้นที่เป็นสาระ
สรุป ในชีวิต ถ้าไม่อยากเจอเรื่องยากอย่าพูดว่ายาก เพียงแต่ไม่คุ้นเคย ในชีวิตไม่มีเรื่องยาก เขาอาจไม่รู้
การเปลี่ยน Mindset แค่ Adopt มาเลยแล้วเชื่อว่าเป็นอย่างนี้
พวกที่เป็นหมี คือพวกที่ยึดหลักย่อย ๆ
การเรียนโค้ช ต้องลงปฏิบัติจริง ๆ
โค้ชชิ่งก็เหมือนศาสนา ทุกศาสนาสอนให้ปฏิบัติ
ไม่ยึดติดอะไร โลกก็จะกว้างขึ้น
Personal Life ตัวเราเองต้อง Transformation ก่อน ต้อง Proof ให้ได้ก่อน คือเราต้องรู้จักชีวิตเราจริง ๆ ถ้าเราไม่สนใจตัวเราเองเลย เราจะไม่รู้ว่ากลไกอะไรที่ทำให้เราเป็นเช่นนี้ เราพัฒนาตัวเองมาได้เพราะอะไรถึงสามารถไปพัฒนาคนอื่นได้ และเราจะรู้เส้นทางของเราเอง และถ้าเราใสเช่นนี้ ลูกน้องจะไว้ใจได้ว่าเราพร้อมให้เราเติบโต
ทักษะ Personal Life Transformation ได้แก่
- Event + Response = Outcome
- Cause > Effect
- Peak State ภาวะอารมณ์ที่พร้อมต่าง ๆ ให้ได้ผลตามต้องการ
- 5 Principles for Success
- Vision of Success
- Being
- Defining Moments
- Beliefs/Values
- Needs & Fears
คนเรามี Negative Emotion มีโกรธ เสียใจ รู้สึกผิด กลัว ซ้อนในชีวิตเรา เพียงแต่ว่าเรื่องไหนใหญ่สำหรับเรา ถ้าเราไม่สามารถกำจัดเรื่องนี้ได้ การแสดงความรัก หรือการให้อภัยคนอื่นจะยากมาก ถ้าเราไม่สามารถค้นหาต้นตอได้ เราจะยากมากที่เราจะค้นหาความรักและการให้อภัย
เวลาของคำถามเกี่ยวกับ Life Coaching ?
1.มีข้อแนะนำอะไรบ้างที่ทำให้รู้ว่าเรา Coaching แล้วประสบความสำเร็จ ทำอย่างไรให้เขาเข้าใจว่าสิ่งที่เราสื่อคืออะไร
ตอบ อธิบายให้เข้าใจว่า Coaching คืออะไร สร้างพื้นที่ปลอดภัย บอกเงื่อนไข หลังจากนี้แล้วอยากได้อะไรออกไป
ถ้าโค้ชจะบอกว่า วันนี้พี่จะถามเยอะหน่อยนะ
2.เคยได้ยินเขาพูดว่า การโค้ชที่ดีคือการไปโค้ชเขาโดยไม่รู้ว่าตัวถูกโค้ช
ตอบ คือการไม่รู้ตัวว่าถูกโค้ชดีที่สุด เหมือนการสนทนาในชีวิตประจำวัน แต่ที่ต้องบอก
ในโลกนี้ TAPS Model
จะถาม (Ask) หรือจะบอก (Tell)
เราจะ Focus ที่ปัญหา (Problem)หรือ การแก้ไข (Solution)
- Counseling คือถามและ Focus ที่ปัญหา
- Managing Consulting การบอกปัญหาด้วยทักษะหรือ Expertise ของเขา เราสามารถบอกได้โดยการแก้ปัญหาจัดการ
- Teaching Mentoring คือการ Focus ด้วยการบอก เพื่อให้ไปข้างหน้า
- Coaching คือการพาคนจากจุด A ไปจุด B ด้วยการตั้งคำถาม
สรุปคือ โค้ชธรรมชาติดีที่สุด ถ้าเรามีทักษะดี
- Counseling กับ Coaching ต่างกันอย่างไร
- การวางใจเขา วางใจเราเป็นอย่างไร
ตอบ Counseling ส่วนใหญ่จะเป็นคนที่มีปัญหาแล้วมาหานาย แต่ Coaching ไม่จำเป็นต้องเป็นที่ว่ามีปัญหาแล้วมีปัญหา พอเคลียร์ปัญหาแล้วพาคนไปข้างหน้า Counseling เมื่อมีปัญหา เยียวยาแล้วจบ ก็จบได้
4.จำเป็นหรือไม่ที่เป็น Coaching แล้วไม่กลับมาเป็นปัญหาเดิม
ตอบ ถ้าเป็นไปได้ก็ไม่ควรให้กลับมาที่ปัญหาเดิม
สรุปคือ TAPS Model เป็น Model ที่เราต้องเล่นทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Counseling , Managing Consulting, Teaching Mentoring , Coaching ขึ้นอยู่กับจะใช้ในสถานการณ์ไหน
5.ถ้าเรารู้ว่าสิ่งนั้นคือปัญหา แต่ลูกน้องไม่คิดว่าเป็นปัญหา จะทำอย่างไร
ตอบ เราต้องใช้ Managing Consulting หรือ Teaching Mentoring หรืออาจให้สลับที่กันก็อาจเข้าใจกันแล้ว
อาจใช้บท Manager แต่ต้องใช้ Feedback
3 Levels of Leader as Coach
ข้อจำกัดที่คุณสร้างขึ้น มีเพียงคุณเพียงคนเดียวที่แก้ไขได้ เราต้องโค้ชตัวเองได้ ไม่ทำเพราะว่าติดอะไร
6.สังเกตได้อย่างไรว่าคนไหนจะเป็น Leader
ตอบ ให้กลับมาเป็นตัวของตัวเอง คือ Being คือการดำรงตนเป็นของดี จึงไม่มีใครปฏิเสธได้ เราชื่นชมศักยภาพของคน ที่เราเห็นในตัวเขา และเขายังต่อเนื่อง ไม่เลิก เป็นการใช้ Being จริง ๆ ออกมาแสดงไม่มีใครเห็น
7.อยากเป็นหัวหน้าฝูงกลุ่มนี้มากจะทำอย่างไร
ตอบ ให้หาคนที่มีเป้าหมายเหมือนเราก่อน หา Common Interest ของคนที่จะ Lead เป็นลักษณะของ Agenda ซ่อนเร้น แต่คนที่เป็น Leader ที่แท้จริงนั้นไม่มี Agenda ซ่อนเร้น
Leading Team เราจะ Lead คนอื่นได้อย่างไรให้คนอื่นตามเรา
How Great Leader does it?
เป็นผู้นำ ต้องเป็นคนนั้นออกจากบ้าน เป็นตัวเราที่ดีที่สุดออกมาจากบ้านเป็นผู้นำแล้ว สิ่งนี้คือธาตุแท้ของเราแล้ว ถ้าไม่นำสิ่งนั้นออกมา แล้วเราจะเป็นผู้นำได้อย่างไร เราเป็นทุกอย่างที่เราอยากเป็น
เราเป็นใครก็ได้ เพื่อคนที่อยู่ตรงหน้า
เราจะไม่มีตัวตน หรือตัดสินใจ
ให้เขามีตัวตนเพื่อให้เขามีพื้นที่ยืน เขาจะได้แสดงศักยภาพของเขาออกมา
เราต้องวางบทเป็น Leader ให้ลูกน้อง Perform ไม่ใช่การพิสูจน์ว่าเราเก่งแล้ว เราเงินเดือนสูงแต่เรากำลังไปเป็นลูกน้อง เราไม่สามารถสร้างคนขึ้นมาอีกหนึ่งคน เรารู้ได้อย่างไรว่าคน ๆ นั้นไม่เก่งกว่าเรา ถ้าเราเชื่อว่าโลกนี้ก้าวหน้า เขาก็จะก้าวหน้านี้กว่าเรา เขาต้องอยู่ได้ในสภาวะแวดล้อมของเขา เราไม่มีหน้าที่ไปกำหนดชะตาชีวิตของเขา แต่เรากำหนดให้เขากำหนดในชะตาชีวิตของเขาได้ ในฐานะผู้นำ
ตอบ ให้ถามว่าเราขัดใจอะไรอยู่ ให้วางใจได้ก็จะถูกวางไปโดยปริยาย สักแต่ว่าได้ยิน ตัวอย่างเช่นพูดถึงเราลับหลังไม่ดี ขึ้นอยู่กับว่าเราแปลงเป็นอย่างไร แล้วแต่จริตของเรา ว่าเป็นอย่างไร กระทิง อินทรีย์ หนู หมี แต่ละสไตล์ เผชิญกับสถานการณ์ไม่เหมือนกัน ถ้าแปลว่า พูดอะไรบางอย่างที่มีชื่อและเป็น Negative คือ ตีความอย่างไร แล้วมากระแทกอะไร แล้วจะจัดการเรื่องนั้นอย่างไร แต่จริง ๆ แล้ว เราไม่ใช่ใครทั้งนั้น ก็ไม่มีใครทำอะไรได้ เราไม่จำเป็นต้อง Protect อะไรเลย แต่เมื่อเราครอบครอง Position และไม่ Take Position ก็ไม่มีสิ่งที่จะมีใครมาปะทะได้ แต่คนไม่มีตัวตนไม่ได้หมายถึงคนไม่ทำงาน เพียงแค่เอาตัวตนมา Take Role คือมีหน้าที่ทำสิ่งต่อไปนี้ แต่เรามี Being ซึ่งไม่ Agree กับหน้าที่ตรงนี้ แต่ถ้าตัวตนไม่อยากทำ Position นี้คือ Gap ที่เราต้องจัดการ เราอาจวางลง
คนเราเป็นได้มากกว่าที่เราเป็น คนเรามีมากกว่าที่เรามี เราให้คุณให้โทษได้ กล้าติดสินใจได้ แต่เราไม่อยากทำ ก็ต้องวางลง ไม่เช่นนั้นคือ Conflict ในใจ
9.Success กับ Fulfilled ต่างกันอย่างไร
ตอบ Fulfilled ถือว่า Success นะ แต่ถ้า Success แล้วไม่ Fulfilled ถือว่า Failure เราต้องเลือกเป้านี้เองไม่ใช่คนอื่นมากำหนดให้เรา
Leading Organization
ต้องสร้าง Culture ใหม่ ๆ มี Coaching Culture ประกอบด้วย Mindset, Attitude ,Communication Style, Leadership / Management Style (เราเชื่อว่าเราปรับพฤติกรรมได้เขาก็ปรับพฤติกรรมได้ Leader เป็นอย่างไร องค์กรเป็นอย่างนั้น ) ทุกคนสามารถโค้ชทุกระดับได้ Manager as Coach of Direct Reports โค้ชไม่ใช่การสอนงาน แต่เป็นการพาไปข้างหน้า ต้องมี Team Coaching / Classic One-to-One Coaching Internal and External Coaches, Peer Coaching, Self-Coaching
โค้ชชิ่งต้องทำกันเอง จ้างใครมาทำไม่ได้
How can you Manage and Engage People ?
คิดกับลูกน้องที่ดี ถามคำถามที่ดี ให้เขาอยากไปพัฒนาตนเอง
Typical Performance Management System
- รับนโยบายมาจากผู้บริหาร
- ประเมินผล& Rewarding
2.วางแผน ตั้งเป้า แจกงาน
3.ติดตาม วัดผล
4.Feedback
Coaching สามารถแทรกได้ทุกระดับ คือ Communicate, Manage, Develop เล่นสนามไหนให้เคารพกติกาสนามนั้น แต่เราจะใช้หมวกแบบไหนแล้วแต่สถานการณ์ที่เลือกใช้ให้เป็น แต่ถ้าต้องโค้ช คือ การสร้างความสัมพันธ์ ฟัง ถาม Mindset และ Perform ก่อน
เทคนิคการฟังที่ดีคือ
ฟังแบบไม่มีอัตตะชีวประวัติของตนเองที่ฟัง ไม่ว่าเขามาจากมุมไหน อย่าตัดสินว่าถูกหรือผิด ไม่เช่นนั้นจะไม่ใช่การฟังที่ดี
วิธีการฟังที่ดี
- สนใจเรื่องที่เขาพูด ไม่ได้ฟัง Content แต่ฟัง Context เช่น เห็นคนที่พูดเป็นคนที่ห่วงใยผู้อื่น ห่วงใยวัยรุ่น ไว้ใจผู้อื่น เชื่อศักยภาพคนอื่น ชื่นชมคุณงามความดีคนอื่น Sensitive กับคนอื่น มุ่งมั่น
- ฟัง Context แล้วจะมีอะไรต่อ คือ Being Belief Fear และ Value อะไร
- ถ้าไม่อยากให้โค้ชจะทำอย่างไร
อย่า Enjoy เฉพาะ Story ที่เขาเล่า ให้ฟังถึงความดีที่เขาทำออกมา เป็นการชม Being มาจากเรื่องทั้งหมดที่เล่า
เชื่อ คือ Believe ว่าคำพูดดี ๆ ของคนสามารถช่วยคนได้ เป็นอาจารย์ต้องพูดดี ๆ กับเด็ก และสามารถช่วยชีวิตเขาได้ในอนาคต ต่อไปจะระวังคำพูดของตนเอง เพราะเป็นสิ่งที่ช่วยเขาในอนาคต
ความชัวร์ ความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิต ความหลากหลาย การเติบโตของเราเอง และการให้
ถ้ามีความกลัวคือ Fear of not belong too แต่ผลักดันออกมาในแง่ Positive
Value คือการให้คุณค่ากับสัจธรรมของชีวิต
คำถาม
1.เราจะเข้าใจได้อย่างไรว่าเขาเป็นอย่างนั้น โดยที่ไม่ได้สื่อออกมา
เล่าเรื่องอย่างนี้ได้มันต้องมาจากสิ่งเหล่านี้แน่ ๆ แสดงว่าเข้าใจคนอื่น มีความสามารถคาดการณ์ล่วงหน้า เข้าใจคนที่ไม่ใช่ยุคเรา
ขึ้นอยู่กับว่าผู้พูดอยากแบ่งปัน หรือมีเรื่องที่ติดอยู่ในใจ อาจถามด้วยการตั้งคำถามว่าเรื่องนี้มันกวนใจกับอะไรหรือไม่ และถ้ากวนใจค่อยเริ่มโค้ช
ที่ไม่จบ Agenda คือมีคนแทรก หรือเล่านอกเรื่องมากเกินไป ต้องหาวิธีดึง ถ้าเล่าเยอะมีช่วงหยุดหายใจ ให้แทรกเลยและดึงกลับเข้ามาในประเด็น
ให้ขอ Feedback ด้านดี และอยากแก้ไข
เวลาชมคนอื่นให้ใช้ “You” Message คือ คุณเป็นอย่างนั้น คุณเป็นอย่างนี้
1. Praise คือ ชมก่อน
2. Facts คือ พูดจากความจริง คือชอบอะไร
3. Results คือ ผลที่ได้คือ
5 ขั้นตอนของ “I” Message
เกริ่นนำก่อน Feedback ชื่นชมก่อนแล้วค่อยขอส่ง Feedback ,Moment ของการโค้ชจะเกิดขึ้นหลังการ Feedback
1.Facts คือเกิดอะไรขึ้น
2.Negative Impact
3.Feelings (Optional)
4.Corrective Actions
5.Benefits
แล้วถามด้วยว่ามีความคิดเห็นอย่างไร เขาอยากปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่
การสร้าง Trust ต้องสร้างตั้งแต่หายใจเข้า- ออก เราใช้อำนาจตลอดเวลาหรือไม่
เราต้องตั้งใจฟังจริง ๆ ฟังจนเขารู้สึกว่าเราฟังเขาแล้ว
สรุปคือ ทำอย่างไรให้คนรู้จักเข้าอกเข้าใจคนอื่นแล้วคนอื่นก็อยากอยู่กับเรา
วิชาที่ 33
การบรรยายพิเศษ
หัวข้อ “จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่การพัฒนาการทำงานของคณะแพทยศาสตร์ ม.อ.”
โดย นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์
อดีตรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุข
ท่านเทอดพงษ์ ไชยนันทน์ ได้เล่าถึง ประสบการณ์ทั้งหมด เรื่องที่ออกมาจากกระทรวงสาธารณสุข พอยืนยันได้ว่างานที่ทำได้รับการยอมรับ งานทั้งหมดที่ทำก็รับได้ ประสบการณ์ที่ผ่านมาคือเป็นผู้แทนราษฎร เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีในสำนักนายกฯ เป็นผู้แทนราษฎร ปี 2518 เป็นผู้แทนราษฎรร่วมกับพ่อ 2 ครั้ง ตลอดระยะเวลาที่เป็น สส.ที่จังหวัดตาก ไม่มีการซื้อเสียง ไม่มีหัวคะแนน ใครมีปัญหาอย่างไรทำทั้งหมด ทั้งหมดจะช่วยดูแลแก้ปัญหาอย่างไร
ใช้กลวิธีภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด ใครมีปัญหาอะไรก็แวะเวียนไปเจอ มีปัญหาอะไรให้แก้ไขและ ดำเนินงานอย่างเต็มที่
ตลอดระยะเวลาที่ทำงานอาจต่างกับคนอื่น ใครมีเรื่องเดือดร้อนอะไรมาก็ทำให้ เล่าให้พักพวกที่ใกล้ชิด คนที่เสียงดังที่สุดคือคนที่จนที่สุดของหมู่บ้าน แต่พอเลือกตั้งทีไรได้มาทุกที เพราะเป็นคนทำงานที่มุ่งทำให้กับชาวบ้านแท้จริง
มีจิตสำนึกว่าชาวบ้าน เมื่อมีทุกข์ขึ้นมา ก็ไปหาที่พึ่งคือผู้แทนราษฎร เหมือนเป็นครอบครัว เรา จึงทำให้เขาเต็มที่ เขาจะรู้สึกดี ไม่ได้หวังอะไร ไม่ได้หวังหาเสียงด้วยซ้ำ ใครมีปัญหาก็นึกถึงเรา ใครมีปัญหาก็เป็นที่พึ่งได้
อยากจะให้เห็นว่า ถ้าเราทำสิ่งใดก็ตามจากใจ ไม่ฝืน เราจะสามารถทำอะไรก็ได้ แต่พอไม่ได้มาจากใจ จะฝืน ที่ได้เพราะพอไปพบชาวบ้าน รู้สึกอยากไปเจอ อยากไปแก้ปัญหา ไปด้วยความสบายใจอย่างแท้จริง
การทำงาน ทำฝืนแล้วไปไม่ได้ แต่ถ้าไม่ฝืนแล้วจะมีความสุข และดีด้วย
โชคดีได้เป็นผู้แทนราษฎรจากการเลือกตั้ง ไม่มีหัวคะแนน เพราะคู่แข่งซื้อหมด
ชาวบ้านที่เสียงดังที่สุด คือคนที่สถานะแย่สุด พวกนี้คือคนที่เสียงดังที่สุด ก็เลยได้เป็นผู้แทนทุกครั้ง ทั้งหมด 13 ครั้ง
เป็นผู้แทนราษฎรพ.ศ. 2518 เรื่อย ๆ จนปี พ.ศ.2526 ได้มาเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในสมัยท่านมารุต บุญนาค เป็นรัฐมนตรี ซึ่งในสมัยนั้นไม่ค่อยมีใครสนใจ เพราะมาอยู่กับพวกแพทย์ จึงไม่มีใครสนใจ ท่านมารุต ได้มอบหมายให้ทำงานได้อย่างเต็มที่
มีการแบ่งงาน คุณเทอดพงษ์ เอากรมอนามัย เอาอาหารและยา เอาในส่วนของสำนักปลัดฯ ทางเหนือ และอีสานในด้านสาธารณสุขทั้งหลาย ท่านมารุต ดูแลกรมการแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมโรคติดต่อด้วย
การทำงานแบ่งเป็นส่วน ๆ มีการเอาอาหารและยาก่อน ในสมัยนั้น ยังมีปัญหาเรื่องยาผสม (ยา APC) อยู่ เอายา P ออก เหลือแต่ A กับ C
พูดให้ทบทวน กลับมาในกระทรวงฯ สิ่งที่ต้องพึ่งคือนักวิชาการ ซึ่งเขามีคณะกรรมการฯอยู่
ศึกษาดูร้านขายยาทั้งหมดเป็นอย่างไร ทั้งยาแผนปัจจุบัน แบบบรรจุเสร็จ และยาสามัญประจำบ้าน ซึ่งคนดูยาแผนปัจจุบัน คนคุมจริง ๆ คือ เภสัชกร แต่แบบบรรจุเสร็จ คนควบคุมคือ พยาบาล ...
ต้องเอาเขามาอบรม สร้างความภาคภูมิใจในการดูแลร้านขายยา เพราะเขาคือคนที่จะดูแลและรับผิดชอบจริง ๆ อะไรที่ถูกและควรก็ควรดำเนินการ ปัญหาที่พบคือ เภสัชกรไม่พอ สมาคมเภสัชไม่ยอม
เรียนรู้จากประสบการณ์ชาวบ้านที่พบ และพยายามทำในสิ่งที่ควรจะเป็นให้ได้
สมัยที่คุณเทอดพงษ์อยู่ในกระทรวงสาธารณสุข หลักใหญ่ของกระทรวงสาธารณสุขคือตัวกลาง และเมื่อมีอะไรในสำนักปลัดกระทรวงฯ ก็ต้องมาช่วยตรงนี้ ตอนนั้นงานสาธารณสุขมูลฐานเพิ่งเริ่มต้น ส้วมยังไม่มี งานแรกที่ทำคือ งานสาธารณสุขมูลฐาน มีการทดลองจากจังหวัด เป็นอำเภอ เป็นตำบล มีการทำอย่างเต็มที่ และเดินเครื่องในสาธารณสุขมูลฐาน คือให้ความรู้ สุขศึกษา น้ำดื่ม น้ำใช้ ป้องกันโรค โภชนาการ มีการดำเนินการอย่างเต็มที่ คือ น้ำสะอาดต่อคน 2 ลิตร ต่อคน ต่อวัน ต้องสร้างโอ่ง ทำโอ่งทั้งประเทศ ในสมัยนั้นต้องเป็นน้ำฝน มีการทำส้วม และหัวส้วมกันเอง นับได้ว่างานสาธารณสุขมูลฐานก้าวหน้าไปได้อย่างดี มีการเดินหน้าอย่างเต็มที่ในช่วงนั้น แต่ก่อนบ้านไหนมีส้วมเป็นเรื่องแปลก จนปัจจุบันบ้านไหนไม่มีส้วมเป็นเรื่องแปลก
สรุปคือทำอย่างเต็มที่ การรักษาพยาบาลในยุคนั้น เป็นการป้องกัน ทำอย่างไรให้ดูแลคนป่วยได้อย่างดีที่สุด
การรักษาพยาบาล มีโรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลชุมชน และสถานีอนามัย สมัยนั้นไม่มีพยาบาล ไม่มีเจ้าหน้าที่ทำงาน งานสถานีอนามัยไม่มีพยาบาลจะลำบากมาก เลยคิดให้มีพยาบาลในสถานีอนามัย วางผัง เขียนแผนงานเพื่อเดินหน้าเรื่องนี้
ในช่วงนั้นสภาพัฒน์ฯ ถามว่าที่ท่านทำคือจะมาเปลี่ยนโครงสร้างหรือแนวทางกระทรวงฯ ใช่หรือไม่ แต่ที่คุณเทอดพงษ์ทำคือเอาตามความเป็นจริง ชาวบ้านไม่รู้ว่าจะต้องเป็นอย่างไร แต่สิ่งที่ทำคือเอามาจากปัญหาที่พบในสถานีอนามัยที่แท้จริง
ต่อมา สภาพัฒน์ฯ จึงเสนอให้เพิ่มพยาบาล 1,250 คน ตามที่บอกและให้รัฐมนตรีฯ เสนอ
ที่คิดเอาพยาบาลไปคือ 1. ดูแลรักษา 2. ช่วงนั้นโรงพยาบาลชุมชนขาดจำนวนมาก 3.ทำอย่างไรที่จะส่งหมอไปสถานีอนามัย (Extended OPD) ต้องมีการกรองสักหน่อย อย่างน้อยคนในหมู่บ้าน ในตำบลไม่ต้องเข้ามา ถ้ามีคนมาก ๆ มีการดูแลและสกรีนมากขึ้น ถ้าเกิดมากขึ้นไปอีก แสดงว่าที่นั่นใหญ่จริง เป้าหมายคือ อยากให้ชาวบ้านได้รับบริการได้ในสถานที่ที่ใกล้ที่สุด มีการดำเนินการในที่ที่ทำได้ ไม่อย่างนั้นโรงพยาบาลก็จะแน่นอย่างนี้ พอทำไปได้สักระยะ มีกลุ่ม ยังเตอร์ก ที่บอกว่าเคยวิจัยมาแล้วแต่ทำไม่ได้ แต่คุณเทอดพงษ์บอกว่าที่เสนอคือเสนอในมุมมองชาวบ้าน ไม่ใช่มุมมองหมอ และในที่สุดจะมีโรงพยาบาลตำบลเกิดมาโดยธรรมชาติ ในช่วงนั้นคนจะรู้จัก Extended OPD มากพอสมควร
ดังนั้น เมื่อทรัพยากรจำกัด ต้องใช้กลยุทธ์ในการคิด อย่างที่พบ ปัญหาคือชาวบ้านต้องการรักษาพยาบาลในที่ใกล้ ๆ สิ่งที่คุณเทอดพงษ์ทำคือ สร้างโรงพยาบาลสาขา ไปดูสถานีอนามัย อันไหนที่ดีก็เอาสถานีอนามัยตรงนั้น ที่ไหนไม่ดีก็สร้างใหม่ เขียนแบบ สร้างการต่อเติมเตียงได้
ในช่วงที่ไปอยู่กระทรวงสาธารณสุขเมื่อ 30 ปีที่แล้วกับปัจจุบัน คำถามเหมือนกันเยอะ อย่างเช่น เอาหมอไปเป็นผู้อำนวยการ น่าเสียดาย เสียกำลังคนไปเลย เพราะว่ายาก ไม่สามารถเปลี่ยนผู้อำนวยการที่ไม่ใช่หมอ ปัญหาคือหมอก็คิดอย่างหมอ ทำไม่ได้ ก็ยังมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ บางรายเจอแรงกดดันมากก็ทนไม่ไหว จึงคิดโครงการฯ ให้เอาหมอทั้งหลาย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล มาเรียนบริหาร และได้คนที่มาช่วยจริง ๆ คือ คุณหมอวิฑูรย์ แสงสิงแก้ว ช่วยทำ จนสามารถเปิดโครงการฯได้ที่โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี คุณหมอสัมฤทธิ์ เป็นผ้อำนวยความสะดวกในเรื่องสถานที่ให้ ได้ฝากไว้ว่าใครที่จะขึ้นเป็นผู้บริหารหรือผู้อำนวยการให้เรียนการบริหารจัดการก่อน
สิ่งที่ทำอีกเรื่องคือ เรื่องสาธารณสุขระดับอำเภอ มี 4 กระทรวงหลัก คือกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข เวลามีอะไรก็จะมาประชุม มาดำเนินการกัน อย่างน้อยก็ไม่ได้เสียกำลังใจ มีแต่สร้างความภาคภูมิใจ แต่ที่คิดคือ ยิ่งเรียนเยอะ ประโยชน์ก็ยิ่งมีมากขึ้น ให้ผู้อำนวยการกองแผนงานมาเรียนด้วย เราได้มากกว่าเสีย ได้คนทำงานที่ดีกว่า ได้คนที่มีความสามารถมากกว่า ปัจจุบัน สาธารณสุขระดับอำเภอมีปริญญาโท และบางคนไปต่อถึงปริญญาเอกเลยก็มี
ปัญหาที่จะคงคู่อยู่กับงานทั่วไปและกระทรวงสาธารณสุขที่พบโดยตลอด คือการแบ่งแยกกันทำงาน คิดไม่ตรงกัน ซึ่งความจริงถือเป็นเรื่องธรรมดา เพราะคนเก่งจำนวนมากจะมีความคิดที่เดินหน้า และไม่ค่อยยอมกัน แต่ก็เป็นในหลายกระทรวงฯ เพราะเรื่องคนจะมีการคิดที่ทะเลาะกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะปลดไม่ได้ และให้ออกยาก
วิธีแก้คือการให้ความเป็นธรรมทุกฝ่าย คิดว่าจะทำอะไรที่ดีได้ การแตกแยกต่าง ๆ ค่อยคลี่คลายลง มีการจัดกิจกรรมการเดินป่า ทำให้เห็นปัญหาด้วยกัน แต่ปัญหาที่มีอยู่คือสองฝ่ายไม่ไปด้วยกัน อาจต้องจัดสองรอบ แต่อย่างน้อยคนที่ไปคณะใหญ่ ๆ จะได้เห็นถึงความสามัคคี และประโยชน์ร่วมกัน เดินป่าครั้งนึงประมาณ 600-700 คน เพื่อสร้างความสามัคคี มีอะไรให้คุยกัน
ช่วงเข้าไปในกระทรวงฯ ตอนเป็น รัฐมนตรีใหม่ ๆ นโยบายมีทั้งหมด 13 ข้อ เอานโยบายมานั่งอ่าน เพราะคราวนี้ต้องเป็นตัวจริงและต้องจัดการเอง จึงต้องคิดว่าจะทำอย่างไร วิธีการที่คุณเทอดพงษ์ใช้คือเข้ามากระทรวงฯ และนัดแบ่งงานเป็น 9 ทีม แต่ละทีมจัดเอานโยบายแต่ละข้อ แล้วแตกแผนงานโครงการทั้งหมดว่าจะทำอย่างไร สุดท้ายแผนงานโครงการ 13 ข้อ บางคนเขียนนโยบายเขียนไปอย่างนั้น แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้วไม่ใช่ ทำให้บางครั้งมองเห็นเลยว่าเป็นอย่างไร อยากให้ทุกอย่างเป็นตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นมา ปัญหาแต่ละอัน ต้องให้รายงาน 3 เดือนครั้ง บางอันตั้งเป้าหมายสูงไป นั่งทำตอนหลังรายงาน 4 เดือนครั้ง และครั้งสุดท้ายสรุปรวมรายงานทั้งปีว่าเป็นอย่างไร
บางครั้งคนอยู่ในกระทรวงฯ มองแล้วเหมือนชิน ดูว่ากองอาชีวะอนามัยเป็นอย่างไรบ้าง คนที่มารายงานตัวเป็นเพียงเจ้าหน้าที่ธรรมดา ประเด็นคือการแสดงให้เห็นถึงความสนใจไม่ได้มีเท่าที่ควร มีการตรวจโรงงาน แล้วพบว่าคนไม่พอ แต่ความจริงแล้วเป็นความเกี่ยวเนื่องกับเกษตรคือสารเคมี คนสูดควันพิษรถเมล์ แต่ละกระทรวงฯ มีแกนอยู่แล้ว เพียงแต่คิดว่ามีความรู้อย่างไร และส่งไปให้กระทรวงฯเข้าทำต่อ จึงให้ทำใหม่หมด เพราะงานอาชีวะอนามัยนั้นมีความสำคัญ และสามารถทำได้ทั้งหมด
คุณจีระสุข ชินะโชติแจ้งว่า โปรดติดตามสัมภาษณ์รศ.นพ.สุธรรม ปิ่นเจริญ คณบดีคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เกี่ยวกับ โครงการพัฒนาบุคลากรเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 3 ในช่วงข่าวภาคภาษาอังกฤษทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 88 MHz และ AM 918 kHz. ในวันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม 2558 ระหว่างเวลา 7.00-8.00 น.
Ms. Jeerasuk Chinashote informs that the interview with Assoc. Prof. Sutham Pincharoen, MD, the Dean of the Faculty of Medicine, Prince of Songkla University about MED PSU Human Capital Development Program 3 will be broadcast on FM 88 MHz and AM 918 kHz. on Friday 2 October 2015 at 7.00-8.00 a.m.
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย ศ.ดร. จีระ หงส์ลดารมภ์ ใน Chira Academy
3 กย 58 - "Asiatique The Riverfront" เริ่มต้นจาก...การคิดโครงการจากความฝัน และเดินทางผ่านประวัติศาสตร์..และสร้างสัญลักษณ์ " ICONIC BRAND"..จากนโยบายที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคม..Green Policy and Corporate Social Responsibility ร่วมกับการให้ทีมงานทำด้วยความคลั่งไคร้ "Passion" ..ทุกคนเริ่มทำสิ่งที่ใช่เลือกสิ่งที่ฝัน..Beginning of Dream Start the Journey....และก้าวต่อไปด้วยการดื่มด่ำกับประวัติศาสตร์..Dig up History : Site History : Rich with History ^^
การจัดการองค์กร กับ Crisis Management ; Reduction, Readiness, Reaction, Recovery ...การสร้างชื่อเสียง (BRAND) ต้องอาศัย 3D คือ Dream (มีฝัน) Dare (มีความกล้า) และ Do (การลงมือกระทำ)...ซึ่งต้องอยู่ภายใต้ Benefit, Values, Idea, Attribute, และที่สำคัญคือ Personality การมีบุคลิก หรือภาพลักษณ์ขององค์กรที่เป็นที่รู้จัก และภาคภูมิในสังคม ^^
ความสำคัญยามเกิดภาวะวิกฤต คือการกลับสู่ภาวะปกติให้เร็วที่สุด และการสร้างประโยชน์ในภาวะวิกฤตนั้น..โดย CMOC : Crisis Management Operational Center จะเป็นศูนย์เฝ้าระวัง ติดตาม และแจ้งเตือนสำหรับการจัดการภาวะวิกฤต.. แต่ที่สำคัญที่สุดคือ Crisis Communication : การสื่อสารในภาวะวิกฤต...โดย Core Values สำหรับการสร้าง Brand (ชื่อเสียง) คือ..การทำงานอย่างมีมาตรฐานสากล การสร้างความไว้วางใจสูงสุด และใช้สเน่ห์ของคนไทย ปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สุดคือ ".. การสร้างคน ^^"
เรียนรู้เปิดมุมมอง..ล่องเรือไวท์ออร์คิด ริเวอร์ครูส..เพื่อรับประทานอาหารค่ำ และชมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา...เป็นอีกประสบการณ์หนึ่ง..ซึ่งเหมาะกับนักท่องเที่ยวต่างชาติในความสวยงามของเมืองไทยของเรา...ขณะที่เราเองก็มุ่งมั่นกับอาหารตรงหน้า..พออิ่มเรือวนกลับมาเทียบท่าพอดี.....^^ ...ภายใต้สิ่งที่เห็น ส่วนที่ซ่อนอยู่คือ ความสุข ความพึงพอใจ...Satisfaction, Commitment, Productivity, Engagement, และ Retention...เป็น Appraisal/Reward...เป็นขวัญกำลังใจทำให้บรรลุ KPI ขององค์กร..ในการพัฒนาคนค่ะ