เสียงที่ไม่ได้ยินของประเทศไทย ตอนที่ 1


การระเบิดในกรุงเทพฯมีนัยยะถึงชายแดนใต้ในประเทศไทยเป็นอย่างมาก ชายแดนใต้นั้นเป็นสถานที่ความรุนแรงเกิดขึ้นทุกเมื่อเชื่อวันจนกลายเป็นเรื่องปกติ

เมื่อโลกได้หันความสนใจไปกับการระเบิดที่น่ากลัวในศาลเอราวัณ ที่ตั้งอยู่ใจกลางกรุงเทพฯ พร้อมๆกับให้ความสนใจไปยัง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (อันประกอบด้วยยะลา, นราธิวาส และปัตตานี) ผู้ก่อการกบฏที่เป็นมาเลย์-มุสลิมจากภาคใต้คือผู้ต้องหาในเหตุการณ์ระเบิดครั้งนั้น

แต่รายงานน้อยมากๆที่จะรายงานเรื่องชีวิตของชายแดนใต้ เป็นเวลา 10 ปีกว่าๆ ที่ประชาชนในชายแดนใต้ได้เจอกับสภาวะระเบิดเป็นประจำ ในการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ที่น่ากลัว ก็มีโอกาสที่จะทำสิ่งดีได้ โดยการก่อให้เกิดการตระหนักรู้เรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นเป็นประจำในชายแดนภาคใต้

ฉันจะไม่ให้เหตุผลว่าอะไรเกิดขึ้นในศาลเอราวัณ หรือชี้ขาดว่าใครบาดเจ็บมากกว่าใคร แต่ฉันจะให้เสียงของความเจ็บปวดในชายแดนใต้ในประเทศไทย และยืนยันถึงเสียงของพวกเขา

การระเบิดในกรุงเทพฯเมื่อวันที่ 17 สิงหาคมนั้นเป็นการโจมตีด้วยระเบิดที่จะก่อให้เกิดความตาย ซึ่งปรากฏในประวัติศาสตร์ของชาติไทย ไม่ว่าใครจะเป็นคนก่อ แต่การโจมตีนั้นมีนัยยะถึงหลายๆสาเหตุ หากเรามองในทางตรงกันข้าม สถานการณ์ที่รุนแรงในภาคใต้จะมีสาเหตุจำนวนน้อย

แต่ความรุนแรงที่เกิดขึ้นทุกวันเมื่อ 11 ปีก่อน ก็มีความสำคัญเช่นเดียวกัน

ในวันที่ 4 มกราคม ปี 2004 (พ.ศ. 2547) กลุ่มของมือปืนที่ไม่รู้จักนามได้เข้าโจมตีฐานทางทหารในนราธิวาส เหตุการณ์นั้นคือจุดเริ่มต้นของทศวรรษแห่งความรุนแรง ในปัจจุบันความตายเกิดขึ้นมากกว่า 6,200 ครั้ง พร้อมกับจำนวนคนบาดเจ็บมีมากกว่า 14,450 ครั้ง (จาก www.deepsouthwatch.org )

ระหว่างการออกภาคสนามเพื่อทำปริญญาเอก ฉันได้สัมภาษณ์หญิงคนหนึ่งอายุ 60 ปี ที่มีเด็กเป็นปอลิโอ และต้องดุแลพ่อที่เป็นอัมพาตครึ่งหนึ่งอายุ 90 ปี หล่อนบอกกับฉันว่า หล่อนถูกยิงจนทำให้ขาของหล่อนไม่มีแรง และยิงหน้าอกตรงหน้าบ้าน แต่โชคดี ที่หล่อนรอดชีวิต

อีกครั้งหนึ่งถูกยิงอย่างรุนแรง โดยชายผู้มีอาวุธที่หน้าบ้านของหล่อน แต่โชคเข้าข้างหล่อน ไม่มีใครได้รับบาดเจ็บ หล่อนแสดงรูกระสุนตามกำแพงให้ฉันดู

ฉันถามหล่อนว่าทำไมจึงไม่ย้ายออกไปจากที่นี้ เธอตอบด้วยน้ำตาว่า “นี่เป็นบ้านของฉัน เป็นบ้านที่ฉันเกิด แล้วจะให้ฉันย้ายไปที่ไหนหละ

ในขณะที่รัฐบาลทหารกำลังใช้ความพยายามอย่างหนักในการนำความสุขกลับมาให้คนทั้งประเทศ แต่จังหวัดทางชายแดนภาคใต้ไม่เคยมีประสบการณ์กับความสนุกหรือความสุขเลย

ในตอนนั้นยังมีทรงผมและคอนเสิร์ตฟรี, มีเงินจ่ายไปที่ครอบครัวของเหยื่อ, และมีการให้ปลาดุกแก่ชาวบ้านจำนวนมาก แต่กลับไม่มีสันติภาพ หรือแสงสุดท้ายของผู้แบ่งแยกใดๆเลย ในความจริงแล้ว ภูมิภาคนี้ไม่เคยมีประสบการณ์กับความสุขใดเท่ากับความทุกข์ยากเลย

แปลและเรียบเรียงจาก

Daungyewa Utarasint. Thailand’s unheard voice.

http://asiapacific.anu.edu.au/newmandala/2015/08/25/thailands-unheard-voices/

หมายเลขบันทึก: 594944เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2015 18:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 กันยายน 2015 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท