[1] ถอดบทเรียนคืออะไร? ทำไมต้องถอด...


การถอดบทเรียนเป็น กระบวนการ ครับ ไม่ได้ทำง่ายๆ ไม่มีฟังก์ชั่นค้นหา (Ctrl+F) อย่างคอมพิวเตอร์ที่คลิกปุ่มเดียวแล้วเจอเลย ดังนั้นจึงไม่มีคีย์ลัด ขั้นตอนการถอดบทเรียนต้องอาศัยความพอเหมาะพอดีในหลายๆองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยวข้อง

 

 

 

[1] ถอดบทเรียนคืออะไร? ทำไมต้องถอด...

                                              จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

 

เพิ่มเติมข้อมูล 30/7/2560


"ถอดบทเรียนอย่างไร...ไม่ยาก"

พบกับชุดบันทึกเรื่องราวการถอดบทเรียนอย่างเป็นระบบ เเละไม่ยาก จากชุดบันทึก "การถอดบทเรียน...ไม่ยาก" ซึ่งเรียงเรียงขึ้นมาใหม่ผ่านประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ตาม LINK ดังนี้ครับ


ตอนที่ 1 ถอดบทเรียนคืออะไร?

ตอนที่ 2 ทำไมต้องถอดบทเรียน?

ตอนที่ 3บทเรียนมาจากไหน ? เเละ ข้อควรตระหนักก่อนถอดบทเรียน

ตอนที่ 4 ทักษะอะไรบ้างที่นักถอดบทเรียนต้องพัฒนาตนเอง

ตอนที่ 5การเตรียมตัวถอดบทเรียน ...จะเตรียมอะไรบ้าง?

ตอนที่ 6วิธีการถอดบทเรียน...ทำอย่างไร ไม่ยาก

ตอนที่ 7ขั้นตอนเเละคำถามการดำเนินการถอดบทเรียน

ตอนที่ 8การบันทึกเเละจัดการข้อมูลถอดบทเรียน

ตอนที่ 9การเขียน "บทเรียน" จากการถอดบทเรียน


สามารถเเลกเปลี่ยน พูดคุยกับผู้เขียนได้โดยตรงที่


ชุดความรู้ "ถอดบทเรียน...ไม่ยาก"

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

e-mail : [email protected]


------------------------------------------------------------------------

“ถ้าผมรู้ ผมคงไม่ทำผิดพลาดเช่นนี้”   

แน่นอนว่าคงไม่มีใครเอ่ยประโยคนี้หลังจากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นกับตัวเองทั้งๆที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น เพียงแค่ได้ “รู้” เท่านั้นเอง ...สิ่งที่เป็นเงื่อนไขของความผิดพลาดนั้นคือ “การได้รู้” หากรู้ก็คงไม่เกิดการเหตุการณ์ทำนองนี้เป็นครั้งที่สอง

 

ดังนั้น “บทเรียน”ที่ได้รับในครั้งนี้ ก็คือ ข้อมูล (Data)และข่าวสาร (Information)ที่ผ่านการปฏิบัติด้วยตัวเอง หรือไม่ก็ผ่านการสังเกต การเก็บข้อมูลของตนเอง บันทึกไว้ในสมองส่วนความจำและเมื่อไหร่ก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้ ความรู้ที่ถูกเก็บไว้นั้น จึงจะถูกนำมาใช้จัดการกับเหตุการณ์ที่อยู่ตรงหน้า

 

ปัญหาก็อยู่ที่ว่า คนเรามักเก็บสิ่งที่รู้ไว้มิดชิดเกินกว่าจะนำมาถ่ายทอด หรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น นับว่าเป็นการสูญเสีย “งบดุล” ทางชีวิตและสังคมอย่างมาก หากเราและคนรอบข้างจะผิดพลาดในสิ่งเดียวกันซ้ำแล้วซ้ำเล่า โดยไม่ได้นำเอาความรู้ที่ตกผลึก หรือที่เรียกว่า “ความรู้ฝังลึก” (Tacit knowledge)  ที่อยู่ในตัวตนนั้นมาใช้ประโยชน์

 

แล้วจะทำอย่างไรละ?? การที่จะนำความรู้ฝังลึกนั้นได้ถูกนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น เผื่อแผ่ผ่านประสบการณ์ของเรา  หรือเจ้าของความรู้

ตรงนี้เองเป็นที่มาของ “การถอดบทเรียน”

ส่วนรูปแบบการถอดบทเรียนนั้น จะมีวิธีการอย่างไรนั้น สิ่งสำคัญที่เราควรตั้งคำถามกับตัวเองในฐานะผู้ที่จะถอดบทเรียน(ถอดบทเรียนตัวเอง หรือถอดบทเรียนคนอื่น)

 

เราควรตั้งคำถามเหล่านี้ครับ

 

ข้อที่ ๑ โจทย์ หรือ คำถามของการถอดบทเรียน ว่าเราถอดบทเรียนอะไรและถอดบทเรียนเพื่ออะไร? ข้อนี้สำคัญมากครับ ที่ผมบอกว่าสำคัญมากเพราะอะไรนะหรือ...เพราะกรอบการถอดบทเรียน จะช่วยออกแบบวิธีการที่สอดคล้องและเราสามารถเลือกวิธีการที่สนองตอบต่อการได้มาซึ่ง”บทเรียน” มากที่สุด คล้ายๆกับเราตั้งโจทย์ หรือคำถามการวิจัย หากคำถามนั้นไม่ชัด ก็ทำให้ขั้นตอนต่างๆคลุมเครือไปด้วย การถอดบทเรียนก็เป็นไปแบบ “มึนๆ” ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลแบบมึนๆ เช่นกัน ข้อมูลที่เป็นบทเรียนที่ได้นั้นไม่ตอบสนองต่อการนำไปใช้ประโยชน์ บทเรียนที่ได้ก็ไม่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

 

ข้อที่ ๒ ใคร?? คือคนที่เราจะถอดบทเรียน ในที่นี้อาจเป็นการถอดบทเรียนตัวเองก็ย่อมได้ หรือ เป็นการถอดบทเรียนคนอื่น เพราะการรู้ตัวตนของคนที่จะถอดบทเรียนนำมาซึ่ง ข้อที่ ๓ ครับ

 

ข้อที่ ๓ วิธีการ ถอดบทเรียน หรือเรียกให้ดูดีภาษานักวิชาการว่า วิธีวิทยา (Methodology)  ข้อนี้ผมไม่สามารถแนะนำเจาะจงได้ครับ ว่าเราควรเลือกใช้วิธีการไหน ขึ้นอยู่กับว่าเราจะใช้วิธีการนี้ กับ ใคร?  ดังนั้นอย่างที่ผมบอกไงครับว่า รู้จัก “ใคร” ในข้อสองสัมพันธ์กับข้อสาม  แต่ต้องระวังนะครับ นักถอดบทเรียนมือใหม่ หรือนักวิชาการที่เคร่งวิชา ชอบที่จะยึดติดในวิธีวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่ง พอล ฟายเออราเบนด์(Paul Feyerabend) นักปรัชญาวิทยาศาสตร์ผู้เขียนหนังสือ Against Method กล่าวว่า การยึดติดวิธีวิทยาอย่างใดอย่างหนึ่งจะเป้นตัวขัดขวางความก้าวหน้าในการพัฒนาองค์ความรู้

 

ข้อที่ ๔ มุ่งหา “บทเรียนที่ดี” ( Best Practice) กรณีที่มีบทเรียนประเด็นคล้ายคลึงกัน หรือประเด็นเดียวกัน แต่แตกต่างบริบท การหาบทเรียนที่ดีถือว่าเป็นการได้ สุดยอดความรู้ ที่มีพลัง หรือพูดให้ดูดีว่า เป็นความรู้ที่ทรงอานุภาพครับ

 

การถอดบทเรียนเป็น กระบวนการ ครับ ไม่ได้ทำง่ายๆ ไม่มีฟังก์ชั่นค้นหา (Ctrl+F) อย่างคอมพิวเตอร์ที่คลิกปุ่มเดียวแล้วเจอเลย ดังนั้นจึงไม่มีคีย์ลัด

ขั้นตอนการถอดบทเรียนต้องอาศัยความพอเหมาะพอดีในหลายๆองค์ประกอบที่เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งองค์ประกอบที่เป็นส่วนของตัวผู้ถอดบทเรียนเอง (ความพร้อม,คุณสมบัติ,ทักษะ) ข้อนี้ผมจะนำไปเขียนในบันทึกเป็นประเด็นใหญ่ที่ต้องทำความเข้าใจครับ

นอกจากนั้นก็มีองค์ประกอบของผู้ถูกถอดบทเรียนด้วย องค์ประกอบที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ละเลยไม่ได้คือ องค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อม ด้วยการถอดบทเรียนต้องทำกับคน การจัดการอารมณ์ให้สมดุลเป็นสิ่งที่เราให้ความสำคัญ

 

ดังนั้นวิธีการใดก็ตามที่สอดคล้องกับธรรมชาติของความเป็นคนมากที่สุด ย่อมได้เปรียบที่สุด

 

 


 

บันทึกการเรียนรู้นี้เป็นส่วนหนึ่งของเอกสารประกอบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การถอดบทเรียน” สำหรับเจ้าหน้าที่ของสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (พรพ.) ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๕๒ ณ นนท์นที รีสอร์ท จ.นนทบุรี

หมายเลขบันทึก: 298545เขียนเมื่อ 17 กันยายน 2009 22:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 กรกฎาคม 2017 08:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

เยี่ยมมากเลยครับ...

โดน โดน มาก ๆ

ขอเอาไปใช้หน่อยนะครับ

เข้าใจแล้วค่ะ

ขอบคุณ

สวัสดีค่ะ คุณเอก

  • การถอดบทเรียน ในทรรศนะของแป๋ม เป็นพฤติกรรมหลังการลองผิดลองถูกค่ะ
  • เพราะท้ายที่สุดก็จะนำประสบการณ์ที่ผ่านมาเป็นปทัสฐานในการเลือกหนทางที่ดีที่สุด
  • แน่นอนค่ะ วิธีการใดก็ตามที่สอดคล้องกับธรรมชาติของความเป็นคนมากที่สุด
  • ย่อมได้เปรียบที่สุด
  • ขอบคุณค่ะ
  • ให้หลักคิด เป็นระบบ สื่อลักษณะกระบวนการเรียนรู้และการจัดการความรู้ที่อยู่ในความเป็นจริงของการปฏิบัติดีครับ
  • เรียนรู้จากความเป็นคุณจตุพรได้อย่างหนึ่งว่า การมีประสบการณ์ทุกระดับในการทำงานภาคปฏิบัติ แล้วนำเข้ามาสู่การศึกษาเรียนรู้ในขั้นสูง ทำให้ความเป็นวิชาการกับการปฏิบัติมีความพอดี กลมกลืน และได้เปรียบตรงมีสิ่งที่เป็นการปฏิบัติเป็นกรอบในการจัดระเบียบให้อย่างดี

แอบตามท่านพี่อาจารย์ วิรัตน์ คำศรีจันทร์ มาห่าง ๆ ครับ ;)

การเป็นนักปฏิบัติที่เชี่ยวชาญมาก่อน เหมาะสมสำหรับการต่อยอดความรู้ในขั้นสูง ๆ จริง ๆ ครับ ... เห็นด้วยอย่างเป็นทางการ

เมื่อวาน สรพ มาเยี่ยม รพ เรา อาจารย์ถามว่าจะดึง tacid K มาให้คนอื่นเห็นอย่างไร เราตอบว่าเรามีการถอดบทเรียนจากเรื่องเล่าของแต่ละคน จากการมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันแล้วมาบันทึกไว้เป็นคลังความรู้ (K assets) แล้วแขวนไว้ใน G2K และ KKU web เพื่อให้คนอื่นได้เข้ามา ลปรร ต่อไป

แต่มีบางส่วนที่อาจารย์เสนอแนะให้เราดึง K capture ให้ออกมาให้ตรงจุด เราจะได้อะไรดีดี อีกมาก  และเป็น model ของเราเอง

 

พี่หนานเกียรติ,ครูแป๋ม,คุณnana งาน พสว.ศอ.8 ,อ.ดร.วิรัตน์,อ.Wasawat Deemarnและ พี่แก้ว อุบล จ๋วงพานิช  

ผมขอขอบคุณทุกท่านครับ บันทึกนี้เป็นบันทึกเปิดประเด็นครับ ไม่รู้จะทำได้หรือไม่ว่า ผมจะเขียนทั้งหมด สัก ๑๐ บันทึกภายในสองสามวันนี้...

อย่างน้อยการถอดบทเรียน สู่การเขียน ครั้งนี้ก็น่าจะเป็นบทเรียนกับผู้ที่เข้ามาร่วมเรียนรู้กับผมให้เข้าใจง่ายๆ นำไปใช้ง่ายๆ

ติดตามต่อก็เเล้วกันครับ หากมีประเด็นใดที่จะเพิ่มเติม ต่อยอด ด้วย "บทเรียน"ของท่าน ผมจะยินดีมากๆครับ

 

พี่แก้วครับ ประเด็นของพี่ เเล้วผมจะต่อยอดออกไปนะครับ เห็นด้วยว่า ต้องตรงเป้าเราถึงจะได้ บทเรียนที่สอดคล้องกับการนำไปใช้ต่อ

บันทึกนี้เหมือนกับบันทึกที่ดูต้วมเตี้ยมที่หลายท่านทราบแล้วว่า อะไร  ทำไม และ อย่างไร  แต่ยังอยากบันทึกเป็นซีรีส์ยาวๆ ให้เห็นภาพรวมของ การถอดบทเรียน อย่างน้อย ได้คู่มือ นักถอดบทเรียนสมัครเล่นสักเล่มก็น่าจะดีมากๆ

แต่สองวันนี้ขอเป็นคู่มือหรือเอกสารเล่มเล็กๆ ประกอบ work shop ฉบับ "จตุพร" สักเล่มก่อนครับ

สวัสดีครับ

ผมเห็นแล้วว่าการจะได้มาซึ่ง “บทเรียนที่ดี” ( Best Practice) ยากพอสมควร

จะพยายามนำไปปรับใช้ครับ โดยเฉพาะวิธีคิดครับ

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ คุณบินหลาดง 

ผมไม่คิดว่ายากมาก เพราะจริงๆก็เนียนกับวิถีชีวิต เราเองเป็นนักถอดบทเรียนอยู่แล้ว และบางทีเราก็ทำให้ยากเองครับ

หากมีประสบการณ์เรียนรู้ประเด็นเดียวกันนี้ มาเเลกเปลี่ยนกันครับ

ขอบคุณครับผม

 

ขอบคุณมากคุณเอก

พี่เข้าใจประเด็นแล้วคะ จะใชบันทึกนี้ไปนำเสนอผลงานพอดี

จะได้เสนอได้ถูกทาง ส่งเรื่องไปแล้วเหลือแต่นำเสนอนะคะ

พี่ขออนุญาตนำไปใช้ทั้งหมดนะคะ

ได้ผลอย่างไรจะแจ้งให้ทราบ มีแผน

โครงการไว้แล้วคะว่าจะต้องถอดบทเรียนโดยจะตั้งกลุ่มนะคะ

แบบไม่ทางการ จะมีความสุขกว่ากันเยอะคะ ถ้าทางการเหมือนเราบังคับน้อง ๆ ทำ

พี่ ประกาย~natachoei ที่~natadee  ยินดีครับ มีเรื่องราวเกี่ยวกับ "การถอดบทเรียน" นำมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ วิธีการแบบนี้ไม่ตายตัว ผมคิดว่า กระบวนการหลากหลาย อีกทั้งมีมุมเล็ก มุมน้อยที่เราต้องเรียนรู้กันอีกเยอะครับ

กำลังสนใจคำว่าถอดบทเรียนพอดี เลยท่องเว็ปหา อ่านแล้วได้อะไรเยอะขึ้น ขออนุญาตนำไปใช้นะครับ สงสัยต่อว่า...เมื่อถอดและได้บทเรียนแล้ว สามารถนำไปสร้างเป็นข้อสรุปเชิงทฤษฎีได้ไหม ขอบคุณครับ

ผมเข้าใจว่า

ถอดเพื่อเรียนรู้

หาเกลียวความรู้

ต่อยอดประสบการณ์

แบ่งปันสิ่งดีดีให้ผู้อื่น

เพื่อที่จะเป็น lesson learn ให้ตัวเองและ share

กระบวนการนี้ต้องทำบ่อยๆ มีผู้รู้แนะนำ ทำคนเดียวได้ ทำหลายคนก็ดี

ขอบคุณพี่เอกที่ช่วยชี้ทางให้ผู้น้อยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท