“บทเรียน” มาจากไหน?
ที่มาของ “บทเรียน” แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบตามระยะเวลา ได้แก่
แบบที่ 1 เป็นบทเรียนที่เกิดขึ้นทันทีเมื่อจบเหตุการณ์ (Active Process)
แบบนี้จะสด ใหม่ ปฏิบัติการถอดบทเรียนทันทีหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมและจะได้บทเรียนเร็วๆเพื่อเชื่อมโยงให้ข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการสร้างสรรค์กิจกรรมเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง และทาง KM จะเรียกการบทเรียนนี้ว่า AAR หรือ After Action Review (การถอดบทเรียนหลังปฏิบัติการ)
แบบที่ 2 เป็นบทเรียนที่เก็บสะสมข้อมูลในอดีต (Passive Process)
แบบนี้จะอาศัยการคิดย้อน หรือ Recall (การจำได้, การระลึกได้) ตรงนี้เราต้องย้อนกลับไปเรียนรู้เรื่องราวในอดีต อาจย้อนกลับไปนานถึง 1-2 ปี เพื่อนำมาสรุป สกัด เป็นบทเรียน กระบวนการนี้เราเรียกว่า ถอดบทเรียนแบบ Retrospective technique (การถอดบทเรียนแบบมองย้อนกลับ) แบบนี้ต้องอาศัยการจำเรื่องราวในอดีต ซึ่งก็สุ่มเสี่ยงต่อข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือไม่ชัดเจน (หากเราไม่มีการจดบันทึกไว้) เพราะคนเรามีความจำที่จำกัด ดังนั้นการถอดบทเรียนแบบนี้ หากได้คนที่นำมาถอดบทเรียนเป็นคนที่ปฏิบัติและมีประสบการณ์ในประเด็นการถอดบทเรียนโดยตรง ก็จะช่วยให้มองเห็นสาระของบทเรียนผ่าน “ปัญญาปฏิบัติ” (Practical Knowledge )ที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ส่วนใหญ่การถอดบทเรียนจะเป็น แบบที่ 2 เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นเราจึงให้ความสำคัญกับกระบวนการ...
ข้อควรตระหนักก่อน “ถอดบทเรียนที่มีประสิทธิภาพสูง” มีอะไรบ้าง...?
ติดตามตอนต่อไป..
ถอดบทเรียน ตอนที่ 4 (มีทั้งหมด 9 ตอน)
-----------------------
ท่านสามารถ Download เอกสารชุดความรู้ถอดบทเรียนฉบับย่อ "ถอดบทเรียน...ไม่ยาก" จาก QR Code นี้
..............................................................
สามารถเเลกเปลี่ยน พูดคุยกับผู้เขียนได้โดยตรงที่
จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
e-mail : vjatuporn@gmail.com
LINE : thaicoach
ไม่มีความเห็น