ถอดบทเรียนอย่างไร...ไม่ยาก (ตอนที่ 2) ทำไมต้อง "ถอดบทเรียน" ?


การทำงานที่ชาญฉลาดจึงจำเป็นต้องใช้ “บทเรียน” มาเป็นข้อมูลสำคัญ ประเด็นของความท้าทายในการได้มาซึ่งบทเรียนเป็นประเด็นสำคัญ เพราะการที่ได้ข้อมูลชุดหนึ่งออกมาจากคนทำงาน เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าชุดข้อมูลที่ได้นั้นเป็น “บทเรียน”ที่ใช่จริงๆ มีพลังต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานได้ “บทเรียนที่มีคุณภาพ” จึงมาจาก “กระบวนการถอดบทเรียนที่มีคุณภาพ” ด้วย

ทำไมเราต้องถอดบทเรียน?? 

การทำงานที่มีประสิทธิภาพและเพื่อการบรรลุเป้าหมาย (Achieving Goals) จำเป็นต้องมีการทบทวนกระบวนการทำงาน โดยมีข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ ข้อมูลดังกล่าว เราเรียกว่า “บทเรียน” (Lessons learned) บทเรียนจึงเป็นต้นทุนทางปัญญา (Knowledge Asset) ข้อมูลสำหรับการตัดสินใจในการขับเคลื่อนการทำงานต่อเพื่อให้เกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด ลดต้นทุนของการทำงานครั้งใหม่ด้วย

ดังนั้นการทำงานที่ชาญฉลาดจึงจำเป็นต้องใช้ “บทเรียน” มาเป็นข้อมูลสำคัญ ประเด็นของความท้าทายในการได้มาซึ่งบทเรียนเป็นประเด็นสำคัญ  เพราะการที่ได้ข้อมูลชุดหนึ่งออกมาจากคนทำงาน เราจะแน่ใจได้อย่างไรว่าชุดข้อมูลที่ได้นั้นเป็น “บทเรียน”ที่ใช่จริงๆ มีพลังต่อการเปลี่ยนแปลงการทำงานได้ “บทเรียนที่มีคุณภาพ”  จึงมาจาก “กระบวนการถอดบทเรียนที่มีคุณภาพ” ด้วยตามที่กล่าวมาข้างต้น เราพอจะเห็นความสำคัญของการถอดบทเรียนแล้ว ย้ำอีกครั้งว่า

“เมื่อเราขับเคลื่อนงานพัฒนาต่อไป เราต้องทำได้ดีกว่าเดิม”

การมุ่งผลสำเร็จที่ยอดเยี่ยม เริ่มต้นมองจาก 2 มุมมอง

(งานสำเร็จก็ต้องถอด...ล้มเหลวก็ยิ่งต้องถอด)

         >>> มุมมองที่ 1: มุมมองบทเรียนจากความล้มเหลว...

          “ทำอย่างไรที่จะไม่ให้ทำผิดพลาด ซ้ำแบบเดิม”

           ความผิดพลาดจากเรื่องเดิมๆ เป็นการเดินทางที่ย่ำอยู่กับที่ และถอยหลังลงคลอง เป็นสถานการณ์ที่ขาดทุน และความผิดพลาดไม่ใช่เรื่องบังเอิญ สาเหตุของความผิดพลาดในเรื่องเดิมๆ น่าจะเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

  1. เพราะเราไม่ใส่ใจในสิ่งที่เราทำผิดพลาดลงไป
  2. เพราะว่าเรา “ไม่รู้”
  3. หรือ เรา “รู้” แต่ยอมให้เกิดความผิดพลาด

          ข้อ 1และ ข้อ 2 พอที่จะแก้ไขได้ ถ้ามีการถอดบทเรียนที่ดี เพราะทำให้เราเกิดการเรียนรู้ และเพิ่มความตระหนักในการทำงานเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้น ตั้งคำถามไว้เสมอๆว่า “เราจะทำอย่างไร เพื่อไม่ให้ผิดพลาดซ้ำแบบเดิม”

          >>>มุมมองที่ 2: มุมมองบทเรียนจากความสำเร็จ...

เมื่อการทำงานนั้นๆเกิดความสำเร็จ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยใดๆก็ตาม ย่อมมี “บทเรียน” ซ่อนอยู่เบื้องหลังความสำเร็จนั้น นักถอดบทเรียนจะต้องค้นหาให้ได้ว่า ความสำเร็จนี้มาจากปัจจัยเงื่อนไข อะไร? ความสำเร็จนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานอะไร?  และตั้งคำถามต่อว่า “จะทำให้ดีขึ้นกว่าเดิม ทำได้อย่างไร  

การถอดบทเรียนจึงเป็นการเรียนรู้จากผลลัพธ์ของงาน ไม่ว่าจะสำเร็จ หรือ ล้มเหลว ล้วนแล้วแต่เป็น “บทเรียนที่มีคุณภาพสูง”(high-quality lesson learned) ที่นำสู่การตัดสินขับเคลื่อนการพัฒนาต่อเพื่อการบรรลุเป้าหมาย (Achieving Goals) ที่มีประสิทธิภาพสูง

ในมุมการทำงานของผมในฐานะนักจัดการความรู้มองว่า 

การถอดบทเรียนควรนำเสนอผลงานถอดบทเรียน 2ประเภท ดังนี้

          ประเภทที่ 1 

งานถอดบทเรียนที่ได้ ใจความสำคัญ หรือ บทความย่อ  (ตามความหมายของภาษาอังกฤษ) เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ ใจความสำคัญนี้คือ “บทเรียน” อันเป็นสาระสำคัญ นำเสนอให้กับผู็บริหาร หรือ เผยเเพร่สาธารณะ (ในกรณีที่เป็นผู้ที่รู้รายละเอียดทั้งหมดเเล้ว) งานถอดบทเรียนประเภทนี้นิยาม  สรุป สั้น กระชับ มุ่งในการนำไปใช้ 


         ประเภทที่ 2 


งานถอดบทเรียนที่ให้ความสำคัญกับเรื่องราวอันประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมที่เป็นบริบท (Context) ที่เกี่ยวข้องเป็นที่ไปที่มา เพื่อให้เห็นภาพกระบวนการที่ชัดเจน อ่านเพลิดเพลิน สนุกและมีเนื้อหาสาระนำไปประยุกต์ในการทำงานต่อไปได้ จึงมักเรียกว่าการถอดบทเรียนแบบนี้ว่า “ถอดบทเรียนแล้วเขียนเป็นหนังสือ” งานถอดบทเรียนประเภทนี้ มีความเหมาะสมในการเผยเเพร่สาธารณะ เพื่อการเรียนรู้ในวงกว้าง  เเต่ใช้การเรียบเรียง การเขียนที่ใช้พลังมากกว่า

ท่านจะเลือกนำเสนองานถอดบทเรียน ประเภทใหน ...ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความมุ่งหมายของนักถอดบทเรียนแล้วว่า เราต้องการผลลัพธ์แบบไหน? ตัวกระบวนการถอดบทเรียนไม่ต่าง แต่ต่างกันตรงกระบวนการจัดการข้อมูลเพื่อการสื่อสาร โดยทั่วไปนิยมการถอดบทเรียนแล้วสื่อสารออกมาเป็นหนังสือที่ชวนอ่านและเพลิดเพลิน

ในบทความที่เขียนของผม จะเน้นประเภทที่ สอง เป็นหลักครับ


ติดตามตอนต่อไป..

ถอดบทเรียน ตอนที่ 3 (มีทั้งหมด 9 ตอน)

-----------------------

ท่านสามารถ Download เอกสารชุดความรู้ถอดบทเรียนฉบับย่อ "ถอดบทเรียน...ไม่ยาก" จาก QR Code นี้

..............................................................

สามารถเเลกเปลี่ยน พูดคุยกับผู้เขียนได้โดยตรงที่

จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

e-mail : [email protected]

LINE : thaicoach



หมายเลขบันทึก: 631838เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2017 17:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2018 08:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท