ความยากจนในสังคมและภาคเกษตรกรรมของไทย (๑๕) : สังคมที่ขาด “จิตวิญญาณ???”


ทำงานแบบหุ่นยนต์ ที่ปราศจากจิตวิญญาณ วิเคราะห์ วิจารณ์
  

หลังจากผมนำเสนอความคิด ดังๆ ของผม ด้าน ความยากจนในสังคมและภาคเกษตรกรรมของไทย ที่สะท้อนเชิงการขาดความรู้ สติ และปัญญา แล้ว

  

ผมก็มาคิดต่อว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

  

ผมก็เลยไปทบทวนถึง

  

(๑)           ภาคธุรกิจ ที่มีการวางแผนชัดเจนจึงสำเร็จ

 

·        ทั้งระบบทรัพยากร ที่คุณ Little Jazz \(^o^)/  ได้กรุณาให้ข้อมูลเสริมว่าระบบธุรกิจกำไรเพียง ๔๐-๖๐ % ในสินค้าแต่ละชิ้นก็อยู่ได้แล้ว

·        ในขณะที่ภาคเกษตรกรรม กำไรที่ได้ในแต่ละชิ้นต่อปี เป็นหลายร้อยเท่าก็ยังอยู่ไม่ได้

·        แสดงว่า เขาได้มีการวิเคราะห์

                                                           

  i.      ปัญหา

                                                         

  ii.      แนวทางการแก้ปัญหา

                                                       

  iii.      และการกำหนดลำดับความสำคัญในการทำงาน

ดังที่อาจารย์วิบุล วงษ์ภูวรักษ์ แห่ง มอ. ได้กรุณาแถลงขยายความให้เข้าใจมาโดยตลอด

 

 และ

 (๒)           เมื่อผมเข้าไปสัมผัสระบบราชการ ผมจะมีความรู้สึกว่ามีการทำงานแบบ ธุระไม่ใช่ทำแค่ พอใครว่าไม่ได้ หรือ พอมีเหตุผล ไปแก้ตัว ก็พอแล้ว

·        ยกเว้นตอนความดีความชอบ จึงจะอ้างกันเต็มที่ เช่น รับผิดชอบในเขต ๕ จังหวัด จึงสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็น ซี ๙  อะไรประมาณนั้น 

เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองกรณี (โดยขอข้ามเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังไปก่อน)  

ผมพอจะนึกออกมาได้ประเด็นหนึ่งคือ

  

การทำงานแบบปราศจากจิตวิญญาณ

  

·        จะว่าไม่จริงใจก็ไม่เชิง

 

o       แต่คล้ายๆว่า ไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น

o       เพราะตัวเองมีข้ออ้างต่างๆนาๆ เป็นเกราะป้องกันแล้ว

o       แถมมี พรบ. สารพัดฉบับมาอ้าง

o       เพื่อตัวเองจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นใดๆทั้งสิ้น 

เมื่อผู้ที่พอจะมีโอกาสในการช่วยกันแก้ปัญหามาปัดความรับผิดชอบซะเอง 

ไม่ว่าจะเป็น

 

·        การพัฒนาการศึกษา (ที่แปลว่า การพัฒนาคน)

·        การพัฒนาการเกษตร (ที่แปลว่า การกำหนดเขตพื้นที่ดิน เพื่อเลี้ยงตัวเอง)

·        การพัฒนาสังคม (ที่แปลว่า การอยู่ร่วมกัน อย่างมีสุข) และ

·        การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ที่แปลว่า ระบบนิเวศน์ ที่น่าอยู่ 

เหลือเพียง

·        การแจกกระดาษเปื้อนหมึก (แทนการพัฒนาการศึกษา)

·        การส่งเสริมการใช้สารเคมี และพืชสัตว์พันธุ์ล้างผลาญ (แทนการพัฒนาการเกษตร)

·        การหาทางให้ชาวบ้านเป็นหนี้(แทนการพัฒนาสังคม)

·        การเอากล้าไม้อายุ ๓ เดือนไปฝังดินทิ้ง (แล้วก็เรียกว่าปลูกป่า) (แทนการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)  

ซึ่งแสดงถึงการคิด และทำงาน 

แบบหุ่นยนต์ ที่ปราศจากจิตวิญญาณ วิเคราะห์ วิจารณ์ ว่าการทำเช่นนี้  

·        ใคร ได้อะไร ได้แล้วเอาไปทำไม

·        ประเทศชาติ ได้อะไร เสียอะไร คุ้มค่าไหม

·        และ มีข้อดี และข้อเสีย รวมทั้งทางเลือก อะไรบ้าง

·        จะทำดีกว่านี้ได้ไหม 

แล้วประเทศชาติจะหวังพึ่งใครได้ครับ 

ก็คงต้องทุกข์ยาก และเป็นเหยื่อคนที่เขาเก่งกว่าเราอยู่เรื่อยไปละครับ   
หมายเลขบันทึก: 127798เขียนเมื่อ 13 กันยายน 2007 16:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)
  • กราบสวัสดีครับอาจารย์
  • ผมกระหายและใคร่ติดตามอ่านเป็นอย่างยิ่งครับ  เพราะได้ความรู้และมุมมองของชีวิตเพิ่มขึ้น
  • ขอบพระคุณครับ
P
1. นายสายลม อักษรสุนทรีย์
เมื่อ พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 17:17
แหมมาเร็วแบบกามนิตหนุ่มเลยนะครับ
ด้วยความยินดีครับที่ยังมีคนสนใจเรื่องของชาติครับ
เป็นพันธมิตรกันนานๆนะครับ
  • มะเร็งร้ายเหล่าที่เราๆท่านๆกล่าวถึงนี้ เขาไม่เคยคิดหรอกครับว่า  เมื่อเขาลุกลามไปจนสุดที่ความสามารถของร่างกายจักทนได้  พวกเขาก็ "จักต้องตายไปพร้อมกับกายนั้น"  หรืออุปมาได้ว่า "ไม่เห็นโลงไม่หลั่งน้ำตา"
  • สวัสดีครับ

ครูวุฒิครับ

มีคนบอกว่า

เมื่อยืนกลางถนนหลวง แต่ไม่อยากให้รถสิบล้อชนให้ปิดหูปิดตาเอาไว้

เชื่อไหมครับ

นี่แหละเมืองไทย

    สวัสดีครับ  อาจารย์

  • อ่านแล้วภูมิใจในตัวอาจารย์มาก
  • จิตวิณญานความเป็นมนุษย์เต็มเปี่ยม
  • ถ้าวงผมพูดเรื่องที่อาจารย์เขียนผมจะมีอารมณ์
  • ด่าพวกรักชาติแต่ปาก อ้างประชาชน
  • มาตักตวงผลประโยชน์
  • เกษตรกรต้องมาพักค้างหน้าทำเนียบทุกสมัย
  • ขอบคุณมาก
  • เป็นคำแนะนำที่สุดยอดจริงๆครับ  มิน่าล่ะ  หลายคนเขาถึงบอกว่า "ประเทศไทยไม่ใช่ของเราคนเดียว" 
  • สำหรับผมก็เคยถามตัวเองเสมอนะว่า "มันกงการอะไรของเจ้า"  บางที่ก็บอกตัวเองว่า "เลี้ยงลูกเลี้ยงเมียตัวเองให้รอดเถอะ" แต่ที่สุด เมื่อเห็นสภาพความเป็นจริงและแนวโน้มของปัญหาแล้ว ก็ทำใจไม่ได้  ต้อง"คิดดังๆ" เหมือนท่านอาจารย์ครับ
  • สวัสดีครับ

ครูวุฒิครับ

การเอาตัวให้รอดก็เป็นเรื่องสำคัญครับ

แต่ไม่ใช่แค่เอาตัวรอด แต่จะต้องรอดเพื่อที่จะไปช่วยคนอื่นได้นะครับ

สองลักษณะนี้มีส่วนคล้ายในเบื่องต้น

แต่ต่างในเบื้องปลาย

อย่าไปฟังพวกที่ทำให้เราเสียกำลังใจเลยครับ

โลกนี้ เรามีคนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ

โดยนัยนี้ ถ้ามีการออกเสียงประชามติกันทั่วโลก จะไม่เหลือคนดีในโลกนี้เลย

เราต้องเลือกฟัง

เราต้องเลือกเชื่อ

เราต้องเลือกทำ

ในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อคุณค่าของชีวิตของชีวิตของเราเอง

และคุณค่าที่แท้จริงก็คือ การทำเพื่อสังคม ตามรอยวีรบุรุษ วีรสตรีที่เป็นที่นับถือ ก็เพราะเขาทำเพื่อสังคม

นี่แหละชีวิตที่ "ยั่งยืน" ไม่มีวันตาย หรืออยู่ได้นาน

แบบ

อยู่อย่างมีความหมาย ตายอย่างมีคุณค่าหรือ เงยไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ดีกว่าไหมครับ

 

P

ดร. แสวง รวยสูงเนิน

ยอมรับว่า อาจารย์บ่นได้ตรงประเด็นและชัดเจนจริงๆ...

สำนวนไทยมีว่า

  • บ้าหอบฟาง
  • ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

ซึ่งพวกบ้าหอบฟาง หรือพวกมีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด โดยมากมักเป็นนักอุดมคติ ซึ่งให้ความสำคัญต่อจิตวิญญาณมากกว่าความสุขทางเนื้อหนัง....

อาตมาก็เข้ามาร่วม บ่น กับอาจารย์เล็กน้อย...

เจริญพร 

  • ยังไงๆก็คงต้องทำไปเต็มที่เท่าที่ "ใจสั่งทำ" ล่ะครับ  เพราะลูกหลายเหลนโหลนในอนาคตกำลังจะไม่มีที่ยืนกันแล้ว และเราก็ "เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง" ขอให้ได้ทำในแบบที่ "จอมปราชญ์แห่งแผ่นดินไทย" พระองค์ได้ทรงทำอย่างเต็มที่ให้เราดูเป็นตัวอย่างแล้ว (แม้ได้เศษเสี้ยวธุลีหนึ่งก็ยังดีครับ)
  • สวัสดีครับ
  • ตัวเลขกำไรสินค้าต่อชิ้นน่าจะพิมพ์ผิดนะครับ
  • ควรเป็น "4 % - 6 % ต่อชิ้น"
  • เท่าที่เคยได้ยินมาจากคนค้าขาย สินค้าในชีวิตประจำวันที่ยอดขายสูง ๆ ตัวเลขอาจจะไม่ถึง 2 % ด้วยครับ
P
5. Little Jazz \(^o^)/
เมื่อ อา. 09 ก.ย. 2550 @ 01:37 [
378110] [ลบ]
ข้อได้เปรียบในระบบธุรกิจที่มีมากกว่าภาคเกษตรคือการบริหารจัดการด้านการเงินค่ะ เช่น ลูกค้าสั่งซื้อสินค้ามาก็ต้องเปิด LC เราสามารถนำไปเป็นหลักประกันในการกู้ธนาคารเพื่อดำเนินการผลิตสินค้า โดยไม่ต้องมีเงินทุนสำรองจำนวนมากในการผลิต หรือสามารถเก็บเงินเป็นเฟดได้ ประมาณนั้นค่ะ เวลาลูกค้าจ่ายเช็คมาถ้าลงล่วงหน้ามานาน เงินหมุนไม่ทันก็นำไปขายลดเปอร์เซ็นต์ได้ อยู่ที่ว่าเราจะยอมรับน้อยลงอีกนิดมั้ย

และมีการคิดต้นทุน ทั้งต้นทุนคงที่และแปรผันเรียบร้อยหมด ค่าแรง ค่าขนส่ง ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานก็ต้องนำมาคิด ค่าเช่าอาคาร ค่าน้ำ ค่าไฟ เบ็ดเตล็ด คือคิดทุกอย่างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายจริงเอามารวมหมด แล้วค่อยคำนวณหาราคาสินค้าที่จะขายออกไป มันถึงปลอดภัย ไม่มีค่าใช้จ่ายเซอร์ไพร์สมาทำให้ต้องปวดหัว กำไรที่ตั้งไว้ก็เป็นไปตามเป้าหมาย ปกติต้นทุนที่ประมาณการณ์มาเป็นอย่างดีมักจะคาดเคลื่อนไม่เกิน 5-10% ที่หนูทำอยู่ก็กำไรราวๆ 40-60% แล้วแต่ประเภทของงาน
อาจารย์วิบุลครับ
ผมอ้างมาจากตรงนี้ครับ
ยังไงขอให้คุณ Little Jazz
ช่วยยืนยันด้วยครับ
ขอบคุณครับ
P
8. BM.chaiwut
เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 02:22
 กราบนมัสการท่านมหา มาดึกเลยนะครับ
เวลาวิกาลยังมาโปรดสัตว์ อีกหรือครับท่าน
๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕  ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕
(หัวเราะแบบไทยๆครับ)
กราบขอบพระคูณท่านครับ
วันนี้รังสีอำมหิตน่าจะแรงนะครับ
จึงไปถึงญาณของท่าน ทำให้ได้มาอ่านเรื่องนี้
ผมกำลังจะพัฒนาตัวเป็นนักบ่นตรี และหวังว่าอีกสักพักจะขอเข้าเรียนนักบ่นโทครับ กับท่านครับ
อ่านแล้วกระทบใจมากค่ะ ภาคธุรกิจที่ทำงาน ส่งสินค้าไปทางต่างประเทศ ลูกค้าจ่ายเงิน แบบ l/c คือกำหนดเงื่อนไขทุกอย่างอยู่ในเอกสารนี้ ถ้าผู้ขายทำตามข้อตกลง เวลานำเอกสาร/ตั๋วยื่นแบงค์ ก็ปล่อยเราได้ แต่เวลาไปรับ l/c ผู้ขายก็ต้องเสียเงินค่ารับ l/c 800บาท แล้วนำเข้าเครื่องจักร วัสดุอื่น ซึ่งหนูมองว่าค่าใช้จ่ายเยอะมากพอสมควร ภาคเกษตรกรรมของไทย สามรถอยู่ได้หากรัฐบาลและเอกชนเข้ามาช่วยเหลืออย่างจริงใจและไม่เอาเปรียบ ไม่กดราคา ภาคธุรกิจส่งออกยังต้องพึงพาชาวบ้าน ชาวประมงในการจับปลา เพื่อนำปลามาขายให้ต่างชาติ ถ้าไม่มีชาวประมง ไม่มีเกษตรกรรมลองคิดดู ภาคธุรกิจและคนไทยทั้งประเทศอยู่ไม่ได้
P
13. ิberger0123
เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 15:00
ครับ เป็นข้อมูลที่ทุกฝ่ายต้องนำมาคิดครับว่าเราจะพัฒนาแบบหุ่นยนต์นี้ได้อย่างไร
การไม่รู้ร้อนรู้หนาวควรจะหมดไปได้หรือยัง
หรือว่าธุระไม่ใช่ดีกว่า สบายกว่า
ใครจะลำบากก็ช่วยไม่ได้ อย่างนั้นหรือครับ
ขอบคุณมากครับ

ผมเห็นด้วยกับบทความของอาจารย์ครับ อ่านแล้วผมรู้สึกคล้อยตามมาก ผมคิดว่าคนเรามีเป้าหมายที่แตกต่างกันใช่หรือไม่ครับ ในแง่ของการพัฒนาคนเราจะเริ่มที่การพัฒนาตัวเองก่อน หลังจากนั้นน่าจะมาพัฒนาองค์กร ประเทศชาติต่อไป แต่ผมยังมองไม่เห็นจุดนั้นเลยครับ เห็นแต่พัฒนาตัวเองอย่างเดียว สิ่งอื่นไม่เกี่ยว นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์หรือเปล่าครับอาจารย์ แล้วเมื่อไหร่ประเทศชาติจึงจะเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริงสักที

เรื่องนี้อยู่ที่ระดับจิตสำนึกของบุคคลครับ

ที่เราอาจต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก

และ พยายามช่วนกันประคัประคองให้สิ่งแวดล้อม เอื้ออำนวยให้ช่วยสนับสนุนให้เขาได้แสดงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มากกว่า ส่วนตัว

ก็คงประมาณนั้นครับ

  • น่าสงสารประเทศชาติคะ..เรามาผิดทางทั้งระบบคะ
  • ต่างฝ่ายต่างคำนึงแต่ผลประโยชน์ของตนคะ
  • เลยละเลยต่อส่วนรวม...น่าเป็นห่วงจริงๆนะคะ

 

สาเหตุหลักอยู่ที่

  • ทุกคนมองแค่เอาตัวรอด
  • ไม่ค่อยพยายามเข้าใจปัญหาองค์รวม
  • ทำงานแบบขลุกขลิก
  • ใครเดือดร้อนก็ทนเอา มีชีวิตก็ดิ้นไปเรื่อยๆ
  • แบบไม่หาทางแก้ปัญหาแบบเป็นระบบนะครับ

ทำอย่างไรสินค้าเกษตร จะคิดต้นทุน กำไร แบบสินค้าอุตสาหกรรมได้ เท่าที่เป็นอยู่มันขาดทุน เพราะระบบขายมันไม่ทัดเทียมกัน แต่อยู่สังคมเดียวกัน ถ้าปลุกกินเยอะ สินค้าเกษตรถึงจะขึ้นราคา เอาที่ดินมาปลูกป่า ลดพื้นที่เพาะปลูก สินค่าเกษตรถึงจะขึ้น

ครูบาครับ

เป้หมายตรงนั้นที่เห็นมีอยู่ทำจริงๆก็ต้องรัฐหนุนช่วบครับ

ในสถานการณ์ปัจจุบันผมไม่กล้าแม้แต่จะคิดครับ

สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ดีที่สุดก็คงต้องปลูกกินนั่นแหละครับ

ผมว่าในทางออกที่ริบหรี่ ก็จะพอมองเห็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี่แหละครับ

  • แต่ทางรัฐส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจ ไม่เคยคิด ไม่เคยทำ นึกไม่ออก
  • นักวิชาการยังวิ่งสายเดี่ยว มองไม่เห็นภาพรวม
  • ชาวบ้านยังหลงวิ่งเป็นแมลงเม่าเข้ากองไฟ
  • ต่างชาติกำลังเฝ้าดุว่าจริง ไม่จริง

ผมยังมองไม่เห็นทางที่สดใสกว่านี้ครับ

ถือว่ากรรมใครกรรมมันไปก่อนแล้วกัน

จนกว่าจะหาทางออกได้จริงๆ ครับ

 

ผมลองไตร่ตรองดู ฉุกใจว่า ตัวเลขอาจขึ้นกับการตีความได้เหมือนกันครับ ว่ากำลังคิดจากฐานอะไร จึงลองค้นข้อมูลมาเสริม

ข้อมูลที่ผมพูดถึงก่อนหน้า ฟังคนค้าคนขาย ว่ามาอีกที จริงเท็จไม่แจ้ง 

ลองค้นข้อมูลดู เจอกรณีที่อาจยกมาเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการค้าปลีกปัจจุบัน จากข้อมูลที่เผยแพร่สาธารณะของ ตลท. ได้

ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างเป็นข้อมูลของ บริษัท CP7-11 (ที่เรารู้จักในนามร้านเซเว่นฯ) ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างของการค้าปลีกโดยทั่วไปได้ เพราะยอดรายรับของบริษัทเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มพาณิชย์

ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตัวเลข กำไรสุทธิหลังหักภาษี ต่อ ยอดขาย จะอยู่ระหว่าง 0.1 % - 4.6 %

แต่หากดูแต่กำไรต่อหน่วยสินค้า ตัวเลขใกล้เคียงสุด จะแสดงไว้ว่า ยอดขาย 2 ไตรมาส 2550 จะเป็น 53,769 หมื่นล้านบาท และ ต้นทุนสินค้าและบริการ 42,296 หมื่นล้านบาท ซึ่งเทียบเท่ากำไรขั้นต้นก่อนหักค่าใช้จ่ายอื่น ประมาณ 21 %

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่ละเอียดลึกซื้ง

เป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

กำลังประมวลผล...

ความรู้เพื่อชีวิต ค้นหาดร. แสวง รวยสูงเนิน เมนูรวม

หน้าแรก

อนุทิน

รายการอนุทินล่าสุด

บล็อก

บันทึกล่าสุด

บันทึกที่ได้รับความคิดเห็นล่าสุด

บันทึกสุ่มแสดง

บล็อกล่าสุด

ไฟล์อัลบั้ม

ไฟล์ล่าสุด

ไฟล์ที่ได้รับความคิดเห็นล่าสุด

ไฟล์สุ่มแสดง

คำถาม

คำถามล่าสุด

คำถามที่ตอบล่าสุด

คำถามที่ได้รับความคิดเห็นล่าสุด

คำถามสุ่มแสดง

แพลนเน็ตล่าสุด

เว็บอ้างอิงล่าสุด

สมาชิกล่าสุด

ความคิดเห็นล่าสุด

สมาชิก

สมัครสมาชิก

เข้าระบบ

เมนูของ sawaengkku

ศูนย์รวมข้อมูล ดร. แสวง รวยสูงเนิน

บล็อก ความรู้เพื่อชีวิต

แสดง

สารบัญ

รายการคำสำคัญที่ใช้

เรียนประวัติศาสตร์จากของเก่า

แสดง

สารบัญ

รายการคำสำคัญที่ใช้

แพลนเน็ต (รวมบล็อก)

KM Research

Blog ที่น่าสนใจ

มหาชีวาลัย

VIP

UKM

พันธมิตร

รวมดาราบล็อก

ดาวรุ่ง

อนุทิน

ไฟล์อัลบั้ม

ถามตอบ

เว็บอ้างอิง

ประวัติ

อีเมลติดต่อ

ความคิดเห็นล่าสุด

ดูความเคลื่อนไหวย้อนหลัง

ดร. แสวง รวยสูงเนิน

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

อีเมลติดต่อ

มีต่อ »

home / blog / sawaengkku / 127798

อ่าน: 445 ความยากจนในสังคมและภาคเกษตรกรรมของไทย (๑๕) : สังคมที่ขาด “จิตวิญญาณ???”

ทำงานแบบหุ่นยนต์ ที่ปราศจากจิตวิญญาณ วิเคราะห์ วิจารณ์

หลังจากผมนำเสนอความคิด “ดังๆ” ของผม ด้าน ความยากจนในสังคมและภาคเกษตรกรรมของไทย ที่สะท้อนเชิงการขาดความรู้ สติ และปัญญา แล้ว

ผมก็มาคิดต่อว่า ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น

ผมก็เลยไปทบทวนถึง

(๑) ภาคธุรกิจ ที่มีการวางแผนชัดเจนจึงสำเร็จ

· ทั้งระบบทรัพยากร ที่คุณ Little Jazz \(^o^)/ ได้กรุณาให้ข้อมูลเสริมว่าระบบธุรกิจกำไรเพียง ๔๐-๖๐ % ในสินค้าแต่ละชิ้นก็อยู่ได้แล้ว

· ในขณะที่ภาคเกษตรกรรม กำไรที่ได้ในแต่ละชิ้นต่อปี เป็นหลายร้อยเท่าก็ยังอยู่ไม่ได้

· แสดงว่า เขาได้มีการวิเคราะห์

i. ปัญหา

ii. แนวทางการแก้ปัญหา

iii. และการกำหนดลำดับความสำคัญในการทำงาน

ดังที่อาจารย์วิบุล วงษ์ภูวรักษ์ แห่ง มอ. ได้กรุณาแถลงขยายความให้เข้าใจมาโดยตลอด

และ

(๒) เมื่อผมเข้าไปสัมผัสระบบราชการ ผมจะมีความรู้สึกว่ามีการทำงานแบบ “ธุระไม่ใช่” ทำแค่ “พอใครว่าไม่ได้” หรือ “พอมีเหตุผล ไปแก้ตัว” ก็พอแล้ว

· ยกเว้นตอนความดีความชอบ จึงจะอ้างกันเต็มที่ เช่น “รับผิดชอบในเขต ๕ จังหวัด” จึงสมควรได้รับแต่งตั้งให้เป็น ซี ๙ อะไรประมาณนั้น

เมื่อเปรียบเทียบทั้งสองกรณี (โดยขอข้ามเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังไปก่อน)

ผมพอจะนึกออกมาได้ประเด็นหนึ่งคือ

การทำงานแบบปราศจากจิตวิญญาณ

· จะว่าไม่จริงใจก็ไม่เชิง

o แต่คล้ายๆว่า ไม่สนใจว่าจะเกิดอะไรขึ้น

o เพราะตัวเองมีข้ออ้างต่างๆนาๆ เป็นเกราะป้องกันแล้ว

o แถมมี พรบ. สารพัดฉบับมาอ้าง

o เพื่อตัวเองจะได้ไม่ต้องรับผิดชอบผลที่เกิดขึ้นใดๆทั้งสิ้น

เมื่อผู้ที่พอจะมีโอกาสในการช่วยกันแก้ปัญหามาปัดความรับผิดชอบซะเอง

ไม่ว่าจะเป็น

· การพัฒนาการศึกษา (ที่แปลว่า “การพัฒนาคน”)

· การพัฒนาการเกษตร (ที่แปลว่า “การกำหนดเขตพื้นที่ดิน” เพื่อเลี้ยงตัวเอง)

· การพัฒนาสังคม (ที่แปลว่า “การอยู่ร่วมกัน” อย่างมีสุข) และ

· การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ที่แปลว่า “ระบบนิเวศน์” ที่น่าอยู่

เหลือเพียง

· การแจกกระดาษเปื้อนหมึก (แทนการพัฒนาการศึกษา)

· การส่งเสริมการใช้สารเคมี และพืชสัตว์พันธุ์ล้างผลาญ (แทนการพัฒนาการเกษตร)

· การหาทางให้ชาวบ้านเป็นหนี้(แทนการพัฒนาสังคม)

· การเอากล้าไม้อายุ ๓ เดือนไปฝังดินทิ้ง (แล้วก็เรียกว่าปลูกป่า) (แทนการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)

ซึ่งแสดงถึงการคิด และทำงาน

แบบหุ่นยนต์ ที่ปราศจากจิตวิญญาณ วิเคราะห์ วิจารณ์ ว่าการทำเช่นนี้

· ใคร ได้อะไร ได้แล้วเอาไปทำไม

· ประเทศชาติ ได้อะไร เสียอะไร คุ้มค่าไหม

· และ มีข้อดี และข้อเสีย รวมทั้งทางเลือก อะไรบ้าง

· จะทำดีกว่านี้ได้ไหม

แล้วประเทศชาติจะหวังพึ่งใครได้ครับ

ก็คงต้องทุกข์ยาก และเป็นเหยื่อคนที่เขาเก่งกว่าเราอยู่เรื่อยไปละครับ

หมวดหมู่: เรื่องทั่วไป

คำสำคัญ: ความรู้เพื่อชีวิต ความยากจน มหาชีวาลัยอีสาน พัฒนบูรณาการศาสตร์ km ธรรมชาติ kmr

สร้าง: พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 16:54 แก้ไข: พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 16:54 ขนาด: 26226 ไบต์

ความคิดเห็น

1. นายสายลม อักษรสุนทรีย์

เมื่อ พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 17:17

383769 [ลบ]

กราบสวัสดีครับอาจารย์

ผมกระหายและใคร่ติดตามอ่านเป็นอย่างยิ่งครับ เพราะได้ความรู้และมุมมองของชีวิตเพิ่มขึ้น

ขอบพระคุณครับ

2. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 17:26

383787 [ลบ]

1. นายสายลม อักษรสุนทรีย์

เมื่อ พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 17:17

แหมมาเร็วแบบกามนิตหนุ่มเลยนะครับ

ด้วยความยินดีครับที่ยังมีคนสนใจเรื่องของชาติครับ

เป็นพันธมิตรกันนานๆนะครับ

3. ครูวุฒิ

เมื่อ พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 19:51

383952 [ลบ]

มะเร็งร้ายเหล่าที่เราๆท่านๆกล่าวถึงนี้ เขาไม่เคยคิดหรอกครับว่า เมื่อเขาลุกลามไปจนสุดที่ความสามารถของร่างกายจักทนได้ พวกเขาก็ "จักต้องตายไปพร้อมกับกายนั้น" หรืออุปมาได้ว่า "ไม่เห็นโลงไม่หลั่งน้ำตา"

สวัสดีครับ

4. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 20:18

384008 [ลบ]

ครูวุฒิครับ

มีคนบอกว่า

เมื่อยืนกลางถนนหลวง แต่ไม่อยากให้รถสิบล้อชนให้ปิดหูปิดตาเอาไว้

เชื่อไหมครับ

นี่แหละเมืองไทย

5. เกษตรยะลา

เมื่อ พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 20:19

384010 [ลบ]

สวัสดีครับ อาจารย์

อ่านแล้วภูมิใจในตัวอาจารย์มาก

จิตวิณญานความเป็นมนุษย์เต็มเปี่ยม

ถ้าวงผมพูดเรื่องที่อาจารย์เขียนผมจะมีอารมณ์

ด่าพวกรักชาติแต่ปาก อ้างประชาชน

มาตักตวงผลประโยชน์

เกษตรกรต้องมาพักค้างหน้าทำเนียบทุกสมัย

ขอบคุณมาก

6. ครูวุฒิ

เมื่อ พฤ. 13 ก.ย. 2550 @ 23:20

384278 [ลบ]

เป็นคำแนะนำที่สุดยอดจริงๆครับ มิน่าล่ะ หลายคนเขาถึงบอกว่า "ประเทศไทยไม่ใช่ของเราคนเดียว"

สำหรับผมก็เคยถามตัวเองเสมอนะว่า "มันกงการอะไรของเจ้า" บางที่ก็บอกตัวเองว่า "เลี้ยงลูกเลี้ยงเมียตัวเองให้รอดเถอะ" แต่ที่สุด เมื่อเห็นสภาพความเป็นจริงและแนวโน้มของปัญหาแล้ว ก็ทำใจไม่ได้ ต้อง"คิดดังๆ" เหมือนท่านอาจารย์ครับ

สวัสดีครับ

7. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 02:04

384382 [ลบ]

ครูวุฒิครับ

การเอาตัวให้รอดก็เป็นเรื่องสำคัญครับ

แต่ไม่ใช่แค่เอาตัวรอด แต่จะต้องรอดเพื่อที่จะไปช่วยคนอื่นได้นะครับ

สองลักษณะนี้มีส่วนคล้ายในเบื่องต้น

แต่ต่างในเบื้องปลาย

อย่าไปฟังพวกที่ทำให้เราเสียกำลังใจเลยครับ

โลกนี้ เรามีคนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ

โดยนัยนี้ ถ้ามีการออกเสียงประชามติกันทั่วโลก จะไม่เหลือคนดีในโลกนี้เลย

เราต้องเลือกฟัง

เราต้องเลือกเชื่อ

เราต้องเลือกทำ

ในสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อคุณค่าของชีวิตของชีวิตของเราเอง

และคุณค่าที่แท้จริงก็คือ การทำเพื่อสังคม ตามรอยวีรบุรุษ วีรสตรีที่เป็นที่นับถือ ก็เพราะเขาทำเพื่อสังคม

นี่แหละชีวิตที่ "ยั่งยืน" ไม่มีวันตาย หรืออยู่ได้นาน

แบบ

อยู่อย่างมีความหมาย ตายอย่างมีคุณค่าหรือ เงยไม่อายฟ้า ก้มหน้าไม่อายดิน ดีกว่าไหมครับ

8. BM.chaiwut

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 02:22

384388 [ลบ]

ดร. แสวง รวยสูงเนิน

ยอมรับว่า อาจารย์บ่นได้ตรงประเด็นและชัดเจนจริงๆ...

สำนวนไทยมีว่า

บ้าหอบฟาง

ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด

ซึ่งพวกบ้าหอบฟาง หรือพวกมีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด โดยมากมักเป็นนักอุดมคติ ซึ่งให้ความสำคัญต่อจิตวิญญาณมากกว่าความสุขทางเนื้อหนัง....

อาตมาก็เข้ามาร่วม บ่น กับอาจารย์เล็กน้อย...

เจริญพร

9. ครูวุฒิ

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 07:03

384443 [ลบ]

ยังไงๆก็คงต้องทำไปเต็มที่เท่าที่ "ใจสั่งทำ" ล่ะครับ เพราะลูกหลายเหลนโหลนในอนาคตกำลังจะไม่มีที่ยืนกันแล้ว และเราก็ "เกิดมาแล้วชาติหนึ่ง" ขอให้ได้ทำในแบบที่ "จอมปราชญ์แห่งแผ่นดินไทย" พระองค์ได้ทรงทำอย่างเต็มที่ให้เราดูเป็นตัวอย่างแล้ว (แม้ได้เศษเสี้ยวธุลีหนึ่งก็ยังดีครับ)

สวัสดีครับ

10. wwibul

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 08:42

384515 [ลบ]

ตัวเลขกำไรสินค้าต่อชิ้นน่าจะพิมพ์ผิดนะครับ

ควรเป็น "4 % - 6 % ต่อชิ้น"

เท่าที่เคยได้ยินมาจากคนค้าขาย สินค้าในชีวิตประจำวันที่ยอดขายสูง ๆ ตัวเลขอาจจะไม่ถึง 2 % ด้วยครับ

11. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 14:07

385032 [ลบ]

5. Little Jazz \(^o^)/

เมื่อ อา. 09 ก.ย. 2550 @ 01:37 [378110] [ลบ]

ข้อได้เปรียบในระบบธุรกิจที่มีมากกว่าภาคเกษตรคือการบริหารจัดการด้านการเงินค่ะ เช่น ลูกค้าสั่งซื้อสินค้ามาก็ต้องเปิด LC เราสามารถนำไปเป็นหลักประกันในการกู้ธนาคารเพื่อดำเนินการผลิตสินค้า โดยไม่ต้องมีเงินทุนสำรองจำนวนมากในการผลิต หรือสามารถเก็บเงินเป็นเฟดได้ ประมาณนั้นค่ะ เวลาลูกค้าจ่ายเช็คมาถ้าลงล่วงหน้ามานาน เงินหมุนไม่ทันก็นำไปขายลดเปอร์เซ็นต์ได้ อยู่ที่ว่าเราจะยอมรับน้อยลงอีกนิดมั้ย

และมีการคิดต้นทุน ทั้งต้นทุนคงที่และแปรผันเรียบร้อยหมด ค่าแรง ค่าขนส่ง ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินงานก็ต้องนำมาคิด ค่าเช่าอาคาร ค่าน้ำ ค่าไฟ เบ็ดเตล็ด คือคิดทุกอย่างที่จะเป็นค่าใช้จ่ายจริงเอามารวมหมด แล้วค่อยคำนวณหาราคาสินค้าที่จะขายออกไป มันถึงปลอดภัย ไม่มีค่าใช้จ่ายเซอร์ไพร์สมาทำให้ต้องปวดหัว กำไรที่ตั้งไว้ก็เป็นไปตามเป้าหมาย ปกติต้นทุนที่ประมาณการณ์มาเป็นอย่างดีมักจะคาดเคลื่อนไม่เกิน 5-10% ที่หนูทำอยู่ก็กำไรราวๆ 40-60% แล้วแต่ประเภทของงาน

อาจารย์วิบุลครับ

ผมอ้างมาจากตรงนี้ครับ

ยังไงขอให้คุณ Little Jazz

ช่วยยืนยันด้วยครับ

ขอบคุณครับ

12. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 14:18

385062 [ลบ]

8. BM.chaiwut

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 02:22

กราบนมัสการท่านมหา มาดึกเลยนะครับ

เวลาวิกาลยังมาโปรดสัตว์ อีกหรือครับท่าน

๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕ ๕๕

(หัวเราะแบบไทยๆครับ)

กราบขอบพระคูณท่านครับ

วันนี้รังสีอำมหิตน่าจะแรงนะครับ

จึงไปถึงญาณของท่าน ทำให้ได้มาอ่านเรื่องนี้

ผมกำลังจะพัฒนาตัวเป็นนักบ่นตรี และหวังว่าอีกสักพักจะขอเข้าเรียนนักบ่นโทครับ กับท่านครับ

13. berger0123

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 15:00

385161 [ลบ]

อ่านแล้วกระทบใจมากค่ะ ภาคธุรกิจที่ทำงาน ส่งสินค้าไปทางต่างประเทศ ลูกค้าจ่ายเงิน แบบ l/c คือกำหนดเงื่อนไขทุกอย่างอยู่ในเอกสารนี้ ถ้าผู้ขายทำตามข้อตกลง เวลานำเอกสาร/ตั๋วยื่นแบงค์ ก็ปล่อยเราได้ แต่เวลาไปรับ l/c ผู้ขายก็ต้องเสียเงินค่ารับ l/c 800บาท แล้วนำเข้าเครื่องจักร วัสดุอื่น ซึ่งหนูมองว่าค่าใช้จ่ายเยอะมากพอสมควร ภาคเกษตรกรรมของไทย สามรถอยู่ได้หากรัฐบาลและเอกชนเข้ามาช่วยเหลืออย่างจริงใจและไม่เอาเปรียบ ไม่กดราคา ภาคธุรกิจส่งออกยังต้องพึงพาชาวบ้าน ชาวประมงในการจับปลา เพื่อนำปลามาขายให้ต่างชาติ ถ้าไม่มีชาวประมง ไม่มีเกษตรกรรมลองคิดดู ภาคธุรกิจและคนไทยทั้งประเทศอยู่ไม่ได้

14. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 15:09

385173 [ลบ]

13. ิberger0123

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 15:00

ครับ เป็นข้อมูลที่ทุกฝ่ายต้องนำมาคิดครับว่าเราจะพัฒนาแบบหุ่นยนต์นี้ได้อย่างไร

การไม่รู้ร้อนรู้หนาวควรจะหมดไปได้หรือยัง

หรือว่าธุระไม่ใช่ดีกว่า สบายกว่า

ใครจะลำบากก็ช่วยไม่ได้ อย่างนั้นหรือครับ

ขอบคุณมากครับ

15. คน 3 ค.

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 15:41

385211 [ลบ]

ผมเห็นด้วยกับบทความของอาจารย์ครับ อ่านแล้วผมรู้สึกคล้อยตามมาก ผมคิดว่าคนเรามีเป้าหมายที่แตกต่างกันใช่หรือไม่ครับ ในแง่ของการพัฒนาคนเราจะเริ่มที่การพัฒนาตัวเองก่อน หลังจากนั้นน่าจะมาพัฒนาองค์กร ประเทศชาติต่อไป แต่ผมยังมองไม่เห็นจุดนั้นเลยครับ เห็นแต่พัฒนาตัวเองอย่างเดียว สิ่งอื่นไม่เกี่ยว นั่นเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์หรือเปล่าครับอาจารย์ แล้วเมื่อไหร่ประเทศชาติจึงจะเกิดการพัฒนาอย่างแท้จริงสักที

16. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 15:51

385225 [ลบ]

เรื่องนี้อยู่ที่ระดับจิตสำนึกของบุคคลครับ

ที่เราอาจต้องปลูกฝังกันตั้งแต่เด็ก

และ พยายามช่วนกันประคัประคองให้สิ่งแวดล้อม เอื้ออำนวยให้ช่วยสนับสนุนให้เขาได้แสดงในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม มากกว่า ส่วนตัว

ก็คงประมาณนั้นครับ

17. naree suwan

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 18:03

385442 [ลบ]

น่าสงสารประเทศชาติคะ..เรามาผิดทางทั้งระบบคะ

ต่างฝ่ายต่างคำนึงแต่ผลประโยชน์ของตนคะ

เลยละเลยต่อส่วนรวม...น่าเป็นห่วงจริงๆนะคะ

18. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 18:17

385462 [ลบ]

สาเหตุหลักอยู่ที่

ทุกคนมองแค่เอาตัวรอด

ไม่ค่อยพยายามเข้าใจปัญหาองค์รวม

ทำงานแบบขลุกขลิก

ใครเดือดร้อนก็ทนเอา มีชีวิตก็ดิ้นไปเรื่อยๆ

แบบไม่หาทางแก้ปัญหาแบบเป็นระบบนะครับ

19. ครูบา สุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 18:50

385498 [ลบ]

ทำอย่างไรสินค้าเกษตร จะคิดต้นทุน กำไร แบบสินค้าอุตสาหกรรมได้ เท่าที่เป็นอยู่มันขาดทุน เพราะระบบขายมันไม่ทัดเทียมกัน แต่อยู่สังคมเดียวกัน ถ้าปลุกกินเยอะ สินค้าเกษตรถึงจะขึ้นราคา เอาที่ดินมาปลูกป่า ลดพื้นที่เพาะปลูก สินค่าเกษตรถึงจะขึ้น

20. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ ศ. 14 ก.ย. 2550 @ 19:19

385524 [ลบ]

ครูบาครับ

เป้หมายตรงนั้นที่เห็นมีอยู่ทำจริงๆก็ต้องรัฐหนุนช่วบครับ

ในสถานการณ์ปัจจุบันผมไม่กล้าแม้แต่จะคิดครับ

สิ่งที่น่าจะเป็นไปได้ดีที่สุดก็คงต้องปลูกกินนั่นแหละครับ

ผมว่าในทางออกที่ริบหรี่ ก็จะพอมองเห็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี่แหละครับ

แต่ทางรัฐส่วนใหญ่ก็ยังไม่เข้าใจ ไม่เคยคิด ไม่เคยทำ นึกไม่ออก

นักวิชาการยังวิ่งสายเดี่ยว มองไม่เห็นภาพรวม

ชาวบ้านยังหลงวิ่งเป็นแมลงเม่าเข้ากองไฟ

ต่างชาติกำลังเฝ้าดุว่าจริง ไม่จริง

ผมยังมองไม่เห็นทางที่สดใสกว่านี้ครับ

ถือว่ากรรมใครกรรมมันไปก่อนแล้วกัน

จนกว่าจะหาทางออกได้จริงๆ ครับ

21. wwibul

เมื่อ อ. 18 ก.ย. 2550 @ 18:42

389945 [ลบ]

ผมลองไตร่ตรองดู ฉุกใจว่า ตัวเลขอาจขึ้นกับการตีความได้เหมือนกันครับ ว่ากำลังคิดจากฐานอะไร จึงลองค้นข้อมูลมาเสริม

ข้อมูลที่ผมพูดถึงก่อนหน้า ฟังคนค้าคนขาย ว่ามาอีกที จริงเท็จไม่แจ้ง

ลองค้นข้อมูลดู เจอกรณีที่อาจยกมาเป็นตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมของการค้าปลีกปัจจุบัน จากข้อมูลที่เผยแพร่สาธารณะของ ตลท. ได้

ในที่นี้ ขอยกตัวอย่างเป็นข้อมูลของ บริษัท CP7-11 (ที่เรารู้จักในนามร้านเซเว่นฯ) ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างของการค้าปลีกโดยทั่วไปได้ เพราะยอดรายรับของบริษัทเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มพาณิชย์

ข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ตัวเลข กำไรสุทธิหลังหักภาษี ต่อ ยอดขาย จะอยู่ระหว่าง 0.1 % - 4.6 %

แต่หากดูแต่กำไรต่อหน่วยสินค้า ตัวเลขใกล้เคียงสุด จะแสดงไว้ว่า ยอดขาย 2 ไตรมาส 2550 จะเป็น 53,769 หมื่นล้านบาท และ ต้นทุนสินค้าและบริการ 42,296 หมื่นล้านบาท ซึ่งเทียบเท่ากำไรขั้นต้นก่อนหักค่าใช้จ่ายอื่น ประมาณ 21 %

22. ดร. แสวง รวยสูงเนิน

เมื่อ อ. 18 ก.ย. 2550 @ 23:51

390265 [ลบ]

ขอบคุณมากครับสำหรับข้อมูลที่ละเอียดลึกซื้ง

เป็นพระคุณอย่างยิ่งครับ

กลับขึ้นข้างบน ชื่อ:

อีเมล:

IP แอดเดรส: 125.24.145.215

เรียกใช้งานตัวจัดการข้อความ ไม่ใช้งานตัวจัดการข้อความ

ข้อความ:

รหัสสุ่ม: (ใส่รหัสสุ่มที่แสดงไว้ด้านบน)

ยกเลิก กำลังจัดเก็บ...

บันทึกอื่นๆ

ใหม่กว่า » จากปราชญ์สู่ความเป็นผู้ชนะสิบทิศ (ซุปเปอร์แมน)กับการทำงานแบบบูรณาการ

เก่ากว่า » ความยากจนในสังคมและภาคเกษตรกรรมของไทย (๑๔) : การอยู่อย่างขาดความรู้ “สติ” และ “ปัญญา”

มหาชีวาลัยอีสาน ผมขออาสาเป็นเทียนฯ ยุทธศาสตร์ของมหาชีวาลัยฯ ยุทธการสร้างพันธมิตรอิงกรอบฯ ต้นแบบและตัวอย่างฯ มหาชีวาลัย: หัวใจอยู่ที่ “บูรณาการ” สถานีแปลงคลื่นความรู้ฯ การจัดการความรู้ในมหาชีวาลัย

การจัดการความรู้แบบธรรมชาติ “KM” ที่ผมรู้จัก (ด้วยชีวิตของผมเอง) โมเดลน้ำพริกปลาทูอีสาน การจัดการความรู้ 4 ระดับฯ การไม่รู้จัก "KM"ฯ เส้นทางเดินของ “ความรู้ที่มีชีวิต”ความรู้เกิดในระบบคิด(ไม่เกิดในเอกสาร) KMธรรมชาติ กับความคิดเชิงระบบ

เกษตรอินทรีย์ แปลงสาธิตเกษตรอินทรีย์ “การทำลาย”ภายใต้ร่ม“การพัฒนา” ผักบนคันนา(ไม่ง่ายอย่างที่คิด) การเลี้ยงวัวผสมผสานกับการทำนา การเลี้ยงปลาในนาข้าว ผลการทำนาแบบ KM ปลูกข้าวขายไปไม่รอด พระแม่ธรณีเจ้าเอ๋ย ใช้ความรู้ที่ถูกต้องในการพัฒนา ชุมชนคนสร้างโลก เกษตรผสมผสาน ที่พึ่งพาของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต การเก็บขยะก็มีความสุข วัสดุอินทรีย์ในวิถีชุมชนเมือง การปลูกต้นไม้ในนาข้าว เกษตรกรไม่สนใจเกษตรอินทรีย์

ปัญหาความยากจน ทำไมเกษตรกรจึงยากจน(1) ทำไมเกษตรกรจึงยากจน(2) บทเรียนจากภาคธุรกิจ(3) เสียงสะท้อนจากภาคส่วนต่างๆ(4) ความยากจนกับการเสพติด(5) หนี้สินภาคประชาชนฯ (6) การใช้หนี้ก้อนใหญ่โดยวิธี “ธกส”(7) มุมมองของนักนิเวศวิทยาฯ(8) เกษตรกรใช้น้ำไม่มีประสิทธิภาพ(9) การทำการเกษตรแบบพึ่งตนเอง(10) การเดินทางเข้าค่ายกล“โง่-จน-เจ็บ”11) กับดักทางเศรษฐกิจและสังคม(12) การศึกษาเพื่อความเป็นไท(13) การขาดความรู้ สติ และปัญญา(14) สังคมที่ขาด“จิตวิญญาณ??”(15) ปัญหาจากระบบการศึกษาไทย(16) บทสรุปปัญหาและทางออก(17)

ความรู้เพื่อชีวิต

home / blog / sawaengkku / 127798

ติดต่อ ดร. แสวง รวยสูงเนิน หรือ ติดต่อผู้บริหารเว็บไซต์ + Powered by KnowledgeVolution - a product of TRF & KMI

สมาชิก : เข้าระบบ | ขอรหัสผ่านใหม่ | สมัครสมาชิก

GotoKnow.org : เกี่ยวกับ GotoKnow.org | เงื่อนไขการให้บริการ | นโยบายสิทธิส่วนบุคคล

การช่วยเหลือ : คู่มือการใช้ระบบ (6 มิ.ย. 51) | คำศัพท์เกี่ยวกับการใช้งาน | หลักการเขียนบล็อก | ตอบปัญหาการใช้งาน

เว็บไซต์ในเครือข่าย: Learners.in.th | Researchers.in.th | GotoKnow Monitor | LightLex Dictionary

GotoKnow.org ได้รับการสนับสนุนหลักโดย สสส. ภายใต้ชุดโครงการ Digital KM

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท