ประเด็นที่ให้อาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้



ประเด็นที่ 2 ประสบการณ์/ผลงาน ในการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือ การนำเสนอผลงานวิชาการ

หมายเลขบันทึก: 592015เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 กรกฎาคม 2015 21:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

ประสบการณ์ในการตีพิมพ์เผยแพร่งานวิจัยในวารสาร

1. สิ่งสำคัญคือต้องเลือกวารสารที่จะตีพิมพ์ตามฐานข้อมูลที่ระบุไว้ พร้อมศึกษารูปแบบการตีพิมพ์ และอ่านบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในเล่มวารสารนั้น เพื่อทำความเข้าใจกับรูปแบบการเขียน จะทำให้ลดระยะเวลาในการจัดทำบทความวิจัย หลังจากนั้นควรติดต่อกับบรรณาธิการวารสาร เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ความเป็นไปได้ในการตีพิมพ์ ระยะเวลาในการตีพิมพ์ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจที่จะส่งตีพิมพ์ในวารสารนั้น

2. ดำเนินการจัดทำบทความวิจัยตามรูปแบบที่กำหนดในวารสาร พร้อมกับการเป็นสมาชิกของวารสารนั้น เพราะถ้าไม่สมัครสมาชิกในวารสารนั้นจะไม่ได้รับการตีพิมพ์

3. ติดตาม สอบถาม ความก้าวหน้าในการตรวจบทความวิจัยนั้นทุกเดือนกับบรรณาธิการวารสาร


ประสบการณ์ในการตีพิมพ์เผยแพร่หรือการนำเสนอผลงานวิชาการ

1. การเตรียมความพร้อมของอาจารย์ : ในการนำเสนอผลงานวิชาการในเวทีการประชุมระดับชาติจะมีความแตกต่างกับการตีพิมพ์ในวารสารคือในการนำเสนอในเวทีนั้นต้องเตรียมpower point หรือ

posterในการนำเสนอ รวมทั้งการเตรียมตอบคำถามแก่ผู้ทรงคุณวุฒิที่ถามขณะนำเสนอด้วย ส่วนการตีพิมพ์ในวารสารจะต้องแก้ไขตามpeer review จึงจะได้รับการตีพิมพ์

2. การประสานงาน: การนำเสนอต้องประสานกับผู้จัดการประชุมอย่างต่อเนื่อง ส่วนการตีพิมพ์ ต้องประสานกับบรรณาธิการ ซึ่งต้องใช้ศิลปะในการสื่อสารด้วย

3. ค่าใช้จ่าย : การนำเสนอใช้ค่าใช้จ่ายมากกว่าการตีพิมพ์เผยแพร่ เพราะการนำเสนอจะมีค่าลงทะเบียนและค่าเดินทางไปนำเสนอ ส่วนการตีพิมพ์เผยแพร่ จะมีค่าลงทะเบียนลงวารสารเท่านั้น

ประสบการณ์/ผลงาน ในการตีพิมพ์เผยแพร่ หรือ การนำเสนอผลงานวิชาการ

1. ก่อนที่จะมีการนำเสนอผลงานวิจัยและการตีพิมพ์เผยแพร่นั้น ทางผู้วิจัยได้มีการดูThemeในการนำเสนอผลงานวิจัยว่าตรงกับผลงานวิจัยที่เราได้ศึกษาหรือทำวิจัยหรือไม่

2. หลังจากนั้นดำเนินการศึกษาและทำความเข้าใจในรูปแบบการเขียนผลงานวิจัย เนื่องจากผู้วิจัยจะได้ดำเนินการเขียนได้อย่างถูกต้อง แล้วส่งผลงานวิจัยไปยังหน่วยงานที่จัดการนำเสนอผลงานวิจัย

3.เมือได้รับบทความวิจัยที่ผ่านผู้ทรงคุณวุฒิกลับคืนมา ให้ดำเนินการแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งกลับคืนในเวลาที่กำหนด แต่ควรมีการติดตามเป็นระยะๆเพื่อป้องกันการตกหล่นของบทความวิจัย


ปัญหาอุปสรรคที่พบในการตีพิมพ์เผยแพร่ที่ตนประสบคือ ไม่รู้จะลงตีพิมพ์ในวารสารใดดี เมื่อเลือกแล้วต้องส่งบทความยังไม่มั่นใจในเนื้อหาที่จะส่ง ความถูกต้อง ซึ่งในการแก้ไขในเบื้องต้นอาจเลือกวารสารที่มีการอธิบายรูปแบบการตีพิมพ์ไว้ชัดเจน และมีช่องทางติดต่อประสานงานกับบรรณาธิการได้สะดวกเพื่อการติดตามงาน เมื่อมีเรื่องตีพิมพ์ในครั้งแรกแล้ว ครั้งต่อๆ ไปในการเขียนเพื่อการตีพิมพ์ก็จะง่ายขึ้น แต่ส่วนที่ยากก่อนการตีพิมพ์ คือ การดำเนินงานวิจัยให้เสร็จทันเวลาและมีชิ้นงานพร้อมที่จะตีพิมพ์

ประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิจัย

1.การเตรียมตัวตั้งแต่การเลือกผลงานของตนเองเพื่อการนำเสนอผลงานวิจัย

2การส่งผลงานให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา

3เมื่่อได้รับการพิจาณามีการปรับแก้ไขและจัดส่งไหมอีกครั้งจากนั่นจัดทำรูปแบบการนำเสนอการออกแบบสื่อให้เหมาะสม

4.ปัญหาในการติดต่อประสานงานกับทางทีมงานบางครั้งก็เป็นอุปสรรค เช่น การติดต่อขอ proceeding ที่ทำให้ระยะเวลาล่าช้า การติดต่อประสานงานในหลายๆๆครั้ง ฉนั้นการเลือกสถานที่การจัดการนำเสนอผลงานก้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ

ประสบการณ์นำเสนอผลงานวิจัยในการประชุมวิชาการนานาชาติ

ดร.พอเพ็ญ ไกรนรา

ผู้เขียนมีประสบการณ์นำเสนอผลงานวิจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลายครั้ง

แต่ละครั้งให้ประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งช่วยพัฒนาทักษะการนำเสนอและ

สร้างความมั่นใจได้มากขึ้นใน

การนำเสนอผลงานวิจัย แบบ Oral presentation ในการประชุมนานาชาติ 3 ครั้ง ณ เมืองซีแอตเทิล สหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และเมืองอิสตันบูล ตุรกี

นำเสนอแบบ Poster presentation 1 ครั้ง ที่เกาหลีใต้

คราวหน้าจะถอดบทเรียนประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟังทั้งในส่วนที่ส่วนที่ราบรื่น สำเร็จ

และส่วนที่ผิดพลาด

ประสบการณ์การตีพิมพ์และการนำเสนอผลงานวิจัย

1 ในส่วนของการตีพิมพ์ผลงานวิจัยนั้น ผู้วิจัยต้องทราบรูปแบบของการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ของวารสารที่ต้องการก่อน และจัดทำตามรูปแบบนั้นให้ตรงตามที่กำหนด เมื่อส่งบทความไปแล้ว ให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อตรวจสอบว่าได้รับบทความแน่นอน หลังจากได้รับกลับมาจากผู้ทรงเพื่อทำการแก้ไขนั้น ผู้วิจัยต้องทำตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างเคร่งครัดและส่งกลับให้ทันตามเวลาที่กำหนด ตรงส่วนนี้ ผู้วิจัยที่ส่งผลงานไปนั้นต้องมีความพยายามอย่างสูงสุดเพื่อให้งานได้รับการตีพิมพ์ตามที่ต้องการ

2 ส่วนของการนำเสนอทั้งแบบ oral presentation และแบบ poster presentation นั้น ผู้วิจัยต้องมีการเตรียมความพร้อมในการนำเสนอ ไม่ว่าจะเป็นเตรียมเนื้อหาและทำความเข้าใจเนื้อหาของงานให้ชัดเจน รวมถึงต้องเข้าใจสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลในงานให้ชัดเจน สามารถตอบคำถามได้ทุกจุดที่ผู้ทรงคุณวุฒิถามมา มีการจัดเตรียมเนื้อหาที่นำเสนอให้กระชับ เข้าใจง่าย น่าสนใจ ข้อความเนื้อหาต้องถูกต้อง ไม่มีคำผิด

เคยไปนำเสนอที่มราชภัฏสุราษฏร์ และภูเก็ต โอเนนะคอมเม้นดี และไม่เครียดเกินไป ได้ความรู้มากจากผู้ทรงที่เชี่ยวชาญ

ปัญหาอุปสรรคที่พบในการตีพิมพ์เผยแพร่ คือ ไม่รู้จะลงตีพิมพ์ในวารสารใดดี เมื่อเลือกแล้วต้องส่งบทความอย่างไร และยังไม่มั่นใจในเนื้อหาที่จะส่ง รวมทั้งความถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งในการแก้ไขในเบื้องต้นอาจเลือกวารสารที่มีการอธิบายรูปแบบการตีพิมพ์ไว้ชัดเจน และมีช่องทางติดต่อประสานงานกับบรรณาธิการได้สะดวกเพื่อการติดตามงาน แต่ส่วนที่ยากก่อนการตีพิมพ์ คือ การดำเนินงานวิจัยให้เสร็จทันเวลาและมีชิ้นงานพร้อมที่จะตีพิมพ์

ประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิจัย

**ไม่มีประสบการณ์ในการนำเสนอผลงานวิจัย ไม่มีความมั่นใจ ต้องเตรียมความพร้อมอีกมาก

ประสบการณ์ในการตีพิมพ์ในวารสาร คือต้องรู้ว่าจะตีพิมพ์วารสารอะไร ต้องเตรียมบทความให้สอดคล้องกับรูปแบบของแต่ละวารสาร และต้องคิดล่วงหน้าเป็นปี และวารสารที่จะลงต้องมีช่องทางให้ประสานกับบรรณาธิการได้สะดวก

ประสบการณ์ในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย

1.มีความยุ่งยากในการติดต่อบรรณาธิการที่จะส่งผลงานตีพิมพ์

2.ต้องมีการปรับรูปแบบผลงานวิจัยให้ตรงตามรูปแบบของวารสารแต่ละแห่ง ซึ่งไม่เหมือนกันแต่ละวารสาร

3.ในการจะตีพิมพ์วารสารของที่ไหน ต้องมีการสมัครเป็นสมาชิกของวารสารนั้นก่อน


-เคยลงตีพิมพ์ในวารสารนราธิวาสราชนครินทร์...ประทับใจที่มี Peer review ให้คำแนะนำแบบกัลยาณมิตร ให้กำลังใจ และได้ความรู้เพิ่มขึ้นมากจากการค้นคว้าเพิ่มเติมตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ แต่ทำให้ต้องรบกวนเพื่อนๆ ที่เป็นนักวิชาการหลายคน...ต้องขอบคุณทุกท่าน ณ โอกาสนี้ เพราะลำพังตนเองที่เป็น นักวิจัยมือใหม่ แม้จะไปค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรา ก็ไม่เคลียร์ ต้องอาศัยผู้รู้...ช่วยอธิบาย..จึงถึงบางอ้อ...เกือบจะถอดใจหลายครั้ง เพราะการแก้ไขตามผู้ทรงคุณวุฒิ มีเงื่อนเวลา...จนคิดว่า...ถ้าไม่ได้ตีพิมพ์...ก็เกินคุ้ม..เพราะทำให้ได้ความรู้เยอะมาก

-เคยนำเสนอผลงานวิชาการในเวทีระดับชาติของวิทยาลัยพยาบาลเซนหลุยส์ ได้ประสบการณ์ในการไปนำเสนอ ตั้งแต่ขั้นเตรียมการ การนำเสนอ และมีผู้สนใจ ซักถาม


ต้องมีการศึกษาเตรียมความพร้อมให้ตรงกับแหล่งท่ีจะเผยแพร่และเตรียมข้อมูลให้ตรงประเด็น

เคยมีประสบการณ์ในการส่งเรื่องเพื่อนำเสนอในเวทีประชุมวิชาการระดับนานาชาติ และเรื่องที่นำเสนอได้รับคัดเลือกให้ตีพิมพ์ในวารสาร คณะพยาบาลศาสตร์ มอ. ในการส่งบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ สิ่งที่สำคัญคือเจ้าของผลงานต้องรู้ว่างานของตัวเองตรงกับประเด็นหลักของการประชุมนั้น หรือสอดคล้องกับจุดเน้นของวารสารนั้น ๆ แล้วโอกาสที่จะได้การยอมรับผลงานให้ตีพิมพ์จะมีมาก

ส่วนขั้นตอนการแก้ไขผลงานตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ถือว่าเป็นขั้นตอนปกติ แต่บางครั้งอาจต้องใช้พลังใจ พลังกายในการแก้ไข นอกจากนี้ ในส่วนตัวแล้วเคยเป็นทั้งผู้ทรงคุณวุฒิตรวจประเมินคุณภาพงานวิจัย และเคยถูกตรวจประเมินเอง เรารู้ว่า เราทำไปเพื่อพัฒนาคุณภาพงานวิจัย และหากเจ้าของผลงานมีข้อสงสัยในการหาแนวทางในการปรับแก้งานตามข้อเสนอแนะ เรามีช่องทางที่จะหาตัวช่วยทั้งในสถาบัน (ถามกันเอง ช่วยกันคิด) หรือถามจากบุคคลภายนอก โดยเฉพาะถามผู้ตรวจประเมินโดยส่งข้อคำถามไปที่กองบรรณาธิการเพื่อให้ประสานกับ peer reviewers ให้เรา ขอทุกท่านอย่าลืมส่วนนี้ค่ะ แสวงหาตัวช่วย แล้วงานเราจะเบาลงค่ะ

ปัญหาอุปสรรคที่พบในการตีพิมพ์เผยแพร่ คือ ไม่รู้จะลงตีพิมพ์ในวารสารใด ผลงานที่ส่งตีพิมพ์เหมาะสมกับวารสารนั้นหรือไม่ ส่งไปเพราะเห็นอาจารย์ท่านอื่นเคยส่งตีพิมพ์ในวารสารนั้น และผลงานที่ส่งไม่มั่นใจในคุณภาพ เพราะผลงานวิจัยมีการดำเนินการเร่งรีบให้แล้วเสร็จทันปีงบประมาณ

เคยมีประสบการณ์ตีพิมพ์ ต้องใช้ความพยายามทำตามกรอบรูปแบบที่กำหนดและหมั่นแก้ตามคำแนะนำจะประสบความสำเร็จ

ยังไม่มีประสบการณ์เขียนด้วยตนเองโดยตรง มีเพียงการร่วมเสนอในการอ่านและปรับบทความวิจัยของเพื่อนร่วมงาน ทำให้เกิดประสบการณ์ที่ดีในการเขียนบทความวิจัยต่อไป

เคยมีประสลการณ์การส่งบทความวิจัยตีพิมพ์ ต้องใช้ความพยายามในระดับหนึ่ง ต้องใช้เวลาอยู่กับบทความวิจัยนั้นๆ ซึ่งผู้เป็นเจ้าของผลงานวิจัยต้องรู้ข้อมูลงานวิจัยของตนเองเป็นอย่างดี เพราะเมื่อส่งไปแล้วอาจได้ปรับแก้ตามที่ผู้ทรงคุณวุฒิเสนอถือว่าเป็นเรื่องปกติ การส่งบทความตีพิมพ์ไม่ใช่เรื่องที่ยากแต่เป็นเรื่องที่ท้าทายเราในการมุ่งก้าวสู่การเป็นนักวิชาการมากขึ้นครับ และถ้าจะใหดีการส่งบทความวิจัยตีพิมพ์ควรส่งตีพิมพ์ในวารสารที่ผ่านการรับรองคุณภาพจาก TCI (กลุ่มที่ 1) ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดกลุ่มของวารสารได้ที่ http://www.kmutt.ac.th/jif/public_html/index.html

สำหรับดิฉันเอง ยังไม่มีประสบการณ์ในการส่งบทความวิจัยตีพิมพ์ แต่เห็นถึงความสำคัญเพราะเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้ แนวคิดต่างๆ ที่ค้นพบ สู่สังคมโลก เกิดการพัฒนาความรู้ สร้างการเปลี่ยนแปลงและการใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัย เป็นกระบวนการพัฒนาความรู้ พัฒนานักวิจัย หากมีโอกาสหวังเช่นกันว่า คงจะได้ผลิตผลงานดี ๆ ที่มีคุณภาพค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท