โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 (ช่วงที่ 5: 28 -30สิงหาคม 2557)


สวัสดีครับลูกศิษย์และชาว Blog ทุกท่าน

โครงการพัฒนาผู้นำเพื่ออนาคตของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รุ่นที่ 1 จะเป็นกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรต่อเนื่องระยะยาว รวม 20 วัน ช่วงนี้เข้าสู่ช่วงที่ 5 แล้ว ระหว่างวันที่ 28 -30สิงหาคม 2557

ผมขอเปิด Blog นี้ เพื่อเป็นคลังความรู้ของพวกเรา และเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนมุมมองของลูกศิษย์ของผมและท่านที่สนใจหวังเป็นอย่างยิ่งว่า Blog นี้จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนครับ

จีระ หงส์ลดารมภ์

..............................................................................................

บรรยากาศการเรียนรู้ ช่วงที่ 5

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม 2557

นำเสนอบทเรียนจากหนังสือ Good to Great โดย Jim Collins ร่วมวิเคราะห์โดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี และอาจารย์จีระเดช ดิสกะประกาย

Learning Forum & Workshop เรื่อง Brand & Image Management และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร



วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557

กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (2)

‹จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว

‹รักษ์ใจ….ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด

‹ฯลฯ

โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

Panel Discussion & Workshop

หัวข้อ “ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯ มอ.

โดย   ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

         กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

         อดีตนายกสภาฯ และอธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

         ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

         หน่วยระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดำเนินการอภิปรายโดย อาจารย์ทำนอง ดาศรี


วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2557

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “People Management”

โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

Learning Forum & Workshop

หัวข้อ “จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง“ธรรมาภิบาล” ในองค์กร”

โดย ศ. (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

หมายเลขบันทึก: 575272เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2014 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2014 14:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (56)

นำเสนองานกลุ่ม : วิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ

เรื่อง Good to great

28 สิงหาคม 2557

บทที่ 1

  • Good to Great ค่อนข้างเก่าแล้ว พิมพ์ปี 2001 และแปล32ภาษา
  • หนังสือเล่มที่5/18 ที่นายกทักษิณแนะนำให้อ่านช่วงปีพ.ศ. 2545
  • BEST SELLER 3 MILLION COPIES SOLD
  • หาคำตอบ WHY SOME COMPANIES
  • MAKE THE LEAP(ก้าวกระโดด)

    AND OTHERS DO NOT

    Leadership / Strategic Planning

    Organizational Change/ Technological

    Innovation-Management

    Good to Great เป็นรายงานผลการวิจัยของบริษัทในสหรัฐที่มีผลประกอบการในตลาดหลักทรัพย์ ที่ดีกว่ากลุ่มเดียวกันหลายเท่าและมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องในระยะเวลาที่ยาวนาน
    Jim Collins พบว่าบริษัทเหล่านี้มี จุดเน้นที่แน่ชัดและมีบุคลากรที่มีสมรรถนะ จึงทุ่มเททรัพยากรไปยังจุดแข็งที่มีอยู่

    บทที่ 1 GOOD IS THE ENEMY OF GREAT แค่ดี...ไม่เป็นผลดีต่อความยิ่งใหญ่(อุปสรรคเกิดขึ้นเพราะคน)

    เงื่อนไขในการคัดเลือกบริษัท (เพื่อทำการวิจัย)“ผลตอบแทนจากการลงทุนต้องมากกว่า 3 เท่าในระยะเวลา 15 ปี”

    บริษัทที่เข้าข่าย 11 บริษัท .... ซึ่งเป็นบริษัทที่ไม่ดังมาก

    • -Abbott
    • -Circuit City
    • -Fannie Mae
    • -Gillette
    • -Kimberly-Clark
    • -Kroger
    • -Nucor
    • -Philip Morris
    • -Pitney Bowes
    • -Walgreens
    • -Wells Fargo

    ลักษณะ LEVEL 5 LEADERSHIP
    First Who……Then What

    เริ่มต้นด้วยการรับคนที่ใช่ขึ้นรถก่อนตอบคำถาม ใคร จะต้องมาก่อนการตัดสินใจว่าจะทำอะไร

    Confront the Brutal facts Have the discipline
    คิดอย่างมีวินัยเผชิญความจริงอันโหดร้าย

    Hedgehog Conceptสามมิติของการคิดอย่างเม่น ทำให้โลกที่ซับซ้อน/ยุบรวมปัญหาและความยุ่งยาก รวมเป็นแนวคิดง่ายและชัดเจนที่สุดแนวคิดเดียว

    Culture of Disciplineการสร้างวัฒนธรรมความมีวินัยคนมีวินัยในตนเอง ตั้งใจจริงที่จะทำให้ดีที่สุด

    Technology Accelerators

    ไม่แซงหน้าด้วยเทคโนโลยีแต่จะพิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบและสร้างสรรค์อย่างเหมาะสม

    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย1 จงเป็นผู้นำด้วยการตั้งคำถามไม่ใช่ด้วยการให้คำตอบ2 ให้พนักงานที่ดีที่สุดได้รับโอกาสที่ดีที่สุด ไม่ใช่ให้แก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด3 ทบทวนการตัดสินใจที่ผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้ไม่ใช่ เพื่อหาคนทำผิดมาลงโทษ

    4 ความสำเร็จของบริษัทเปรียบเหมือนFrywheel เริ่มต้นหมุนจะช้า ความพยายามอย่างไม่ลดละ มีแรงเหวี่ยงจะหมุนได้ด้วยตัวเอง ช่วงความสำเร็จก็มาถึง5 หลักการเลือกผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นคนจากภายนอก (outsider leader) แต่ต้องรู้จักเลือกคนที่เป็น insider ที่ดีที่สุดอย่าเน้นเลือกคนในตระกูลหรือครอบครัวตนเองผู้นำที่ดีต้องเน้นที่งานหรือผลงานที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่มุ่งหวังผลสิ่งตอบแทน

    อ.ทำนอง ดาศรี:

    ขอให้ดูว่าได้ประโยชน์อะไร ที่น่าสนใจคือเรื่องวินัย ถ้ามีวินัยแล้ว ไม่ต้องดูเรื่องระเบียบ

    สิ่งที่จะทำให้ยั่งยืนได้ คือ ต้องมีวินัย

    คอมพิวเตอร์เป็นสิ่งที่ทำให้เร็วขึ้น แต่บริษัทจะต้องมีผู้จัดการที่ถ่อมตน เลือกคนเก่งที่สามารถทำให้เกิดผลแบบ great ให้ได้

    Hedgehog เป็นสัตว์ที่คล้ายหนูและเม่น เมื่อมีภัยร้ายเข้าใกล้ตัวจะเอาตัวรอดโดยการม้วนตัว เพื่อให้เป็นตัวกลมๆมีหนาม ไม่มีสัตว์ทำร้ายได้

    กลุ่ม 2

    บทที่ 3

    มีการประกาศรับสมัครรักวิชาการพัสดุ 1 ตำแหน่ง แต่มีผู้เข้าสมัครเป็น 100 คน ก็มีการคัดเลือกคนที่มีคุณภาพมาก หลังจากนั้นก็ฝึกอบรม แต่การที่คนเก่งไปทำงานที่อื่นก็คิดว่าก็ทำงาในประเทศไทยเหมือนกัน

    First Who Then What. Get the right people on the bus, get the wrong people off the bus, get the right people in the right seat

    ผู้นำที่สามารถเปลี่ยนแปลงบริษัทดีให้กลายเป็นบริษัทดีเยี่ยมได้นั้น เป็นผู้ที่เข้าใจ ความจริงง่ายๆ 3 ประการคือ

    ถ้าคุณเริ่มต้นด้วยการตอบคำถาม "ใคร" แทนที่จะเป็นทำ "อะไร" คุณจะปรับตัว เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงได้ง่ายขึ้น

    ถ้าคุณมีคนที่ "ใช่" อยู่บนรถ ปัญหาเรื่องการสร้างแรงจูงใจพนักงาน และปัญหาการควบคุมคนแทบจะไม่มี

    ถ้าคุณมีแต่คนที่ "ไม่ใช่" แม้คุณจะค้นพบทิศทางที่ถูกต้องก็หามีประโยชน์อันใดไม่ เพราะคุณยังคงไม่สามารถสร้างบริษัทที่ดีเยี่ยมได้อยู่ดี เพราะการมีวิสัยทัศน์ที่ดีเยี่ยม แต่ปราศจากคนที่ยอดเยี่ยม ไม่ก่อให้เกิดผลอะไร

    บริษัทที่สามารถก้าวขึ้นมาสู่ความยอดเยี่ยม

    • -มีมาตรฐานที่แน่นอน ชัดเจน
    • -พนักงานทุกคน รวมทั้งระดับผู้บริหารอยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน ได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม
    • -ให้พนักงานที่ดีที่สุด ได้รับโอกาสที่ดีที่สุด

    ผู้นำกล่าวว่าการพัฒนาให้เป็นบริษัทที่ดีเยี่ยมคือ ต้องมีผู้นำระดับ 5

    - จะต้องเป็นผู้นำที่มีความมุ่งมั่นและทะเยอทะยานต่อความสำเร็จขององค์กร

    - มีความพากเพียรในการทำงาน ถ่อมตน ไม่เอาความสำเร็จที่เกิดขึ้นเป็นความสำเร็จของตน แต่เป็นความร่วมมือร่วมใจของคนในองค์กรทุกฝ่าย

    - ผู้นำประเภทนี้ส่วนใหญ่มาจากคนในองค์กร ไม่ใช่มาจากที่อื่น

    ผู้นำคณะแพทย์ ถือเป็นผู้นำระดับ 5 เช่นกัน

    บทที่ 4 ต้องกล้าเผชิญความจริงที่โหดร้าย

    บริษัทที่จะก้าวไปสู่ความเป็นบริษัทยิ่งใหญ่

    • -ต้องกล้าเผชิญความเป็นจริงที่โหดร้ายโดยไม่สูญเสียความศรัทธา
    • -การยอมรับนี้จะนำไปสู่การสร้างวัฒนธรรม การยอมรับฟังเสียงคนในองค์กร
    • -ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้ยิ่งใหญ่และถาวร

    ทำไมต้องดูบริบท

    • -A&P: perfect model ในครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ในสงครามโลกครั้งที่ 2 และช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย
    • -ของชำราคาถูกมากมายในร้านค้าที่นึกถึงประโยชน์ใช้สอยเป็นสำคัญ
    • Climate where the truth is heard: 4 basic practices
    • -จงเป็นผู้นำที่ต้องถามไม่ใช่ต้องการคำตอบ เพื่อให้ได้ความเข้าใจที่ดีที่สุด
    • -กระตุ้นให้มีการถกถียงโต้แย้งอย่างสร้างสรรค์
    • -สร้างกลไกที่เห็นค่าของข้อมูลที่แท้จริง
    • มอ.นั้นการที่จะทำให้ Good to great ไม่ยาก แต่การจะรักษาคนเก่งยากกว่า

    บทที่ 3 นำเสนอบทที่ 5-6

    หมาป่า

    • -ฉลาด
    • -เป็นนักล่า
    • -เจ้าเลห์

    Hedgehog knows one big thing

    • -กลไกการป้องกันตัวเมื่อถูกล่า
    • -เอาชนะคู่ต่อสู้ด้วยกลยุทธ์ที่เรียบง่าย
    • -Hedgehog ชนะหมาป่าทุกครั้ง

    The three circles of The Hedgehog Concept

    รู้ตัวเองว่าทำอะไรให้ดีที่สุดในโลก

    อะไรที่เป็นตัวขับเคลื่อนองค์กร

    • อะไรที่เป็นใจรักมากที่สุด

    คุณสามารถทำอะไรให้ดีที่สุดในโลก

    • -ไม่ใช่แค่การระบุว่าความสามารถหลักของคุณคืออะไร
    • -การที่คุณมีความเชี่ยวชาญในเรื่องใดไม่ได้หมายความว่าคุณจะทำสิ่งนั้นได้ดีที่สุดในโลก
    • -สิ่งที่คุณสามารถจะทำได้ดีที่สุดในโลกอาจไม่ใช่สิ่งที่คุณกำลังทำอยู่ในปัจจุบันก็ได้
    • -แต่เป็นการคิดวิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง และทำความเข้าใจว่าอะไรที่คุณสามารถทำได้ดีที่สุด และอะไรที่คุณทำไม่ได้เลย

    อะไรคือสิ่งที่เป็นตัวขับเคลื่อนบริษัทของคุณอย่างแท้จริง

    เพื่อให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า อะไรคือสิ่งที่สำคัญที่สุดในบริษัท

    § Man

    § Money

    § Material

    อะไรที่ใจรักมากที่สุด

    §ไม่ได้ตัดสินใจว่าจะทำอะไร แล้วจึงกระตุ้นให้พนักงานเกิดความรักที่จะทำสิ่งนั้น

    § แต่จะเลือกทำสิ่งที่พวกเขามีใจรักเท่านั้น เพราะความมีใจรักอาจไม่สามารถสร้างขึ้นได้ และไม่อาจเกิดขึ้นได้จากการพยายามจูงใจของผู้นำ

    สรุป

    ขั้นตอนการสร้างแนวคิด Hedgehog

    ในช่วงแรกเปรียบเหมือนอยู่ในเมฆหมอกมองไม่เห็นปลายทาง จนเมื่อเราค้นพบแนวคิดหลักขององค์กรแล้วทำให้คนในองค์กรเข้าใจและมีแรงบันดาลใจที่จะไปสู่เป้าหมายความเป็นเลิศก็เป็นการง่ายที่จะกำหนดแนวทางในการดำเนินงานโดยแนวคิดหลักจะต้องเข้าใจง่ายและผ่านการตกผลึกโดยอาศัยการตั้งคำถามจาก ทฤษฎี 3 วงกลม

    บทที่ 6 การสร้างวัฒนธรรมที่มีวินัยในองค์กร

    การสร้างวัฒนธรรมความคิดสร้างสรรค์ภายใต้กรอบการทำงาน

    การก่อให้เกิดวัฒนธรรมในบุคลากรที่มีระเบียบวินัยในตนเอง

    ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างความมีระเบียบวินัย กับความเผด็จการ

    ยึดมั่นกับหลักการ Hedgehog concept

    องค์กรที่จะประสบความสำเร็จ Good to Great ได้ ต้องมีวินัย 3 อย่าง คือ

  • Disciplined PEOPLE : มีวินัยในการเลือกคน
  • Disciplined THOUGHT :มีวินัยด้านความคิด
  • Disciplined Action :มีวินัยด้านการกระทำ
  • ผู้นำระดับ 5 (Level 5 leadership)

    การคัดเลือกบุคลากรที่มีวินัย

    มีความสามารถในการหาคน (First who then what) และรักษาคน

    ถ้าหากองค์กรสามารถหาคนดี คนเก่งเอาไว้ได้ คนเก่ง คนดี ก็จะทำงานที่ดีให้กับองค์กร

    กลุ่ม 4

    เทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อนไปสู่ความสำเร็จ

    เทคโนโลยีคือตัวเร่ง

    žบริษัทที่ก้าวสู่บริษัทที่ดีเยี่ยมได้ คิดต่างไปจากบริษัททั่วไปในเรื่องเทคโนโลยี คือพวกเขาไม่ตามแฟชั่นหรือเห่อเทคโนโลยีใหม่

    žนำเทคโนโลยีมาใช้หลังจากผ่านการคิดพิจารณาเลือกสรรอย่างสุขุมรอบคอบแล้วว่าเหมาะสมกับองค์กร เพราะพวกเขาตระหนักดีว่า เทคโนโลยีเป็นได้อย่างมากแค่ตัวเร่งความเร็ว แต่ไม่ใช่ตัวสร้างการเปลี่ยนแปลง

    ตัวอย่างองค์กรที่เลือกใช้เทคโนโลยี

    Philip Morris

    -นำเทคโนโลยีการบรรจุหีบห่อและการผลิต ซึ่งรวมถึงการผลิต ซองบุหรี่ที่มีฝาเปิดแบบ flip top มาใช้เป็นครั้งแรก นับเป็นนวัตกรรมการบรรจุหีบห่อ ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมบุหรี่ในรอบ 20 ปี

    -เป็นรายแรกที่นำคอมพิวเตอร์มาใช้ควบคุมการผลิต และลงทุนมหาศาลสร้างศูนย์ผลิต เพื่อให้เป็นศูนย์กลาง การทดลอง ทดสอบและปรับปรุง เทคนิคการผลิต และการควบคุมคุณภาพใหม่ๆ

    องค์กร Great

    -เลือกเทคโนโลยีอย่างสุขุมรอบคอบ

    -รู้ว่าต้องการทำอะไร

    -รู้ว่าต้องทำอย่างไร

    -รู้ว่าเทคโนโลยีใดเหมาะสมกับองค์กร (Fit with strategies)

    -เชื่อว่าเทคโนโลยีเป็นตัวเร่งความเร็วในการพัฒนาองค์กร ไม่ใช่สร้างการเปลี่ยนแปลงองค์กร

    คุณ Collins : ให้ข้อคิดว่า จะเด่นจะดีจะดังด้านใดก็ตัดสินใจเลือกให้ชัด คาถาไฮเทคและเทคโนโลยีต่างๆ อาจจะสามารถจะมาเป็น”ตัวเสริม” ให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดได้ ถ้าเทคโนโลยีดังกล่าวจะเข้ามาเสริมจุดแข็งเดิม

    žแต่ถ้าเทคโนโลยีดังกล่าวไม่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับจุดแข็งหรือคุณค่าเดิมได้ การจะไปหลงลงทุนในสิ่งดังกล่าว มีแต่จะเสียเวลาและล้มเหลว

    บทที่ 8

    Flywheel ล้อมู่เล่คือล้อหนักสำหรับหมุนถ่วงให้เครื่องยนต์เดินเรียบ มีเส้นผ่านศูนย์กลางยาวถึง 30 ฟุต หนา 2 ฟุต และหนักถึง 5,000 ปอนด์ เมื่อเริ่มหมุนมันจะเคลื่อนไปช้ามาก แม้จะพยายามอย่างไม่ลดละ ก็อาจทำให้มันหมุนไปได้เพียงไม่กี่นิ้วเท่านั้น แต่เมื่อเวลาผ่านไป คุณจะหมุนมันได้ง่ายขึ้นเรื่อยๆ เพราะจะมีแรงเหวี่ยงเกิดขึ้น ซึ่งช่วยให้มันหมุนไปได้ด้วยตัวเอง และแล้วช่วงเวลาแห่งความสำเร็จก็มาถึง เมื่อน้ำหนักอันมหาศาลของมันเอง ทำให้ มันหมุนไปได้ด้วยตัวเอง

    ความสำเร็จของบริษัท/องค์กรเปรียบเสมือนการหมุนล้อมู่เล่ (Flywheel)

    žDoom Loop วงจรหายนะ

    บริษัทที่เป็น Great

    -เคยผ่านปรากฏการณ์ล้อมู่เล่ คือ ความพยายามในช่วงแรกเห็นผลช้า แต่มีเป้าหมายชัดเจน

    -มีความมุ่งมั่น มีวินัย สม่ำเสมอจึงจะเห็นการเปลี่ยนแปลง หรือวงล้อหมุนไปข้างหน้าสู่ความสำเร็จ

    - พยายามปรับปรุง ประสิทธิภาพและสร้างผลงานอย่างต่อเนื่อง

    - องค์กรมีเป้าหมายเจน กัดไม่ปล่อย

    วงล้อแห่งความสำเร็จ หรือวงจรหายนะ

    Flywheel วงล้อความสำเร็จ Doom Loop วงจรหายนะ
    -เผชิญความจริงอันโหดร้ายเพื่อให้สามารถตัดสินใจได้ว่า จะต้องทำสิ่งใดบ้างเพื่อจะสามารถสร้างแรงเหวี่ยงได้ -ทำตามรูปแบบของการมีพนักงานที่มีวินัย การคิดอย่างมีวินัย และการกระทำอย่างมีวินัย -ใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับแนวคิดแบบเม่นของบริษัทคุณ เพื่อเร่งความเร็วของแรงเหวี่ยง - ละเว้น ไม่ทำทีละขั้น -ชอบทำโครงการใหญ่ๆ พยายามเปลี่ยนแปลงอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ปฏิวัติแบบหวังความมหัศจรรย์ชั่วข้ามคืน และปรับโครงสร้างไม่รู้จบ -เลือกเทคโนโลยีตามองค์กรอื่น กลัวล้าหลัง

    ประเด็นสำคัญปรับใช้กับคณะแพทย์ มอ

    เป้าหมาย

    ติดตั้งระบบ RFID

    - ติดRFIDให้ผู้ป่วย เก็บข้อมูลผู้ป่วย ติดตามผู้ป่วยได้

    - บันทึกประวัติผู้ป่วย การรักษา กรณีผู้ป่วยไม่มาตามนัดระบบจะแจ้งเตือน

    -ติดRFID กับวัสดุการแพทย์ ยา เวชภัณฑ์ /เครื่องมือแพทย์

    แนวทาง

    -เลือกใช้เทคโนโลยีที่ fit strategies ….RFID?

    วิเคราะห์องค์กร

    2R’S = Reality / Relevance

    -Where are we?

    -Where do we want to go?

    -How to do it?

    -How to do it successfully

    -ตอบคำถาม3V

    -แนวคิดวงจรแห่งความสำเร็จ(Flywheel)

    ทำตามแผนที่วางไว้ มีวินัย และต่อเนื่อง

    กลุ่ม 5

    บทที่ 9 FROM GOOD TO GREAT TO BUILT TO LAST

    ผลงานอันเป็นเลิศ เกิดจากองค์กรมีคนที่ถูกต้องเหมาะสม

    ผู้บริหารทุกระดับมีภาวะผู้นำอย่างแท้จริง

    FROM GOOD TO GREAT TO BUILT TO LAST ดี สู่ ยิ่งใหญ่ ยั่งยืน : งานวิจัย เรื่อง สร้างให้ยั่งยืน (Built to Last)Jim Collins + Jerry I Porras : Stanford Business School ปี 1990

    คัดบริษัทชั้นหัวกะทิ 11 บริษัท

    ปี 1800

    • -GE
    • -American Express
    • -Johnson and Johnson
    • -Citicorp เป็นต้น

    ปี 1945 อายุน้อยที่สุด : Wal-Mart และ Sony
    ข้อสรุป 4 ข้อ จากงานวิจัย

    บริษัทเหล่านั้น คำนึงถึงความยั่งยืน BTL และความยิ่งใหญ่ GTG ตั้งแต่ตั้งบริษัท

    BTL ไม่ได้ส่งผลให้เกิด GTG แต่ ความคิดเรื่อง GTG ทำให้เกิด BTL ดังนี้

    ตั้งบริษัท – concept เรื่อง From GTG – รักษาผลประกอบการที่จะไปสู่ความยิ่งใหญ่ให้ต่อเนื่อง – BTL concept

    การเปลี่ยนจากบริษัทที่มีผลประกอบการดีอย่างต่อเนื่อง มาเป็น บริษัทที่ยิ่งใหญ่ (From GTG ) ต้องใช้ concept ของ BTL คือ ค้นหาคุณค่าที่เป็นแก่นแท้ของตน หากต้องการก้าวหน้า ก็ต้องก้าวไปพร้อมๆ กับการรักษาแก่นนี้

    Discover your core values and purpose beyond just making money.

    From GTG ตอบคำถามที่เป็นพื้นฐานสำคัญได้ แต่ไม่ตอบคำถาม BTL

    บริษัท Wal mart

    Sam Walton began with a single store in 1945 , didn’t open his second store until 7 years later.

    Built incrementally, turn by turn of the flywheel.

    Hedgehog concept of discount marts popped out as a natural evolutionary step in the mid 60’s.

    Breakthrough came in the 70’s.

    บริษัท HP

    Bill Hewlett, David Packard met in grad school, founded HP in 1937.

    Mission, “design, manufacture, and sell products in the electrical engineering field.”

    ยังไม่คิดว่าจะผลิตอะไร แต่จะร่วมงานกับคนที่มีแนวคิดคล้ายๆ กัน

    หลังสงครามโลกครั้งที่สอง รับคนเก่งมากมาย จากหน่วยงานที่เลิกไป

    -Recall Packard’s Law-” No company can grow revenues consistently faster than its ability to get enough of the right people to implement that growth and still become a great company”

    -HP lived and breathed this concept and obtained a surplus of great people whenever the opportunity presented itself

    -Level 5 leadership: Modesty / Humility / Vision / Passion

    เป็นผู้นำที่สามารถผสมผสานคุณสมบัติ 2 ประการ ได้อย่างแนบเนียนคือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน+ความเป็นมืออาชีพ

    การปลูกฝังอุดมการณ์หลัก
    Core Values ค่านิยม

    Core Purpose วัตถุประสงค์ของการดำรงอยู่ ของบริษัทคืออะไร

    บริษัท MERCK

    -ก่อตั้ง ปี 1891 (123 ปี)

    -ปี1980 เกิดโรคระบาดที่แอฟริกา RiverBlindness หรือ Onchocerciasis เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อพาราสิต โดยมีแมลงวันดำเป็นพาหะของโรค ผู้ป่วยกว่า 18 ล้านคนที่กำลังป่วย และมีโอกาสที่จะตาบอดทุกราย

    -Merck มียาตัวหนึ่งที่สามารถฆ่าเชื้อพาราสิตนี้ได้ ยังไม่มีขนาดของยาที่เหมาะกับคน

    -“Merck ตั้งขึ้นมาและดำรงอยู่ต่อไปเพื่ออะไร?” คำตอบที่ชัดเจนจากคณะผู้บริหารทุกคนคือ “เพื่อรักษาและพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้ดีขึ้น (Preserving and Improving Human Life)” ซึ่งสื่อว่าไม่ได้มุ่งเรื่องกำไรเพียงอย่างเดียว

    -ใช้งบประมาณกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการผลิตและกระจายยา

    -คุณค่าหลัก (Core Values) ที่ Merck ยึดถือปฏิบัติอย่างเหนียวแน่นและเข้มแข็งมาโดยตลอดคือ “Medicine is not for profit, It’s for the people” ยาไม่ได้มีไว้เพื่อทำกำไร แต่มีไว้เพื่อประชาชน

    ไอเดีย 4 ข้อ ที่จะรักษาความยั่งยืน

    • -Clock Building, Not Time Telling เป็นผู้สร้างเครื่องบอกเวลา ไม่ใช่เป็นเพียงผู้บอกเวลา : สร้างองค์กรที่มีความยืนยาวและปรับตัวได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนผู้นำกี่รุ่น หรือไม่ว่าจะอยู่ในช่วงไหนของวงจรชีวิต ฟันเฟื่องขององค์กรก็จะยังคงดำเนินต่อไปถึงแม้ว่าผู้สร้างองค์กรจะจากไปแล้วก็ตาม
    • -Genius of AND มีความสามารถที่จะทำเรื่องที่ต่างกันอย่างสุดขั้วควบคู่กันไปได้อย่างดี : แทนที่จะเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็คิดหาวิธีที่จะทำทั้งสองเรื่องไปพร้อมๆ กัน
    • -Core Ideology มีอุดมการณ์หลัก คือ การปลูกฝังค่านิยมหลักและเป้าหมายหลัก เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ และแรงบันดาลใจของคนในองค์กร เป็นเวลายาวนานได้
    • -Preserve the Core/Stimulate Progress ธำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์หลัก ควบคู่ไปกับการสร้างความเจริญก้าวหน้า : ยึดมั่นอุดมการณ์หลักเป็นจุดมุ่งหมาย ในขณะเดียวกัน ก็กระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ (เปลี่ยนการดำเนินงานและกลยุทธ์แต่ยังคงยึดมั่นในค่านิยมและเป้าหมายหลัก)
    • The Hedgehog Concept
    • -เม่นกับหมาจิ้งจอก
    • -คนที่เป็นเหมือน "หมาจิ้งจอก" ก็เปรียบดั่งคนที่มองโลกซับซ้อน ตั้งเป้าหมายหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
    • -ส่วนคนที่เปรียบเสมือน "เม่น" จะทำให้เรื่องที่ซับซ้อนเป็นเรื่องง่าย และ ทำในสิ่งที่คิดว่าเขาจะทำมันได้ดีที่สุด
    • -ฉะนั้นคนที่จะทำให้บริษัทกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้นั้นจะต้องมีความคิดแบบตัวเม่น คือการมุ่งหน้าเพื่อสร้างบริษัทที่ยิ่งใหญ่เท่านั้น
    • พันธกิจของมอ.
    • สอน
    • วิจัย
    • บริการ : ขยายเป็น 750 เตียง แต่จำนวนผู้ป่วยขึ้นสม่ำเสมอ
    • มีการพัฒนาคุณภาพ พัฒนาบุคลากรกร ระบบงาน ระบบ QC QA มีกิจจกรม 5 ส. ได้รับรางวัล TQC

    อ.จีระเดช: สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยฉาบฉวยมาก เพราะชอบเอาตามแบบฝรั่ง ต้องมีความพร้อมมากกว่านี้ ส่วนเรื่องความยั่งยืนในหนังสือเล่มนี้ไม่มีความยั่งยืน อย่างเช่น บริษัท Wal mart ก็ไม่ได้มีความยั่งยืน

    เรื่องความยั่งยืน ถ้าจะ Great ต้อง Great by sustainability ตัวอย่างที่ดีคือท่านพระราชบิดา  

    “Brand Management”

    โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

    28 สิงหาคม 2557

    ดร.พจน์: หน่วยงานภาครัฐ จะพูดเรื่อง Brand และ image ควบคู่กันไป ได้มีโอกาสไปประชุมที่แพทย์รามา ซึ่งคิดว่าคล้ายคลึงกันสามารถนำมาแลกเปลี่ยนกันได้

    วันนี้เหมือนเป็นการแลกเปลี่ยนกัน สามารถเข้าไปคุยในเวปส่วนตัวของอาจารย์ได้ และหากใครที่คำถามก็สามารถถามได้ในทุกช่องทาง

    ถามว่ามีใครเรียนหรือจบทางนิเทศศาสตร์ หรือวารสารศาสตร์บ้าง ที่ถามเพราะอยากรู้ว่าทุกท่านมีความรู้เรื่องนี้มามากหรือน้อยแค่ไหน

    Brand เป็นต้นทุนที่สำคัญมาก คน สิ่งของ มหาวิทยาลัย ทุกอย่างมีภาพลักษณ์เฉพาะตัว สามารถกำหนดคุณลักษณะ มีการประเมินเบื้องต้นได้ ศรัทธาหรือไม่ศรัทธา อิทธิพลของภาพลักษณ์เป็นสิ่งที่สำคัญ

    ช่วงแรก ขอพูดถึงว่า Brand เป็นสิ่งแรกที่ผู้บริหารสนใจ แต่เรื่องสื่อสารเป็นเรื่องสุดท้ายที่จะสนใจ ในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมาระบบสื่อสารแตกต่างไปมากมาย ทุกวันนี้เปลี่ยนไปมากตอนนี้เรื่องสื่อสารทุกคนให้ความสำคัญมาก

    • -ใครเกี่ยวข้อง
    • -ใครเป็น Stakeholder ทั้งคนใน คนนอก ทางตรง ทางอ้อม เป็นอย่างไรบ้าง
    • -ถ้าไม่เป็นวาระต้นๆก็ไปต่อไม่ได้
    • เรื่องการทำสื่อต้องดูว่าเราทำเพื่อใคร และสื่อจะสนองตอบได้หรือไม่

    สิ่งที่ตามมาคือเรื่องยุทธศาสตร์การสื่อสาร จะเห็นว่า เมื่อก่อน 20 ปี เรียน กระบวนการสื่อสาร มีผู้ส่ง เนื้อหา ช่องทางหรือผู้รับ ซึ่งเป็นกระบวนการทำงานที่ให้ลุล่วงไป จนต้องการให้เห็น Feedback ทำให้การทำงานขององค์กรประสบความสำเร็จ ไปที่กระบวนการกระจายงานในแต่ละเรื่อง

    Brand ต้องจะรับรู้และจดจำคุณสมบุติได้ทันที

    สภาพแวดล้อม สภาพการแข่งขัน การใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า

    การแข่งขัน: เนื่องจากมีปัญหาการแข่งขันสูง ทำให้องค์กรต้องบริหารทุกส่วนอย่างคุ้มค่า มีทิศทางที่ชัดเจนไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจใดก็ตาม

    ทำอย่างไรให้เห็นว่าเรามีประสิทธิภาพดีกว่าคนอื่น

    วัดว่าเราจำอะไร เช่น รพ.ใดเป็นสิ่งที่ท่านนึกถึงก่อนเป็นชื่อแรก

    เมื่อเรานึกถึงภาคใต้ รพ.อะไรเป็นรพ.ที่เรานึกถึงก่อนเป็นชื่อแรก

    เพราะชื่อแรก เป็นชื่อที่มูลค่าสูงมาก

    หากต่ำกว่า 5 อยู่ในพื้นที่ลำบาก จะอยู่ในพื้นที่ที่โลกลืม เพราะคนไม่จำ

    เราบริหารจัดการสื่อสารเรื่องราวเหล่านั้นได้อย่างเต็มที่หรือไม่

    ปัญหาขององค์กร ว่าทำไมต้องสร้าง Brand ให้แข็งแรง

    • สังคมมีความคาดหวังสูงมาก
    • -สังคมมีความต้องการและคาดหมายที่มากขึ้นกว่าเดิม
    • -ทำให้วิธีการ รูปแบบที่มีอยู่การดำเนินการแบบเดิมไม่เพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการได้
    • -ทีน่ากลัวคือ ความต้องการไม่มีที่สิ้นสุด เพราะมีการเปรียบเทียบ
    • No the condition
    • -รูปแบบการบริหารทำงานแบเดิมอาจใช้ไม่ได้
    • -ไม่มีเงื่อนไข กฎตายตัวอีกต่อไป
    • เกิดนวัตกรรมใหม่ๆตลอดเวลา
    • -รู้ข้อมูลจากหลายแหล่ง มีระบบสื่อสารหลายช่องทาง หากออกแบบไม่เหมาะสมแต่มีคำวิจารณ์ แต่ไม่มีข้อสรุป ก็เป็นช่องทางที่น่ากลัว
    • -เพราะไม่ได้มีกฎของการใช้สื่อต่างๆ ทำให้เป็นช่องทางที่ไม่น่าเชื่อถือ
    • Communication Change
    • -การสื่อสารขององค์กรท่ามกลางความหลากหลาย มีทั้ง media social media และการพูดปากต่อปาก
    • -ซึ่งการสื่อสารมีผลต่อแบรนด์ทั้งสิ้น
    • -ต้องมีหน่วยตรวจสอบที่ตรวจสอบอย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์
    • แบรนด์แข็งแรงขึ้น เพราะ
    • -Non Forecast, Situation สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
    • -Stakeholders Inside ข้อมูลเชิงรุกที่เกี่ยวข้องกับเรา
    • -Stakeholder Engagement
    • -การบูรณาการการสื่อสารแบบเดิม และแบบใหม่
    • สถานการณ์องค์กรเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การเรียนรู้เป็นสิ่งที่สำคัญมาก
    • Brand image

    วิธีการมองเรื่อง Brand ให้เดินออกมาข้างนอกและมองเข้ามาข้างใน และเดินเป็นวงกลม

    Corporate Image ภาพลักษณ์องค์กร ทุกสิ่งทุกอย่างในองค์กร เกี่ยวข้องกับวิธีการดำเนินงานของเรา มีความเป็นมาอย่างไร มีความโปร่งใส

    ตกลงกันว่าอะไรเป็นจุดแข็ง

    Business Image ภาพลักษณ์ทางด้านหน้าที่ สินค้า และ บริการ

    อย่างภาพลักษณ์ของคณะแพทย์มอ. คือ การรักษา และ ความเข้มแข็งทางด้านวิชาการ รวมถึงภาพลักษณ์ทางด้านสังคมด้วย

    ต้องดันให้เป็นแคมเปญพิเศษในช่วงนั้นๆ

    ทั้ง 2 เรื่อง จะต้องเอื้อกันเสมอ

    ในที่สุดแล้วเกิดเป็น Brand Image ภาพลักษณ์ด้านชื่อเสียงขององค์กร

    ในแต่ละช่วง Brand หลักต้องมี และต้องมีการสื่อสารของ Brand ที่ปรับไปในแต่ละช่วง เช่น ปัจจุบันมีโรคอีโบล่า ก็ต้องจัดศูนย์ตอบข้อสงสัยของประชาชน

    Brand เป็นเรื่องความรู้สึก ที่ต้องบริหารความรู้สึกของคน

    วัตถุประสงค์ของการทำ Brand เพื่ออะไร

    • -ศูนย์กลางอยู่ทีผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด คือ Stake holder และ คู่แข่งขัน
    • -Brand Identity สิ่งที่ทำให้เราจำได้ เป็นคุณลักษณะ คือ สิ่งที่เป็นอัตลักษณ์ ทำให้คนจดจำ เช่น ธนาคารสีม่วง ก็รู้ว่าไทยพาณิชย์ จะเข้าสตาร์บัคส์ ก็รู้ว่าราคาแพง
    • -Brand loyalty ทุกวันนี้มีน้อย
    • เพราะคนรุ่นใหม่มีความคิดเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เกลียดความจำเจ ชอบความเสี่ยง ความท้าทาย ชอบลองของใหม่ คนชอบความสะดวก
    • -Market Share / Volume

    Stakeholders



    การสื่อสารเชิงกลยุทธ์ หวังผลให้เกิดประสิทธิภาพการสื่อสารที่ชัดเจนไปยังกลุ่มเป้าหมายองค์กรที่ประสบความสำเร็จ ต้องเรียนรู้กระบวนการสื่อสาร การจัดเครื่องมือภายนอกภายในให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

    Stakeholder Inside

    • -Information
    • -Life style

    การจัดการสื่อสาร ต้องการทั้ง relation และ Connection

    สิ่งที่ผู้บริหารต้องดู คือ ต้องรู้ Life style ของคนที่ไปติดต่อด้วย

    Brand Image, Reputation Importance Processing ชื่อเสียงเกียรติภูมิขององค์กร คุณค่าและความสำคัญขององค์กร ทิศทางความก้าวหน้า

    ภาพลักษณ์เกิดขึ้นโดยลำพังไม่ได้ ต้องมีการได้รับแสดงความสนใจ การมีส่วนร่วม สัมพันธภาพ Interest Participating Relations

    อ.ทำนอง: person brand สร้างอย่างไร โดยใช้เวลาไม่นาน มีปัจจัยอะไร

    อ.พจน์: ดูว่า Brand นั้นจะอยู่นานได้เท่าไหร่ ทุกวันนี้มีฮีโร่ใหม่ขึ้นทุกวัน ส่วนหนึ่งที่เห็นคือ สร้างแก่นของความสามารถ สร้างความเป็นจริงให้ปรากฏ

    สิ่งที่ท้าทาย คือ ไม่ได้มาจากความสามารถที่แท้จริง และไม่สม่ำเสมอ

    ประเทศต้องการบรรยากาศการลงทุน ให้ต่างชาติเกิดความเข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้น และจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต

    ต้องดูว่าในความเชี่ยวชาญจะให้อะไรแก่สังคมได้บ้าง

    คำถาม: วิธีการปรับแบรนด์คนว่าดีหรือไม่ดีดูอย่างไร

    อ.พจน์: ต้องดูว่า ทำให้เด่นชัดได้อย่างไร ต้องดูว่าแบรนด์ที่มีปัญหา คือ มีปัญหาอะไร แบรนด์ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ ถ้าปัญหานั้นยังอยู่

    คำถาม : ความแตกต่างระหว่าง Corporate image กับ Brand image

    อ.พจน์ : Corporate image ความรู้สึก หรือการจดจำเป็นภาพรวมของบริษัท หรือองค์กรนั้นๆ จากคนทั่วไปที่มองเห็นได้ด้วยวิธีต่างๆ

    Brand image ภาพลักษณ์ของตัวองค์กร ภาพโดยรวมของแบรนด์ ในใจของผู้บริโภค

    นันท์นภัสถ์ พรหมรักษ์

    วันที่ 28 สิงหาคม 2557

    ในช่วงเช้าถอดบทเรียนจากหนังสือGood to Great สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ อุปสรรคเกิดขึ้นเพราะคน ดังนั้นถ้าจะแก้ปัญหาหรือแก้ไขก็ต้องแก้ที่คน ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมความมีวินัย การเป็นผู้นำต้องรู้จักตั้งคำถาม การได้เรียนรู้ทฤษฎี Hedgehog 

    การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร การสร้างBrandที่ดีเราต้องคิดว่าสิ่งที่เรามีและสิ่งที่stakeholdersต้องการนั้นต้องตรงกัน Brandเราถึงจะประสบความสำเร็จและคนจะจำได้ ชอบที่อาจารย์พจร์ กล่าวว่า "ถ้าสร้างความแตกต่างไม่ได้ก็ไปตายซะเถอะ"

    การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพคือการสื่อสารที่สร้างความชัดเจนให้กับองค์กรและทำให้องค์กรเกิดประโยชน์สูงสุด  

    ในช่วงสุดท้าย อ.จีระได้ให้พวกเราฟังบทสนทนาของดร.โจเซฟ ซึ่งฟังแล้วเห็นด้วยกับเรื่องการศึกษาของคนไทยที่ไม่เน้นเรื่องการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเน้นแต่ปริญญาทำให้เมื่อทำงานเจอปัญหาการไม่กล้าแสดงความคิดเห็นจนก่อให้เกิดปัญหาในการทำงาน เพราะฉะนั้นถ้าเราเจอภาวะคับขันให้เราตั้งสติก่อนและคิดก่อนว่าถ้าเราไม่พูดจะทำให้เกิดปัญหาใดตามมาบ้างและถ้าเราพูดจะเกิดประโยชน์ใดบ้างสิ่งเหล่านี้ถ้าเรารู้จักคิดก็จะทำให้เรากล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็นมากยิ่งขึ้น

    28 สิงหาคม 2557

    ช่วงเช้ากับการวิเคราะห์สรุปบทความจากหนังสือ Good to Great ประทับใจเกร็ดความคิดที่ว่าจงเป็นผู้นำด้วยการตั้งคำถามไม่ใช่ด้วยการให้คำตอบ  และควรให้พนักงานที่ดีที่สุดได้รับโอกาสที่ดีที่สุด ไม่ใช่ให้แก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด  รวมทั้งทบทวนการตัดสินใจที่ผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้  ไม่ใช่เพื่อหาคนทำผิดมาลงโทษ

    สำหรับการบรรยายภาคเช้า เรื่่อง Brand management : ดร. พจน์ ใจชาญสุขกิจ  ในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง และการแข่งขัน  องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน มีการปรับตัวให้อยู่รอดและเติบโตอย่างยั่งยืน ไม่ง่ายเลยหากต้องการรักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ขององค์กร  ภายใต้ข้อแรงกดดันเหล่านี้

     : High Competition มีการแข่งขันสูง ทำอย่างไรให้เค้ารู้จักเรา โดยการบริหารทรัพยากรให้คุ้มค่ามากที่สุด

    : High Expectation สังคมสมัยนี้มีความคาดหวังและความต้องการมากขึ้นกว่าเดิมมาก ทำให้วิธีการ รูปแบบที่มีอยู่หรือการดำเนินการแบบเดิมไม่เพียงพอ ที่จะรองรับความต้องการได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความต้องการไม่มีที่สิ้นสุดและมีข้อเปรียบเทียบ

    : No the Condition รูปแบบการบริหารทำงาน แบบเดิมอาจใช้ไม่ได้ ไม่มีเงื่อนไข - เรื่องบางเรื่องไม่สามารถใช้ตัวแบบหรือกฎระเบียบมาอธิบายได้

    : All Innovation เกิดนวัตกรรมในทุกภาคส่วนอยู่ตลอดเวลา

    : Communication change การสือสารขององค์กร ท่ามกลางความหลากหลาย การสื่อสารที่หลากหลายจะกระทบกับแบรนด์ ในองค์กรใหญ่ ๆ จะมีการสำรวจ ติดตาม กระแสการวิพากษ์วิจารณ์แบรนด์ หรือชื่อเสียงขององค์กร มีการตรวจสอบอย่างรวดเร็วและแก้ไขให้ทันสถานการณ์ 

    ดังนั้นการสร้างแบรนด์ต้องมาจากแก่นลึก และความสามารถ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญที่แท้จริง ต้องสร้างความเป็นจริงให้ปรากฎให้คนรับรู้อย่างลึกซึ้ง โดยหลักการสำคัญ คือ

    1. สร้างความเป็นจริงให้ปรากฎ

    2. อย่าหยุดการสื่อสาร ต้องมีความสม่ำเสมอ คงเส้นคงวากับหน้าที่ของตนเอง ตอบรับโอกาสทางสังคม

    ภาคบ่าย กับหัวข้อบรรยาย การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร ซึ่งพบว่านอกจากการสื่อสารภายในองค์กรนั้น การสร้างความสัมพันธ์กับเครือข่ายและชุมชน รวมทั้งvStakeholder  และการทำกิจกรรมเพื่อสังคม ควรจะตอบภาระกิจหลักขององค์กรด้วย และควรสร้างให้คนในองค์กรมีส่วนร่วม ไม่ใช่เพียงผู้ที่มีหน้าที่หรือบางกลุ่มเท่านั้น  นอกจากการสื่อสารหรือสื่อความในภาวะปรกติหรือสถานการณ์ปรกติขององค์กรแล้ว  ในภาวะวิกฤตขององค์กรก็ควรมีแผนรับมือกับภาวะวิกฤตนั้นคือ Crisis Communication Plan (การสื่อความในภาวะการเกิดวิกฤตขึ้นกับองค์กร) ด้วย

    สำหรับช่วงของการร้ับชมบทสัมภาษณ์ ดร.โจเซฟ  การสื่อสารในองค์กรมีความสำคัญมาก ปัญหามากมายเกิดจากการไม่พูด ไม่กล้า ปิดบังความจริง และการไม่ยอมรับฟังของผู้บริหาร การทำให้ผู้ใต้บังคับบัญชายอมเปิดใจบอกเล่าเรื่องราวปัญหา หรืออุปสรรคในการทำงาน  ถือเป็นการสร้างโอกาสแห่งการพัฒนาองค์กรที่สำคัญ  ซึ่งการทำให้คนในองค์กรมีวัฒนธรรมแห่งการเปิดใจรับฟัง และกล้าแสดงความเห็นนั้นก็เป็นสิ่งที่คนในองค์กรต้องเรียนรู้และร่วมสร้างให้เกิดขึ้นต่อไป

    ทิชากร เพชรณรงค์


    28 ส.ค. 2557

    • -เรียนรู้จากการ present จากกลุ่มต่างๆจาก หนังสือ Good to Great

    การเลือกคนเก่งไปทำให้องค์กรเป็นgreat ไม่ได้เลือกคนเก่งไปแก้ปัญหา ผู้นำระดับ 5 คือผู้นำที่มีความมุ่งมั่นทะเยอทะยานต่อความสำเร็จขององค์กร มีความพากเพียร มองว่าความสำเร็จขององค์กรเกิดจากความร่วมมือของทุกคน กล้าเผชิญความจริง

    เป็นผู้นำต้องผู้ที่ถามไม่ใช่ให้คำตอบ กระตุ้นให้มีการโต้แย้ง ถกเถียงอย่าสร้างสรร ทบทวนการตัดสินใจที่ผิดพลาดไม่ใช่มัวแต่หาคนทำผิด กล้ารับผิด

    สรุปผู้นำต้องเก่งคน เก่งคิดและเก่งงาน

    • -Brand Management และการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร จาก ดร.พจน์

    Brand เป็นสิ่งที่เราสัมผัสได้ รู้สึกได้จากความจริงที่ปรากฏ ฉะนั้นเราจะบริหาร ความรู้สึกให้คนรับรู้ได้อย่างไร การสื่อสารขององค์กรทำให้ Brand แข็งแรง ถ้าคนอื่นทำ /มี เหมือนเราทุกอย่าง คนจะไม่จดจำ ทำอย่างไรที่ไม่เหมือนใครให้เป็น Brand ของเรา และต้องทำสม่ำเสมอคงเส้นคงวา

    นอกจากนั้นได้เรียนรู้การสร้าง BrandImage ถ้ามี Brandvalue จะมีแนวร่วมไม่จำกัดจำนวน

    15 ส.ค. 57 กับกิจกรรม CSR Corporate social responsibility กิจกรรมองค์กรเพื่อสังคม ที่โรงเรียนเกาะแต้วพิทยาคม  รู้สึกดีมากค่ะ  ได้เห็นรอยยิ้มของเด็ก ๆ ในช่วงแรกน้อง ๆ อาจยังไม่กล้าเปิดใจ ดูเคอะเขิน และยังระแวงอยู่มาก แต่เมื่อพี่ ๆ ให้ความเป็นกันเอง กิจกรรมกลุ่มสนุกสนาน ช่วยให้เด็ก ๆ กล้าที่จะมีส่วนร่วมมากขึ้น  พยายามมีส่วนร่วมในกิจกรรมกันทุกคน  

    เป็นคนสงขลาเองแท้ ๆ ยังไม่เคยไปโรงเรียนแห่งนี้ ประทับใจกับขนาดเนื้อที่ และอนาบริเวณที่กว้างขวาง ร่มรื่น มีพันธ์ุไม้หายากมากมาย ครูและนักเรียน รวมทั้งผู้ปกครองในชุมชนเป็นมิตรมาก ๆ เป็นโรงเรียนที่ต้องปรบมือให้กับความร่วมมือของผู้ใหญ่ใจดีที่ร่วมกันผลักดัน ให้โรงเรียนคงอยู๋และพร้อมก้าวสู่การเป็นโรงเรียนด้านส่งเสริมกิจกรรมกีฬาต่อไป


    ทิชากร เพชรณรงค์

    สรุปบทเรียน วันที่ 28/8/57

    Present good to great

    จากงานวิจัยของ Jim พบว่าบริษัทที่ก้าวกระโดดเพราะมีการเน้นจุดที่เป็นจุดแข็งของทรัพยากรบุคคล จากการวิเคราะห์โดยใช้วิธี deep analysis พบว่า CEO ส่วนใหญ่มาจากคนภายในของบริษัท สิ่งไหนที่ไม่ควรทำต้องตัดเลย และเทคโนโลยีเป็นตัวสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

            บริษัทที่ดีเยี่ยมต้องมีผู้นำเบอร์ 5 ซึ่งเป็นคนที่อ่อนนอก คืออ่อนน้อมถ่อมตน แต่แข็งใน คือมีความเด็ดขาด มีความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนบริษัทจาก good to great ยอมรับในการกระทำของตัวเองไม่ตำหนิผู้อื่น มีวิธีคิด คือ first who….then what คือรับคนเข้ามาก่อนแล้วใส่งานเข้าไปแล้วเก็บคนที่ใช่ไว้ถ้าไม่ใช่คัดออก มีความคิดอย่างมีวินัย ตั้งใจสร้างวัฒนธรรมความมีวินัยเพราะวินัยทำให้องค์กรยั่งยืน สามารถเผชิญความจริงที่โหดร้ายได้ มีแนวคิดแบบ hedge hog ใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมเพื่อการสนับสนุนการทำงาน แต่สิ่งที่สำคัญกว่า good to great คือ built to last คือการสร้างให้ยั่งยืน โดยการกำหนดวิธีหรือมาตรฐานการทำงาน การทำงานต้องมีและ..ไม่ใช่หรือ.. ปลูกฝังค่านิยมหลักขององค์กรให้ได้ และธำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์หลักและสร้างควบคู่ไปมีการพัฒนาเป็น CQI

    Brand Management

    เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จทางการตลาด เพราะช่วยให้สามารถแยกแยะการบริการของตนออกจากผู้อื่น ช่วยให้ผู้รับบริการประทับใจในบริการของเราได้ ซึ่งจะมีผลต่อการมาใช้บริการซ้ำ ทำไมเราต้องมี brand ที่แข็งแรง ก็เพราะว่าสภาพปัจจุบันมีการแข่งขันกันเยอะ ทำให้เราต้องบริหารทุกส่วนอย่างคุ้มค่ามีทิศทางที่ชัดเจน นอกจากนี้ความคาดหวังของสังคมที่สูงขึ้น ทำให้วิธีการ รูปแบบที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบันไม่เพียงพอที่จะรองรับความต้องการได้ นอกจากนี้มีนวัตกรรมใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา มีการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ

                brand ต้องมีการปรับให้เข้ากับแต่ละช่วงเพื่อความทันสมัย และต้องมีการสื่อสารเผยแพร่ข้อมูล ที่รวดเร็ว เพราะข้อมูลที่เผยแพร่ส่งผลอย่างยิ่งต่อการสร้างภาพลักษณ์การเผยแพร่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ควบคู่ไปกับการสื่อสารลักษณะอื่นๆการสร้างความแตกต่างสาหรับการรับรู้ที่ชัดเจนโดยนอกจากจะมุ่งให้คนรู้จักองค์กรและใช้บริการแล้วต้องมีความชื่นชอบเชื่อถือศรัทธาและมีความผูกพันกันในระยะยาวด้วย ดังนั้นการที่ชื่อเสียงขององค์กรจะเติบโตได้มีข้อได้เปรียบคือด้านความเชี่ยวชาญชำนาญในการสื่อความการเลือกช่องทางการคิดค้นกิจกรรมการสื่อสารที่โดดเด่นและโดนใจเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวกลุ่มเป้าหมายและนำผลการวิจัยมาช่วยในการสื่อสารทำให้การสร้างภาพลักษณ์มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น สรุปการสื่อสารต้องเน้นเนื้อหาเป็นหลัก ตามด้วยการใช้ช่องทางสื่อ รูปแบบที่เข้าถึงและจดจำได้ง่าย

    Crucial Conversation

    คนที่จะประสบความสำเร็จในการสนทนาให้ได้เนื้อความที่ชัดเจนและตรงไปตรงมาควรมีคุณสมบัติสองประการ คือ สามารถพูดความจริงได้อย่างนิ่มนวลแบบไทยและจริงใจแบบฝรั่ง แต่จริงๆแล้วเรื่องนี้พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้มาแล้วกว่า 2600 ปี พระพุทธเจ้ารู้ว่าเมื่อเราเกิดทุกข์ เราจะมีหนทางแห่งการดับทุกข์ได้อย่างไร ก็คือ การใช้มรรคมีองค์แปด หนึ่งในแปด ก็คือ สัมมาวาจา การพูดจาชอบ นั่นคือเราพูดด้วยจิตว่าง คือจิตที่ไม่มีกิเลสตัณหา ผลที่ตามมาก็จะทำให้การสนทนานั้นๆเป็นไปได้ด้วยดี

    28 สิงหาคม 2557 

    การที่คณะแพทย์ของเราจะเป็นองค์กรที่ Good to Great นั้น ถ้าวิเคราะห์ตามแนวคิด Disciplined People Disciplined Thought และ Disciplined Action ในหนังสือเล่มนี้ฉันคิดว่ามีโอกาสเป็นไปได้ เพราะเรามีผู้นำระดับ5มาทุกยุคทุกสมัย มีความมุ่งมั่นที่จะนำพาองค์กรของเราไปสู่มาตรฐานที่ดีกว่าอยู่ตลอดเวลา บุคลากรของเราส่วนใหญ่ได้รับการคัดเลือกมาอย่างดี มีความรู้ความสามารถเฉพาะตัวสูง มีเทคโนโลยีที่ดีช่วยในการทำงาน บุคลากรถูกปลูกฝังค่านิยมด้านคุณภาพมาอย่างต่อเนื่อง เราเชื่อว่าสิ่งที่เราคิดว่าดีที่สุดในวันนี้ แต่เมื่อบริบทเปลี่ยนไปก็จะมีสิ่งที่ดีที่สุดขึ้นมาได้อีก แต่เนื่องจากเราไม่ใช่เป็นองค์กรด้านธุรกิจที่วัดกันด้วยผลกำไรหรือจำนวนของสาขาที่เพิ่มขึ้น แต่เราวัดกันที่ความไว้วางใจ และความศรัทธา ของประชาชน อย่างไรก็ตามการที่องค์กรของเราผ่านการประเมินจากองค์กรภายนอกเช่น HA TQA หรือการได้รับรางวัลต่างๆมากมาย ก็ย่อมจะแสดงให้เห็นว่าเราก็มีสิทธิเป็นGreat ได้แน่นอน

    โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ถูกกำหนดแบรนด์มาตั้งแต่วันแรกที่ก่อตั้งว่า เราจะเป็นรพ.ที่รักษาโรคยากและซับซ้อน มีคุณภาพสูงและเป็นที่พึ่งของชาวใต้ ซึ่งตลอดเวลา30กว่าปีที่ผ่านมาบุคลากรก็ช่วยกันส่งเสริมให้แบรนด์นี้เป็นสิ่งที่จดจำของชาวใต้เสมอมา ถ้าถามคนภาคใต้ว่า ถ้าป่วยหนักเขานึกถึงรพ.อะไร ฉันเชื่อว่าคำตอบคือรพ.ม.อ. ขอบคุณบุคลากรรุ่นบุกเบิก ขอบคุณผู้นำทุกสมัย ที่มุ่งมั่นทุ่มเททำงานอย่างไม่ย่อท้อจนทำให้รพ.ของเรามีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับและศรัทธาของประชาชน ต่อไปก็เป็นหน้าที่ของพวกเรารุ่นปัจจุบันและรุ่นถัดๆไปที่จะมาสานต่อในการร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาคุณภาพ ให้รพ.ของเราเป็นรพ.ที่หนึ่งในใจของประชาชนชาวใต้อย่างยั่งยืน 

    กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย

    โดย ดร.วัลลภ ปิยะ มโนธรรม

    29 สิงหาคม 2557

    สิ่งที่ทำให้คนยุคนี้เครียดที่สุด เพราะต้องดิ้นรนอยากได้สิ่งเหล่านี้กันมากที่สุด

    1. มั่งมี มีเงินทอง (wealthy) : ไม่เคยหยุด ต้องคอยหาเพิ่ม

    2. มีชื่อเสียง คนรู้จัก (famous) ไม่เคยหยุดต้องสร้างภาพ

    3. ได้เลื่อนยศ ตำแหน่งสูง (prestige) ไม่เคยหยุดต้องดิ้นรน

    โรคBipolar เวลาอยู่ในสังคมจะแสดงอารมณ์มากไป พอกลับมาอยู่คนเดียวพลังหมด

    เพราะฉะนั้นต้องมีการบริหารความเครียด

    บุคลิกภาพมนุษย์

    แบ่งเป็น พลังชีวิต พลังจิต 10 หน่วย

    บุคลิกภาพที่สมดุล แบ่งเป็น

    • -พลังความคิด 4
    • -พลังความรู้สึก 3
    • -พลังการกระทำ 3

    แต่เวลาเครียด จะความรู้สึกหวั่นไหวง่าย ต้องฝึกอารมณ์ให้หนักแน่นขึ้น

    -พลังความคิด 6

    -พลังความรู้สึก 1

    -พลังการกระทำ 3

    ทำมากไป ความรู้สึกนึกคิดน้อยลง ต้องฝึกใช้เหตุผลและรู้สึกมากขึ้น

    -พลังความคิด 2

    -พลังความรู้สึก 2

    -พลังการกระทำ 6

    ปัจจุบันประเทศที่เครียด มีโรคซึมเศร้า ฆ่าตัวตาย มากที่สุดในโลก คือ สวีเดน สวิสเซอร์แลนด์ อันดับ 2 รัสเซีย อันดับ 3 ซึ่งเป็นประเทศที่มีความเจริญด้านเศรษฐกิจ การเมืองนิ่ง แต่ฆ่าตัวตายมากที่สุดเพราะสภาพภูมิอากาศที่หนาวมาก ทำให้เลือดลมไม่ไหลเวียน ไม่เจอแดด ไม่มีชีวิตชีวา ความหนาวทรมานมากที่สุด

    สมองเป็นส่วนที่เย็นที่สุด ห้ามให้แอร์ลงหัว ไม่สบาย

    ท้อง เป็นส่วนที่ร้อนที่สุด ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนต้องกินน้ำอุ่นๆ ไม่ใช่น้ำเย็น จะทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้

    สมองสามส่วน (ส่วนนอก ส่วนกลาง ส่วนใน)

    สมองส่วนนึกคิด (Neocortex)

    การนึกคิด การทรงจำ ภาษาพูด สัญลักษณ์

    สมองส่วนอารมณ์ความรู้สึก (Limbic Brain)

    การแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความสัมพันธ์

    สมองส่วนสัญชาตญาณ (Reptilian Brain)

    ระบบการหายใจ การพักผ่อน การนอนหลับ การย่อยอาหาร การขับถ่าย การไหลเวียนของโลหิต การเจริญพันธุ์ และสัญชาตญาณการต่อสู้ (สู้ หนี นิ่ง)

    ปฏิกิริยาตอบสนองต่อความเครียดอย่างอัตโนมัติ ( รักษาอาการโรคด้วยตัวมันเองได้ ) ศูนย์รวมชีวิตของการอยู่รอด การอยู่ได้ การอยู่ร่วม การอยู่ดี การอยู่ต่อ ( ไร้สิ่งคาใจ )

    แก้ความเครียดได้ด้วยตัวเอง โดยที่เราไม่ต้องรู้ตัว ในคลาสนี้จะเน้นเรื่องการใช้สมองส่วนสัญชาตญาณ

    สมองจะรับรู้ เรียนรู้ได้ดีที่สุดและโตเต็มที่ที่สุด 2-6 ปีแรก ของชีวิตที่เรียกว่า Golden year ความจำที่ติดแน่นที่สุด เป็นจิตใต้สำนึก ถึง 80% แต่อีก 20% คือ ส่วนที่ต้องใช้เวลาในการรับรู้ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มเติมเข้าไปอยู่เสมอ จึงทำให้กระบวนการเรียนรู้ในชีวิตเราไม่เคยหยุด

    เซลล์ทั่วรายกายของมนุษย์ 100 ล้านล้านล้าน เซลล์จะปรับเปลี่ยนใหม่หมดทุกๆ6ปี

    การรับรู้ เรียนรู้

    เซลล์งอกเงยจากเท้า ค่อยๆขึ้นมาถึงศีรษะ

    ท่าผ่อนคลายเส้นใยประสาทสมอง ให้หายใจเข้าแรงๆลึกๆแอ่นไปด้านหลังแล้วหายใจยาวๆดังๆออกทางปาก จึงค่อยๆแอ่นตัวโค้งไปด้านขวาครั้ง ด้านซ้ายครั้ง ให้วงจรสทองทั้ง 3 ส่วนสมดุล

    สิ่งที่ทำให้เกิดความหงุดหงิดมากที่สุด คือ การสื่อสารกันอย่างไม่รู้เรื่อง พูดกันคนละเรื่อง เวลาที่พูดคุยกันต้องมองหน้า มองตา ต้องมีอวัจนภาษา ภาษากายมีความสำคัญกว่าภาษาพูด

    • -ต้องมีการมองตา
    • -สีหน้า
    • -กริยาท่าที
    • -น้ำเสียง
    • -ลมหายใจ

    ผู้นำระดับโลก ใช้ภาษากายมากกว่าภาษาพูด

    จิบหรือดื่มน้ำบ่อยๆ ในแต่ละวันควรจิบดื่มน้ำ วันละ 8 แก้วขึ้นไป ช่วยให้เลือดลมไหลเวียน โดยเฉพาะในสมองต้องมีเลือดอยู่ 80%

    เส้นประสาทนิ้วเท้าที่เชื่อมโยงกับระบบสมอง-ปอด-หัวใจ-ท้องช่วงหัวเราะ ให้ฝ่าเท้าทั้งหมดแนบสนิทกับพื้น สุขภาพแข็งแกร่ง-ดี



    ตื่นเช้าควรขยับจากส้นเท้าขึ้น แนบเต็มฝ่าเท้า แล้วจึงยกปลายเท้าขึ้นลงๆ 10 ครั้ง ช่วยให้สมองดี มีพลัง

    เวลาเดิน ให้ฝ่าเท้าแนบแน่นกับพื้น แล้วแขนกับเท้าต้องสลับข้างกัน

    บริหาร ไตทั้งสองข้าง ให้ดี และยังช่วยเพิ่มพลังสมอง การบริหารไต เริ่มจากหายใจลึกๆออกช้าๆ 2-3 ครั้ง แล้วยักหรือยืด

    สะโพก ยักสะโพกหนักแน่นไปข้างซ้ายที ข้างขวาที

    โยกท้อง กระเพาะ ลำไส้ โยกท้องบนท้องล่างเป็นวงรี หมุนรอบเป็นเลข 8

    ใบหน้า สมอง ยิ้มกว้างจนแก้มปริ(บาน) สลับกับ เลิกหน้าผากขึ้นบน(เบิก)

    เวลานอนไม่หลับ ให้เอาเท้าแช่น้ำอุ่น จะคลายเครียดได้ดี และจะทำให้นอนหลับง่ายขึ้น

    ทั้งนิ้วมือ และนิ้วเท้าสำคัญ ต้องขยับบ่อยๆ คลายเครียดได้

    การนวดด้วยพลังจิต ต้องเพ่ง ต้องมีสมาธิ

    บริหารนิ้วมือโป้งและนิ้วก้อย สลับขึ้นลงทีละข้างพร้อมกันเพื่อพัฒนาสมอง

    บริหารนิ้วหัวแม่โป้งทั้งสอง เพื่อพัฒนาสมองคิดด้านบวก

    สมองซีกซ้าย

    • -ความนึกคิด
    • -คิดวางแผน มีเป้าหมาย
    • สมองซีกขวา
    • -รับรู้สิ่งใหม่ๆ คิดสร้างสรรค์
    • -อารมณ์ รู้สึก ความสัมพันธ์

    กิจกรรม ให้ขีดเส้น 2 เส้น ลงกระดาษ

    • คนขีดแนวนอน ใช้สมองซีกขวา ชิลๆ สบาย
    • คนขีดแนวตั้ง บนสู่ล่าง สมองแก่แล้ว ต้องขีดจากล่างสู่บน ถึงจะพัฒนาสมอง
    • คนขีดแนวนอน และแนวตั้ง เป็นคนที่มีทั้ง EQ และ IQ
    • เรื่องลายเซ็น
    • ลายเซ็น เป็นสัญลักษณ์ ต้องอ่านไม่ออก ถ้าอ่านออก เป็นคนขี้ขลาด
    • ลายเซ็นต้องห้ามย้อนกลับ
    • ถ้าเซ็นห้ามจุด เพราะจะป่วย
    • ลายเซ็น ต้องเซ็น ชื่อ และมีนามสกุล
    • ห้ามขีดเส้นใต้ เพราะจะขาดความเชื่อมั่น
    • เวลานอนหลับลึกและเต็มอิ่ม นอนตะแคงขวา
    • ใครเครียดต้องนอนหงายก่อน ตะแคงซ้าย เพื่อคิดก่อน เวลาใกล้นอนก็ตะแคงขวา
    • ไมเกรน ใช้สมองซีกซ้ายมากไป แต่ไม่ใช้สมองซีกขวา และพบว่าผู้หญิงเป็นไมเกรนเยอะกว่าผู้ชาย
    • ผู้หญิง ชอบไปชอปปิ้ง คือ ได้ใช้สมองซีกขวา
    • ผู้หญิง จำเป็นต้องร้องเพลง ฟังเพลง เม้าท์มากๆ เพราะเป็นการใช้สมองซีกขวา สามารถผ่อนคลายได้
    • ผู้ชาย สามารถหลงรักผู้หญิง 7 วินาที ผู้ชายสามารถเลิกรักผู้หญิงได้ 6 วินาที

    นักกีฬาเก่งๆ ส่วนใหญ่ถนัดมือซ้าย เพราะเวลาเรียนรู้สิ่งใหม่ จะเข้าสมองซีกขวา จึงถนัดมือซ้าย

    • การรับรู้ เรียนรู้สิ่งใหม่ เริ่มจากเข้าสมองซีกขวาก่อน

    สุขภาพดีคิดสร้างสรรค์ใช้สมอง 2 ซีก

    สมองที่เครียดมาก คือ สมองที่ไม่เชื่อมโยง จะทำให้ไหล่ติด ข้อศอกตอด สะโพกติด หัวเข่าติด เจ็บข้อไหล่ ยกแขนไม่ขึ้น ก้าวขาไม่ออก

    วิตกจริต เมื่อความคิดกระโดดจากปัจจุบันไปยังอนาคตแต่เรื่องร้ายๆ กระทบกับเส้นประสาท ทำให้เป็นโรคประสาท ใจสั่น ปวดหัว ท้องมวน วิธีแก้ คือ ความคิดต้องไม่กระโดดไปล่วงหน้าว่าต้องทำอะไรต่อจากที่กำลังทำอยู่ ซึ่งมักจะเป็นเรื่องป้องกันตัว เป็นเรื่องลบๆเกิดเป็นอาการวิตกจริตกันได้ จึงต้องรู้จักฝึกให้คิดอยู่กับปัจจุบันขณะเป็นฐานชีวิตไว้ แล้วจะคิดอนาคตนึกอดีตก็ไม่เป็นไร

    เวลาอาบน้ำ ให้อาบจากล่างสู่บน ต่อมน้ำเหลือง 3 ส่วน ที่ ขาหนีบ รักแร้ ข้อพับ เวลาล้างหน้าให้ถูจากล้างสู่บน

    • กังวลจริต เมื่อเราต้องการความแน่นอน แน่ใจ ความมั่นคง

    รูรั่วทางจิต ก็จะผุดขึ้นมาเป็น ความกังวล

    • แก้โดย ทำให้เป็นสุขในปัจจุบัน
    • ความกลัว อาการทุกอย่างที่เคยเกิดกับเรา แก้โดย ไม่ถอย ไม่หนี ไม่คอยไปกำจัดทิ้ง ไม่คอยไปซ้ำเติมมัน
    • โรคประสาทมี 2 อย่าง โรคประสาทตึง โรคประสาทอ่อน

    ผู้ที่หายใจไม่เต็มแน่นลึก มักจะมีปัญหาจากเคยสะเทือนขวัญ หรือความเครียดเรื้องรัง

    ความคิดสงบ

    ความคิดคนเราสงบนิ่งลงได้เมื่อ

    1. ช่วงการหายใจแรงๆให้เต็ม แน่น ลึก

    2. ช่วงเปล่งเสียงออกไปยาวๆอย่างหนักแน่น

    3. ช่วงออกกำลังกายทั่วตัวอย่างเป็นจังหวะ

    4. ช่วงมีเพศสัมพันธ์

    เซลล์ในร่างการจะเชื่อตามที่นึกคิดซ้ำๆพูดบ่อยๆรู้สึกเสมอๆหรือทำประจำๆ เซลล์ก็จะงอก เงย งาม ตามที่เราบรรจุเข้าไปกลายเป็นนิสัย เป็นบุคลิกภาพ

    เพลงของ Mozarts symphony no.40 in G minor เป็นเพลงที่มีส่วนในการช่วยรักษาจิตใจของผู้ฟัง

    การหายใจที่เกิดเป็นพลังปราณให้หายใจเข้า-กลั้น-ออก แบบ 1-4-2

    ฝึกหายใจเข้าจากจมูกปาก ขึ้นโพรงจมูก ลงคอ ลงเต็มอก เต็มท้อง 5 จังหวะ แล้วกลั้นไว้เต็มอก เต็มท้องบน แล้วดันลึกลงถึงท้องน้อยให้พองออก 20 จังหวะ จึงค่อยปล่อยลมหายใจออกจากท้องน้อย ท้องบน อก

    เวลาเครียดให้นวดหน้าด้วย 7 อารมณ์ใบหน้าความรู้สึก ถ้าเปล่งเป็นภาษาพูดWhat shall I do for today

    ท่าแกว่งแขน ด้วยจังหวะการหายใจเข้า-กลั้น-ออก (1-4-2) ช่วยให้ต่อมน้ำเหลืองดี กระเพาะ ลำไส้ดี สุขภาพดี และสมองดี

    ความรัก เริ่มจากการโอบกอดมาตั้งแต่เด็ก จะได้รับฮอร์โมน Oxytoxin โตขึ้นจะเกิดความมั่นใจ ไม่ใจสั่น ไม่ว้าเหว่ โดดเดี่ยว หงอยเหงา ไม่ต้องคอยกระตุ้นร่างกายตัวเอง ไม่เป็นโรคซึมเศร้า

    ความสุขในชีวิต คือ ได้ทำในสิ่งที่รัก

    โรคร้ายไขมันทรานส์

    โรคเรื้อรัง อาทิ โรคหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมองเสื่อม โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง กำลังเป็นปัญหาสำคัญทั่วโลก

    ปีพ.ศ.2548 องค์การอนามัยโลกประกาศว่า โรคเรื้อรังได้คร่าชีวิตคนทั่วโลกถึง35 ล้านคน และคาดว่าอีก10ปีข้างหน้าจะคร่าชีวิตคนทั่วโลกถึง400ล้านคน โดยร้อยละ80อยู่ที่ประเทศกำลังพัฒนา

    ในประเทศไทยขณะนี้ พบว่าประมาณ25 ล้านคน กำลังเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมองเสื่อม

    โรคกรดไหลย้อน : เกิดจากความเครียด กินไม่เป็นเวลา กินแล้วลงนอน เคี้ยวไม่ละเอียด หายใจไม่เต็ม-แน่น-ลึก จะมีอาการ กลืนจุก เหมือนมีก้อนติดในลำคอไอบ่อย แสบระคายคอ มีเสมหะ สำรอก อาเจียน

    พลังสัมผัส

    ใช้ฝ่ามือ แตะ บนเซลล์กายที่เป็นอาการเครียด หรืออาการ

    โรคที่รู้ตัว หรือยังไม่รู้ตัว เป็นอาการที่กำลังจะเป็นโรค คือ

    อวัยวะกายส่วนที่กำลังสั่นอยู่ รู้สึกมันอ่อนแอ อ่อนไหว ชา

    กระตุก ปวด ตึง เกร็ง หนาวเหน็บ หรือรู้สึกร้อนวูบๆวาบ ฯ

    เพื่อให้พลังชีวิต(Life energy) หรือความอุ่นร้อนจากฝ่ามือ

    ตนเองในขณะนั้น ส่งผ่านเข้าไปเพิ่มพลังเซลล์ส่วนนั้นๆให้

    เกิดการงอกเงยอย่างแข็งแกร่ง แข็งแรงดีขึ้นมาใหม่ ละลาย

    สารชีวเคมีที่ไม่ดีทั้งหลายให้จางหายไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

    มันเป็นการแผ่พลังเข้าไปให้เซลล์กายเริ่มรักษาตัวมันเองได้

    การลบล้างสิ่งที่ค้างฝังอยู่ในเซลล์สมอง แล้วช่วยให้เซลล์สมองทั้งสามส่วนเจริญแข็งแกร่ง (Brain Tweaking)

    1. ใช้นิ้วโป้งทั้งสองค้างเคาะ แตะๆ นวดๆ ตรงจุดเซลล์ประสาทตรงกกหู ด้านหน้าทั้ง 2 ข้าง นาน 20 วินาที

    2. ใช้นิ้วชี้ ทั้งสองข้างเลื่อนขึ้นมาเคาะตรงหางตาทั้ง 2 ข้าง 10 วินาที

    3. ใช้นิ้วที่ทั้ง 2 ข้าง เลื่อนขึ้นมาเคาะ นวดๆ ตรงเซลล์ประสาท ส่วนความนึกคิดตรงขมับทั้ง 2 ข้าง นาน 10 วินาที 

    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย

    กับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯ มอ.”

    โดย ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

    หน่วยระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

    29 สิงหาคม 2557

    ศ.นพ.วีระศักดิ์: ต้องเรียนรู้อดีตเพื่อเป็นกำลังใจ ไปสู่อนาคต

    Dan Beach Bradley: ปี 1835 รัชกาลที่ 10

    John D Rockefeller: ผลงานคือสร้างผลกระทบต่อสาธารณสุขทั่วโลก เป็นนักศาสนา มีแนวคิดช่วยเหลือมนุษย์ตั้งองค์กรนี้ซึ่งมีธรรมาภิบาลสูง

    สมเด็จพระราชบิดา: ศึกษาที่ Harvard สาขา Public health มีเชื้อพระวงศ์ที่ดูแลรพ.ศิริราช ไปเจรจาความกับRockefeller

    รพ.ศิริราช ตั้งขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5

    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโครงสร้างพื้นฐาน

    • -สร้างรพ.ใหม่ครบทุกจังหวัดปี 1960
    • -สร้างรพ.ชุมชนทุกอำเภอ สถานีอนามัยทุกตำบลปี 1980
    • -ทศวรรษพัฒนาสถานีอนามัยปี 1990
    • -สร้างรพ.ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล

    การมีส่วนร่วมของประชาชน

    • -ปี 1960 ดูงานหมอเท้าเปล่าในประเทศจีน กลับมาสร้างผสส.อสม.ในประเทไทย
    • -1970 Primary Health care concept
    • -1980 แนวคิดด้านข้อมูลความจำเป็นพื้นฐานดูแลกันเองในหมู่บ้าน
    • ปี 1990 เป็นช่วงเศรษฐกิจดี มีการกระจายอำนาจในรัฐบาลประชาธิปัตย์
    • -ลดอำนาจส่วนกลางลง
    • ปี 2000 ช่วงเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคการปฏิรูปสุขภาพ
    • -Equity, Quality, Efficiency and Social Accountability
    • -มีเรื่องประกันสุขภาพ
    • -การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชน
    • ปี 2002 เรื่อง Universal Health coverage
    • -ทุกคนมีสิทธิ์เท่ากัน
    • -หากทำอะไรใหญ่ ๆต้นทุนก็จะลดลง
    • -ใช้เรื่องเครื่องมือทางการเงินสำหรับ Health regulation
    • ปี 2005-ปัจจุบัน
    • -การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ประเทศไทยมีคนแก่มาก และมีการเกิดน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงานในระยะยาว ส่วนใหญ่แรงงานสาธารณะสุขมาเป็นประเทศยากจน
    • -นอกจากจะแก่แล้ว เปลี่ยนจากโรคติดเชื้อ กลายเป็นไม่ตาย แต่แก่
    • -Middle income trap ประเทศไทยติดกับดักนี้ เพราะไทยไม่สามรถขายแรงงานราคาถูกได้ และได้สามารถหานวัตกรรมใหม่ๆได้ ประเทศที่พ้นคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ และประเทศไทยยังต้องซื้อยาจากต่างประเทศมาก
    • -การแยกพวกของนักการเมือง

    ศ.นพ.จรัส: หัวข้อนี้เป็นโจทย์ใหญ่มาก ทุกคนต้องคิดเรื่องนี้เอง แต่วันนี้จะมาให้คำตอบในสิ่งที่ทุกคนอยากรู้

    โอกาสใหม่ของการแพทย์

    • -พลังการจัดการ
    • -พลังวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี
    • -พลัง ICT
    • เป็นโอกาสใหม่เพื่อพัฒนาการความรู้และเทคโนโลยีในบริการทางการแพทย์
    • การเปลี่ยนของภาระโรคNCDs, Emerging infections
    • กระแสทุนนิยมการแพทย์พาณิชย์
    • เทคโนโลยีก้าวหน้า Predictive, Molecular
    • การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรผู้สูงอายุ
    • กระแสประชาธิปไตยสิทธิประชาชนในการมีสุขภาพดี
    • ASEAN Community Opportunities & Threats
    • ระบบความรู้และเทคโนโลยี
    • เครือข่ายสุขภาพ
    • ระบบการส่งเสริมสุขภาพ
    • การแพทย์ไทยพยายามปรับตามการเปลี่ยนแปลง
    • จริงหรือไม่ที่ปรับไม่ทัน และปรับไม่พอดี
    • คณะแพทย์ มอ. เป็นความใฝ่ฝันและที่หวังพึ่งของประชาชนใต้
    • ความหวัง หรือความคาดหวังของประชาชนมีเยอะ เราต้องคิดว่าจะทำอย่างไรถึงจะตอบสนองประชาชนได้
    • คณะแพทย์ มอ. ต้องเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงพัฒนา
    • -การพัฒนาวิชาการ
    • -การปฏิรูปบริการทางการแพทย์
    • -การปฏิรูปการศึกษาแพทยศาสตร์
    • ความจำเป็นเพิ่มมากจำนวนคนเพิ่มโอกาสในการแก้ไขเพิ่มโรคเรื้อรัง ดูแลตลอดชีวิต
    • ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นมาก ใช้เทคโนโลยีราคาแพง ใช้บุคลากรมาก ใช้ความเชี่ยวชาญสูง
    • การเข้าถึงบริการถดถอย บริการเพิ่มไม่ทัน การกระจายไม่ดีพอ กฎไม่เอื้อ
    • สิ่งเหล่านี้เป็นวิกฤติบริการสุขภาพ
    • รพ.ลักษณะเดียวกับมอ.มีแห่งเดียวในภาคใต้
    • วิกฤติบริการสุขภาพ
    • วิกฤต 1 เลือกใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะ ค่าใช้จ่ายเพิ่มทวีคูณ มีส่วนไม่คุ้มค่าวิกฤติ 2 บริการไม่เพียงพอ กระจายไม่ดี ระบบบริการขาดประสิทธิภาพ ไม่ทำงานเป็นทีม
    • วิกฤติ 3 ความเหลื่อมล้ำ เข้าไม่ถึงบริการความไม่ยุติธรรมในสังคม
    • สาเหตุที่ 1 ความรู้ปรับเปลี่ยน

    ความรู้ที่ไม่ทันสมัย หรือตายไปแล้ว เท่ากับ ความไม่รู้ หรือรู้ผิด โดยเฉพาะความรู้ทางการแพทย์ที่เปลี่ยนไปเร็วมาก

    คุณภาพบริการทางการแพทย์ อาศัย การติดตามความรู้ให้ทันและเลือกมาใช้ อย่างถูกต้อง / คุ้มค่า

    จริยธรรมของวิชาชีพ

    ต้องไม่หาประโยชน์จากวิชาชีพ เพื่อแสวงหาประโยชน์

    สาเหตุที่ 2 บริการด้อยประสิทธิภาพ

    ปัจจัยเสี่ยง : เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันแปรปรวน อ้วน กลุ่มอาการเมตาบอลิก

    ถ้าเป็นโรคคัดกรองพบระยะแรก รักษาหายได้

    ถ้าระยะเป็นมาก รักษายากและแพง

    มะเร็ง ต้องมีปัจจัยเสี่ยง ตับอักเสบเรื้อรัง HBV HCVติดเชื้อ HPVพยาธิใบไม้ในตับ

    การป้องกันปฐมภูมิ ต้องใช้วัคซีน

    การป้องกันทุติยภูมิ เช่น รักษาอาการติดเชื้อ หากพบในระยะที่เป็นยากรักษายาก แพง

    บริการสุขภาพเป็นบริการแบบตั้งรับ พบโรคระยะเป็นมาก รักษายาก และแพง

    บริการเชิงรุกในครอบครัว / ชุมชนป้องกันก่อนเป็นโรคหรือ พบโรคระยะแรก รักษาง่าย & หายได้

    • ปัจจัยเสี่ยง
    • -ประวัติครอบครัว พันธุกรรม
    • -พฤติกรรม
    • -สิ่งแวดล้อม สังคม ค่านิยม กฎหมาย กฎเกณฑ์ มลภาวะ
    • ต้องเปลี่ยน ล
    • คณะแพทย์มอ. ต้องเป็นผู้นำในการชี้นำพฤติกรรมเหล่านี้อย่างไร
    • วิกฤตการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ
    • การศึกษาทางสุขภาพ ติดอยู่ในพื้นฐานของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แต่ปัจจุบันไม่พอ ต้องปฏิรูประบบการศึกษา เพื่อให้ความจำเป็นของนักวิชาชีพสุขภาพในอนาคต
    • ปี 2011 WHO รายงานว่ามีการเปลี่ยนการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ เพื่อสร้างให้เปลี่ยนเป็นอีกคน เน้นปริมาณ คุณภาพ และตรงประเด็น โดยการใช้เครื่องมือ ICT

    วิกฤตการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

    Transformative Learning for Health Equity

    Prince Mahidol Award Conference 2014

    • -สร้างค่านิยมหลักภายในตน เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม
    • -สามารถค้นหา แปลความและนำหลักฐานมาใช้ในงานทางคลินิก และสาธารณสุข
    • -สร้างสมรรถนะทั้งในงานคลินิก และงานสาธารณสุข
    • -สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นๆ ครอบครัว และชุมชนได้
    • -สนองตอบและรับผิดชอบต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชากร
    • ช่วงแสดงความคิดเห็นและคำถาม
    • กลุ่ม 5
    • คำถาม: เน้นการรักษาแบบตติยภูมิ จนลืมแบบปฐมภูมิหรือไม่ มีวิธีอย่างไรให้ทุกคนในองค์กรเห็นว่าตติยภูมิปฐมภูมิ สำคัญกว่าการรักษาแบบปลายเหตุ
    • ศ.นพ.วีระศักดิ์ : ทำเรื่องการดูแลสุขภาพของตนเองดีกว่า ควรทำโมเดลของตัวเองได้ก่อนไปสอนคนอื่น
    • กิจกรรมทางกาย
    • -Work activity
    • -Transformation activity
    • -ควรหาความรู้เอง ทำเรื่อง Genome
    • -การแก้ปัญหา Public health แก้ด้วยการวางระบบ แก้ทางการเงิน

    ศ.นพ.จรัส: มีความคิดเห็นต่างจากศ.นพ.วีระศักดิ์ คำว่าปฐมภูมิ ตติยภูมิ แบ่งตามวิชาเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับประชาชนหรือคนไข้ เคยเข้าไปหมู่บ้านชนบท เป็นโรคหนักมาก ขาลีบ พิการ แต่ไม่ได้รักษา ซึ่งหมอดูว่าเป็นตติยภูมิ แต่ชาวบ้านไม่รู้ว่ามันเป็นแบบไหน ความจริงต้องปรับตามชาวบ้านว่าเป็นอย่างไร หัวใจคือ อัตตาของเรา แล้วเราคิดเองว่าเราเป็นอัตตา เราต้องลดอัตตาของเรา ซึงจริงๆต้องคิดว่าชาวบ้านต้องการอะไร

    เราคือเรา แต่ควรขยายคำว่าเราของคณะแพทย์มอ.ให้มากกว่านี้

    ต้องเปลี่ยนครูบาอาจารย์ก่อนที่จะเปลี่ยนคนอื่น

    ผลที่ออกมาว่า ประชาชนสามารถทำงานวิจัยได้ดี ต้องมีการศรัทธาในคน ให้กระบวนการ Empowerment แต่เราต้องสอนว่าเขามีปัญหาอะไร และไปแสดงให้เขาดู ซึ่งเป็นคนที่เสริมให้คนอื่นทำ

    กลุ่ม 5 ขอบเขต บทบาทหน้าที่ในการไปทำและดูแลของชุมชนของกระทรวงสาธารณสุขเป็นอย่างไร

    เรื่องหน้าที่ค่อนข้างชัด ตัวปัญหาคือ คณะแพทย์ มอ. ให้ทุกคนลงชุมชนก็เจ๊ง ต้องรื้อรั้วมหาวิทยาลัยออก คือ ปล่อยให้เป็นหน้าที่คนอื่น แต่เราอยู่เบื้องหลัง ซึ่งผลตอบแทนที่ได้จะได้มากมาย

    กลุ่ม 3

    เมื่อวานเรียนหัวข้อ Branding ได้คำตอบคือ จะเป็นที่พึ่งให้กับชาวบ้านภาคใต้ แต่ปัญหา คือ มองว่าประชาชนมองว่าเราอยู่สูง ขณะนี้มีการปรับการเรียนการสอน ปรับวิสัยทัศน์ เพื่อสังคมไทย จึงมองว่าเราจะพัฒนาไปเรื่อยๆให้สอดคล้องกับนโยบายสาธารณะสุข การมองเรื่องถูก Positioning เรื่องตติยภูมิ ต้องหาความสมดุล

    ศ.นพ.วีระศักดิ์ : ยุคต่างๆของคณะแพทย์

    - ยุคก่อตั้ง

    - ยุคยืนหยัด

    - ยุคคุณภาพ

    - ยุควิจัยและนวภาพ ยังไปไม่ถึง ทำอย่างไรคณะจึงจะไปจุดนี้ได้ ขอฝากให้ทุกคนไปคิด

    กลุ่ม 1 : ปัญหาเรื่องอุบัติเหตุเป็นต้นทุนที่เสียเยอะ แพทย์ใช้เวลาอยู่ที่โรงพยาลบาลมากด้วยเรื่องอุบัติเหตุ

    ศ.นพ.วีระศักดิ์ :ต้องการเรื่องนวัตกรรมใหม่ๆที่เป็นทางเลือกให้ลดอุบัติเหตุได้ เนื่องจากทุกวันนี้มีอุบัติเหตุบนท้องถนนมาก หรืออาจจะเป็นการแก้ทางวิศวกรรมเชิงระบบ

    ศ.นพ.จรัส: ต้องมีการฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์หรือคนที่มีหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับฝ่ายฉุกเฉิน และที่สำคัญ ต้องให้พลังกับชุมชนและต้องฝึกอบรมให้กับชุมชนก่อนที่จะมาถึงห้องฉุกเฉินโรงพยาบาล นี่คือสิ่งที่จะสร้างแบรนด์ของมอ.อย่างแท้จริง 

    สรุปบทเรียน วันที่ 29/8/57

    กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย

    อ.วัลลภ ได้ชี้แนะวิธีการฝึกการใช้สมองฝั่งซ้ายฝั่งขวาด้วยกิจกรรมที่ง่ายๆ(แต่ทำยาก)เช่น การใช้นิ้วแต่ละนิ้ว ที่สามารถทำได้ตลอดเวลา ให้บริหารจัดการกับความเครียด ด้วยการปรับอารมณ์ ให้มีสติอยู่กับตัว และใช้หลักจากล่างขึ้นบน อาจารย์ได้บอกเคล็ดลับในการทำให้ความคิดสงบ และใช้วิธีคลายเครียดด้วยการหัวเราะบำบัด ทำให้ทุกคนได้ปล่อยอารมณ์กันอย่างเต็มที่ และทุกคนคงนำไปปฏิบัติ ถ้าไม่มีความเครียด คนเราคงมีความสุขขึ้นอีกมาก และจะนำไปสู่ความรักความผูกพันต่อองค์กรมากยิ่งขึ้น

    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯมอ.

    ระบบการสาธารณสุขไทยได้เริ่มต้นมาเป็นเวลานานและมีการพัฒนามาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันที่มีเรื่องท้าทายหลายอย่าง เช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร สภาวะสุขภาพของคนที่มีการเจ็บป่วยเรื้อรังมากขึ้น การแยกขั้วของนักการเมือง กระแสทุนนิยม เทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ASEAN community

    สภาพปัจจุบันที่การสาธารณสุขไทยเผชิญอยู่คือ ความจำเป็นที่เพิ่มมากขึ้น จำนวนคนเพิ่ม โอกาสในการแก้ไขเพิ่ม โรคเรื้อรัง ต้องดูแลตลอดชีวิต มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ใช้เทคโนโลยีราคาแพง ใช้บุคลากรมาก ใช้ความเชี่ยวชาญสูง การเข้าถึงบริการถดถอย บริการไม่ทัน การกระจายไม่ดีพอ กฎกลไกไม่เอื้อ นำไปสู่การเกิดวิกฤตบริการสุขภาพและวิกฤติการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

    คณะแพทยศาสตร์ มอ.จะให้การช่วยเหลือ ดูแล แก้ไข อย่างไร ในฐานะที่เราเป็นที่ใฝ่ฝันและที่หวังพึ่งของประชาชนในภาคใต้ เป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงพัฒนา ทั้งในด้านวิชาการ บริการ และการศึกษา ซึ่งเป็นคำถามที่วิทยากรได้ฝากไว้สำหรับผู้เข้าอบรมทุกท่าน

    นันท์นภัสถ์ พรหมรักษ์

    วันที่ 29 สิงหาคม 2557

    "ผ่อนคลาย สนุก"  ยินดีต้อนรับอีกครั้งสำหรับเรื่องดีดีในวันนี้ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารความเครียดด้วยการปรับสมดุล การจะทำอะไรต้องมีความรู้สึก มีสติ จะได้ไม่เป็นคนย้ำคิดย้ำทำเพราะมันจะทำให้เสียเวลามากยิ่งขึ้น ความเครียดของมนุษย์มาจากการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน การสื่อสารที่ดีควรมีท่าทางประกอบทำให้เราเข้าใจง่ายขึ้น และยังได้รู้อีกว่าการนอนตะแคงขวาดีที่สุดจะทำให้ไม่เครียดเพราะสมองซีกขวาเกี่ยวข้องกับการใช้อารมณ์ความรู้สึก ดนตรี เพลง มีจินตนาการ ส่วนซีกซ้ายเกี่ยวกับการวางแผนการใช้เหตุผล คณิต วิทยา การผ่อนคลายทุกอย่างให้เริ่มจากข้างล่างไปสู่ข้างบน เวลานั่งให้หายใจเข้า เวลายืนให้หายใจออก และให้หายใจเข้าทางจมูก หายใจออกทางจมูกและปาก การได้ขยับร่างกาย การหัวเราะเป็นการเอาสารพิษออกจากร่างกาย สิ่งเหล่านี้เราต้องฝึกฝนและใช้สติทุกครั้งที่ทำ จะทำให้เรามีสุขภาพชีวิตที่ดีขึ้น

    29 ส.ค.2557

    เรียนรู้จากดร.วัลลภ ได้หลายอย่างมากในเรื่องการดูแลตนเองในชีวิตประจำวัน ความรักเริ่มจากเรารักตนเองเป็นอันดับแรกก่อน เราจะจัดการกับภาวะเครียดอย่างไร เราจะฝึกบริหารสมองทั้ง 2 ซีกทำอย่างไม่ให้สมองเสื่อมเร็ว สาเหตุที่เราวิตกกังวล เนื่องจากเราคิดไปในอนาคตแล้ว ไม่สามารถอยู่กับปัจจุบันได้ การฝึกการหายใจเข้าออกที่ถูกวิธี การดื่มน้ำที่ถูกวิธีเป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามเราได้ความรู้ไปแล้วที่สำคัญที่สุดคือการนำไปฝึกฝนปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลและนำไปสอนหรือแนะนำผู้อื่นได้ต่อไป

    ช่วงเย็นเรื่องทิศทางการแพทย์ สาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์มอ.ได้มุมมองจากอ.ผู้มีประสบการณ์ทั้ง 2 ท่านทั้งศ.นพ.วีระศักดิ์และศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา เป็นหัวข้อที่ดีมากมีตั้งแต่เรื่องความท้าทายในปี 2015 วิกฤตบริการสุขภาพ วิกฤตการศึกษาวิชาชีพด้านสุขภาพ นอกจากนี้ได้รับความรู้ในแง่มุมของการปลูกฝังนักศึกษาแพทย์ทำอย่างไรจึงทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ทุกสาขาวิชาชีพ ระบบการควบคุมดูแล การเปิดช่องทางให้เป็นที่ปรึกษาจาก ร.ร.แพทย์ได้ตลอดเป็นที่พึ่งของเขาได้ ทั้งหมดทั้งสิ้นก็เพื่อดูแลประชาชนภาคใต้ของเรา

    29 สิงหาคม 2557

    กิจกรรมรักษ์ใจ –รักษ์กาย

    วิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวัล กลัว รักษ์ใจไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด

    โดย ดร.วัลลภ ปิยะ มโนธรรม

    พบว่าการหายใจ วิธีการหายใจที่ถูกต้องสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความสำคัญมากต่อสมองและกลไกการทำงานของร่างกาย สามารถบ่งบอก และตรวจจับความเครียดของคนเราได้อย่างไม่น่าเชื่อ

    อาจารย์บรรยายได้สนุกสนานและชวนติดตามตลอดเวลา กิจกรรมหัวเราะบำบัดมีประโยชน์อย่างมากต่อการปรับสมดุลของร่างกาย ปลดปล่อยของเสียในร่างกาย และการบำบัดโรค

    วันนี้ได้เรียนรู้ศาสตร์ทางจิตวิทยาและการสะกดจิตที่น่าทึ่งมาก  กิจกรรมการฝึกใช้สมองซีกซ้ายและซีกขวา ทำให้เราค้นพบได้ว่าการบังคับจิตและเอาชนะการสั่งงานของร่างกายคนเราไม่ง่าย แต่ก็ฝึกฝนกันได้เช่นกัน  คิดว่าจะนำกิจกรรมที่อาจารย์ได้ถ่ายทอดและฝีกให้ในวันนี้ไปใช้กับชีวิตประจำวันต่อไปค่ะ

    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ มอ.

    โดย ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

    หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

    และ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา  กรรมการสภามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และนายกสภามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

    ระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทย ในปี 2015  จะมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรอย่างมาก  เพราะการเกิดจะน้อยลง เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานในระยะยาว ลักษณะโรคภัยกลายเป็นไม่ตาย แต่เป็นโรคแก่ หลงลืม เป็นโรคตั้งแต่อายุยังน้อยในขณะทีบางโรคสมัยก่อนเกิดตอนอายุมาก ประเทศเราขยับไปเป็น middle income trap เราไม่สามารถขายแรงงานถูกได้แล้ว รายได้ของคนไม่พอกับรายจ่ายที่มากขึ้น รวมทั้งการแยกพวกของพรรคการเมือง  

    เราต้องพัฒนาทางความรู้และเทคโนโลยีที่จะช่วยสนับสนุนการบริการทางการแพทย์

    - พลังการจัดการ

    - พลังวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี

    - พลัง ICT

    คณะแพทย์ควรมองเห็นความคาดหวังของผู้รับบริการ และตอบสนองความคาดหวังนั้น

    - ความจำเป็นเพิ่มมาก ประชากรเพิ่ม โอกาสในการแก้ไขเพิ่ม โรคเรื้อรัง ดูแลตลอดชีวิต

    - การเข้าถึงบริการถดถอย บริการเพิ่มไม่ทัน การกระจายไม่ดีพอ กฏ กลไกไม่เอื้อ

    - ค่าใช้จ่ายสูงมาก ใช้เทคโนโลยีราคาแพง บุคลากรมาก ใช้ความเชียวชาญสูง

    29 สิงหาคม 2557

    กิจกรรมรักษ์ใจ รักษ์กายในวันนี้ ทำให้ฉันได้ย้อนกลับไปทบทวนตัวเองอีกครั้ง ว่าการปฏิบัติตัวที่ผ่านมามีเร่ืองอะไรบ้างที่ฉันปฏิบัติได้ถูกต้องอย่างคนที่รักตัวเองและตั้งใจดูแลสุขภาพตัวเอง ฉันพบว่าคำตอบก็ยังเหมือนเดิมก็คือมีอยู่เรื่องเดียวที่ฉันยังทำไม่ได้ นั่นคือเรื่องการออกกำลังกาย ถึงแม้ว่าปีนี้ตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา ฉันเริ่มไปฝึกโยคะ แต่ก็ยังไม่สม่ำเสมออยู่ดี วันนี้ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม ได้แนะนำการผ่อนคลายอวัยวะต่างๆตั้งแต่ตื่นนอน ท่าบริหารต่างๆก่อนลุกจากเตียงนอน ซึ่งเป็นท่าที่ไม่ยาก สามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลา ใช้เวลาไม่นานด้วย รวมทั้งการหายใจอย่างถูกวิธี คล้ายๆกับโยคะที่ฉันพอมีพื้นฐานอยู่บ้าง แต่ที่สนุกสนานมากก็ช่วง การหัวเราะบำบัด ทั้งๆที่ใช้เวลาแป๊บเดียว แต่ฉันก็รู้สึกมีเหงื่อซึมทั้งๆที่อยู่ในห้องแอร์ ถ้าใช้เวลานานกว่านี้ก็น่าจะเทียบเท่าได้กับการออกกำลังกายด้วยวิธีอื่นๆ และมีจุดเด่นคือไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บของกระดูกหรือกล้ามเนื้อ จึงน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่งสำหรับคนที่ไม่ชอบออกกำลังกายอย่างฉัน

    ช่วงเย็น ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา และ ศ.นพ. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ได้อภิปรายเรื่องทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ เป็นความจริงที่ว่าผู้ป่วยเขาไม่สนใจหรอกว่าเราจะเป็นรพ.ปฐมภูมิ ทุติยภูมิ หรือ ตติยภูมิ ตามที่เราแบ่งกัน สิ่งที่เขาต้องการคือถ้าเขาเจ็บป่วยเขาก็อยากจะหาย คำถามก็คือเรารู้มั้ยว่าประชาชนต้องการอะไร แล้วเราได้ให้สิ่งที่เขาต้องการหรือเปล่า ถ้าเรามีปัญหาเรื่องเตียงเต็ม เราจะempowermentอย่างไรให้เขามีความรู้ในการดูแลตนเอง ช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นได้ และมารพ.เมื่อจำเป็น บทบาทเชิงรุกของเรามีอะไรบ้าง เฮ้อ... ยังมีคำถามอีกเยอะที่ต้องการคำตอบอยู่ บางเรื่องก็ตอบได้ บางเรื่องก็ยังไม่ชัดเจน ทำให้ฉันคิดถึงคำถาม where are we? where do we want to go ? ขึ้นมาอีก 

    เขียนวันที่ 28 สิงหาคม 2557

    Good to great


    Good to great เป็นหนังสือที่เขียนโดย Jim Collin ซึ่งเขาวิเคราะห์บริษัทที่ประสบความสำเร็จ ทั้งหลายของโลกว่าบริษัทเหล่านั้นก้าวจากบริษัทที่ดีสู่ความเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างไร เกณฑ์ในการประเมินว่าบริษัทใดประสบความสำเร็จในหนังสือเล่มนี้ Collins และทีมวิจัยของเขากำหนดมาตรฐานที่เข้มงวดหลายประการ ในการคัดสรรบริษัทที่สามารถเลื่อนชั้นจากบริษัทที่ดีสู่บริษัทที่ดีเยี่ยม จนคัดมาได้ทั้งหมด 11 บริษัท ซึ่งไม่เพียงแค่ประสบความสำเร็จแต่ยังสามารถรักษาความสำเร็จนั้นไว้ได้อีกเป็นเวลาอย่างน้อยถึง 15 ปี เนื้อหาของหนังสือมุ่งไปที่ผลประกอบการของธุรกิจ และผลตอบแทนจากการลงทุนในบริษัทเมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ยของกิจการในตลาดหลักทรัพย์

    หลักคิดในยุคปัจจุบันเราไม่ควรมองแค่ผลประกอบการที่เป็นเลิศ (High Performance Organization) แต่อยากให้มองเรื่องของความดีงาม (Good) ด้วย โดยต้องให้มีเรื่องความดีงามอยู่ในนโยบายและกระบวนการผลิต และการจัดการทุกส่วนงาน ต้องคำนึงถึงการไม่สร้างผลเสียต่อสังคม และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คณะแพทย์ ฯ ของเราการที่จะพัฒนาสู่ความยิ่งใหญ่ได้ ต้องมีความยั่งยืนด้วยความดี ซึ่งจะเป็นทั้งพลังขับดันความเชื่อถือ และภูมิคุ้มกัน

    หัวข้อ Effective Brand Image & Corporate Communications Strategics ของ ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

    • การแข่งขันที่สูงขึ้นทำให้องค์กรต้องบริหารทุกส่วนอย่างคุ้มค่า มีทิศทางชัดเจน ไม่ว่าจะอยู่ในธุรกิจใดก็ตาม เราแข่งกันทุกเรื่อง ทำอย่างไรให้ข้อมูลของเราได้รับการจดจำ แข่งขันเรื่องการรับรู้ เรื่องการนำเสนอ เราทำเรื่องต่าง ๆ มากมาย ถามกลับมาว่าแล้วคนรู้จักเราหรือเปล่า
    • คณะแพทย์ ฯ สงขลานครินทร์ เรามีพันธกิจครอบคลุมเรื่องการเรียนการสอน การบริการและการทำวิจัย จุดแข็งของสงขลานครินทร์คงเป็นเรื่องการเป็นโรงพยาบาลรายใหญ่ที่สุดในภาคใต้ มีคุณภาพการบริการและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย รวมถึงผู้บริหารบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ที่มีความสามารถและมากประสบการณ์ การเติบโตอย่างยั่งยืนพร้อมกับการดูแลสังคมไทย นับเป็นอีกหนึ่งพันธกิจที่สงขลานครินทร์ให้ความสำคัญเพราะเราถือว่าเราคือโรงพยาบาลของประชาชน

    ความท้าทายในปัจจุบันของคณะแพทย์ ฯ คงมิใช่มีเพียงการเติบโตเท่านั้น แต่เป็นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ใช้บริการและดูแลสังคมไทยอย่างต่อเนื่องในฐานะที่เป็นโรงพยาบาลของคนไทย (มีความพร้อมรับกับการเปิดเสรีการค้าและการบริการในภูมิภาคอาเซียนในปี 2558 เราต้องสร้างให้ Brand มีความแข็งแรง เพราะสังคมมีความคาดหวังและความต้องการสูงมาก Brand ที่เรามีอยู่ ต้องมีจุดเด่น จุดขาย ไม่เหมือนใคร น่าสนใจ และไม่คิดติดยึดกับอะไร Brand ต้องมาจากแก่นลึก การสร้างแบรนด์ไม่ใช่การสร้างภาพที่หลอกลวง แต่ต้องสร้างจากสิ่งที่เป็นจริงให้ปรากฏ ต้องทำสม่ำเสมอ คงเส้นคงวา โปร่งใสเป็นธรรม ตอบสนองต่อสังคม และทำแล้วอย่าหยุดการสื่อสาร

    • Brand communications strategy กลยุทธ์การสร้าง brand ต้องให้ทุกคนในองค์กรเข้าใจตรงกัน หลังจากนั้นต้องแปลงกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ ขั้นตอนการสื่อสารไปภายนอก หรือexternal communication ถือเป็นงานที่เทียบเคียงกับการประชาสัมพันธ์ เราจะทำอย่างไรให้คนภายนอกเข้าใจ จากการทำกลุ่มเราเลือกเรื่องของ ME2YOU1 : การเห็นประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง ซึ่งดูจะเป็นเรื่องนามธรรม คนในองค์กรเราเข้าใจได้ แต่การทำให้คนภายนอกเข้าใจน่าจะเป็นกลยุทธ์ที่ท้าทาย

    “Crucial Conversation”

    ปัญหาในเรื่องการติดต่อสื่อสาร ที่เรามักพบกัน ได้แก่เรื่องการสื่อสารสั่งการที่กำกวม ไม่ชัดเจน พูดไม่ตรงกับใจ โดยเฉพาะกับวัฒนธรรมเกรงอกเกรงใจแบบไทยแท้ ยิ่งทำให้ปัญหาสะสมมากจนลุกลามกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ Mr.Joseph Grenny นักจิตวิทยาผู้เขียน หนังสือระดับ Best Seller ชื่อ “Crucial Conversation” ขายดิบขายดีเป็นที่นิยมทั่วโลก ซึ่งได้นำเสนอวิธีการสนทนาอย่างเปิดกว้างตรงไปตรงมา เพื่อความชัดเจน และตรงประเด็น ได้แก่

    1.ในวงสนทนาควรผ่อนคลาย ปลอดภัย และไม่อึดอัด

    2.ผู้บริหารต้องลดอีโก้ ฟังลูกน้องให้มากขึ้น สร้างบรรยากาศและทำให้อีกฝ่ายมั่นใจว่าเราเปิดกว้าง และยอมรับฟังเหตุผลตั้งแต่เริ่มแรก คู่สนทนาจะรู้สึกกล้าที่จะเปิดใจกว้าง ยอมรับฟังซึ่งกันและกัน การสนทนาราบรื่น ประเด็นตรงไปตรงมา และชัดเจน

    3.นำเสนอข้อเท็จจริง ก่อนการสรุปผล

    28 สิงหาคม 2557

     Good to Great 

    พนักงานที่ดีที่สุด ที่เก่งที่สุด ต้องได้รับโอกาสที่ดีที่สุด ในการพัฒนา และทำงาน ซึ่งหมายถึงให้โอกาสในการสร้างความเปลี่ยนแปลงขององค์กรโดยคนเหล่านี้ ไม่ใช่เอาไปมช้ รับภาระ ให้แก้ปัญหา

    การทบทวนการตัดสินใจที่ผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้ ไม่ใช่เพื่อหาคนทำผิดมาลงโทษ

    Brand management : ดร. พจน์ ใจชาญสุขกิจ 

    เคยรับรู้มาบ้างว่า การสร้างแบรนด์ โดยไปประกาศโฆษณา นั้นเป็นสิ่งไม่จำเป็น (อาจารย์ ผู้ใหญ่บางท่าน มองเป็นเรื่องไร้สาระ และสิ้นเปลือง) ขอให้ทำงานที่ดีที่สุดเป็นพอแล้ว พอได้รับฟังก็ประติดประต่ออะไรได้มากขึ้น ว่า สิ่งที่เคยได้รับฟังมา ก็มีส่วนถูก แต่ เรื่องการมีภาพลักษณ์ที่ดีต่อสังคม ควบคู่ไปกับการทำงานที่ดีด้วย อาจต้องมีระบบหรือ กลุ่มคนที่เข้ามาระบุชี้ชัด และแสดงออก (ช่วยเผยแพร่) ในสิ่งที่เป็นอยู่ โดยไม่เกินคำโฆษณา เป็นเรื่องที่จำเป็น ต่อการทำงานในปัจจุบัน ให้ราบรื่น ต่อเนื่อง และส่งเสริมประสิทธิภาพได้

    นำเสนองานกลุ่ม Good to great 28 สค. 57

    จากดีสู่ยิ่งใหญ่

    ถ้่าคิดว่า แค่นี้ก็ดีแล้วจะเป็น Great ไม่ได้

    ถ้ามีวินัยแล้วไม่ต้องดูเรื่องระเบียบ วินัยทำให้องค์กรยั่งยืน

    การเลือกเทคโนโลยีต้องเลือกให้เหมาะกับองค์กรเรา ต้องเลือกเทคโนโลยีที่เสริมจุดแข็งของเรา

    เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยที่น่าสนใจคือ

    1. จงเป็นผู้นำด้วยการตั้งคำถาม ไม่ใช่ด้วยการให้คำตอบ

    2. ให้พนักงานที่ดีที่สุดได้รับโอกาสที่ดีที่สุดไม่ใช่ให้แก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด

    3. ทบทวนการตัดสินใจที่ผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้ไม่ใช่เพื่อหาคนผิดมาลงโทษ

    4. ความสำเร็จของบริษัทเปรียบเหมือน Frywheel เริ่มต้นหมุนจะช้า ความพยายามอย่างไม่ลดละ

    มีแรงเหวี่ยง จะหมุนได้ด้วยตัวเอง ความสำเร็จจะมาถึง

    5. หลักการเลือกผู้นำไม่จำเป็นต้องมาจากภายนอก

    กลยุทธ์การสื่อสารภาพลักษณ์เพื่อประสิทธิภาพขององค์กร

    Effective Brand Image & Corporate Communication Strategies

    ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ 28 สค. 57

    Image แบ่งได้ 3 อย่างคือ

    Corporate Image ภาพลักษณ์องค์กร ทุกสิ่งทุกอย่างในองค์กรเรา

    Business image ภาพลักษณ์สินค้่/บริการ ภาระหน้าที่

    Brand image เกี่ยวข้องกับชื่อเสียง คุณค่า เกียรติภูมิขององค์กร ความสำคัญขององค์กร

    ภาพลักษณ์เกิดขึ้นได้เมื่อได้รับความสนใจ การมีส่วนร่วม สัมพันธภาพ

    การสร้าง Brand บุคคลมาจากแก่นลึกของบุคคลนั้น สร้างความเป็นจริงให้ปรากฏ มาจากคุณสมบัติ ความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ

    การทำ workshop เรื่อง brand image วันนี้ ทำให้กลุ่มอภิปรายกันอย่างกว้างขวางถึง

    Brand image ขององค์กร ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสร้าง Brand image

    วิธีการ แนวทางในการแก้ไขสิ่งที่เป็นภาพลบ ซึ่งทำให้มองจุดดีและปัญหาร่วมกันเพื่อการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น และทำให้เห็นว่าปัญหาอุปสรรคบางอย่างแม้หลายคนจะรู้ แต่ก็แก้ได้ยากต้องอาศัยทักษะขั้นสูงในการบริหารการเปลี่ยนแปลง

    การบริหารจัดการความเครียด ( stress management) 29 สค. 57

    จิตวิทยาการแก้ไขอาการวิตกกังวล กลัว

    รักษ์ใจไม่เครียดด้วยหัวเราะบำบัด

    ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

            มีความสุขและชอบมากในการอบรมวันนี้ ได้เรียนรู้ใหม่ๆที่เป็นประโยชน์มากในการบริหารจัดการความเครียดที่เป็นรูปธรรม สามารถใช้กับตนเอง ครอบครัว และจะนำไป share กับเพื่อนๆและผู้ร่วมงาน

    ได้เรียนรู้การบริหารอวัยวะทั้งภายในและภายนอก การผ่อนคลายเส้นใยประสาทสมอง

    วิธีการคลายเครียดโดยการดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดดีขึ้น

    การขยับเท้าจากส้นเท้าขึ้น แนบเต็มฝ่าเท้าแล้วจึงยกปลายเท้าขึ้นลงสัก 10 ครั้ง ช่วยให้สมองดีมีพลัง การนวดใบหน้าเพื่อผ่อนคลาย การฝึกการหัวเราะบำบัด

    ท่าผ่อนคลายเส้นประสาททำโดยหายใจเข้าแรงๆลึกๆแอ่นไปด้านหลังแล้วหายใจออกยาวๆดังๆออกทางปากจึงค่อยๆแอ่นตัวโค้งไปด้านขวาครั้งด้านซ้ายครั้ง ให้วงจรประสาททั้ง 3 ส่วนสมดุล

    นอกจากนี้ยังมีเกร็ดความรู้อีกหลายเรื่องเช่น เรียนรู้ความสำคัญของลายเซ็นต์ที่เพิ่มความเชื่อมั่น ต้องเซ็นต์นามสกุลด้วย เซ็นต์ให้อ่านไม่ออก และไม่ให้ตัวสุดท้ายชี้ลง

    การทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ให้นั่ง 130 องศาเป็นท่าที่ถูกต้องช่วยให้ผ่อนคลาย

    การมีอาการวิตกจริต แก้ไขโดยให้อยู่กับปัจจุบัน

    วิธีที่ช่วยให้หลับง่ายโดยการขยับเท้าบ่อยๆและแช่เท้าด้วยนำ้อุ่น

    วันนี้เป็นวันที่มีคุณค่าอีกวันหนึ่งในการเรียนรู้ที่ได้รับประโยชน์ในการดูแลสุขภาพด้วยตนเองเกินความคาดหมาย เห็นความสำคัญของการรักษ์กาย รักษ์ใจเพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดีและมีความสุข

    ขอบคุณดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรมเป็นอย่างสูงค่ะ

    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทยศาสตร์ มอ.

    ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

    ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

    อ.ทำนอง ผู้ดำเนินการอภิปราย

    อาจารย์ทั้ง 2 ท่านได้ให้แนวคิดและมุมมองของทิศทางทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย มีประเด็นที่ทำให้ต้องกลับมามององค์กรเราหลายประการในการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทยศาสตร์ มอ.เช่น เราเป็นที่พึ่งของประชาชนภาคใต้ครอบคลุมหรือไม่

    เราสอนให้คนมีความรู้ในการดูแลกันเองทั้งการส่งเสริม ป้องกัน ฟื้นฟูสภาพ การดูแลในกรณีฉุกเฉินหรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ การช่วยคนฉุกเฉินไม่ใช่เฉพาะที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลเท่านั้น ต้องเสริมพลังอำนาจประชาชน ปรับวิธีคิด มุมมองจึงจะเกิด brand ได้ ซึ่ง brand จริงๆประชาชนต้องมองเห็นและรู้สึกว่าเราช่วยเขาได้

    หัวข้อ “People Management”

    โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด

    วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2557

    อาจารย์พจนารถ: เรารู้จักคนๆนึ่งด้วย ท่าทาง หน้าตา แต่เวลาเราจะทำงานร่วมกันเราต้องรู้จักมากกว่านั้น และยิ่งถ้าเราเป็นคนบริหาร Job description ต้องทำอย่างไร

    • -การได้ยินแค่คำพูด ไม่สามารถรู้ได้ว่าเขาพูดจริงหรือไม่จริง
    • แต่จริงๆมีวิธีการบริหารจัดการคน โดยไม่ต้องเฝ้า ปกติคนที่จะทำงานได้ต้องมี
    • -Emotion
    • ชีวิตคนเรามีด้านต่อไปนี้
    • -เรื่องส่วนตัว ครอบครัว
    • -การเงิน
    • -สุขภาพ
    • -เพื่อน สังคม ศาสนา
    • -ความรัก
    • -พักผ่อน
    • -การพัฒนาตนเอง

    มนุษย์อยู่ในองค์กรต้องการประสบความสำเร็จ แต่หากไม่ Fulfill ก็ถือว่าล้มเหลว เช่น งานดี แต่ครอบครัวล้มเหลว หรือ ครอบครัวดีแต่งานล้มเหลว

    กิจกรรม ให้สมมติว่าปัจจุบันประสบความสำเร็จในชีวิตแล้วแบบสุดยอด จะทำท่าทางและเสียงอย่างไร

    ชีวิตที่สุดยอด น่าจะมีคะแนนเท่าไหร่

    ขอถามทุกคนว่าจะให้คะแนนความรักหมายถึงชีวิตคู่กี่คะแนน

    จากcaseที่เคยเกิดขึ้น ภรรยายกมือว่าให้คะแนนระดับสอง แต่สามียกมือว่าไม่มีความสุขเลย เนื่องจากมีความสุขในการทำงาน

    Six core needs

    • 1. Certainty ความมั่นคง/ ปลอดภัย สะดวกสบาย
    • เปรียบเทียบกับหมี ทำอะไรต้องรู้สึกแน่นอน เป็นคนเรียบร้อย เพอร์เฟค ไม่ชอบเดินทาง
    • 2. Variety ความหลากหลายในชีวิต
    • - อาชีพ Sales ชอบแต่งตัวมีสีสัน
    • อินทรีย์ GEN Y ชอบเปลี่ยนงาน การเดินทางบ่อยไม่มีปัญหา
    • 3. Love and connection ความรัก ความเชื่อมโยง
    • หนู กับ อินทรีย์ ไม่กล้าบอกใครตรงๆในเรื่องที่จะเกิดความขัดแย้ง ทนอะไรได้ดี เพราะกลัวคนไม่รัก
    • 4. Significant ความโดดเด่น สำคัญ
    • กระทิง ไปไหนก็จะโดดเด่น มีชื่อเสียง แต่ถ้าโดดเด่นด้านลบก็ทำให้ข้อสามลดลง
    • 5. Growth การเติบโต
    • 6. Contribution การให้
    • สมมติว่า ที่ทำงานต้องมีการ Rotate งาน ไปในงานที่ไม่ถนัดก็อาจจะมีการต่อต้าน ก็กระทบทั้งความมั่นคง ความโดดเด่น ความสำคัญ
    • คุณสมบัติที่ติดตัวตั้งแต่เกิด ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมบุคคล วัตถุ ของแต่ละบุคคล
    • -เรื่องราว
    • -ภาพลักษณ์
    • -พฤติกรรม
    • -คำพูด
    • พลังงาน มีคุณสมบัติ หรือธาตุแท้ที่เป็นของดีทั้งนั้น
    • พวกที่ข่มขืน ฆ่าตัวตาย ก็มีคุณสมบัติที่ดีในตัวแต่ไม่รู้ว่าจะดึงความดีมาใช้ได้อย่างไร
    • ไม่ว่าพฤติกรรมจะเป็นเช่นไร มาจากคุณสมบัติที่ดีทั้งนั้น
    • พฤติกรรมที่ไม่ดี ที่คบไม่ได้ คือ
    • -โกหก
    • -เห็นแก่ตัว
    • -เอาเปรียบ
    • -ขี้เกียจ
    • -บ้าอำนาจ
    • -โกงชาติ
    • ยกพฤติกรรโกงชาติมาเป็นตัวอย่าง ว่าจะมีคุณสมบัติดีอย่างไร
    • -ฉลาด
    • -วางแผน
    • -มีกลยุทธ์
    • -มีสังคม
    • -รักพวกพ้อง
    • -แบ่งปัน
    • -ใจกว้าง
    • -มองการณ์ไกล
    • -มีทักษะในการจูงใจ
    • -ทำงานเป็นทีม
    • -กล้า
    • -อดทน
    • -ขยัน
    • -เรียนรู้
    • -พัฒนาอย่างต่อเนื่อง
    • -Good presentation
    • -Execution
    • -มุ่งมั่น

    โค้ช มีหน้าที่เปิดช่องทางในทางบวกให้กับเขา มีจิตเมตตาเติมทรัพยากรที่มีอยู่ในตัวตนของเขา เพราะเขามีแต่ใช้ไม่เป็น

    เช่น ถ้าคนโกงชาติ สามารถเปลี่ยนเป้าหมายได้ โดยนำคุณสมบัติที่ดีมาใช้ ก็จะสร้างความเจริญให้ชาติได้

    สมการที่จะสารถนำไปใช้ได้ตลอดชีวิต คือ

    E + R = O

    Events ไม่สามารถควบคุมได้

    Response ควบคุมได้

    Outcome ควบคุมได้ คือ เป้าหมายของเราเอง ชีวิตควรตั้งเป้าหมาย

    คนเรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร ขึ้นอยู่กับชีวิตคืออะไร และคุณคือใคร

    ถ้าตอบว่าชีวิต คือ การต่อสู้ ชีวิตเราก็จะเหนื่อย เพราะฉะนั้น ต้องระวังความเชื่อของเราให้มาก

    ถ้าเชื่อว่าผู้หญิงในโลกไว้ใจไม่ได้ ตอบ เราจะระแวง เห็นข้อเสียของผู้หญิงมากมาย

    ความสามารถของสมอง เก็บความจำได้น้อยกว่าสิ่งที่เรารับรู้ เพราะฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิต เราจะเลือกรับรู้ในสิ่งที่เราเชื่อ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 จะเก็บตามความเชื่อของเรา เช่น ถ้าเชื่อว่าจะไม่มีที่จอดรถ เราไปไหนก็จะไม่สามารถเห็นที่จะสามารถจอดรถได้เลย

    เชื่อว่าความกตัญญูนำมาซึ่งความสุขและการยอมรับ ดังนั้นพฤติกรรมเราก็จะทำแบบนี้ ก็จะทำให้เรามีความสุข

    มี Case ว่าผู้บริหารคนหนึ่งเชื่อว่าตัวเอง Present หน้างานไม่ได้ ตอบคำถามไม่ได้เลย เพราะเชื่อว่า Present งานไม่ได้ ซึ่งเป็นจิตใต้สำนึกของเราที่คิดแบบนี้

    วิธีแก้ คือ ต้องบอกตัวเองว่า outcome ของเราคืออะไร ค่อยปรับความเชื่อ ก็จะทำให้เปลี่ยนพฤติกรรมได้

    ข้อมูลข่าวสาร เก็บจากข้อมูลพื้นฐานที่เรามีอยู่ ต้องดูว่า outcome เราต้องการอะไร จาก Six core needs ซึ่งจะทำให้เรารู้สึกว่าเติบโตทางจิตใจ และมี Significant

    Six core needs ทำให้สามารถอ่านพฤติกรรมของคนได้

    ถ้าลูกน้องคนไหนเป็น Talent อยากให้เขาทุ่มเท อยากให้เขามาแทนตำแหน่งเราได้อนาคต Response ของเรา ก็ต้อง serve สิ่งที่เราต้องการได้ คือ ต้อง React ตาม Event

    ถ้าอยากเอาพฤติกรรมอะไรออกจากคนๆนั้น ก็ต้องหาพฤติกรรมอะไรที่ควรทำมาแทน

    เช่น อยากเลิกสูบบุหรี่ ก็แค่อ้าปาก

    เป้าหมายของชีวิต คือ รู้ว่าเราต้องการอะไร

    เด็กที่ไม่ได้ใช้ชีวิตแบบเด็กในวันเด็ก ก็จะแสดงพฤติกรรมแบบเด็กเมื่อโตขึ้น เช่น วัยเด็กไม่ได้นั่งตักพ่อ โตขึ้นก็ชอบไปนั่งตักใครก็ได้

    ถ้าเราไม่ได้ใช้ศักยภาพของเราอย่างเต็มที่ ก็ไม่มีทางว่าจะมีความสุขได้

    จะเป็น Coach ได้ ต้องรู้ว่า Who am I? รู้ว่าเรามีต้นทุนอะไร มีอะไรติดตัวมา

    สุข ขั้นแรก คือ ฐานคิด

    มโนธรรม เป็นความรู้จักคุณงามความดี เป็นสิ่งที่เรารู้สึกได้ด้วยการสัมผัสของเรา

    “ความสำเร็จ ที่ไม่เติมเต็ม แปลว่าความล้มเหลว”

    เมื่อเดือนที่แล้วไปสอนที่ปปช. ซึ่งเป็นกลุ่มที่ทำการชี้มูล และต้องไปอยู่ในสังคมนั้นที่เขาชี้มูลว่าผิด แต่ในชุมชนนั้นก็ยังดีกับเขา เลยมาปรึกษาว่าเขาควรทำอย่างไร

    • -ตอบว่า สิ่งทีอยู่ในหัว ทำให้เกิดความเครียด เลยพาไปดูเคสที่ตัดสินใจยากกว่านี้

    Coach ต้องนิ่งกับสถานการณ์ไม่ว่าจะเครียด หรือ ร้ายแรงแค่ไหน เพราะฉะนั้นผู้นำ ต้องอยู่กับความเป็นจริงของโลกนี้ให้ได้

    กลยุทธ์ของงานศพของคนไทย คือ ไม่ให้ญาติของผู้เสียชีวิตเหงา

    ศาสตร์การดูแลคน เป็นสิ่งที่สำคัญ ที่ต้องดูแลลูกน้องของตัวเองด้วย ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัว

    ถ้าคนดำเนินชีวิตตามสิ่งที่ผิดหวัง สิ่งที่รู้สกผิด สิ่งที่เสียใจ ตลอดชีวิต ก็จะไม่ Fulfill

    มีพี่น้อง เชื่อว่าความรักไม่มีในโลก เลยไม่มีคู่ และอยู่ด้วยกัน 2 คน เพราะเห็นความจริงจากครอบครัวที่เลิกกัน 2 คนนี้มีความคิดกับผู้ชายที่มาจีบว่า เพราะฉันรวย มีชื่อเสียงเป็นนักกีฬา ดังนั้น การมีชีวิตคู่จึงล้มเหลวเพราะไม่มีความเชื่อใจกับผู้ชาย

    Cause มากกว่า Effect

    คือ ควรเป็นผู้ลิขิต ไม่ใช่ ผู้ติดอยู่เป็นเหยื่อ

    เพราะชีวิตเราเลือกได้ ลูกน้องก็เช่นกัน มีสิทธิ์เลือกทางเดินชีวิตของตัวเอง

    ถ้าจะแก้พฤติกรรม ต้องแก้มาจากข้างใน

    • -ความเชื่อ
    • -ค่านิยม
    • -ความต้องการ
    • -ความกลัว
    • -คุณสมบัติ
    • ถ้าชีวิตไม่มีเป้าหมาย ชีวิตก็ไม่ประสบความสำเร็จ
    • ถ้าเรารู้เป้าหมายแต่ไม่รู้ข้างในของเรา ชีวิตอาจจะต้องเดินอ้อมไปอ้อมมา
    • ถ้าชีวิตสามารถเดินเส้นตรงไปสู่จุดหมาย ต้องรู้คุณสมบัติภายในตัวเอง
    • ความกลัว (fear) มี 3 อย่าง คือ
    • -กลัวไม่ดีพอ
    • -กลัวคนไม่รัก
    • -กลัวไม่เป็นส่วนหนึ่ง
    • ถ้าเราตั้งเป้าหมาย ต้องมีปัจจัยเหล่านื้
    • -BE มีคุณสมบัติอะไร ความเชื่อเรื่องอะไร ค่านิยมเป็นอย่างไร ดึงความต้องการออกมา ต้องมีความกล้า
    • -DO เพื่อทำ Action แต่ละขั้น
    • -HAVE
    • -เป้าหมาย คือ ขยายธุรกิจไปในพม่าปี 2558
    • สิ่งที่ต้องเรียนรู้ คือ ต้องเรียนรู้ตัวเอง

    การตัดสินใจ ขึ้นอยู่กับค่านิยม และความเชื่อ ต่อให้เกิดความสูญเสียยิ่งใหญ่ก็อยู่กับมันได้

    ในฐานะที่เป็นผู้นำ บ่อยครั้งต้องตัดสินใจบนความยาก ไม่มีกฎ นโยบาย เขียนไว้ให้เราตัดสินใจ อยู่ที่เราฝึกและรู้จักตัวเองดีหรือไม่ 

    “การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร”

    โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

    28 สิงหาคม 2557

    กระบวนการการสื่อสาร

    1. Publicity

    - New release

    - Photo release

    - Press conference

    - Interview

    - Executive Interview

    - Company profile

    - Video Documentary

    - Press Documentary

    - Supplement

    -Business News

    Service excellent ทุกคนในองค์กรต้องมีส่วนช่วยเหลือ ซึ่งสามารถจะ Support brand ได้

    2. Media Strategies

    - Press meeting Press tour/Media audit

    -Press Relation Thank press/Media Mapping

    -Press Conference Press data

    เราต้อง Monitor สื่อว่าสื่อเข้าใจถูกหรือไม่

    3. Community relations ชุมชนสัมพันธ์

    จนเป็นเพื่อนบ้านที่ดี อยู่ที่ไหนก็ต้องดูว่าเพื่อนบ้านของเราเป็นอย่างไร ต้องให้ Value กับเพื่อนบ้านด้วยเช่นกัน

    เช่น มีห้างขึ้นที่ชานเมือง มีความคาดหวังว่าคนต้องตื่นเต้น แต่บางคนไม่ดีใจ เพราะคิดว่ารถติด เมื่อเปิด 1 เดือน มีคนไปร้องเรียนต่างๆมากมาย หมายถึง ชุมชนไม่ยอมรับ เพราะฉะนั้นต้องไปเดินสายทำความเข้าใจ ขอโทษ และต้องแก้ปัญหาในการทำให้ชีวิตของเขาเดือดร้อน เปิดห้างเร็วขึ้น

    ต้องทำประโยชน์ให้ชุมชนมากที่สุด brand เป็นเรื่องของความรู้สึก

    4. Corporate Social Responsibility เอาสิ่งที่มี่อยู่มาสร้างประโยชน์กับสังคมสูงสุด

    คิดสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์กับสังคมมากที่สุด

    5. Government Relations การบูรณาการทรัพยากรต่างๆระหว่างเรากับองค์กรพันธมิตร

    6. Special Event เช่น วันเกษียณ วันมอบรางวัล ต้องดูว่าโอกาสพิเศษนี้จะสะท้อน Brand หรือไม่

    7. Internal Communication

    8. Issue Management

    9. Crisis Management ทุกครั้งของการเกิดเหตุ การสื่อความต้องตามมา

    10. Branding เช่น สี โลโก้ ความเด่นชัดของบุคลากร แบรนด์ เหมือนวงดนตรี เล่นเครื่องดนตรีแต่ละชนิด แต่เล่นเพลงเดียวกัน

    11. New media การใช้ในสื่อนวัตกรรม

    Workshop

    กลุ่ม 1

    Corporate Image

    การรักษาโรคระดับตติยภูมิ

    Business Image

    ทีมสุขภาพมีความเชี่ยวชาญ

    Brand Image

    เข้าถึงการรักษายาก”

    “มาเป็นหนูทดลอง”

    “ตายที่ มอ.”

    เหตุผลสนับสนุน

    1.ผู้ป่วยมีเป็นจำนวนมาก

    2.จากคำบ่น ของผู้รับบริการ

    3.ข้อร้องเรียน

    4.การ Refer ผู้ป่วย

    ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสร้าง Brand Image

    1.อัตรากำลัง

    2.สถานที่

    3.การเบิกจ่ายตามสิทธิ์

    วิธีการ แนวทาง เครื่องมือ สื่อสาร Brand Image ให้เด่นชัด

    1.การให้ข้อมูลในสิทธิการรักษาของตนเอง เช่น บัตร 30 บาท บัตรประกันสังคม

    2.หาอัตรากำลังให้เพียงพอตามเกณฑ์

    3.สร้างเครือข่าย

    สิ่งที่เป็นภาพเชิงลบ แนวทางแก้ไข

    1.สร้าง premium service

    2.มีแพทย์เคลื่อนที่

    กลุ่ม 2

    • Corporate Image
    • -ลูกพระบิดา: ชื่อ โลโก้สถาบัน
    • -แพทย์มีความเชี่ยวชาญ
    • -พยาบาลให้บริการดี มีประสบการณ์สูง พูดจาไพเราะ
    • -เครื่องมือแพทย์ทันสมัย
    • -ระบบนัดหมายเป็นระบบ
    • -มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมากกว่า 42 ปี
    • Business Image
    • -มีผลงานนวัตกรรมและงานวิจัยระดับชาติที่มีชื่อเสียง
    • -มีความเชี่ยวชาญในการให้บริการรักษาด้านต่างๆ
    • -การให้บริการดี
    • Brand Image
    • ลูกพระบิดา โดยมุ่งเน้นประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง
    • และเป็นที่พึ่งให้กับคนภาคใต้
    • เหตุผลสนับสนุน
    • ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสร้าง Brand Image
    • - ยังไม่ตระหนักเรื่องการสร้าง Brand เพราะบุคลากรมุ่งเน้นการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากกว่าการสร้างชื่อเสียง
    • -Creation share value ขาดการกระตุ้นให้เกิดการตระหนักและการมีส่วนร่วมวิธีการ แนวทาง เครื่องมือ สื่อสาร Brand Image ให้เด่นชัด
    • -จัดทำ media strategies
    • -Community relation
    • -CSR

    สิ่งที่เป็นภาพเชิงลบ แนวทางแก้ไข /

    การเข้าถึงบริการยาก จำนวนเตียงจำกัด บุคลากรขาดแคลน/สร้างเครือข่ายกับโรงพยาบาลรอบนอก มีระบบ teleconference ในการรับปรึกษาผู้ป่วย จัดทำระบบส่งส่งเสริมสุขภาพ

    กลุ่ม 3

    • Corporate Image
    • -โรงเรียนแพทย์ชั่นนำในภาคใต้
    • -โรงพยาบาลตติยภูมิในภาคใต้
    • -มีงานวิจัย
    • Business Image
    • -การบริการโรคยากและซ้ำซ้อน
    • -เป็นแหล่งฝึกอบรม
    • -มีระบบสารสรเทศด้านการรักษาพยาบาล
    • Brand Image
    • -เป็นที่พึ่ง
    • Brand Image ขององค์กร
    • เหตุผลสนับสนุน
    • -ผู้รับบริการเพิ่มขึ้นทุกปี
    • -มีผู้สนใจเข้าร่วม
    • ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสร้าง Brand Image
    • -จำนวนเตียงน้อย
    • -การเข้าถึงบริการยาก
    • -การไม่ให้อนุญาตให้ญาติเฝ้าไข้
    • วิธีการ แนวทาง เครื่องมือ สื่อสาร Brand Image ให้เด่นชัด
    • -การสร้างเครือข่าย
    • -การสร้างศักยภาพให้แก่ชุมชนให้เข้มแข็ง
    • -การจัดกิจกรรม CSR
    • สิ่งที่เป็นภาพเชิงลบ แนวทางแก้ไข
    • -อยู่บนหอคอยงาช้าง
    • -สูงเกินเอื้อม
    • แนวทางแก้ไข
    • -การสร้างเครือข่าย

    กลุ่ม4

    Corporate Image

    ด้านบวก

    • -แพทย์เก่งเฉพาะทาง
    • -ระบบบริการคล่องตัว
    • -เครื่องมือทันสมัย
    • -ความไว้วางใจจากผู้รับบริการ
    • -วิจัยที่สร้างนวัตกรรมระดับนานาชาติ
    • -รักษาโรคยากและซับซ้อนได้
    • -มีวิธีการหลายแบบให้เลือก
    • -มีเทคโนโลยีทันสมัย
    • -การบริการ Excellent center /one stop service
    • -การเรียนการสอนแบบ PBL
    • -เป็นสถาบันการศึกษาแล้วได้รับการยอมรับ
    • ด้านลบ
    • -การเข้าถึงบริการยาก

    Business Image

    Brand Image

    • -ประโยชน์เพื่อนมนุษย์เป็นกิจที่หนึ่ง

    Brand Image ขององค์กร

    เหตุผลสนับสนุน

    • -ต้องการเป็นที่พึ่งประชาชนทุกระดับ

    ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสร้าง Brand Image

    • -เรื่องการสื่อสารทั้งภายในและภายนอก

    วิธีการ แนวทาง เครื่องมือ สื่อสาร Brand Image ให้เด่นชัด

    • -สื่อสารให้รู้ว่า ME2U1 คือ brand ของคณะแพทย์ ฯ ( สื่อสารทั้งภายในและภายนอก )
    • -Media strategy :
    • -สื่อสารอย่างไรให้เห็นภาพของ ME2U1 ใช้ Sport โฆษณา ภายใน / ภายนอก จัดทำประกวด Role model จัดประชุมวิชาการ

    สิ่งที่เป็นภาพเชิงลบ แนวทางแก้ไข

    • -การโฆษณาการรักษาพยาบาลเป็นเรื่องจอง Ethics ต้องให้ความระมัดระวังในการโฆษณา

    กลุ่ม 5

    Corporate Image

    • -หมอเก่ง
    • -สะอาด
    • -พยาบาลดูแลดีพูดเพราะ
    • -ไม่มีเตียง รอนาน
    • -ไม่มีที่จอดรถ กว้างเดินไปไม่ถูก

    Business Image

    • -การรักษาพยาบาล
    • -การผลิตแพทย์
    • -ชี้นำสังคม

    Brand Image

    • -เป็นที่พึ่งของประชาชน

    เหตุผลสนับสนุน

    • -ข้อมูลจากผู้รับบริการ

    ปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในการสร้าง Brand Image

    • -ขั้นตอนในการบริการมากซับซ้อน

    วิธีการ แนวทาง เครื่องมือ สื่อสาร Brand Image ให้เด่นชัด

    • -บอกปากต่อปาก
    • -มีการบริการความรู่สู่ชุมชน

    สิ่งที่เป็นภาพเชิงลบ แนวทางแก้ไข

    • -สร้างวินัยให้บุคลากรทุกระดับ
    • -สื่อสาร Core value

    ดร.พจน์: จุดแข็งของมอ.คือ การเป็นโรงเรียนแพทย์ การเป็นรพ. และงานวิจัย

    เมื่อพูดถึง Brand คือ ความจริง ต้องสัมพันธ์กับความรู้สึกเสมอ

    ต้องจัดกระบวนการใหม่เพื่อให้เกิดภาพที่ดี

    Brand image ที่สำคัญ คือ เป็นที่พึ่งทางด้านสุขภาพที่มีคุณภาพของภาคใต้

    ปัญหาและอุปสรรค บางอย่างแก้ไม่ได้โดยทันที บางครั้งต้องมาบริหารความรู้สึก

    สิ่งที่ทำให้ Brand image ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรคือ Brand image ที่เป็นภาพเชิงลบ ดังนั้นจึงต้องมีแนวทางแก้ไขให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน

    Brand Image เป็นความพยายามในการที่จะสื่อสารให้เกิดความรู้สึกที่ดีกับตัวเราและสาธารณะ ให้รู้สึก

    • -เป็นความสัมพันธ์ที่ดี
    • -ภาพลักษณ์ที่ดี
    • -Brand Reflection
    • -Viewer
    • -Media Coverage การใช้สื่อให้สมบูรณ์
    • -Communication : message เนื้อหา
    • ต้นทุนชื่อเสียง มีมูลค่า มากกว่า ทรัพย์สิน

    10 win-win codes with target

    • 1. Update list
    • 2. Analyze mapping
    • 3.One topic key message
    • 4. Double check
    • 5. Participation มีการปฏิสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ
    • 6. Network
    • 7. Value relationship
    • 8. Trust/Trust
    • 9. Consistency ความสม่ำเสมอ
    • 10. Sincerity ความจริงใจ
    • การสร้าง Brand เพื่อ
    • -ความรู้สึกที่ดี
    • -เครื่องป้องกันชื่อเสียง
    • -รักษาสัมพันธภาพ

    ข้อเสนอแนะ

    กรณีมีญาติผู้ป่วยถ่ายภาพ และออกสื่อให้เราเสียหาย เราควรทำอย่างไร

    อ.พจน์: ถ้าเราไม่มีอะไรผิด หรือ น่าอาย หรือ ไม่มีข้อจำกัดที่ทำให้สังคมทำร้ายเราก็เฉยๆ แต่หากสิ่งนั้นไปละเมิดสิทธิ์ ก็ต้องหาวิธีการจัดการที่เหมาะสม

    อาจจะต้องมีการรับมือกับโลกsocial media เพราะสมัยนี้มีการเผยแพร่ตลอดเวลา ต้องบอกให้บุคลากรทุกคนระวังตัว เพราะการปิดกั้นทำได้ยาก แต่หากถ่ายภาพผู้ป่วย ก็สามารถฟ้องร้องตามสิทธิ์ได้

    อ.พจน์: โลโก้ที่ดีที่สุด คือ เวลาเห็นแล้วนึกถึงอะไร สำคัญที่สุด 

    หัวข้อ“จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง“ธรรมาภิบาล” ในองค์กร”

    โดย ศ. (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

    30 สิงหาคม 2557

    ศ. (พิเศษ) วิชา: ขอบคุณท่านศ.จีระ ท่านได้สร้างคน โครงการนี้สามารถนำไปต่อยอดให้กับสังคมได้

    เหตุการณ์ที่ยะลา เป็นเหตุการณ์ที่ปล่อยไปตามบุญตามกรรมไม่ได้ แผ่นดินไทยยังมีคนดีอีกมาก ไม่ได้เป็นคนชั่วทั้งหมด

    มรรควิธี ต้องเริ่มจากสัมมาทิฐิ คือ ความเห็นชอบ

    คนที่คิดทุจริต 80% ของคนมาเลเซีย ไม่ยอมรับเรื่องทุจริต แต่ทำไมประเทศไทยถึงยอมรับได้และเห็นเป็นเรื่องธรรมดา เช่น เห็นการโกงข้อสอบเป็นเรี่องธรรมดา

    มรรควิธี ต้องคิดเห็นชอบก่อน

    ถ้าเปรียบเทียบกับการทำงาน การสร้างถนนในสมัยโบราณจะคดเคี้ยวตามหมู่บ้าน เพราะ มีคนปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ห้ามสร้างในที่ของตัวเอง แสดงว่ามีการทับซ้อนเรื่องผลประโยชน์ส่วนตน และผลประโยชน์ส่วนรวม เพราะฉะนั้นต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่หย่อน และไม่ตึงเกินไป

    กระบวนการเดิน ต้องดูว่าจะเดินไปสู่จุดหมายอย่างไร เป็นเรื่องของการเตรียมการและเริ่มออกเดิน

    ท่านวิชา ต้องการเป็นผู้พิพากษา ตั้งแต่ชั้นมัธยม อยากเป็นเพราะมีความยุติธรรม ดังนั้นเวลาอ่านหนังสือ หรือคิดค้นก็เป็นเรื่องของกฎหมาย เวลาสอบต้องเตรียมการเรื่องความพร้อม อยู่กับหนังสือเป็นจำนวนมาก ยินดีที่จะทุ่มเท เพราะมีเป้าหมายที่ชัดเจน สอบเนติ และเดินตามธงที่ตั้งไว้

    ศึกษาชีวิตของการเป็นตุลาการว่าเป็นผู้คนปกติไม่ได้ เพราะไม่มีเวลาส่วนตัว และต้องยึดจริยธรรมของการเป็นตุลาการ ซึ่งเป็นชีวิตที่เลือกแล้ว แต่สิ่งที่เราต้องการมากกว่าตุลาการ คือ อุดมการณ์ เป็นเพียงเป้าหมายไปสู่อุดมการณ์ เป็นแรงจูงใจทางด้านจิตวิญญาณ คืออุดมการณ์อันสูงสุดของชีวิต ที่เหนือกว่าคุณธรรมส่วนบุคคล

    การวิเคราะห์ต้องดูว่าจะทำประโยชน์อะไรให้แผ่นดิน อริสโตเติล บอกว่าเป็นจริยธรรมที่สูงกว่าระดับปกติ

    สายตุลาการจะสอนเรื่องจริยธรรม คุณธรรม แผ่นดินนี้ต้องการความยุติธรรม มีคนทุกยากมากมายที่ไม่สามารถมีที่ทำกิน บางคนติดคุก ถูกไล่ออกจากแผ่นดิน คือ บางคนไปหาของป่า

    ไม่ช่ำตามหน้าที่แล้วจะเกิดความยุติธรรม สิ่งที่ต้องการในการดำรงชีวิตต่อไปข้างหน้า คือให้ความยุติธรรมกับทุกคน อุดมการณ์สูงสุดในชีวิตคือสิ่งนั้น

    ขั้นที่ 1 punishment & reward

    ขั้นเตรียมการเข้าสู่การเป็นผู้มีคุณธรรม(preconventional level)

    • -ต้องมีรางวัล และการลงโทษ ในการเรียนป.ตรี ป.โท บางคนอยู่ในขั้นนี้อยู่เลย บางคนขับรถผ่าไฟแดง โดนตำรวจเรียก แต่บอกว่าตัวเองจบดร.
    • -พระพุทธเจ้า ตรัสว่า ท่านทังหลายจงถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาท อย่าประมาทด้วยการคิดว่ามีคุณธรรมแล้ว

    ขั้นที่ 2 good boy nice girl

    ขั้นเริ่มต้นการมีคุณธรรม (conventional level) เรียนรู้จากครอบครัว โรงเรียน เพื่อน

    • -เป็นขั้นของการเป็น good boy nice girl ดูแลพ่อ แม่คอบครัวอบย่างดี แต่ตอบคำถามไม่ได้ว่าดีอย่างไร จึงมีพ่อแม่ที่แสวงหาผลประโยชน์จากลูกเพราะเห็นว่าเป็นคนดีอย่าเอาความรักมาเป็นผลประโยชน์ทางพาณิชย์ เช่น ธุรกิจอุ้มบุญ การทำแบบนี้ไม่มีคุณธรรม เป็นสังคมที่เสื่อมมาก เพราะประเทศที่ยอมให้อุ้มบุญได้ ต้องเป็นญาติเป็นอันดับแรก เพราะไม่ต้องการเชิงพาณิชย์ เพราะจะทำลายรากฐานของชีวิตมนุษย์ คือ ครอบครัวเป็นสายใยแห่งความรัก ความสุขเรื่องนี้เป็นเรื่องของจริยธรรม

    ขั้นที 3 self – accepted moral principles

    ขั้นของการยอมรับหลักคุณธรรมด้วยตนเอง(posteonventional ,autonomous or principled level)เป็นกระบวนการที่เข้าสู่ระบบจริยธรรม

    ถ้าไม่ปฏิรูปเรื่องคุณธรรมจริยธรรม ก็ไม่มีประโยชน์เพราะสอนตามขั้นที่ 1 และ 2 เท่านั้น

    คนที่เลี้ยงลูกแบบ good boy nice girl แต่ไม่ได้สอนว่าผู้คนมีหลายแบบ ลูกจึงโดนใครหลอกง่ายๆ สมัยก่อนสอนเรื่องพระอภัยมณีว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเคี้ยวเหมือนหนึ่งใน น้ำใจคน

    ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนสอนวิชา Professionalism ต้องเรียนรู้เรื่อง The ruin of law เพราะเป็นรากฐานความคิดของความยุติธรรม เป็น Idea of justice จะคิดอะไรตามอำเภอใจไม่ได้ ต้องคิดตามหลักเหตุผล ต้องคิดถึงความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ Human dignity เพราะมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันโดยกำเนิด ต้องมองด้วยสายตาที่เท่าเทียมกัน เราเน้นเรื่อง Formality ไม่ได้ดูเรื่องเจตนารมณ์ว่ากฎหมายออกมาเพื่ออะไร มีความจำเป็นมากที่ทุกสายวิชาชีพต้องเรียนรู้ The ruin of law หมายความว่า เหนือกว่ากฎหมายจะมีหลักที่สำคัญ คือ ความยุติธรรม ไม่ได้ยึดเอาตัวเองเป็นหลัก จึงตีความว่า ต้องเป็น The ruin of law ไม่ใช่ The ruin of man หมายความว่า ต้องการแบบนี้ จงไปออกกฎหมายมา รวมถึงกฎของบริษัท หรือกฎระเบียบ เป็นกฎหมายที่ไม่ใช่ลายลักษณ์อักษร หรือ กฎของเทพเจ้า ไม่ใช่กฎของมนุษย์เพราะมีอารมณ์ ความรู้สึก

    เรื่องนี้มีความสำคัญมากเป็นการเปิดโลกทัศน์ ของคนมีจริยธรรม ว่าอย่าทำตามอำเภอใจต้องใช้หลักเหตุผลเป็นหลัก เวลาคิดอะไรไม่ใช่แค่คำนึงของความต้องการ

    จริยธรรมที่สำคัญ

    1. ความซื่อตรง (Integrity)

    2. ความสุจริต (Honesty)

    3. ความมีศีลธรรม (Morality)

    4. ความยุติธรรม (Fairness)

    5. การรักษาคำมั่นสัญญา (Promise Keeping)

    6. การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ (Conflict of Interest)

    7. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ (Compliance With Laws and Regulation)

    8. การรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี (Reputation and Dignity)

    Integrity เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ยึดมั่นในความถูกต้องตามคลองธรรม คือ Righteousness จะไม่ทำอะไรในทางที่ผิด จะต้องมีจรรยาบรรณ จะไม่มีความประนีประนอมกับความชั่ว หมายถึงไม่มีความปรองดอง คือ ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก

    ถ้าผิดไปแล้ว แก้ไขอย่างไรค่อยคิดกัน จึงเหนือกว่า Honesty ธรรมดาของผู้คน

    ถ้าไม่ได้รับการสอนตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจะมาถึงจุดนี้ไม่ได้

    เช่น หัวหน้าหน่วยงาน ไม่รับเงินใต้โต๊ะ แต่ปล่อยให้ลูกน้องโกง คนแบบนี้ถือว่ามีความสุจริต แต่ไม่มี ความซื่อตรง(Integrity)

    ในประเทศไทยต้องมีการหล่อหลอมเด็กให้มี Integrity ซึ่งเป็นรากฐานของการไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งเป็นเรื่องยากเพราะเด็กคุ้นเคยว่าจะไปสนใจอะไร มันผ่านไปแล้ว แต่ในที่สุด จะเป็นรอยด่างของชีวิต จะไม่ประสบความสำเร็จในชีวิต

    การฝึกอบรมคนมีความสำคัญมากเรื่องบางเรื่องต้องเอาจริง บางครั้งเจรจาได้อย่างมีหลักการ ไม่ใช่หลักกู

    อ.ทำนอง: ในประเทศเกาหลี ในอนุบาลสอนว่าห้ามขโมยของเพื่อน

    ท่านวิชา : มีการคิดแล้วว่าชีวิตเด็กควรจะแทรกอะไร อย่างเป็นลำดับ ในญี่ปุ่น จะสอนเด็กว่าอะไรเป็นจิตสาธารณะตั้งแต่พื้นฐาน จะไม่ได้อยู่ในห้องเรียนแคบๆเท่านั้น จะพาไปสัมผัสสิ่งแวดล้อมภายนอกให้เห็นธรรมชาติภายนอก เห็นป่าไม้ ภูเขา และสอนว่าทั้งหมดนี้เป็นของนักเรียนทุกคน และต้องรักษาให้ดี เพราะเป็นสมบัติของแผ่นดิน และหนูๆก็จะต้องส่งต่อให้ลูกหลาน คนญี่ปุ่นจะมีความรักของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว

    ได้ไปยะลา คุยกับนักการศาสนาที่ถ่ายทอดมา บอกว่าองค์พระศาสดาอัลเลาะห์กล่าวว่าถ้าไปลักขโมยของส่วนบุคคล ก็ให้ไปยอมรับผิดกับคนๆนั้น ก็กลับมาอ้อมกอดพระเจ้าได้

    แต่ถ้าลักของแผ่นดินจะไม่มีทางให้อภัยได้เลย เพราะต้องไปยอมรับผิดกับทุกคน ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้แน่นอน และทุกคนทั้งแผ่นดินเป็นเจ้าของหมด

    บ้านหลวงจะโทรม เพราะไม่มีใครดูแล คนไทยจะคิดว่าไม่ใช่ของๆเรา ต่างจากประเทศญี่ปุ่น

    แสดงความคิดเห็น:

    คนไทยมีวัดมากกว่าหลายประเทศ แต่สังคมไทย โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่มีปัญหาทุจริต คอร์รัปชั่นมาก เพราะอะไร

    ท่านวิชา: ไม่ได้อธิบายให้เด็กเข้าใจว่า ต้องมีอุดมการณ์เพราะอะไร พ่อแม่ ครอบครัวเห็นว่าเป็นเรื่องนามธรรม ส่วนมากอบรมว่าขอให้เป็นคนดี ซึ่งบอกได้เลยว่าสอนผิด สิ่งที่ต้องสอนให้มีความชัดเจนคือ เรื่องภาระหน้าที่คือ ต้องมีจริยธรรม และความดี โดยเฉพาะคนที่มีภาระหน้าที่หรือเจ้าหน้าที่ต้องมีจริยธรรม และความดี สูงกว่าปกติ เพราะเกี่ยวข้องกับคนในสังคม คือ คนไทยไม่ได้สอนให้ควบคู่กับภาระหน้าที่ของคน

    กรีกโบราณ สอนหลักการเรื่องภาระหน้าที่ โดยสอนทั้งปี ให้กับนักศึกษา

    สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงตรัสเรื่องภาระหน้าที่เป็นเรื่องสำคัญ

    ความเป็นวิชาชีพจะติดตัวไปตลอด อย่างเช่น ประเทศภูฐาน

    คุณธนพันธ์: ในตัวอย่างเรื่องการเก็บของป่า แล้วโดนจับไป เราจะมองการทำงานของเจ้าหน้าที่ และคนเก็บของป่าอย่างไร เรื่องนี้จะมีมุมมองอย่างไร

    ท่านวิชา: เรามีปัญหาเรื่องความคิด ในที่สุดจะเข้าสู่ระบบการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ เพราะไม่สามารถไปออกกฎหมายได้ ต้องเปิดช่องให้คนใช้ดุลพินิจ เช่น เรื่องการพกพาอาวุธปืนในที่ชุมชนโดยไม่มีเหตุอันสมควร ตรงนี้คือการใช้ดุลพินิจ จะโอนอำนาจให้คนที่จับ คือ ตำรวจ พบว่าตำรวจมักจะไม่เอาตรงนี้เป็นหลัก แต่ติดคำว่าพกอาวุธ แต่ลืมว่ามีเหตุอันสมควร เพราะฉะนั้นเป็นการใช้ดุลพินิจที่เป็นธรรมหรือไม่เป็นธรรม ขึ้นอยู่กับการอบรมบ่มนิสัยตั้งแต่ตอนแรก

    ส่วนเรื่องการเก็บของป่า การโดนจับ คือ ไม่แน่ใจว่าการเก็บของโดยไม่เป็นพาณิชย์ ก็ไม่ถือว่าเข้าข่ายทางอาญา เมื่อไม่แน่ใจก็ต้องมาที่ศาล โดยเป็นการรอการลงอาญา ซึ่งถือเป็นปัญหาทุกระดับในกระบวนการยุติธรรม

    ศีลธรรม บางครั้งทำด้วยความหลงผิด เมา การป้องกันตัว แต่บางครั้งโยนให้ศาลหมด หมายความว่าความยุติธรรมต้องใช้ทุกระดับโดยความเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นปัญหาเรื่องสัมมาทิฐิ

    การแก้ไข คือ ต้องเรียน The ruin of law เป็นอันดับแรก

    มาตรา 6 การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่

    1. เกิดประโยชน์สุขของประชาชน

    2. เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ

    3. มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ

    4. ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น

    5. มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์

    6. ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ

    7. มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ

    องค์ประกอบพื้นฐานของ ธรรมาภิบาล

    1.ความรับผิดชอบตามหน้าที่

    2. ความโปร่งใส

    3. การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชัน

    4. การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ให้เข้ามาเป็นผู้ที่ช่วยคุ้มกันกฎ เรียกว่า Watchdog หรือ Corruption watch

    5. มีกฎหมายและระบบยุติธรรมที่เข้มแข็ง

    ธรรมาภิบาล คือ กระบวนการตรวจสอบซึ่งถือเป็นกระบวนการปกติ ประเทศที่เข้าสู่ระบบธรรมาภิบาลสมบูรณ์แบบ คือ ประเทศที่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้ทุกระดับ เช่น สิงคโปร์ คือให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลได้ Right to access information ถ้าทำได้จะเป็นหน่วยที่ประชาชนตรวจสอบได้แท้จริง

    ความมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่เทียบเท่ากับความโปร่งใสและการตรวจสอบได้ เพราะไม่เชื่อว่าคนจะดีตลอดไป

    ระบบของประเทศสิงคโปร์ ต้องให้ทุกคนเข้าถึงข้อมูลได้เท่าเทียมกัน จะได้หมดความสงสัย เช่น การจัดซื้อจัดจ้าง

    ถ้าจัดเวทีมหาวิทยาลัยต่างในเรื่องนี้โดยให้สิงคโปร์เป็น Role model ก็เป็นเรื่องดี

    อ.จีระเดช: ประเทศสิงคโปร์ คุณภาพของคนมีการศึกษาระดับเดียวกันถึงทำได้ แต่ประเทศไทยคนมากกว่าจึงทำไม่ได้

    ท่านวิชา: ถ้าเราพูดเรื่องคนก็จะหมดกำลังใจ แต่จีนมีคนเป็น 1,000 ล้านคน ใช้หลักการเดียวกับเพลโต คนที่มาปกครองต้องเป็นคนที่ดีที่สุด มีอุดมการณ์

    สิ่งที่แต่ละประเทศต้องมีจริยธรรมอย่างยิ่ง ผู้ที่จะเข้าไปบริหารบ้านเมือง ต้องเป็นคนที่คุณธรรม อย่างประเทศมาเลเซีย มีสถาบันฝึกอบรม Integrity ข้าราชการคนไหนไม่ผ่านก็ไม่สามารถดำรงตำแหน่งได้ เป้าหมายของมาเลเซีย คือ ต้องเลิกความคิดแบบเอเชียคือ เอาตัวเป็นใหญ่ ไม่เอาระบบเป็นใหญ่ ไม่รู้ ผิดรู้ถูก โอนอ่อนผ่อนตาม โดยที่ญี่ปุ่น จีน เกาหลีก็เห็นด้วย

    แนวทางดั้งเดิมสมัยโบราณคือ ไม่แสวงหาอำนาจ และให้ประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยที่มีศรัทธา คนที่ต้องอยู่ให้ได้ คือ ราชการ โดยที่ต้องโอบอุ้มประชาชนด้วย

    ความยุติธรรมที่มาจากประชาชน Justice of people

    คุณปรารถนา: สงสัยเรื่องอุดมการณ์ที่เหนือกฎหมาย ขอให้ท่านวิชายกตัวอย่าง

    ท่านวิชา: กฎหมายมีพื้นฐานในชุมชน เรียกว่าจารีตประเพณี ประเทศที่เจริญแล้ว เยอรมันและญี่ปุ่นมีกฎหมายทัดเทียมจารีตประเพณี ไทยอยู่ในประมวลแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 คือ ลายลักษณ์อักษร และเจตนาของกฎหมาย ให้ปรับใช้ตามจารีตประเพณีของท้องถิ่น แต่ไทยนั้นมีความไม่รู้ และไม่ลงลึกถึงประเพณีท้องถิ่นว่ายังคงอยู่หรือไม่

    ต้องใช้วิธีหลักเหตุผลว่าเอากฎหมายที่ไม่ใช่โดยตรงแต่ใกล้เคียง หรือใช้ตามหลักกฎหมายทั่วไป ซึ่งไทยเอามาจากประมวลกฎหมายสวิสเซอร์แลนด์ เมื่อเอามาใช้ไม่ได้เข้าถึงจิตวิญญาณ แค่ลอกมาเฉยๆ การบริหารแผ่นดินอยู่ที่ประมวลกฎหมายมหาชน สำหรับทุกคน

    ซึ่งประโยชน์สูงสุดของมหาชนคือกฎหมายสูงสุด

    ปัญหาที่พูดถึงเป็นปัญหาการประพฤติมิชอบ เช่น งบประมาณแผ่นดินที่สร้างคลองส่งน้ำ ในพื้นที่นา แต่ความจริงเอาไปเข้าไปในสนามกอล์ฟ แล้วชาวนาได้น้ำน้อยมาก

    เวลาตัดถนนก็เช่นกัน ชาวบ้านไม่ได้ใช้ประโยชน์

    ในสงขลา ได้งบ อบจ. อบต. เทศบาลเท่าไหร่ มีใครรู้บ้างเราตรวจสอบได้หรือไม่

    เราควรที่จะมีความรู้ดีในพื้นที่ที่เราอยู่ ในชุมชนที่เราอยู่ หาดใหญ่ได้งบประมาณเท่าไหร่ สร้างอะไรบ้าง เราไม่เคยรู้ซึ่งเป็นปัญหาในการปกครองบ้านเมือง

    การทำคดีไม่เคยคิดที่จะนำประชาชนมามีส่วนร่วม แต่ตอนนี้ต้องเอาเข้ามาแล้วเพราะเรื่องทุจริตประชาชนเสียเปรียบ

    การทำเรื่องธรรมาภิบาลทำคนเดียวไม่สำเร็จ เริ่มตั้งแต่ชุมชน อย่าทำคนเดียว ไม่อย่างนั้นจะไม่มีพลัง ต้องร่วมมือร่วมใจ

    ต้องปกป้องคุ้มครองชุมชน Community justice กรรมการไกล่เกลี่ย กรรมการแก้ปัญหาระดับชุมชน มีการแก้ปัญหาคือ มีการออมระดับชุมชน และยืมเงินระดับชุมชน และส่วนใหญ่เป็น State justice

    กฎหมายสมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันละเลยเรื่องชุมชน ต้องเป็น Institution 

    สรุปบทเรียน วันที่ 30/8/57

    People Management

    การที่เราจะโคชใครเราจะต้องมี 5 สิ่งต่อไปนี้

    1.คุณสมบัติ หรือธาตุแท้ (Being) ในตัวเอง เช่น ความรับผิดชอบ มุ่งมั่น เมตตา แบ่งปัน กตัญญู ปล่อยวาง ต่อสู้ อดทน รักศิลปะ ฯลฯ

    2.ความเชื่อ (beliefs) เพราะถ้าเราเชื่อว่าอะไรเป็นอย่างไรเราจะมองสิ่งนั้นๆตามความเชื่อของเรา คือเราจะรับรู้เฉพาะข้อมูลที่มาสนับสนุนตามความเชื่อของเราเท่านั้น ฉะนั้นเราจะต้องเชื่อว่าคนเรามีธาตุแท้เป็นคนดี ทุกๆพฤติกรรมมาจากความตั้งใจดีเสมอ เพียงแต่อาจนำมาใช้ไม่ถูกที่ถูกทางและเราต้องเชื่อว่าเราทุกคนสามารถเป้นได้มากกว่าที่เราเป็น

    3.ค่านิยม (values) เป็นคุณค่าที่เรายึดถือ เช่น การให้เกียรติผู้อื่น ความสัมพันธ์อันดี ฯลฯ

    4.ความต้องการ (need) คนเรามีความต้องการพื้นฐานของมนุษย์มี 6 ประการคือ certainty, variety, love & connection, significant, growth, contribution

    5.ความกลัว (Fear) คนเราจะมีความกลัวอยู่ 3 อย่าง คือ กลัวไม่ดีพอ กลัวคนไม่รัก กลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง

    ถ้าเรารู้สิ่งเหล่านี้เราก็สามารถจะบริหารจัดการกับคนได้ทั้งตนเองและผู้อื่น และควรนำสมการ

    E + R = O มาใช้ นอกจากนี้อาจารย์ยังแนะนำว่าการจะแก้พฤติกรรมคนให้สำเร็จเราจะต้องแก้มาจากข้างใน

    จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง “ธรรมาภิบาล” ในองค์กร

    อ.วิชา บอกว่าการจะแก้ปัญหาอะไรเราต้องรู้ถึงรากเหง้าของปัญหาว่าคืออะไร ดังคำสอนของพระพุทธเจ้าเรื่องอริยสัจ 4 คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค เราต้องรู้ก่อนว่าทุกข์คืออะไร เราจึงจะมีมรรคได้ และการแก้ปัญหาทุกอย่างต้องเดินทางสายกลาง และอาจารย์บอกว่าเหนือความเป็นคนดีคือต้องมีจริยธรรม คือ ต้องมีความซื่อตรง ความสุจริต ความมีศีลธรรม ความยุติธรรม การรักษาคำมั่นสัญญา การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ และการรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี

    การจะทำอะไรอย่างธรรมาภิบาลจะต้องมีความรับผิดชอบตามหน้าที่ มีความโปร่งใส มีการปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น มีการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และต้องมีกฎหมายและระบบยุติธรรมที่เข้มแข็ง 

    เขียนวันที่ 29 สิงหาคม 2557

    หัวข้อ การบริหารจัดการความเครียด กับ ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม


    ในชีวิตประจำวันของเรามีเรื่องให้เครียดมากมาย  และเกิดได้ตลอดตั้งแต่ตื่นจนหลับทีเดียว การอยู่กับความเครียดนี่ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญและควรบริหารจัดการให้ได้ ไม่งั้นความเครียดทุกวันจะกลายเป็นเครียดสะสมจนแสดงออกมาทางร่างกายหลายอย่าง เช่น เหนื่อยเพลีย ใจสั่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน เป็นต้น

    นิยามความเครียด ก็คือ ความรู้สึกของเราที่ไม่ได้รับการตอบสนองจากเรื่องต่างๆ ที่เราคาดหวัง ไว้ล่วงหน้าแล้ว แต่ผลลัพธ์มักไม่ได้อย่างนั้นจึงทำให้เกิดความเครียด

    สำหรับ รื่องของปัญหา ควรคิดว่าปัญหามีมาให้เราแก้ไข ไม่ใช่มีมาให้ทุกข์ใจหรือเครียด การแก้ปัญหานั้นอย่าเลือกมองข้างหน้าหรือเพียงรอบตัว แต่ให้มองมุมบนลงมาที่ปัญหา เราจะเห็นในทุกมิติ ยิ่งเราขึ้นไปมองสูงมากเท่าไร เราก็จะมองเห็นได้กว้างมากขึ้น ที่สำคัญเราเห็นปัญหามันเล็กลงๆ นั่นเอง หากมองไม่เห็นหรือขึ้นไปมองไม่ไหว ก็ให้หาตัวช่วย เพียงคำพูดให้กำลังใจ อาจทำให้เรามองเห็นปัญหาเล็กลงได้ หากปัญหาที่เราเจอแก้ไม่ได้ทำอะไรไม่ได้จริงๆ ก็ไม่ต้องทำอะไร ปล่อยให้เวลาผ่านไป ปัญหาก็กลายเป็นอดีตไปแล้ว ขอเพียงเอาจิตของเราออกมาจากอดีตให้ทันปัจจุบัน ใช้แนวคิด "อย่าไปคิดมาก " อะไรพอวางได้ก็วาง รับรอง ไม่มีความเครียดสะสม แน่นอน”

    เรียนกับอ.วัลลภ สนุกและได้เกร็ดความรู้ในหลาย ๆ ประเด็นได้แก่

    • อาบน้ำผ่อนคลายมากที่สุด ให้อาบน้ำจากล่างขึ้นบน หน้าอกจากล่างขึ้นบน เน้นบริเวณต่อมน้ำเหลือง
    • ถูใบหน้าจากล่างสู่บน การออกกำลังกายต้อง warm จากเท้ามาก่อน
    • เราต้องรักตัวเราเองให้ได้ก่อน ดูแลสภาพตัวเองได้
    • ความสุขคือ พลังสมอง
    • ความสุข คือ การได้ทำในสิ่งที่รัก และมีงานอดิเรก

    อาจารย์สอนเรื่อง "หัวเราะบำบัด" ขจัดเครียด ซึ่งอาจารย์เป็นผู้คิดค้นศาสตร์นี้ ขึ้น “เทคนิคการหัวเราะบำบัดเป็นการป้องกันเรื่องความเครียด ช่วยให้หายจากโรคซึมเศร้า และยังสามารถบรรเทาและป้องกัน โรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง หัวใจ ความดัน เบาหวาน และสารพัดโรค ” เรียนแล้วคงต้องลงมือทำ ไม่ต้องมีคำว่า “แต่”


    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยกับคณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

    โดย อ.จรัส สุวรรณเวลา อ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

    อาจารย์ทั้งสองท่านได้อภิปรายเรื่องทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ ฯ มีประเด็นท้าทายการแพทย์ไทยในยุคปัจจุบันถึงอนาคต ดังนี้

    • การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร คนแก่มีมากขึ้น การเกิดน้อยลง ทำให้ขาดแคลนแรงงานในระยะยาว
    • การพัฒนาการความรู้และเทคโนโลยีในบริการทางการแพทย์
    • การเปลี่ยนของภาระโรค NCDs Emerging infections
    • ASEAN Community Opportunities & Threats
    • เครือข่ายสุขภาพ
    • ระบบการส่งเสริมสุขภาพ

    เราในฐานะคณะแพทย์ ฯ สงขลานครินทร์ คงต้องมาดูทิศทางที่เราจะก้าวไป ในฐานะที่เราเป็นที่พึ่งและความหวังของประชาชนภาคใต้ เราจะต้องลดอัตตาของการเป็นโรงเรียนแพทย์ ฯลง อาจารย์อยากให้เราหลุดพ้นจากกรอบเดิม ๆ เข้าไปสู่ยุคใหม่ ให้ปรับเป็นยุควิจัยและนวภาพ  ส่วนเพื่อนที่อยู่รอบ ๆ Steakholder ของเรา ถ้าเพื่อนอยากให้เราช่วยอะไร เราควรให้ความช่วยเหลือ โดยคงไม่ใช่เป็นเรื่องของการทำให้ แต่ช่วยให้ทรัพยากร ช่วย Empowerment ให้เขาสามารถทำภารกิจของเขาได้ ระบบสุขภาพของไทยควรเป็นในแนวทางของการส่งเสริมป้องกัน มากกว่ารักษา

    นันท์นภัสถ์ พรหมรักษ์

    วันที่ 30 สิงหาคม 2557

    ในช่วงเช้าได้เรียนเรื่อง people management ได้เรียนรู้ว่าคนมี 4 ประเภทถ้าเปรียบกับสัตว์ คือ 1)กระทิง มีเป้าหมายหวังผลประโยชน์ 2)อินทรีย์ ต้อาการอิสรภาพ ต้อาการความรัก 3)หนู ชอบอยู่เบื้องหลัง ขยันฟังมากกว่าพูด 4)หมี ยึดกฎระเบียบต้องชัวร์ถึงจะตัดสินใจ ถ้ารู้จักและเข้าใจคนสี่ประเภทนี้เราก็สามารถบริหารและตอบสนองความต้องการของคนได้ ความต้องการของมีด้วยกัน 6 ข้อ คือ1)ความมั่นคงปลอดภัย2)ความหลากหลาย3)ความรักความสัมพันธ์ความเชื่อมโยง4)ความโดดเดี่ยว5)ความเจริญเติบโต6)การให้ 

    การจะทำอะไรก็ตาม ตัวเราเท่านั้นที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้ตัวเราเอง มนุษย์ต้องการเป็นผู้ถูกเสมอ  การรับรู้ประสาทสัมผัสของคนจะรับเฉพาะที่เป็นความเชื่อของเราเท่านั้า เพราะฉะนั้นถ้าเราเชื่อสิ่งใดก็ตามมันก็จะดึงดูดสิ่งนั้นเข้ามา ไม่ว่าเราจะทำอะไรก็ตามให้นึกถึงเป้าหมายและการกระทำของเราจะตอบสนองเป้าหมายนั้นเอง จงทำตัวให้เป็นผู้ลิขิต อย่าทำตัวให้เป็นผู้ติดอยู่เป็นเหยื่อ

    ช่วงบ่ายเรียนเกี่ยวธรรมาภิบาล ซึ่งองค์ประกอบของธรรมาภิบาล ได้แก่ การรับผิดชอบต่อหน้าที่ ทุกอย่างต้องโปร่งใส ต้องปราบทุจริต ปชช.มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ระบบความยุติธรรมต้องเข้มแข็ง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราสามารนำมาปรับใช้ในหน่วยงานได้

    People management for happiness and success

    อ.พจนารถ ซีบังเกิด 30 สค. 57

    ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ( 6 core Needs) ประกอบด้วย

    1. Certainty

    2. Variety

    3. Love and connection

    4. Significance

    5. Growth

    6. Contribution

          การเข้าใจความต้องการพื้นฐานของมนุษทำให้เข้าใจตัวตนของลูกน้องมากขึ้น เข้าใจพฤติกรรมและอ่านพฤติกรรมคนได้ ความคิด เป็นแนวทางในการบริหารบุคลากรให้เหมาะกับบุคลิกภาพ   การทำให้คนที่ไม่อยากทำงานให้มาทำงาน โดยให้เขาตั้งเป้าหมายและเห็นภาพความสำเร็จของเป้าหมาย ถ้าเขียนได้ บรรยายได้ เห็นภาพของความสำเร็จของเขาและอยากได้จริงเป็นสิ่งที่ทำให้คนกลับมาทำงาน

    ข้อคิดที่น่าสนใจ

    - เราทุกคนเป็นได้มากกว่าที่เราคิด เราจะเก็บศักยภาพที่เหลืออยู่ไว้ทำอะไร

    - ทุกๆพฤติกรรมมาจากคุณสมบัติที่ดีและความตั้งใจที่ดีเสมอ ทำให้มองคนอื่นอย่างอภัยและนำข้อดีไปใช้และมีหน้าที่เปิดทางให้เห็นในทางบวก

    - เราเท่านั้นที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เราเอง

    เราจะมีแรงบันดาลใจอะไรขึ้นอยู่กับ เรารู้ไหมว่าเรามีคุณสมบัติอย่างไร

    - เราควรเป็นผู้ลิขิตมากกว่าผู้ติดอยู่เป็นเหยื่อ

    - ถ้าเราไม่ได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ เราไม่มีวันมีความสุข

    น่าเสียดายที่เวลาน้อยไป อาจารย์มีเทคนิคการถ่ายทอดทีี่ช่วยให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและได้ข้อคิดที่ดีมากในการนำไปประยุกต์ใช้

    จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร

    ศ.วิชา มหาคุณ 30 สค. 57

              อาจารย์ได้ชี้ให้เห็นความสำคัญของการใช้หลักธรรมาภิบาลในการบริหารและการแก้ปัญหา

    หลักธรรมาภิบาลประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความโปร่งใส การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีกฎหมายและระบบยุติธรรมที่เข้มแข็งซึ่งผู้นำต้องสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องภายใต้สถานการณ์ที่ยาก เราต้องแข็งแรงจากข้างใน แผ่นดินนี้ต้องการความเป็นธรรมและยุติธรรม ประโยชน์สูงสุดของมหาชนคือกฎหมายสูงสุด อุดมการณ์สำคัญสูงสุด ต้องได้รับการสอนตั้งแต่พื้นฐาน ต้องมี Integrity ความซื่อตรง ยึดมั่นในความถูกต้องตามคลองธรรม

               เรื่องนี้มีความสำคัญมากในการปลูกฝังจิตสำนึกแก่ประชาชนไทย เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพัฒนาองค์กรให้สำเร็จสู่เป้าหมาย

    30 สองหาคม 2557

    ได้มีโอกาสเรียนรู้ กับคนดัง 2 ท่าน

    เช้า อ. พจนารถ จิมมี่ 

    หลักการที่จะให้ลูกน้องทำงานกับเรา จริงๆ ก็เป็นหลักในการพัฒนาตนเองด้วย

    สิ่งที่มนุษย์ต้องการ 6 อย่าง ต้องจำให้แม่น เพราะจะมีประโยชน์ในการอธิบายพฤติกรรมของคนได้ เมื่อใช้ร่วมกัย สิ่งที่มีอิทธิพลกับการตัดสินใจ คือ ความเชื่อ ค่านิยม คุณสมบัติ ความกลัว และความต้องการ

    ต้องทราบเป้าหมาย หรือ สภาวะของเป้าหมาย ต้องเห็นเป็นภาพชัดเจน เมื่อย้อนมาดูตัวตนปัจจุบัน ก็พอจะรู้ว่า ต้องทำอะไรบ้างเพื่อไปถึงจุดหมาย 

    การตัดสินใจจะทำอะไร ให้นึกถึง สมาการ E+R = outcome ผลลัพธ์ เมื่อเกิด events ขึ้น เราไม่สามารถรู้มาการได้ว่า มันจะเป็น อะไรอย่างไร พระเจ้าเท่านั้นที่รู้ เรามีหน้าที่ตอบสนอง response กับ events เหล่านั้น ซึ่งก็ขึ้นกับ เราอยากให้ ผลลัพธ์ เป็น อย่างไร สมาการนี้ มี R เป็นสิ่งที่เราควบคุมได้ (ในปัจจัยที่มีอยู่ ณ ขณะ เวลา สถานที่นั้นๆ) เราต้องตัดสินใจให้เข้าสู่ผลลัพธ์ อย่างชาญฉลาดที่สุด ซึ่ง สติ สมาธิ ปัญญา น่าจะเป็นสิ่งสำคัญ ในการตัดสินใจ

    อ.วิชา มหาคุณ

    เนื้อหาที่ท่านนำมาถ่ายทอด มีประโยชน์ มาก โดยเฉพาะ ในหน่วยงานราชการ ที่มีโอกาสเกิดความผิดพลาด จากการตัดสินใจที่ไม่ถูกต้อง ศีลธรรม ความดีงาน จะต้องเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวหลัก ที่ใช้ในการตัดสินใจ เข้าใจว่าท่านแม่นเรื่องกฎหมายข้อบังคับต่างๆ มาก พอๆ กับที่ท่านทราบเรื่องราวของ ธรรมะของพระพุทธเจ้า 

    สิ่งที่เข้าใจได้จากที่ท่านนำเสนอคือ งานของตุลาการ หรือ ศาล มีมากเหลือเกิน การที่จะมาป้องกันต่างๆ ต้องพึ่งชุมชน โดยผมเข้าใจเองว่า คงหมายถึงการเฝ้าระวังเข้มงวดโดยชุมชน จะเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้ ผู้มีอำนาจ ลดโอกาสการทำผิดลงได้บ้าง ทำหน้าที่ เหมือน หมาเฝ้าบ้าน เพราะลำพังจะ รอให้เป็น หน้าที่ของศาล ของตุลาการ ก็ล้วนมีข้อจำกัด ให้ไม่สามารถทำงานได้เต็มที่ อย่างระดับบน ก็มีเรื่องที่ต้องไต่สวนพิจารณา เป็น เรื่องสำคัญ ส่วน ปปช ท้องถิ่น ก็ ลูบหน้า ปะจมูก

    เรียนวันที่ 30 สิงหาคม 2557

    หัวข้อ “People Management” โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด


    อาจารย์สอนให้เราเข้าใจมนุษย์ มองพฤติกรรมของคนที่แสดงออกมาสัมพันธ์กับ ความต้องการของมนุษย์ 6 ประการ ( Core Needs ) ได้แก่

    1.Certainty ความมั่นคง ปลอดภัย สะดวกสบาย

    2.Variety ความหลากหลาย ผจญภัย

    3.Love & Connection ความรัก & ความเชื่อมโยง

    4.Significant ความโดดเด่น สำคัญ

    5.Growth

    6.Contribution การให้

    ลักษณะของคน

    กระทิง – ดุดัน หวังผลเลิศ พุ่งชน ไม่สนใจความรู้สึก พวกรุก เรียกว่า มุ่งงานสำเร็จ มนุษยสัมพันธ์แย่

    หนู - ประนีประนอม รักพวกพ้อง ชอบรื่นเริง พวกตั้งรับ เรียกว่า มนุษยสัมพันธ์ดี แต่ขึ้ใจน้อย ชอบหนีปัญหา

    หมี – พวกเสถียร ไม่ชอบความเปลี่ยนแปลง เคร่งครัดในกฎระเบียบ

    อินทรี – พวกนักวางแผน มองภาพรวม ไม่สนใจรายละเอียด เจ้าโครงการ แต่ขี้เบื่อ

    อาจารย์สอนและให้คำแนะนำในหลาย ๆ ประเด็น ได้แก่

    • 1.เราต้องสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง
    • 2.รู้ไหมว่าเรามีคุณสมบัติหรือธาตุแท้อะไรบ้าง
    • 3.ธาตุแท้ของมนุษย์มีแต่ของดีเท่านั้น ไม่ว่าลูกน้องจะแสดงพฤติกรรมอะไรออกมา ให้คิดว่ามาจากพฤติกรรมและความตั้งใจดีเสมอ
    • 4.ความเชื่อของเราเป็นอย่างไร เราจะเดินทางไปเช่นนั้น
    • 5.เราทุกคนเป็นได้มากกว่าสิ่งที่เราเป็นตอนนี้
    • 6.หลายครั้งที่เราต้องตัดสินใจ อยู่ที่เราฝึกและรู้จักตัวเอง esp ในสถานการณ์คับขัน เราต้องแข็งแรงจากข้างใน มีคุณธรรม จริยธรรม


    หัวข้อ“จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง“ธรรมาภิบาล” ในองค์กร”

    โดย ศ. (พิเศษ) วิชา มหาคุณ

    การที่เราคิดจะเดินทางไปสู่เป้าหมาย จะไปได้อย่างไร เราต้องมีการเตรียมการ อาจารย์วิชาเป็นคนที่มีความมุ่งมั่นในการเป็นผู้พิพากษาตั้งแต่แรก การได้มาเป็นตุลาการ อาจารย์รู้ว่าจะต้องเป็นมนุษย์พันธุ์พิเศษ คือ มีเพื่อนเฮฮาไม่ได้ เพราะมีจริยธรรมของทางตุลาการอยู่ ชีวิตแบบนี้เป็นชีวิตที่อาจารย์เลือกแล้ว สิ่งที่ต้องมีมากกว่าความเป็นตุลาการ คือ อุดมการณ์ การมีแนวคิดต่าง ๆ เป็นเป้าหมายไปสู่อุดมการณ์ เลี้ยงชีวิตชอบ ประพฤติชอบ ประกอบกัน เป็นแรงจูงใจในด้านจิตใจ แต่ไม่ใช่จิตวิญญาณสูงสุด ที่เหนือกว่าคุณธรรมส่วนบุคคล

    ในเรื่องธรรมาภิบาล ระบบราชการไทยใส่เรื่องนี้ลงในแผนพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าสิบปี แต่ไทยก็ยังเป็นประเทศที่เป็นอันดับต้น ๆ ในประเด็นปัญหาเรื่องการคอรัปชั่น เราเน้นเรื่องงธรรมาภิบาลกับข้าราชการแต่ยังไม่ได้ใช้กับนักการเมือง เหมือนกับว่าธรรมาภิบาลใช้เฉพาะกับระบบราชการ นักการเมืองที่เข้ามาควบคุมกระทรวงต่างๆ ยังมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับหลักคุณธรรม เช่น การหาประโยชน์เข้าหาตนเอง พวกพ้อง ที่สำคัญ คือ ขาดความโปร่งใส และหมกมุ่นอยู่กับการหาโครงการที่จะนำผลประโยชน์มาให้ตนเอง ไม่ได้ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง
    อาจารย์เล่าว่าประเทศที่เข้าสุ่ government จะต้องมีการตรวจสอบทุกระดับ อย่างเข้มงวด ถ้าต้องการเป็นมหาวิทยาลัยธรรมภิบาล ให้ลองเอา Singapore model มาใช้ คือ ทุกอย่างให้ทำอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้แจ้งให้ทุกหน่วยเห็นเรื่องการใช้งบประมาณ โดยเฉพาะกับประชาคม

    ถ้ามองประเทศจีน และสิงคโปร์จะเห็นว่าแม้เขาจะมีประชาธิปไตยน้อยกว่าเรา แต่เขามุ่งด้านธรรมาภิบาล ประชาชนก็จะยอมรับได้ ในจีนนั้นหากมีการโกงกินก็จะมีการลงโทษอย่างรุนแรงไม่ไว้หน้ากัน ดังนั้นในความเป็นจริงแล้ว หากรัฐบาลไม่เป็นประชาธิปไตยมากนัก แต่มีความยุติธรรม ไม่กดขี่ แล้วมีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส รับผิดชอบ ทำทุกอย่างเพื่อประชาชน ก็จะนำประเทศไปสู่ความเจริญก้าวหน้าได้

    30 ส.ค.2557

    ช่วงเช้าได้เรียนรู้จากอ.พจนารถและได้แรงบัลดาลใจหลายอย่างมาก เพิ่มกำลังใจขึ้นมา เช่นอาจารย์พูดว่าคนเราจะลุกขึ้นมาทำงานได้ต้องมีอารมณ์ ได้เรียนรู้ 6 Core Needs แล้วได้เข้าใจว่าหากเขา(ใช้ได้ทุกกรณี)มีพฤติกรรมแสดงออกอะไรมาต้องเข้าใจว่าเขาทำไปเพื่อจะไปเติมเต็มในส่วนที่ขาดนั้นๆ ได้พลังขึ้นมาว่าเราทำได้มากกว่าที่เราคิดว่าที่เป็นไป ไม่มีใครที่ไหนหรอกที่จะมาสร้างแรงบัลดาลใจให้กับเรามากกว่าตัวเราเอง รู้มั๊ยว่าเราดี เราเก่ง ถ้าเราไม่มีของดีแล้วเราเกิดมาได้หรือ ให้เราเลือกจะเชื่อในสิ่งที่ที่เราจะประสบความสุข ในสิ่งที่ถูกต้อง

    ช่วงบ่ายขอชื่นชมต่อความดี ความรักชาติรักแผ่นดินของศ.(พิเศษ)วิชา มหาคุณมากๆๆ หากนักการเมืองทุกคนคิดและรักชาติแค่เสี้ยวหนึ่งของอาจารย์ ประเทศไทยคงมีความเจริญและพัฒนาไปแบบก้าวกระโดดแน่นอน

    30 สิงหาคม 2557

    ก่อนที่จะโค้ชผู้อื่นได้ อ.พจนารถ ชีบังเกิด บอกว่าเราต้องรู้จักตัวเองอย่างลึกซึ้งก่อน ด้วยการตั้งคำถาม who am I ?? ฉันคิดว่าฉันรู้จักตัวเองดีอยู่นะ ฉันรู้ว่าเป้าหมายในชีวิตคืออะไร ฉันทำงานที่มั่นคง มีค่าตอบแทนเหมาะสม มีเงินเพียงพอในการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ ได้ทำบุญและบริจาคตามสมควร มีเงินสำหรับท่องเที่ยว ช้อปปิ้ง อย่างฟุ่มเฟือยได้บางเวลา มีเงินเก็บไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ และที่สำคัญไม่มีหนี้สินใดๆ สุขภาพในปัจจุบันก็แข็งแรงเหมาะสมกับวัย แม้จะมีความทุกข์ผ่านเข้ามาบ้างแต่ฉันก็รู้สึกว่าฉันโชคดีที่ชีวิตส่วนใหญ่ของฉันมีความสุขและลั้ลลาอยู่ตลอด

    ฉันเคยคิดว่าการที่เราปฏิบัติตัวตามหลักพุทธศาสนา คือกระทำความดี ละเว้นความชั่ว ทำจิตใจให้ผ่องใส รวมทั้งการทำตัวเป็นพลเมืองดีเคารพกฏหมายบ้านเมืองตลอดจนการเป็นพยาบาลทำให้เราปฏิบัติตามจริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพก็เพียงพอแล้ว แต่ศ.(พิเศษ) วิชา มหาคุณ บอกว่าแค่นี้เรียกว่า เป็น ผู้มีคุณธรรมขั้นที่2 คือระดับGood Boy หรือ Nice Girl เท่านั้นเอง การจะเป็นผู้มีจริยธรรมขั้นสูงได้ เราจะต้องเข้าใจเหตุผลและยอมรับหลักคุณธรรมด้วยตนเอง ไม่ต้องมีใครมาบอกหรือใครมาบังคับแต่เราจะปฏิบัติสิ่งที่ถูกต้องไปโดยอัตโนมัติ ทั้งมีคนเห็นและไม่เห็น ฉันคิดว่าเราควรเริ่มที่การสอนวิชาศีลธรรมและหน้าที่พลเมืองให้เด็กๆอีกครั้งและแทรกเนื้อหาวิชาคุณธรรมจริยธรรมเหล่านี้เข้าไปในทุกหลักสูตรเพราะเมื่อเขาโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่และมีโอกาสได้บริหารบ้านเมืองเขาจะได้เป็นผู้มีจริยธรรมสูง กระทำความดีเพื่อทดแทนแผ่นดิน ไม่โกงชาติโกงบ้านเมืองเหมือนคนรุ่นก่อนที่ผ่านมา

    สรุปการเรียนรู้ 28-30 ส.ค.57

    เริ่มต้นด้วยการนำเสนอการวิเคราะห์หนังสือ good to great แต่ละกลุ่มได้นำเสนอแนวคิดอย่างละเอียด และได้เรียนรู้เกร็ดต่างๆ good is the enemy to great >> ถ้าเราคิดว่าเราดี จะเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการพัฒนา และในการพัฒนาองค์กรนั้นเปรียบเสมือนการหมุนล้อมู่เล่ (flywheel) คือในช่วงแรกของการหมุนมู่เล่นั้น วงล้อจะหมุนไปอย่างช้าๆ เมื่อเวลาผ่านไปจะหมุนได้สบายขึ้น โดยไม่ต้องออกแรงมากมาย เหมือนกับการพัฒนาองค์กรในช่วงแรกผู้นำต้องมีความมุ่งมั่นในการพัฒนา การคัดเลือกคนที่มีวินัยในการทำงาน เมื่อสามารถจัดตั้งองค์กรและขับเคลื่อนองค์กรโดยอาศัยวินัยในองค์กร คือ discipline people discipline though discipline action แล้วจะเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและก้าวกระโดดได้ และนอกจากนั้นองค์กรต่างๆ ควรใช้แนวคิด hedgehog ในการทำงาน โดยการฝึกใช้ 3 คำถาม คือ what you can be the best in the world 2 what drives your economy engine 3.what you are deeply passionate about ซึ่งเป็นการทบทวนตัวเอง ความสำคัญยังอยู่ที่การสามารถตกผลึกความคิด และถ่ายทอดเป็นแผนปฏิบัติที่สามารถเข้าใจง่าย และลงมือทำด้วยความมุ่งมั่น เราก็จะสามารถก้าวสู่ความเป็นองค์กรที่ยอดเยี่ยมได้

    หัวข้อที่ 2 brand management Brand นับเป็นต้นทุนสำคัญขององค์กร หลักการง่ายๆ คือในการสร้าง brand ให้อยู่ในใจของทุกคน คือ สร้างความเป็นจริงให้ปรากฎอย่างเป็นรูปธรรม และสื่อสารอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและการแข่งขันในสังคมปัจจุบัน และการสร้าง brand ต้องมองหลายมุมโดยเฉพาะ stakeholder

    วันที่ 29 ส.ค. 57 กิจกรรมรักษ์กายรักษ์ใจ พลังชีวิตมี 3 ส่วน คือ พลังความคิด พลังความรู้สึก และพลังการกระทำ ต้องให้ 3 อย่างนี้มีความสมดุล ชีวิตจึงจะเป็นสุข แต่ปัจจุบันหลายคนมีพลังความคิดสูง จะแสดงออกเป็นคนคิดมาก หากมีพลังการกระทำสูงจะแสดงออกโดยการก้าวร้าว พลังความรู้สึกจะเป็นตัวสร้างสมดุลที่่ดี คือต้องรู้ว่าทำอะไร คิดอะไร ต้องหยุดความคิดพฤติกรรมที่ไม่ดีให้ได้ เราจึงควรหันมาดูแลตัวเองให้มีสุขภาพกายสุขภาพใจที่ดี เพื่อสร้างผลงานที่ดีในอนาคต หัวข้อทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขไทยกับการทำงานทีมีประสิทธิภาพ การเปลี่ยนแปลงของทุกอย่างรอบตัว ส่งผลต่อ ระบบสุขภาพของไทย และกำลังเป็นปัญหาหลักในปัจจุบัน การตั้งรับคือ รอผู้ป่วยมารักษาจึงไม่สาสามารถแก้ไขปัญหาได้ ต้องปรับเป็นเชิงรุกมากขึ้น คือ สร้างมากกว่าซ่อม นอกจากนั้นยังต้องมีการพัฒนาความรู้อยู่เสมอให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อเป็นพื้นฐานการตัดสินใจให้การดูแลรักษาที่ดีที่ดีที่สุด

    วันที่ 30 ส.ค. 57 people management : ในการจัดการคน หรือ coaching สิ่งสำคัญก็คือต้องรู้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร ถาไม่รู้ว่าปัญหาที่แท้จริงคืออะไร เป็นปัญหาของใคร แล้วหาทางแก้ไขให้ตรงจุด และหลักสำคัญอีกอย่างคือ เราต้องคิดว่าทุกคนมีข้อดีอยู่ในตัวต้องพยายามหาข้อดีของแต่ละคนมาให้ได้ และมอบหมายงานหรือพัฒนาให้ตรงจุด

    หัวข้อ การสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร วิทยากรได้สะท้อนให้เห็นว่าสังคมปัจจุบันขาดหลักธรรมาภิบาลมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ในสังคมและองค์กร โดยเฉพาะวิชาชีพที่ทำงานเกี่ยวกับชีวิตของคน แพทย์พยาบาลและบุคลากรสาธารณสุขก็เป็นวิชาชีพหนึ่ง ที่ต้องอาศัยหลักคุณธรรม จริยธรรมในการช่วยชีวิตคน และที่สำคัญหากทุกคนในสังคมดำเนินชีวิตอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม สังคมไทยคงเป็นสังคมที่สงบร่มเย็น

    วันที่ 28 สิงหาคม 2557

    Good to Great

    ความสำเร็จของบริษัทเปรียบเหมือนFlywheel (ล้อมู่เล่) เริ่มต้นหมุนจะช้า ความพยายามอย่างไม่ลดละ มีวินัย และต่อเนื่อง จะ มีแรงเหวี่ยงจะหมุนได้ด้วยตัวเอง ช่วงความสำเร็จก็มาถึง5 หลักการเลือกผู้นำไม่จำเป็นต้องเป็นคนจากภายนอก (outsider leader) แต่ต้องรู้จักเลือกคนที่เป็น insider ที่ดีที่สุดอย่าเลือกคนในตระกูลหรือครอบครัวตนเอง ผู้นำที่ดีต้องเน้นที่งานหรือผลงานที่จะเกิดขึ้นไม่ใช่มุ่งหวังผลสิ่งตอบแทน

    Brand Management /การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

    Image แบ่งได้ 3 อย่างคือ

    Corporate Image ภาพลักษณ์องค์กร ทุกสิ่งทุกอย่างในองค์กรเรา/Business image ภาพลักษณ์สินค้าหรือบริการ /Brand image เกี่ยวข้องกับชื่อเสียง คุณค่า เกียรติภูมิขององค์กร ความสำคัญขององค์กร

    ภาพลักษณ์เกิดขึ้นได้เมื่อได้รับความสนใจ การมีส่วนร่วม สัมพันธภาพ เช่น Brand imageของโรงพยาบาล มอ คือ มอ เป็นที่พึ่งด้านสุขภาพของคนภาคใต้

    องค์กรต้องสร้าง Brand ให้แข็งแรง เนื่องจากปัจจุบัน สังคมมีความต้องการและคาดหมายที่มากขึ้นกว่าเดิมรูปแบบที่มีอยู่การดำเนินการแบบเดิมไม่เพียงพอที่จะรองรับกับความต้องการได้ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆตลอดเวลาCommunication Changeการสื่อสารขององค์กรท่ามกลางความหลากหลาย มีทั้ง media social media และการพูดปากต่อปากซึ่งการสื่อสารมีผลต่อBrand บางองค์กรจึงต้องมีหน่วยตรวจสอบที่ตรวจสอบอย่างรวดเร็ว และทันต่อสถานการณ์

    วันที่ 29 สิงหาคม 2557

    กิจกรรมรักษ์กาย-รักษ์ใจ

    บุคลิกภาพมนุษย์แบ่งเป็น 10 หน่วย คนบุคลิกภาพที่สมดุล พลังความคิด 4หน่วย พลังความรู้สึก 3หน่วย พลังการกระทำ 3หน่วยแต่เวลาเครียด จะความรู้สึกหวั่นไหวง่าย ต้องฝึกอารมณ์ให้หนักแน่นขึ้น

    สมองซีกซ้าย-ความนึกคิด/คิดวางแผน มีเป้าหมาย สมองซีกขวา-รับรู้สิ่งใหม่ๆ คิดสร้างสรรค์/อารมณ์ รู้สึก ความสัมพันธ์ ตัวอย่างการผ่อนคลายความเครียดง่ายๆ เช่น ตื่นเช้า ควรดื่มน้ำอย่างน้อย 2 แก้ว และจิบน้ำบ่อยๆในแต่ละวันควรจิบอย่างน้อย 8 แก้ว เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนดี

    คนสุขภาพจิตดี ต้องคิดในสิ่งที่มอง มองในสิ่งที่เห็น อยู่กับปัจจุบัน(Here & Now)

    ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานของคณะแพทย์ มอ

    ปัจจุบันทิศทางการแพทย์เปลี่ยนแปลงจากหลายสาเหตุ เช่น มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร มีคนแก่มากขึ้น คนเกิดน้อยลง มีการเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่ดี รายได้ไม่มากพอที่จะซื้อเทคโนโลยีที่ทันสมัย รวมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ส่งผลต่อวิกฤตบริการสุขภาพไทย เช่น การบริการยังไม่เพียงพอ ทั่วถึง การกระจายตัวไม่ดี ระบบบริการขาดประสิทธิภาพ มีความเหลื่อมล้ำ เข้าไม่ถึงบริการ และไม่ทำงานเป็นทีม เหล่านี้เป็นปัญหาหรืโจทย์สำคัญของคณะแพทย์ มอ ว่าต้องมีการปรับเปลี่ยน Mindset หรือไม่ อย่างไร จะยังนั่งอยู่บนหอคอย แล้วประกาศว่าฉันรักษาโรคยากซับซ้อน หรือจะลงจากหอคอยจับมือกับองค์กรอื่น เข้าไปช่วยเหลือชาวบ้านที่ยังเข้าไม่ถึงโดยเน้นการป้องกันก่อนการเป็นโรค

    วันที่30 สิงหาคม 2557

    People management

    หลักการ Coach ผู้ที่จะ Coach จะต้องมี 5 สิ่งต่อไปนี้

    1.คุณสมบัติ หรือธาตุแท้ (Being) ในตัวเอง เช่น ความรับผิดชอบ มุ่งมั่น เมตตา แบ่งปัน กตัญญู ปล่อยวาง ต่อสู้ อดทน รักศิลปะ ฯลฯ

    2.ความเชื่อ (beliefs) เพราะถ้าเราเชื่อว่าอะไรเป็นอย่างไรเราจะมองสิ่งนั้นๆตามความเชื่อของเรา คือเราจะรับรู้เฉพาะข้อมูลที่มาสนับสนุนตามความเชื่อของเราเท่านั้น ฉะนั้นเราจะต้องเชื่อว่าคนเรามีธาตุแท้เป็นคนดี ทุกๆพฤติกรรมมาจากความตั้งใจดีเสมอ เพียงแต่อาจนำมาใช้ไม่ถูกที่ถูกทางและเราต้องเชื่อว่าเราทุกคนสามารถเป็นได้มากกว่าที่เราเป็น

    3.ค่านิยม (values) เป็นคุณค่าที่เรายึดถือ เช่น การให้เกียรติผู้อื่น

    4.ความต้องการ (need) ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์มี 6 ประการคือ certainty, variety, love & connection, significant, growth, contribution

    5.ความกลัว (Fear) คนจะมีความกลัวอยู่ 3 อย่าง คือ กลัวไม่ดีพอ กลัวคนไม่รัก กลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง

    ถ้าเรารู้สิ่งเหล่านี้เราก็สามารถจะบริหารจัดการกับคนได้ทั้งตนเองและผู้อื่น และควรนำสมการ

    E + R = O มาใช้ นั่นคือ เราควบคุม E ไม่ได้ เราจึงต้องใส่พฤติกรรม/กิจกรรมเพื่อให้ได้ Oที่เราต้องการ

    หมายเหตุ (E = EVENT /R = RESPONSE /O = OUTPUT)

    จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้างธรรมาภิบาลในองค์กร

    ปัจจุบันสังคมไทยเสื่อมลงไปมากในทุกวงการ ทุกกลุ่ม เด็กรุ่นใหม่มีความคิดว่าโกงได้ไม่ผิดถ้าตัวเองได้ผลประโยชน์ ทำอย่างไรจะทำให้สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ต้องช่วยกัน

    วันพฤหัสที่ 28 สิงหาคม 2557

    €เรื่องเล่าจากหนังสือ Good to Great : บริษัทที่ดีกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่สุดยอดอย่างถาวร เขียนโดย Jim Collins ได้อ่านแล้ว รู้สึกประทับใจในความมุ่งมั่นของบริษัทที่ยิ่งใหญ่เหล่านั้น องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้บริษัทยิ่งใหญ่ได้ มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ การเป็นผู้นำ : ต้องเป็นผู้นำระดับ 5 คือ จะต้องเป็นผู้นำที่มีความมุ่งมั่น และทะเยอทะยานต่อความสำเร็จ โดยไม่ได้คำนึงอำนาจและหน้าตาของตนเองในสังคม มีความพากเพียรในการทำงาน ถ่อมตัว พยายามไม่เอาความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาเป็นความสำเร็จของตนเอง หากงานที่กำลังทำประสบความล้มเหลว จะรับว่านั่นเป็นเพราะเขา ผู้นำประเภทนี้ส่วนใหญ่มาจากคนในองค์กร ไม่ใช่มาจากที่อื่น

    พยายามเลือกคนที่ใช่มากที่สุดมาทำงาน/ต้องกล้าเผชิญกับความเป็นจริง/มีความศรัทธาและความเชื่อมั่นที่จะต้องชนะ/สร้างกลยุทธ์ในการใช้ความคิดง่ายๆ ไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยลองทำกระบวนการนั้นซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้นำไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง/วัฒนธรรมแห่งความมีวินัย/ประยุกต์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้เข้ากับองค์กรเพื่อปรับปรุงการทำงาน

    สิ่งที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้บริษัทยิ่งใหญ่ได้ ซึ่งต้องมีความค่อยเป็นค่อยไป เหมือนล้อเฟืองที่ขับเคลื่อน ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด เพราะจะทำให้เกิดหายนะได้เช่นกัน

    การทำให้บริษัทนั้นยิ่งใหญ่เป็นอมตะ มีแนวความคิดหลักอยู่ 4 ประการ คือ

    1.สร้างองค์กรที่มีความยืนยาวและปรับตัวได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนผู้นำกี่รุ่น

    2.แทนที่จะเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็คิดหาวิธีที่จะทำทั้งสองเรื่องไปพร้อมๆ กัน

    3. มีอุดมการณ์หลัก คือ การปลูกฝังค่านิยมหลักและเป้าหมายหลัก

    4. ธำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์หลัก ควบคู่ไปกับการสร้างความเจริญก้าวหน้า รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

    €

    Brand Management / การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร: ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

    ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image) และการใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่เหนือชั้น ถือเป็นหัวใจในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดผลที่ดีต่อองค์กร

    ดร.พจน์ อธิบายคำว่า ภาพลักษณ์ ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเข้าใจ เราชอบหรือไม่ชอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และทุกสิ่งมีภาพลักษณ์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคน สิ่งของหรือสถานที่

    เป็นการสื่อสารเรื่องราวข้อมูลขององค์กรไปยังกลุ่มเป้าหมาย และต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มมีความสนใจอะไร และใครเป็นกลุ่มเป้าหมายขององค์กรเราอย่างแท้จริง เพื่อเลือกใช้กลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม

    ภาพลักษณ์ที่ดีที่สุด ควรเริ่มจากบุคลากร/พนักงานในองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหาร ถ้าต้องการจะชี้นำหรือสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร จะต้องถามว่าพนักงานมีความผูกพันกับองค์กรหรือไม่เพียงใด โดยดูได้จากพนักงานทราบหรือไม่ว่าภารกิจขององค์กรคืออะไร รู้เป้าหมายขององค์กรหรือไม่ เพราะนั่นคือการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนและผลักดันองค์กรสู่ความสำเร็จ

    เครื่องมือ (Communication Tools) 10 ประการ ได้แก่ 1. เน้นย้ำเผยแพร่ข่าวสาร (Publicity) 2. มีกลยุทธ์ในการใช้สื่อ (Media Strategies) 3. รุกด้านชุมชนสัมพันธ์ (Community relations) 4. ชูกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) หรือการมีจิตอาสา 5. ปูทางเครือข่ายสัมพันธ์ (Networking and Relations) 6. เพิ่มความเข้มข้นในการจัดกิจกรรมพิเศษ (Special Events) 7. พัฒนาบุคลากรและการสื่อสาร (Resource Development and Internal Communication) 8. บริหารประเด็นข่าว (Issue Management) 9. จัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management) ที่แยบยล 10. สร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าและเครื่องมือประชาสัมพันธ์อื่นๆ (Branding Building and PR Tools)

    เคล็ดลับสำคัญมีอยู่ 6 ประการ คือ เกิดขึ้นได้จากความน่าเชื่อถือ / สร้างความแตกต่าง มีจุดเด่น/ มีการสื่อสารแบบไม่หยุดยั้ง/ อย่าให้จุดอ่อนขององค์กรเผยแพร่ออกไป / ให้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ / ศึกษากลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา

    วันพฤหัสที่ 28 สิงหาคม 2557

    €เรื่องเล่าจากหนังสือ Good to Great : บริษัทที่ดีกลายเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่สุดยอดอย่างถาวร เขียนโดย Jim Collins ได้อ่านแล้ว รู้สึกประทับใจในความมุ่งมั่นของบริษัทที่ยิ่งใหญ่เหล่านั้น องค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้บริษัทยิ่งใหญ่ได้ มีประเด็นที่น่าสนใจ คือ การเป็นผู้นำ : ต้องเป็นผู้นำระดับ 5 คือ จะต้องเป็นผู้นำที่มีความมุ่งมั่น และทะเยอทะยานต่อความสำเร็จ โดยไม่ได้คำนึงอำนาจและหน้าตาของตนเองในสังคม มีความพากเพียรในการทำงาน ถ่อมตัว พยายามไม่เอาความสำเร็จที่เกิดขึ้นมาเป็นความสำเร็จของตนเอง หากงานที่กำลังทำประสบความล้มเหลว จะรับว่านั่นเป็นเพราะเขา ผู้นำประเภทนี้ส่วนใหญ่มาจากคนในองค์กร ไม่ใช่มาจากที่อื่น

    พยายามเลือกคนที่ใช่มากที่สุดมาทำงาน/ต้องกล้าเผชิญกับความเป็นจริง/มีความศรัทธาและความเชื่อมั่นที่จะต้องชนะ/สร้างกลยุทธ์ในการใช้ความคิดง่ายๆ ไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง โดยลองทำกระบวนการนั้นซ้ำหลายๆ ครั้ง เพื่อให้นำไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง/วัฒนธรรมแห่งความมีวินัย/ประยุกต์เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้เข้ากับองค์กรเพื่อปรับปรุงการทำงาน

    สิ่งที่กล่าวมานี้ ล้วนเป็นองค์ประกอบที่จะทำให้บริษัทยิ่งใหญ่ได้ ซึ่งต้องมีความค่อยเป็นค่อยไป เหมือนล้อเฟืองที่ขับเคลื่อน ไม่ใช่เปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด เพราะจะทำให้เกิดหายนะได้เช่นกัน

    การทำให้บริษัทนั้นยิ่งใหญ่เป็นอมตะ มีแนวความคิดหลักอยู่ 4 ประการ คือ

    1.สร้างองค์กรที่มีความยืนยาวและปรับตัวได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนผู้นำกี่รุ่น

    2.แทนที่จะเลือกทำเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็คิดหาวิธีที่จะทำทั้งสองเรื่องไปพร้อมๆ กัน

    3. มีอุดมการณ์หลัก คือ การปลูกฝังค่านิยมหลักและเป้าหมายหลัก

    4. ธำรงไว้ซึ่งอุดมการณ์หลัก ควบคู่ไปกับการสร้างความเจริญก้าวหน้า รวมถึงการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ

    €Brand Management / การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร: ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

    ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image) และการใช้กลยุทธ์การสื่อสารที่เหนือชั้น ถือเป็นหัวใจในการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดผลที่ดีต่อองค์กร

    ดร.พจน์ อธิบายคำว่า ภาพลักษณ์ ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเข้าใจ เราชอบหรือไม่ชอบต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และทุกสิ่งมีภาพลักษณ์ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นคน สิ่งของหรือสถานที่

    เป็นการสื่อสารเรื่องราวข้อมูลขององค์กรไปยังกลุ่มเป้าหมาย และต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มมีความสนใจอะไร และใครเป็นกลุ่มเป้าหมายขององค์กรเราอย่างแท้จริง เพื่อเลือกใช้กลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม

    ภาพลักษณ์ที่ดีที่สุด ควรเริ่มจากบุคลากร/พนักงานในองค์กร โดยเฉพาะผู้บริหาร ถ้าต้องการจะชี้นำหรือสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กร จะต้องถามว่าพนักงานมีความผูกพันกับองค์กรหรือไม่เพียงใด โดยดูได้จากพนักงานทราบหรือไม่ว่าภารกิจขององค์กรคืออะไร รู้เป้าหมายขององค์กรหรือไม่ เพราะนั่นคือการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนและผลักดันองค์กรสู่ความสำเร็จ

    เครื่องมือ (Communication Tools) 10 ประการ ได้แก่ 1. เน้นย้ำเผยแพร่ข่าวสาร (Publicity) 2. มีกลยุทธ์ในการใช้สื่อ (Media Strategies) 3. รุกด้านชุมชนสัมพันธ์ (Community relations) 4. ชูกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) หรือการมีจิตอาสา 5. ปูทางเครือข่ายสัมพันธ์ (Networking and Relations) 6. เพิ่มความเข้มข้นในการจัดกิจกรรมพิเศษ (Special Events) 7. พัฒนาบุคลากรและการสื่อสาร (Resource Development and Internal Communication) 8. บริหารประเด็นข่าว (Issue Management) 9. จัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management) ที่แยบยล 10. สร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าและเครื่องมือประชาสัมพันธ์อื่นๆ (Branding Building and PR Tools)

    เคล็ดลับสำคัญมีอยู่ 6 ประการ คือ เกิดขึ้นได้จากความน่าเชื่อถือ / สร้างความแตกต่าง มีจุดเด่น/ มีการสื่อสารแบบไม่หยุดยั้ง/ อย่าให้จุดอ่อนขององค์กรเผยแพร่ออกไป / ให้ข้อมูลใหม่ๆ เสมอ / ศึกษากลุ่มเป้าหมายตลอดเวลา

    วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม 2557

    €กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (2) : จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว รักษ์ใจ..ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัดฯลฯ ดร.วัลลภ ปิยะ มโนธรรม

    เรียนรู้กระบวนการทำงานของสมองสามส่วน ที่ทำให้เกิดความเครียด สมองส่วนแรกคือสัญชาตญาณ ทำหน้าที่ให้คนเรามีความรู้สึกว่าต้องปกป้องชีวิตและร่างกายให้ปลอดภัย สมองส่วนที่สองคือความรู้สึก แบ่งเป็นความรู้สึกเบี่ยงเบนเอาตัวรอด กับความไม่โกรธแค้น สมองส่วนนี้จะมีพิษอยู่หากรู้วิธีสามารถขับพิษออกทางหูและตาได้ สมองส่วนที่สามคือความนึกคิด ซึ่งส่วนนี้อันตรายมาก เมื่อเรามีความเครียดจะเริ่มจากสมองส่วนสัญชาตญาณมาถึงสมองส่วนอารมณ์ความรู้สึก หากสัญชาตญาณบอกว่า เราต้องอยู่และอยู่ด้วยความปลอดภัย หากมีอะไรมากระทบทำให้เราคิดว่า ต้องปกป้อง อารมณ์ความรู้สึกจะสะสม พอสะสมมากเข้าก็เกิดความเครียด แล้วถูกสั่งงานไปยังสมองส่วนที่สามคือความนึกคิด ซึ่งจะทำให้เราตัดสินใจทำอะไรที่ผิดพลาดได้

    เรียนรู้วิธีคลายเครียดง่ายๆ โดยการหายใจตามขั้นตอน หายใจเข้าให้เต็มอก เต็มท้อง แล้วกลั้นไว้สักครู่ เมื่อกลั้นจนไม่อยู่แล้วจึงค่อยๆ ปล่อยลมออกจากท้องน้อย ผ่านขึ้นท้องบน ขึ้นอก คอ และออกทางปากในลักษณะเปล่งเสียงว่า "โอ" โดยใช้มือปิดปากไว้ จนกว่าจะหมดลม ทำประมาณ 10 ครั้ง จะรู้สึกดีขึ้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งยาคลายเครียด

    เทคนิคการหัวเราะบำบัด เป็นการป้องกันความเครียด ช่วยให้หายจากโรคซึมเศร้า และยังสามารถบรรเทาและป้องกัน โรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง หัวใจ ความดัน เบาหวาน เป็นการออกกำลังกายด้วยการขยับอวัยวะภายในให้ไขมันไม่ดี สารพิษต่างๆ ซึ่งเป็นบ่อเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่ค้างอยู่ในเซลล์ทั่วร่างกายให้ออกไป ท่าหัวเราะบำบัดมีอยู่หลายท่า อาทิ สะโพกหัวเราะ ท้องหัวเราะ อกหัวเราะ ไหล่หัวเราะ คอหัวเราะ ใบหน้า-สมองหัวเราะ ตาหัวเราะ เท้าหัวเราะ แขนหัวเราะ เอวหัวเราะ

    €ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯ มอ. : ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ / ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

    อ.วีระศักดิ์ ได้เล่าพัฒนาการของระบบสาธารณสุขที่เริ่มเข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 1835 โดย John D. Rockefeller หลังจากที่สมเด็จพระราชบิดาเรียนจบ Public Health ที่มหาวิทยาลัย Harvard ในปี 1928 ประเทศไทยก็เริ่มพัฒนาเรื่องระบบสาธารณสุข จนปี 1960 ประเทศไทยสร้างระบบ ผสส. คือ ผู้สื่อข่าวสาธารณสุข และ อสม. คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ต่อมาในปี 2002 เป็นยุคที่เท่าเทียมกัน มีนโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค และคาดการณ์ว่าในปี 2015 ประเทศไทยน่าจะเข้าสู่ Demographic Transition / Epidemiological Transition / Middle income trap / Unsettled political polarization and political stability

    จากระบบใหญ่ของประเทศ ก้าวเข้าสู่ระบบของคณะแพทย์ มอ. โดยแบ่งการพัฒนาการเป็น 4 ยุค ยุคก่อตั้ง / ยุคยืนหยัด / ยุคคุณภาพ / ยุควิจัย+นวภาพ ควรมีเรื่องใหม่ ๆ เกิดขึ้น

    ข้อคิดที่อาจารย์ให้ไว้ คือ อยากให้ทิศทางการแพทย์ของประเทศไปสู่ทิศทางใด ควรเริ่มที่องค์กรของเราก่อน ไม่ต้องไปเริ่มที่อื่น เมื่อเราเข้มแข็ง ก็จะสามารถช่วยเหลือผู้อื่นและสังคมได้

    อ.จรัสได้อธิบายโอกาสใหม่ทางการแพทย์ ซึ่งในสภาพปัจจุบันคงหนีไม่พ้น โอกาสในการแก้ไขโรคเรื้อรังที่ต้องดูแลตลอดชีวิต ซึ่งต่อไปต้องใช้เทคโนโลยีราคาแพง ใช้บุคลากรมาก และต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญสูง มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ซึ่งถ้าจัดระบบการบริหารจัดการไม่ดี ทำให้เกิดวิกฤติบริการสุขภาพได้ (ใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะ / บริการกระจายไม่ดี / มีความเหลื่อมล้ำ)

    อ.จรัส ได้ยกตัวอย่างวิธีแก้ปัญหาของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งกำหนด Transformative Learning for Health Equity ดังนี้ 1.สร้างค่านิยมหลักภายในตนเกี่ยวกับ CSR 2.สามารถค้นหา แปลความ+นำหลักฐานมาใช้ในงานทางคลินิก+สาธารณสุข 3. สร้างสมรรถนะทั้งในงานคลินิก+งานสาธารณสุข 4. สามารถสื่อสาร+ทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นๆ ครอบครัว+ชุมชนได้ 5. สนองตอบ+รับผิดชอบต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชากร

    สิ่งหนึ่งที่อาจารย์จรัสเน้นย้ำ คือ หน้าที่เรา คือ ให้พลังกับชุมชน ต้องเปลี่ยนวิธีมอง ให้ชาวบ้านมองเห็นว่า เราเข้าไปช่วยเหลือเค้าอย่างไร (ช่วยกลุ่ม ช่วยให้เค้าเหล่านั้นได้รับความรู้)

    วันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม 2557

    €People Management : อ.พจนารถ ชีบังเกิด

    สอนให้เรารู้ว่าการเดินทางสู่ความสำเร็จที่มีความสุขในทุกก้าว จะต้องประกอบด้วย 5 เรื่อง คือ คุณสมบัติ ความเชื่อ ค่านิยม ความต้องการ และความกล้า

    เรียนรู้ 6 core Needs ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ได้แก่ ความแน่นอน+ปลอดภัย+สะดวกสบาย/ความไม่แน่นอน+หลากหลาย+ผจญภัย/ความรัก+ความเชื่อมโยง/ความโดดเด่น/การเติบโต/การให้ ซึ่งความต้องการพื้นฐานเหล่านี้ เป็นเป้าหมายที่เราจะเดินไปสู่สิ่งนั้น โดยอาศัยคุณสมบัติ ค่านิยม ความเชื่อ และความกล้า เป็นแรงขับเคลื่อน

    Key Success Principle ของ Jack Canfield คือ E + R = O หรือ Event + Response= equal the outcome

    คำพูดที่เน้นย้ำ คือ “แรงบันดาลใจ ต้องสร้างด้วยตัวเอง”“ควรเป็นผู้ลิขิต ไม่ควรติดอยู่เป็นเหยื่อ”“เราต้องแข็งแรงจากข้างใน และเป็นสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับคนที่เราปกครองอยู่”

    €จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง “ธรรมาภิบาล” ในองค์กร : ศ.(พิเศษ)วิชา มหาคุณ

    อ.วิชาได้สอนเรื่อง จริยธรรม และธรรมาภิบาล โดยพูดว่า คนเราควรสร้างจริยธรรมที่สูงกว่าปกติ จริยธรรมที่สำคัญ ได้แก่ ความซื่อสัตย์/ สุจริต / มีศีลธรรม / ยุติธรรม / รักษาคำมั่นสัญญา / ไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ / ปฎิบัติตามกม.+ข้อบังคับ / รักษาชื่อเสียง+ศักดิ์ศรี

    องค์ประกอบพื้นฐานของธรรมาภิบาล 1. ความรับผิดชอบตามหน้าที่ / ความโปร่งใส / การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น / การให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ / มีกฎหมาย+ระบบยุติธรรมที่เข้มแข็ง

    การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่พึงปฎิบัติ เพื่อนำเราไปสู่เป้าหมาย และการปลูกฝังเรื่อง การตอบแทนคุณแผ่นดิน ควรปลูกฝังไปสู่ทุกคน

    ครั้งที่ 13 28 ส.ค. 2557 วิภารัตน์

    สรุปสิ่งที่ได้เกิดการเรียนรู้ จากการนำเสนอการแปลหนังสือ good to great ซึ่งในภาพรวมสรุปทำให้ทราบถึงคุณสมบัติของผู้นำlevel5ซึ่งประกอบด้วย ความมุ่งมั่นและทะเยอทะยาน มีความพากเพียร ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความมีวินัย เป็นต้น นอกจากนี้ในการคัดเลือกพนักงานต้องคัดเลือกคนที่ดีที่สุด และเก็บคนที่ใช่ไว้ในองค์กร องค์กรสามารถประสบผลสำเร็จได้ความมีวินัยเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้องค์กรยั่งยืน นอกจากนั้นควรเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับการขับเคลื่อนองค์กรซึ่งสรุป องค์กรควรมีคนที่ถูกต้องเหมาะสม ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำอย่างแท้จริง

    สรุปสิ่งที่ได้เกิดการเรียนรู้ เรื่อง Brand management

    Brand image & corporate communication เป็นการมองว่าเราเก่งและมีbrand เรื่องใดบ้างที่น่าสนใจและโดดเด่นซึ่งสิ่งที่เรามองเราเราต้องมองสิ่งรอบข้างมองจากภายนอกว่าเราเห็นอะไรในองค์กรเราบ้างเรารู้จัก corporate image ซึ่งหมายถึงภาพลักษณ์ขององค์กรทุกสิ่งอย่างที่เป็นตัวเรา มองBusiness image ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ในด้านหน้าที่/บริการเป็นอย่างไรนอกจากนี้องค์กรต้องเข้าใจตรงกันในเรื่องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอะไรคือภาพที่ติดตาของลูกค้า/เชิงลบสิ่งที่เรามีเราฝันกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการต้องเจอกันพอดีจึงจะประสบผลสำเร็จ ต้องใช้การสื่อสารในองค์กรโดยในการสื่อสารต้องใช้ทั้ง relationและconnection และสร้างจุดแข็งให้เป็นวัฒนธรรมองค์กร

    Communication Tools มีหลายอย่างได้แก่ community relations เราทำประโยชน์อะไรให้แก่ชุมชนบ้างและสร้างปัญหาอะไรให้ชุมชนบ้าง , CSR เป็นกิจกรรมที่ทำเพื่อสังคม , crisis management มีแผนการรับมือภาวะวิกฤตมีcrisis communication plan และ new media ในการใช้นวัตกรรม

    การบ้านค้าง 14 ส.ค วิภารัตน์

    • 1.แนวคิดผู้นำของ Dr Chira / Drucker ให้วิเคราะห์ว่ามีอะไรเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร

    ความเหมือน ความเป็นผู้นำ เป็นเรื่องของการลงมือกระทำอย่างจริงจัง ด้วยการทำตัวเป็นแบบอย่าง กล้าตัดสินใจ มีความรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ และการสื่อสาร มีการสร้างโอกาสให้ผู้อื่น เน้นการทำงานเป็นทีม

    ความต่าง แนวคิดผู้นำของ Dr Chiraเพิ่มเติมในเรื่องของ การจัดการภาวะวิกฤต และคาดคะเนความเปลี่ยนแปลงในอนาคตรวมทั้งการบริหารความไม่แน่นอน มีการกระตุ้นให้เกิดการทำงานให้เป็นผู้นำที่มีความเป็นเลิศเพื่อนำพาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ

    ซึ่งต่างจากความเป็นผู้นำ แบบ Peter F.Drucker ที่มุ่งเน้นการทำงานอย่างจริงจัง เน้นความรับผิดชอบแต่ไม่ได้กล่าวถึงในการบริหารความเปลี่ยนแปลงและภาวะวิกฤตขององค์กร

    • 2.บุคลิก ยุค และปรัชญาของคน 2 คนต่างกันอย่างไร

    บุคลิกของ Peter F.Drucker เป็นผู้นำที่จริงจังยึดกฎระเบียบความรับผิดชอบสูง ไม่ชอบความเสี่ยงและขาดการคิดคาดการณ์ล่วงหน้า ซึ่งเป็นต้นแบบของผู้นำสมัยเก่าสำหรับแนวคิดผู้นำของ Dr Chira เป็นแนวคิดผู้นำสมัยใหม่ที่มีความทันสมัย กล้าเสี่ยง มีการวางแผนและคาดการณ์ล่วงหน้ามีความโดดเด่นในการสร้างคนเก่ง

    3.นำมาประยุกต์ใช้ในคณะแพทย์มอ.ในด้านใดและเสนอแนะจุดที่จะปรับปรุงให้ดีขึ้นอย่างไร อธิบาย สำหรับคณะแพทย์มอ. ควรมีการปรับปรุงในเรื่องของความกล้าเสี่ยงและการคาดการณ์ถึงความเปลี่ยนแปลงในอนาคตโดยการกล้าเสี่ยง และกล้าตัดสินใจกับการนำองค์กรสู่ private sector เนื่องจากมองแนวโน้มของความเป็นไปได้และสำเร็จสูงและขณะเดียวกันก็ยังคงต้องยึดกฎระเบียบความรับผิดชอบสูง และยังคงมุ่งเน้นการทำงานเป็นทีมของบุคลากรทุกระดับ

    ครั้งที่ 14 29 ส.ค. 2557 วิภารัตน์

    สรุปการเรียนรู้ หัวข้อ รักษ์ใจไม่เครียดด้วยหัวเราะบำบัด โดย ดร. วัลลภ ปิยะมโนธรรม

    ความเครียดนั้นเกิดจากการที่คนเราไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักหยุด อิจฉาริษยาส่งผลให้เกิดความเครียด กุญแจสำคัญในการบริหารความเครียดเป็นการปรับสมดุลให้เกิดสมดุลระหว่างพลังความคิด พลังความรู้สึกและพลังการกระทำ ในการกำจัดความเครียดสามารถกระทำได้โดยการฝึกท่าผ่อนคลายประสาทสมอง และการดูแลอวัยวะทุกส่วนของร่างการมีความสำคัญการนวดเท้า การบริหารนิ้วมือ เทคนิคในการคลายเครียด เป็นการให้ความสำคัญกับปัจจุบันฝึกความคิดให้อยู่กับปัจจุบันและทำปัจจุบันให้ดีที่สุด วันนี้สนุกและได้สาระมากเนื่องจากได้ทราบเทคนิคคลายเครียดนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน การสำรวจสุขภาพตนเองกับการหายใจ

    การปรับท่ายืน นั่งที่สัมพันธ์กับการหายใจ การนวดหน้าด้วย7 อารมณ์ใบหน้าบอกความรู้สึก การร้องเพลงก็สามารถทำให้ให้ผ่อนคลายและมีความสุขอย่างไม่รู้ตัว

    สรุปการเรียนรู้ หัวข้อ ทิศทางการแพทย์ละสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์มอ

    ตั้งแต่ปี 2005ถึงปัจจุบันประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของประชากรโดยมรจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจำนวนคนเกิดใหม่ลดลง ทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจรายได้ของประชากรไม่พอกับรายจ่ายเกิดการแตกแยกกันของพรรคการเมืองทำให้บ้านเมืองไม่สงบสุข

    สำหรับทางด้านสุขภาพ เราควรมีการพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีที่จะมาสนับสนุนการบริการทางการแพทย์ เช่นด้าน ICT ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

    คณะแพทย์มอเป็นความหวังและที่พึ่งด้านสุขภาพของประชาชนชาวใต้เราจึงควรพัฒนาและปรับปรุงการบริการให้ดียิ่งขึ้นทั้งด้านวิชาการ ด้านบริการและด้านการวิจัย

    วันพฤหัสบดี ที่ 28 สิงหาคม 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    บทเรียนจากหนังสือ Good to Great อุปสรรคที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่มาจากคน การแก้ปัญหาจึงต้องแก้ที่คน

    -จงเป็นผู้นำด้วยการตั้งคำถามไม่ใช่ด้วยการให้คำตอบ

    -ให้พนักงานที่ดีที่สุดได้รับโอกาสที่ดีที่สุด ไม่ใช่ให้แก้ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด

    -ทบทวนการตัดสินใจที่ผิดพลาดเพื่อการเรียนรู้ไม่ใช่ เพื่อหาคนทำผิดมาลงโทษ

    Brand ต้องมีการปรับให้เข้ากับแต่ละช่วงเพื่อความทันสมัย และต้องมีการสื่อสารเผยแพร่ข้อมูล ที่รวดเร็ว ข้อมูลที่เผยแพร่ส่งผลอย่างยิ่งต่อการสร้างภาพลักษณ์การเผยแพร่เป็นการสร้างความสัมพันธ์ควบคู่ไปกับการสื่อสารนอกจากจะมุ่งให้คนรู้จักองค์กรและใช้บริการแล้ว ต้องมีความชื่นชอบ เชื่อถือ ศรัทธามีความผูกพันกันในระยะยาว และต้องสามารถจดจำได้ง่าย

    วันศุกร์ ที่ 29 สิงหาคม 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    สิ่งที่ทำให้คนยุคนี้เครียดที่สุด เพราะต้องดิ้นรนอยากได้สิ่งเหล่านี้กันมากที่สุด

    1. มั่งมี มีเงินทอง : ไม่เคยหยุด ต้องคอยหาเพิ่ม

    2. มีชื่อเสียง คนรู้จัก : ไม่เคยหยุดต้องสร้างภาพ

    3. ได้เลื่อนยศ ตำแหน่งสูง :ไม่เคยหยุดต้องดิ้นรน

    “สมองเป็นส่วนที่เย็นที่สุด ห้ามให้แอร์ลงหัว ไม่สบาย”

    “ท้อง เป็นส่วนที่ร้อนที่สุด ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนต้องกินน้ำอุ่นๆ ไม่ใช่น้ำเย็น จะทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้”

    สมองสามส่วนมี 3 ส่วน (ส่วนนอก ส่วนกลาง ส่วนใน)

    สมองส่วนนึกคิด

    การนึกคิด การทรงจำ ภาษาพูด สัญลักษณ์

    สมองส่วนอารมณ์ความรู้สึก

    การแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ความสัมพันธ์

    สมองส่วนสัญชาตญาณ

    ระบบการหายใจ การพักผ่อน การนอนหลับ การย่อยอาหาร การขับถ่าย การไหลเวียนของโลหิต การเจริญพันธุ์ และสัญชาตญาณการต่อสู้

    สิ่งที่ทำให้เกิดความหงุดหงิดมากที่สุด คือ การสื่อสารกันอย่างไม่รู้เรื่อง พูดกันคนละเรื่อง เวลาที่พูดคุยกันต้องมองหน้า มองตา ต้อ ภาษากายมีความสำคัญกว่าภาษาพูด

    - ต้องมีการมองตา

    - สีหน้า

    - กริยาท่าที

    - น้ำเสียง

    - ลมหายใจ

    ความรู้ที่ไม่ทันสมัย หรือตายไปแล้ว เท่ากับ ความไม่รู้ หรือรู้ผิด โดยเฉพาะความรู้ทางการแพทย์ที่เปลี่ยนไปเร็วมาก

    คุณภาพบริการทางการแพทย์ อาศัย การติดตามความรู้ให้ทันและเลือกมาใช้ อย่างถูกต้อง / คุ้มค่าจริยธรรมของวิชาชีพ

    ต้องไม่หาประโยชน์จากวิชาชีพ เพื่อแสวงหาประโยชน์

    วันเสาร์ ที่ 30 สิงหาคม 2557 สิ่งที่ได้เรียนรู้

    ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์

    1. ความมั่นคง ปลอดภัย สะดวกสบาย

    2. ความหลากหลายในชีวิต

    3. ความรัก ความเชื่อมโยง

    4. ความโดดเด่น สำคัญ

    5. การเติบโต

    6. การให้

    "การเข้าใจความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทำให้เข้าใจตัวตน เข้าใจพฤติกรรมคนอื่น"

    - เราทุกคนเป็นได้มากกว่าที่เราคิด เราจะเก็บศักยภาพที่เหลืออยู่ไว้ทำอะไร

    - ทุกๆพฤติกรรมมาจากคุณสมบัติที่ดีและความตั้งใจที่ดีเสมอ ทำให้มองคนอื่นอย่างอภัยและนำข้อดีไป 

      ใช้และมีหน้าที่เปิดทางให้เห็นในทางบวก

    - เราเท่านั้นที่จะสร้างแรงบันดาลใจให้เราเองเราจะมีแรงบันดาลใจอะไรขึ้นอยู่กับ เรารู้ไหมว่าเรามี 

      คุณสมบัติอย่างไร

    - เราควรเป็นผู้ลิขิตมากกว่าผู้ติดอยู่เป็นเหยื่อ

    - ถ้าเราไม่ได้ใช้ศักยภาพอย่างเต็มที่ เราไม่มีวันมีความสุข

    หากเราเป็นผู้นำ บ่อยครั้งต้องตัดสินใจบนความยาก ไม่มีกฎ นโยบาย เขียนไว้ให้เราตัดสินใจ อยู่ที่เราฝึกและรู้จักตัวเองดีหรือไม่

    หลักธรรมาภิบาลประกอบด้วย ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความโปร่งใส การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น การให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ มีกฎหมายและระบบยุติธรรมที่เข้มแข็ง

    ความสำคัญของการเปิดโลกทัศน์ ของคนมีจริยธรรม ว่าอย่าทำตามอำเภอใจต้องใช้หลักเหตุผลเป็นหลัก  เวลาคิดอะไรไม่ใช่แค่คำนึงของความต้องการซึ่งต้องมีจริยธรรมที่สำคัญ

    1. ความซื่อตรง

    2. ความสุจริต

    3. ความมีศีลธรรม

    4. ความยุติธรรม

    5. การรักษาคำมั่นสัญญา

    6. การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์

    7. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ

    8. การรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี

    ปราถนา แดนพิชิตโชค

    นายปราถนา แดนพิชิตโชค

    วันที่ 28 สิงหาคม 2557

    Group Assingment Presentation Good to Great

    บริษัทจะดำรงอยู่อย่างยั่งยืนและเป็นเลิศได้นั้นต้องอาศัยผู้นำระดับห้าและผู้มีส่วนร่วมและส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อ

    • 1.สร้างองค์กรในการดำรงอยู่อย่างยั่งยืนและสามารถรับความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
    • 2.สามารถคิดค้นวิธีการใหม่ๆ กระบวนการหรือหลายทางเลือกในการตัดสินใจในเรื่องเดียวกัน
    • 3.สร้างค่านิยมและเป้าหมายที่สามารถประสบความสำเร็จได้
    • 4.การสร้างภาพลักษณ์และนวัตกรรมใหม่ขององค์กร

    วิชาที่ 19 Brand Management

    Brandกล่าวถึงความรู้สึกโดยการสื่อสารหรือขบวนการสื่อสารถึงจุดแข็งขององค์กรโดยสร้างประเด็นความจดจำหรือนำเสนอเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุด เป็นการเพิ่มและสร้างรายได้เพิ่มขึ้นขององค์กร

    การบริหารภาพลักษณ์ขององค์กร เป็นการบริหารเวลาในการจัดทำกิจกรรมเมื่อมีปัญหาตลอดเวลาซึ่งสามารถใช้กระบวนการทางเลือก การมีส่วนร่วม การใช้พันธมิตรเป็นตัวช่วย การใช้ผู้เชี่ยวชาญในการนำสิ่งที่มีและน่าสนใจในการสร้างภาพลักษณ์ในความแตกต่างซึ่งต้องคำนึกถึงข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

    วิชาที่ 20 การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร

    การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กรต้องรู้สึกได้ สามารถกำหนดคุณสมบัติขององค์กรได้และสามารถนำไปปฏิบัติได้

    การสื่อสารขององค์กรท่ามกลางความหลากหลายท่ามกลางผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การเรียนรู้ เก็บข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดควบคู่ไปกับการศึกษาแนวคิดใหม่ๆ ทั้งการบริหารงานสื่อสารขององค์กรและสื่อสารในทุกด้าน

    ชื่อเสียง เกียรติภูมิขององค์กร คุณค่าและความสำคัญขององค์กร ทิศทางความก้าวหน้า ความมั่นใจที่มีต่อองค์กร การได้รับแสดงความสนใจ การมีส่วนร่วม สัมพันธภาพ

    กระบวนการการสื่อสารประกอบด้วย

    • 1.Publicity
    • 2.Media Strategies
    • 3.Community Relations
    • 4.Corporate Social Responsibility
    • 5.Government Relations
    • 6.Special Event
    • 7.Internal Communication
    • 8.Issue Management
    • 9.Crisis Management
    • 10.Branding
    • 11.New Media

    10 “Win-Win” Codes with Target

    • 1.Update List
    • 2.Analyze Mapping
    • 3.One Topic Key message
    • 4.Double Check
    • 5.Participation
    • 6.Network
    • 7.Value Relationship
    • 8.Truth/Trust
    • 9.Consistency
    • 10.Sincerity

    วันที่ 29 สิงหาคม 2557

    วิชาที่ 21 กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (2)จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว รักษ์ใจไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด ฯลฯ

    บ่อเกิดความเครียดและเป็นทุกข์ เพราะต้องดิ้นรนอยากได้สิ่งเหล่านี้กันมากที่สุด

    • 1.มั่งมี มีเงินทอง ไม่เคยหยุดต้องคอยหาเพิ่ม (กลัดกลุ้ม รุ่มร้อน)
    • 2.มีชื่อเสียง คนรู้จัก ไม่เคยหยุดต้องสร้างภาพ (อิจฉา ตาร้อน)
    • 3.ได้เลื่อนยศ ตำแหน่งสูง ไม่เคยหยุดต้องดิ้นรน (หวั่นไหว คอยระแวง)
    • สิ่งที่คนยุคนี้ต้องการมากที่สุด (อีก)
    • 4.อำนาจ มีอภิสิทธิ์ ไม่เคยหยุดต้องเอาชนะ (แก่งแย่ง แข่งก้าวร้าว)
    • 5.สวยหล่อ มีเสน่หาทางเพศ ไม่เคยหยุดไปทำศัลย์ ไปทางไสย (หวาดกลัว ย้ำคิด)

    วิตกจริต เมื่อความคิดกระโดดจากปัจจุบันไปยังอนาคตแต่เรื่องร้ายๆ แก้ได้โดยให้ความคิดมารู้สึกคิดในขณะปัจจุบัน แล้วจะย้อนอดีต แย้มถึงอนาคตก็ไม่เป็นไร

    ในชีวิตประจำวันความคิดคนเรามักกระโดดไปล่วงหน้าว่าต้องทำอะไรต่อจากที่กำลังทำอยู่ ซึ่งมักจะเป็นเรื่องป้องกันตัว เป็นเรื่องลบๆ เกิดเป็นอาการวิตกกังวลจริตกันได้ จึงต้องให้รู้จักให้ฝึกความคิดให้อยู่กับปัจจุบันขณะเป็นฐานชีวิตไว้ แล้วจะคิดอนาคต นึกอดีตก็ไม่เป็นไร

    กังวลจริต เมื่อเราต้องการความแน่นอน แน่ใจ ความมั่นคง ทำให้รูรั่วทางจิต ก็จะผุดขึ้นมาเป็นความกังวล แก้ได้โดย ทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ณ ที่ตรงนี้

    ความกลัว เกิดขึ้นได้สามทาง ทั้งทางถูกกระตุ้นให้นึกคิดไปทางลบ ถูกกรรโชกทางอารมณ์ความรู้สึกให้หวั่นไหว และ/หรือ ถูกคุกคามทางพฤติกรรม (กระทบเส้นประสาทสรีระกาย)ให้เสียขวัญ สะเทือนขวัญ

    อาการทุกอย่างที่เคยเกิดขึ้นกับชีวิตเรามันไม่เคยน่ากลัวเท่ากับความคิดของเราที่กลัวจะเกิดอาการนั้นๆ ขึ้นมาอีก

    การแก้ไขอาการกลัวต่างๆ ที่กำลังเกิดขึ้นที่ดีที่สุดนั้น คือ ไม่โถม ไม่ถอย ไม่สู้ ไม่หนี ไม่คอยไม่กำจัดมันทิ้ง ไม่คอยไปซ้ำเติมมันเพิ่ม แต่ค่อยๆ เผชิญ ให้ความรู้สึกอยู่กับอาการทางกายในขณะนั้น เรียกว่าอยู่กับมัน ให้จิตใจเข้าไปดูสอดส่องและภายในกายและจิตทัศน์ แล้วอาการนั้นๆก็จะค่อยๆทุเลา ละลายจางหายไปเอง

    ความคิดคนเราจะสงบนิ่งลงได้เมื่อ

    • 1.ช่วงการหายใจแรงๆให้เต็ม แน่นและลึก
    • 2.ช่วงเปล่งเสียงออกไปยาวๆ อย่างหนักแน่น
    • 3.ช่วงการออกกำลังกายทั่วตัวอย่างเป็นจังหวะ
    • 4.ช่วงทำอะไรอย่างรู้สึก รู้ตัว รู้สึกตัว
    • 5.ช่วงที่กำลังมีเพศสัมพันธ์

    วิชาที่ 22 ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทยศาสตร์ มอ.

    โอกาสใหม่ของการแพทย์เป็นการพัฒนาทางความรู้และเทคโนโลยีในการบริการทางการแพทย์ด้วยสาเหตุดังนี้

    • 1.การเปลี่ยนแปลงของภาระโรค
    • 2.การเปลี่ยนแปลงด้านประชากรผู้สูงอายุ
    • 3.กระแสทุนนิยม
    • 4.กระแสประชาธิปไตย
    • 5.เทคโนโลยีก้าวหน้า
    • 6.Asean Community

    ระบบความรู้และเทคโนโลยี

    • 1.เครือข่ายบริการสุขภาพ
    • 2.เครือข่ายสาธารณสุขมูลฐาน
    • 3.ระบบการส่งเสริมสุขภาพ
    • 4.ระบบการป้องกันและควบคุมโรค
    • 5.ระบบกำลังคนเพื่อสุขภาพ
    • 6.ระบบการเงินเพื่อสุขภาพ

    คณะแพทยศาสตร์ มอ. เป็นที่ใฝ่ฝันและหวังพึ่งของประชาชนในภาคใต้ ในการเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาทางวิชาการ การปฏิรูปบริการทางการแพทย์ การปฏิรูปการศึกษาแพทยศาสตร์

    วิกฤตบริการสุขภาพ

    • 1.เลือกใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสม ค่าใช้จ่ายเพิ่มทวีคูณ มีส่วนไม่คุ้มค่า
    • 2.บริการไม่เพียงพอ การกระจายไม่ดี ระบบบริการขาดประสิทธิภาพ ไม่ทำงานเป็นทีม
    • 3.ความเลื่อมล้ำ เข้าไม่ถึงบริการ ความไม่ยุติธรรมในสังคม

    วิกฤตการศึกษาวิชาชีพสุขภาพ

    • 1.สร้างค่านิยมหลักภายในตนเกี่ยวกับความรับผิดชอบต่อสังคม
    • 2.สามารถค้นหา แปลความและนำหลักฐานมาใช้ในงานทางคลินิกและสาธารณสุข
    • 3.สร้างสมรรถนะทั้งในงานคลินิกและงานสาธารณสุข
    • 4.สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกับนักวิชาชีพอื่นๆ ครอบครัวและชุมชนได้
    • 5.สนองตอบและรับผิดชอบต่อความจำเป็นด้านสุขภาพของประชากร

    การให้บริการทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ให้บริการตั้งรับในโรงพยาบาลในเรื่องพบโรคระยะเป็นมาก รักษายากและแพง ควรเปลี่ยนวิธีการรักษาเป็นการบริการเชิงรุกในครอบครัว/ชุมชนเป็นการป้องกันก่อนเป็นโรค หรือพบโรคระยะแรก รักษาง่ายและหายได้

    วันที่ 30สิงหาคม 2557

    วิชาที่ 23People Management

    Why we do what we do?

    • 1.คุณสมบัติ/ธาตุแท้ คือคุณงามความดีในตัวมนุษย์ เช่นความรับผิดชอบ มุ่งมั่น เมตตา แบ่งปัน กตัญญู ต่อสู้ อดทน ฯลฯ
    • 2.ความเชื่อ ทั้ง Limiting&Supporting Beliefsเป็นต้น
    • 3.ค่านิยม/คุณค่าที่เรายึดถือ
    • 4.ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ ได้แก่ ความแน่นอนและปลอดภัย/สะดวกสบาย ความไม่แน่นอน/หลากหลาย/ผจญภัย ความรักและความเชื่อมโยง ความโดดเด่น การเติบโตและการให้
    • 5.ความกลัว ได้แก่ กลัวไม่ดีพอ กลัวคนไม่รัก กลัวไม่ได้เป็นส่วนหนึ่ง

    Key Success Principle

    E + R = 0

    Event + Response = Equals the outcome

    วิชาที่ 24 จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง “ธรรมาภิบาล” ในองค์กร

    ข้อควรปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ได้แก่

    • 1.เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
    • 2.เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
    • 3.มีประสิทธิภาพและความคุ้มค่าในเชิงภาคกิจของรัฐ
    • 4.ไม่มีขั้นตอนการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
    • 5.มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
    • 6.ประชาชนได้รับการอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองความต้องการ
    • 7.มีการประเมินผลการปฏิบัติราชการอย่างสม่ำเสมอ
    • สิ่งที่ต้องมีจริยธรรมอย่างยิ่ง คือการปกครองบ้านเมืองเพราะต้องอาศัยความดีงามของมนุษย์
    • ต้องใช้ศิลปะทุกประเภท
    • ต้องเกี่ยวข้องกับการออกกฎหมาย

    จริยธรรมคืออุดมการณ์หรือมาตรฐานความประพฤติของมนุษย์ที่เป็นจุดมุ่งหมายเพื่อความดีสูงสุด

    จริยธรรมที่สำคัญ

    • 1.ความซื่อตรง
    • 2.ความสุจริต
    • 3.ความมีศีลธรรม
    • 4.ความยุติธรรม
    • 5.การรักษาคำมั่นสัญญา
    • 6.การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์
    • 7.การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ
    • 8.การรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี

    องค์ประกอบพื้นฐานของ ธรรมาภิบาล

    • 1.ความรับผิดชอบตามหน้าที่
    • 2.ความโปร่งใส
    • 3.การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น
    • 4.การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
    • 5.มีกฎหมายและระบบยุติธรรมที่เข้มแข้ง

    11/9/57บางจาก  TQA Roadmap to Performance Excellence 

    เริ่มเข้าปี51 ได้TQC ครั้งแรก 2553   ได้TQCอีกครั้งปี2556ได้คะแนนมากกว่า500 มุ่งมั่นใช้แนวทางTQA

    ต้องได้คะแนนมากกว่า650

    การได้รางวัลเป็นเรื่องรอง การได้คุณภาพเป็นเรื่องสำคัญและแข่งกับตัวเอง

    การนำองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยVision มุ่งมั่นพลังงานทดแทน

    ค่านิยมGreenergy excellence

    มุ่งสร้างสรรค์

    ดูชุมชนรอบบางจาก

    Carbon neutral company

    พลังงานแสงอาทิตย์

    การทำแผนกลยุทธ์ควบคู่จัดการความเสี่ง แผนHR ทบทวนสม่ำเสมอ

    การมุ่งเน้นลูกค้าผ่านVOC ผ่านCRM 

    การวัดการวิเคราะห์ BSC ผ่านExecutive   System

    IT มีIT committee

    HRD มีCadcade Project

    QIP Quality Information Process วงจร PDCAและซ้อมแผน

    ปัจจัยความสำเร็จได้ใช้แนวทาง   7ด้าน  TQA   

    ธุรกิจ น้ำมัน market business จับมือกับBigC  ธุรกิจnonoil solar

    Renewable Energy Businessพลังงานทดแทน

     ตัวอย่างคือ    farmที่บางปะอินทร์

    อุบล มีโรงงานBiodiesel

    ปัจจุบันตลาด10000 ล้านบาทตั้งเป้า25000ล้านในปี2020

    Productคือน้ำมันและservice ในสถานีบริการ

    การนำ  Quality toolหลากหลายมาใช้ในProcess Management

    RCA PDCA Kaizen BSC ISO

    ทำความเข้าใจเกณฑ์TQA โอกาสพัฒนาที่ได้รับจากสถาบันเพิ่มผลผลิตส่ง กล้บมาทำแผนพัฒนา ทำให้พัฒนาCorporateได้คะแนนเพิ่มขี้น

    ให้ความสำคัญด้านสื่อสาร ทำความเข้าใจให้คนในองค์

    ตั้งทีมย่อยเขียนรายงาน   ทีมAssesssor สร้างAwareness

    ตั้งทีมTQA Steering COMMITTEE

    มีนโยบายส่งเสริมคุณภาพและการจัดการระบบงาน

    มีการกำหนดKPIระดับcorporate

    Kick off Hamburger theme

    ช่วงแรกเน้นการอบรม

    ความสำคัญสื่อสารประชาสัมพันธ์ภายในกำหนดสื่อหลัก สื่อรอง

    เพื่อให้พนักงานซึมซับความเข้าใจง่ายๆด้วย    

     มีTQA   Comicsแปลให้เข้าใจเกณฑ์

    การตัดสินTQA อยู่ที่      lineเป็นคนทำ ไม่ใช่ทีมSteering

    หมวด1  มีBCP model through Leadership model

    Check กับTQAตลอดและดูแลSteakholder

    Green Process = Green Thinking   Green  Practice

    Bangkok Green Society

    รับรางวัลด้านCGและCSRได้รับระดับนานาชาติ

    ISO22301

    OFI IจากTQA   ด้าน   NNOVATION         product       process/service innovation

    พัฒนาด้วยการมีช่องทาง Idea Leafทั้งบุคคลากรภายใน ภายนอกจากกลุ่มนักศึกษามาฝึกงาน

    สำหรับข้อเสนอแนะใหม่ๆ มีความรู้แล้วจะshow&shareเป็นการทำKM

    BCP INNO Structure and  cultureมีการติดตาม

    F/U  utilization

    The Cascade for Innovation นำprojectสู่การปฏิบัติ สามารถเปิดปั้มใหญ่/ใหม่ เพิ่มขึ้น

    ชื่นชมการเป็นผู้นำการสร้าง  

    Green Societyจนเป็นทึ่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ

     10/9/57  Toyota โรงงานGateway ฉะเชิงเทรา

    เดิมเป็นโรงงานที่ทอผ้าแล้วพัฒนาผลิตรถยนต์มีโรงงานในหลายประเทศ

    ที่Gateway     ผลิตรถยนต์5ชนิด   Tag Time58sec

    ใช้ระบบการผลิต วันละ900คัน    ผลิตแบบ  Make to order

    ไม่ผลิตเป็นlot

    Toyotaเป็นผู้เชี่ยวชาญการประกอบรถยนต์

    อะหลั่ยใช้ระบบสั่งจากผู้ผลิต รถ1คัน มี8000กว่าชิ้น

    ต้องผ่านโรงปั้มและโรงพ่นสี อัตราการปั้ม3600ชิ้น/ชั่วโมง

    พ่นสี ประกอบรถ ผ่านการตรวจสอบ     Poka Yoke

    การพัฒนาคุณภาพ2เสาหลัก     

    เสาที่1 ปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    -  ความท้าทาย CQIตั้งเป้าสูงขึ้น

    -   Kaizen

    -    ผู้บริหารลงไปดูหน้างาน

    เสาที่2  ทำงานอย่างมีคุณภาพ

    สัญญลักษณ์3ห่วงหมายถึง ลูกค้า สินค้า และรวมในวงเดียวกัน

    CSR road safety ตัวอย่างสร้างราวกั้น &CCTV ให้กับชุมชนที่รับผิดชอบ6อำเภอ

    แนวคิดการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบToyota

    หลัก

    1Toyota way2001

    2Toyota Business Practice TBP

    3Toyota Production system TPS  PDCA ตลอดเวลา

    4Hoshin Kanri

    แนวคิดการบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบToyotaหลัก

           1     Toyota way2001 วิถี ค่านิยม Business  cultureให้คนทำทั่วโลก

       Challenge Target

    1-1    Zero dentจะไม่ยืดหยุ่นกับTargetที่ตั้งไว้แม้จะเจอcrisis

    1-2    Kaizen Activity ต้องมีStandardก่อนแล้ว Yokotenเป็นการถ่ายโอนความรู้ รู้ให้เร็ว รู้ให้มาก  นำIdeaดีๆพนักงานลดต้นทุนมหาศาล

    คิดเล็กๆ ทำทุกคน ไม่ได้ต้องการ Kaizen  man

    1-3    Genchi Genbutsu ผู้บริหารทุกระดับไปดูปัญหาหน้างาน

    1-4     Respect จาก Steakholder สร้างTrust&Respect

    1-5      Team  work

    2Toyota Business Practice TBPเป็นภาคปฏิบัติ8ขั้นตอน

    ปัญหามี2แบบ คนบอกไม่มีปัญหาแสดงว่าตัวเขาเป็นปัญหา

    Clarify Problem

    Breakdown the problem

    Target setting

    Root Cause Analysis

    Monitor both result&process

    ทุกคนต้องเขียนABC paperได้โดยใช้หลักToyota way

    3  TPS

    Lean production

    ต้องทำStandard& Kaizen อย่างมาก

    Policy managementต้องทำ สำคัญมากไม่แค่Top down

    ต้องมี Buttom up ดูว่าทำได้ไหม ยากไปไหม มีการทำCash ball ขึ้นลงๆจนเข้าใจจะเกิดOwnership

              HRD ต้องclarifyและมีระบบการพัฒนาที่เหมาะสม

    มีToyota Way

    ความเป็นเลิศProcess management

    การมีค่านิยมJust in time    Lean    อย่างต่อเนื่อง

    จากการดูงานสายการผลิตตื่นเต้นกับการออกแบบสายการผลิตMake to Order

    มีระบบอัจฉริยะTechnologyช่วยในสายการผลิต

    3Toyota Production system TPS  PDCA ตลอดเวลา

    4Hoshin Kanri

    ฉมาภรณ์

    11/9/57บางจาก  TQA Roadmap to Performance Excellence 

    เริ่มเข้าปี51 ได้TQC ครั้งแรก 2553   ได้TQCอีกครั้งปี2556ได้คะแนนมากกว่า500 มุ่งมั่นใช้แนวทางTQA

    ตั้งเป้าต้องได้คะแนนมากกว่า650

    การได้รางวัลเป็นเรื่องรอง การได้คุณภาพเป็นเรื่องสำคัญและแข่งกับตัวเอง

    การนำองค์กรอย่างยั่งยืน ด้วยVision มุ่งมั่นพลังงานทดแทน

    ค่านิยมGreenergy excellence

    มุ่งสร้างสรรค์  ดูชุมชนรอบบางจาก

    Carbon neutral company

    พลังงานแสงอาทิตย์

    การทำแผนกลยุทธ์ควบคู่จัดการความเสี่ยงและแผนHR มีการ ทบทวนสม่ำเสมอ

    การมุ่งเน้นลูกค้าผ่านVOC /ผ่านCRM 

    การวัดการวิเคราะห์ BSC 

    IT มีIT committee

    HRD มี  Cadcade Project

    QIP Quality Information Process วงจร PDCAและซ้อมแผน

    วางแผนสร้างความสำเร็จได้ใช้แนวทาง   7ด้าน  TQA   

    ธุรกิจ น้ำมัน market business จับมือกับBigC  ธุรกิจnonoil solar

    Renewable Energy Businessพลังงานทดแทน

     ตัวอย่างคือ    farmที่บางปะอินทร์

    อุบล มีโรงงานBiodiesel

    ปัจจุบันตลาด10000 ล้านบาทตั้งเป้า25000ล้านในปี2020

    Productคือน้ำมันและservice ในสถานีบริการ

    การนำ  Quality toolหลากหลายมาใช้ในProcess Management

    RCA    PDCA   Kaizen   BSC    ISO

    ทำความเข้าใจเกณฑ์TQA โอกาสพัฒนาที่ได้รับจากสถาบันเพิ่มผลผลิตส่ง กล้บมาทำแผนพัฒนา ทำให้พัฒนาCorporateได้คะแนนเพิ่มขี้น

    ให้ความสำคัญด้านสื่อสาร ทำความเข้าใจให้คนในองค์

    ตั้งทีมย่อยเขียนรายงาน   ทีมAssesssor สร้างAwareness

    ตั้งทีมTQA Steering COMMITTEE

    มีนโยบายส่งเสริมคุณภาพและการจัดการระบบงาน

    มีการกำหนดKPIระดับcorporate

    Kick off Hamburger theme

    ช่วงแรกเน้นการอบรม

    ความสำคัญสื่อสารประชาสัมพันธ์ภายในกำหนดสื่อหลัก สื่อรอง

    เพื่อให้พนักงานซึมซับความเข้าใจง่ายๆด้วย     มีTQA   Comicsแปลให้เข้าใจเกณฑ์

    การตัดสินTQA อยู่ที่      lineเป็นคนทำ ไม่ใช่ทีมSteering

    หมวด1  มีBCP model through Leadership model

    Check กับTQAตลอดและดูแลSteakholder

    Green Process = Green Thinking   Green  Practice

    Bangkok Green Society

    รับรางวัลด้านCGและCSRได้รับระดับนานาชาติ

    ISO22301

    OFI        จากTQA   ด้าน   INNOVATION         product       process/service innovation

    พัฒนาด้วยการมีช่องทาง Idea Leafทั้งบุคคลากรภายใน ภายนอกจากกลุ่มนักศึกษามาฝึกงาน

    สำหรับข้อเสนอแนะใหม่ๆ มีความรู้แล้วจะshow&shareเป็นการทำKM

    BCP INNO Structure and  cultureภมีการติดตาม

    F/U  utilization

    The Cascade for Innovation นำprojectสู่การปฏิบัติ สามารถเปิดปั้มใหญ่/ใหม่ เพิ่มขึ้น

    ชื่นชมการเป็นผู้นำการสร้าง  

    Green Societyจนเป็นทึ่ยอมรับทั้งในประเทศและระดับนานาชาติ

    ทีมงานวิชาการ Chira Academy

    สรุปโดยทีมงานวิชาการ Chira Academy

    ศึกษาดูงาน ณ โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้า (เกดเวย์)
    หัวข้อ “การบริหารจัดการเชิงคุณภาพ” และ “ไคเซน”

    โดยนายสุทิน เห็นประเสริฐ

    ผู้อำนวยการ Human Resources Development
    Asia Pacific Global Production Center, TOYOTA

    วันที่ 10 กันยายน 2557

    บริษัทโตโยต้า ก่อตั้งขึ้นจากคุณทาคิชิ โตะโยะดะ ในปีค.ศ. 1933 หลังจากที่คุณทาคิชิได้ส่งลูกชายไปเรียนวิศวะกรรมยานยนต์ เมื่อบริษัทผลิตเครื่องทอผ้าโตโยดะนำโดยคีชิโระ โตะโยะดะได้ทำการตั้งแผนกใหม่ในปี พ.ศ. 2477 (ค.ศ. 1934) เพื่อทุ่มเทให้กับการพัฒนาเครื่องยนต์ Type A ซึ่งได้นำไปใช้ใน Model A1 ซึ่งเป็นรถยนต์นั่งคันแรกของบริษัทในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2478 (ค.ศ. 1935) และรถบรรทุก G1 ในเดือนกรกฎาคมปีเดียวกัน ซึ่ง Model A1 ได้พัฒนามาผลิตเพื่อการค้าเต็มรูปแบบซึ่งคือ Model AA ในปี พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1937)

    ความหมายของโตโยต้า หมายถึง อินฟินิตี้

    วิสัยทัศน์ของโตโยต้าคือ

    1. เป็นบริษัทแกนนำของโตโยต้า มอเตอร์ เอเชียแปซิฟิคและเครือข่ายโตโยต้าทั่วโลก

    2. เป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับและยกย่องที่สุดในประเทศไทย

    หลักการ

    1. ปรับปรุงอย่างต่อเนื่องโดยการท้าทายและเปลี่ยนแปลง

    2. เคารพและยอมรับผู้อื่น

    3. ยึดหลักความพึงพอใจของลูกค้า

    4. ทุ่มเทเพื่อมาตรฐานสูงสุด

    5. รับผิดชอบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

    บริษัทโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย

    1. สำนักงานใหญ่และโรงงานโตโยต้า (สำโรง)

    2. สำนักงานกรุงเทพฯ

    3. โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้า (เกตเวย์)

    4. โรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้า (บ้านโพธิ์)

    วิถีโตโยต้า (Toyota Way) ประกอบด้วย 2 เสาหลักคือ

    1. การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

    2. การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน

    วิถีโตโยต้า คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน โตโยต้าเชื่อว่าความสำเร็จธุรกิจสร้างขึ้นจากความพยายามของทุกคน มอบรอยยิ้มเหนือความสุขที่เกินคาดหมายของคนไทยตลอดไป

    Toyota Gateway

    ก่อตั้งขึ้นใน ปี พ.ศ. 2539 ผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล5 รุ่น ได้แก่ Camry Prius Altis Vios Yaris

    รูปแบบการดำเนินงาน

    1. เป็นโรงงานประกอบรถยนต์มี Supplier ทำผลิตชิ้นส่วนประกอบรถยนต์ต่าง ๆ ส่งมาที่โรงงานประกอบรถยนต์

    2. การผลิตรถยนต์ของโตโยต้า

    - ผลิตแบบ Made to order เป็น Real time โดยจะทำแบบ Mix Model คือ คละทุกรุ่น ทุกแบบ ในไลน์การผลิตเดียวกัน หรือที่เรียกอีกอย่างว่าเป็นแบบเฮจุงกะ คือการคละงานยากและง่ายเข้าด้วยกัน (งานง่าย 10 คัน : งานยาก 1 คัน)

    - ผลิตเพียงวันละ 900 คัน

    3. กระบวนการทำงาน มี 5 ส่วนคือ

    1) โรงปั้มชิ้นส่วนตัวถัง

    วิธีการนำแผ่นเหล็กขึ้นรูป มีการตรวจสอบคุณภาพเข้มงวด ผลิตได้ 3,600 ชิ้นต่อชั่วโมง

    2) โรงเชื่อมชิ้นส่วนตัวถัง

    วิธีการให้หุ่นยนต์ทำงาน แต่งานเก็บรายละเอียดจะเชื่อมด้วยพนักงานที่ชำนาญ และเชี่ยวชาญ

    3) โรงพ่นสีตัวถัง

    วิธีการเชื่อมสีกันสนิม เหนี่ยวนำประจุไฟฟ้า เชื่อมทุกส่วน ใช้น้ำเป็นตัวทำละลายจะทำให้รถยนต์ทนมากกว่า และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

    4) โรงประกอบ

    วิธีการ ประกอบชิ้นส่วน ทำหน้าที่ประกอบและติดตั้งชิ้นส่วนรถยนต์

    มีการตรวจสอบคุณภาพ หรือ Quality Control โดยจะมีระบบพิเศษคือตู้ AVI ทำหน้าที่เก็บบันทึกชิ้นส่วน 1-900 ชิ้นส่วน ทำให้สามารถทราบได้ว่าใช้เครื่องมือไหนในการสั่งประกอบ และมีตัวช่วยป้องกันความผิดพลาด คือวากาโยเกะ จะทำการตรวจสอบพนักงานที่ทำการประกอบชิ้นส่วนว่าทำครบAVI หรือไม่ ถ้าทำไม่ครบแล้ว ไลน์การผลิตจะหยุดเพื่อให้แก้ไขงานได้ถูกต้องก่อนเปิดไลน์การผลิตใหม่

    เครื่องวากาโยเกะ จะมีสายสีเหลือง และสายสีแดง สายสีเหลืองจะทำหน้าที่บันทึกการทำงานทั่วไปสายสีแดงเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย คือระบบล้อ ระบบเบรก เป็นต้น

    5) โรงเชื่อมชิ้นส่วนช่วงล่าง

    คุณสมบัติของโรงงาน Gateway

    1. โรงงาน Gateway 2 เพียบพร้อมด้วยเทคโนโลยีที่โดดเด่นทั้งออกแบบตัวถัง พ่นสี เชื่อมชิ้นส่วน โดยใช้เทคโนโลยีที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

    2. การผนวกทั้ง 2 โรงงาน ทำให้ Gateway มีความแข็งแกร่งสามารถส่งออกไปทั่วโลก และเป็นโรงงานพี่เลี้ยงเช่นเดียวกับ Toyota อื่น ๆ ทั่วโลก

    3. การทำงานภายใต้แนวคิดคือ Happiness Workplace โดยการสร้างสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ มีการให้สวัสดิการ สร้างการทำงานแบบทีมเวอร์ก เชื่อว่าความสุขสามารถสร้างงานที่ดีเสมอ

    4. การสร้างความตระหนักสิ่งแวดล้อม กำหนดนโยบายรับผิดชอบต่อสังคม การเรียนรู้ไม้ผลกินได้ สร้างสวนพฤกษศาสตร์ สร้างโรงสีข้าวช่วยเกษตรกร

    องค์กรโตโยต้า มีกฎเหล็ก 3 ข้อ

    คือ 1. หยุดชี้ก่อนข้ามทางแยกทุกครั้ง ขวาว่าง ซ้ายว่าง หน้าว่าง จะข้ามถนน

    2. ไม่ให้พนักงานคุยโทรศัพท์ เพราะอยากให้พนักงานมีสติในทุกช่วง ให้หยุดรับโทรศัพท์ เมื่อเสร็จจึงเดินต่อ

    3. ให้พนักงานมีมือติดตัวตลอดเวลาไม่ซุกในกระเป๋า เกิดเหตุผิดพลาดจะใช้มือยันสิ่งผิดพลาดได้

    การเดินในโรงงาน

    1. ทางสีเขียว หมายถึงทางเดิน ไม่ว่าจะเป็นในโรงงานหรือนอกโรงงานให้เดินตามทางสีเขียว

    2. ทางสีเหลืองจะมีรถขนส่งชิ้นส่วนวิ่งผ่าน โดยรถจะวิ่งวนตลอดเวลา ข้อควรระวังคือการล้ำเส้นสีเหลืองจะทำให้รถเสียเวลาการผลิต

    3. ทางสีขาวเป็นส่วนที่พนักงานทำงาน

    วิธีการทำงานในโตโยต้า

    1. ทุก 3 เดือนจะมีการ Rotate การทำงาน

    2. การทำงานเป็นแบบ Multi Skill เพื่อทำให้ทุกคนทำงานได้หลาย ๆ แบบ

    3. การประชุมทุกคนจะรวมกันที่ R Sky เป็นที่ประชุมผู้บริหาร หัวหน้างานในองค์กร เพื่อไม่ทำให้พนักงานรู้สึกแตกต่างหรือแบ่งแยก

    4. พนักงานจะทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์และทำงานชดเชยวันเสาร์อีก 1 วันใน 1 เดือนเพื่อได้สิทธิ์พิเศษในการหยุดวันสงกรานต์รวม 9 วัน โดยจะมีค่ารถให้พนักงาน 17,000 บาทเพิ่มให้เดินทางกลับบ้าน

    5. การทำงานในโรงงาน จะมี 2 กะคือ

    กะกลางวัน 7.30 – 16.30 น.

    กะกลางคืน 19.30 – 04.00 น.

    6.การประชุมจะประชุมในหน้างาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของค่านิยมทำงานของพนักงานโตโยต้า

    7. วิถีโตโยต้า ประกอบด้วย 2 เสาคือ

    1) การปรับปรุงอย่างต่อเนื่องประกอบด้วย

    - ความท้าทายคือ ความต่อเนื่องที่ไม่หยุดยั้ง การไปสู่เป้าหมายที่สูงกว่า การวางแผนระยะยาว

    - ไคเซ็น (Kaizen) คือการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง พัฒนากระบวนการอื่น ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ผลักดันนวัตกรรมและวิวัฒนการใหม่ ๆ ตลอดเวลา ส่งเสริมการเรียนรู้ขององค์กร

    - เก็นจิ เก็นบุสซึ (Genji Genbutsu) คือการลงไปดูหน้างาน เพื่อทราบข้อเท็จจริงสำหรับการตัดสินใจที่ถูกต้อง เพื่อค้นหาสาเหตุ เหตุเกิด หาข้อสรุปและแก้ไขร่วมกันสร้างมติมหาชน และบรรลุเป้าหมายอย่างรวดเร็วที่สุด

    2) การยอมรับนับถือซึ่งกันและกันคือคือ

    -การยอมรับถับถือ คือ การยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน พยายามทุกวิถีทางที่จะเข้าใจซึ่งกันและกัน รับผิดชอบ และสร้างความไว้วางใจร่วมกัน

    -การทำงานเป็นทีม คือการส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าส่วนบุคคล รวมถึงความเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ ให้โอกาสทุกคนพัฒนาตนเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และเพิ่มผลงานของแต่ละบุคคลให้มีผลงานมากที่สุด จะใช้ความร่วมมือทุกคน เน้น Quality Build in คือเน้นเสมือนการเป็นรถตัวเอง

    - มีการเคารพในปัจเจกชน

    - ความไว้วางใจร่วมกันและความรับผิดชอบร่วมกัน

    - มีการติดต่อสื่อสารอย่างจริงใจ

    การแสดงความคิดเห็น

    1. เรื่อง Training ถ้าย้ายสถานีระบบ Training เหมือนกันทุกสถานีหรือไม่

    ตอบ การ Training จะเป็น Multi skill Trainingมีการปรับกระบวนการทำงานใหม่และสอนใหม่

    การบริหารจัดการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์แบบ Toyota

    โดย นายสุทิน เห็นประเสริฐ

    ผู้อำนวยการ Human Resources Development
    Asia Pacific Global Production Center, TOYOTA

    1. การบริหาร มีแนวคิดอย่างไร

    - การเห็นความสำคัญของพนักงานเป็นอันดับแรก

    - บทบาทที่คาดหวัง คนงานทำอย่างไรให้ KPI สำเร็จ มี Productivity สูง ๆ

    - การบริหารงานโตโยต้ามี

    1. Toyota way

    2. Toyota Business Practices (TBP)

    3. Toyota Production System (TPS)

    4. Hoshin Kanri

    ซึ่งเป็น Management tool ของผู้บริหารคือ เป้าหมาย และวิธีการสู่เป้าหมาย โตโยต้าจะใช้ PDCA ตลอดเวลา หมายถึงองค์กรจะต้องเป็นองค์กรที่ Dynamic ไม่นิ่ง ไม่เฉื่อย

    อย่างไรก็ตามการบริหารต้องมี Off-the-job และ On-the-job ประกอบเพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จ

    1. Toyota Way

    Toyota Way เป็นวิถีของโตโยต้าที่ให้พนักงานทุกคน Toyota Way จึงเป็นค่านิยม และวัฒนธรรมองค์กรที่ให้ทุกคนคิดร่วมกัน เป็น Corporate Culture เป็นGlobal Standard

    Toyota Way ประกอบด้วย

    - Challenge

    -Kaizen

    -Genchi Genbutsu (ดู และหาปัญหา ไม่อยู่กับโต๊ะ)

    ซึ่งทั้ง 3 อย่างจะทำได้ เพราะมี Respect and Teamwork

    1. Challenge

    Zero Dent หมายถึงถ้ามีปัญหาเช่นสึนามิ น้ำท่วมต่าง ๆ จะไม่ยอมแพ้ จะไม่ปรับ Target หรือยืดหยุ่นกับ Target เดิมที่ Set ไว้ หมายถึงจะไม่ยอมอะไรง่าย ๆ

    2. Kaizen จะสร้างอย่างไรให้มี Kaizen mind

    เริ่มต้นจากต้องมี Standard ก่อน ไม่เช่นนั้นจะกลับมาอยู่ที่เดิมที่สำคัญคือ Yokoten คือการถ่ายโอนความรู้ การสอน และ Share ให้คนได้เรียนรู้ ยิ่งเรียนรู้เร็ว ยิ่งดี ยิ่งรู้เร็ว รู้มากยิ่งดี ตัวอย่างเช่น ทำอย่างไรปรับปรุงการผลิตจาก 2 นาที เหลือ 1 นาที ต้องมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน

    ความคิดดี ๆ ของพนักงาน สามารถลดต้นทุน ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม Productivity ได้มหาศาล

    ไม่ต้องคิดให้ใหญ่ แต่ให้คิดเล็ก ๆ ทำทีละเล็ก ทีละน้อย และจะดีเอง

    3. Genchi Genbutsu

    เวลามีปัญหา ทุกคนต้องไปหาปัญหาต้องเห็นปัญหาร่วมกัน สามารถวิเคราะห์สาเหตุได้ ตัดสินใจได้ทันที ต้องไม่ให้ลูกน้องเสียกำลังใจ เพราะหัวหน้าเข้าไปช่วยดูทันที

    เริ่มต้นจากผู้บริหารสูงทำ และรองลงมาปฏิบัติตาม

    4. Respect

    การทำให้เกิด Mutual Trust เป็นเรื่องยากToyota จึงพยายามทำตรงนี้ให้เกิดขึ้นสิ่งนี้ได้มาจากความจริงใจในการสื่อสารสังเกตได้ว่าโตโยต้าจะให้เกียรติประธานสหภาพเท่ากับประธานบริษัท

    5. Team work

    ให้ทุกคนมีทีมเวอร์กได้เนื่องจากเชื่อมั่นและเห็นความสามารถของพนักงาน ต้องพัฒนาให้เขามีความรู้ตามที่จะพัฒนาได้

    Toyota way จึงเสมือนเป็น DreamWay ถ้าคนทำงานแบบ Toyota way ก็จะทำให้ทำงานได้ดี”

    2. Toyota Business Practice (TBP)

    Toyota Business Practices เป็นสายปฏิบัติ มี Toyota way เป็น Base มี 8 ขั้นตอนในการทำ มีกระบวนการแก้ไขปัญหา

    ปัญหาของ Toyota มี 2 แบบ คือ

    1. ปัญหาที่เกิด Nearly Problem เช่น 100 ทำได้ 90

    2. ปัญหาที่เกิดจาก Challenge Project

    สิ่งที่ควรทำคือ

    1. ต้องลด Gap ให้ได้

    2. ต้องมี TargetSetting

    3. ต้องมี Root Cause Analysis ถ้ามีปัญหา หรือทักษะจะแก้ได้เด็ดขาด ต้องไป Genchi คือไปดูหน้างาน

    4. ต้องมีการตรวจสอบ

    5. ต้องมี Standard

    การทำงานของ Toyota ทุกคนต้องเขียน A3 Paper ให้เข้าใจอนุมัติโครงการได้ โดยในกระดาษ A3 ต้องมี Process ทุกอย่างครบถ้วน

    3. Toyota Production System (TPS)

    เป็นเครื่องมือจัดการในโรงงานให้มี High Quality และ Low cost Analysis and Short Lead timeจึงต้องมี JIT และ Jidoka เพื่อทำให้งานมีประสิทธิภาพ

    4. Hoshin Kanri

    เป็น Policy Management ดังนั้นวิธีการทำคือ

    1. การทำแผนต้องมีทั้ง Top down และ Top up

    2. การทำแผนต้องคุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน

    3. การทำแผนมี Catch ball คือแผนจากบริษัทส่งมาระดับล่าง มา Discuss ใช้เวลา 4 เดือนในการทำ Hoshin Kanri

    เมื่อแผนได้รับจากสิ่งที่เขาเสนอ หรือความคิดเห็น จะทำให้เกิดการปฏิบัติที่ชัดเจน

    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

    มีเป้าหมาย และรูปแบบต้องชัดเจน ต้องมีการกำหนด Toyota way และมีการกำหนด Core Competency

    1. Toyota มี Global Core Competency มีการกำหนด C B A S ระดับ S คือทักษะของการแก้ปัญหาได้ มีระบบการบริหาร การจัดการแบบผู้บริหาร มีการเข้า Program ที่ญี่ปุ่น มีเครือข่าย มีศูนย์การเรียนรู้ใน Regional การพัฒนาใช้หลัก Proper Trainer มีการ Qualify

    2. เป้าหมายที่ต้องการทำด้วยรูปแบบที่มีอยู่

    - Global Content ใช้ทั่วโลก

    - Regional Content ใช้ในภูมิภาคเรา

    สิ่งที่ต้องการคือ

    1) สอน แล้วต้องเข้าใจ และสามารถปฏิบัติได้ มีความรู้ และทักษะไปปฏิบัติงานตามที่กำหนดหรือไม่

    2) การมีวีดิโอจะช่วยให้การสอนไม่เพี้ยน สิ่งที่ต้องการคือ Trainer ต้องมีมาตรฐานเดียวกัน มีการแข่ง Skill มีรูปแบบ Training ที่หลากหลาย

    3. การประเมินผล

    การพัฒนาคนถ้าให้ประสบความสำเร็จ ต้อง Link กับระบบประเมินผล เช่นมีPerformance Assessment มีการจ่ายโบนัสมีการ Feedback สู่การพัฒนาแต่ละคน

    การร่วมแสดงความคิดเห็น

    1. การทำงานในโรงงานประกอบรถยนต์เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ที่บอกว่ามีคนแทน ขอถามว่าคนแทนนั้นมี Skill พอหรือไม่

    ตอบเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน มีคนแทน คนที่เป็นหัวหน้างานต้องมี Back upskill หมายถึงหัวหน้างานต้องสามารถทำแทนได้หมด จึงต้องให้หัวหน้างานมี Refreshment อย่างสม่ำเสมอ

    2. กระบวนการ Made to order ของ Toyota ทิ้งห่างคู่แข่งกี่เปอร์เซ็นต์

    ตอบไม่สามารถตอบได้ แต่ขอเพิ่มเติมในเรื่อง Process Management คือ Process ดี Result จะดี

    3. Toyota Way ถ้าไปรถยนต์ที่อื่น จะมี ยี่ห้ออื่น Way หรือไม่

    ไม่ทราบการที่ Toyota เป็นแค่โรงงานประกอบรถยนต์ จึงขอถามว่า Toyota ใช้วิธีเช็คชิ้นส่วนประกอบรถยนต์จาก Supplier อย่างไร

    ตอบ เรื่องรถยนต์ยี่ห้ออื่น Way มีหรือไม่ ไม่สามารถตอบได้ ส่วนเรื่องการใช้วิธีเช็คชิ้นส่วนนั้น Toyota จะใช้ระบบ ISO ทั้งหมด การทำงานของ Toyota เน้นการรักษาคุณภาพของ Supplier อาทิ ให้การ Support ในเรื่องการพัฒนาคน มีการควบคุมคุณภาพ มีส่งผู้เชี่ยวชาญไปแนะนำ Support มีการกำหนด Target ตรงไหนดี ไม่ดี เป็นการกำหนดที่ทำให้ Supplier เข้มแข็งมาก

    4. Supplier ของโตโยต้าเยอะมาก การสื่อสารกับ Supplier มีวิธีการอย่างไร

    ตอบมี Supplier club ดูแล แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ส่งคนเรียนรู้ และ Toyota ก็ส่งคนไปด้วย แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ Supplier บางครั้งอาจมี Quality Drop ลงไปบ้าง บางแห่งใช้แรงงานต่างชาติ คนมีคุณภาพไม่พอ เป็นต้น

    5. การถ่ายทอดเทคโนโลยี ญี่ปุ่นถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เราหมดหรือไม่และการถ่ายทอดถึง Supplier ใครทำ

    ตอบการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ Supplier และคนไทย รูปแบบการพัฒนาคน ส่งผู้บริหารคนไทยไปเรียนรู้ Knowledge ที่ญี่ปุ่น และเล็งเห็นถึงการมีประสบการณ์มากเป็นเรื่องสำคัญ ตัวอย่างด้านเทคนิค คือเมื่อรับเด็กจบใหม่เข้าทำงาน ในปีแรก จะให้เรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างเดียวในปีที่ 2และปีที่ 3 จะให้ไปเรียนรู้ที่ญี่ปุ่น แล้วกลับมาออกแบบถ่ายทอดเทคโนโลยีวิศวะเครื่องยนต์ที่เมืองไทย

    6. ของในตลาด มีของแท้ ของเทียม ของเทียบ ขอถามว่าโตโยต้ามีการดูแลอย่างไร

    ตอบโตโยต้าเองจะมีแบรนด์โตโยต้าเองที่เป็นของแท้ แต่ถ้าเป็นที่ของ Supplier ขายเองอาจเป็นของเทียบหรือของเทียมด้วยไม่แน่ใจ

    7. ใครเป็นผู้นำราคาตลาดรถ

    ตอบ ขึ้นอยู่กับว่ายี่ห้อของใครเปิดตัวก่อน เปิดตัวทีหลัง การเปิดตัวก่อนอาจเสียเปรียบในเรื่องการตั้งราคา แต่มีข้อดีคือได้ Product ส่งไปถึงลูกค้าก่อน

    8. ที่บอกว่า Toyota way 2001 มีการกำกับปี ค.ศ. ไว้ ขอถามว่า Toyota way กี่ปีเปลี่ยน

    ตอบ ที่กำกับไว้ว่าปี ค.ศ. 2001 นั้นเนื่องจากปีนั้นธุรกิจรถยนต์มีปัญหามาก เหลือ Toyota กับ Honda ที่ไม่ถูกค่ายตะวันตกซื้ออุตสาหกรรมรถยนต์ จึงมีแนวคิดทำ Toyota way ขึ้น แต่ความจริงแล้วแนวคิด Toyota way นั้น ทำมาโดยตลอดเพียงแค่ไม่ได้เขียนเป็นทางการ

    9. เทคนิคในการ Deploy เลือกใช้ Catch ball กระบวนการคืออะไร

    ตอบกระบวนการทำ Hohin ประเมินว่าที่ไหนประสบความสำเร็จหรือไม่อยู่ที่ผลงานมากกว่า แต่ถ้าจะ Deploy ดีหรือไม่ดี ยังไม่ขนาดนั้น เพียงแค่ส่วนกลางกำหนดนโยบายว่าจะทำอย่างไร

    10. ปัญหาเรื่องการสื่อสารของโตโยต้ามีหรือไม่ และจัดการอย่างไร

    ตอบการสื่อสารเป็นส่วนที่สำคัญ การสื่อสารระหว่างผู้บริหารกับพนักงาน มีการจัดกิจกรรม การสื่อสารประจำปี ในช่วงปีใหม่จะมีการเรียกพนักงานทุกคนเข้ามาฟังนโยบาย มีพูดเรื่องงบประมาณมีการ Share นโยบายที่สำคัญ และส่งข้อมูลต่าง ๆ มีการทำกิจกรรมที่มาจากสหภาพแรงงานด้วย

    การสื่อสารทุกวันไม่ใช่แบบ Face to Face ก็มีปัญหาเรื่องการใช้เทคโนโลยี แต่ในโรงงานไม่มีปัญหา เพราะมีการเรียกทุกหน่วยงานมาคุยรวมกันทุกเช้าตอน 7.30 น.

    11.หากพนักงานทำงานไม่ดี หรือผลงานไม่เข้าเป้า จะมีนโยบายให้พนักงานออกจากงานหรือไม่

    ตอบ ไม่มีนโยบายการให้ออกจากงาน ถึงแม้จะทำงานไม่ได้ก็จะยังรักษา หากทำผิดก็ลงโทษตามระเบียบ หากผลงานไม่ดีไม่มีนโยบายเอาออกจากงานเลย ต้องโยกย้าย หรือ พัฒนาพนักงาน สร้างให้เขาทำงานให้ได้ และจะมีนโยบายโยกย้ายประจำปี

    12. พนักงานมีปัญหาเรื่องสมองไหลหรือไม่

    ตอบTurnover rate คือเด็กจบใหม่ จะลาออกประมาณ 1 ปีแรก หากอยู่เกิน 3 เดือนก็จะอยู่นาน

    13. เมื่อมีมาตรฐานในการผลิตรถต้นทุนเรื่องของเสียจะกลายเป็นต้นทุนของรถคันอื่นหรือไม่

    ตอบ ของเสียในการผลิตรถรถรุ่นใหม่ล็อตแรก เรียกว่ารถทดลองประกอบจะผลิต 100 คัน หลังจากเสร็จโครงการแล้วจะทำลายหมด กระบวนการคิดต้นทุนจะคิดในเรื่องของแรงงานของพนักงาน และ Operation cost ช่วงเตรียมการรถรุ่นใหม่ใช้เวลานานประมาณ 2-3 ปี ก็จะสามารถผลิตได้ตาม Mass product

    14. ปัญหาสุขภาพของพนักงานมีมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะเรื่องสูบบุหรี่

    ตอบ บริษัทสนับสนุนให้พนักงานออกกำลังกาย เรื่องสวัสดิการสุขภาพจะให้ทั้งครอบครัว

    15. มีพนักงานที่เกเร ไม่ทำงานมีปัญหากันแก้ไขอย่างไร

    ตอบ เปลี่ยนลักษณะการทำงานให้เป็นพี่น้อง เข้าหากันได้ตลอดเวลา ออฟฟิตนั่งในfloor เหมือนกันไม่แยกจากกันทำให้สนิทกันมากขึ้น

    16. มีวิธีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างไร

    ตอบมีการประเมินผลขีดความสามารถ Core Competency และ Performance เรื่องการขึ้นเงินเดือน หัวหน้าประเมินเสร็จส่งเข้า HR และมีการพิจารณาร่วมกับกรรมการกลางว่าเขาเหมาะสมหรือไม่ การประเมินตาม Performance ให้พิจารณาการให้ Bonus

    17. หัวใจสำคัญที่ปลูกฝังให้ Toyota way เข้ามารวดเร็วและยั่งยืน คืออะไร

    ตอบคนเข้าครั้งแรกมี Program อบรมให้มีการสอน ในลักษณะพี่สอนน้อง หัวหน้าสอนว่าจะทำอย่างไร อย่างเช่น A3Paper ช่วงแรกอาจเขียนไม่เก่ง ให้หัวหน้าดูแล้วส่งปรับแก้ใหม่ มีการสอดแทรกว่าไปดูปัญหาหรือยังเป็นกระบวนการทำงานแบบ OJT ให้กับเด็กเข้าใหม่ ต้องมีการ Genchi ถ้าไม่ Genchi จะไม่ได้รับการอนุมัติ

    A3 เป็นการเสนองาน หรือ Proposal ว่างานควรปรับปรุงแก้ไขอย่างไร เป็นกระบวนการ OJT

    18. Productivity จะสะท้อนได้อย่างไร

    ตอบ ดู Defect แต่ละราย อย่างเช่น เรื่อง Electric เรื่องการวิเคราะห์แบบสถิติ เป็นต้น

    19. สงสัยเรื่องไลน์การผลิต ที่บอกว่าถ้ามีอะไรกระทบกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนในไลน์ผลิต ทำให้ส่งช้า ขอถามว่าถ้าส่งชิ้นส่วนช้าจะมีกระบวนการจัดการอย่างไร

    ตอบ ในกรณีที่วันนั้นมีปัญหาในกระบวนการไลน์ผลิต จะมีการทำโอทีต่อ และมีการปรึกษาถึงปัญหา เช่น Part short ส่งมาผิด น้ำท่วมมาไม่ได้ หรือมีเหตุทำให้ต้องหยุดไลน์เช่นเครื่องจักรเสีย มอเตอร์เสีย มีกระบวนการหยุดตลอดต้องมีวิธีการแก้ไขให้ได้ ดังนั้นส่วนใหญ่ Line Manager จะเครียด การทำงานในโรงงานเป็นเรื่องยาก แต่ต้อง Challenge ต้องมี Preventive Maintenance ต้องหาสาเหตุให้ได้ว่า Root Course มาจากอะไร ถ้าแก้ไม่ได้แสดงว่าผู้จัดการไม่มีความสามารถในการจัดการกับปัญหา

    20. พนักงานภูมิใจที่อยู่ Toyota หรือไม่

    ตอบ ภูมิใจที่ทำ Toyota และมี Toyota way อยู่ในสายเลือด

    21. มีการทำดีเพื่อพนักงานหรือไม่ เช่น CSR ของพนักงาน

    ตอบมีการให้โบนัสพนักงานเยอะ ๆ ดูแลพนักงานดี ๆ สวัสดิการดี พนักงานก็จะพอใจโบนัสพอสมควร ให้มีเงินเดือนปรับอยู่ในอัตราตลาด มีการดูแลครอบครัวพนักงานเช่นบ้านพนักงานไฟไหม้ ก็จะส่งเงิน ส่งทีมไปช่วย

    22. ประเทศไทยกำลังเข้าสู่อาเซียน โตโยต้าจะมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยด้านการประกอบวิชาชีพไม่ให้ชาติอื่นเข้ามาทำได้หรือไม่

    ตอบ โตโยต้าเป็นพี่ใหญ่ เข้าไปดูแล เป็น Trainer ให้กับประเทศเหล่านั้น การดูแลมีการดูแลคนของไทยที่ไป Support ด้วย

    คนโตโยต้าแต่ละประเทศที่มาดูงานที่ประเทศไทย รู้สึกอิจฉาประเทศไทย เพราะไทยมีโอกาสที่ดีกว่าเยอะ เช่นเรื่องการทำงาน การดูแล ต่างประเทศได้สวัสดิการหรือเรื่องต่าง ๆน้อยกว่าไทย เช่น โตโยต้าออสเตรเลียอาจปิดโรงงานในอีก 3-4 ปีข้างหน้า เนื่องจากต้นทุนแพงสู้ไม่ไหว คนของไทยน่าจะมีภาษีมากกว่าและไป Support ได้มาก อย่างลาว กัมพูชา พม่า โตโยต้าไทยดูแลหมด ต้องมีการดูแลเรื่องผลิตรถส่งออก ซึ่งนับเป็นโอกาสของไทยที่ทำตรงนี้ได้ดี

    23. สวัสดิการโตโยต้าดี มีปัญหาเรื่องขาดแคลนกำลัง หรือกลุ่มแรงงานต่าง ๆ หรือไม่ และมีวิธีการบริหารอย่างไรไม่ให้กระทบต่อกระบวนการผลิต

    ตอบเมื่อมีปัญหาจะมีการพูดคุยว่าจะแก้อย่างไร ส่วนหนึ่งมีโรงเรียนโตโยต้าที่สุวินทวงศ์ สร้างคนของโตโยต้าส่วนหนึ่งรอบรับ มีการปรับ Motivation

    มีปัญหาระดับล่าง และเฉพาะด้าน แต่ละบริษัทต้องคิดในการสร้างคนของตนเองให้ได้เพราะการรับคนจากที่อื่นเป็นไปได้ยากขึ้น มีปัญหาทาง TechnicMechanic น้อยมาก

    24. โตโยต้ามีทำงาน 24 ชั่วโมงหรือไม่

    ตอบการทำงานแบ่งเป็น 2 กะคือกะกลางวัน และกะกลางคืน

    กะกลางวัน 7.30 – 16.30 น.

    กะกลางคืน 19.30 – 04.00 น.

    25. JIT กับเรื่อง Stocking ขัดกันหรือไม่

    ตอบการผลิตของโตโยต้าเป็นการผลิตจากประสบการณ์ ลองผิดลองถูก ญี่ปุ่นได้มีการนำตรงนี้ไปขยาย มีการนำระบบ GTH มาใช้ในไทย บางครั้งอาจไม่พร้อมเหมือนญี่ปุ่น ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ มีการใช้ระบบ Just In Time

    มีรูปแบบการพัฒนาของตัวเอง โดยอาจใช้วิธี Kaizen ได้ ถ้าทำได้ดีขึ้น ถ้าทำดีจะเอาของไทยไปใช้ แต่อาจมีข้อแตกต่าง และรายละเอียดปลีกย่อยแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ

    ระบบจัดการที่มี JIT จะช่วยให้ Stock น้อยที่สุดเพื่อลดต้นทุน แต่มีความเสี่ยงเกิดขึ้นจาก Line หยุด

    26. การผลิต 900 คันต่อวัน ถ้าสั่งวันนี้จะได้วันไหน

    ตอบการสั่งรถยนต์ สั่งวันนี้จะได้ภายใน 1 วัน ไม่น่าเกิน 2-3 วันลูกค้าจะได้รับรถแล้ว

    และมีส่วนส่งออกรถกระบะ ประมาณ 50 %เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิต รถเก๋งส่งออก 40%

    27. มีระบบ Safety เรื่องคนงานให้มีสุขภาพทำได้ยอดเยี่ยมมาก แต่การทำเวลาตามตลาด มีการศึกษาเรื่องการทำงานมากไปหรือไม่

    ตอบการทำงานที่โตโยต้ายังคำนึงถึง คุณภาพเป็นส่วนสำคัญ และหลังจากมีประสบการณ์ช่วงที่ผ่านมายังยึดว่า Quality มาก่อน Productivity และ Quality จึงเป็นตัววัดว่าจะได้หรือไม่ จะรักษาเป็นจุดขายอยู่

    28. โตโยต้ามีการทำวิจัยเพื่อมาพัฒนาผู้บริหารหรือปฏิบัติงานหรือไม่ และมีการนำความคิดเห็นลูกค้ามาพัฒนาหรือไม่

    ตอบในด้านการตลาดมีการทำวิจัยความพึงพอใจของพนักงาน และขององค์กร และลูกค้า

    ในด้านนวัตกรรม จะมีกิจกรรมเช่น QCC ให้พนักงานคิดเสนอปรับปรุงอะไรในผลงานของเขา เป็นลักษณะการพัฒนาปรับปรุง แต่ไม่เป็นการวิจัยที่เป็นทางการ

    Giffarine

    ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางค์และอาหารเสริม

    เน้นความซื่อตรง ซื่อสัตย์ ตรวจสอบได้

    การขายใช้หลักการขายตรง

    พนักงาน900คน เวลาผลิต7.30-16.30น. เฉพาะจันทร์-ศุกร์

    มีวิจัยและLabเป็นของตนเองและรับผลิตให้ลูกค้า 

    มาตรฐานระดับอาจารย์แพทย์  เน้นจริยธรรม    ศึกษางานวิจัยใช้หลักMeta  Analysis

    ทั้งการออกผลิตภัณฑ์และการเลือกวัตถุดิบ

    HRM ให้สวัสดิการพนักงานดีมาก ทั้งอาหารกลางวัน ค่าเล่าเรียนจนจบปริญญาตรี  ให้ทุนเล่าเรียนบุตรพนักงาน

    การออกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ดีไม่ทำ เช่นทองเป็นโลหะหนักดูดซึมมีปํญหาต่อไตไม่ผลิตออกขาย

    ความสามารถใช้ข้อมูลจัดการความเสี่ยงวิกฤตน้ำท่วมทำให้ลดความเสียหายต่อโรงงาน วางแผนขนย้ายล่วงหน้าและดูแลพนักงานซึ่งได้รับผลกระทบในช่วง

    ปิดโรงงานให้ได้รับเงินเดือนและเพิ่มโบนัสชดเชยในช่วงน้ำท่วม

    มีผลิตภัณฑ์ที่วางขายเฉพาะต่างประเทศ33ประเทศทั่วโลก

    โดยออกแบบทั้งกลิ่นและบรรจุภัณฑ์ตามความนิยมต่างชาติ

    ตัวอย่างรัสเซียเชื่อเครดิตต้องมีระบุmade in Thailandกำกับ

    การผลิตให้ลูกค้าต่างประเทศไม่ได้รับตามOrderเท่านั้นแต่พัฒนาให้ด้วย

    ฉมาภรณ์

    28 สิงหาคม 2557

    Effective brand image and corporate communication strategies : ดร พจน์ ใจชาญสุขกิจ

    Brand :การได้รับการยอมรับว่าเชี่ยวชาญที่สุด

    คำถาม : จำอะไรได้เป็นชื่อแรก

    ถ้าอยู่ในอันดับ 1-3 : ปลอดภัย

    ถ้าอยู่อันดับต่ำกว่า 5 : เป็นพื้นที่โลกลืม

    การให้ vote ในทุกเรื่องแม้แต่เรื่องเล็กน้อย >ทำให้องค์กรอบอุ่น เพราะรู้สึกมีส่วนร่วม

    คำถาม : เรื่องอะไรที่ต้องรู้ ใครต้องรู้ รู้ระดับไหน (รู้ หรือ ตัดสินใจ)

    การมองความเป็นจริงของ brand ต้องเดินออกไปข้างนอก แล้วมองกลับมาข้างใน

    การมอง stake holder ต้องยืนข้างใน แล้วมองออกไปรอบตัว 360 องศา

    คำถาม : การสร้าง brand – มีอะไร

    • -จุดเด่นคืออะไร น่าสนใจอย่างไร

    หนังสือ “Differentiate or die” ถ้าสร้างความแตกต่าไม่ได้ ก็ตายซะเถอะ

       

    Corporate image :ภาพลักษณ์องค์กรที่สังคมมองเรา มีทั้งดีและไม่ดี

    Business image :ภาพลักษณ์ของสินค้า หรือ บริการ

    เช่น รพ – มีความเชี่ยวชาญ มีคุณภาพ

    รร – วิชาการเข้มแข็ง

    Brand image :อัตตลักษณ์ คือ ภาพลักษณ์ด้านชื่อเสียงขององค์กร

    ต้องสะท้อนตัวตนขององค์กรได้

    เป็นเรื่องของความรู้สึก

    ความรู้สึกว่ารอนาน – แก้ไขโดย มีกิจกรรมระหว่างรอ เช่น นศพ ซักประวัติ และให้ความรู้

    การจัดการ stake holder ต้องมีอันดับความสำคัญ เพื่อให้จัดกระบวนการบริการได้ เช่น ความสำคัญอันดับ 1-3 ต้องตอบสนองทันที เป็นต้น

    การสื่อสาร ต้องสม่ำเสมอ ไม่ใช่สื่อสารเฉพาะยามคับขัน

    มีจุดมุ่งหมาย เช่น สื่อสารให้ถึงใคร โดยวิธีการอย่างไร เช่น เครือข่ายไยแมงมุม

    การทำกิจกรรมเพื่อสังคม : CSV (creation share value) คือการใช้ value ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม หรือ

    CSR (corporate social responsibility)

    ทุกกิจกรรม ต้องสะท้อน brand

    บุคลากรทุกคน คือ brand ขององค์กร

    สิ่งที่เรามี = สิ่งที่ลูกค้าต้องการ : ความสำเร็จ

    การสร้างความประทับใจ : เกินความคาดหมาย 1 ระดับ

    “อย่านิ่งดูดาย” ทุกข่าว / ขยะ ที่กระทบ brand ต้องชี้แจง

    สรุปอะไร ชี้แจงอะไร ช่องทางไหน (สำนักข่าว/ website/social)

    10 win-win codes with target

    • 1.Update list of stake holder
    • 2.Analyze and mapping
    • 3.One topic : Key message
    • 4.Double check
    • 5.Participation
    • 6.Network
    • 7.Value relationship
    • 8.Truth / trust
    • 9.Consistency
    • 10.Sincerity

    29 สิงหาคม 2557

    จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัว : ดร วัลลภ ปิยะมโนธรรม

    พลังชีวิต ภาวะปกติ : พลังความคิด 4 พลังความรู้สึก 3 พลังการกระทำ 3

    คนเครียด หวั่นไหวง่าย : พลังความคิด 6 พลังความรู้สึก 1 พลังการกระทำ 3 : ต้องฝึกอารมณ์ให้หนักแน่น

    คนใช้อารมณ์ : พลังความคิด 1 พลังความรู้สึก 6 พลังการกระทำ 3 : ต้องฝึกคิดวางแผน ใช้เหตุผลให้มากขึ้น

    คนบ้างาน : พลังความคิด 2 พลังความรู้สึก 2 พลังการกระทำ 6 : ต้องฝึกใช้เหตุผลและความรู้สึกให้มากขึ้น

    การรับรู้ : ตา ร้อยละ 76 หู ร้อยละ 13

    สมอง 3 ส่วน คือ neocortex ส่วนความนึกคิด,

    Limbic brain ส่วนอารมณ์ ความรู้สึก,

    reptilian brain ส่วนสัญชาตญาน

    สมอง 2 ซีก คือ

    Rt – female สร้างสรรค์ รับรู้ : ศิลปะ ดนตรี จินตนาการ : มือซ้าย

    Lt - male เหตุผล เป้าหมาย : วางแผน วิทยาศาสตร์ ภาษาพูดและเขียน : มือขวา

    การสร้างความประทับใจ

    ผู้นำ ควรใช้ภาษากาย มากกว่าภาษาพูด

    การพูด relationship กับผู้ฟัง สำคัญกว่าเนื้อหาที่พูด

    การนั่งทำงาน : เอน 130 องศา จะผ่อนคลายที่สุด

    การหายใจ : หายใจเข้า ท้องโป่ง หายใจออกยาวกว่าหายใจเข้า 2 เท่า

    หายใจเข้าทางจมูก หายใจออกทางจมูก ร้อยละ 90 และปาก ร้อยละ 10

    ศิริพัชร ลอยประเสริฐ

    วันที่ 28สิงหาคม 2557Learning Forum & Workshopหัวข้อ “ Brand Managerment ”ดร.พจใจชาญสุขกิจ

    ภาพลักษณ์องค์กร (Corporate Image) ถือเป็นหัวใจ ไม่ว่าจะเป็นองค์กรภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่องค์กรที่ไม่แสวงหากำไรซึ่ง ต่างก็หันมาให้ความสนใจในการสร้างภาพลักษณ์องค์กรซึ่งเครื่องมือ (Communication Tools) ในการสร้างภาพลักษณ์ไว้ดังนี้

    1. ต้องมีการเน้นย้ำเผยแพร่ข่าวสาร (Publicity) อย่างสม่ำเสมอเพื่อสร้างให้เกิดการจดจำองค์กรให้ได้

    2.มีกลยุทธ์ในการใช้สื่อต่างๆ (Media Strategies) ทั้งสื่อมวลชน รวมถึงสื่ออื่นๆ โดยที่เนื้อหาจะต้องมีความแปลกใหม่ฉีกแนวและน่าสนใจ

    3. มีการรุกด้านชุมชนสัมพันธ์ (Community relations) จะต้องทำให้ชุมชนรอบข้างรู้สึกว่าองค์กรเราเป็นเพื่อนบ้านที่ดีได้ในชุมชนนั้นให้ได้

    4.ชูกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) หรือการมีจิตอาสานั่นเอง

    5.ปูทางเครือข่ายสัมพันธ์ (Networking and Relations) ที่ดี องค์กรจำเป็นต้องมีเครือข่ายที่ช่วยประสานในการดำเนินงานในด้านต่างๆที่จะทำให้งานสามารถจะลุล่วงไปได้ด้วยดี

    6. เพิ่มความเข้มข้นในการจัดกิจกรรมพิเศษ (Special Events) ควรมีการจัดกิจกรรมพิเศษทำให้คนเกิดความสนใจ แต่กิจกรรมนั้นจะต้องตอบวัตถุประสงค์ขององค์กรได้เป็นอย่างดี

    7.มีการพัฒนาบุคลากรและการสื่อสาร (Resource Development and Internal Communication) การจะบริหารภาพลักษณ์องค์กร คนในองค์กรจะต้องมีความพร้อม เพราะบุคลากรเป็นปัจจัยสำคัญในสร้างภาพลักษณ์ได้เป็นอย่างดียิ่ง

    8.การบริหารประเด็นข่าว (Issue Management) จะต้องมีการวางแผน องค์กรต้องการจะมีข่าวอะไรบ้างให้ปรากฏในสื่อต่างๆและข่าวที่ได้นำเสนอนั้นจะต้องกำหนดโดยองค์กรไม่ใช่ให้สื่อกำหนดเอง

    9.มีการจัดการภาวะวิกฤต (Crisis Management) ที่ แยบยล องค์กรจะต้องมีการเตรียมแผนรับมือกับปัญหา ไม้ให้เกิดความเสียหายกับองค์กร หรือเพื่อบรรเทาวิกฤตในองค์กรให้ลดลง

    10. มีการสร้างภาพลักษณ์ตราสินค้าและเครื่องมือประชาสัมพันธ์อื่นๆ (Branding Building and PR Tools) เพราะการประชาสัมพันธ์ เป็นการกระจายข้อมูลให้กับผู้คนได้อย่างรวดเร็วและจำนวนมากให้จดจำได้ และอาจารย์ให้ทำ Workshopเกี่ยวกับ Brandขององค์กร

    ช่วงบ่าย Learning Forum & Workshopหัวข้อ “ การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร”การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร ซึ่งจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบรวมถึงการใช้กลยุทธ์การสื่อสาร เพื่อให้เกิดผลทีดีต่อองค์กร

    วันที่ 29สิงหาคม 2557 กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย ดร.วัลลภ ปิยะ มโนธรรม

    อาจารย์ได้นำ เทคนิคการหัวเราะบำบัดเป็นการป้องกันเรื่องความเครียด ช่วยให้หายจากโรคซึมเศร้า และยังสามารถบรรเทาและป้องกัน โรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง หัวใจ ความดัน เบาหวาน และสารพัดโรค”การหัวเราะบำบัดเป็นการออกกำลังกายภายใน ด้วยการขยับอวัยวะภายในให้ไขมันไม่ดี สารพิษต่างๆ ซึ่งเป็นบ่อเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่ค้างอยู่ในเซลล์ทั่วร่างกายให้ออกไป ซึ่งจะช่วยแก้ไขและป้องกันโรคได้ ท่าหัวเราะบำบัดมีอยู่หลายท่า ซึ่งอาจารย์ให้เราฝึกหายใจเข้าหายใจออกอย่างถูกวิธีและออกเสียงหัวเราะในท่าต่าง ๆซึ่งสนุกมาก หายเครียด“ความเครียด” เป็นบ่อเกิดของโรคต่าง ๆ เพราะฉะนั้นการจัดการกับความเครียดเป็นเรื่องสำคัญ อาจารย์เป็นคนคิดค้นเทคนิคคลายเครียดขึ้นมา นั่นก็คือ “หัวเราะบำบัด” เป็นผู้ที่คิด “โครงการหัวเราะบำบัด” เป็นคนแรกของโลก“เทคนิคการหัวเราะบำบัดเป็นการป้องกันเรื่องความเครียด ช่วยให้หายจากโรคซึมเศร้า และยังสามารถบรรเทาและป้องกัน โรคต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง หัวใจ ความดัน เบาหวาน และสารพัดโรค” การหัวเราะบำบัดเป็นการออกกำลังกายภายใน ด้วยการขยับอวัยวะภายในให้ไขมันไม่ดี สารพิษต่างๆ ซึ่งเป็นบ่อเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่ค้างอยู่ในเซลล์ทั่วร่างกายให้ออกไป ซึ่งจะช่วยแก้ไขและป้องกันโรคได้ วิธีบำบัด ต้องทำการฝึกจิตใจ ร่างกาย และความคิดให้เชื่อมต่อไปในทิศทางเดียวกันเสียก่อน หลังจากนั้นจึงเริ่มเปล่งเสียงจากภายในท้อง อก ลำคอ และปากด้วยการออกเสียงสระ 4 ตัว ได้แก่ โอ อา อู เอ จากนั้นจึงค่อยเปล่งเสียงเป็นคำ บางครั้งให้ออกเสียงคำเดียวกัน เสียงเหมือนกัน แต่ความรู้สึกต่างกัน เหมือนเป็นการสะท้อนบางอย่างออกมาจากภายใน สุดท้ายก็ค่อยระเบิดเสียงหัวเราะออกมาได้อย่างอิสระและเป็นตัวของตัวเองมาก ที่สุด

    <p></p>

    ศิริพัชร ลอยประเสริฐ

    29 สิงหาคม 2557“ ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯมอ.”ศ.นพ.วีรศักดิ์จงสู่วิวัฒน์วงศ์และ ศ.นพ. จรัสสุวรรณเวลา

    อาจารย์วีรศักดิ์ได้เล่าประวัติการเข้ามาของการแพทย์ไทย ซึ่งได้แบบอย่างจากหมอบลัดเล่ย์และพระราชบิดา เป็นผู้วางหลักการต่าง ๆ เกี่ยวกับการแพทย์ในประเทศไทยและอาจารย์จรัสได้พูดถึงการรักษาพยาบาลว่าขณะนี้วงการแพทย์ไทยประชาชนยังเข้าถึงการบริการยากซึ่งถือว่าเป็นวิกฤตด้านบริการสุขภาพการเลือกใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะสมทำให้เกิดค่าใช้จ่ายทวีคูณบริการไม่เพียงพอ ระบบขาดประสิทธิภาพ ไม่ทำงานเป็นทีมความเลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการ ความยุติธรรมในสังคมซึ่งสืบเนื่องมาจาก ความรู้เปลี่ยนควรติดตามความรู้ให้ทันและเลือกมาใช้อย่างถูกต้องคุ้มค่าความรู้เป็นพื้นฐานในการตัดสินใจ ปี 2005-ปัจจุบัน - การ เปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากร ประเทศไทยมีคนแก่มาก และมีการเกิดน้อย ทำให้ขาดแคลนแรงงานในระยะยาว -นอกจากจะแก่แล้ว เปลี่ยนจากโรคติดเชื้อ กลายเป็นไม่ตาย แต่แก่ Middle income trap ประเทศไทยติดกับดักนี้ เพราะไทยไม่สามรถขายแรงงานราคาถูกได้ และไม่สามารถหานวัตกรรมใหม่ๆได้ ประเทศที่พ้นคือ ญี่ปุ่น ฮ่องกง เกาหลีใต้ และประเทศไทยยังต้องซื้อยาจากต่างประเทศจำนวนมาก- การแยกพวกของนักการเมืองศ.นพ.จรัส: หัวข้อนี้เป็นโจทย์ใหญ่มาก ทุกคนต้องคิดเรื่องนี้เอง แต่วันนี้จะมาให้คำตอบในสิ่งที่ทุกคนอยากรู้

    วิกฤติบริการสุขภาพ -วิกฤต 1 เลือกใช้เทคโนโลยีไม่เหมาะ ค่าใช้จ่ายเพิ่มทวีคูณ มีส่วนไม่คุ้มค่า- วิกฤติ 2 บริการไม่เพียงพอ กระจายไม่ดี ระบบบริการขาดประสิทธิภาพ ไม่ทำงานเป็นทีม- วิกฤติ 3 ความเหลื่อมล้ำ เข้าไม่ถึงบริการความไม่ยุติธรรมในสังคม

    สาเหตุที่ 1 ความรู้ปรับเปลี่ยน -ความรู้ที่ไม่ทันสมัย หรือตายไปแล้ว เท่ากับ ความไม่รู้ หรือรู้ผิด โดยเฉพาะความรู้ทางการแพทย์ที่เปลี่ยนไปเร็วมาก คุณภาพบริการทาง การแพทย์ อาศัย การติดตามความรู้ให้ทันและเลือกมาใช้ อย่างถูกต้อง / คุ้มค่าจริยธรรมของวิชาชีพต้องไม่หาประโยชน์จากวิชาชีพ เพื่อแสวงหาประโยชน์ สาเหตุที่ 2 บริการด้อยประสิทธิภาพ -ปัจจัยเสี่ยง : เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันแปรปรวน อ้วน กลุ่มอาการเมตาบอลิก ถ้าเป็นโรคคัดกรองพบระยะแรก รักษาหายได้ถ้าระยะเป็นมาก รักษายากและแพง มะเร็ง ต้องมีปัจจัยเสี่ยง ตับอักเสบเรื้อรัง HBV HCVติดเชื้อ HPVพยาธิใบไม้ในตับการป้องกันปฐมภูมิ ต้องใช้วัคซีน การป้องกันทุติยภูมิ เช่น รักษาอาการติดเชื้อ หากพบในระยะที่เป็นยากรักษายาก แพง บริการสุขภาพเป็นบริการแบบตั้งรับ พบโรคระยะเป็นมาก รักษายาก และแพง บริการเชิงรุกในครอบครัว / ชุมชนป้องกันก่อนเป็นโรคหรือ พบโรคระยะแรก รักษาง่าย & หายได้

    ปัจจัยเสี่ยง-ประวัติครอบครัว พันธุกรรม-พฤติกรรม-สิ่งแวดล้อม สังคม ค่านิยม กฎหมาย กฎเกณฑ์ มลภาวะต้องเปลี่ยน -คณะแพทย์มอ. ต้องเป็นผู้นำในการชี้นำพฤติกรรมเหล่านี้อย่างไร


    ศิริพัชร ลอยประเสริฐ

    วันที่ 30สิงหาคม 2557อาจารย์พจนารถซีบังเกิด ( Jimmi)

    อาจารย์ได้พูดถึงการพาคนจากจุดหนึ่งไปอีก จุดหนึ่งที่คนๆนั้นต้องการจะไปและได้พูดถึงพื้นฐานความกลัวของมนุษย์กลัวไม่ดีพอ, กลัวคนไม่รัก กลัวไม่รับเป็นพวกและกล่าวถึง ความต้องการ 6 อย่างของมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วย- Certainty – มนุษย์ต้องการหลักประกันและความมั่นคงในชีวิตเพื่อรับประกันความอยู่รอด- Variety/ Uncertainty – มนุษย์ต้องการความหลากหลายและความไม่แน่นอนเพื่อการยืดหยุ่นของอารมณ์ ความรู้สึก ยิ่งรับมือกับความหลากหลายและความไม่แน่นอนได้มากเท่าใดยิ่งแข็งแกร่งและประสบความสำเร็จมากขึ้นเท่านั้น- Love and Connection – ความรักและสัมพันธภาพเป็นสิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งซึ่งจะช่วยเติมเต็มความรู้สึก จิตใจให้มีชีวิตชีวา ซึ่งได้มาจากคนใกล้ชิด เช่น ครอบครัว เพื่อนฝูง รวมถึงเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น- Significance – เป็นอีกความต้องการหนึ่งที่จะต้องบริหารจัดการให้ดี มนุษย์เราต้องการเป็นคนสำคัญ ยิ่งอยากเป็นบุคคลสำคัญมากเท่าไหร่ก็จะเกิดการเปรียบเทียบและแข่งขันกับผู้อื่นมากเท่านั้น- Growth – การเจริญเติบโตเป็นสิ่งที่ทำให้สิ่งต่างๆธำรงค์อยู่ได้ มนุษย์จึงต้องการให้สิ่งต่างๆที่มีผลต่อตนเองพัฒนาและเจริญงอกงาม-Contribution – มนุษย์เป็น สัตว์สังคม แต่การที่จะอยู่รอดเข้ากับผู้อื่นได้นั้น การอุทิศตนถือเป็นลักษณะอย่างหนึ่งที่มนุษย์ควรมีเพื่อช่วยเหลือเกื้อกูล เสียสละเพื่อความอยู่รอดของสังคมวิธีการสอนงานนั้นสามารถช่วยให้บุคคลตระหนักและใช้ขีดความสามารถและศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่ มั่นใจ

    ศิริพัชร ลอยประเสริฐ

    30 สิงหาคม 2557ศ. (พิเศษ) วิชามหาคุณ“จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง ‘ธรรมาภิบาล” ในองค์กร “

    ถ้าเปรียบเทียบกับการทำงาน การสร้างถนนในสมัยโบราณจะคดเคี้ยว เพราะ มีคนปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ห้ามสร้างในที่ของตัวเอง เพราะฉะนั้นต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน ไม่หย่อน และไม่ตึงเกินไป กระบวนการเดิน ต้องดูว่าจะเดินไปสู่จุดหมายอย่างไร เป็นเรื่องของการเตรียมการและเริ่มออกเดิน สิ่งที่ต้องการในการดำรงชีวิตต่อไปข้างหน้า คือให้ความยุติธรรมกับทุกคน อุดมการณ์สูงสุดในชีวิตคือสิ่งนั้น ขั้นที่ 1 punishment & rewardขั้นเตรียมการเข้าสู่การเป็นผู้มีคุณธรรม(preconventional level)

    - ต้องมีรางวัล และการลงโทษ ใน-ความไม่ประมาท อย่าประมาทด้วยการคิดว่ามีคุณธรรมแล้ว

    ขั้นที่ 2 good boy nice girl ขั้นเริ่มต้นการมีคุณธรรม (conventional level) เรียนรู้จากครอบครัว โรงเรียน เพื่อน

    - เป็นขั้นของการเป็น good boy nice girl ดูแลพ่อ แม่คอบครัวอบอุ่นอย่างดี มีพ่อแม่ที่แสวงหาผลประโยชน์จากลูกเพราะเห็นว่าเป็นคนดีอย่าเอาความรักมา เป็นผลประโยชน์ทางพาณิชย์ เช่น ธุรกิจอุ้มบุญ การทำแบบนี้ไม่มีคุณธรรม เป็นสังคมที่เสื่อมมาก จะทำลายรากฐานของชีวิตมนุษย์ คือ ครอบครัวเป็นสายใยแห่งความรัก ความสุขเรื่องนี้เป็นเรื่องของจริยธรรม

    ขั้นที 3 self – accepted moral principles ขั้นของการยอมรับหลักคุณธรรมด้วยตนเอง(posteonventional ,autonomous or principled level)เป็นกระบวนการที่เข้าสู่ระบบจริยธรรมคนที่เลี้ยงลูกแบบ good boy nice girl แต่ไม่ได้สอนว่าผู้คนมีหลายแบบ ลูกจึงโดนใครหลอกง่ายๆ สมัยก่อนสอนเรื่องพระอภัยมณีว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ก็ไม่คดเคี้ยวเหมือนหนึ่งใน น้ำใจคน ไม่มีมหาวิทยาลัยไหนสอนวิชา Professionalism ต้องเรียนรู้เรื่อง The ruin of law เพราะเป็นรากฐานความคิดของความยุติธรรม จะคิดอะไรตามอำเภอใจไม่ได้ คิดตามหลักเหตุผล ต้องคิดถึงความเสมอภาค และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ Human dignity เพราะมีความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกันโดยกำเนิด ต้องมองด้วยสายตาที่เท่าเทียมกัน เราเน้นเรื่อง Formality ไม่ได้ดูเรื่องเจตนารมณ์ว่ากฎหมายออกมาเพื่ออะไร มีความจำเป็นมากที่ทุกสายวิชาชีพต้องเรียนรู้ The ruin of law หมายความว่า เหนือกว่ากฎหมายจะมีหลักที่สำคัญ คือ ความยุติธรรม ไม่ได้ยึดเอาตัวเองเป็นหลัก เรื่องนี้มีความสำคัญมากเป็นการเปิดโลกทัศน์ ของคนมีจริยธรรม ว่าอย่าทำตามอำเภอใจต้องใช้หลักเหตุผลเป็นหลัก เวลาคิดอะไรไม่ใช่แค่คำนึงของความต้องการ

    จริยธรรมที่สำคัญ 1. ความซื่อตรง (Integrity)2. ความสุจริต (Honesty)3. ความมีศีลธรรม (Morality)4. ความยุติธรรม (Fairness)5. การรักษาคำมั่นสัญญา (Promise Keeping)6. การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ (Conflict of Interest)7. การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ (Compliance With Laws and Regulation)8. การรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี (Reputation and Dignity)Integrity เป็นเรื่องสำคัญที่สุด ยึดมั่นในความถูกต้องตามคลองธรรม คือ Righteousness จะไม่ทำอะไรในทางที่ผิด จะต้องมีจรรยาบรรณ จะไม่มีความประนีประนอมกับความชั่ว หมายถึงไม่มีความปรองดอง คือ ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก

    ช่วงการเรียนที่ 5

    วันที่ 28 สิงหาคม 2557

    • นำเสนองานกลุ่มทั้ง 5 กลุ่มจากการวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ Good to Great สรุปว่า “คน” เป็นสิ่งสำคัญขององค์กรที่สามารถทำให้องค์กรประสบความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศได้ และการมีวินัยของคนทำให้องค์กรดี                                                                                 
    • Brand Management โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ                                                                                   Brand เป็นต้นทุนที่สำคัญขององค์กร ทุกอย่างที่เป็นภาพลักษณ์ขององค์กรไม่สามารถจับต้องได้ แต่จะสร้างความรู้สึกของผู้คนได้ ดังนั้นต้นทุนชื่อเสียงมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สิน ทุกคนในองค์กรจะต้องมีส่วนร่วมและต้องรู้จัก service ขององค์กร

                        Brand ของคณะแพทยศาสตร์ มอ. จากการได้ยิน คือ เป็นที่พึ่งของผู้ป่วยในภาคใต้อย่างมี        คุณภาพ และสามารถรักษาโรคยาก ซับซ้อนได้ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของบุคลากรคณะแพทย์ทุกคนที่            ต้องรักษาไว้ และช่วยกันพัฒนาให้ดีขึ้น

    • การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ                                                        การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมากในองค์กร หากไม่พูดคุยกันอาจจะเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ดังนั้นต้องมีทักษะในการสื่อสาร ต้องพูดคุยกันบนพื้นฐานเท่ากัน (ไม่มีเจ้านาย ไม่มีลูกน้อง) เวลามีปัญหา ต้องให้โอกาสก่อน และคิดแก้ปัญหา ทุกอย่างแก้ปัญหาด้วยการฟัง สำหรับหัวหน้าต้องมีความกล้าในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา

    วันที่ 29 สิงหาคม 2557

    • กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย โดย ดร.วัลลภ ปิยะ มโนธรรม                                                                            อาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในหัวข้อ “รักษ์ใจ...ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด” อาจารย์สอนให้มีสติ เช่น เมื่ออาจารย์บรรยายต้องฟังให้เข้าใจก่อน และค่อยปฏิบัติตาม เป็นการเรียนที่สนุกมากและต้องติดตามตลอดเวลา สามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยได้บริหารร่างกายตั้งแต่ มือ ขา สะโพก ท้อง หน้าอก ไหล่ คอ ใบหน้า สมอง ดวงตา

                         นอกจากนี้อาจารย์ได้ฝึกให้พวกเราหัวเราะ โดยเปล่งเสียง โอ, อา, อู, เอ พร้อมประกอบ             ท่าทางเพื่อให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หัวเราะ

                         อาจารย์ได้สอนวิธีฝึกหายใจเข้าจากจมูกปาก ขึ้นโพรงจมูก ลงคอ ลงเต็มอก เต็มท้อง 5             จังหวะ แล้วกลั้นไว้เต็มอก เต็มท้องบน แล้วดันลึกลงถึงท้องน้อยให้พองออก 20 จังหวะ จึงค่อย               ปล่อยลมหายใจออกจากท้องน้อย ท้องบน อก ลำคอ และจมูก-ปากออกไป 10 จังหวะ 

                        อาจารย์ได้ให้เคล็ดลับในการดื่มน้ำ (น้ำอุ่น) โดยวิธีจิบหรือดื่มน้ำบ่อยๆ วันละ 8 แก้วขึ้นไป           ทำให้เลือดลมไหลเวียนดี  

    • ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ และ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา                                                                                                                                            คณะแพทยศาสตร์ มอ. เป็นที่ใฝ่ฝันและที่หวังพึ่งของประชาชนในภาคใต้ และเป็นผู้นำในการเปลี่ยนแปลงพัฒนาด้านวิชาการ การปฏิรูปการศึกษาแพทยศาสตร์ และการปฏิรูปบริการทางการแพทย์ ดังนั้นคณะแพทย์ มอ. ต้องมีพลังการจัดการ พลังวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อโอกาสใหม่ของการแพทย์ และพัฒนาการทางความรู้และเทคโนโลยีในบริการทางการแพทย์ และพลัง ICT เพื่อให้บริการความรู้ในเชิงรุกสู่ครอบครัว/ชุมชน ในการป้องกันโรค หรือตรวจพบโรคในระยะแรก ทำให้รักษาง่าย และหายได้

    วันที่ 30 สิงหาคม 2557

    • People Management โดย อาจารย์พจนารถ ชีบังเกิด                                                                             การ coach หมายถึง การพาคนคนหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง เปรียบเสมือนการเดินทางที่มีเป้าหมาย (Be Do Have) และประกอบด้วย คุณสมบัติ ความเชื่อ ค่านิยม ความต้องการ และความกลัว นอกจากนี้ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (6 Core Needs) คือ ความแน่นอน/ปลอดภัย/สะดวกสบาย, ความไม่แน่นอน/หลากหลาย/ผจญภัย, ความรัก & ความเชื่อมโยง, ความโดดเด่น, การเติบโต และการให้                                                                                                                                 มนุษย์เราตัวเองเท่านั้นที่จะลุกขึ้นมาทำงานให้สำเร็จ และธาตุแท้ของมนุษย์มีของดี มีคุณงามความดีอยู่ในตัวอยู่แล้ว                                                                                                                                      
    • จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง “ธรรมาภิบาล” ในองค์กร โดย ศ.(พิเศษ) วิชา   มหาคุณ                                                                                                                                              อาจารย์ได้ให้ความสำคัญของการสร้างคนเพื่อต่อยอดไปสู่สังคม และการทำงานต้องรู้ถึงรากเหง้าของปัญหา คนเราต้องมีจริยธรรม และคุณธรรม                                                                            จริยธรรมที่สำคัญ คือ ความซื่อตรง ความสุจริต ความมีศีลธรรม ความยุติธรรม การรักษาคำมั่นสัญญา การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ และการรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี                                                                                                                                  สำหรับองค์ประกอบพื้นฐานของธรรมาภิบาล คือ ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีกฎหมายและระบบยุติธรรม

    ช่วงการเรียนที่ 5

    วันที่ 28 สิงหาคม 2557

    • นำเสนองานกลุ่มทั้ง 5 กลุ่มจากการวิเคราะห์ประเด็นที่น่าสนใจและบทเรียนจากหนังสือ Good to Great สรุปว่า “คน” เป็นสิ่งสำคัญขององค์กรที่สามารถทำให้องค์กรประสบความสำเร็จสู่ความเป็นเลิศได้ และการมีวินัยของคนทำให้องค์กรดี                                                                                 
    • Brand Management โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ                                                                                  Brand เป็นต้นทุนที่สำคัญขององค์กร ทุกอย่างที่เป็นภาพลักษณ์ขององค์กรไม่สามารถจับต้องได้ แต่จะสร้างความรู้สึกของผู้คนได้ ดังนั้นต้นทุนชื่อเสียงมีมูลค่ามากกว่าทรัพย์สิน ทุกคนในองค์กรจะต้องมีส่วนร่วมและต้องรู้จัก service ขององค์กร

                       Brand ของคณะแพทยศาสตร์ มอ. จากการได้ยิน คือ เป็นที่พึ่งของผู้ป่วยในภาคใต้อย่างมี           คุณภาพ สามารถรักษาโรคยาก ซับซ้อนได้ ดังนั้นเป็นหน้าที่ของบุคลากรคณะแพทย์ทุกคนที่                 ต้องรักษาไว้ และพัฒนาให้ดีขึ้น

    • การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ                                                        การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมากในองค์กร หากไม่พูดคุยกันอาจจะเกิดปัญหาตามมาในอนาคต ต้องมีทักษะในการสื่อสาร ต้องพูดคุยกันบนพื้นฐานเท่ากัน (ไม่มีเจ้านาย ไม่มีลูกน้อง) เวลามีปัญหา ต้องให้โอกาสก่อน และคิดแก้ปัญหา ทุกอย่างแก้ปัญหาด้วยการฟัง สำหรับหัวหน้าต้องมีความกล้า ในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใต้บังคับบัญชา

    วันที่ 29 สิงหาคม 2557

    • กิจกรรมรักษ์ใจ-รักษ์กาย โดย ดร.วัลลภ ปิยะ มโนธรรม                                                                           อาจารย์ได้ให้ความรู้เรื่องการดูแลสุขภาพในหัวข้อ “รักษ์ใจ...ไม่เครียด ด้วยหัวเราะบำบัด”  อาจารย์สอนให้มีสติ เช่น เมื่ออาจารย์บรรยายต้องฟังให้เข้าใจก่อน และค่อยปฏิบัติตาม เป็นการเรีย ที่สนุกมากและต้องติดตามตลอดเวลา สามารถนำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวันได้ โดยได้บริหารร่างกายตั้งแต่ มือ ขา สะโพก ท้อง หน้าอก ไหล่ คอ ใบหน้า สมอง ดวงตา

                       นอกจากนี้อาจารย์ได้ฝึกให้พวกเราหัวเราะ โดยเปล่งเสียง โอ, อา, อู, เอ พร้อมประกอบ              ท่าทางเพื่อให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายได้หัวเราะ

                       อาจารย์ได้สอนวิธีฝึกหายใจเข้าจากจมูกปาก ขึ้นโพรงจมูก ลงคอ ลงเต็มอก เต็มท้อง 5              จังหวะ  แล้วกลั่นไว้เต็มอก เต็มท้องบน แล้วดันลึกลงถึงท้องน้อยให้พองออก 20 จังหวะ จึงค่อย              ปล่อยลม  หายใจออกจากท้องน้อย ท้องบน อก ลำคอ และจมูก-ปากออกไป 10 จังหวะ 

                       อาจารย์ได้ให้เคล็ดลับในการดื่มน้ำโดยวิธีจิบหรือดื่มน้ำบ่อยๆ วันละ 8 แก้วขึ้นไป ทำให้              เลือดลมไหลเวียนดี

    • ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดย ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ และ ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา

                   คณะแพทยศาสตร์ มอ. เป็นที่ใฝ่ฝันและที่หวังพึ่งของประชาชนในภาคใต้ และเป็นผู้นำในการ          เปลี่ยนแปลงพัฒนาด้านวิชาการ การปฏิรูปการศึกษาแพทยศาสตร์ และการปฏิรูปบริการทางการ              แพทย์ ดังนั้นคณะแพทย์ มอ. ต้องมีพลังการจัดการ พลังวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเพื่อโอกาสใหม่            ของการแพทย์ และพัฒนาการทางความรู้และเทคโนโลยีในบริการทางการแพทย์ และพลัง ICT เพื่อ        ให้บริการความรู้ในเชิงรุกสู่ครอบครัว/ชุมชน ในการป้องกันโรค หรือตรวจพบโรคในระยะแรก รักษา          ง่าย และหายได้

    วันที่ 30 สิงหาคม 2557

    • People Management โดย อาจารย์พจนารถ ชีบังเกิด

                     การ coach หมายถึง การพาคนคนหนึ่งไปสู่อีกจุดหนึ่ง เปรียบเสมือนการเดินทางที่มีเป้า              หมาย (Be Do Have) และประกอบด้วย คุณสมบัติ ความเชื่อ ค่านิยม ความต้องการ และความกลัว          นอกจากนี้ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ (6 Core Needs) คือ ความแน่นอน/ปลอดภัย/สะดวก            สบาย, ความไม่แน่นอน/หลากหลาย/ผจญภัย, ความรัก & ความเชื่อมโยง, ความโดดเด่น, การเติบโต        และการให้

                    มนุษย์เราตัวเองเท่านั้นที่จะลุกขึ้นมาทำงานให้สำเร็จ และธาตุแท้ของมนุษย์มีของดี มีคุณงาม        ความดีอยู่ในตัวอยู่แล้ว

    • จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง “ธรรมาภิบาล” ในองค์กร โดย ศ.(พิเศษ) วิชา  มหาคุณ

                   อาจารย์ได้ให้ความสำคัญของการสร้างคนเพื่อต่อยอดไปสู่สังคม และการทำงานต้องรู้ถึงราก          เหง้าของปัญหา คนเราต้องมีจริยธรรม และคุณธรรม

                   จริยธรรมที่สำคัญ คือ ความซื่อตรง ความสุจริต ความมีศีลธรรม ความยุติธรรม การรักษาคำมั่น          สัญญา การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ และการรักษาชื่อเสียงและ        ศักดิ์ศรี

                   สำหรับองค์ประกอบพื้นฐานของธรรมาภิบาล คือ ความรับผิดชอบ ความโปร่งใส การปราบ              ปรามทุจริตคอร์รัปชั่น การให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และมีกฎหมายและระบบ              ยุติธรรม

    ฐานะพงษ์ แก้วกนิษฐารักษ์

    28 สิงหาคม 2557

    วิชาที่ 19 Brand Management และวิชาที่ 20การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร
    ดร. พจน์ ใจชาญสุขกิจBrand: คิดว่าเป็นสิ่งที่มีคู่กับธุรกิจมานาน เป็นสิ่งที่ทำให้ใครๆ จดจำเราได้ และเป็นต้นทุนของความสำเร็จ Image : ในมุมมองว่าเป็นสิ่งที่เรามองเห็นในของสิ่งนั้นๆ ว่ามีหน้าตารูปแบบอย่างที่คิดว่าเป็น นึกว่าดี หรือมีคุณภาพตามสภาพที่เห็น หรือจากการบอกเล่า
    การสร้าง Brand คือต้องออกมามองเรา ธุรกิจเราจากข้างนอก มองให้ออกว่าเราคืออะไร ทำอะไร มีอะไร มองเข้ามาข้างใน มองให้รอบๆ แล้วกำหนดสิ่งที่เราต้องการจะให้เป็นตัวตน หรือสิ่งที่อย่างให้คนอื่นๆเห็นเราเป็น และสามารถจดจำเราได้ ว่าเราเป็นอย่างที่เขาเห็น ในคือความสำเร็จในเบื้องต้น

    29 สิงหาคม 2557
    วิชาที่ 21 กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย(2)
    ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม
    สิ่งที่ทำให้คนเครียดที่สุด ในยุคสมัยนี้ก็เพราะทุกคนต้องดิ้นรน อยากได้ อยากมีกันมากที่สุด
    มาเรียนรู้เรื่องสมองของเรา พลังชีวิต พลังจิต ในส่วนของพลังความคิด ความรู้สึก และการกระทำ
    เราต้องทำในสิ่งๆ หนึ่ง ในเวลาหนึ่งๆ ให้ได้ดี อย่างทำหลายอย่างในเวลาเดียวกัน สมองสลับสน ไม่ได้ดีสักเรื่อง “มองให้ชัด ดูให้ดี ฟังให้จบ” เป็นคำที่อาจารย์ย้ำในชั้นเรียนเสมอ แต่พวกเรามักจะลืมกันทุกที เรียนเรื่องการบริหารความเครียด ด้วยการนวดเท้า

    ซึ่งเป็นศูนย์รวมของส่วนต่างๆ ของร่างกายเราทั้งหมด เราควรให้ความสำคัญกับเท้าของเราให้มากกว่าที่เคยใช้มันเพื่อพาเราไปไหนต่อไหน และเรื่องการหัวเราะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ มีการสาธิต และทดลองทำรู้สึกได้ว่าผ่อนคลายได้พอสมควร ในระยะเวลาอันสั้น หลังจากเรียนรู้เรื่องการบริหารสมองแล้ว คราวหน้าเวลามีปัญหาหรือมีเรื่องอะไรเราต้องใช้เหตุผล ในการตัดสินใจอย่างใช้อารมณ์เป็นการแก้ปัญหา

    วิชาที่ 22 ทิศทางการแพทย์ และสาธารณสุขในประเทศไทย กับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯ มอ.
    ศ.นพ. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์
    ศ.นพ. จรัส สุวรรณเวลา
    ได้มุมมองเรื่องภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของโรค และการรักษาโรคในอนาคต ว่ามีปัจจัยอะไรที่เกี่ยวข้องกัน ทำให้เราต้องกลับมามองตัวตน(คณะแพทยศาสตร์)ของเรา ภาระหน้าที่ บทบาทที่เราทำอยู่ขณะนี้ได้หรือไม่ได้ สมควรวิเคราะห์ และทบทวนภารกิจ ว่าเราต้องเปลี่ยนแปลงหรือไม่ อย่างไรกับผลกระทบที่เราได้รับอยู่ปัจจุบัน และในอนาคตตามกระแสโลกที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้น จากมุมมองของอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน ในเรื่อง ด้านประชากรผู้สูงอายุ การเปลี่ยนแปลงของภาวะโรค กระแสทุนนิยมการแพทย์เชิงพาณิชย์ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และกระแส ASEAN ที่กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว

    30 สิงหาคม 2557
    วิชาที่ 23 People Management
    อ. พจนารถ ชีบังเกิด อาจารย์ให้สมการที่ใช้ได้จริงตลอดไป

    E+R = O

    Events : ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ เหตุการณ์ต่างๆ (สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ธรรมชาติฯลฯ)

    Response : ควบคุมได้ และจะทำอย่างไร กิจกรรมที่จะตอบสนองอย่างไร

    Outcome : ควบคุมได้ คือ เราต้องการผลลัพธ์อะไร หรือเราอยากได้อะไร
    คนเรามีชีวิตอยู่เพื่ออะไร ขึ้นอยู่กับชีวิตคืออะไร และคุณคือใครคุณสมบัติ ธาตุแท้ของมนุษย์ติดตัวเรามา

    ถ้าจะแก้พฤติกรรม ต้องแก้มาจากข้างใน เช่น ความเชื่อ ค่านิยม ความต้องการ ความกลัว (เช่นความกลัว 3 แบบ คือ กลัวไม่ดีพอ กลัวคนไม่รัก และกลัวไม่เป็นส่วนหนึ่ง) “ศาสตร์ของการบริหารคน” ต้องดูแลทั้งสามวงให้ทั่งถึงในรายละเอียดทุกสิ่งที่มีอยู่ในแต่ละองค์ประกอบให้สมดุลย์

       

    วิชาที่ 24 จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง”ธรรมาภิบาล” ในองค์กร
    ศ.(พิเศษ)วิชา มหาคุณ
    ได้แนวคิดการบริหารงานตามหลักจริยธรรม คุณธรรมเป็นสำคัญ อันประกอบด้วยความซื่อตรง ความสุจริต ความมีศีลธรรม ความยุติธรรม การรักษาคำมั่นสัญญา การไม่ขัดแย้งผลประโยชน์
    การปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับ และการรักษาชื่อเสียงและศักดิ์ศรี เป็นสิ่งที่เราทุกคนควรปฏิบัติ ให้ได้ เพื่อให้เป็นองค์กรที่มีธรรมาภิบาลที่ดี

    สุรกิจ ส่งวรกุลพันธุ์

    วันที่สิบสาม (28 สิงหาคม 2557)

    ช่วงเช้าก่อนการบรรยาย เป็นนำเสนองานกลุ่ม good to great:

    1. บริษัทที่ดีเยี่ยมคือ ต้องมีผู้นำระดับ 5
    2. เลือกใช้เทคโนโลยี่ที่เหมาะสม
    3. ใช้ผู้นำที่มาจากคนในองค์กร

    การบรรยาย ช่วงเช้าและบ่าย “การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในองค์กร” และBrand/Image Management โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ :

    • การสื่อสารเรื่องราวข้อมูลขององค์กรไปยังกลุ่มเป้าหมาย ต้องดูว่ากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มมีความสนใจอะไร และใครเป็นกลุ่มเป้าหมายขององค์กรเราอย่างแท้จริง เพื่อเลือกใช้กลยุทธ์ได้อย่างเหมาะสม
    • ให้หาจุดเด่นที่ไม่เหมือนใคร เพื่อทำให้เป็น Brand ของเรา เช่น โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ เป็นรพ.ที่รักษาโรคยากและซับซ้อน

    วันที่สิบสี่ (29 สิงหาคม 2557)

    ช่วงเช้าและบ่าย เป็นการเรียนรู้ "กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย (2)" จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตก กังวล กลัวรักษ์ใจ..โดย ไม่เครียดด้วยหัวเราะบำบัด ฯลฯ โดยดร.วัลลภ ปิยะ มโนธรรม ศูนย์พัฒนาความสุขมนุษย์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ :

    • น้ำอุ่นๆ จะทำให้ผ่อนคลายความเครียดได้ 
    • กินให้เป็น ถ่ายให้เป็น (ไม่อ่านหนังสือในห้องน้ำ ออกเสียงเวลาเบ่งจะรู้สึกมีความสุข)

    ช่วงเย็น เป็นการเรียนรู้เเบบ Panel Discussion หัวข้อ “ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทย กับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ฯ มอ.” โดย ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ หน่วยระบาดวิทยา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลจุฬา โดยมีอาจารย์ทำนอง ดาศรี เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย : 

    • พัฒนาการของระบบสาธารณสุขในประเทศไทย 
    • คณะแพทย์ มอ.แบ่งการพัฒนาการเป็น 4 ยุค ยุคก่อตั้ง / ยุคยืนหยัด / ยุคคุณภาพ / ยุควิจัย+นวกรรม 
    • สิ่งที่ควรทำที่ คือ ให้พลังกับชุมชน ต้องเปลี่ยนวิธีมอง ให้ชาวบ้านมองเห็นว่า เราเข้าไปช่วยเหลือพวกเขาอย่างไร (ช่วยให้พวกเขาได้รับความรู้)

    วันที่สิบห้า (30 สิงหาคม 2557)

    ช่วงเช้า หัวข้อ “People Management” for Happiness and success โดย อาจารย์พจนารถ ซีบังเกิด ผู้ก่อตั้ง Thailand Coaching Academy by Jimi The Coach Co., Ltd.:

    1. ได้ความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับการบริหารคน เข้าใจคนอื่น
    2. ความต้องการของมนุษย์ 6 ประการ ( Core Needs ) ได้แก่
      1. Certainty ความมั่นคง ปลอดภัย สะดวกสบาย
      2. Variety ความหลากหลาย ผจญภัย
      3. Love & Connection ความรัก & ความเชื่อมโยง
      4. Significant ความโดดเด่น สำคัญ
      5. Growth
      6. Contribution การให้
    3. ช่วงบ่าย หัวข้อ“จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง“ธรรมาภิบาล” ในองค์กร” โดย ศ. (พิเศษ) วิชา มหาคุณ :

      • ท่านอาจารย์วิชา ต้องการเป็นผู้พิพากษา ตั้งแต่ชั้นมัธยม เพราะะอยากให้มีความยุติธรรม ซึ่งจะได้ยินข่าวเกี่ยวกับท่านเรื่องความยุติธรรม ไม่เกรงกลัวอำนาจใดๆ : 
      • การเป็นมหาวิทยาลัยธรรมภิบาลทุกอย่างให้ทำอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ มีความยุติธรรม 

    วันที่ 28 สิงหาคม 2557

    -ถอดบทเรียนจากหนังสือGood to Great สิ่งที่ได้เรียนรู้ คือ อุปสรรคเกิดขึ้นเพราะคน ดังนั้นถ้าจะแก้ปัญหาหรือแก้ไขก็ต้องแก้ที่คน ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมความมีวินัย การเป็นผู้นำต้องรู้จักตั้งคำถาม การสร้างภาพลักษณ์ขององค์กร การสร้างBrandที่ดีเราต้องคิดว่าสิ่งที่เรามีและสิ่งที่stakeholdersต้องการนั้นต้องตรงกัน Brandเราถึงจะประสบความสำเร็จและคนจะจำได้

    การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพคือการสื่อสารที่สร้างความชัดเจนให้กับองค์กรและทำให้องค์กรเกิดประโยชน์สูงสุด

    วันที่ 29 สิงหาคม 2557

    -กิจกรรมรักษ์ใจ – รักษ์กาย

    อ.วัลลภ ได้ชี้แนะวิธีการฝึกการใช้สมองฝั่งซ้ายฝั่งขวาด้วยกิจกรรมที่ง่ายๆ(แต่ทำยาก)เช่น การใช้นิ้วแต่ละนิ้ว ที่สามารถทำได้ตลอดเวลา ให้บริหารจัดการกับความเครียด ด้วยการปรับอารมณ์ ให้มีสติอยู่กับตัว และใช้หลักจากล่างขึ้นบน อาจารย์ได้บอกเคล็ดลับในการทำให้ความคิดสงบ และใช้วิธีคลายเครียดด้วยการหัวเราะบำบัด ทำให้ทุกคนได้ปล่อยอารมณ์กันอย่างเต็มที่ และทุกคนคงนำไปปฏิบัติ ถ้าไม่มีความเครียด คนเราคงมีความสุขขึ้นอีกมาก และจะนำไปสู่ความรักความผูกพันต่อองค์กรมากยิ่งขึ้น

    วันที่ 30 สิงหาคม 2557

    -People Management ได้เรียนรู้ว่าคนมี 4 ประเภทถ้าเปรียบกับสัตว์ คือ 1)กระทิง มีเป้าหมายหวังผลประโยชน์ 2)อินทรีย์ ต้อาการอิสรภาพ ต้อาการความรัก 3)หนู ชอบอยู่เบื้องหลัง ขยันฟังมากกว่าพูด 4)หมี ยึดกฎระเบียบต้องชัวร์ถึงจะตัดสินใจ ถ้ารู้จักและเข้าใจคนสี่ประเภทนี้เราก็สามารถบริหารและตอบสนองความต้องการของคนได้ ความต้องการของมีด้วยกัน 6 ข้อ คือ1)ความมั่นคงปลอดภัย2)ความหลากหลาย3)ความรักความสัมพันธ์ความเชื่อมโยง4)ความโดดเดี่ยว5)ความเจริญเติบโต6)การให้

    - จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าสู่แนวทางการสร้าง “ธรรมาภิบาล” ในองค์กร

    อ.วิชาได้สอนเรื่อง จริยธรรม และธรรมาภิบาล โดยพูดว่า คนเราควรสร้างจริยธรรมที่สูงกว่าปกติ จริยธรรมที่สำคัญ ได้แก่ ความซื่อสัตย์/ สุจริต / มีศีลธรรม / ยุติธรรม / รักษาคำมั่นสัญญา / ไม่ขัดแย้งผลประโยชน์ / ปฎิบัติตามกม.+ข้อบังคับ / รักษาชื่อเสียง+ศักดิ์ศรี

    องค์ประกอบพื้นฐานของธรรมาภิบาล 1. ความรับผิดชอบตามหน้าที่ / ความโปร่งใส / การปราบปรามทุจริตคอรัปชั่น / การให้ประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ / มีกฎหมาย+ระบบยุติธรรมที่เข้มแข็ง

    การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิต เป็นสิ่งที่พึงปฎิบัติ เพื่อนำเราไปสู่เป้าหมาย และการปลูกฝังเรื่อง การตอบแทนคุณแผ่นดิน ควรปลูกฝังไปสู่ทุกคน

    28 สิงหาคม 2557

    หัวข้อ สรุปประเด็นหนังสือ Good to Great

    ผ่านมาหลายสัปดาห์ อ่านหนังสือหลายเล่ม เห็นว่าคนเลือกหนังสือ คนแต่งหนังสือ และคนอ่าน และนำมาถ่ายทอด สุดยอดทุกส่วน เพราะในหนังสือแต่ละเล่ม สอดคล้องสัมพันธ์กันหมด สำหรับวันนี้ เนื้อหาในหนังสือที่ผ่านงานวิจัยมามากมาย มันโดนหลายอย่าง แต่เราคงนำมาทำหมดทุกอย่างคงไม่ได้ ตามบริบทของเรา อย่างเช่น ประเด็น ให้ผู้นำเลือกคนที่มานั่งบน Bus ที่จะไปกับคุณได้ แต่คนที่นั่งมาแล้ว แต่ “ไม่ใช่ “คุณจะทำอย่างไร และสิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างก็ คือ การให้คนเก่งไปทำงานที่เป็นความก้าวหน้าหรืออนาคตของบริษัท ไม่ใช่ให้คนเก่ง มาแก้ปัญหา นอกจากนั้นในเรื่องประเด็นของความยั่งยืนของบริษัท วัดด้วยความยาวนาน และผลประกอบการ 3 เท่า 15 ปี หมายรวมไปถึง ความไม่ยอมแพ้ การปรับตัว และความร่วมมือของทุกคนในองค์กร ทฤษฎื ของสัตว์ที่คล้ายเม่น นั่นเป็นคำตอบ ของการปรับตัวเพื่อให้อยู่รอดและอยู่ได้ ชอบคำที่ อาจารย์จีระเดช แนะนำ ว่าคนไทย อาจต้องอยู่บนบริบทของไทย ที่มีผู้นำที่สุดยอด ท่านหนึ่งไม่อยู่แล้วแต่เรายังมีอีกท่านหนึ่ง ปรัชญาที่ท่านมอบ “ เศรษฐกิจพอเพียง “ ที่เป็น Built to Last and Good to Great

    ของคนไทย ?

    หัวข้อ Brand management โดย ดร.พจน์ ใจชาญสุขกิจ

    ธุรกิจในปัจจุบันนี้ต่างมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมีความต้องการ ความคาดหวังต่อสินค้าและบริการที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก ผู้บริโภคมีความรู้ความเข้าใจต่อสินค้าหรือบริการมากขึ้น ตลอดจนการใช้ชีวิตในยุคปัจจุบันที่ผู้บริโภคมีเวลาน้อยลงและใช้ชีวิตอย่างเร่งรีบ จึงต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น และต้องการสินค้าหรือบริการที่มีคุณภาพดีขึ้นและตรงใจมากขึ้นความแข็งแกร่งและความชื่นชอบที่เกี่ยวพันกับแบรนด์ก็คือ การสร้างเอกลักษณ์ที่ทำให้แบรนด์แตกต่างจากแบรนด์อื่น เป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งของความสำเร็จในการสร้างแบรนด์อาจารย์พจน์ บอกว่า “ถ้าสร้างความต่างไม่ได้ก็ ตายซะเถอะ” เพราะเราคงไม่ชนะคู่แข่ง และการติดต่อกับลูกค้าของเรา ไม่ใช่เพียงแค่ติดต่อ แต่ เขาจะเป็นพันธมิตร” ของเราด้วย ที่จะปกป้องเราเป็นปากเป็นเสียงให้กับเรา การสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก ในการสร้างแบรนด์ ดังนั้น อย่าหยุด” การสื่อสารต้องทำอย่างสม่ำเสมอ และคงเส้นคงวาด้วย และเขาจะประทับใจการบริการของเราได้ ก็ต่อเมื่อ มันเกินความคาดหมาย หรือความต้องการของเขา อย่างน้อย 1 ระดับ และเป็นมาตรฐานเดียวกัน และต้องมีข้อตกลงร่วมกัน เพื่อทำให้ แบรนด์ของเราและสังคมตรงกันคณะแพทยศาสตร์ของเราละ แบรนด์ เป็นที่พึ่ง ของคนภาคใต้” ชาวใต้ ได้พึ่งพิง และเข้าถึงบริการได้แล้วหรือยัง เป็นการบ้านที่พวกเราต้องทำต่อ

    29 สิงหาคม 2557

    หัวข้อ จิตวิทยาการแก้ไขอาการ วิตกกังวล กลัว โดย ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม

    บอกสามคำ ว่าสนุกมากมาก” ไม่ค่อยรู้สึกว่ามีความเครียด แต่พอฟังท่านอาจารย์ วัลลภ เริ่มบรรยาย ชักเริ่มรู้ตัว เอ้ย เราก็ไม่ความเครียดนะ แต่ไม่เคยรู้ตัว การเข้าใจผู้อื่นนั้นเป็นเรื่องดี แต่เข้าใจตัวเองให้ได้จะดีที่สุด หากเราเข้าใจตัวเอง ปรับและสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ เราก็สามารถเข้าใจผู้อื่นและปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ผลกระทบที่ร่างกายได้รับจากความเครียดทางใจ นั้นส่งผลกระทบอย่างมาก หัวเราะบำบัด “ ช่วยได้ แต่คงต้องใช้เวลาฝึกฝน พอสมควร และต้องมั่นฝึกใช้สมองทั้งสองซีก ให้ไปด้วยกัน ซึ่งยากมาก และการอยู่กับปัจจุบัน ก็จะช่วยทำให้เราเครียดหรือวิตกกังวลลดลง วิชานี้นอกจากใช้กับตนเองได้แล้ว ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับ ที่ทำงานได้ด้วย อย่างน้อยๆ วันนี้ก็มีความสุขมาก

    หัวข้อ ทิศทางการแพทย์และสาธารณสุขในประเทศไทยกับการทำงานที่มีประสิทธิภาพของคณะแพทย์ มอ

    โดย ศ.นพ.จรัส สุวรรณเวลา และ ศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์

    คณะแพทยศาสตร์ ของเราอยู่บนหอคอยงาช้างมานาน หรือเปล่า เพราะเราเป็นระดับ Super tertiary care

    ปัญหา ผู้ป่วยล้น การบริการไม่เพียงพอต่อความต้องการ การใช้ทรัพยากรอย่างไม่จำกัด และอื่นๆ อีกมากมาย จึงผูกพันกันจนแก้ไม่ตก อาจารย์ จรัส ทำให้เราหันกลับมามอง ความสำคัญ ของการทำให้ช่องว่างความรู้ของประชาชนกับวิชาชีพ ให้น้อยลง เราจึงจะเข้าถึงเขาได้ง่ายขึ้นและเขาจะดูแลตัวเองได้มากขึ้นด้วย เราต้องมี ศรัทธาในคน มีศรัทธาต่อชาวบ้านและชุมชน คณะแพทย์ จึงต้องหันกลับมามองการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันให้มากขึ้น บุคลากรสามารถค้นหา และแปลความ หลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้งานทางคลินิกและสาธารณสุขให้มากขึ้น (งานวิจัย ขึ้นหิ้งจะน้อยลง) สามารถสร้างสมรรถนะเพิ่มขึ้น สามารถสื่อสารและทำงานร่วมกันกับวิชาชีพอื่น ครอบครัวและชุมชนได้

    People management

    โดย อ.พจนานรถ ซีบังเกิด30 ส.ค. 57

    ทำยังไงจะดูแลคนให้ทำงานได้ในคนเฉื่อยชอบเลี่ยง

    วิธีบริหารจัดการโดยเราไม่ต้องตามไปเฝ้า

    ปกติคนเราจะทำงานต้องมีอารมณ์ energy+motion

    ต้องทำให้มีทั้งงาน สังคม เพื่อน การพัฒนาตนเอง ครอบครัว ความรักเงิน และอีกมากมาย

    6 core Needs ความต้องการพื้นฐานชีวิต ของทุกคน

    • 1.certaintyความมั่นคงแน่นอน ปลอดภัย สะดวกสบาย
    • 2.variety ความหลากหลาย
    • 3.love&connection ความรักความเชื่อมโยง
    • 4.significance ความโดดเด่นและสำคัญ
    • 5.Growthความรัก
    • 6.Contribution การให้

    ลักษณะบุคคล 4 ประเภท

    หมี ชัวร์มั่นคง perfect

    อินทรีต้องการความหลากหลาย

    หนู ความรัก ความสัมพันธ์

    กระทิง สำคัญโดดเด่น สำคัญ

    คนเรา เป็นได้มากกว่าที่เราคิดว่าเราเป็น

    มนุษย์ไม่มีใครสามารถสร้างแรงบันดาลใจได้เท่าตัวเราเอง เพราะไม่มีใครรู้จักธาตุแท้ของเราได้ดีเท่าเราเอง ชิมิ

    E+R=O Event+ Response=Outcomeเราอย่าre-act ตามevent ถ้าอยากได้อะไร ต้องresponse ตามที่เราต้องการ

    คนเราอยู่เพื่ออะไรขึ้นกับ คุณสมบัติ ความเชื่อ ให้เราเลือกที่จะเชื่อและทำให้ชีวิตเราเกิดความสุข

    Event ควบคุมไม่ได้

    R esponse เราควบคุมได้

    Outcome เราควบคุมได้ เพื่อสิ่งที่เราต้องการ

    ตัวอย่างอยากเลิกสูบบุหรี่ก็แค่อ้าปาก บางคนอยากนอนตื่นสาย แดดแยงตา เราไม่สามารถย้ายพระอาทิตย์ไปขึ้นตะวันตกได้ เราก็ตอบสนองได้

    ความสำเร็จที่ไม่เติมเต็มคือล้มเหลว(Success is not fulfill thatis failure.)

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท