ไอเดียอิสราเอล__ วิธีป้องกันเด็กอาชีวะตีกัน


ภาพ 1: INSS (สถาบันศึกษาความมั่นคงแห่งชาติอิสราเอล) เป็นสถาบันที่ทำการสอน_วิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทล อาวีฟ

ต้นไม้ที่ดูร่มรื่น "ทุกต้น" ในภาพ ปลูกด้วยระบบน้ำหยด (ชุดภาพจากการไปดูงาน 13-22 สิงหาคม 2557)

.

ภาพ 2-3: ศาสตราจารย์ 2 ท่านนั่งด้านหัวโต๊ะ

.

คณะสื่อมวลชน_บล็อกเกอร์ที่เข้าเยี่ยมชมสถาบันรุ่นนี้ที่ขยันที่สุด คงต้องยกให้ทีมไต้หวัน ซึ่งถ่ายทำกลางวัน ตัดต่อกลางคืน คือ คุณเบนจามิน (ซ้ายสุด สวมแว่นตา เสื้อยืดสีน้ำเงิน), คุณบรูซ (... ไม่ใช่บรู๊ซ ลี ในหนัง, แต่เป็นตากล้องใกล้ๆ หัวโต๊ะทางขวา)

คนที่หน้าเด็กที่สุด หัวเราะง่ายที่สุด (คุณซิลเวีย) มาจากสถานทูตอิสราเอลในไต้หวัน (ภาพล่างถ่ายแบบพาโนรามา จะพบมีบางส่วนของภาพต่อไม่พอดี เกิดจากการเคลื่อนไหว)

เราๆ ท่านๆ อาจจะนึกว่า สื่อมวลชนไม่เครียด

คุณเบนจามินบอกว่า TV ในไต้หวัน มีหลายช่อง แข่งขันกันแรงมาก, ถ้าทำข่าวได้ไม่ดีจริง... เจ๊งแน่

กล่าวกันว่า สื่อมวลชนน่าจะเป็นอาชีพที่มีความเครียดสูงเป็นพักๆ

เนื่องจากต้องทำอะไรให้ทันเส้นตาย (dead line) แทบทุกวัน!

.

คนอิสราเอลชอบใส่เสื้อผ้าสีกลางๆ คือ "ขาว_เทา_น้ำตาล_ดำ" + "สีน้ำเงิน"

กลไกที่เป็นไปได้ คือ ธงชาติอิสราเอลสี "ขาว_ฟ้า"

ศาสตราจารย์ 2 ท่านใส่เสื้อสีขาว (ภาพรวม) กับน้ำเงิน

รวมกันเป็นสีธงชาติพอดี

.

ทีมไต้หวันคงจะทำการบ้านมาดี

ใส่เสื้อสีขาว_น้ำเงิน... แบบนี้ได้ใจคนอิสราเอล

.

ภาพ 4-5: ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นคนๆ หนึ่งหายไปจากภาพบน...

ท่านไม่ได้โดดฟังบรรยาย (ไปประสานงาน...)

ทว่า... เป็นหัวหน้ากรุ๊ป ประสานงานทุกอย่าง เบ็ดเสร็จในคนเดียว

ตั้งแต่ที่พัก ที่กิน ที่ดูงาน ที่เที่ยว คนขับรถ เช็คตั๋วเครื่องบิน เป็นไกด์นำเที่ยว ไปจนถึงเซ็นต์จ่ายค่าอาหาร

.

ท่านนี้ คือ อาจารย์ยาริซ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเทล อาวีฟ, เป็นหัวหน้ากรุ๊ปดูงานจากกระทรวงการต่างประเทศ

ท่านบอกว่า นักศึกษาที่อิสราเอล, ถ้าไม่ทำงานอาสาสมัครตอนอยู่มัธยมปลาย (3 ปีสุดท้าย)

จะเรียนไม่จบ

เพราะบังคับทำทุกคน

.

ตอนเรียนมหาวิทยาลัยไม่บังคับ แต่ถ้าใครสมัครเข้าโปรแกรมเรียนไปด้วย ทำงานอาสาสมัครไปด้วย

จะได้ลดค่าเล่าเรียน = 1/2 (ครึ่งหนึ่ง)

ประเทศไทย มีปัญหาคนจบปริญญาตรี แต่ไม่มีงานทำ (สาขาที่เรียน) มากมาย

ผลิตวิศวกรได้ค่อนข้างมากทุกปี

.

ทว่า... งานช่าง งานอาชีวะ กลับขาดแคลนมาก

ทำให้เสียเปรียบในการแข่งขันกับนานาชาติ

คุณแม่คุณพ่อ ผู้ปกครองหลายท่านเล่าว่า ไม่ค่อยกล้าส่งลูกไปเรียนอาชีวะ

เพราะกลัวตีกันบ้าง กลัวรุ่นพี่ซ้อมบ้าง

.

ค่าใช้จ่ายในการเรียน เช่น ค่าหอพัก ฯลฯ ก็สูงกว่ามหาวิทยาลัยของรัฐ

ถ้าเรานำไอเดียในเรื่องการทำงานอาสาสมัครตั้งแต่มัธยมปลายไปใช้

เด็กไทยจะมี "ความเป็นผู้ใหญ่", เข้าใจชีวิต และ "ติดดิน" มากขึ้น

ตัวอย่างงานอาสาสมัคร เช่น

.

งานดูแลคนไข้ ทำความสะอาดสถานที่สาธารณะ

คนที่เรียนสายช่าง หรืออาชีวะ น่าจะทำงานอาสาสมัครได้ดีกว่านั้น

เช่น ออกค่ายสร้างห้องน้ำ ห้องส้วม ให้โรงเรียนจนๆ ไกลๆ

พวกชอบตีกัน... อาจให้ไปหลั่งเลือดที่อื่นแทน

.

เช่น บริจาคเลือด อาสาสมัครทำงานที่คลังเลือด ฯลฯ

ถ้านักเรียน นิสิต นักศึกษาหลายๆ สถาบัน มีโอกาสทำงานอาสาสมัครร่วมกัน...

จะทำให้เกิดมิตรภาพขึ้นอย่างกว้างขวางในประเทศ

การตีกันน่าจะลดลงไปมาก

.

โดยเฉพาะเด็กที่ได้ทำงานอาสาสมัครตั้งแต่เล็กๆ

จะมีโอกาสเข้าใจชีวิตแบบ "ติดดิน" สูงขึ้น

โอกาสลืมตัว หลงตัวเอง หลุดโลกต่ำลง

ประเทศไทยน่าจะเริ่มโครงการทำงานอาสาสมัครตั้งแต่ช่วงมัธยมฯ บ้าง

.

สถาบันการศึกษาที่ให้ทุนการศึกษา

ควรเปลี่ยนจากทุน "นั่งกิน นอนกิน"

เป็นทุน "ทำงาน"

หรือทุน "อาสาสมัคร" แทน

.

เราน่าจะมีระบบลดค่าเล่าเรียน

ให้เด็กที่ทำงานอาสาสมัคร โดยเฉพาะสาขาขาดแคลน เช่น ช่าง อาชีวะ ฯลฯ

เรียนมาด้วยความเคารพ

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านทุกๆ ท่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

.

หมายเลขบันทึก: 575265เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2014 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2014 00:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท