Healing environment : สิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา



Healing environment : สิ่งแวดล้อมเพื่อเยียวยา

    จากการฟังการบรรยาพร้อมทั้งกระบวนการที่อาจกล่าวได้ว่า ใช้กระบวนการทั้งเชิงการบรรยายและกระบวนการใช้ Sharing@Learn นั้น ประเด็นสำคัญคือการแลกเปลี่ยนความคิด พร้อมทั้งการมองถึงรูปแบบ Model จากการออกแบบเนื้อหาหรือกระบวนการดังกล่าว ลองสรุปประเด็นสำคัญเฉพาะช่วงการบรรยากและการฟังในภาคเช้า ของวันที่ 26 สิงหาคม 2557 เน้นเฉพาะประเด็นและสืงที่เป็น Key word สำคัญมาเพื่อกระบวนการเรียนรู้

อ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์

    การสื่อสารการพัฒนาระบบสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยี่ยวยาแล้วนั้น กระตุกคิดอย่างหนึ่งคือว่าเรื่องนี้นั้น ไม่ได้เป็นเรื่องยากและสามารถดำเนินการได้เลย อ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ ชี้ให้เห็นประเด็นทั้งเรื่องสิ่งแวดล้อมในมุมมอง 2 ประเด็นหลักด้วยภาษาที่เรียบง่าย โดยมองผ่านแว่นใน 2 มุม คือ มุมผู้ให้บริการ/สถานพยาบาลที่หัวใจของการบริการนั้นจะเน้นเรื่องของ Safety ที่เรียบง่าย มอง มุมเรื่องการชวนชี้ให้เห็นหากออกมาในมุมมองผู้รับบริการ/ผู้ป่วย ที่มองเรื่องจิตใจกระบวนการเยียวยา ที่มากกว่าการรักษาเพียงอย่างเดียว (Humanize healthcare)

    จาก 2 มุมมองประเด็นที่น่าคิดคือ การประสาน 2 ส่วนที่ไปพร้อมกันทำอย่างไรได้ทั้งความปลอดภัยเพื่อผู้ป่วย (Patient safety) และกระบวนทัศน์เรื่องการมองผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient center care) ไปพร้อมกันได้ “จุดหนึ่งเครื่องมือที่สะท้อนระบบที่นำมาปรับใช้คือการใช้กระบวนการศึกษาประสบการณ์จากผู้ป่วยหรือเรียกว่า Patient experience เพื่อแสวงหาประสบการณ์และจุดในการพัฒนาระบบต่อไป”
8 เคล็ดลับปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing environment)

  1. ตามรอยเส้นทางการเยี่ยวยา เช่น ทางเดินดีไหม ไฟสว่างไหม ฯลฯ 
  2. การเอาประเด็นมาสะท้อนกระบวนการเป็นการสนทนากลุ่มเล็กนั้น จะสามารช่วยได้มาก
  3. เองของที่ไม่จำเป็นออกไปบ้าง (เพราะกีดขวาง แต่งมากเกินไป ความงามนั้นหลักคิดคือความเป็นระเบียบเป็นพื้นฐาน)
  4. เริ่มสร้างจากจุดที่ง่ายและได้ผลชัด (เอาทีละจุดได้ผลมากกว่า)
  5. ใช้สื่อสารสารพัดมาช่วยสื่อสาร
  6. หาทางออกที่ยากด้วยที่ปรึกษา
  7. อย่าทำมากเกินไปทำทีละก้าว (เดินทีละก้าว กินข้าวทีละคำ)
  8. โน้มน้าวผู้บริหารผู้บริหารเข้ามาร่วมลง (เทคนิคเอาประเมินเข้ามาร่วม)

โจทย์ สำคัญคือ จะทำให้ผู้ป่วยเห็นว่า รพ.นี้เป็น รพ.ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งการสร้างผัสสะและสุนทรียภาพไปพร้อมกัน กระบวนการดังกล่าวจะรู้สึกดีขึ้นและทำอย่างรวดเร็ว


อ.ยอดเยี่ยม เทพธรานนท์ 


    การมอง Bio Technology และก้าวผ่านสู่สังคมผู้สูงอายุการมองคือว่า ระบบ รพ.นั้นดีขึ้นนั้น กระบวนทัศน์ บวร. (บ้าน วัด โรงเรียน) จะเปลี่ยน (บ้าน วัด โรงพยาบาล) ประเด็นน่าสนใจ Concept ใหม่ในการพัฒนา “อย่ามองคนไข้มีความสุขเท่านั้น แต่ต้องมองเรื่องความสุขของโรงพยาบาลด้วย” เพราะหากมีความสุขนั้นกระบวนการความเครียดภาวะปลอดภัยจะสร้างกระบวนการทำงาน ที่ดีมากขึ้น อาทิ roof garden ในมาตรฐาน JCI เป็นการสร้างพื้นที่ส่วนกลางทั้งคนไข้และผู้ให้บริการ พร้อมทั้งให้เป็นพื้นที่การพบปะเพื่อเห็นกระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ซึ่งมากกว่ากระบวนการที่มองเรื่องพื้นที่สีเขียวเพียงอย่างเดียว  Logistic การขนคน/ของ/และการขนข้อมูล กรณีการซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์นั้นพร้อมทั้งการดูน้ำหนักของอุปกรณ์และตัว อาคารที่ต้องมีการวางระบบที่สัมพันธ์และเห็นการดำเนินงานที่สอดคล้อง ดังตัวอย่าง

ความปลอดภัยจากการใช้งาน

  1. ER : การติดต่อประสานงาน การวางรูปแบบทั้งในภายนอก ER แผนกอื่นๆ รวมถึงภายใน ER ที่มีการกระบวนการติดต่อสื่อสารและใกล้ชิดอย่างทั่วถึง หรือ กรณีการทะเลาวิวาท คนไข้อาจมรคนตามมาทำร้าย เพราะประตูเป็นระบบอัตโนมัติ
  2. OR การแยก Soil /Clean/Supper Clean Corridor ลดการใช้มือสัมผัส ก๊อก ประตู  การป้องกันไฟฟ้าสถิต บำรุงรักษาระบบการปรับอากาศ
  3. ICU : พยาบาลต้องเห็นคนไข้ทุกเตียง ห้องเก็บเครื่องมือที่ไม่ไกลหากเกิดกรณีฉุกเฉิน
  4. WARD : พยาบาลนั้นใช้เวลาเดินเยอะกว่าอยู่กับคนไข้ ประตูหน้าต่างสู่ระเบียงภายนอกล๊อคได้ ด้วยกุญแจเพื่อป้องกันการโดดตึก (เพื่อฆ่าตัวตาย) ห้องน้ำที่ติดทางเดินหรือติดภายนอก หรือการดูอ่างล้างมือในห้องพักผู้ป่วย
  5. Imaging center : ไม่มีท่องานระบบ ด้านเหนือเครื่อง ห้องนั้นสามารถรับน้ำหนักได้ พื้นที่ใช้รับน้ำหนัก
  6. การตกแต่งทั่วไป :วัสดุ ไม่ลื่น Slip resistant rateผนังกระจก การติดสติ๊กเกอร์
  7. เฟอร์นิเจอร์ มั่นคงไม่โยกกระดกและไม่มีเหลี่ยมและมุม เก้าอี้ลุกนั่งง่าย มีท้าแขน ใกล้ราวกันตกไม่วางเก้าอี้โต๊ะ
  8. Universal Design : การวางทางลาด และการพัฒนาบันไดราวจับ

ความสะอาดและการแพร่กระจายของเชื้อโรค

  1. รา : การพิจารณาอุณหภูมิ ความชื้น
  2. ฝุ่น : การดูซอกหลืบ เก็บฝุ่น มุมอับ วัสดุที่สะสมฝุ่นจะทำความสะอาดยาก
  3. สัตว์รบกวน : การดู นก หนูแมลง อื่นๆ
  4. ขยะ : จุดพักขยะ การแยกขยะ
  5. สุขภัณฑ์ : การสะสมแบคทีเรียโถฉี่ชาย ก๊อกอัตโนมัติ
  6. ISOLATE ROOM : Positive Negative ตำแหน่ง return supply และหน่วยคัดกรองที่สำคัญ

ความปลอดภัยในภาวะฉุกเฉิน

  1. วินาศภัย : พื้นที่สำรอง ยา อาหาร เชื่อเพลิง เส้นทางการขนส่ง (sky walk) GAS station ระบบ Loop ปรับพื้นที่ฉุกเฉินได้ ปรับ Medgas ที่โถง ระบบทางออกฉุกเฉิน การหนีไฟ ระบบวิทยุคลื่นสั้น
  2. ไฟไหม้ : ต้นเพลิง การดับไฟ การเคลื่อน การหนี
  3. น้ำท่วม : ระดับน้ำ ห้องเครื่องพื้นน้ำ
  4. แผ่นดินไหว : กฎกระทรวง 2550 แผนการเตรียมพร้อมการรับมือ

สรุปกรอบคิด การออกแบบสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา</p>

คำสำคัญ (Tags): #healing environment
หมายเลขบันทึก: 575260เขียนเมื่อ 27 สิงหาคม 2014 21:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 สิงหาคม 2014 13:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จริงแล้วองค์ความรู้ทั้งหลายมีอย่ครบถ้วน  แต่พอแปลงเป็นปฏิบัติปัญหาเยอะ ตั้งแต่ความเข้าใจ ความรู้จริงของคนทำงาน  ความมุ่งมั่นเชิงนโยบาย แต่ทั้งหมดก็มีการทำอยู่แต่มีปัญหาขลุกขลักอยู่บ้าง

รพ.ของรัฐทุกแห่งมีปัญหาเชิงระบบมากจริงๆ ทั้งงานล้นมือจนทุกคนลืมมองเรื่องสำคัญ ลืมใส่หัวใจลงในงาน ลืมมองภาพใหญ่  ผู้บริหารอาจมัวยุ่งเหยิงกับการบริหารเงินให้พอกับรายจ่าย  ปัญหาในห้องประชุมกับปัญหาหน้างานมาจากคนละมุม

คนพูดที่มองจากภายนอก กับคนทำอยู่ข้างในจึงเดินเป็นเส้นขนานกันตลอดเส้นทาง

พี่มีคำในใจอยู่คำหนึ่งค่ะ นั่นคือ Patient Friendly Hospital  พี่แปลงมาจาก Child Friendly School อาจจะลองเขียนบันทึกเรื่องนี้สักครั้งถ้าประมวลความคิดได้ลงตัว

หายไปเลยนะคะ  พี่เพิ่งนึกถึงน้องอยู่เมือวานค่ะ  สบายดีมั๊ยคะ

สวัสดีครับพี่  ไม่ได้หายไปไหนครับตามอ่านอยู่ แต่งานช่วงนี้เยอะมากจริงๆ เท่าที่ผ่านมาเลยหายไปเลยสักช่วงไม่ได้เข้ามาในพื้นที่แห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แห่งนี้  ผมไปฟังเรื่อง Healing ได้ประเด็นมาพอสมควรเลยครับ  ปรพะเด็นหลักประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือว่า ทำอย่างไรให้ได้ทั้ง Safety Handy Beauty ไปด้วย ขณะเดียวกันกระบวนทัศน์เรื่องนี้หากเริ่มที่ตัวเองได้เริ่มจากสรา้งบรรยากศให้ดีเป็นมิตรกระบวนการดังกล่าวจะเกิดสิ่งที่เรียกว่าเยียวยา  คิดถึงพี่เช่นเดียวกันครับผม 

เตรียมจะKM แล้วค่ะ

ขอบคุณนะคะ

8 เคล็ดลับปรับสิ่งแวดล้อมเพื่อการเยียวยา (Healing environment) ...มีกระบวนการนำไปสู่การปฏิบัติ ...ที่เห็นได้ชัดเจนมากนะคะ ...ขอบคุณบันทึกที่ดีมีประโยชน์มากค่ะ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท