beeman 吴联乐
นาย สมลักษณ์ (ลักษณวงศ์) วงศ์สมาโนดน์

ความรู้มือสอง<๑๔> Reflection กระจกสะท้อน


    วันนี้อยากทราบลึกๆ ถึงคำว่า Reflection ซึ่งคำนี้แปลว่า "การสะท้อน ภาพสะท้อน การไตร่ตรอง" จำได้ว่าคำนี้ในวงการที่เกี่ยวกับการจัดการความรู้ ผมได้ยินจากท่านอาจารย์วรภัทร ภู่เจริญ เป็นคนแรก ที่ได้นำมาใช้ใน UKM และงานมหกรรม KM ในครั้งที่ผมได้เข้าไปร่วมงาน

    พอดีบีแมน ได้เขียนเรื่อง surface and deep learning ซึ่ง Reflection อยู่ในขั้นตอนหรือกระบวนการจัดการเรียนรู้ แบบ Deep learning ขั้นสูงสุด เลยเกิดแนวคิดว่า จะนำกระบวนการนี้ไปใช้ออกแบบกระบวนการสอนที่บีแมนได้รับผิดชอบอยู่ ซึ่งจะได้ลองทำในวิชา "การจัดการดำเนินชีวิต" เป็นครั้งแรก ที่ว่าเป็นครั้งแรก เป็นเพราะในปีการศึกษา ๑/๒๕๕๖ นี้ ห้องหนึ่งจะเรียนแค่ ๕๐ คน ซึ่งผมคิดว่าดีมาก

   ความจริง Reflection ได้ใช้ในวิชาการเลี้ยงผึ้งมานานแล้ว หลังจากได้วิทยายุทธมาจาก ดร. วรภัทร แต่ว่ายังทำได้ไม่เต็มศักยภาพ..พอลองใส่ Keyword ใน tag ท้ายบันทึกว่า Reflection ระบบการค้นหาที่ทีมงาน gotoknow ทำเอาไว้ก็จะทำงาน ได้พบว่า มีคนเขียนบันทึกใน gotoknow ที่ใส่ tag คำนี้ประมาณ ๙๐ บันทึก

   ผมต้องการเรียนรู้ "กระบวนการ" ที่จะนำไปออกแบบ "กระบวนการจัดการเรียนรู้" จึงค่อยไล่ดูบันทึกหาส่วนที่เป็นกระบวนการไปตามลำดับ ถ้าชอบบันทึกไหนก็จะทำ Link เอาไว้และให้ความเห็นเล็กน้อยดังนี้

  1. คุณธวัช เขียนบันทึกเรื่อง ลีลาลิขิต ตอนหนึ่งว่า เป็นแนวการเขียน-ลิขิต แบบ ลีลาสะท้อนความคิด  (reflection style) 
  2. อ.วรภัทร ได้เขียนบันทึกเรื่อง มองต่างมุม เรื่อง storytelling ในแนวสะท้อนภาพความคิดที่มองต่างมุม แต่ก็ได้กระบวนการอะไรดีๆ เหมือนกัน ต้องเข้าไปอ่านเอง
  3. Keyword คำนี้นำพาไปสู่บันทึกเก่าของบีแมน ๒ บันทึก ซึ่งได้เอาไปใส่ไว้ในบันทึกที่เกี่ยวข้องของตัวเอง
  4. อ.หมอวิจารณ์ ได้เขียนความหมายและอื่น ๆ ไว้ที่บันทึก ๓๓๐,๖๓๐,๕๙๑ ลองอ่านดูก็ได้ความรู้ดี
  5. ต้นอ้อ เขียนเรื่อง การสะท้อน Reflect..Reflection ผมอ่านแล้ว get idea ดีมาก ที่จะเอาไปออกแบบกระบวนการสอนของตัวเอง แต่ว่าอีกเรื่องหนึ่งของต้นอ้อ การสะท้อน ตอน สะท้อนเข้าไปถึงข้างใน เขียนถึงโจทย์ที่เอาไปให้ นักศึกษาทันตแพทย์ทำ ผมว่าไอเดียดีมาก ผมจะได้ลองเอาไปใช้กับนศ.แพทย์ปี ๑ บ้าง
  6. อ.หมอสกล เขียนไว้ในบันทึก จิตตปัญญาเวชศึกษา 71: EMPOWERMENT,OUTCOME MAPPING II: M&E Part 6 Reflection,OUTCOME MAPPING II: M&E Part 9 Reflection on THE JOURNALS , จิตตปัญญาเวชศึกษา 81: S-L Part 4: Reflection TimeGotoknow Forum 2009 (2): Reflection ธนาคารชีวิต, เมื่อไรเราถึงจะ I in YOU?จิตตปัญญาเวชศึกษา 179: NEW EDUCATION (3) จะเอื้ออย่างไร ขึ้นกับภายในของคุณเอื้อ ผมว่าดีมากทั้ง ๗ บันทึก
  7. อ.Panda ก็เขียนได้ดี เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ (4) : กิจกรรมละคร หมี อินทรี กระทิง หนู,Play and Learn เพลินพัฒนา สุดยอดตอแหลแห่งชาติ, อ่านแล้วก็ได้ไอเดียเหมือนกัน
  8. เรื่องราวของท่านอาจารย์ JJ นั้นอ่านยาก เพราะเป็นเรื่องปฏิบัติล้วนๆ ลองอ่านเรื่องนี้ Reflection ประเมินตนเอง ฉบับ Lunch Talk JJ Style 2008 ก็ได้ไอเดียเหมือนกัน อีกเรื่องหนึ่งเปลี่ยนชื่อเรื่องให้เลย AAR ALR การถอดบทเรียน ได้มากกว่าสอนให้จบชั่วโมง อ่านให้ดีก็มีกระบวนการดีๆ ซ่อนอยู่ อีกเรื่องที่น่าสนใจโดยเฉพาะคำพูดที่ว่า "Trend การพัฒนา คือ Self reflection สะท้อนเพื่อพัฒนา เน้นการพัฒนาทางจิตวิญญาณ มากกว่าเน้นที่เครื่องมือต่างๆ การใช้ สุนทรียสนทนา จะเป็นตัวช่วยสะท้อนที่ดี เรียกว่า Outside In"
  9. Learn how to Learn II แค่ครึ่งวัน ก็ทำไปได้ ของคุณส้ม นี่ผม Get เลยว่าต้องทำกิจกรรมแบบนี้เป็นชั่วโมงแรกๆ ของการสอนและน่าจะให้แบ่งทีมกันศึกษากันเองโดยเฉพาะ นศ. แพทย์ แต่ว่าห้องเรียนจะทำได้หรือเปล่า ๑๑๗ คน
  10. เรื่องนี้ Development of a Level of Reflection Model in Conducting Classroom Action Research ของคุณลำพอง เอามาทำเป็นงานวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างสบาย 
  11. อ่านเรื่อง เป็นครูด้วยหัวใจ ตอน๑๐ แล้วตรงใจเลย เพราะถูกจัดให้ไปนั่งเป็นพระอันดับอีกแล้วในการปฐมนิเทศนิสิตใหม่คณะวิทยาศาสตร์วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๕๖ คือวันพรุ่งนี้ น่าจะจัดกิจกรรมที่ให้บีแมนมีส่วนร่วมเช่นให้เป็นวิทยากรกลุ่มย่อย..
  12. เรื่อง การสะท้อน "Feeling & Finding" ในกระบวนการ KM ของท่านอาจารย์ประพนธ์ ทำให้ผมนึกว่า จะต้องทำกิจกรรม Reflection แบบเข้มข้นกับนิสิตวิชาการเลี้ยงผึ้งให้ได้แบบนี้
  13. เรื่องราวความเป็นครู ของครูใหม่ ใน keyword Reflection นี่น่าสนใจทุกตอน ต้องหาเวลาเข้าไปอ่าน เพราะมีรายละเอียดค่อยข้างมาก..
     สำหรับบันทึกนี้ตอนแรก จะเป็นแค่ค้นหานิยาม แต่ทำไปทำมาก็ได้กระบวนการด้วย ผมคิดว่าการเขียนแบบนี้ เป็นการเขียนแบบทบทวนความรู้ ทำให้ต้องไปอ่านบันทึกของผู้อื่นที่มีเรื่องราวไปในทำนองเดียวกัน แม้ว่าจะใช้เวลาค่อนข้างนานแต่ก็มีประโยชน์มาก สำหรับการที่จะนำไปประยุกต์ใช้ในส่วนที่เราต้องการ คือ ไปออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ในรายวิชา "การจัดการดำเนินชีวิต" หรือ Linving management
หมายเลขบันทึก: 544282เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 06:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 สิงหาคม 2013 12:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท