ลีลาลิขิต


“ลิขิต” เป็นหนึ่งของหัวใจนักปราชญ์ ยิ่งการเขียนที่เป็น จิ + ลิ (การเขียนที่ใส่หัวจิตหัวใจของคนเขียนเอาไว้ด้วย) น่าจะช่วยให้เรียนรู้สิ่งที่ตัวยังไม่รู้อีกมากทีเดียว

วันนี้เกิดนึกแว๊บขึ้นมาระหว่างที่  อ่านต้นฉบับบทความจดหมายข่าว   เลยต้องหยุดอ่านและรีบบันทึกเอาไว้ก่อน    ถามตัวเองขึ้นมาว่า  ...

งานเขียนที่อ่าน   ไม่ว่าใน blog   ในหนังสือ   ในอินเตอร์เน็ต  ที่เราได้อ่านมานั้น    มองเห็นอะไรบ้างในเรื่อง  ลีลาของการเขียน

หยุดคิดพักหนึ่ง....

ไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไร  จึงจะสามารถสื่อความรู้สึกได้ตามที่เราคิดได้หมดเอาเป็นว่าเอาสิ่งที่เห็นชัดๆก่อนนะครับ   เห็นลีลาการเขียนที่ต่างกัน 2 ลีลาใหญ่ๆ

ลีลาแรก  คือ  ลีลาแจ้งเพื่อทราบ  (information style)  เป็นลักษณะของคนที่เขียนแบบแจ้งข้อมูลข่าวสารในเชิงประจักษ์ให้ทราบ  เช่น   มีเหตุการณ์อะไร  ที่ไหน  มีใครบ้าง  เมื่อไหร่   ผู้รู้เขาเคยว่าไว้อย่างไร    อะไรประมาณนี้     เป็นต้น

ส่วนอีกลีลา  ก็คือ  ลีลาสะท้อนความคิด  (reflection style)   เป็นลักษณะของงานเขียนที่เป็นแนวใช้มุมมองของตัวเองตีความสิ่งที่พบเห็น    สะท้อนความรู้สึกที่มีต่อ  คนนั้น  เหตุการณ์นั้น  สิ่งนั้น  เหล่านั้น  ว่าเห็นเป็นอย่างไร?

ผมย้อนนึกถึงตัวเอง   ในสมัยที่เรียนหนังสือในโรงเรียน   ตั้งแต่ผมเริ่มเขียนข้อความเป็นเขียนเป็นประโยคได้     ผมถูกสอนให้เขียนเป็นแบบลีลาแรกเสียเป็นส่วนใหญ่       ได้เขียนลีลาอย่างหลัง  ด้วยตัวเองสมัยเรียนที่วิทยาลัย   เริ่มเขียนไดอารี่ส่วนตัว   ตอนนั้นก็จำไม่ได้เหมือนกันว่าผมไปได้ไอเดียการเขียนไดอารี่มาจากไหน    แต่ก็เขียนไม่ได้บ่อยนัก  คือไม่ทุกวันนะครับ    แต่มันเขียนแบบอิสระมาก   จนบางครั้งกลับไปอ่านใหม่  ก็ไม่เข้าใจสิ่งที่เขียนเหมือนกัน   เพราะเขียนวกวนจริงๆ

แต่วันนี้ที่เริ่มเรียนรู้สิ่งใหม่อีกอย่างก็คือ     การเขียนลีลาสะท้อนความคิดนั้น  มันเป็นมากกว่าที่เราเคยรู้จักมัน     มันช่วยให้คนเราเกิดการฝึกทักษะอะไรบางอย่างที่นำไปสู่การเรียนรู้อะไรใหม่ๆ  ได้ดีมากทีเดียว   พอเริ่มก้าวเข้าสู่โลกของการทำงาน  พูดถึงการเขียนในงานที่ทำก็ต้องเขียนแบบลีลาแรกอีกเหมือนเดิม    เพราะใครๆก็เขียนอย่างนั้น   ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติมาอย่างนั้น     จนมาถึงตอนนี้  ได้มีโอกาสเขียนในลีลาหลังมากขึ้น     จึงพอเข้าใจมองเห็นความแตกต่างบางอย่าง  

การเขียน   แม้จะดูว่าเป็นสิ่งเล็กๆ   แต่สมแล้วที่คนเฒ่า คนแก่เขาบันทึกไว้ว่า   ลิขิต  เป็นหนึ่งของหัวใจนักปราชญ์   ยิ่งการเขียนที่เป็น   จิ + ลิ  (การเขียนที่ใส่หัวจิตหัวใจของคนเขียนเอาไว้ด้วย)   น่าจะช่วยให้เรียนรู้สิ่งที่ตัวยังไม่รู้อีกมากทีเดียว
คำสำคัญ (Tags): #คุณลิขิต#kmi#reflection
หมายเลขบันทึก: 37587เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 11:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 19:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น
เห็นด้วยอย่างยิ่งค่ะ  อยากจะพูดว่าคุณธวัช ใช้จินตนาการในการสร้างสรรค์งานเขียนออกมา  คนอ่านก็จะได้รับอารมณ์ ความรู้สึกร่วมไปด้วย
คุณธวัช สังเคราะห์ขึ้นมาทำให้ผมได้เครื่องมือดีขึ้นมาชิ้นหนึ่งในการอ่านงานเขียนต่างๆว่าอุดมไปด้วยข้อมูลชนิดใด และใช้เตือนตนเองในการเขียนบันทึกด้วยครับ ขอบคุณมากครับสำหรับองค์ความรู้นี้

เห็นด้วยค่ะ เรามักจะถูกสอนมาให้เขียนแบบแรก ตั้งแต่อยู่ในโรงเรียน และที่ทำงาน การเขียนแบบหลังจึงยาก ต้องใช้จินตนาการ และความกล้าหาญสูง เราถูกสอนให้เดินตามกรอบที่มีอยู่  ห้ามคิดนอกกรอบ เดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด ทำนองนั้น..... ส่วนใหญ่จึงถูกปลูกฝังให้ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น จินตนาการ  คงต้องใช้เวลาเรียนรู้ต่อไปค่ะ..... 

     แซว ๆ ก่อนนะครับ เจ้าตัวเล็กยังกวนตอนดึก ๆ อีกไหมครับ หรือยังกวนเหมือนเดิม แต่ไม่ค่อยเกี่ยวกับผม (ฮา)
     ผมมองว่าการเขียนแบบหลัง ซึ่งเป็นการเขียน reflection style จะเป็นการเขียนประมาณว่า บ่น ๆ นะ เวลาผมนึกได้อย่างนี้ (นึกว่าขอบ่นหน่อย เพราะชีวิตจริงเราบ่นไม่ค่อยได้ด้วยวาจา) จะเขียนออกมาได้ดีแฮะ (วัดด้วย คห.) อันนี้ผมนะ ท่านอื่นอาจจะไม่ใช่ก็ได้ ฉะนั้นการเขียนของผมก็ใช้เทคนิคการจินตนาการเช่นนี้ครับ

เป็นองค์ความรู้หนึ่งที่ได้เรียนรู้เพิ่มเข้ามานำไปปรับใช้การอ่านความคิดของคนอื่น ๆ ที่ถ่ายทอดออกมาเป็นตัวอักษร

                     ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท