การผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน


ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความปลอดภัยในคุณภาพชีวิต

        การส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานนับว่าเป็นโครงการส่งเสริมที่เน้นให้มีการผลิตอาหารปลอดภัยแก่ผู้บริโภคและตัวเกษตรกรผู้ผลิตเอง  เกษตรกรผู้ผลิตยังให้ความสำคัญกับโครงการน้อยมากแต่กลับมุ่งเน้นไปที่ราคาผลผลิตเพียงอย่างเดียว  ฉะนั้นการเปลี่ยนแปลงทัศนะคติด้านการผลิตของเกษตรกรต้องมีการประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์และผลที่ได้รับอย่างจริงจังและต่อเนื่อง  เพราะการผลิตสินค้าเกษตรตามระบบความปลอดภัยของอาหาร   (Food  safety) เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคและสามารถสร้างโอกาสแข่งขันทางการตลาด ผู้ผลิตและผู้บริโภคมีความปลอดภัยในคุณภาพชีวิต  รวมทั้งไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย                                        

           ทั้งนี้และทั้งนั้นรัฐบาลต้องการให้ประเทศไทยเป็นครัวของโลกเป็นผู้นำด้านการเกษตรในการผลิตอาหารป้อนสู่ตลาดโลก

คำสำคัญ (Tags): #เกษตรชุมพร
หมายเลขบันทึก: 37582เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2006 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เพราะฉะนั้นทุกคนทุกระดับที่เกี่ยวข้องควรให้ความสำคัญอย่างยิ่ง

                                 สมหวัง

 

          

เห็นด้วยกับแนวคิดนี้จริงๆ  ... แต่คงยังต้องใช้ความพยายามสูงในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ณ เวลานี้ ..ผลกระทบที่เกษตรกรมองเห็นยังไม่ชัดเจน แต่ในความคิดเห็นส่วนตัว....คาดว่าในอนาคต...ต้องเห็นผลกระทบชัดเจนขึ้นกว่านี้ แน่นอน.... ให้กำลังใจเพื่อนๆ ที่ทำงานเรื่องนี้ และให้กำลังใจตัวเองด้วยค่ะ...
ต้นกล้าเกษตรฟาร์มชุมพร

อาหารที่ปรอดภัยนั้นก็ดีแล้วแต่อย่าลืมนึกถึงหลักโภชนาการในอาหารชนิดนั่นๆด้วย เพราะในปัจจุบันนี้สภาพการดำรงค์ชีวิตที่เร่งรีบและแข่งกับเวลาหลายคนมักจะเอาสดวกไว้ก่อนโดยลืมคุณค่าของอาหารไป เช่นอาหารจานด่วน อาหารสำเร็จรูป

แถวบ้าน(ชนบท)เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ตามอ่านข่าวในอินเตอร์เนตไม่เป็น ดูทีวีก็มีแต่ข่าวการเมือง จึงได้แต่ฟังเขามาแล้วก็ทำตาม(ตามความเคยชิน) ทำให้นายทุนหรือนักการเมืองที่ขายปุ๋ยขายยามีช่องทางเข้าไปกล่อมเพื่อขายของ+ส่งหน้าม้า มา กระจายข่าว ว่าการใช้สารเคมี ฮอร์โมนช่วยโดย ยิ่งใช้เยอะก็จะได้ผลผลิตเยอะตาม ซึ่งเกษตรกรก็เชื่อตามอย่างไม่มีข้อสงสัย ได้แต่แห่เอาที่นา ที่ไร่ไปจำนองซื้อปุ๋ยมาใส่ พอได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมก็ดีใจว่าได้เยอะจริงตามที่เขาบอก โดยไม่ได้คำนึงถึงราคาต้นทุนหรืออะไรอย่างอื่นที่เพิ่มขึ้นมา เช่น ค่าเดินทางไปซื้อปุ๋ย ดอกเบี้ยเงินที่เขาคิดจากค่าเชื่อปุ๋ย ดอกเบี้ยที่เกิดจากการจำนองที่ดิน ค่าแรงในการใส่ปุ๋ย อุปกรณ์ที่ใช้ในการใส่ปุ๋ย คุณภาพดินที่เสื่อมลง ทำให้เกษตรกรที่เป็นอาชีพดั้งเดิม กลายเป็นกลุ่มคนที่จนลงๆ ที่นา 100 ไร่ ก็ต้องทยอยขายไปๆ หนี้สินล้นพ้น เพราะคำว่าเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แทนที่จะสนับสนุนให้เกษตรกรเป็นเอกเทศ อยู่ได้ด้วยตนเอง

พร่ำบ่นมาก็เพียงอยากเห็นอาชีพที่พ่อแม่รัก อยู่ไปนานๆ

อยากให้มีหน่วยงานที่ทำด้วยใจ เข้าไปดูแลบ้าง ไม่ใช่สักแต่ว่าทำ ฉายสไลด์เสร็จก็กลับ ขอบอกว่าอย่ามา ไม่มีประโยชน์ เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ ยังนิยมทำตามคนอื่นอยู่ ถ้าเห็นว่าดี ไม่ต้องพูดมาก เขาก็ทำตามเอง

ปล.ไม่ได้ตั้งใจว่ากระทบใคร แต่มันเป็นปัญหาที่เกิดจริงในหมู่บ้านของเรา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท