OUTCOME MAPPING II: M&E Part 9 Reflection on THE JOURNALS


Reflection on THE JOURNALS

ผมเขียนบท Three Journals of the Journey ไป รู้สึกยังไม่สาแก่ใจ ถึงรสชาติ และนัยยะสำคัญของเรื่องนี้ และเนื่องจากบทนั้นค่อนข้างยาวอยู่แล้ว ขออนุญาตยกมาสะท้อนต่างหาก 1 บทแยกเดี่ยวๆ ให้สมศักดิ์ศรีน่าจะดี (ใครจะว่ายังไงก็ช่าง อิ อิ)

OM นั้น เน้นที่ "มนุษย์ กับ ศักยภาพของมนุษย์" ใครจะว่าอย่างไรก็ช่างเถิด นี่เขียนสรุปจากคนที่ยังอ่านเล่มแรกของ OM ไม่จบดีเสียด้วยซ้ำไป (สารภาพโดยไม่ต้องซ้อมให้เสียเวลา) หลังจากที่ฝันเสร็จ นำเอาความฝันมาประกอบเป็นรูป เป็นร่าง ใส่สัญญลักษณ์ที่จำเป็นลงไปเพื่อให้สื่อสารได้ เราก็ได้ "วิสัยทัศน์" ออกมา คิดต่อไปว่าสมมติวิสัยทัศน์เป็นป่าทั้งป่าที่เราจะปลูก พันธกิจก็คงจะเป็นแผนรายละเอียด (พอประมาณ) ที่เราจะดำเนินไปให้เกิดป่าน้อยๆ หลายๆป่า ที่จะกลายเป็นป่าใหญ่ในที่สุด หรือที่เคนเนดีประกาศจะส่ง "men on the moon and take them back safely" นั่นแหละ เกิดพันธกิจย่อยๆมากมาย ใช้เวลา 20 ปี เพื่อให้ vision ปลายนี่บรรลุในที่สุด

Monitoring & Evaluation เป็น highlight อีกช่วงหนึ่งของการเดินทาง

จินตนาการเมื่อกัปตันกำลังเดินกลับเข้าห้องพัก ก่อนนอน หยิบเอาปูมเดินเรือมาจะนั่งเขียน ในช่วงนั้น คงจะเป็นวาระของ seeing, sensing และ presencing ของกัปตันก็ว่าได้ ใน OM คนเขียนปูมเดินทางกลับไม่ได้มีเพียงกัปตันเท่านั้น แต่เป็นแทบทุกคนในทีม ยิ่งเยอะยิ่งดี ทั้งหมดยิ่งแจ๋ว การเดินทางนั้น ไม่ได้มีแต่จุดหมายปลายทางอย่างเดียวที่มีนัยสำคัญ หากแต่ "ประสบการณ์" ต่างหากที่เป็นสิ่งที่ล้ำค่าเกินเปรียบประมาณ เวลานึกถึงเรื่องการเดินทางและประสบการณ์ ผมอดไม่ได้ทุกครั้งที่จะนึกถึงภาพยนต์เรื่อง Master and Commander นำแสดงโดย รัสเซลล โครว์


เป็นเรื่องราวของกัปตันเรือแจค ออเบรย์ จากหนังสือชื่อเดียวกัน เขียนโดยแพตทริก โอ ไบรอัน นอกเหนือจากความเป็นหนัง action สงครามกลางทะเลที่มันสุดๆแล้ว เราได้เห็นชีวิตของกลาสีและทหารราชนาวิกของสหราชอาณาจักร "กำลังเรียน" การเป็นทหารทีแท้ ด้วยหลักสูตรที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด นั้นคือ การออกสงครามจริงๆ

คนที่ประเมินลูกเรือ รวมทั้งนายทหารเรือฝึกหัดนั้น ก็คือกัปตันแจค ออเบรย์ ซึ่งมีสิทธิเลื่อนขั้น ลดชั้น คนทุกคนในเรือ at will ไม่มีห้อง lecture ไม่มีห้องบรรยาย มี mission เล็กๆ ใหญ่ๆ เรียงหน้าเข้ามา

บางครั้งผมก็อดคิดมิได้ว่า ถ้าจะมีคนมาประเมินสักคนหนึ่ง ก็ขอคนที่มีคุณสมบัติอย่างกัปตันออเบรย์นี่แหละ ไม่ได้หมายถึงอยากได้ทหารเรือมาเป็นผู้ประเมินนะครับ แต่ในเรื่องนี้ เราเกิดความรู้สึกว่ากัปตันเป็นคนที่ IN กับวิสัยทัศน์และพันธกิจของลูกเรือทั้งหมดโดยแท้ การตัดสินใจ ว่าใครทำอะไรได้ ไม่ได้ สมควรถูกชม ถูก reprimand หรือส่งไปเรียนรู้เพ่ิมนั้น น่าจะยุติธรรม

คำถามร้อยล้านก็คือ "ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถทำให้ผู้ประเมิน เกิดบารมี เกิดรังสี รัศมี อย่างที่ว่านี้ ก็คือ คนๆนี้ เป็นคนที่รู้จักงานของฉันเป็นอย่างดี รู้ว่าฉันอยากจะเป็นอะไร อยากจะทำอะไร รู้จักฉันว่าฉันฝันอะไรอยู่ เขาน่าจะมาให้คำแนะนำฉัน หรือมาร่วมหัวจมท้ายกับฉันได้ ในสิ่งที่ฉันทำอยู่"

ถ้าย้อนกลับไปอ่านเรื่อง "การไปประเมินที่รู้สึกดี" ก็อาจจะได้คำตอบกลายๆมาบ้าง ผู้ประเมินที่ไปประเมิน แต่ไปด้วย attitude ว่า "วันนี้ฉันจะได้ช่วยใคร ฉันจะได้เรียนอะไร ฉันจะกลายเป็นคนแบบไหน เมื่อสิ้นสุดวัน" อาจจะเกิดพฤติกรรมการประเมิน (ที่พึงประสงค์) อีกแบบนึงไหม?

ในการประเมินผลหลังการทำ palliative care เป็นตัวอย่างที่น่าจะใช้ได้ ที่แสดงถึง "ความยากเย็น" ที่จะใช้เครื่องมืออะไรก็ตามในปัจจุบันที่เรามีอยู่ ไม่ได้ว่ามันยากเย็นที่จะได้ผลอะไรหรอก แต่การแสดงผลให้ third party เห็น หรือเข้าใจ นั่นตะหาก ที่ถ้าเป็น major need อาจจะกลายเป็นปัญหาไปได้ คนทำ palliative care นั้น ผมไม่ค่อยห่วงเท่าไร ว่าเขาจะไม่รู้สึกว่าได้อะไร แต่การจะไป push ให้เขาเหล่านี้อธิบายว่าเกิดอะไรขึ้น ด้วยสัญญลักษณ์ต่างๆที่เรามีใช้อยู่ เป็นอะไรที่เกือบจะเหมือนกับการถอดกางเกงผายลม นั่นคือ ทั้งยุ่งยาก ทั้งไม่จำเป็น!!!

คนที่ไปประเมิน ควรจะรู้สึกถึงกรรมดีที่ตนได้ทำมามากมาย จนได้มาอยู่ในตำแหน่งที่ได้เรียนรู้ของดีๆตลอดเวลาเป็นงานประจำ เพราะนอกจากจะได้เรียนแล้ว ยังจะได้ช่วยคนอื่น empower คนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นคนทำงาน เป็นคนที่ "มีใจ" มาก็เยอะ แต่ในปัจจบัน คนประเมินดูเหมือนจะกลายเป็นสัญญลักษณ์ของ Omen himself ที่มีของ้าวคร่าวิญญาณพาดหลังมาแต่ไกล มาถึงก็ควักเอาแบบฟอร์มมาติ๊กๆๆๆๆ หาทางพูดอะไรที่แสดงว่าเหนือกว่า เก่งกว่า คนที่มีประสบการณ์ตรงที่นั่งอยู่ข้างหน้า.... ถ้าเป็นแบบนี้ก็คงไม่ค่อยมีความสุขมากสักเท่าไหร่

Outcome journey, Strategy journey และ performance journey นั้น ควรจะเป็นการทำปูมการเดินทางที่สำคัญของทุกคน ทุก direct partners นำมาศึกษา เชื่อมโยง และถามใจตนเองว่า เราเป็นใคร เรากำลังทำอะไร และเรากำลังจะไปไหนกัน อยู่ทุกบ่อยๆ เพื่อนำไปปรับแต่งงานที่เราทำ ให้เป็นไปตามที่เรากำลังเดินทางไปเรื่อยๆ ตลอดเวลา

 

คำสำคัญ (Tags): #outcome mapping#reflection#three journals
หมายเลขบันทึก: 223402เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2008 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวสดีครับคุณ PHEONIX

บรรยากาศยามนี้ เหมาะที่จะพักผ่อน มีสุข

บรรยากาศยามนี้ มาศึกษาหาความรู้ รับสิ่งดีๆ เป็นอาหารสมอง มีสุข

"ยังไม่สาแก่ใจ"(ยังไม่ได้แรงอก) แต่ว่าอ่านบทบันทึกท่าน ผมได้แรงอกครับ

หลายเรื่องที่เห็นผู้หลักผู้ใหญ่"ถอดกางเกงผายลม"ภาคประชาสังคมอย่างผมเห็นแล้ว"เบล็ง"คือเซ็งและเบื่อหน่าย

ยิ่งตอนสุดท้าย ทิ้งทวนด้วยฃอง้าวคร่าวิญญาณของผู้ประเมิน ยิ่งได้แรงอก

ยิ่งเห็นในหน่วยงาน ก่อนประเมินมา ผักชีกันเต็มหนำซ้ำยังเจาะข้อมูลว่าผู้ประเมินแต่ละชอบอะไร(รู้ไปถึงรัดดวง)แทนที่ปลอ่ยให้เป็นไปตามธรรมดา มันจะได้ดูดีทั้ง สองฝ่าย

แล้วที่สุดคือความสุข

ขอบคุณที่ทำให้มีความสุขทางความคิดครับ

บังหีม P ขอรับ

อ่าน comment ของบังหีม ผู้เขียนก็ได้แรงอกเช่นกัน แต่เช้ามาอ่านกันเลยนะครับ แต่แหมเขาทำอย่างไรถึงได้รู่้ไปถึงรัดดวงได้ บอกเคล็ดลับให้หนอ่ยสิครับ ฮิ ฮิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท