เมื่อไรเราถึงจะ I in YOU?


เมื่อไรเราถึงจะ I in YOU?

Otto Scharmer ผู้เขียนหนังสือ Theory U ได้กล่่าวตอนหนึ่งในหนังสือเล่มนี้ถึงการจัดระดับการสนทนา หรือการฟังออกเป็น 4 ระดับ คือ I in me, I in it, I in you และ I in now

I in me ก็คือการฟังแบบใช้ตัวเราเป็นตัวตั้ง คือเราจะมีความทรงจำเก่า ความหมายเก่า เทปม้วนเก่าอยู่แล้ว เมื่ออะไรที่คลับคล้ายคลับคลา เราก็พร้อมจะเสียบชุดความหมายเดิมๆเข้าไปทันที เหมือน download ของเก่ามาใช้ เป็นการสนทนา การฟังแบบผิวๆเผินๆ ฟังๆไปแบบนี้เผลอๆเราอาจจะด่วนสรุปว่าเราเข้าใจหมดแล้ว ก็หยุดฟัง แม้ว่าจะทำท่าทำทางฟังอยู่ก็ตาม เช่น เพื่อนเราพออ้าปากพูด เราก็รู้ไปหมดว่ามันจะพูดว่าอะไร เราก็จะหยุดฟัง (ที่จริงคือหยุดสนใจ) หันไปคิดเรื่องที่เราจะพูดต่อของเราทันทีที่มันพูดจบ (แล้วเพื่อนเราก็จะ return the favour คือแสร้งเป็นฟัง แล้วก็คิดเรื่องที่จะพูดต่อไปอีก) ผลสุดท้ายก็คือ เป็นการพูดจาแบบสุภาพ ถ้อยทีถ้อยอาศัย แต่ไม่มีใครฟังอะไรกัน แยกย้ายกันกลับไป ทุกคนเหมือนเดิมทุกประการ

I in it ขยับลึกลงไปอีกนิด แทนที่จะเอาเราเป็นตัวตั้ง ก็เอา reference หรือ แกนอ้างอิงมาเป็นตัวตั้ง ใช้เยอะในการสนทนาทาง academic หรือการศึกษาวิชาการ นัยว่า evidence-based หรือการเรียนเชิงประจักษ์นั้น จะพูดจะจา จะต้องมีอ้างอิง มีการศึกษา ไม่ได้คิดเองเออเองนะ อันนี้มักจะเป็นการ debate มีคนที่เหนือกว่า มีคนที่ด้อยกว่า (เหตุผล) ก็อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง อาจจะฝ่ายเดียว มีน้อยครั้งที่จะเปลี่ยนสองฝ่าย (ถ้าโค่นกันไม่ลง) บางทียังสรุปไม่ได้ ก็ยังงงๆกลับไปทั้งคู่ ในขั้นนี้เรียกว่าเป็นการฟังแบบ "เปิดจิต" (Open Mind)

ในสองแบบนี้ ถ้าลงมาที่ debate แล้วเกิดอารมณ์ ความเปราะบางของ self บังเกิด ก็จะมีความโกรธ มีความระแวดระวังตัวเกิดขึ้น การสนทนาการฟังก็จะย้อน retrograde กลับไประดับหนึ่งใหม่ เพื่อรักษามิตรภาพ หรือรักษาความรู้สึก security ของ self ตนเองเอาไว้ หรือบางทีแตกหัก กลับสูญเสีย self ไปก็มี เพราะเอาคุณค่าของตนเองไปแขวนไว้กับสิ่งที่เชื่อในตอนแรก

I in you เป็นการฟังไม่เพียงแค่ contents แต่สนใจไปถึงว่า ทำไม และอะไรกันแน่ ที่ผู้พูดกำลังต้องการจะสื่อ เพราะอะไร มันสำคัญอย่างไรกับคนพูด และสำคัญอย่างไรที่เขาเลือกมาพูดกับเรา ทำไมเราถึงได้มาฟังเรื่องนี้ เราจะมีบทบาทเช่นไร มีความหมายอย่างไร เป็นการฟังแบบ "เปิดหัวใจ" (Open Heart) เพราะเปิดจิตอย่างเดียว บางทีมันยังมีความคลางแคลงใจหลงเหลือ ไม่เชิงเหตุผล แต่มันไม่โดนใจเราก็ไม่อยากจะรับรู้ จนเมื่อเราสามารถที่จะ embrace โอบกอดกับสิ่งที่เราคลางแคลงได้ เราถึงจะรับรู้ในมิตินี้ได้ ในการสนทนาระดับนี้ บางคนก็บอกว่าเป็น Dialogue ลึกกว่า debate ในระดับนี้ บางทีบางครั้ง เราอาจจะนึกถึงเรื่องอะไรอยากจะพูดออกมา ปรากฏว่าเพื่อนที่นั่งอยู่ด้วยกันก็พูดขึ้นมาเฉยเลยก็มี

I in now และเมื่อหัวใจของผู้ร่วมสนทนาเปิดกว้าง สิ่งที่ "สำคัญที่สุด" ของแต่ละคน ถูกนำออกมาแลกเปลี่ยน เปิดเผย อย่างไว้วางใจ ณ ตรงนี้เองที่ "อนาคต" กำลังจะผุดปรากฏ หรือถือกำเนิดขึ้น ต่อหน้าต่อตา อนาคตที่ไม่มีใครพยากรณ์ หรือบอกกล่าวล่วงหน้า ถูกผลักดันมาอยู่ริมขอบของปัจจุบัน เมื่อทุกๆคนได้ตระหนักถึง presence ว่าทำไมจึงได้มาอยู่ ณ ที่นี้ ตรงนี้ กับคนอื่นๆ นี่จะเป็นปัจจุบันที่ "ชัดเจนที่สุด" เราจะไม่ได้นำเอาอดีต นำเอาความหมายเก่า นำเอา download ของเดิมๆมาคาด มาเดา แต่ ณ ขณะนี้ เราอยู่ here and now โดยแท้จริง ความรู้ใหม่ที่จะปรากฏขึ้นนั้น เป็นเพราะ NOW นี่จะเป็นการสนทนาแบบ generative dialogue ในระดับ "เปิดเจตจำนง" Open Will พวกเราจะเข้าสู่ ณ ที่ที่อนาคตผุดกำเนิด (where the future emerges)

สาเหตุที่การสนทนาระดับลึกมากๆไม่ค่อยได้เกิด ก็เพราะอุปสรรคระหว่างทาง การด่วนตัดสิน (judgmental attitude) จะขัดขวาง open mind เพราะว่าเรา "รู้" ไปเสียแล้วว่ามัน "ไม่มีทางใช่" (นอกเหนือจากสิ่งที่เราเชื่อ) หรือความคลางแคลงใจ (cynicism) ก็จะเป็นกำแพงการ open heart แต่สิ่งที่จะยากที่สุดก็คือ ความกลัว ที่จะกั้นไม่ให้เราเข้าสู่ open will เพราะเราจะต้องยอมถอดทิ้ง สละสิ่งที่เคยเป็น เคยรู้ เคยบอกว่านี่แหละเรา ออกไปชั่วขณะหนึ่ง ยอมที่จะ embrace อะไรก็ตามที่จะปรากฏขึ้น ยอมลดเกราะ ลดทิฏฐิเดิมๆ กล้าให้อภัยแก่ตนเอง และคนอื่นๆในสิ่งที่จะเกิดขึ้น (อภัยทาน) เข้าสู่ Fearless state ซึ่งจะต้องใช้เจตจำนงความมุ่งมั่น และความกล้าหาญ พลังเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่อเราเองเข้าใกล้ The Source ว่าทำไมเราถึงมีอยู่ ทำไมเราถึงเกิดมา ทำไมเราถึงได้มาอยู่ที่นี่ กับผู้คน มีศักยภาพอย่างที่มี มีสังฆะอย่างที่ปรากฏ เมื่อเราละวางได้ true knowledge จึงผุดปรากฏได้ (when we let go, we let come)

คนถามว่าจะรู้ได้อย่างไร ว่าเราลงมาถึงระดับสาม ระดับสี่

Otto Scharmer บอกว่า ง่ายนิดเดียว ในระดับสามและสี่ เราจะเกิดการ​ "เปลี่ยนแปลง" ไปจากเดิม หลังการสนทนานั้นๆ

ทันทีที่หัวใจเราเปิด ยอมรับสีสัน ชีวิตอื่นๆเข้ามา สอดประสาน ผสมกับการรับรู้ "ความจริง" ของเรากับของผู้อื่นมาผสม เมื่อนั้นเราก็จะเติบโตขึ้น เปลี่ยนไปจากเดิม

มีคนมากมาย พยายามสร้างการสื่อสารเพื่อสันติ แต่ทำไปในระดับหนึ่ง หรือสอง ลำพังแค่การฟังอย่างลึกซึ้ง การเยียวยาจะเกิดขึ้นได้แค่ในระดับหนึ่ง แต่เราอาจจะยังบอบช้ำ และสมุหฐานของโรคยังไม่ได้ชำระแต่อย่างใด เราจะต้องรับรู้ความทุกข์ ความลำบากของผู้คนรอบๆข้างเราด้วย เมื่อนั้น เราจึงจะเกิด "กรุณา" ซึ่งมาจากการ "เข้าใจ" ในทุกข์ ของเรา และของเขา เราจึงจะสามารถเดินไปด้วยกัน

การไปฟังแต่ละครั้ง แต่ละที แน่นอนที่สุด จะเกิด feel-good effects แต่เป็น one-directional เมื่อเราฟังจนข้อมูล exhausted แล้ว อะไรจะเกิดขึ้น? จะมีอะไรเปลี่ยนไหม? สิ่งแรกที่มีก็คือ "อา... เรามีคนฟังแล้ว" เมื่อนั้น violence ก็จะถูกเจือจางลงไป ยิ้มออก ช้าลงได้ แต่กระบวนการเยียวยาที่สำคัญยังไม่เกิดขึ้นเลย เพราะนี่เป็นแค่ระยะหนึ่งของอริยสัจสี่ คือ ทุกข์ ได้ถูกเรียบเรียง และมองลงไปอย่าง objective ได้ ถ้าเราค้างคาอยู่แค่นี้ ยิ่งพินิจพิจารณา โดยไม่ได้หันเหทิศทางไปสู่สาเหตุ ไปสู่การดับ และหนทางแห่งการดับทุกข์ negative emotion เป็นอะไรที่แปลกประหลาดที่สามารถหล่อเลี้ยงตัวมันเองได้ แทนที่จะเดินออกมา เราก็สามารถ "จมลงไป" แทนได้

ตรงนี้การฟังแบบ active and deep listening จะเสริมด้วย reflection คือ การสะท้อนแบบปราศจากอคติ อย่าไปเสริมฟืนไฟ version ของเราให้ความชัดของทุกข์นั้นฮือโหมไปมากกว่าเดิมด้วย emotional aggravation แต่สะท้อนให้ชีิวิต การกระทำ การไม่กระทำ มันชัดขึ้นจากแง่มุมต่างๆ

ในการทำ palliative care ช่วงนี้จะเกิดขึ้นหลังการ breaking the bad news คนมักจะกังวลว่าเราจะแก้ปัญหาอะไรได้หรือ แต่ที่จริงเราไม่ต้อง เราอยู่ตรงนั้นมีบทบาทหน้าที่อื่น คือ เป็นกัลยาณมิตรที่สะท้อน ที่เสนอ ที่ช่วยเหลือ ในสิ่งที่เขาต้องการจาก expertise ของเราเท่าที่เรามี เราไม่ควรเกิด sympathy ลงไปกับเรื่องราว แต่ในขณะเดียวกัน เราจะต้องมี empathy กับเรื่องราวของเขาได้

หมายเลขบันทึก: 372782เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 15:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 เมษายน 2012 16:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีท่านอาจารย์ครับ

แวะมาทบทวนการฟัง 4 ระดับครับ

พัฒนา ตรวจสอบไปเรื่อยเพื่อไปถึงตัว U ขาขึ้นครับ

ขอบพระคุณมากครับ...

เมื่อวานได้ฟังอาจารย์พูดในงานจิตอาสา

รู้สึกปลึ้มมากที่ได้เจออาจารย์

วันนี้มาติดตามอีกครั้งค่ะ

แวะมาฟังแนวคิดดีๆครับ

ขอบพระคุณท่านอาจารย์มากๆ ครับ

สวัสดีครับอาจารย์

          เเวะมาอ่านสาระดีๆ ก่อนเข้านอนครับ

อาจารย์เขียนมา นี้ถูกต้องค่ะ แปลกเหมือนกันนะค่ะ เวลาเราฟัง แล้วรับรู้ ผ่านสมองแต่จิตของเรากำลังครุ่นคิด อยู่ชอบทำให้การฟัง หรือข้อมูลที่ได้รับ มีการเปลี่ยนแปลงสารของการฟังเหมือนกันค่ะ

สวัสดีคะ

อีฟจินตนการไม่ออกจริง ๆ แต่ชอบท่านอาจารย์มากกกมายยยยก่ายยยกองงงงง มันส์ส์ส์ดีคะ ทุกวันนี้เรา ๆ ท่าน ๆ ก็มีเรื่องให้เครียสสสสสกันมาพออยู่แล้ว พอมาอ่านเรื่องราวที่อาจารย์เขียน ก็ผ่อนคลายไปได้มากคะ ขอบคุณมากคะ ที่เอื้อเฟื้อแบ่งปันข้อมูลสุดเจ๋งให้กันและกัน หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สักวันจะมีโอกาสได้พบตัวจริงเสียงจริงของอาจารย์บ้างนะคะ และนัยว่า อาจารย์คงไม่รังเกียจคนบ้านนอกคอกนาอย่างอีฟนะคะ

ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอบคุณครับคุณอีฟ แต่ที่เขียนมานี่ก็ตัวจริงนะครับ แก้ขัดไปพลางๆก่อน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท