จิตตปัญญาเวชศึกษา 81: S-L Part 4: Reflection Time



Reflection Time

ขอ break จากการแปลและเรียบเรียงเรืื่อง servant-leadership มาสู่ theme ที่บรรจุลงมาคือ "จิตตปัญญาเวชศึกษา" สักบทความหนึ่งก่อนที่จะเขียนต่อไปนะครับ

จากสามบทความแรก คือ commitment, leadership และ moral authority นั้นเป็นพื้นฐานที่มาของ servant-leadership ซึ่งผมคิดว่าเราควรจะเข้าใจในที่มาเหล่านี้ก่อน ก่อนที่จะลงไปใน process เนื่องจากสิ่งหนึ่งที่ผมโดยส่วนตัวแล้วตั้งสมมติฐานว่าอาจจะเป็น flaw หรือเป็น "ความพร่อง" ของเรา ในการที่จะรับอะไรมาใช้ก็คือ การนำเอา process มาใช้ลุ่นๆ โดยไม่ทราบที่มา ไม่ทราบปรัชญาเบื้องหลังของวิธีการเหล่านั้นให้ดีเสียก่อน คือ ดังเมืองนอก มาตายเมืองไทย ทุกที ไม่รู้เป็นเพราะอะไร

ในบรรดาอาชีพต่างๆนั้น แพทย์ ครู​ พระ ที่เป็นองค์หลักๆ สำคัญๆของสังคม มีอะไรที่เหมือนๆกันคือ "ความรับผิดชอบ และผลกระทบรวมของงานต่อสังคม" สองประการนี้ค่อนข้างชัดเจน คำถามที่สำคัญในระยะนี้ก็คือ แล้วในบริบทของอุดมศึกษา ที่นักศึกษาอยู่กับเราทั้งหมด 6 ปีนี้ เราได้พยายามมากน้อยแค่ไหน (หรือได้พยายามหรือไม่?) ในการบ่มเพาะความรับผิดชอบ และบ่มเพาะภาระหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ขนาดนั้นต่อสังคม?

หรือบีบคำถามให้แคบลง "เราได้บ่มเพาะจิตอาสา จิตบริการ ให้แก่นักศึกษาเราสักกี่มากน้อย ขณะที่เขาอยู่กับเราในโรงเรียนแพทย์?"

หลายๆโรงเรียนแพทย์ได้ไปเยี่ยมมูลนิธิพุทธฉือจี้ ไต้หวัน กลับมาด้วยความรู้สึกคล้ายๆกัน คือ ทึ่งว่าเขาทำได้อย่างไร ทึ่งใน "ระบบ" จิตอาสาที่ปลูกฝังไม่เพียงแต่ในนักศึกษา แต่ลงไปถึงชุมชน ชาวบ้านธรรมดาๆ และ อีกคำถามที่ผมเชื่อว่าจะผุดขึ้นมาในใจของทุกๆคนก็คือ "เขาทำได้อย่างไร และเราจะทำอย่างเขาได้ไหม?"

ในระบบการเรียนแบบดั้งเดิม ที่มองหา authority มองหา hierrachy มองหา ranking การจัดลำดับ การจัดขั้น สูง ต่ำ การเกรดดิ้งมนุษย์ การมองหาว่าใครเหนือกว่าใคร ใครควรจะ rule ใคร ใครเป็น The Ruler และใครจะเป็น The Ruled สิ่งเหล่านี้เป็น anti-thesis ต่อแนวความคิด servant-leadership ทั้งสิ้น

มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับระบบโรงเรียนที่ฉือจี้ว่า นักเรียนที่เรียนดี มีผลงานดีเด่นนั้น จะได้รับรางวัลคือการได้ไปเสริฟอาหารแก่เพื่อนๆเวลารับประทานอาหารมื้อต่างๆ รางวัลที่โดดเด่นมากเป็นพิเศษก็คือการได้ไปล้างส้วม ล้างห้องน้ำ งานบริการที่ยิ่งดูต้อยต่่ำในสายตาคนทั่วๆไป กลับกลายเป็น accolade สำหรับ privilege fews ที่จะได้รับการยกย่องจากชุมชนฉือจี้ไป

ในระบบเดิมของเรานั้น มีกี่ครั้งที่เราทำให้ privilege หรืออภิสิทธิ์หมายถึงการรับบริการ การมีคนมาให้บริการ และการที่ไม่ต้องทำอะไรให้คนอื่น กลับมีใครมาทำอะไรให้ตลอดเวลา มีกี่ครั้งที่ทำให้เกิดการรับรู้ว่า "การนั่งกินนอนกิน" ไม่ต้องช่วยอะไรใครนั้น คือ "อำนาจวาสนา"? การไต่เต้าสู่ที่สูงหมายถึงการมีลาภยศ สรรเสริญ เงินทอง มั่งคั่ง ทรัพย์ศฤงคาร เพื่อที่จะได้ซื้อความสะดวกสบาย ปรนเปรอความสุข "ของตนเอง" มากขึ้นเรื่อยๆ?

และพวกเรารับรู้คำๆว่า "คนรับใช้" ในมิติแบบใด? ต้อยต่ำ หรือ ศักดิ์ศรี?

เราพร้อมหรือยังกับ concept ใหม่ ในเรื่อง Servant-Leadership หรือว่าสิ่งต่อไปนี้ มันมากเกินไปกับการรับรู้ ความเข้าใจเดิมของเรา?

หมายเลขบันทึก: 227515เขียนเมื่อ 5 ธันวาคม 2008 15:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท